ภพภูมิ "โลกอุดร"ตอนที่.๓ (ออกบวช) เรียบเรียงโดย เรืองตะวัน

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย baiiboom, 23 ธันวาคม 2009.

  1. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
    เสี้ยวหนึ่งในสิบสองบันนาตอนที่.

    ตอน ประวัติของพระมหาเถระเจ้าโลกอุดร


    เมื่อราวปีพุทธศักราชปีกว่า .หมู่บ้านเจียงร่าย (เชียงราย) (ปัจจุบันอยู่ที่เมืองฮายแสน ต้าฬอเจ้น เจียร่ายซุน สิบสองบันนาประเทศจีน) อี่คำแปง(นางคำแปง)ๆด้ให้กำเนิดทารกเพศชาย ที่เรือนของตนริมชายป่า ซึ่งติดกับวัดราชฐานหลวง บ้างก็เรียก วัดราชทาน) แต่ปัจจุบันนี้คนส่วนมากเรียก วัดเจียงร่ายตามชื่อหมูบ้านส่วนคนเก่า จะเรียกว่า วัดราชฐาน อยู่จนเดี่ยวนี้ เมื่อทารกนั้นถือกำเนิดแล้วก็ได้เปล่งเสียงร้องดังกึกก้อง ผิดจากเสียงเด็กร้องทั่วไป (ส่วนใครจะเป็นผู้ทำคลอดนั้นไม่ไดบันทึกไว้)เสียงร้องนั้นดังไปถึงวัดราชฐานหลวง พระภิกษุสามเณรเมื่อได้ยินเสียงร้องของทารกนั้นอดที่จะมาเยี่ยมดูไม่ได้ เล่ากันว่าภิษุสามเณรมากันหมดวัด ต่างวิพากย์วิจารณ์ไป<O:p

    ต่างๆนานา เป้นการวิจารณ์ในส่วนที่ดีว่า เด็กทารกนี้รูปงาม เสียงร้องนั้นดังกึกก้องไพเราะมาก ใครที่ได้ยินเสียงทารกนี้ จะทนอยู่นิ่งที่จะไม่ย่างกราย เข้ามาเยี่ยมชมเป็นไม่ได้ ใครได้ยินเสียงจักต้องเข้ามาชื่นชมยินดี ตอนนี้เป็นเวลาบ่ายโมงกว่าแล้ว เมื่อชาวบ้านทราบเรื่อง อี่คำแปงคลอดบุตรเป็นเด็กผู้ชาย ต่างก็แห่แหนทยอยเข้ามาเยี่ยมกัน โดยไม่ขาดสายเหมือนกับว่าวันนั้น มีงานมหรรสพอะไรสักอย่าง<O:p
    <O:p

    กำเนิดเด็กชาย ตำมะ( ธรรมะ)
    <O:p
    ในตอนนั้น อี่คำแปง อยู่แต่ผู้เดียว เพราะว่าสามีคือ อ้ายคำฮ้อย (นายคำร้อย) ไปรับราชกาลตามที่จ้งเหนือหัวสั่ง เจ้าเหนือหัวมีรับสั่งให้ อ้ายคำฮ้อยนั้นกับหมู่บริวาร รับภาระที่จะค้องไปอันเชิญ พระบรมธาตุ จากประเทศอินเดีย เพื่อนำมาบรรจุในพระธาตุเจดีย์ ที่พระองค์ทรงสร้างขึ้น เจ้าเหนือหัวนั้นไม่ทราบว่าพระนามอะไรเราเคยถามชาวบ้านสิบสองบันนาดูเขาบอกว่า เจ้าสรีสุริวงศ์ หรือขุนบรมของเรา) อ้ายคำฮ้อยกับสมัครพักพวกได้พากันไปอันเชิญ พระบรมสาลีริกธาตุมาจากประเทศอินเดีย ในการนั้นได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ กับพระนาสิกธาตุ และพระบรมธาตุเล็กอีก ๗ องค์ อ้ายคำฮ้อยใช้เวลาเดินทาง ๖๐ หงาย คำว่าหยายหมายถึงพระจันทร์เต็มดวง(เดือน<O:p

    ๖๐ ครั้ง หนึ่งเดือนมีหงาย ๑ ครั้ง มีหนึ่งมี ๑๒ ครั้ง ดังนั้น ๖๐ หงาย จึงเท่ากับใช้ระยะเวลาเดินทาง ๕ ปี การที่ใช้เวลาเดินทางมาล่าช้านั้น สาเหตุเป็นเพราะว่า การอัญเชิญนั้นเป็นพิธีหลวง คืออัญเชิญถึงสถานที่ไหน ที่เป็นหมู่บ้านใหญ่ มีผู้คนมาก ก็พิธีสมโภช ณ.สถานที่นั้น จึงทำให้การเดินทางล่าช้ากว่าปกติ เมื่ออี่คำแปงได้ใหกำเนิดบุตรชายผู้นี้แล้ว ที่บ้านของอี่คำแปงก็ขวักไขว่ไปด้วยผู้คนไม่เว้นแต่ละวัน เพราะผู้คนรักทารกคนนี้มาก รักเหมือนบุตรหลานของตนเอง (อาจเป็นเพราะสงสารอี่คำแปง ที่ผัวยังไม่กลัมา) แม้กระทั้งพระสงฆ์องค์สามเณร ถ้าได้ออกบิณฑบาตรมาเหลือฉันแล้ว ก็จะนำมาให้อี่คำแปง ต่ออีกที โดยที่อี่คำแปงนั้นไม่ต้องลำบากแต่อย่างใด การ<O:p

    งานก็ไม่ต้องทำอะไรมากนัก เสื้อผ้าชาวบ้านก็ทอมาให้ใส่ มีเพียงแต่เพียงงาน ที่จะประคบประหงมทารกน้อยเท่านั้น อีคำแปงได้นำทารกน้อยไปไว้แทบเท้า พระมหาราชครู ซึ่งเป็นพระมหาเถระเจ้า ที่เจ้าเหนือหัวนิมนต์มาครองวัดราชฐานหลวง ให้ท่านตั่งชื่อแก่บุตรชายของตน พระมหาราชครูได้ทำการผูกดวงให้แก่ทารกน้อย จึงทราบตามตำราว่า ทารกนี้เป็นผู้มีบุญมาถือกำเนิด จึงได้ประทานนามว่า ตำมะ(ธรรมะ) เพราะท่านได้พิจราณาแล้วว่า เด็กคนนี้มีบุญญาธิการมาก จะได้มีโอกาศช่วยทำนุบำรุง พระพุทธศาสนา เพราะถือกำเนิดในเวลาอันเป็นมงคล เนื่องจากบิดาของทารกน้อย คือ อ้ายคำฮ้อย นั้นไปอันเชิญพระบรมธาตุจากประเทศอินเดีย ณ.ชมพูทวิป มา<O:p

    ประดิษฐานสุวรรณภูมิ(เข้าใจว่าเป็นล้านนาไทย) เจ้าหนูน้อยตำมะนั้นเป็นเด็กที่เลี้ยงง่าย มีรูปร่างงดงามและสมบูรณ์ใครเห็นก็รักใคร่ ไม่เป็นเด็กดื้อซนอย่างคนอื่น ว่านอนสอนง่าย ใครไปมาหาสู่ก็จะเอาของมาฝากเจ้าหนูตัมมะ ก็อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น คือแม้แต่พระสงฆ์ องค์เณรเองบิณทบาตรได้ข้าวของขนมก็เอามาแบ่งปัน นับเป็นการแบ่งเบาภาระให้กบ อี่คำแปงเป็นอย่างมาก อีกอย่างชาวบ้านเต็มใจช่วยครอบครัวนี้เสมอมา ทำให้สองแม่ลูกมีความสุข อี่คำแปงเองเฝ้าในการกลับมาของสามีอยู่ทุกวัน เร่งภาวนาให้พ่อลูกได้พบกัน จะได้เป็นครอบครัวที่สมบูรณ์แบบและมีควาสุข ฝ่ายอ้ายคำฮ้อยนั้นเล่า เมื่อได้อัญเชิญพระบรมธาตุเจ้า เข้าสู่สุวรรณภูมิ(ลาน<O:p

    แล้ว ก็ได้รับการต้อนรับเลี้ยงดูเป็นอย่างดี ตลอดระยะเวลาที่อัญเชิญมานั้น จักพิธิสมโภชตลอดทาง เมื่อได้นำพระบรมธาติขึ้นทูนเกล้าฯ แล้ว ก็ได้รับการโปรดเกล้าฯ ให้ไปเป็นสะหล่าหลวง (ช่างหลวง) ควบคุมการก่อสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ในพระราชวัง เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุที่ได้อัญเชิญมา และไปควบคุมการก่อสร้าง พระธาตุเจดีย์ในราชธานี ของพระราชโอรสอีกสองสามแห่ง เท่าที่ทราบคือ ได้อัญเชิญพระบรมนาสิกธาตุเจ้านั้น ไปประดิษฐาน ณ.พระบรมธาตุเจ้าดอยตุง ส่วนพระบรมอุรังคธาตุเจ้านั้นได้นำไปประดิษฐาน ณ.พระบรมธาตุดอยเก้ง และพระบรมธาตุเจ้าที่เหลือ ก็แบ่งปันไปประดิษฐาน ณ.เมืองหิริภุญชัย และเมืองอื่นๆอีก จำเนียรกาล<O:p

    ผ่านไป อ้ายคำฮ้อยได้คำนึงถึงภรรยาอี่คำแปง จึงทูลลาเพื่อกลับไปยังบ้านเจียงร่าย และได้รับราชานุญาติให้ไปเยี่ยมบ้าน จึงทำให้เกิดการดีใจเป็นอย่างมาก ในตอนที่ไปอันเชิญพระบรมธาตินั้น อ้ายคำฮ้อยนั้นไม่รู้ว่าภรรยาตั้งครรภ์อยู่ เมื่ออ้ายคำฮ้อยเดินทางกลับไปถึงบ้าน แต่ยังไม่ทันได้เข้าไปในบ้าน ได้เห็นอี่คำแปงหยอกล้อด้วยเด็กชายตัมมะ ก็เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจด้วยตัวเอง ได้ทองทิ้งให้อี่คำแปงอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย จนทำให้นางเบื่อที่จะรอในการกลับมาของตน จึงทำให้มีสามีใหม่ และคงจะมีบุตรด้วยกัน โดยหารู้ไม่ว่าเด็กชายคนนั้นเป็นบุตรของตน ซึ่งเกิดจากเลือดเนื้อเชื่อไขโดยแท้ ก็เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจและละอายใจตนเอง ที่คิดว่าเมียรักจะซื่อสัตว์<O:p

    รอการกลับมาของตนเอง ทั้งที่รู้อยู่ว่าตัวเองนั้น ได้ไปงานราชการหาได้ทอดทิ้งแต่อย่างใดไม่ เพียงคิดให้อภัยนาง ที่ตัวเองมีส่วนผิดด้วย ที่ไปงานราชการโดยไม่ได้ส่งข่าวคราวให้นางได้รับทราบ เมื่อคิดได้ดัวนั้นจึงทิ้งนางเสียจริงๆ โดยได้หนี ไปเป็นพระภิษุ ณ.พัทธสีมาวัดป่าแดง รัฐเชียงตุง ได้ปะพฤติปฎิบัติตนอย่างจริงจัง ในไตรสิขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา จนบรรลุมรรผลที่ตนปารถนา เมื่อพระบรมธาตุเจ้าเชียงตุง ทำการก่อสร้างสำเร็จ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางพระเจ้าเหนือหัว มีคำสั่งให้จัดงานสมโภชเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ ข้าราชบริพาร เหล่าราษฎรทั่วทุกสารทิศ ดีอกดีใจ แห่แหนกันมาร่วมงาน บางคนก็ใช้เวลาแรมเดือน เพื่อเดินทางมาร่วมงาน บางคนก็มากัน<O:p

    ก่อนล่วงหน้า เพื่อเครรพกราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก่อนที่เจ้าเหนือหัวจะนำบรรจุลงในธาตุเจดีย์ ทราบแต่ว่างานสมโภชนั้นใช้เวลาแรมปีทีเดียว และในหมู่ชุมนุมชนที่มาร่วมงานนั้น ก็มีความศัทธาจากบ้านเจียงร่ายเดินทางมาร่วมงานนั้นด้วย และในระหว่างทางที่ผ่านมาได้ขอพักอาศัยชั่วคราวที่เมืองเชียงตุง ณ.วัดป่าแดง และได้ทราบข่าวว่าพระคำฮ้อยบ้านเจียงร่ายได้มาบวชอยู่ที่วัดนี้ จึงเกิดความแปลกใจว่าทำไมไม่กลับไปเลี้ยงดูบุตรชาย กลับหนีมาบวชเป็นพระภิษุสงฆ์ จึงได้เข้าไปกราบเยี่ยมเยียน ซักถามว่าทำไมไม่กลับไปเยี่ยมลูกเยี้ยมเมีย ที่อยู่บ้านเฝ้ารอการกลับมาของสามี ทำไมต้องตัดช่องน้อยแต่พอตัวหนีเอาตัวรอดแต่เพียงผู้เดียว ปล่อย<O:p

    ให้ลูกเมียตั้งหน้าตั้งตาคอยการกลับมาของสามีด้วยความห่วงใย เมื่อพระภิษุคำฮ้อยทราบว่าเด็กที่ตนเห็นนั้นเป็นบุตรตนเอง และภรรยาของตนนั้นมีศีลสัตว์ ตั้งหน้าตั้งตาคอยด้วยความห่วงใย ไม่ได้เป็นอย่างที่ตนเข้าใจในเบื้อต้น ก็ยิ่งเกิดความสลดสังเวชละอายแก่ใจ และอีกอย่างตนนั้นได้สำเร็จมรรคผล เบื้องต้นแล้วจะเวียนไปสู่เพศที่ต่ำกว่าก็ย่อมไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง จำต้องประพฤติปฎิบัติธรรมยิ่งขึ้นไปกว่านี้ เพื่อจะได้มรรคผลซึ่งสูงขึ้นไปอีก จึงได้บอกชาวบ้านหมู่บ้านเดียวกันนั้นไปว่า เราเป็นภิษุซึ่งตัดขาดโลกีย์วิสัยแล้ว ไม่ยุ้งเกี่ยวกับทางโลกไม่มีภาระอะไรที่เราจะต้องทำหรือรับผิดชอบ นอกจากการประพฤติปฎิบัติธรรมเท่านั้น และให้ฝากบอกอี่คำแปงว่าเลี้ยงให้เลี้ยงบุตรให้ดี เราตัดขาดจากกันแล้วอย่าได้ห่วงหาอาวรณ์กันอีกเลย หลังจากชาวบ้านเจียงร่ายมาร่วมงาน ฉลอง<O:p

    พระบรมธาตุเจ้าดอยตุงกันแล้ว จึงพากันกลับบ้านเรือนของตน เมื่อมาถึงหมู่บ้านเจียงร่ายแล้ว จึงได้นำความที่ตนเองได้รับฟังมาจากพระภิษุคำฮ้อยนั้นมาบอกเล่า ให้อี่คำแปงได้รับทราบ เมื่อนางทราบความเป็นไปสามีของนางถึงขั้นหนีไปบวชเป็นพระภิษุ นางได้รู้สึกเสียใจเป็นอย่างมาก ที่สามีตัดช่องน้อยหนีไปแต่พอตัวเอง ทั้งที่ตนไม่ได้ทำอะไรผิดศีลธรรม ยังซื่อสัตว์รอการกลับมาของสามีด้วยความห่วงใย เมื่อนางคิดและปลงตกระงับความโศกเศร้าและทำใจได้แล้ว จึงได้ตัดสินใจนำบุตรชายของตนซึ่งมีอายุประมาณ ๑๒ ขวบ ถวายแด่มหาราชครู อฐิการสงฆ์แห่งวัดราชฐานหลวง ให้ได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ศึกษาพระธรรมวินัย รับใช้มหาราชครูตลอดไป ส่วนตัวเองนั้นก็ได้สมาทานศีลแปด รักษาตลอดชีวิตอยู่ที่เรือนของนางซึ่งไม่ไกลเท่าใดนักจากวัด<O:p

    พระมหาราชครูรับเด็กชายตัมมะเข้าเป็นศิษย์<O:p
    (ให้บรรพชาเป็นสามเณร)
    <O:p
    เมื่อพระมหาราชครูรับเด็กชายตัมมะเข้าเป็นศิษย์แล้ว ก็ให้การบรรพชาเป็นสามเณร เมื่อได้บวชเป็นสามเณรแล้ว พระมหาราชครูได้อบรมสั้งสอนให้รู้ในระเบียบ และธรรมเนียมข้อวัตรปฎิบัติแด่สามเณร เมื่อเณรได้รับการอบรมก็นำมาน้อมใส่จิตใจประพฤปฎิบัติตามระเบียบธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ได้ศึกษาความรู้โดยเรียนต่อหนังสือ เรียนมูลกัจจายน์ เรียนคัมภีร์ศาสตร์อื่นๆ อีกหลายๆศาสตร์จากพระมหาราชครู การเรียนการศึกษาของสามเณรตัมมะนั้น รุดหน้าไปได้ไกลมากท่านมีพรสวรรค์สามารถ เข้าใจในคัมภีร์ทุกคำภีร์อย่างถ่องแท้ มีความฉลาดเกิดพระภิษุสามเณรภายในวัด ท่านได้เป็นที่รักเอ็นดูของพระมหาราชครูและเป็นที่รักของบรรดาพระภิษุสามเณรภายในวัด <O:p

    ท่านพระมหาราชครูเป็นพระของเจ้าเหนือหัวท่านมีความรู้เรื่องศาสตร์อะไรต่างๆ ท่านก็นำมาสั้งสอนสามเณรน้อยนั้นอย่างไม่มีปิดปังอำพรางแต่อย่างใด และสามเณรน้อยนั้นก็เหมือผู้มีบุญมาเกิด เพื่อจรรโลงพระศาสนาอย่างจริงจัง เพราะไม่ว่าศาสตร์ใดที่พระมหาราชครูนำมาสอนสั่งนั้น สามเณรน้อยนั้นก็สามารถรับเรีบนรูศาสตร์นั้นได้ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว ซึ่งเป็นการยากมากที่เด็กในวัยเดียวกับท่านจะสามารถเรียนรู้ได้ขนาดนี้สามเณรตัมมะรัก และเคารพบูชาบูชาพระมหาราชครูเป็นอย่างมาก ดุจบิดาผู้ให้กำเนิด และพระหมาราชครูก็รักสามเณรตัมมะมากเช่นกัน สามเณรตัมมะจะอยู่คอยอุปฐากพระมหาราชครูอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอมา อยู่มาวันหนึ่งพระ<O:p

    มหาราชครู(พระมหาราชครูสังฆาจาริยาจารย์)มีกิจที่จะต้องเดินทางไปรัฐเชียงตุง ตามคำอาราชธนาจากเจ้าฟ้าเชียงตุงผู้ครองเมืองเชียงตุง(ไม่ทราบพระนาม และก็ไม่ทราบด้วยว่าไปด้วยเรื่องอะไร) เมื่อสามเณรตัมมะทราบว่าพระมหาราชครู ผู้เป็นอาจารย์จะไปรัฐเชียงตึง ก็ทำให้ดีใจที่ตนเองจะทราบข่าวเรื่องราวของพระบิดาว่าเป็นอยู่อย่างไร จึงได้กราบเรียนฝากพระมหาราชครูให้เป็นธุระในกิจการนี้แทนด้วย ซึ่งพระมหาราชครูก็มีความเอ็นดูรับปากว่าจะช่วยดูและติดตามเรื่องราวของพระภิษุคำฮ้อยนั้นให้ การเดินทางของสมัยนั้นไม่ได้สะดวกสบายเหมือนสมัยนี้ต้องผ่านป่าดงพงพี แต่พระมหาราชครูนั้นทางเชียงตุงนั้นได้เตรียมช้างมาให้พร้อมทั้งบริวารร่วมเดินทาง มีฝูงม้า<O:p

    และพวกหาบที่เป็นชาวบ้านตามไปด้วย เดินเป็นทิวแถวออกเข้าป่าข้ามเขาผ่านหมุบ้านชาวป่าชาวเขา ท้องถิ่นที่เดินทางผ่านไปนั้นไม่ว่าจะผ่านหมู่บ้านหรือทุ่งราบ ป่าโปร่งหรือยอดดอย ป่าทึบดงดิบต่างๆนั้น จะมีความงดงามตามธรรมชาติสมัยนั้น ตามป่าเขาลำเนาไฟร จะมีดอกไม้ป่าขึ้นตามพื้นดินเป็นกอเป็นต้น ออกดอกใบเป็นสีต่างๆ สดใสสวมงามตามธรรมชาติจริง มีหมู่ภุมริน หมู่ภมร ผีเสื้อหลากสี บินตอมตามดอกไม้ต่างๆ บนต้นไม้ใหญ่ในป่าบางต้นนั้นก็ออกดอกออกผล มีต้นกล้วยไม้ขึ้นแซมเป็นช่อๆ ตามคบไม้ดูดาษดื่นตาไปหมด มีทั้งมีกลิ่นไม่มีกลิ่น มีนกตัวเล็กๆสีต่างๆโผบินเกาะโดไปต้นนั้นต้นนี้ อย่างเป็นอิสระเป็นไปตามธรรมชาติของมัน พร้อมทั้งส่งเสียงร้อง<O:p

    เซ็งแซ่ ซึ่งฟังดูแล้วคล้ายเสียงเพลงธรรมชาติในป่าที่ไพเราะน่าฟัง เมื่อพระมหาราชครูเดินทางผ่านพ้นไปแล้ว สามเณรรู้สึกเป็นห่วงพระมหาราชครูผู้เป็นอาจารย์มาก ทั้งที่สามเณรไม่เคยเชียงตุงเลย เพียงแต่ได้เคยทราบจากคนอื่นๆว่า การเดินทางไปเชียงตุงนั้นลำบากมาก ต้องผ่านป่าดงดิบ ผ่านหมู่บ้านคนเถื่อนี่มีจิตใจ โหดร้ายทารุณนี้มักซุ่มอยู่ตามเขา ถ้าห็นใครมีพวกติดตามมาน้อย ก็คอยซุ่มดักทำลายชีวิต เอาเนื้อหนังมาทำเป็นอาหาร เอาหัวของเหยื่อนั้นมาเส้นไหว้เทวดาที่ตนนับถือ พวกนี้เขาเล่ากันมาขนาดพ่อแม่ของมันเองที่แก่ชรามันยังฆ่าเอามาทำเป็นอาหาร และกว่าจะเดินทางไปเชียงตุงนั้นคงจะหลายวัน เป็นอันว่าสามเณรนั้นคิดมากกังวลเพราะ ห่วงพระมห่<O:p

    ราชครูนั้นเกินไป ทั้งที่พระมหาราชครูนั้น มีหมู่ติดตามไปหลายคน เพลิดเพลินตามธรรมชาติ เมื่อพระมหาราชครูไม่อยู่วัด สามเณรตัมมะนั้นจะคอยดูแลและอุปฐาก พระภิษุสามเณรที่บวชมาก่อนตน และใช้เวลาที่ว่างในการปัดกวาด ถากถางบริเวรรอบวัด และหมั่นคอยดุและอุปฐาก พระเจดีย์ที่ตั้งอยูตระหง่าน อญุกลางใจวัด และบางครั้งไปเผ้าดูแลโยมแม่ที่เรือน เพื่อให้กำลังใจ และแนะนำธรรมที่ตนได้ร่ำเรียนมาจากพระมหาราชครูแก่มารดาในบางครั้ง ทำให้อี่คำแปงผู้เป็นมารดาคลายความเป็นห่วง สามเณรผู้เป็นบุตรได้บ้งเพราะสามเณรเป็นเด็กดีมาก ในช่วงที่พระมหาราชครูไม่อยูนั้น มีวันหนึ่งที่สามเณรตัมมะเผลอหลับกลางวัน และท่านฝันว่าตัวท่านเองนั้นเหาะ<O:p

    ได้ และได้เหาะไปที่ภูเขาลูกหนึ่ง ท่านได้พบพระคัมภร์เล่มหนึ่ง วางอยู่บนแท่น ด้วยความสนใจจึงหยิบมาเปิดอ่านดูเห็นคำว่าวิปัสสนา ทำให้ท่านเกิดความสนใจมากขึ้น จึงคิดที่จะอ่านคัมภีร์เล่มนั้นต่อไปอีก แต่ยังไม่ทันที่จะอ่านต่อมีเสียงคนห้ามไม่ให้อ่าน ให้เอาคัมภีร์เก็บไว้ที่เดิม เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะอ่าน ให้เอาเก็บไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาแล้วจะได้เปิดอ่านเอง สามเถรตัมมะเกิดความสนใจในเสียงที่ห้ามนั้น จึงได้หันไปมองเสียงเจ้าของเสียงมาห้าม จึงทำให้ทรบว่าเจ้าของเสียงที่มาห้ามนั้น เป็นพระภุมหาเถระผู้ชรารูปหนึ่ง ที่มีรูปกายแข็งแรง มีผิวพรรณผุดผ่อง ที่ทราบว่าท่านชรานั้น เพราะน้ำเสียงที่ท่านได้พูด และใบหน้าบอกให้รู้ อีกทั้งเส้นผมนนครีษะ ของพระรูป<O:p

    นั้นขาวโพลนไปหมด สามเณรเกิดความเลื่อมใสในพระภิษุชรานั้นอย่างมาก จึงก้มตัวลงคลานเข้าไปกราบแทบเท้า ของพระภิษุผู้ชรารูปนั้น และพระภุผู้ชราภาพนั้นได้มีเมตตาเอื่ออาทร เอามือลูบศรีษะของสามเณรด้วยความเอ็นดู เมื่อมือท่านถูกศรีษะทำให้สามเณรเกิดความปิติขนลุกซู่ แล้วสะดุ้งตื่นจากความฝันอันเป็นมงคลนั้น แต่ภาพของภิษุผู้ชรานั้น ยังคงปรากฎ อญู่ในความทรงจำของสามเณรนั้น ภาพหลังพระมหาราชครู เสร็จธุระจากเมืองเชียงตุงแล้ว ก็ได้กลับมายังวัดราชฐานหลวง เมื่อสามเณรทราบว่าพระผู้เป็นอาจารย์ได้กลับมา ปล้วโดยปลอดภัย บังเกิดความดีใจอ่างมาก ได้น้อมกายเข้าไปนอบน้อมนมัสการพะผู้เป็นอาจารย์ของตน อีกทั้งได้เรียนตามพระเดช<O:p

    พระคุณเกี่ยวกับเรื่องของพระคำฮ้อยผู้เป็นบิดาที่อาศัยอยู่วัดป่าแดง เชียงตุงว่าเป็นอย่างไรบ้าง พระมหาเถระผู้เป็นอาจารย์นั้นเอ็นดูสามเณรมาก เอามือลูบศรีษะสามเณร แล้วกล่าวว่า ตัวท่านเองนั้นได้ไปสืบเรื่องราวของพระภิษุคำฮ้อยแล้ว แต่ไม่ไก้เรื่องอะไรเพียงแต่ทราบว่า พระภิษุคำฮ้อยนั้นได้จาริกไปอยู่โยนกนครแล้ว และกไม่ทราบว่าจะไปยังที่อื่นใดหรือไม่ เมื่อสามเณรน้อยได้ทราบเรื่องราวของผู้เป็นพระบิดา ที่ตัวเองได้เฝ้ารอคอยการกลับมาของท่าน สามเณรเกิดความเศร้าโศรกเสียใจ แต่ว่ามิได้แสดงออกมาจากทางกายวาจา เป็นเพียงแต่ว่าเกิดขึ้นมาและเก็บเอาไว้ทางใจ เพราะคำว่าหมดหวังทุกคนทุกคนที่เคยประสบจะรู้ดีว่ามันเป็นอย่างไร สามเณรนั้นท่านน้อยใจในวาสนาของตัวเอง ที่ได้เกิดมาไม่มีโอกาศได้พบหน้าตาของผู้เป็นพ่อตัวเอง<O:p

    ดูแลอุปฐากโยมมารดาที่ป่วย<O:p

    ต่อจากนั้นอีกไม่นานอี่คำแปงผู้เป็นมารดา ของสามเณรตัมมะเกิดล้มป่วยลงด้วยโรคประหลาด มีตุ่มฝีน้ำเหลือง ผุดขึ้นตามร่างกายทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน ต้องทุกข์เวทนาเป็นอย่างมาก เมื่อสามเณรทราบข่าวว่าโยมมารดาเจ็บป่วย ได้รับความทุกข์ทรมาน ท่านเกิดความสงสารมารดาเป็นอย่างมาก จึงกราบของอาจารย์พระผู้เป็นอาจารย์ มาดูแลทารดาที่กำลังเจ็บป่วยเป็นโรคประหลาด ท่านผู้เป็นพระอาจารย์ได้อนุญาติแล้ว สามเณรก็คอยดูและอุปฐาก ต้มน้ำร้อนต้มยาที่ชาวบ้านหามาได้ และคอยเช็ดฝีน้ำหนอง น้ำเหลืองให้มารดา โดยที่ท่านมิได้แสดงความรังเกียจต่อสิ่งปฎิกูลเหล่านี้แต่อย่งใดสามเณรน้อยรู้สึกน้อยใจในวาสนามาก ที่มารดาของตนได้รับความทุกข์
    <O:p
    ทรมาน ทั้งที่มารดาเป็นผู้มีบุญถือศีลแปด สร้างสมแต่บุญมาตลอด ชีวิตไม่น่าที่จะรับความทุกข์อย่างนี้ สามเณรตัมมะนั้นได้คอยอยู่อุปฐากดูแลมารดาของท่านจนตลอดชีวิต เมื่อมารดาได้สียชีวิตแล้วคณะสงฆ์วัดราชฐานหลวง ได้ร่วมกันช่วยเหลือทำการฌาปนกิจศพอี่คำแปงผู้เป็นมารดาของสามเณร ณ.สถานที่ตั้งเรือนนั้น โดยยกเรือนเข้าวัด และสถานที่นั้นเป็นที่กำเนิดของสามเณรตัมมะด้วย ตัวของสามเณรตัมมะเมื่อสิ้นบุญโยมมารดาแล้ว นก็มานั้งคิดตรองว่าชีวิตของคนเรานั้หาอะไรเป็นสาระไม่ได้ ชีวิตของตนเองก็เช่นกัน เกิดมาอาภัพบิดาไม่เคยได้เห็นหน้าชองบิดาเลยแม้แต่สักครั้งเดียว แลแถมยังต้องมากำพร้ามารดาอัก เมื่อท่านคิดดังนั้นแล้วท่านจึงตั้งจิตอธิฐานว่า ถ้า<O:p

    ตัวท่านนั้นยังมีบุญบารมีอยู่บ้าง ขอบุญไส่งให้ตัวเองมีความเจริญรุ้งเรืองในเรื่องพรพพุทธศาสนา และตัวท่านเองนั้นจะบวชถวายชีวิตเป็นพระพุทธบูชา และขออย่าให้ตัวเองยินดีเวียนไปสู่หีนะเพสเลย เมื่อท่านอฐิฐานจิตเสร็จ ท่านก็ใช้ชีวิตตามแบบฉบับของนักบวชทั่วไป และท่านเองนั้นมีความประสงค์ ที่จะหาโอกาสเดินทางไปสู่ประเทศอินเดีย เพื่อไปนมัสการ สังเวชนียสถานทั้งสี่แห่งให้ได้ เพระท่านได้ยินได้ฟังมาจากพระมหาราชครูว่า ถ้าใครได้ไปนมัสการ ในสถานที่ทั้งสี่แห่งนี้บาปกรรมต่างๆ จะหายไปชีวิตจะรุ้งเรือง แม้ตายไปแล้วก็ไม่ตกนรก ท่านเพียงแต่คิดในใจเท่านั้น เพราะตอนนั้นเป็นสามเณรไม่สามารถ ที่จะออกเดินทาง ไปไหนได้โดยลำพัง

    ต่อจากนั้นมาได้ไม่นาน มีคณะพระจาริกหมู่ใหญ่ได้เดินทางผ่านมาและได้พักปักกลด ในบริเวรใกล้หมู่บ้านจึยงร่ายนั้น เมื่อชาวบ้านได้ทราบข่าวว่ามีพระมาปักกลดธุดงค์ ต่างก็เกิดความศัทธาเลื่อมใส นำอาหารคาวหวานเท่าที่หามาได้ น้อมนำมาถวายแด่หมู่มวลพระหาเถระเจ้าอย่างมากมาย และยิ่งทราบด้วยว่าพระมหาเถระเจ้าที่มาในขบวนนั้น เป็นพระมหาเถระที่มีชื่อสียงโด่งดัง และเป็นผู้ที่มีพรรษาอายุกาลมาก พร้อมทั้งหมู่คณะนี้เป็นผู้ที่มีศีลจริยวัตร อันงดงามน่าเลื่อมใสจึงเกิดความศัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงได้นำไปเล่าลือกันต่อๆ เมื่อกิติศัพท์ของพระมหาเถระเจ้า ได้เล้าลือฟุ้งไปอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาราชครูได้ทราบข่าวที่น่ายินดีในการครั้งนี้ จึงได้พา

    อันเตวาสิก และลัทธิวิหาริกทั้งหลาย มาเพื่อทำวัตรแด่พระมหาเถระเจ้าผู้มีพรรษายุกาลนั้น และได้สอบถามวัตถุประสงค์ของการเดินทางในครั้งนี้อันเป็นะรรมเนียมวัตรด้วย ตามปฎิสันฐานคารวะ คณะของพระมหาราชครู ที่พากันมากราบพระมหาเถระเจ้า หนึ่งในนั้นมีสามเณรตัมมะด้วย เมื่อสามเณรตัมมะได้แลเห็นหน้าพระมหาเถระเจ้าผู้เป็นประทานสงฆ์ เกิดความรู้สึกปลาบปลื่มเป็นอย่างมาก เพราะพระมหาเถระเจ้านั้นมีพระพักตร์ช่วงละม้ายคล้ายคลึงกับ พระผูเฒ่าที่ตนเองเคยฝันถึงเมื่อคราวมาห้ามมิให้ตัวท่านนั้นอ่านพระคัมภีร์พราะว่ายังไม่ถึงกาลเวลา พระมหาเถระเจ้าได้สนทนาปราศรัย กับพระมหาราชครูเป็นที่ถูกใจกันแล้ว พระมหาเถระเจ้าจึงหันหน้ามามอง<O:p

    สามเณรน้อย ท่านได้พิจารณาดูอัปนิสัยบุคลิกร่างกายตลอดจนถึงกิริยาวาจาอันอ่อนน้อมถ่อมตนของสามเณรรูปนี้ และเป็นที่ถูกจริตถูกชะตา แด่พระมหาเถระเจ้าเป็นอย่างมาก ท่านจึงออกปากขอสามเณรตัมมะมาเป็นสัทธิวิหาริกของท่านต่อพระมหาราชครู เพื่อจะได้นำไปดูแลอบรม สั่งสอนธรรมะในแนวทางปฎิบัติธรรม เมื่อพระมหาราชครูได้ยินดังนั้น ก็เกิดความยินดีเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นวาสนาของสามเณรน้อย ที่พระมหาเถระเจ้านั้นมีเมตตาต่อสามเณรน้อย พระมหาราชครูท่านจึงยินดีมอบสามเณรให้แด่พระมหาเถระเจ้า เพื่อจะติดตามรับใช้พระมหาเถระเจ้า เพาะสามเณรนั้นมิมีอะไรน่าเป็นห่วงแล้ว พร้อมทั้งให้สามเณรนั้นรับนิสัยใหม่ จากพระมหาเถระเจ้า และพระมหาราชครูจึงเล่าประวัติของสามเณรนั้น ให้พระมหาเถระเจ้าทราบ ท่านจึงบอกว่าดีจะได้มีเวลาประพฤติปฎิบติธรรมได้อย่างเต็มที่ ไม่มีภาระอะไรให้เป็นปลีโพธิ (เป็นกังวล)<O:p

    การติดตามพระมหาเถระเจ้า
    <O:p
    สามเณรตัมมะเมื่อได้รับอนุญาต ให้ติดตามพระมหาเถระเจ้านั้นมีอายุพ้น ๑๕ ปีแล้ว เริ่มเข้าสู่วัยรุ่น เป็นสามเณรที่มีความรู้ดี และก็มีความประพฤติดี ชนิดที่ว่าไม่ต้องอบรมว่ากล่าวสั่งสอนอะไรมากและเมื่อสามเณรทราบว่าตัวเอง จะมีโอกาสติดตามพระมหาเถระเจ้าโดยไม่ขัดข้อง อีกทั้งผู้ที่เป็นพระอาจารย์ก็อนุญาตแล้ว ก็เกิดความยินดีเป็นอย่างมาก ได้คลานเข้าไปกราบแทบเท้าพระมหาราชครูผู้ที่มีพรคุณอันยิ่งใหญ่ดุจบิดา และรับปากผู้เป็นพระอาจารย์ว่า จะติดตามรับใช้พระมหาเถระเจ้าตลอดไป จะไม่ทำให้ท่านพระอาจารย์ผิดหวังในตัวของท่าน พระมหาราชครูก็ยินดีกับลูกศิษย์ที่ได้ครูอาจารย์ที่ดีแม้ตัวท่านเองนั้น ถ้าไม่ติดว่าชราและหน้าที่แล้ว ก็ใคร่จะติดตามพระ<O:p

    มหาเถระเจ้าไปด้วยเช่นกัน เมื่อสามเณรทราบอีกว่าพระมหาเถระเจ้านั้นมีจุดประสงค์ของการเดินทางที่จะไปนมัสการสังเวชนียสถานที่ประเทศอินเดีย ก็ทำใหเกิดปิติเป็นอย่างมาก เพราะท่านได้ใฝ่ฝัน ในการที่จะไปนมัสการอยู่เช่นกัน นับว่าเป็นโชคและวาสนาของตัวเองเป็นอย่างมาก ขณะที่พระมหาเถระเจ้ายังคงพำนับอยู่ใกล้หมู่บ้านเจียงร่ายนั้น ท่านได้อบรมแนะนำวิธีทำร่มกลดด้วยตัวเองเพื่อเอาไว้อาศัยบังฝนบังแดด เมื่อสามเณรได้ทำร่มกลดด้วยตัวเองเสร็จอันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะของพระมหาเถระเจ้าจึงได้ออกเคลื่อนขบวน โอกาสนั้นถือว่าสามเณรตัมมะนั้นได้ออกจากหมู่บ้านเจียงร่ายเป็นครั้งแรกโดยมีสาธุชนนับร้อยมาร่วมส่งขบวนในครั้งนั้นด้วย <O:p

    การเดินทางสมัยนั้นต่างจากสมัยนี้มาก เพราะว่าต้องเดินลัดป่าลุยป่ากันจริงๆ ไม้ใช่เดินข้างถนนปักกลดกันข้างบ้านอย่างในปัจจุบันนี้ และการเดินทางเป็นไปอย่างเรื่อยๆ ค่ำไหนนอนนั้น เข้าป่าข้ามเขาผ่านหมู่บ้านน้อยใหญ่ ซึ่งสามเณรตัมมะนั้นตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้ออกไปพบธรรมชาติ บางครั้งผ่านป่าดงดิบซึ่เป็นป่าที่ทึบและมีความงดงามตามธรรมชาติ ตามป่าเขาลำเนาไพรนั้นมีดอกไม้ป่าขึ้นตามพื้นดินเป็นกอเป็นต้นออกดอกสวยงามมีสีต่างๆ สดใสงดงาม มีหมู่ผีเสื้อเหลืองบ้างแดงบ้าง หลากสีบ้างบินตอมดอกไม้ทั่วไปเป็นเครื่องประดับป่า บนต้นไม้ใหญ่ก็มีผลไม้ที่กำลังออกผล และบางต้นก็มีกล้วยไม้แซมขึ้นบ้าง บางแห่งก็ชูช่อชูดอกดูสวยงาม บางครั้งก็<O:p

    ส่งกลิ่นหอมกรุ่นมาคามสายลม มีนกตัวเล็กๆสีต่างๆ โผบินเกาะไปตามต้นไม้ต่างๆตามใจชอบของมันอย่างอิสริปากก็ส่งเสียงร้องทักทายฟังเหมือนเพลงธรรมชาติป่าอันไพเราะ เมื่อพิจารณาฟังดูแล้วจะรู้สึกสบายใจเริญตา สามเณรตัมมะรู้สึกเพลิดเพลินใจเป็นอย่างมาก อีกทั้งมีขุนเขาสูงตระหง่านอยู่ข้างหน้า มองดูเป็นขั้นๆ ตามธรรมชาติที่สลับซับซ้อน การเดินทางคลุกเคล้ากับธรรมชาติ ที่สวยงามทำให้จิตใจสดชื่นแจ่มใส สามเณรตัมมะนั้นได้หลงไหลในธรรมชาติของป่าดงดิบที่ตนเองได้ผ่านไปทำให้มีจิตใจสดชื่นเบิกบาน คณะพระมหาเถระเจ้าได้ผ่านขุนเขาใหญ่น้อยขึ้นลงไม่รู้เท่าใด บางครั้งก็ขึ้นสูงจนมงเห็นเบื่องล่างเป็นเมฆหมอกลอยอยู่เบื่องต่ำ ความรู้สึก<O:p

    ยุ่งยากภายในจิตใจของคณะผู้ติดตามมาแล้ว จึงไม่มีอะไรที่จะทำให้เป็นห่วงหรือเป็นภาระที่ต้องทุกข์ร้อนใจ การเดินทางในครั้งนั้นค่ำไหนนอนนั้น บางครั้งผ่านหมู่บ้านใหญ่คณะทั้งหมดก็ต้องตั่งที่พักแรมใกล้หมู่บ้านนั้น ส่วนอาหารการขบฉันนั้นก็ได้จากชุมชนในหมู่บ้านนั้นเลี้ยงดูตามอัตภาพ และบางครั้งหมู่บ้านใกล้เคียงทราบว่าพระมหาเถระเจ้าได้เดินทางผ่านมาและได้หยุดพักที่นั้นที่นี่ ก็จะนำอาหารการกินมารวมสมทบกับหมู่บ้านนั้นอย่างมากมาย บางคนมีศัทธาเป็นอันมากถึงกับขนาดนำบุตรหลานของตนเองมาถวาย เป็นศิษย์ของพระมหาเถระเจ้า บ้างก็ให้บรรพชาอุปสมบทติดตามไปด้วยก็มี ในคณะนั้นมีผู้ร่วมติดตามร่วมพันคน แลละก็เป็นที่แน่นอนว่า<O:p

    เดินทางครั้งนั้นก็จะต้องมีเสบียงอาหารติดตามไปด้วย โดยมีคนอาสาเป็นลูกหาบเพราะว่าการเดินทางนั้นเป็นคณะใหญ่ ถ้าเข้าไปในเขตป่าใหญ่ปราศจากบ้านผู้คน ก็จำเป็นที่คณะผู้ติดตามรับเป็นภาระนการจัดเตรียมของขบฉันถวายแด่หมู่พระภิษุสงฆ์สามเณรผู้ติดตาม ส่วนมากอาหารหลักจะเป็นน้ำพริกผักตมเป็นส่วนมาก และก็จะมีเห็ดที่เก็บมาตาระหว่างทางที่เดินมา ตลอดจนของป่าบางชนิด ช่วงที่สามเณรตัมมะติดตามพระมหาเถระเจ้านั้น ท่านได้มีโอกาสใกล้ชิดตามอุปฐากพระมหาเถระเจ้า ท่านเป็นที่รักของพระมหาเถระเจ้า และคณะของผู้ติดตามเป็นอย่างมากท่านจะช่วยงานต่างๆในคณะอย่างเต็มกำลัง ไม่เคยที่จะปริปากป่นเลยซึ่งผิดจากวิสัยของเด็กวัยนั้น ชีวิตการ<O:p

    เดินป่าแม้บางครั้งจะเหน็ดเหนื่อย สามเณรตัมมะก็ยังที่จะสนุกเพลิดเพลินตามธรรมชาติ ชมนกชมไม้ชมป่าเขาลำเนาไพรไปตลอดทาง บางครั้งผ่านน้ำตกสวยๆ มีแอ่งน้ำใสที่ธรรมชาติได้สร้างไว้มากมาย จิตใจของสามเณรชุ่มชื่นอยู่ด้วยตลอดเพลิดเพลินหลงธรรมชาติของป่าเสียแล้ว ขึ้นเขาลงห่วยเข้าป่าเข้าดงพลพีมีแต่เสียงหรีดหริ่งเรไรเซ็งแซ่จนชินหูเป็นธรรมดา เมื่อยามกลางคืนจะต้องหาฟืนมาก่อเป็นกองไฟไว้รอบๆเพื่อให้เกิดแสงสว่าง เพื่อที่จะได้ฟังการอบรมธรรมะตลอดจนข้อวัตรปฎิบัติทั้งนักบวชและผู้ติดตาม จากพระมหาเถระเจ้า ซึ่งคนหมู่มากจะต้องช่วยกันในเรื่องเหล่านี้<O:p

    ศึกษาพระธรรม<O:p

    เมื่อพระมหาเถระเจ้าเห็นสามเณรตัมมะมีความเพลิดเพลิน ในป่าจนหาเกิดความกลัวไม่แล้ว ท่านได้พิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะอบรมสั่งสอนในเรื่องการปฎิบัติธรรมทั้งในด้านสมถะและวิปัสสนา โดยเริ่มสั่งสอนกันตั่งแต่กสิณ ๑๐ ก่อน โดยเฉพาะปฐวีกสิณ ท่านได้รับฝึกหัดสั่งสอนอย่างใกล้ชิด จนมีความชำนิชำนาญเป็นอย่างมาก จนสามารถเข้าสมาธิขั้นสูงสุด จากบริกรรมนิมิตเป็นอุคคหนิมิต จนถึง)ภาคนิมิต จากขณิกสมาธิ เป็นอุปจารรสมาธิจนถึงอัปปนาสมาธิ เข้าสูปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ปัญจมฌาน ท่านมีความสามารถ ชำนาญในวลีเป็นเยี่ยม สามารถเข้าออกฌานได้อย่างรวดเร็ว สามารถสร้างฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ได้ สามเณรตัมมะนั้นไม่ได้ทำให้พระมหาเถระเจ้าผิดหวังเลย เมื่อสามเณรมีความเชี่ยวชาญในปฐวีกสิณแล้ว กสิณอื่นๆท่านก็สามาร๔จะทำได้
    <O:p
    ทั้งหมด นับเป็นบุญวาสนาของสามเณรตัมมะที่ได้สร้างอบรมมาแต่ในอดีตชาติภพต่างก่อนๆ เมื่อสามเณรตัมมะมีความเชี่ยวชาญในสมถะกัมมัฎฐานแล้ว ผู้เป็นพระอาจารย์ก็ได้แนะนำการปฎิบัติเกี่ยวกับวิปัสนากัมมัฎฐานแด่สามเณรตัมมะสืบต่อไป ก่อนจะไปตอนอื่นนั้น ขออธิบายในเรื่องของสมถะกัมฎฐานสักนิด เพื่อเพิ่มความรู้แก่ท่านที่ยังไม่เข้าใจ ในเรื่องของสมถะมัฎฐานว่า คืออะไร? มีอะไรบ้าง ในที่นี้จะเขียนอธิบายย่อไว้ซึ่งแม้จะไม่ค่อยละเอียดเท่าใด แต่ก็คิดว่าจะมีประโยชน์แด่ท่านผู้ที่อ่านเป็นแน่ ส่วนท่านผู้รู้หรือทราบโดยละเอียดอยู่แล้วก็ขออย่าได้ตำหนิผู้เขียนเลยเพราะปัญญาของผู้เขียนนั้นมีน้อยไม่สามารถที่จะเข้าใจได้อย่างละเอียด และในการอธิบายนี้ถ้ามีข้อความใดผิดพลาดก็ต้องขออภัยไว้ ณ.ที่นี้
    <O:p
    ติดตามตอนที่.๔ ในเรื่องของสมถะกัมฎฐาน (ขั้นกสิณ)ได้เร็วๆนี้

    ติดตามภพภูมิ"โลกอุดร" ตอนที่๑-๒ ตามลิ้งเลยครับ

    http://palungjit.org/posts/2733586"...ีวประวัติ พระมหาเถระเจ้าโลกอุดร โดยเรืองตะวัน

    จบตอนที่ ๓ โดยท่านพ่อพีระ ปั้นมณี
    <O:p
    เรียบเรียงโดย บอล เรืองตะวัน คนเปิดกรรม

    มีบุญมาบอกครับ วัดสหบุญญาราม ท่านพ่อ พีระ ปั้นมณี<!-- google_ad_section_end -->

    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->มีบุญมาบอกครับ วัดสหบุญญาราม <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    บ้านบางงุ้น ต. ผักขวง อ. ทองแสนขัน จังหวัด อุตรดิตถ์ 188 หมู่ 16 <O:p</O:p
    โทร085-727-9925 087-309-6210 เบอร์โทรท่านพ่อ พีระ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้อมูลของทางวัด
    <O:p</O:p
    ทางวัดเป็นสายวัดป่าสายหลวงปู่ใหญ่ ( หลวงปู่เทพโลกอุดร ) ซึ่งมีท่านพ่อ พีระ ปั้นมณี หรือพระครูปลัดมโนธรรม เป็นเจ้าอาวาส ( เป็นพระนักเทศ นักสอน ) ความเป็นอยู่ของวัดขาดแคลนหลายอย่าง ฤดูฝนดีหน่อยใช้น้ำซึ่งมาจากน้ำตกบริเวณวัด ถึงคราหน้าแร้งต้องซื้อน้ำใช้ รอบวัดรายรอบด้วยบ้านของท่านผู้ถือศาสนาคริส(วัดคริสตั้งอยู่หน้าวัด ) มีไทยพุทธ เข้าไปทำบุญในวัดนี้น้อยมาก และในขณะนี้ทางวัดได้สร้าง เจดีครอบพระธาตุ ลานธรรมโลกอุดร และหล่อรูปหล่อหลวงปู่โลกอุดรขนาด สูง ๗ เมตร <O:p</O:p
    ซึ่งยังขาดปัจจัยอยู่มาก ทางผมเห็นว่าเป็นพระสายปฎิบัติ และเป็นสายหลวงปู่เทพโลกอุดร และตรองดูแล้วเห็นว่า น่าร่วมบุญ จึงได้จัดทำกระทู้นี้เพื่อมาบอกญาติธรรมทาง เว็บ พลังจิต ในการทำบุญในครั้งนี้โดย..ติดต่อกับวัดโดยตรงที่
    <O:p</O:p
    ธนาคารกรุงเทพ สาขาทองแสนขัน
    ชื่อบัญชี
    พระปลัดมโนธรรม มนธัมโม

    เลขที่บัญชี 610-005-9051

    หรือผ่านทางผม บอล เรืองตะวัน คนเปิดกรรม ก็ตามแต่สะดวกของญาติธรรมถ้าผ่านทางผมเงินโอนเข้ามาได้ที่ ธนาคารกรุงเทพ สาขา สยามสแคว ซอย 6 <O:p
    <O:p
    เลขบัญชี 152-4-43395-8 ในนาม นางสาว สมลักษณ์ พูลศรีสวัสดิ์ (มารดาผู้บอกบุญ)


    ในการทำบุญครั้งนี้ท่านที่มีความประสงค์จะบริจาคทรัพย์เพื่อร่วมบุญ ช่วยลงชื่อ นามสกุล จำนวนเงิน ให้ผมรับทราบในกระทู้นี้ด้วย

    ปล.ในงานกฐินเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๕๒ ณ.วัดดังกล่า ท่างด้านวิถถุมงคล สร้อยคอเห็กน้ำพี้ กำไลเหล็กน้ำพี่ ต้องขออภัยซึ่งในขณะนี้ยังไม่ได้จัดส่งให้กับญาติธรรมเลย จะเรียนเรียงส่งให้นะครับ การส่งล่าช้ามากๆเนื่องจากผมอยู่คนเดียวไม่มีผู้ช่วยเลย<!-- google_ad_section_end -->
    <O:p
    <O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2009
  2. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
  3. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
  4. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
  5. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
  6. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
  7. วสุธรรม

    วสุธรรม พลังรักอมตะ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    2,323
    ค่าพลัง:
    +8,220
    ผมพาหลานมาเยี่ยมครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
    ขอบคุณ คุณวสุธรรมและทุกๆกำลังใจครับ

    มีลิ้งใหม่เป็นเรื่องความคืบหน้าความเจ็บป่วย ตามลิ้งครับ

    httphttp://palungjit.org/threads/ก��...��.223401/<!-- google_ad_section_end -->
     
  9. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
    อนุโมทนาบุญทุกๆกระทู้ครับ

    เจริญในธรรม
     
  10. baiiboom

    baiiboom เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    276
    ค่าพลัง:
    +2,385
    เจริญในธรรมครับทุกกระทู้

    อนุโมทนาบุญ
     
  11. สายฝนฉ่ำเย็น

    สายฝนฉ่ำเย็น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,474
    ค่าพลัง:
    +7,070
    แม้ร่างจะล่วงลับดับสูรย์ แต่ดวงจิตใสสว่างนั้น พร้อมเคลื่อนย้ายไปสู่สวรรค์ชั้นฟ้า บุญกุศลที่ได้สร้างไว้กับมนุษย์นั้น ประทับอยู่ในจิตมิรู้ลืม กุศลใดที่ทำไว้ ส่งมอบให้ด้วยใจที่ ..จงรักและภักดี...
     

แชร์หน้านี้

Loading...