โทษภัยของโทสะนั้นน่าเกรงกลัวมาก!!! โทสะเป็นภัยร้ายทำลายโลก

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 24 กรกฎาคม 2006.

แท็ก: แก้ไข
  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    เรื่องของโทสะที่เกิดขึ้นนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากนะคะ

    แม้ในขณะที่เครียด กังวล ขุ่นเคือง หงุดหงิด ก็เป็นความติดข้องของจิต ที่เป็นโทสะ (หากไม่ทราบว่า แม้เพียงคิดน้อยใจ คิดเสียใจ เครียด กังวล ก็เป็นโทสะอย่างหนึ่ง ก็ยากที่จะรู้ทันโทสะ)

    โทสะนั้น เราส่วนใหญ่อาจมักเข้าใจกันว่าเป็นความโมโห ความโกรธ เลือดขึ้นหน้า ทำนองนั้น

    จริงๆแล้วแค่ความเครียดหงุดหงิด ไม่สบายใจ กังวล เล็กๆน้อย ก็เป็นโทสะแล้ว คือเป็นโทสะมูลจิต (อกุศลจิต สะสมในจิตทีละเล็กละน้อย) เพราะจิตมีสภาพสะสมได้ เมื่อสะสมสภาพโทสะละเอียดบ่อยๆ ก็จะสะสมได้เป็นโทสะที่กลายเป็น อกุศลกรรม(การกระทำมีเจตนาฝ่ายอกุศล มีผลเต็มที่เพราะมีเจตนาให้กระทำ)

    โทษของโทสะที่สะสมในจิต(อกุศลจิต) จนผลิออกมาเป็นโทสะที่แสดงออกมาเต็มที่ เป็นอกุศลกรรมนั้น

    มีดังนี้


    1.... ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม.....

    ตัวอย่างเช่น เป็นสิวง่าย มีผื่นคัน ผิวหยาบกระด้าง หม่นหมอง ฯลฯ

    สังเกตคนที่เครียดมากๆ กังวลมากๆ คือทำในใจบ่อยๆจนเป็นนิสัย

    ไม่นานผิวพรรณจะทรามลงในลักษณะต่างๆ ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของ โทสะ และเมตตา(ธรรมที่ตรงกันข้ามกัน) ตกแต่งกันไปตามสภาพกรรม

    เวลาเครียดๆนี่ ถือว่าขาดเมตตาต่อตนเองนะคะ เพราะมีโมหะด้วย คือความไม่รู้ตามจริง จึงเผลอคิดเครียดเรื่อยๆ ความเครียดจะสะสม ให้กระทำรุนแรงออกมาได้ เช่น วีนใส่คนอื่น หรือกล่าวถ้อยคำผรุสวาท เสียดสี ฉุดกระชากผลักผู้อื่น ใช้สายตาทำร้ายใจผู้อื่น กิริยาสะบัดสะบิ้งจนผู้อื่นระอา เป็นต้น


    2. ....ย่อมนอนเป็นทุกข์....
    คนที่ไม่ได้ไปแสดงอาการโมโหกับใคร ก็มีสิทธิ์นอนเป็นทุกข์ได้ เพราะความเครียดกังวลใจ น้อยใจ ไม่สบายใจนั้น เป็นโทสะมูลจิต คืออกุศลจิตที่เป็นโทสะ อย่างละเอียด ย่อมสะสมกลายเป็นความโกรธคับแค้นใจอย่างหยาบ ที่แสดงออกมาทางกายและวาจาได้ในที่สุด
    นอนเป็นทุกข์ นอนไม่ค่อยจะหลับ บ้างก็เอามือก่ายหน้าผาก จนเลือดไปค้างอยู่ตรงหน้าผากเพราะแรงกดทับก็มี ทำให้หน้าผากหมองคล้ำ ผิดโหงวเฮ้งไปอีก ผิวพรรณทราม ตรงตามผลในข้อ1ไปด้วย
    ฝันก็ฝันร้าย เพราะโทสะรกจิต เอาเก็บไปฝันได้ ตื่นมาเอาเรื่องในฝันไปขบคิดไม่สบายใจอีกก็มี
    นี่คือนอนเป็นทุกข์


    3.ย่อมเห็นเรื่องไร้สาระเป็นสาระ เรื่องสาระเป็นไร้สาระ

    สังเกตจากคนที่เครียด(โทสะอย่างละเอียด)
    ที่วนๆอยู่ในหัวของพวกเค้านั้นก็ไร้สาระ แต่เค้าคิดว่าเป็นสาระที่ต้องคิด จึงหมุนๆวนๆอยู่อย่างนั้น
    ไม่นานก็บ้า ประสาทเสียบ้าง กลายเป็นคนขี้วีนบ้าง ร้องไห้โหยหวนบ้าง แล้วก็กลับคิดว่า ที่วีนออกมา ร้องไห้ออกมา โต้ตอบออกมา คือสาระที่ต้องกระทำ คิดว่าถูกแล้ว ที่ได้ระบายเต็มที่
    หารู้ไม่ ว่าได้ก่อกรรมทางกายโดยสมบูรณ์แล้ว

    การที่เห็นว่าสิ่งไร้สาระเป็นสาระแบบนี้ คือหนทางแห่งความฉิบหาย เพราะ เห็นผิดเสียแล้ว ย่อมเกิดทิฏฐิมานะว่า ทำถูกต้องแล้ว เหตุนี้จึงทำให้เกิดทุกข์ตลอดกาล

    4.ย่อมเสียทรัพย์ได้โดยง่าย...

    แม้จะมีโภคะที่ตนหามาได้ด้วยความขยันขันแข็ง สั่งสมได้ด้วยกำลังแขนอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม แต่เพราะอำนาจโทสะนั้น ทำให้ขาดสติ มีเหตุอันให้เสียทรัพย์ได้โดยง่าย บ้างถูกโจรขโมยไป บ้างถูกภัยธรรมชาติ บ้างถูกทางการริบทรัพย์ไป
    ข้อนี้ ให้ระวังสำหรับคนที่หาทรัพย์มาอย่างเหนื่อยยาก อุตส่าห์ทำบุญทำทานก็แล้ว แต่หากไม่ระงับโทสะ ก็จะเสียทรัพย์ได้โดยง่าย...
    แม้ว่าผลบุญจะทำให้หาทรัพย์มาได้โดยง่ายก็ตาม...
    (แบบพวกคนรวยบางท่านที่ได้เงินมาง่ายๆ แต่ใช้หมดเร็วแบบไฟไหม้ฟาง บ้างโดนยึดทรัพย์ก็มี บางท่านของหายบ่อย ของพังอยู่เนืองนิจ เพราะฤทธิ์ของไฟโทสะที่เคยไปเผาใจของคนอื่น)

    ผลกรรมที่จะเสียทรัพย์เพราะโทสะนี้ มักเกิดพร้อมกับ ผลกรรมของการผิดศีลข้อ2ด้วย
    ถ้าเกิดพร้อมศีลข้อ2 ก็จะรุนแรงมาก บางคน ฐานะยากจนแล้วยังไฟไหม้บ้านอีก คือกรรมนั้นรุนแรงมาก...



    5.ย่อมไม่มีมิตรแท้หรือมิตรแท้เริ่มตีตัวออกห่าง เลิกคบ

    แน่นอนว่าคนที่ขี้วีน ขี้โกรธอยู่เนืองนิจ ไม่มีใครอยากจะอดทนให้นัก

    เพราะนอกจากไฟโทสะจะเผาใจผู้มีโทสะแล้ว ถ้าบันดาลโทสะออกมาทางกายวาจา สายตา ท่าทางแล้ว ก็เหมือนไปเผาใจคนใกล้ตัวด้วย

    บางคนต้องเลิกคบกันเพราะทนอารมณ์ฉุนเฉียว ของกันและกันไม่ไหว
    ...ทนกิริยาหงุดหงิดของกันและกันไม่ไหว...

    เมตตาคือหลักธรรมที่ทำให้เป็นที่รักแก่มิตร เป็นที่รักของสรรพสัตว์ทั้งหลาย แต่หากเป็นคนมีโทสะอยู่เนืองนิจ แม้แต่สัตว์เลี้ยงยังไม่ค่อยอยากอยู่ใกล้เลย



    6.ย่อมประพฤติทุจริตทั้งกายวาจาใจได้โดยง่าย...
    เมื่อตายไปก็จะไปภพที่ไม่ดี เช่น นรก เป็นต้น....


    คนมักโกรธ ซึ่งมีโทสะในใจบ่อยๆ อาจกังวลไม่สบายใจ นานๆจะสะสมจนกระทำออกทางกายแบบไม่สุจริตได้ เช่น สะสม จนมีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงต่อคนใกล้ชิด เช่นผู้มีพระคุณ เป็นบาปมหันต์ ให้รีบขอขมาลาโทษผู้มีพระคุณ เพื่อปรับจิตที่มีโทสะนั้น ให้อ่อนโยนลง

    เพราะ หากจิตสุดท้ายก่อนตาย มีอารมณ์แค้นเคือง ขุ่นเคือง ก็อาจนำพาไปสู่ภพนรกได้โดยง่าย


    ฝึกดูจิตดูใจไว้มากๆนะคะ
    เรายังเป็นปุถุชนที่ ยังไม่หมดกิเลส ยังเกิดโทสะในใจอยู่เสมอๆ
    แต่เราเลี่ยงที่จะไม่กระทำกรรมที่เบียดเบียนผู้อื่นได้

    เริ่มที่เจริญพรหมวิหาร4 หรือนึกเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา นั่นเอง ก็พอจะระงับโทสะในใจลึกๆได้บ้าง เพื่อจะได้ไม่สะสมจนกระทำออกมาเป็นกรรมหนัก
    (เช่น ฆ่าฟันกันง่ายๆ ดังที่เห็นกันอยู่บ่อยๆตามหน้าหนังสือพิมพ์)

    วิธีระงับราคะ โทสะ โมหะ

    ปัญหา ทำอย่างไรจึงจะไม่เกิด ราคะ โทสะ โมหะ เมื่อได้สัมผัสกับอารมณ์ต่าง ๆ ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนมาลุงกยบุตร ในบรรดาธรรมที่เธอเห็นแล้ว ฟังแล้ว รู้แล้ว รู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ในรูปที่เห็นแล้ว จักเป็นแค่เห็น ในเสียงที่ได้ยิน จักเป็นแต่ได้ยิน ในอารมณ์ที่จักเป็นแต่รู้ ในอารมณ์ที่รู้แจ้งจักเป็นแต่รู้แจ้ง เธอจักเป็นผู้ไม่ถูกราคะย้อม ไม่ถูกโทสะประทุษร้าย ไม่หลงเพราะโมหะ......”

    สังคัยหสูตร ที่ ๒ สฬา. สํ. (๑๓๓)
    ตบ. ๑๘ : ๙๑ ตท. ๑๘ : ๗๙
    ตอ. K.S. ๔ : ๔๓

    http://www.84000.org/true/363.html

    ประมวลกิเลส


    ๑.ราคะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

    -ความโลภอย่างแรงจนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)

    -ความเพ่งเล็งจะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่นแต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก (อภิชฌา)

    -ความอยากได้ในทางไม่ชอบ เช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์เป็นต้น (ปาปิจฉา)

    -ความมักมากเห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น (มหิจฉา)

    -ความยินดีในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรงกระตุ้น มีความพอใจในเรื่องเพศ (กามระคะ)

    -ความยินดีในรูปธรรมอันปราณีต ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูปของภพเมื่อทำสมาธิขั้นสูงขึ้นไป (รูปราคะ)

    -ความยินดีในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณเมื่อทำสมาธิถึงภพของอรูปพรหม (อรูปราคะ)


    ๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

    -พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร

    -โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาทแล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย

    -โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง

    -ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด


    ๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น

    -ความเห็นผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)

    -ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)

    -การเห็นว่ามีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)

    -ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)

    -การยึดถืออย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสีที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพพตปรามาส)

    -ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิดว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)

    -ความฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิ หรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)

    -ความไม่รู้จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา)

    โทษของการมีกิเลสดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้สั้นๆ ดังนี้คือ

    ๑.ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า

    ๒.โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว

    ๓.โมหะ มีโทษมาก แต่คลายช้า


    ข้อมูลส่วนนี้จาก
    http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem37.php

     
  2. koisung

    koisung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +3,469
    T_T พักนี้สิวขึ้นหน้าผากด้วยล่ะ....
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    เครียดป่าวจ้ะ...

    เอ...หรือว่า...ล้างหน้าไม่สะอาด..เพราะข้างนอกฝุ่น..เชื้อโรคเยอะจังเนาะ
     
  4. koisung

    koisung เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +3,469
    ก้อยว่าก้อยคงเครียดเกินไปแหละริน แหะๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...