แก้กรรมทำแท้ง

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย PalmPlamnaraks, 11 กันยายน 2005.

  1. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    ....คัดจากหนังสือหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต ตอบปัญหาธรรมะ...

    คำถาม หลังทำแท้งขณะตั้งครรภ์ได้ 2 เดือน รู้สึกเป็นบาป แต่จำเป็นต้องทำเพราะแพ้ท้อง ทำงานไม่ได้ สามีไม่ได้เอาใจใส่ต่อครอบครัวเลย และถ้าปล่อยให้เกิดมาเขาจะลำบาก และทำให้ลูกคนเกิดก่อนลำบากด้วย อยากทราบว่าบาปที่ทำนี้ มีวิถีทางใดจะชดใช้ได้บ้างเช่น บวชพราหมณ์ สร้างพระ หรือถือศีลเป็นต้น

    คำตอบ

    ไม่ว่าใครๆ เมื่อความทุกข์ใจมาถึงแล้ว ก็ต้องมองหาที่พึ่ง เพื่อแบ่งเบาชะรอยสามีจะล่วงละเมิดไป
    เล่นสาว จึงเป็นเหตุไม่อาลัยในของเดิม แต่ก็คงเป็นเรื่องของกรรมในภพก่อนๆ ที่พวกเราสร้างไว้ เพราะการ
    ท่องเที่ยวในสงสารมากกว่าเม็ดหินเม็ดทรายในท้องมหาสมุทรตั้ง 4 มหาสมุทรสมมติว่าชาติหนึ่งก็เม็ดทราย
    หนึ่งเป็นการเทียบ เมื่อเป็นดังนี้การท่องเที่ยวในสงสารจึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยพระพุทธศาสนาสอนไม่ให้
    นอนใจในโลกสงสารสอนให้รีบเร่งภาวนาปฏิบัติศีลธรรมเพื่อให้ชนะความหลงของตนเข้าสู่พระนิพพาน
    ไปซะ
    อนึ่งเรื่องลูกๆ ตั้งครรภ์แล้ว 2 เดือนจะหาอุบายทำลายนั้น มันเป็นบาปมากนักหลวงปู่ไม่อนุโมทนา
    ด้วย พระวินัยบอกว่า ปาราชิก 4 จะว่าแต่ข้อ 3 ความว่า " ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์ให้ตายต้องปาราชิก " มีหลักพูดอย่างนี้ แต่อธิบายหลักออกพิศดารมากมนุษย์ในครรภ์ก็ดี นอกครรภ์ก็ดี ฆ่าเองก็ดี ใช้ผู้อื่นฆ่าก็ดี หรือด้วยอุบายก็ดี ห้ามขาดทั้งนั้น ถ้าฝืนล่วงละเมิด ภิกษุเป็นปาราชิก นี้อธิบายใหัฟังอย่างย่อๆ เมื่อเป็นดังนี้ องค์หลวงปู่ไม่เห็นด้วย แม้เราทำลายแล้วเราไปบวชชีพราหมณ์ หรือทำบุญอะไรๆ ก็ตามจะทำบุญแก้บาปไม่ได้
    เพราะมันเป็นเงินคนละกระเป๋า สมมติว่าใจของเรานี้เปรียบเหมือนคลังบาปบุญนี้เปรียบเหมือนสมบัติที่อยู่
    ในคลัง คราวใดเราเอาบาปออกมาค้า ผลกำไรก็บวกบาปอยู่ที่ใจ เหตุนั้น การล้างบาปในพระพุทธศาสนาจึงไม่มี แต่เมื่อสร้างบารมีไปมากแล้วบาปก็เว้นพอแล้ว บุญก็สร้างพอแล้ว จึงจะทรงเหนือบาปและบุญไปได้ ยกตัวอย่างเช่น พระอรหันต์กรรมเก่าตามมาถึงก็มาเจอแต่เรือนร้าง คือสกลขันธ์ คือรูปนามแต่มันไม่ถึงธรรมะ
    ของพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์พ้นจากกองนามรูปไปแล้ว แต่พวกเราที่ยังมีกิเลสหนาเมื่อผลของกรรมตาม
    มาหามันก็ได้ทั้งหนังทั้งเขา เพราะเรายังไม่พ้นจากกิเลส เหตุนั้นเราจึงไม่ควรทำในมหันตโทษโทษฆ่ามนุษย์
    เป็นมหันตโทษไม่มีศาลอุทธรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น คดีดำคดีแดงในโรงในศาลมันหมดเป็นส่วนกรรมและผลของกรรม
    ที่ทำไว้แต่ละท่านละคนมันไม่จบเกษียณเป็นเลย มันตามไปจนถึงชาติเข้าสู่พระนิพพานดังกล่าวแล้วนั้น
    คำว่ากรรม และผลของกรรมว่าโดยย่อเพื่อเข้าใจง่ายคือ บาปและผลของบาป บุญและผลของบุญ ส่วนสร้างเหตุบาปบุญแล้วผลไม่ได้ประสงค์ก็ได้รับตามส่วนควรค่าของเหตุที่ทำน้อยและมาก เจ้าตัวจะรู้หรือ
    ไม่รู้ตัวก็ไม่เป็นปัญหา เหตุนั้นวัฏฏสงสารจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่สนองกรรมสนองเวรกันเหมือนพายเรือในอ่าง ต่อเมื่อถึงพระโสดาบันตราบใดจึงจะเดินตรงไปตามความประพฤติข้ามทะเลหลงของตนไม่ถอยหลังไม่แวะ
    ซ้ายไม่แวะขวาด้วย ตรงจุดหมายพระนิพพาน ต่ำกว่าพระโสดาบันลงมาแล้วพายเรือในอ่างทั้งนั้น หรือเป็นมด
    ไต่ขอบกระด้งทั้งนั้น พายเรือในอ่างทั้งนั้น ถ้าอยากทราบว่าตนเป็นพระโสดาบันหรือไม่นั้นก็มีแผนที่สอบ คือ สอบตนว่าตนเสียดายอยากล่วงละเมิดศีล 5 หรือไม่เสียดายอยากจะถือศาสดาอื่นนอกจากพระพุทธศาสนา
    ไปหรือไม่ เสียดายอยากจะจองเวรท่านผู้อื่นหรือไม่ เสียดายอยากจะเล่นอบายมุขหรือไม่เสียดายอยากจะถือ
    ฤกษ์ดียามดีหรือไม่ เสียดายอยากจะค้าขายเครื่องประหาร ค้าขายมนุษย์ ค้าขายสัตว์เป็นและเนื้อสัตว์ที่ตัวฆ่า
    เพื่อเป็นอาหาร ค้าขายน้ำเมา ค้าขายยาพิษ ทั้งหลายเหล่านี้หรือไม่ถ้าไม่เสียดายอยากล่วงละเมิดทั้งหลายเหล่า
    นี้แต่ต้นมา ก็ตัดสินเอาเองว่าเรานี้แหละคือพระโสดาบัน ถ้าไม่อย่างนี้แล้วก็เป็นโมฆะทั้งนั้น
    ให้เข้าใจว่าสิ่งใดที่เราไม่เสียดายอยากล่วงละเมิด เพราะเห็นชัดด้วยปัญญาด้วยดวงตาเห็นธรรม คือเห็นว่ามันเป็นเวรเป็นภัยจริงๆ ไม่มีศาลอุทธรณ์ถ้าเราเห็นชัดอย่างนี้ความเสียดายอยากล่วงละเมิดของเรา
    ก็ไม่มีเราก็ไม่หนักใจด้วย คล้ายๆ กับเราเห็นหลุมถ่านเพลิงอย่างชัดแจ้ง เราไม่เสียดายอยากไปลุยเลยและก็
    ไม่สงสัยอีกด้วยนี้แหละคือภูมิพระโสดาบัน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วก็เป็นพายเรือในอ่างดังกล่าวมาแล้ว
    อนึ่ง การหงุดหงิดฉุนเฉียวก็เพราะอารมณ์ของเรามีหลายแพร่งแพร่งหนึ่งเกี่ยวกับสามีที่ไม่รับผิด
    ชอบไม่อาลัย แพร่งสองเป็นธรรมดาของผู้ตั้งครรภ์ก็ต้องหงุดหงิดบ้างอย่างนั้นจะอย่างไรก็ตามความอดทน
    เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ เพราะอดทนในสิ่งที่ควรอดทน ไม่ใช่อดทนในการสร้างบาปอดทนในการ
    ไม่สร้างบาป ความอดทนกับความเพียรก็คงมีความหมายอันเดียวกันนั่นเอง แต่เพียรในทางพระพุทธศาสนา
    " เพียรละบาปบำเพ็ญบุญ " เป็นหลักของจิตใจ
    น่าเห็นใจลูกๆ หลานๆ อยู่เหมือนกัน ใครเกิดมาในโลกนี้ไม่เป็นทุกข์ใจไม่มีเลย ( เว้นพระอรหันต์
    เสีย ) พระโสดาบันเว้นทุกข์ใจไปเป็นเอกเทศแล้วและส่วนที่เว้นนั้นไม่กลับมาทุกข์อีกส่วนพระอรหันต์เว้นโดย
    เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว
    และคำสอนพระพุทธศาสนาเจตนามุ่งหมายให้สัตว์โลกเข้าสู่พระนิพพานทั้งนั้นเพราะใน
    ไตรโลกธาตุไม่มีสุขเท่าเมล็ดงาเลย ถ้าหากว่ามีความสุขเท่าเมล็ดงาแล้วพระอรหันต์ก็ไม่เบื่อหน่ายความหลง
    ของตนที่เคยหลงมา เมื่อเบื่อหน่ายความหลงของตนที่เคยหลงมาแล้วก็เท่ากับเบื่อหน่ายโลกทั้งปวงไปในตัว คำว่าเบื่อหน่ายนัยที่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะไปฆ่าตัวตายโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ถ้าไปฆ่าตัวตายโดยวิธีใด วิธีหนึ่งแล้ว เรียกว่าโทสะสัมปยุตถ์อยู่ เกิดมาในภพใดชาติใดก็ต้องฆ่าตัวตายอยู่อย่างนั้นไม่ใช่ผู้พ้นจากกิเลสแล้ว ท่านผู้พ้น
    จากกิเลสแล้วนั้นท่านไม่เป็นกังวลเพื่อจะฆ่าตัวตายเพราะความหลงมันหายไปหมดแล้วเหลือแต่พระปัญญา
    ที่เหนือความหลง และธรรมชาติฝ่ายสังขารก็บันดาลมรณภาพไปเองโดยไม่มีเงื่อนไขเจ้าตัวจะวางแผนไปฆ่า
    ด้วยวิธีใดๆ เลย ดังนี้ ผู้ที่ไปฆ่าร่างกายให้ตายนั้นเป็นผู้ที่ไร้ปัญญามาก ชะรอยผู้นี้เคยฆ่าตนเองมาแต่ชาติก่อนๆ แล้ว สิ่งที่จะควรสำเหนียกอีกก็มีอยู่ว่า ถ้าสามีของลูกเขาลอบไปรักหญิงอื่นก็ให้ยกมือใส่หัวซะ " ถ้าหากว่า
    ข้าพเจ้าเคยได้ไปรักผัวเขาแล้วได้เคยล่วงละเมิดผัวเขามาแต่ชาติก่อนๆ ก็ดี แม้ข้าพเจ้าโกรธบ้างก็ตาม แต่จะไม่
    จองเวร ขอให้แล้วกันไปซะตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน " ต้องทำจิตอย่างนี้ ถ้าไม่อย่างนี้แล้วก็จะมึงทีกูทีไปใน
    ชาติหน้าตะพึดตะพือลูกๆ เอ๋ย

    ที่มา http://www.geocities.com/pralaah/otherA21.htm
     
  2. PalmPlamnaraks

    PalmPlamnaraks เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2005
    โพสต์:
    764
    ค่าพลัง:
    +5,790
    ...
     
  3. olj

    olj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    213
    ค่าพลัง:
    +2,443
    สรุปว่า ต้องหนีครับ หนีนรก ส่วนจะหนีอย่างไร ตำรามีมากหลาย หลวงปู่หล้าก็ได้บอกแล้ว ก็ตรงกับหลวงพ่อพระราชพรหมยานด้วยซิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...