ลักษณะของ“จิตที่เป็นสมาธิ”

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 20 กรกฎาคม 2009.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    ลักษณะของ“จิตที่เป็นสมาธิ”


    [​IMG]



    โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)



    ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า อธิจิตตสิกขาคือการฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพและสมรรถภาพของจิต ดังนั้น สมาธิ ซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้นจึงหมายถึง ภาวะจิตที่มีคุณภาพและมีสมรรถภาพที่ดีที่สุด จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดีสมรรถภาพสูงนั้น มีลักษณะที่สำคัญดังนี้
    1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทางเดียว ย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป
    2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระหรือบึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว
    3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆ ได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนกันหมด
    4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย


    ไวพจน์ที่แสดงความของสมาธิคำหนึ่งคือ เอกัคคตา แปลกันว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้อแรกคือ เอกัคคตา = เอก + อัคค + ตา (ภาวะ) คำว่า อัคคะในที่นี้ท่านให้แปลว่าอารมณ์ แต่ความหมายเดิมแท้คือ จุดยอด หรือจุดปลาย โดยนัยจิตเป็นสมาธิก็คือ จิตที่มียอดหรือมีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง แทงทะลุสิ่งต่างๆ ไปได้ง่าย
    จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกจารย์เรียกว่า “ จิตประกอบด้วยองค์ 8 ” องค์ 8 นั้นท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ

    1 ตั้งมั่น
    2 บริสุทธิ์
    3 ผ่องใส
    4 โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา
    5 ปราศจากสิ่งมัวหมอง
    6 นุ่มนวล
    7 ควรแก่งาน
    8 อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว

    ท่านว่าจิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญาพิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิตให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้
    ตามที่กล่าวมานี้มีข้อควรย้ำว่า ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือความควรแก่งาน หรือความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ ทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริงและโดยนัยนี้จึงควรย้ำเพิ่มไว้อีกว่า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้

    “ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง ห้าประการกล่าวคือ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง แล้วจักรู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์แจ้งซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ ”
    “ ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ เปรียบเสมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชี่ยวพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว และพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้... ”
    สังคารวพราหมณ์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ท่านพระโคตมะผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้วตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย
    พระพุทธเจ้าตอบตรัสว่า : ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใดบุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งทางออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ในเวลานั้นเขาย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนานก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย
    (บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาก็เช่นเดียวกัน ทรงเปรียบจิตที่ถูกนิวรณ์ข้อต่างๆ ครอบงำดังต่อไปนี้)
    1. (จิตที่ถูกกามราคะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำซึ่งเอาสีครั่งบ้าง สีขมิ้นบ้าง สีเขียวบ้าน สีแดงอ่อนบ้าง ผสมปนกันไว้ คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
    2. (จิตที่ถูกพยาบาทครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่เอาไฟเผาลน เดือดพล่าน มีไอพุ่ง คนตาดีมองเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
    3. (จิตที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ถูกสาหร่ายและจอกแหนปกคลุม คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
    4. (จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ถูกลมพัดไหล กระเพื่อมเป็นคลื่น คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง
    5. (จิตที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัว เป็นตม ซึ่งวางไว้ในที่มืด คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

    ส่วนบุคคลที่ใจไม่มีนิวรณ์ 5 ครอบงำ และรู้ทางออกของนิวรณ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย และมีอุปมาต่างๆ ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว

    “ ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสแห่งทอง 5 อย่างต่อไปนี้ ทองเปื้อนปนเข้าด้วยกันแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ไม่อ่อน ไม่ควรแก่งาน ไม่สุกปลั่ง เปราะ ไม่เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ; ห้าอย่างเป็นไฉน ได้แก่ เหล็ก โลหะอื่น ดีบุก ตะกั่ว และเงิน...เมื่อใดทองพันจากอุปกิเลส 5 ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อน ควรแก่งาน สุกปลั่ง ไม่เปราะ เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ได้ดี ”

    “ กล่าวคือ ช่างทองต้องการทำเครื่องประดับชนิดใดๆ จะเป็นแหวน ต่างหู สร้อยคอ หรือสุวรรณมาลาก็ตาม ย่อมสำเร็จผลที่ต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต 5 อย่างต่อไปนี้ จิตพัวพันเศร้าหมองเข้าแล้ว ย่อมไม่นุ่มนวล ไม่ควรแก่งาน ไม่ผ่องใส เปราะเสาะ และไม่ตั้งมั่นด้วยดี (ไม่เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฉันนั้น ห้าอย่างเป็นไฉน ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา... ”
    “ เมื่อจิตพ้นจากอุปกิเลส 5 ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อนโยน ควรแก่งาน ผ่องใส ไม่เปราะเสาะ และย่อมตั้งมั่นด้วยดี (เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อนึ่ง เธอจะน้อมจิตไปเพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้งซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณีธรรม (สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยการรู้เจาะตรง) อย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่... ”
    มีพุทธพจน์บางแห่งตรัสว่า “ ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้งห้า และได้เริ่มทำความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ไม่เลือนหลง กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ได้เริ่มระดมความเพียรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวเด็ดเดี่ยวแล้ว ”
    ข้ออุปมาของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับสมาธินี้ก็น่าฟัง ท่านว่า สมาธิทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์สม่ำเสมอ ทำให้องค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับมันผนึกประสานกันอยู่ ไม่พร่า ไม่ฟุ้งกระจายเหมือนน้ำผนึกประสานแป้งเข้าเป็นก้อนเดียว และทำให้จิตสืบต่ออย่างนิ่งแน่วแน่มั่นคง
    เหมือนเปลวเทียนในที่สงัดงม ติดไฟสงบนิ่ง ลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี

    ----------
    http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=72007
     
  2. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,489
    ลักษณะของจิตที่ไม่มีสมาธิ

    โดยปกติจิตที่ไม่มีสมาธิจะดิ้นรน กวัดแกว่ง บังคับยาก ห้ามยาก ไม่สามารถจะตั้งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน มักตกไปในอารมณ์ที่ตนใคร่ ( กรมการศาสนา: คู่มือการอบรมสมาธิ, 2542.46) คัมภีร์ธรรมบทขุททกนิกายได้กล่าวถึงลักษณะจิตที่ไม่มีสมาธิไว้ ดังนี้
    1. ดิ้นรน ( ผนฺทนํ ) คือดิ้นรนเพื่อจะหาอารมณ์ที่น่าใคร่ น่าพอใจ เหมือนปลาถูกจับไว้บนบกก็จะดิ้นรนต้องการจะลงไปในน้ำฉะนั้น
    2. กวัดแกว่ง ( จปลํ ) คือไม่ตั้งอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้นาน รับอารมณ์นี้แล้วเปลี่ยนไปหาอารมณ์นั้น หลุกหลิก เหมือนลิง ไม่ชอบอยู่นิ่ง
    3. รักษายาก ( ทุรักฺขํ ) คือรักษาให้อยู่กับที่หรือให้หยุดนิ่งโดยไม่ให้คิดเรื่องอื่นทำได้ยาก เหมือนเด็กทารกไร้เดียงสา จะจับให้นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานานๆทำได้ยาก
    4. ห้ามยาก (ทุนฺนิวารยํ) คือจะคอยห้ามคอยกันว่าอย่าคิดเรื่องนั้น จงคิดแต่ในเรื่องนี้ ทำได้ยากเหมือนห้ามโคที่ต้องการจะเข้าไปกินข้าวกล้าของชาวนา ทำได้ยากฉะนั้น

    -----------
    ลักษณะของจิตที่ไม่มีสมาธิ :
     
  3. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    สาธุ

    นิยามได้ชัดเจนดี

    จิตที่ ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา ผ่องใส บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งมัวหมอง นุ่มนวล ควรแก่งาน.
     
  4. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,515
    ค่าพลัง:
    +9,765
    ตรงข้ามกับสภาวะ

    จิตแกว่งไกว ไหว ซัดส่าย ร้อนรน ทุรนทุราย ขุ่นมัว หยาบกระด้าง ไม่ควรแก่การงาน
     
  5. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ไม่ฟุ้งซ่าน
     
  6. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    กฏ กติกา มารยาทก่อนแสดงความคิดเห็น
    โปรดงดแสดงความคิดเห็นที่ไม่สร้างสรรค์ ขาดเมตตาธรรม ส่อเสียด ดูหมิ่น กล่าวหาให้ร้าย สร้างความแตกแยกให้แก่สังคมหรือกระทบ กระทั่งต่อสถาบันอันเป็นที่เคารพ และขัดต่อกฎหมาย รวมทั้งโปรดใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการแสดงความคิดเห็น
    ทางทีมงานผู้ดูแลสามารถลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของกระทู้และความคิดเห็นนั้นๆ


    ♪≡♥:สมาชิกห้องคาราโอเกะ:♥ ≡♪
    - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน
    - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน

    อนุโมทนา​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. HappyPrincess

    HappyPrincess Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2009
    โพสต์:
    297
    ค่าพลัง:
    +31
    อนุโมทนาค่ะ สาธุ สาธุ
     
  8. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,667
    ค่าพลัง:
    +9,239
    "ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วยก็คือความควรแก่งาน หรือความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ ทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริง"

    ขออนุโมทนาค่ะ
     
  9. mint2546

    mint2546 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    265
    ค่าพลัง:
    +46
    ดีชั่ว อยู่ที่ ตัวทำ
    สูงต่ำ อยู่ที่ ทำตัว
    ------------------------------------
    อนุโมทนาบุญครับ
     
  10. paul1234

    paul1234 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2009
    โพสต์:
    392
    ค่าพลัง:
    +634
    <TABLE style="WIDTH: 174pt; BORDER-COLLAPSE: collapse" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=232 border=0><COLGROUP><COL style="WIDTH: 23pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 1133" width=31><COL style="WIDTH: 48pt" width=64><COL style="WIDTH: 55pt; mso-width-source: userset; mso-width-alt: 2669" width=73><COL style="WIDTH: 48pt" width=64><TBODY><TR style="HEIGHT: 15pt" height=20><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 23pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; HEIGHT: 15pt; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" width=31 height=20> </TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 48pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" width=64> </TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 55pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" width=73> </TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; WIDTH: 48pt; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" width=64> </TD></TR><TR style="HEIGHT: 15.75pt" height=21><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; HEIGHT: 15.75pt; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" height=21> </TD><TD class=xl67 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8; mso-ignore: colspan" colSpan=3>อนุโมทนา... สาธุ...</TD></TR><TR style="HEIGHT: 8.25pt; mso-height-source: userset" height=11><TD class=xl68 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #002060 2pt double; HEIGHT: 8.25pt; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" height=11> </TD><TD class=xl68 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #002060 2pt double; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8"> </TD><TD class=xl68 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #002060 2pt double; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8"> </TD><TD class=xl68 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #002060 2pt double; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8"> </TD></TR><TR style="HEIGHT: 25.5pt; mso-height-source: userset" height=34><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; HEIGHT: 25.5pt; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8" height=34> </TD><TD class=xl69 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8; mso-ignore: colspan" colSpan=2>ทาน ศิล ภาวนา</TD><TD class=xl66 style="BORDER-RIGHT: #ece9d8; BORDER-TOP: #ece9d8; BORDER-LEFT: #ece9d8; BORDER-BOTTOM: #ece9d8; BACKGROUND-COLOR: #b6dde8"> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. oze

    oze Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    162
    ค่าพลัง:
    +94
    อนุโมทนาสาธุ

    _____________
    ทำตามที่คิด คิดตามที่ทำ (คิดดี ทำดี)
     
  12. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    กระทู้นี้คนเยอะ และเป็นกระทู้ไปในทางดี อนุโมทนาบ้างนะ ^-^
     
  13. nopphawong

    nopphawong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2009
    โพสต์:
    141
    ค่าพลัง:
    +184
    อนุโมทนาสาธุการด้วยนะค่ะ เพื่อนธรรมทุกท่านที่ปราศจากนิวรณ์ทั้งห้า
     
  14. พิญณ์

    พิญณ์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    397
    ค่าพลัง:
    +19
  15. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    สาธุ..... "จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้" อธิจิต (ละสังโยชน์ 5 ) รูปฌาน 4 อรูป 4 เป็นจิตที่ตั้งมั่นมีกำลังมากแต่ไม่ใช้ประโยชน์ ต่างกับอธิจิตเพียงแค่ เอากำลังมาตัดกิเลส
     
  16. ทิดทิด

    ทิดทิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    75
    ค่าพลัง:
    +203
    ผมพยายามฝึกจิตให้เป็นสมาธิอยู่ครับ
    ทำได้ยากมาก
    จะพยายามต่อไป
    และขอเป็นกำลังใจให้มิตรธรรมทุกคนที่กำลังฝึกจิตด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...