จิตเป็นตัวนำไปเกิด

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 26 มีนาคม 2006.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="80%" border=2><TBODY><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=lightgreen colSpan=2>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]พระพุทธศาสนาเชื่อถือในสังสารวัฏ - การเวียนว่ายตายเกิด และถือว่าคนเราทุกคนล้วนเกิดมาแล้วทั้งสิ้น นับชาติไม่ถ้วน และเกิดในภพภูมิที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ตามกฏแห่งกรรมที่ได้ทำไว้ทั้งดีและชั่ว ถ้ายังมีกิเลส อันเปรียบเหมือนยางเหนียวในพืชอยู่ตราบใด ก็ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ตราบนั้น จิตที่ได้รับการอบรมแล้ว ถ้ายังไม่สิ้นกิเลส ก็ย่อมนำไปเกิดในภพภูมิที่ประณีต มีความสุข ประเสริฐ และสูงขึ้น แต่ถ้าจิตไม่ได้รับการฝึกอบรม ปล่อยไว้ตามสภาพที่มันเป็น ปล่อยให้สกปรกเศร้าหมองเพราะถูกกิเลสจับ นอกจากจะก่อความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและสังคมในชาตินี้แล้ว ยังจะให้ภพชาติต่ำทรามลงไป ต้องประสบความทุกข์ ความเดือดร้อนมากในชาติต่อ ๆ ไปอีกด้วย
    หากจะมีใครถามว่า "ที่ว่าคนเราตายนั้น ร่างกายตาย หรือจิตตาย หรือว่าตายทั้งสองอย่าง" ขอตอบว่า "ตายเฉพาะร่างกายเท่านั้น จิตหาได้ตายไปเหมือนกับร่างกายนั้นไม่ แต่ไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ตามแรงเหวี่ยงของกรรม ซึ่งส่งบุคคลเราไปเกิดในภพชาตินั้น ๆ เปรียบเหมือนเรือนที่ถูกไฟไหม้ โดยที่เจ้าของไม่ได้เป็นอันตราย อยากจะถามว่า "เมื่อเรือนถูกไฟไหม้เสียแล้ว เจ้าของเรือนจะไปอยู่ที่ไหน" ขอตอบว่า "เขาจะต้องหาที่แห่งใหม่อยู่ ตามที่เขาจะสามารถหาอยู่ได้ กล่าวคือ ถ้าผู้นั้นเป็นคนมีความสามารถดี หรือเป็นคนมีเงินทองอยู่มาก หรือมีญาติพี่น้องคอยให้ความช่วยเหลืออยุ่ เขาก็อาจสร้างบ้านใหม่ได้ดี หรือไปอาศัยญาติพี่น้องอยู่ แต่ถ้าผู้นั้นไร้ความสามารถ ยากจน หมดเนื้อประดาตัว ซ้ำไร้ญาติขาดมิตร เขาก็ย่อมไปหาที่อยู่ตามยถากรรมของเขา ข้อนี้ฉันใด คนเราที่ตายไปจากโลกนี้แล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อร่างกายเดิมใช้การมิได้แล้ว ก็ย่อมไปเกิดในภพใหม่ชาติใหม่ ตามพลังแห่งกรรมที่ตนได้ทำเอาไว้ ถ้าเขาทำกรรมดีไว้มาก คือพัฒนาอบรมจิตตนเองได้มากแล้ว ก็ย่อมไปบังเกิดในที่ดี มีความสุข ถ้าเขาทำความดีไว้น้อย แต่ทำความชั่วไว้มาก คือยังด้อยในด้านพัฒนาจิตใจของตนอยู่ เขาก็ย่อมไปเกิดในที่มีความทุกข์ตามยถากรรมของตน.
    [/FONT]
    [​IMG]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=#cccccc colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC][/FONT]จิตเป็นตัวสั่งสมบุญและบาป[/FONT][/FONT]​
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=lightgreen colSpan=2>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]
    ลักษณะที่สำคัญประการหนึ่งของจิต ก็คือ เป็นตัวสั่งสมบุญบาป กรรม และกิเลสเอาไว้ ก็เมื่อจิตมีหน้าที่รับอารมณ์ จึงเก็บอารมณ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นบุญ ทั้งที่เป็นบาป ทั้งที่ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาปเอาไว้ แล้วเก็บไว้ในภวังค์ที่เรียกว่า ภวังคจิต เก็บไว้ได้หมดสิ้นอย่างละเอียด และสามารถนำติดตัวข้ามภพช้ามชาติไปได้ด้วย
    ลักษณะที่จิตเก็บบุญและบาปเอาไว้นั้น เหมือนกระดาษซับ ที่สามารถซับน้ำเอาไว้คือ ตามปกติเมื่อมีน้ำหกราดลงบนโต๊ะหรือบนพื้นห้อง ถ้ามีกระดาษซับ เรามักจะใช้กระดาษนี้ซับน้ำที่หกราดนั้นให้แห้งไปได้ กระดาษซับสามารถเก็บน้ำได้หมด ฉันใด จิตก็เหมือนกัน เมื่อคนเราทำบุญหรือบาปลงไป จิตก็ซับเก็บไว้ได้หมด ฉันนั้น จิตจึงเป็นสภาพพิเศษที่น่าศึกษาจริง ๆ และเราทุกคนก็ได้ใช้จิตสั่งงานอยู่เกือบตลอดเวลา คนฉลาดจึงเห็นคุณค่าในการพัฒนาจิต อบรมจิตของตน
    ในเรื่องที่จิตสามารถเก็บบุญและบาปเอาไว้จนถึงนำข้ามภพข้ามชาติไปได้นี้ บางคนอาจจะสงสัยและคัดค้านว่า "ถ้าหากว่าจิตมีลักษณะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาแล้ว เมื่อจิตดวงที่ทำบุญและบาปเอาไว้ดับไปแล้ว บุญและบาปจะติดตามจิตต่อไปได้อย่างไร เพราะบุญและบาปได้ดับไปพร้อมจิตดวงนั้นเสียแล้ว"
    ข้อนี้ขอเฉลยว่า ธรรมชาติของจิตเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็จริง แต่ก็ได้เกิดดับสืบต่อกันไปไม่ขาดสาย เหมือนกระแสไฟฟ้าที่เกิดดับอยู่ตลอดเวลา ทำให้แสงสว่างติดต่อกันตลอด เพราะเกิดดับไวมาก อันธรรมชาติของจิตนั้น ก่อนที่มันจะดับไป ได้ถ่ายทอดทิ้งเชื้อ คือ บุญ บาป กรรม กิเลส ไว้ให้จิตดวงต่อไป เก็บไว้นำต่อไป แล้วแสดงผลออกมาเป็นระยะ ตามพลังแห่งกรรมคือบุญและบาปที่ได้สั่งสมไว้ บุญบาป มิได้สูญหายไปพร้อมกับความตายของร่างกาย หรือพร้อมกับความดับของจิต แต่ได้ถ่ายทอดสืบเนื่องไปตลอดเวลา เหมือนกับพันธุกรรมของมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่ถ่ายทอดสืบต่อมาจากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด แม้ท่านจะตายล่วงลับไปแล้ว แต่ตัวท่านก็ยังมีอยู่ เพราะยีน (Gene) ซึ่งถ่ายมาจากสเปอร์ม และไข่ อันเป็นเชื้อในพันธุกรรมของท่าน ซึ่งเปรียบเสมือนบุญและบาป ยังสืบต่ออยู่ในบุตรหลานของท่าน เพราะฉะนั้น บุญ บาป จึงมิได้หายไปตราบเท่าที่คนนั้นยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่ แม้จิตจะเป็นธรรมชาติเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม คนที่เคยพัฒนาตนไว้ดีเมื่อชาติก่อน ๆ เมื่อมาสู่ชาตินี้ จิตก็ยังมีคุณภาพสูงอยู่ ดังที่เราได้พบเห็นท่านผู้ที่บุญมากที่มาเกิด ซึ่งเป็นคนมีรูปร่างดี ปัญญาเฉียบแหลม จิตใจเข้มแข็ง ประกอบด้วยเมตตากรุณา เป็นต้น แต่ถ้าผู้นั้นจะกินแต่บุญเก่าอย่างเดียว ไม่ยอมพัฒนาตนเองในปัจจุบัน พลังของบุญหรือพลังแห่งการพัฒนาตนไว้เมื่อชาติก่อนนั้น ย่อมหมดไปได้ ฉะนั้น คนที่ฉลาดจึงไม่หวังแต่กินบุญเก่าอย่างเดียว แต่ได้พยายามเพิ่มบุญใหม่ด้วยการพัฒนาตน อบรมตนในปัจจุบันด้วย
    [/FONT]
    [​IMG]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=#cccccc colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ลักษณะของบุญและบาป[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=lightgreen colSpan=2>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]
    เนื่องจากจิตเป็นตัวรับหรือเก็บเอาบุญบาปเอาไว้ ฉะนั้น การศึกษาให้เข้าใจเรื่องบุญบาปตามหลักพระพุทธศาสนา จึงมีความจำเป็นประการหนึ่งในการอบรมจิต เพราะจิตของคนที่สั่งสมบุญไว้มาก เป็นจิตที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากเป็นจิตที่ได้รับการพัฒนา ส่วนจิตของคนที่สั่งสมบาป หรือทำบาปไว้มาก เป็นจิตที่มีคุณภาพต่ำ เพราะขาดการพัฒนา ฉะนั้น จิตของคนที่มีบุญมากกับมีบาปมาก จึงต่างกันมาก เหมือนกับสภาพของประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศที่ด้อยพัฒนา เราจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันประชาชนในหมู่ประเทศทั้ง ๒ มีความเป็นอยู่แตกต่างกันมาก
    เพื่อประโยชน์ในการฝึกอบรมจิต เราจึงควรทราบลักษณะของบุญและลักษณะของบาปตามหลักพระพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้
    [/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" bgColor=#cccccc border=1><TBODY><TR><TD>
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ลักษณะของบุญ[/FONT][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] บุญมีลักษณะที่จะเข้าใจได้ง่าย ๆ อยู่ ๓ ประการ คือ
    ก. เมื่อกล่าวถึงเหตุของบุญ ได้แก่ การทำความดีทุกอย่าง
    ข. เมื่อกล่าวถึงผลของบุญ ได้แก่ ความสุขกายสุขใจทั้งในชาตินี้และในชาติต่อไป
    ค. เมื่อกล่าวถึงสภาพของจิต ได้แก่ จิตใจที่สะอาดผ่องใส
    เพราะฉะนั้น บุญก็คือการทำความดี อันเป็นเหตุทำจิตของตนให้ผ่องใสสะอาด แล้วก่อผลส่งผลให้เกิดความสุขความเจริญทั้งร่างกายและจิตใจให้แก่คนที่ทำบุญไว้ หรือคนที่อบรมจิตของตน หรือจะพูดอย่างย่อก็คือ บุญคือความสุขนั่นเอง ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายอย่ากลัวต่อบุญเลย คำว่าบุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข" [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC](องฺ.[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]*[/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]สตฺตก. ๒๓/๙๕/๙๐)[/FONT]
    [/FONT]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="80%" align=center bgColor=#ffff99 border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] * [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]การยกหลักฐานจากพระไตรปิฎกมาอ้างอิงไว้ด้วย ก็เพื่อชี้ให้เห็นว่า ที่เขียนมานี้ ไม่ใช่พูดขึ้นมาเองโดยไม่มีหลักฐาน และเพื่อให้ท่านผู้สนใจได้ค้นเพิ่มเติมจากพระไตรปิฎกโดยตรง
    [/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]พระไตรปิฎกที่ยกมาอ้างอิงนี้ เป็นฉบับภาษาบาลี อักษรย่อตัวแรก หมายถึงชื่อคัมภีร์ ตัวที่ ๒ หมายถึงหมวดของคัมภีร์นั้น ตัวเลขอันดับแรก หมายถึงเล่มของพระไตรปิฎก. อันดับสองหมายถึงข้อ. อันดับสาม หมายถึงหน้าของพระไตรปิฎกเล่มนั้น เช่น องฺ. สัตฺตก. ๒๓/๙๕/๙๐
    [/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]องฺ. หมายถึงคัมภีร์อังคุตตรนิกาย. สตฺตก. หมายถึง สัตตกนิบาต. ๒๓ หมายถึงเล่มที่ ๒๓. เลขอันดับกลาง คือ ๙๕ หมายถึง ข้อที่ ๙๕ ส่วน ๙๐ หมายถึงหน้า ๙๐.[/FONT]
    [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" bgColor=#cccccc border=1><TBODY><TR><TD>
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ลักษณะของบาป[/FONT][/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] ส่วนบาปนั้น มีลักษณะตรงกันข้ามกับบุญ ซึ่งมีลักษณะ ๓ อย่าง เช่นเดียวกัน คือ
    ก. เมื่อกล่าวถึงเหตุของบาป ได้แก่ การทำชั่วทุกอย่าง
    ข. เมื่อกล่าวถึงผลของบาป ได้แก่ ความทุกข์กายทุกข์ใจทั้งในชาตินี้และในชาติหน้า
    ค. เมื่อกล่าวถึงสภาพของจิตใจ ได้แก่ ความสกปรกเศร้าหมองของจิตใจ
    ฉะนั้นบาปคือการทำชั่ว อันเป็นเหตุทำจิตใจของตนให้สกปรกเศร้าหมอง แล้วส่งผลเป็นความทุกข์ความเดือดร้อน พระพุทธเจ้าจึงตรัสเตือนไว้ว่า "ความชั่วไม่ทำเสีบเลยดีกว่า เพราะว่าความชั่วย่อมตามตามเผาผลาญในภายหลังได้" [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC](ขุ. ธ. ๒๕/๓๒/๕๖)[/FONT]
    [/FONT]​
    [​IMG]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=#cccccc colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ปัญหาเรื่องนรกสวรรค์[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=lightgreen colSpan=2>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]
    ปัญหาเรื่องนรกสวรรค์ ผีสาง เทวดา มีจริงหรือไม่ ถ้ามี มีอยู่อย่างไร ? เป็นปัญหาที่น่าสนใจของคนทั่วไปในโลก ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก เป็นปัญหาที่ขบคิดกันมานานตั้งแต่โบราณจนกระทั่งปัจจุบัน
    ผู้ที่สอนศีลธรรมในโรงเรียน ไม่ว่าระดับไหน มักจะได้รับคำถามเรื่อง ผี เทวดา นรก สวรรค์ อยู่เสมอ รวมทั้งพระสงฆ์ และอนุศาสนาจารย์ ก็ได้รับคำถามเช่นนี้ด้วย
    ในฐานะที่เรานับถือพระพุทธศาสนา จึงควรศึกษาให้เข้าใจเรื่องเหล่านี้ให้ถ่องแท้ เพราะเป็นปัญหาที่มีความสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาอย่างแยกไม่ออก ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับชาวพุทธที่จะต้องค้นคว้าศึกษาให้ทราบว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงสิ่งเหล่านี้ไว้อย่างไรบ้าง ถ้าตรัสไว้ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์อะไรบ้าง ใจความว่าอย่างไร เพื่อเราจะรับสิ่งเหล่านี้อย่างมีหลักฐาน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอย ๆ โดยไม่มีหลักฐานอ้างอิง
    เรื่องนรกสวรรค์ มีความสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออกกับเรื่องกรรม และเรื่องหลักสังสารวัฏตามหลักพระพุทธศาสนา
    [/FONT]
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=1><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]พระพุทธศาสนายืนยันว่าคนเราตายแล้วเกิดจริง[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]พระพุทธสาสนายืนยันว่า การเวียนว่ายตายเกิดมีอยู่จริง ซึ่งมีหลักฐานปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาจำนวนมาก เช่นในคัมภีร์ชาดก เปตวัตถุ วิมานวัตถุ และพระสูตรต่าง ๆ ดังเช่นที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน ปาปวรรคแห่งคัมภีร์ธรรมบทว่า[/FONT]​
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="60%" align=center border=0><TBODY><TR bgColor=#ffff99><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]"คพฺภเมเก อุปปชฺชนฺติ[/FONT]</TD><TD>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]นิรยํ ปาปกมฺมิโน[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ffff99><TD>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]สคฺคํ สุคติโน ยนฺติ[/FONT]</TD><TD>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ปรินิพฺพนฺติ อนาสวา."[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ffff99><TD colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]แปลว่า[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ffff99><TD colSpan=2>[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]"คนบางพวกเกิดในครรภ์ คนบางพวกที่ทำกรรมชั่วไว้ไปนรก คนบางพวกที่ทำกรรมดีไว้ไปสู่สวรรค์ ส่วนท่านที่หมดกิเลสแล้วทั้งหลายย่อมนิพพาน"[/FONT]</TD></TR><TR bgColor=#00ff66><TD colSpan=2>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]คำอ่าน[/FONT]​
    </TD></TR><TR bgColor=#00ff66><TD colSpan=2>[FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]"คัพ-ภะ-เม-เก-อุป-ปัช-ชัน-ติ-นิ-ระ-ยัง-ปา-ปะ-กัม-มิ-โน-สัค-คัง-สุ-คะ-ติ-โน-ยัน-ติ-ปะ-ริ-นิพ-พัน-ติ-อะ-นา-สะ-วา."[/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]นี้เป็นตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ในบรรดาพุทธภาษิตเป็นจำนวนมาก ที่ยืนยันการเวียนว่ายตายเกิด พระบาลีข้างต้นนี้คือพระดำรัสยืนยันของพระพุทธเจ้า
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]จากพระบาลีนั้จะเห็นได้ว่า คนเราตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ผู้ที่ตายแล้วไม่เกิดอีกนั้น คือ พระอรหันต์ ทำไม พระอรหันต์จึงไม่เกิดอีก ทั้งนี้ก็เพราะท่านหมดกิเลสอันเป็นเหมือนยางเหนียวในพืชแล้ว คือ ถ้าเป็นพืชก็ปลูกไม่ขึ้นเพราะหมดยางเหนียวแล้ว จิตของพระอรหันต์หมดกิเลสแล้ว จึงไม่เกิดอีก แต่สำหรับเราทั้งหลาย เมื่อตายแล้ว แม้เราไม่อยากเกิดก็ค้องเกิดอีก เพราะเรายังมีกิเลสอันเป็นเหมือนยางเหนียวในพืชอยู่[/FONT]​
    [​IMG][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT]​
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=#cccccc colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]กำเนิด ๔ [/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=lightgreen colSpan=2>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]*[/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]สัตว์โลกที่ไปเกิดอยู่ในภูมิทั้ง ๓๑ ภูมินั้น ย่อมเกิดในกำเนิดทั้ง ๔ คือ[/FONT] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="80%" align=center bgColor=#ffff99 border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]*[/FONT][/FONT] [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]คำว่า "สัตว์ หรือ สัตว์โลก" แปลว่า "ผู้ที่ยังข้องอยู่" คือยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่าง ๆ ฉะนั้น จึงหมายรวมถึงมนุษย์ เทวดา พรหม ในทุกภพทุกภูมิและสัตว์ในอบายภูมิทั้ง ๔ มิได้หมายเอาเฉพาะสัตว์ดิรัจฉานประเภทเดียว[/FONT] </TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]๑. ชลาพุชะ เกิดในครรภ์
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]๒. อัณฑชะ เกิดในไข่
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]๓. สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]๔. โอปปาติกะ เกิดผุดขึ้น
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC](ม. มู. ๑๒/๑๖๙/๑๔๗)[/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ชลาพุชะกำเนิด[/FONT][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC] [/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ได้แก่สัตว์ที่เกิดในมดลูก คือ มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานที่คลอดออกมาเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยนม เช่น โค กระบือ แมว เป็นต้น[/FONT]
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อัณฑชะกำเนิด[/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ได้แก่สัตว์ดิรัจฉานที่ออกมาเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักออกมาเป็นตัว เช่น เป็ด ไก่ นก ปลา เป็นต้น
    [/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ชลาพุชะกำเนิดและอัณฑชะกำเนิดนี้ รวมเรียกว่า คัพภเสยยกะกำเนิด เพราะเกิดอยู่ในครรภ์ของมารดาก่อนภายหลังจึงออกจากครรภ์
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]สังเสทชะกำเนิด[/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] ได้แก่สัตว์ทั้งหลายที่เกิดโดยไม่ต้องอาศัยท้องพ่อแม่ แต่อาศักเกิดจากต้นไม้ ผลไม้ ดอกไม้ หรือของโสโครก หรือที่ชุ่มชื้น เช่น เชื้อโรค และสัตว์เซลเดียว มี อมีบ้า พลามีเซี่ยม เป็นต้น
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]โอปปาติกะกำเนิด[/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] ได้แก่สัตว์โลกที่เกิดมาโดยไม่ได้อาศัยพ่อแม่และของโสโครก หรือที่ชุ่มชื้น แต่อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว และเมื่อเกิดก็เติบโตขึ้นทันที เช่น พวกสัตว์นรก เปรต เทวดา พรหม มนุษย์ในสมัยต้นกัป* เป็นต้น[/FONT] <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="80%" align=center bgColor=#ffff00 border=0><TBODY><TR><TD>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]*[/FONT] [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ตามหลักพระพุทธศาสนาถือว่า มนุษย์ที่มีขึ้นในยุคแรกในโลกนี้ เรียกว่า "มนุษยืในสมัยต้นกัป" และมนุาย์ในยุคแรกนี้จุติมาจากพรหมโลกชั้นอาภัสสรา ซึ่งได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง สัญจรไปมาในอากาศ เมื่อมาอาศัยโลกนี้นานเข้า ร่างกายก็วิวัฒนาการขึ้นมาเรื่อย ๆ จนเป็นมนุษย์หญิงชายสืบเชื้อสายกันมาจนถึงปัจจุบัน
    [/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]อัคคัญญสูตร ที. ปา. ๑๑/๕๖/๙๒-๙๓ [/FONT]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=#cccccc colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]องค์ประกอบในการเกิดมนุษย์[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=lightgreen colSpan=2>
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ในมหาตัณหาสังขยสูตร พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงการที่มนุษย์ได้ก่อกำเนิดขึ้นในครรภ์มารดาว่า ต้องมีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]๑. มาตา อุตุนี โหติ มารดามีระดู
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]๒. มาตาปิตโร สนฺนิปติตา โหนฺติ มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] ๓. คนฺธพฺโพ ปจฺจุปฏฺฐิโต โหติ มีสัตว์มาเกิด
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT]
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC](ม. มู. ๑๒/๔๕๒/๔๘๗)[/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]เมื่อมีองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ครบถ้วนแล้ว การตั้งครรภ์ก็ย่อมมีขึ้นได้ แต่ถ้าไม่พร้อมทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว การตั้งครรภ์ก็มีไม่ได้
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]คำว่า "มารดามีระดู" นั้น หมายถึงมีจุติจิต หรือ จุติวิญญาณ เคลื่อนมาปฏิสนธิ จึงเกิดเป็นปฏิสนธิวิญญาณขึ้น และปฏิสนธิวิญญาณนี้เองเป็นจิตดวงแรกที่เกิดในชาติใหม่ และจัดเป็นส่วนนามที่สืบต่อมาจากภพชาติก่อน ๆ โดยนำเอาบุญ บาป กรรม กิเลสติดมาด้วย
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ผู้ที่เกิดมาก็มีแต่นามกับรูป ๒ อย่างนี้เท่านั้น[/FONT]
    [​IMG]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=#cccccc colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ลำดับแห่งการพัฒนาการของทารกในครรภ์[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=lightgreen><TD bgColor=lightgreen colSpan=2>
    [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ในอินทกสูตร ยักขสังยุต [/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงการก่อกำเนิดมนุษย์ที่เจริญเติบโตอยู่ในครรภ์มารดาไว้อย่างน่าสนใจยิ่งว่า [/FONT]<TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="55%" align=center border=1><TBODY><TR bgColor=#ffff99><TD width="53%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ปฐมํ กลลํ โหติ[/FONT]</TD><TD width="47%">
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]กลลา โหติ อพฺพุทํ[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ffff99><TD width="53%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อพฺพุทา ชายเต เปสิ[/FONT]</TD><TD width="47%">
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]เปสิ นิพพตฺตตี ฆโน[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ffff99><TD width="53%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ฆนา ปสาขา ชายนฺติ [/FONT]</TD><TD width="47%">
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]เกสา โลมา นขาปิ จ[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ffff99><TD width="53%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]ยญฺจสฺส ภุญชติ มาตา[/FONT]</TD><TD width="47%">
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]อนฺนํ ปานญฺจ โภชนํ[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ffff99><TD width="53%">[FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]เตน โส ตตฺถ ยาเปติ[/FONT]</TD><TD width="47%">
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]มาตุกุจฺฉิคฺคโต นโร.[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ccccff><TD colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]แปลความว่า[/FONT]
    </TD></TR><TR bgColor=#ffff99><TD colSpan=2>
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]"รูปนี้เป็นกลละก่อน จากกลละเกิดเป็นอัพพุทะ จากอัพุทะเกิดเป็นเปสิ จากเปสิเกิดเป็นฆนะ จากฆนะเกิดเป็น ๕ ปุ่ม (ปัญจสาขา) ต่อจากนั้นก็มีผม ขน และเล็บ (เป็นต้น) เกิดขึ้น มารดาของทารกในครรภ์นั้นบริโภคน้ำข้าว โภชนาหารอันใด ทารกที่อยู่ในครรภ์นั้น ย่อมมีชีวิตอยู่ได้ด้วยอาหารนั้น ในครรภ์มารดานั้น"[/FONT]
    [FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC](สํ. ส. ๑๕/๘๐๓/๓๐๓)[/FONT]​
    </TD></TR><TR bgColor=#ccccff><TD colSpan=2>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]คำอ่าน[/FONT]​
    </TD></TR><TR><TD colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=1 width="100%" border=1><TBODY><TR bgColor=#00cc99><TD>[FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ปะ-ฐะ-มัง-กะ-ละ-ลัง-โห-ติ[/FONT]</TD><TD>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]กะ-ละ-ลา-โห-ติ-อัพ-พุ-ทัง[/FONT]​
    </TD></TR><TR bgColor=#00cc99><TD>[FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]อัพ-พุ-ทา-ชา-ยะ-เต-เป-สิ[/FONT]</TD><TD>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]เป-สิ-นิพ-พัต-ตะ-ตี-ฆะ-โน[/FONT]​
    </TD></TR><TR bgColor=#00cc99><TD>[FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ฆะ-นา-ปะ-สา-ขา-ชา-ยัน-ติ[/FONT]</TD><TD>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]เก-สา-โล-มา-นะ-ขา-ปิ-จะ[/FONT]​
    </TD></TR><TR bgColor=#00cc99><TD>[FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ยัญ-จัส-สะ-ภุญ-ชะ-ติ-มา-ตา[/FONT]</TD><TD>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]อัน-นัง-ปา-นัญ-จะ-โภ-ชะ-นัง[/FONT]​
    </TD></TR><TR bgColor=#00cc99><TD>[FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]เต-นะ-โส-ตัต-ถะ-ยา-เป-ติ[/FONT]</TD><TD>
    [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]มา-ตุ-กุจ-ฉิค-คะ-โต-นะ-โร[/FONT]​
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>[FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]กลละนี้เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของร่างกายที่ก่อกำเนิดขึ้นมา อันเป็นกรรมพันธุ์ที่มาจากพ่อแม่โดยตรง ในอรรถกถาพระวินัย* [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]([/FONT][FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][FONT=BrowalliaUPC, CordiaUPC, AngsanaUPC]*[/FONT] สมันตปาสาทิกา ภาค ๑ หน้า ๕๓๕) [/FONT]ท่านกล่าวถึงรูปลักษณะของกลละไว้ว่า "กลลรูปของหญิงชายมีขนาดเท่าหยาดน้ามันงาที่ยกขึ้นมาด้วยปลายขนทรายข้างหนึ่ง (ติดปลายขนทรายขึ้นมา) ใสแจ๋ว" ฉะนั้น กลละก็คือ Germ Cell ตามหลักชีววิทยานั่นเอง
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]ในอรรถกถาสารัตถัปปกาสินี ท่านอธิบายถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์มารดา ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรข้าต้นนั้น โดยท่านกล่าวขยายความคาถาจากพระสูตรข้างต้นนั้นไว้ว่า
    [/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC][/FONT][FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC] "ในสัปดาห์แรกแห่งการปฏิสนธินั้น เกิดเป็นกลลรูป คือเป็นหยาดน้ำใสเหมือนน้ำมันงา ในสัปดาห์ที่ ๒ หลังจากกลลรูปได้เกิดเป็นอัพพุทรูปขึ้น มีลักษณะเป็นฟอง สีเหมือนน้ำล้างเนื้อ ในสัปดาห์ที่ ๓ หลังจากอัพพุทรูป ก็ได้เกิดเปสิรูป ซึ่งมีลักษณะเหมือนชิ้นเนื้อที่เหลว ๆ สีแดง ในสัปดาห์ที่ ๔ หลังจากเปสิรูป ก็ได้เกิดฆนรูปขึ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นก้อน มีสัณฐานเหมือนไข่ไก่ ในสัปดาห์ที่ ๕ หลังจากฆนรูป จึงได้เกิดปัญจสาขาคือ รูปนั้นงอกออกเป็น ๕ ปุ่ม คือ เป็นศีรษะ ๑ มือ ๒ เท้า ๒ ต่อจากนั้น คือ ในระหว่างสัปดาห์ที่ ๑๒ ถึงสัปดาห์ที่ ๔๒ ผม ขน เล็บ ก็ปรากฏขึ้น" [FONT=Microsoft Sans Serif, AngsanaUPC, BrowalliaUPC](สารัตถัปปกาสินี ภาค ๑ หน้า ๓๕๑-๓๕๒)[/FONT]
    [/FONT] [FONT=CordiaUPC, AngsanaUPC, BrowalliaUPC]การที่พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงพัฒนาการของทารกที่อยู่ในครรภ์อย่างละเอียด เริ่มตั้งแต่เป็น Germ Cell เป็นต้นมา จนถึงเป็นตัวทารกอย่างสมบูรณ์ นี้ก่อให้เกิดความทึ่งและความประหลาดใจให้แก่วงการแพทย์ในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เพราะเมื่อสมัยเมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้น ไม่มีเครื่องมือทันสมัย เช่น กล้องจุลทัศน์ หรือเอ็กซเรย์อันใดเลย แต่พระพุทธองค์ก็ทรงหยั่งทราบได้ชัดเจน เหมือนกับมีเครื่องมือเหล่านี้ และยังทรงรู้ซึ้งไปกว่านี้อีกมาก ข้อนี้เกิดจากพระปัญญาตรัสรู้ของพระองค์โดยแท้ อันไม่ใช่วิสัยที่ใครอื่นจะพึงรู้ได้ด้วยตนเอง.[/FONT]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...