อาหารของพยาบาท หรือของกิเลสกองโทสะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 22 มีนาคม 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,024
    อาหารของโทสะ

    พระพุทธเจ้าได้ตรัสแสดงไว้ว่า อันร่างกายนี้ต้องอาศัยอาหาร ร่างกายจึงเป็นไปได้ จึงดำรงได้ กิเลสกองพยาบาทหรือกองโทสะดังกล่าวก็เช่นเดียวกัน ต้องอาศัยอาหาร
    เมื่อได้อาหารพยาบาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เติบโตมากขึ้น

    อันอาหารของพยาบาท หรือของกิเลสกองโทสะ ก็ได้แก่
    ปฏิฆะนิมิต นิมิตคือจิตกำหนดหมายในปฏิฆะคือความกระทบกระทั่ง
    ๒ การกระทำให้มากด้วยอโยนิโสมนสิการ คือการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย

    ข้อที่ ๑ ปฏิฆะนิมิตนั้น ก็ได้แก่จิตนี้เองกำหนดหมาย จดจำ รำลึกถึงอยู่ที่ปฏิฆะคือการกระทบกระทั่งที่ตนได้รับ ดังเมื่อเขาด่ามา ก็มีตัวเราออกรับการด่าของเขาตัวเราก็ไปกระทบกับการด่าของเขา ก็บังเกิดเป็นการกระทบกระทั่งกันขึ้น

    ปฏิฆะนิมิต

    แต่ถ้าเขาด่ามา ถ้าไม่มีตัวเราออกรับ การกระทบกระทั่งก็ไม่มี การด่าของเขาก็เป็นลมๆแล้งๆ คือเป็นลมปากที่ผ่านมากระทบหูแล้วก็ผ่านไปเท่านั้นไม่ข้องติด แต่เพราะมีตัวเราออกรับ รับว่าเขาด่าเรา จึงเกิดสังโญชน์คือความผูกใจ ผูกใจอยู่ในคำด่านั้น ก็เป็นปฏิฆะนิมิต คือจิตใจก็กำหนดอยู่ ระลึกถึงอยู่ถึงการกระทบกระทั่งนั้น

    ดั่งนี้คือปฏิฆะนิมิต และเมื่อมีปฏิฆะนิมิตดั่งนี้ จิตใจก็คิดปรุงหรือปรุงคิด ส่งเสริมความกระทบกระทั่งนั้น จึงกลายเป็นความโกรธ กลายเป็นโทสะ กลายเป็นพยาบาทขึ้นโดยลำดับ เพราะจิตนี้เองคิดปรุงหรือปรุงคิดไปในทางส่งเสริม

    เหมือนอย่างเมื่อขีดไม้ขีด ติดไฟขึ้นมาที่ปลายก้านไม้ขีด แทนที่จะให้ไม้ขีดดับลงแค่นั้น ก็เอาก้านไม้ขีดไปจ่อเชื้อเข้า เกิดไฟลุกขึ้นมากองโต แล้วก็คอยเติมเชื้อให้แก่กองไฟนั้น เมื่อเติมเชื้อให้มากไฟก็กองโตมาก และเมื่อไฟได้เชื้อก็คงติดเป็นไฟ เป็นกองไฟอยู่ตลอดเวลาที่ยังมีเชื้อ

    ฉะนั้นตราบใดที่จิตใจนี้คิดปรุงหรือปรุงคิดไปในทางโกรธ ไม่คิดปรุงหรือปรุงคิดไปในทางดับ ดั่งนี้แหละเรียกว่ากระทำให้มากด้วยอโยนิโสมนสิการ คือด้วยการกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย ทั้งปฏิฆะนิมิต และทั้งการกระทำให้มากโดยอโยนิโสมนสิการ

    การกระทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายดังกล่าวนี้ เป็นอาหารของกิเลสกองโทสะหรือกองพยาบาทอันทำให้กิเลสกองนี้ที่ยังไม่เกิด ก็เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้วก็เติบโตมากขึ้น

    เพราะฉะนั้น ในทางปฏิบัติจึงต้องไม่ให้อาหารแก่กิเลสกองนี้ กล่าวคือ ไม่ทำปฏิฆะนิมิตความกำหนดหมายผูกความกระทบกระทั่งไว้ในใจ โดยที่หัดดับใจ คือดับโทสะเสีย ดับกระทบกระทั่งเสีย หรือว่าหัดที่จะไม่เอาตัวออกรับ การหัดดับกระทบกระทั่งเสีย ก็เช่นเมื่อติดก้านไม้ขีดขึ้นมาแล้ว ก็ให้ไฟดับอยู่แค่ก้านไม้ขีดเท่านั้น ไม่เอาไปจ่อเชื้อให้ไฟกองโตขึ้น...

    : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
     

แชร์หน้านี้

Loading...