พระเจ้ามิลินท์เป็นชาวกรีกหรือเป็นคนลำปาง?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย เอกอิสโร, 16 เมษายน 2009.

  1. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ตกลงพระเจ้ามิลินท์เป็นชาวกรีกหรือเป็นคนลำปาง?
    <O:p</O:p
    จากความไม่ลงรอยกัน ในประเทศ แว่นแคว้น ที่ คณะพระธรรมทูต ซึ่งพระโมคคัลลีบุตรติสสะ ส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา สายหนึ่งคือ สายของ พระมหารักขิตเถระ ที่ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ณ โยนกประเทศ ซึ่ง นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก ระบุว่า คือดินแดนที่อยู่ในการยึดครองของฝรั่งชาติ กรีก ในทวีปเอเชียตอนกลาง เหนืออิหร่าน ขึ้นไปจนถึงเตอรกีสถาน แต่ ในบันทึกความเข้าใจของบรรพชนในดินแดนสุวรรณภูมิกลับมีความเชื่อว่า โยนกประเทศ คือดินแดนทางตอนเหนือของประเทศเทศไทยปัจจุบัน กินพื้นที่ จังหวัด ลำปาง เชียงใหม่


    จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ชวนให้เกิดข้อสงสัยและต้องพิสูจน์ ค้นหาว่า ตกลงพระเจ้ามิลินท์เป็นชาวกรีกหรือเป็นคนลำปางแน่?<O:p</O:p
     
  2. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ดังในหนังสือ “ศาสนวงศ์” ที่ พระปัญญาสามี ซึ่งเป็นพระสงฆ์ชาวพม่า แต่งไว้เป็นภาษาบาลี โดยท่านแต่งเสร็จเมื่อวันเพ็ญเดือนอ้าย จุลศักราช ๑๒๒๓ ตรงกับปี พ.ศ. ๒๔๐๕ หรือเมื่อ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว กรมศิลปากร ของไทย ได้แปล และจัดพิมพ์ขึ้น ใจความตอนหนึ่งว่า
    <O:p</O:p
    ประวัติเชียงใหม่<O:p</O:p
    ครั้งนั้นมีหัวหน้าพวกลั๊วะอยู่ริมแม่น้ำปิงในรัฐโยนกมอบบุตรของตนอายุ ๗ ขวบแด่พระผู้มีพระภาคให้บรรพชา สามเณรนั้นเพียรทำกรรมฐานเนืองๆ ไม่นานก็ได้สำเร็จพระอรหันต์ จึงเรียกสถานที่นั้นตามภาษาโยนกว่าเจียงใหม่ ครั้นนานเข้าก็กลายเป็นเชียงใหม่ ตั้งแต่นั้นมา ศาสนาก็ประดิษฐานในรัฐโยนก นี่คือการประดิษฐานศาสนาในรัฐโยนกครั้งที่ ๑
    <O:p</O:p
    ลุศาสนา ๒๓๕ พระมหารักขิตเถระไปรัฐโยนก ได้ประดิษฐานศาสนาในรัฐต่างๆ หลายแห่งเช่น กัมโพชะ เชียงตุง หริภุญชะ และอยุธยา เป็นต้น
    <O:p</O:p
    แต่พระอรรถกถาจารย์ท่านรวมรัฐเหล่านั้นทั้งหมด กล่าวโดยคำทั่วๆ ไปหมายถึงสถานที่ว่า ประเทศโยนก เป็นธรรมดาอยู่นั่นเอง ผู้แต่งคัมภีร์จะบัญญัติความหมายอย่างไรก็ได้
    <O:p</O:p
    พระมหารักขิตเถระพร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ องค์ ออกจากเมืองปาฏลิบุตร มายังประเทศโยนกทางอากาศ ทำให้ชนชาวโยนกทั้งหลายเลื่อมใสด้วยเทศนากาฬการามสูตร พระเถระได้ให้เครื่องประดับ คือ มรรคผลแก่ชาวโยนกประมาณ ๑๗๐,๐๐๐ คน และได้บวชในสำนักของท่านประมาณ ๑๐,๐๐๐ คน ท่านได้ประดิษฐานศาสนาในรัฐโยนกด้วยประการฉะนี้
    <O:p</O:p
    ตั้งแต่นั้นมา พระเถระทั้งหลายที่เป็นศิษย์ปรัมปราของท่านเหล่านั้นมีจำนวนมากขึ้นเหลือที่จะนับคณนา นี่คือการประดิษฐานในรัฐโยนกครั้งที่ ๒ โดยอาศัย พระมหารักขิตเถระ เป็นต้น
    <O:p</O:p
    ประวัติพระพุทธปฏิมาแก้วมณี เมื่อพระพุทธศาสนาได้ ๕๐๐ ปี พระวิสสกรรมเทวบุตรสร้างพระพุทธปฏิมาแก้วมณีให้แก่พระนาคเสนเถระในนครลำปางรัฐโยนก
    <O:p</O:p
    พระนาคเสนเถระได้ตั้งใจอธิษฐานขอให้พระธาตุมาประดิษฐานอยู่ในพระพุทธปฏิมา พระธาตุก็ได้มาประดิษฐานในองค์พระพุทธปฏิมา ๗ องค์ ข้อความนี้กล่าวไว้ในหนังสือราชประวัติ ( ฉบับพม่า )
    <O:p</O:p
    พระนาคเสนประดิษฐานศาสนาในโยนก และข้อความนี้ สมตามประมาณกาลเวลาที่กล่าวไว้ในหนังสือมิลินทปัญหาว่า พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้วได้ ๕๐๐ ปี พระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินทจะบังเกิดขึ้น
    <O:p</O:p
    รัฐโยนกในรัชสมัยของพระเจ้ามิลินท พุทธศาสนาได้ ๕๐๐ ปี พุทธศาสนาเจริญงอกงามโดยอาศัยพระนาคเสนเถระ นี่คือการประดิษฐานในรัฐโยนกครั้งที่ ๓ โดยอาศัยพระนาคเสนเถระ
    <O:p</O:p
    จากข้อความที่ ท่านปัญญาสามี แต่งประวัติศาสนาเรื่องการประดิษฐานในรัฐโยนก ที่ข้าพเจ้าคัดลอกมาข้างต้นนี้เอง ที่ ทางกรมศิลปากร ได้มีเชิงอรรถ เป็นการอธิบายความหมายของ “รัฐโยนก” ว่า
    <O:p</O:p
    รัฐโยนกที่พระนาคเสนอยู่นั้น คือ เปอร์เซียในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ลำปาง ผู้ประพันธ์เข้าใจว่าโยนกเป็นไทยภาคพายัพ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปก็ไขว้เขวกันหมด พระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินทพลอยเป็นชาวลำปาง, เชียงใหม่ไปหมด ซึ่งที่แท้ท่านเป็นชาวอินเดียภาคเหนือ ไม่ใช่ไทยภาคพายัพ อนึ่งนครลำปางนั้น ชาวลำพูนเรียกแต่คำนำหน้าคือนคร ไม่เรียกเต็มว่านครลำปาง แต่เขาออกเสียงเรียกนครเป็นละกุน คำนี้ จึงหมายถึงนครลำปาง<O:p</O:p
     
  3. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    และข้อมูลจาก ประวัติพระธาตุเจดีย์ซาว จังหวัดลำปาง ก็เป็นอีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ ดังที่ผมจะขอคัดลอกมาให้ได้อ่าน ดังนี้


    ตำนานพระธาตุเจดีย์ซาว ลำปาง<O:p</O:p
    <O:p

    วัดนี้สร้างกันมาแต่โบราณแล้ว แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด พ.ศ. เท่าใดแน่ ตามทางสันนิษฐาน ประกอบกับได้ชุดพระเครื่องสมัยหริภุญไชยที่องค์พระเจดีย์ เข้าใจกันว่าสร้างมาประมาณพันกว่าปีมาแล้ว
    <O:p</O:p
    บริเวณวัดเจดีย์ซาว เมื่อประมาณ พ.ศ. 2450 เป็นที่รกชัฏเต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุมบรรยากาศเงียบวังเวงน่าสะพรึงกลัว ชาวบ้านหากไม่มีกิจจำเป็นแล้วจะไม่ยอมเดินผ่านไปมาเลย ภายในวัดไม่มีเสนาสนะสิ่งก่อสร้างอื่นใดอยู่ในสภาพดี คงมีแต่กลุ่มพระเจดีย์อยู่ในหมู่ไม้อันรกชัฏ พร้อมกับเนินซากพระวิหารด้านเหนือและมีประรำมุงด้วยหญ้าคาหลักเล็กๆ พอเป็นที่กำบังฝนชั่วคราวของชาวบ้านในถิ่นนั้น ทำขึ้นเพื่อประกอบกิจการกุศลในวันเพ็ญเดือน 9 เหนือ
    <O:p</O:p
    ต่อมาได้มีพระภิกษุชาวพม่ารูปหนึ่ง ชื่อ “ อูชะยันต่าเถระ ” ซึ่งเล่าเรียนจบพระไตรปิฎกมาจากเมืองมัณฑเล ประเทศพม่า ท่านได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์พม่าให้มาทำการสอนพระบาลีคัมภีร์พระไตรปิฎก และสอนพระปาฏิโมกข์แห่งพระสงฆ์ชาวพม่าที่อยู่ในเมืองนครลำปาง และเพื่อศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาวลานนาไทย ในการมาครั้งนั้นท่านท่านได้คัดเอาตำนานวัดเจดีย์ซาวจากประเทศพม่าติดตัวมาด้วย (สาเหตุที่ตำนานตกไปอยู่ที่ประเทศพม่า สันนิษฐานว่าสมัยก่อนหัวเมืองฝ่ายเหนือถูกพม่ารุกราน ทรัพย์สิ่งของต่างๆ ตลอดถึงของมีค่าจึงถูกรวบรวมไปยังประเทศพม่า )
    <O:p</O:p
    สรุปความจากตำนานดังนี้ หลังจากที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วประมาณ 500 ปี มีพระอรหันต์ 2 รูป จาริกมาจากชมพูทวีปเพื่อประกาศพระศาสนา พระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองได้จาริกผ่านสถานการณ์ต่างๆ เรื่อยมาจนถึงบริเวณที่ตั้งวัดพิจารณาเห็นว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่มีทำเลดี เหมาะสมกับสมณเพศ จึงได้ยึดถือเป็นที่พำนักจำพรรษาได้เผยแพร่ศีลธรรมเทศนาสั่งสอนผู้คนในถิ่นใกล้เคียง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ในการครั้งนั้น ยังมีพระยาองค์หนึ่งมีพระนามว่า “ พระยามิลินทร์ ” ได้มาพบพระอรหันต์ไต่ถามปัญหาธรรมะข้อข้องใจในการประพฤติปฏิบัติ ในที่สุดปัญญา คือ ความรอบรู้ในเหตุและผลก็บังเกิดขึ้น พร้อมกันนั้นก็บังเกิดศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสในพระอรหันต์ทั้งสองเป็นที่สุด ได้ปวารณาตนเป็นศิษย์และมีพระประสงค์จะสร้างถาวรวัตถุขึ้น ณ ที่นั่น พระยามิลินทร์และเสนาอำมาตย์อัญเชิญพระเกศาธาตุ (เส้นผม) จำนวน 20 เส้นของพระอรหันต์เถระเจ้าทั้งสองซึ่งบรรจุไว้ในผอบทองคำ ลงประดิษฐานในหลุมและให้ช่างก่อพระเจดีย์ครอบไว้จำนวน 20 องค์
    <O:p</O:p
    เมื่อพระอูชะยันต่าเถระอ่านตำนานเจดีย์ซาวหลังให้ชาวพม่า และชาวบ้านฟังต่างก็มีจิตศรัทธาได้พร้อมใจกันออกค้นหาพระธาตุ ข่าวการค้นพบพระธาตุเจดีย์ซาวได้แพร่หลายไปสู่บรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไปในเมืองนครลำปาง และทราบไปถึงเจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิต ท่านทรงรับประธานพร้อมด้วยคหบดีราษฎรชาวไทย พม่า และไทยใหญ่ ได้ช่วยกันปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยลงเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 แต่เป็นที่น่าเศร้าเสียใจสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วเมืองนครลำปาง คือในขณะที่กำลังบูรณะพระเจดีย์ เจ้าพ่อบุญวาทย์วงค์มานิต องค์ประธานในการบูรณะได้ถึงแก่พิราลัยเสียก่อน ทายาทของเจ้าพ่อฯ ได้บูรณะพระเจดีย์ต่อจนเสร็จ และได้จัดงานฉลองสมโภชเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2467<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ซึ่งความเข้าใจที่ขัดแย้งของที่ตั้งแคว้นโยนกนี่เอง รวมทั้งโบราณสถานและตำนานพระธาตุเจดีย์ซาว ในภาคเหนือของประเทศไทย ที่ทำให้เกิดข้อสงสัยและต้องพิสูจน์ ค้นหาว่า ตกลงพระเจ้ามิลินท์เป็นชาวกรีกหรือเป็นคนลำปางแน่?<O:p</O:p
     
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    เอาแล้ว............

    มีหลักฐานหลายอย่างนะครับ......ว่า..ชมพูทวีปในสมัยนั้นอยู่แถวๆนี้...

    น่ามึนงงไม่น้อย...
     
  7. แทนคุณ

    แทนคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +333
    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ พระยามิลินทร์ และพระนาคเสน
    ( คัดมาจากหนังสือประวัติหลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง ) โดยอาจารย์ปฐม นิคมานนท์

    คัดลอกจากตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา กัณฑ์ที่ 20 หน้าที่ 603
    '''''''' ส่วนว่าพระยามิลินทร์ และ พระนาคเสน ก็สู้ความแก่ความชราไม่ได้ แก่เฒ่ามาฟันก็หลุด
    ผมหงอก พระนาคเสนก็ดับขันธ์เข้าสู่นฤพานไป
    แต่ตามตำนานของหลวงปู่มั่น ที่รูปท่านอยู่ข้างหลังหลวงปู่นี้ หลวงปู่มั่นนี้ท่านก็มีความรู้
    พิเศษทางนี้แหละว่า พระนาคเสน ท่านก็อยู่โน้นแหละ อินเดีย แต่ว่าเมื่อตอนแก่ชรามา
    เห็นว่าไปไม่รอด ท่านก็เสด็จมาไว้สรีระในปัจจันตประเทศ
    ประเทศไทยเรานี้แหละ ที่สมัยนั้นเขาเรียกว่า แต่ก่อนดงพญาไฟ หรือ เขาใหญ่
    เดี๋ยวนี้เขาใหญ่ก็สงวนไว้ ป่าใหญ่ยังอยู่ มีช้าง มีวัว กระทิง มีพันธุ์สัตว์ต่างๆ ยังเยอะ ช้างก็ยังเยอะอยู่
    มานิพพานที่เขาใหญ่ แต่ถ้ำใดก็จำไม่ได้ แต่หลวงปู่มั่นท่านรู้ ท่านเล่าให้ฟัง
    ส่วนพระยามิลินทร นักโต้วาที เมื่อแก่ชรามา ก็โต้แก่ชราก็ไม่ได้ อวดดีกับพระยามัจจุราช
    ไม่ไหว พอเห็นว่าท่าไม่ไหว ก็เลยลาราชการมาบวช
    พระยามิลินทร์ ปฏิภาณดีก็บวช บวชแล้วก็ภาวนาได้สำเร็จเป็นพระอรหันตาขีณาสพ
    แก่เฒ่าชรากาลก็เสด็จมานิพพานที่เมืองไทย ประเทศไทยเรา ที่ วัดลำปางหลวง นครลำปาง
    เดี๋ยวนี้อยู่ในเขตอำเภอเกาะคา
    ผู้ใดไปแล้วก็ไปไหว้ได้ เป็นที่พระยามิลินทร์ มานิพพานที่นั่น

    ---------------------------------------------------

    ( ซึ่งผมเองก็เคยแวะไปไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาแล้ว
    แต่ตอนนั้นไม่ทราบมาก่อนว่าเป็น ที่พระยามิลินทร์ มานิพพานตรงสถานที่นี้ มาทราบเอาตอน
    ที่ได้อ่านหนังสือประวัติหลวงปู่สิม )
     
  8. pal_bh

    pal_bh เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +132
    ภาษาบาลี (ภาษามคธ) ทรงไว้ซึ่งพระพุทธพจน์
    พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงตรัสเป็นภาษาบาลี (ภาษามคธ)


    สมัยพุทธกาล บุคคลโดยมาก (เเพศย์ ศูทร จันฑาล) พูดภาษาบาลี ส่วนวรรณพราหม์ และกษัตริย์ พูด ตรัสภาษาสันสกฤติกัน

    ถึงแม้ว่า พระพุทธองค์ทรงถือกำเนิดในวรรณะกษัตริย์ แต่เมื่อทรงผนวชแล้ว เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลกโดยมาก พระองค์ก็ทรงตรัสภาษามคธในการสั่งสอน เผยแผ่ธรรมะ

    พุทธภูมิ ซึ่งก็คืออินเดียใจปัจจุบัน ก็ยังมีการพูดมคธ (บาลี) บ้าง หรือ คล้ายๆ (เพราะการกลายของสำเนียง) บางหมู่บ้าน บางทียังคุยสันสกฤติ ภาษาฮินดีก็มี

    นั่นเป็นเพราะว่า วัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ของคนในสมัยพุทธกาลยังมีให้เห็นอยู่บ้าง เช่น
    == ไม้ชำระฟัน ซึ่งใช้เคี้ยว ก็ยังมีวางขาย ในคัมภีร์พระไตรปิฎกก็มีการกล่าวเรื่องการใช้ไม้ชำระฟัน

    == อีกทั้งโบราณวัตถุ โบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าก็มีมากมาย ไปดูได้...

    == เจ้าลัทธิต่าง พวกเดียรถีย์ พวกทิคัมพร นุ่งลมห่มฟ้า ชฎิล ฤาษี ก็ยังมีให้เห็นอยู่ที่อินเดีย ซึ่งล้วนมีกล่าวในพระไตรปิฎก ธรรมบท เป็นต้น

    == บ้านคนสมัยพุทธกาล ก็ฉาบถาด้วยดินผสมขี้วัว ในพระไตรปิฎกก็มีกล่าวไว้เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันนี้ก็ยังให้เห็น
    ฯลฯ (ตัวอย่างแค่นี้ คงพอนะครับ)

    แต่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ไม่มีร่องรอยของสิ่งที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ทั้งที่พุทธวจนะ พระอรรถคาถาจารย์ แม้แต่วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ที่ใกล้เคียงในพระไตรปิฎกเลย.... แม้ภาษายังไม่มีความคล้ายคลึงแต่อย่างใด...

    อ่านพระไตรปิฎก แล้วไปชมอินเดียดูครับ

    <!-- google_ad_section_end -->
    <FIELDSET class=fieldset><LEGEND>รูปขนาดเล็ก</LEGEND>[​IMG] [​IMG] [​IMG]

    </FIELDSET>
     
  9. Gilgalad

    Gilgalad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +112
    เรื่องพระยามิลินท์ ผมเคยคุยกับอาจารย์ศิลปากร ท่านชอบเรื่องเหรียญทองโบราณมาก สองสามอาทิตย์ที่แล้วแกมาขอเข้าคลาส ที่มหาลัยผม

    อาจารย์แกนำเหรียญมาให้ดู เป็นภาพของท่านมิลินท์ จารึกด้วยภาษาสองภาษา ไว้ผมจะหาข้อมูลมาให้ดู

    เรื่องที่ผมเชื่อว่า อินเดียคือแหล่งกำเนิดของพุทธศานาเพราะว่า

    หลายๆเรื่องๆในประไตรปิฏก มันตรงกับวัฒนธรรมที่นี่

    เรื่อง พระขโมยมะม่วง แล้วปาราชิก คล้ายๆเคยอ่านเจอในพระวินัย เราก็งงว่าทำไม ปาราชิก มะม่วงแพงขนาดนั้นเกินห้ามาสก เลยหรือ

    ก็มาถึงบางอ้อ ที่อินเดีย เพราะมีมะม่วง อยู่ชนิดนึงที่นิยมมาทำน้ำมะม่วง กัน ราคาแพงมาก ขายกันเป็นโหล โหลละ หลายร้อยบาท กินมาแล้วอร่อยจริงๆ

    คล้ายๆว่าอ่านเจอเรื่องน้ำมะม่วง ในหนังสือ ไม่แน่ใจเล่มใด ถ้าผู้รู้คนใดอ่านเจอ ช่วยบอกกล่าวด้วย ปัจจุบัน อินเดียก็ยังกินและทำขายกันอยู่ ถึงขนาดบรรจุขวด ขายคู่กับ น้ำอัดลม

    เรื่องไม้ชำระฟัน ผมก็ลองใช้มาแล้ว แถวพาราณสี ขายกันเยอะมาก อันละ 1 รูปี ทำจากไม้สะเดา

    เรื่องขี้วัวทาบ้านก็ยังเห็นอยู่แม้แต่เมืองที่เจริญแล้ว รู้สึกว่าแปะไว้เป็นก้อนๆกับฝาบ้าน แล้ว นำมาทำฝืนหุงข้าว

    แล้วก็เรื่องมีคนตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมสถานที่ของพุทธถึงสร้างคล้ายฮินดูไปหมด ไม่เหมือนของบ้านเรา ผมก็ได้บางอ้อ เพราะเพื่อนพาไปทัวร์ถ้ำพุทธศาสนา แถวๆ ใกล้บุมไบ ผมก็บอกว่าไม่ใช่ของพุทธหรอกดูไม่เหมือน ไม่คล้าย เขาก็ตอบว่าใช้ ที่มันไม่เหมือนเพราะฮินดูเข้ามาใช้ตอนศาสนาพุทธเสื่อม ไปจากอินเดีย


    ปัจจุบัน เพื่อนผมไปประชุมทางวิชาการ มีการตั้งข้อสันนิษฐานใหม่

    ว่าพระพุทธเจ้า เกิดที่แคว้นโอริสา เพื่อนถึงกับบ่นอุบว่า เอาอีกแล้ว

    แล้วก็เรื่องพรามณ์อะไรสักอย่างที่เดินสวนกับพระพุทธเจ้าแล้วส่ายหน้า เขาตีความว่า เป็นมิฉาทิฐฐิ มีพระที่เรียนที่นี่ตั้งข้อสังเกตุว่า ที่เขาส่ายหน้า มันส่ายแบบแขกหรือเปล่า ส่ายแบบ ทักทาย ยอมรับ เพราะแขกส่ายหัว แปลว่า โอเค

    แล้วก็เรื่องกุฎิที่พระพุทธเจ้าอยู่ เวลาพระคุยกันเรื่องต่างๆ ทำไมพระพุทธเจ้าได้ยินหมด ก็ไปเดินดู อ่อ ที่ประชุมสงฆ์กับกุฏิท่าน ใกล้กันมาก

    ไว้จะหารูปเหรียญมาให้ดูครับ ....
     
  10. Gilgalad

    Gilgalad เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2009
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +112
    Menander I

    From Wikipedia, the free encyclopedia


    Jump to: navigation, search
    <!-- start content --><TABLE class="infobox vcard vevent" style="FONT-SIZE: 88%; WIDTH: 22em; LINE-HEIGHT: 1.5em; TEXT-ALIGN: left" cellSpacing=5><TBODY><TR><TD class="fn summary" style="FONT-WEIGHT: bold; FONT-SIZE: 125%; COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #b80049; TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>Menander I</TD></TR><TR><TH style="TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>Indo-Greek king</TH></TR><TR><TD class="" style="TEXT-ALIGN: center" colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class="" style="TEXT-ALIGN: center" colSpan=2><SMALL>1. Coin of Menander. Greek legend: ΒΑΣΙΛΕΩΣ ΣΩΤΗΡΟΣ ΜΕΝΑΝΔΡΟΥ (BASILEOS SOTEROS MENANDROU) lit. "Of Saviour King Menander".</SMALL></TD></TR><TR><TH>Reign</TH><TD class="">155 BCE - 130 BCE</TD></TR><TR><TH>Religious beliefs</TH><TD class="">Buddhism</TD></TR></TBODY></TABLE>Menander I Soter "The Saviour" (known as Milinda in Indian sources) was one of the rulers of the Indo-Greek Kingdom in northern India and present-day Pakistan from either 165 or 155 BC to 130 BC (the first date Osmund Bopearachchi and R C Senior, the other Boperachchi)<SUP class=reference id=cite_ref-0>[1]</SUP>. He is one of the the first historical Westerners documented to have converted to Buddhism along with Demetrius I of Bactria and Agathocles of Bactria.



    ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Menander_I
     
  11. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    จากข้อความที่ ท่านปัญญาสามี แต่งประวัติศาสนาเรื่องการประดิษฐานในรัฐโยนก ใน คัมภีร์ศาสนวงศ์ ที่ข้าพเจ้าคัดลอกมาข้างต้นนี้เอง ที่ ทางกรมศิลปากร ได้มีเชิงอรรถ เป็นการอธิบายความหมายของ “รัฐโยนก” ว่า
    <O:p</O:p
    รัฐโยนกที่พระนาคเสนอยู่นั้น คือ เปอร์เซียในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่ลำปาง ผู้ประพันธ์เข้าใจว่าโยนกเป็นไทยภาคพายัพ เรื่องที่จะกล่าวต่อไปก็ไขว้เขวกันหมด พระนาคเสนเถระและพระเจ้ามิลินทพลอยเป็นชาวลำปาง, เชียงใหม่ไปหมด ซึ่งที่แท้ท่านเป็นชาวอินเดียภาคเหนือ ไม่ใช่ไทยภาคพายัพ อนึ่งนครลำปางนั้น ชาวลำพูนเรียกแต่คำนำหน้าคือนคร ไม่เรียกเต็มว่านครลำปาง แต่เขาออกเสียงเรียกนครเป็นละกุน คำนี้ จึงหมายถึงนครลำปาง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระเจ้ามิลินท ที่กล่าวไว้ใน คัมภีร์ศาสนวงศ์ นั้น คงจะไม่ใช่ท่านผู้ใด นอกจาก พระเจ้ามิลินท์ ที่นักประวัติศาสตร์ชาติตะวันตก ได้โอนสัญชาติให้ไปเป็นชนชาติกรีก และบอกว่าพระเจ้ามิลินท์คือพระเจ้าเมนันเดอร์ ดังปรากฏ ข้อมูลในสารานุกรม หรือหนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาสมัยใหม่ ดังจะยกตัวอย่าง ประวัติของ พระเจ้ามิลินท์คือพระเจ้าเมนันเดอร์ ที่ปรากฏอยู่ในคำอธิบายท้ายเรื่อง มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัยคำอธิบาย มาประกอบ ดังนี้ว่า
    </O:p
    พระเจ้ามิลินท์ คือใครภรัต สิงห์ อุปัธยายะ (Bharat Singh Upadhyaya) ได้ให้คำตอบในปัญหานี้ไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์นั้นเป็นองค์เดียวกับพระเจ้าเมนันเดอร์ กษัตริย์ชาติอินโดกรีกซึ่งเป็นผู้ทรงอุปถัมภ์และสนับสนุนพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่งระหว่างศตวรรษที่ ๒คำว่า มิลินท์ มาจากคำภาษากรีกว่า
    เมนันดรอส (Menandros) นักเขียนในสมัยนั้นเรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้หลายอย่างด้วยกัน เช่นในหนังสือ อวทานกัลปลดา ของท่านเกษเมนทร (Ksemendra’s Avadanakalpalata) เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ว่า มิลินทร์ (Milindra) ซึ่งเป็นนามเดียวกันกับที่พบในหนังสือหมวด ตันเชอร์ (the Bstan-hygur) แห่งพระไตรปิฎกธิเบต คำจารึกหีบศพภาษาชินกอต (Shinkot) เป็นตัวอักษร ขาโรษฐิ (Kharosthi) เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ว่า เมนัทระ (Menadra) หลักฐานสำคัญที่พอจะประมวลเรื่องราวของกษัตริย์ชาติอินโดกรีกพระองค์นี้ก็คือมิลินทปัญหานั่นเอง เรื่องราวของนักประวัติศาสตร์กรีก เช่น สตราโบ (Strabo) พลูตาร์ก (Plutarch) และจัสติน (Justin) และเหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์เองซึ่งจารึกตัวอักษรว่า “Basileus Soteros Menandros” ที่ค้นพบในที่ต่าง ๆ ๒๒แห่งในลุ่มน้ำกาบุล (Kabul) และสินธ์ (Sindh) และในบริเวณภาคตะวันตก ของมณฑลอุตตรประเทศ (Uttar PradesH) นักปราชญ์หลายท่านมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องสมัยอันแน่นอนของพระเจ้าเมนันเดอร์สมิธ (Smith) มีความเห็นว่า พระเจ้าเมนันเดอร์รุ่งเรืองอยู่ในกาลศตวรรษที่ ๒ก่อนคศ เอชซีเรย์เชาธุรี (HC Raychaudhuri) กล่าวว่า พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ในศตวรรษที่๑ก่อน คริสตศักราช
    <O:p</O:p
    ในมิลินทปัญหากล่าวว่าพระเจ้ามิลินท์ทรงพระชนม์อยู่ หลังพุทธปรินิพพาน ๕๐๐ปี ฉะนั้นจึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าวว่า กษัตริย์กรีกพระองค์นี้ ทรงครองราชย์ในศตวรรษที่ ๑ก่อน คริสตศักราช หรือราว ๆ นั้น ซึ่งมีข้อเท็จจริงอื่น ๆ ยืนยันอีกเป็นอันมากในมิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ เป็นพระราชาแห่งพวกโยนก “โยนกานํ ราชามิลินโท” คำบาลี โยนก หรือโยน (สันสกฤตว่า ยวน)เป็นคำเดียวกับภาษาเปอร์เซียนโบราณว่า “เยาวนะ” ซึ่งแต่เดิมหมายถึงพวกไอโอเนียนกรีก (Ionian Greeks) แต่ต่อมาเลือนไป หมายถึงพวกกรีกทั้งหมด อาณาจักรของพวกโยนะ Yonas) และพวกกัมโพชะ (Kambojas) เป็นที่รู้จักแก่ชาวอินเดียในศตวรรษที่ ๖ก่อน คริสตศักราช ดังมีหลักฐานอยู่ในอัสสลายนสูตร มัชฌิมนิกาย ซึ่งแสดงว่าประชาชนของอาณาจักรเหล่านี้ มีเพียง ๒วรรณคือ พวกนาย (Arya) และพวกทาส (Dasa) แทนที่จะมี ๔วรรณเหมือนในสังคมอินเดีย เป็นข้อเท็จจริงที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่าหลังสังคายนาครั้งที่ ๔ซึ่งทำที่กรุงปาฏลีบุตรได้มีการส่งนักเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศโยนะอันห่างไกลอันประกอบไปด้วยอาณาจักรพระเจ้าอันติโอคอสที่ ๔แห่งซีเรีย (Antiochos II of Syria) อาณาจักรของพระเจ้าอันตีโกนอส โนาตอส แห่งเมซิโดเนีย (Antigonos Gonatos of Macedonia) เป็นต้น ข้อความนี้ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกนั้น มีคำกล่าวต่อไปอีกว่าพระภิกษุชาวกรีกชื่อ ธรรมรักขิต (Yona Dhammrakkhita) ถูกส่งไปประกาศพระศาสนาในอปรานตกประเทศ ฉะนั้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่าคำสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าได้เข้าถึงจิตใจของชาวกรีกก่อนสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์แต่ส่วนมากเราได้ทราบกันว่ากษัตริย์พระองค์นี้เป็นพระองค์แรกที่ทรงสนพระทัยในคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยทรงตั้งข้อสงสัยขึ้นหลายประการเมื่อพระองค์ทรงได้สดับคำวิสัชนาของพระนาคเสนอจนหมดความสงสัยแล้วพระองค์ก็ทรงสนับสนุนในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในมิลินปัญหากล่าวว่าพระเจ้ามิลินท์ประสูติที่ตำบลกลสิคาม ในเกาะอลสันทะ คือ เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) หรือกันทหาร (Kandahar) ในปัจจุบัน นครหลวงของพระองค์ คือ เมืองสาคละซึ่งเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองสังคาล (Sangal) ของนักประวัติศาสตร์กรีกชื่อแอร์เรียน (Arrian) และเมืองสาคาล (Sagal) หรือยูธูเมเดีย (Euthumedeia) ของปโตเลมี (Ptolemy) เมืองนี้อยู่ในบริเวณเมือง ไสอัลกอต (Sialkot) ในมลฑลปัญจาบอาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ประกอบด้วยมณฑลเปษวาร์ (Peshawar) ลุ่มน้ำกาบุลตอนบนมณฑลปัญจาบ (Panjab) มณฑลสินธ์ (Sindh) มณฑลกาเธียวาร (Kathiawar) และมณฑลอุตตรประเทศตะวันตก เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแล้วพระองค์ก็ทรงสร้างวิหารชื่อ มิลินทวิหาร ถวายพระนาคเสน นอกจากนี้พระองค์ยังได้ทรงขยายอาณาจักรแห่งพระพุทธศาสนาออกไปอีกเป็นอันมากตามหนังสือมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์สวรรคต เมื่อทรงผนวชเป็นภิกษุหลังจากทรงสละราชสมบัติและราชอาณาจักรให้แก่ราชโอรสกล่าวกันว่าพระองค์ได้บรรลุพระอรหัตซึ่งเป็นจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทด้วยอีกประการหนึ่งที่เหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์ มีตราพระธรรมจักร จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ผิดพลาดว่าพระองค์ทรงเป็นพุทธศาสนิกที่เคร่งครัดอนึ่ง ศิลาจารึกภาษาชินกอตก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กษัตริย์กรีกพระองค์นี้ได้ทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปในอาณาบริเวณตั้งแต่ ภูเขาฮินดูกูษจนถึงแม่น้ำสินธุ พลูตาร์กกล่าวต่อไปว่า ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์ทรงมีความยุติธรรมอย่างยอดเยี่ยม และทรงเป็นที่รักใคร่ของปวงชนทุกชั้นแม้ว่าอำนาจที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้นจะเสื่อมสูญไปจากอินเดียพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็ตามแต่อนุสาวรีย์อันแสดงถึงความที่พระองค์ทรงมีความยุติธรรม มีพระปรีชาสามารถและเป็นพุทธศาสนิกผู้เคร่งครัด จะยืนยงคงอยู่คู่กับหนังสือมิลินทปัญหาและเหรียญตราธรรมจักรของพระองค์ชั่วกัลปาวสาน<O:p</O:p
     
  12. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    จริงๆ แล้ว ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธ การมีอยู่ของ พระเจ้าเมนันเดอร์ ที่เป็นกษัตริย์ชาวกรีก แต่ก็มีข้อตั้งสังเกตอีกหลายๆ เรื่อง ที่ทำให้ชวนคิดว่า ฝรั่ง จับแพะชนแกะ เอาพระราชประวัติพระเจ้ามิลินท์ แห่งโยนกประเทศ ไปสวมเป็นประวัติของพระเจ้าเมนันเดอร์ แถมยก คัมภีร์มิลินทปัญหา ที่มีความลึกซึ้งในข้อธรรมทางพระพุทธศาสนา ไปเป็น บทสนทนาของพระเจ้าเมนันเดอร์กับพระนาคเสนเถร ซึ่ง ยากที่จะเชื่อได้ว่า ชนชาวกรีก ในสมัยนั้น จะสามารถเข้าถึง ภาษาบาลี และข้อธรรมทางพระพุทธศาสนา จนแตกฉาน และสามารถที่จะซักถามปัญหาข้อธรรม จนแม้แต่ พระอายุปาลเถระก็ถวาย วิสัชนาให้ทรงสิ้นสงสัยไม่ได้ แม้เพียงปัญหาแรก
    <O:p</O:p
    จึงอยากจะขอให้ ท่านทั้งหลาย ได้มารับรู้ เรื่องราวของพระเจ้ามิลินท์ ดังที่ปรากฏอยู่ใน คัมภีร์มิลินทปัญหา ซึ่งเป็นฉบับที่แปลมาจาก ภาษาบาลี ที่ไม่ใช่ฉบับที่แปลมาจากภาษาจีน ก่อนที่จะได้ ค้นหาความจริงว่า ตกลงพระเจ้ามิลินท์เป็นชาวกรีกหรือเป็นคนลำปาง? ดังนี้ว่า
    <O:p</O:p
    เดิมมีกษัตริย์ชาวโยนกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่าพระเจ้ามิลินท์ เสวยราชสมบัติอยู่ในสาคลราชธานี พระองค์มีปรีชาเฉลียวฉลาดว่องไว สามารถทรงทราบเหตุการณ์ได้ทันท่วงทีและมักพอพระราชหฤทัยในการไล่เลียงลัทธิต่าง ๆ จนนักปราชญ์ ในสมัยนั้นครั่นคร้ามไม่กล้าจะทูลโต้ตอบพระราชปุจฉาได้
    <O:p</O:p
    ก็ในสมัยนั้นมีพระเถระองค์หนึ่งชื่อว่า อัสสคุตอยู่ที่ถ้ำรักขิตคูหา ณ ป่าหิมพานต์เมื่อได้ทราบพระเกียรติคุณของพระเจ้ามิลินท์ ดังนั้น จึงประชุมสงฆ์ไต่ถามว่า รูปใดจะสามารถแก้ปัญหาถวายพระเจ้ามิลินท์ได้บ้าง สงฆ์ทุกรูปต่างพากันนิ่ง พระอัสสคุตจึงว่า มีเทพบุตรฉลาดอยู่องค์หนึ่งชื่อว่ามหาเสน อยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นั่นแล จะเป็นผู้สามารถโต้ตอบกับพระเจ้ามิลินท์ได้ สังฆสมาคมจึงตกลงพร้อมกันขึ้นไปยังเทวโลก เล่าเรื่องและความประสงค์ให้พระอินทร์และมหาเสนเทพบุตรฟัง จนตลอด ครั้นอัญเชิญมหาเสนเทพบุตรได้สมประสงค์แล้ว จึงพากันกลับมายังมนุษยโลก แล้วจัดให้พระโรหณเถระเข้าไปเพาะความนิยมนับถือให้แก่ตระกูลโสณุตตรพราหมณ์ ซึ่งเป็นตระกูลที่มีมหาเสนเทพบุตรจะจุติลงมาเกิด จนตระกูลนั้นเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา
    <O:p</O:p
    ฝ่ายมหาเสนเทพบุตร เมื่อรับอัญเชิญจากคณะสงฆ์แล้วก็จุติลงมาเกิดในตระกูลโสณุตตรพราหมณ์ ตำบลชังคลคามริมป่าหิมพานต์ ได้นามว่านาคเสนกุมาร เมื่อเติบโตขึ้นก็ได้รับการศึกษาศิลปวิทยาจากสำนักครูทั้งหลาย ตลอดจนไตรเพท อันเป็นคัมภีร์สำคัญของพราหมณ์ก็ได้ศึกษาจนชำนิชำนาญ ครั้นแล้วจึงมารำพึงว่า วิชาเหล่านี้ไม่มีแก่นสารอะไร ก็เกิดความเบื่อหน่าย
    <O:p</O:p
    อยู่มาวันหนึ่ง พระโรหณเถระเข้าไปฉันที่บ้านโสณุตตรพราหมณ์ พอนาคเสนกุมารเห็นก็นึกแปลกทันที จึงเรียนถามว่า ทำไมท่านจึงต้องโกนผมโกนหนวดและต้องนุ่งห่มผ้าเหลือง ครั้นรู้เหตุผล จึงเรียนถามอีกว่า คนเพศเช่นท่านได้รับศึกษาวิชาอะไรบ้าง เมื่อได้รับตอบว่าได้รับศึกษาวิชาอย่างสุงสุดในโลก จึงไปขออนุญาตต่อบิดามารดาบวชเรียนบ้าง
    <O:p</O:p
    ครั้นบวชเป็นสามเณรแล้ว ก็เล่าเรียนพระไตรปิฎกในสำนักพระโรหณเถระพออายุเต็ม ๒๐ ก็บวชเป็นพระภิกษุ ศึกษาต่อไปจนเชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก เมื่อพระอัสสคุตรู้ว่า พระนาคเสนเชี่ยวชาญดีแล้ว จึงนำไปหาพระอายุปาลเถระ ที่สังเขยบริเวณ (ใกล้พระราชวังพระเจ้ามิลินท์) เพื่อจะได้มีโอกาสถวายวิสัชนาพระราชปุจฉา
    <O:p</O:p
    วันหนึ่งพระเจ้ามิลินท์ตรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่า เห็นมีใครบ้างซึ่งพอจะโต้ตอบกับเราได้ เหล่าอำมาตย์จึงกราบทูลว่า มีพระเถระอยู่รูปหนึ่ง ชื่อว่าอายุปาละ พอจะถวายวิสัชนา แก้ปัญหาของพระองค์ได้
    <O:p</O:p
    เมื่อทรงทราบดังนั้นก็เสด็จไปหาพระอายุปาลเถระตรัสถามปัญหาแรก พระอายุปาลเถระก็ถวาย วิสัชนาให้ทรงสิ้นสงสัยไม่ได้
    <O:p</O:p
    ขณะนั้นเทวมันติยอำมาตย์จึงกราบทูลว่า ยังมีพระภิกษุอยู่รูปหนึ่งชื่อว่านาคเสนเป็นผู้มีปฏิภาณแตกฉานในพระไตรปิฎก พอพระเจ้ามิลินท์ทรงได้ยินนามว่านาคเสน ก็ทรงหวาดพระราชหฤทัย เพราะว่า เมื่อครั้นศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้ามิลินท์บวชเป็นสามเณรอยู่ในสำนักของพระนาคเสน (ซึ่งในครั้นกระนั้น ท่านเป็นพระภิกษุรูปหนึ่ง)
    <O:p</O:p
    วันหนึ่งพระภิกษุรูปนั้น (คือพระนาคเสน) กวาดหยากเยื่อกองไว้แล้วเรียกให้สามเณรมาขน สามเณรแกล้งทำเป็นไม่ได้ยินเสีย ท่านจึงบันดาลโทสะหยิบเอาไม้กวาดตีสามเณรๆ ก็จำใจขน ครั้นขนเสร็จแล้วจึงตั้งความปรารถนาว่า ด้วยผลบุญแห่งการขนหยากเยื่อทิ้งนี้ ชาติต่อไปขอให้มีเดชศักดานุภาพใหญ่หลวง และขอให้มีปัญญาเฉียบแหลมกว่าชนทั้งปวง พระภิกษุรูปนั้นรู้ว่าสามเณรตั้งสัตยาธิษฐานเช่นนั้น จึงปรารถนาบ้างว่า ด้วยเดชแห่งกุศลที่ข้าพเจ้าได้กวาดหยากเยื่อนี้ ชาติต่อไปขอให้มีปฏิภาณว่องไวสามารถโต้ตอบปัญหาแม้ของ สามเณรนี้ได้
    <O:p</O:p
    เมื่อพระเจ้ามิลินท์ทรงทราบข่าวจากเทวมันติยอำมาตย์ดังนั้น จึงเสด็จไปหาพระนาคเสนยังที่อยู่<O:p</O:p
     
  13. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    เมื่อได้รู้จัก พระเจ้ามิลินท์ ไปบ้างแล้ว ก็สมควรที่จะได้รู้จัก พระนาคเสนเถระ ซึ่งเป็นผู้วิสัชนาปัญหาของพระเจ้ามิลินท์ และได้เป็นพระอาจารย์ของพระเจ้ามิลินท์ ซึ่ง ในดินแดนที่เป็นอาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ ประกอบด้วยมณฑลเปษวาร์ (<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]Peshawar</st1:City>) ลุ่มน้ำกาบุลตอนบนมณฑลปัญจาบ (Panjab) มณฑลสินธ์ (Sindh) มณฑลกาเธียวาร (Kathiawar</ST1:place) และมณฑลอุตตรประเทศตะวันตก นั้น จะยังมีร่องรอย หรือหลักฐาน ตำนานที่เกี่ยวกับพระนาคเสนเถระ หลงเหลืออยู่หรือไม่? แต่ในในดินแดนแถบถิ่นสุวรรณภูมิของเรา เรื่องราวของพระนาคเสนเถระ ปรากฏอยู่ใน ตำนานพระแก้วมรกต ดังที่จะได้ คัดลอกมาจาก หนังสือพงศาวดารมาให้ ท่านทั้งหลายที่อาจจะยังไม่เคยได้รับรู้มาก่อน ได้ทราบพอเป็นสังเขป ดังนี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ยังมีพระอรหันต์เจ้าองค์หนึ่งทรงนามว่า พระมหานาคเสน อันจบด้วยพระไตรปิฎกและมีปัญญาฉลาดลึกล้ำ รู้โวทนาแก้ปริศนาปัญหาทั้งปวง เป็นอาจารย์พระยามิลินทราชอยู่ที่ วัดอโสการาม ใน เมืองปาตลีบุตร เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงได้ ห้าร้อย พระวัสสา
    <O:p</O:p
    พระมหานาคเสนพิจารณาเห็นว่าเราควรจะสร้างพระพุทธรูปเจ้าไว้ให้เป็นที่นมัสการแก่มนุษย์ และเทพแต่จะสร้างด้วยเงินหรือทองคำให้มั่นคงถึงห้าพันพระวัสสานั้นหาได้ไม่ควรจะสร้างพระพุทธรูปด้วยแก้วลูกประเสริฐ
    <O:p</O:p
    สมเด็จพระอมรินทราธิราช คิดเห็นอัธยาศรัยแห่งพระมหานาคเสนจึงเสด็จมาพร้อมด้วยพระวิศณุกรรม เข้าไปไหว้พระมหานาคเสนแล้วว่าพระองค์จะช่วยสงเคราะห์ให้สมความปรารถนา โดยจะไปเอาแก้วอันมีในเขาเวมุลบรรพตมาถวายแล้วพระองค์กับพระวิศณุกรรมก็ไปที่เขาเวมุลบรรพต เห็นคนธรรพ์และกุมภัณฑ์ทั้งปวงจึงได้ตรัสแก่เขาเหล่านั้นว่าจะมาขอเอาแก้วลูกประเสริฐไปถวายพระนาคเสนเจ้าเพื่อสร้างแปลงเป็นพระพุทธรูป พวกเขาเหล่านั้นจึงกราบทูลว่าแก้วลูกประเสริฐที่พวกเขารักษาไว้นี้เป็นแก้วมณีโชติอันเป็นของพระบรมจักรพรรดิราชาธิราชเจ้า ถ้าถวายแก้วนี้ไปครั้นพระบรมจักรพรรดิราชาธิราชเจ้ามาเกิดพวกตนก็จะหาแก้วลูกประเสริฐมาถวายท่านมิได้ แต่ว่าพวกตนจะถวายแก้วมรกตลูกหนึ่งมีรัศมีอันเขียวงามบริสุทธิ์แก่พระองค์
    <O:p</O:p
    เมื่อพระองค์ได้แก้วมรกตมาแล้ว จึงนำไปถวายแก่พระมหานาคเสนเจ้าพระมหานาคเสนมาคำนึงในใจว่าเราจะได้ผู้ใดมาสร้างแปลงยังพระพุทธรูปเจ้าด้วยแก้วมรกตลูกนี้พระวิศณุกรรมรู้อัธยาศรัยแห่งพระมหานาคเสนเจ้าแล้วจึง จำแลงแปลงกายเป็นมนุษย์อาสาทำงานนี้ พระมหานาคเสนเจ้าก็ยินดีให้ทำ พระวิศณุกรรมจำแลงก็สร้างแปลงพระพุทธรูปด้วยแก้วมรกตลูกนั้นอยู่เจ็ดวันก็สำเร็จการ แล้วจึงนิมิตเป็นมหาวิหารอันใหญ่ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง มีแก้วเป็นประธาน ตั้งอยู่ในอโสการามนั้นตั้งพระแก้วเหนือแท่นรัตนบัลลังก์กาญจน์ในท่ามกลางพระมหาวิหาร
    <O:p</O:p
    พระมหานาคเสนเจ้าจึงนำพระบรมธาตุเจ้าเจ็ดพระองค์อันงามบริสุทธิมีฉัพพรรณรังษีต่าง ๆ กัน ท่านจึงตั้งไว้ยังพานเงินเจ็ดพานซ้อนกันตั้งไว้ยังสุวรรณพานทองเจ็ดพานซ้อนกันตั้งยังพานแก้วเจ็ดพานซ้อนกันบนพานเงินพานทองนั้นแล้วจึงเชิญพระบรมธาตุเจ้าเจ็ดพระองค์นั้นใส่ลงในผอบแก้วลูกหนึ่ง อันวิจิตรงามมากยกผอบแก้วขึ้นประดิษฐานไว้บนพานเงินพานทอง พานแก้วนั้นพระบรมธาตุเจ้าเจ็ดพระองค์นั้นก็กระทำปาฏิหาริย์ เปล่งรัศมีหกประการให้รุ่งเรืองสว่างไปทั่วทิศทั้งสี่ ทิศทั้งแปดก็ให้รุ่งขึ้นทั่วพื้นอากาศเวหาทั้งมวล
    <O:p</O:p
    พระมหานาคเสนจึงตั้งสัตยาธิษฐานขออาราธนาเชิญพระบรมธาตุเจ้าเจ็ดพระองค์นั้นให้เสด็จเข้าไปในพระองค์พระแก้วเจ้านั้น พระบรมธาตุพระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระโมฬีพระองค์หนึ่งเสด็จเข้าพระพักตร์ พระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระหัตถ์กำขวาพระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระหัตถ์กำซ้าย พระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในเข่าข้างขวาพระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในเข่าข้างซ้ายพระองค์หนึ่งเสด็จเข้าในพระชงฆ์แห่งพระแก้วเจ้า
    <O:p</O:p
    พระมหานาคเสนจึงเล็งอรหัตมรรคญาณไปแต่ข้างหน้านั้นจึงเห็นว่าพระแก้วนี้จะไม่ได้อยู่ในเมืองปาตลีบุตร ท่านจึงทำนายไว้ว่าพระแก้วเจ้าของเราองค์นี้ ท่านยังจะเสด็จไปโปรดสัตว์ในประเทศห้าแห่งคือลังกาทวีปเป็นกำโพชวิสัยแห่งหนึ่ง ศรีอยุธยาวิสัยแห่งหนึ่ง โยนกวิสัยแห่งหนึ่งสุวรรณภูมิวิสัยแห่งหนึ่ง ปมหลวิสัยแห่งหนึ่ง
    <O:p</O:p
    เมื่อได้รู้เรื่องราวของทั้ง พระนาคเสนเถระ ดังกล่าวข้างต้น แล้ว เรากลับไม่พบร่องรอย ของ พระนาคเสนเถระหรือ แม้แต่ตำนาน นิทาน ที่เกี่ยวข้องกับ พระนาคเสนเถระ ทั้งในในดินแดนที่เป็นอาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ หรือในเมืองปาตลีบุต แคว้นมคธ ในประเทศอินเดียปัจจุบัน โดยเฉพาะ เหตุการณ์สำคัญคือ การสร้างพระแก้วมรกต แต่ เรื่องราวทั้งหลาย กลับหลงเหลือ และแพร่หลาย ในดินแดนสุวรรณภูมิที่เป็นที่ตั้งของประเทศ ไทย ลาว และพม่าในปัจจุบัน และที่สำคัญที่สุด คือ ปัจจุบัน องค์พระแก้วมรกต ได้ประดิษฐานอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน<O:p</O:p
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. เอกอิสโร

    เอกอิสโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,051
    ค่าพลัง:
    +3,809
    ซึ่งความเข้าใจที่ขัดแย้งของที่ตั้งแคว้นโยนกนี่เอง รวมทั้งโบราณสถานและตำนานพระธาตุเจดีย์ซาวหลัง ในภาคเหนือของประเทศไทย ตำนานพระแก้วมรกต ความพิสดารใน หนังสือมิลินทปัญหา ที่ทำให้เกิดข้อสงสัยและต้องพิสูจน์ ค้นหาว่า

    ตกลงพระเจ้ามิลินท์เป็นชาวกรีกหรือเป็นคนลำปางแน่?<O:p</O:p<!-- google_ad_section_end -->
     
  15. Add-on

    Add-on Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2008
    โพสต์:
    383
    ค่าพลัง:
    +64
    เอกอิสโร

    คุณต้องการจะสื่ออะไรครับ

    มีใครมาเข้าฝันหรือยังไง

    ผมเชื่อพระไตรปิฎกครับ
     
  16. minidog

    minidog Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2009
    โพสต์:
    266
    ค่าพลัง:
    +91
  17. Bacary

    Bacary เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,210
    ค่าพลัง:
    +23,196

    [​IMG] [​IMG] กระเทาะเข้าไป
    สะเก็ด เปลือก กระพี้ แก่น

    เรื่องวิชาการอ่านเอามันส์
     
  18. มหา

    มหา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    827
    ค่าพลัง:
    +973
    น่าจะดูที่หลักฐานการจารึก ว่าอันไหนมาทีหลัง อันไหนมาก่อน ....แล้วสันนิษฐานดูเวลาในสมัยนั้นว่าตรงกะสมัยได อย่าลืมว่า จารึกที่บันทึกในประเทศไทย อาจจารึกเพื่อบอกที่มา แต่ บางส่วนเป็นไปได้ว่าผุ้แกะสลักจารึก ได้เข้าใจผิดไปก็เป็นได้
     
  19. ปัญจสคันธา

    ปัญจสคันธา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 เมษายน 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    คุณ เอกอิสโร ไปทุกเว็ปที่เกี้ยวกับพระศาสนาเลยนะคับ
    ผมติดตามผลงานคุณมาตลอดเลยคับ สุดยอดเลย คิดได้ไง
     
  20. มรรค 8 ประการ

    มรรค 8 ประการ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    884
    ค่าพลัง:
    +2,642
    ถ้ารู้ว่าพระเจ้ามิลินท์เป็นคนที่ไหน มันจะทำให้คนที่รู้พ้นทุกข์จากวัฏฏะสังสารนี้หรือเปล่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...