ธรรมะจากพระผู้รู้ (สันตินันท์)

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย TupLuang, 16 มิถุนายน 2008.

  1. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ธรรมะจากพระผู้รู้

    จากนิตยสารออนไลน์ ธรรมะใกล้ตัว

    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)


    <?xml namespace="" ns="urn:schemas-microsoft-com:eek:
    ถาม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2008
  2. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ถาม - หากผมภาวนา
     
  3. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ถาม
     
  4. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ถาม
     
  5. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ถาม – สังเกตว่าเริ่มรู้สติมากขึ้น เวลาอยู่ว่างหรือกำลังเดินก็มาจับลม
    จับความรู้สึกสุขทุกข์ จับอิริยาบถต่างๆ ตามเรื่องตามราว แต่ยังสังเกต
    ว่าเวลาพูดคุยกับคนอื่นนี่ มักแบ่งสติมาดูตัวเองพูดไม่ทัน พอคุยจบ เดิน
    จากมาก็นึกได้ว่าเมื่อกี้ ไม่ได้กำหนดสติดูเลย

    การปฏิบัติทางจิต กับการออกกำลังกายก็คล้ายกันครับ
    นักมวย หรือนักกีฬานั้น เขาต้องฟิตซ้อมร่างกายให้แข็งแรง เช่น ออกวิ่งตอนเช้าๆ
    การวิ่งของนักมวยนั้น ไม่ได้เอาประโยชน์ที่การวิ่ง
    แต่เอาประโยชน์ที่ร่างกายแข็งแรงแล้ว เอาไปใช้ชกมวย

    ทางจิตก็เหมือนกันครับ คือเราจะต้องฟิตซ้อมด้วยการเฝ้ารู้เฝ้าดูจิตใจ
    หรือทำความสงบสลับกับการเจริญวิปัสสนาไป
    เพื่อให้มีสติสัมปชัญญะ มีปัญญาว่องไว
    แล้วเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆ ได้

    เช่น เวลาเราทำงาน หรือคุยกับคนอื่น เราเฝ้ารู้อยู่ที่จิตไม่ได้
    (เหมือนกำลังชกมวย จะตั้งท่าวิ่งไม่ได้)
    แต่ทันทีที่คุยแล้วกิเลสเกิด ตัณหาเกิด จิตจะมีสติรู้ทันขึ้นมาอย่างอัตโนมัติ

    ดังนั้น การฝึกกับการออกสนามจริงจึงไม่เหมือนกัน
    ถ้ากำลังชกมวยอยู่ มัวคิดถึงท่าวิ่ง ก็ถูกชกหมอบสิครับ
    หมายถึงว่า ถ้ากำลังคุยกับคนอื่น
    แล้วย้อนมาเฝ้าอยู่ที่จิต จนความคิดดับ ก็คุยกับใครไม่ได้เลย

    อีกอย่างหนึ่ง
    จิตรู้อารมณ์ได้ทีละอย่างเท่านั้นนะครับ
    ถ้าพยายามฝืนจะรู้หลายๆ อย่างพร้อมกัน จิตจะฟุ้งซ่าน
    ไม่มีความเป็นหนึ่ง จะทำวิปัสสนาก็ไม่ได้ สมถะก็ไม่ได้
    เป็นการเพิ่มงาน เพิ่มภาระให้จิตโดยเปล่าประโยชน์ครับ

    แต่ถ้าคุยแล้วเกิดความมัน หรือเกิดราคะโทสะอะไรก็แล้วแต่
    ให้จิตมันรู้ทันขึ้นเองเป็นอัตโนมัตินะครับ
    จึงจะเรียกว่าพอจะทำได้จริงในชีวิตประจำวันแล้ว
    แต่จะทำอย่างนั้นได้ เราก็ต้องฝึกฝนเข้ม มาสักช่วงหนึ่งแล้ว

    http://dungtrin.com/mag/?5.pra
     
  6. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
    ๒๗ มิ.ย. ๒๕๔๒



    ถาม – ขอบ่นหน่อย คือเป็นคนเข้าวัดช้า หรือเริ่มปฏิบัติช้า ไม่ทันได้ศึกษากับครูบาอาจารย์ที่ดี นับว่าเป็นผู้อาภัพอับวาสนาเสียเหลือเกิน น่าอิจฉาคุณสันตินันท์ที่มีโอกาสพบปะและใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์จำนวนมหาศาล

    ความจริงคนเราย่อมได้สิ่งที่สมควรกับตนเองเสมอ
    หากเป็นเวลาก่อนหน้านี้ เรายังไม่สนใจธรรมะ
    แม้จะพบครูบาอาจารย์ที่ดีเพียงใด ก็ไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมา
    ในทางกลับกัน อาจจะเกิดโทษเสียด้วยซ้ำไป
    เช่น เมื่อได้ฟังธรรมในขณะที่ไม่พร้อม
    จิตใจอาจจะเหมือนเชื้อโรคดื้อยา คือธรรมะอะไรก็รู้แล้วทั้งนั้น
    เวลาจะลงมือปฏิบัติธรรมจริงๆ ไม่ว่าจะฟังธรรมบทใดก็คิดแต่ว่ารู้แล้ว รู้แล้ว
    ธรรมไม่สามารถแทรกซึมเข้าสู่จิตใจได้เลย

    บางคนอยู่กับครูบาอาจารย์ที่ดี แต่กิเลสเต็มหัวใจ
    แทนที่จะได้ประโยชน์ กลับก่อบาปกรรมให้กับตนเองก็มี
    ผมผ่านสำนักกรรมฐานมามาก ก็พบว่าหลายๆ สำนัก จะมีคนประเภทนี้เสมอ
    คือเข้าไปอยู่กับครูบาอาจารย์ ในลักษณะเป็นกบเฝ้ากอบัว
    คือได้แต่เฝ้า แต่ไม่เคยได้กินน้ำหวานของดอกบัวเลย
    หมายถึงไปอยู่กับท่าน แต่ไม่รู้รสธรรมจริงๆ เลย
    ที่แย่กว่านั้น บางคนคุ้นเคยกับครูบาอาจารย์มากเข้า
    ก็แสดงความชั่วหยาบของตนออกมา
    เที่ยวแสวงหาผลประโยชน์ หรือกระทำสิ่งที่ไม่สมควรต่างๆ
    แบบนี้ก็มีให้เห็นอยู่เสมอๆ

    พระเทวทัตนั้น ถ้าท่านไม่ไปเกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า
    ท่านคงไม่ได้ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อพระโลหิต
    อนันตริยกรรมอันนี้ก็ไม่เกิดขึ้น
    นั่นขนาดเกิดร่วมสมัยกับพระพุทธเจ้า
    แทนที่จะมีโอกาสทำดีให้ถึงที่สุด
    กลับกลายเป็นมีโอกาสทำบาปให้ถึงที่สุด

    พวกเราผู้ปฏิบัติ จึงไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจ ว่าเราไม่ได้พบครูบาอาจารย์ที่ดี
    เช่น บางคนบ่นเสียดายว่าไม่ได้พบหลวงปู่ดูลย์
    เหมือนที่ผมเคยคิดน้อยใจตอนเด็กๆ ว่า ไม่ได้พบหลวงปู่มั่น

    ผมมีเรื่องมาเล่าให้ฟัง เป็นตัวอย่างให้เห็นว่า
    การอยู่กับครูบาอาจารย์ที่ดีนั้น ไม่แน่ว่า เราจะได้ดีเสมอไป

    มีพระรูปหนึ่งท่านอยู่กับหลวงปู่ดูลย์มาตั้งแต่เด็ก
    ตอนเป็นเณรนั้น แทนที่จะสนใจการปฏิบัติธรรม
    กลับสนใจที่จะปรนนิบัติดูแลหลวงปู่ให้ยิ่งกว่าเณรองค์อื่น
    แต่ไม่ว่าจะพยายามปรนนิบัติหลวงปู่อย่างไร
    หลวงปู่ก็ไม่เคยกล่าวชมเชยให้ชื่นใจเลย
    ไม่เหมือนเณรที่ขยันภาวนา จะได้รับคำชมเชยมากกว่า

    เณรรูปนี้ขัดใจขึ้นมา จึงเขียนบัตรสนเท่ห์ทิ้งไว้ตามกุฏิว่า
    "หลวงปู่เหมือนเทวดาที่ไม่มีความเป็นธรรม และไม่ทราบว่าใครทำดีกับหลวงปู่บ้าง"
    ก็เกิดเป็นที่ฮือฮากันขึ้นว่า ใครหนอกล้าล่วงเกินหลวงปู่ขนาดนั้น

    ด้วยระดับความสามารถของหลวงปู่นั้น
    ทำไมจะไม่ทราบว่า ใครเป็นคนเขียนบัตรสนเท่ห์
    แต่ด้วยน้ำใจที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา
    เมื่อทราบว่าเณรทำผิดเช่นนั้น ท่านก็คิดอุบายผ่อนโทษให้เณร
    โดยเรียกเณรทั้งหมดมาประชุมกันแล้วประกาศว่า
    (สังเกตไหมครับ ว่าท่านไม่เรียกพระมาเลย)
    ใครทำบัตรสนเท่ห์นี้ เป็นบาปกรรมต่อตัวเองอย่างมาก
    เพราะล่วงเกินครูบาอาจารย์
    ขอให้สารภาพเสีย หากใครทำผิดแล้วสารภาพ หลวงปู่จะให้พร

    เณรตัวแสบอยากได้รับพรให้เหนือกว่าเพื่อน
    ก็สารภาพออกมาว่า ตนเขียนเองและขอขมาหลวงปู่
    หลวงปู่จึงให้พรว่า "ขอให้เจริญๆ"
    (ภายหลังเณรองค์นี้ กลายเป็นเจ้าคุณชั้นเทพทั้งที่อายุยังน้อยมาก
    มีคนศรัทธามากมาย สร้างวัดได้ใหญ่โต
    มีชื่อเสียงโด่งดังกว่าเพื่อนเณรด้วยกันในยุคนั้น)

    เณรรูปนี้มีญาติผู้ใหญ่เป็นพระนักไสยศาสตร์ของเมืองสุรินทร์
    แม้จะมีชื่อว่าเป็นศิษย์หลวงปู่ แต่ก็ไม่ได้ทำกรรมฐานแบบหลวงปู่
    หากแต่ฝึกฝนวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ เช่น การเลี้ยงผี
    และการใช้ผีไปสะกดจิตคนอื่นให้ยอมอยู่ในอำนาจ
    ยิ่งนานวันพลังจิตก็ยิ่งแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ
    พออายุครบบวชได้บวชเป็นพระแล้ว
    ก็เป็นพระประเภทที่โกหกเป็นไฟ
    เช่น บางคราวหยิบของๆ หลวงปู่ไปใช้โดยพลการ
    เมื่อหลวงปู่จำเป็นจะต้องใช้ของนั้น พระรูปนี้ก็จะบอกว่าตนไม่รู้ไม่เห็น
    หลวงปู่ถึงกับรำพึงออกมาดังๆ ว่า "พระบางองค์ลืมถือศีล 5"

    เมื่อพระรูปนี้ไปสร้างวัดขึ้นแถวสมุทรสงคราม
    ญาติโยมที่ไปทำบุญกับท่าน จะเต็มอกเต็มใจถวายเงินทองให้ท่าน
    เพราะท่านมีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องการสะกดคนอยู่แล้ว
    เวลามีพระไปหาท่านที่วัด
    ท่านจะรีบถามพระอาคันตุกะว่ามีอายุพรรษาเท่าใด
    หากพระอาคันตุกะบอกเท่าใดแล้ว ท่านจะบอกว่า ท่านพรรษามากกว่าเสมอ
    เพื่อเป็นฝ่ายรับการกราบไหว้จากพระอาคันตุกะ
    นอกจากนี้ยังแอบอ้างว่า ตนเองคือท่านเจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท กลับชาติมาเกิด
    ทั้งนี้เพราะพระป่า จะเคารพท่านเจ้าคุณอุบาลีมาก
    เนื่องจากอาวุโสกว่าหลวงปู่มั่นเสียอีก

    แม้แต่ที่วัดบูรพาราม ท่านรูปนี้ก็นำรูปของท่านเองไปตั้งไว้คู่กับรูปหลวงปู่
    เพื่อให้คนเคารพกราบไหว้หลวงปู่พร้อมกับท่านด้วยเสมอ

    ท่านรูปนี้แหละ ที่ก่อความอื้อฉาวเกี่ยวกับการขอสมณศักดิ์
    คือวิ่งหลอกทางนั้นที ทางนี้ที จนตนเองได้สมณศักดิ์ชั้นเทพ ทั้งที่อายุยังน้อย

    แม้จะมีความเจริญในสมณเพศตามพรที่หลวงปู่พยายามจะให้
    แต่เมื่อเรื่องของท่านเริ่มจะอื้อฉาวขึ้นทุกทีเพราะกรรมของท่าน
    ในที่สุดก็ลาสิกขา ออกไปเดินสายตามนักการเมืองเที่ยวหาเสียงในขณะนี้
    แล้วก็สร้างข่าวใหญ่เรื่องให้หวยแม่น

    ก็อย่างที่ผมกล่าวมานั่นแหละครับ
    คนที่อยู่กับครูบาอาจารย์ที่ดี ไม่จำเป็นว่าจะต้องดีเสมอไป
    ไม่เฉพาะรายนี้นะครับ สำนักใหญ่อื่นๆ ก็มีคนประเภทนี้แอบแฝงอยู่เหมือนกัน
    ถึงขนาดบางสำนักพอสิ้นครูบาอาจารย์แล้ว
    ทั้งชาวบ้านรอบวัด และศิษย์ร่วมสำนักไม่ยอมกลับไปเหยียบวัดของอาจารย์อีก
    เพราะไม่อยากคบค้ากับพระประเภทนี้ ก็มีเหมือนกัน

    ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพื่อบอกกับพวกเรา 2 ประการคือ
    ประการแรก การที่พวกเราเริ่มสนใจการปฏิบัติธรรม
    ในขณะที่พระพุทธศาสนายังดำรงอยู่อย่างสมบูรณ์
    นับว่าเป็นวาสนาอย่างยิ่งอยู่แล้ว
    ไม่จำเป็นต้องเสียดายว่า ไม่ได้พบครูบาอาจารย์องค์นั้นองค์นี้
    เพราะเราได้พบตัวแทนพระพุทธเจ้า คือพระธรรม อยู่แล้ว

    ประการที่ 2 การจะเข้าวัด กระทั่งวัดป่า จะต้องรู้จักพิจารณาให้รอบคอบ
    เพราะของปลอม มีมานานแล้วครับ
    โดยเฉพาะผู้หญิงทั้งหลายนั้น ต้องรอบคอบให้มากหน่อย
    อย่าให้ความศรัทธานำหน้าปัญญาเป็นอันขาด
    เพราะพอหลงศรัทธาแล้ว ก็มักทำบุญหนักมากกว่าผู้ชายเสียอีก

    ทำบุญแล้วได้บำรุงพระศาสนาก็ดีไป
    เกิดเอาไปบำรุงอลัชชีเข้า ประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มเสียครับ

    http://dungtrin.com/mag/?6.pra
     
  7. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
    ๒๙ มิ.ย. ๒๕๔๒



    ถาม - ได้ยินว่าขณะกำลังจะตาย จะคล้ายกับฝันที่บังคับไม่ได้แต่สิ่งที่ปรากฏจะเป็นไปตามแรงกรรมแต่ในบางครั้ง ผมยังคิดและตัดสินใจได้ในฝันได้อยู่ แล้วเราจะบังคับฝันก่อนตายไม่ได้จริงหรือ?

    เวลาคนเราฝัน ก็คิดได้บ้างเหมือนกัน
    แต่มันห้ามความอยาก ความยึด ความยินดียินร้าย
    ตลอดจนกิเลสต่างๆ ไม่ได้เสมอไปหรอกครับ
    เว้นแต่เราจะดูจิตจนชำนาญจริงๆ
    เวลาเกิดกิเลสแรงๆ มันจะย้อนดูโดยอัตโนมัติ (แม้ขณะกำลังฝัน)

    แต่ถ้าเราปฏิบัติธรรมไปถึงจุดหนึ่ง เราจะไม่ฝันร้ายอีกเลย
    ความฝันจะเหมือนความคิดที่ผุดขึ้นจางๆ เป็นระยะสั้นๆ เท่านั้น
    และเคยได้ยินว่า ถ้าปฏิบัติได้เต็มที่แล้ว จะไม่ฝันอีกเลย



    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
    ๓๐ มิ.ย. ๒๕๔๒



    ถาม – พระธรรมวินัยของจริงหาได้จากที่ไหน?
    ฟังใครก็ต้องฟังหูไว้หู ตราบใดที่ยังไม่ได้ทดสอบจนเห็นจริงด้วยตนเอง
    หรือถ้าอ่านตำรา ไม่ว่าจะตำราอะไร
    ถ้าไม่ใช่พระไตรปิฎกในส่วนที่พิสูจน์ได้ว่าเป็นพระพุทธวจนะหรือคำของพระอรหันตสาวก
    ก็ต้องวางใจให้เป็นกลางๆ ไว้ก่อน

    หลักที่ผมใช้อยู่ก็ไม่ยุ่งยากอะไร
    คือเราต้องตีกรอบไว้ก่อนว่า เราจะศึกษาเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ (ของจิต) เท่านั้น
    ใครสอนออกนอกกรอบนี้ ก็แสดงว่าไม่ใช่แล้ว
    และการจะศึกษาเรื่องทุกข์และการดับทุกข์นั้น
    ก็ต้องทราบว่าทุกข์ปรากฏอยู่ที่ไหน ซึ่งก็หนีไม่พ้นไปจากกายกับจิตนี้เอง
    ถ้าใครสอนออกจากกายกับจิตนี้ ก็ต้องระวังไว้

    สำหรับวิธีปฏิบัติเพื่อพ้นทุกข์นั้น ถ้าผิดจากการรู้ทุกข์ ละสมุทัย ก็ต้องระวังไว้
    และผลของการปฏิบัติ ถ้าเรารู้ทุกข์ด้วยใจที่เป็นกลาง แล้วพ้นจากทุกข์ได้จริง
    หรือเห็นว่าถ้าไม่เป็นกลาง เกิดความอยากความยึด จิตก็เป็นทุกข์ต่อหน้าต่อตานี้เอง
    อย่างนี้ก็พอเชื่อได้ แต่ถ้าผิดจากนี้ก็ต้องระวังอีก

    ดังนั้นแทนที่จะตรวจสอบที่อื่น ย้อนมาตรวจสอบจิตใจตนเองดีกว่าครับ
    ว่าปฏิบัติแล้วเห็นผลในทางลดกิเลสตัณหามานะอัตตาเพียงใด
    ส่วนตำราและอาจารย์นั้น เพียงรับฟังไว้ได้
    แต่ถ้าปฏิบัติตามนั้นแล้ว กิเลสตัณหามานะอัตตายังรุนแรงเหมือนเดิม
    หรือบางคนอัตตาแรงกว่าเดิม หรือแรงกว่าคนปกติอีก
    อันนี้ก็ต้องพิจารณาเหมือนกัน
    และเอาเข้าจริง กระทั่งคนที่เรียนตำราเล่มเดียวกัน
    หรือมีอาจารย์คนเดียวกัน
    พอลงมือปฏิบัติจริงก็ยังทำต่างๆ กัน
    มีความเชื่อแปลกๆ กันออกไปก็มีเยอะแยะครับ

    สรุปแล้วสิ่งแรกที่ผมถือเป็นมาตรฐานที่สุดคือพระไตรปิฎก
    (ในใจชอบพระสูตรครับ เพราะแน่นอนว่าส่วนใดเป็นพระพุทธวจนะ
    ส่วนใดเป็นคำสอนของพระมหาสาวกทั้งหลาย)
    รองลงมาก็คือการวัดใจตนเอง ซึ่งก็คือหลักตรวจสอบที่พระพุทธเจ้าประทานให้
    คือดูว่ากิเลสตัณหามานะพวกนี้ลดลงหรือไม่



    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)
    ๑ ก.ค. ๒๕๔๒



    ถาม – ขอเทคนิคดีๆ ในการทำจิตให้เป็นกลางครับ

    จิตนั้นทีแรกมันก็เป็นกลางอยู่แล้วครับ
    แต่พอมันไปรู้อารมณ์เข้า มันเกิดความยินดียินร้ายขึ้นมา มันจึงเสียความเป็นกลางไป
    ดังนั้นถ้าหมั่นสังเกตจิตใจตนเองไว้
    มันเกิดความยินดีก็รู้ทัน มันเกิดความยินร้ายก็รู้ทัน
    จิตจะกลับมาเป็นกลางเองครับ ไม่ต้องไปพยายามทำให้มันเป็นกลางหรอกครับ

    http://dungtrin.com/mag/?7.pra
     
  8. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ๕ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม - ดูจิตอย่างไรเป็นสมถะ อย่างไรเป็นวิปัสสนาครับ?
    การดูจิตที่ผมแนะนำนั้น จะทำให้เป็นสมถะก็ได้ เป็นวิปัสสนาก็ได้
    คือถ้าเพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียวก็เป็นสมถะ
    ถ้าสามารถจำแนกรูปนามออกได้ก็เป็นวิปัสสนา
    คือจำแนกว่า อันนี้รูป อันนี้นาม
    และนามนั้น ก็จำแนกต่อไปได้ว่า นี้คือนามเจตสิก นี้คือนามจิต
    ในที่สุดก็จะเห็น จิต เจตสิก รูป แยกออกจากกัน
    ต่างก็ทำหน้าที่ของตนไปตามหน้าที่
    เกิดดับไปตามเหตุปัจจัยของตนๆ
    ล้วนแสดงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เหมือนๆ กัน

    สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องรู้สภาวะที่กำลังปรากฏจริงๆ ของรูปและนาม
    ไม่ใช่แค่รู้ชื่อ รู้บัญญัติ อันนั้นใช้ไม่ได้เลยครับ
    เช่น ความโกรธผุดขึ้นมาก็รู้ทัน
    มันเกิดขึ้นได้เพราะอะไร อะไรเป็นเหตุใกล้ให้มันเกิด ก็รู้
    มันตั้งอยู่แล้วแสดงอิทธิฤทธิ์อันเป็นหน้าที่ของมันอย่างไร ก็รู้
    มันดับไป ก็รู้
    ที่ว่ามานี้ จิตเป็นคนดูเฉยๆ นะครับ
    จิตเหมือนคนดูละคร ไม่ใช่คนแสดงละครเสียเอง
    ต่างจากสมถะ ที่จิตโดดลงไปแสดงเอง
    คือเข้าไปเกาะอารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง




    ๗ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม - ผมมีปัญหาเวลานั่งสมาธิ แล้วปวดเข่ามาก เคยปวดจนรู้สึกเหมือนจิตจะถูกบิดขาดเลย เคยอ่านประวัติของพระบางรูป ท่านก็ผ่านจุดนี้ และมักตัดใจอดทนกัน และผมก็เคยเชื่อว่าควรทนไว้ ขอความเห็นด้วยว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ครับ?
    เรื่องจะนั่งทนจนทะลุความปวด หรือจะเปลี่ยนอิริยาบถนั้น
    ไม่มีข้อยุติตายตัวหรอกครับ มันขึ้นกับจริตนิสัยและกรรมฐานที่ถนัดมากกว่า
    บางคนต้องปฏิบัติในแนวทางที่ลำบาก เช่น พิจารณากายและเวทนา
    บางคนปฏิบัติในแนวทางที่สบายเพราะพิจารณาจิต
    เราจะถนัดอันไหนก็ต้องลองดูว่า ทำแนวไหนแล้ว
    กิเลสที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิด กิเลสที่เกิดแล้วดับไป
    กุศลที่ยังไม่เกิดก็เกิด กุศลที่เกิดแล้วเจริญขึ้น

    บางท่านนั่งแล้วเจ็บปวดมาก ท่านก็อดทนเอา
    รู้ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาของกายและเวทนาทางกายไป
    ในขณะนั้นเองก็ควบธัมมานุปัสสนาเข้าไปด้วย
    คือเห็นว่าถ้าจิตกระเพื่อมหวั่นไหว ยินดียินร้ายในกายและเวทนา ความทุกข์ก็เกิดขึ้น
    เมื่อจิตรู้กายและเวทนาไปจนเต็มที่แล้ว
    บางท่านจิตพลิกเข้ามาในภูมิของสมถะ มีปีติสุขขึ้นมา
    สามารถข่มทุกขเวทนาทางกายลงได้ก็มี
    บางท่านจิตปล่อยวางความถือมั่นในรูป และเวทนาก็มี

    ส่วนบางท่านเจริญจิตตานุปัสสนาเรื่อยไป
    กายและเวทนาเป็นส่วนประกอบบางครั้งบางคราวเท่านั้น
    ถ้าทำกรรมฐานลักษณะนี้ก็ไม่ต้องทนทุกข์อะไรมากนัก
    มิหนำซ้ำ จิตยังวางอารมณ์เข้าสงบพักเป็นระยะๆ ไปได้ด้วย

    อนึ่ง การปฏิบัติลำบาก และปฏิบัติสบาย ไม่เกี่ยวกับความเร็วในการรู้ธรรม
    บางคนทั้งลำบากทั้งรู้ช้า บางคนสบายแล้วรู้เร็ว ก็มีครับ

    http://dungtrin.com/mag/?8.pra
     
  9. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ๖ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม – ที่ว่าเดิมทีจิตประภัสสรนั้น หมายถึงจิตของเด็กทารกแรกเกิดหรือเปล่าคะ? ถ้าใช่ จิตของเด็กทารกกับจิตของพระอรหันต์ต่างกันอย่างไร มีอะไรมาทำให้แตกต่าง?
    จิตผู้รู้นั่นแหละครับ คือจิตประภัสสร มันประภัสสรเพราะมันยังไม่ถูกอุปกิเลสจรมาห่อหุ้ม ในทางปฏิบัติเมื่อเราสามารถแยก ‘จิตผู้รู้’ กับ ‘อารมณ์ที่ถูกรู้’ ออกจากกันได้แล้ว จิตจะทรงตัวรู้ ผ่องใส เบิกบานอยู่ในตัวเอง
    แต่ตรงนี้ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่ามันก็ยังเป็นภพอีกอันหนึ่ง จิตยังข้อง ยังยึดอยู่ในภาวะที่รู้ ว่าง ผ่องใส เบิกบาน นั้น เราไม่สามารถเห็นได้ว่าตรงนี้เป็นภพอันหนึ่ง เป็นก้อนทุกข์อันหนึ่ง ไม่สามารถมองเห็นตัณหาอันละเอียดที่ก่อภพอันนี้ขึ้น หากใครปฏิบัติติดอยู่เพียงแค่นี้ ก็บางครั้งบางคราวเท่านั้น ที่จิตจะปล่อยวางภพอันนี้ได้ชั่วคราว แล้วจิตพลิกไปอีกสภาพหนึ่ง เป็นความเบา เป็นอิสระ เป็นธรรมชาติอันหนึ่ง
    แต่ไม่นาน อย่างมากก็สามสี่วัน ตัณหาที่ยังมองไม่เห็นก็สร้างภพของจิตผู้รู้ขึ้นมาใหม่ แล้วก็ติดข้องอยู่ในภพ เพราะมองไม่ออกถึงเงื่อนต้นเงื่อนปลายของมันครับ



    ๗ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม – จากคำสอนที่ว่า ‘ให้ค้นหาตัวผู้รู้ให้พบ แล้วทำลายตัวผู้รู้เสีย’ ข้อความนี้หมายถึงการทำลาย ‘มานะ’ อันเป็นสังโยชน์ข้อ ๘ หรือเปล่าครับ?
    การทำลายผู้รู้ไม่ใช่การทำลายมานะหรอกครับ แต่หมายถึงการปล่อยวางความยึดมั่นในจิตผู้รู้ว่าเป็นเรา หรือของเรา คือเห็นว่า กระทั่งจิตก็เป็นเพียงสภาพธรรมอันหนึ่ง มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเอง

    ถาม – ทำไมแค่รู้ กิเลสก็สิ้นได้ครับ?
    เรา รู้ เพื่อเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงเท่านั้น คือรู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมานั้น มันต้องดับไปในที่สุด และไม่เป็นไปตามความอยากของเรา แต่เป็นไปตามเหตุของมัน
    เมื่อจิตรู้ความจริง จิตก็ปล่อยวาง ไม่เข้าไปแทรกแซงสิ่งใด คือพอเห็นอารมณ์ใดเกิดขึ้น ก็รู้ว่า "มันก็เท่านั้นเอง" "มันเป็นอย่างนั้นเอง" เมื่อจิตรู้จักปล่อยวาง จิตก็ไม่ทุกข์
    การที่เรารู้ทันกิเลสที่กำลังปรากฏแล้ว กิเลสอ่อนกำลังลงหรือหายไปนั้น ไม่ใช่เพราะเราไปไล่กิเลสไปหรอกครับ อย่างมีใครสักคนมาด่าคุณ คุณฟังแล้วโกรธ พอโกรธแล้วก็จะยิ่งเพิ่มความสนใจคนที่มาด่าคุณมากขึ้น ยิ่งสนใจก็ยิ่งคิดยิ่งแค้น ความโกรธก็ยิ่งรุนแรงขึ้น
    แต่เมื่อใดคุณย้อนกลับมาเห็นความโกรธที่กำลังเกิดขึ้น แล้วเห็นว่ามันทำให้จิตใจของคุณเป็นทุกข์ จิตใจของคุณก็จะไม่คล้อยตามสิ่งที่กิเลสสอนให้ทำ เช่น ไม่ตัดสินใจโดดชกคนที่มาด่าเรา และในขณะที่รู้ทันกิเลสอยู่นั้น ความสนใจของเราไม่ได้อยู่ที่คนที่มาด่าเรา ไม่ได้คิดปรุงแต่งเพิ่มเติมว่าเขาไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ กิเลสก็เหมือนไฟที่ขาดเชื้อ มันก็อ่อนกำลังแล้วดับไปเอง
    เราปฏิบัติธรรมไม่ใช่เพื่อละกิเลส แต่เพื่อละความเห็นผิดของจิตใจที่ไปหลงเชื่อวิ่งตามกิเลส แล้วพาทุกข์มาให้ตัวเอง แต่เราก็จำเป็นต้องรู้กิเลส เพราะถ้ารู้ไม่ทัน กิเลสมันจะทำพิษเอา คือถ้ามันครอบงำจิตใจได้ มันจะพาคิดผิด พูดผิด ทำผิด แล้วจะนำความทุกข์ความเดือดร้อนมาให้
    การที่เรารู้กิเลสนั้น เราไม่ได้รู้เพื่อจะละมัน เพราะตราบใดยังมีเชื้อของกิเลสหลบซ่อนอยู่ในจิตใจส่วนลึกแล้ว หากมันมีผัสสะทางตา หู .. ใจ กิเลสที่ซ่อนนอนก้นอยู่ในจิตใจก็จะผุดขึ้นมา เพื่อกระตุ้น เร่งเร้า ให้เราหลง ให้เรารัก ให้เราชัง สิ่งต่างๆ จิตใจก็เสียความเป็นกลางไป
    และเราไม่ต้องไปคิดเรื่องตัวผู้รู้อะไรหรอกครับ ถ้ากิเลสเกิดแล้วรู้ว่ามีกิเลส และรู้ทันจิตใจตนเองว่า มันยินดี ยินร้ายตามกิเลสหรือไม่ มันหลง มันเผลอ มันอยาก มันยึด หรือไม่ รู้เรื่อยๆ ไป ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะเข้าใจเองว่า "ถ้าจิตหลงตามแรงกระตุ้นของกิเลส แล้วเกิดความอยาก ความยึดขึ้นมาเมื่อใด ความทุกข์ก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น" จิตก็จะมีฉลาดพอ ที่จะไม่หลงกลกิเลสที่มันรู้ทันแล้วอีกต่อไป

    http://dungtrin.com/mag/?9.pra
     
  10. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ๘ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม – อยากปฏิบัติธรรม แต่ก็ไม่อาจปลีกเวลา รู้สึกเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งแวดล้อมในเมืองเหลือเกิน จะแก้ไขอย่างไรดี?

    พวกเรานักปฏิบัติธรรมเคยรู้สึกกันบ้างไหมว่าบางครั้งเราอยากหลีกหนีจากสภาพแวดล้อมที่กำลังประสบอยู่จากมหาวิทยาลัย จากงาน จากครอบครัว จากบ้าน จากถนนหนทางที่ต้องผ่านจำเจอยู่ทุกวันไม่ว่าผู้คน หรือสภาพแวดล้อม ล้วนแต่น่าเบื่อหน่ายล้วนแต่ไม่ดี ไม่เหมาะ กับเราผู้ปฏิบัติธรรมสักอย่างเดียวจิตใจก็น้อมไปในทางที่อยากจะหามุมสงบสักแห่งหนึ่ง อยู่กับตัวเองเงียบๆบางคนถึงกับอยากทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไปบวช เพื่อปฏิบัติธรรมความรู้สึกอย่างนี้ถ้านานๆ เกิดขึ้นสักครั้งก็ไม่เท่าไหร่แต่ถ้าเกิดเป็นประจำ ความเบื่อหน่ายนั้นแหละจะกัดกร่อนจิตใจของเราเกิดความเซ็ง ความหดหู่ท้อแท้ มีโทสะติดอยู่ที่ปลายจมูกสิ่งเหล่านี้คือการจมทุกข์อยู่ในปัจจุบัน โดยฝันหวานไปถึงอนาคตนี้เป็นโรคทางใจที่จำเป็นต้องรีบเยียวยาแก้ไขแท้จริงการปฏิบัติธรรมนั้น ไม่เลือกสถานที่ ไม่เลือกบุคคล และเวลานักปฏิบัติไม่ควรเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อมแต่ควรฝึกฝนตนเอง ให้สามารถปฏิบัติธรรมได้ในที่ทุกสถาน ในกาลทุกเมื่อกิเลสเกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ ก็ต้องรู้เดี๋ยวนี้ ต้องพัฒนาจิตใจของตนเองเดี๋ยวนี้ไม่ใช่สงวนกิเลสเอาไว้ก่อน แล้วพยายามแก้ไขที่คนอื่น สิ่งอื่นหรือผลัดไปต่อสู้กับกิเลสในเวลาอื่นถ้าเราเป็นทุกข์เดี๋ยวนี้ ก็ต้องลงมือหาทางออกจากทุกข์เดี๋ยวนี้ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะกล่าวโทษว่า ความทุกข์มาจากคนนั้น สิ่งนั้นเพราะแท้ที่จริงแล้ว ถ้าจิตของเรานี้ไม่ส่งออกไปหาทุกข์มาใส่ตัวความทุกข์จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยแทนที่จะเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อมแทนที่จะเพ่งโทษผู้อื่น หรือสิ่งอื่นมาพากเพียรศึกษากิเลสในจิตใจของเราเองดีกว่าเพื่อเราจะพ้นทุกข์ได้ตั้งแต่เดี๋ยวนี้แม้สิ่งแวดล้อมจะเลวร้ายประการใดก็ตามไม่มีใครทำให้เราเป็นทุกข์ได้หรอกนอกจากเราทำของเราเอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้วก็รับผลอันแสบร้อนนั้นด้วยตนเองอย่างยุติธรรมที่สุดแล้ว</PRE>๙ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม – อย่างนี้แปลว่าไม่จำเป็นต้องออกนอกสถานที่เลยใช่ไหม?

    ผมไม่ได้หมายความว่า การปลีกตัวออกไปทำความเพียร เป็นสิ่งไม่ดีถ้ามีโอกาส ก็ควรทำตามความเหมาะสมครับแต่ต้องการสื่อความหมายว่าการปฏิบัติธรรมนั้น ต้องทำเดี๋ยวนี้ ไม่ต้องอ้างเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้นเช่น สถานที่ไม่เหมาะ บุคคลแวดล้อมไม่เหมาะ ฯลฯและต้องการสื่อว่า "การแก้ทุกข์ (ทางใจ)" ต้องแก้ที่ตนเองถ้าคิดจะแก้ที่คนอื่น อันนั้นผิดแล้วครับแต่นี่ไม่ใช่เรื่อง "การแก้ปัญหา" นะครับการแก้ปัญหา ต้องแก้ที่สาเหตุของมัน เช่น ขายของไม่ได้ ต้องตรวจสอบว่าทำไมลูกค้าจึงไม่ซื้อของเราจะนำธรรมะมาใช้ ก็ต้องรู้ชัดเสียก่อนว่า จะใช้ในเรื่องใดถ้าจะแก้ปัญหาความทุกข์ในจิตใจละก็ ใช้ธรรมะได้ครับแต่ถ้าจะแก้ปัญหา Y2K โดยอยู่นิ่งเฉย แล้วบอกว่าตนมีอุเบกขาอันนั้นผิดแล้วครับ </PRE>
    http://dungtrin.com/mag/?10.pra</PRE>​
     
  11. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ๙ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม – ถ้าวันๆ เราเอาแต่รู้สึกว่าทุกอย่างดี น่าทึ่ง น่าสนใจ มีความสุขไปหมดล่ะคะ เป็นกิเลสอะไร แล้วเมื่อใดถึงจะอยากได้นิพพานเหมือนคนอื่นๆ เขา?
    ถ้าหนูพอใจจะอยู่กับโลก และมองโลกในแง่ดี ความทุกข์บางอย่างก็ลดลงได้ อย่างนั้นก็ดีแล้วครับ คือดีกว่าเป็นคนมองโลกแง่ร้าย แล้วหงุดหงิดรำคาญไปทุกเรื่อง
    คนเราไม่ได้หวังมรรคผลนิพพานกันทุกคนหรอกครับ ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้จึงมีหลายประเภท เพราะพระพุทธเจ้าท่านเมตตาต่อทุกคนเสมอกันหมด ธรรมะจึงมีทั้งประเภทที่จะให้เราอยู่กับโลกได้อย่างมีทุกข์น้อยๆ หน่อย กับธรรมะที่จะพ้นจากโลกไปเลย สำหรับคนกลุ่มน้อยที่รู้จักโลกมามากพอแล้ว

    ถาม – ชอบคำกล่าวที่ว่า “ไม่มีใครทำให้เราเป็นทุกข์ได้หรอก นอกจากเราทำของเราเอง ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แล้วก็รับผลอันแสบร้อนนั้นด้วยตนเองอย่างยุติธรรมที่สุดแล้ว” เพราะบางครั้งความทุกข์นั้นมันก็มาเอง โดยที่เราไม่ได้เป็นคนทำให้มันเกิด แต่เป็นผลพวงของคนรอบข้าง ซึ่งลากเราเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย แล้วมันก็ทำให้เราเป็นทุกข์ได้โดยเราไม่ได้เริ่ม หรือแสวงหามัน เราจะทำไงคะ?
    ก็เป็นความจริงครับ ที่บ่อยครั้งเราอยู่ของเราดีๆ แต่คนอื่นมาสร้างปัญหาให้เรา เช่น เราทำงานของเราอยู่ดีๆ เพื่อนอีกคนไม่ชอบทำงาน แต่ประจบเก่ง เวลามีงานก็โยนให้เราทำให้ มีความผิดก็ป้ายให้เรา แต่พอมีความชอบก็ชิงตัดหน้าเอาเสียเอง เราก็จะรู้สึกว่าเขาทำความทุกข์ให้กับเรา
    แต่ถ้ามองในแง่ของพระพุทธศาสนาแล้ว สิ่งที่เขาทำให้เราคือ "ปัญหา" เท่านั้น แต่เมื่อเราเผชิญปัญหาแล้ว เราเป็น "ทุกข์" ของเราเอง เพราะถ้าจัดการให้ดี เราก็เรียนรู้แล้วแก้ปัญหาไป โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ก็ได้
    "ปัญหา" เป็นสิ่งที่คู่กับชีวิตครับ แต่ "ทุกข์" เป็นสิ่งแปลกปลอม


    ๑๒ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม – ถ้าจะยกเอาความว่างมาเป็นเครื่องระลึกรู้ จะทำให้ติดสมถะได้ไหมครับ?
    การทำสมถะโดยยกเอาความว่างมาเป็นอารมณ์นั้น หากดูจิตชำนาญแล้วก็พอทำได้ไม่ยากนัก คือไประลึกรู้ความว่าง เอาความรู้สึกแนบสนิทเข้ากับความว่าง จนจิตรู้ความว่างโดยไม่ได้ตั้งใจประคองไว้
    สำหรับการติดสมถะขั้นความว่างนั้น ตรงนั้นเกิดจากการที่เรารู้ไม่เท่าทันกิเลสประเภทราคะละเอียดครับ จิตจะมีอาการอ้อยส้อยอ้อยอิ่งรักใคร่พอใจในความสงบ ถ้ารู้ทันกิเลสในใจตนเอง จะไม่ติดสมถะหรอกครับ


    ๑๓ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)



    ถาม – การมุ่งทำวิปัสสนาอย่างเดียวจะมีผลดีกว่าการทำสมถะไปด้วยหรือไม่ครับ?
    หากรู้สึกล้า ก็ควรทำความสงบบ้างครับ จิตจะได้พักผ่อนบ้าง

    http://dungtrin.com/mag/?11.pra
     
  12. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ๑๓ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)


    ถาม - จิตที่เป็นสมถะนั้นจะต้องไม่ยินดียินร้ายกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นหรือเปล่า อารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นไม่ว่าจะสุข หรือทุกข์ใดๆ ก็สักแต่ว่ารู้หรือเปล่า

    อันนี้ไม่ใช่สมถะครับสมถะนั้น จิตเพียงแต่สงบตั้งมั่น เกาะเกี่ยวเคล้าเคลียอยู่กับอารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่องเท่านั้น</PRE>๑๖ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)


    ถาม - กำลังเริ่มฝึกดูจิต เมื่อจิตถูกกระทบจนเกิดภาวะต่างๆ ก็เฝ้าสังเกต และวินิจฉัย คอยพากย์บอกกับจิตตัวเองว่าอันนี้เป็นราคะ อันนี้เป็นโทสะ อันนี้เป็นฟุ้งซ่าน อยากทราบว่าการตามรู้ตามดูจิตแล้วพากย์ไปด้วยแบบนี้ จะถูกต้องหรือเปล่า

    ที่จริงในเบื้องต้นที่หัดนั้น จิตมันอดพากย์ไม่ได้หรอกครับแม้ไม่จงใจจะคิดจะพากย์ มันก็อดวินิจฉัยไม่ได้ว่า "สิ่งนี้ชื่อนี้ เมื่อรู้สิ่งนี้แล้ว ควรทำอย่างนี้ๆ"เพียงแต่เราควรทราบไว้ว่า ความรู้ที่เกิดจากการพากย์และการสรุปประเด็นไม่ใช่จุดมุ่งหมายที่เราปฏิบัติ เพราะสิ่งที่ได้คือ "องค์ความรู้" ซึ่งเมื่อถึงจุดหนึ่งมันจะกลายเป็นสัญญา คอยรบกวนการปฏิบัติในขั้นละเอียดเมื่อปฏิบัติชำนิชำนาญไป เราจะเห็นเพียงสภาวะที่เกิดแล้วก็ดับจิตไม่สนใจพากย์ เพราะการพากย์นั้นก็เป็นการทำงานของจิตเป็นภาระ เป็นทุกข์ ยืดยาวออกไปอีกถึงจุดที่รู้สักว่ารู้สภาวธรรมที่กำลังปรากฏนั้นบางคราวเราจะเกิดความลังเลใจขึ้นมา เพราะเกรงว่าจะสรุปความรู้ไม่ได้หรือกลัวว่าจิตจะไม่มีองค์ความรู้นั่นเองอันนี้เป็นธรรมชาติของปัญญาชนทั้งหลาย ผมเองบางทีก็เป็นอย่างนั้นที่จริงเราปฏิบัติไม่ใช่เพื่อเอาความรู้ แต่ปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ของจิตโดย จิต มีปัญญา ไม่ไปยึดอารมณ์ที่กำลังปรากฏไม่ใช่โดย เรา มีความรู้</PRE>๑๙ ก.ค. ๒๕๔๒
    สันตินันท์
    (พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช ในปัจจุบัน)


    ถาม - นั่งคู้บัลลังก์คืออะไรครับ ใช่การนั่งขัดสมาธิเพชรหรือเปล่า แล้วการทำสมาธิโดยการนั่งวิธีนี้ ดีกว่าวิธีอื่นๆ หรือไม่ครับ?

    เรื่องการขัดสมาธิเพชรนั้น หลวงปู่สิม พุทธาจาโร แห่งถ้ำผาปล่อง ท่านชอบมากครับเวลาไปนั่งฟังธรรมของท่านก็ดี ไปนั่งปฏิบัติต่อหน้าท่านก็ดีท่านชอบแนะนำให้ขัดสมาธิเพชรเพราะมีข้อดีหลายอย่างครับ คือทำให้ไม่นั่งหลับง่ายๆและจิตใจก็จะเข้มแข็งมาก สมชื่อสมาธิเพชรทีเดียวเนื่องจากเป็นท่านนั่งที่ทรมานมากกับคนที่ไม่คุ้นเคยคราวหนึ่งพาเพื่อนที่เรียนในสถาบันจิตวิทยาความมั่นคงด้วยกัน ขึ้นไปกราบท่านบนถ้ำผาปล่อง เชียงดาว เชียงใหม่แต่ละท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการต่างๆ ทั้งนั้นพอไปถึงหลวงปู่ก็แสดงธรรม โดยให้นั่งขัดสมาธิเพชรท่านเทศน์ไปสักพักก็มีคนแอบเปลี่ยนท่านั่งเป็นสมาธิราบบ้าง พับเพียบบ้างมีผู้เขียนกับผู้ใหญ่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอีกท่านหนึ่ง ที่ทนนั่งได้จนท่านเทศน์จบพอท่านเทศน์จบท่านก็ยิ้ม บอกว่า "ยังไง นั่งกันไม่ไหวเลยหรือ"เพื่อนที่ทนนั่งได้ตลอดก็กราบเรียนท่านว่า "โอ๊ยแย่ครับหลวงปู่ ปวดขาเหลือเกิน"หลวงปู่มองหน้าด้วยความเมตตาอย่างยิ่ง แล้วถามว่า"ขา มันบอกว่า มันปวดหรือโยม"เพื่อนก็ตอบว่า "ครับ ขามันปวดมากเลยครับ"สรุปแล้ว เพื่อนไม่เข้าใจที่ท่านสอนคือท่านสอนให้พิจารณาต่อไปว่า ขาเป็นเพียงธาตุที่ไม่รู้จักเจ็บปวดความเจ็บปวดเป็นเวทนาที่แทรกอยู่ในกายเท่านั้นแต่ทั้งขาและเวทนาก็ไม่เคยบ่นว่าปวดคนที่เร่าร้อนโอดโอยแทนขา คือจิตของเราเองต่างหากสำหรับท่านั่งสมาธินั้น นอกจากคำว่า "คู้บัลลังก์" แล้วยังมีภาษาเก่าที่ตายไปแล้วอีกคำหนึ่งคือคำว่า "นั่งพะแนงเชิง""เชิง" คือเท้า "พะแนง" คือ ทับ ซ้อนต่อมาคนรุ่นหลังออกเสียงเพี้ยนไปเป็นคำว่า พนัญเชิงเวลานี้เหลือที่ใช้คำนี้อยู่แห่งเดียว คือวัดพนัญเชิง กับหลวงพ่อพนัญเชิงเคยอ่านพบว่า ที่เรียกท่านว่าหลวงพ่อพะแนงเชิง ก็เพราะท่านเป็นพระนั่งสมาธิขนาดใหญ่องค์แรกๆของอโยธยา (ก่อนอยุธยา)ในขณะที่พระขนาดใหญ่ก่อนหน้านั้น นิยมสร้างเป็นพระนั่งห้อยพระบาท</PRE>​
    <CENTER>
    http://dungtrin.com/mag/?12.pra</CENTER>
     
  13. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ถาม
     
  14. TupLuang

    TupLuang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    3,143
    ค่าพลัง:
    +1,371
    ถาม – เคยได้ยินคนบ่นกันว่าการปฏิบัติเป็นเรื่องยากเหลือเกิน
    ไม่ว่าการทำทาน ถือศีล บำเพ็ญภาวนา ล้วนยาก
    และน่าเหนื่อยหน่ายท้อแท้เสียเหลือเกิน
    แท้ที่จริงแล้ว การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องยาก จริงหรือไม่


    พิจารณาจากพระพุทธวจนะก็ไม่พบว่าท่านระบุตายตัวว่า
    การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่องง่ายหรือยาก
    ท่านเพียงแต่กล่าวว่า
    "คนดีทำดีง่าย แต่ทำชั่วยาก
    ส่วนคนชั่วทำชั่วง่าย แต่ทำดียาก"


    รวมความแล้วคงต้องสรุปว่า
    การปฏิบัติจะยากหรือง่าย ลำบากหรือสบาย
    มันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล

    แต่ในแง่ของผมที่พิจารณาดูแล้ว
    กลับเห็นว่า การปฏิบัติธรรมไม่ใช่เรื่องยากเกินไป
    แถมมีผลเป็นความสบายเสียอีก
    เราลองมาพิจารณาถึงการปฏิบัติธรรมกันเป็นขั้นๆ ไปเลยดีกว่า

    เริ่มจากการทำทาน เช่น การให้วัตถุทาน
    ผมเห็นว่าเป็นเรื่องง่ายที่เราจะทำทานในขอบเขตที่ตนจะไม่เดือดร้อน
    คือการ "ให้" ถ้าพอใจก็ให้ได้แล้ว
    แต่การจะเป็นฝ่าย "เอา" นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
    แม้ได้มาแล้ว การจะดูแลรักษาทรัพย์สมบัติ ก็เป็นงานที่น่าปวดหัวอีก
    เช่น ตอนนี้จะนำเงินไปฝากธนาคาร ก็กลัวธนาคารล้ม แถมดอกเบี้ยต่ำ
    จะเปลี่ยนไปเล่นหุ้น ก็กลัวจะต้องแปลงสัญชาติไปเกิดในภพแมลงเม่า

    การให้อภัยทาน ก็ง่ายกว่าการตามจองล้างจองผลาญใคร
    เพราะไม่ต้องวางแผนอะไร ไม่ต้องลงมือทำอะไร
    ให้อภัยได้เมื่อไร ก็นอนหลับสบายได้เมื่อนั้น
    ในขณะที่ถ้าจะตามจองล้างจองผลาญใคร จะต้องคิดวางแผน
    แถมถ้าดำเนินการไม่ดี อาจจะเป็นฝ่ายถูกเล่นงานเสียอีก
    การให้อภัยจึงง่ายกว่า เป็นไหนๆ

    การถือศีลก็เป็นเรื่องง่ายกว่าการทำผิดศีล
    เช่น ถ้าจะฆ่า จะตีคนอื่น ก็ต้องวางแผน เตรียมอาวุธ
    ตอนไปตีเขาก็อาจถูกเขาตีตายเสียเองก็ได้
    ทำร้ายเขาแล้วก็ต้องหลบซ่อนจากเงื้อมมือของกฎหมาย
    หรืออย่างจะไปตกปลาล่าสัตว์ ก็ลำบากกว่าการไม่ทำเป็นไหนๆ
    บางคนต้องไปซื้อหาเบ็ดราคาแพงๆ
    ไปนั่งตากแดดตากลมอยู่ริมน้ำเพื่อจะตกปลา

    การไม่ลักทรัพย์ก็ง่ายกว่าการลักทรัพย์
    การไม่ผิดลูกผิดเมียเขา ก็ง่ายกว่าการทำผิด
    เพราะเสี่ยงต่อการเจ็บตัว เสี่ยงต่อการเสียชื่อเสียงเกียรติยศ
    การพูดความจริง ก็ง่ายกว่าการโกหกพกลม
    อย่างน้อยที่สุด ก็ไม่ต้องใช้ความจำเท่ากับคนพูดโกหก
    คนไม่ดื่มเหล้าเมายาบ้า ก็สบายกว่าคนดื่มเหล้า
    ไม่เสียเงิน ไม่เสียเวลา ไม่เสียสุขภาพ ง่ายกว่ากันเป็นไหนๆ

    พอมาถึงการภาวนา หรือการปฏิบัติในขั้นสมถะและวิปัสสนา
    อันนี้ผมก็เห็นว่ามันสบายกว่าการไม่ปฏิบัติเช่นกัน
    เช่น การทำสมถะ ถ้ารู้หลักแล้วเอาจิตประคองรู้เข้ากับอารมณ์อันเดียวโดยต่อเนื่อง
    ไม่เห็นจะต้องทำอะไรมากมายเลย
    แค่รู้อารมณ์อันเดียวเรื่อยๆ ไปอย่างสบายเท่านั้นเอง
    หรือจะทำวิปัสสนา ก็ทำจิตทำใจของตนเป็นเพียงผู้สังเกตการณ์
    อะไรจะเกิดขึ้นกับกายกับจิตก็รู้เรื่อยๆ ไป
    โดยไม่ต้องเข้าไปข้องแวะยินดียินร้ายอะไรเลย
    แทบจะเรียกว่า เป็นการไม่ทำอะไรเลย นอกจากรู้ทันอย่างเดียวเท่านั้น
    แบบนี้มันจะยากได้อย่างไร ก็นึกไม่ออกเหมือนกันครับ

    บางคนปฏิบัติธรรมแล้วรู้สึกลำบากมาก
    ต้องคอยกดข่มบังคับจิตใจตนเองจนเครียดไปหมด
    อันนั้นไม่ใช่ว่า การปฏิบัติธรรมทำให้ยากลำบากหรอกครับ
    แต่การปฏิบัติผิดๆ ต่างหาก ที่ทำความลำบากให้เรา


    คนที่มีลูกอ่อนจะบ่นว่ายากลำบากเหลือเกิน
    เดี๋ยวลูกก็ร้องกวน อดหลับอดนอน
    เวลาเด็กเจ็บไข้ พ่อแม่ก็เป็นทุกข์เป็นร้อนมากมาย
    เวลาเด็กจะเรียนหนังสือ ก็ต้องวิ่งเต้นหาที่เรียนให้
    บางคราว โรงเรียนเขาจับพ่อแม่ไปนั่งสอบเข้าเรียนด้วย
    จนเด็กเลิกนับถือพ่อแม่ เพราะเด็กสอบได้ แต่พ่อแม่สอบตก
    ทำให้เด็กไม่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าโรงเรียนนั้น

    ตอนลูกยังเล็กก็ห่วงสารพัด กะว่ามันโตกว่านี้หน่อยคงจะสบาย
    แต่แล้วก็ไม่สบาย เพราะพอเด็กโตพ่อแม่ก็มีรายจ่ายมากขึ้น
    แถมต้องห่วงใยสารพัด เพราะสังคมของเรามันทารุณโหดร้ายเหลือเกิน
    พอลูกเรียบจบ พ่อแม่ก็ปวดหัวเรื่องอาชีพการงานของลูกอีก
    ถัดจากนั้นก็ปวดหัวเรื่องการหาคู่ของลูก
    หลังจากนั้น ก็เตรียมตัวรับภาระเรื่องหลานต่อไปอีก

    เลี้ยงลูกแต่ละคนลำบากแทบตาย
    ก็ยังเห็นตั้งหน้าจะมีลูกกันเป็นส่วนมาก
    บางคนต้องเสียเงินทองมากมาย เพราะมีลูกยาก แต่อยากจะมี
    พอบอกว่าให้ทำใจสบายๆ หายใจเข้าก็รู้ หายใจออกก็รู้
    แค่นี้บอกว่าทุกข์ยากเหลือเกิน ทำไม่ไหวแล้ว

    เรื่องของเรื่องก็ไม่มีอะไรมากหรอก กิเลสมันหลอกเอาน่ะครับ
    เราจึงเห็นผิดเป็นชอบ
    เห็นการปฏิบัติธรรมที่เป็นของสบาย ว่าลำบากเหลือประมาณ
    ส่วนการไม่ทำทาน ไม่รักษาศีล ไม่ภาวนา
    และการคลุกคลีอยู่กับโลกที่แสนจะลำบาก
    กลับรู้สึกว่าพอทนได้ ไม่ลำบากเท่าไรเลย



    ถาม – รู้สึกว่าการปฏิบัติธรรมมันยากค่ะ เพราะเราต้องสู้กับความเคยชินบ้าง
    บางคนก็รู้สึกว่าไม่มีวิธีเหมาะกับตัวเองบ้าง หรือไม่มีฐานเก่ามาบ้าง
    อยากจะขอคำชี้แนะให้เห็นมุมมองของการปฎิบัติธรรมที่บอกว่าง่ายค่ะ


    ผมเห็นว่าปัญหาใหญ่อยู่ที่ เรามองว่าการปฏิบัติธรรมคือกิจกรรมอะไรสักอย่างหนึ่ง
    ที่จะต้องใช้เวลา หรือมีกิจกรรมแยกออกต่างหากจากชีวิตประจำวันของเรา
    (เหมือนคนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย จะรู้สึกลำบากที่จะจัดเวลาไปออกกำลังกาย)

    ถ้าหากเราเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมคือการทำในสิ่งที่เคยทำ หรือจำเป็นต้องทำ
    แต่บวก "ความรู้ตัว" ในขณะที่ทำเข้าไปด้วยเท่านั้น
    การปฏิบัติธรรมก็จะเป็นเรื่องง่าย ไม่กินเวลา ไม่เสียกิจกรรมที่จำเป็นต้องทำ
    เมื่อฝึกหัดมากขึ้น กระทั่งศีลก็ไม่ต้องรักษา
    เพราะกิเลสแหยมหน้ามาให้เห็นนิดเดียวก็ถูกเปิดโปงแล้ว
    กิเลสจึงครอบงำจิตไม่ได้ การทำผิดศีลจึงเกิดขึ้นไม่ได้

    การนั่งสมาธิ ถ้าไม่มีเวลาจริงๆ จะไม่นั่งก็ได้
    เพราะในขณะที่ทำความรู้ตัวอยู่ในชีวิตประจำวันนั้น
    จิตจะมีสมาธิในขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว
    ถ้าเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันให้มาก
    เราอาจจะใช้เวลาก่อนนอน เข้าห้องน้ำ นั่งรถเมล์
    ทำความสงบเป็นช่วงๆ ไปก็ได้ คราวละ 5 - 10 นาทีก็ยังดี

    บางท่านรู้ว่าตนต้องเลี้ยงลูกอ่อน ก็ปฏิบัติธรรมอยู่ในชีวิตประจำวัน
    หรือเลี้ยงลูกไป ปฏิบัติไป ก็ทำได้

    ใครจะเอาอย่างก็ได้นะครับ
    เช่น ลูกร้องตอนดึกๆ พอหูได้ยิน ใจก็หงุดหงิดเพราะอยากนอน ก็รู้ทันจิตตนเอง
    หรือได้ยินเสียงลูกร่าเริง หัวเราะ น่ารักน่าเอ็นดู ก็รู้ใจตนเอง
    จะนั่งดูโทรทัศน์เป็นเพื่อนคนในครอบครัว ก็ดูไปแล้วก็ดูจิตไปด้วย
    มันสนุก มันขบขัน มันเศร้าโศก ก็รู้มันไป อย่าไปห้ามไปฝืนมัน

    รวมความแล้ว จำเป็นต้องทำอะไรก็ทำไป
    แต่บวกความรู้ตัวเข้าไปอีกอย่างเดียวก็พอแล้วครับ
    สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนพระรูปหนึ่งว่า
    ท่านไม่ต้องรักษาวินัยหรือปฏิบัติข้อวัตรใดๆ ก็ได้
    มีสติรักษาอยู่ที่จิตอย่างเดียวก็พอแล้ว


    ถาม - หากใช้วิธีการกำหนดรู้กาย หรืออิริยาบถต่างๆ กำกับไปทุกขั้นตอนอย่างละเอียดช้าๆ เช่น หิว(กำหนดรู้ความรู้สึกหิวที่กำลังเกิด) อยากรับประทาน(กำหนดรู้ที่ใจที่อยาก) เห็น(อาหาร) ยก(มือ)ไปจับ(ช้อน) แข็ง(รู้สึกว่าช้อนแข็ง- ถ้ารู้สึกว่าแข็ง ถ้าไม่รู้สึกอะไรชัดเจนก็ไม่ต้องกำหนดรู้) เย็น(รู้สึกว่าช้อนเย็น- ถ้ารู้สึกอย่างอื่นเช่นอุ่นหรือร้อนก็กำหนดไปตามจริง ถ้าไม่รู้สึกอะไรชัดก็ไม่ต้องกำหนดรู้อะไร) ยก(มือ)ไปจับ(ส้อม) แข็ง เย็น ยก(มือที่จับช้อน)ไปตัก เขี่ย(ใช้ช้อนและส้อมช่วยกันทำคำข้าวให้พอดี) ยก(ส้อม)ไปวาง ยก(มือและช้อนพร้อมอาหาร)มา(ที่ปาก) อ้า(ปาก) ใส่(อาหารเข้าไปในปาก) ยก(ช้อนและส้อม)ไปวาง เคี้ยว(อาหาร) เคี้ยว เคี้ยวๆ เคี้ยวๆ กลืน(อาหารลงในลำคอ) ถึง(ถ้ารู้สึกว่าอาหารตกถึงกระเพาะ ถ้าไม่รู้สึกก็ไม่ต้องกำหนด) เห็น(อาหาร) อยากรับประทาน …จะเป็นหนทางทำให้เกิดสติได้ดีไหมครับ รบกวนขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยครับ

    ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องการเจริญสติเพื่อรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏแต่ต่างจากที่ผมทำอยู่นิดหน่อยตรงที่ผมจะไม่เคลื่อนไหวให้ช้าลง แต่จะฝึกสติให้เร็วขึ้นเรื่อยๆแต่รายละเอียดเหล่านี้มันต่างกันไปตามจริตนิสัยของแต่ละคนครับธรรมปฏิบัติจึงมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันมากมายแต่แกนกลางเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้นคือการมีสติรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในปัจจุบันผู้ปฏิบัติจำนวนมากจะคลาดเคลื่อนอยู่จุดหนึ่งคือเมื่อมีสติระลึกรู้ปัจจุบันอารมณ์ที่กำลังปรากฏแล้วจิตมักจะเคลื่อนหลงตามอิริยาบถ เป็นการเพ่งจ้องใส่อิริยาบถอย่างหนึ่งและไปหลงคิดนำว่าเดี๋ยวจะเคลื่อนไหวอย่างนี้ๆ อีกอย่างหนึ่งถ้าระวัง 2 จุดนี้ได้ การปฏิบัติจะประสบผลอย่างรวดเร็วครับถาม - สัมมาสมาธิ จิตตั้งมั่นเป็นกลางเป็นอย่างไรคะ แล้วเราควรมีความเป็นกลางของจิตไว้ก่อนใช่ไหมคะเมื่อจิตไหลไปก็เห็นทัน แบบนี้หรือเปล่าคะหลักการข้อแรกของวิปัสสนา เป็นเรื่องของการ "จำแนกรูปนาม" ครับซึ่งรูปนามนั้น ถ้าจำแนกให้ละเอียดขึ้น ก็จะประกอบด้วย(1) รูป และ (2) นาม = เจตสิก กับ จิต ถ้าจิตไม่หลงตามรูป หรือหลงตามเจตสิก ก็ถือว่าแยกออกจากกันแล้วจิตในขณะนั้น จะรู้อารมณ์ได้ชัดเจนในภาวะ "สักว่ารู้"ไม่ว่าจะเป็นการรู้รูป เช่น อิริยาบถของกาย หรือรู้นามคือเจตสิก เช่น กิเลสต่างๆแต่เมื่อใดจิตหลงตามรูป หรือหลงตามเจตสิกจิตจะเกิดความยินดียินร้าย ไม่ตั้งมั่น ไม่เป็นกลาง ไม่สักว่ารู้ถ้ากล่าวกันตามตำราจะเห็นภาพยากครับแต่ถ้ามองในแง่การปฏิบัติจะไม่ยากนักที่จะทำความเข้าใจคือถ้าเราเห็นอารมณ์เกิดขึ้น เช่น เห็นความโกรธเกิดขึ้นโดยจิตไม่เคลื่อนหลงไปตามความโกรธหรือเห็นการเคลื่อนไหวของกาย โดยจิตไม่เคลื่อนหลงเข้าไปเพ่งจ้องกายอันนี้คือจิตมีความตั้งมั่นเป็นสมาธิ และเป็นการเดินวิปัสสนาแล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดี เวลามีอารมณ์เช่น ความโกรธเกิดขึ้นเราจะเห็นแรงผลักดันบางอย่าง (ตัณหา) เกิดขึ้นกับจิตใจของเราเองแรงดันนั้น จะผลักดันให้จิตเคลื่อนเข้าไปยึดอารมณ์เช่น พอเกิดความโกรธ จิตรู้ไม่ทัน จิตจะเคลื่อนไปตามแรงตัณหามุ่งเข้าไปหาอารมณ์ที่ไม่ชอบใจนั้น หรือไปจ้องใส่คนที่ทำให้โกรธไม่ย้อนมาสังเกตจิตใจตนเองที่กำลังถูกความโกรธครอบงำอันนี้เกิดขึ้นเพราะเรารู้ไม่ทัน และเพราะจิตไม่มีความตั้งมั่นพอท่านอาจารย์แนบ ท่านชอบพูดประโยคหนึ่งที่เห็นภาพชัดดีมากคือท่านบอกว่า "ให้ดูละคร แต่อย่าไปเล่นละครเสียเอง"หมายความว่าเมื่อจิตไปรู้อารมณ์อะไร ก็ให้รู้ในฐานะเป็นผู้รู้ผู้ดูเฉยๆอย่าหลงเข้าไปยึดถือยินดียินร้ายไปกับอารมณ์นั้นด้วยก่อนที่จะลงมือทำวิปัสสนา ท่านจึงสอนให้มีสัมมาสมาธิเสียก่อนคือจะต้องมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลางวิธีการมาตรฐานที่สุดก็คือการทำสมถะจนจิตสงบเมื่อจิตสงบแล้วก็จะสังเกตเห็นชัดว่า ความสุข ความสงบ เป็นเพียงสิ่งที่ถูกรู้จิตเป็นผู้รู้ความสงบเท่านั้นแต่บางคนทำสมถะก่อนไม่ได้จะกำหนดรูปนามไปก่อนก็ได้ แต่พึงทราบว่านั่นยังไม่ใช่วิปัสสนาจริงๆเมื่อทำไปช่วงหนึ่งจึงค่อยสังเกตว่า รูปนามเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ไม่ใช่จิตอันนั้นจึงเริ่มเป็นนามรูปปริจเฉทญาณ หรือเป็นการเริ่มต้นทำวิปัสสนาครับเมื่อจิตรู้ตัว ตั้งมั่นอยู่แล้ว หากไม่หลงไปเพ่งจ้องใส่จิตแต่ปล่อยให้จิตรู้อารมณ์ที่กำลังปรากฏไปตามธรรมชาติธรรมดาจิตจะเป็นผู้รู้ผู้ดูละครของโลก โดยไม่โดดเข้าไปแสดงละครเสียเองแต่เมื่อใดจิตไม่วิสุทธิ์ คือไม่มีสัมมาสมาธิพอมีอารมณ์มาล่อ จิตก็จะเคลื่อนออกไปยึดเกาะอารมณ์ สร้างภพสร้างชาติขึ้นทันทีดังนั้นที่กล่าวว่า เราควรมีความเป็นกลางของจิตไว้ก่อนนั้นถูกต้องแล้วครับยิ่งถ้ารู้ทันว่าจิตหลง จิตเคลื่อน จิตไหล จิตวิ่งตามตัณหา ฯลฯ (แล้วแต่จะเรียก) อันนั้นดีมากเลยครับเพราะผู้ปฏิบัติจำนวนมากนั้นจิตกำลังหลงอยู่แท้ๆ กลับรู้สึกว่าตนกำลังเจริญสติสัมปชัญญะรู้รูปนามอยู่</PRE>
    http://dungtrin.com/mag/?14.pra</PRE>
     
  15. mississaarie

    mississaarie Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    23
    ค่าพลัง:
    +64
    ขอบพระคุณมากๆนะคะ ดีใจมากที่จิตได้เข้าใจธรรมเพราะหลวงพ่อปราโมทย์ รู้สึกตัวได้ก็เพราะท่านค่ะ

    เคารพและนับถือท่านอย่างสูง หวังว่าซักวันคงจะมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับท่าน :)
     

แชร์หน้านี้

Loading...