มีพระอรหันต์ องค์ใดบ้าง ที่บรรลุโดยไม่มีสมถะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 17 ธันวาคม 2008.

  1. Skylab

    Skylab Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +60
    การส่งจิตออกนอก โดยมากก็คือ การส่งจิตคิดไปในอดีต หรือไม่ก็ส่งจิตไปในอนาคต ด้วยความไม่มีสติ(ฟุ้งซ่าน) ทำให้เกิดทุกข์ และก็เป็นต้นเหตุของทุก(สมุทัย) นั่นคือจิตปรุงแต่ง(จิตสังขาร) แต่ถ้ามีสมาธิอยู่ ส่งจิตออกไป แบบมโนมยิทธิซึ่งมีกำลังสมาธิคุม ไม่ได้เป็นการปรุงแต่งจิต ก็ไม่ใช่เหตุของการเกิดทุกข์ คือไม่ได้ฟุ้งซ่าน...
    ส่วนมหาสติปัฏฐาน ๔ ก็เป็นแนวสำหรับคนที่ปฏิับัิติแบบสุขวิปัสสโก ซึ่งเป็นส่วนนึงในกรรมฐานสี่สิบ ผู้ที่ได้กรรมฐานสี่สิบ มหาสติปัฏฐาน ก็ปฎิบัติได้ไม่ยาก เพราะกรรมฐานสี่สิบรวมมหาสติปัฏฐาน ไว้อยู่แล้ว...แล้วจริงๆแล้วพระพุทธองค์ท่านสอนมหาสติปัฏฐาน กับชาวกุรุนคร ซึ่งมีทรงญาณสี่ หรืออภิญญาเป็นปกติ ซึ่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสแค่ว่า เจ้าจงพิจารณากายในกาย จิตในจิต เวทนาในเวทนา ธรรมในธรรม ชาวกุรุ ก็จบกิจแล้ว เพราะมีความคล่องตัวในญาณอยู่แล้ว นั่นก็คือท่านตรัสอริยสัจนั่นเอง เปลี่ยนแค่อรรถ แต่จริงๆก็คืออริยสัจสี่นั่นเอง...แต่มหาสติปัฏฐาน ๔ ที่ปฏิบัติกันอยู่ก็ถ้ามองให้ดีๆก็จะมีทั้งสมถะและวิปัสสนา...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2008
  2. ผมยังเลวอยู่มาก

    ผมยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +539
    ขอโมทนาด้วยคับ เห็นชอบด้วยประการทั้งปวง สาธุๆ
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    คุณลองไปอ่าน ที่หลวงปู่มั่นสอนสิ ท่านเป็นสายพระป่า ในกระทู้
    นั้นก็กล่าวชัดเจนว่า สังขาร ก็คือ กุศล และ อกุศล ทั้งหลาย

    เห็นพระ ใช่กุศลหรือเปล่า ทำสมาธิเข้าฌาณ ใช่กุศลหรือเปล่า

    ถ้าใช่ ก็คือ สังขาร

    ก็ต้องยกเอามาดูในฐานะสังขาร หากไม่ยกเอามาดูว่าเป็นสังขาร

    มันก็ติดอยู่ในกองสังขาร

    คนที่ติดอยู่ในกองสังขาร ก็เท่ากับอยู่ในโคลน ถ้ายังติดสังขารกุศล
    ก็ติดอยู่ในน้ำยังไมโผล่พ้นน้ำ บัวที่ไม่โผล่พ้นน้ำ บานไม่ได้

    หลวงปู่มั่นก็กล่าวทำนองนี้ สำนวนต่างกัน แต่ความหมายเหมือนกัน
    หรือเปล่า อันนี้ต้องลองปฏิบัติดู ลองยกดู

    refer : สนทนาธรรมภาคปฏิบัติ ปฏิปัตติวิภัชน์ (หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)

    แล้วถ้าหลวงปู่มั่นเป็นคนกล่าว ก็อย่าคิดเอาเองว่านี่คือการพิจารณาแบบ
    สุขวิปัสสโก ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันเลยครับ เพราะไม่ได้บอกให้เลิกทำฌาณ หรือสมาธิ
    เพียงแต่บอกว่าให้ยก ฌาณ หรือ สมาธินั้นแหละขึ้นดูเหมือนเห็นกองกิเลสนั้นแหละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2008
  4. Skylab

    Skylab Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +60
    คุณนิวรณ์ก็เข้าใจถูกส่วนนึงแล้วครับ ว่าฌาณก็คือกุศล และถ้าใครติดก็จะไม่สามารถพ้นทุกข์อย่างแท้จริงได้ เราก็ต้องละความพอใจในฌาณเสีย แต่ไม่ได้หมายความว่าพระอรหันต์ท่านทั้งหลายท่านไม่ใช่ฌาณครับ ท่านก็ใช้ แต่ไม่ติดอยู่ในฌาณ...อย่างพระโมคคัลลานะ ท่านก็ใช้มโนมยิทธิ ไปตามพบภูมิต่างๆ แล้วก็ไปคุยกับคนที่ทำความดี หรือความชั่วมา แล้วก็มาทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ท่านก็ตรัส ว่าที่ท่านพระโมคคัลลานะ รู้มาูถูกต้องตั้งหลายครั้งหลายหน แสดงว่าสิ่งที่ไปพบไปเห็นเป็นสังขาร(เป็นการปรุงแต่ง) เหรอครับ งี้ท่านพระโมคคัลลานะก็ยังไม่จบกิจซิครับ...
    การจับภาพพระ หรือการใช้มโนมยิทธิ หรือฌาณทั้้งหลาย ทำได้ครับ แต่ทำแล้วไม่ใช้ให้ไปยึดไปติด แล้วทำแล้วทำเพื่อละ เราทำเพื่อเป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ก็ใช้กำลังของฌาณ และ มโนมยิทธิ (หนึ่งในวิชชา ๘) เพื่อมาตัดตัวอวิชชา คือความโง่ทั้งหลายออกไปจากจิต...
    และผมไม่ได้บอกเลยว่าหลวงปู่ัมั่นเป็นพระสุขวิปัสสโก และผมก้ไม่ได้บอกเลยว่าคนที่ปฏิบัติมหาสติปัฎฐานจะเป็น สุขวิปัสสโก หมด
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ครับ ผมก็ว่า หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านก็สอนแบบนี้ คือ ไม่ว่าอะไรก็ให้แค่
    เห็น แต่เห็นแล้วใช้ว่าให้ยึด ให้รู้สึกว่าได้เห็น แต่ไม่เข้าไปยึด
    "ไม่เอาอะไรทั้งนั้น" แม้แต่นิพพาน ให้ไม่เอา ไม่ยึด ก็คือ แค่เห็นแล้ว
    อยู่ห่างๆ ไม่ใช่เห็นแล้วโอ้ยในใจว่าได้แล้ว แบบนี้คือยึด ผมจำไม่ได้
    ว่าเล่มไหน

    แต่สำหรับคนที่สอนมโนยิทธิที่ถูกต้อง ผมก็จะเห็นเขาพูดกำกับเสมอ
    คือไม่ละทิ้งปฏิเวธ ปฏิบัติส่วนสุด การเห็นพระเป็นเพียงส่วนปฏิบัติ เรื่องปริยัติ
    หลวงพ่อท่านเว้นไว้เพราะเข้าใจอินทีรย์ของลูกศิษย์ แต่ถ้าใครมาอ่าน
    ปริยัติจะพบว่า ท่านก็พูดเอาไว้ เพียงแต่พูดด้านตรงข้าม เช่น ขันธ์
    มีใครที่ไหนไม่พิจารณา นี่ก็คือ เทคนิคการสอน สอนว่าไม่ได้สอน แต่
    จริงๆ นะสอนปริยัติอยู่

    ตอนแรกผมก็เรื่อยๆ อ่านธรรมะที่แสดงกันก็มีความสุขดี แต่มาเห็นบาง
    คนเปิดสอน แต่ละการพูดตรงนี้ แถมไขว้ไปว่า ตายก่อนถึงเข้านิพพาน

    นี่มันเพี้ยนไปแล้ว ไม่ใช่ตายก่อนถึงจะตัดสินว่าได้นิพพาน เพียงแต่
    เห็นแล้วพระนิพพานแล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น นั่นแหละจุดการเจริญสติที่ควร
    หมั่นทำไว้เป็นอาจิณกรรม อุบายอยู่ตรงนี้ แต่ละเลย แล้วไปชี้ทางที่
    ประมาทกัน

    ทั้งนี้ก็แล้วแต่นะครับ แล้วแต่กำลังการเห็น หากยังฝึกก็คงต้องโอ้โลม
    ไปก่อนก็เป็นได้

    แต่การแสดงธรรมนะ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ต้องครบ ถ้ากล่าวๆขาด
    มันก็สุ่มเสี่ยง หลวงพ่อฤาษีฯท่านจะกล่าวครบทุกครั้งที่เทศน์ แต่ลีลา
    การเทศน์นั้นก็สมควรแก่ฐานะผู้ฟังจึงอาจเข้าใจว่าไม่ได้เทศน์
     
  6. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อืมม...เคยลองปฏิบัติเพื่อฆ่าเวลา แบบว่าเซ็งๆนั่งรู้ลมหายใจเข้า รู้นั่งหายใจออก รู้หายใจเข้าสั้น รู้หายใจออกสั้น
    ีรู้หายใจเข้ายาว รู้หายใจออกยาว บ้างไม๊ครับ
    จุดประสงค์เพื่อฆ่าเวลา มันเซ็ง มันเบื่อ มันไม่มีอะไรทำ ลองทำแบบนี้บ้างไม๊ครับ ?

    ถ้ามัวแต่มานั่งแล้วมองหาแต่ ฌาน ฯลฯ มันจะเหมือนเวลานั่งรถริมหน้าต่างนะครับ คนขับก็ขับไป คนซ้อนก็ซ้อนไปด้วย
    ก็มัวแต่มองหา สถานีฌาน4 เมื่อไหร่จะถึงๆ..หันหน้าไปมองที่ด้านหน้า อ้าว..รถคันนี้ไม่ได้พอไปทางที่เราจะไปนี่หว่า !?
    ีฉะนั้น สิ่งที่พระอาจารย์ของพวกเราทั้งหลายท่านสอนๆท่านเทศน์ ไม่ว่าจะแนวไหนไม่ว่าจะอันนี้ยากอันนี้ง่าย ยังไงก็แล้วแต่ ประเด็นหลักๆที่จับใจความได้ คือ ไม่เข้าไปยึดติด และต้องปล่อยวาง ปล่อยวางแม้แต่ครูบาอาจารย์ ปล่อยวางแม้แต่ตำรา ไม่ใช่เหรอครับ..แล้วตอนนี้เราเอาตำรามาโต้กัน เอาพระอาจารย์มางัดกันหรือไม่ครับ ?
    เรายังยึดติดอยู่หรือไม่ครับ ? ลองปล่อยตรงนี้สิ ยอดสุดของตำราที่กล่าวไว้ "ปล่อยวาง"
    ส่วนการนิพพานนั้นที่แยกแยะออกเป็น 4 ประเภทนั้นมีแบบง่ายสุดไปยากสุดนี่..
    กล่าวคือ นิพพานได้ง่ายสุด และ นิพพานได้ยากสุด หมายถึงว่า ผู้ปฏิบัติบรรลุพระนิพพานได้ง่าย หรือ ผู้สอนเองกระทำการใดใดให้ลูกศิษย์นิพพานได้ง่าย..?
    และ ผู้ประฏิบัติเองบรรลุนิพพานได้ยาก หรือ ผู้สอนเองกระทำการใดใดให้ลูกศิย์นิพพานได้ยาก ?
    เข้าใจคำถามไม๊ครับ ?

    หรือบางท่านอาจจะคิดว่า ไปที่มันยากๆ เพราะจบออกมาแล้วเราจะดีกว่าเด่นกว่า เจ๋งกว่าคนอื่นๆ..
    อุปมาว่า..ขับรถรุ่นเดียวกันเหมือนกันหมดทุกคัน แต่รถฉันล้่อแม็กนะเว่ย กลัวคนอื่นจะไม่เห็นตนเอง เป็นต้น ฯล
    หรือ..เหมือนสอบ มหาวิทยาลัย เข้า ม.นี้เข้ายากจบยากแต่จบออกมาแล้วหางานง่าย แต่เข้า ม.นี้เข้าง่ายจบง่าย หรือ เข้า ม.นี้เข้าง่ายแต่จบยาก เป็นต้น ฯลฯ
    ถ้าคิดเช่นนี้ก็แสดงว่า ยังหลงเอาทางโลกทางโลภมาบวกกับทางธรรมแล้วล่ะครับ ยังมีตัวตนอยู่ ยังมีตัวกูของกู สูตรกูของกู ความคิดกูของกู กูดีกูเด่นกว่าคนอื่นๆ นี่แหละพี่พระท่านห้ามผู้ที่จะเข้ามาบวชและคิดจะเข้ามาหากิเลสแบบพระๆอยู่
    หาขั้น หาฐานะ มาแบ่งชั้น มาแบ่งตำแหน่งอยู่..รวมไปแล้วทั้งหมดนี้เรียกว่ากิเลสอยู่ ไม่ได้ไปไหนไกลเลยยังติดอยู่ที่กองกิเลสเหมือนเดิม..ต่างกันตรงมาติดวิชชา มาติดตำรา จะทำอะไรจะคิดอะไรเอาตำรานำหน้า ปัญญาไม่ผุด เพราะเข้าไปยึดมั่นถือมั่นจนเกินพอดี ..
    ติดธรรมสุข จากการที่ได้อ่านธรรมะ ฟังเทศน์ ชื่นชมซาบซึ้งในรสพระธรรม ต่างกันกับสุขที่เกิดขึ้นจากจิตที่ปราศจากกิเลส ตัณหา ใดใดแล้วไม่ยึดติด ไม่ยึดมั่นถือมั่นนะครับลองพิจารณาดู

    แล้วกลับมามอง มาดูจิตดูใจตนเองบ้าง ว่าติดอะไรอยู่ เอามันออกไปซะ เอาออกเดี๋ยวนี้ก็เบาเดี๋ยวนี้ครับ


    ขอให้ใช้สติปัญญาพิจารณาด้วยครับ
     
  7. ผมยังเลวอยู่มาก

    ผมยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +539
    ขออนุญาติ นำมาจากกระทู้ ของคุณ รัตนวาโย จากเว็บคนเมืองบัว เผื่อว่าพวกคุณจะเข้าใจคำว่า มโนมยิทธิมากขึ้น .........

    วันที่ 10 ธค. ได้กราบทำบุญกับพระอาจารย์เล็ก แล้วเรียนบอกท่านเรื่องการไปปฏิบัติธรรมถือศีลแปดมาว่าไปปฏิบัติกับพระสายธรรมยุติและสัมผัสอารมณ์แบบ" สุขวิปัสโก "ทำไมมันราบเรียบเสียเหลือเกินขอรับ ท่านก็บอกว่า เรื่องของการปฏิบัตินั้นมันมีหลายแบบ อย่างเรื่องของพระอรหันต์ก็มีตั้งสี่แบบที่เราทราบกันดี อยู่แล้ว
    เรื่องของ "สุขวิปัสโก"นั้น ท่านปฏิบัติแบบง่ายสมถะไปแบบราบเรียบแบบมีความเชื่อในพระรัตนตรัยอย่าง เกิน 100 เปอร์เซ็นต์
    แต่"พวกเรา"ต่างมีความโลดโผในจิต คือ ถ้าไม่เห็นไม่เชื่อ เห็นแล้วไม่ได้จับไม่ได้ต้อง ก็ไม่เชื่อ จริตมันมากันอย่างนั้นจึงแบบเรื่องธรรมดา แต่มิใช่ว่าพระในสายพระป่า"สุขวิปัสโก"หรือ สายธรรมยุติ ท่านจะไม่รู้เรื่องเหล่านี้ เมือ่ท่านปฏิบัติจนถึง สิ่งทั้งหลายที่เป็นของเก่าไม่ว่าจะเป็นเรื่องหูทิพย์ตาทิตย์หรืออย่างอื่นมันเกิดกับท่านหมดเช่นกัน แต่ท่านละมันเท่านั้นเอง ท่านก็มุ่งในเรื่องของท่านต่อไป..........

    ส่วน"แม้กระทั่งการปฏิบัติในมโนมยิทธิของเรา คณาจารย์สายอื่น ท่านก็กล่าวว่าไม่ถูกต้อง เพราะเป็นการส่งจิตออกนอก แต่อาตมาขอยืนยันว่า การส่งจิตออกนอกในลักษณะฟุ้งซ่าน ขาดสมาธิ เป็นคนละเรื่องกับมโนมยิทธิ
    "มโนมยิทธิเป็นการส่งจิตออกนอก ด้วยกำลังของฌานสมาบัติ จะมีการควบคุม มีการป้องกัน ควบคุมไม่ให้นิวรณ์กินใจเราได้ ควบคุมไม่ให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นกับใจได้ ต้องการจะไปตรงจุดไหนไปได้ "
    นี่คือการใช้ผลของฌานสมาบัติ ไม่ใช่ว่าสร้างผลเกิดแล้วไม่สามารถที่จะนำผลนั้นไปใช้ได้"

    ดังที่พระอาจารย์ได้ยืนยันไว้ กระผมก็ตามต่อให้ชัดเจนไปอีกว่า แล้วที่เขาว่ากันนะเ พราะอะไร ท่านตอบมาประเด็นหลักคือ

    บางท่านยังทำไม่ถึง และ ไม่เข้าใจว่า "มโนมยิทธิเป็นการส่งจิตออกนอก ด้วยกำลังของฌานสมาบัติ จะมีการควบคุม มีการป้องกัน ควบคุมไม่ให้นิวรณ์กินใจเราได้"

    มันจึงทำให้กระผมรู้และมันใจ ว่า พระอาจารย์แดงท่านรู้ ท่านเลยบอกกระผมว่า"อย่างพวกเธอ เราสอนยาก" เพราะบางครั้งกระผมก็ยังติดในเรื่องความอยาก อยากรู้อยากเห็น และ อัตตาความเป็นตัวตน เมื่อเจอการปฏิบัติแบบสงบจิตมันจึงกระโดดไปกระโดดมาไม่ถูกจริตในเบื้องต้นที่เดียวนัก

    เรื่องของการทำสมาธิไม่ใช่แค่เรื่องของการเห็นการท่องเทียวเสมอไป ในความคิดของผม สุดท้ายมันมาลงที่เราได้ประโยชน์อย่างสุดหรือไม่ในการทำสมาธิแต่ละครั้ง

    "มโนมิยทธิ"ที่แท้จริงที่แท้จริงก็คือ"เรารู้จักพระนิพพาน เราไปพระนิพพาน เอาใจตั้งไว้ที่ พระนิพพาน ถ้าเราเอาใจ เกาะที่พระนิพพานไว้เป็นปกติ ทุกวันๆ กำลังใจทรงตัวเคยชินกับความปราศจาก รัก โลภ โกรธ หลง ถ้าทำไปนานๆ อารมณ์ รัก โลภ โกรธ หลง มันจะจะสลายตัวไปของมันเอง"

    " มโนมยิทธิ"
    ไม่ได้จำเป็นต้องรู้อดีต อดีตทุกชาติเราเกิดมาไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์
    ไม่จำเป็นต้องรู้ปัจจุบัน เพราะปัจจุบัน ชีวติเราเกิดอยู่มีขันธ์ ๕ อยู่ก็ทุกข์ตลอด
    ไม่จำเป็นต้องรู้ อนาคต เพราะว่า อนาคตถ้าเกิดอีกก็ทุกข์อีก
    ไม่จำเป็นต้องระลึกชาติเพราะว่าไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์
    ไม่จำเป็นต้องรู้ใจคนอื่น เพราะว่าแค่ระวังใจของเราให้พ้นจากกองกิเลสก็ระวังไม่หวาดไม่ไหวแล้ว
    ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคนและสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปไหน

    ถ้าเรามั่นใจ ในสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สอนเราว่า
    ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว ก็ไม่ต้องเสียเวลาไปดูมัน

    "มโนมยิทธิ"สำคัญที่สุดคือเกาะพระนิพพานให้ได้ใช้ในอุปสมานุสสติกรรมฐานให้ได้

    "พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย ไม่พูดไม่เสีย นิ่งเสียโพธิสัตว์ "
    หลวงปู่ถวด วัดช้างให้


     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เนี่ยะ อย่างหลวงพี่เล็ก ก็สอนถูก จะเห็นว่า กล่าวว่า

    คนที่เรียนนั้น เป็นเพราะมีจริตอยากรู้ ก็เลยให้รู้ แต่พอรู้ท่านก็ยกล่าวเรื่องอัตตา
    เรื่องตัณหาอยากรู้ มันจะมี หลวงพ่อฤาษีก็ใช้คำว่า "ไม่เอาอะไรทั้งนั้น" "ว่าง"
    เพื่อให้เกิดการเห็นสภาวะธรรม ที่เป็นจุดที่ใช้ ไม่ใช่จุดที่เห็น

    ที่นี้ก็อาจจะมีคนยังมีอินทรีย์ไม่เห็นอีก ท่านก็เทศน์ในส่วน

    " มโนมยิทธิ"
    ไม่ได้จำเป็นต้องรู้อดีต อดีตทุกชาติเราเกิดมาไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์
    ไม่จำเป็นต้องรู้ปัจจุบัน เพราะปัจจุบัน ชีวติเราเกิดอยู่มีขันธ์ ๕ อยู่ก็ทุกข์ตลอด
    ไม่จำเป็นต้องรู้ อนาคต เพราะว่า อนาคตถ้าเกิดอีกก็ทุกข์อีก
    ไม่จำเป็นต้องระลึกชาติเพราะว่าไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์
    ไม่จำเป็นต้องรู้ใจคนอื่น เพราะว่าแค่ระวังใจของเราให้พ้นจากกองกิเลสก็ระวังไม่หวาดไม่ไหวแล้ว
    ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคนและสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปไหน

    ย้ำจุดที่ควรเห็นให้เห็นอีกที เมื่อทบทวน จะเห็นว่า ยกขึ้นให้เพื่อคลายการ
    อยากเห็นที่อ้างเรื่องจริต ว่าเป็นพวกต้องรู้ต้องเห็น เรียกว่า ขัดเกลาจิตลงมา
    ให้อ่อนลง จนพอดีก็ค่อยส่งสิ่งที่ถูกต้องที่สุดให้ได้สดับ ดังนั้น ต้องดู
    จังหวะธรรมให้ถูก อะไรคือส่วนสาระ อะไรคือส่วนอุบายในการแสดงเทศน์

    พอสุดท้ายก็ขมวดจบ คำปริยัติ เพื่อให้ครบเรื่อง ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ
    โดยยกคำว่า อุปสมานุสสติกรรมฐาน ซึ่งก็หมายถึงการ เอาสติ(สติ)
    ตามรู้(มานุส มาจาก อนุ แปลว่าตาม) ดูการเกิด(อุป - อุบัติ)ไว้เนืองๆ
    (กรรมฐาน) คือ ถ้าเห็นพระ หรือเห็นนิพพานก็ให้ทำสติตามรู้ และให้
    ดูว่ามีอยาก มีตัวตนหรือเปล่า ถ้าไม่มี นิวรณ์ไม่แทรก ก็จะเป็นการเห็น
    ที่ตรง ไม่ใช่เห็นเพราะปรุงการเห็นตามความอยาก

    ไม่ใช่อะไรไม่รู้ มีการสอนเรื่องการอธิษฐาน ขอให้เข้านิพพานเมื่อจบชีวิต
    ตรงนีก็เห็นเน้นกันเสียกว่า คำครู เรื่องการดูอยาก ดูอัตตา ในวรรคที่พระ
    อาจารย์แดงก็กล่าวยกขึ้นกำชับ

    แล้วเรื่อง สุขวิปัสสโก ลองดูพระครูเล็ก ท่านกล่าวถึง ท่านกล่าวถึงในแง่
    ที่ว่าอัธยาศัย เพื่อความเข้าใจกัน เพื่อความสมานแห่งสังฆาเพศ เพื่อระงับ
    การเห็นความแปลกแยก ไม่ได้ยกเอามาเพื่อกั้นเป็นกำแพง แสดงความ
    แปลกแยกในหมู่สงฆ์ ก็ต้องอ่านให้ดีๆ ลูกศิษย์ไม่ควรยกในรูปแบบตาม
    ใจชอบ พอมีใครมาแย้งก็ยกว่า พวกคุณไม่เข้าใจ พวกคุณสุขวิปัสสโก

    ลองทวนดู พระครูท่านก็พูดว่า ไม่ใช่ไม่เข้าใจ ไม่ใช่ทำไม่ได้ ทั้งเข้าใจ
    และทำได้ แต่ชี้ชวนให้ยกส่วนปลาย อุปสมานุสสติกรรมฐาน ไว้เนือง
    ต่างหาก อย่ารอทำให้ได้อย่างเดียว ไม่จำเป็น ตรงนี้ก็อ่านส่วน
    สีแดงตรงนี้อีกที

    " มโนมยิทธิ"
    ไม่ได้จำเป็นต้องรู้อดีต อดีตทุกชาติเราเกิดมาไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์
    ไม่จำเป็นต้องรู้ปัจจุบัน เพราะปัจจุบัน ชีวติเราเกิดอยู่มีขันธ์ ๕ อยู่ก็ทุกข์ตลอด
    ไม่จำเป็นต้องรู้ อนาคต เพราะว่า อนาคตถ้าเกิดอีกก็ทุกข์อีก
    ไม่จำเป็นต้องระลึกชาติเพราะว่าไม่มีชาติไหนที่เราไม่ทุกข์
    ไม่จำเป็นต้องรู้ใจคนอื่น เพราะว่าแค่ระวังใจของเราให้พ้นจากกองกิเลสก็ระวังไม่หวาดไม่ไหวแล้ว
    ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคนและสัตว์ก่อนเกิดมาจากไหน ตายแล้วไปไหน


    พระท่านสอนถูก แต่ศิษย์บางคนเน้นผิด ไม่เหมือนที่ครูสอน

    พระท่านสอน ท่านจะไม่พลาด บทกำกับการปล่อยวาง จะแสดงควบไว้เสมอ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2008
  9. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ยังไม่เข้าใจอีกหรือ ??
    ในเมื่อต้องการความว่าง แล้วยังจะค้นหามาใส่อีกหรือ ??
    หรือเพื่อจะอยากยืนยันอะไรๆของการปฏิบัติของตัวท่านเอง หยุดและตั้งสติแล้วค่อยๆอ่านให้ดีๆก่อนครับ
    เข้าใจคำว่า อัตตา และ อนัตตา มากน้อยเพียงใด จงนำมาพิจารณากับตัวท่านเองเถิด
    ติดอะไรอยู่ หาต้นเหตุมันก่อน แล้วเอามันออก พิจารณาตรงจุดนั้นเสียก่อน

    เจริญธรรม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ธันวาคม 2008
  10. SaveMax

    SaveMax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    172
    ค่าพลัง:
    +578
    จากผู้ศึกษามาน้อย คำตอบอาจเป็นมิจฉาทิฏฐิก็ได้ครับ
    สมถะ คือการเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
    ดูจิต คือมีสติตามดู-รู้อารมณ์โดยไม่เพ่ง สติปัฏฐาน 4 ก็เจริญสติโดยไม่ต้อทำสมถะก็ได้ .. แต่จิตฟุ้งมากๆ ไม่สามารถเห็นจิตได้ ก็ค่อยเจริญสมถะ มันก็เกื้อกูลกันอยู่บ้าง แต่มัน Independent กันนะผมว่า
     
  11. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    อืมม...ก่อนขับรถยนต์ เราอ่านหนังสือคู่มือก่อนว่านี่ เบรคนะ นี่ครัช นี่คันเร่ง นี่เกียร์ ฯล
    อ่านจบแล้วขับเองเลย ถามว่าตอนขับอยู่ถนนเรามองที่ไหน จิตใจเรา่ไปอยู่ที่ไหน อยู่ที่หนังสือหรือว่าอยู่ที่ทางข้างหน้า ?
    และเมื่อเราขับเป็นแล้ว เรารู้ได้ยังไงว่าเป็น ?
    แล้วตอนที่เรารู้ว่าเป็นแล้วจริงๆ ตอนนั้นเรานั่งอยู่ที่เบาะหรือไปอยู่ไหนแล้ว ?
    หรือมีใครยกป้ายให้ดูว่า "รถหมายเลขทะเบียน(.......) ท่านได้ขับรถเป็นแล้ว"
    ธรรมะก็เช่นเดียวกัน หาใช่ว่านั่งไปเพื่อรอคอย เมื่อไหร่มันจะสว่างซะทีน๊า..???
    หรือรอให้ใครมาบอกบรรลุธรรมแล้วจ้า..
    ปฏิบัติไปเถิดครับตามที่พระสูตรอะไรที่ท่านศรัทธานั่นแหละ
    ไม่มีของใครดีกว่าของใครหรอก เพียงแต่ขอให้เข้าใจในสิ่งที่พระพุทธองค์ท่านสอนไว้
    หาแก่นแท้ของพุทธศาสนาว่าท่านสอนอะไรไรไว้ เพื่ออะไร อย่ามัวแต่ไปสนใจสิ่งนอกตัวอยู่อีกเลยครับ

    เจริญธรรมเถิด
     
  12. ผมยังเลวอยู่มาก

    ผมยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +539
    ก้ดีนะคับ คนในนี้มีแต่ละคนที่ละกิเลศ ละนิวรณ์ จนถึงความว่างกันได้แล้ว

    โมทนาด้วย ส่วนผมคงอีกนานนนนนนนนนนนนน.......................
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เพิ่งมาวันนี้ ไปวัดมา.. อ่านข้อความแล้ว คนช่วยแสดงความคิดเห็นกันขอบคุณครับ ....
     
  14. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
     
  15. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ผมสงสัยนะครับ ที่ว่าออกแบบมโนมยิทธิ...การออกแบบมโนมยิทธิจิง ๆ เขาออกแบบมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมคับ เผลอๆมันจะทำให้เรารู้ตัวทั่วพร้อมมากกว่ามานั่งแบบมหาสติปัฎฐานที่ทำในปัจจุบันเสียอีก...มันออกยังไงนะครับ เวลาออกมองเห็นกายตัวเองที่นั่งอยู่ไหมครับ และเห็นตัวเองที่นั่งอยู่ใส่ชุดเดิมไหมครับ ....อธิบายให้ฟังได้ไหมครับ.. แบบว่าสงสัยอยู่
     
  16. Skylab

    Skylab Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +60
    จริงๆมหาสติปัฎฐานสี่นั้น รวมสมถะกับวิปัสสนาไว้ด้วยกันครับ การรู้ตัวอยู่กำลังทำอะไร เิดินอยู่เคลื่อนไหวอยู่ จิตมีสติรู้คือรู้การเคลื่อนไหว ก็คือตัวสมถะครับ คือจิตมีความทรงตัวอยู่ แต่ตอนจิตเห็นตามความเป็นจริง เห็นอารมณ์ต่างๆว่าเกิดขึ้น คงอยู่ และดับไป นั้นเป็นวิปัสสนาครับ ไม่ใช่เจริญสติปัฎฐานแล้วไม่มีตัวสมถะอยู่เลย จริงๆก็มีอยู่ครับ ไม่งั้นตัววิปัสสนาจะทรงตัวอยู่ไม่ได้ จะกลายเป็นฟุ้งซ่านไป จิตไม่มีกำลังในการตัดกิเลส...
     
  17. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    งงนะครับ
    ที่เจอมาก็ มีสองแบบเลยครับ
    แบบแรกก็ เป็นสมาธิที่ฝึกแบบ จับอารมณ์เดียว จนเป็นสมาธิ
    แบบที่สองเพิ่งเจอได้ไม่นานครับ ดูอารมณ์ที่ไหลไปเรื่อยที่กายใจ ก็เพิ่งรู้ว่าขึ้นเป็นสมาธิได้เหมือนกัน แต่ยังไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับ บางช่วงจะหลงไปเพ่งอารมณ์ไม่ให้ไหลไว้บ้างเลยหนักๆตึงๆแน่นๆ บางครั้งก็หลุดไปกับอารมณ์นั้นบ้างจะลอยๆ บางครั้งก็แว๊บไปข้างนอกแต่พอรู้สึกเขาก็กลับมา
    พอดูอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงตามทันไปเรื่อยๆแบบไม่เพ่งหรือหลุดจะสบายๆแล้วก็เริ่มขึ้นเป็นสมาธิไปเรื่อยๆนะครับอธิบายไม่ถูก
    เลยเพิ่งรู้จากครั้งนั้นเลยครับว่าเป็นลิงจริงๆครับวิ่งไม่หยุด แล้วก็ได้เห็นการเกิดสมาธิอีกแบบหนึ่งด้วยครับ
    วันหลังมาทำไม่ค่อยได้แล้ว ฟลุคแท้ๆเลยครับ;k02
     
  18. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    อาจารย์สิงห์ทององค์นี้เรียบ

    ท่านมาเล่าให้หลวงตามหาบัวฟัง

    เล่าจนกระทั้งถึงที่สุดของท่าน

    เวลาปฏิบัติมันค่อยละเอียดเข้าไป ๆ หมดไป ๆ

    เลยหายเงีบเลยท่านว่า เลยไม่ทราบว่าสิ้นเมื่อไร

    แต่ผลที่มันปรากฏอยู่ทุกวันนี้ เรียกว่ามันหายสงสัยทุกอย่าง

    แล้วอันนี้ถ้าจะเทียบตามตำราก็ว่า
    สุกขวิปัสสโก ;welcome2
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อนุโมธนาครับ ...ดูไปเรื่อยๆๆแสดงว่าเริ่มเข้าใจแล้ว
    ถ้าไปทำคือการเพ่งไว้ ต้องแอบดูหรือชำเรืองดูใจครับ ไม่ต้องเพ่ง ถ้ารู้ทันว่าเพ่งก้ใช่แล้ว
     
  20. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ดีแล้วครับ ทันที่เคยสัมผัสธรรมแท้ๆ คือ สติปัฏฐานเกิด หรือ สติ ที่ใช้ในการ
    แสวงหาทางพ้นทุกข์ ซึ่งเอาไว้ รู้ทุกข์ เกิด ต่อไปคุณทำสมาธิแบ่งเพ่งจ้อง
    ประมาณกสิณ หรือ อะไรแบบอื่นที่ออกนอกมรรคผลนิพพาน จะปรากฏเป็น
    วิบากจุดที่อก แน่นที่หน้าผากให้รู้ ทัศนะจะเปลี่ยนไป

    แทนที่จะเห็นว่านั้นคือ กุศลที่ได้จากสมาธิ จะเห็นว่าเป็นอามิสจากมิจฉาสมาธิ

    แทนที่เห็นนิมิตแล้วจะรู้สึกว่าได้ปัญญา จะรู้ว่าได้ทำอะไรโง่ๆ อยู่ เพราะคุณจะ
    สังเกตว่า จิตเขาต้องการภาวนาให้ตรงมรรคผลนิพพาน เขาจะไม่จม หรือ รู้สึก
    การเห็นนิมิตเป็นเรื่องฝืนกุศลที่แท้จริง

    ให้สังเกตุตัวแน่นหน้าอก แข็งๆ แน่นๆ จุดไหนก็แล้วแต่ เป็นดรรชนีย์ชี้วัด การผิด
    ทางมรรคผลนิพพานได้เลย

    อาการแน่นหน้าอก ไหลๆ ดันๆ วิ่งๆ ทั้งหลายคือ อาการแส่ส่ายของจิต ถูก
    ผลักดันด้วยตัณหา ก็ให้ดูไปแบบนี้

    แต่อย่าไปอยากหายนะครับ ให้ดูเฉยๆ และรู้ทันอาการไป หากไปเพ่งอาการ
    คอยดูอาการ ก็จะเผลอทำตัณหาให้ซ้อนกันเข้าไป จะยิ่งมองไม่ออก หรือ
    นิ่งไปเลย ให้จับเบาๆ สบายๆ แต่ไม่ใช่เบาแบบติดสุข เราอาศัยสุขเพียง
    สั้นๆเพื่อการตั้งมั่นของสมาธิที่สั้นๆ เพียงพอต่อการตามรู้

    พระเจ้าอยู่หัวท่านก็ภาวนาด้วยวิธีนี้

    ตามรู้สึกรู้ว่ารู้ แต่ไม่รู้ว่ารู้อะไร นั่นคือ สุดยอดของการรู้ ( หลวงพ่อพุธถวาย
    คำวิสัชนา ) รู้จิตได้ให้รู้ลงที่จิต ( หลวงปู่มั่น )

    ต่อไป การทำสมาธิของคุณเดินทาง จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

    ระหว่างภาวนา หากจิตมันวิ่งไปเห็นอาการสมถะที่เป็นเรื่องอภิญญา ถ้าเห็นแล้ว
    ไม่ตกอกตกใจ ไม่ตื่นเต้น เหมือนเคยเห็นอะไรที่คุ้นเคย ทำความรู้สึกว่าคุ้นเคย
    ทำได้แล้ว เคยทำมาแล้วไปเลย อย่าหยุดดู มาเรียนของจริงดีกว่า แล้วคุณจะเห็น
    ว่า จิตเขาก็ต้องการเห็นแบบนั้น ส่วนเรื่องอภิญญา ตัวไหนปรากฏอย่างคุ้นเคย ก็
    ยกให้เป็นเรื่องญาณลาภีไป อย่าไปหยุดทำให้ความสนใจ มันเป็นของเด็กเล่นครับ

    หลวงพ่อฤาษีก็พูดตรงนี้บ่อยๆ ดูคำสอนก็จะเห็นว่าให้ละวาง แต่ศิษย์รุ่นหลังๆ
    จับคำพระมาแปลเข้าตัว คิดว่าท่านส่งเสริมให้ทำ พระท่านสอนให้คลายกำหนัด
    ไม่มีสาวกองค์ไหนจะสอนให้อยาก ให้มีหลอก

    ยกเว้นพวกไม่อาจเข้านิพพาน ก็ต้องปลอบใจไปว่า เป็นพุทธภูมิไปก่อน หาก
    ไม่สังเกตจับเอาความดีใจว่าได้เป็นพุทธภูมิ แทนที่จะเห็นว่าคือบุคคลที่ไม่สามารถ
    ก้าวข้ามมรรคผลได้ ก็จบกัน ทำจิต วางใจละวางไม่ถูกสักกะอุบาย พระท่านอุตสาห์
    วางรากฐานอุบายไว้อย่างดี ศิษย์ทำเสียหมด

    อ้อ คำว่าศิษย์ทำเสียหมด คือ ศิษย์รุ่นหลังหลังหลังนะครับ ที่ยกตัวเองขึ้นเป็นผู้สอน

    ไม่ได้หมายถึงศิษย์ที่เป็นผู้ฝึก หรือเพียง แค่แนะนำ ชักชวน ศิษย์กลุ่มนี้ไม่ได้ผิดอะไร
    ให้ทำ ปฏิบัติต่อไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 ธันวาคม 2008

แชร์หน้านี้

Loading...