แปลก !!! แพทย์และหมอฮือฮา....เพราะเอกเซร์พระคุณเจ้ารูปหนึ่งปรากฎว่ากระดูกเป็นแก้วหมด

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chingchamp, 24 กันยายน 2008.

  1. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    [​IMG]


    แปลก !!! แพทย์และหมอฮือฮา....เพราะเอกซเรย์พระคุณเจ้ารูปหนึ่งปรากฎว่ากระดูกแขนเป็นแก้วสีใสหมดทั้งตัว พอ สอบถามที่มาที่ไปปรากฎว่าเป็นหลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญมากโร แห่งวัดป่าหมู่ใหม่(อ.แม่แตงจ.เชียงใหม่) ท่านก็เป็นพระป่ากรรมฐานศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คุณหมอทั้งหลายที่ใน ร.พสวนดอก(เชียงใหม่) ต่างยกย่องกล่าวขานถึงหลวงพ่อว่าน่าอัศจรรย์แท้ เพราะเขาถ่าย x-ray ท่านออกมาปรากฎว่ากระดูกข้างในเป็นแก้วทั้งหมด หมอๆ ทั้งหลายในโรงพยาบาลสวนดอก เลยเคารพท่าน
    ผม ยังไม่เคยไปกราบท่านเลยครับอยากไปกราบไหว้พระอริยเจ้าอย่างหลวงพ่อมากเลย ครับ และในปีนี้งานทางวัดอโศการามจะนิมนต์มาในงานครบรอบวันมรณภาพ"ท่านพ่อลี" ทุกๆปี องค์นี้หลวงตามหาบัวก็ยืนยันในความดีและคุณธรรมของท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ครับ....

    [​IMG]



    ประวัติและปฏิปทาย่อ.........



    ของท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญมากโร
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่




    ถิ่นกำเนิด-ชาติสกุล


    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปญฺญมากโร เกิดที่บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๔ บิดาชื่อ พ่อสนธิ์ มารดาชื่อแม่มุก นามสกุล สิมมะลี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๗ คน เป็นชาย และหญิง ๔ คน ดังนี้


    ๑. นางสาวเสรี สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๒๕ ปี
    ๒. หลวงพ่อประสิทธิ์ ปญฺญมากโร อายุ ๖๖ ปี ( พ.ศ.๒๕๔๙)
    ๓. นายยสมคิด สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๓๖ ปี
    ๔. นายสวัสดิ์ สิมมะลี มีชีวิตอยู่ อายุ ๖๒ ปี
    ๕. เด็กหญิงเสาร์ศักดิ์มน สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗ ปี
    ๖. นางทองใส คุนุ มีชีวิตอยู่ อายุ ๕๔ ปี
    ๗. นางสาวหนูพวน สิมมะลี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๒๘ ปี


    ชีวิตในวัยเด็ก


    หลวงพ่อประสิทธิ์ เท่ากับเป็นลูกชายคนโตของครอบครัว เมื่อมีอายุ ๗ ปี ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนประชาบาล บ้านหนองบัวบาน ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ สอบไล่ได้ตำแหน่งที่ ๑ หรือ ที่ ๒ เป็นประจำทุกปี ตลอดจนจบชั้นประถมปีที่ ๔ พอจบชั้นประถมแล้ว ครูใหญ่ชื่อ “ปรีชา” ให้ไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยมพิทยานุกุล ในตัวจังหวัดอุดรธานี หลวงพ่อได้ถามบิดาว่า “ จะเรียนดีหรือไม่เรียนดี” และเมื่อบิดาบอกว่ “ทำไร่ทำนาดีกว่า สบายใจดี” หลวงพ่อฯ จึงตัดสินใจช่วยบิดามารดาทำไร่ทำนา
    หลวงพ่อประสิทธิ์ เมื่อเยาว์วัย จึงเป็นแรงสำคัญช่วยงานบิดา มารดา อย่างเต็มความสามารถ ตั้งแต่ยังเรียนหนังสือชั้นประถม จนเช้าสู่วัยหนุ่มอายุ ๑๙ ปี จึงเกิดความคิดอยากเข้าวัด เนื่องจากวัดป่า
    นิโครธาราม ของหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อยู่ใกล้บ้าน ท่านได้ทบทวนชีวิตฆราวาส ผ่านมาได้ช่วยบิดามารดามา จนเป็นที่พอใจแล้ว ฐานะทางครอบครัวก็พอดีๆ ไม่รวยและไม่จน และพี่น้องต่างก็โต พอจะช่วยงานของครอบครัว พ่อแม่ได้แล้ว
    หลวงพ่อท่านคิดว่า ได้เกิดมาใช้หนี้บุญคุณพ่อแม่พอที่ได้อาศัย ท่านมาเกิดในชาตินี้แล้ว จึงคิดมองหา เส้นทางจิต ที่คิด ไม่อยากกลับมาเกิดเป็นหนี้ภพชาติอีกต่อไป โดยเกิดศรัทธาปัญญาในทางพระพุทธศาสนา คิดจะบวชไม่มีกำหนดตลอดชีวิต หวังอยู่ปฏิบัติ ตนเพื่อหลุดพ้น ความเกิดจนถึงอมตะพระนิพพาน


    บรรพชาและอุปสมบท


    ต่อมาครอบครัว ได้พาหลวงพ่อเข้าไปฝากตัวกับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ เวลา ๑๙.๐๐ น. และได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๓ ณ วัดโพธสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล ) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ครั้นเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี พ.ศ.๒๕๐๔ จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดโพธิสมภรณ์ ในวันที่ ๑ มิถุนายน โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุดรคณานุศาสน์ เป็นพระ อนุสาวนาจารย์


    ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๙ หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เจ้าอาวาสวัดป่าหมู่ใหม่ มีอายุ ๖๖ ปี พรรษา ๔๖



    โดย แดนโลกธาตุ

    http://palungjit.org/showthread.php?t=80533






     
  2. รักเสมอ

    รักเสมอ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2008
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +235
    มีประวัติปฏิปทาการประพฤติปฏิบัติธรรม
    และบันทึกหลักคำสอนธรรมปฏิบัติของท่านด้วยหรือไม่ครับ
    ถ้ามีช่วยนำมาเผยแพร่ด้วยสิครับ
    จะเป็นพระคุณอย่างมากครับ
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญมากโร แห่งวัดป่าหมู่ใหม่(อ.แม่แตงจ.เชียงใหม่)
    องค์นี้แน่นอนครับ ไม่ธรรมดา ผมเพิ่งไปกราบท่านไม่นานมานี้ไม่ถึง 2 อาทิตย์ ท่านเป็นสหธรรมมิก กับหลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป ครับ วัดท่านไม่ไกลกันมาก อยู่อำเภอเดียวกันครับ วัดของท่านน่าปฏิบัติมากครับ มีไฟฟ้าที่ศาลาเท่านั้นอ่ะ นอกนั้นไม่มี ท่านไม่อนุญาตอ่ะครับ
    ถ้าใครจะไปกราบท่านทั้งสองนี้ควรไปช่วงเข้าพรรษาครับ ถ้าไปหลังนี้ไม่ค่อยอยู่ โดยเฉพาะท่าน เปลี่ยน ไปต่างประเทศบ่อยมาก...อีกองค์ที่ไม่น่าพลาดคือ หลวงปู่สังข์ วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ (ทราบข่าว เกศา แปรพระธาตุแล้วครับ) และวัดท่านค่อนข้างจะขาดแคลน ท่านเก็บตัวอ่ะครับ
    วัดอยู่ไม่ไกลกันมาก(ท่านแก่แล้วครับไม่รับกิจนิมนต์) ถ้ามีโอกาศมาเชียงใหม่ ครูบาอาจารย์สายแม่แตงเยอะครับ ครูบาก็มี เช่นท่านครูบาเทือง เป็นต้น
     
  4. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    <o:smarttagtype namespaceuri="urn:schemas-microsoft-com<img src=" images="" smilies="" omg-smile.gif="" border="0" alt="" title="Surprised" smilieid="34" class="inlineimg"></o:smarttagtype><!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if !mso]><object classid="clsid:38481807-CA0E-42D2-BF39-B33AF135CC4D" id=ieooui></object> <style> st1\:*{behavior:url(#ieooui) } </style> <![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:ตารางปกติ; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-bidi-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> [​IMG]

    พระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร นับเป็นเนื้อนาบุญ ในสายพระป่า ที่ได้รับความเคารพศรัทธาจากพุทธศาสนิกชน เป็นจำนวนมาก มีเรื่องเล่าลือกันว่า กระดูกของท่านแปรสภาพเป็นพระธาตุไปแล้ว เนื่องจากเคยมีการเอ็กซ์เรย์แล้วพบว่ากระดูกของท่านโ ปร่งแสง ก็ว่ากันไปครับ เพราะผมเองก็จนด้วยปัญญาที่จะไปสรุปอะไร เพียงแต่เค้าว่ามาก็ว่าไป แต่ยืนยันได้ว่าท่านเป็นสุปฏิปันโน แน่ๆ ขออนุญาตเริ่มต้นด้วย ประวัติพอสังเขปของท่านกันก่อนนะครับ
    ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร เป็นคนจังหวัดอุดรธานี ที่หมู่ หนองบัวบาน ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ ซึ่งบ้านใกล้กับวัดนิโครธาราม
    สมัยนั้นมี หลวงปู่ อ่อน ญาณสิริ เป็นเจ้าอาวาส และตัวท่านได้เข้าวัดตั้งแต่ เด็ก
    เมื่ออายุครบ 18 ปี ก็บวชเป็น สามเณร และบวชเป็นพระเมื่ออายุครบ 20 ปี
    คอยปฎิบัติรับใช้ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ
    อยู่ตลอดเรื่อยมา

    เมื่อหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้มรณภาพลง ท่านก็ได้ไปปฎิบัติ และอยู่กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย
    ท่าน มัก จะชอบไปธุดงค์ตามที่ต่างๆ ตามป่า เขา ลำห้วย ทั้งภาคอิสาน และภาค เหนือ และจังหวัดต่างๆทั่วไทย ซึ่งก็ได้เดินธุดงค์มาจังหวัด เชียงใหม่ และจังหวัดต่างๆ ตั้งแต่สมัยหลวงปู่ชอบ ยังมีชีวิตอยู่ มาตลอด


    วัดป่าหมู่ใหม่
    วัดป่าหมู่ใหม่เป็นวัดป่า สายธรรมยุติ เป็นวัดที่สงบเงียบ ตั้งอยู่ท่ามกลางป่า ในเมือง และเป็นเนินเขาเตี้ยๆ
    ท่านพระอาจารย์ประสิทธิ์ ได้อนุรักษ์สภาพพื้นที่ และปลูกป่าและต้นไม้มาตลอด จน ต้นไม้เติบใหญ่ จนปัจจุบัน วัดมีสภาพสมบูรณ์ร่มรื่น เหมาะสมในการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างยิ่ง
    ตั้งอยู่ด้านหลัง สำนักงานชลประทานแม่แตง ที่บ้านหมู่ใหม่
    ห่างจากสำนักงานไป ประมาณ 1.5 กม.

    ภายในวัด พระ-เณร ญาติธรรม ทั้งหลายได้อาศัยแสงไปฉาย, เทียนไข, ตะเกียง ในช่วงยาม ค่ำคืน

    เป็นสิ่งที่หาดูได้ยากในวัดปัจจุบัน ทั้งๆที่วัดเองก็มีไฟฟ้าเข้ามาถึงด้านหน้าแล้ว ก็เพียงได้ ใช้อาศัยเปิดเป็นบางจุดสำหรับศาลาด้านหน้า

    แต่กุฎิต่างๆภายในวัด ไม่ใช้ไฟฟ้า เพราะท่านอาจารย์ ประสิทธิ์ ท่านไม่ต้องการให้มี ไฟฟ้า ใน กุฎิ เพื่อที่พระ-เณร และญาติโยมสามารถปฎิบัติภาวนาได้ โดยไม่มีสิ่งอื่นมาล่อใจ หรือไขว้เขวได้

    น้ำใช้สอยก็ไม่ขาดแคลนอาศัยน้ำจากชลประทานแม่แตง แต่ภายในวัดก็ยังมี บ่อน้ำ สำหรับผู้ที่ ประสงค์จะใช้สอยได้ ซึ่งน้ำบ่อเก็เย็นและใส สะอาด สามารถใช้อาบ, สรงน้ำ หรือซักจีวรหรือ เสื้อ ผ้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งดูคล้ายวิถีการใช้ชีวิตของคนสมัยโบราณ ซึ่งหาดูได้ยากเต็มทีในปัจจุบัน
    น้ำดื่มก็ได้อาศัยน้ำฝน โดยเก็บในแท็งค์ปูนหรือภาชนะเก็บน้ำฝนตามจุดต่างๆภาย ในวัด

    องค์ประกอบต่างๆนี้ ทำให้วัดป่าหมู่ใหม่ ทั้งที่อยู่ในเมือง ก็กลายเป็นวัดป่า ที่ดูโบราณ เก่าแก่ ดูศักดิ์สิทธิ์ และมีเสน่ห์ ต่อผู้เข้ามาสัมผัสและพบเห็น สมกับเป็นวัดป่าจริงๆ ที่พระ-เณร และญาติ ธรรมทั้งหลาย เข้ามาปฏิบัติ
    กันเืพื่อ มรรค ผล นิพพาน อย่างแท้จริง


    การฝึกตนให้มีสติควบคุมจิต

    <hr size="1" width="100%" align="center">
    <o>
    </o>

    โดยพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่


    การฝึกตนให้มี สติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่ง สำคัญต่อการดำรงชีวิต ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ี่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น

    ๑. มีสติรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้า-ออก มีสติอยู่รู้ว่า ขณะนี้ หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาว ก็รู้อยู่ หายใจเข้าสั้น-หายใจออกสั้น ก็รู้อยู่ อาจจะ ใช้คำภาวนาในใจ อย่างใดกำกับตามไปด้วยก็ได้

    ๒. มีสติรู้ตัว ตามรู้จิต เมื่อมีสติ รู้ลมหายใจอยู่ ก็ตามรู้จิต ธรรมชาติของจิต มีความหลุกหลิก กลิ้งกลอกอ่อนไหว ว่องไว คิดเรื่อยเปื่อยไปได้ทั้งดีและชั่ว ต้องใช้สติต่างเชือกมัดจิตไว้กับหลัก คือลมหายใจให้ได้ จิตคิดวิ่งไปที่ไหน ก็ใช้สติระลึกรู้ตาม ไปประคองจิตไว้ไม่ให้คิดในเรื่องชั่ว อันเป็น บาปทุจริต ประคอง จิตไว้ให้คิดในเรื่องดี อันเป็นบุญสุจริต เท่านั้น ความผ่องใส ในจิตจะเกิดเพิ่มขึ้น ความทุกข์ก็จะค่อยสิ้นไป

    ๓. มีสติรู้ตัวทุกอิริยาบถของร่างกาย มีสติระลึก รู้ตัวตั้งแต่ตื่น นอนลืมตาขึ้นมาว่า ตื่นแล้วกำลังจะลุกขึ้นนั่ง ย่างก้าวเดินเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน อาบน้ำ ขับถ่าย ๆลๆ มีสติระลึกรู้ตัวไปทั่วทุกสิ่ง ทั่วทุกอิริยาบถ เคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา ก้าวหน้า ถอยหลัง ก็ทำสติตามรู้ทุกอย่างไป แม้จะยังไม่บริบูรณ์ ด้วยจิตหนีหายหลบไป เมื่อรู้ตัวก็กำหนดสติต่อไป จะเกิดผล เป็นผู้มีพลัง สติคุมจิต ตั้งมั่นเกิดสมาธิ

    ๔. มีสติรู้ตัวพิจารณาให้เห็นความจริง มีสติพิจารณา ในความเป็น ธรรมชาติ ที่มีเห็นอยู่ รอบๆ ตัวเรานี้ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง คงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไป เกิดมีขึ้นแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดนิ่ง แล้วก็ดับหายตายจากไป ไม่เราจากสิ่งนั้นไปก่อน สิ่งนั้น ก็ จากเราไปก่อน ไม่มีใครจะยึดเหนี่ยวรั้งสิ่งใดไว้ได้ เป็น ธรรมชาต ิที่เลื่อนไหลไปอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดาอย่ายึดถือไว้เป็ีนความทุกข์

    ๕. มีสติรู้ตัว ถอนความยึดถือ ในตัวตนเสีย มีสติพิจารณา ดูลงไป ที่ตัวเราเองว่า มีอะไรบ้าง หรือที่เราบังคับได้บ้าง ร่างกายนี้ตั้งแต่เกิดมา มีแต่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดมาได้อย่างไร ไม่รู้ตัว เลย(หรือใครรู้ตัวบ้างช่วยบอกที) มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อเติบโตพอจำความได้แล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดยั้ง แล้วก็ต้องตายไป ทำพิธีต่ออาย ุสืบชะตาอย่างไร ก็ต้องตายทุกคน แล้วจะยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเราได้อย่างไร ตายแล้วไม่เผาได ก็ฝังดินเท่านั้นเอง มันเป็นเพียงธรรมชาิติ ที่เกิด ขึ้นแล้วก็ดับไป เราเพียงยืมใช้ได้อาศัยศึกษา รักษาไว้เป็นพาหนะ ให้ทำความดี
    เพื่อข้ามวัฎสงสารเท่้านั้น

    ๖. มีสติรู้ตัว พูดจาให้น้อยลง พูดเท่าที่จำเป็น จะต้องพูด ด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ การพูดมากมีโอกาสพูดผิดได้มาก ไม่เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นโทษอีกด้วย เป็นผู้ฟังแล้วตามคิด เลือกจำสิ่งดีๆ มาใช้จะได้ประโยชน์ กว่าคนพูดมาก มักขาดสติง่าย เป็นผู้ฟังที่โทษน้อย หรือไม่มีเลย แต่เป็นผู้ได้รู้มากกว่าผู้พูด

    ทั้ง ๖ ข้อนี้ ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสิ่งที่ควรสนใจฝึกอบรมสติ ควบคุมจิต ให้เกิดพลังจิตที่มีประสิทธิภาพ ที่ควรแก่การงาน การกระทำกิจการงานใดๆ จะมีความสำเร็จ ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ เป็นพื้นฐานที่ถูกต้องต่อการดำรงชีวิตและการปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้า เจริญสู่ขั้นสูงได้ง่าย ต่อไป การฝึกฝนตนเอง ด้วยการมีสติควบคุมจิต ต้องใช้ความเพียรอย่างมาก เพียงใดก็ตาม ก็ อย่า ได้มีความท้อถอย ที่ใดมีความตั้งใจจริง เพียรพยายามอยู่ ความสำเร็จย่อมมีตามมาอย่างมิสงสัย

    <!--[if gte vml 1]><v:shapetype id="_x0000_t75" coordsize="21600,21600" o:spt="75" o:preferrelative="t" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" filled="f" stroked="f"> <v:stroke joinstyle="miter"/> <v:formulas> <v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"/> <v:f eqn="sum @0 1 0"/> <v:f eqn="sum 0 0 @1"/> <v:f eqn="prod @2 1 2"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @0 0 1"/> <v:f eqn="prod @6 1 2"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"/> <v:f eqn="sum @8 21600 0"/> <v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"/> <v:f eqn="sum @10 21600 0"/> </v:formulas> <v:path o:extrusionok="f" gradientshapeok="t" o:connecttype="rect"/> <o:lock v:ext="edit" aspectratio="t"/> </v:shapetype><v:shape id="_x0000_i1026" type="#_x0000_t75" alt="" style='width:427.5pt; height:246pt'> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\ADMINI~1\LOCALS~1\Temp\msohtml1\01\clip_image001.jpg" o:href="http://www.watpa.com/images_forum/352.jpg"/> </v:shape><![endif]--><!--[if !vml]-->

    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน กับท่านพระอาจารย์<st1>ประสิทธิ์ บุญญมากโร" </st1>
    เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2547
    เสียงของจิต <o></o>

    พระธรรมเทศนา
    พระอาจารย์<st1>ersonname ประสิทธิ์ ปุญญฺมากฺโร" ประสิทธิ์ ปุญญฺมากฺโร</st1>
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่<o></o>
    *****************<o></o>
    วันพระ วันที่เราพร้องเพรียง คือความพร้อมเพรียง ในการร่วม ปฏิบัติ อย่างที่เราทำวัตร เราสวมมนต์ นอกจากนั้น เรา็ก็ พากันพร้อมเพรียง นั่ง อบรมสมาธิ ภาวนา ซึ่งเป็นการ เพิ่มพูนสติปัญญาของพวกเรา ปกติการ ภาวนาก็ไม่ได้ใช้เสียงข้างนอก คือ เราเอาเสียง เข้าไปไว้ในใจ เอาไปไว้ที่ ความสงบ มิได้เป็นเสียงพูด มิได้เป็นเสียงภายนอก เป็นเสียงนึก เป็นเสียง ของจิตของเรา เรานึกให้ได้ยินภายใน เพื่อจะได้รู้จักว่า ความสงบ ใจอันเกิดจากที่เราไม่ได้ส่งออกมา ภายนอก และนึกเข้าไป สงบไปรักษาไว้ เฉพาะในจิต ในความรู้เฉพาะ ร่างกายของเรา ฉะนั้นทางที่เราทำ ความสงบ เราก็ป้องกันไม่ให้มีเสียง ภายนอกเข้าไป กระทบอย่างที่เรา อาศัยที่ อาศัยความสงบของสถานที่แห่งนี้ ก็เพราะว่า มันจะไม่ได้แย่งกัน มันจะ ไม่ได้มากระทบกัน มันจะได้มีเสียงนึก เสียงสงบ อยุ่ในจิตที่เดียวแต่ ถ้ามันม ีข้างนอกที่มันเป็นคู่ สองที่มันสองที่ จิตของเราก็จะเกิดความรับรู้ ทำให้ความ สงบนั้นมันแยกกัน
    ดังนั้นท่านจึงให้เอาเสียงที่เราเคยพูด เคยส่ง ออกมาข้างนอก กลับคืน ไว้ไว้ในใจ ให้มันรู้เฉพาะความสงบ ความนิ่ง ความที่มันมีสมาธิ ก็คือมันนิ่งอยู่ แต่มันรู้ตัว รู้ตัว คือรู้ร่างกายนี่แหละ ก็ให้มีสติรู้ตัวอยู่ ไม่ได้สงบอยุ๋ เฉพาะจิต หรือเรียกว่า เขาทำความสงบ ให้กาย ให้วาจา ให้จิตของเรานิ่ง มารวมกันเป็นอันเดียวกัน มันไม่ได้แยกกัน คือว่ามันเป็นธรรม หรือว่ามันเป็นบท กัมมัฎฐาน ที่มันรวมกันอยู่ มันไม่ได้แยกกัน เวลาเราทำความ สงบ อย่างร่างกายนี้ เราก็ให้สงบ เราก็นั่งทำสมาธิให้มันได้สัดส่วน มันไม่เอียง ถ้าเรานั่งพับเพียบ มันก็เอียงข้างหนึ่ง ฉะนั้นการมี่นั่งสมาธิ เป็นท่าที่ได้สัด ส่วนของร่างกาย แล้วมันก็จะตรง มันไม่เอียง ทำให้เรานั่งได้สะดวก มันไม่ เป็นการทำให้ความรู้สึกในกายขัดเคืองใจเรา มันก็เลยได้ความสงบไปด้วยกัน แต่ว่าเราก็มีสติ ได้รับรู้ เพราะว่าเราปฏิบัติไป เราก็จะรู้สิ่งที่จะให้เรา ได้เกิดความรู้เกี่ยว กับการนั่งการปฏิบัติของเรา จากการกำหนดภาวนา ไปด้วย แล้วสิ่งที่มีความรู้ที่เป็นธรรม มันก็มีอยู่กับรูปร่างกายของคนเราทุกคน มีพร้อมมีสมบูรณ์ คือไม่บกพร่อง มีแต่เพียงว่าเราต้องทำเข้าไปให้ถึงที่ฐษน ถึงจะรู้แต่เราก็ทำจิต ทำกรรม ภายนอก เป็นประจำนั่นแหละ อย่างเรา ไม่ได้นั่งสงบอย่างนี้ เราทำจิตภายนอก ก็รู้สึกตัวแบบภายนอก แล้วเราก็ส่งจิต ส่งสติออกไปควบคุมภายนอก นั่นเรียกว่าเราส่งออกไปนอก ที่นอกธรรม แล้วก็นอกความสงบ อย่างว่าโลกภายนอก คือโลกที่เราต้องทำจิต ธรรมต่างๆ ที่อยู่ข้างนอก ไม่ได้เป็นกัมมัฏฐาน คือการภาวนา การปฏิบัติเรา น้อมกลับคืนเข้าไปหาจิตหาร่างกายภายใน เราเอากลับคืนไป แต่เพียง ว่าเป็นการที่เอาความรู้ี่ที่เคยอยู่ข้างนอกเคยเที่ยว ไปนอกกายนี่แหละ ก็คือ การไปรวมไว้ที่จิตที่ความสงบการทำอย่างนี้เป็นการทำเพื่อสร้างธรรม สร้าง ความรู้ คือเป็นหนทาง เป็นมรรค เป็นทางเดิน
    ชีวิตคนเราก็จะเป็นอย่างนี้ คือจะต้องเดินออก เดินเข้าอย่างนี้ อย่่างนั้น รูปร่างกายนี้ ท่านก็บอกว่าเป็นเส้นทางเป็นมรรค เป็นหนทางที่ผิด เราต้องเที่ยว เราเจริญเราก็เกิดมา เป็นคน เกิดมาเดินทางนั่นแหละ ทว่าตามหลักธรรม
    เกิดมาเดินทางไกล แต่ละคนก็เดินทางไกล คือไกลขนาดไหน ก็แล้วแต่กำลัง ถ้าคนกำลังดีก็เดินไปได้ถึง ๑๐๐ กว่าปี ถ้าคนกำลังไม่ดี ก็ ๘๐ ๗๐ ๖๐ ๕๐ ลงมาจนถึง ๑๐ ๒๐ ปี ไล่มา เพราะว่ามันอยุ่ที่กำลัง กรรม กำลังแรงที่จะส่งผลไปให้ท่านจึงบอกว่า ร่างกาย รูปร่างก็เป็นเส้นทางของเรา ทุกคน ที่จะต้องมีไว้สำหรับเดิน คือจิตของ เราก็เป็น เจ้าของพร้อมมาตั้งแต่เิริ่ม ตัดเส้นทางเดินมา เดินทางมาก็เดินเพื่อเดินทางไกลนั่นแหละ เดินทางจงกรม เดินไปแก้กรรม ไปทำกรรมต่างๆ ที่เรายังไม่เพียงพอ<o></o>

    อย่่างพระพุทธเจ้า ของเราเหมือนกัน ท่านก็เดินทางไกล นับเป็นแสน แสนชาตินั่นแหละ คือเดินไปเดินมา วกวนกลับไปกลับมานี่ อย่างนั้น ท่านสอนให้เราแก้กรรม ก็สอนให้แก้ร่างกายของเราอย่างเดียว อย่างที่ว่า เราสวดกัมมัฏฐานสวดกายคตาสติ อย่างที่เราสวดประจำนี่ อาการ ๓๒ เราก็สวดทุกวัน ทุกวันพระ เราก็สวดเป็นการ เตือนสติให้เรา มีสติให้ เรานำจิตของเราเดินทาง คือการเดินทางขึ้น เดินทางล่องกลับ อย่างที่ว่า ให้เรากำหนดพิจารณาเบื้องบน แต่พื้นเท้าคือตั้งแต่ตีน ตั้งแต่พื้น ของเราขึ้นมา เบื้องต่ำก็ตั้งแต่รากขวัญลงไป อย่างนี้ คือก็เป็นทางขึ้นสูง และทางลงต่ำ แล้วเป็นการกลับการเดินอย่างนี้ เดินขึ้น เดินลง เดินเข้า เดินออกอย่่างนี้ นี่แหละท่านให้เป็นทางเดิน คือจิต ความรู้ สติเราเดิน เราเดินเพื่อจะได้รู้จัก เพื่อจะให้เส้นทางนั้นมันล่ม เดินไปเดินมา ปัญญามันก็เกิด พอปัญญาเกิดขึ้น ความรู้ ความสว่าง มันเกิดขึ้น ก็ปัญญานี้เป็นแสงสว่างของจิต ก็เป็นแสงของความดีที่เราสร้างจาก การเดิน การปฏิบัติการที่เรากลับไป กลับมา ทบทวนเรียกว่าเป็น อนุโลม ปฏิโลม เราออกไปข้างนอก เราก็กลับ เข้ามาูดูข้างในมากำหนดมาทำความสงบ คือให้จิตของเรา ได้มาอยู่ข้างใน เพื่อจะได้รักษา ไม่ให้สิ่งเป็นภัยเป็นพิษ มากระทบรบกวนอย่างนี้ อย่างที่เรา มาอยู่ในศีลอย่างนี้ ก็หลบภัยนั่นแหละ หลบภัยจากบาป จากกิเลสต่างๆ ถ้าเราไม่อยู่ในศีล เราออกนอก ศีลเราก็มีภัยแล้ว มีบาปแล้ว แล้วก็ออกนอกทางไป ผิดทางไปแล้วว ไม่อยู่ในธรรมะทางศีล<o></o>
    ฉะนั้นให้เราท่านกำหนดเส้นทางของเรา กำหนดร่างกายเรา มีจิตผูกอยุ่ กับสติ กับตัวเราอย่างนั้นแหละ ด้วยความรักษา คือรักษาทางรักษา ธรรม ที่เราเดิน เราปฎิบัติกัน ก็รักษาอย่างนั้น เพราะว่าจะไม่ให้มันหลงทาง จะไมให้ทาง มันมัวหมอง อย่างนี้ เราต้องขยัน ต้องขยันเดิน เหมือนเราเดินทาง พื้นดิน เราเดินที่เดียว เราเดินเส้นเดียว อย่างที่เราเดินจงกรมอย่างนี้ เราเดิน กลับไปกลับมาอย่างนี้ มันก็กลับเป็นรูปเป็นรอย เป็นความที่ว่า ราบรื่นขึ้น จะดูข้างนอกก็จะต่างกัน จิตที่เรา ไม่เดินมันก็จะไม่มีรอย แล้วมันก็จะลบ แต่ถ้าเราเดินมันก็จะมีรอย มันจะมีความราบรื่น มีการขัดเราก็จะเห็น อย่างเราเดินจงกรม แต่ถ้าเราไม่เดิน มันก็จะไม่มีรอย นั่นเรียกว่า เรามีสติ<o></o>
    เดินทางในร่างกายเราก็เหมือนกัน พอเราฝึกเดิน เราก็จะมีสติเดินขึ้น เดินล่อง มันก็จะมีรอย มันจะกำหนดรู้ด้วยสติ ความละเอียดของสติภายใน มันจะเห็น มันจะเห็นทาง คือ ทางรุป ทางกัมฏานนั่นแหละ มันจะเห็นอย่างไรก็ปัญญาเห็น ถ้ามันเกิดจิตมันสงบ มันรวมได้ แสงสว่างมันเกิดขึ้น ปัญญามันฉาย ไปมันก็เห็นละที่นี้ เห็นทางภายในเห็นพวกอาการที่เราสวด อย่างที่เรานับไปตั้งแต่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ อย่างนี้ไปหมด อย่างที่เราเรามีเส้นทางที่เราเดิน อาการท่านทั้งหมด ระหว่างอาการ สามสิบสอง สามสิบสองนี้ ก็แบ่งสองส่วน แบ่งภาคเป็นสอง คือ เป็นน้ำ ๑๒ แล้วก็เป็นดิน ๒๐ อย่างที่เรา เิดินไปนั้นก็จะมีทางน้ำด้วย แล้วก็มีดินด้วย อย่างที่เป็นดิน ก็ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    เนื้อ เอ็น กระดูก อย่างนั้นแหละ อย่างที่เป็นน้ำ ก็น้ำดี น้ำเสลด น้ำมูก น้ำลาย น้ำเหลือง น้ำเหงื่อ ไคลต่างๆ มี ๑๒ อย่าง ก็เป็นน้ำ<o></o>

    เหมือนเราเดินทางภายนอก มันก็ไม่ใช่ต่างกัน ลองเราเดินไปที่ไหนหน้าวัด ข้างบริเวณเราเหมือนกัน เราเดินไปเราก็จะไปเจอล่องน้ำบ้าง เจอลำห้วยบ้าง เจอน้ำขังอะไรต่างๆ อย่างนี้ มันก็จะมี เพราะว่ามัน มีเหมือน กับตัวของเราทั้งหมด คือเดินไป มันก็จะข้ามน้ำ จะมีน้ำ อันนี้จิตที่เราเดิน ในตัวในร่างกายนี่ ในมรรค ในทางปฏิบัติ ก็เหมือนกันท่านก็ให้เดินไป ให้ได้กำหนดดู ให้รู้ไป รู้ว่าน้ำมี แต่ของเรามีกำหนด แต่ส่วน โลกภายนอกมันไม่มีประมาณ มันมากเพราะว่ามันเป็นโลก ที่เรียกว่า โลกสากล โลกสากล มันเป็นโลกกว้าง โลกจักรวาลที่อยู่รวมกัน ที่ไม่มีประมาณนั่นแหละ แต่ส่วนที่โลกบุคคล คือโลกบุคคลแต่ละคนนี่ เป็นส่วนเฉพาะ คือมีสัดส่วนเฉพาะตัว อันนี้ท่้านให้ กำหนดเอา โลกส่วนบุคคลนี่แหละ คือร่างกายของเรานี่ เป็นส่วนที่จะมาปฏิบัติ เพื่อจะให้รู้ ให้รู้เรื่อง การเดินทาง การกำหนด การที่เราจะกลับมาทบทวนอนุโลม ปฏิโลมอย่างนี้ กลับไปกลับมา เพราะ ว่าให้ความเกี่ยวพันกัน ในการที่ไม่ให้มันหลงทางต้นทางปลายทาง อย่างนี้ เราก็พิจารณา แล้วก็ยังให้เราใช้ปัญญา เป็นแสงสว่าง เป็นประทีปที่จุด ไว้ให้ทางเดินเรา อย่างเราเดินทาง เราเดินกลางคืนอย่างนี้ เราไม่มีแสง พระอาทิตย์ เราก็จุดแสง เทียนแสงประทีบ แสงไฟช่วย ก็อาศัย แสงสว่างและก็จะได้เห็นทาง แต่ว่าจิตจริงๆนี่ มันมันไม่ได้เกี่ยวละที่นี้ มันไม่ได้อาศัย เดินร่างกาย มันเป็นเดินเรื่องจิตเรื่องภายใน มันไม่ได้จุด ไฟมันมีสติ มีแสงสว่างอยู่ในจิต เห็นแต่เพียงว่าเรากำหนด เราเข้าไปถึงที่อย่างนี้ เข้าไปในเขตของความรู้ ที่จิตเรารวม เราตั้งอยู่นั่นแหละ มันก็จะเห็นนะ พอเดินไป ก็ดูไป กำหนดไป คือว่าไปแล้ว ก็ต้องกลับมาดูแล้วก็ออกไปดู<o></o>
    การทำอยู่อย่างนี้ มันเป็นการทบทวน การหวนคืน เป็นการกลับมา แก้ทางของเรา คือทางที่เราเริ่มต้นอย่างนี้แล้วเราก็ต้องวนกลับแก้ คือ เรื่องที่เราเดิน ร่างกายเดิน ชีวิตก็เหมือนกันละที่นี้ เราก็เดิน วกวนอย่างนั้นแหละ คือการที่เดินมาเกิด เดินมาตายนี่ เป็นการเดินทางไกล อย่างที่ว่าเป็นการใช้ชีวิต ใช้กำลังกรรมแต่ละรูป แต่ละคน เดินกัน ที่ว่าเดินได้ไกลไก้ใกล้ อายุสั้น อายุยาวอย่างนี้ มันก็อยู่ที่กำลัง คือ กำลังบุญด้วย กำลังร่างกายที่เราได้จากกรรม สร้างสม อบรมให้เป็นตัวกำลัง ให้เราเป็นคู่ เพื่อจะมา ทำเอากำลังสติปัญญา กำลังที่จะไปเดินทางภายใน จะไเป็นกำลั งของสมาธิที่จะเดินที่นี้ และถ้าจะขยัน คือความเพียร ต้องขยัน ถ้าไม่มีความเพียร ไม่ขยันแล้วทางม้นก็จะรกร้างไป มันก็จะเศร้าหมองไปได้ เพราะว่าความละเอียดหรือกิเลสต่างๆ นี่มันเป็นอารมณ์<o></o>
    สิ่งที่มันละเอียดนี่้ มันไม่เป็นรุป มันมีแต่ความคิด มีแต่ชื่อที่มันดัง ให้เราได้ยินอยุ่ในจิตของเรานั่น มันเป็นชื่อของกิเลส ชื่อของกิเลส ก็คือชื่บาปนั่นแหละ ที่พวกที่ความไม่ดี ความทุกข์ นั่นแหละเป็นชื่อของกิลสละ มันจะดังอยู่แต่ ถ้าเป็นชื่อของบุญของกุศล ของความดีนี้ มันก็จะให้ความสว่าง ให้ความสงบสุข ในจิตของเรา มันก็จะเห็นต่างกันอยู่แต่ถ้ามันเป็นฝ่ายบาป ฝ่ายทุกข์ ฝ่ายกิเลส ฝ่ายชั่ว มันจะมืดดำ มันมองไม่เห็น อย่างเราพิจารณาไปแล้ว เราเดินไปแล้ว มันก็ปิดทางไปด้วย คือมันปิด ปิดไป ไม่ให้มันโล่ง ไม่ให้กว้าง ไม่ให้มันมองเห็น ที่นี้เราก็ไม่มีที่กำหนดได้ เพราะว่ามันไม่มีัเส้น ทางให้เรากำหนดมองดู กำหนดความรู้ ให้มองดู เส้นทาง ดูร่างเราอย่างนี้ เราก็พิจารณาไม่ตลอด อย่างนั้นท่านให้เดิน ตลอดอย่างนี้ จะได้สุดทางที่นี้ จะได้รู้จักต้นทางปลายทาง อย่างที่ว่า ปลายเท้า รากขวัญลง และดูไปแต่เวลาเรายืน มันก็ไม่ได้เป็นรูปทางที่ว่างกับพื้น แต่อย่่างเรานอน มันจะเป็นรูปทางที่วางยาว แต่มันก็เป็น การที่เรามีชีวิต เรายืน เรานอน เรานั่ง เราพัก เราอะไร ได้หมด เพราะว่า มันเป้นรูปกรรม ที่กุศลกรรมแต่มาให้แล้ว มันทำได้ ทุกอย่างเผื่อเราจะประกอบจิต เผื่อเราจะทำอะไรให้มันเป็นกรรมดี เป็นการฝึก เป็นการเอื้อทำคุณความดีมา กลับคืนมาแก้ กลับมาแก้กรรม ที่เราได้มาอาศัย ได้มาเดิน<o></o>
    เหตุที่ว่าเป็นทุนได้ ว่าเป็นต้นทุนที่เป็นธรรมของเราแต่ละคน ว่าเป็น กรรมมัฐฐาน ที่ท่านให้เราเดินทาง เดินปฏิบัติแล้วก็ใช้ความเพียร ขยันมี ความขยันเดิน คือมีความหมั่น ขยันเดิน คือขยันทางจิตของเรา คือเราหมันจิต คือหมั่นเดินหมั่นดู หมั่นกำหนด อะไรอย่างนี้ เราไม่ปล่อยออกมาข้างนอก แต่มันก็ออกมาทำข้างนอกแลกเปลี่ยนกัน อย่างที่ว่าเราต้องทำ เพราะว่า กายกรรม เราต้องอาศัย ถ้าเราจะไปทำแต่ใจ เราก็ไม่ได้เป็นรุป เป็นวัตถุสิ่งของขึ้นมาที่นี้ เราก็ต้องมาทำกายกรรม มาทำข้างนอก นำมาทำกิจ ทำกรรมให้เกิดผลขึ้นมา เกิดรายได้ เกิดทรัพย์สินอย่างนี้ ก็ทำแต่ ส่วนที่ทำข้างในนี่ มันเป็นส่วนทำให้ใจ ทำความดี ความรู้ ทำแสงสว่าง ทำสติปัญญา เอาไปเก็บรักษา เอาไปรวมไว้ที่ใจเราให้มันสงบ แล้ว ที่นี้เราก็ได้ทั้งในและนอกล่ะทีนี้ แล้วเรา ก็เอามาทำ ตามกาล ตามเวลาที่เราจะต้องพัก อย่างข้างนอก ที่เรียก ว่ากายกรรมนี่เราก็ลำบาก เราก็ทุกข์ข้างนอกมาก แต่ถ้าเราต้องการความสงบสุข เราก็หยุดนิ่ง นั่งสมาธิ เอาเข้าไปพักไปอยู่ ไปเดินทางใน ไปหลบ ไปสงบ ไปอยู่ในสมาธิ ก็อยู่ในความสงบ นั่นแหละ ไปอยู่ในที่นิ่ง คือ เป็นที่ไม่ให้มีการกระทบอะไร กับอารมณ์ ภายนอก เราก็ไปกำหนด ไปภาวนา ไปดูจิต ดูสติ ดูเฉพาะ แล้วก็พิจารณา ดูภายในร่างกายเฉพาะแล้ว ก็เดินปัญญาอยู่ภายใน เดินในไม่ใช่ เดินนอกตัวเราทีนี้ ที่เราเดินไปส่วน ในรูปอย่างที่เรา เดินในกัมมัฏฐาน เรานับอาการอย่างนี้<o></o>
    ฉะนั้นเราเดินนับไป แต่ถ้าเราจะนิ่ง เราก็นับไปละทีนี้ เราอยู่กับที่ ถ้าเรา เห็นเราเกิดความเห็น ด้วยจิต ด้วยปัญญาอย่างนี้ เราก็จะได้รู้ว่า จิตเรามีความสว่าง มีความรู้เห็นภายใน คือไม่ใช่เรานึกดู แต่มันเห็น รู้ด้วยความสว่าง ด้วยปัญญาของจิตของเราเอง ถ้ามันเห็นไป มันเห็นไป ภายในที่เป็นส่วนลึก อย่างนี้ ก็ถือว่า มันเป็นสิ่ง ให้เราเห็น เห็นสถานที่ เห็นความเป็นอยู่ เห็นลักษณะ อย่างที่ว่า กระดูก เนื้อ หนัง เอ็นต่า่งๆ อย่างนี้ ถ้ามันเห็นมันก็เป็นความรู้ ที่เกิดมาจากปัญญา เกิดมาจากวิปัสสนา ความเห็นภายในจิตใจของเรา ได้ฝัก ได้รวม ขัดเกลา ให้เกิด ความสว่างขึ้นมาได้ เกิดความผ่องใสขึ้นมาเพราะมันเห็น เพราะมันเห็น อย่างนั้นมันเห็นเพื่อให้ เราได้จิตสงบ ทีนี้ ให้จิตได้หยุดนิ่ง เพราะว่า มันเห็นสภาพความเป็นจริง สภาพความที่ว่ามันปิดบัง คือการเห้นมัน ก็เป็นการลดละ เป็นการคืน คายความหลง ความรัก ที่เราเคยมีมาแต่เกิด แต่มันไม่ใช่ได้เห็นตามสัญญาที่ เราท่องและจำล่ะทีนี้ ถ้าไม่ได้เอาสัญญา ไปเป็นเครื่องดุ มันเห็นด้วยปัญญา เห็นตามสภาวะ ตามสภาพที่อยู่ หรือสัณฐาน สีสันอะไรต่างๆ นี้ พอเห็น ตามนั้น จิตมันก็รู้ ทีนี้
    แต่ว่าเราเห็นภายนอกมันต่างกัน ที่นี้ มันคนละชั้น ทีนี้แต่ถ้าเห็น ภายนอก นี่มันหลอกมันลวงเราได้ เพราะว่ามันสะท้อนไกล มันไม่ได้รวม ไม่ได้กระทัดรัด เฉพาะจิต เฉพาะปัญญา แต่ถ้ามันเห็นเฉพาะจิตภายใน แล้วมันไม่ได้ สะท้อนไปไกล ความรู้มัน เข้ารวมรัดกุมเข้าภายในล่ะทีนี้ อย่างนั้น ถ้ามันเห็นด้วย ปัญญา อย่างนั้นมันก็แก้สัญญาได้ เวลามันออกข้างนอก มัน ก็มาเห็นรูป เห็นร่าง สัตว์อื่นอย่างนี้ มันก็แก้สัญญาได้ ทีนี้<o></o>
    อย่างนั้นการพิจารณา การใคร่ครวญ การที่ใช้ปัญญา โยนิโสมนัสสิการ อยู่ในกายประจำ มันเป็นการักษาจิต รักษาสมาธิ รักษาความสงบ เช่นการลดราคะ ความกำหนัดออกได้ในที่นี้ เราก็แก้กายได้ที่นี้ อย่างนั้น ในหลักของพระสังฆคุณ ในข้อต้นนี้ นั้นก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ข้อ ปฎิบัติเบื้องต้น เกี่ยวกับสุปฎิปันโน บุคคล คือผู้ที่ปฏิบัติดี คือผู้ที่มีร่างกายประกอบไปด้วยศีล ด้วยสมาธิ ด้วยปัญญา คือปฏิบัตดี ตามหลักมรรค หลักธรรม หลักกัมมัฏฐาน ทีเรียกว่าสุปิฏิปันโน นั่นแหละ ที่เราสวดกันว่า มันเป็นสาวก มิใช่เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ได้รับแสงสว่าง ได้รับธรรมส่องเข้าไปถึงใจ ถึงว่า สุปฏิปันโน ทุกคน เป็นพระอริยบุคคลขึ้นต้น ท่านเข้าไปถึง ทางเข้าไปถึงทางในใจ ทางในกาย แล้วท่านเดินด้วยความสงบสุข คือมีจิต มีศีล คือ เป็นผู้ที่ไม่ล่วงเกิน ไม่ทำบาปแล้ว เขารู้จัก รักษากาย รักษากรรม รักษาเส้นทางเดินของตัวเอง อย่างว่าสุปฏิปันโน เป็นสาวกของ พระพุทธเจ้า ในบทแรก
    แต่ไม่ใช่ว่า ผู้ที่ปฏิบัิติไม่ดี เรียกว่าผู้ที่ทำชั่วอย่างนี้ สุปฎิปันโน คือทำบาป อย่างนี้ ทำั่ชั่วอย่างนี้ แต่ว่าผู้ปฎิบัติดีใช่ว่าทำความสุข ทำความสงบ แล้วก็ ็มีศีลประคับประคอง ตัวอย่างนี้ถึงเีรียกว่า สุปฎิปันโน ผู้ปฎิบัติดีอย่างนี้ มีศีล มีสมาธิมีปัญญา กำกับตัวร่างกายอยู่ เดินทางอยู่ด้วยสติปัญญาล่ะทีนี้ ไม่ได้ทำบาป เอาความชั่ว เอาทุกข์มาใส่ตัว ใส่จิตของตัวเอง ไม่ได้ให้มีอารมณ์ ที่เป็นบาปมาเดิน มาคิด แล้วก็นำตัวนั้นปฎิบัติอยู่<o></o>
    ในทางที่ว่าสุปฎิปันโนบุคคล แล้วก็มีที่อยู่ มีที่สงบ มีความรู้ เป็นหลักอย่างนี้ หรือว่าเป็นพระสงฆ์ หรือว่าเป็นพระสงฆ์สาวกอย่างนี้ เป็นผู้ได้รับแสงสว่าง จากพระธรรม คำสอนของพระพุทธเจ้า คือได้แสงสว่างจากพระธรรม คือ การทำการได้สดับ คำสอนของพระพุทธองค์ แล้วตัวเองก็ปฏิบัติ แล้วก็เดินทาง ตามที่ท่่านสอนไว้ เดินมรรค เดินกายของตัวเองแล้วก็เดินเข้า เดินออก เดินรักษาอยู่ตลอด แล้วเราก็เห็น อะไรที่มันไม่ดีที่มันเป็นทางผิด ทางหลง อย่างนี้ เราก็หลีกไปเราไม่หลงไปทางผิด ทางมืด ทางทุกข์ ทางชั่ว เราก็หลีกไป นี่ก็เรียกว่าเป็นสาวก เป็นสาวิกา ถ้าเป็นผู้หญิง ก็เรียกว่าสาวิกา เป็นผู้ ที่ได้รับมีแสงสว่าง ได้มีจิต ได้แสงสว่าง จากธรรม จากการปฏิบัติล่ะทีนี้ ไม่เป็นจิตมืดจิตบอด สงบ รู้จักบาป รู้จักบุญ ในจิตของ ตัวเองในร่างกาย ของตัวเองแหละทีนี้มันรู้ คือรู้ส่วนบุคคลละทีนี้ ส่วนตัว ส่วนร่างกาย ของเราแต่เราก็ดู เดินดูเดินตรวจเดินรอบ เดินเป็นประจำอย่างนี้ เรา ไม่ได้ปล่อยให้มันหลง ทางไม่ได้รกรุงรังอะไรอย่างนี้เราเดินอยู่นอกจากเวลาเราหลับอย่างนี้ เวลาเรา หลับเราสงบไปตามธรรมชาติ เราก็กำหนดไป พอเราตื่นมีสติ เราก็กำ หนดเราก็เดินไป แล้วก็กลับคืนมาอย่างนี้ เดินไป เดินมา ถ้าเราไม่ได้เดิน ไปนอกเขต นอกตัวของเราทีนี้ ไม่ใช่เดินอย่างภายนอกอย่างที่ว่า เราเดินไปโลกสากล โลกจักรวาล ฉะนั้นมันไม่มีขอบเขต ไม่มีกำหนดล่ะทีนี้ ถ้าเราไปเดินทางโลก<o></o>
    แต่ถ้าเราเดินไปทางธรรม ทางกลับคืนมา ทบทวนมาหาร่างกายหาจิตของเรา มันเป็นทางสงบ เป็นทางที่กระทัดรัด รัดกุมตัวเอง ไม่ให้หลงทางไปไกล ไปนอกสถานที่ ของเราอย่างนี้ พอเดิน ด้วยมรรค ด้วยศีล สมาธิปัญญาอยุ่นี่ เราก็ดูทาง ดุที่ ของเรา ดุความสงบ ดูความผ่องใสอขงเราอย่างนี้ มันดูได้ตั้งแต่อาศัยเดินไม่ขาด เดินไม่หยุด เดินตลอดอย่างนี้ อย่างนั้น ไม่ใช่ว่าเราเดิน เราเหนื่อยเราก็หยุด ทิ้งไปอย่างนี้นานๆ คิดขึ้นมา มันจนมันลบรอยอย่างนี้ เราจะเดินมันก็หายไป มันไม่ต่อเนื่องกันอย่างนี้ ก็ไม่ได้ อย่างนั้นการที่เดินให้มันเป้นทางราบรื่น เป็นทางที่ไม่มัวหมองอย่างนี้ เราก็เดิน ตลอด เดินประจำ มันก็ทำให้ เราได้รักษา ได้เห็นอยู่ ทีนี้ จนตลอดชีวิตนั่นแหละ ถ้าเราเดินไม่สุด อีก อย่างนี้ เราก็ต้องต่อเส้นทางอย่างนี้ อย่างคนที่ไปเกิดชาติใหม่ ก็ไปต่อเส้นทางใหม่ คือไปต่อเอาร่างกายใหม่ ไปเกิดเอา รูปใหม่ชาติใหม่อย่างนี้ มันก็ก็ไม่ต่อล่ะทีนี้ แต่ถ้าไปต่อ เราไม่มีทุน ไม่มีบุญ ไม่มีกำลังใจ อย่างนี้ เราก็ไม่มีสมบัติ ไม่มีแรงไปเดินต่อ อย่างนั้นก็อย่างที่เรายังต้องเดินต่อ พอเราเดินหลงไป ผิดไป อย่างนี้เราไม่กลับคืนมา แต่อย่างพระ พูทธเจ้า พระสาวก ท่านก็ไม่ได้เดินไปต่อ ท่านกลับคืนมา ที่นี้ กลับคืนมาหาต้นทาง ท่าน ก็หยุดไม่ต้องเดิน ไม่ต้องไป ต่อเส้นทางล่ะทีนี้ เพราะว่าท่าน กลับคืนมาหาต้นทางแล้ว อย่างที่ว่า อนุโลมอย่างนี้ คือปฏิโลม อนุโลมอย่างนี้ คือการกลับคืนเรียกว่า อนุโลม ถ้าปฏิโลม คือปฏิบัติต่อไป มันเป็น การปฏิบัติคนละเส้นทาง อย่างที่ว่าปลายทาง ต้นทาง มันกลับคืนมาอย่างนี้ ก็คืนมาหาต้ว หาจิต หาความสงบ หาความรู้ ที่มีอยู่กับที่ ก็เดินไปก็ไป เพื่อไปมองไกล ไปดู จะได้รู้ จะได้รู้ก็กลับ คืนมาดูต้นทางที่เราออกไปอย่างนี้ เราก็ได้เห็น<o></o>
    ฉะนั้นความรู้ความเห็นต่างๆที่เราได้จากการเดินการปฏิบัติการเดินตามมรรค ตามศีล สมาธิ ปัญญานี่ เราก็จะ ได้ เห็นขึ้นมาทางจิตของเราล่ะทีนี้ พอเราเดินมาก เราขยัน เราทำให้ผ่องใส ให้มีแสงสว่าง มีสติปัญญา กล้าขึ้นมา มันเห็น พอมันเห็น มันก็จะได้ดูด้วยปัญญาชัดเจนขึ้น แล้วทีนี้มันเห็นชัดเจน ความลังเล สงสัย ความเคลือบแคลงอะไร มันก็หายไป อย่างนั้น ในขั้นต้น ทางจึงแก้ท่านละ พวกกายะสักายทิฐิ คือไปเดิน ไปดูกาย ไปรู้กาย ไปแก้กาย ของตัวเองได้ อย่างที่ว่า สักกายทิฐิแล้วไม่ ไม่ถือ ไม่ได้ถือกายล่ะ ถือก็แต่ว่าเป็นธรรม เป็นเครื่องทำคุณ ทำประโยชน์เป็นรูป ศีล รุปที่เราจะต้องเคารพ ปฏิบัติ รักษาอย่างนี้ ไม่ได้ ถือไปตามกิเลสว่า เอาไปเล่นอะไร ไปสนุก ไปเพลิดเพลิน ไปกินอิ่ม สนุกสนาน บำรุง บำเรอ ไปตามรุปร่างอย่างที่มีตา มีหู จมูก ลิ้น กาย อย่างนี้ ก็บำรุงไปตามความอยาก ความหิว ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะรู้แล้ว คือห้ามได้ หยุดได้ ละได้ ไม่ได้ถือ แล้ว กิเลสที่มัน เกาะกายมันก็ไม่มี ด้วย สักกายทิฐิ ความที่ไม่ถือ ไม่มี วิกิจฉา ความลังเล สงสัย ในดี ในชั่วสุข ทุกข์ บุญ บาป มันไม่มี เพราะว่ามันไม่ใช่จิต ละทีนี้ มันเป็นเรื่องของเวทนา ของส่วนที่มันเกิดมากับร่างกาย ซึ่งเป็นตัวรูปที่อาศัย อยู่แล้วก็ความลังเล ในข้อปฏิบัติ ในวัตร ในศีล อะไรต่างๆ เรื่องมัวหมอง เรื่องบริสุทธิ์ อะไร ก็ไม่มี เพราะว่าจิตรู้ จิตรักษาเอง เดินไปถึงด้วยจิตของเราเอง ล่ะทีนี้ มันก็เป็น สุปฏิปันโน เป็นขั้น ต้นของการเดินมรรค เป็นทางภาวนา ทางเข้าไปสงบจิต มรรค ก็หมายถึงใจ ถึงมโนถึงจิต ซึ่งเป็นตัวเดิน ตัวรู้ ตัวกำหนด ที่จะให้เข้าสู่ความสงบได้<o></o>
    เวลาออกมาเที่ยว มาดู ธรรมดาอย่างนี้ก็ได้ เราก็ดู เราก็ต้อง รู้ด้วยว่าถ้ามันมีอาการ มีกิริยาอยุ่ ก็ถือว่ามันไม่ใช่ลิเก ละได้ ถ้ามันมีอาการ ถ้าไม่มีอะไร ที่มีเชื้อมีอะไรที่แสดงออกอย่างนี้ ก็ถือว่ามันบอกเราว่ามี อย่างที่ว่าตัวเราเองนี่ ถ้าเกิดว่าเกิดมี สิ่งที่มากระทบความโลภเกิดขึ้น ความโกรธเกิดขึ้น ความหลงเกิดขึ้น ให้ถือว่านั้นมัน ก็ยังแก้ไม่ได้มันละ ไม่ได้ มันยังต้องติดอยู่ กระทบผิดเป็นเรื่องเป็นราวกันอยู่อย่างนี้ เรียกว่าเราเดินมรรค แต่ว่าเรายังไม่รู้จักทางถูก เรายังเดินทางผิดอยู่ ความเห็นของจิต ก็ยังผิดอยู่ คือเห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิดแล้วก็เป็นมิจฉทิฐิ ล่ะทีนี้ เราเป็นฝ่ายทำบาป ทางผิด ทางหลงล่ะทีนี้คือเห็นผิดเป็นถูก คือเห็นชั่วเป็นดี เห็นดีเป็นชั่ว เห็นศีล สมาธิ ปัญญา เป็นของไม่ดี เห้นพวกกิเลส พวกโลภ โกรธหลง เป็นของดีอย่างนี้ เราเห็นตัวเป็นของดี เห็นธรรมเป็นของไม่ดี เป็นของลำบากเป็นของ ขัดกับกิเลสอย่างนี้ มันก็เห็นผิดทีนี้ จึงว่าเห็นผิด เห็นชั่วเป็นดี เห็นดีเป็นชั่วอย่างที่ว่า เห็นบาปเป็นของดี เห็นบุญ เห็นความสงบสุขไม่ดี อย่างนี้ล่ะทีนี้ มันเป็นความเห็นผิดของจิต จึงไม่ใช่ว่ามันตรงตามเหตุ ตามบุญ ตามบาป ที่เป็นไปตามผลของบุญบาปล่ะทีนี้ จิตที่มันผิด มันหลง เลยเห็นไป อย่างที่ตัวเราอย่างนี้ ไม่ได้เห็นว่ามันเป็นของสกปรก เป็นของ ผุพัง เป็นของไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ เป็นของที่เราตกแต่ง มันไม่ได้อย่างนี้ มันก็ไม่ได้เห็น อย่างนั้น มันก็เห็นว่าเป็นของเรา ที่เราต้องตกแต่งทำให้เป็นไปตามความถือนี่ อย่างทีเราตกแต่ง ให้มันมีสีสัน ให้มันมีความทุกข์เกิดขึ้นไม่ให้มี อะไรมัวหมอง ในผิวพรรณอย่างนี้ มันก็ไม่ได้ เพราะว่าของมันเป็นสภาพที่ มันเป็นของสกปรก ของที่มีสิ่งที่ห่อหุ้มไว้อยู่<o></o>
    อย่างที่ภายในอย่างนี้ เราไปเก็บ ไปกลืน ไปกิน รักษาไว้ ห่อหุ้มไว้ อย่างนี้ อย่างที่ว่า หนังก็ยังห่อหุ้มมีหนัง หุ้มอยู่ เป็นที่สุดรอบ เราก็ต้องสวดกัน มันห่อหุ้มหมดนั่นแหละ เวลามันออกมา เวลามันกระทบกระเทือนอย่างนี้ ร้อน มันร้อน เหงื่อเราก็ออกมา มันก็ซึมออกมาตามผิวขน อะไรอย่างนี้ มันอยู่ไม่ได้ เพราะว่ามันข้างใน มันไม่นิ่ง มันกระทบ กระเทือน มันร้อนแผด เผาอะไรต่างๆอย่างนี้ มันก็ออกมา อย่างเรามีหนังห่อหุ้มอยู่ แต่มันก็ยังซึมออกมา มันก็เป็นของให้เราเห็นอยู่ แต่ความที่เราเคยหลง ผิดมาหลายภพหลายชาติ เราไม่เห็น เพราะไม่ใช้ปัญญา มันเป็นสัญญา ที่เราท่อง เราจำ เราสวดไป มันก็ชินเคยไป แต่มันไม่เห็นด้วย วิปัสสนาจริงๆ ถ้ามันเห็น เราต้องด ูว่าเราต้องเอาธรรมมาวัด เวลามันไปกระทบไปเห็น ตามรูป บางครั้ง บางคราว ถ้ามันยังไม่เป็นอยู่ มันก็ถือว่า มันเป็นความหลอก เป็นสัญญาณ หลอกเรา คือ มันหลอก แต่ว่าเราก็ท่อง เราจำได้ แต่เวลาไปเห็น เกิดสติไม่ทันเขา มันก็ไป เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างที่ว่ามันสวย มันงาม มันสีสัน มันอะไรก็ว่าไป แต่มันไม่เป็นอย่างนั้นล่ะทีนี้ สภาพของมัน มันไม่เป็นอย่างนั้น มันก็เป็นอย่างที่ว่า มันห่อหุ้มสิ่งที่มีรส ความสกปรก มีกลิ่น อะไรมันก็มีอยู่ในนั้นทั้งหมด เราก็รุ้จักล่ะทีนี้ รู้จักว่า เราทำอยู่ เราได้ติดตัว กันอยู่ทุกคน ก็เห็นถึงเอาไปไว้ มันก็ซึม ก็ไหลออก<o></o>
    ฉะนั้นมันเป็นสิ่งที่มันบังตาของเรา แต่ว่าส่วนปัญญา ส่วนความรู้ ที่เรา เที่ยวเข้าไป เราส่อง เรากำหนด เราพิจารณา มันถึงจะส่องไปเห็นทีนี้ มันเห็น พอมันเห็นแล้วทีนี้ มันก็จะได้รู้กัน ความคิดหลง ความเห็นผิดอย่างนี้ อย่างที่ว่า พวกวิจิกิจฉา สีลพัตตปรามาส มันหลง เราก็ลูบคลำ คือว่าสงสัยอย่างนี้ หรือว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้หลอกตาเรา คือ หลอกจิต หลอกความรู้เราอย่างนี้ เราเคยติดตามมา มันเป็นเส้นทางที่ยาวมา อย่างที่ว่าร่างกายของเรานี่ ไม่ใช่ว่า เฉพาะช่วงชีวิตเราชาตินี้ แล้วข้างหลัง อีกกี่ท่อนทีมันตายขาดกันมา มันมาก ต่อมากล่ะทีนี้ เราก็เดินทางต่อมา หลงมาละทีนี้
    ฉะนั้นการที่เราภาวนา การกำหนด น้อมกลับคืน อนุโลม เพื่อจะให้มันสงบ เพื่อให้มันนิ่ง ไม่ให้มันดิ้น มันเดิน หลงไปต่อ แล้วก็เป็นผู้ที่คืนมาสู่ความสงบ สู่ใจของเรา สู่ที่มีความรู้ มีแสงสว่าง ที่เราฝึก เราสร้างสมอบรม เราเอามารวมไว้ที่จิตของเราไม่ให้มันหลงไป เราก็รุ้ แต่ถ้าหลงไป ก็อย่าง ที่เราหลงมา การไป มันเป็นอันเดียว เส้นทางต่อกน เหมือนทางเดินเรา เหมือนจงกรมเราอย่างนี้ เงื่อนเส้นทางมันก็ไม่มีหัวมีท้าย คือ มันจะมีสุด ทั้งสองข้าง อันนี้ ก็เหมือนกับความหลง ที่เราหลงไปหลงมาเหมือนกัน ก็หลงใกล้ๆ หลงร่างกายของเรา คือ เราต้องมาเดิน มาควบคุมตรงนี้ มาดู ความสงบ ละเอียด ความนิ่ง ความเพียร ต้องมาควบคุมเส้นทางของเราอย่างที่เราเอาเดินจงกรมบ้าง
    อย่างที่เราเอานั่ง เอานอน เอายืน กำหนดดูบ้าง อะไรก็ต้องอนุโลม กลับมาดู คือมาดูทาง ดูที่ของเราตลอดนั่นแหละ นี่เป็นผู้ไม่ประมาท ท่านว่า เป็น ผู้เจริญรอยตามพุทธบาท ตามหลักสติปัฏฐาน ๔ แล้วก็เป็น ผู้ปฏิบัติที่ดี ตามหลัก สุปฎิปันโนบุคคล แล้วก็เป็นนาถะ เป็นที่พึ่งของตน แล้วก็เป็นที่พึ่งของโลกด้วย อย่างนั้นท่านก็สอนว่า พระสงฆ์ เป็นเนื้อนาบุญของโลก คือการปฎิบัติร่าง กายของเรานั้น เป็นนาบุญของเราทุกคน คือเจ้าของ ของเรา เป็นเจ้าของ ที่จะได้รับผลคนแรกนั่นแหละ เรียกว่านาบุญ คือเจ้าของนา ก็คือเจ้า ของนานั่นแหละ เป็นผู้จะได้รับข้าวรับของที่ได้รับ ผลขึ้นมา แต่ส่วนคนอื่น ที่เขาจะได้ส่วนรับ ส่วนแบ่ง มันก็ต่อเนื่องกันไปถึงว่า เป็นการเดินมรรค เดินทาง เดินที่ปกิบัติ เรียกว่าเป็น สังฆคุณ เป็นคุณของพระสงฆ์ เป็นองค์มรรคข้อต้นด้วย ที่จะทำให้เราเข้ามรรค เข้าเส้นทางได้ ก็เข้ากับความเป็นศรัทธา ความเพียร มีความเชื่อมั่น ในการเดินทาง จิตของเรา คือเราจะต้องมีแรงเดิน จะต้องฝึก จะต้องบำรุงจิตของเราให้มีแรงเดิน เรียกว่ามีศรัทธา และมีความเพียร ความขยัน ในการนึกการกำหนดตลอด มีสติ ระลึกรู้ ควบคุมอยู่ตลอด สติก็มีขึ้น สมาธิ ความสงบที่เกิดขึ้นจากความเพียร ความดู อยู่ขยัน ของตัวเองก็เกิดขึ้น ปัญญาความรู้ ความรอบรู้ก็เกิดขึ้น มีพละ ซึ่งเป็นกำลังที่จะเป็นแรงปฏิบัติ แรงรักษาเส้นทาง รักษาตัว รักษามรรค ของร่างกายตัวเอง ได้อย่างนี้ ตลอด เรียกว่า เป็นผู้เดินทางตามทางธรรม<o></o>
    <o></o>

    ที่มา...http://www.geocities.com/siammedherb
    ______________
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    <!--[endif]--><o></o>
     
  5. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    มีอีกองค์หนึ่งทางภาคอิสานกระดูกท่านก็ใสเป็นแก้วเหมือนกันครับ
    หลวงปู่เณรคำ ฉัตติโก แห่งวัดป่าขันติธรรม บ้านยาง ต.บ้านยาง อ.กันทรารมย์
    จ.ศรีสะเกษ อ่านประวัติท่านแล้วจะทึ่งครับ

    http://www.luangpunenkham.com/about-luangpunenkham/history/brief/
     
  6. manson810

    manson810 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    410
    ค่าพลัง:
    +780
    สาธุครับ อยากแสดงความเห็นนิดนึง (ไม่ได้ปรามาสหลวงพ่อท่านนะครับ)

    คือบางทีในการเสนอข่าว ผู้ที่ต้องการจะสื่อก็น่าจะมีหลักฐานมาให้ผู้รับสื่อได้ดูบ้าง ไม่เช่นนั้นข่าวนั้นบางทีก็จะดูเหมือนข่าวโคมลอยไป ที่ว่าแพทย์ x-ray กระดูกหลวงพ่อเห็นเป็นแก้วก็น่าจะมีภาพ x-ray นั้นมาให้เห็นด้วยนะครับ ผู้รับข่าวจะได้นำข้อมูลนั้นมาประกอบการพิจารณาว่าข่าวนั้นน่าเชื่อถือได้เพียงใด

    พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้ชาวพุทธใช้ปัญญาในการพิจารณาข่าวสารข้อมูลต่างๆ ดังเช่น ในหลักกาลามสูตร ข้อที่ว่า "อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา" "อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ" เป็นต้น.
     
  7. Laywoman

    Laywoman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +201
     
  8. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
     
  9. ปัจเจกพุทธะ

    ปัจเจกพุทธะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +121
    อนุโทนาครับ
    ยอมถวายแม้กระทั้งชีวิตแด่พระพุทธศาสนา

    พุทธัง ชีวะตังเมปูเชมิ ธัมมัง ชีวะตังเมปูเชมิ สังฆัง ชีวะตังปูเชมิ.
     
  10. Sujinno

    Sujinno Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +90
    อนุโมทนาด้วย อาตมาอาจได้ไปกราบนมัสการ เพราะจะเดินทางไปทางเหนือ หลังจากออกพรษาแล้ว
     
  11. เส้นทางสายใหม่

    เส้นทางสายใหม่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +360
    ขอกราบแทบเท้าท่าน

    หากได้มีโอกาสได้พบ ขอให้ได้ประสบในคุณธรรมบารมีธรรมสักเพียงเศษเสี้ยวของธรรมที่พระท่านได้ประสบพบเจอะแม้เพียงเล็กน้อยก็ยังดี เพื่อที่จิตนี้จะได้ยกระดับภูมิจิตให้สูงกว่านี้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    สาธุ สาธุ สาธุ

    ------------------------------------------

    ขอคุณผู้นำเสนอกระทู้ดี ๆ นี้

    ทำให้ทราบว่าประเทศไทยดียิ่ง ๆ นัก ยังมีพระอริยะสงฆ์อยู่ในประเทศอยู่อีกมากมาย สมแล้วที่จะได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาโลก สาธุ
     
  12. --FoX--

    --FoX-- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +171
    มีภาพ x-ray มั๊ยครับ
     
  13. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    ขออภัยครับข่าวนี้เป็นข่าวดังเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้วครับ แพทย์ที่เอ๊กซเรย์หลวงพ่อเขาออกมายืนยันน่ะครับ ส่วนภาพพอมีข้อมูลจากข่าวหนังสือพิมครับพ.ศ.2545 แนะ
    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กันยายน 2008
  14. ประทีปแก้ว

    ประทีปแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2008
    โพสต์:
    3,506
    ค่าพลัง:
    +8,328
    โอ...สาธุ สาธุ สาธุ ไม่เคยกราบองค์ท่าน เคยแต่กราบหลวงปู่อ่อน ญาณศิริค่ะ
     
  15. O๐.AnGle.๐O

    O๐.AnGle.๐O เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    974
    ค่าพลัง:
    +861
    ไหน อ่ะ รูป x-ray

    เอามาให้ดูหน่อย

    เหอะๆ
     
  16. chingchamp

    chingchamp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กันยายน 2008
    โพสต์:
    788
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +503
    รูปบนนั้นไงครับ เลื่อนไปดูหน่อย แต่ดันเป็นภาพขาวดำหงะคุคุ
     
  17. ครึ่งชีวิต

    ครึ่งชีวิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,178
    ค่าพลัง:
    +15,103
    [​IMG] สาธุ ขอรับ
     
  18. หนองสะลาบ

    หนองสะลาบ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    334
    ค่าพลัง:
    +564
    กลับบ้านรอบนี้ต้องไปกราบให้ได้ เผื่อจะได้ละกิเลสตัณหาลงบ้างจากข้อธรรมของท่าน
     
  19. --FoX--

    --FoX-- เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    102
    ค่าพลัง:
    +171
    ในข่าวบอกว่ากระดูกใส เหมือนภาพนี้มั๊ยครับ
    ในภาพข่าวที่คุณ ChingChamp นำมาให้ดูไม่ค่อยชัดเท่าไหร่แต่ในรูปฟิล์ม X-Ray น่าจะเป็นที่แขนนะครับ

    รูปฟิล์มนี่ก็แขนเหมือนกันครับ

    ปล. ภาพนี้เป็นภาพ X-ray แขนปกตินะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 59.jpg
      59.jpg
      ขนาดไฟล์:
      34.2 KB
      เปิดดู:
      1,345
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤศจิกายน 2008
  20. rasetsacrifa

    rasetsacrifa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +127
    ล้มมาที มีเฮ หวังว่าแก้วจะ มีความหนาแน่นพอนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...