บันทึกธรรมหลวงปู่ท่อน

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย บุญนิธิ, 11 กรกฎาคม 2008.

  1. บุญนิธิ

    บุญนิธิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +114

    บันทึกธรรมจากหลวงปู่(ผมจะเอามาลงให้อ่านเป็นระยะนะครับ)

    บันทึกธรรมจากหลวงปู่ เป็นข้อธรรมที่ทรง
    คุณค่าของพระเดชพระคุณ พระราชญาณวิสุทธิโสภณ​
    (​
    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร) ที่แสดงไว้ในโอกาสต่างๆ
    รวบรวมมาในหนังสือเล่มเล็กๆ นี้ เพื่อเป็นการถวาย
    มุทิตาสักการะและเพื่อเป็นอนุสรณ์ เนื่องในงานอายุ
    วัฒนมงคลครบ ๘๐ ปี ของพระราชญาณวิสุทธิโสภณ
    ในวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ขอกุศลผลบุญที่
    เกิดจากหนังสือเล่มนี้ จะเป็นพลวปัจจัยให้หลวงปู่
    มีอายุยืนยาว สุขภาพแข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทร
    ของลูกศิษย์ตลอดนานเท่านาน
    ขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของผู้มีจิต
    ศรัทธาบริจาคทรัพย์และที่มีส่วนร่วมทุ่มเท แรงกาย
    แรงใจ ดำเนินการในส่วนต่างๆ จนหนังสือเล่มนี้
    สำเร็จมาอำนวยประโยชน์แก่ท่านผู้อ่าน


    หลวงปู่ผู้ให้​
    พระราชญาณวิสุทธิโสภณ ​
    (หลวงปู่ท่อน
    ญาณธโร
    ) เกิดเมื่อวันเพ็ญเดือน ๖ ตรงกับวันอังคาร
    ที่ ๓ พฤษภาคม ๒๔๗๑ ที่ บ
    .หินขาว ต.สาวัตถี
    .ขอนแก่น นามเดิมท่อน ประเสริฐพงษ์ เป็นบุตร
    คุณแม่ทา คุณพ่อแจ่ม ประเสริฐพงษ์ เป็นบุตรคนที่
    ๖ มีพี่น้องรวม ๑๙ คน หลวงปู่บวชเมื่ออายุ ๒๑ ปี
    ที่วัดศรีจันทราวาส มีหลวงปู่คำดี ปภาโส วัดป่าชัยวัน
    เป็นพระอาจารย์สอนวิปัสนากรรมฐานให้แก่หลวงปู่
    นำเข้าป่าและถ้ำต่างๆเพื่อปฏิบัติธรรมหลายต่อหลายปี
    หลวงปู่ได้ช่วยหลวงปู่คำดีสร้างวัดถ้ำผาปู่จวบจน
    หลวงปู่คำดีมรณภาพ
    ปี ๒๕๐๐ ญาติโยมนิมนต์ให้หลวงปู่ท่อน
    ไปอยู่ที่ป่าช้านาโป่ง จ
    .เลย หลวงปู่และญาติโยม
    ได้ร่วมกันก่อสร้างวัดศรีอภัยวันขึ้น ณ ป่าช้านาโป่ง
    แห่งนั้น ในเนื้อที่ประมาณ ๔๐ ไร่เศษ ภายหลัง
    ได้ขยายเพิ่มเป็น ๖๐ ไร่เศษ


    หลวงปู่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น
    พระราชาคณะ ที่พระญาณทีปาจารย์ เมื่อ ๑๒ สิงหาคม
    ๒๕๓๕ และที่พระราชญาณวิสุทธิโสภณ เมื่อวันที่ ๕
    ธันวาคม ๒๕๕๐
    หลวงปู่เป็นผู้มีเมตตาธรรมสูงยิ่ง ใครได้
    อยู่ใกล้หลวงปู่ จะรู้สึกฉ่ำเย็นเป็นสุขสงบตามจริยวัตร
    ที่งดงามของหลวงปู่ มีอารมณ์ดีอยู่เป็นนิจ เมตตา
    ต่อทุกสรรพสิ่งเสมอกัน เมตตาที่จะโปรดญาติโยม
    โดยไม่คำนึงถึงองค์หลวงปู่เองว่าจะลำบากลำบน
    ทุกข์เข็ญเช่นไร เป็นหลวงปู่ผู้มีแต่ให้โดยแท้ ลูกศิษย์
    ของหลวงปู่รู้ดีว่า ​
     
  2. บุญนิธิ

    บุญนิธิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +114
    ต่อบันทึกธรรมหลวงปู่

    เวลาที่หลวงปู่ท่านกลับมาวัด หลังจากไป
    กิจนิมนต์นานๆ ท่านมักจะดูอ่อนแรงเสมอ
    พระรูปหนึ่งกราบเรียนถามท่านว่าหลวงปู่
    ไม่เหนื่อยหรือครับที่อายุตั้งขนาดนี้แล้ว​
    (​
    ๘๐ปี) ยังต้องไปกิจนิมนต์นานๆตลอด?

    หลวงปู่เมตตาตอบว่าเหนื่อยก็ส่วนเหนื่อย
    ใจก็ส่วนใจสิ มันเหนื่อยพอกินข้าวแล้ว
    พักผ่อนก็หาย นอนไปในรถก็ได้ แต่เรา
    ต้องไปโปรดญาติโยม ​
    ญาติโยมเพียง
    คนเดียวถ้าได้พบหลวงปู่แล้วโยมเขา
    หายทุกข์ก็คุ้มแล้ว

    เราไม่คุย เราไม่นอกลู่นอกทาง รักษา
    ความสงบไว้อย่างนั้น ไม่ต้องคุยโอ้อวดผู้ใด
    อย่าไปคุยโอ้อวดมันจะเสื่อม เสื่อมเลย
    มันไม่สงบอีกแล้ว
    ไม่ต้องคุยโอ้อวดผู้ใดเลย
    ไม่ต้องยกตนเทียมท่าน ไม่ต้องยกตน
    ข่มท่าน
    โอ้อวดใครก็ไม่ใช่ มันรู้เรื่องอยู่
    มันรู้เรื่องราวอยู่อย่างนั้นๆ เราก็สบาย
    ของเรา ยิ้มอยู่แค่นั้น
    ใครจะว่าอะไรก็ยิ้ม
    จิตจะอยู่เหนือโลก เหนือธรรม ไม่หวั่นไหว
    กับโลกธรรม
    ทั้งหลาย ขอให้ทำไปเถิด
    อย่าได้โอ้อวดตกใจ ดีใจ ภูมิใจ มันจะเป็น
    วิปลาส

    นิพพานใจจะต้องเด็ดเดี่ยวมากนะ ต้อง
    ไม่ห่วงใคร
    จะต้องไปคนเดียว
    การปฏิบัติธรรมนั้น นอกจากการตั้งสติ
    แล้วไม่มีอย่างอื่นยิ่งไปกว่า
    ไม่ว่ายืน เดิน
    นั่ง นอน ก็มีสติระลึกได้ ถ้าเดินนึก เดินคิด
    นั่งนึก นั่งคิด นอกนึก นอนคิด ไม่ชื่อว่า
    ปฏิบัติธรรม เขาเรียกกันว่าฟุ้งซ่านไปตาม
    สัญญาอารมณ์ ถ้ามี
    สติระลึกได้ทุกเมื่อ
    มีสัมปชัญญะประกอบด้วยยิ่งดีใหญ่
    เป็นการปฏิบัติธรรมโดยแท้

    เกิดบังดับ โลกบังธรรม งามบังผี ดีบังจริง
    สมมติบังวิมุตติ หลักธรรมบังพระนิพพาน

    แม้ภูเขาสูงแสนสูง หากบุคคลผู้มีความเพียร
    พยายามปีนป่ายขึ้นไปจนถึงยอด ภูเขาสูง
    แสนสูงก็ต้องอยู่ใต้ฝ่าตีนของคนผู้นั้น

    การละบาปนั้น บาปมันมายังไง บาปมา
    ทางจิตใจเกิดที่จิตใจ โลภ โกรธ หลง
    มันเป็นบาป ชำระบาปทั้งหลายได้ด้วย
    การปฏิบัติธรรมรักษาศีลไม่ให้มันกำเริบ
    เสิบสาน ไม่ให้มันแก่กล้าขึ้น หากปล่อย
    ไปตามอำนาจมัน ทำให้เดือดร้อนทำลาย
    ตัวเอง

    กิเลสเป็นเหมือนสนิมเกาะกินใจมนุษย์
    อยู่ตลอดเวลา หากปล่อยให้มันเกาะกิน
    จิตใจไม่รู้จักระวังรักษา ใจของเราย่อม
    หมดคุณภาพ เป็นใจเสื่อมโทรม กิเลส
    มันร้อน มันเป็นไฟ ต้องระวังอย่าลุอำนาจ
    กิเลส อันจะทำให้กระทบกระเทือนผู้อื่นเขา

    จิตหรดี
    คือ จิตที่เด็ดเดี่ยว ตั้งมั่น
    ไม่หวั่นไหวไปกับอะไร
    เป็นมงคลอย่างยิ่ง

    หลวงปู่มักเตือนว่า คนดีชอบแก้ไข
    คนจัญไรชอบแก้ตัว คนชั่วชอบทำลาย
    คนมักง่ายชอบทิ้ง คนจริงชอบทำ
    คนระยำชอบติ

    อย่าส่งจิตออกนอก ส่งออกมันเป็นบ่วง
    แห่งมาร

    อย่ากินของร้อน (ราคะ โทสะ โมหะ)

    อย่านอนบนไฟ
    (โลภ โกรธ หลง)

    ให้ไปอย่างแร้ง
    (ไม่ติด ไม่สะสม)

    แสวงหาบริสุทธิ์
    (ของที่ชอบธรรม)

     
  3. อิทธิปาฏิหาริย์

    อิทธิปาฏิหาริย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,834
    ค่าพลัง:
    +1,472
  4. บุญนิธิ

    บุญนิธิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +114
    อย่าไปรีบ ไปเร่ง อย่าไปเคร่ง ไปเครียด
    ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เวลาจะได้ มาเอง
    นั่นแหละ ​
    อย่าไปยึดมั่นในสิ่งใดๆแม้
    การปฏิบัติ

    อย่าไปสนใจจิตของผู้อื่น จงสนใจจิต
    ของตน

    การประพฤติปฏิบัติตนของบุคคลที่ได้
    ชื่อว่าเป็นภิกษุที่ยึดเหนี่ยวแนวทางของ
    หลวงปู่ คือ มีน้อยใช้ตามน้อย มีมากเอา
    ไว้สงเคราะห์ผู้ไม่มี อยู่ไปตามมีตามได้
    พอใจในสิ่งที่มีอยู่ ไม่ขอใคร
    ยินดีกับ
    ความเพียรเพื่อหวังความพ้นทุกข์

    ๑๗​
     
  5. บุญนิธิ

    บุญนิธิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +114
    อาหารบิณฑบาตประเสริฐกว่ารับนิมนต์
    หรือเขามาส่งตามวัด​
    หลวงปู่ไปเมตตาคนป่วยด้วยคำเตือนใจ
    สั้นๆว่า
    รู้อยู่ที่ใจได้ไหม

    ใครจะเป็นอย่างไรก็ยิ้ม ยืนยิ้มดูไปเฉยๆ

    ปฏิบัติพอเริ่มรู้เริ่มเข้าใจ ให้ระวังตัว
    มานะทิฏฐิว่าคนอื่นดีไม่เท่าตัวเองหมด

    ขาดความเคารพ แม้​
    ภายนอกจะดูอ่อน
    น้อมแต่จิตใจเย่อหยิ่ง มันเป็นจิตวิปลาส

    สัญญาวิปลาส​
    เราคนเดียวเที่ยวรัก เที่ยวโกรธหาโทษใส่ตัว
    ให้มีสติอยู่ในกาย เวทนา จิต ธรรม เอาจิต
    อยู่กับ ๔ อย่างนี้ให้ตลอดเวลา พิจารณา
    โดยแยบคายพิจารณาอย่างนี้ ทำอยู่อย่างนี้
    จะสบาย ​
    เอาธรรมเป็นผู้ตัดสินเสมอๆ

    ให้มีสติตามดูจิต เหมือนคนเดินบนถนน
    ลื่นๆต้องระวังทุกก้าว
    ให้มีสติจดจ่อไม่
    วาง ดูจิตมันจะปรุงไปไหน จะคิดไปไหน

    จดจ่อดูมันก็ได้ แน่ๆจะไปไหน ถ้ามัน
    ดื้อนัก ถ้ายังไป เราจะไม่นอนให้นะ​
    การมีสติรู้ตัวพร้อมจึงเรียกทำความเพียร

    ไม่จำเป็นว่านั่งสมาธิ เดินจงกรมจึงเรียก
    ทำความเพียร ถ้าไม่มีสติรู้ตัวฟุ้งคิดไป
    เรื่อยก็ไม่เรียกทำความเพียร เมื่ออิริยาบถ
    ใดจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอนมีสติรู้ตัว
    พร้อม จึงเรียกว่าทำความเพียร​
    การแผ่เมตตาต้องแผ่เป็นอัปปมัญญา
    ถ้ามีว่าคนนี้รัก ให้มากๆ คนไม่ชอบใจ ไม่ให้
    แสดงถึงความมีอคติ
    ต้องให้เท่าเทียม
    ไม่เจาะจง ให้หมด ใจจึงเป็นกลาง
    ให้หมด
    แหละ
    แผ่เมตตาให้เต็มดวง พ่อแม่จะได้บุญ
    น้อยลงไปไหม
    ? ไม่หรอก เหมือนพระอาทิตย์
    ส่องโลก มันก็สว่างไปหมดทั่วทุกมุมโลก
    ทุกคนก็เห็นความสว่างเท่ากันหมด

    (หลวงปู่เล่าเรื่องนางปัฏฏาจาราเถรี)

    ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเธอในครั้งนี้ใครทำ ไม่ใช่
    เธอทำเองหรือ เพราะความรัก ความยึด
    มั่นในสิ่งรัก จึงทำให้ทุกข์ มีรักที่ไหน
    มีทุกข์ที่นั่น
    เมื่อเราเพียรเพ่งดูจิต ดูความคิด ความนึก
    ของตัวตลอดไม่ยอมให้หลุดจากจิต แล้วเรา
    จะเข้าใจสังขาร อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
    มันปรุงให้เรา ดีใจ เสียใจ ร้องไห้ หัวเราะ
    โศกเศร้า มันปรุงเราได้ๆ​
    เวลาไหนเราไม่ปรุงไม่แต่งไปตามสังขาร
    ราคะ โทสะ โมหะ สังขารปรุงไม่ได้ เรียก
    นิพพานชั่วขณะ

    ให้มีสติแนบกับความรู้ ให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
    รวมเป็นก้อนเดียว เอาก้อนนี้มาพิจารณา
    กายคตาสติ พิจารณาลมหายใจเป็นไตรลักษณ์
    หรือมองกระดูกเอามันจุดเดียว ไม่ต้องนึก
    ต้องคิด มันจะแจ้งมันเอง เห็นหมดในร่างกาย
    แจ้งในความไม่มีอะไรเป็นเรา มีแต่ของ
    สกปรก เอาให้เห็นความโง่บรมโง่ของเรา
    ของมันเน่ามันเปื่อย มีแต่ของสกปรก
    เราหลงรักหลงยึด จนจะตายกับของไม่เที่ยง
    แถมไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา มีแต่ของโสโครก
    อีกอย่างทำให้ชำนาญในฌานการเข้าการออก
    การดำรงในฌาน​
    ให้พิจารณาจนเห็นทุกข์ในโลก เห็นโทษ
    ของกาม

    ที่ว่าว่างๆนั้น คือมัน
    ว่างจากอารมณ์ ยินดี
    ยินร้าย แต่ความรู้ไม่ว่าง
    รู้ชัดทุกลมหายใจ
    หายใจเข้าก็รู้ชัด หายใจออกก็รู้ชัด รู้อยู่
    ตลอดเวลา แต่ว่างจากอารมณ์ ยินดี ยินร้าย
    เหมือนดังชามที่ว่าง ไม่มีอะไรเลย

    ให้มีความเมตตาปรารถนาดีกับสรรพสัตว์
    จริงๆอย่างไม่มีประมาณ ไม่ว่าคนนั้นสัตว์นั้น
    จะดีกับเราแค่ไหนหรือร้ายกับเราขนาดไหน
    ก็ให
    ้เมตตาปรารถนาดีเท่าเทียมกัน
    อย่าให้มีเลือกที่รักมักที่ชังแม้แต่น้อย
    ให้เหมือนดังแม่เมตตาลูก
    ไม่คิดจะทำให้
    ทุกข์แม้แต่น้อย ทั้งกาย วาจา ใจ

    รักษาจิตให้ดี มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    เป็น​
    ที่อยู่ของใจ

    สำรวมอินทรีย์ พิจารณาวิปัสสนาภูมิ
    อริยสัจ ๔ มรรค ๘ คือ ทางเดิน

    ตามดูอาการหลับให้ละเอียด มันค่อยๆ
    หลับไปอย่างไร

    เมื่อเกิดความปรุงแต่ง ก็ให้รู้ รู้แล้วพิจารณา
    ตลอดสาย พิจารณาให้เกิดปัญญา รู้แล้วดับ

    สมาธิ คือ สมาธิ ยังเป็นสมุทัย พอถอนให้
    พิจารณากาย เอาให้มันเบื่อหน่าย ไม่งั้น
    จะเกิดทิฏฐิว่าตัวได้ ตัวถึง เป็นวิปลาส

     

แชร์หน้านี้

Loading...