ฆราวาสสามารถไปนิพพานได้จริงหรือเปล่าคะ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Laywoman, 20 กรกฎาคม 2008.

  1. Laywoman

    Laywoman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +201
    อยากทราบว่าฆราวาสสามารถไปนิพพานได้หรือไม่คะ แล้วต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง เพราะไม่อยากจะเวียนว่ายตายเกิดอีกแล้ว อยากจะนิพพานอย่างเดียว ทุกวันนี้จะภาวนาหลังจากทำบุญ ใส่บาตร สวดมนต์ภาวนา นั่งสมาธิ ตลอดและจะระลึกถึงแต่นิพพาน โดยภาวนาว่า"ขอบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ลูกหลุดพ้นจากวัฏสังสารและเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด แต่หากแม้นไม่ถึงซึ่งพระนิพพานก็ขอให้คำว่าไม่มี ไม่ได้จงอย่าบังเกิดแก่ข้าพเจ้า" เพราะประโยคสุดท้ายนี่หลวงพ่อสอนให้เผื่อไว้ และคิดว่าบุญบารมีของตัวเองคงจะยังไม่ถึงพระนิพพานในชาตินี้ แต่ก็ยังหวังอยู่เพราะทุกวันนี้เป็นคนปฏิบัติอยู่พอสมควร
    จึงจะขอสอบถามท่านผู้รู้ทุกท่านว่า กรณีถ้าเป็นเพียงฆราวาสคนหนึ่ง ถือศีล 5 ทำบุญทำทาน สวดมนต์ภาวนา จิตจับอยู่ที่พระพุทธเจ้า และพระนิพพาน จะสามารถไปถึงพระนิพพานได้หรือไม่
     
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    นิพพาน

    จุดหมายปลายทางของชีวิต
    เรื่องพระนิพพาน มิใช่เป็นเรื่องที่พูดให้จบหรือให้เข้าใจกันได้ด้วยคำพูดเพียงสองสามคำ เพราะฉะนั้นผู้ศึกษาจะต้องอ่านทบทวนไปมา และทำการศึกษาคิดค้น ตีความและเทียบเคียง หยั่งให้ถึงความหมายของศัพท์ และประโยคไปโดยลำดับจริงๆ ไม่อ่านอย่างสะเพร่าลวกๆ หรือข้ามไปทั้งที่ไม่เข้าใจ จึงจะมีความรู้จักตัวพระนิพพานชัดเจนเพิ่มขึ้นเป็นลำดับๆ จนกว่าจะลุถึงได้จริงๆ ด้วยการ ปฏิบัติธรรม ทางใจ ต่อไปนี้เป็นแนวการคิดค้นหาความเข้าใจ หรือคุณค่าของพระนิพพาน เพื่อก่อให้เกิดฉันทะในการบรรลุพระนิพพานแรงกล้ายิ่งขึ้นบ้าง ไม่มากก็น้อย


    พระนิพพานไม่ใช่เป็นจิต ไม่ใช่เป็นเจตสิกหรือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต โดยอาศัยจิตนั้น, ไม่ใช่มีรูปร่าง เป็นก้อน เป็นตัว อันเป็นประเภทรูปธรรม ไม่ใช่บ้านเมือง ไม่ใช่ดวงดาว หรือดวงโลกในโลกใดโลกหนึ่ง และยิ่งกว่านั้น พระนิพพานไม่ใช่สิ่งที่มีความเกิดขึ้นมา ไม่ใช่สิ่งที่มีความดับลงไป หรือทั้งเกิดและดับสลับกันไปในตัว ไม่ใช่สิ่งที่มีความดับลงไป หรือทั้งเกิดและดับสลับกันไปในตัว แต่พระนิพพานเป็นสภาวะแห่งธรรมชาติชนิดหนึ่ง และเป็นสิ่งเดียวเท่านั้น ที่ไม่ต้องตั้งต้นการมีของตนขึ้นเหมือนสิ่งอื่นๆ แต่ก็มีอยู่ได้ตลอดไป และไม่รู้จักดับสูญ เพราะไม่มีเวลาดับหรือแม้แต่แปรปรวน


    สิ่งทั้งหลายอื่นซึ่งมีอยู่ นอกจากพระนิพพานแล้ว แรกที่สุด มันต้องมีการเกิดขึ้น มันจึงจะมีอยู่ได้ และต้องดับไปในที่สุด แม้จะช้านานสักเพียงไรก็ตาม และยังต้องแปรไปๆ ในท่ามกลางด้วย เพราะสิ่งนั้นมันมีการเกิดขึ้น แม้ที่สุดแต่ดวงอาทิตย์ ซึ่งวิทยาศาสตร์ บอกว่ามีอยู่นานก่อนสิ่งใดในสากลจักรวาล มันจะต้องกลายเป็นไม่มีสักวันหนึ่ง และเราจะไม่ได้เห็นมันในเวลาเช้า และลับหายจากสายตาไปในเวลาเย็น เช่น เดี๋ยวนี้ แม้ดิน น้ำ ไฟ หรือความร้อน ลม หรืออากาศ ก็เช่นกัน จักต้องถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งมันจะไม่มีอยู่ เพราะสิ่งเหล่านี้ มีการเกิดขึ้นมา และเกิดขึ้นได้เป็นขึ้นได้โดยต้องอาศัยสิ่งอื่น


    ส่วนสิ่งที่เรียกว่า พระนิพพาน ไม่เป็นเช่นนั้น ไม่มีการเกิดขึ้น ทำไมจะต้องมีการอาศัยสิ่งอื่น เมื่อตัวเองมีของตัวเองได้ มันจึงไม่รู้จักดับ และจะมีอยู่ตลอดไปโดยไม่มีที่สุดหรือเบื้องต้น และเหตุนี้เอง พระนิพพานจึงไม่ใช่สิ่งที่ใครจะกล่าวได้อย่างมีเหตุผลเลยว่า พระนิพพานนั้นเป็นอดีต อนาคต หรือเป็นปัจจุบัน ได้เลย ทั้งนี้เพราะความมีอยู่แห่งพระนิพพานนั้น แปลกกับความมีอยู่ของสิ่งอื่น อย่างสุดที่จะกำหนดมากล่าวได้ พระนิพพานมีอยู่ตลอดกาล อันไม่มีที่สุด มีเป็นของคู่เคียงกับกาลเวลาอันไม่มีที่สิ้นสุด แต่หากว่ากาลหรือเวลาจะเป็นสิ่งที่สิ้นสุดลงในวันหนึ่งได้ พระนิพพานก็ยังหาเป็นเช่นนั้นไม่


    พระนิพพาน เป็นสิ่งที่เปิดโอกาสเตรียมพร้อมอยู่เสมอ สำหรับที่จะพบกันเข้ากับดวงจิตของคนเราทุกๆ คน หากแต่ว่า ดวงจิตของเราตามธรรมดา มีอะไรบางอย่างเข้าเคลือบหุ้มเสียก่อน ไม่เปิดโอกาสให้พบกันได้กับพระนิพพานเท่านั้น, พระนิพพานจึงไม่ปรากฏแก่เราว่ามีอยู่ที่ไหน ทั้งที่พระนิพพานอาจเข้าไปมีได้ในที่ทั่วไป ยิ่งเสียกว่าอากาศ ซึ่งเรากล่าวกันว่ามีทั่วไปเสียอีก เมื่อเราไม่อาจกำหนด หรือเคยพบกับพระนิพพาน ก็เลยคิดไปว่า พระนิพพานไม่ได้มีอยู่ดังที่ท่านกล่าว เข้าใจว่าเป็นการกล่าวอย่างเล่นสำนวนสนุกๆ ไป คนตาบอดมาแต่กำเนิดย่อมไม่รู้เรื่องแสงสว่าง หรือสีขาว แดง ทั้งที่มันมีอยู่รอบตัว หรือถึงตัวฉันใด, ผู้บอดด้วยอวิชชาซึ่งห่อหุ้มดวงจิต ก็ไม่รู้เรื่องพระนิพพาน ไม่อาจคาดคะเน พระนิพพานฉันนั้น, จนกว่าเขาจะหายบอด


    เราเกิดโผล่ออกมาจากท้องแม่สู่โลกนี้ บอดเหมือนกันหมดทุกคน จึงไม่อาจรู้เรื่องพระนิพพานได้ตั้งแต่แรกเกิด ยิ่งผู้ที่มีตาเนื้อ ตาเนื้อก็บอดเสียอีกด้วยแล้ว ไม่อาจรู้จักแสง หรือสี ก็ยิ่งร้ายไปกว่านั้น บอดตาไม่อาจรักษาได้ แต่บอดใจหรือบอดต่อพระนิพพานนั้นรักษาได้ ผู้ที่ตาบอด แต่ถ้าเขาหายบอดใจ เขาก็ประเสริฐกว่าผู้ที่แม้ไม่บอดตา แต่บอดใจ นี่เราจะเห็นได้ชัดๆ ว่าแสงแห่งพระนิพพานส่องเข้าไปถึงได้ในที่ที่แสงสว่างในโลกส่องเข้าไปไม่ถึง ดวงจิตของคนตาบอดอาจพบกับพระนิพพานได้ไม่ยากไปกว่าของคนตาดีๆ แต่ว่าทุกๆ คนที่ตาของเขายังเห็นแสงและสีได้ ก็ไม่ยอมเชื่อหรือสำนึกว่า ตาของตนบอด ตาข้างนอกของเขาแย่งเวลาทำงานเสียหมด ตาข้างในจึงไม่มีโอกาสทำงาน แม้ที่สุดแต่จะรู้สึกว่าตาข้างในของฉันยังบอดอยู่ก็ทั้งยาก และยิ่งขึ้นไปกว่านั้น อาจไม่รู้สึกด้วยซ้ำไปว่ามีตาข้างในอยู่อีกดวงหนึ่ง ซึ่งเป็นดวงสำคัญที่สุดด้วย


    เมื่อเขาแก้ปัญหาชีวิตอันยุ่งเหยิง ซึ่งเป็นวิสัยส่วนของตานอกได้หมดจนสิ้นเชิง เขาก็ยังต้องพบกับความยุ่งยากอยู่อีก และเขาไม่ทราบว่า นั่นมันเป็นวิสัยส่วนของตาใน ก็แก้ไขมันไม่ได้ ทำให้ว้าวุ่นไป โทษนั่น โทษนี่ เดาอย่างนั้น เดาอย่างนี้ ก็ไม่อาจพบกับความสุขอันแท้จริงเข้าได้เลย นี่ ! จะเห็นได้แล้วว่า เพราะแก้มันไม่ถูก คือไม่ได้ใช้ตาในแก้ ที่ไม่ใช้เพราะตาในยังบอด ที่ยังบอดเพราะยังไม่ได้รักษา ที่ยังไม่ได้รักษา ก็เพราะตนยังไม่รู้เลยว่า ตาในมีอีกดวงหนึ่ง เป็นตาสำหรับพระนิพพาน คือความสุขอันเยือกเย็นแท้จริงของชีวิต

    ใจของเราบอดเพราะอวิชชา คือความโง่หลงยิ่งกว่าโง่หลงของเราเอง นั่นเอง เปรียบเหมือนเปลือกฟองไข่ที่หุ้มตัวลูกไก่ในไข่ไว้, เหมือนกะลามะพร้าวที่ครอบสัตว์ตัวน้อยๆ ซึ่งเกิดภายใต้กะลานั้นไว้ ฯลฯ เหมือนเปลือกแข็งของเมล็ดพืช ซึ่งหุ้มเยื่อสารในสำหรับงอกของเมล็ดไว้ แม้แสงสว่างมีอยู่ทั่วไป มันก็ไม่อาจส่องเข้าไปถึงสิ่งนั้น จิตที่ถูกอวิชชาเป็นฝ้าห่อหุ้ม ก็ไม่อาจสัมผัสกับพระนิพพานอันมีแทรกอยู่อย่างละเอียดยิ่งกว่าละเอียดในที่ทั่วไป ตลอดถึงที่ที่แสงอาทิตย์ส่องลงไปไม่ถึง

    ฉันใดก็ฉันนั้นเมื่อใดเปลือกฟองไข่ กะลามะพร้าว เปลือกแข็งนั้นๆ ได้ถูกเพิกออก หรือทำลายลง แสงสว่างก็เข้าถึงทั้งที่ไม่ต้องมีใครขอร้อง อ้อนวอน หรือขู่เข็ญบังคับมันเลย, นี่ฉันใด เมื่อฝ้าของใจกล่าวคือ อวิชชา อุปาทาน ตัณหา อันเป็นฝ้าทั้งหนาและบาง ทั้งชั้นนอก ชั้นกลาง ชั้นใน ถูกลอกออกแล้วด้วย "การปฏิบัติธรรม" แสงและรสแห่งพระนิพพานก็เข้าสัมผัสกันได้กับจิตนั่น เมื่อนั้น ฉะนั้น เราจึงเห็นได้ชัดเจน เห็นได้อย่างแจ่มแจ้งทันทีว่า พระนิพพานไม่ใช่จิต ไม่ใช่เจตสิกอันเกิดอยู่กับจิต ไม่ใช่รูปธรรม ไม่ใช่โลกบ้านเมือง ไม่ใช่ดวงดาว ไม่ใช่อยู่ในเรา ไม่ใช่เกิดจากเรา ไม่ใช่อะไรปรุงขึ้น ทำขึ้น มันเป็นเพียงสิ่งที่เข้าสัมผัสดวงใจเรา ในเมื่อเราได้ดำเนินการปฏิบัติธรรม ถึงที่สุด เป็นการเปิดโอกาสให้แก่พระนิพพานได้เท่านั้น




    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%">คัดจาก หนังสือ ชุมนุมเรื่องสั้น พุทธทาสภิกขุ พิมพ์ ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ




    ;aa42


    </TD></TR></TBODY></TABLE><!--msnavigation-->
     
  3. pbij

    pbij สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +19
    ยากมาก การใช้ชีวิตประจำวันที่ยังต้องพบกับข้าศึกพรหมจรรย์อยู่ทุกๆนาที
    แค่รักษาศิลให้สมบูรณ์ก็ยากแล้ว ไม่ต้องไปคิดถึงนิพพานหรอก
    ถามดัวเองง่ายๆ ว่ายังสามารถติเตียนตัวเองว่าบกพร่องในศิลได้อยู่หรือเปล่า
    1. ดำริในการออกจากกาม, ไม่พยาบาท, ไม่คิดเบียดเบียน
    2. ไม่พูดปด, ไม่พูดคำหยาบ, ไม่พูดเพ้อเจ้อ, ไม่พูดส่อเสียด
    3. ไม่ประพฤติผิดในกาม, ไม่ลักขโมย, ไม่เบียดเบียน

    แค่ในวันนึงๆ เราก็โกหก โกรธ ไม่รู้กี่ครั้ง ต่อกี่ครั้งแล้ว
     
  4. lonely_pkw

    lonely_pkw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +333
    1.สักกายทิฎฐิ - ชีวิตทุกคนต้องตาย ร่างกายไม่มีในเรา เราไม่มีในร่างกาย มีความรู้สึกว่าเราจะต้องตาย ถ้าตายคราวนี้ เราจะไม่ยอมไปอบายภูมิเป็นอันขาด ขึ้นชื่อว่า อบายภูมิ สวรรค์ พรหม เราไม่ต้องการ เราต้องการแค่พระนิพพานอย่างเดียว
    ; น้อมพิจารณาบ่อยๆจนมันเป็นปกติของใจ ไม่ใช่แค่คิดได้ หรือปากพูดนะครับ ต้องรู้สึกว่าเป็นความธรรมดาของใจจริงๆ

    2.วิจิกิจฉา - มีความเคารพใน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างจริงจัง ไม่ปรามาสทั้งต่อหน้าและลับหลัง
    ;ไม่สงสัยลังเลในผลของการปฏิบัติ อย่างที่คุณเป็นอยู่ ลองหาหนังสือหลวงพ่ออ่านดูนะครับ หลวงพ่อบอกทำอย่างไรแล้วไปนิพพานได้ ก็ตัดสินใจเชื่ออย่างนั้น ไม่ต้องลังเล

    3.สีลัพพตปรามาส - ไม่ลูบคลำศีล ตัวตาย ดีกว่าศีลขาด
     
  5. lonely_pkw

    lonely_pkw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +333
    เท่าที่ผมอ่านข้อความที่คุณโพส คุณคงไม่เคยศึกษาคำสอนของหลวงพ่อ
    ลองหาหนังสือของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง หรือ หลวงพ่อฤาษีลิงดำ อ่านดูก่อนนะครับ

    พระโสดาบันยังมี โกรธ ยังมีกิจกรรมทางเพศครับ
    แต่ เมื่อโกรธแล้ว จะไม่คิดอาฆาตพยาบาทจนถึงขั้นที่ไป ฆ่า หรือทำร้ายผู้ที่โกรธ เพราะเมื่อไปฆ่า ไปทำร้าย จะเป็นการทำผิดศีลข้อ1 ซึ่งพระโสดาบันไม่มีทางผิดศีลอยู่แล้วครับ อ่อ!! อีกอย่างคือ การที่พระโสดาบัน ท่านไม่ทำผิดศีล ไม่ใช่เพราะกลัวผิดศีลนะครับ แต่ท่านไม่ผิดศีล เพราะเป็นความ เป็นปกติของท่านเลยครับ
    เรื่องเพศ พระโสดาบันก็ยังมีเพศสัมพันธ์ได้ครับ แต่มีเฉพาะกับคู่ครองตนเอง ไม่นอกลู่นอกทาง

    อย่าลืมครับ อยากย้ำว่า พระโสดาบันท่านไม่ได้มาระวังว่าทำนั่นจะผิดศีลหรือปล่าว ทำนี่จะผิดศีลหรือปล่าว ท่านทรงศีลจนเป็นความปกติธรรมดา ไม่รู้สึกหนักแม้แต่น้อยครับ
    แต่ถ้าเป็นแบบคนเลวอย่างผม ที่อยากได้ดี ก็จะไม่สามารถเป็นแบบนั้นได้ จึงต้องพยายามระวังไม่ให้ผิดศีลอยู่ตลอดเวลา หมั่นระลึกบ่อยๆ

    ลองเปิดใจให้กว้าง ศึกษาคำสอนหลวงพ่อก่อนสิครับ ผมเชื่อว่าหลวงพ่อท่านไม่ทิ้งลูกหลานของท่านแน่นอน

    อนุโมทนาสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2008
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ได้สิครับ ทางออกอยู่นี่ ^-^
    การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

    ขณะดำเนินชีวิตประจำวันนั้น จะมีสิ่งต่างๆมากระทบผัสสะตลอดเวลา เมื่อธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดมากระทบและรู้เท่าทัน ก็ให้ปฏิบัติธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)นั้น เพราะธรรมหรือสิ่งที่มาผัสสะนั้นมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ตลอดจนจริตของนักปฏิบัติเอง จึงมีความชำนาญชํ่าชองในการเห็นการรู้ในธรรมทั้ง ๔ ที่ย่อมแตกต่างกันออกไปตามจริตและสังขารที่ได้สั่งสมไว้นั่นเอง และธรรมทั้ง ๔ นั้นเมื่อเห็นและรู้เท่าทัน ต่างก็ล้วนมีคุณอันยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น ดังนั้นในการดำรงชีวิตประจำวันแล้วมีสติเห็นในธรรม(กาย เวทนา จิต ธรรม)ใดก่อนก็ได้ เพราะย่อมเกิดคุณดังนี้

    รู้เท่าทันกาย เพื่อทำให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในกายอันเป็นที่รักยิ่งโดยไม่รู้ตัว เมื่อรู้ตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ ว่าล้วนสักแต่ธาตุ๔ หรือสิ่งปฏิกูล ล้วนต้องเน่าเสีย คงทนอยู่ไม่ได้ ฯลฯ. เห็นการเกิดดังนี้จนชํ่าชอง เช่น ส่องกระจกก็รู้เท่าทันว่าห่วงกาย เห็นเพศตรงข้ามที่ถูกใจ ฯลฯ. ก็รู้เท่าทัน ว่าสักแต่ว่ากายล้วนเป็นดั่งนี้เป็นต้น แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการดับในที่สุด

    รู้เท่าทันเวทนา เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในเวทนาความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่กระทบสัมผัส เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง เช่น เห็นรูปที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ, ได้ยินเสียง(คำพูด)ที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ เห็นอาหารที่ถูกใจหรือไม่ถูกใจ ก็ย่อมต้องเกิดความรู้สึก(เวทนา)ต่อสิ่งนั้นๆเช่นนั้นเอง ฯลฯ. เมื่อรู้เท่าทันจนชำนาญ จิตเมื่อเห็นความจริงการเกิดการดับและเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้บ่อยๆสักว่าเวทนาเป็นดังนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในเวทนาต่างๆเหล่านั้นในที่สุด

    รู้เท่าทันจิต เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดความอยากในจิตสังขาร(ความคิด ความนึกต่างๆ) เมื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า สักแต่เกิดแต่เหตุปัจจัยต่างๆตามความเป็นจริงอย่างปรมัตถ์ เป็นสังขารต่างๆทางใจเกิดขึ้นเช่น โทสะ(โกรธ) โลภ หลง ดีใจ เสียใจ ต่างๆ เมื่อเห็นว่าสิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย มันต้องเป็นเช่นนั้นเอง แล้วอุเบกขาไม่แทรกแซงเข้าไปคิดนึกปรุงแต่ง ก็จะเห็นการเกิด การดับได้ด้วยตนเอง จิตเมื่อเห็นความจริงเช่นนี้บ่อยๆสักว่าจิตเกิดเพราะเหตุปัจจัยเช่นนี้เอง ก็จักเกิดนิพพิทาในจิตสังขารความคิดปรุงแต่งเหล่านั้นในที่สุด

    รู้เท่าทันธรรม เพื่อให้เกิดนิพพิทาและภูมิรู้ภูมิญาณความรู้ความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ในสิ่งต่างๆนั่นเอง เมื่อเกิดกาย เวทนา หรือจิตตามข้างต้น แล้วเกิดเห็นธรรมะใดๆก็หยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือคิดนึกสังเกตุในสิ่งเหล่านั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างปรมัตถ์ การคิดนึกดังนี้ไม่ใช่การคิดนึกปรุงแต่งที่ก่อให้เกิดทุกข์ แต่เป็นคิดนึกที่จำเป็นในการดับทุกข์อย่างยิ่ง เช่นเห็นทุกข์หรือรู้ว่าเป็นทุกข์ก็รู้ว่าเกิดแต่เหตุปัจจัยใด(เห็นปฏิจจสมุปบาท), เห็นความไม่เที่ยง(เห็นพระไตรลักษณ์) ดังนี้เป็นต้น


    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ อย่างถูกต้อง

    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในขั้นต้นนั้น ต้องใช้สมาธิเป็นบาทฐานในการปฏิบัติ เป็นการฝึกสมาธิและสติในขั้นแรกอย่างเข้มข้น เพื่อให้เกิดสมาธิที่หมายถึงความตั้งใจมั่น แล้วน้อมจิตที่สงบตั้งมั่นดีแล้วอันย่อมมีกำลังแล้วนั้นไปพิจารณาสังเกตุศึกษาให้เห็นธรรม(สิ่ง)ต่างๆตามความเป็นจริงให้ชัดเจนขึ้น เช่นเห็นกาย และดำเนินก้าวต่อไปโดยการสังเกตุให้เห็นให้รู้เข้าใจเวทนา และจิตสังขารต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดจนใช้พิจารณาธรรมต่างๆเพื่อให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณเข้าใจในสภาวะธรรมต่างๆอย่างปรมัตถ์ถูกต้อง เมื่อปฏิบัติดังกล่าวดีแล้วก็ต้องนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันจึงจักถูกต้องและบังเกิดผลสูงสุดขึ้นได้

    การปฏิบัติสติปัฏฐาน๔ในสมาธิในเบื้องต้นนั้น หาที่สงัด ตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่นนั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อให้เกิดจิตเกิดความตั้งใจมั่นระดับเบื้องต้นก่อน คือ ไม่เลื่อนไหลไปสู่ฌานสมาธิระดับประณีตจนปฏิบัติไม่ได้ หรือลงภวังค์ หรือหลับไปอย่างง่ายๆ เพื่อจะได้ปฏิบัติให้เกิดสติและสัมมาสมาธิ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาทำความเข้าใจใน กาย เวทนา จิต และธรรมอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง(ปรมัตถ์) ก็เพื่อนำไปใช้ปฏิบัติจริงๆอีกครั้งในขณะดำรงชีวิตประจำวัน ไม่ใช่เฉพาะในการปฏิบัติในรูปแบบแผนเท่านั้น คือ ต้องนำไปฝึกฝนอบรมอีกครั้งหนึ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเป็นมหาสติ หรือเป็นดังเช่นสังขาร(ในปฏิจจสมุปบาท)แต่มิได้เกิดแต่อวิชชา, กล่าวคือเมื่อปฏิบัติโดยถูกต้องและประจำสมํ่าเสมอ จิตจะเริ่มกระทำตามสังขารที่ได้สั่งสมอบรมไว้เองโดยอัติโนมัติในชีวิตประจำวัน นั่นแหละมหาสติหรือสังขารธรรมอันถูกต้อง เป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุดในการปฏิบัติสติปัฏฐาน๔

    ที่มา : ปฎิจจสมุปบาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2008
  7. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    เพียงศีล 5 ไม่สามารถถึงซึ่งนิพพานได้ แล้วที่จริง ๆ ถ้าคนศีล 5 และยังไม่ละกามราคะโดยยังเสพเมถุนอยู่ไม่มีทางนิพพานได้แน่นอน เพราะขนาดพระอนาคามีท่านละกามราคะได้แล้วยังไม่ถึงซึ่งนิพพานเลย

    อย่างน้อยต้องมีศีล 8 เป็นปกติ ฆารวาสที่รักษาศีล 8 อยู่บ้านท่านปฏิบัติอยู่ที่บ้าน สวดมนต์ไหว้พระนั่งสมาธิเป็นประจำปกติ ลูกหลานไม่รู้หรอก พอตายเอาไปเผาปรากฏว่ากระดูกเป็นพระธาตุ มีพระอรหันต์คนไทยสองท่านเป็นพี่น้องกันด้วย ท่านหนึ่งเป็นคุณตา ท่านหนึ่งเป็นคุณยาย (ผมเคยอ่านประวัติท่านและในหนังสือนั้นมีรูปพระธาตุท่านด้วย) ใครมีหนังสือเล่มนี้อยู่กรุณาช่วยลงรายละเอียดเพิ่มเติมให้หน่อยเพื่อเป็นกุศลและเป็นกำลังใจให้ผู้ปฏิบัติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2008
  8. คีตเสวี

    คีตเสวี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2007
    โพสต์:
    980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +750
    โหเล่นถามแบบนี้เลย มา งั้นเรามาเป็นเพื่อนกัน แล้วค่อย ๆ คุยกันนะ มันเป็นเรื่องละเอียดอ่อนนะครับ

    เอาเป็นขอให้เห็นนิพพานในปัจจุบันให้ได้ แล้วความลับของคำตอบจะออกมาเองเลยนะครับ

    แต่ผมตัวเล็ก ๆ แบบเนี้ย ไม่สามารถยืนยันเรื่องนิพพานได้หรอกครับ แต่ถามว่าเคยเห็นไหม ตอบว่า เรื่องมันละเอียดอ่อนน่ะครับ
     
  9. tatumabcd

    tatumabcd เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2007
    โพสต์:
    470
    ค่าพลัง:
    +3,197
    ได้ครับ

    ลองหาหนังสือของหลวงพ่อฤๅษีลิงดำมาอ่านดูครับ ลองอ่านพวก หลวงพ่อตอบปัญหา ๑ - ๑๑ ดูก่อนก็ได้ครับ
     
  10. Laywoman

    Laywoman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +201
    ขอขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นและข้อแนะนำของทุกท่านนะคะ และจะนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติค่ะ
    อนุโมทนาสาธุ ค่ะ
     
  11. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,164
    ค่าพลัง:
    +3,739
    ตราบที่ยังไม่ออกจากความพอใจในกามคือรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และธรรมารมณ์ ก็ยังเข้าถึงนิพพานไม่ได้ ฆารวาสที่นิพพานก็ต้องละความพอใจในกามได้ ละสังโยชน์ 10 ได้ด้วยวิปัสนาปัญญาญาณ

    ถ้าฆารวาสที่ยังพอใจในกามคุณอยุ่แม้แต่เพียงข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่สามารถนิพพานได้ข้ออื่นจะไม่พูด เอาข้อกามเมสุมิจฉาฯ เป็นคู่ของตนเองไม่ผิดศีล แต่ถือว่าไม่ได้รักษาพรหมจรรย์ดังพวกท่านที่รักษาศีล 8

    กามราคะมันเป็นศัตรูกับฌาน และฌานเองมันก็เป็นผู้ปรามราคะ (ไม่เชื่อทดลองดูได้) แต่มันแค่กดทับไว้ ถ้าเสพเมถุนฌานจะเสื่อมไปด้วย เช่นกัน ถ้าทำฌานกามราคะก็จะหายไปด้วย ของสองอย่างนี้มันเข่นกัน

    สมาธิระดับฌาน(จตุถฌาน) เอกคตาอุเบกขา ถือว่าเป็นสมาธิขั้นที่ท่านสรรเสริญ สมาธิและฌานนี้ใช้กำจัดกิเลสระดับกลาง

    ส่วนกิเลสละเอียดที่เรียกว่าอนุสัยหรืออาสวะกิเลสที่เสมือนเป็นสันดานหรือสัญชาติญาณของสัตว์ที่ติดจิตเรามาทุกภพชาติอย่างแน่หนา เช่นต้องการผสมพันธุ์ ต้องการกิน ต้องการนอน ฯลฯ มันละไม่ได้ด้วยวิธีธรรมดาหรือสมาธิในระดับฌาน แต่ละได้ด้วยปัญญาที่เกิดจากวิปัสสนาญาณ...

    มีคนที่เป็นมิจฉาทิฐิอยู่ไม่น้อยที่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะละสัญชาติญาณหรืออนุสัยของคนที่เป็นพฤติกรรมปกติของสัตว์ และเขาก็ทำตามสัญชาติญาณแบบนั้น ๆ ไปจนตาย แล้วก็เป็นเหตุให้เกิดตาย ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ มันก็ละไม่ออก

    ท่านผู้มีปัญญาย่อมรู้ดีว่า ธรรมมันมีอยู่เป็นคู่ ๆ เมื่อมีได้เป็นได้ ย่อมไม่มีไม่เป็นได้ด้วยเช่นกัน เมื่อไม่มีไม่เป็นได้มันก็ต้องมีวิธี

    ดังที่พระพุทธเจ้าท่านตรองว่าเมื่อมีเกิดก็ต้องมีวิธีทำให้ไม่ต้องเกิดได้

    อย่างที่หลายท่านเขียนดังข้างบนนั่นแหละว่ามันละเอียด ลองคิดดูว่าฆารวาสศีล 5 จะทำได้ไหม ถ้าฆารวาสศีล 8 ไม่สงสัยเลยว่าสามารถนิพพานได้เพราะตัวอย่างก็มีมาแล้วหลายท่าน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2008
  12. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    ทำใจแบบไหนไปนิพพาน
    <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message -->
    [​IMG]


    [​IMG] [​IMG]

    ทำใจแบบไหนไปนิพพาน
    (ธรรมปฏิบัติเล่มที่ 17)

    โดย พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง




    "หลวงพ่อเจ้าขา คนที่จะสงบจิตก่อนจะตาย ทำใจแบบไหนไปนิพพานเจ้าคะ..?"

    ก่อนจะตายถ้าต้องการไปนิพพานนะ เขาทำแบบนี้ ให้ตัดสักกายทิฏฐิ มี ความรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เพราะว่าร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุไฟ มันมีการเกิดขึ้นในเบื้องต้น เปลี่ยนแปลงในท่ามกลาง สลายตัวไปในที่สุด เราไม่ขอยึดมั่นถือมั่นในร่างกายต่อไป ถ้าหากร่างกายตายเมื่อไรไปนิพพานเมื่อนั้น ตั้งใจแบบนี้นะ ตัวสุดท้ายนะตัวนี้

    "การจะไปนิพพานนี้พระไปมากกว่าฆราวาสใช่ไหมคะ...?"

    เพราะฆราวาส มากกว่าพระ (หัวเราะ) อ้าว..ไปมากจริงๆนะ เวลานี้ไปตั้งเยอะแล้วนะ เพียงแค่ 10 ปีกว่าๆ นี่เยอะแล้วนะ ไม่ใช่น้อยนะ พระเสียอีกลงล่างเสียบานเลย ไปดิ่งเลย

    "สาเหตุเพราะอะไรคะ...?"

    ประการที่ 1 ที่ง่ายที่สุด เรื่องเงินที่ถวายเข้ามา นี่ง่ายมาก เงินที่เขาถวายเข้ามาเป็นส่วนกลาง เผลอไปใช้เป็นส่วนตัว นี่ไม่เว้นเลย สตางค์เดียวลงอเวจี

    ประการที่ 2 เงินที่เขาถวายเป็นการส่วนตัว ใช้นอกรีตนอกรอย ที่ถวายหลวงพ่อโดยตรงหลวงพ่อใช้ได้แน่ ใช้ในฐานะหลวงพ่อ แต่ว่าใช้ในฐานะเจ้าสัวเมื่อไรก็เมื่อนั้นแหละ นอกทางพระ ใช่ไหม

    แต่ฉันใช้เงิน ง่าย เพราะอะไร เพราะใช้ในเรื่องของสงฆ์ใช้อะไรก็ได้ ทั้งหมดที่ใช้ไปเป็นเรื่องของสงฆ์ ถ้าเขาถวายเป็นการส่วนตัวโดยเฉพาะ อย่างจะไปอเมริกามีสตางค์ไหม เหลือเป็นค่าเครื่องบินเข้ากระเป๋าไป เข้ากระเป๋าสงฆ์ ถ้าเขาให้อย่างนั้นเอาไปใช้ได้ แต่ต้องไปในเรื่องประกอบโดยธรรม

    อย่าง ไปอเมริกา ไปทำไมรู้ไหม ฉันไปมาแล้ว 2 ครั้งไปฟื้นฟูกำลังใจพวกนั้น เขาก็ตั้งใจทำดี ต่อมาท่านบอกให้เว้นเสีย 2 ปี ให้เว้น 2 ปี จะได้รู้แน่ว่าใครมันจริงไม่จริง ถ้าคนที่เอาจริงยังเหลืออยู่ คนไม่เอาจริงก็สลายตัวไป ไม่งั้นก็ป้วนเปี้ยนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร
     
  13. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    อารมณ์พระโสดาบัน
    ท่านสาธุชนพุทธบริษัททั้งหลาย สำหรับคืนนี้ก็มาเริ่มปฏิบัติเนื่องในโสดาปัตติผล หรือว่า ปฏิบัติเพื่อพระโสดาปัตติมรรค การเจริญพระกรรมฐานนี่ พระพุทธเจ้ามีความต้องการให้ผู้ปฏิบัติทุกท่านเข้าถึงพระอริยมรรค พระอริยผล ถ้า เราจะปฏิบัติกันอย่างเลื่อนลอยก็มีความสุขเหมือนกัน แต่มีความสุขไม่จริง ที่จะปฏิบัติให้มีความสุขจริงๆ ก็จะต้องมีจุดใดจุดหนึ่งเป็นเครื่องเข้าถึงจึงจะใช้ได้
    ในอันดับแรกนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงต้องการผลอันดับต้น คือได้พระโสดาปัตติมรรคหรือพระโสดาปัตติผล หรือการที่เราเรียกกันว่า พระโสดาบัน
    ก่อนที่ท่านทั้งหลายจะศึกษาอย่างอื่น ก็โปรดทราบว่า สำหรับพระโสดาบันนี้ละสังโยชน์ได้ ๓ ประการ คือ:-
    ๑. สักกายทิฏฐิ ตัวนี้มีปัญญาเพียงเล็กน้อย เพียงแค่มีความรู้สึกว่าเราจะต้องตายเท่านั้น เป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต คิดอยู่เสมอว่าความตายเป็นธรรมดาของชีวิต เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงความตายให้พ้นได้ และความตายนี้ จะปรากฏกับเราเมื่อไรก็ไม่แน่นอนนัก และเชื่อว่า ตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายกลางคืน ตายกลางวัน อย่างนี้ไม่มีความแน่นอน
    เพราะว่าความตายไม่มีนิมิต ความตายไม่มีเครื่องหมาย แต่ถึงอย่างไรก็ดี เราก็ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไปได้ นี่สำหรับข้อแรกสักกายทิฏฐิ ที่เห็นว่าร่างกายก็คือ ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เรานิยมเรียกกันว่า ร่างกาย
    พระโสดาบันมีความรู้สึกว่ามีปัญญาเพียงเล็กน้อย รู้แค่ตายเท่านั้น ยัง ไม่สามารถจะจำแนกร่างกายว่าไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเราได้ ความรู้สึกของพระโสดาบัน ยังมีความรู้สึกว่าร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา ทรัพย์สินทั้งหลายยังเป็นเรา เป็นของเรา
    แต่ทว่ามีความ รู้สึกว่า สิ่งทั้งหลายที่เป็นของเรานี้ทั้งหมด เมื่อเราตายแล้วเราก็ไม่มีสิทธ์ที่จะเข้ามาครอบครอง หรือถ้าว่าเรายังไม่ตาย สักวันหนึ่งข้างหน้ามันก็ต้องสลายตัวไป เนื่องในข้อว่า สักกายทิฏฐิ พระโสดาบันคิดได้เพียงเท่านี้ ยังไม่สามารถจะแยกกาย ทิ้งไปได้ทันทีทันใด องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงกล่าวว่า พระโสดาบันมีปัญญาเล็กน้อย
    ในข้อที่ ๒ วิจิกิจฉา พระโสดาบันไม่สงสัยในคำสั่ง และคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    คำว่า คำสั่ง ก็ได้แก่ ศีล
    คำสอน ก็ได้แก่ จริยาอันหนึ่งที่เราเรียกกันว่า ธรรมะ เป็นความประพฤติดีประพฤติชอบ
    ศีล พระพุทธเจ้าสั่งให้ละ หมายความว่า ละตามสิกขาบทที่กำหนดให้ไว้ คำสอนทรงแนะนำว่า จงทำอย่างนี้จะมีความสุขอีกทั้งคำสั่งก็ดี ทั้งคำสอนก็ดี พระโสดาบันก็มีความเชื่อมั่นในคุณพระรัตนตรัย คือ เชื่อพระพุทธเจ้า ในการเชื่อก็ใช้ปัญญาพิจารณาก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าเชื่อ
    นี่สำหรับสังโยชน์ข้อที่ ๓ สีลัพพตปรามาส เพราะอาศัยที่พระโสดาบันมีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะนำบรรดาพระสงฆ์ว่า จงนำธรรมะนี้ไปสอน พระสงฆ์ก็ไปสอน พระโสดาบันใช้ปัญญาเพียงเล็กน้อยมีความเข้าใจดี ยินยอมรับนับถือคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระชินสีห์ ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสมา แล้วพระสงฆ์นำมาแสดง อาศัยที่ศรัทธาในพระรัตนตรัยทั้ง ๓ ประการนี้ พระโสดาบันจึงเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์
    เป็น อันว่าพระโสดาบัน ถ้าเราจะไปพิจารณาจริงๆ ก็ไม่เห็นมีอะไรสำคัญ มีสภาวะเหมือนชาวบ้านชั้นดีนั่นเอง ทีนี้เราจะกล่าวถึง องค์ของพระโสดาบัน ท่านที่เป็นพระโสดาบันจริงๆ นั้น มีอารมณ์ใจ
    คำว่า " องค์ " นี่หมายความว่า อารมณ์ที่ฝังอยู่ในใจ อารมณ์ใจของพระโสดาบันจริงๆ ก็คือ
    ๑. มีความเคารพในพระพุทธเจ้า
    ๒. มีความเคารพในพระธรรม
    ๓. มีความเคารพในพระสงฆ์
    ๔. มี ศีล ๕ บริสุทธ
    อันนี้ก็ตรงกับพระบาลี ที่องค์พระชินสีห์ตรัสว่า พระโสดาบันกับพระสกิทาคามี เป็นผู้มีอธิศีล
    สำหรับกิเลสส่วนอื่นจะเห็นได้ว่า พระโสดาบันยังมีกิเลสทุกอย่าง ตามที่เรากล่าวกันคือ:-
    โลภะ ความโลภ
    ราคะ ความรัก
    โทสะ ความโกรธ
    โมหะ ความหลง
    จะ ว่ารักก็รัก อยากรวยก็อยากรวย โกรธก็โกรธ หลงก็หลง แต่ไม่ลืมความตาย คำที่ว่าหลงก็เพราะว่า พระโสดาบันยังต้องการความร่ำรวยด้วยสัมมาอาชีวะ พระโสดาบันยังต้องการความสวยสดงดงาม ต้องการมีคู่ครอง
    อย่าง นางวิสาขามหาอุบาสิกา ก็ดี ภรรยาของพรานกุกกุฏมิตร ก็ดี ทั้งสองท่านนี้เป็นพระโสดาบัน ตั้งแต่อายุ ๗ ปี แต่ในที่สุด ท่านก็แต่งงานมีเครื่องประดับประดาสวยงาม เป็นอันว่ากิเลสที่เราต้องการกัน เนื่องจากการครองคู่ระหว่างเพศ พระโสดาบันยังมี และก็ยังมีครบถ้วน เพราะว่าอยู่ในขอบเขตของศีล
    ไม่ทำ กาเมสุมิจฉาจาร ไม่ละเมิดความรักของบุคคลอื่น ไม่ทำให้ผิดประเพณีหรือกฎหมายของบ้านเมือง และเป็นไปตามศีลทุกอย่าง คือรักอยู่ในคู่ผัวเมียตามปกติ
    นี่ ขอบเขตของพระโสดาบันมีเท่านี้ มีความต้องการรวยด้วยสัมมาอาชีวะ พระโสดาบันยังประกอบอาชีพ แต่ไม่คดไม่โกง ไม่ยื้อไม่แย่งใครเท่านั้น หามาได้แม้จะร่ำรวยแสนจะร่ำรวยก็ได้มาด้วยความบริสุทธ์ ไม่คดไม่โกงเขา พระโสดาบันยังมีความโกรธ ไอ้โกรธน่ะโกรธได้ แต่ว่าพระโสดาบันยังไม่ฆ่าใคร เกรงว่าศีลจะขาด
    พระโสดาบันยังมีความหลง แต่หลงไม่เลยความตาย ยังมีความรู้สึกอยู่ว่าต้องการชีวิต ชีวิตของเรามีอยู่ ต้องการทำประโยชน์ให้เกิดขึ้น ยังไงๆ เราก็ตายแน่ การที่จะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความตายไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้
    เป็น อันว่าถ้าเราพิจารณากันจริงๆ ความเป็นพระโสดาบันนี่รู้สึกว่าไม่ยากเลย สำหรับในวันนี้ก็จะขอแนะนำบรรดาท่านพุทธบริษัท ให้พยายามใคร่ครวญถึงความตายเป็นสำคัญ เรื่องความตายนี่ก็ดี การควบคุมอารมณ์จิตให้ปราศจากความฟุ้งซ่านก็ดี ควรจะทำให้เป็นปกติ ถ้าวันใดถ้าเราเผลอจากการควบคุมอารมณ์จิต ให้ระงับจากความฟุ้งซ่านก็ดี ควรจะทำให้เป็นปกติ ถ้าวันใดเราเผลอจากการควบคุมอารมณ์จิต ให้ระงับจากความฟุ้งซ่านก็ดี วันใดถ้าเราเผลอไปลืมนึกถึงความตายก็ดี ก็จงประณามตนเองว่าเรานี้เลวเต็มทีแล้ว
    เพราะว่าองค์สมเด็จ พระประทีปแก้วสอนตามความเป็นจริงทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านทั้งหลายจะพิจารณาเห็นได้ว่า คนและสัตว์ทุกอย่าง ทั้งคนและสัตว์ที่เกิดมาตายให้เราดูเป็นตัวอย่างและในเรื่องความตายนี้ไม่จำ เป็นต้องศึกษาละเอียด เห็นกันอยู่แล้วทุกคน เพราะว่าคนส่วนใหญ่ลืมคิดไปว่าตัวเองจะตาย เคยไปในงานศพชาวบ้าน แต่ไม่ได้เคยคิดว่าเราจะเป็นศพอย่างชาวบ้านที่เขาตายกัน
    นี่เราประมาทกันอย่างนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้แนะนำว่า "จงนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อย่าประมาทในชีวิต คิดว่าเราจะไม่ตาย"
    นี่ เป็นความคิดผิด เรื่องนึกถึงความตายเป็นอารมณ์นี่เป็นความดี เป็นปัจจัยสำคัญให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบันได้ง่าย จะยกตัวอย่างบุคคลที่มีความเคารพในองค์สมเด็จพระจอมไตร แล้วก็มีความเคารพในคำสั่งและคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจอมไตรหรือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน นั่นก็คือเปสการีธิดา เปสการีธิดานี่เคยอยู่เมืองอาฬวี
    วันหนึ่ง องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงเสด็จประทับสำราญอิริยาบถ อยู่ในพระคันธกุฎีมหาวิหาร ใน ตอนเช้าองค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงเสด็จไปแต่พระองค์เดียว ไม่มีใครติดตาม เข้าสู่เขตเมืองอาฬวี องค์สมเด็จพระชินสีห์ถือตอไม้เป็นธรรมาสน์ที่ประทับ ประทับยับยั้งอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านได้ฟังข่าวเข้าก็มาเฝ้าพระพุทธเจ้า นำภัตตาหารมาถวาย ขณะนั้นเปสการีธิดาคือลูกสาวนายช่างหูก (เปสการี แปล ว่า ช่างหูก ธิดา แปลว่า ลูกสาว) ทราบข่าวก็ไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากับเขาเหมือนกัน เมื่อเข้าไปแล้วถวายอาหารแก่องค์สมเด็จพระภควันต์เสร็จ
    หลังจากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเทศน์ ทรงเทศน์แบบสั้นๆ ว่า
    " ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต เพราะว่าชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ว่าความตายเป็นของเที่ยง ขอทุกท่านจงคิดไว้เสมอว่า อย่างไรก็ดีเราต้องตายแน่ สำหรับเวลากำหนดการตายของเราไม่มีแน่นอน เพราะความตายไม่มีนิมิตเครื่องหมาย ท่านทั้งหลายจงประกอบแต่ความดีเข้าไว้…
    ถ้า ใครสร้างความชั่ว ตายแล้วจะไปอบายภูมิมีนรกเป็นต้น เกิดมาเป็นคนก็จะมีแต่ความเร่าร้อน มีแต่ความลำบาก แต่ถ้าคนใดสร้างความดี คิดถึงความตายไม่ประมาทในชีวิต คิดไว้เสมอว่าเราต้องตายแน่ จงอย่าคิดว่า วันพรุ่งนี้ หรือเดือนหน้า ปีหน้า เดือนโน้น เราจึงจะตาย คิดไว้เสมอว่าวันนี้เราอาจจะตาย แล้วก็สร้างความดีเข้าไว้ ความดีจะส่งผลให้ท่านมีความสุข ทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพ…"
    และ เมื่อองค์สมเด็จพระนราสภพูดเท่านี้ องค์สมเด็จพระมหามุนี ก็เสด็จกลับ เมื่อพระพุทธเจ้าไปแล้ว เทศน์ที่พระพุทธเจ้าสอนก็ตามพระพุทธเจ้าไปด้วย คือไม่ตามชาวบ้านไปที่บ้าน ตามพระพุทธเจ้ากลับวิหาร คือชาวบ้านไม่สนใจ
    ทว่าสาวน้อยกลอยใจหรือเปสการีธิดา เธอ สนใจในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเหตุ ทุกวันทุกคืน เธอนึกถึงวงหน้าขององค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ ว่ามีดวงหน้าสวยงามคล้ายดวงจันทร์ และพระสุรเสียงขององค์สมเด็จพระภควันต์ก็แจ่มใสไพเราะ ลีลาแห่งการแสดงพระธรรมเทศนาก็น่าฟังเป็นที่ชื่นใจ เธอจำไว้ได้เสมอว่าองค์สมเด็จพระบรมศาสดา
    พระองค์ทรงสอนว่า… ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง ท่านทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต จงคิดแต่สร้างความดีไว้เสมอ…
    แล้ว เธอก็ทำความดีทุกอย่าง ตามที่บิดามารดาและองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ การแนะนำในคราวนั้น ก็มีศีลห้าเป็นสำคัญ
    เธอนึกถึงพระพุทธเจ้าทุกวัน จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน แบบที่เราภาวนาว่า พุทโธ
    เธอนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จัดเป็น มรณานุสสติกรรมฐาน
    เธอ ไม่ประมาทในการประกอบกรรมทำกุศล สร้างสิ่งที่เป็นมงคลไว้ตลอดชีวิต ที่ว่ามีสิทธ์เข้าถึงธรรม ไม่สงสัยในคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่ออารมณ์จิตของเธอดีอย่างนี้ มีอารมณ์ผ่องใส วันทั้งวันนึกถึงความตาย แต่ก็ไม่เศร้าหมอง คิดว่าเวลานี้แม่ของเราก็ตายไปแล้วเหลือแต่พ่อ สักวันหนึ่งพ่อก็ดี เราก็ดีจะต้องตาย
    แต่ก่อนที่เราจะตาย เราเป็นคนก็ควรจะเป็นคนดี เวลาเป็นผีควรจะเป็นผีดี คือผีที่มีความสุข ไม่ใช่ผีในอบายภูมิ เธอคิดอย่างนี้จนเป็นเอกัคคตารมณ์
    ทุก วันนึกถึงความตาย ทุกวันนึกถึงวงพักตร์ขององค์สมเด็จพระจอมไตร ทุกวันคิดถึงพระสุรเสียงขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ขึ้นใจจับใจจนเป็นเอกัคคตารมณ์
    เวลานั้นวันที่พระ พุทธเจ้าเทศน์ครั้งแรก เธอมีอายุได้ ๑๖ ปี ต่อมาเมื่อเธออายุย่างเข้า ๑๙ ปี องค์สมเด็จพระชินสีห์ทรงตรวจอุปนิสัยของสัตว์ในเวลาเช้ามืด เห็นนางตกในข่ายของญาณ ก็ตกใจว่านี่เรื่องอะไร ก็ทรงทราบด้วยอำนาจของญาณว่า
    ใน สายวันนี้ กุลสตรีคนนี้ก็จะถึงแก่ความตายด้วยอุบัติเหตุ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์จึงได้พิจารณาว่า ถ้าเราไม่ช่วยเธอ เธอจะมีคติที่แน่นอนไหม องค์สมเด็จพระจอมไตรทรงทราบว่า ถ้าเราไม่ช่วยเธอ เธอมีคติไม่แน่นอน
    คำว่า " คติ " แปลว่า การไป
    แน่ นอนหรือไม่แน่นอน ก็หมายความว่า ถ้าแน่นอนก็ไม่ไปทุคติ ไม่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก ไปเกิดเป็นเปรต เป็นอสุรกาย เป็นสัตว์เดรัจฉาน ต้องเกิดเป็นคน หรือเป็นเทวดา หรือเป็นพรหม ไปนิพพานอย่างนี้ ชื่อว่ามีคติแน่นอน
    องค์สมเด็จพระชินวรจึงมาคิดว่า ถ้าเราจะช่วยเธอ เธอจะมีคติที่แน่นอนไหม ก็ทรงทราบว่าถ้าทรงช่วยจะมีคติแน่นอน และพิจารณาต่อไปว่าช่วยเธอยังไงจึงจะมีคติที่แน่นอน
    องค์ สมเด็จพระชินวรก็ทรงทราบว่าถ้าเราถามปัญหาเธอ ๔ ข้อ เธอตอบเราให้สาธุการรับรอง พอจบคาถา ๔ ข้อ เธอก็จะได้บรรลุพระโสดาบัน การตายคราวนั้นของเธอก็จะไปสู่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นที่อยู่อันบรมสุข
    ฉะนั้น ในตอนเช้า องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ชวนใคร ไปองค์เดียวไปนั่งอยู่ในที่เดิม หลังจากนั้นแล้วคนมาเฝ้า (ขอเล่าลัดๆ) ลูกสาวของนายช่างทำหูกทำงานเสร็จ ตัดสินใจมาเฝ้าพระพุทธเจ้าก่อน องค์สมเด็จพระชินวรจึงได้ทรงมองดูหน้าเธอ เมื่อสบตากัน เธอก็ทราบว่าองค์สมเด็จพระภควันต์ต้องการให้เข้าไปใกล้ เธอเข้าไปแล้ว
    องค์สมเด็จพระจอมไตรจึงได้ถามปัญหา ๔ ข้อว่า
    " เธอมาจากไหน…? "
    เธอตอบว่า " ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
    พระองค์ทรงถามว่า "เธอจะไปไหน…?"
    เธอตอบว่า "ทราบพระเจ้าข้า" พระองค์ทรงถามว่า "เธอทราบหรือ…?"
    เธอก็ตอบว่า "ไม่ทราบพระเจ้าข้า"
    ปัญหา ๔ ข้อนี้ คือ:-
    ข้อที่หนึ่ง ทรงถามว่า "เธอมาจากไหน…?" เธอตอบว่า "อาศัยที่องค์สมเด็จพระจอมไตรถามว่า เมื่อก่อนจะเกิดมาแต่ไหน เธอไม่ทราบ"
    ข้อที่สอง ทรงถามว่า "เธอจะไปไหน…?" เธอตอบว่า "ตายแล้วไปไหน หม่อมฉันไม่ทราบ"
    ข้อที่สาม ท่านถามว่า "ไม่ทราบหรือ…?" เธอตอบว่า "ทราบว่ายังไงๆ ก็ตายแน่ พระเจ้าข้า"
    ข้อที่สี่ แล้วองค์พระพุทธเจ้าทรงถามว่า "เธอทราบหรือ…?" เธอก็ตอบว่า "ไม่ทราบ ก็เพราะว่าจะตาย เวลาเช้า เวลาสาย เวลาบ่าย เวลาเที่ยง ก็ไม่ทราบพระเจ้าข้า และไม่ทราบอาการตาย ยังไงๆ ก็ตายแน่"
    พระ พุทธเจ้าก็รับรองด้วยสาธุการ จึงถามเพียงเท่านี้ ความมั่นใจของเธอทำให้เธอเป็นพระโสดาบัน แต่ความจริงในตอนต้นนั้น เธอเข้าถึงพระโสดาปัตติมรรคอยู่แล้ว คือหนึ่งนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต ในข้อว่า สักกายทิฏฐิ เธอเข้าถึงแล้วในเบื้องต้น
    ข้อที่ ๒ เธอนึกถึงองค์สมเด็จพระทศพลบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ทุกวัน จัดว่าเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน
    ข้อ ที่ ๓ นึกถึงพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระชินวรทรงสอนไว้เสมอว่า ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง แต่ความตายเป็นของเที่ยง เธอทั้งหลายจงอย่าประมาทในชีวิต
    ข้อที่ ๔ ธรรมใดที่องค์สมเด็จพระธรรมสามิสร มีศีล ๕ เป็นต้น ที่องค์สมเด็จพระทศพลทรงสอนไว้ เธอจำได้ทุกอย่าง และปฏิบัติทุกอย่าง อย่างนี้ถ้าจะกล่าวกันไป ก็ชื่อว่าเธอเป็นโสดาปัตติมรรคแล้ว แต่ว่าอารมณ์จิตยังไม่มั่นคง
    ต่อมา เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเสด็จมาสนับสนุนอีกวาระหนึ่ง เธอมีความมั่นคงในความรู้สึก จิตมีความมั่นในคุณพระรัตนตรัย มั่นในความตาย คิดว่าเมื่อไหร่ก็เชิญ มันตายแน่ มั่นในศีลที่เธอรักษา แล้วก็มีศรัทธาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และในพระธรรมคำสั่งสอน
    อย่างนี้แหละบรรดาท่านทั้งหลาย องค์สมเด็จพระชินวรกล่าวว่า ท่านผู้นั้นเป็นพระโสดาบัน
    เป็น อันว่าท่านพุทธบริษัททุกท่าน กาลเวลาที่เราจะแนะนำกันวันนี้ ก็รู้สึกว่าจะหมดเวลาเสียแล้ว เท่าที่พูดมาแล้วนี้ทั้งหมด เป็นปฏิปทาที่เราจะปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน ท่านทั้งหลายมีความรู้สึกว่ายากไหม ถ้ายากก็ค่อยๆ คิด ค่อยๆ ทำไป
    ดูตัวอย่าง เปสการีธิดา เป็น ตัวอย่าง ว่าเขามีความรู้สึกอย่างไร ท่านจึงกล่าวว่าเธอเป็นพระโสดาบัน ย้อนหลังไปนิด เธอนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ไม่ประมาทในชีวิต แล้วกาลต่อไปเธอนึกถึงวงพักตร์ของพระจอมไตรบรมศาสดา คือ มีความเคารพในพระพุทธเจ้า นึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดา เป็นเอกัคคตารมณ์ อารมณ์ทรงตัว
    แล้วเธอก็ปฏิบัติตามกระแสพระสัทธรรมเทศนา ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน มีปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดเป็นต้น อย่างนี้องค์สมเด็จพระทศพลยอมรับนับถือว่าเธอเป็นพระโสดาบัน เข้าใจว่าท่านทั้งหลายผู้รับฟังคำสอนคงจะเห็นว่า คำสอนขององค์สมเด็จพระชินวรในตอนนี้เป็นของไม่หนัก แล้วก็เป็นของไม่ยากสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท
    สำหรับวันนี้ ก็หมดเวลาเสียแล้ว ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพยายามทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ จะนั่งก็ได้ จะยืนก็ได้ จะเดินก็ได้ จะนอนก็ได้ ให้จิตใจทรงอารมณ์ตามคำสั่งและคำสอน ที่กล่าวมาแล้วตั้งแต่ต้นจนอวสาน ชอบใจตรงไหนทำตรงนั้นให้ทรงตัวและผลที่ท่านทั้งหลายจะพึงได้ นั่นก็คือ ความเป็นพระโสดาบัน
    และ ต่อจากนี้ไป ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน พยายามทรงอารมณ์และตั้งไว้ในความดีตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้เวลาที่ท่านจะได้พึงปรารถนา สวัสดี
     
  14. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    ปัตตานุโมทนามัย... ก็ไปนิพพานได้ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ <hr style="color: rgb(255, 255, 255); background-color: rgb(255, 255, 255);" size="1"> <!-- / icon and title --> <!-- message -->
    ปัตตานุโมทนามัย... ก็ไปพระนิพพานได้ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
    <o></o>
    สำหรับพระเทศน์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเราก็ฟัง
    มานับไม่ถ้วน การเจริญสมาธิเราก็ทำแล้ว ฉะนั้นความดีใดที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงตรัสว่าเป็นบุญกิริยา เอาเฉพาะสามอย่างที่จัดเป็นจุดใหญ่ คือ
    • ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน เราทำ แล้วก็ทำแล้วหลายวาระ อย่าการถวายสังฆทานทุกวันหลายๆ ท่านอาจจะไม่ได้เป็นเจ้าของในการถวายสังฆทาน แต่ท่านทำบุญร่วม คนละเล็กคนละน้อยคนละมาก ตามกำลังศรัทธาก็ชื่อว่าเป็นเจ้าของทานเหมือนกัน นี่ประการหนึ่ง บางท่านไม่ได้บริจาคทรัพย์ร่วมด้วย แต่ยินดีในการถวายสังฆทาน อย่างนี้เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย ในบุญกิริยาวัตถุ เป็นอันว่าบุญสำเร็จด้วยการโมทนา คือการแสดงความยินดีด้วย<o></o>
    คนที่อาศัยปัตตานุโมทนา ตลอดกาลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนเข้าถึงพระนิพพาน นั้นคือ พระนางมัทรี หรือ พระนางพิมพา พระนาง นี่ไม่เคยทำบุญเลย นับตั้งแต่เป็นคู่บารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า<o></o>

    จนกระทั่งพระนางได้บรรลุอรหัตผล สมเด็จพระทศพลได้ตรัสกับ พระโมคคัลลาน์และ พระสารีบุตร ตอนที่ไปเยี่ยม พระนางพิมพา ตอนที่เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ สมเด็จ พระทรงสวัสดิ์ได้ทรงตรัสกับ พระสารีบุตร ว่า สารีปุตตะ ดูกร สารีบุตร พระโมคคัลลานะ ว่าดูกร โมคคัลลาน์ ทั้งสองท่าน เวลาที่ท่านจะเข้าเยี่ยมนางพิมพา เธอก็ถือว่า เวลานี้พระลูกเจ้าเสด็จมาแล้ว แต่ทว่าไม่มาหาเราถึงที่พัก เราก็ไม่ไปหาท่านเหมือนกัน<o></o>
    เมื่อองค์สมเด็จพระภควันต์ทรงทราบวาระน้ำจิตของพระนางพิมพา เมื่อเทศน์โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระประยูรญาติแล้ว สมเด็จพระประทีปแก้วจึงเสด็จไปเยื่ยม พระนางพิมพา ก็รู้อยู่ว่าเข้าไปในถึงตำหนักของ พระนางพิมพา พระนางพิมพา จะอาศัยความรักเดิมเข้ามากอดขาของพระองค์ พระองค์จึงได้บอก พระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตร ก่อนจะเข้าไปว่า ถ้าเราเขาไป พระนางพิมพา จะเข้ามากอดขาเรา เธอจงอย่าห้ามนะ เพราะเราไม่มีอะไรแล้ว ความรู้สึกในกามารมณ์ไม่สำหรับเรา ทว่าถ้าเธอห้าม พระนางพิมพา ล่ะก็ พระนางพิมพาจะอกแตกตาย เธอ จะไม่มีโอกาสได้ผลของความดี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า พระนางพิมพา ไม่เคยบำเพ็ญบารมีด้วยตนเองเลย มีอย่างเดียว โมทนากับเราเท่านั้น นับตั้งแต่เริ่มแรกบำเพ็ญบารมีเป็นต้นมา<o></o>
    ใช้เวลาถึง 4 อสงไขยกับแสนกัป เป็นคู่บารมีกันมาไม่เคยคลาดกัน แต่ ว่าคนที่ทำบุญจริงๆ คือ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ เมื่อทำไปแล้วเธอ เธอก็บอกยินดีด้วย โมทนา แม้ครั้งหลังที่มีความสำคัญสุด คือ ยกลูกทั้งสองให้เป็นทาสของชูชก เธอมีความเสียใจสลบไป เมื่อฟื้นขึ้นมา ขึ้นมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น พระเวสสันดร จึงได้บอกเธอว่า เราให้ลูกกับ ชูชก ไป ทั้งนี้เพราะปรารถนาพระโพธิญาณ ของเธอจงโมทนาด้วย เธอก็ยินดี โมทนาด้วย นี่เป็นอันว่า พระนางพิมพา นี่ไม่เคยทำบุญเอง ได้แต่ใช้แต่ ปัตตานุโมทนามัย อย่างเดียว นี่เทศน์แบบนี้ไม่ถูกหรอก จน ดีไม่ดีคนทุกคน ไม่มีใครทำบุญอ๊ะ ถ้าใครทำบุญ ฉันก็โมทนาด้วยด้วยจ๊ะ ไอ้เทศน์แบบนี้ เทศน์อด ไม่น่าจะเทศน์ใช่ไหม เอ่อ เดี๋ยวตัดใหม่ดีกว่านะ เทศน์ใหม่ซิ เทศน์ใหม่ก็เทศน์ไม่ได้เขาบันทึกเสียงไว้ เจ๊งอีกแล้ว<o></o>
    เป็นอันว่า เมื่อเข้าไป พระพุทธเจ้าเข้าไปแล้ว พระนางพิมพา เข้ามากอดขาจริงๆ สมเด็จพระผู้พระภาคเจ้าจึงแสดงพรธรรมเทศนาโปรด จนกระทั่งเธอคลายความเสียใจ หลังจากนั้น พระนางพิมพา ก็ขอบวชในพุทธศาสนาเป็นภิษุณี แล้วก็ได้เป็นอรหัตผล<o></o>
    นี่เป็นอันว่า ปัตตานุโมทนามัย บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนก็ทำมาเยี่ยง พระนางพิมพา แค่ปัตตานุโมทนามัย ก็เป็นพระอรหัตน์ได้ อึ แต่ไม่ค่อยดีนะ พระจะอด หรือไม่อด มีเจ้าภาพอยู่นะ อย่างไร ๆ ข้าวถ้วยหนึ่งโว้ย อิ่ม ทีนี้ท่านทั้งหลายทำความดีนะ ถ้าจะเทียบ มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มันเทียบกันไม่ได้ ท่านมีความความดีเท่านั้น ท่านเป็นพระโสดาบันได้ แต่พวกเราทำความดีขนาดนี้จะเป็นอะไรกัน สมมติว่าเวลานี้ บรรดา ท่านท่านหลายปฏิบัติธรรมกันทุกอย่างแต่ว่าบังเอิญอย่างยิ่งที่ใจมันดื้อ ที่ไม่มีโอกาสจะได้บรรลุมรรคผล แต่ว่าจิตใจของท่านพุทธศานิกชน รักอะไรบ้างล่ะ ที่รักจริงๆในด้านความดีที่เราจะเห็นกันได้ในเวลาด้านนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนิพพาน รักการเจริญ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ถ้ารักกองใดกองหนึ่ง เป็นที่ชอบอย่างยิ่งหรือบางท่านก็รักการถวายทาน เมื่อพระมาทีไรก็ถวายสังฆทานกันทุกคราว หรือเกือบทุกครั้ง ไอ้การถวายสังฆทานนี่เป็นเจ้าเองก็ดี ร่วมจัตุปัจจัยด้วยของเล็กน้อยก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นผู้ถวายสังฆทาน<o></o>
    ถ้าตายจากคนถ้า ใจไม่ละความดี ที่บอกเมื่อกี้ให้นึกถึงความตายไว้ทุกวันคิดว่าเราจะตายเรื่อยๆ ตื่นขึ้นมา ถ้าเราตายแล้วจะไปไหน ตั้งใจว่าด้วยอำนาจทาน ทานัง สัคคโส ทานัง ทานเป็นปัจจัยให้เกิดบนสวรรค์ทานที่เราให้ถ้าเราตายวันนี้เราไปสวรรค์ได้ ด้วยสีล สีเลนะ สุคติง ยันติ ศีลเป็นเครื่องปัจจัยให้เกิดในสวรรค์ สีเลนะ โภคสัมปทา ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติมากถ้าเป็นเทวดาก็มีทิพย์สมบัติมาก ถ้าเกิดมาก็เป็นร่ำรวย สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงนิพพานโดยง่าย


    โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง<o></o>
    รวมคำสอนธรรมปฏิบัติของหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เล่ม 8<o></o>

     
  15. Khunkik

    Khunkik เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2006
    โพสต์:
    2,150
    ค่าพลัง:
    +18,072
    คำสอนสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์ปฐม
    ทรงตรัสว่า
    เจ้าจงใคร่ครวญอย่างนี้ จงคิดว่าเราเป็นผู้ไม่มีอะไรเลย ทรัพย์สินก็ไม่มี ญาติ เพื่อน ลูก หลาน เหลน ก็ไม่มี แม้ร่างกายเราก็ไม่มี เพราะทุกอย่างที่กล่าวมามีสภาพพังหมด เราจะทำกิจที่ต้องทำตามหน้าที่ เมื่อสิ้นภาระคือร่างกายพังแล้วเราจะไปพระนิพพาน เมื่อความป่วยไข้ปรากฏจงดีใจว่า วาระที่เราจะมีโอกาสเข้าสู่พระนิพพานมาถึงแล้ว เราสิ้นทุกข์แล้ว คิดไว้อย่างนี้ทุกวัน จิตจะชินจะเห็นเหตุผล เมื่อจะตายอารมณ์จะสบายและจะเข้านิพพานได้ทัน<o></o>
     
  16. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อนุโมทนา จขกท.ค่ะ
    ขอยกคำเทศนาบางตอนของหลวงปู่เปรม เปมงฺกโร แห่งวัดบรมนิวาส
    จากหนังสือเปมานุสรณ์ ๙๐ บันทึกไว้ปีพ.ศ. ๒๕๑๗ มาแสดงค่ะ

    ฯลฯ<O:p</O:p
    มรรคผลนิพพานไม่ได้อยู่ที่ผ้าเหลือง มันอยู่ที่กำลังใจของแต่ละบุคคล<O:p</O:p
    ผ้าเหลืองมันเป็นเครื่องหมายเพศเท่านั้น<O:p</O:p
    เครื่องหมายเพศคืออะไร?<O:p</O:p
    อย่างทหารแต่งตัวอย่างนั้น ตำรวจแต่งตัวอย่างนั้น<O:p</O:p
    ผ้าเหลืองมันไม่ศักดิ์สิทธิ์อะไรหรอก ฮ่ะๆๆ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แล้วดูอริยมรรค ๘ ที่สำหรับปฏิบัติกำจัดกิเลสน่ะ มันพูดถึงเพศที่ไหนล่ะ ?...<O:p</O:p
    ไม่มี<O:p</O:p
    สัมมาทิฐิ--เห็นอริยสัจจ์ ๔ สัมมาสังกัปโป
     
  17. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อริยมรรคมีองค์ ๘ มีแต่ในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น
    ตราบเท่าที่ยังมีการปฏิบัติอริยมรรค ๘ อยู่ โลกจะไม่ว่างเว้นจากพระอรหันต์
    <O:p</O:p
    ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือนักบวช<O:p</O:p
    ถ้าปฏิบัติอริยมรรค ๘ หรือสติปัฏฐาน ๔ อย่างต่อเนื่องบ่อยๆเนืองๆ ถึงขนาดที่ว่า<O:p</O:p
    จิตอยู่ที่ไหน สติอยู่ที่นั่น<O:p</O:p
    สติอยู่ที่ไหน สมาธิอยู่ที่นั่น<O:p</O:p
    สมาธิอยู่ที่ไหน ปัญญาอยู่ที่นั่น<O:p</O:p
    ปัญญาอยู่ที่ไหน ศีล (เจตนางดเว้น) อยู่ที่นั่น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ศีล สมาธิ ปัญญา ( มรรค ๘ ) ทำงานสัมพันธ์กลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน<O:p</O:p
    หรือที่เรียกว่า มรรคสมังคี จนจิตหลุดพ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง

    เมื่อไหร่ มรรคสมังคี จนจิตหลุดพ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิง ก็คือถึงพระนิพพานค่ะ<O:p</O:p
    ^_^
     
  18. Nirvana

    Nirvana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    8,188
    ค่าพลัง:
    +20,860
    ฆราวาสไปถึงซึ่งพระนิพพานได้แน่นอน ครับ

    ดังมีในพระสูตร เรื่องสันติอำมาตย์ ซึ่งมีผู้นำมาโพสต์หลายครั้งในหลายห้องแล้ว ครับ

    การจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานไม่ได้เกิดจากการอธิษฐานจิตเพียงอย่างเดียว
    แต่จะต้องเข้าถึงด้วยมหาสติ มหาปัญญา น่ะครับ

    หนทางที่จะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานก็คือ โพธิปักขิยธรรม 37 ครับ
    หากปฏิบัติได้จริง ก็จะไปถึงจริง ดังเช่น โบราณจารย์ ท่านได้รจนาไว้

    ก็อย่างที่หลวงปู่ดู่ ท่านได้กล่าวไว้ว่า

    "ทำทาน ไปนิพพานด้วยถ่อ
    รักษาศีล เหมือนนั่งรถ นั่งเกวียนไป
    แต่ถ้าภาวนาได้ก็เหมือน ขี่เรือบินไป"
     

แชร์หน้านี้

Loading...