พระเครื่อง/เครื่องรางทั่วไป

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย tee_tores, 18 พฤษภาคม 2020.

แท็ก: แก้ไข
  1. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5250.jpeg IMG_5251.jpeg

    บูชา 2,500 บาท

    #เหรียญพระแก้ว
    #เหรียญฉลองกรุงรัตนโกสินณ์150ปี

    เหรียญพระแก้วมรกต พ.ศ.2470 โดยพระราชดำริ ร.7 เพื่อรวบรวมเงินใช้ในงานสมโภชกรุงเทพฯ 150 ปี พ.ศ.2475

    รายนามพระเถราจารย์ปลุกเสกในโบสถ์วัดพระแก้ว

    1. พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เจ้าพิธีฝ่ายสงฆ์
    2. สมเด็จพระวันรัต (แพติสสเทโว) วัดสุทัศน์
    3. พระธิวงศาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม
    4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เฃ้ม) วัดโพธิ
    5. หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
    6. หลวงพ่อเข้ม วัดม่วง ราชบุรี
    7. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    8. หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
    9. หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี
    10. หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธาราม สุพรรณบุรี
    11. หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี
    12. เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส
    13. หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สมุทรสงคราม
    14. หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี
    15. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
    16. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก
    17. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
    18. หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี
    19. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง
    20. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นครสวรรค์
    21. หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สมุทรสงคราม
    22. หลวงพ่อลา วัดโพธิศรี สิงห์บุรี
    23. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
    24. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
    25. หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์
    26. หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี
    27. หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    28. หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม สมุทรสงคราม
    29. หลวงพ่อชท วัดพุทไธสวรรย์ อยุธยา
    30. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสงคราม
    31. หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์
    32. หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ
    33. หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี
    34. หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง
    35. หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว
    36. หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี
    37. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
    38. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
    39. หลวงพ่อพิธ วัดระฆัง พิจิตร
    40. หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
    41. #หลวงพ่อสด #วัดปากน้ำ
    42. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก

    #เหรียญพระแก้วมรกต #พระแก้ว2475 #เหรียญพระแก้ว..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2024 at 10:49
  2. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5244.jpeg IMG_5245.jpeg IMG_5247.jpeg IMG_5246.jpeg

    รูปหล่อหลวงพ่อเงิน วัดสมาบาป ปี2515

    พิธีเดียวกับวัดบางคลาน

    บูชา 4,000 บาท
     
  3. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5256.jpeg IMG_5257.jpeg

    สมเด็จวัดเกษไชโย
     
  4. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5264.jpeg IMG_5263.jpeg IMG_5265.jpeg IMG_5262.jpeg IMG_5267.jpeg

    บูชา 4,000 บาท


    รูปหล่อ ลป.ทวดหัวมวย รุ่นแรก พิมพ์ฐานเตี้ย เนื้อโลหะผสม วัดอ่างทอง สงขลา พศ.2506

    หลวงปู่ทวดหัวมวยสร้างขึ้นในคราวหาทุนสร้างอุโบสถ วัดอ่างทอง สงขลา โดยท่านอ.ทิม (พระครูวิสัยโสภณ) วัดช้างไห้เป็นเจ้าพิธีในการสร้าง ทำพิธีเททองที่วัดอ่างทอง สงขลา ปี 2506 ชนวนมวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่ได้นำมาร่วมหล่อหลวงปู่ทวดนี้ มีมากมายเหลือคณานับได้ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถระบุรายละเอียดได้จนครบเช่นชนวนพระกริ่งรุ่นเก่าของวัดสุทัศน์,แผ่นยันต์จากพระเกจิอาจารย์สายใต้ และยังมีทองคำผสมลงไปด้วย เมื่อเททองเสร็จ อ.ทิม ก็นำกลับไปปลุกเสกที่วัดช้างให้อีกโดยมีพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีหลายองค์ เช่น หลวงพ่อแดง วัดนาประดู่ และอาจารย์นอง วัดทรายขาว เป็นต้น และท่านอ.ทิมได้อัญเชิญดวงวิญญาณหลวงปู่ทวดมาทรงอธิฐานจิตด้วย หลังจากนั้นท่านอจ.ทิมยังปลุกเสกเดี่ยวให้อีก 9 วัน พิธีพุทธาภิเษกยิ่งใหญ่มีเกจิอาจารย์ในยุคนั้นร่วมปลุกเสก จำนวนมากประมาณ 200 กว่ารูป เช่น
    ... พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้
    ... หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน
    ... หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
    ... หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
    ... หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    ... หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
    ... หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
    ... หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    ... หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม
    ... หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค
    ... หลวงพ่อทบ วัดชนแดน
    ... หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่
    ... หลวงปู่เขียว วัดหรงบน
    ... หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
    ... หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    ... หลวงปู่สี วัดสะแก
    ... หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    ... หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ
    ... หลวงปู่หิน วัดระฆังฯ
    ... หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว
    ... พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา
    ... หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา
    ... หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์
    ... หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม
    ... หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง
    ... หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
    ... หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระโหง
    ... หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว
    ... หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ
    ... หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิษฐ์
    ... หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    ... หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด
    ....หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม
    ... หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน
    ... หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
    ... หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    ... หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง
    ... หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม
    ... หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว
    ... หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์
    ... หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร
    ... เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์
    ... เจ้าคุณศรีประหยัด วัดสุทัศน์
    ... หลวงพ่อดี วัดเหนือ
    ... หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา
    ... หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด
    ... หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง
    ... หลวงพ่อมิ่ง วัดกก
    ... หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่าฯ
    ... หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
    ... หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
    ... หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    ... หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง
    ... หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน
    ... หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์
    ... หลวงพ่อนิล วัดครบุรี
    ... หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา
    ... หลวงพ่อบุดดา วัดกลางชูศรี
    ... หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2024 at 19:15
  5. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5260.jpeg IMG_5261.jpeg IMG_5270.png

    เหรียญพระศรีอาริย์ วัดไลย์ จ.ลพบุรี เนื้อทองแดง ขอบกระบอก ปี 2468 ห่วงเชื่อมเดิม สภาพใช้

    ตามประวัติว่ากันว่าหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ หลวงพ่อสายวัดพยัคฆาราม หลวงพ่อทองสุขวัดบางลี่และเกจิอาจารย์ยุคเก่าๆของลพบุรี ร่วมปลุกเสกครับ เนื้อหาดูง่ายชัดเจน ตามรูปเลยครับ ห่วงเดิมยังอยู่ครับ พระเก่าทรงคุณค่ามากๆครับ เรียกได้ว่าทรงคุณค่าเหนือมูลค่ามากๆครับ

    สำหรับเหรียญวัดไลย์ ปี๒๔๖๘นี้ เป็นอีกเหรียญเก่าอีกนะครับที่เซียนพระต่างต้องการเพราะผู้ที่มีติดตัวแล้วต่างมีประสบการณ์ไม่วาทางโชคลาภ แคล้คลาด เมตตามหานิยมเป็นเลิศ แนะนำให้เก็บเพราะเนื่องจากคุณจะได้พุทธคุณจากพระเกจิผู้เรืองนามด้วยเวทย์และอาคม อาทิ หลวงพ่อกลั่นแห่งวัดพระญาติ หลวงพ่อสายแห่งวัดพยัคฆาราม, หลวงพ่อทองสุข วัดบางลี่ ฯลฯ

    เหรียญพระศรีอาริย์
    วัดไลย์ ปี2468 เหรียญดี
    หายาก พุทธคุณสุดยอดเหรียญดี หายาก น่าเก็บ
    สังฆราชแพเป็นพระธาน ว่ากันว่าหลวงพ่อกลั่นมาปลุกเสกด้วย
    เป็นพระปีลึกที่น่าเก็บครับ พระดีพิธีใหญ่ เจตนาการจัดสร้างดี ปั้มขอบกระบอกแบบเหรียญหลวงพ่อกลั่นขอเบ็ด
    สร้างในยุคเดียวกันเลยตามประวัติมีพระมหาเถราจารย์ผู้ทรงคุณร่วมปลุกเสกดังนี้ สมเด็จพระสังฆราชฯแพ เป็นประธานพิธี
    1. พระอุปัชฌาย์ ก๋ง วัดเขาสมอคอน
    2. พระอุปัชฌาย์ กลั่น วัดพระญาติ
    3. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
    4. หลวงปู่สาย วัดพยัคฆาราม
    5. หลวงปู่กรัก วัดอัมภวัน
    6. หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค
    7. พระครูโวทาสมณคุต(หลวงพ่อรุ่ง) วัดเชิงท่า


    สำหรับหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาตินั้นชื่อเสียงเป็นที่โด่งดังเป็นผู้สร้างเหรียญปั๊มอันดับ 1 ยอดนิยมตลอดกาลของวงการพระเครื่องของที่ท่านเมตตาเสกให้นั้นมั่นใจได้ในพุทธคุณเรียกได้ว่าเรื่องคุ้มครองแคล้วคลาดคงกระพันชาตรีไม่เป็นสองรองใครในแผ่นดิน
    สำหรับหลวงพ่อสายแห่งวัดพยัคฆารามและหลวงพ่อทองสุขวัดบางลี่นั้นทั้ง๒รูปที่กล่าวนี้ท่านเป็นศิษย์เอกของอุปชฌาย์ก๋งแห่งวัดเขาสมอคอนซึ่งเป็นผู้เรืองเวทย์โดงดังในสมัยรัชกาลที่๕ และเป็นผู้ที่เรื่องด้วยวิทยาคมวัตถุมงคลของท่านก็รู้แล้วแต่มีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์และมีค่านิยมสูงมากๆด้วยกันทั้งสิ้น
    และพระเกจิดังๆในยุคสมัยนั้นเข้าร่วมปลุกเสกมากมายหลายรูปเลยครับ ..มาเก็บเหรียญวัดไลย์ดีก่าราคาย่อมพุทธคุณเยี่ยมแน่นอนครับ...

    สำหรับเหรียญพระศรีอาริย์ที่ปรากฎในรูปด้านบนเป็นเหรียญที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ลักษณะเหรียญเป็นใบเสมาคว่ำ ตรงกลางเป็นพระศรีอาริย์ ขอบเหรียญเดินด้วยลายกนกขนดนาค ประทับนั่งบนโต๊ะตั่ง๓ขา ข้างบนมีอักษรขอม อ่านว่า "พุท ธะ สัง มิ" ด้านหลัง มียันต์๕แถว๒๕ตัวขมวด๔มุมล่างสุดมีปี พ.ศ.๒๔๖๘ สำหรับเหรียญรุ่นนี้จัดสร้างไว้เพียงเนื้อเดียวคือทองแดงมีทั้งแบบกะไหล่ทองและไม่กะไหล่ ลักษณะการสร้างเหรียญเป็นการสร้างแบบโบราณคือ ใช้แผ่นโลหะที่หล่อและนำมารีบให้เรียบเสร็จแล้วนำมาว่าบนแท่นแม่พิมพ์แล้วใช้ฆ้อนทำการตอกประทับไปที่แม่พิมพ์จากนั้นจึงเลื่อยเป็นรูปเหรียญออกจากแผ่นเหล็ก ห่วงเหรียญแบบเดิมๆจะเป็นห่วงแบบเชื่อมเสร็จ

    บูชา 3,000 บาท รับประกันแท้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2024
  6. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5273.jpeg IMG_5274.jpeg

    บูชา 1,900 บาท
     
  7. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    185D5EFB-6349-4BFB-9215-880338E2B4AA.jpeg IMG_5281.jpeg IMG_5282.jpeg
    IMG_5311.jpeg IMG_5309.jpeg IMG_5308.jpeg IMG_5306.jpeg

    ตะกรุดผีเก็บ(เนื้อเงิน) อาจารย์เณร วิเศษณ์ สิงห์คำ วัดป่าสัก

    รูปถ่ายหนังไก่อาจารย์เณร ปี24 กว่า ที่แท้ทันท่าน

    #ที่มาเรียกขาน (ตะกรุดผีเก็บ) ที่เล่าต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นของชาวบ้านป่าสัก อาจารย์เณรท่านทำตะกรุดเมตตานี้ไว้ให้กับลูกศิษย์ลูกหา เป็ตะกรุดที่นำไปปลุกเสกที่ป่าช้าบ้านกลาง สันป่าตอง ตะกรุดท่านจะลงจารยันต์อักขระมาจากวัดป่าสัก ก่อนนำมาปลุกที่ป่าช้า ทำพิธีในป่าช้าโดยมีชาวบ้านละแวกนั้นและพระลูกวัดป่าสัก ติดตามไปด้วยจำนวนหนึ่ง ตะกรุดที่ท่านทำเล็กๆสั้นๆประมาณ1cm ดอกเดี่ยว จำนวน40-50ดอก เนื้อทองฝาบาตรและเนื้อเนื้อ ก่อนทำพิธีปลุกท่านได้นำตะกรุดโยนไปตามบริเวณป่าช้า(เมรุ) แล้วอาจารย์เณรก็บกให้ชาวบ้านรวมทั้งพระเณร ที่มา เข้าไปอยู่ในสายสิญสีเหลี่ยมที่ได้ลงอาคมยันต์ไว้ (ท่านบอกอย่าออกมาเด็ดขาด ข้าไม่รับลองถ้าออกจากสายสิญ) จากนั่นอาจารย์เณรก็เข้ามาในสายสิญพิธี และเอาบาตรที่ใส่ตะกรุดมา ไว้นอกสายสิญ จากนั่นท่านทำพิธีเรียกผีปลุกผี เพื่อใช้ผีให้ไปเก็บตะกรุดจากคำบอกเล่าของเช้าบ้านที่ได้ยิน (ว่า"ไปเก็บมาๆ มึงไปเก็บมา") (คำบอกเล่าของครูบาเลิศ) จากนั้นมีเสียงคล้ายคนเดินเยียบไม้เสียงกิ่งไม้หัก บริเวณรอบๆป่าช้า บ้างคนก็ว่าเห็นเงาดำๆบ้างคนก็ไม่เห็นได้ยินแต่เสียง แต่ เห็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์ท่านเรียกตะกรุดกลับมาในบาตรได้ อย่างไม่น่าเชื่อ พระเณรที่ไปก็ต่างพูดถึง ความเข้มขลังและจิตอันเป็นพลังของอาจารย์เณร ที่เรียกผีให้เก็บตะกรุดมาไว้ที่เดิมในบาตร ทั้งๆที่ท่านได้โยนออกไปหมดแล้วแต่ตะกรุดที่ได้กลับมาไม่ครบหมด กลับหลักสิบ ไม่มากนัก และได้แจกชาวบ้านเฉพาะคนที่เข้าร่วมพิธีในป่าช้า ที่เหลือให้บูชาไม่มากนัก. จึงเป็นที่มาของตะกรุดเมตตา (ผีเก็บ) ตะกรุดนี้ใช้ในทางเมตตา มหานิยม เจรจาการงานเข้าหาเจ้านาย คนรักชอบ ขอบคุณขอมูลจาก อ.แดง ฅ.ฅนกันเอง และหลวงพ่อเลิศ วัดป่าสัก มาณ.ที่นี้ด้วยครับ เรียบเรียงโดย ต้า เชียงใหม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2024 at 09:26
  8. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5294.jpeg IMG_5295.jpeg

    “พระนาคปรก เขาควายแกะ

    หลวงพ่อโศก วัดปากคลองบางครก จ.เพรบุรี
    พระเกจิยุคเก่าที่ใช้เขาควายเผือกฟ้าผ่าตายมาทำเป็นพระขรรค์หรือ"มีดหมอ" นั่นเองอย่างเช่นพระขรรค์ที่ทำด้วยเขาควายเผือกของ หรือวันถุมงคลต่างๆ
    เขาควายเผือกที่นำมาทำวัตถุมงคล ต้องตายโหง คือ ถูกยิงตาย ขวิดกันเองตายหรือถ้าถูกฟ้าผ่าตายได้ก็ยิ่งวิเศษ เขาควายนั้น จะต้องไม่ถูกต้มมาก่อนกล่าวคือเมื่อควายตายลงก็ต้องชำแหละตัดเขาออกสดๆ ไม่ต้องรอให้แล่ควายออกเป็นส่วน ๆแล้วจึงนำหัวมาต้มเพื่อเอาเขาออกได้ นำเขาควายนั้นมา แกะเป็นรูปพระขรรค์หรือวัตถุมงคล

    มีเรื่องเล่ากันว่า...เสือขาว ลูกศิษย์หลวงพ่อดิ่งแขวนพระปิดตา และตะกรุดหลวงพ่อดิ่ง แต่ไม่ประพฤติตนเป็นคนดีเป็นที่ต้องการตัวของตำรวจเป็นอย่างมาก อาวุธปืนไม่สามารถทำอันตรายเสือขาวได้แต่อย่างใดทางตำรวจจึงมากราบหลวงพ่อดิ่งผู้เป็นอาจารย์เพื่อปรึกษาหาแนวทางในการคัดของเสือขาวหลวงพ่อดิ่งท่านว่า ไม่มีอะไรคัดของของท่านได้ ยกเว้นอย่างเดียว คือ พระขรรค์หลวงพ่อโศก ผู้เป็นสหธรรมิกของท่านเพียงรูปเดียวโดยให้ใช้ปลายพระขรรค์เขียนคาถาตามที่ท่านให้ลงที่ลูกปืนผลสุดท้ายเสือขาวต้องจบชีวิตการเป็นโจรด้วยเหตุแห่งการล้างอาถรรพ์คัดของโดยพระขรรค์หลวงพ่อโศกวัดปากคลองฯอันศักดิ์สิทธิ์นี้

    ชิ้นนี้เป็นเขาควายแกะเป็นพระนาคปรกขนาดแขวนบูชา เหมาะสำหรับท่านที่เกิดวันเสาร์ ใช้แทนพระขรรค์ที่ราคาแพงๆได้เลย รับประกันเก่าเกินร้อยปีแน่นอน ไม่ยัดเกจิครับ

    บูชา 4,500 บาท
     
  9. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5301.jpeg IMG_5302.jpeg IMG_5305.jpeg IMG_5304.jpeg IMG_5303.jpeg

    เขี้ยวหมูตัน

    4,500 บาท
     
  10. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    ปิดครับ

    IMG_5315.jpeg IMG_5316.jpeg

    มีดหมอหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ออกวัดโขงขาว

    รับประกันแท้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤศจิกายน 2024 at 12:16
  11. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5496.jpeg IMG_5492.jpeg IMG_5491.jpeg IMG_5495.jpeg IMG_5493.jpeg IMG_5494.jpeg

    ตระกรุดกระดูกห่าน ลงจารขอม หลวงพ่อหรุ่น วัดอัมพวัน เลี่ยมทองอย่างดี

    เจ้าของเดิมบูชามา 3*,***

    บูชา 16,000 บาท

    ตระกรุดกระดูกห่าน หลวงพ่อหรุ่น เจ้าตำหรับยันต์เก้ายอดแม้ว่าอัตโนประวัติของพระเกจิอาจารย์นาม "หลวงพ่อหรุ่น" จะไร้หลักฐานข้อมูลอันแน่ชัด เช่นเดียวกับพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าทั้งหลายแต่ความน่าสนใจของหลวงพ่อหรุ่น คือฉายานาม "เก้ายอด" ที่ได้รับมาจากชื่อเสียงในด้านการสักยันต์พลิกแฟ้มข้อมูลของหลวงพ่อหรุ่น มีระบุเพียงว่า เกิดเมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๙o ที่บ้านตำบลเชียงราก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรของนายน้อย ใจอาภา และ นางคำ ใจอาภา อุปสมบท ณ วัดลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า ปีที่ท่านอุปสมบทนั้น เป็นปีพุทธศักราช ๒๔๓๑ มีพระญาณไตรโลก (สะอาด) อดีตเจ้าคณะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ครั้งยังเป็นที่ "พระธรรมราชานุวัตร" เป็นพระอุปัชฌาย์ ส่วนพระกรรมวาจาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์นั้น เป็นที่ถกเถียงกัน บ้างก็ว่าเป็นพระวัดลำลูกกานั้นเอง บ้างก็ว่าเป็นวัดกลางนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บ้างก็ว่าเป็นพระวัดสามไห แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นวัดลำลูกกามากกว่า
    :: ภายหลังจากอุปสมบทได้หลายพรรษาแล้ว ท่านจึงเริ่มเดินธุดงค์ ก่อนหน้านั้นนอกจากจะได้ศึกษาพระธรรมวินัยแล้ว ยังได้ร่ำเรียนด้านวิปัสสนากรรมฐานด้วย ภายหลังได้ธุดงค์มาปักกลดในบริเวณข้างวัดอัมพวัน ถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ชาวบ้านได้เห็นถึงวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด และมีคาถาอาคมแก่กล้าจึงได้นิมนต์ท่านมาพำนักที่วัดอัมพวันตั้งแต่บัดนั้น กล่าวสำหรับวัดอัมพวัน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ปีพุทธศักราช ๒๓๘๕ โดยพระยาราชชนะสงคราม (วัน) เป็นผู้สร้างเพื่ออุทิศแก่มารดาของท่านชื่อ "อ่ำ""จึงได้รับการขนานนามวัดว่า "วัดอ่ำวัน" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดอัมพวัน" เพื่อให้มีความหมายดีขึ้น
    :: วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๙๕ หลวงพ่อหรุ่น ในช่วงที่จำพรรษายังวัดอัมพวันแล้วนั้น ชื่อเสียงของท่านโด่งดังในด้านการ "สักยันต์" ยิ่งนัก โดยเฉพาะนักเลง "ก๊กเก้ายอด" ที่ท่านสักยันต์ให้จนได้รับฉายาว่า "หลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด"
    ในอดีดนั้นย้อนไปในปีพุทธศักราช ๒๔oo เมืองกรุงเทพหรือจังหวัดพระนครในสมัยนั้น มีก๊กนักเลงอยู่หลายก๊กด้วยกัน ที่ขึ้นชื่อก้อมี ลูกศิษย์หลวงพ่อโม วัดสามจีน (วัดไตรมิตรวิทยาราม) มีถิ่นอยู่แถวเยาวราช - วงเวียน 22กรกฎา แถววรจักร ก้อมีศิษย์หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร บางขุนพรม มีอาวุธประจำกายคือ ไม้ตะพดของหลวงปู่ภู หรือที่เรียกว่านิ้วเพชรพระอิศวร ว่ากันว่าหากใครโดนหัวไม้ตะพดตีนั้น อาจถึงแก่ชีวิต หลวงปู่ภูท่านจึงบอกศิษย์อยู่เสมอว่าอย่าใช้หัวไม้ตีใคร มันจะบาปตัวท่านเองด้วย
    :: ที่จะพูดถึงคือ แก๊งเก้ายอด ลูกศิษย์ของหลวงพ่อหรุ่น ใจภารา วัดอัมพวัน ราชวัตร กรุงเทพมหานคร หลวงพ่อหรุ่นท่านนี้แต่เดิมเป็นเสือเก่า ออกปล้นแถบ ปทุมธานี - อยุธยา จนมีชื่อเสียงเป็นที่เกรงกลัวไปทั่ว ฉายาของท่านคือ เสือหรุ่นแห่งเชียงราก ภายหลังนั้นท่านใด้เบื่อกับการปล้นจึงขอมอบตัวกับทางการ จึงใด้รับตำแหน่งกำนันจากนายอำเภอสมัยนั้น เป็นขุนวิกลใจภารา ชาวบ้านรักใคร่นับถือท่านทุกคน
    :: ต่อมาเมื่อท่านอายุใด้ ๔o กว่าปีใด้เกิดความเบื่อหน่ายในเพศฆราวาส จึงออกบวชและจำพรรษาอยุ่ที่วัดอัมพวัน ราชวัตร เขตดุสิต กรุงเทพฯ ใด้สร้างเครื่องรางคือตะกรุดกระดูกห่านและเหรียญซึ่งหายากมากจริงฯ หลวงพ่อหรุ่นท่านสักยันต์เก้ายอดให้แก่ศิษย์ ต่อมาภายหลังจึงใด้มอบวิชานี้ให้กับอาจารย์ภู่ ซึ่งถือว่าเป็นศิษย์เอกที่ใด้รับวิชาสักนี้ไป หลวงพ่อหรุ่นท่านมีบุตรชายคนโตชื่อ นายเสงี่ยม ใจภารา มีตำแหน่งเป็นทหารม้ารักษาพระองค์ภายหลังใด้เป็นมหาดเล็กใน เสด็จเตี่ย (พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) สมัยก่อนแก๊งเก้ายอดนี้มีถิ่นอยู่แถวนางเลิ้ง,ไปจนถึงดุสิต
    :: ว่ากันว่า ตะกรุดกระดูกห่าน หลวงพ่อหรุ่นเก้ายอด วัดอัมพวัน ท่านจารทะลุกระดูกเข้าไปอยู่ในข้อกระดูกด้านใน มีรอยจารด้านในก็น่าอัศจรรย์ดีที่เขาเรียกจารด้วยพลังจิต (แต่แอดมียังไม่เคยเห็นแบบที่มีรอยจารด้านใน)
    :: พระคาถาบูชา ตะกรุดกรุดูกห่าน โอมชิดมหาชิด โอมปิดมหาปิด สิทธิสวาหับ นะปิดตา โมปิดใจ พุทธปิดปาก ธาปิดหู ยะหลับนิ่งอยู่ อิติปาระมิตาติงสา ระงับอินทรา อิติสัพพัญญมาคะตา ระงับพรหมา อิติโพธิมะนุปปัตโต ระงับมะนุสสา อิติปิโสจะเตนะโม ระงับปีศาจ อิระชาคะตะระสา ติหังจะะโตโรถินัง ปิสัมวะโลปุสัตพุท โสมาณะกะริถาโท ภะสัมสัมวิสะเทภะ คะพุทปันทูทัมวะคะ วาโนอะมะมะวา อะวิสุนุสานุติ นะโมพุทธายะ ยะธาพุทโมนะ ปะระมังภะคะวา มะอะอุ ภะคะวา นะมะพะทะ จะพะกะสะ สุดยอดเป็นอาวุธประจำกายที่มีอานุภาพร้ายแรงที่สุดในจักรวาล ไปใหนมาใหนสู้ได้ทั้ง ๓ ไตรภพ นะท่านเอย :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2024 at 07:42
  12. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5573.jpeg IMG_5572.jpeg IMG_5574.jpeg IMG_5575.jpeg

    เหรียญมังคลายุ หลวงพ่อจง ปี2507

    เป็นเหรียญรุ่นเดียวเท่านั้น ที่องค์หลวงพ่อจง สั่งให้จัดสร้างครับ พระนอกนั้น มีคนสร้างมาให้ท่านอธิฐานจิตทั้งนั้นครับ ท่านไม่เคยเอยปากสร้าง มีรุ่นนี้รุ่นเดียวที่ท่านให้สร้างด้วยตัวท่านเอง และเหรียญรุ่นนี้ท่านไม่ได้เป่าพ่วงเดียวแบบวัตถุมงคลอื่น ๆ แต่ท่านอธิฐานจิตให้หลายวันเลยครับ โดยท่านอธิฐานให้ถึง 7 วัน โดยมีพระน้องชายแท้ๆ ของท่านอยู่ภายในเหรียญเดียวกัน (หลวงพ่อนิล) จากนั้นปี 2508 ต้นปี ท่านก็มรณภาพครับ
     
  13. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5579.jpeg IMG_5580.jpeg IMG_5583.jpeg IMG_5585.png IMG_5586.png

    ท้าวเวสสุวรรณ วัดมิ่งเมือง ท้าวเวสสุวรรณ วัดมิ่งเมือง จ.น่าน

    เนื้อผงว่านผสมเนื้อไม้เสาหลักเมืองน่าน สร้างโดย หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ปลุกเสกโดยหลวงพ่อวัดดอนตัน หลวงพ่อวัดศรีบุญเรือง หลวงปู่ก๋ง หลวงปู่โง่นและพระคณาจารย์เมืองน่านสมัยนั้นนับเป็นของดีเมืองน่านที่น่าบูชา ปีพุทธศักราช 2514 ดร.สุกิจ จุลละนันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน ในขณะนั้น ได้นำข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวน่านทั้งปวง ร่วมกันสร้างเสาหลักเมืองน่าน และสร้างศาลไทยจัตุรมุขครอบเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ โดยได้นำเอาเสาหลักเมืองน่านต้นเดิมที่โค่นล้มลงนั้น มาเกลาแต่งใหม่และสลักหัวเสาเป็นพรหมสี่หน้า วันหนึ่งหลวงปู่โง่นมาจำวัดที่วัดมิ่งเมืองท่านได้สังเกตุเห็น"เสาหลักเมืองเดิม" ที่หักโค่นมีคนนำไปพิงไว้ที่กุฏิ หลวงปู่โง่นจึงนำมาพิจารณาดูเปลือกไม้ด้านนอกผุกล่อนแต่เนื้อไม้ข้างในยังดี อยู่จึงให้คนนำไม้ไปเกลาเสียใหม่แล้วแกะเป็นพรหมสี่หน้าแล้วจึงนำมาเป็นเสา หลักเมือง น่านต่อไป "เศษไม้เสาหลักเมือง"ที่ผ่านการเกลาเศษจากการแกะสลักหลวงปู่โง่นมีความคิดเห็นว่า"เป็นของดีของศักดิ์สิทธิ์จึงไม่ควรทิ้ง

    บูชา 2,500 บาท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2024 at 09:02
  14. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,588
    ค่าพลัง:
    +53,107
    IMG_5587.jpeg IMG_5588.jpeg IMG_5589.jpeg IMG_5590.jpeg IMG_5591.jpeg

    แหวนหูมุ้ง เนื้อเงิน หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว

    เเหวนหูมุ้งหลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว
    ของดี ที่ถูกมองข้าม วงนี้ห่วงเชื่อมหลุด ใส่ได้นิ้วนาง/นิ้วก้อย รับประกันแท้ ไม่ยัดเกจิ

    บูชา 1,800 บาท

    ประวัติหลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี (พระวินัยธร) พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม พระบริสุทธิสงฆ์ผู้มั่นคงในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง โดยเน้นการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีฌานอันบริสุทธิ์และพลังจิตอันแก่กล้า จนสำเร็จอภิญญาสมาบัติ 'หลวงพ่อซวง อภโย' วัดชีปะขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี อดีตพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม ชาวบ้านในชุมชนยกย่องเปรียบเสมือนบิดา โดยเรียกขานท่านว่า 'พ่อใหญ่' จนติดปาก ส่วนศิษยานุศิษย์ที่อยู่ต่างถิ่นแดนไกล ให้สมญานามว่า 'เทพเจ้าแห่งเมืองสิงห์'

    อัตโนประวัติหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว มีนามเดิมว่า ซวง พานิช เกิดเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2442 ที่บ้านพัก ณ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายเฮง และนางอ่ำ พานิชอายุ 26 ปี เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดโบสถ์ อ. ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับวัดชีปะ ขาว มีหลวงพ่อเฟื่อง วัดสกุณาราม (วัดนก) อ.ไชโย จ.อ่างทอง ซึ่งเป็นพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม จ.อ่างทอง ผู้สร้างพระพิมพ์สมเด็จวัดนกอันลือลั่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า อภโย จากนั้นได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดชีปะขาว จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส สำหรับวัดชีปะขาว หรือวัดชีผ้าขาว (แก้ไขออก)

    หลวงพ่อซวง ได้รับการถ่ายทอดการฝึกกัมมัฏฐานเบื้องต้นจากพระอาจารย์คำ วัดสิงห์ ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี นอกจากเรียนกัมมัฏฐานเบื้องต้น หลวงพ่อซวงยังได้เรียนการทำธงพระฉิมและการสักยันต์บุตร-ลบอีกด้วย หลังจากนั้นได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์คำให้ไปเรียนวิชาอาคมเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแป้น วัดเสาธงใหม่ อ.บางปะหัน จ.พระนครศรีอยุธยา จากนั้นได้ร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆ จากหลวงพ่อแป้น ก่อนท่านแนะนำให้เรียนวิปัสสนาและวิทยาคมต่างๆ อาทิ วิชาทำแหวนชิน และการทำยาเปรี้ยวกับหลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน (วัดน้อย) ต.บ้านสวน อ.เมือง จ.สุโขทัย

    หลวงพ่อซวง เป็นพระเถระผู้มีจริยาวัตรอันงดงาม สมถะ ไม่ยึดติดรูปสมบัติ ฉันอย่างง่ายๆ ไม่ยอมรับปัจจัยใดๆ เป็นการส่วนตัว ท่านจะยกให้เป็นสมบัติของสงฆ์จนหมดสิ้น นอกจากนี้ ท่านยังได้ปฏิเสธการรับสมณศักดิ์และตำแหน่งใดๆ ที่เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรีสมัยนั้น (พระราชสิงหวรมุนี วัดสังฆราชาวาส) มอบให้ท่าน อย่างไรก็ตาม พระราชสิงหวรมุนี ได้ขอร้องให้ท่านรับตำแหน่งพระวินัยธร ซึ่งขณะนั้นว่างลงพอดี ท่านจึงจำเป็นต้องน้อมรับอย่างปฏิเสธมิได้ท่านเน้นการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีฌานอันบริสุทธิ์และพลังจิตอันแก่กล้า

    พระเครื่องหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี
    ด้านวัตถุมงคล หลวงพ่อซวง จัดสร้างไว้หลายประเภท ทั้งประเภทหล่อโบราณ เนื้อโลหะ เช่น พระลีลาหรือพระกำแพงเขย่ง เหรียญหล่อรูปเหมือนใบเสมา รูปหล่อ สมเด็จหล่อ พระกลีบบัวเนื้อปรอท นอกจากนี้ ยังมีรูปถ่ายอัดกระจก พระเนื้อผง พระปรอท พระบูชา ผ้ารอยเท้าหลวงพ่อซวง ธนบัตรขวัญถุง นางกวัก ตะกรุด รูปถ่าย แหวนหูมุ้งหรือแหวนชิน ธงพระฉิมหรือผ้ายันต์เม็ดมะม่วง ผ้ายันต์สิงห์คู่ พระเครื่องประสบการณ์ดีทางคงกระพัน ล็อกเกต ฯลฯ ก่อนที่จะมรณภาพ ท่านได้บอกกับคณะกรรมการวัดว่า ถ้าต้องการให้โบสถ์หลังใหม่ ซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่นั้นแล้วเสร็จ อย่าเพิ่งฌาปนกิจสังขารของท่าน มิฉะนั้นโบสถ์จะสร้างไม่เสร็จ คณะกรรมการวัดจึงปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของท่าน โดยเก็บรักษาสังขารของท่านไว้ในหีบไม้อย่างมิดชิด ประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญ เพื่อให้คณะศิษย์และชาวบ้านได้บูชากราบไหว้ และร่วมทำบุญสร้างโบสถ์หลังใหม่ ปรากฏว่าหลังจากนั้นไม่นานโบสถ์หลังใหม่ก็สร้างเสร็จตามคำประกาศิตของหลวงพ่อ

    หลวงพ่อซวง มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 18 ก.ค.2510 ที่โรงพยาบาลจังหวัดสิงห์บุรี สิริอายุได้ 69 ปี พรรษา 45 หลังจากท่านมรณภาพไปแล้ว 26 ปี เมื่อวันที่ 2 มี.ค.2536 คณะกรรมการวัดได้เปิดหีบไม้ที่บรรจุสรีระสังขารของหลวงพ่อซวง เพื่อทำพิธีฌาปนกิจ เกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ขึ้น พบว่าสรีระสังขารของท่านไม่เน่าเปื่อยไปตามกาลเวลา แต่มีเนื้อหนังมังสาอยู่ครบถ้วน แต่แห้งและแข็งเหมือนหิน คณะกรรมการวัด จึงเปลี่ยนใจ ไม่ประกอบพิธีฌาปนกิจ โดยนำร่างที่ไม่เน่าเปื่อยบรรจุไว้ในโกศขนาดใหญ่ และสร้างมณฑปเป็นที่ประดิษฐานไว้ภายในวัดชีปะขาว เพื่อเป็นที่บูชากราบไหว้ของคณะศิษย์และชาวบ้านทั่วไป
     

แชร์หน้านี้

Loading...