เรื่องเด่น อุเบกขาในการปฏิบัติ

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 3 กันยายน 2020.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    19,386
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,529
    ค่าพลัง:
    +26,367
    14459EFA-2514-43B6-BF4C-A02D833F39E2.jpeg

    พระอาจารย์กล่าวว่า "ในส่วนของการทำบุญในพระพุทธศาสนานั้นก็คือ ขอให้ได้ทำ ทำแล้วจะมีผลตอบแทนหรือไม่มีนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ในส่วนนี้ถือว่า เรามี
    อุเบกขาในการสร้างบารมี ซึ่งเป็นส่วนที่ยากมาก เพราะว่าส่วนใหญ่แล้วทำบุญก็ต้องการที่จะให้คนเห็น แต่ถ้าเราดูอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่
    ๙ พระองค์ท่านเมื่อพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดาให้กับข้าราชบริพาร ก็ตรัสว่าให้เอาทองมาปิดด้านหลังพระ

    พลตำรวจเอกวศิฎฐ์ เดชกุญชร ตอนนั้นยังเป็นตำรวจเวรราชองครักษ์อยู่ ได้กราบทูลถามว่า "ถ้ามัวแต่ปิดทองอยู่หลังพระ แล้วเมื่อไรคนจะเห็น ?" พระองค์ท่านตรัสว่า "ถ้าเราปิดมากพอ ทองจะล้นออกมาข้างหน้าให้จนคนได้เห็นเอง" นี่คือลักษณะของการทำความดีแบบมีอุเบกขา"

    "การปฏิบัติธรรมในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นทาน เป็นศีล เป็นภาวนา ถ้าเรามีไม่มีอุเบกขา โอกาสที่จะก้าวหน้าก็เป็นไปโดยยาก ในเรื่องของการให้ทาน ถ้าเราไม่
    มีอุเบกขาในการให้ทาน ให้แล้วบางคนก็ยังตามไปตรวจว่า ของที่ทำไปท่านได้เอาไปใช้เอาไปฉันจริงหรือเปล่า ? นั่นคือลักษณะของการขาดอุเบกขาในการให้
    ทาน ทำแล้ว ให้คนอื่นไปแล้ว แต่ยังไม่ขาดจากใจตัวเอง ยังยึด ยังเกาะอยู่ โอกาสที่จะติดอยู่แค่กามาวจรภูมิก็มีมาก

    ในการรักษาศีล เมื่อเราล่วงละเมิดศีลโดยไม่ได้เจตนา ถ้าเรามีอุเบกขา ก็คือปล่อยวาง แล้วตั้งหน้าตั้งตาชำระศีลให้บริสุทธิ์ใหม่ แต่ถ้าหากเราไม่มีอุเบกขา เรา
    ก็จะไปเศร้าหมองอยู่ตรงนั้นว่า เรารักษาศีลมาได้ตั้งนานแล้ว ไม่น่าที่จะบกพร่อง ลักษณะอย่างนั้น ถ้าเราตายตอนนั้น สภาพจิตเศร้าหมองจะนำเราไปลง
    อบายภูมิ

    ส่วนในเรื่องของการภาวนานั้น สมาธิทุกระดับจะมีตัวอุเบกขาอยู่เสมอ ตั้งแต่อุเบกขาของปฐมฌาน อุเบกขาของฌานที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ตัวที่ ๕ นี่ชัดเจนที่สุด
    เลย ก็คือเหลือแต่อารมณ์อุเบกขาล้วน ๆ เรียกว่า ปัญจมฌาน สำหรับบุคคลที่มาสายพระโพธิสัตว์จะเข้าถึงตรงจุดนี้ได้ ฉะนั้น...ถ้าเราขาดตัวอุเบกขา ซึ่งปน
    อยู่ในเอกัคตารมณ์ ก็คืออารมณ์ที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียว เราก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึงสมาธิภาวนาในแต่ละระดับได้อย่างแท้จริง

    ส่วนอุเบกขานั้นในวิปัสสนาญาณนั้น ก็คือการเลิกการปรุงแต่ง ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส ใจไม่นำมาคิด สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่า
    ได้ยิน สักแต่ว่าได้กลิ่น สักแต่ว่าได้รส สักแต่ว่าสัมผัส เมื่อใจไม่คิด ความดีความชั่วก็ไม่เกิด กุศลกรรมและอกุศลกรรมไม่เกิด ในเมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ไม่เกิด
    เพราะขาดการปรุงแต่ง คำว่า "ไม่เกิด" ก็คือ "ดับ" นิโรธคือความดับก็ปรากฏขึ้น โอกาสที่เราจะเข้าถึงพระนิพพานจึงจะมีได้"

    "พวกเราที่ร่วมใจกันเสริมสร้างขึ้นมาจนมีบ้านเติมบุญหลังนี้ ก็ขอให้พวกเรายึดหลักตรงนี้ว่า ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตาม ให้ทำลักษณะเดียวกันกับการที่เราสร้าง
    บ้านนี้ขึ้นมา ก็คือ ทำแบบปิดทองหลังพระ ทำแบบมีอุเบกขาในอารมณ์ ทำแล้วก็แล้วกัน ขอให้ได้ทำเท่านั้น

    ท้ายสุดนี้ในช่วงปีใหม่ ๒๕๖๐ อาตมภาพในฐานะส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย ขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างคุณพระศรีรัตนตรัย มีพระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆ
    รัตนะ เป็นประธาน มีบารมีของครูบาอาจารย์ทุก ๆ ท่านทุก ๆ องค์เป็นที่สุด ขอได้โปรดดลบันดาลให้ญาติโยมทั้งหลาย เป็นผู้ประสบแต่ความสุขความเจริญ มี
    ความปรารถนาที่สมหวังจงทุกประการ ขอให้อยู่รอดปลอดภัยในทุกสถานการณ์ แม้ประสงค์จำนงหมายสิ่งใดที่ไม่เกินวิสัยแล้วไซร้ ขอให้ความปรารถนาของทุก
    ท่าน จงสำเร็จสัมฤทธิ์ผลทุกประการด้วยเทอญ"

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เก็บตกจากบ้านเติมบุญ ต้นเดือนมกราคม ๒๕๖๐
    ที่มา : www.watthakhanun.com

    #ชุมชนคุณธรรม #วัดท่าขนุน
    #ชุมชนคุณธรรมฯวัดท่าขนุน
    #ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนด้วยพลังบวร
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...