มีวัตถุมงคลสายพระป่ากรรมฐานให้บูชาราคาเบาๆ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Somchai 2510, 8 กันยายน 2019.

  1. ธรรมศิล

    ธรรมศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +800
    ขอบูชารายการ 708 ครับ
     
  2. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 709 เหรียญรุ่นสมบูรณ์ บริบูรณ์หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดผาเทพนิมิต อ.นิคมนํ้าอูน จ.สกลนคร หลวงปู่บุญพินเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถั้ากลองเพล,หลวงปู่ชอบ ฐานสโม เป็นต้น เหรียญสร้างปี 2555 เนื้อนวะโลหะ สร้างเนื่ององค์หลวงปู่อายุครบ 80 ปี มีตอกโค๊ต 2 โค๊ตหน้าเหรียญ โค๊ตตัวเลข 343 เเละโค๊ตอักษร ศ จ หน้าเหรียญ พระใหม่ไม่เคยใช้ *** ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ ***
    หลวงปู่บุญพิน กตปุญฺโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร เดิมชื่อบุญพิน เจริญชัย เกิดวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ ๒๔๗๖ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ณ บ้านนาบ่อ หมู่ที่ ๖ ตำบลปลาไหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
    เรียนจบชั้น ป.๔ หลังจากเรียนจบแล้วก็ไม่ได้เรียนต่ออีก เนื่องจากต้องช่วยเหลืองานที่บ้านทำอาชีพหลักคือการทำนา
    ท่านได้อุปสมบท เมื่ออายุ ๒๓ ปี เมื่อวันที่ ๖ พ.ค. พ.ศ.๒๔๙๘ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะแม เวลา ๑๔.๓๕ น. ณ พัทธสีมาวัดป่าอิสระธรรม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร โดยมี หลวงปู่สีลา อิสสโร เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูบริบาลสังฆกิจ (หลวงปู่อุ่น อุตฺตโม) วัดอุดมรัตนาราม จ.สกลนคร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าประทีปปุญญาราม จ.สกลนคร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    ลำดับการจำพรรษา
    - พรรษา ๑ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่สีลา อิสสโร
    - พรรษา ๒ - ๓ จำพรรษาที่วัดสุทธิมงคล จ.สกลนคร
    - พรรษา ๔ จำพรรษาที่วัดป่าโครธาราม จ.อุดรธานี กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ และได้ปาฏิโมกข์ในพรรษานี้ หลังจากออกพรรษาแล้วได้ไปพักอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย ที่วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู
    - พรรษา ๕ ติดตามหลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่หลุย จันทสโร เพื่อศึกษาธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ
    -พรรษา ๖ จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย
    - พรรษา ๗ จำพรรษาที่อยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ออกพรรษาแล้วได้ไปวิเวกกับหลวงปู่บุญเพ็ง เขมภิรโต และธุดงค์ไปศึกษาธรรม กับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ
    - พรรษา ๘ จำพรรษาที่วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร พอออกพรรษาแล้วได้ธุดงค์ไปกับหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต เพื่อไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย หลังจากกราบลาหลวงปู่ขาวแล้ว ก็ได้ธุดงค์ไปหาหลวงปู่บัว สิริปุณโณ วัดป่าหนองแซง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
    - พรรษา ๙ จำพรรษาที่วัดป่าบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กับหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
    - พรรษา ๑๐ จำพรรษาที่วัดถ้ำจันใด จ.อุดรธานี ในพรรษานี้จำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว ออกพรรษาแล้วได้ออกเดินธุดงค์ไปกับ หลวงปู่ผาง ปริปุณฺโณ ไปวัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย ได้พักอยู่กับ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ระยะหนึ่ง จึงออกเดินธุดงค์กลับมายังวัดป่าแก้วชุมพล จังหวัดสกลนคร ไปพบกับ หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร แล้วออกเดินธุดงค์ขึ้นไปยังวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร ไปหา หลวงปู่วัน อุตตโม
    - พรรษา ๑๑ จำพรรษาที่วัดบ้านนาเหล่าอ้อย จ.อุดรธานี ออกพรรษาแล้วได้ไปพักที่วัดถ้ำกลองเพลอยู่กับหลวงปู่ขาว อนาลโย
    - พรรษา ๑๒ จำพรรษาที่วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พอออกพรรษาแล้ออกวิเวกธุดงค์กับพระอาจารย์ประสิทธิ์ ปุญฺญมากโร แล้วพบกับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร หลังจากนั้นได้เดินธุดงค์ไปหาหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม , พระอาจารย์คำผอง กุสลธโร, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ
    - พรรษา ๑๓ จำพรรษาที่วัดป่าผาแด่น จ.เชียงใหม่
    - พรรษา ๑๔ - ๑๕ จำพรรษาที่วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู กับหลวงปู่ขาว อนาลโย
    - พรรษา ๑๖ จำพรรษาที่วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี กับ หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ และ หลวงปู่จันทา ถาวโร
    - พรรษา ๑๗ จำพรรษาที่บ้านโคกก่องกับหลวงปู่จันทา ถาวโร
    - พรรษา ๑๘ จำพรรษาที่วัดบ้านสานตม จ.เลย
    - พรรษา ๑๙ จำพรรษาที่วัดภูทอก อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ กับหลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ หลังจากนั้นได้ไปหาพระอาจารย์ศรีนวล ขันติธโร ที่วัดศรีรัตนนิมิต จ.อุดรธานี
    - พรรษา ๒๐ จำพรรษาที่วัดศรีรัตนนิมิต กับพระอาจารย์ศรีนวล ขันติธโร
    - พรรษา ๒๑ - ๓๖ จำพรรษาที่ดงเชียงเครือมาตลอด หลวงปู่ได้ตัดสินใจสร้างวัดดงเชียงเครือ จ.สกลนคร ระหว่างที่จำพรรษาได้แนะนำพร่ำสอนอบรมญาติโยมให้รู้จักบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญเมตตาภาวนา ให้ตั้งอยู่ในพระไตรสรณคมน์ และได้ก่อสร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุในวัดดงเชียงเครือจนเสร็จสมบูรณ์ และยังได้ดำเนินการขอสร้างวัดตามกฎหมายของคณะสงฆ์หรือตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ตามลำดับ จนวัดดงเชียงเครือถูกต้องตามกฎหมายในที่สุด และได้ขอพระราชทานวิสุงคามสีมาด้วย
    - พรรษา ๔๐-๔๔ จำพรรษาที่วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร และในปี พ.ศ.๒๕๔๒ หลวงปู่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท ในพระราชทินนามที่ “พระครูสุวิมลบุญญากร”
    - พรรษา ๔๕ จำพรรษาที่วัดป่าม่วงไข่ บ้านม่วงไข่ จ.เลย
    - พรรษา ๔๖ จำพรรษาที่วัดผาเทพนิมิต จ.สกลนคร
    - พรรษา ๔๗ - ๔๙ จำพรรษาที่วัดผาเทพนิมิต จ.สกลนคร

    หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ ท่านเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นพระเถราจารย์ที่ชาวจังหวัดสกลนครและพุทธศาสนิกชนทั่วไปทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ต่างให้ความเคารพเลื่อมใสและนับถือ ปัจจุบันท่านพำนักปฏิบัติธรรมจำพรรษาอยู่ ณ วัดผาเทพนิมิต จังหวัดสกลนคร

    24584092811_n.jpg?_nc_cat=109&_nc_sid=2d5d41&_nc_ohc=vxFj4lKzRPAAX95W_T-&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ******บูชาที่ 545 บาทฟรีส่งems SAM_0656.JPG SAM_6753.JPG SAM_6754.JPG SAM_1590.JPG
     
  3. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 710 พระกริ่งรุ่นเเรกรุ่นเศรษฐีหลวงปู่สังข์ สังกิจโจ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.เเม่เเตง จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สังข์เป็นศิษย์หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม ,หลวงปู่เเหวน สุจิณโณ เป็นต้น พระกริ่งสร้างปี 2556 ้เนื้อทองเหลือง มาพร้อมกล่องเดิม *** ประวัติย่อๆพระครูภาวนาภิรัต ( หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ ) วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ***
    -:- ชาติภูมิ -:-
    นามเดิมของท่านชื่อ สังข์ คะลีล้วน เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๓ ณ บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม บิดาชื่อนายเฮ้า มารดาชื่อนางลับ คะลีล้วน ท่านมีพี่ชายติดโยมบิดา ๑ คน มีพี่ชายติดโยมมารดา ๑ คน และมีพี่น้องร่วมท้องเดียวกันจำนวน ๔ คน โดยท่านเป็นลูกชายคนที่ ๑
    -:- บรรพชา -:-
    ท่านเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ซื่งถือว่าสูงสุดในสมัยนั้น เมื่ออายุครบ ๑๘ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐาราม อ.เมือง จ.นครพนม โดยมีพระสารภาณมุนี(หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระเทพสิทธาจารย์) บรรชาเสร็จก็กลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ซื่งเป็นบ้านเกิด
    -:- ฟังธรรมจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต -:-
    เมื่อครั้งเป็นสามเณร ในขณะนั้นหลวงปู่มั่น ภิริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ได้มาพำนักที่วัดป่าบ้านหนองผือนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร สามเณรสังข์ในครั้งนั้นก็ได้มีโอกาสได้เข้ากราบนมัสการและรับฟังพระธรรมเทศนาจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตโดยตรง แต่ยังไม่ค่อยเข้าใจนักเพราะยังเป็นเด็กอยู่
    -:- ติดตามหาหลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม -:-
    ท่านเป็นสามเณรอยู่ 3 ปี สามารถสอบนักธรรมชั้นตรี และโท ได้จากสนามสอบวัดศรีชม ซึ่งเป็นวัดบ้านเพราะยุคนั้นสนามสอบของคณะธรรมยุติยังไม่มี
    ต่อมาท่านจึงได้ออกติดตามหาหลวงปู่ตื้อ อจลธมโม ซึ่งมีศักดิ์เป็นญาติทางยาย คือปู่ของหลวงปู่ตื้อเป็นพี่ชายของคุณยายของท่าน เคยได้ยินแต่กิตติศัพท์ของหลวงปู่ตื้อมานาน แต่ไม่เคยเห็นตัวจริงมาก่อน จึงอยากจะออกติดตามหาหลวงปู่ตื้อ และได้ขึ้นมา จ.เชียงใหม่เป็นครั้งแรก โดยมีพี่ชายของหลวงปู่ตื้อ มีพระและญาติโยมตามมาด้วย ซึ่งเมื่อถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ก็เข้าพักที่จังหวัดเชียงใหม่ก่อน ได้ยินว่าหลวงปู่ตื้อจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จึงตามไปพบท่านที่วัดป่าดาราภิรมย์ เมื่อได้พบหลวงปู่ตื้อแล้วก็พักอยู่ที่วัดป่าดาราภิรมย์ระยะหนึ่งจึงเดินทางกลับบ้านเกิดที่ จ.นครพนม
    -:- อุปสมบท -:-
    ใน พ.ศ.๒๔๙๓ อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม โดยมีพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตตโก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระทัด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์บุญส่ง โสปโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็อยู่จำพรรษาที่วัดป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม กับพระอุปัชฌาย์เป็นเวลา ๕ ปี ท่านสอบนักธรรมชั้นเอกได้ที่วัดป่าบ้านสามผงแห่งนี้ แล้วทำหน้าที่เป็นครูสอนนักธรรมช่วยพระอุปัชฌาย์
    -:- ออกวิเวกทางภาคเหนือ -:-
    จากนั้นปี พ.ศ.๒๔๙๙ หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ จึงออกเดินทางขึ้นเหนือเพื่อมาอยู่กับหลวงปู่ตื้อ อจลธมโม ที่วัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ที่นี่ท่านได้เรียนบาลีไวยากรณ์กับพระมหามณี พยอมยงย์ จนจบชั้นหนึ่ง สอบได้แล้วจึงหยุดเรียน เพราะจิตใจใฝ่ในทางธุดงค์มากกว่า ท่านจึงได้ออกวิเวกแถบจังหวัดเชียงราย โดยมีพระอาจารย์ไท ฐานุตตโม วัดเขาพุนก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เป็นสหธรรมิก เที่ยววิเวกไปด้วยกัน ได้พบพระอาจารย์มหาทองอินทร์ กุสลจิตโต ที่วัดถ้ำผาจรุย อ.ป่าแดด จ.เชียงราย
    -:- พำนักที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ -:-
    หลวงปู่ตื้อ อจลธมโม ได้สร้างวัดป่าสามัคคีธรรมขึ้นซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๙ หลวงปู่สังข์ได้กลับจากเที่ยววิเวกมาจำพรรษากับหลวงปู่ตื้อที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ ท่านได้พัฒนาและบูรณะวัดนี้มาโดยตลอด

    ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอาจารย์ตื้ออย่างเป็นทางการ ได้สร้างอุโบสถหนึ่งหลัง ในปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้รับพระราชสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่พระครูภาวนาภิรัต หลวงปู่สังข์ สังกิจโจได้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มาเป็นเวลากว่า 54 ปีแล้ว ปัจจุบันหลวงปู่อายุจะครบ 89 ปี พรรษา 69 ในวันที่ 24 กัยยายน 2563 นี้ครับ(่ท่านยังทรงธาตุทรงขันต์อยู่ครับ) >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ *******บูชาที่ 545 บาทฟรีส่งems มาพร้อมกล่องเดิม SAM_6773.JPG SAM_6774.JPG SAM_6775.JPG SAM_6776.JPG SAM_1581.JPG SAM_1967.JPG



     
  4. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 711 เหรียญรูปไข่หลวงป่คำบ่อ ฐิตปัญโญ พระอรหันต์เจ้าวัดใหม่บ้านตาล อ.สว่างเเดินดิน จ.สกลนคร หลวงป่คำบ่อเป็นศิษย์หลวงป่เเหวน สุจิณโณ วัดดอยเเม่ปั๊ง เหรียญสร้างปี 2549 เนื้อทองเเดงผิวไฟ สร้างเนื่องเป็นที่ระลึกฉลองพระอุโบสถ มีตอกโค๊ตตัวเลข 476 เเละโค๊ตคำว่า คำบ่อ ตรงผ้าสังฆาฏิ
    20181008-Banner-Page-01-04-1200x480.jpg
    วัดใหม่บ้านตาล (พระบรมธาตุเจดีย์ศรีมงคล)
    วัดใหม่บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระบรมธาตุเจดีย์นี้ หลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ ได้นำชาวบ้านตาลและชาวบ้านใกล้เคียง คณะญานุศิตย์และพุทธศาสนิกชน ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ร่วมกันสร้างขึ้นเมื่อวันอังคารที่ ๑๕ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๕ แรม ๑๐ ค่ำเดือน ๖ ปีมะโรง และแล้วเสร็จเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีวอก รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง ๔ ปี ๕ เดือน ๒๗ วัน เป็นพระบรมธาตุ ๙ ยอด
    “ประวัติโดยย่อหลวงปู่คำบ่อ ฐิตปัญโญ”
    นามเดิม คำบ่อ พวงสี ถือกำเนิดเมื่อวันพุทธที่ ๑๑ เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๔ ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีมะแม ที่บ้านตาล ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มีพี่น้องรวม ๗ คนบิดาชื่อ ทอง พวงสี (ต่อมาได้บวชเป็นพระและจำพรรษาที่วัดบ้านตาลจนกระทั่งมรณะภาพ) มารดาชื่อ ภู่ พวงสี อุปสมบทเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ เดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๙๕ แรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง ขณะอายุได้ ๒๐ ปี ๕ เดือน ๑๐ วัน ณ วัดเจริญราษฎร์บำรุง ได้ธุดงติดตามครูบาอาจารย์ อาทิ หลวงปุ่พรม จิรปุญโญ หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปุ่ฝั้น อาจาโร หลวงปูสิม พุทธาจาโร หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปุ่ตื้อ อจลธัมโม ท่านพ่อสี ธัมมธโร และหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ฯลฯ ไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ รวมระยะเวลา ๒๒ ปี

    ด้านสารณะประโยชน์ หลวงปู่ช่วยดูแลการก่อสร้างอุโบสถที่วัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่ จนแล้วเสร็จ และมาเริ่มสร้างวัดบ้านตาล เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ จนถึงปัจจุบันวัดบ้านตาลมีเนื้อที่ ๒๕๕ ไร่ ทั้งเป็นกำลังสำคัญร่วมกับหลวงปู่วัน อุตตโม ในการหาทุนทรัพย์เพื่อสร้างโรงพยาบาลสว่างแดนดิน ซึ่งต่อมาคือ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน เมื่อครั้งแรกเริ่มของการก่อสร้าง ฯลฯ ท่านดำรงตนอยู่ในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งได้แนะนำและสนับสนุนพระภิษุสามเณรให้ศึกษาทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ตลอดจนสั่งสอนศิตยานุศิตย์และผู้คนทั้งหลายให้ประพฤติตนอยู่ในศิลธรรมตามคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และย้ำสอนเสมอถึงหลักความจริงว่า “คนเราเกิดมาในโลกนี้ไม่มีใครผ่านพ้นความแก่ ความเจ็บ และความตายไปได้ ชั่วดีมีจน เป็นคนชนิดไหน ก็ไม่พ้นสัจธรรมตัวนี้ไปได้ ๏ สถานที่จำพรรษา
    พรรษาที่ ๑ (พ.ศ. ๒๔๙๕)
    วัดตาลนิมิตร บ้านตาล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    พรรษาที่ ๒ (พ.ศ. ๒๔๙๖)
    วัดประชาอุทิศ อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบัน จ.ยโสธร)
    พรรษาที่ ๓ (พ.ศ. ๒๔๙๗)
    วัดวิเวการาม ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
    (ออกพรรษาปลายปี ๒๔๙๗ เดินทางไปภาคใต้)
    พรรษาที่ ๔-๖ (พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๕๐๐)
    วัดวิเวการาม ต.บางพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
    พรรษาที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๐๑)
    วัดป่านันทนาราม อ.เถิน จ.ลำปาง
    พรรษาที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๐๒)
    ถ้ำแดนสวรรค์ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    พรรษาที่ ๙-๑๐ (พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๔)
    ป่าเมี่ยงแม่สาย ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    พรรษาที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๐๕)
    หมู่บ้านจวงเรื้อน อ.พาน จ.เชียงราย
    พรรษาที่ ๑๒-๑๘ (พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๑๑)
    ป่าเมี่ยงแม่สาย ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    พรรษาที่ ๑๙ (พ.ศ. ๒๕๑๒)
    เหมืองแร่ผาปก ต.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี (ปัจจุบันเป็น อ.สวนผึ้ง)
    พรรษาที่ ๒๐-๒๑ (พ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔)
    ป่าเมี่ยงแม่สาย ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    พรรษาที่ ๒๒-๒๔ (พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๗)
    วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    พรรษาที่ ๒๕-ปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๑๘-ปัจจุบัน)

    วัดใหม่บ้านตาล ต.โศกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาด้วยครับ ******บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems SAM_6067.JPG SAM_6725.JPG SAM_6726.JPG SAM_2473.JPG

     
  5. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>เช้าวันนี้ได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 2 ท่าน เลขที่จัดส่งems ตามใบฝอยที่ลงครับผม SAM_7129.JPG
     
  6. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 712 เหรียญเสมารุ่นพุธบูชา+เหรียญสตางค์พุทโธหลวงปู่สิม พุทธาจาโร พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้าผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ หลวงปู่สิมเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคกลาง เหรียญเสมาสร้างปี 2518 เนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล ,ส่วนเหรียญสตางค์เนื้อทองเเดงรมดำ สร้างที่วัดเขามดเเดง จ.ปราจีนบุรี ประวัติย่อโดยสังเขป
    พระญาณสิทธาจารย์
    (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
    วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
    "พระอริยเจ้าผู้มีกลิ่นศีลธธรมกำจรกำจาย" 1.png
    พระเดชพระคุณหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร พระอริยเจ้าผู้ทุ่มเทชีวิตจิตใจในเพศพรหมจรรย์ บากบั่นดำเนินตามรอยพระบูรพาจารย์ อุปนิสัยละมุนละไม มีเมตตาเป็นสาธารณะ ใจเด็ด มุ่งหวังเพียงความพ้นทุกข์ ได้รับคำชมจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ว่า "เป็นดอกบัวที่ยังตูมอยู่ เบ่งบานเมื่อใดจะหอมกวาหมู่"
    ท่านเที่ยวธุดงค์ไปตามป่าเขาและยอดดอยทั่วทุกภาค ขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นยังมีชีวิตอยู่ท่านจะเที่ยวเข้ามาวนเวียนฟังธรรมภาคปฏิบัติอยู่เสมอ เมื่อท่านพระอาจารย์มั่นท่องเที่ยวธุดงค์ไปทางภาคเหนือ ท่านก็จะติดตามไปอาศัยอยู่ในรัศมีธรรมของท่านพระอาจารย์มั่นเสมอมา
    ท่านชอบอยู่ตามท้องถ้ำและภูเขาสูงตราบจนวัยชรา เก่งมนการพิจารณาอสุภะกรรมฐาน ท่านสามารถอรรถาธิบายในกายคตาสติกรรมฐานพิจารณากระดูก ๓๐๐ ท่อนได้อย่างพิสดาร ท่านถือเคร่งใน "โสสานิกังคธุดงค์" คือ ธุดงค์ข้อ ๑๑ ว่าด้วย การเข้าไปเยี่ยมและอยู่ในป่าช้า พิจารณาซากศพเป็นวัตร ท่านเป็นผู้มีใจหนักแน่นมั่นคงไม่หวั่นไหว ในโลกธรรมทั้งหลาย
    ******ท่านเกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันศุกร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีระกา เวลาประมาณ ๒๑.๐๐ น. ที่บ้านบัว ตำบลสว่าง อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นบุตรของนายสาน และนางสิงห์คำ วงศ์เข็มมา ในคืนที่ท่านมาปฏิสนธิ มารดานิมิตเห็นพระสงฆ์รูปหนึ่งเหาะมาจากท้องฟ้ามีรัศมีในกายเปล่งประกายแลดูเย็นตาเย็นใจ เหาะลงสู่กระต๊อบกลางทุ่งนา ด้วยนิมิตดังกล่าวนายสานผู้เป็นบิดาจึงได้ตั้งชื่อลูกชายว่า "สิม" (หมายถึงโบสถ์)
    เมื่อท่านอายุ ๑๗ ปี ได้ขอบิดามารดาบรรพชาเป็นสามเณรฝ่ายมหานิกาย ณ วัดศรีรัตนาราม บ้านบัว ในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๙ โดยมีพระอาจารย์สีทอง เป็นพระปุพพาจารย์
    2.png
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กราบนมัสการหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    ต่อมาท่านได้มีโอกาสฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ณ วัดศรีสงคราม ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ปีติในธรรม บังเกิดความเลื่อมใสเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจขอถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    ได้บรรพชาใหม่เป็นสามเณรฝ่ายธรรมยุต ที่โบสถ์น้ำวัดศรีสงคราม โดยท่านพระอาจารย์มั่น เป็นประธาน และเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เป็นพระปัพพาจารย์
    ท่านอุปสมบทเมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๘ ปีมะเส็ง ณ วัดศรีจันทราวาส ตำลบพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยมี พระครูพิศาล อรัญเขต (จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดดวงจันทร์ เป็นพระอนุสาวจารย์


    3.png
    วัดถ้ำผาปล่อง ตั้งอยู่บนดอยหลวงเชียงดาว
    4.png
    รูปเหมือนหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    หลังจากท่านอุปสมบท ได้เดินธุดงห์ติดตามพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ไปจำพรรษาที่วัดป่าเหล่างา (วัดป่าวิเวกธรรม) จังหวัดขอนแก่น และท่านพระอาจารย์สิงห์ได้สอนอุบายในการพิจารณาอสุภกรรมฐานจากซากศพ โดยพาไปขุดซากศพที่ป่าช้าขึ้นมาพิจารณา ท่านได้อสุภะกรรมฐานจากซากศพว่า "นี่แหละร่างกาย สักแต่ว่ารูป ไม่ว่ารูปหญิงรูปชาย คืออันเดียวกัน ไม่มีใครสวยใครงามกว่ากัน อสุภํมรณํ ทั้งนั้น ไม่นานล่ะ เดี๋ยวมันก็ทยอยตาย ไปทีละคนสองคน หมดไปสิ้นไป ไม่มีเหลือ ตายจนกระทั่งหมดโลก"
    ปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ท่านได้เดินทางธุดงค์มาพบถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ถ้ำนี้ทะลุถึงกันได้ มีลักษณะเป็นปล่อง อากาศถ่ายเทสะดวก เหมาะสำหรับบำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาท่านก็อยู่จำพรรษา และพัฒนาจนกลายเป็นสถานที่อบรมภาวนาปฏิบัติธรรม สำหรับพระภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา ผู้หวังความหลุดพ้น มาจนถึงจวบจนสิ้นอายุสังขารของท่าน
    5.png
    อัฐิธาตุหลวงปู่สิม ณ พระธุตังคเจดีย์
    ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน ๖๓ พรรษา
    6.png
    7.png
    อัฐิธาตุหลวงปู่สิม จากวัดสันติธรรม เชียงใหม่
    8.png
    พระธาตุหลวงปู่สิม จากวัดสันติธรรม เชียงใหม่
    9.png

    เกศาและพระธาตุหลวงปู่สิม จากวัดสันติธรรม เชียงใหม่ >>>>>มาพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 355 บาทฟรีส่งems SAM_7144.JPG SAM_7146.JPG SAM_7147.JPG SAM_7149.JPG SAM_1841.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 สิงหาคม 2020
  7. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 713 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระอรหันต์เจ้าวัดถํ้ากลองเพล อ.เมือง จ,หนองบัวลำภู หลวงปู่บุญเพ็งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นตั้งเเต่บวชเป็นเณร พอหลวงปู่มี่นละสังขารองค์ท่านก็ได้มากราบเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถํ้ากลอง เหรียญสร้างปี 2536 เนื้อทองเเดงรมดำ ประวัติย่อปฏิปทาหลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต
    หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต นามเดิม บุญเพ็ง จันใด จำนวนพี่น้อง 6 คน โดยองค์ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ครอบครัวมีอาชีพทำนา ท่านเป็นบุตรของนายคูณ และนางมา จันใด ถือกำเนิดตรงกับวันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2472 แรม 3 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ณ บ้านศรีฐาน ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร
    ท่านศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนศรีฐาน ซึ่งเป็นโรงเรียนวัด จึงทำให้ท่านมีความผูกพันกับศาสนา ครั้นอายุ 12 ปี บวชเป็นผ้าขาวเพื่อศึกษาและปฏิบัติข้อวัตรของผู้ทรงศีล และบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมืองยโสธร ในเวลาต่อมาบรรพชา เป็นสามเณรที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
    ท่านเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2492 ที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร โดยมีพระอาจารย์มหาทองสุก สุจิตโต เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และท่านพระอาจารย์มหาไพบูลย์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโต ในขณะที่ท่านเป็นสามเณรอายุ 16 ปี ท่านได้เดินทางด้วยเท้าพร้อมด้วยท่านพระอาจารย์สอ และสามเณรลี จากวัดศรีธรรมาราม จ.ยโสธร ไปบ้านหนองผือนาใน ต.นาใน อ.อพรรณานิคม จ.สกลนคร
    โดยใช้เวลาในการเดินทางเป็นระยะเวลา 15 วัน และท่านพร้อมคณะได้พักอยู่ห่างจากวัดป่าบ้านหนองผือประมาณ 12 กิโลเมตร โดยผลัดกันครั้งละรูป เดินทางเข้ามากราบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ เพราะถ้าไปพร้อมๆ กันก็เกรงว่าจะไม่งาม อาจจะมีความวุ่นวายและขาดความสงบได้
    โดยหลวงปู่บุญเพ็ง เป็นรูปแรกที่ท่านเข้าไปก่อน ท่านได้เล่าถึงเหตุการณ์ในครั้งแรกที่ได้มีโอกาสเข้าไปนมัสการท่านพระอาจารย์ใหญ่หลวงปู่มั่นว่า…
    “แรกๆ นะตัวเย็นเฉียบเลยนะ หยิกไม่รู้เรื่อง มันตื่นเต้นมาก เพราะเคยได้ยินกิตติศัพท์ของท่านพระอาจารย์มั่น ว่ามีระเบียบ เรียบร้อยมาก เป็นพระผู้มีความเคร่งครัดต่อพระวินัยมาก”
    “ครั้งนั้นอาตตมายังจำได้ดีว่ามันตื่นเต้นมาก เมื่อเข้ากราบนมัสการ ก็เห็นความเป็นพระผู้มีปฏิปทาสูงมาก ยากที่จะมีใครทำได้เช่นท่าน งามจริงๆ แม้ท่านจะนั่งอยู่ในที่อันควรแล้ว ผิวพรรณของท่านเปล่งปลั่ง มองไม่เบื่อ เพราะเราไม่เคยเห็นอย่างนี้ สมกับคำล่ำลือจริงๆ ” ท่านพระอาจารย์มั่นท่านนั่งเฉยอยู่ มองพิจารณาอยู่ครู่หนึ่ง ท่านจึงเอ่ยขึ้นว่า “พอบอกได้สอนได้” หลังจากนั้นก็มีพระนำไปที่พัก ชึ่งก็เป็นป่าดงไม้ไผ่และรอบๆ บริเวณนั้นแหละ จิตใจของอาตมานั้นปีติดีใจมาก คิดว่า นี้เป็นโอกาสของเราแล้ว เราจะปฏิบัติศึกษาให้เกภูมิปัญญามากเท่าที่จะมากได้ทีเดียว”
    เมื่อหลวงปู่บุญเพ็ง ได้เข้ามาอยู่วัดป่าบ้านหนองผือ สมความตั้งใจแล้ว ได้รับหน้าที่อันเป็นกิจวัตรประจำวัน คือคอยดูแลและทำความสะอาดกุฏิ จัดสิ่งต่างๆ ภายในกุฏิของท่านพระอาจารย์มั่น
    และต่อมาได้อยู่ใกล้ชิด โดยได้รับหน้าที่ปรนนิบัติช่วยครูบาอาจารย์ในยามชรา ชึ่งในเวลานั้นท่านพระอาจารย์มั่นท่านชราภาพแล้ว
    หลวงปู่บุญเพ็งท่านเล่าอีกว่า…
    “นับเป็นลาภของอาตมาที่ได้มีโอกาสอันสำคัญนี้ และเป็นช่วงที่ได้อยู่ปรนนิบัติท่านด้วย อย่างไรก็ตามการได้อยู่ใกล้ชิดครูบาอาจารย์ ซึ่งในครั้งนั้นได้มีครูบาอาจารย์มาอยู่จำพรรษษมากองค์ด้วยกัน และแต่ละองค์ก็ล้วนแล้วแต่มีคุณวิเศษมีข้อวัตรปฏิบัติธรรมอย่างละเอียดอ่อน เป็นกำลังในกองทัพธรรมเจริญรุ่งเรือง”
    “ครั้งพอตกเวลาเย็น อาตมาก็ได้ไปปรนนิบัติต้มน้ำร้อนน้ำดื่มถวายท่าน บีบนวดบ้างในบางคราว พอทำกิจของตนเสร็จก็เข้าไปนั่งรวมกับหมู่คณะ ท่านพระอาจารย์ใหญ่ก็เทศน์คำสอนให้อุบายธรรมะที่กำลังติดขัดอยู่นั้นแหละ”
    “ท่านบอกแก้ไขให้โดยไม่ได้เอ่ยขอกราบเรียนเลย อย่างนี้ละคิดอย่างไร วาระจิตของท่านสงบมากแค่ไหน ทำไมท่านถึงรู้ได้อย่างแจ่มแจ้งเช่นนั้น คนเราสมัยนี้พอพูดถึงปาฏิหาริย์บ้าง เรื่องฤทธิ์บ้าง มันชอบใจ ติดหลงไปไม่รอด กำลังไม่พอแต่อยากเหาะได้นะ เอาเป็นว่าท่านพระอาจารย์มั่น ท่านดักใจได้ถูก แล้วท่านยังได้สอนธรรมะให้คลายสงสัยได้ยอดเยี่ยมอีกด้วย”
    “อาตมาเคยได้อยู่รับใช้ครูบาอาจารย์หลวงปู่มั่นเป็นเวลารวม 4 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ.2489 ถึง พ.ศ. 2492 สิ่งที่ภาคภูมิใจก็คือ ได้อยู่ปรนนิบัติท่าน ได้อยู่ใกล้ชิดท่าน”
    “เมื่อติดขัดในปัญหาอันใดก็จะสามารถถามแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ยิ่งในวัยชราของท่าน อาตมาและหมู่คณะได้ปรนนิบัติท่านพยายามเยียวยารักษาท่าน เพราะท่านเป็นพ่อแม่ที่ให้สิ่งที่มีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่เคยสอนให้เสียคน ท่านคอยกล่าวตักเตือน ท่านว่า “เวลาไม่รอใคร ความตายอยู่เบื้องหน้า จงอย่าประมาทเลย”
    “ปีสุดท้ายคือ พ.ศ.2492ท่านพระอาจารย์มั่นท่านอาพาธ อาการเจ็บป่วยนั้นแรงกล้าขึ้นเรื่อยๆ คณธศิษย์ทุกคนก็พยายามกันมาก ช่วยกันดูแลจัดเวรยาม คอยดูแลอาการเจ็บป่วยท่านพระอาจารย์ใหญ่ด้วยความเป็นห่วงอย่างยิ่ง”
    “ภายหลังจากท่านพระอาจารย์มั่นมรณภาพและถวายเพลิงศพท่านไปแล้ว คณะศิษย์ทั้งหลายต่างแยกย้ายกันออกไป ในระยะ 4 ปี อาตมาคิดว่าได้เหตุผลในทางธรรม ได้รับจากหลวงปู่ครูบาอาจารย์มากมายพอควรทีเดียว”
    ปี พ.ศ.2500 หลวงปู่บุญเพ็ง เขมาภิรโตเข้ามอบตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ขาว อนาลโย ณ วัดป่าแก้วชุมพล บ้านชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และขอโอกาสจากองค์หลวงปู่ออกธุดงค์หาประสบการณ์บริเวณเทือกเขาป่าภูพาน

    ปี พ.ศ.2503 เดินทางไปกราบหลวงปู่ขาว ขณะองค์หลวงปู่กำลังสร้างวัดถ้ำกลองเพล อ.เมืองหนองบัวลำภู โดยรับภาระดูแลการก่อสร้าง และอยู่รับใช้หลวงปู่ขาวในเวลาเดียวกัน จนท่านละสังขาร ลวงปู่ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ 27 ก.พ.61 ที่ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.สิริอายุรวม 88 ปี 4 เดือน ด้วยอาการอาพาธ โรคเบาหวาน ความดัน ติดเชื้อในกระเเสเลือด
    dFQROr7oWzulq5FZXCTQLuxdZWQxjiKGXNukXsgng223eKjkkY9zPcMHP0xhTA68O3w.jpg

    >>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ************บูชาที่ 225 บาทฟรีส่งems SAM_7112.JPG SAM_7151.JPG SAM_7152.JPG SAM_2008.JPG
     
  8. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    *****สมาชิกที่สนใจ โอนเข้าบัญชีธนาคาร กรุงเทพ สาขาบ้านเเพง เลขบัญชีที่ 496-055842-9,ธนาคาร กรุงไทย สาขาบิ๊กซี ลำพูน เลขบัญชี 854-0-31280-8,ธนาคาร กสิกรไทย สาขาเสนา เลขที่บัญชี 016-3-45911-6, ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาเสนา เลขที่บัญชี 770-270878-6 ขอขอบคุณครับ
     
  9. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 714 เหรียญรุ่นเเรกหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร พระอรหันต์เจ้าวัดป่าวังเลิง อ.เมือง จ.มหาสารคาม หลวงปู่มหาบุญมีเป็นศิษย์หลวงปุ่มั่นยุคกลาง เหรียญสร้างปี 2536 เนื้อทองเเดงรมดำ ประวัติย่อๆหลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง

    s2.jpg
    มีนามเดิม บุญมี สมภาค ถือกำเนิดเมื่อวันศุกร์ที่ 14 ต.ค.2453 ณ บ้านขี้เหล็ก อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นบุตรคนเดียวของพ่อทำมา-แม่หนุก สมภาค ครอบครัวมีอาชีพทำไร่ทำนา ฐานะค่อนข้างจะยากจนเหมือนกับชาวอีสานทั่วไป

    ชีวิตช่วงวัยเด็กของหลวงปู่ เป็นคนใฝ่เรียนรู้ อ่อนโยน มีเรื่องเล่าว่า ช่วงที่หลวงปู่อายุ 8-9 ขวบ ได้ออกไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควายอยู่กับเพื่อนกลางทุ่งนา
    ท่านเก็บภาพพระพุทธรูปได้ จึงนำมาเก็บไว้ดูและเกิดแรงศรัทธาที่แรงกล้า จึงนำดินเหนียวมาปั้นเป็นพระพุทธรูปองค์เล็กๆ ไว้บูชาที่บ้าน

    s6.jpg

    s3.jpg ย่างเข้าสู่วัยรุ่นอายุได้ 17 ปี บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ที่วัดบ้านท่าขี้เหล็ก ได้ประมาณปีมารดาสุขภาพไม่ดี หลวงปู่เป็นลูกคนเดียวจึงต้องสึกออกมาดูแลบุพการี
    จนอายุได้ 21 ปี จึงอุปสมบทจำพรรษาอยู่ที่วัดในหมู่บ้าน โดยมีพระอาจารย์สิงห์ มีศักดิ์เป็นหลวงน้า ดำเนินการให้บวชในสายมหานิกาย แต่ด้วยจิตใจอยากเรียนด้านปริยัติธรรม แต่ไม่สะดวก เพราะ สำนักเรียนวัดเลียบต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เป็นวัดธรรมยุตจึงต้องญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต
    หลวงปู่บุญมี จึงต้องอุปสมบทใหม่ในปีพ.ศ.2474 โดยมีพระศาสนดิลก เจ้าอาวาสวัดเลียบ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาสว่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “สิริธโร”
    ลังจากอุปสมบทแล้วได้ตั้งใจศึกษา เล่าเรียนจนสอบนักธรรมตรี โท เอก ด้วยความมุ่งมั่นอยากศึกษาพระธรรมวินัยที่ลึกซึ้งสูงขึ้น ในปี พ.ศ.2479 จึงเดินทางเข้ากรุงเทพมหานคร เรียนที่สำนักวัดปทุมวนาราม สอบได้เปรียญธรรม 3ประโยคจากนั้นจึงเดินทางกลับบ้านเกิดและออกเดินธุดงค์ เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วภาคอีสาน
    เป็นพระสงฆ์ในยุคเดียวกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน แต่ไม่ได้พบกับ หลวงปู่มั่นเลย แต่เคยได้รับฟังธรรมะของพระอาจารย์ใหญ่ทำให้เกิดกำลังใจในการบำเพ็ญเพียรภาวนา
    สำหรับคำสอนที่พร่ำสอนศิษยานุศิษย์เน้นเรื่องของกรรมว่า “ทุกคนมีกรรมเป็นของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทั้งดี ทั้งชั่ว ทั้งบุญทั้งบาป”
    ย้ำเสมอว่าเรื่องกรรมไม่ใช่เรื่องเหลวไหลเป็นเรื่องจริงขอให้เชื่อในกฎแห่งกรรม “ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว”
    นอกจากนี้ ยังมีคำสอนผญาธรรมภาษาอีสานที่น่าสนใจ เช่น “เทียวทางโค้งหนทางมันนานฮอด มัวเก็บบักหว่า มันสิซ้าคำ ทาง” ล้วนเป็นคำสอนที่ลึกซึ้งให้คติเตือนใจใช้ในชีวิตประจำวันได้
    ตลอดชีวิตหลวงปู่มหาบุญมี ได้เดินธุดงควัตรและจำพรรษาอยู่ในวัดเขตพื้นที่ภาคอีสานหลายวัด เช่น วัดห้วยทราย จ.มุกดาหาร วัดคำม่วง จ.อุดรธานี วัดป่าหนองบัว จ.สกลนคร เป็นต้น

    s7.jpg
    สุดท้ายในปี พ.ศ.2533 ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าวังเลิง จ.มหาสารคาม
    บุกเบิกพัฒนาสร้างวัดป่าวังเลิงแห่งนี้เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว แต่ด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร เริ่มมีอาการอาพาธบ่อยครั้ง

    สุดท้ายมรณภาพละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานอย่างสงบ เมื่อวันที่ 20 เม.ย.2535 รวมอายุ 81 ปี >>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคล ******บูชาที่ 225 บาทฟรีส่งems SAM_7159.JPG SAM_7161.JPG SAM_3774.JPG
     
  10. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 715 เหรียญเสมารุ่น สุขังพลังหลวงตาพวง สุขินทริโย พระอรหันต์เจ้าวัดศรีธรรมมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร หลวงตาพวงเป็นศิษย์หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร เหรียญเนื้อทองเเดงรมนํ้าตาล สร้างปี 2544 สร้างโดยสมาคมส่งเสริมการกีฬาจังหวัดยโสธร เหรียญใหม่ไม่เคยใช้ ******* ประวัติโดยย่อพอสังเขป หลวงตาพวง สุขินทริโย ถือกำเนิดที่ บ้านศรีฐาน ตำบลศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว จังหวัดยโสธร ซึ่งเดิมคือ ตำบลกระจาย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 ตรงกับวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ปีเถาะ มีนามเดิมว่า ด.ช.พวง ลุล่วง เป็นบุตรคนที่ 4 ของนายเนียม และนางบัพพา ลุล่วง มีพี่น้องร่วมบิดา มารดา จำนวน 6 คน เป็นชาย 3 คนและหญิง 3 คน ดังต่อไปนี้
    1) นายจันทา ลุล่วง อดีตกำนันตำบลกระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร (ถึงแก่กรรม)
    2) นางผา ละม่อม (ถึงแก่กรรม)
    3) นางสา วันเที่ยง (ถึงแก่กรรม)
    4) หลวงตาพวง สุขินทริโย
    5) หลวงปู่สรวง สิริปุญโญ เจ้าอาวาสวัดจำปาศิลาวาส ต.นาซอ อ. วานรนิวาส จ.สกลนคร
    6) นางจำปา ป้องกัน

    ต้น ตระกูลเดิมของหลวงตาพวง สุขินทริโย เป็นชาวนา นับถือศาสนาพุทธมาแต่ดั้งเดิม โยมบิดา มารดา มีศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ทำบุญตักบาตรหรือถวายภัตตาหารเป็นประจำทุกวันไม่ได้ขาด ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีมาโดยตลอด มีบุตรชายก็ต้องให้บวชพระเสียก่อนทุกคน ทั้งหลวงตาและน้องชายคือหลวงปู่สรวง สิริปุญโญหลังจากบวชตามประเพณีแล้วได้มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงครองสมณเพศมาจนถึงปัจจุบัน


    670-0e01.jpg
    ******ชีวิตในเพศบรรพชิต
    พรรษาที่ 1 (พ.ศ. 2491) อุปสมบท ณ โบสถ์น้ำ วัดป่าบ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจาร์อ่อน ญาณสิริ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจาร์ฝั้น อาจาโร เป็นอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดป่าท่าสองคอน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 2 (พ.ศ. 2492) ย้ายไปจำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นพรรษาสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    พรรษาที่ 3 (พ.ศ. 2493) หลังจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต มรณภาพ และเสร็จงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่มั่นแล้ว ไปจำพรรษากับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 4-5 (พ.ศ. 2594-2495) จำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร ร่วมกับหลวงปู่ฝั้น อาจาโร
    พรรษาที่ 6 (พ.ศ. 2496) หลวงปู่ฝั้น อาจาโรเกิดนิมิตระหว่างนั่งสมาธิในกลางพรรษาว่าเห็นถ้ำที่สว่างไสว เหมาะแก่การปฏิบัติ จึงได้ไปค้นหาจนพบถ้ำขาม แล้วได้บุกเบิกจนเป็นวัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม จ.สกลนครในปัจจุบัน ในพรรษานั้น หลวงตาพวง สุขินทริโยได้ไปบุกเบิกถ้ำขามและจำพรรษาที่นั่น
    พรรษาที่ 7-8 (พ.ศ. 2497 - 2498) กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ธาตุนาเวง อ.เมือง จ.สกลนคร
    พรรษาที่ 9 (พ.ศ. 2499) กลับบ้านศรีฐาน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิด เพราะโยมบิดาเสียชีวิต ประกอบกับพระอาจารย์บุญช่วย ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน ที่เคยเป็นพระอาจารย์สมัยบวชเป็นเณร เกิดอาพาธ จึงอยู่ดูแลรับใช้ปรนนิบัติ
    พรรษาที่ 10 (พ.ศ. 2500) พระอาจารย์บุญช่วย ธัมวโร เจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี มรณภาพ ไม่มีพระภิกษุดูแลวัด ชาวบ้านจึงนิมนต์ให้รักษาการเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในใน เพื่อดูแลวัด
    พรรษาที่ 11 (พ.ศ. 2501) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีฐานในในอย่างเป็นทางการ
    พรรษาที่ 12-18 (พ.ศ. 2502-2508) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีฐานในจนมีความเจริญรุ่งเรือง
    พรรษาที่ 19 (พ.ศ. 2509) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูฐานานุกรม ที่ราชทินนาม (พระครูใบฎีกา พวง สุขินทริโย)
    พรรษาที่ 20 (พ.ศ. 2510) จำพรรษาที่วัดศรีฐานใน อ.ป่าติ้ว จ.อุบลราชธานี
    พรรษาที่ 21 (พ.ศ. 2511) เนื่องจากวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลาชธานี ไม่มีเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัดและชาวบ้านไปนิมนต์ให้มาเป็นเจ้าอาวาส จึงได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
    พรรษาที่ 22 (พ.ศ. 2512) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลในเมือง อ.ยโสธร
    พรรษาที่ 23 (พ.ศ. 2513) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ราชทินนาม พระครูอมรวิสุทธิ์
    พรรษาที่ 24 (พ.ศ. 2514) พัฒนาวัดศรีธรรมาราม อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี
    พรรษาที่ 25 (พ.ศ. 2515) อ.ยโสธร จ.อุบลราชธานี ยกฐานะเป็นจังหวัด ได้รับแต่งตั้งให้รักษาการในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดยโสธร (โดยไม่ได้เป็นเจ้าคณะอำเภอมาก่อน)
    พรรษาที่ 26 (พ.ศ. 2516) ได้รับแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ราชทินนาม พระสุนทรธรรมภาณ และได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดยโสธรอย่างเป็นทางการ
    พรรษาที่ 27-33 (พ.ศ. 2516-2523) จำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร
    พรรษาที่ 34 (พ.ศ. 2524) หลังจากบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธร เสร็จเรียบร้อย ได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัด กม.3 ต.ตาดทอง อ.เมือง จ.ยโสธร
    พรรษาที่ 35-46 (พ.ศ. 2525-2536) กลับมาจำพรรษาที่วัดศรีธรรมาราม อ.เมือง จ.ยโสธรโดยตลอด พัฒนาวัดศรีธรรมาราม จนเจริญก้าวหน้าและได้รับจนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 และยกระดับเป็นพระอารามหลวง ในปี พ.ศ. 2532
    พรรษาที่ 47 (พ.ศ. 2537) ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ราชทินนาม พระราชธรรมและได้รับพระราชทานธรรมจักรทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในปี พ.ศ. 2537
    พรรษาที่ 51 (พ.ศ. 2541) ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะภาค 10 (ธรรมยุต)

    พรรษาที่ 52 - ปัจจุบัน (พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน) สร้างวัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม บ้านนิคม ต.กระจาย อ.ป่าติ้ว จ.ยโสธร และจำพรรษาอยู่ที่นี่จนถึงปัจจุบัน >>>>หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ กล่าวถึง หลวงตาพวง ชื่อ เสียงของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ แห่งวัดบ้านไร่ อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ย่อมเป็นที่รู้จักกันดีในสายวงวัตถุมงคลโชคลาภ ของคนไทยทั่วประเทศเพราะด้วยปฏิปทาที่เรียบง่าย สมถะและเมตตาแก่ทุก ๆ คนที่ไปหา มิใช่แต่ชาวจังหวัดนครราชสีมาที่เลื่อมใสและศรัทธาท่าน ชาวยโสธรเองก็เช่นเดียวกันที่เลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติ และพากันไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณ เพื่อความเป็นสิริมงคล รวมทั้งขอวัตถุมงคลเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตรายต่าง ๆมิได้ขาด
    แต่ทุก ๆ ครั้งที่ชาวยโสธรไปกราบนมัสการหลวงพ่อคูณนั้น หากท่านทราบว่าเป็นชาวยโสธรแล้วหลวงพ่อคูณท่านจะไม่ยอมให้วัตถุมงคล และบอกว่าให้กลับไปเอาที่ยโสธร ท่านมักจะพูดว่า "ที่ ยโสธรมีคนเก่งกว่ากูมีอีก ผมหงอก ๆ ขาว ๆ ที่นั่งอยู่ริมแม่น้ำชีนั่นแหละ ท่านหมดกิเลสแล้ว ท่านไม่แสดงเฉยๆ กูยังไม่ถึงเท่าท่านเลย ไป"
    เมื่อสัมภาษณ์หลวงตาพวง ถึงเรื่องนี้ ท่านก็เล่าให้ฟังว่า "ก็เคยได้ยินมาจากญาติโยมหลายสิบคนแล้ว ที่เล่าให้ฟังเหมือนกันว่าเมื่อชาวยโสธรไปกราบหลวงพ่อคูณ ท่านมักจะไล่กลับมาหาหลวงตา"
    "หลวงตาเองก็ ไม่เคยได้พูดคุยกับหลวงพ่อคูณสักครั้งเดียว หลวงตาก็เคยไปวัดบ้านไร่มาสองครั้ง แต่ไม่เคยมีโอกาสพูดคุยกับท่านเพราะมีญาติโยมเป็นจำนวนมากจึงไม่มีโอกาสพูด คุยกัน หลวงพ่อคูณจะทราบได้อย่างไรก็ไม่ทราบหรืออาจเป็นเพราะมีลูกศิษย์เล่าให้ฟัง ถึงประวัติหลวงตากระมัง
    "
    *******ปาฏิหาริย์หลวงตาพวง เดินข้ามบิณฑบาตรแม่น้ำชี
    มีเรื่องเล่าขานกันใน หมู่ชาวบ้านแถบลำน้ำชีอันเป็นที่ตั้งของ วัดศรีธรรมารามซึ่งหลวงตาพวงเคยจำพรรษาอยู่ ฝั่งตรงข้ามของวัดศรีธรรมารามเป็นหมู่บ้านที่อยู่ในเขตของอำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด ชาวบ้านเล่ากันว่ามีคนออกไปเก็บกับดักหนูที่ดักไว้ในช่วงเช้ามืดได้เห็นหลวง ตาพวงออกเดินบิณฑบาตโดยเดินบนแม่น้ำชีจากวัดศรีธรรมารามไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน ฝั่งอำเภอพนมไพร
    คุณสมจันทร์ โพธิศรี อยู่บ้านเลขที่ 68 บ้านกุดกุง (คุ้มหนองแสง) ต. เขื่อนคำ อ.เมือง จ. ยโสธร เล่าให้ฟังเป็นภาษาอิสานว่า "เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2538- 2539 เช้าวันหนึ่งข่อยไปดักหนูป่าแมะ ได้เห็นหลวงตาพวงเพิ่นเดินข้ามแม่น้ำชีไปแมะ ข่อยนี้แหละเป็นผู้เห็นท่านเองเลย" (คัดจากหนังสือโลกทิพย์)
    เมื่อถามเรื่องนี้กับหลวงตา หลวงตาก็ตอบว่า "เป็นเรื่องของเขาเห็นปรากฏในสายตา หลวงตาไม่ค้าน ไม่ได้ปฏิเสธ เขาคงเห็นด้วยสายตาของเขา จะเล่าลืออย่างไร หลวงตาไม่ได้พูด ไม่ได้อวดอะไร" แล้วหลวงตาก็เปลี่ยนเรื่องพูดถึงเรื่องหมู่บ้านในฝั่งอำเภอพนมไพรว่า " หลวงตาก็รับนิมนต์ไปสวดหรือไม่ก็ฉันที่หมู่บ้านฝั่งนี้เป็นประจำทุกวันออก พรรษาชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน ก็พากันมามอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์ มากราบขอพรเพราะพวกเขาไม่มีที่พึ่งในหมู่บ้าน เขาจึงมาพึ่งหลวงตา เมื่อมีการงานอะไรพวกเขาก็มาช่วยเสมอ ๆ แม้แต่มาอยู่ที่วัดป่าใหม่นิคมพัฒนาราม พวกเขาก็ยังมา"
    >>>>>หลวงตาพวงละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อเวลา 10.54 น. วันนี้ (2 เม.ย.) พระเทพสังวรญาณ หรือหลวงตาพวง สุขินทริโย รองเจ้าคณะภาค 10(ธ) ได้ละสังขารแล้ว อายุ 82 ปี พรรษา 57 พรรษา ที่โรงพยาบาลยโสธร หลังจากอาพาธด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีระยะสุดท้าย ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2550 และรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างต่อเนื่องที่โรงพยาบาลศิริราช ก่อนจะมาพักรักษาต่อที่โรงพยาบาลยโสธร จนมรณภาพ
    >>>>>>>มีพระเกศาขาวใสของหลวงตามาบูชาเป็นมงคล ******บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems SAM_5714.JPG SAM_6177.JPG SAM_6178.JPG SAM_1885.JPG
     
  11. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 716 เหรียญเจิญพรบนหลวงปู่เคน เขมาสโย พระอรหันต์เจ้าวัดป่าหนองหว้า อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร เหรียญสร้างปี 2557 เนื้อทองเเดงรมมันปู มีตอกโค๊ตยันต์ นะ หน้าเหรียญ พระอรหันต์ สายหลวงปู่มั่น
    ประวัติโดยย่อพอสังเขปหลวงปู่เคน เขมาสโย
    วัดป่าบ้านหนองหว้า อ.สว่างแดนดิน สกลนคร
    ชีวประวัติและปฏิปทาหลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านมีชาติกำเนิดในสกุล “นิ่งแนน” ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๗๑ ตรงกับ วันจันทร์ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ ณ บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เป็นบุตรของคุณพ่อไพ คุณแม่บับ ท่านเกิดได้ไม่นานแม่ก็เสียชีวิต น้าสาวเลยเอาท่านไปเลี้ยงเป็นลูก แล้วเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ฤกษ์งาม”
    ในสมัยเด็ก ๆ องค์ท่าน มีจิตใจในทางเมตตา ใฝ่ใจใคร่รู้ในทางธรรมมาก และมีจิตเมตตา สงสารในสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และมีชีวิตที่ไม่โลดโผนมากนัก ผิดกับวัยรุ่นวัยหนุ่ม ที่คะนองตามแบบหนุ่มบ้านนอกลูกทุ่งโดยทั่วไป ด้วยใจที่ใฝ่ในทางธรรม จึงออกปากขอโยมพ่อ โยมแม่ ขอออกบวช ก็เป็นที่น่ายินดีกับทุกคนที่ได้รับฟังเวลานั้น ช่วงนั้นเป็นเดือน ๑๑ เป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าว พอตอนเย็น ท่านกับเพื่อน ๆ ที่พร้อมจะบวชด้วยกันทั้ง ๔ คน ก็มาฝึกขานนาคกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง
    ท่านอุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี ณ สิมกลางน้ำ วัดป่าบ้านหนองดินดำ(ภายหลังเปลี่ยนเป็น วัดป่าคามวาสี) ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๓ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีขาล โดยมีพระอธิการพุฒ ยโส (ภายหลังได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูพุทธิวาคม) เป็นอุปัชฌาย์ หลวงปู่นนท์ โกวิโท เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่หอม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    พระอาจารย์เคน ได้รับฉายาว่า "เขมาสโย" แปลว่า "ผู้ยินดีอาศัยในธรรม" ในการบวชครั้งนั้นได้มีการเข้าพิธีบรรพชาอุปสมบทพร้อมกัน ๔ นาค คือ
    ๑.นาคเคน ฤกษ์งาม หรือท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย
    ๒.นาคประสาร รำไพ หรือท่านพระอาจารย์ประสาร ปัญญาพโล
    ๓.นาคสมัย โสภาจาร หรือท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก
    ๔.นาคชาลี โคตรสมบูรณ์ บวชเป็นสามเณร เพราะอายุยังไม่ถึง ต่อมาได้ลาสิกขาบท
    หลังจากท่านบวชแล้วก็ติดตามหลวงปู่นนท์ โกวิโท เที่ยวไปธุดงค์ที่ จ.นครพนม ได้ไปศึกษาธรรมอยู่กับหลวงปู่บุญมา มหายโส ที่วัดอรัญญิกาวาส อ.เมือง จ.นครพนม อยู่พักหนึ่ง

    ภายหลังหลวงพ่อวัน อุตตโม แห่งวัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ได้ฝากให้ท่านไปอยู่จำพรรษากับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตโต เพื่อให้ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานในเบื้องต้นให้ ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่คำ มีอายุ ๖๐ ปี ที่วัดศรีจำปาชนบท บ้านพังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร เป็นพรรษแรก คือปี พ.ศ.๒๔๙๔ หลวงปู่คำ ให้อาตมาฝึกนั่งสมาธิเจริญคำภาวนาว่า “พุทโธ” ด้วยการให้พิจารณาการหายใจเข้าหายใจออกอย่างสม่ำเสมอ และให้มีสติกำหนดรู้อยู่ในการหายใจ ฝึกอยู่ได้หนึ่งพรรษาจิตยังหยาบอยู่ จึงต้องตั้งสติอยู่ในความไม่ประมาทอยู่เสมอ
    จากนั้นจึงไปศึกษาธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์จันทร์ ไปอยู่บ้านนาเหมือง จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์จันทร์ ได้สอนการอ่านตัวธรรมที่จารอยู่ในใบลานต่าง ๆ ควบคู่ไปกับการฝึกจิตเจริญวิปัสสนากรรมฐาน จนจิตใจสงบดีขึ้นเป็นลำดับ ทำให้จิตใจไม่ฟุ้งซ่านเหมือนเมื่อก่อน จึงทำให้หูตาสว่างไสวไปอีกขั้นหนึ่ง คือมองอะไรก็เป็นธรรมดา จิตใจไม่ว้าวุ่นเป็นสมาธิดี ท่านพระอาจารย์เคนอยู่อบรมธรรมกับพระอาจารย์จันทร์อยู่ ๓ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๔๙๕ ถึงปี พ.ศ.๒๔๙๗ จากนั้นก็ไปจำพรรษาที่วัดโนนแสนคำ บ้านทุ่งคำ อ.เจริญศิลป์ จ.สกลนคร ณ ที่นี้ ก็เป็นสัปปายะดี คือเป็นสถานที่ดี มีความสงบสงัด เป็นที่ถูกใจ เหมาะแก่การภาวนาปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านอยู่จำพรรษาที่นี่ ๑ พรรษ คือปี พ.ศ.๒๔๙๘
    จากนั้นจึงมาอยู่ศึกษาธรรมกับหลวงปู่หอม ซึ่งเป็นศิษย์ของหลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ ที่วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ๔ พรรษา คือ ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๒ จากนั้นท่านทราบข่าวว่าหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เป็นลูกศิษย์รูปหนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระที่มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใส จึงได้เดินทางไปฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษาอบรมธรรมอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อีก ๑ พรรษา คือปี พ.ศ. ๒๕๐๓ หลวงปู่อ่อน ได้อบรมสั่งสอนในเรื่องทางการฝึกจิต ความเจริญทางจิตใจนั้น เราจะปล่อยไปเองตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะใจจะไหลลงต่ำ ไม่ดีงาม เราต้องรู้จักควบคุมบังคับ ฝืนไม่ให้อาหารในทางเสื่อม ไม่อย่างนั้นจิตใจจะไม่เจริญก้าวหน้า ท่านสอนให้ยึดคำบริกรรม “พุทโธ” เป็นหลัก เพราะไม่มีคำบริกรรมอย่างใดจะดีเท่าการสรรเสริญพระพุทธเจ้า
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ อบรมเรื่องการอยู่ป่าเป็นวัตร เมื่อไปอยู่ป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามีนี่เพื่อทำปัญญาให้เกิด ถ้ายังไม่มีปัญญา ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น เป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกกับเรา ถ้าปัญญาดีแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นอย่างนี้ แสดงว่าปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อท่านพระอาจารย์เคน รับการอบรมจากหลวงปู่อ่อนแล้ว ก็ได้กราบลา แล้วธุดงค์ไปที่ดงหม้อทอง แล้วไปอยู่ตามเขาตามถ้ำต่าง ๆ ที่ อ.บ้านผือ
    สมัยนั้นยังมีป่าไม้ให้ร่มเย็น สมัยที่องค์ท่านออกเดินธุดงค์ ไม่ต้องกล่าวถึงความสะดวกสบายในการเดินทาง เรียกว่า มีแต่ป่ากับป่า ท่านเล่าว่าสิงสาราสัตว์ อย่างเสือ กวาง เก้ง แม้ช้างป่า มากมายจริง ๆ แต่ก็ไม่ทำให้องค์ท่านท้อในการเดินทางเข้าหาพ่อแม่ครูอาจารย์ การไปอยู่ ณ ที่ใด ก็ได้พิจารณายึดเอาคำสอนของครูบาอาจารย์ทั้งหลาย ที่ท่านได้แนะนำให้ไปปฏิบัติตามครรลองของพระพุทธศาสนา การบิณฑบาตในสมัยนั้นก็ได้แต่ข้าวเหนียว ไม่มีกับข้าว อดบ้างอิ่มบ้างก็อดทนอดกลั้น แม้จะพบความยากลำบาก ก็ไม่กังวลกับสิ่งใดใด
    ท่านพระอาจารย์เคน เขมาสโย ได้ธุดงค์ข้ามไปฝั่งลาว ขึ้นไปธุดงค์อยู่รุกขมูลตามร่มไม้ เพิงหิน โถงถ้ำที่ภูเขาควาย ประเทศลาว ที่ภูเขาควายนี้เป็นที่มีอาถรรพณ์ และศักดิ์สิทธิ์ เต็มไปด้วยภูตผีวิญญาณร้าย พระธุดงค์มากมายเอาชีวิตมาทิ้งไว้ที่นี่เป็นจำนวนมาก ท่านเล่าว่า ที่ภูเขาควายนี้เป็นภูเขาที่สูงมากของฝั่งลาว สูงกว่าดอยสุเทพเสียอีก เป็นภูเขาที่น่ากลัวจริง ๆ เพราะเป็นป่าทึบดงดิบหนา มีสัตว์ป่ามากมาย เช่นช้าง เสือ หมี งู และสัตว์มีพิษอื่น ๆ อยู่มาก ที่สำคัญอากาศบนยอดเขาภูเขาควายหนาวเย็นมาก ถ้ามองรอบตัวจะไม่เห็นอะไรเลย เพราะป่ามันทึบมาก
    เวลาขึ้นเขาไปต้องค่อย ๆ มีสติเหยียบก้อนหินขึ้นไปทีละก้อนอย่างเชื่องช้า เพราะหินบางก้อนลื่นมาก เขาก็สูงชันมาก กลัวจะพลาดตกลงไป ทั้งบนบ่าก็แบกกลด แบกบาตรอัฐบริขารหนักมาก ท่านนึกถึงตนเองสมัยนั้นก็น่าสงสารตนเองยิ่งนัก แต่เราเป็นพระที่ขึ้นชื่อว่าเสียสละในทุกสิ่งทุกอย่างก็เลยปลงได้ เพราะถือว่าครูบาอาจารย์ก็เคยลำบากมาก่อนแล้ว ท่านจึงได้ดีมีอรรถมีธรรม ครูบาอาจารย์ที่เคยมาเยือนที่ภูเขาควายแห่งนี้ในสมัยก่อน ได้แก่ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวน สุจิณโณ หลวงปู่เครื่อง ธัมมธโร หลวงปู่ขาว อนาลโย และพระอาจารย์ของท่านคือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ก็เคยมาเยือนที่ภูเขาควายเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม ณ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้แล้วทั้งนั้น
    เมื่อขึ้นมาถึงยอดเขา ท่านพระอาจารย์เคน ได้เห็นตาผ้าขาว กำลังกวาดใบไม้อยู่บนพลาญหิน จึงรู้สึกดีใจว่าบนยอดภูเขาควายนี้ ก็มีผู้มาบำเพ็ญสมณธรรมเช่นกัน ท่านจึงรีบเดินตรงเข้าไปหาหวังพูดคุยเจรจาด้วย เพราะไม่ได้พูดคุยกับใครมานานแล้ว แต่พอไปถึงที่นั้นกลับไม่พบใคร มีแต่ความว่างเปล่า หรือจะเป็นเทพเทวดาอารักษ์รักษาป่าก็เกินจะคาดเดาได้ คืนนั้นท่านพระอาจารย์เคน พักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ถ้ำที่ท่านไปอยู่ก็มีโครงกระดูก ไม่ทราบเป็นของพระธุดงค์หรือของโยมชาวบ้านที่มาล่าสัตว์ คงจะมาพักแล้วโดนงูกันตายก็เป็นได้ เพราะมีสิ่งของบางอย่างวางทิ้งไว้เช่นกาน้ำ การมาอยู่ที่ภูเขาควายก็ได้ความสงบสงัด ความวิเวกดี ได้ความก้าวหน้าในสมาธิตามลำดับ ท่านได้เที่ยวไปที่ต่าง ๆ ในเขตฝั่งลาวอยู่ถึง ๒ พรรษา คือปี พ.ศ.๒๕๐๔ ถึงปี พ.ศ.๒๕๐๕
    ในช่วงนั้นเกิดความไม่สงบของบ้านเมืองในประเทศลาว ชาวบ้านจึงให้ความเห็นให้ท่านเดินทางกลับมาฝั่งไทยจะดีกว่า ท่านธุดงค์ข้ามมาทางบึงกาฬ-ปากคาด-โซ่พิสัย เรื่อยมาทางคำตะกล้า-บ้านม่วง ผ่านวานรนิวาส จนมาถึงสว่างแดนดิน ท่านพระอาจารย์เคน เขมสโย ได้มาวิเวกมาบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ที่บ้านหนองหว้าครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ บริเวณด้านหลังกุฏิไม้(หลังเก่า)ขององค์ท่าน ท่านว่าหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เคยมาปักกลดอยู่ที่นี่ เมื่อก่อนแถบนี้เป็นป่ารกชัฏ แล้วก็ยังมีเสืออยู่ แต่ปัจจุบันก็เป็นอย่างที่เห็น กลายเป็นไร่นาของชาวบ้านหมดแล้ว สมัยที่ท่านพระอาจารย์เคน มาวิเวกอยู่ที่นี่ครั้งแรก มีชายรูปร่างสูงใหญ่ เป็นคนโบราณ ตัวดำทมึน เดินเข้ามาหา บอกว่าตามมาดูแลรักษา มิให้เกิดอันตรายใดใดทั้งสิ้น ขอให้ปฏิบัติธรรมไปด้วยความสบายใจ เขาบอกว่าเขาตามมาจากฝั่งลาว จะมาขออยู่ด้วยตลอดไป ท่านพระอาจารย์เคน ก็ไม่ได้ว่าอะไร
    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้เข้าไปศึกษาอบรมธรรมอยู่กับท่านพระอาจารย์วัน อุตตโม ที่ถ้ำพวง ภูผาเหล็ก อ.ส่องดาว จ.สกลนคร ท่านพระอาจารย์วัน เป็นพระที่มีเมตตาธรรมมาก เป็นพระปฏิบัติดีเคร่งครัดพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ท่านพระอาจารย์วัน นับเป็นอาจารย์ใหญ่ของท่านพระอาจารย์เคน ที่ท่านมีแต่ให้มาตลอด ข้อธรรมที่ไม่รู้ ท่านก็สอนให้รู้โดยไม่ปิดบังแต่อย่างใด ท่านสอนให้พิจารณษสังขารร่างกายนั้นเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์ อย่าไปยึดติดในสิ่งที่อยู่นอกกาย เช่น เนื้อหนังมังสาที่สวยงาม ล้วนแต่เป็นอนิจจังเป็นของไม่เที่ยงแท้ทั้งนั้น
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านได้มากลับมาอยู่กับหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ที่วัดป่านิโครธาราม บ้านหนองบัวบาน อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี มีโยมอุบาสกคนหนึ่งชื่อ “จันทร์เรียน” ได้มาฝึกขานนาคด้วย มีท่านพระอาจารย์เคน และท่านพระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก ช่วยกันสอนการออกเสียงอักขระ การขานนาคให้กับท่านจันทร์เรียน ท่านพระอาจารย์เคน จึงถือได้ว่าเป็นพระอาจารย์ และเมื่อครั้งท่านอาจารย์จันทร์เรียน อุปสมบทที่วัดโพธิสมภรณ์ ท่านพระอาจารย์เคน ก็ได้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านพระอาจารย์จันทร์เรียน คุณวโร แห่งวัดถ้ำสหาย อีกด้วย
    จากนั้นท่านพระอาจารย์เคน ได้กลับไปวิเวกอยู่ที่ป่าช้า บ้านหนองหว้าอีกครั้งนึง แล้วจึงได้อยู่โปรดญาติโยม จนได้สร้างเป็นวัดป่าหนองหว้า ได้อยู่จำพรรษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๔๖ หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านไปจำพรรษาที่วัดถ้ำสหายกับหลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร เนื่องจากหลวงปู่เคนท่านอาพาธ หลวงพ่อจันทร์เรียนเลยอาราธนานิมนต์ท่านไปอยู่ด้วย ท่านเล่าว่าสมัยอยู่วัดป่านิโครธาราม ญาติโยมเอาหลวงพ่อจันทร์เรียนไปฝากท่านให้สอนขานนาคเนื่องจากหลวงปู่อ่อน ญาณสิริไม่อยู่ เพราะหลวงปู่อ่อนไปทำธุระที่กรุงเทพ ฯ ที่แรกท่านว่าจะไม่รับ รอหลวงปู่อ่อนกลับมาค่อยเอามาฝากหลวงปู่อ่อนใหม่ ญาติโยมไม่ยอม จำเป็นท่านเลยรับไว้ และก็สอนขานนาคให้ หลวงพ่อจันทร์เรียน นึกถึงบุญคุณครูบาอาจารย์สมัยหลวงปู่เคน ท่านเคยสอนนาค และอยู่อบรมธรรมด้วยกันมาเสมอ
    หลวงปู่เคน เขมาสโย มีเพื่อนสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก คือ
    ๑.หลวงปู่ประสาร ปัญญาพโล วัดคามวาสี บ้านหนองดินดำ ต.ตาลโกน อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพุธที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑
    ๒.หลวงปู่สมัย ทีฆายุโก วัดป่าโนนแสงทอง ต.แวง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
    ๓.หลวงปู่เกิ่ง วิทิโต วัดป่าสามัคคีบำเพ็ญผล บ้านนาเตียง ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ท่านมรณภาพแล้ว วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๔๖

    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูง อารมณ์ดี เยือกเย็นเสมอ พร้อมให้การสังเคราะห์ต่อศรัทธาญาติโยม ท่านมีอัธยาศัยเป็นพระที่ไม่ค่อยเก่งในการปฏิสัณฐานกับศรัทธาญาติโยมมากนัก เรียกว่าไม่ค่อยพูด นอกเสียจากว่านาน ๆ ครั้งองค์ท่านก็มีเมตตาสอนให้ข้อคิดคติธรรมบ้าง ในลักษณะคำสอนสั้น ๆ แต่ก็ถึงใจกับลูกศิษย์ลูกหา เมื่อได้น้อมใจที่พยายามเข้าใจในธรรมที่องค์ท่านเมตตาสอน ทั้งผิวพรรณขององค์ท่านก็สดใส ขาวผ่อง สมกับความเป็นพระอริยเจ้าผู้มีคุณธรรมขั้นสูง หลวงพ่อจันทร์เรียน คุณวโร ศิษย์ผู้มีความผูกพันกับหลวงปู่เคน เคยกล่าวไว้ว่า "พระผู้เฒ่าไม่ต้องห่วงแล้ว ท่านสบายแล้ว”
    หลวงปู่เคน เขมาสโย ท่านได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จยุพราชสว่างแดนดิน เนื่องจากลื่นหกล้มที่กุฏิ ในช่วงก่อนวันคล้ายวันเกิดในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ซึ่งทำให้สะโพกท่านหัก ภายหลังจึงได้นำตัวท่านส่งไปโรงพยาบาลสกลนคร และได้ละสังขารเข้าอนุปาิเสสนิพพานลงด้วยสาเหตุไตวาย เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๔๕ นาฬิกา ซึ่งตรงกับวันมาฆบูชา สิริรวมอายุ ๘๖ ปี ๗ วัน พรรษา ๖๓
    26358946418_n.jpg?_nc_cat=102&_nc_sid=2d5d41&_nc_ohc=-lAES_Fxmx4AX80HVWD&_nc_ht=scontent.fkkc2-1.jpg

    >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ******บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems SAM_3035.JPG SAM_7134.JPG SAM_7135.JPG SAM_1808.JPG
     
  12. Higtmax

    Higtmax เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    2,324
    ค่าพลัง:
    +4,774
    บูชาครับ
     
  13. ธรรมศิล

    ธรรมศิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +800
    ขอบูชาครับ
     
  14. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 717 เหรียญรุ่นเพชรนํ้าเอกหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างเเดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่หนูเพชรเป็นศิษย์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ วัดป่าประสิทธิธรรม เหรียญสร้างปี 2554 มีตอกโค๊ตตัวเลข 9 หน้าเหรียญ มาพร้อมกล่องเดิม ประวัติหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ พระอริยะสงห์แห่งวัดป่าภูมิพิทักษ์ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร หลวงปู่ท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ชอบอยู่เงียบๆเรียบง่าย ไม่ติดในลาภสักการะ เมื่อเข้าไปพบเจอ สนทนากับหลวงปู่ มีแต่ความเยือกเย็น เมตตาหาที่สุดไม่มีประมาณ เป็นธรรมยิ่งนัก สาธุ สาธุ สาธุ.(หลวงปู่หนูเพชร องค์ท่านไม่รับกิจนิมนต์ออกจากนอกวัดเลย ใครจะมากราบก็มากราบที่วัดได้ตลอดเวลาครับผม) >>>>ประวัติย่อพอสังเขปหลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    วัดป่าภูมิพิทักษ์
    ต.คำสะอาด อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ
    เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๔๗๒
    ณ.บ้านบึงโน ต.บ้านหัน อ.บ้านหัน จ.สกลนคร
    ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น
    ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    บิดาชื่อนายบุญ ไพบูลย์ มารดาชื่อนางเคน ไพบูลย์
    มีบุตรร่วมกัน 6คน
    ๑.หลวงปู่หนูเพชร ปัญญาวุโธ (ไพบูลย์)
    ๒.นางเล็ก ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๓.นางสอง ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๔.นางทอง ไพบูลย์ (เสียชีวิตแล้ว)
    ๕.น้องชาย (ไม่ทราบชื่อ) เสียชีวิตแล้ว
    ๖.น้องชาย (ไม่ทราบชื่อ)เสียชีวิตแล้ว
    เมื่ออายุ ๗ ปีท่านได้เข้าเรียนโรงเรียนวัดศรีชมภู
    บ้านบึงโนในปีพ.ศ. ๒๔๗๘ ได้เล่าเรียนจนจบชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ ในปีพ.ศ.๒๔๘๓ ใช้เรียนเรียนอยู่๕ปี ช้ากว่าเด็กไว้เดียวกัน ๑ปี เพราะไม่ได้ไปสอบเลื่อนชั้น จึงได้เรียน ๕ปี เมื่อจบโรงเรียนวัดศรีชมภู
    ท่านมีอายุ๑๑ปี ในปี๒๔๘๓ หลวงปู่ธรรม เคยเป็นสามี พี่สาวมารดาหลวงปู่ เคยแต่งงานกับพี่สาวมารดาหลวงปู่แต่งไม่มีลูก จึงเลี้ยงดูหลวงปู่
    ต่อมาได้ทราบประวัติหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ
    ว่าท่านสละทรัพย์สมบัติ ชวนภรรยาออกบวช
    หลวงปู่ธรรมจึงได้ชวนภรรยาที่เป็นพี่สาวมารดาหลวงปู่ออกบวชเหมือนกัน
    หลวงปู่ธรรมได้มารับเด็กชายหนูเพชร ไพบูลย์
    ไปอยู่ด้วยที่วัดผดุงธรรม บ.ดงเย็น ต.ดงเย็น อ.บ้านดุง จ.สกลนคร (ซึ่งเป็นวัดแรกที่องค์หลวงปู่พรหม. จิรปุญโญได้สร้างขึ้น ก่อนจะสร้าวัดประสิทธิธรรม) ในปี ๒๔๘๓-๒๔๘๗ องค์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ท่านยังไปวิเวกในเขตภาคเหนือ และเดินทางกับมาภาคอีสานในปีพ.ศ.๒๔๘๗
    เข้าร่มผ้ากาสาวพัสตร์ครั้งแรก
    อายุได้๑๒ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชัยมงคล
    บ้านง่อน ต.โพนสูง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    ในปี.พ.ศ.๒๔๘๔ โดยมีพระอุปัชฌาย์ฮวด สุมโน
    เป็นพระอุปัชฌาย์
    พรรษาที่๑ ได้สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปีพ.ศ.๒๔๘๔
    พรรษาที่๒ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้ในปี พ.ศ.๒๔๘๕
    พรรรษาที่๓ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปีพ.ศ.๒๔๘๖
    พรรษาที่ ๔ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปี พ.ศ.
    ๒๔๘๗
    พรรษาที่๕ ได้สอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อีกในปีพ.ศ.๒๔๘๘
    รวมระยะเวลาท่านสอบนักธรรมชั้นโทไม่ได้อยู่๔ปี
    ท่านจึงเลิกสอบ
    พรรษาที่ 6. พ.ศ. ๒๔๘๙ ระหว่างปี๒๕๘๗-๒๔๘๙ สามเณรหนูเพชร ไพบูลย์ ได้มีโอกาสศึกษาธรรมกับองค์หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ศิษยในองค์หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่พรหมถือเป็นศิษย์ในหลวงปู่มั่นที่สำเร็จธรรมเป็นพระอรหันต์องค์แรกที่หลวงปู่มั่นชมเชย
    เนื่องจากปี๒๔๘๗องค์หลวงปู่พรหมกลับภาคอีสาน
    ต่อมาไม่นานปี๒๔๘๙
    บิดาหลวงปู่ได้ป่วยไม่มีใครทำนาท่านจึงได้ตัดสินใจลาสิกขาออกไปทำนาเพื่อเลี้ยงน้องๆ ตามประเพณีที่ท่านเป็นลูกชายคนเดียวและคนโต
    *****เข้าร่มผ้ากาสาวพัสตร์ครั้งที่สอง
    ต่อมาอายุ ๒๐ย่าง๒๑ปี
    ท่านได้ชอบสาวในหมู่บ้านเดียวกัน เลยขอมารดาอยากแต่งงาน แต่มารดาไม่อนุญาติ พร้อมขอให้ท่าน
    อุปสมบทให้มารดาก่อนเพราะท่านเป็นลูกชายคนเดียวและคนโต ท่านจึงได้ตกลงจึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม ณ.วัดศรีชมภู เพื่อให้พระอยู่ในสำนักสอนขานนาค (คำขออุปสมบท)
    ขณะท่านเข้านาคเป็นผ้าขาวอยู่นั้นผู้สอนคำอุปสมบทให้ท่านคือหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร
    ขณะนั้นทางวัดศรีชมภู ชาวบ้านและครูบาอาจารย์ กำลังร่วมกันสร้างโบสถ์ขึ้น โดยมี พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม(พระครูฐิตธรรมญาณ) เป็นหัวหน้า
    พระอาจารย์มหาเถื่อน อุชุกโร(พระครูอดุลสังฆกิจ)
    พระอาจารย์คำฟอง เขมจาโร(พระครูพิพิธธรมสุนทร) พระอาจารย์โง่น โสรโย พระอาจารย์สมภาร ปัญญาวโร(พระครูปัญญาวรากร) พระอาจารย์อ่อนศรี ฐานวโร พระอาจารย์อุดม ญาณรโต(พระครูอุดมศีลวัฒน์) จนเสร็จสมบูรณ์ จึงทำการผูกพัทธสีมาพร้อมทั้งอุปสมบทพระภิกษุ เพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง
    บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นของขวัญแก่ชาวบ้าน
    นาคผ้าขาวหนูเพชร ได้รับการอุปสมบทหลังจากผ่านการฝึกหัดท่องคำขออุปสมบท พร้อมข้อวัตรปฏิบัติสมควรแก่การอุปสมบท
    >>>>>อุปสมบท
    ในวันจันทร์ที่ ๓๐ เดือนมกราคม ๒๔๙๓
    เวลาประมาณ๐๔ฺ.๐๐น เริ่มปลงผมโกนผมเวลา๐๒.๐๐น. ณ.อุโบสถวัดศรีชมภู บ้านบึงโน ต.โคกสี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร
    เช้าวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๙๓
    เป็นวันถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์ใหญ่
    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ.วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง
    จ.สกลนคร
    โดยมี
    ๑.พระครูพุฒิวรคม (พุฒิ ยโส) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ๒.พระอาจารย์คำฟอง เขมจาโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (พระครูพิพิธธรรมสุนทร )
    ๓.พระอาจารย์ลี ฐิตธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    (พระครูฐิติธรรมญาณ)
    มีนาคผ้าขาวร่วมอุปสมบทจำนวณ๑๒ตัว(คน)
    จาก๔หมู่บ้าน
    ✅หลังจากเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แล้ว ท่านได้ไปเรียนกัมมัฏฐานกับหลวงปู่พรหม จิรปุญโญ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นใหญ่ของพระอาจารย์มั่น อยู่ปฏิบัติพระกัมมัฏฐานกับหลวงปู่พรหมระยะหนึ่ง หลังจากนั้นท่านได้ไปเดินธุดงค์กับหลวงปู่ลี ฐิตธัมโม วัดเหวลึก อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ถึงปี พ.ศ.2513 หลวงปู่หนูเพชรได้มาเจอวัดโบราณที่เป็นวัดร้าง ได้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดป่าภูมิพิทักษ์" ท่านจึงมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมจนถึงปัจจุบัน
    หลวงปู่หนูเพชร เป็นพระเถระที่วัตรปฏิบัติเคร่งครัด เป็นพระชอบเก็บตัวเงียบ ซึ่งในขณะนั้น คณะศิษย์สายชลบุรีได้รู้จักจากการแนะนำของหลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำประทุน จ.ชลบุรี เนื่องจากหลวงปู่หนูเพชรได้เคยป
    Pic_2067_1.jpg
    Pic_2067_2.jpg
    ( บน )ภาพแจกงานศพหลวงปู่

    ( ล่าง ) หลวงปู่ถ่ายภาพหน้ากุฏิสมัยที่ท่านยังแข็งแรงดีอยู่
    ฏิบัติธรรมกับหลวงปู่อ่อนศรี
    หลวงปู่อ่อนศรี ยังพูดบอกอีกด้วยว่า "หลวงปู่หนูเพชร ท่านเก่งกว่าฉันอีก" ก่อนที่หลวงปู่อ่อนศรี ท่านจะมรณภาพ ท่านเคยสั่งไว้ให้คณะศิษย์ไปกราบหลวงปู่หนูเพชร
    >>>>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ ********* บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems SAM_7456.JPG SAM_0208.JPG SAM_0209.JPG SAM_0210.JPG SAM_2488.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มกราคม 2021
  15. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 718 เหรียญรุ่นอายุยืนหลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโสติถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร หลวงปู่เป็นศิษย์หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม เหรียญสร้างปี 2554 เนื้อทองฝาบาตร มีตอก 2โค๊ต ,โค๊ตตัวเลข 2769เเละโค๊ตยันต์ หลังเหรียญ องค์นี้เลี่ยมกันนํ้าอย่างดีขึ้นคอได้เลย
    bunhna.jpg
    หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
    >>>>>>ประวัติย่อๆพอสังเขปหลวงตาบุญหนา ท่านเป็นหลานแท้ๆ ของหลวงปู่ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่ออายุ 12 ปีได้เข้าพิธีบรรพชา ณ วัดแจ้ง บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านเอง หลวงปู่บุญหนา ท่านได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์นานถึง 12 ปี ตั้งแต่ครั้งสมัยเป็นสามเณร เช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ซึ่งเป็นหลวงอาได้นำท่านมาอยู่ด้วย และโดยเฉพาะกับพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ศิษย์สายธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในช่วงที่เป็นสามเณรอยู่กับพระอาจารย์อ่อนเคยไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) บ้านหนองผือ ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นประจำ โดยมีพระอาจารย์อ่อนนำพาไป สาเหตุที่ได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้พระอาจารย์อ่อน ด้วยพระอาจารย์อ่อนเดินธุดงค์มาพำนักหาความสงบวิเวกอยู่ที่บริเวณป่าช้าบ้าน หนองโดก (ปัจจุบันคือวัดป่าโสตถิผล หรือวัดป่าบ้านหนองโดก) ตอนนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณร แต่เป็นฝ่ายมหานิกาย พักอยู่วัดแจ้ง บ้านหนองโดก เป็นวัดบ้านของท่านเอง และไม่ไกลจากป่าช้าที่พระอาจารย์อ่อนไปพักอยู่นั้นมากนัก
    หลวงปู่บุญหนาท่านบอกว่า ตอนที่ไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่น ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ครั้งแรกไปกับพระอาจารย์อ่อน พร้อมกับสามเณรอีกรูปหนึ่งและญาติโยม 4-5 คน เดินมุ่งหน้าสู่เทือกเขาภูพานที่อยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้านหนองโดก ก่อนเดินทางถึงวัดป่าบ้านหนองผือ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง พอเข้าไปภายในบริเวณวัด รู้สึกว่าภายในวัดร่มรื่นสงบเงียบ เหมือนกับไม่มีพระเณรทำให้ตื่นตาตื่นใจเป็นครั้งแรก เห็นพระเณรกำลังทำกิจวัตรกวาดลานวัดด้วยไม้ตาด ส่วนพระอาจารย์อ่อน พร้อมคณะ เข้าไปกราบนมัสการพระอาจารย์มั่นบนกุฏิ เสร็จแล้วก็กลับที่พัก ปัดกวาดลานวัด ตักน้ำใช้น้ำฉันจากบ่อน้ำ เสร็จจากนั้นก็เตรียมรอสรงน้ำพระอาจารย์มั่นบริเวณหน้ากุฏิ ซึ่งมีพระเตรียมน้ำสรงไว้โดยใช้น้ำร้อนผสมพอให้อุ่น เมื่อพระอาจารย์มั่นเข้ามานั่งบนตั่งแล้ว คราวนี้พระเณรทั้งหลายห้อมล้อม เพื่อเข้าไปถูหลังขัดไคลถวายอย่างเปี่ยมล้นด้วยศรัทธา ส่วนสามเณรบุญหนา มีโอกาสเข้าไปร่วมสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนี้ด้วย
    bunhna1.jpg
    หลวงตาบุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล จ.สกลนคร
    เมื่อพระอาจารย์มั่นเห็นท่านซึ่งเป็นสามเณรมาใหม่ พระอาจารย์มั่นจึงพูดสำเนียงอีสานขึ้นว่า "เณรมาแต่ไส..." แต่สามเณรบุญหนาไม่ทันตอบ มีพระอาจารย์ทองคำตอบแทนว่า "เณรมากับครูบาอ่อน ข้าน้อย" จากนั้นท่านไม่ได้ว่าอะไรต่อไป จนเสร็จจากการสรงน้ำท่านในวันนั้น นอกจากนี้ ท่านยังได้ปฏิบัติอุปัฏฐากรับใช้ครูบาอาจารย์อื่นๆ อีก เช่น พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร และพระอาจารย์จาม มหาปุญโญ เป็นต้น
    หลวงตาบุญหนา ได้มาพำนักจำพรรษาอยู่ ณ วัดป่าโสตถิผล บ้านหนองโดก ต.ช้างมิ่ง อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นับได้ว่าท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจอีกรูป หนึ่งที่ยังเหลืออยู่ หลวงปู่บุญหนา ได้ให้สติแก่ญาติโยมผู้เดินทางมากราบนมัสการเสมอว่า ให้เป็นผู้มีสติ ระลึกรู้ในกาย สติระลึกรู้ในวาจาคำพูด สติระลึกรู้ในใจ เมื่อสติรู้ซักซ้อมอยู่ภายในกาย วาจา และใจแล้ว ทำ พูด คิด ถูกและผิด ก็ระลึกรู้อยู่ ปรับปรุงอยู่อย่างนี้เสมอ ซึ่งเป็นคำสอนของพระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ที่ได้เล่าเรื่องของท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เทศน์แสดงธรรมสั้นๆ ในช่วงที่เคยเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่นครั้งนั้นว่า "กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต กายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์"
    หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล ละสังขารแล้ว วันที่ 6 เม.ย. เวลา 14.52 น. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน เจ้าอาวาสวัดป่าโสตถิผล อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุ 84 ปี 9 เดือน 1 วัน 64 พรรษา
    HCtHFA7ele6Q2dULkSgScfuvZRlEuzjy2F2WsLfd7uIfOKyqUFWgPeF0GS0z2wUmMy.jpg

    >>>>>>>มีพระเกศาขาวๆใสๆหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 245 บาทฟรีส่งems SAM_7163.JPG SAM_7164.JPG SAM_1360.JPG



     
  16. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 719 เหรียญรุ่น 2 พระหลวงตาเเตงอ่อน กัลยาณธัมโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าโชคไพศาล อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร หลวงตาเเตงอ่อนเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นยุคสุดท้าย เหรียญสร้างปี 2541เนื้อทองเเดงมดำ (สร้างที่วัดป่าธรรมนิเวสวนาราม วัดเเรกที่หลวงปู่มาสร้างไว้ครับี่อำเภอวานรนิวาส) ๏ ประวัติย่อๆพอสังเขปเเละปฏิปทาของพระหลวงตาเเตงอ่อน
    พระคุณเจ้า “หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม” มีนามเดิมว่า แตงอ่อน บุตรศรี เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ ปีจอ ณ บ้านม่วงไข่ ตำบลพรรณนา อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อ นายพันธ์ บุตรศรี มารดาชื่อ นางมุ่ย บุตรศรี ต่อมา ครอบครัวของท่านได้อพยพย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่บ้านหนองนาหาร ตำบลนาซอ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
    >>>>>๏ การบรรพชาและอุปสมบท
    ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ วัดเสบุญเรือง ตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์อินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญัตติเป็นมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัดเสบุญเรือง จังหวัดสกลนคร โดยมี พระอาจารย์อินทร์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระอธิการบัว เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    >>>>>๏ ญัตติเป็นธรรมยุต
    ภายหลังจากได้ญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้ว หลวงตาแตงอ่อนได้ไปอยู่ศึกษาธรรม ข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ณ วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ตำบลนาใน อำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร
    หลวงตาท่านเล่าว่า “ในพรรษา ๔ ก่อนที่จะเดินทางเข้าไปที่วัดป่าบ้านหนองผือนั้น ได้นิมิตถึงท่านพระอาจารย์มั่น ทั้งๆ ที่ไม่เคยเห็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่นมาก่อนเลย เคยได้ยินแต่ชื่อท่าน ท่านมาปรากฏให้เห็นขณะหลวงตากำลังนั่งสมาธิอยู่ โดยนิมิตเห็นท่านพระอาจารย์มั่น เดินมายืนตรงหน้า แล้วหันหลังกลับมานั่งสมาธิทับองค์หลวงตา จากนั้นหลวงตาก็ตื่นขึ้น และคิดว่าสงสัยเราจะได้เข้าไปบ้านหนองผือแน่ ครั้นไปถึงที่วัดบ้านหนองผือแล้ว หลวงตาจึงทราบว่าเป็นองค์ท่านพระอาจารย์มั่น”
    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่ประทับใจครั้งแรกในเมตตาธรรมของหลวงปู่มั่น ช่วงที่ไปอยู่กับหลวงปู่มั่น ที่วัดป่าบ้านหนองผือว่า “เราจะไปกราบนมัสการท่าน เห็นพระภิกษุสามเณรเอาน้ำร้อนเข้าไปให้ท่านฉัน พระเณรขึ้นไปกราบท่าน เราก็ขึ้นไปด้วย ท่านทักว่า “พระมาจากไหน” แล้วท่านเมตตาถามว่า “ท่านจะไปไหน ?”
    หลวงตากราบเรียนท่านว่า “กระผมคิดจะกลับไปบ้านวา”
    ท่านกล่าวว่า “อันนี้ไม่โมทนานำแล้ว ลงไปนั่นมันร้อน ไปภาวนาข้างนอกมันร้อน อยู่แถวภูเขานี้ดีกว่า” เรียกว่าท่านให้โอกาสแล้ว ท่านจะให้อยู่แล้วนี่ ให้อยู่ถิ่นของท่านมันเย็นอยู่แล้ว หมู่เพื่อนภิกษุมาจับแขนแล้วบอกว่า “ท่านให้อยู่นะนี่ ไปขอนิสัยกับท่านอยู่เด้อ” พอเสร็จธุระแล้วหลวงตาครองผ้าจีวร ไปกราบขอนิสัยกับท่าน หลวงตาเลยอยู่ด้วยกับท่าน ไม่ได้ออกไปไหนจนท่านมรณภาพลง”
    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงข้อวัตรปฏิบัติของหลวงปู่มั่น ว่า “ท่านมีกิจวัตรประจำทุกวันแหละ ท่านเดินจงกรมทั้งตอนเช้าและตอนเย็น ตอนเช้าท่านออกจากห้องมีพระมารับบริขาร บาตร จีวร ของท่านไปสู่ที่ฉัน ส่วนท่านก็เดินจงกรมก่อน เสร็จแล้วก็กลับขึ้นไปศาลา แล้วครองจีวรไปบิณฑบาต
    เมื่อถึงเวลาท่านออกจากวัดไปบิณฑบาตนั้น ภิกษุสามเณรออกไปรอท่านที่บ้านหนองผือก่อน เมื่อท่านไปถึงก็นำบาตรมาถวายท่าน แล้วก็เดินตามท่านเป็นแถว ชาวบ้านหนองผือจะตั้งแถวรอใส่บาตร ๓ สายด้วยกัน พอท่านรับบิณฑบาตแล้วก็ไปนั่งม้านั่งที่เขาเตรียมไว้ เพื่อจะให้พร ยถา สัพพี.....ฯ แก่เขา แล้วก็เดินไปรับบิณฑบาตและให้พรจนครบทุกสายก็กลับวัด
    ญาติโยมบ้านหนองผือ ไม่ค่อยมารับพรในวัดหรอกเพราะท่านให้พรในหมู่บ้านทุกวันแล้ว อุบาสกอุบาสิกามีไม่มาก มาแต่เฉพาะผู้ชายที่มารับใช้ภิกษุสามเณร ล้างบาตร ล้างกระโถน และเก็บสิ่งเก็บของ ถ้ามีโยมผู้หญิงมาปฏิบัติ ท่านให้ไปอยู่กับแม่ชีข้างนอก (บ้านพักแม่ชีอยู่นอกวัด) โยมเอาอาหารมาวางที่หอฉัน
    ผู้ชายเขาก็เก็บมา ผู้หญิงเข้ามาใกล้ไม่ได้ ท่านไม่ให้เกี่ยวข้องกับฆราวาสผู้หญิง หลังจากท่านฉันจังหันแล้วเป็นอันว่าเสร็จกิจวัตรของท่านในช่วงเช้า จากนั้นท่านก็ขึ้นกุฏิพักผ่อน จะมีพระภิกษุที่เคยมานวดเส้นนวดถวายท่านเป็นประจำ พอท่านพักผ่อนแล้ว ท่านก็ลุกมานั่งสมาธิ บางทีท่านก็นั่งอยู่โคนต้นไม้ในตอนกลางวัน บางวันท่านก็เดินดูภิกษุสามเณรซักผ้าจีวร แล้วท่านก็เดินดูบริเวณรอบๆ วัด พอสมควรก็กลับกุฏิ
    พอย่ำค่ำท่านอบรมภิกษุสามเณร มีอยู่ตลอดทุกวัน ใครจะศึกษาธรรมะ กราบขอโอกาสเรียนถามท่าน ท่านก็อธิบายธรรมะธัมโมเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้ภิกษุสามเณรฟัง ฟังอยู่ที่นั้นก็เข้าใจดี ได้พิจารณาอาคันตุกะภิกษุที่อยู่ในนั้นก็ได้ยินได้ฟังด้วยกัน ท่านอบรมสั่งสอนให้เดินจงกรมภาวนานั่งสมาธิ มีความพากเพียรเราก็ทำไปตามคำสอนของท่านนี่แหละ มีโอกาสเวลาใดก็ไปนั่งสมาธิเดินจงกรมภาวนาไม่ว่าเช้า-เย็น-กลางคืน
    กติกาของท่านนั้น เช้า-เย็น ต้องทำความเพียรตลอด ตื่นแต่เช้ากวาดวัดเสนาสนะก่อนท่านพระอาจารย์มั่นออกจากห้อง ตอนเย็นก็ช่วยกันกวาดวัด บริเวณวัดและกุฏิที่พัก ภิกษุสามเณรต้องปฏิบัติตามข้อวัตร การตักน้ำใช้นั้นเปลี่ยนกันตักน้ำขึ้นจากบ่อ ตักน้ำตักสองคน พวกหาบก็หาบไปใส่ไว้ทุกกุฏิ บ่อน้ำในวัดป่าบ้านหนองผือ ไปตักไม่เคยแห้งใสปานแก้ว สองคนตักๆ เทใส่ องค์นี้ก็ตักเทจ๊าก องค์นั้นก็ตักเทจ๊าก เปลี่ยนกันทำ พวกหามก็หามไป น้ำบ่อไม่ลึก เอาไม้ขอตักเอา”
    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เอาไว้ว่า “ท่านเป็นผู้มีความสำรวมในอิริยาบถ มีอิริยาบถสำรวมตลอด ท่านไม่มองนั่นมองนี่ ไม่ยิ้มไม่หัว ท่านไม่ค่อยดูใครๆ ถ้ามองพระภิกษุสามเณรทางสายตา หากไปกระทบ ภิกษุสามเณรยืนอยู่ไม่ได้ ต้องนั่งเลย สายตาท่านคมมาก ท่านมองไปแต่ละครั้งบาดคมมาก ท่านไม่ดุหรอกแต่พูดคล้ายๆ ดุ ใจท่านไม่ดุเลยท่านเป็นพระอริยเจ้า สมควรที่เป็นพระอริยเจ้า ท่านพระอาจารย์มั่นมีปฏิปทาตามแบบแผนที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้
    ปฏิปทาของท่านก็ธรรมดา ไม่ยุ่งยากอะไร เพียงแต่ว่าท่านพยายามไม่ให้ภิกษุสามเณรญาติโยมมาสร้างอันนั้นอันนี้ ท่านไม่ให้สร้างหรอก ถ้าสร้างอันนี้ไม่เสร็จก็ให้เลิกไม่ให้ทำ เพราะทำให้ภิกษุสามเณรไม่ได้ภาวนา ที่พักก็ไม่ได้สวยงามอะไรหรอก ทำกระต๊อบๆ ก็พออยู่ได้ ส่วนกุฏิของภิกษุสามเณรและกุฏิของหลวงตานั้น จะเป็นกุฏิหลังเล็กๆ ที่เขาตีไว้ ฝาก็ฝาแถบตอง เอาฝาแถบตองสาน ข้างบนเอาหญ้าแฝกหญ้าคามามุง ข้างล่างนี้จักไม้ไผ่เป็นพื้น แต่ว่าดูดีนะภาวนาดี กุฏิแบบนี้จิตใจมันสงบเข้าสมาธิได้ดี
    สมัยนั้นท่านพระอาจารย์มั่น ให้ถือธุดงควัตรหมด แต่ว่ามันไม่มีอะไรสมัยนั้น ตลอดถึงสำรับจะใส่อาหารก็ไม่ค่อยจะมีหรอก ถาดอะไรๆ รับใส่ข้าวเศษบาตรนี้ ต้องสานเป็นตะกร้าใส่นะ กระโถนก็ไม่มีต้องเอาไม้ไผ่มาตัด กระโถนอย่างธรรมดาไม่มีหรอก บางทีกระบอกไม้ไผ่โตๆ ไม้ไผ่บ้านก็นำมาตัด ท่านพระอาจารย์มั่นก็ใช้กระโถนที่ทำมาจากกระบอกไม้ไผ่นั่นแหละ
    ดูเหมือนตอนนี้จะมีอยู่ในพิพิธภัณฑ์บริขารท่านพระอาจารย์มั่น ที่วัดป่าสุทธาวาส เอาไม้ไผ่มาตัดแล้วก็หาสีมาทา ขัดดีๆ หาสีมาทา ขัดล้างสีมันก็ไม่ออก สมัยนี้ไม่มีหรอกไม่มีกระโถนอย่างนี้ ข้าวเศษบาตรก็เอาใส่ตะกร้า ส่วนกระแป๋งก็สานด้วยไม้ไผ่เอาขี้ชันมาทา ท่านว่ากระแป๋งเสียงมันดัง กระแป๋งไม้ไผ่กระทบมันไม่ดัง
    อยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น มีคติอยู่อย่างหนึ่งท่านไม่รับกฐินแต่รับเป็นผ้าบังสุกุล อย่างนายวัน คมนามูลจะไปถวายผ้ากฐิน พอไปถึงท่านก็ถาม “คุณวันๆ อะไรนี่ จะถวายผ้ากฐินหรือบังสุกุลนี่” เขาก็ไม่ว่าอะไร กราบเรียนท่านว่า “แล้วแต่หลวงปู่ขอรับ” ท่านพระอาจารย์มั่นก็บอกไปว่า “เอาเตียงไปตั้งซิ เอาผ้าไปวาง เอาฟดไม้ (กิ่งไม้ที่มีใบไม้) ไปปก จะไปบังสุกุลเดี๋ยวนี้”
    เถ้าแก่ใฮ เมืองวานรฯ (อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร) ได้นำผ้าและจักรเย็บผ้าพร้อมทั้งสิ่งของต่างๆ เข้าไปวัดป่าบ้านหนองผือ มีศรัทธาจะถวายผ้ากฐินเหมือนกัน ท่านพระอาจารย์มั่นก็ถามว่า “เถ้าแก่ใฮเอ๊ย จะมาทำผ้าหรือบังสุกุลล่ะ” เถ้าแก่ใฮตอบว่า “แล้วแต่หลวงปู่” ท่านก็ทอดบังสุกุลไปเลย หลวงตาก็เตรียมท่องอปโลกน์กฐินไว้แล้ว หลวงตามหาบัวบอกว่า “ท่านเตรียมไว้นะ ถ้าพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นให้ทำก็ทำไปเลย ถ้าท่านไม่ให้ก็แล้วไป” สุดท้ายท่านพระอาจารย์มั่นก็ไม่รับกฐิน ให้แต่ทอดบังสุกุล
    ถ้ามีคนมาจากที่ไหนก็ตาม จะมาถวายของ ท่านจะถามก่อนว่า “จะเอาอะไร จะรับศีลห้าหรือศีลแปด” หากเขาตอบว่า “เอาศีลห้า” ท่านก็บอกว่า “เอาศีลห้าก็ว่าตาม” ท่านก็ว่า “อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ” ศีลห้าไม่ไล่เป็นข้อนะ ท่านไม่ได้ว่า ปาณาติปาตา.....อยู่สองปี....ไม่มีเลย ถ้าญาติโยมที่มาขอศีลแปด ท่านก็จะว่าเหมือนกัน “อิมานิ อัฏฐะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ”
    หลวงตาก็พูดกับเพื่อนที่อยู่ด้วยกันว่า “ท่านพระอาจารย์มั่นไม่ให้ศีลสักที เรานี่ซ้ำๆ ซากๆ ลูบๆ คลำๆ แต่เรื่องศีลไม่แน่ใจ หลวงปู่ท่านไม่ว่า เพราะศีลเป็นศีล เป็นสมาทานวิรัต สัมปัตตวิรัติ สมุทเฉทวิรัต มันมีอยู่แล้ว”
    >>>>>>๏ อยู่ปรนนิบัติถวายงานหลวงปู่มั่น
    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า “หลวงตามีหน้าที่ประจำหลายอย่าง คือ ตอนเช้าเณรเป็นคนชงโอวัลตินใส่แก้ว หลวงตาเป็นคนเทน้ำร้อนใส่ชงถวายท่าน ท่านฉันโอวัลตินพร้อมยาเม็ดทุกวัน ยานั้นเป็นยาแก้ไอ ตอนเช้าเมื่อท่านออกมาจากห้องพัก หลวงตาก็เอารองเท้าท่านออกมาเช็ดก่อน จับรองเท้าไว้ถวายให้ท่านสวมรองเท้าก่อนท่านเดิน จากนั้นหลวงตาก็เก็บกระโถน และก็ล้างน้ำมูตร น้ำคูถ เสร็จแล้วจากนั้นก็จัดกุฏิของท่าน
    ส่วนเวจกุฎี (ส้วม) ของท่าน หลวงตาต้องไปล้างเอาน้ำไปชำระไปเช็ดไปถู ไม่มีกระดาษชำระแบบนี้หรอก เอาใบตองกล้วยน่ะมาตัด ตัดประมาณคืบหนึ่งเลือกเอาแบบอ่อนๆ เนื้อหนังท่านอ่อน ไม่อย่างนั้นใบตองจะบาดเอา ตอนหลังท่านป่วยไปส้วมไม่ได้ ต้องมาเจาะกุฏิ พอท่านถ่ายเสร็จก็เอาอุจจาระไปเลยไม่ให้มี บางคืนก็ไม่มีอุจจาระดอก ถ้าท้องท่านไม่เสีย เกี่ยวกับทางจงกรมก็เหมือนกัน ถ้ามันเป็นฝุ่นหลวงตาก็เอาน้ำไปรด มันแห้งก็เอาฟอย (ไม้กวาด) มากวาดให้เกลี้ยง ไม่ให้มีอะไรทุกวันเป็นอย่างนี้ นอกจากนั้นคณะสงฆ์มอบให้หลวงตาเป็นผู้รักษาคลังสงฆ์นั้น อะไรๆ ที่ใช้อยู่ในวัดเอามาเก็บรวมกันหมด ใครเอาไปก็รู้ คลังสงฆ์ต้องมีบัญชี ใครขาดแคลนอะไรหลวงตาเป็นผู้แจกจ่าย มีหน้าที่ดูแลสิ่งของ
    ผู้ทำหน้าที่ดูแลนั้น มี ๒ รูป คือ ท่านอาจารย์วันและหลวงตา ท่านอาจารย์วันรักษาคลังผ้า ผ้าผ่อนที่เขาถวายมาท่านเก็บไว้ ภิกษุสามเณรขาดแคลนก็ไปหาท่านองค์นี้ จับเอามาวัดศอกแล้วพากันตัดเย็บช่วยกัน ท่านพระอาจารย์มั่น ให้ตัดเย็บแจกกันให้เป็นระเบียบ ท่านให้ปฏิบัติอย่างนั้นไม่ให้เก็บไว้ ไม่ได้ใช้ท่านไม่เอา ส่วนหลวงตามีหน้าที่ดูแลสิ่งของรักษาเครื่องใช้ไม้สอย มีด พร้า เครื่องยาแก้ไข้เภสัชต่างๆ รักษาคลังสงฆ์ ญาติโยมนำมาก็มาเก็บรักษา อยากใช้อะไรก็มาหาหลวงตา หลวงตาก็จ่ายตามต้องการ ตอนเย็นพระเณรมาสรงน้ำท่านพระอาจารย์มั่น หลวงตาเป็นคนปั้น (ปิด) ผ้าอาบและถ่าย (เปลี่ยน) ผ้าใหม่ถวายท่าน
    ผู้มีหน้าที่ดูแลปรนนิบัติท่านจะเป็นลูกศิษย์ลูกหา ผู้มีพรรษาต่ำพรรษาน้อย ครูบาอาจารย์รุ่นใหญ่ไม่มีหรอก ช่วงนั้นผู้ที่อยู่ดูแลปรนนิบัติท่านก็มี หลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร, หลวงปู่วัน อุตฺตโม, หลวงปู่คำพอง ติสฺโส, อาจารย์ทองคำ จารุวณฺโณ และอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต อยู่วัดถ้ำกลองเพล เป็นสามเณร”
    >>>>>>>๏ ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่มั่น
    หลวงตาแตงอ่อน ได้เล่าถึงการที่ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่มั่น ว่า “วันหนึ่งหลวงตาไปซักผ้าอยู่องค์เดียว ซักผ้าแล้วก็ไปนั่งพักผ่อนบนศาลา ท่านพระอาจารย์มั่นเดินลงมาจากกุฏิ ไม่มีใครในระหว่างเที่ยงวัน ท่านเดินถือผ้าเช็ดหน้าขึ้นมาศาลา เดินขึ้นไปยืนตรงหน้าหลวงตา แล้วเอาผ้าเช็ดหน้ามาวางบนศรีษะหลวงตา ท่านไม่พูดอะไรแล้วก็เดินลงศาลากลับไปกุฏิท่าน”
    หลวงตาขนหัวลุก คิดว่าท่านพระอาจารย์มั่นนี้เมตตาเราถึงที่สุดแล้ว ท่านเมตตากับคนโง่ พระโง่ คนไม่ฉลาด ปรกติท่านไม่แสดงออกอย่างนี้ อะไรๆ ที่เขาหวงไว้ ของดีๆ ผ้าดีๆ น่ะ เอาให้แต่หลวงตา ผ้าจีวรที่เขาเอามาแต่โน้น...ศรีสะเกษ สวยๆ ตัดถวายท่าน หรือสังฆาฏิเก่าของท่านที่ท่านเปลี่ยนก็มอบให้หลวงตา เพราะคนขนาดเดียวกัน (องค์เท่ากัน) ท่านให้จีวร สังฆาฏิ และผ้าเช็ดหน้าของท่าน ท่านคิดสงสารอะไรไม่รู้ เดินมากลางวันถือผ้ามาวางใส่หัวให้เลย
    >>>>>>๏ ให้ดุภายใน
    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงการดุของหลวงปู่มั่น ว่า “ภิกษุสามเณรด้วยกันเขาสงสัยว่า.....ทำไมองค์อื่นท่านพระอาจารย์มั่นดุมาก ทำไมภิกษุองค์เล็กๆ นี้ไม่ดุสักที เขาไม่รู้หรอกถ้าท่านดุก็ดุภายใน ไม่ดุภายนอกเสียงไม่ออก ท่านพูดออกมาธรรมะมันตำใจ หลวงตาไม่โดนท่านดุหรอกนะ แต่ท่านดุภายในหากหลวงตาภาวนา ที่มันค้างๆ คาๆ ติดขัดในการภาวนา ที่มันไม่ไหลไม่ลื่นท่านเทศน์เข้าไปเลย เรียกว่าท่านจี้เข้าไปเลย ท่านจี้เราแรง แล้วบาดลึกเรากลับตัวอนุโมทนาเลย
    ภาวนามัวเมา ไม่รู้ไปไหนมาไหน ท่านก็ต้องสอนแบบที่ว่าท่านไม่ให้ประมาท แต่ใจของท่านเมตตามาก หลวงตาไม่เคยกราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่น แต่ท่านแสดงธรรมอธิบายไปเลย ตอบข้อข้องใจหรือปัญหาธรรม ระหว่างอบรมธรรมะพระภิกษุสามเณรช่วงเย็นทุกวัน พอหลวงตาคิดอะไรท่านเทศน์ออกมาเลย เทศน์มาภายในเลยแต่คนอื่นไม่รู้ หลวงตารู้ภายในคนเดียว จะดุออกมาภายนอกนั้นไม่มี
    หลวงตาอยู่บ้านหนองผือเขาอัศจรรย์เหมือนกันพวกเพื่อนน่ะ ภิกษุสามเณรองค์อื่นท่านก็พูดว่าเสียงดังๆ หลวงตานี้ท่านไม่พูดเลย หลวงตาคิดว่าเราเป็นคนโง่ เราเป็นคนซื่อสัตย์นี่ เราไม่ทำอะไรให้ท่านหนักอกหนักใจ ท่านก็ไม่ว่าอะไร หลวงตายังคิดว่ากิจวัตรในวัดนั้น ถ้าคนอื่นไม่ทำเราทำได้คนเดียว คิดว่ามีศรัทธาถึงขนาดนั้นภูมิใจขนาดนั้น เช่น อะไรทุกสิ่งที่มันเป็นกิจวัตรอยู่ในนั้น กล้าทำได้คนเดียว เพราะเรามีศรัทธา มีความเชื่อมั่นอยู่กับท่าน ถึงแม้นหลวงตาจะไม่ได้กราบเรียนถามปัญหาต่อท่านพระอาจารย์มั่น แต่ท่านรู้
    หลวงตาคิดว่าท่านพระอาจารย์มั่น ท่านมีญาณหยั่งรู้ คืนหนึ่งหลวงตาไปปรึกษากับ ท่านอาจารย์วัน อุตฺตโม เรื่องข้อวัตรปฏิบัตินี้ ตอนเช้าท่านก็บอกว่า “เออเรารู้แล้ว”
    ภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่าเราปรึกษากับท่านอาจารย์วัน นึกว่าท่านจะดุเป็นเรื่องที่ภิกษุสนใจมาก เราก็มองเห็นอาจารย์วันยิ้ม ที่เราปรึกษากันเมื่อคืนนี้ ท่านพระอาจารย์มั่นรู้เราแล้วนี่ หลวงตามอบกายถวายชีวิตกับท่าน คิดปรึกษาข้อวัตรปฏิบัติที่จะเข้าสู่ธรรมะของท่านพระอาจารย์มั่น”
    >>>>๏ พระธรรมเทศนาของหลวงปู่มั่น
    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงเหตุการณ์ที่หลวงปู่มั่นท่านเทศนาธรรมครั้งใหญ่เอาไว้ว่า “ท่านเทศน์ใหญ่ๆ ปีหนึ่งสองสามครั้ง ที่เป็นวันสำคัญ เช่น มาฆบูชา วิสาขบูชา อาสาฬหบูชา เป็นต้น คณะศรัทธาญาติโยมก็มาในเวลานั้นนอกนั้นก็ไม่มีโอกาส ท่านเทศน์สูงได้ต่ำได้ วันนี้เทศน์เรื่องนี้ปฏิบัติตามได้ วันหน้าท่านไม่เทศน์ ท่านเทศน์ขยับไปอีก ตามท่านไม่ทัน ท่านละเอียดมาก ธรรมะท่านมีหลายแขนง
    เราปฏิบัติตามท่านยังไม่ได้ ก็ฟังท่านไปเรื่อยๆ ฟังไปๆ บันทึกไว้ในใจอันไหนไม่ได้ก็แล้วไป ธรรมะที่ท่านอบรมภิกษุสามเณรนั้น เป็นธรรมะปรมัตถ์อย่างลึกซึ้ง แต่ก่อนไม่ได้อ่านตำรับตำราที่ท่านเอามาเทศน์ ท่านเทศน์ชาดก พุทธประวัติ พระสูตรอะไรๆ ต่างๆ ท่านเอามาเทศน์บ่อย ที่หนองผือท่านพูดเรื่องพญานาคบ่อย ท่านเล่าให้ฟังว่าพญานาคเขามีฤทธิ์มาคารวะท่านพระอาจารย์มั่น แล้วก็เหาะไปเลย เรื่องอดีตชาติของท่านพระอาจารย์มั่น ท่านก็พูดท่านว่าท่านเคยเป็นกระแต ไปกัดไม้กระบกกิน แล้วท่านก็หัวเราะภพชาติของท่าน”
    ยุคนั้นมีพระเถรานุเถระที่เข้าไปกราบนมัสการท่านประจำ ก็มีเช่น พระเดชพระคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เทศกาลเข้าพรรษาทุกปี ท่านก็มาคารวะฟังเทศน์ของท่านพระอาจารย์มั่น หลวงพ่อลี ธมฺมธโร แห่งวัดอโศการาม ท่านก็เข้ามาวัดป่าบ้านหนองผือก่อนจะไปอินเดีย ส่วน หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่กู่ ธมฺมทินโน, หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร และหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ท่านเหล่านี้อยู่ใกล้ เข้ามาวันพระ มาคารวะท่านพระอาจารย์มั่นแล้วก็ออกไป ไม่ได้อยู่ประจำ
    >>>>>๏ อยู่กับหลวงปู่มั่นจนวาระสุดท้าย
    หลวงตาแตงอ่อน เล่าถึงเหตุการณ์ช่วงสุดท้ายของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ว่า
    “หลวงตาอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่นจนปีท่านมรณภาพ ช่วงสุดท้ายหลวงตาอยู่จนถึงตอนท่านเคลื่อนไปสกลนคร แต่ออกไปวัดป่าบ้านภู่ (วัดป่ากลางโนนภู่ ในปัจจุบัน) นั้นหลวงตาไม่ได้ออกไป เขามอบให้แต่ง (จัด) บริขาร หลวงตาแต่งบริขารแล้วก็ตามท่านออกมา แวะวัดป่าบ้านภู่ไปเฝ้าท่านอยู่ ท่านออกไปแล้วสองวันหลวงตาจึงตามไป ตอนที่จะเคลื่อนท่านออกจากวัดป่าบ้านหนองผือนั้น วันนั้นหลวงปู่เทสก์เข้ามาเป็นเพราะท่านพระอาจารย์มั่นป่วยโซมากแล้ว ได้กราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นว่า 'ขอนิมนต์อาราธนาออกไปข้างนอก มันลำบากลูกศิษย์ลูกหาจะมาคารวะ'
    ท่านกล่าวว่า 'ออกไปไม่ลำบากเหรอ ไม่ลำบากก็หามเอา'
    รถก็ไม่มี มีแต่เกวียนก็ออกจากบ้านหนองผือ อยู่วัดป่าบ้านภู่ไม่กี่วัน ลำบากเสนาสนะ ฝนมันตกเดือนสิบสองฝนยังไม่หยุด ภิกษุสามเณรลำบากหาที่อยู่ไม่ได้
    หลวงปู่เทสก์ท่านก็มากราบขออาราธนาท่านพระอาจารย์มั่นว่า 'เสนาสนะไม่พอ ลูกศิษย์ลูกหามากมาย ขออาราธนาไปวัดป่าสุทธาวาส ที่โน่นกว้างขวาง' ท่านก็เคลื่อนไปวัดป่าสุทธาวาสในวันนั้น ไปวันนั้นก็มรณภาพวันนั้น หลวงตาก็ตามไป
    แต่ก่อนนั้นรถไม่มี รถที่มารับนั้นมีโยมนุ่ม ชุวานนท์ คันเดียวเที่ยวขนพระขนเณร กลับไปกลับมาอยู่จนค่ำกว่าจะครบ จนไปถึงวัดป่าสุทธาวาส ช่วงนั้นหลวงปู่เทสก์ เป็นพระผู้ใหญ่ เคยอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น มีความชอบกับท่าน หลวงปู่เทสก์เป็นคนจริง เชี่ยวชาญในการพูดด้วย ศิษย์ผู้อื่นไม่กล้ากราบเรียนอาราธนาท่านพระอาจารย์มั่น”
    >>>>๏ สังฆานุสติ
    หลวงตาแตงอ่อน กล่าวว่า “คำของพ่อแม่ครูอาจารย์นั้นหลวงตายกใส่เกล้าตลอด เดินจงกรมภาวนาก็ทำตามท่านสอน สำหรับความดีของท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ท่านเป็นผู้มีเมตตาสูง เยือกเย็นมาก อยู่กับท่านมีแต่ความเย็นใจ ทำอะไรก็ระลึกถึงท่านตลอด เป็นอนุสสติอย่างหนึ่ง ไม่ได้ว่างเว้นเลย”
    >>>>๏ สร้างสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน
    ภายหลังจากถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าสุทธาวาสแล้ว หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม ท่านก็ได้ออกเที่ยวเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปตามสถานที่ต่างๆ ตามป่าเทือกเขาภูพาน ป่าช้า ป่ารกชัฏ และได้ไปอยู่ปฏิบัติธรรมกับครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อาทิเช่น หลวงปู่สีลา อิสฺสโร วัดอิสระธรรม อำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร, หลวงพ่อลี ธมฺมธโร วัดทรายงาม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น
    ต่อมาได้มาสร้างสำนักปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ดำเนินตามหลักปฏิปทาของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต รวมไปถึงเป็นที่อบรมศีลธรรมแก่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา และคณะศรัทธาญาติโยมทั่วไป อาทิเช่น วัดอรัญญวิเวก บ้านกุดเรือคำ อำเภอวานรนิวาส, วัดธรรมนิเวศวนาราม อำเภอวานรนิวาส, วัดภูคอกม้า และวัดกัลยาณธัมโม (วัดป่าโชคไพศาล) อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เป็นต้น ปัจจุบันนี้ หลวงตาแตงอ่อน ท่านได้พำนักปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดป่าโชคไพศาล บ้านหนองนาหาร ซึ่งเป็นบ้านเกิดขององค์ท่าน
    หลวงตาแตงอ่อน ท่านเป็นพระที่มีความเมตตา สุขุม สงบเยือกเย็น สันโดษ มักน้อย อยู่แบบสมถะเรียบง่ายไม่หรูหรา เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ กอปรด้วยศีลและธรรม มีศีลาจาริยวัตรที่งดงาม ควรค่าแก่การกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจโดยแท้ ท่านได้สอนสั่งพระภิกษุสามเณร รวมทั้งประชาชนญาติโยมทั้งใกล้ไกล ให้รู้จักศีลธรรม เป็นคนดีของสังคม ไม่เบียดเบียนกัน ให้รู้รักสามัคคี รวมทั้งให้เป็นคนที่มีหลักธรรมประจำใจ และให้หมั่นกระทำบำเพ็ญในการให้ทาน การรักษาศีล และการภาวนา เป็นต้น
    >>>>>๏ หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม ละสังขาร

    “หลวงตาแตงอ่อน กลฺยาณธมฺโม” ได้ละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานลงแล้วด้วยอาการอันสงบ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เวลา ๐๗.๓๐ น. ณ โรงพยาบาลสกลนคร สิริอายุรวมได้ ๙๑ ปี ๑๑ เดือน ๒๓ วัน รวมสิริพรรษาได้ ๑ พรรษาในมหานิกาย และ ๗๐ พรรษาในธรรมยุติกนิกาย >>>>>>>>>>>>>>>>มีพระเกศาหลวงตามาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems SAM_6054.JPG SAM_7142.JPG SAM_7143.JPG SAM_1627.JPG
     
  17. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    รายการที่ 720 เหรียญรุ่นเมตตาบารมีหลวงปู่ทองพูล สิริกาโม พระอรหันต์เจ้าวัดป่าภูกระเเต(วัดสามัคคีอุปถัมถ์) อ.เมือง จ.บึงกาฬ เหรียญสร้างปี 2538 เนื้อทองเเดงรมดำ มีตอกโค๊ตตรงผ้าสังฆาฏิ หน้าเหรียญ
    416-8255.jpg
    อัตประวัติย่อ หลวงปู่พระครูสิริธรรมวัฒน์ (พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม)
    วัดสามัคคีอุปถัมภ์ ( วัดภูกระแต ) อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย
    414-1d8b.jpg
    อัตประวัติย่อ พระครูสิริธรรมวัฒน์ (พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม)
    ท่าน อาจารย์ทองพูล สิรกาโม เป็นพระกรรมฐานรุ่นแรก แห่งกองทัพธรรมสายท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ โดยพระเถระรุ่นนี้ มีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ หลวงปู่คำตัน พระครูอุดมศีลวัฒน์ วัดป่าสถิตย์ธรรมมาราม พระครูปัญญาวรากร วัดป่าวิเวกพัฒนาราม โดยเฉพาะท่านอาจารย์ทองพูลกับท่านอาจารย์จวน ทั้ง 2 องค์ มีความสนิทสนมกันมาก
    ท่านอาจารย์ทองพูล เดิมชื่อหนูพูล นามสกุล เอนไชย เกิดที่บ้านเดื่อศรีคันไชย อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร บิดาชื่อนายเคน มารดาชื่อนางสุภี เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 7คน
    ตั้งแต่วัยเด็กท่านอาจารย์ทองพูลมีลักษณะนิสัยสุขุมเยือกเย็น พูดน้อย อ่อนน้อมถ่อมตน อยู่ในโอวาทของพ่อแม่ญาติพี่น้อง มีจิตเมตตา ท่านอาจารย์ได้บรรพชาอุปสมบทครั้งแรก เป็นพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกายที่วัดท่าเดื่อ โดยมีพระอุปัชฌาย์สิงห์ (ปัจจุบันคือ พระครูนรสีสาสน์ธำรง รองเจ้าคณะอำเภอวานรนิวาส)
    การบวช ครั้งนั้นเป็นการบวชในงานบุญประเพณีของผู้ที่ท่านอาจารย์คุ้นเคย และต่อมาท่านอาจารย์ทองพูลได้พบกับพระอาจารย์สีโห เขมโก ซึ่งเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์หลวงปู่มั่น และเป็นพระเถระรุ่นเดียวกับหลวงปู่เทสก์, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ฝั้น โดยท่านอาจารย์ทองพูลได้เปลี่ยนนิกายใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต โดยมี่พระอาจารย์เจดีย์(จูม พนฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสมุห์สวัสดฺ เป็นพระกรรมวาจาจาร มีฉายาว่า สิริกาโม เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2495

    นับ ตั้งแต่การอุปสมบท ท่านอาจาย์ทองพูล ได้ตั้งจิตแน่วแน่ในการปฏบัติธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และถึงขั้นที่เรียกได้ว่ามอบกายถวายชีวิต โดยการออกธุดงค์หาสถานที่วิเวกเพื่อเร่งความเพียร บำเพ็ญภาวนา เพียงพรรษาแรกท่านอาจารย์ได้ถือเนสัชชิธุดงค์ คือการไม่นอน ไม่ยอมให้หลังแตะกับพื้นตลอดพรรษาและอดอาหารควบคู่กันไป ท่านอาจารย์ทองพูลยังป่วยอาพาธเป็นไข้มาเลเรียนอย่างหนัก แต่ท่านอาศัยธรรมโอสถขันติธรรมเพ่งเวทนาที่เกิดขึ้นจนไข้มาเลเรียหายไปเอง
    สำหรับ วัดสามัคคีอุปถัมภ์แห่งนี้ ท่านอาจารย์ทองพูลได้เดินทางมาในช่วง พ.ศ. ๒๕๐๒ ครั้งแรกยังเป็นแค่ภูดิน อยุ่ทางทิศตะวันตกของตัวอำเภอบึงกาฬ โดยชาวบ้านเรียกภูดินแห่งนี้ว่า ภูกระแต เนื่องจากมีสัตว์พวกกระรอก กระแต รวมถึงสัตว์ป่าอื่นๆ อาศัยอยู่ชุกชุมตามสภาพที่เป็นป่าดงทึบ รกครึ้ม
    เมื่อ ท่านอาจารย์มาถึงบริเวณภูกระแต ในคืนแรกท่านจำวัดใต้ต้นบก และ 3-4 วันต่อมา ชาวบ้านได้ทำเพิงพักนั่งร้าน และกุฎิชั่วคราวแบบง่ายๆ ทำด้วยไม้ไผ่ป่า จากนั้นท่านอาจารย์จึงได้พัฒนาวัดเรือยมาจวบจนถึงปัจจุบัน โดยได้รับแรงศรัทธาสามัคคีร่วมใจจากคณะลูกศิษย์ลูกหาทั้งที่เป็นพระภิกษุ สามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
    415-2b97.jpg
    421-5f1a.jpg

    419-debd.jpg

    418-3cf3.jpg

    *******หลวงปู่ทองพูลละสังขารเข้าอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2558 เวลา 19.00 น.ที่วัดภูกระเเต โดยโรคติดเชื้อในกระเเสเลือด สิริอายุ 83 ปี 1 เดือน 19 วัน ุ63 พรรษา >>>>>>มีพระเกศาหลวงปู่มาบูชาเป็นมงคลด้วยครับ *******บูชาที่ 205 บาทฟรีส่งems SAM_7165.JPG SAM_7166.JPG SAM_1854.JPG

     
  18. domzeed

    domzeed สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤษภาคม 2016
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +9
    รายการที่ 720 เหรียญรุ่นเมตตาบารมีหลวงปู่ทองพูล สิริกาโม จองครับ
    ผมโอนแล้วนะ...รายละเอียดในข้อความนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 สิงหาคม 2020
  19. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    >>>>>>เช้าวันนี้ได้จัดส่งวัตถุมงคลให้เพื่อนสมาชิก 2 ท่านครับผม เลขที่จัดส่ง ems ตามที่ลงในใบฝอยครับ ขอขอบคุณครับ SAM_7167.JPG
     
  20. Somchai 2510

    Somchai 2510 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1,740
    ค่าพลัง:
    +125
    .....เมื่อวานติดธุระพาน้องชายไปหาหมอที่โรงพยาบาลสกลนครเเต่เช้าครับเลยไม่ได้จัดส่งครับ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...