ติดตามสถานะการณ์

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย สุกิจSukit, 8 มิถุนายน 2013.

  1. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ญี่ปุน : เช้าวันนี้ 4 กรกฎาคม
    เกาะ Kyushu คีวชู เมืองทางตอนใต้ฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมง น้ำป่าไหลท่วมเมือง ดินถล่มหลายแห่งในจังหวัดคะโงะชิมะมีการสั่งอพยพ ประชาชนได้รับผลประมาณ 75,000 คน บางพื้นที่เตือนภัยสูงสุด

     
  2. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ถึงแม้จะมีการเปิดการบินอีกครั้งหลังจากต้องหยุดบินจากโควิด-19 แต่ความต้องการบินยังน้อยมาก ทำให้ธุรกิจการบินประสบภาวะขาดทุน จนบางสายการบินต้องปิดกิจการในที่สุด

     
  3. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    (แอปจีนนี้ถูกใช้ป่วนงานของทรัมป์ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐ )

    TikTok แอปดาวรุ่ง แชมป์ดาวน์โหลดยุคโควิด กำลังเผชิญทางตัน หลังตกเป็นเหยื่อความขัดแย้ง ระหว่างมหาอำนาจเอเชีย จีน - อินเดีย

     
  4. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    สัมพันธ์'สหรัฐ-จีน' 'เดินหน้าสู่ความมืด'

    นักวิเคราะห์เผย ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐ 2 เขตเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลก อาจเลวร้ายต่อไป เมื่อทั้ง 2 ประเทศส่งสัญญาณต่างฝ่าย ต่างเตรียมความพร้อมสู้กันหลากแนวรบ


    ท็อด มาริอาโน ผู้อำนวยการแผนกสหรัฐ จากบริษัทวิเคราะห์ยูเรเซียกรุ๊ป เผยในรายการ "Squawk Box Asia" ทางสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นบีซี เมื่อวันพฤหัสบดี (2 ก.ค.) ตามเวลา ท้องถิ่นว่า โอกาสที่สถานการณ์บานปลายมีมาก ในทัศนะของเขาความสัมพันธ์ระหว่าง สหรัฐกับจีนยังไม่ถึงจุดที่มืดมิดที่สุด


    "เราเห็นการเคลื่อนย้ายไปสู่แนวรบเทคโนโลยีและการส่งออกมากขึ้น ผมคิดว่า สัญญาณอันน่ากลัวคือทั้ง 2 ประเทศกำลัง ต่อสู้หรือเตรียมการต่อสู้ในหลายในแนวรบ"


    ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่าง 2 ประเทศมุ่งเน้นเรื่องความไม่สมดุลทางการค้า และการแข่งขันกันทางเทคโนโลยี นำไปสู่การ เก็บภาษีตอบโต้กันไปมาทำให้เศรษฐกิจโลก สะดุด


    ช่วงไม่กี่เดือนหลัง สหรัฐและจีน กล่าวหากันขยายวงออกไปอีกหลายประเด็น เช่น ต้นกำเนิดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ และความเป็นอิสระของฮ่องกง


    "ฮ่องกง" ศูนย์กลางธุรกิจการเงินที่สำคัญ ของเอเชีย เป็นดินแดนปกครองตนเองของจีน ที่มีความสัมพันธ์ทางการค้าเป็นพิเศษกับสหรัฐ แต่วอชิงตันเริ่มตัดสิทธิพิเศษของฮ่องกงตาม กฎหมายสหรัฐ หลังจากปักกิ่งออกกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติฉบับใหม่กระชับอำนาจในการควบคุมฮ่องกง


    ไม่เพียงเท่านั้น การที่จีนขยายโครงการริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (บีอาร์ไอ) และแสดงท่าทีเด็ดขาดในทะเลจีนใต้ ล้วนเพิ่มความตึงเครียดกับสหรัฐ


    บีอาร์ไอเป็นโครงการสร้างโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ที่นักวิเคราะห์และ นักวิจารณ์หลายคนมองว่าเป็นวิธีที่จีน ใช้ขยายอิทธิพลไปทั่วโลกผ่านการปล่อยเงินกู้ ส่วนทะเลจีนใต้เป็นเส้นทางการค้าสำคัญ ของโลก ที่ปักกิ่งอ้างกรรมสิทธิเหนือดินแดน ส่วนใหญ่ทับซ้อนกับหลายๆ ประเทศ


    "เมื่อความขัดแย้งขยายวงกว้างเช่นนี้ ผมคิดว่าบั่นทอนความสามารถของรัฐบาลที่จะจำกัดวงหรือแก้ไขความตึงเคียดของปัญหาเหล่านี้ได้" มาริอาโนกล่าว


    เหล่านักวิเคราะห์เตือนด้วยว่า เมื่อประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ลงเลือกตั้งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ในเดือน พ.ย.นี้ เขาอาจใช้วาจาและการกระทำร้อนแรงกับจีน มากขึ้นเพื่อเรียกคะแนน


    วิลเลียม เรนช์ ที่ปรึกษาอาวุโส จาก ศูนย์ยุทธศาสตร์และการระหว่างประเทศศึกษา มองว่าถ้าทรัมป์ได้รับเลือกตั้งกลับมาอีกสมัย ท่าทีของวอชิงตันต่อปักกิ่งจะเหมือนเดิม แต่จะดุดันเป็นอันตรายมากขึ้น เผลอๆ อาจขึ้นภาษีอีกก็ได้ กระนั้นปักกิ่งอาจจะอยากให้ทรัมป์มีชัยเหนืออดีตรองประธานาธิบดีโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต


    "ผมถามนักธุรกิจชาวอเมริกันในจีนหลายคน พวกเขาตอบเหมือนกันว่า จีนอยากให้ ทรัมป์ชนะเลือกตั้งอีกสมัยมากกว่า พวกเขา เชื่อว่าจีนคิดว่า ความเสียหายที่ทรัมป์ทำกับพันธมิตรตะวันตก มากยิ่งกว่าความเสียหาย ที่ทรัมป์ทำให้จีน ดังนั้นผลลัพธ์สุทธิจีน ดีกว่า" เรนช์ตอบคำถามที่ว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง อยากให้ใครเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ คนต่อไป


    นับตั้งแต่รับตำแหน่งในปี 2560 แนวทาง "อเมริกาต้องมาก่อน" ของทรัมป์ได้โดดเดี่ยวสหรัฐออกจากพันธมิตรใกล้ชิด ที่สุดบางประเทศ ประธานาธิบดีขู่ขึ้นภาษีจากสหภาพยุโรป ยกเลิกข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านที่พันธมิตรเก่าแก่ เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี ล้วนสนับสนุน


    เดือนก่อน สหรัฐอนุมัติแผนถอน ทหารสหรัฐราว 9,500 นายออกจากเยอรมนี หลังประธานาธิบดีทรัมป์โอดครวญว่า เยอรมนี ไม่ยอมจ่ายเงินให้องค์การสนธิสัญญา แอตแลนติกเหนือ (นาโต) พันธมิตรทางทหาร ระหว่าง 30 ประเทศในยุโรปและอเมริกาเหนือ


    "เขาสร้างความขุ่นเคืองให้กับพันธมิตร เขากำลังเสียเพื่อน นั่นทำให้จีนมีโอกาส ในยุโรปและส่วนอื่นๆ ของโลกอย่างไม่เคย เกิดขึ้นมาก่อน" นักวิเคราะห์สรุป


    ส่วนสัญญาณที่ส่อให้เห็นว่าไบเดนกำลัง มาแรงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปีนี้คือ ในเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา ทั้งไบเดน คณะกรรมการ บริหารพรรคเดโมแครต และนักระดมทุนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องระดมทุนได้ 141 ล้านดอลลาร์ ถือเป็นเดือนที่ทำเงินได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ มากกว่าทรัมป์และคณะกรรมการ บริหารพรรครีพับลิกัน 10 ล้านดอลลาร์


    ไตรมาส 2 ของปี 2563 ทั้ง 2 ค่ายทำเงิน ได้มากเป็นประวัติการณ์ ไบเดนเหนือกว่าที่ 281.1 ล้านดอลลาร์ ส่วนทรัมป์ทำได้ 266 ล้านดอลลาร์


    "เงินที่ได้หมายความว่า เป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกันแล้วที่เราระดมทุนแซงหน้า ทีมหาเสียงโดนัลด์ ทรัมป์ ชี้ให้เห็นว่า คนรากหญ้ากระตือรือร้นอยากเลือกโจ ไบเดน"เจน โอมอลลีย์ ดิลลอน ผู้จัดการทีมหาเสียง ของไบเดนกล่าว โดย 68% ของคนที่บริจาคให้ ไบเดนในเดือน มิ.ย. เป็นผู้บริจาครั้งแรก และ เดือน มิ.ย.เป็นเดือนที่ไบเดนได้เสียงตัวแทนมากพอกลายเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตลงเลือกตั้งประธานาธิบดี


    ความเสียหายที่ทรัมป์ทำกับพันธมิตรตะวันตก มากยิ่งกว่าความเสียหายที่ทรัมป์ทำให้จีน ดังนั้นผลลัพธ์สุทธิจีนดีกว่า

    Source: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    เพิ่มเติม

    - U.S.-China relations are headed for the ‘darkest chapter yet,’ says Eurasia Group: https://www.cnbc.com/2020/07/02/us-...or-the-darkest-chapter-yet-eurasia-group.html

     
  5. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    "แบงก์ ออฟ อเมริกา"ชี้นลท.แห่ถอนกองทุนหุ้นครั้งใหญ่สุดในรอบ 7 เดือน

    แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป (BofA) เปิดเผยรายงานในวันนี้บ่งชี้ว่า ในสัปดาห์นี้ซึ่งนับถึงวันพุธที่ 1 ก.ค. บรรดากองทุนตลาดเงินได้เผชิญกับการไถ่ถอนเงินลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2562 โดยมีการไถ่ถอนเงินลงทุนถึง 7.1 พันล้านดอลลาร์จากกองทุนหุ้นต่างๆ

    รายงานระบุว่า ดัชนี Bull & Bear ของ BofA ไม่ได้อยู่ในเขต "ซื้อ" อย่างต่อเนื่องเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา

    นอกจากนี้ BofA ยังระบุในรายงานด้วยว่า นักลงทุนได้พากันเข้าลงทุนในกองทุนพันธบัตรเป็นมูลค่า 1.53 หมื่นล้านดอลลาร์ และลงทุนในทองคำคิดเป็นมูลค่า 2 พันล้านดอลลาร์

    Source: อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย กัลยาณี ชีวะพานิช

    - Money market funds see largest redemptions since December 2019: Bank of America
    https://www.moneycontrol.com/news/b...ce-december-2019-bank-of-america-5505141.html

     
  6. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ไวรัสฉุดอัตราผลผลิตเอเชียถึงปี 65 'ไอเอ็มเอฟ' คาดอัตราผลผลิตปีหน้าลดประมาณ 5% - “ไอเอ็มเอฟ” คาด เอเชียจะสูญเสียอัตราผลผลิตทางเศรษฐกิจเพราะไวรัสโคโรนา ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2565 โดยอัตราผลผลิตทางเศรษฐกิจของเอเชียในปี 2565 จะลดลงประมาณ 5% และหากการเติบโตของเอเชียติดลบเหมือนภูมิภาคอื่น ๆ คาดว่าการเติบโตทั่วโลกจะอยู่ที่ประมาณ -7.6%

    การประเมินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) นี้เป็นการเตือนเกี่ยวกับแนวโน้มการฟื้นตัวทั่วโลกหลังจากที่การระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้เศรษฐกิจโลกล่มสลายอย่างรุนแรงสุดนับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression)

    ไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า เอเชียมีสัดส่วนในการเติบโต 68% ของการเติบโตทั่วโลกในปี 2562 ในขณะที่การเติบโตในเอเชียน่าจะฟื้นตัวเป็น 6.6% ในปีหน้า แต่จะไม่เพียงพอที่จะทดแทนอัตราผลผลิตที่หายไปทั้งหมดเพราะวิกฤติไวรัสได้

    จาง ยอง รี ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชียและแปซิฟิกของไอเอ็มเอฟ คาดการณ์ว่า อัตราผลผลิตทางเศรษฐกิจของเอเชียในปี 2565 จะลดลงประมาณ 5% เมื่อเทียบกับระดับที่ได้ทำนายไว้ก่อนเกิดวิกฤติและช่องว่างนี้จะมากขึ้นหากรวมจีนเข้าไปด้วย

    “แม้ว่ามีการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ทั้งหมดแล้ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่น่าจะกลับมามีขีดความสามารถเต็มทั้งหมดเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และมีมาตรการเพื่อรักษาระยะห่างทางกายภาพและลดการแพร่กระจาย” รี กล่าว

    ไอเอ็มเอฟได้คาดการณ์ในสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะหดตัว 4.9% ในปีนี้ ซึ่งมากกว่าประมาณการเมื่อเดือนเมษายนที่คาดว่าจะหดตัว 3% ส่วนปี 2564 ไอเอ็มเอฟคาดว่าจะโต 5.4% ลดลงจากประมาณการเดิมซึ่งคาดว่าจะโต 5.8%

    ไอเอ็มเอฟคาดว่า จีดีพีเอเชียน่าจะหดตัวประมาณ 1.6% ในปีนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการหดตัวเช่นนี้ แต่ประมาณการนี้ไม่เปลี่ยนแปลงจากประมาณการเมื่อเดือนเมษายน

    รีกล่าวว่า เอเชียยังคงอับเฉาต่อไป หากการเติบโตของเอเชียติดลบเหมือนภูมิภาคอื่น ๆ คาดว่าการเติบโตทั่วโลกจะอยู่ที่ประมาณ -7.6% นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างธนาคารกลางและกระทรวงการคลังจะเป็นส่วนสำคัญในการตอบโต้ทางนโยบายเนื่องจากเศรษฐกิจเกิดใหม่จำนวนมากในเอเชียมีโอกาสที่จะกู้เงินได้จำกัด

    ทางเลือกในการดำเนินนโยบายได้แก่ ทำให้มีการใช้งบดุลของธนาคารกลางมากขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการปล่อยกู้ให้กับบริษัทขนาดเล็ก และอาจจะจำเป็นต้องควบคุมเงินทุนชั่วคราวในกรณีที่มีเงินทุนไหลออกมาก

    ในขณะที่เงินไหลออกจากภูมิภาคคงที่ แต่เงินที่ไหลออกสุทธิยังคงสูงเมื่อเทียบกับเมื่อเกิดวิกฤติการเงินโลก รัฐบาลต่าง ๆ จำเป็นต้องจับตาการกู้ยืมของประเทศแม้ว่ามีความจำเป็นต้องใช้เงินในช่วงวิกฤติมากขึ้น

    รีกล่าวว่า รัฐบาลต่าง ๆ จะต้องใช้แผนกระตุ้นทางการคลังในระยะสั้น แต่ต้องจัดทำแผนปฏิรูปที่เชื่อถือได้ในระยะกลางเพื่อบรรเทาความกังวลเกี่ยวกับหนี้ ซึ่งจะช่วยรักษาอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไว้ได้

    Soure: ข่าวหุ้น

    เพิ่มเติม
    - IMF Sees Asia’s Pain Persisting as Virus Curbs Limit Recovery : https://www.bloomberg.com/news/arti...pain-persisting-as-virus-curbs-limit-recovery

     
  7. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ⚠️ WHO หรือองค์การอนามัยโลกได้ออกมากล่าวเตือนเมื่อคืนนี้ว่า #อย่าการ์ดตก สถานการณ์ไวรัสระบาดยังน่าเป็นห่วงมากๆ และเตือนประเทศต่างๆว่าอย่ามัวแต่มีความหวังว่าวัคซีนจะออกมาในเร็ววันนี้ ขอให้พวกเราทุกคนปรับพฤติกรรมและมีมาตรการในการป้องกันการติดต่อแทนเพราะ #ไม่รู้ว่าเราต้องอยู่กับไวรัสโควิดนี้ไปอีกนานเท่าไหร่

    นายทีโดรส กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการขององค์การอนามัยโลกและ ดร. ไมค์ ไรอัน ได้ออกมาแถลงการณ์เมื่อคืนนี้ว่า จริงอยู่ #โครงการทดสอบวัคซีนในที่ต่างๆของโลกกำลังได้ผลที่ดีขึ้น และเราอาจจะสามารถผลิตวัคซีนได้สำเร็จภายในสิ้นปีนี้จริงๆ

    แต่เรายังไม่แน่ใจเลยว่าหากผลิตวัคซีนสำเร็จ โลกเราจะมีความสามารถในการเริ่มผลิตวัคซีนจำนวนมาก (Mass Vaccinations) ได้เมื่อไหร่ ? และจะมีเพียงพอให้กับทุกๆคนในโลกได้เมื่อไหร่ ? มันอาจจะไม่ใช่ภายในปีหน้าเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นการพยายามคาดหวังว่าวัคซีนจะเป็นทางออกเดียวของวิกฤตนี้นั้นเป็นสิ่งที่ #ไม่ฉลาด "unwise" เลย

    ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกดีดสูงขึ้นทะลุ 11 ล้านรายแล้วเมื่อคืนนี้

    สถานการณ์ไวรัสระบาดทั่วโลกนั้นยังคงน่าเป็นห่วง โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆทุกวันแม้ว่าบางประเทศจะเริ่มควบคุมตัวเลขได้แล้วก็ตาม เมื่อคืนนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวันของโลกยังออกมาสูงกว่า 200,000 รายต่อวันเป็นวันที่ 2 ติดต่อกันแล้ว (ข้อมูลจาก Bloomberg แนบในคอมเม้นท์)

    และประเทศที่ยังน่าเป็นห่วงที่สุดสองประเทศนั้นก็คือ สหรัฐ และ บราซิล ที่ผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่หลักประมาณ 5 หมื่นต่อวัน และรองลงมาคือประเทศ รัสเซียและอินเดีย ที่ที่ผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่หลัก 5 พันถึง 7 พันรายต่อวัน

    สถานการณ์ระบาดในสหรัฐยังคงน่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ

    ล่าสุดตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่รายวันทะลุหลัก 5 หมื่นรายต่อวันไปแล้ว อย่างที่ได้รายงานไปว่า 4 รัฐที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ Florida, Texas, California และ Arizona 4 รัฐซึ่งถือว่ามี GDP ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของสหรัฐ จึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมากๆ

    ในวันนี้นั้นรัฐที่ยังเห็นตัวเลขน่าเป็นห่วงขึ้นเรื่อยๆขึ้นมาคือ Alabama และ North Carolina ที่จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มพุ่งขึ้นมา รวมไปถึงรัฐ Tennessee and Arkansas ที่กล่าวว่าหากทางรัฐบาลยังไม่ออกกฏหมายให้ทุกคนใส่หน้ากาก ทางรัฐคงต้องออกมาออกกฏบังคับใช้กันเอง

    ในขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อใน New York ที่ดีขึ้นนั้นก็ยังคงดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่อคืนนี้เคสเพิ่มขึ้นเพียง +0.2% ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่คงที่มาเกือบเดือนนึงแล้ว

    ตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ แต่โดยรวมอาทิตย์ที่ผ่านมานั้นถือว่าปรับขึ้นมาอยู่

    ตลาดหุ้นสหรัฐ (นอกจากบริษัท Tech ใน Nasdaq) โดยรวมแล้วยังไม่ปรับตัวออกจากกรอบแคบๆที่เทรดกันมาในช่วง 1 เดือนล่าสุดเลย ดัชนี Dow Jones ยังคงติดอยู่ในกรอบ 25,000 - 26,500 จุด ในขณะที่ S&P500 ติดอยู่ในกรอบ 3,000 - 3,150 จุด แต่ทางด้าน Nasdaq นั้นทำสถิติใหม่เรื่อยๆทุกวันในอาทิตย์นี้ ก่อนที่จะปิดอาทิตย์ไปที่ระดับ 10,208 จุด ซึ่งเป็น All time high ของระดับปิดอาทิตย์

    โดยรวมแล้ว Sentiment ตลาดยังถือว่าดีมากถึงแม้ว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะสูงขึ้น หลักๆเพราะข่าวดีของวัคซีนต่างๆที่ออกมาในอาทิตย์นี้ อีกทั้งตลาดยังคงคาดหวังว่าจะมีมาตรการช่วยเหลือและกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมจากทั้งทางรัฐบาลและธนาคารกลาง (FED) ในเร็ววันนี้

    ความเสี่ยงของตลาดอย่างเดียวตอนนี้ดูเหมือนว่าจะไปอยู่ที่ #ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐและจีน เท่านั้น ว่าจะมีมาตรการตอบโต้อะไรที่รุนแรงและจริงจังกว่าที่ผ่านมาหรือไม่

    ⛔️ #ท่านใดไม่อยากพลาดข่าวสารแบบทันตลาด แนะนำให้กดตั้งค่า “รายการโปรด” หรือ "Favourites" ที่เมนูมุมขวาบนของเพจใน Facebook ตรงปุ่ม [...] และกดเปิดกระดิ่งไว้ได้เลยครับนะครับ จะได้ไม่พลาดทุกข่าวสารของทางเพจเรา ขอบคุณครับ

    #ทันโลกกับTraderKP

     
  8. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เปิดเส้นทางค่าเงินบาท และระบบอัตราแลกเปลี่ยนโลก

    ครบรอบ 23 ปี ลอยตัวค่าเงินบาท ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของค่าเงินบาท คือการเปลี่ยนระบบอัตราแลกเปลี่ยนจากการผูกค่าเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐในระบบ “Fixed Exchange Rate” จนกระทั่งการเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ไทยจึงหันมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวภายใต้การจัดการ “Managed Float” เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเดินซ้ำรอยเดิมเช่นเดียวกับตอนวิกฤตต้มยำกุ้ง …

    เพื่อเป็นการย้อนความทรงจำ วันนี้ FX insight จะพาไปดูว่า ระบบอัตราแลกเปลี่ยนทั่วโลกมีกันกี่แบบ เราเป็นแบบไหน และดูแลกันอย่างไร

    1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate Regime)

    1.1. ระบบลอยตัวแบบเสรี (Free Float) : ค่าเงินจะขึ้นอยู่กับแรงซื้อ (Demand) และแรงขาย (Supply) ของสกุลเงินนั้นๆ เพียงเท่านั้น เนื่องจากธนาคารกลางจะไม่เข้าดูแลหรือแทรกแซงค่าเงินเลย (ปล่อยเสรี) แต่ก็อาจจะใช้นโยบายอื่นที่มีผลต่อค่าเงินทางอ้อม เช่น การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ การทำ Quantitative Easing
    ประเทศ : ส่วนใหญ่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีตลาดเงินตราต่างประเทศขนาดใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และ แคนาดา

    1.2. ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Managed Float) ระบบนี้จะมีความคล้ายระบบ Free Float ตรงที่ค่าเงินยังคงเปลี่ยนแปลงตามแรงซื้อและแรงขายในตลาด แต่ต่างกันตรงที่ธนาคารกลางอาจมีการเข้าไปแทรกแซงดูแลค่าเงิน หากเห็นว่าค่าเงินอ่อนค่า แข็งค่าหรือผันผวนมากจนเกินไป โดยธนาคารกลางก็จะเข้าทำการซื้อ (ต้องการให้แข็ง) และขาย (ต้องการให้อ่อน) สกุลเงินนั้นๆ ในตลาด
    ประเทศ : ระบบนี้มีความยืดหยุ่นสูง และเป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก เช่น เกาหลีใต้ บราซิล รวมถึงประเทศไทย

    2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ (Fixed / Hard Pegged Exchange Rate Regime)

    ค่าเงินในระบบนี้จะ คงที่ ตามที่ธนาคารกลางประเทศนั้นๆ ได้ประกาศไว้ โดยอาจอ้างอิงกับสกุลเงินต่างประเทศสกุลเดียว หรือ หลายสกุล(ตะกร้าเงิน) ก็ได้ ทั้งนี้ การจะทำให้ค่าเงินนั้นคงที่อยู่ได้ ธนาคารกลางจะต้องเข้าแทรกแซงตลาดอย่างต่อเนื่อง ผ่านการซื้อ/ขายสกุลเงินเหล่านั้นในตลาด ดังนั้นธนาคารกลางจำเป็นต้องมีเงินทุนสำรองที่มากเพียงพอที่จะรักษาให้ค่าเงินคงที่อยู่ได้
    ประเทศ : ประเทศไทยก่อนปี 2540 หากเลือกที่จะใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนนี้

    3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นจำกัด (Soft Pegged Exchange Rate Regime)
    ระบบนี้คือการผสมระหว่างสองระบบข้างต้นเข้าด้วยกัน (1 และ 2) คือ ค่าเงินจะถูกกำหนดไว้แต่ยังคงสามารถเคลื่อนไหวได้บ้าง ภายใต้กรอบ (range) ที่ธนาคารกลางขึ้นมา ซึ่งในระบบนี้ ต้องอาศัยการแทรกแซงตลาดโดยธนาคารกลางเช่นกัน เพื่อให้ค่าเงินอยู่ภายในกรอบที่กำหนด แต่จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าระบบ Fixed Exchange Rate
    ประเทศ : สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ ซาอุดิอาระเบีย

    ข้อมูลประกอบความเข้าใจ
    ถ้าบาทแข็ง แปลว่า มี demand เงินบาทเยอะ ธนาคารกลางก็จะเข้าไปขายเงินบาท ซื้อเงินดอลลาร์ เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งมากจนเกินไป เงินดอลลาร์ที่ได้มาจะเก็บไว้เป็น “ทุนสำรองระหว่างประเทศ”

    ถ้าบาทอ่อน แปลว่า demand เงินบาทน้อย ธนาคารกลางก็จะเข้าไปซื้อบาท โดยขายเงินดอลลาร์จากทุนสำรองฯ เพื่อไม่ให้บาทอ่อนค่าจนเกินไป

    #ค่าเงินบาท #เคยfixแต่ตอนนี้float #บาทนี้ไม่มีใครกำหนด #แข็งอ่อนตามdemand #ค่าเงินบาทไปตามตลาดจ้า

     
  9. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    PSX_20200704_093935.jpg

    (Jul 3) “ผู้ว่าธปท.”ชี้ ไม่มี “สูตรสำเร็จเดียว” ฟื้นฟูเศรษฐกิจในวิกฤติโควิด ต้องคิด“นโยบายปรับโครงสร้าง”รับวิถีโลกใหม่ :โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติโควิด 19 ที่ไม่เพียงคุกคามสุขภาพของมนุษย์แต่ยังส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจด้วย ประเทศไทยประสบความสำเร็จที่คนไทยร่วมใจกันต่อสู้กับโรคระบาดจนสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ได้อย่างน่าพอใจ นำมาสู่การผ่อนปรนมาตรการต่าง ๆ เพื่อวิถีชีวิตและวิถีธุรกิจกลับมาเริ่มเดินเครื่องได้อีกครั้ง ท่ามกลาง “ภาวะปกติใหม่” หรือ new normal ที่โควิด 19 ได้เปลี่ยนให้โลกใบนี้ไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกต่อไป

    สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าจึงคัดบทสัมภาษณ์ ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและบทบาทของ ธปท. เพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจภายใต้ภาวะปกติใหม่ ตลอดจนโอกาส ความท้าทาย และแนวทางปรับตัวสำหรับทุกภาคส่วนเพื่อผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน ใน BOT พระสยาม MAGAZINE ฉบับเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2563 มานำเสนอ

    การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤติโควิด 19
    หลังจากไทยเริ่มมีสัญญาณที่ดีเพราะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดไว้ได้ ดร.วิรไทมองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยว่า การคาดการณ์วิกฤติรอบนี้เป็นเรื่องที่ยาก เพราะเป็นวิกฤติด้านสาธารณสุขที่ส่งผลกระทบกว้างไกลต่อระบบเศรษฐกิจ ไม่ใช่วิกฤติเศรษฐกิจโดยตรงหรือวิกฤติสถาบันการเงินที่เราคุ้นเคย และไม่ใช่วิกฤติจากภัยพิบัติธรรมชาติ เช่น น้ำท่วมใหญ่ ที่เราทราบว่าพอน้ำท่วมผ่านไป เศรษฐกิจก็จะกลับมาฟื้นตัวได้ แต่ครั้งนี้ไม่ทราบว่าการระบาดจะจบลงเมื่อไหร่และจบอย่างไร

    นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจแบบเปิด ภาวะเศรษฐกิจจึงขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดในต่างประเทศด้วย ทั้งเป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และบางอุตสาหกรรมต้องพึ่งพิงต่างประเทศสูง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยว ดังนั้นถ้าสถานการณ์โควิด 19 ทั่วโลกยังไม่แน่นอน การประเมินสภาวะเศรษฐกิจไทยต้องมีหลายฉากทัศน์ (scenario) และวางแผนเตรียมพร้อมรับมือหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ถ้าทุกอย่างจบลงเร็ว เศรษฐกิจก็จะฟื้นตัวได้ดี แต่เราชะล่าใจไม่ได้

    ดร.วิรไทกล่าวว่า จากการผ่อนปรนมาตรการในช่วงแรก กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่หยุดนิ่งไป 2 – 3 เดือนจะค่อย ๆ ฟื้นตัวกลับมา ส่วนกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากต่างประเทศยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง เช่น จะต้องใช้เวลาเป็นปีกว่าอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะเห็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาปีละ 40 ล้านคน ชีวิตหลังโควิด 19 จะทำให้การเดินทางระหว่างประเทศยากขึ้น มีต้นทุนสูงขึ้น และมีความไม่แน่นอนเพิ่มขึ้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในแต่ละประเทศ เราต้องยอมรับว่าชีวิตหลังโควิด 19 จะไม่เหมือนเดิม รูปแบบการทำธุรกิจ การใช้ชีวิต หรือการบริโภคของประชาชน จะเปลี่ยนแปลงมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องให้แน่ใจว่าเราปรับเปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจและวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับโลกข้างหน้าได้

    มาตรการการเงินและการคลังเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย
    สำหรับวางแผนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยของธปท. ดร.วิรไทกล่าวว่า “วิกฤติครั้งนี้คงไม่มีสูตรสำเร็จเพียงสูตรเดียวที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจ หัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยคือการจ้างงาน” แต่เมื่อโครงสร้างเศรษฐกิจหลังโควิด 19 เปลี่ยนแปลงไปจนไม่เหมือนเดิม รูปแบบการจ้างงานก็จะเปลี่ยนไปมาก ยกตัวอย่าง อุตสาหกรรมและภาคบริการจะใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (automation) มากขึ้น เราจะเห็นแรงงานจำนวนมากหางานได้ยากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานที่มีทักษะไม่สูงมาก แรงงานในภาคบริการ หรือแม้แต่คนรุ่นใหม่ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา

    ปัญหาการจ้างงานนี้เป็นโจทย์เชิงโครงสร้างที่ทุกฝ่ายต้องประสานงานกันเพื่อออกนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ที่จะเร่งพัฒนาทักษะแรงงาน รวมถึงการสร้างงานและการสร้างตำแหน่งงานใหม่ ๆ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังจากนี้

    มาตรการหลักที่ต้องเป็น “หัวจักรใหญ่” ในการฝ่าฟันวิกฤติรอบนี้คือ มาตรการด้านการคลังและมาตรการเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจ (structural policy) เพราะเมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดลง รายได้ของประชาชนและธุรกิจหดหาย มาตรการด้านการคลังจึงมีบทบาทสำคัญในการเติมรายได้เข้าสู่ระบบ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ออกหลากหลายมาตรการเพื่อเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ตลอดจนสร้างรายได้ใหม่ ขณะเดียวกันมาตรการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจก็จำเป็นไม่แพ้กันเพราะเราต้องย้ายทรัพยากรจากโลกเก่าก่อนโควิด 19 ไปสู่โลกใหม่ ทั้งทรัพยากรทุนและแรงงานที่ต้องมีทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลมากขึ้น

    ในส่วนของ ธปท. มีหน้าที่ดูแลมาตรการด้านการเงินและระบบการเงิน ซึ่งถือเป็น “มาตรการเสริม” เพื่อช่วยให้ระบบเศรษฐกิจปรับตัวไปสู่โลกใหม่หลังโควิด 19 ได้รวดเร็วและสะดวกขึ้นด้วยต้นทุนที่ถูกลง เช่น เมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับต่ำจะทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของภาครัฐและภาคเอกชนไม่สูงนัก การลงทุนขยายธุรกิจหรือปรับรูปแบบธุรกิจก็สามารถทำได้ด้วยต้นทุนการเงินที่ถูกลง

    ประเทศไทยบนวิถี Regionalization & Globalization
    ดร.วิรไทกล่าวว่า วิกฤติครั้งนี้สะท้อนให้เห็นว่า ระบบสาธารณสุขและระบบสังคมในเอเชียมีภูมิคุ้มกันที่ดีกว่าหลายภูมิภาคในโลก ทำให้ห่วงโซ่อุปทานที่อยู่ในเอเชีย โดยเฉพาะจีน เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น ภูมิภาคเอเชียจะมีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกต่อไป เมื่อวิกฤติโควิด 19 คลี่คลายลง เราจะได้เห็นการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย (regionalization) เพิ่มมากขึ้นด้วย

    อย่างไรก็ดี โลกาภิวัตน์ (globalization) ยังคงเป็นเรื่องสำคัญ เพียงแต่รูปแบบจะเปลี่ยนไปจากเดิม เทคโนโลยีจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น รูปแบบการทำงานและการใช้ชีวิตทั้งในประเทศและข้ามประเทศจะอยู่บนพื้นฐานดิจิทัลมากขึ้น ตลอดจนธุรกิจบริการที่อาศัยดิจิทัลเป็นพื้นฐาน (digital-based) จะถูกใช้ประโยชน์มากขึ้น

    ชีวิตหลังโควิด 19 จะไม่เหมือนเดิมรูปแบบการทำธุรกิจ การใช้ชีวิต หรือการบริโภค ของประชาชน จะเปลี่ยนแปลงมาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือต้องให้แน่ใจว่าเราปรับเปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจและวิถีการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับโลกข้างหน้าได้

    สำหรับประเทศไทย เรามีจุดแข็งหลายอย่างที่ทำให้สามารถก้าวผ่านวิกฤตโควิด 19 ได้ดีกว่าหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เริ่มจากเศรษฐกิจมหภาคและฐานะการเงินระหว่างประเทศที่เข้มแข็งจนเป็นที่ยอมรับจากนักลงทุนและนักธุรกิจต่างชาติ ระบบสาธารณสุขมีประสิทธิภาพอย่างมากจนหลายประเทศชื่นชม นอกจากนี้ เรายังมีความมั่นคงทางอาหาร โดยประเทศไทยสามารถผลิตอาหารได้มากกว่าความต้องการในประเทศ โจทย์สำคัญคือ เราจะใช้ประโยชน์จากจุดแข็งเหล่านี้อย่างไร และจะเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากโลกเก่าไปสู่โลกใหม่หลังโควิด 19 ได้อย่างไร

    “สมดุล 4 ข้อ” เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาว
    ดร.วิรไทกล่าวต่อว่า ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการควบคุมการระบาดมาได้ค่อนข้างดี แต่สิ่งที่ต้องตระหนักคือ เราจะปล่อยให้ “การ์ด (guard) ตก” ไม่ได้เด็ดขาด เพราะถ้าหากเกิดการระบาดอีกระลอก คราวนี้ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรของภาครัฐ ทรัพยากรของภาคสถาบันการเงิน หรือแม้กระทั่งเครื่องมือทางด้านนโยบายการเงิน จะมีข้อจำกัดมากขึ้นและจะใช้ได้ยากขึ้นมาก ขณะเดียวกันถ้ารอให้วิกฤติจบแล้วค่อยมาเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจก็อาจจะสายไป เราจึงต้องวางนโยบายทั้งมิติของการเยียวยาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจไปพร้อมกัน และด้วยข้อจำกัดด้านทรัพยากร เราต้องหาสมดุลที่เหมาะสมอย่างน้อยใน 4 ด้านสำคัญ

    ด้านแรกคือ ต้องเร่งเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยเร็ว เราเรียกว่า มาตรการ “ดับไฟ” ดังนั้นในช่วงที่สถานการณ์เพิ่งเกิด เราจึงต้องให้น้ำหนักกับมาตรการเยียวยาค่อนข้างมาก เพื่อให้ประชาชนและภาคธุรกิจอยู่รอดและสามารถก้าวข้ามภาวะที่ยากลำบากนี้ไปได้ ต้องดูแลระบบเศรษฐกิจไม่ให้หยุดชะงักแรง และไม่ให้เกิดปัญหาสังคมรุนแรง

    ด้านที่สองคือ ต้องไม่ทำให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอจนอาจเกิดปัญหาในอนาคต เราผ่านวิกฤติการเงินมาหลายครั้ง ทำให้เรามีระบบกำกับดูแลสถาบันการเงินไทยที่เคร่งครัด สถาบันการเงินมีเงินกองทุนและตั้งสำรองเผื่อหนี้เสียอยู่ในระดับสูง ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยงที่ดี ทำให้วันนี้เราสามารถขอให้สถาบันการเงินไทยมาช่วยเหลือลูกหนี้ได้หลากหลายวิธี แต่เราต้องระวังไม่ให้มาตรการเหล่านี้ทำให้ระบบสถาบันการเงินอ่อนแอจนสร้างปัญหาในระยะยาว เพราะไม่เช่นนั้น เมื่อวิกฤติโควิด 19 คลี่คลาย สถาบันการเงินจะไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจได้ หรืออาจก่อให้เกิดวิกฤติสถาบันการเงินตามมา นอกจากนี้ จะต้องระวังไม่ให้มาตรการเยียวยาต่าง ๆ กระทบต่อวินัยทางการเงินของลูกหนี้ซึ่งอาจส่งผลเสียในระยะยาวได้ เช่น ยืดระยะเวลาชำระหนี้ทั้งที่ลูกหนี้ยังสามารถจ่ายชำระหนี้ได้อยู่

    ด้านที่สามคือ ต้องไม่สร้างภาระทางการคลังจนมากเกินควร เราต้องตระหนักว่า รัฐบาลมีทรัพยากรจำกัดและต้องตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนหลากหลายกลุ่ม หลากหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข หรือด้านสังคม ดังนั้นจำเป็นต้องมีแผนจัดสรรทรัพยากรอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ขณะเดียวกันก็ต้องมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ นี่เป็นเหตุผลว่าเหตุใดรัฐบาลจึงไม่อาจทุ่มงบประมาณไปกับมาตรการเยียวยาได้ทั้งหมด เพราะต้องจัดสรรบางส่วนไว้ใช้สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด 19 คลี่คลายด้วย

    ด้านสุดท้ายคือ มาตรการต่าง ๆ ต้องสนับสนุนให้คนไทยและผู้ประกอบการไทยปรับตัวให้เข้ากับวิถีของโลกใหม่หลังโควิด 19 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่น ธุรกิจสายการบิน ในอนาคตคนจะเดินทางน้อยลง สายการบินต้องปรับโครงสร้างธุรกิจโดยลดกำลังการผลิตและอุปทานส่วนเกินก่อนที่จะเติมเงินเข้าไปช่วยเหลือ แนวทางนี้จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดสอดคล้องกับโจทย์ของโลกใหม่ สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ หลายธุรกิจยังยึดวิธีการทำธุรกิจรูปแบบเดิม คิดว่าหลังโควิด 19 คลี่คลายลงแล้วทุกอย่างจะกลับไปเหมือนเดิม

    เราจึงต้องช่วยกันคิดและส่งเสริมให้เกิด “นโยบายปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ” ให้มากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจไทยจะปรับตัวสอดคล้องกับโครงสร้างเศรษฐกิจในวิถีโลกใหม่

    ธนาคารกลางกับโจทย์ใหญ่ภายใต้ New Normal
    โลกหลังโควิด 19 จะไม่เหมือนเดิมในหลาย ๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตประจำวัน หรือการดำเนินธุรกิจ ดร.วิรไทมอง new normal ของธนาคารกลางทั่วโลกว่า ธนาคารกลางทั่วโลกก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่หลังวิกฤติโควิด 19 โดยขอยกตัวอย่าง 3 เรื่องที่ธนาคารกลางต้องให้ความสำคัญ

    เรื่องแรก โลกจะเข้าสู่กระแสดิจิทัลเร็วขึ้น สถาบันการเงินต้องปรับรูปแบบการทำธุรกิจให้สอดคล้องกับโลกการเงินวิถีใหม่ ธปท. ได้ส่งเสริมธุรกรรมการเงินดิจิทัลมาตลอด เมื่อสองปีที่แล้วเราเริ่มใช้พร้อมเพย์ (PromptPay) และ QR code ในช่วงการระบาดของโควิด 19 สถิติการโอนเงินชำระเงินผ่านพร้อมเพย์ทำลายสถิติทุกเดือน ปริมาณธุรกรรมเฉลี่ยพุ่งขึ้นไปถึงประมาณ 16 ล้านรายการต่อวัน ขณะที่จำนวนร้านค้าที่ติดตั้ง QR code เพิ่มถึง 6 ล้านจุดทั่วประเทศ ส่งผลให้ปริมาณธุรกรรมผ่าน QR code เพิ่มขึ้นมาก

    เมื่อธุรกรรมทางการเงินรูปแบบดิจิทัลเพิ่มขึ้นเร็วมาก ขณะที่การทำธุรกรรมการเงินรูปแบบเดิมและปริมาณธุรกรรมผ่านสาขาธนาคารลดลงเร็ว ซึ่งสอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ที่การติดต่อแบบบุคคลกับบุคคล (physical interaction) จะลดลงและเปลี่ยนมาใช้สื่ออื่นในการทำธุรกรรมมากขึ้น ฉะนั้น การเร่งพัฒนาระบบการเงินดิจิทัลเพื่อรองรับธุรกรรมที่จะเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดจึงเป็นโจทย์ใหญ่ของธนาคารกลางทั่วโลก

    ธปท. ก็ยังมีโจทย์เรื่องการต่อยอดบริการทางการเงินให้เป็นรูปแบบดิจิทัลอยู่อีกมาก ต้องครอบคลุมหลากหลายบริการ

    โดยเฉพาะสำหรับภาคธุรกิจ ระบบการเงินดิจิทัลจะช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินต่อได้ในสถานการณ์ที่มีความผันผวนสูง ลดต้นทุนการทำธุรกรรมทางการเงิน และทำให้ระบบเศรษฐกิจโดยรวมมีผลิตภาพที่ดีขึ้น

    เรื่องที่สอง โลกจะอยู่ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำต่อเนื่องไปอีกนาน ที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาตั้งแต่วิกฤติการเงินโลก 2008 (พ.ศ. 2551) ก่อนจะเกิดโควิด 19 ธนาคารกลางบางแห่งรวมถึง ธปท. ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้กลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น (normalization policy) เพราะการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องนานจะสร้างผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ประชาชนไม่มีแรงจูงใจที่จะออม หนี้สินอยู่ในระดับสูง ในโลกหลังโควิด 19 ธนาคารกลางทุกประเทศต้องลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อช่วยลดผลกระทบและสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และหนี้สินของประชาชนและธุรกิจจะยิ่งเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเพราะรายได้ลดลงมาก

    ธปท. เป็นธนาคารกลางแห่งแรก ๆ ที่ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเมื่อการระบาดของโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ในวันนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี ซึ่งต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ต้องถือว่าเราโชคดีที่การแพร่ระบาดในไทยสามารถควบคุมได้ และระบบการเงินของเราไม่ได้มีจุดเปราะบางเหมือนในหลายประเทศ ระบบสถาบันการเงินมีสถานะเข้มแข็ง ทำให้ ธปท. สามารถออกมาตรการหลายอย่างผ่านระบบสถาบันการเงินเพื่อมาเสริมการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้

    โจทย์ของธนาคารกลางทั่วโลกหลังวิกฤติโควิด 19 อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องที่คาดการณ์กันไว้อยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องเร่งขับเคลื่อนให้แรงขึ้นและเร็วขึ้นเพื่อจะได้เท่าทันกับปัญหาหรือความท้าทายที่จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากโควิด 19 คลี่คลายลง

    เรื่องที่สาม เสถียรภาพของระบบการเงินจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับระบบธนาคารพาณิชย์แบบที่คุ้นเคยในอดีตเท่านั้น เพราะระบบการเงินปัจจุบันมีความเชื่อมโยงกันสูงและครอบคลุมทั้งตลาดทุน ตลาดตราสารหนี้ สหกรณ์ออมทรัพย์ และกองทุนรวม วิกฤติรอบนี้ ธนาคารกลางหลายแห่งต้องออกเครื่องมือมาดูแลระบบการเงินและตลาดการเงินที่กว้างไกลกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่อาจลุกลามไปทั้งระบบ ในยุคหลังโควิด 19 ธนาคารกลางจะมีบทบาทในการดูแลเสถียรภาพของระบบการเงินในภาพใหญ่เพิ่มขึ้น

    ทั้งสามตัวอย่างนี้ชี้ให้เห็นว่า โจทย์ของธนาคารกลางทั่วโลกหลังวิกฤติโควิด 19 อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่คาดการณ์กันไว้อยู่แล้ว เพียงแต่จะต้องเร่งขับเคลื่อนให้แรงขึ้นและเร็วขึ้น เพื่อจะได้เท่าทันกับปัญหาหรือความท้าทายที่จะเพิ่มมากขึ้นหลังจากโควิด 19 คลี่คลายลง

    “กุญแจ 3 ดอก” สู่การสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน
    ดร.วิรไทให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพทางการเงินว่า มิติแรกที่ทุกคนควรตระหนักคือ การมีเงินออม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันทางการเงินที่ดี เงินออมที่เพียงพอจะทำให้เรารับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้ เราต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนอีกมาก ภาวะโลกร้อนจะทำให้โรคอุบัติใหม่เกิดบ่อยขึ้นและภัยพิบัติทางธรรมชาติรุนแรงขึ้น การจะมีเงินออมต้องเริ่มจากการตรวจสุขภาพทางการเงิน ควรใช้จ่ายเฉพาะในเรื่องที่จำเป็นและวางแผนการออมให้เพียงพอ ที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่อาจไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการออม ยิ่งพอเจอวัฒนธรรม “ของมันต้องมี” ก็ยิ่งสร้างจุดเปราะบางให้กับฐานะการเงินของตัวเอง

    มิติต่อมาคือ การบริหารจัดการเงินออม ต้องรู้จักวิธีกระจายความเสี่ยงของการออมรูปแบบต่าง ๆ ในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับต่ำนาน เรามักจะเห็นเหตุการณ์ที่คนแห่ไปลงทุนในผลิตภัณฑ์การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูง (search for yield) โดยไม่เข้าใจความเสี่ยงหรือประเมินความเสี่ยงต่ำกว่าที่ควร ซึ่งอาจนำไปสู่การถูกหลอกลวงได้ หรือถ้าสถานการณ์เปลี่ยนไปจากที่คาดไว้ อาจจะทำให้ขาดทุนได้ ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง เข้าใจความเสี่ยงจึงเป็นเรื่องสำคัญ

    มิติที่สามคือ การบริหารจัดการหนี้ ในช่วงโควิด 19 บางคนที่มีภาระหนี้สินอยู่แล้วอาจมีหนี้สินเพิ่มสูงขึ้นอีก เพราะรายได้ของทั้งประชาชนและธุรกิจลดลงมาก ธปท. จึงให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และร่วมกับสถาบันการเงินหลายแห่งออกมาตรการทางการเงินเพื่อช่วยลดภาระหนี้ให้กับประชาชนและธุรกิจ เช่น การเปลี่ยนหนี้บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อระยะยาวที่มีอัตราผ่อนชำระคงที่ทุกเดือนและอัตราดอกเบี้ยต่ำลงมาก ธปท. ได้รวบรวมมาตรการช่วยเหลือของสถาบันการเงินทุกแห่งไว้ที่ www.bot.or.th/covid19 เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกหนี้สามารถศึกษาแนวทางการปรับปรุงภาระหนี้ให้สอดคล้องกับกระแสรายได้และความจำเป็นของแต่ละราย การปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์จะเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก

    นอกจากนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ติดต่อไปยังสถาบันการเงินแล้ว ไม่ได้รับการตอบสนองที่ดี ธปท. ได้จัดตั้ง “ทางด่วนแก้หนี้” เพื่อเป็นกลไกรวบรวมคำร้องเรียนส่งให้กับสถาบันการเงินทุกวันและเร่งติดตามข้อร้องเรียนต่าง ๆ รวมถึงยังมีโครงการ “คลินิกแก้หนี้” เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียและมีเจ้าหนี้หลายรายให้สามารถเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ แบบจบที่เดียว (one stop) ผ่านบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือ SAM

    “ผมขอให้กำลังใจทุกคนว่า โควิด 19 นี้ไม่ใช่วิกฤติใหญ่ครั้งแรกที่ประเทศไทยเผชิญ เราผ่านมาแล้วหลายวิกฤติและสามารถก้าวข้ามผ่านมาได้ ผมเชื่อว่า การปรับตัวเองให้สอดคล้องกับโลกใหม่จะช่วยให้พวกเราทุกคนก้าวผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้ด้วยกัน”

    Source: ThaiPublica
    https://thaipublica.org/2020/06/bank-of-thailand-governor-talks-on-economic-recovery-and-new-normal/

     
  10. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    จากเรื่องสุขภาพ
    สู่ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย
    อินเดียเสี่ยง “จม” โควิดอีกนาน
    .
    .
    จนถึงตอนนี้ สถานการณ์ในอินเดียนั้นแย่เกินกว่าที่หลายคนคาดการณ์ไปมาก ตัวเลขล่าสุด ผู้ติดเชื้อวันที่ 2 ก.ค. ที่ผ่านมา เพียงวันเดียว พุ่งขึ้นไปถึงวันละ 1.9 หมื่นราย ทำให้ยอดผู้ป่วยโควิด – 19 ในอินเดีย สูงถึง 6 แสนคน ผู้เสียชีวิตปาเข้าไป 1.7 หมื่นคนแล้ว และ Active Cases หรือผู้ที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล มีจำนวนมากกว่า 2.28 แสนคน ล้นเกินความจุโรงพยาบาลไปมาก
    .
    หากมองย้อนกลับไปถึงเดือน มี.ค. นั่นทำให้กราฟจำนวนผู้ป่วยของอินเดียน่ากลัวมาก วันที่ 20 มี.ค. ช่วงเวลาใกล้เคียงกับการ “ระเบิด” ของโรคนี้ทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ในยุโรป และในสหรัฐอเมริกา ตอนนั้น อินเดียมีผู้ติดเชื้อเพียง 70 คน ท่ามกลางความกังวลของคนทั่วโลกว่า หากในที่สุด โคโรนาไวรัส 2019 สามารถเจาะอินเดียได้สำเร็จ ประเทศที่มีประชากร 1,300 ล้านคน มากเป็นอันดับ 2 ของโลกประเทศนี้จะเอาไม่อยู่ ทั้งด้วยสภาพความแออัด ความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และระบบสาธารณสุขที่เปราะบาง ไม่สามารถเข้าถึงคนเล็กคนน้อยได้
    .
    นั่นทำให้นายกฯ “โมดี” การประกาศ “ล็อคดาวน์” กะทันหัน คือประกาศเย็น และล็อคดาวน์เที่ยงคืน ตามมาด้วยการประกาศหยุดระบบขนส่งสาธารณะ ปิดร้านค้า ปิดตลาด ในวันที่ 24 มี.ค. อาจทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อในช่วงแรกชะงักได้จริง แต่ผลกระทบที่ตามมากลับใหญ่กว่านั้น ปัญหาเศรษฐกิจซ้ำเติมคนเล็กคนน้อย จนส่งผลให้คนอินเดียนับล้าน เลือก “เดินเท้า” กลับบ้าน เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนยากจน กับเจ้าหน้าที่รัฐ และทำให้กลุ่มคนที่เป็นแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ รายได้เป็นศูนย์เลยทันที
    .
    นั่นทำให้อินเดีย กลับมาเลือกเส้นทางเดิม คือกลับมา “เปิดเมือง” อีกครั้ง โดยยอมรับความเสียหายด้านโรคภัยไข้เจ็บ แทนที่จะเลือกเส้นทางที่ทำให้คนเล็กคนน้อยขาดรายได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบตามมาทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ปัญหาอาชญากรรม และมีความเสี่ยงที่จะเข้าใกล้ “รัฐล้มเหลว” สูง
    .
    อย่างไรก็ตาม การเลือกเปิดเมือง เน้นมาตรการ “เว้นระยะห่าง” ทางสังคม และพยายามตรวจเชื้อ – กักกันโรค - แยกผู้ป่วย ก็เกิดปัญหาตามมา เริ่มจากการ “ตรวจเชื้อ” ที่แม้อินเดีย จะเพิ่มปริมาณชุดตรวจ ทั้งชุดตรวจแบบ Rapid Tests ที่สามารถรู้ผลได้ภายในครึ่งชั่วโมง แต่ก็ไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ชุมชนแออัด และจำนวนประชากรที่มากในสเกลขนาดนั้น
    .
    ขณะเดียวกัน ยังมีปัญหาพื้นที่ที่ใช้ในการ “กัก” ผู้ติดเชื้อของรัฐบาลท้องถิ่น หรือ State Quarantine นั้น ก็เสื่อมโทรม มีสภาพแออัดมากเกินไป และผู้ที่ติดอยู่ในพื้นที่กักโรค ย่อมไม่สามารถหารายได้ตามปกติ ทำให้มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก พยายามหนีจากการตรวจโรค เพื่อจะได้ไม่ต้องเข้าไปกักกันโรคในสถานที่ของรัฐ
    .
    นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านการเทสต์ และการทำ Contact Tracing ติดตามผู้สัมผัสผู้ป่วยใกล้ชิด การศึกษาจาก สภาวิจัยด้านการแพทย์แห่งอินเดีย ระบุว่า แม้ระหว่างเดือน ม.ค. - เม.ย. อินเดียจะสามารถทำ Contact Tracing ได้มากถึง 20 คน ต่อผู้ป่วย 1 คน แต่ในรัฐที่มีประชากรไม่หนาแน่นอย่างรัฐกรณาฏกะ(Karnataka) ซึ่งเมืองบังกาลอร์ตั้งอยู่นั้น สามารถติดตามผู้สัมผัสได้ถึง 93 คน ต่อผู้ป่วย 1 คน แต่ในรัฐเดลี สามารถตามได้เพียง 9 คน เท่านั้น
    .
    สำนักข่าว BBC อ้างอิงข้อมูลจาก All India Drug Action Network กลุ่มเอ็นจีโอด้านสุขภาพในอินเดีย ระบุว่า การทำ Contact Tracing หลายครั้ง ไม่ได้ตรวจคนในครอบครัว ซึ่งส่วนมากในอินเดีย เป็นครอบครัวใหญ่ ได้ครบทุกคนด้วยซ้ำ และเมื่อมีการร้องเรียนจากเพื่อนบ้าน หรือจากคนที่รู้จักครอบครัว เจ้าหน้าที่รัฐ ถึงลงไปตรวจเพิ่ม ซึ่งก็ใช้เวลาหลายวัน และมีการแพร่เชื้อไปไกลแล้ว
    .
    ถึงตรงนี้ รัฐบาลท้องถิ่นของเดลี เริ่มรู้ปัญหา และประกาศมาตรการที่แข็งกร้าวขึ้นอย่างการระดมตรวจประชากรกว่า 29 ล้านคนอย่างเข้มข้นมากขึ้น และเพิ่มกำลังตำรวจ หรือแม้กระทั่ง “โดรน” คอยจับความเคลื่อนไหวของประชากร ให้ “เว้นระยะห่าง” ระหว่างกัน เพื่อเลี่ยงการแพร่เชื้อ
    .
    แต่ทั้งหมดนี้ ก็ถูกวิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญอีกว่า “ช้าไป” หากอินเดียใช้มาตรการแบบนี้ ตั้งแต่เดือน พ.ค. ก็คงไม่เป็นหนังม้วนยาวแบบวันนี้
    .
    ขณะที่ นพ.อัมบาริช สัตวิก ศัลยแพทย์หัวใจ ประจำโรงพยาบาลในเดลี บอกว่า โรคโควิด – 19 ในอินเดีย ได้เขยิบจากปัญหา “โรคระบาด” และปัญหาสุขภาพ ซึ่งต้องแก้ด้วยระบบสาธารณสุข ไปสู่ปัญหาด้านกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมไปเรียบร้อย
    .
    เขายกตัวอย่างว่า ตำรวจจะโทรไปที่บ้าน หากได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่า ใครคนใดคนหนึ่ง เข้าข่ายเป็น “กลุ่มเสี่ยง” หลังจากนั้นตำรวจจะเข้าไปลากตัวออกจากบ้าน จับไปไว้ในสถานกักกันโรคสักที่โดยไม่บอกล่วงหน้า นั่นทำให้มีหลายคนตั้งใจหนีกระบวนการเทสต์ และติดตามโรค
    .
    ขณะเดียวกัน แม้โรงพยาบาลเอกชนในเดลี จะมีจำนวนมาก และมีบทบาทสำคัญ แต่รัฐ ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์จากโรงพยาบาลเอกชนได้ การตรวจแล็บ การรักษา ยังคงกระจุกตัวอยู่ในโรงพยาบาลรัฐ หลายครั้งต้องรอนานหลายชั่วโมง จึงจะสามารถเข้ารับการรักษาได้ ขณะเดียวกัน ก็มีข่าวออกทีวีทุกวัน ว่าเตียงโรงพยาบาลรัฐนั้น “เต็มแล้ว” หลายคนที่มีอาการเบื้องต้น จึงเลือกอยู่บ้านแทน
    .
    ศรีนาถ เรดดี ประธานมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติอินเดีย และหนึ่งในคณะกรรมการรับมือโควิด – 19 ของรัฐบาล ยอมรับว่า “ความกลัว และการเลือกปฏิบัติ ทำให้โควิด – 19 ในอินเดีย ลงไปอยู่ใต้ดินมากขึ้น”
    .
    เขาบอกว่า วิธีแก้ไข คือรัฐบาลควรเจรจากับโรงพยาบาลเอกชน เพื่อขยายการเทสต์ และขยายจำนวนเตียงโรงพยาบาล โดยต่อรองราคาที่รัฐสามารถรับได้ แต่ในเมื่อรัฐบาลอินเดียไม่เคยทำเช่นนั้นมาก่อน โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งในเดลี ก็ขึ้นราคาไว้ล่วงหน้า ทำให้รัฐยอมถอย เลิกเจรจา และกลับไปใช้ทรัพยากรแบบเดิม ซึ่งล้นเกินขีดความสามารถไปมากแล้ว
    .
    ทั้งหมดนี้ นายกฯ โมดี ยอมรับว่ารู้ปัญหาแล้ว และจะเพิ่มจำนวนการเทสต์ให้มากขึ้นไปอีก ให้ได้ถึง 8.8 ล้านคนต่อวัน
    ในเรื่องร้ายๆ ก็ยังมี “ด้านดี” อยู่บ้าง คืออัตราการ “ฟื้นตัว” ของคนอินเดียนั้นค่อนข้างเร็ว เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุไม่มากนัก ยังอยู่ในวัยทำงาน ซึ่งทำให้อัตราตาย 1.7 หมื่นคน ต่อผู้ป่วย 6 แสนนั้น ไม่ได้สูงมาก
    .
    แต่การติดเชื้อ ที่ทำลายสถิติใหม่รายวัน ก็ทำให้โมดี ต้องคิดหนักว่าอินเดีย จะเลือกล็อกดาวน์บางพื้นที่เข้มข้นขึ้นหรือไม่ หรือจะกลับมาปิดสถานที่บางอย่างเพิ่มเติมหรือไม่ เพื่อจบเรื่องนี้เสียที
    .
    โมดี บอกว่า อินเดียกำลังเผชิญกับ “หัวเลี้ยวหัวต่อ” สำคัญ ซึ่งหากยังคงใช้นโยบายแบบเดิม หรือเลือกผิดทาง อินเดียอาจต้องจมกับโรคนี้ไปอีกยาวนาน...

    #COVID19 #โควิด19 #อินเดีย

    อ้างอิง

    https://www.thejakartapost.com/news...es-cross-600000-amid-easing-of-lockdowns.html

    https://apnews.com/f1a12a23683cb88b4338c29f0571cda6

    https://www.bbc.com/news/world-asia-india-53190500

     
  11. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    นายวลาดิมีร์ #ปูติน ส่อครองเก้าอี้ผู้นำ #รัสเซีย ต่อไปอีก 16 ปีถึงปี 2579 หลังจากชาวรัสเซียรับรองการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยกเลิกจำกัดวาระการดำรงตำแหน่งของเขา ด้วยคะแนนสนับสนุนสูงร้อยละ 78

    ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แถลงผ่านทางโทรทัศน์ ขอบคุณการสนับสนุนและความเชื่อมั่นจากประชาชน พร้อมระบุว่า รัฐเซียยุคใหม่กำลังอยู่ระหว่างก่อร่างสร้างตัวหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย เราต้องการเสถียรภาพภายในประเทศและเวลา เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ประเทศและองค์กรต่าง ๆ
    .
    รัสเซียจัดการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่นายปูตินเสนอ โดยมีบทบัญญัติเรื่องหนึ่งที่ให้วาระการดำรงตำแหน่งของเขาเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในปี 2567 และทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งต่อได้อีก 2 วาระ วาระละ 6 ปี หรือก็คือจนถึงปี 2579
    .
    ผลคะแนนปรากฏว่า ชาวรัสเซียสนับสนุนข้อเสนอของนายปูตินอย่างท่วมท้นร้อยละ 78
    .
    นายปูตินปกครองรัสเซียมาแล้ว 20 ปี โดยภายในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน เมื่อเขาอยู่ในตำแหน่งประธานาธิบดีครบ 2 สมัยแล้ว ก็ผันตัวไปเป็นนายกรัฐมนตรี โดยให้นายดมิทรี เมดเดเวฟ มาเป็นประธานาธิบดีคั่นกลาง และหลังจากนั้นอีก 4 ปี นายปูตินก็หวนคืนสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง
    .
    มาครั้งนี้ ปูตินเลือกวิธีแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ที่เด็ดกว่าก็คือ ไม่ได้ให้ยกเลิกการจำกัดวาระดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีไม่เกิน 2 สมัย แต่ “รีเซ็ท” วาระในตำแหน่งของเขาแค่คนเดียว จนบรรดาพรรคฝ่ายค้านกล่าวว่า นายปูตินพยายามที่จะเป็น “ประธานาธิบดีตลอดชีวิตคนเดียว”
    .
    ปูตินในวัย 67 ปี ถ้าเขาอยู่ในตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญใหม่ไปอีก 16 ปี เขาจะมีอายุ 83 ปี ทุกวันนี้เขายังแข็งแรงดี ออกปฏิทินโชว์กล้ามล่ำบึ๊ก วางขายทุกปี

    ท่ามกลางการระบาดของ #โควิด รัสเซียมีผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐและบราซิล แต่ปูตินยังปรากฏตัวในวันชาติรัสเซีย 12 มิ.ย.โดยไม่ต้องสวมหน้ากากอนามัย มีรายงานว่า ผู้ที่จะเข้าพบผู้นำรัสเซียจะต้องผ่านการตรวจหาเชื้อไวรัสก่อน และในทำเนียบประธานาธิบดีมีอุโมงค์พิเศษที่ติดตั้งเครื่องฆ่าเชื้อโรค พร้อมระบบจดจำใบหน้า และวัดอุณหภูมิร่างกาย ผู้ที่จะเข้าทำเนียบชั้นในจะต้องผ่านอุโมงค์ฆ่าเชื้อนี้.

     
  12. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    อุทกภัยยังคงเป็นพิบัติที่เกิดขึ้นเสมอ ๆ

    ซีจีทีเอ็น รายงานความพยายามในการควบคุมอุทกภัยและการบรรเทาภัยพิบัติเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างไม่หยุดหย่อนยังคงสร้างความหายนะแก่ประเทศ

    กระทรวงการจัดการเหตุฉุกเฉินได้ส่งทีมงานพิเศษห้าทีมไปยังพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเพื่อเป็นแนวทางในการบรรเทาภัยพิบัติ สำนักงานคณะกรรมการการบรรเทาและพัฒนาความยากจนแห่งชาติของสภาแห่งรัฐได้เรียกร้องให้รัฐบาลท้องถิ่นตรวจสอบสิ่งที่อาจเป็นอันตรายด้านโครงสร้างพื้นฐานและเร่งการสร้างบ้านถนนและสถานที่อนุรักษ์น้ำที่เสียหายอย่างละเอียดถี่ถ้วน

     
  13. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    วาทะร้อนการเมือง 4 ก.ค. 2563
    #ระวังตัวไว้ด้วยก็แล้วกัน

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เตือน ส.ส.พรรคก้าวไกล คนรุ่นใหม่ให้ระวังกฎหมาย โดยลุกขึ้นกล่าวระหว่างการประชุมสภาเมื่อวานนี้ว่า “ระวังตัวบ้างก็แล้วกัน” ซึ่งคำนี้ทำให้เกิดแฮชแท็กความนิยมอันดับ 1 ทวิตเตอร์ประเทศไทยทันที ในขณะที่มีผู้วิพากษ์คำพูดของนายกรัฐมนตรีถึงความไม่เหมาะสม เนื่องจากท่าทางน้ำเสียงฟังแล้วเหมือนเป็นการข่มขู่

    ขอบคุณรูปภาพจาก “ไทยโพสต์”

     
  14. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    บางแสนน่าสงสาร!
    บล็อกเกอร์ฝรั่งด่า #หาดบางแสน สกปรก
    บอกใครจะมาเที่ยว มาเล่นน้ำตีรถกลับเลยนะ

    “#นายกตุ้ย” แจงเป็นแบบนี้ทุกปี เกิดจากคนทิ้งขยะไหลจากปากอ่าวไทย เห็นมาตั้งแต่เด็ก ต่อให้มีคนเก่งแค่ไหนก็แก้ไม่ได้ เผย จนท.เก็บรอบแรก ตีสี่ถึงสิบโมง แถมมีรอบสองรอบสาม แนะช่วยรักษาความสะอาด

    Cr.MGROnlineLive

     
  15. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ลำดับ 10 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มีความปลอดภัยจากโควิด-19...แบบแปลกๆ
    .
    สื่อญึ่ปุ่น nikkei ได้จัดอันดับ 20 ประเทศในเอเชียแปซิฟิกที่มีความปลอดภัยจากโควิด-19 ตามภาพ
    เขาแจ้งว่าใช้เกณฑ์จาก ระบบการกักตัว, การตรวจหาเชื้อโควิด, การบริหารความเสี่ยงของภาครัฐ, ระบบประกันสุขภาพ และ ความพร้อมในกรณีฉุกเฉิน
    อันดับที่ออกมาทำให้เกิดข้อสงสัยไม่น้อย อาทิ ไต้หวันที่ไม่มีผู้ติดเชื้อแล้วอยู่อันดับ 8 โดยสิงคโปร ญี่ปุ่นซึ่งยังเจอเป็นระยะๆกลับอยู่ในลำดับต้นๆ

    -- โดยส่วนตัวแอตไม่แน่ใจว่าการจัดนี้เพื่อสร้างเกณฑ์ให้ญี่ปุ่นดีขึ้นไหม เนื่องจากเป็นสื่อทางญี่ปุ่นเอง

     
  16. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    ผลสำรวจ: กว่าครึ่งของผู้ที่เชื่อว่า ‘โควิด ไม่มีจริง’ รับข่าวจากเฟสบุ๊ค
    .
    การศึกษาของมหาวิทยาลัย Kings College ที่ลอนดอน พบว่าคนที่รับข่าวสารส่วนใหญ่จากโซเชี่ยลมีเดีย เช่นเฟสบุ๊ค ทวิตเตอร์ และยูทิวบ์ (YouTube) มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ ที่จะเชื่อข้อมูลบิดเบือนเรื่องโคโรนาไวรัส
    .
    กลุ่มคนเหล่านี้ยังมีโอกาสมากกว่าที่จะเพิกเฉยต่อข้อมูลของทางการ เช่นเรื่องการป้องกันการแพร่ของโรค และมีแนวโน้มที่จะไม่ทำตามมาตรการล็อคดาวน์ด้วย
    .
    นักวิจัยซึ่งตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ในวารสาร Psychological Medicine ร่วมมือกับสำนักทำสำรวจความคิดเห็นประชาชน Ipsos MORI ในการศึกษาครั้งนี้ ที่เก็บข้อมูลจากคนอังกฤษ 2,254 คน
    .
    นักวิจัยตีความข้อมูลที่บิดเบือน ภายใต้คำจำกัดความของ ‘ทฤษฎีสมคบคิด’ ว่า คือข้อมูลที่มีเนื้อหาอย่างจงใจเพื่อให้คนเชื่อว่า ไวรัสชนิดนี้ถูกสร้างขึ้น หรือ โควิด-19 ไม่เป็นอันตรายเท่าที่คิด เป็นต้น
    .
    อีกตัวอย่างของทฤษฎีสมคบคิดคือ เครือข่ายโทรคมนาคม 5G คือสาเหตุของการระบาดของโควิด-19
    .
    ตำรวจเชื่อว่าความคิดแบบนี้อาจเป็นสาเหตุที่มีคนเข้าทำลายเสาสัญญาณ 5G หลายครั้งในอังกฤษ
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน ชี้ว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 8 เชื่อว่าเทคโนโลยี 5G อยู่เบื้องหลังการระบาดของโควิด-19
    .
    ร้อยละ 60 ของผู้ที่มีความเชื่อดังกล่าว ระบุว่าได้รับข่าวสารทาง YouTube ขณะที่ในบรรดาคนร้อยละ 92 ที่ไม่เชื่อเรื่องนี้ มีเพียงร้อยละ 14 ที่รับข่าวสารผ่าน YouTube
    .
    นอกจากนี้ มีคนที่เชื่อว่า “โควิด-19 ไม่มีอยู่จริง” ในกลุ่มนี้ร้อยละ 56 อ้างอิงที่มาของข้อมูลจากเฟสบุ๊ค
    .
    ผู้ทำวิจัยเรื่องนี้ Daniel Allington ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอผ่านสไกป์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนว่า คนเหล่านี้ที่เชื่อในทฤษฎีสมคบคิด พร้อมที่จะผ่าฝืนกฎล็อคดาวน์ และมาตรการกักตัวเพื่อดูอาการ
    .
    บริษัทสื่อสังคมออนไลน์ยักษ์ใหญ่สามแห่งที่กล่าวมาข้างต้นได้ ระบุว่า ได้กำจัดคลิปวิดีโอเเละโพสต์ หลายแสนชิ้น ที่ให้ข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับโควิด-19 ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลร้ายแรงตามมาได้
    .
    เฟสบุ๊คได้ส่งหนังสือต่อรัฐสภาอังกฤษโดยกล่าวว่า ในเดือนเมษายน บริษัทได้แสดงคำเตือนต่อเนื้อหา 50 ล้าน ข้อความที่เกี่ยวกับโควิด-19 บนเฟสบุ๊ค
    .
    เฟสบุ๊คกล่าวว่าร้อยละ 95 ของผู้ใช้ที่เห็นข้อความคำเตือน จะไม่เปิดอ่านเนื้อหาเหล่านั้น
    .
    อย่างไรก็ตามนักวิจัย Daniel Allington กล่าวว่า แม้เฟสบุ๊คจะอ้างอิงข้อมูลที่กล่าวมา แต่เป็นการยากที่จะทราบอย่างแท้จริงถึงระบบของบริษัทต่างๆในการรับมือข่าวสารที่เป็นเท็จ
    .
    เขากล่าวว่าบริษัทควรเปิดให้เรื่องนี้สามารถตรวจสอบได้
    .
    โซเชี่ยลมีเดียต่างๆเหล่านี้ กำลังถูกประท้วงจากบริษัทกว่า 150 แห่ง เช่นสตาร์บัคส์ และโคคา-โคล่า ที่เลิกลงโฆษณาบนแพลตฟอร์มของสื่อสังคมออนไลน์ที่ว่ามา
    .
    เมื่อเดือนพฤษภาคม ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหาร ในความพยายามที่จะเลิกการคุ้มกันทางกฎหมายต่อธุรกิจโซเชี่ยลมีเดีย หลังจากที่ทวิตเตอร์ เตือนว่าทวีตหนึ่งของผู้นำสหรัฐฯ ควรมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
    .
    ในเรื่องนี้ผู้นำสหรัฐฯเขียนตอบโต้ด้วยว่า “หากทวิตเตอร์มีไม่ความสง่างามและทำตัวเป็นผู้พิพากษาและคณะลูกขุนเอง ผมคิดว่าก็ควรปิดสื่อซะ”
    .
    #โควิด19 #ไวรัสโคโรนา #coronavirus #COVID19
    (VOA Thai 3 กรกฎาคม 2020)

    -------------------------------
    แหล่งข่าว
    - https://www.voathai.com/amp/social-media-coronavirus/5487232.html
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2riffyohV9FW2QEWjHQ

     
  17. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เมื่อวานนี้ สภ.เขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ได้โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของ "กลุ่มปฏิรูปยุทธศาสตร์แห่งราชอาณาจักรไทสยาม" โดยมีเนื้อหาระบุว่า

    ...

    เนื่องจากปรากฏความเคลื่อนไหวของกลุ่มปฏิรูปยุทธศาสตร์แห่งราชอาณาจักรไทสยาม ได้หลอกลวงและถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน ในห้วงวันที่ 29 มิ.ย. – 4 ก.ค. 63 โดยอ้างว่าผู้ที่เข้าร่วมในคำชักชวนในกิจกรรม ดังกล่าวจะมีค่าตอบแทนให้ และมีประชาชนในหลายพื้นที่หลงเชื่อ ร่วมเดินทางไปทำกิจกรรมตามคำชักชวน
    .
    ซึ่งความเคลื่อนไหวของคณะปฏิรูปยุทธศาสตร์แห่งราชอาณาจักรไทสยาม ดังในลักษณะข้างต้น เป็นการซ้ำเติมความเดือดร้อนประชาชน และอาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายฝ่าฝืนการประกาศใช้ พรก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ,พรบ.ควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ.2558
    และความผิดฐาน อั้งยี่ฯ ตามประมวลกฎหมายอาญาหรือกฎหมายอื่นๆ
    .
    #ด้วยความปรารถนาดีจาก #สภ.#เขาชัยสน

    -------------------------------
    แหล่งข่าว

    https://www.facebook.com/Khao.Chaison.PoliceStation/
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2riffyohV9FW2QEWjHQ

     
  18. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    วันนี้ได้มีการไปทลายแก๊งเปิดบริษัทบังหน้า แต่จริงๆแล้วประกอบธุรกิจบ่อนออนไลน์ที่กลางเมืองหัวหิน โดยบริษัทที่เปิดบังหน้าเป็นบริษัทออกแบบเว็บไซต์ แต่เบื้องหลังเปิดให้ลูกค้ามาแทงพนันผ่านทางออนไลน์ มีเงินหมุนเวียนสะพัดนับ 100 ล้านบาทต่อเดือน เบื้องต้นจับผู้ต้องหาได้ทั้งหมด 9 ราย พร้อมยึดคอมพิวเตอร์ 66 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์ต่างๆอีกเพียบ
    .
    โดยการปฏิบัติการบุกทลายบ่อนพนันออนไลน์กลางเมืองหัวหินครั้งนี้ พล.ต.ต.พันธนะ นุชนารถ ผบก.ขส.บช.ปส. ในฐานะหัวหน้าชุดเทคนิค และสืบสวน 2 ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ศปอส.ตร.) พร้อมด้วย พล.ต.ต.สุรศักดิ์ สุขแสวง ผบก.ภ.จ.ประจวบคีรีขันธ์ พ.ต.อ.ไพทูล พรมเขียน ผกก.สภ.หัวหิน พ.ต.อ.จารึก วรพฤทธานนท์ ผกก.สส.4 บก.สส.ภ.8
    .
    ได้นำกำลังตำรวจกว่า 50 นาย พร้อมหมายศาลจังหวัดหัวหิน แยกย้ายเข้าตรวจค้นเป้าหมาย 5 แห่งในหมู่บ้านสมอโพรง เขตเทศบาลเมืองหัวหิน หลังสืบทราบว่าลักลอบเปิดเล่นพนันออนไลน์ ผลการตรวจค้นสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้รวม 9 คน ยึดของกลางคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ 66 เครื่อง โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์เทคโนโลยีหลายรายการ
    .
    พล.ต.ต.พันธนะ กล่าวต่อว่า จากการตรวจค้นเป้าหมายพบว่ามีสำนักงานใหญ่เปิดเป็นบริษัทรับออกแบบเว็บไซต์บังหน้า ชื่อริชไอเดีย หัวหิน เลขที่ 11/128 ถนนคันคลองชลประทาน เขตเทศบาลเมืองหัวหิน ภายในบริษัทมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ห้องประชุม และห้องสำหรับออกอากาศไลฟ์สดโปรโมตชักชวนให้คนมาเล่นพนันภายใต้ชื่อเว็บไซต์ www.mafia.com
    .
    ซึ่งมีเครือข่ายอีกกว่า 40 เว็บไซต์ พร้อมทั้งตั้งจุดบริการลูกค้าเข้ามาแทงพนันรวม 5 แห่ง มีลูกค้ามาเล่นพนันจำนวนมาก มีเงินหมุนเวียนนับร้อยล้านบาทต่อเดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามตัวเจ้าของบ่อนพนันออนไลน์ดังกล่าวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
    .
    ด้าน พล.ต.ต.สุรศักดิ์ สุขแสวง ผบก.ภ.จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า จากการตรวจสอบเว็บไซต์ดังกล่าวไม่พบว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคดี น.ส.ขนิษฐา หอยทอง อายุ 28 ปี พนักงานวิชาการการเงิน และบัญชี สำนักงานจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ถูกจับกุมข้อหายักยอกทรัพย์ ปลอมแปลงเอกสารของราชการและใช้เอกสารปลอมยักยอกเงินงบประมาณจำนวน 39.2 ล้านบาท เบื้องต้นผู้ต้องหาอ้างว่านำไปเล่นพนันออนไลน์ถึง 26 ล้านบาท

    -------------------------------
    แหล่งข่าว

    https://www.thairath.co.th/news/local/central/1881367
    -------------------------------
    ติดตามข้อมูลข่าวสาร รู้ไทย รู้โลก กับ Thailand Vision ได้ที่
    Facebook : https://www.facebook.com/thvi5ion
    Twitter : https://twitter.com/Thailand_vision
    Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCDeS2riffyohV9FW2QEWjHQ

     
  19. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ชาวเมืองออสติน รัฐเท็กซัส สหรัฐอเมริกาได้ออกมาประท้วงนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้ประชากรและผู้ให้บริการกิจการสาธารณะ ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19

    ทังนี้การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในรัฐเท็กซัสได้เพิ่มขึ้นจากเมื่อต้นเดือนที่แล้วประมาณ 3 เท่าตัว ตัวอย่างเมืองดัลลัส ที่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่มถึง 3,594 ราย เฉลี่ยวันละ 501 ราย ด้าน Greg Abbott ผู้ว่าการรัฐเท็กซัสได้ขอให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัย ก่อนที่ภายหลังจะออกมาเป็นกฎบังคับและมีโทษปรับหากไม่ทำตามข้อบังคับดังกล่าว

    ประเด็นเรื่องการบังคับใส่หน้ากากอนามัย กลายมาเป็นประเด็นทางการเมืองระหว่าง ประชาชนผู้ประกาศตัวว่ารักใน “เสรีภาพ” และเกลียดการควบคุมจากรัฐบาล กับประชาชนที่ให้การสนับสนุนนโยบายนี้เนื่องจากกลัวเรื่องการเจ็บป่วยและติดเชื้อ

    ตัวอย่างเช่น นาง Laurie Smith วัย 50 ปีซึ่งเป็นพนักงานประจำโบสถ์ในเมืองแห่งหนึ่ง ได้กล่าวถึงนโยบายบังคับใส่หน้ากากของรัฐบาลเท็กซัสว่าเป็นความพยายามควบคุมประชากรอันน่าสลดหดหู่

    “ลูกของฉันทำตามกฎดังกล่าว โดยปราศการการตั้งคำถามถึงสิ่งที่ถูกบอกให้ทำ แต่ฉันและสามีเกิดในยุคสมัยที่แตกต่าง พวกเราให้คุณค่ากับเสรีภาพที่พวกเรามีสิทธิเลือก ดังนั้นเราจึงตั้งคำถามมากกว่าพวกเขา”

    #roundtablethailand
    Roundtablethailand.com

    ที่มา:
    - https://www.theguardian.com/us-news/2020/jul/02/texas-masks-coronavirus-covid-battle
    - https://www.nbcdfw.com/news/coronav...ith-601-new-covid-19-cases-20-deaths/2398369/
    - https://www.theguardian.com/us-news/2020/jul/03/trump-face-masks-coronavirus-covid-19

     
  20. สุกิจSukit

    สุกิจSukit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2013
    โพสต์:
    221,974
    ค่าพลัง:
    +97,149
    4 ก.ค. 63 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองคีย์สโตน รัฐเซาท์ดาโกตา ประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐ ลงพื้นที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติภูเขารัชมอร์ ซึ่งตั้งอยู่ในรัฐเซาท์ดาโกตา เมื่อคืนวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อกล่าวสุนทรพจน์เนื่องในวันชาติ 4 ก.ค. ซึ่งปีนี้ครบรอบปีที่ 244 ของการสถาปนาประเทศ

    ทั้งนี้ ผู้นำสหรัฐกล่าวว่าภูเขารัชมอร์เป็นสมบัติของชาติ และจะคงอยู่เช่นนี้ตลอดไป ไม่มีทางที่ใครจะสามารถทำลายใบหน้าของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของสหรัฐทั้ง 4 คน ผู้ซึ่งเป็นอดีตประธานาธิบดี และ "วีรบุรุษ" ของประเทศ คือนายจอร์จ วอชิงตัน นายโธมัส เจฟเฟอร์สัน นายธีโอดอร์ รูสเวลต์ และนายอับราฮัม ลินคอล์น

    อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางกระแสประท้วงเรียกร้องความเป็นธรรมทางเชื้อชาติและสีผิวที่ยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในสหรัฐ และสถานการณ์ครั้งล่าสุดซึ่งมีชนวนเหตุจากการเสียชีวิตของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายผิวสีที่รัฐมินนิโซตา ก่อให้เกิดความรุนแรงมากกว่าสถานการณ์หลายครั้งที่ผ่านมา โดยมีการทำลายสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ของสหรัฐหลายแห่ง ส่วนใหญ่เป็นอนุสาวรีย์และรูปปั้นของบรรดานายพลสมาพันธรัฐอเมริกา แค่ตอนนี้มีการพุ่งเป้ามาที่ภูเขารัชมอร์มากขึ้น ด้วยเหตุผลว่า วอชิงตันและเจฟเฟอร์สัน "มีทาสอยู่ในครอบครอง"

    ทรัมป์กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้งว่า ฝ่ายซ้ายกำลังพยายามปลุกระดม "การปฏิวัติวัฒนธรรมฝ่ายซ้าย” เพื่อทำลาย "การปฏิวัติอเมริกัน" ตอนนี้เด็กจำนวนมากกลับได้รับการปลูกฝังตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเรียน ให้เกลียดชังบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง การสร้างกรอบแนวคิด "วัฒนธรรมการคว่ำบาตร" เป็นอุปาทานหมู่ให้เลิกสนับสนุนบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้น "กระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม" ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ตัวเองเห็นด้วย ปรากฏการณ์ดังกล่าวไม่ต่างอะไรกับ "ความเป็นเผด็จการ"

    ขณะเดียวกัน ผู้นำสหรัฐย้ำว่า บุคคลใดก็ตามที่สร้างความเสียหายและทำลายสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์ อาจต้องรับโทษจำคุกนานสูงสุดถึง 10 ปี ตามคำสั่งฝ่ายบริหาร ซึ่งทรัมป์ลงนามเมื่อปลายเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา ว่าด้วยการปกป้องอนุสาวรีย์ อนุสรณ์สถาน และรูปปั้นทางประวัติศาสตร์ อันเนื่องมาจาก "การประทุษร้ายที่รุนแรง"

    https://www.reuters.com/article/us-...al-revolution-at-mount-rushmore-idUSKBN2441CB

    #RoundtableThailand
    roundtablethailand.com

     

แชร์หน้านี้

Loading...