#โพสต์ให้อ่าน เพื่อแบ่งปัน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย nouk, 20 กรกฎาคม 2019.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    กระทู้นี้ตั้งขึ้นมาเพื่อแบ่งปันเรื่องดีๆ ที่ควรศึกษา และทำความเข้าใจเพื่อใช้ในการเจริญปัญญา. เพื่อความสุข เพื่อความสงบ ของกายและจิต ทั้งทางโลกและทางธรรมค่ะ

    น้อมถวายเป็นพุทธบูชา ธัมมบูชา สังฆบูชา ตลอดพรรษานี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    อุเบกขา ๑๐

    "ฉฬังคุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ซึ่งเป็นสภาพที่วางเฉยในอารมณ์ ๖ ของพระอรหันต์ผู้ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว

    พรหมวิหารุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก ซึ่งวางเฉยเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย

    โพชฌังคุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่เป็นองค์ คือ ส่วนประกอบที่ทำให้ตรัสรู้อริยสัจธรรม

    วิริยุเปกขา ได้แก่วิริยเจตสิกที่เป็นความเพียรถูก ซึ่งไม่ตึงนักไม่หย่อนนักในการเจริญภาวนา

    สังขารุเปกขา ได้แก่ปัญญาเจตสิกที่วางเฉยเมื่อประจักษ์ไตรลักษณะของสังขารธรรม

    เวทนุเปกขา ได้แก่เวทนาเจตสิกที่ไม่รู้สึกเป็นทุกข์หรือเป็นสุข

    วิปัสสนูเปกขา ได้แก่ปัญญาเจตสิกที่เป็นกลางในการพิจารณาอารมณ์ที่เกิดตามเหตุปัจจัย

    ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกที่เป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยอคติ

    ฌานุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกในฌาน ซึ่งคลายความฝักใฝ่ในธรรมอื่นที่ทำให้ไม่สงบมั่นคง โดยเฉพาะได้แก่ตติยฌาน(โดยจตุกกนัย) ซึ่งคลายปีติแล้ว

    ปาริสุทธุเปกขา ได้แก่ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิกในจตุตถฌาน (โดยจตุกกนัย) ซึ่งสงบหมดจดแล้วจากข้าศึกทั้งปวง ไม่ต้องทำกิจละองค์ฌานใดอีก"

    ทั้งหมดนั้น เป็นเจตสิกธรรมแต่ละประเภท ๆ ตามความเป็นจริงของธรรม

    ถ้าจะมุ่งถึงเฉพาะอุเบกขาที่เป็นพรหมวิหารธรรม แล้ว ก็พิจารณาได้ว่า อุเบกขา. เป็นความเป็นกลางในธรรมนั้น ๆ คือ เป็นผู้วางตนเป็นกลาง มีความเป็นไปเสมอ โดยเว้นการยินดียินร้าย คือ ไม่ยินดียินร้าย ดุจตาชั่งที่จับไว้เสมอกัน.

    เวลาที่เห็นใครกระทำผิด เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ถ้าเป็นผู้ที่ได้อบรมเจริญอุเบกขา ก็จะมีความเป็นกลาง ไม่เอนเอียง จะมีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่าผู้ที่กระทำในสิ่งที่ไม่ดี ผลที่ไม่ดีก็ย่อมจะเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นอย่างแน่นอน หรือแม้กระทั่งเวลาที่เขาได้รับในสิ่งที่ดีที่น่าพอใจ ก็จะไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียงไป ด้วยอำนาจของโลภะความติดข้องยินดีพอใจ

    อีกประการหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ อุเบกขาพรหมวิหาร บางครั้งก็แปลว่า ความวางเฉย แต่ความวางเฉย ที่เป็นอุเบกขาพรหมวิหารนั้น เกิดจากการที่เห็นสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน ไม่ได้หมายความว่าวางเฉย(อยู่เฉย)โดยไม่ให้ช่วยเหลือ แต่ควรช่วยเหลือเท่าที่จะช่วยได้ แต่เมื่อไม่สามารถช่วยเหลือได้มากกว่านี้ ก็มีปัญญาที่เข้าใจว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน เขามีกรรมที่จะต้องได้รับผลอย่างนั้น ดังนั้น กิจหน้าที่ของอุเบกขาพรหมวิหารคือความวางเฉย เป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปในทางอกุศลทั้งโลภะ โทสะ เป็นต้น นั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    Ke4b.jpg
     
  4. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    หากอยากสนทนาธรรมกับใครสักคน.ต้องทำเยี่ยงไรหนอ
     
  5. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ตั้งกระทู้สนทนาธรรมซิค่ะ
     
  6. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    พระ.ภิกษุ.สงฆ์.มีคาวมหมาย.แปลว่าอะไรหนอ
     
  7. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    อยากเข้าใจคำว่าสภาวะ.อธิบายไห้เข้าใจหน่อย.ได้ไหม
     
  8. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    พระ หมายถึง บุรุษ 4 คู่ค่ะ ได้แก่
    พระโสดาปัตติมรรค พระโสดาปัตติผล
    พระสกทาคามิมรรค พระสกทาคามิผล
    พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล
    พระอรหัตตมรรค พระอรหัตตผล

    ภิกษุสงฆ์ หรือเรียกอีกอย่างว่า สมมติสงฆ์ โดยย่อหมายถึง ผู้ที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ครองศีล 227 ข้อค่ะ
     
  9. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    สภาวะ น่าจะหมายถึง อาการที่เกิดขึ้นทางจิตแล้วส่งผลมาถึงกายนะคะ ถ้าไม่ถูกต้องอย่างไร ช่วยอธิบายเพิ่มเติมให้ด้วย จะเป็นพระคุณมากค่ะ
     
  10. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    โสดาปัตติมรรค กับ โสปัตติดาผลต่างกันเช่นไร
     
  11. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    โสดาปัตติมรรค คือ มรรคจิตที่เข้าถึงกระแสนิพพาน ดับกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำได้เพียงบางส่วน

    โสดาปัตติผล คือ ผลจิตที่เกิดจากมรรคจิตที่ประหานกิเลสสังโยชน์เบื้องต่ำทั้ง 3 ข้อขาดสะบั้นลง ไม่กลับคืนมาได้อีกค่ะ
     
  12. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    แล้วใช้อะไรดับกิเลส .กองไฟภายนอก.ก็ใช้น้ำดับไฟ.กิเลสมองไม่เห็นด้วยตาปล่าว.ต้องใช้สิ่งใดดับ
     
  13. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ความจริงไม่ค่อยชอบคุยเรื่องนี้สักเท่าไหร่นะคะ เพราะมีข้อมูลในที่ต่างๆ เยอะแล้ว จะทำให้เป็นสัญญาต่อผู้อ่านค่ะ สัญญาจะไปปิดกั้นปัญญา
     
  14. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ใช้ปัญญาค่ะ
     
  15. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ความจริงน่าจะไปคุยที่ห้องอภิญญา-สมาธินะคะ ห้องนั้นมีผู้ชำนาญการเยอะ คงจะให้คำตอบได้ดีกว่าเรา
     
  16. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    ขอบน้ำใจในบทสทนา.ครั้งหน้าค่อยแวะมาไหม่.ขอบคุณ
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    คำพูดคำจาช่างโบราณยิ่งนัก ยินดีที่ได้ร่วมสนทนาค่ะ
     
  18. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    "การภาวนานี้มิใช่ท่านหมายเอาการเดินจงกรมตลอดวัน นั่งสมาธิตลอดคืน ความจริงแล้วท่านหมายเอาผู้ที่มีสติจดจ่ออยู่กายกับใจทุกอิริยาบถ ยิน เดิน นั่ง นอน เป็นประจำอยู่ การภาวนาไม่มีกาลมีเวลาเรียกว่า อกาลิโก เว้นเสียแต่นอนหลับจะพูดจะคุยอยู่ก็เรียกว่าภาวนาถ้ามีสติอยู่ เพราะสิ่งใดถ้าเกี่ยวกับจิตใจจัดว่าเป็นภาวนาทั้งนั้น อย่างแสดงธรรมจัดเป็นภาวนา ผู้ที่นั่งฟังธรรมก็จัดว่าภาวนาเพราะตั้งใจฟัง เรียกว่าสัมธัมมัสสวนมัย สัทธัมมัสเทศนามัย ท่านก็จัดเข้าในภาวนาทั้งสิ้น ตกลงภาวนานี้ สร้างความไม่ประมาทคือพยายามสร้างสติ"

    หลวงปู่คำดี ปภาโส
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    มิได้แวะมาเพื่อสนทนา.เพียงแต่แวะมาเพื่อ.แสดงคาวมคิดเห็น.คนทำงานหัวเป็นเกรียวตัวเป็นน็อตอย่างทุกวันนี้.ก็สามารถภาวนาได้.แม้อยู่ในเวลาทำงาน.หากคนอ่านแล้วนำไปปฏิบัติ.ก็ถือว่าเป็นกรรมฐานที่เข้าถึง.ทุกเพศทุกวัย
     
  20. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    องค์แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ๔

    ๑. ทรงยึดเหนี่ยวไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ไว้ได้ด้วยสังคหวัตถุ ๔

    ๒. พวกโจรที่เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดิน ไม่เกิดขึ้นในราชอาณาจักร

    ๓. ทรงพระราชวิจารณ์ถึงความดีและความชั่ว ทรงชักจูงไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ทั่วแผ่นดินอันกว้างใหญ่ มีมหาสมุทรเป็นที่สุดให้ดำเนินตามรอย

    ๔. ทรงจัดการปกครองป้องกันพระราชอาณาจักรอย่างกวดขัน ให้มีอารักขาทั้งภายในภายนอก เปรียบด้วยผู้ประกอบด้วยองคสมบัติ ๔ ประการ

    ...๑. ยึดเหนี่ยวน้ำใจบริษัทไว้ได้ ยกย่องอนุเคราะห์บริษัทให้ร่าเริงชื่นชม

    ...๒. กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ดังโจรที่เป็นเสี้ยนหนามไม่เกิดขึ้นในสันดาน

    ...๓. พิจารณาชำระขัดเกลากายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทุกวันๆว่า วันเดือนของเราไม่ข้องอยู่ด้วยฐานะทั้ง ๓ นี้ล่วงไปบ้างหรือไม่

    ...๔. ตั้งสติดังนายประตูไว้ ให้คอยปราบปรามกิเลส ทั้งภายในภายนอก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...