เสียงธรรม สังโยชน์สิบหมายถึงอะไร เป็นอย่างไร / พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตถิผโล

ในห้อง 'ธรรมเพื่อความหลุดพ้น' ตั้งกระทู้โดย supatorn, 19 มิถุนายน 2018.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    LpKukritSotipalo.jpg
    พุทธวจน ธรรมวินัยจากพุทธโอษฐ์ ช่วยกันรักษาศาสนาพุทธ ด้วยการศึกษา ปฏิบัติ เฉพาะคำสอนของตถาคต เท่านั้น

    ทางที่จะให้ถึง อสังขตะ(นิพพาน) [๖๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่ท่านทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง
    ดูกรภิกษุทั้งหลายก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่าอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "กายคตาสติ" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นอันเราอาศัยความอนุเคราะห์ กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลัง เลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ [๖๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสังขตะและทางที่จะให้ถึงอสังขตะแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อสังขตะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ นี้เรียกว่าอสังขตะ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "สมถะและวิปัสนา" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯลฯ [๖๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน "สมาธิที่มีทั้งวิตกวิจารสมาธิที่ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร สมาธิที่ไม่มีทั้งวิตกวิจาร" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "สติปัฏฐาน ๔" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "สัมมัปปธาน ๔" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "อิทธิบาท ๔" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "อินทรีย์ ๕" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "พละ ๕" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน

    "โพชฌงค์ ๗" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ [๖๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเป็นไฉน
    "อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘" นี้เรียกว่าทางที่จะให้ถึงอสังขตะ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ทางที่จะให้ถึงอสังขตะเราแสดงแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดังนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิจใดอันศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล ผู้อนุเคราะห์พึงกระทำแก่สาวกทั้งหลาย กิจนั้นเราอาศัยความอนุเคราะห์กระทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้นั่นเรือนว่าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเพ่ง อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้เดือดร้อนในภายหลังเลย นี้เป็นอนุศาสนีของเราเพื่อเธอทั้งหลาย ฯ
    พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ สุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค หน้าที่ ๓๖๒-๓๖๓ ข้อที่ ๖๗๔-๖๘๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2021
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ประวัติย่อๆ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล เจ้าอาวาสวัดนาป่าพง
    พระอาจารย์ฯ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๖ ที่โรงเรียนพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน รุ่นที่ ๕ กรุงเทพฯ ,โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ ๒๒ ,ปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น ๓๓ ในขณะรับราชการชั้นยศ ร้อยโท สอบชิงทุนกองทัพบกได้ไปศึกษาต่อที่ ฟอร์ตเบญจามินแฮริสัน สหรัฐอเมริกา จากนั้นได้เข้าศึกษาและสำเร็จปริญญาโท สาขาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ ( ภาคนอกเวลาราชการ รุ่นที่ ๑ ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และรับราชการเรื่อยมาจนกระทั่งอายุ ๒๙ ปี ได้ชั้นยศพันตรี ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองบังคับการกองพันทหารราบ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ( ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่พระอาจารย์ชา สุภัทโท ได้มรณภาพลงหลังจากป่วยเป็นอัมพาตมา ๑๐ ปี ) และได้ตัดสินใจที่จะออกบวชในคืนวันนั้น นั่นเอง
    จุดเริ่มต้นในเส้นทางธรรม
    ในปี พ.ศ.๒๕๒๒ ขณะท่านเรียนอยู่เตรียมทหาร ชั้นที่ ๑ ระหว่างปิดเทอม โยมแม่ของท่านได้พาไปบวชกับหลวงพ่อชา สุภัทโท ที่วัดหนองป่าพง เป็นเวลา ๑ เดือน เป็นครั้งแรกที่ไปสู่ดินแดนแห่งความสงบวิเวก ที่ใช้ชีวิตแบบง่ายๆ ตามกุฏิใช้การจุดเทียนให้แสงสว่าง เวลาเดินตามทางใช้ไฟฉาย น้ำอุปโภคใช้เชือกผูกกับปิ๊บหย่อนไปในบ่อดิน ช่วยกันดึงขึ้นแล้วนำไปใส่ในรถเข็นไปไว้ตามกุฎี ศาลา และที่ต่างๆ อาหารขบฉันที่มีไม่มากต้องใช้พระตัวแทนสงฆ์จัดแจงแบ่งปันส่วน เพื่อให้เพียงพอกับทุกชีวิตในวัด อีกทั้งยังได้พบและใกล้ชิดหลวงพ่อชา สัมผัสกับธรรมะ รวมถึงข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดงดงามน่าเลื่อมใส ได้สัมผัสกับจิตบริสุทธิ์ที่มัอยู่จริง สนใจอยากศึกาธรรมะ จึงเริ่มศรัทธาในพระพุทธศาสนา หลังจากลาสิกขาบทกลับมาเรียนหนังสือจึงเริ่มฝักหัดรักษาศีล ๕ อย่างเคร่งครัดตามสติกำลังอยู่ตลอดมามิได้ขาด พอปิดเทอมก็ไปที่วัดหนองป่าพงอยู่เป็นนิจ จนกระทั่งได้มีโอกาสบวชอีกครั้งในช่วงปิดเทอมชั้นปีที่ ๔ ( จปร.) ในครั้งนี้ท่านได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อหลวงพ่อชา ว่าจะใช้ชีวิตฆราวาสอีก ๑๐ ปีแล้วขอให้มีเหตุปัจจัยผลักดันให้ได้ครองเพศบรรพชิตไปตลอดชีวิต หลังจากได้ตั้งจิตอธิษฐานกับหลวงพ่อชาในครั้งนั้นแล้วก็ได้ใช้ชีวิตทางโลกอย่างปกติเรื่อยมา แม้จะเดินไปแบบผิดบ้างถูกบ้าง แต่ก็มีสติและธรรมะช่วยให้การดำเนินชีวิตทางโลกเป็นไปอย่างสะดวก ไม่เศร้าหมอง และมีส่วนสนับสนุนให้เจริญรุ่งเรืองในหน้าที่การงานมาก บางครั้งการมีสติ ก็ทำให้การเที่ยวเตร่เริ่มรู้สึกไม่สนุกเหมือนอย่างที่แล้วมา เริ่มมองเห็นโทษภัยที่เผลอเพลินไปกับกิเลสต่างๆ จนในที่สุดเมื่อครบ ๑๐ ปี ตรงกับที่ได้ตั้งอธิษฐานไว้ และเป็นปีที่หลวงพ่อชามรณภาพ ในกาลนั้นเองจึงได้เห็นสัจธรรมความไม่เที่ยงของสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่เว้นแม้แต่ครูบาอาจารย์ จึงอาศัยสิ่งนี้เป็นอนุสติเครื่องกระตุ้นเตือนใจให้ออกจากชีวิตทางโลก ประกอบกับเกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย และไม่ค่อยเห็นประโยชน์ในการใช้ชีวิตฆราวาสเป็นอย่างยิ่งอีกทั้งได้รู้สึกถึงความก้าวหน้าของผลการปฏิบัติที่ได้ฝึกกระทำมาตลอด ๑๔ ปีนับแต่ได้พบหลวงพ่อชา
    ในวันอาทิตย์ที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๓๖ เป็นวันที่อุปสมบทของพระอาจารย์ฯ ณ วัดบุญญาวาส จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นวัดสาขาของวัดหนองป่าพง มีพระอาจารย์ตั๋น ( พระอาจารย์อัครเดช ถิรจิตฺโต ) เป็นเจ้าอาวาส หลังจากบวชแล้วในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ระหว่างออกปลีกวิเวกธุดงค์ร่วมกับพระเถระอีก ๒ รูปได้มาบำเพ็ญภาวนาพำนักอยู่ยังผืนนาอันเป็นของโยมแม่ท่านถวายประมาณ ๔๑ ไร่ ตั้งอยู่บริเวณถนนลำลูกกา คลอง ๑๐ จังหวัดปทุมธานี เมื่อพระอาจารย์บวชครบ ๕ พรรษา พระเถระทั้ง ๒ รูปก็ได้รับการถวายที่ดินจึงไปตั้งวัดที่อื่น พระอาจารย์ฯ จึงได้พำนักอยู่เพียงลำพังผู้เดียวประมาณ ๑๐ ปี ท่าน จึงอาศัยความสันโดษวิเวกเป็นโอกาสแห่งการปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มกำลังความ สามารถพร้อมด้วยการศึกษาธรรมและวินัยจากพระโอษฐ์ควบคู่กันไป ในช่วงฤดูแล้งของแต่ละปี ท่านได้หาโอกาสออกวิเวกตามป่าเขา จนในพรรษาที่ ๗ หลังออกวิเวกธุดงค์ โดยเดินจากจังหวัดกาญจนบุรีบริเวณด่านห้วยเสือเข้าด่านทินวย ผ่านทุ่งใหญ่นเรศวร ขึ้นไปทางจังหวัดตาก หลังจากเดินทางกลับถึงคลอง ๑๐ จึงเป็นไข้มาลาเรียนอนป่วยอยู่ผู้เดียว ๗ วัน จึงมีโยมมารับไปรักษา ผลจากการอาพาธในครั้งครั้งนั้นทำให้มีอาการอ่อนเพลียต่อเนื่องมากว่า ๕ ปีจึงหายเป็นปกติ และในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงได้ขึ้นทะเบียนตั้งเป็นวัดนาป่าพงจวบจนปัจจุบัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2021
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กรกฎาคม 2023
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    คิดว่าเป็นคนดี ทุกคนซึ่งรักษาศีล 5 ตักบาตรทุกวัน จะพ้นนรกจริงๆแน่หรือ

    Buddhawajana - The Words of the Buddha
    Published on Oct 10, 2018
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 มกราคม 2022
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    สัจธรรมแห่งชีวิต

    อนิรุธ สาเลยยกานนท์
    Published on Jan 21, 2016
    เหตุแห่งสำเร็จการสมความปรารถนา เช่น การได้มาซึ่งโภคทรัพย์ หรือสิ่งอื่น พระพุทธเจ้าให้ทำอะไร พุทธวจน

    คิดว่าเป็นคนดี ทุกคนซึ่งรักษาศีล 5 ตักบาตรทุกวัน จะพ้นนรกจริงๆแน่หรือ สนทนาธรรมบ่ายวันเสาร์ที่ 25 มิ

    m&l computer trang
    Published on Jun 27, 2016





     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 เมษายน 2021
  6. เพื่อนผู้รอนาน

    เพื่อนผู้รอนาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2019
    โพสต์:
    689
    ค่าพลัง:
    +824
    คึกฤทธิ์.ผู้บิดเบือน.
    คำสอนพระพุทธเจ้า.
    พยากรณ์คนป่วยตัวเหลือง.
    ว่าเป็นพระอริยะเจ้า.
    ปาราชิกไปนานแล้ว.
    ใครตามคึกเท่ากับ.
    สนับสนุนคึกบิดเบือนคำสอน.
    ใครหลงผิดตามคึกยังมีเวลาถอนตัว.
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    วัดนาป่าพง พระอาจารย์คึกฤทธิ์

    Passakorn Plodprong

    256,544 views Mar 24, 2010
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2024
  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พุทธศาสนสุภาษิต หมวดที่ ๗ ความโกรธ
    โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
    โกโธ สตฺถมลํ โลเก ความโกรธเป็นดังสนิมศัสตราในโลก
    โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
    โกธํ ปญฺญาย อุจฺฉินฺเท พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
    โกธสมฺมทสมฺมตฺโต อายสกฺยํ นิคจฺฉติ ผู้เมามึนด้วยความโกรธ ย่อมถึงความไร้ยศศักดิ์
    ยํ กุทฺโธ อุปโรเธติ สุกรํ วิย ทุกฺกรํ ผู้โกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย
    อนตฺถชนโน โกโธ ความโกรธก่อความพินาศ
    ทุกฺขํ สยติ โกธโน คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
    อปฺโป หุตฺวา พหุ โหติ วฑฺฒเต โส อขนฺติโช ความโกรธน้อยแล้วมาก มันเกิดจากความไม่อดทน จึงทวีขึ้น
    ปจฺฉา โส วิคเต โกเธ อคฺคิทฑฺโฒว ตปฺปติ ภายหลังเมื่อความโกรธหายแล้ว เขาย่อมเดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้
    การโกรธเป็นปุถุชนวิสัย การให้อภัยเป็นวิสัยบัณฑิต ความไม่โกรธเป็นลาภอันประเสริฐ :
    หยุดโกรธให้ทัน ก่อนที่มันจะลุกลาม ตั้งแต่เล็กจนโต คนเราล้วนเคยโกรธมานับครั้งไม่ถ้วน และคงมีบางครั้งใช่ไหม ที่ความโกรธทำให้คุณตกอยู่ในภาวะ “โกรธคือโง่ ก็รู้ โมโหคือบ้า ก็รู้ แต่ยั้งใจไว้ไม่อยู่ ทำอย่างไรได้” สุดท้ายก็เผลอตัวทำอะไรแย่ๆลงไป จนต้องมานั่งเสียใจและโกรธตัวเองซ้ำๆในภายหลัง เพื่อไม่ให้คุณพลาดพลั้ง เพราะยับยั้งความโกรธไว้ไม่ทัน จึงมีวิธีดับไฟโกรธแบบปัจจุบันทันด่วนมาฝาก
    1. ตามหาความโกรธให้เจอ ยอมรับว่า ตนเองกำลังรู้สึกโกรธ ใช้เวลาตามหาและระลึกรู้อารมณ์โกรธของตัวเองสักพัก แล้วความโกรธจะหายไป โดยที่คุณแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
    2. ตอบตัวเองว่า “ต้องการเอาชนะความโกรธ”
    3. อย่าคิดว่า “ฉันไม่มีอะไรจะเสีย” ในความจริงนั้น ความโกรธทำให้คุณเสียสิ่งที่คุณมีได้หลายอย่าง ที่แน่ๆคือ สูญเสียสิ่งที่ทำให้คุณเป็นมนุษย์
    4. แอบกระซิบตัวเองว่า “เราไม่โกรธก็ได้นี้น่า”
    5. อย่าหวงแหนความโกรธ การนอนกอดความโกรธ ไม่เคยทำให้ใครฝันดีเลย ทางที่ดีคุณควรหาทางระบายความโกรธออกมาอย่างสร้างสรรค์ เช่น วาดภาพหรือเขียนบรรยายความขึ้งเคียดออกมา เป็นบทเพลงหรือบทกวี (แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่ระรานหรือละเมิดสิทธิใครนะคะ)
    โกรธอย่างไรให้เกิดปัญญา : คนเราสามารถรู้สึกโกรธหรือไม่พอใจได้ตลอดเวลา แต่ความโกรธจะไม่แปรเปลี่ยนเป็นความผิดบาป ตราบใดที่คุณหยุดยั้งความโกรธไว้ ให้เป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดขึ้นและดับไป และการใช้สติพิจารณาเพื่อละความโกรธนั้นก็ไม่ได้ยากเกิน คุณจะทำความเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
    1.พิจารณาโทษของการเป็นคนโกรธ ผู้ที่เริ่มโกรธก่อน นับว่าเป็นคนเลวอยู่แล้ว แต่คนที่โกรธตอบนั้นนับว่าเลวหนักว่าหลายเท่า เพราะเท่ากับเป็นผู้สานต่อความเลวให้ยืดยาวต่อไป พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า เราอย่าเป็นทั้งคนเลวและคนที่เลวกว่านั้นเลย

    2.พิจารณาโทษของความโกรธ คนเราเมื่อโกรธจะเปิดปากกว้าง แต่ตาสองข้างจะหรี่ปิด ทำให้มองไม่เห็นโทษร้ายแรงของความโกรธ ยามโกรธจึงมักไม่กลัวอะไรทั้งสิ้น ไม่กลัวเจ็บ ไม่กลัวตาย ไม่กลัวบาป ฉะนั้นยิ่งโกรธมากเท่าใด ยิ่งต้องตั้งสติให้มั่นและระลึกไว้ว่า ความโกรธนั้นเป็นภัยร้ายแรง การสะสมความโกรธไว้ในใจ ก็ไม่ต่างอะไรกับการสะสมวัตถุระเบิด วันหนึ่งย่อมระเบิดตูมตาม ทำลายตัวเอง
    3.พิจารณาถึงความดีของคนที่เราโกรธ ธรรมชาติของมนุษย์เดินดินนั้น ย่อมมีทั้งดีเลวปะปนกัน
    4.พิจารณาว่าความโกรธคือการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู
    5.พิจารณาว่าสัตว์โลกมีกรรมเป็นของตน ความโกรธถือเป็นอกุศลกรรม ผู้ใดโกรธ ผู้นั้นย่อมได้รับผลกรรม ถ้ามีใครทำให้โกรธ อย่าไปโกรธตอบ เพราะผลกรรมจากการโกรธตอบนั้น จะตกเป็นของคุณอย่างไม่อาจปฏิเสธ
    6.พิจารณาพระจริยวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า ว่า กว่าที่พระศาสดาจะสั่งสมบารมีจนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงถูกเบียดเบียนทำร้ายกระทั่งถูกหมายเอาชีวิต แต่กระนั้นก็ไม่ทรงแค้นเคือง กลับอดทนระงับความโกรธและมีเมตตาตอบ พุทธวิถีของพระองค์นับเป็นแบบอย่างที่ทำให้มนุษย์คิดได้ว่า สิ่งกระทบกระทั่งที่คุณเผชิญอยู่นั้นเล็กน้อยนัก เมื่อเทียบกับสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงประสบมา
    7.พิจารณาว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏทั้งสิ้น ฉะนั้นในยามโกรธแค้นหรืออยากทำร้ายใคร ให้คิดว่าคนที่คุณกำลังจะตะบันกำปั้นใส่หน้าเข้า อาจจะเคยเป็นพ่อเป็นแม่เป็นคน ที่เคยรับใคร่ผูกพันกันมาในชาติก่อน แล้วชาตินี้คุณจะทำร้ายเขาไปเพื่ออะไร
    8.พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา ความเมตตาเป็นหลักธรรมที่ลบล้างความโกรธได้ อีกทั้งยังมีสรรพคุณเหมือนยาวิเศษ ทำให้คุณหลับฝันดี เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดา ตลอดจนอมนุษย์ทั้งหลาย ภัยและอาวุธไม่กล้ำกราย จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
    9.พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ สลายตัวตน มองทุกอย่างตามสภาพความเป็นจริงขั้นปรมัตถ์ว่าชีวิตนี้เป็นสิ่งสมมุติที่เกิดจากธาตุ(รูปธรรม) และขันธ์ (นามธรรม) มาประกอบกัน
    10.ให้ทาน ก็คือ การเสียสละ ไม่ว่าจะเสียสละด้วยการให้สิ่งของ ให้มิตรไมตรี หรือให้อภัย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 สิงหาคม 2024
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    เรื่องราวในสมัยครั้งพุทธกาลที่มี อุบาลีคหบดีหวังดึงให้พระผู้มีพระภาคเจ้ามาเป็นสาวกของนิครนถ์
    ทีฆตปัสสีนิครนถ์ให้พระผู้มีพระภาคทรงยืนยันในเรื่องที่ตรัสนี้ถึง ๓ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้ แล้วลุกจากอาสนะเข้าไปหานิครนถ์นาฏบุตรถึงที่อยู่. (จากนั้นได้มี อุบาลีคหบดี เข้ามาเพื่อสนทนาในเรื่องนี้ต่อจากฑีฆตปัสสีนิครณถ์ โดยยังมีความเห็นว่า กรรมทางกายมีโทษมากกว่ากรรมทางใจ และพระผู้มีพระภาคได้ยกอุปมา เพื่อให้เห็นเปรียบเทียบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังนี้) คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนี้เป็นอย่างไร ในบ้านนาลันทานี้ พึงมีบุรุษคนหนึ่งเงื้อดาบมา เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่ง. คหบดี ! ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นอย่างไร บุรุษนั้นจะสามารถทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้หรือ ? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! บุรุษ ๑๐ คนก็ดี ๒๐ คนก็ดี ๓๐ คนก็ดี ๔๐ คนก็ดี ๕๐ คนก็ดี ไม่สามารถจะทำสัตว์เท่าที่มีอยู่ในบ้านนาลันทานี้ ให้เป็นลานเนื้ออันเดียวกัน ให้เป็นกองเนื้ออันเดียวกัน โดยขณะหนึ่ง โดยครู่หนึ่งได้ พระเจ้าข้า บุรุษผู้ต่ำทรามคนเดียวจะเก่งกาจอะไรกันเล่า..........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2021
  10. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    การสร้างเหตุแห่งความสมปรารถนา ตามคำตถาคต
    **** ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วย ศรัทธา (เชื่อการตรัสรู้ของตถาคต) ศีล สุตตะ (สดับฟังคำตถาคต) จาคะ (การให้ทาน วางจิตละความตระหนี่) ปัญญา (เห็นการเกิดดับ) เธอมีความปรารถนา...เธอจึงตั้งจิตนั้น อธิษฐานจิตนั้น ความปรารถนาและวิหารธรรมเหล่านั้น อันเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสำเร็จ
    อุปริ. ม. ๑๔/๒๑๗/๓๑๘ - ๓๒๐
    การสร้างเหตุแห่งความสมปรารถนา (นัยยะ ๒)
    ***** เธอพึงทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงประกอบด้วยในธรรมเป็นเครื่องสงบแห่งใจภายใน เป็นผู้ไม่เหินห่างจากฌาน (ทำสมาธิ , รู้ลมหายใจเข้าออก) ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนา (เห็นความไม่เที่ยง , เห็นการเกิดดับ) และให้วัตรแห่งผู้อยู่สุญญาคารทั้งหลายเจริญงอกงามเถิด (อยู่วิเวก หลีกเร้น เจริญอานาปานสติ)
    - มู. ม. ๑๒/๕๘/๗๓.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 เมษายน 2021
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    อนุสาสนีปาฏิหาริย์
    เกวัฏฏ์ ! อนุสาสนีปาฏิหาริย์ เป็นอย่างไร ?
    เกวัฏฏ์ ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมสั่งสอนอย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ๆ อย่าตรึกอย่างนั้นๆ จงทำไว้ในใจอย่างนี้ๆ อย่าทำไว้ในใจอย่างนั้นๆ จงละสิ่งนี้ๆ เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้ๆ แล้วแลอยู่ นี้เราเรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.
    ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
    ดูกรอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
    อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
    อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ฯ
    ดูกรอานนท์ จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้อง ต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ
    อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอย่อมได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น ... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ฯ อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคตและย่อมไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ดูกรอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อ ๖ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร
    ดูกรอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความโดยกาลอันควร ๖ ประการนี้แล ฯ
    #อนุสาสนีย์ปาฏิหารย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2021
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    อริยสัจสี่โดยสังเขป (ทรงแสดงด้วยความยึดในขันธ์ห้า)
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐ มีสี่อย่างเหล่านี้, สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์, ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์, และความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์.
    ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือ :- ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นห้าอย่าง. ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ? คือ :- รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัด เพราะอำนาจแห่งความเพลิน มักทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม (กามตัณหา), ตัณหาในความมีความเป็น (ภวตัณหา), ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น (วิภวตัณหา). ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือเหตุให้เกิดทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือความดับสนิท เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึงซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ? คือหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนั่นเอง, ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :- ความเห็นชอบ, ความดำริชอบ, การพูดจาชอบ, การงานชอบ, การเลี้ยงชีพชอบ, ความเพียรชอบ, ความระลึกชอบ, ความตั้งใจมั่นชอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า ความจริงอันประเสริฐคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แล คือความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง. ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้นในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียร เพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า “นี้เป็นทุกข์, นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์, นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์, นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์” ดังนี้เถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 เมษายน 2021
  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พุทธวจน ธรณีกรรแสง พระอาจารย์สาธยายพระสูตร

    Buddhawajana - The Words of the Buddha
    Dec 1, 2017
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2022
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พุทธวจน ผู้สิ้นสังโยชน์ อ่านโดย ภิกขุเอเอ

    พุทธวจนฉบับ ๘ อินทรีย์สังวร อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต

    Buddhawajana - The Words of the Buddha
    Jan 27, 2018
     
  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พุทธวจนฉบับ ๕ แก้กรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต

    Thamma Network
    Jun 10, 2018
    พุทธวจน รวมพระสูตร อ่านโดย ภิกขุเอเอ

    พุทธวจนฉบับ ๙ ปฐมธรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต

    Buddhawajana - The Words of the Buddha
    Jan 28, 2018
    ปฐมธรรม” เขาใจธรรมเพียงบทเดียว ก็เพียงพอ คามณิ ! ...เพราะเหตุว่า ถึงแม้เขาจะเขาใจธรรมที่เราแสดงสักบทเดียว นั่นก็ยังจะเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น ตลอดกาลนาน

    สฬา. สํ. ๑๘/๓๘๗/๖๐๓.
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    คำสอนตถาคต-อนิจจสัญญา เจริญทำให้มาก โดย ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ ... 5 Hrs.

    พุทธวจน-วิธีละกาม

    ออนไลน์ สาระ
    Oct 4, 2018


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2022
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    พุทธวจนฉบับ ๙ ปฐมธรรม อ่านโดย ภิกขุเอเอ อธิจิตฺโต

    พุทธวจนฉบับ ๑๙ สัตว์ ที่เรียกว่า “สัตว์”ข้อที่1-33

    Buddhawajana - The Words of the Buddha
    May 25, 2019
    ๐๓ เปิดธรรมที่ถูกปิด ก้าวย่างอย่างพุทธะ เสียงอ่านหนังสือพุทธวจน

    Kontam Mada
    May 24, 2018
    เสียงอ่านหนังสือ สังโยชน์ โดย พระอาจารย์ คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล EP.1 ตอนที่ 1-90

    พุทธวจนเรียล Buddhawajana Real
    Dec 28, 2020
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2021
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    แสดงธรรม “สิ้น ราคะ โทสะ โมหะ คือ อมตะ” ( อา.2 พ.ค. 2564 )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2022
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    รายการ พบพระอาจารย์ " อกุศลเกิด/ไม่ละ,รีบละ,ไม่เกิด(อภิภายตนะ) " (จ.10 พ.ค. 64)

    แสดงธรรม " กายเปรียบด้วยฟองไข่ " (อา.9 พ.ค. 64)

    พุทธวจนเรียล Buddhawajana Real
    10 พ.ค. 64
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2022
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,730
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,047
    ลำดับขั้นของอริยบุคคลในการหลุดพ้น _ พุทธวจน _ @นิพพาน

    สังโยชน์ 5 สิ้น 7 แบบ _ พุทธวจน _ @นิพพาน

    ช่องว่างในที่คับแคบ _ พุทธวจน

    Phan Huy
    Mar 27, 2021

     

แชร์หน้านี้

Loading...