เชิญร่วมบูชาพระเพื่อนำปัจจัยไปต่อบุญ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ธรรมนูญ, 24 มีนาคม 2008.

  1. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    ประวัติการสร้างพระสมเด็จนางพญา สก. และ สมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา

    ผงทั้งหมดนี้ ก่อนที่จะนำไปผสมสร้างพระสมเด็จนางพญา ส.ก. ได้ประกอบพิธีปลุกเสกผงด้วยคาถาชินบัญชร ๑๐๘ คาบและอิติปิโส ๑๐๘ คาบ ณ พระอุโบสถ วัดมกุฏกษัตริยาราม.
    สำหรับพระผงสมเด็จพระอุณาโลม ซึ่งได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้สร้างตามแบบพระผง”จิตรลดา”ขนาดเท่าของจริงทุกประการ และได้ใช้ผงชนิดเดียวกับพระสมเด็จนางพญาส.ก.
    รายการผงวัตถุมงคลดังกล่าวนี้สภามกามกุฏฯได้รวบรวมบดเป็นผงละเอียด ส่วนกระเบื้องมุงหลังคานั้นบริษัทกระเบื้องกระดาษไทยจำกัด ได้รับหน้าที่ดำเนินการเข้าเครื่องบดให้ทั้งหมดโดยไม่คิดค่าตอบแทน
    เมื่อสร้างเสร็จเป็นองค์พระแล้ว ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกขึ้นอีก ๗ วัน ณ พระอุโบสถคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหารฯเมื่อวันที่ ๕–๑๑ กค.๒๕๑๙
     
  2. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    ประวัติการสร้างพระสมเด็จนางพญา สก. และ สมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา

    รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่นั่งปรกปลุกเสก

    ๑.วันจันทร์ ๕ กค. ๒๕๑๙ เวลา ๑๗.๐๐ น.
    สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    หลวงพ่อเมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ฯ นครราชสีมา
    พระเทพวราลังการ(หลวงปู่ศรีจันทร์) วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
    พระสุทธิสารโสภณ วัดศรีโพแท่น จ.เลย
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี

    โดยมีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ เจริญพุทธมนต์ ๑๐รูป ดังนี้
    ๑.สมเด็จพระวันรัต วัดสังเวชวิศยาราม
    ๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา
    ๓.สมเด็จพระพุทธิวงศมุนี วัดเบญจมบพิธ
    ๔.พระพรหมคุณากรณ์ วัดสระเกศ
    ๕. พระธรรมวราลังการ วัดบุปผาราม
    ๖.พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติการาม
    ๗.พระธรรมธีรราชมหามุนี วัดปากน้ำ
    ๘.พระราชสารมุนี วัดเขมาภิรตาราม
    ๙.พระปริยัติเมธี วัดมกุฎกษัตริย์
    ๑๐.พระอุดมศีลคุณ วัดบุรณศิริมาตยาราม

    ๒.วันอังคาร ๖ กค. ๒๕๑๙
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม จ.อุดรธานี
    พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    หลวงพ่อมา วัดวิเวกอาศรม ร้อยเอ็ด
    พระโพธิสังวรเถร(หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต ธนบุรี
    พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง(ท่านผู้นี้ไม่ได้เอนกายลงจำวัดเป็นเวลานานปี)

    ๓.วันพุธ ๗ กค. ๒๕๑๙
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    หลวงพ่ออ่อนสี วัดพระงาม หนองคาย
    หลวงพ่ออ่อน วัดประชานิยม กาฬสินธุ์
    หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    หลวงพ่อชา วัดศรีแก่งคร้อ ชัยภูมิ
    หลวงพ่อชม วัดป่าบ้านบัวค่อม อุดรธานี
    หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    หลวงพ่อมา วัดวิเวกฯ ร้อยเอ็ด

    ๔.วันพฤหัสบดี ๘ กค.๒๕๑๙
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    หลวงปู่สี มหาวีโร วัดประชาคมฯ ร้อยเอ็ด
    หลวงพ่อบุญมา วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    พระอาจารย์สาม วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์
    หลวงพ่อจ้อย วัดสุวรรณประดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี
    หลวงพ่อบุญรักษ์ วัดคงคาวดี สิชล นครศรีธรรมราช
    หลวงพ่อเหรียญ วัดป่าอรัญญบรรพต หนองคาย
    พระอาจารย์บัวพา วัดป่าพระสถิต หนองคาย

    ๕.วันศุกร์ ๙ กค.๒๕๑๙
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    พ่อหลวงเปลื้อง ปญญานโต วัดบางแก้วผดุงธรรม จ.พัทลุง
    หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา
    หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว อุบลฯ
    หลวงพ่อพั่ว วัดบ้านนาเจริญ อุบลฯ
    พระอาจารย์สมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
    หลวงพ่อจันทร์(อายุ ๑๐๒ปี) วัดนามะตูม ชลบุรี

    ๖.วันเสาร์ ๑๐ กค. ๒๕๑๙
    สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    หลวงพ่อเก็บ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    หลวงพ่อสนิท วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

    ๗.วันอาทิตย์ ๑๑ กค.๒๕๑๙
    ตอนกลางวัน(เวลา ๑๓–๑๖ น.) หลวงปู่ธูป วัดสุทรธรรมทาน(วัดแค) กทม.นั่งปรกบริกรรมภาวนาเดี่ยว ๔ ชั่วโมงเต็ม
    ในตอนค่ำ
    สมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรฯ
    พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อซ้วน วัดลาดใต้ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา
    พระอาจารย์ผ่อง วัดสามปลื้ม กทม.
    หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาฯ ธนบุรี
    หลวงพ่อสา วัดราชนัดดา กทม.
    พระครูสงัด วัดพระเชตุพนฯ กทม.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2008
  3. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    ประวัติการสร้างพระสมเด็จนางพญา สก. และ สมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา

    ในวันที่ ๑๒ กค.๒๕๑๙
    ในการทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเจิมสมเด็จนางพญา ส.ก.และพระสมเด็จอุณาโลม
    ในเวลา ๑๖.๐๐ น. ณ พระอุโบสถ คณะรังษี วัดบวรฯ


    รายนามพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์เจริญชัยมงคลคาถา ๑๐ รูป
    ๑.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชผติการาม
    ๒. พระสาสนโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส
    ๓. พระพุทธพจน์วราภรณ์ วัดราชบพิธ
    ๔. พระญาณวโรดม วัดบวรราชนิเวศ
    ๕.พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์
    ๖.พระธรรมเสนานี วัดพระเชตุพนฯ
    ๗. พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาทสุนทริการาม
    ๘.พระเทพวราภรณ์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
    ๙.พระเทพปัญญากวี วัดราชาธิวาส
    ๑๐. พระเทพกวี วัดบวรฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2008
  4. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    ประวัติการสร้างพระสมเด็จนางพญา สก. และ สมเด็จอุณาโลมทรงจิตรลดา



    ในพิธีพุทธาภิเษกทั้ง ๗ วันนั้นหลวงปู่โต๊ะปลุกเสกพิธีทั้ง ๗ วัน


    อ้างอิงจาก
    ๑.นิตยสารนะโม ฉบับที่๔๗๙ หน้าโฆษณา”ฉ”(หน้าสี)
    ๒.หนังสือ”พระเครื่องดี 2 ของดีราคาถูก” โดย ส.องครักษ์ สำนักงานนิตยสารโอม “พระนางพญา ส.ก. วัดบวรนิเวศวิหาร” หน้าที่๘๐–๘๔


    [​IMG][​IMG]


    [​IMG][​IMG]



    ขอขอบคุณ คุณกิตติ ต้นฉบับจาก Amulet2U.com
    และภาพบางส่วนจาก phuttawong.net


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2008
  5. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    บูชาครู ประวัติการสร้างพระรุ่นย้อนยุค หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม(บ้านแค)

    ประวัติการสร้างพระรุ่นย้อนยุค ปี39 หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม(บ้านแค)
    ข้อมูลทั้งหมดจาก
    http://www.watkositaram.com

    [​IMG] <table border="0" width="100%"><tbody><tr><td colspan="2" class="smalltext" align="left">
    </td></tr></tbody></table>
     
  6. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    บูชาครู พระรุ่นย้อนยุค หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม(บ้านแค)

    <table cellpadding="5" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td rowspan="2" valign="top" width="15%">
    </td> <td height="100%" valign="top" width="85%">
    </td> </tr> <tr> <td class="smalltext" valign="bottom"> <table border="0" width="100%"><tbody><tr> <td colspan="2" class="smalltext" align="left"> <hr class="hrcolor" size="1" width="100%"> [​IMG]</td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  7. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    เหรียญพระมหาชนก

    เหรียญพระมหาชนก

    23 มิถุนายน 2548
    เหรียญแห่งความเพียร [​IMG]
    เมื่อครั้งดำเนินการจัดทำหนังสือพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ [​IMG]ให้จัดสร้างเหรียญพระมหาชนกคู่เคียงกันไปด้วย ในครั้งนั้นศิลปินและประติมากรร่วมกันออกแบบถวาย เพื่อทรงวินิจฉัยหลายแบบด้วยกัน แต่ทรงมีพระราชปรารภว่า ควรเป็นรูปที่พระมหาชนกกำลังว่ายน้ำ และหันมาสนทนาธรรมกับนางมณีเมขลา ซึ่งแนวพระราชดำรินี้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้เคยทรงร่างเป็นภาพลายเส้นไว้ จึงได้นำมาเป็นต้นแบบที่ด้านหนึ่งของเหรียญ พร้อมกำกับอักษรว่า"พระมหาชนก ” เป็นภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาเทวนาครีไว้
    เหรียญพระมหาชนกจัดสร้างขึ้นพร้อมกับงานพิมพ์พระราชนิพนธ์ ด้วยนัยแห่งพระราชดำริ อันพ้องกับคติธรรม ซึ่งดำรงอยู่ในเรื่องราวแห่งพระชาดกนั้น [​IMG]
    [​IMG]
    “ ที่ต้องมีเหรียญนี่ เป็นพระราชดำริที่ลุ่มลึกมากนะครับ ” อาจารย์ นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน ประติมากรผู้ปั้นแบบเหรียญพระมหาชนกอธิบาย “ เพราะหนังสือ เมื่อเราอ่านแล้ว เราก็วางไว้กับบ้าน เวลาเราไปไหน บางครั้งอาจจะลืม เหรียญนี่เป็นขนาดเล็กติดตัวไปได้ ซึ่งเหรียญนี้ไม่ได้บรรยายความว่าเป็นเรื่องอะไร แต่ว่า ให้เป็นเหรียญที่ระลึกนึกถึงสิ่งที่เราได้เคยอ่านจากหนังสือ เวลาที่เราเกิดความท้อแท้ เหรียญนี้จะคอยเตือนเราว่า เราควรจะมีความเพียรนะ

    [​IMG]เพราะฉะนั้น หน้าที่ของเหรียญ ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของการบรรยายความ แต่เป็นหน้าที่ ของการเตือนให้ผู้ที่มีเหรียญ ได้ระลึกถึง “ พร ” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบให้เขาว่า ทุกคนควรจะมีความเพียร ไม่[​IMG]ควรท้อแท้ ถึงแม้ว่า จะไม่เห็นจุดหมายปลายทางของความเพียร แต่เราก็ควรจะดำเนินต่อไป
    งานจัดสร้างเหรียญผ่านกระบวนการปั้น แกะบล็อก หล่อ จนถึงการพิมพ์ออกเป็นเหรียญ แต่ทว่า ก็ยังไม่ใช่ขั้นตอนสุดท้ายดังเช่นงานจัดสร้างเหรียญทั่วไป ซึ่งอาจารย์นนทิวรรธน์ ได้เล่าให้ฟังว่า “ ใช้มือแฮน เมด (hand made) นี่ขัดลงไปบนพื้นผิว มีการรมให้คล้ำเล็กน้อย เพื่อจะให้เกิดน้ำหนักอ่อนแก่ขึ้นบนพื้นผิวของเหรียญ เราจะสังเกตเห็นว่า เหรียญของพระมหาชนก จะเป็นเหรียญที่มีความนุ่มนวลมากทั้งในเรื่องของผิวสัมผัส และน้ำหนักอ่อนแก่ที่เกิดขึ้น นอกเหนือไปจากแสงเงาในเหรียญแล้ว ” [​IMG]
    [​IMG] อีกด้านหนึ่งของเหรียญ ปรากฏพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฉลองพระองค์ธรรมดา พระหัตถ์ทรงดินสอและแผนที่ ที่พระศอปรากฏสายสะพายกล้องถ่ายรูป อันเป็นภาพที่ชาวไทยคุ้นตามานานกว่า ๕๐ ปี
    “ รูปนี้ คณะกรรมการหรือพวกเราซึ่งเป็นผู้ที่ได้ช่วยกันเลือกนี่ เห็นว่าเป็นรูปที่จะได้แสดงความหมายของพระมหากษัตริย์ของเราชัดเจน” อาจารย์นนทิวรรธน์กล่าว “ เพราะจะเห็นว่าชีวิตเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ของพระองค์ อยู่ท่ามกลางพสกนิกรที่กำลังมีปัญหา และทรงช่วยแก้ปัญหานั้นทุกอย่างให้ลุล่วงไปได้.....”
    รูปแบบของเหรียญพระมหาชนก ไม่ปรากฏลวดลายประดับ เพื่อภาพวิจิตรในเชิงความงามอันตระการ [​IMG]แต่รูปลักษณ์ซึ่งสมถะ กลับสมบูรณ์ด้วยความงามแห่งธรรม “ จะเห็นว่ารูปนี้ เป็นเหรียญที่มีลักษณะเรียบง่าย และสื่อความหมาย ในเรื่องของความเพียรเป็นหลัก ” อาจารย์นนทิวรรธน์เสริม “ แล้วก็มีตัวหนังสือที่จะสื่อความหมายได้บ้าง มีตราพระปรมาภิไธยย่อ เพื่อแสดงว่าเป็นเหรียญของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ”

    ค่าแห่งเหรียญพระมหาชนกย่อมประมาณราคามิได้ เช่นเดียวกับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานพระราชนิพนธ์ เพื่อทรงบอกเล่าเรื่องราวแห่งความเพียร และเหรียญพระมหาชนก คือสิ่งอันเตือนความจำถึงความเป็นไปแห่งข้อธรรม จากบทพระราชนิพนธ์นั้น [​IMG]

    มีรับสั่งว่า เหรียญนี้แทบไม่จำเป็นต้องปลุกเสกเลย เพราะว่าขลัง แค่ความเพียรนี่ก็ขลังพอแล้ว ”ศาสตราจารย์ประหยัด พงษ์ดำ หนึ่งในศิลปินผู้ถวายงานวาดภาพประกอบพระราชนิพนธ์เล่าถึงความประทับใจ “ เหรียญนี้เกี่ยวกับความมานะ ความเพียร ความอุตสาหะ มันขลังยิ่งกว่าอะไรในโลก ขลังยิ่งกว่าพระเข้าไปสวดอีก นี่คือพระราชกระแสรับสั่งของพระองค์ท่าน ประทับใจผมมาก ผมรับจากพระหัตถ์ของพระองค์ท่าน ผมแขวนอยู่องค์เดียวเลยตลอดเวลา และนึกอยู่เสมอ อันนี้นะไม่ใช่แขวนแล้วพระจะช่วยอะไรเรา เรานึกถึงพระ ทำให้เรามีกำลังใจว่า เราจะทำอย่างนี้ เราจะทำให้สำเร็จ.”

    [​IMG]


    บทความนี้เรียบเรียงและเพิ่มเติมจากบทโทรทัศน์สารคดีรายการ “ในหลวงกับประชาชน” ชุด พระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก” ที่ปรึกษารายการ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ประธานคณะทำงาน โครงการจัดสร้างเหรียญ และ หนังสือพระราชนิพนธ์ “พระมหาชนก”

    ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ช่อง๓, ๕, ๗, ๙, ๑๑ และ ไอ.ที.วี. แบ่งเป็นตอน จำนวนทั้งสิ้น ๑๖ ตอน บทสัมภาษณ์วิทยากรในบทความบันทึกเมื่อปี ๒๕๔๑ ตำแหน่งทางวิชาการต่างๆจึงคงไว้ในขณะให้สัมภาษณ์

    ปัณฑา สิริกุล เรียบเรียงและเพิ่มเติม.

    บทความอื่นในหมวด
    บทนำ - พลังศักดิ์สิทธิ์แห่งพระราชนิพนธ์ "พระมหาชนก"
    ตอนที่๑- หนังสือที่ทรงรัก
    ตอนที่๒- ความเพียร สติ และปัญญา ตามนัยแห่งพระราชนิพนธ์
    ตอนที่๓- เหรียญพระมหาชนก
    ตอนที่๔- พระชาดกเป็นเรื่องจริงหรือเพียงตำนานเล่าขาน
    ตอนที่๕- ปริศนาธรรมจากต้นมะม่วงในพระราชนิพนธ์
    ตอนที่๖- กว่าจะเป็นงานจิตรกรรมประกอบพระราชนิพนธ์
    ตอนที่๗- ความหมายของงานจิตรกรรมในพระราชนิพนธ์
    ตอนที่๘- ศิลปะในสมัยรัชกาลที่ ๙
    ตอนที่๙- ความนัยแห่งภาพเขียนประกอบพระราชนิพนธ์
    ตอนที่๑๐- การศึกษาเพื่อสร้างมนุษยแท้
     
  8. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    พระพุทโธน้อย คุณแม่บุญเรือน

    พระพุทโธน้อย แม่ชีบุญเรือน
    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง
    โดย...ราม วัชรประดิษฐ์
    http://www.matichon.co.th/khaosod/kh...sectionid=0307
    [​IMG]
    [​IMG] [​IMG]ในสมัยก่อน พระเครื่องและเหรียญต่างๆ โดยทั่วไปผู้สร้างมักเป็นบุรุษเพศ แต่สำหรับ "พระพุทโธน้อย" ที่จะกล่าวถึงนี้ สร้างโดย "แม่ชีบุญเรือน" ซึ่งเป็นสตรีเพศผู้เปี่ยมด้วยคุณงามความดี มีคุณธรรมและเมตตาธรรม รักการทำบุญสร้างกุศล ชอบไปนั่งฟังเทศน์ฟังธรรมและปฏิบัติธรรมตามวัดวาอารามต่างๆ โดยเฉพาะที่วัดสัมพันธวงศ์ ท่านเป็นผู้นำในการจัดตั้งคณะผู้ร่วมบุญในนาม "คณะสามัคคีวิสุทธิ" ซึ่งช่วยเหลืองานบุญงานกุศลต่างๆ ตลอดจนรักษาโรคภัยไข้เจ็บนานัปการด้วยอำนาจพระพุทธคุณแก่ทุกคนอย่างเต็มที่ ไม่เลือกชั้นวรรณะด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่และยึดถือหลักการบริจาคและการให้เป็นหลักสำคัญ ทำให้พุทธคุณของ "พระพุทโธน้อย" ที่ท่านจัดสร้างมีความเข้มขลังเป็นที่ปรากฏ เป็นที่นิยมสะสมในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่อง รวมถึงลูกศิษย์ลูกหาและผู้ที่ทราบชื่อเสียงกิตติศัพท์ของแม่ชีบุญเรือนครับผม
    อัตโนประวัติของแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติม ท่านเป็นชาวอำเภอมีนบุรี เกิดเมื่อปี พ.ศ.2437 ต่อมาครอบครัวย้ายมาทำสวนที่อำเภอราษฎร์บูรณะ ฝั่งธนบุรี ได้ศึกษาเล่าเรียนตามอัตภาพของสตรีเพศในสมัยก่อน แต่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบ้านการเรือนเป็นอย่างดี เมื่ออายุได้ 15 ปี ท่านได้รับตำราหมอนวดและการฝึกอบรมจากอาจารย์กลิ่นหมอนวดที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ ท่านสนใจศึกษาจนแตกฉานจนกลายเป็นหมอนวดที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก โดยท่านไม่เคยคิดค่านวดค่ารักษาแม้ครั้งเดียว แต่จะให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้อาจารย์กลิ่นตลอด
    ต่อมาท่านได้รู้จักหลวงตาพริ้งซึ่งบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบางปะกอก ผู้มีศักดิ์เป็นลุง และเริ่มได้รับการสั่งสอนเรื่องธรรมะ ท่านยิ่งมีความเลื่อมใสศรัทธาและรักงานบุญงานกุศลยิ่งขึ้น ท่านมักถือศีล เจริญภาวนา และฝึกวิปัสสนากรรมฐานที่วัดสัมพันธวงศ์อยู่เป็นเนืองนิตย์ ในที่สุดท่านก็เข้าสู่พุทธศาสนาอย่างเต็มตัวโดยการบวชชี และด้วยความตั้งใจมั่นในการบำเพ็ญเพียร เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ท่านสามารถบรรลุธรรมอันวิเศษสำเร็จ "จตุตถฌาณ 4" และ "อภิญญา 6" อันเป็นอานิสงส์สูงสุดแห่งชีวิต นับได้ว่า "แม่ชีบุญเรือน" เป็นตัวอย่างของพุทธศาสนิกชนผู้สละแล้ว เพื่อเข้าถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    "พระพุทโธน้อย" เป็นพระเครื่องขนาดเล็กที่ท่านสร้างขึ้นและอธิษฐานจิตให้ไว้แก่วัดอาวุธวิกสิตาราม ตำบลบางพลัดนอก ธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.2496 เป็นพระพิมพ์แบบครึ่งซีก กรอบทรงสามเหลี่ยม ด้านหน้า องค์พระประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย เหนือฐานบัวสองชั้น พระเกศเป็นมุ่นเมาลี พระนาสิกเป็นสันนูน พระเนตรเป็นเม็ดกลมนูน และพระหัตถ์ซ้ายถือหม้อน้ำมนต์ ส่วนด้านหลัง มีอักขระขอมจารึกเป็นเส้นลึกอ่านว่า "พุทโธ"
    แม้จำนวนสร้างจะมากถึงหนึ่งแสนองค์ แต่ด้วยความศรัทธาในตัวผู้สร้างและพุทธคุณเป็นเลิศปรากฏครบครันทั้งด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด เจริญด้วยโภคทรัพย์ และกำจัดโรคร้าย ทำให้ "พระพุทโธน้อย" หมดไปภายในเวลาอันรวดเร็ว
    "พระพุทโธน้อย" นับเป็นพระเครื่องเก่าแก่และน่าสะสมมากพิมพ์หนึ่ง ด้วยพุทธคุณที่ปรากฏอย่างสม่ำเสมอแก่ผู้ที่เคารพศรัทธาและกราบไหว้สักการะไม่ขาด ว่ากันว่ามุ่งหวังสิ่งใดก็จะสำเร็จสมความตั้งใจอีกทั้งแคล้วคลาดภยันตรายทั้งปวงครับผม
     
  9. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    พิธีจักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเศก

    [​IMG] [​IMG]

    [​IMG] [​IMG] [​IMG]
    [​IMG]
     
  10. ธรรมนูญ

    ธรรมนูญ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    198
    ค่าพลัง:
    +1,074
    ภารกิจบอกบุญสิ้นสุดแล้ว ถึงกาลต้องเดินทางแสวงบุญต่อ
    ขอขอบคุณทุกๆท่านที่ให้ความสนใจ
    ขอขอบคุณท่านผู้ร่วมบุญที่ให้ความไว้วางใจ และสละกำลังทรัพย์มาร่วมบุญกัน
    ขออนุโมทนาในผลบุญของท่านทั้งหมดทั้งมวล

    วัตถุมงคลที่ผมส่งมอบท่านผู้ร่วมบุญ
    หากท่านไม่ชอบหรือไม่ต้องการไม่ว่ากรณีใดๆ (แตกหักเสียหายบิ่นร้าวไม่ชอบไม่ใช่องค์ที่จองฯลฯ)
    โปรดส่งกลับคืนมายังผม
    พร้อมคืนเงินโดยไม่มีเงื่อนไข

    ขอได้รับความขอบคุณ
     
  11. อาณัติ

    อาณัติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2006
    โพสต์:
    6,073
    ค่าพลัง:
    +22,241
    ใบส่งธนาณัติ
    สั่งจ่ายท่านเจ้าอาวาสวัดโฆสิตาราม(บ้านแค) จำนวน 850 บาท
    เพิ่มค่าส่งใบอนุโมทนาบัตรกลับให้กับทางวัด ไม่อยากรบกวนวัด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01425.JPG
      DSC01425.JPG
      ขนาดไฟล์:
      61.7 KB
      เปิดดู:
      62
    • DSC01426.JPG
      DSC01426.JPG
      ขนาดไฟล์:
      46.8 KB
      เปิดดู:
      79

แชร์หน้านี้

Loading...