เรื่องเด่น มส.เผยมหาจุฬาฯเติบโตด้วยศาสตร์พระราชา"ร.5,9,10"

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์ ชาวพุทธ, 26 ตุลาคม 2017.

  1. โพธิสัตว์ ชาวพุทธ

    โพธิสัตว์ ชาวพุทธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2017
    โพสต์:
    5,319
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,274
    ค่าพลัง:
    +9,590
    94022_th.jpg

    มส.เผยมหาจุฬาฯเติบโตด้วยศาสตร์พระราชา"ร.5,9,10"


    มส.เผยมหาจุฬาฯเติบโตด้วยศาสตร์พระราชา"ร.5,9,10" พระปิยมหาราชผู้สถาปนามหาจุฬาฯสถาบันการศึกษาบุคคลทุกชนชั้น ทรงพัฒนาส่วนที่ขาดเติมให้เต็ม "ในหลวงร.9" ทรงพัฒนา ด้วย "ที่เต็มให้รู้จักพอ" และ "ที่พอให้รู้จักแบ่งปัน" มารัชสมัย "ในหลวงร.10" คือ "แบ่งปันเป็นธรรมด้วยจิตอาสา"

    cats2(85).jpg

    วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2560 เนื่องในวันคล้ายวันสวรรคตปีที่ 107 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือวันปิยมหาราช ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา พระพรหมบัณฑิต,ศ.ดร. กรรมการมหาเถรสมาคม อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) กล่าวสัมโมทนียกถาในการบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลความว่า เรามาประชุมร่วมกันเพื่อบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายพระผู้สถาปนามหาจุฬาฯ คือ สมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 ที่ทรงวางรากฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งการพัฒนาการศึกษาทรงวางรากฐาน เป็นจุดเริ่มต้นของมหาจุฬาฯ

    มหาจุฬาฯเราเติบโตด้วยการทำหน้าที่บริการวิชาการบริการสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของรัชกาลที่ 5 ที่มีพระวิสัยทัศน์อันยาวไกลในการวางรากฐานการพัฒนาประเทศ ซึ่งจุดเปลี่ยนประเทศไทยคือ สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน เราเรียกว่า "เป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องและมีความยั่งยืน " เราจะเห็นพัฒนาการมหาจุฬาเริ่มจากมหาธาตุวิทยาลัยจนมาจนถึงมหาจุฬาในระดับนานาชาติ เพราะการพัฒนาที่ยั่งยืน เราได้รับมหามหากรุณาธิคุณจากรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 9 อย่างยิ่ง สถาบันพระมหากษัตริย์ให้ความสำคัญด้านการศึกษาสงฆ์ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 มาถึงรัชกาลปัจจุบัน ทำให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนถึงการพัฒนาในด้านอื่นๆ อะไรที่รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มไว้ก็ได้รับสานต่อมาถึงปัจจุบัน ถือว่าเป็นคุณูปการอันยิ่งใหญ่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีต่อประเทศชาติ การต่อเนื่องเป็นเรื่องสำคัญ ทำให้เราได้รับอานิสงส์มากมาย

    รัชกาลที่ 5 ทรงเริ่มการพัฒนา ด้วยคำว่า "อะไรขาดเติมให้เต็ม" สมัยพระองค์คนไม่มีสิทธิเท่าเทียมกันไม่มีความเสมอภาคกัน พระองค์ทรงเลิกทาสและส่งเสริมการศึกษาทาสให้สามารถพึ่งตนเองได้ ขาดความรู้ให้การศึกษา มิใช่จัดเฉพาะบ้านเมืองแต่ทรงให้คณะสงฆ์ช่วยจัดการศึกษา ด้วยการเปิดโรงเรียนทั่วประเทศในวัด ให้พระสงฆ์ช่วยสอนหนังสือลูกหลาน เป็นระบบการศึกษามีการเชื่อมบ้านวัดโรงเรียน และยังให้การศึกษาของคณะสงฆ์ด้วยการสถาปนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ให้พระสงฆ์ได้ช่วยการศึกษาของบ้านเมือง ด้วยการแก้ความโง่ พัฒนาโครงการขั้นพื้นฐาน การจราจรการคมนาคม โครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดี แก้ความเจ็บไข้ด้วยสร้างระบบโรงพยาบาลสาธารณสุข โรงพยาบาลศิริราชก็สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 จะเห็นว่ารัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงวางรากฐานการพัฒนา แก้ความโง่ ความจน ความเจ็บ ด้วยการให้สิทธิขั้นพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ คือ การเลิกทาส เน้นการพัฒนาคนเป็นศูนย์การของการพัฒนา รัชกาลที่ 9 ก็รับช่วงต่อสานต่อในการพัฒนาคน คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา

    เพื่อให้การพัฒนายั่งยืนรัชกาลที่ 9 ทรงพัฒนาด้วยคำว่า "ที่เต็มให้รู้จักพอ" หมายถึง เศรษฐกิจพอเพียง มีความพอเพียง "ที่พอให้รู้จักแบ่งปัน" หมายถึง แบ่งปันมีการบริการ เช่นมหาจุฬาฯมีการบริการวิชาการทางสังคม และ "แบ่งปันให้ธรรม" หมายถึง มีการแบ่งปันกันอย่างเป็นธรรม สร้างความเป็นธรรมในสังคม ไม่แบ่งแยกว่าชาวเขาชาวเรา แก้ปัญหา "ไม่รวยกระจุก จนกระจาย" ให้ความร่ำรวยกระจาย รู้รักสามัคคี เพื่อให้สังคมไทยพัฒนาต่อเนื่อง สรุปรัชกาลที่ 5 คือ ที่ขาดเติมให้เต็ม รัชกาลที่ 9 คือ ที่เต็มให้รู้จักพอ และแบ่งปันเป็นธรรม ในสมัยรัชกาลที่ 10 คือ แบ่งปันเป็นธรรมด้วยจิตอาสา แบ่งปันให้เป็นจิตอาสาโดยช่วยเหลือกัน ช่วยกันทุกกลุ่มไม่แบ่งแยก รู้รักสามัคคี ประพเทศเรามีกาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สรุปการพัฒนาที่ยั่งยืน มี 4 ประการ คือ "ที่ขาด ควรเติมให้เต็ม ที่เต็มควรรู้จักพอเพียง ที่พอเพียงควรรู้แบ่งปัน ที่แบ่งปัน ควรแบ่งให้เป็นธรรมมีจิตอาสาด้วยการรู้รักสามัคคี"

    "ในฐานะมหาจุฬาเป็นสถาบันการศึกษาจะต้องนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้เพื่อขยายต่อให้สังคมไทยได้ตระหนักและนำมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง การจัดงานครั้งนี้ถือว่าเป็นการกตัญญูต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดีอย่างยิ่ง เรามีกิจกรรมตั้งแต่เช้า จึงขอเชิญชวนทุกท่านตั้งกัลยาณจิตน้อมถวายรัชกาลที่ 5 องค์ผู้สถาปนามหาจุฬาและบุรพมหากษัตริย์ทุกพระองค์" อธิการบดีมหาจุฬาฯ กล่าว

    พระอาจารย์ปราโมทย์ วาทโกวิโท นิสิตปริญญาเอก สาขาสันติศึกษา มหาจุฬาฯ แสดงความเห็นว่า ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นนิสิตมหาจุฬาฯ ตั้งแต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอก มองว่ามหาจุฬาฯ เป็นสถานศึกษาวิชาชั้นสูงยกระดับจิตใจให้สูง เป็นสถาบันอันทรงเกียรติสถาปนาโดยสมเด็จพ่อพระปิยมหาราช เพื่อให้โอกาสพระสงฆ์และบุคคลทั่วไปได้ด้านศึกษาพระไตรปิฏกและวิชาชั้นสูง จึงเป็นสถาบันของบุคคลทุกชนชั้น ทุกวัฒนธรรมสามารถมาศึกษาได้ สถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติและให้โอกาสบุคคลทุกชนชั้นที่ใฝ่เรียนรู้แสวงหาความรู้ทางธรรมและทางโลก ด้วยการพุทธบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ "ทางโลกก็ไม่ช้ำ ทางธรรมก็ไม่เสีย" จุดเด่นของมวลนิสิตมหาจุฬาฯ คือ "วิชายอด จรณะเยี่ยม เปี่ยมด้วยเมตตา ยื่นดวงตาแก่สังคม" เรียนเพื่อออกไปรับใช้เพื่อนมนุษย์ มีความสุขกับการเบิกบานรับใช้เพื่อนมนุษย์ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของบุคคลที่จบจากมหาจุฬา ฯ คือ "พระพุทธศาสนาเพื่อสังคม : สังคหธุระ" ครูอาจารย์มหาจุฬาทุกรูปท่านจึงเป็นผู้ปั้นดินให้เป็นดาว ดาวที่เปล่งแสงให้บุคคลอื่น เหมือน "เหล็กกว่าจะเป็นมีดต้องผ่านการทุบการเจียระไน ม้ากว่าจะเป็นม้าอาชาไนยต้องผ่านการฝึกหนัก ช้างกว่าจะเป็นทรงของพระราชา ต้องค้นหาจากป่าใหญ่"

    ศิษย์จึงเป็นเหมือนแก้วน้ำที่ว่างเปล่า พร้อมรับความรู้ใหม่ๆ ด้วยการ "ทำตัวให้โง่เพื่อจะได้เรียนรู้จากคนอื่นถึงแม้คนๆ นั้นจะอายุน้อย หรือประสบการณ์น้อยกว่าเราก็ตาม " เพราะคนโง่ที่รู้ตนเองว่าโง่ ยังจะพอเป็นคนฉลาดได้บ้าง รู้ว่าโง่สิ่งใดศึกษาสิ่งนั้น สิ่งที่จะตอบแทนคุณของครูอาจารย์ได้ที่สุด มิใช่การเอาสิ่งของมาให้ แต่คือ " การนำความรู้ที่ได้เล่าเรียน ออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสังคมประเทศชาติโลก " เมื่อจบการศึกษารับปริญญา เรียกว่า "รับปริญญานอกสู่รับปริญญาในจากพระพุทธเจ้า" สิ่งที่ได้ศึกษาจากมหาจุฬาฯ เป็นปริญญาวิชาชีวิต เรียนธรรมะของพระพุทธเจ้าเพื่อพัฒนาชีวิตมีการบูรณาการศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อทำให้ศาสนามีชีวิตชีวาในการเรียนรู้มากขึ้น ทำให้เราได้ปริญญาวิชาชีวิต เรียกว่า " พึ่งตนเองได้ จนเป็นที่พึ่งของคนอื่น " จัดการบริหารจิตใจของตนเอง ก่อนจะออกไปช่วยเหลือคนอื่น พระพุทธเจ้าจึงให้เรารับปริญญาภายใน ด้วยการดูแลจิตใจของตนเอง เพราะ " สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี " เมื่อไหร่ก็ตามถ้าภายในเย็น ถือว่าจบการศึกษาเรียบร้อย จบจากมหาจุฬา สิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องวัดความสำเร็จ ก็คือ " สงบเย็นเป็นประโยชน์ " ถือว่าจบภายในอย่างแท้จริง แต่ถ้ายังร้อนอยู่ "เป็นผู้ทะเลาะสิบทิศ" ถือว่าจบแค่ภายนอกเท่านั้น

    เมื่อเย็นจากภายในแล้วจึงสามารถ "อนุมัติเพื่อออกไปรับใช้เพื่อนมนุษย์ " เรีบกว่า " เมื่อจบประโยชน์ตน นึกถึงประโยชน์คนอื่น " นี่คือเสน่ห์ของบัณฑิตมหาบัณฑิตดุษฎีบัณฑิตของมหาจุฬา อย่าพอใจในความสำเร็จเพียงแค่นี้ ต้องหมั่นฝึกฝนตนเอง อย่าเป็น " คนตกรุ่น " หมายถึงไม่เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมให้กับตนเอง ต้องรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่ตลอดเวลา เป้าหมายสำคัญสำคัญของนิสิตมหาจุฬา ฯ คือ "ความสุข" เราทำอะไรสำเร็จหรือล้มเหลว ถามหัวใจของตนเอง ถ้าทำแล้วมีความสุข นั่นคือสำเร็จ ถ้าทำแล้วจิตใจมันห่อเหี่ยว นั่นคือ ความล้มเหลว "

    "ฉะนั้น สมเด็จพ่อพระปิยมหาราช มหาราชอันทรงเป็นที่รัก พระองค์ทรงพัฒนาทั้งทางโลกและทางธรรม ทางโลกพระองค์ทรงเลิกทาสด้วยความนุ่มนวล สร้างปฏิรูปพัฒนาประเทศให้มีเครื่องอำนวยความสะดวกมากมาย ส่วนทางธรรมทรงสถาปนาสถาบันการศึกษาเพื่อให้พระสงฆ์ศึกษาวิชาชั้นสูงและไตรปิฎก ซึ่งมหาจุฬาจึงทำตามปณิธานล้นเกล้าราชการที่ ๕ มาโดยตลอด ในนามนิสิตมหาจุฬาฯ ขอขอบพระคุณมหาจุฬาฯ สถาบันอันทรงเกียรติ ในการให้โอกาสมาพัฒนาฝึกฝนตนเองรวมถึงคณาจารย์ของมหาจุฬาฯในการพัฒนามวลศิษย์ให้เข้าถึงธรรม เพื่อน้อมนำมาพัฒนาตนเองและออกไปช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์" พระอาจารย์ปราโมทย์ กล่าว

    ขอบคุณที่มา
    http://www.banmuang.co.th/news/education/94022
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 ตุลาคม 2017

แชร์หน้านี้

Loading...