เรื่องเด่น อาถรรพ์ “วัดไตรภูมิ” วัดเก่าแก่คู่เมืองเพชรบูรณ์

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 27 สิงหาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    DSC_7931.jpg

    เมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2560 เจ้าหน้าที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักบริหารกลาง กรมศิลปากร นำคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางเดินทางฝ่าสายฝนที่ตกกระหน่ำเกือบตลอดเส้นทางไปยังจังหวัดเพชรบูรณ์ เป้าหมายแห่งแรกของการศึกษาดูงานโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ คือ โครงการบูรณะพระเจดีย์ทรงปรางค์ ณ วัดไตรภูมิ ดำเนินงานโดยสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี

    DSC_7917.jpg

    พระเจดีย์ทรงปรางค์องค์นี้เป็นเจดีย์ขนาด 7.50 คูณ 7.50 เมตร สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนปั้นลายประกอบ รูปแบบประกอบด้วยฐานเขียงย่อมุมไม้ยี่สิบ จำนวน 3 ชั้น ต่อด้วยฐานบังทองไม้ (ยืด) ลูกแก้วอกไก่ย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน 3 ชุด รองรับเรือนธาตุ ยกเก็จทำซุ้มจระนำทั้ง 4 ด้าน ส่วนยอด (หลังคา) เป็นปรางค์ (กลีบขนุน + บันแถลง) ปัจจุบันถล่มทลายเหลือเพียง 2 ชั้น ปัจจุบันการบูรณะให้กลับคืนคงสภาพใกล้แล้วเสร็จ

    DSC_7925.jpg

    ด้านหน้าของพระเจดีย์ทรงปรางค์ เป็นอุโบสถ ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า โครงหลังคาไม้มุงกระเบื้องดินเผา ประดับช่อฟ้า ใบระกาและหางหงส์ เดิมเคยมีเจดีย์ตั้งอยู่ด้านหน้า 2 องค์ และมีเจดีย์รายเป็นซากโบราณสถานขนาด 2.0 คูณ 2.0 เมตร

    DSC_7938.jpg

    วัดไตรภูมิ มีประวัติสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา อดีตเคยเป็นวัดกลางเมือง มีอายุประมาณ 435 ปี เป็นที่ประดิษฐานองค์พระพุทธมหาธรรมราชา พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นศูนย์กลางพิธีที่ใช้ประกอบพิธีอุ้มพระดำน้ำของชาวเพชรบูรณ์ “ประเพณีเก่าแก่หนึ่งเดียวในโลก” วัดคู่เมืองแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก

    ae__22_171-001.jpg

    “พระพุทธมหาธรรมราชา” เป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ ศิลปะลพบุรี หล่อด้วยเนื้อทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 13 นิ้ว สูง 19 นิ้ว ประดิษฐานภายในมณฑป พุทธลักษณะพระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระกรรณยาวย้อยจดถึงพระอังสา พระเศียรทรงชฎาเทริด มีกระบังหน้า ทรงสร้อยพระศอพาหุรัด และรัดประคดเป็นลวดลายงดงาม โดยประวัติการสร้างไม่ปรากฏเด่นชัด มีเพียงการสันนิษฐานว่า ภิกษุผู้แก่กล้าวิทยาคม 2 รูป เป็นผู้สร้างขึ้นสมัยลพบุรี ในช่วงที่ขอมเรืองอำนาจ จนกระทั่งต่อมากรุงสุโขทัยขยายอำนาจ จึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน

    จนมาถึงยุค “พระยาลิไท” กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์พระร่วง ขณะนั้นเมืองเพชรบูรณ์ ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงสุโขทัย ได้ว่างกษัตริย์ปกครอง จึงดำริให้ “ออกญาศรีเพชรรัตนานัครภิบาล” (นามเดิมว่าเรือง) ไปครองเมือง พร้อมกับมอบ “พระพุทธมหาธรรมราชา” ให้ไปเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง โดยได้กำชับว่าหากแวะที่ใดให้สร้างวัด และนำองค์พระประดิษฐาน ซึ่งการเดินทางสมัยนั้นต้องล่องไปตามลำน้ำต่าง ๆ ใช้ระยะเวลาแรมปีกว่าจะถึงเมืองเพชรบูรณ์ และเมื่อมาถึงมีดำริจะนำ “พระพุทธมหาธรรมราชา” ประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ แต่เนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการขัดต่อพระบรมราชโองการ จึงสร้างวัดขึ้นใหม่และตั้งชื่อว่า “วัดไตรภูมิ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่พระร่วง ที่ได้พระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง พร้อมกับนำองค์พระขึ้นประดิษฐาน

    DSC_7904.jpg

    ส่วนอีกด้านหนึ่งเชื่อกัน ว่า “พ่อขุนผาเมือง” เจ้าเมืองราด ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์นครธม ผู้เป็นพ่อตา ให้นำพระไปประดิษฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมือง ภายหลังอภิเษกสมรสกับพระนางสิงขรมหาเทวี ราชธิดา แต่หลังจากพ่อขุนผาเมือง ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง พระสหาย ยกทัพเข้ายึดครองกรุงสุโขทัย ทำให้พระนางสิงขรมหาเทวี โกรธแค้นและเผาเมืองราด จากนั้นพระนางได้โดดลงแม่น้ำป่าสักปลงพระชนม์ชีพ เหล่าเสนาอำมาตย์ได้พากันอัญเชิญพระพุทธมหาธรรมราชา ลงแพล่องไปตามแม่น้ำป่าสัก เพื่อหนีเปลวเพลิง แต่เนื่องจากแม่น้ำป่าสักมีความคดเคี้ยวและเชี่ยวกราก ทำให้แพอัญเชิญแตก องค์พระเลยจมหายไปในแม่น้ำ กระทั่งต่อมากลุ่มคนหาปลาไปพบตามตำนานดังกล่าว จึงเกิดประเพณีอุ้มพระดำน้ำในเวลาต่อมา

    DSC_7918.jpg

    ในการการศึกษาดูงานทางโบราณคดี ณ วัดไตรภูมิ ทำให้เกิดข้อสังเกตมากมาย นับตั้งแต่ความชำรุดทรุดโทรมอย่างหนักของอุโบสถ รอบด้านมีสภาพน้ำเจิ่งนอง โดยเฉพาะหลังคาที่พร้อมจะพังถล่มทลายได้ตลอดเวลา กับสภาพของศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ที่ตกอยู่ในสภาพกึ่งทิ้งร้าง แม้แต่กุฏิของเจ้าอาวาสเองก็ยังสร้างราวบันไดคั่งค้างแกนเหล็กสนิมเกรอะโผล่แพลม นานเท่าใดไม่มีใครบอกได้

    DSC_7910.jpg

    บรรยากาศโดยทั่วไปเงียบเหงา วังเวง ไม่มีร่างพระภิกษุสามเณรออกมาให้เห็นเช่นวัดอื่นๆ เมื่อเจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ 4 ลพบุรี นำคณะสื่อมวลชนขึ้นไปกราบหลวงพ่อเจ้าอาวาสบนกุฏิ สภาพประตูถูกล๊อกกลอน เรียกหานานเท่าใดไม่มีเสียงตอบรับ คาดว่าพระคุณท่านคงจำวัด (หลับกลางวัน) หลังเพลหรือไม่ ?

    สอบถามชาวเพชรบูรณ์หลายคน คำตอบก็คือ วัดทั้งวัดมีหลวงพ่อเจ้าอาวาสจำพรรษาอยู่เพียงรูปเดียว เมื่อถามว่า ทำไม่มีพระเณรมาอยู่จำพรรษาเช่นวัดอื่นๆ ในเมือง คำตอบคือ…

    “นานมากแล้ว ไม่มีพระ-เณรรูปใดอยู่กับท่านได้”

    DSC_7907-001.jpg

    ครั้นนมัสการสอบถามกับพระคุณเจ้าในวัดมหาธาตุ ที่พำนักเจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ คำตอบใดๆ แทบไม่ได้ยินออกจากปาก นอกจากเสียงหัวเราะเบาๆ พร้อมกับส่ายหน้าไปมา….??

    หรืออาถรรพ์จาการตั้งโบสถ์หันทิศทางรับประตูผี ดังประวัติความเป็นมา….

    ณ. หนูแก้ว

    -----------------
    ขอบคุณที่มา
    https://www.thairnews.com/อาถรรพ์-วัดไตรภูมิ-วัด/
     
  2. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    810
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,432
    ดูจากรูป ร่มรื่นดีนะคะ น่าจะมีเรื่องราวที่ว่าอาถรรพ์มาลงด้วย จิได้ทราบว่า การตั่งประตูผิดทางให้ผลมากขนาดไหน สาธุๆ
     
  3. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,437
    ค่าพลัง:
    +35,024
    พี่งปั่นจักรยานผ่านไปเมื่อวาน
    ตอนนี้ระดับน้ำในแม่น้ำกำลังขึ้นสูง
    และดูสวยงามครับ สภาพแวดล้อมในวัด
    ส่วนตัวมองว่า ดูธรรมดา ไม่มีอะไรน่ากลัวครับ
     
  4. วงกรตน้ำ

    วงกรตน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2015
    โพสต์:
    810
    กระทู้เรื่องเด่น:
    12
    ค่าพลัง:
    +2,432
    ผ่านไปแวะนมัสการท่านเจ้าอาวาสด้วยซิคะ จิได้ทราบสาเหตุที่แท้จริง
    ปล.ฝากกราบท่านด้วยค่ะ ^_^
     

แชร์หน้านี้

Loading...