เรื่องเด่น อินเดียวันนี้..พร้อมจะเปิดต้อนรับ พระพุทธศาสนา ให้หวนกลับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนย้อนยุค พุทธกาล

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย ษิตา, 20 สิงหาคม 2017.

  1. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    อินเดียวันนี้มีธรรมจักรอยู่กลางผืนธง ประจำชาติ มีสโลแกนประจำชาติว่า "ความจริง ชนะทุกสิ่ง" อินเดียวันนี้..มีเสาอโศกเป็น เครื่องหมายประจำชาติ และอินเดียวันนี้..พร้อมจะเปิดต้อนรับ พระพุทธศาสนา ให้หวนกลับมาเจริญรุ่งเรืองย้อนยุคพุทธกาล

    อินเดีย-พลังจิต1.jpg


    ผลสัมฤทธิ์....

    จากพระเจ้าอโศกมหาราช...สร้างพระสถูป เจดืย์ ๘๔,๐๐๐ องค์ ปักเสาอโศกจารึกข้อความภาษาพรหมี ไว้ ณ สถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนาทุกแห่งหน ส่งพระธรรมฑูตไปในทิศทั้งหลาย

    จาก ฯ พณ ฯ ศรีเยาวหรา เนรูย์...ท่านอยู่เบื้องหลัง ผลักดัน สนับสนุน ให้โอกาสแก่พระพุทธศาสนาได้เจิดจรัส อย่างภาคภูมิ

    " เราไม่มีศาสนา แต่เรารักเสรีภาพ ภาราดรภาพ และประชาธิปไตย หากจะให้เรากล่าวถึงศาสนาทั้งหลาย เราจักขอกล่าวถึง พระพระพุทธศาสนา ว่าเป็นศาสนาที่ให้เสรีภาพ ปล่อยมวลมนุษจากบ่วงแห่งพันธนาการ "

    เชื้อเชิญให้ชาวพุทธมาร่วมกันปกป้อง รักษา พุทธสถาน สร้างอารามวัดไทยพุทธคยา

    จาก มหาตมะ คานธี ผู้ใช้สันติวิธี คลี่คลายปัญหา และนำพาอิสสระภาพมาสู่อินเดียทั้งปวง

    จาก ดร.แอ็มเเบ็กการ์ ปลดปล่อยมหาชนจากระบบชนชั้น วรรณะ นำมหาชนแสดงตนเป็นพุทธมามกะ กระทำให้มนุษย์ มีศักดิ์ศรีในตนเอง

    จาก ท่านอนาคาริกธรรมปาละ...ต่อสู่เพื่อการส่งคืนพุทธคยา ดินแดนแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์ กลับสู่ความศรัทธาของชาวพุทธทั่วโลก

    บทสรุป...

    อินเดียวันนี้มีธรรมจักรอยู่กลางผืนธง ประจำชาติ

    อินเดียวันนี้..มีสโลแกนประจำชาติว่า..

    "ความจริง ชนะทุกสิ่ง"

    อินเดียวันนี้..มีเสาอโศกเป็น เครื่องหมายประจำชาติ

    และอินเดียวันนี้..พร้อมจะเปิดต้อนรับ พระพุทธศาสนา ให้หวนกลับมาเจริญรุ่งเรืองเหมือนย้อนยุค พุทธกาล นั้น.



    ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก





    17929-2-54275b1b2675226a4051e26ff4d81caa.jpg



    17929-3-4edd38c9761b0d5b341a4fe63b1f54ff.jpg



    17929-4-4edd38c9761b0d5b341a4fe63b1f54ff.jpg


    ---------
    ขอบคุณที่มา
    http://www.winnews.tv/news/17929
     
  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    45,252
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,040
    Amazing AEC กับ เกษมสันต์ ตอน ดร.อัมเบดการ์ ผู้นำศาสนาพุทธกลับสู่อินเดีย

    Variety BEC-TERO :-
    Published on Dec 14, 2016
    Amazing AEC กับ เกษมสันต์ วันนี้จะพาไปดูจำนวนผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในโลก และพาไปรู้จัก ดร.บี.อาร์. อัมเบดการ์ ชาวอินเดียที่เกิดในวรรณะจัณฑาล วรรณะที่ต่ำที่สุดของอินเดีย แต่ท่านกลับเป็นผู้ที่มีส่วนส่งเสริมพุทธศาสนาในอินเดียให้ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบันโดยที่ไม่สูญหายไปเสียก่อน และยังเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญในการเรียกร้องความเสมอภาคในอินเดียอีกด้วย

    บางคนอาจคิดว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือจำนวนมากติด Top 3 ของโลก แต่จริงๆ แล้วศาสนาพุทธมีสัดส่วนผู้ที่นับถือทั่วโลก 7% หรือราวๆ 500 กว่าล้านคนเท่านั้น คิดเป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้นับถือสูงเป็นอับดับ 5 ของโลก โดยศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกคือศาสนาคริสต์ คิดเป็น 33% หรือประมาณ 2,400 ล้านคน รองลงมาคือศาสนาอิสลาม มีผู้นับถือ 23% หรือประมาณ 1,700 ล้านคน และศาสนาที่มีผู้นับถือสูงเป็นอันดับ 3 คือ ศาสนาฮินดู ที่มีจำนวนผู้นับถือราว 1,000 ล้านคน หรือคิดเป็น 14%

    และเมื่อมาดูในสัดส่วนที่เล็กลงมาอย่างในอาเซียน ประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดคือ กัมพูชา ที่มีผู้ที่นับถือศาสนาพุทธมากถึง 96.4% จากจำนวนประชากรในประเทศทั้งหมด ส่วนไทยนั้นมีผู้นับถือศาสนาพุทธมากเป็นอันดับสองในอาเซียน คือ 92% หรือมีคนไทยประมาณ 65 ล้านคนที่นับถือศาสนาพุทธ

    แต่หลายๆ คนคงสงสัยว่าแล้วประเทศไหนละที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุด? และเชื่อได้เลยว่าบางคนอาจคิดไปถึงอินเดีย เพราะเป็นประเทศต้นกำเนิดศาสนาพุทธ รวมถึงเป็นประเทศที่มีสังเวชนียสถานจำนวนมาก แต่อินเดียนั้นเป็นคำตอบที่ผิด เพราะในอินเดียมีผู้นับถือศาสนาพุทธเพียงแค่ 0.7% หรือราวๆ 9 ล้านคนเท่านั้น โดยศาสนาที่คนอินเดียเกือบ 80% หรือประมาณ 980 ล้านคน นับถือคือศาสนาฮินดู รองลงมาคือศาสนาอิสลามที่มีผู้นับถือ 175 ล้านคน หรือคิดเป็น 14% และต่อมาด้วยศาสนาคริสต์ ที่มีผู้นับถือ 28 ล้านคน อ้าวแล้วถ้าไม่ใช่อินเดียแล้วเป็นประเทศไหนละ คำตอบนั้นก็อยู่ใกล้ตัวเลย ประเทศที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากที่สุดในโลกคือจีน ที่มีผู้นับถือศาสนาพุทธมากถึง 244 ล้านคน จากประชากรในประเทศ 1,400 ล้านคน

    แต่ประเด็นที่น่าสนใจที่จะเอามาเล่าให้ฟังในวันนี้คือเรื่องของพุทธศาสนาในอินเดีย ที่จำนวนผู้นับถือ 9 ล้านคนในปัจจุบันนี้เมื่อเทียบกับในอดีตนั้นถือได้ว่ามากแล้ว เพราะในอดีตศาสนาพุทธในอินเดียนั้นมีผู้นับถือน้อยมากๆ จนแทบนับหัวได้ แต่เมื่อประมาณ 60 ปีก่อนได้เกิดเรื่องราวที่เป็นจุดเปลี่ยนขึ้น นั่นก็คือมีผู้ที่ช่วยส่งเสริมพุทธศาสนาในอินเดียให้กลับมาเป็นที่รู้จักกันอีกครั้ง ท่านผู้นั้นคือ ดร.บี.อาร์. อัมเบดการ์

    ดร.บี.อาร์. อัมเบดการ์ เป็นชาวอินเดียที่เกิดในวรรณะจัณฑาล วรรณะที่ต่ำที่สุดของอินเดีย ชีวิตในวัยเด็กของท่านนั้นลำบากมากเพราะท่านถูกรังเกียจจากคนวรรณะอื่นๆ และครอบครัวของท่านก็มีฐานะยากจนมาก แต่ถึงกระนั้นพ่อของ ดร.อัมเบดการ์ ก็พยายามส่งเสียให้ท่านได้เรียนหนังสือ แม้ท่านจะถูกรังเกียจจากครูและเด็กนักเรียนคนอื่นๆ แต่ท่านก็พยายามจนจบชั้นมัธยมได้ และยังโชคดีได้รับพระเมตตาจากมหาราชาแห่งเมืองบาโรดาที่ให้ทุนการศึกษาไปเรียนต่อปริญญาตรี จนกระทั้งท่านจบการศึกษาปริญญาเอก ที่สหรัฐอเมริกา

    เมื่อ ดร.อัมเบดการ์ เรียนจบ ท่านได้กลับมาเป็นครูที่เมืองบอมเบย์ และมีโอกาสได้เข้าสู่วงการการเมืองจนได้รั้งตำแหน่งเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รวมถึงยังได้มีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของอินเดียอีกด้วย แต่สิ่งท่านต้องการเปลี่ยนแปลงมาตลอดชีวิตคือเรื่องของความเสมอภาคและเท่าเทียมในอินเดีย ที่จะเป็นไปไม่ได้เลยหากอินเดียยังมีระบบวรรณะ ท่านจึงเชิญชวนให้คนอินเดียหันมานับถือศาสนาพุทธแทน เพราะจากการศึกษาของท่านพบว่าพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ

    ดังนั้นเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2499 ดร.อัมเบดการ์ ได้นำคนที่อยู่ในวรรณะจัณฑาล กว่า 500,000 คน มาปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ โดยท่านได้ปฏิญาณว่า "แม้ข้าพเจ้าเกิดมาจากตระกูลที่นับถือศาสนาฮินดู แต่ข้าพเจ้าจะขอตายในฐานะพุทธศาสนิกชน" และลูกหลานของคนเหล่านี้เองที่นับถือศาสนาพุทธสืบต่อกันมา จนทำให้ศาสนาพุทธในอินเดียไม่สูญหายไป แต่เรื่องเศร้าก็คือหลังจากวันที่ ดร.อัมเบดการ์ นำปฏิญาณตน 3 เดือน ท่านก็ถึงแก่กรรมด้วยโรคร้าย ในวันที่ 6 ธันวาคม 2499 พูดได้เลยว่าถ้าไม่มี ดร.อัมเบดการ์ ในวันนี้อาจจะไม่มีศาสนาพุทธในอินเดียอีกแล้วก็ได้ เรียกได้ว่าท่านคือผู้ที่นำศาสนาพุทธกลับสู่อินเดียอีกครั้งนั่นเอง
     

แชร์หน้านี้

Loading...