พอใจรูม

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ppojai, 3 ตุลาคม 2010.

  1. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    48. จงอย่าคิดว่า ฉันปฏิบัติไม่ได้ ฉันไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติควบคุมจิตของตัวเอง อย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะความคิดอย่างนั้นมันเป็นการดูหมิ่นตัวเอง เป็นการตีค่าตัวเองต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลย

    49. เมื่อมีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น จงหยุดคิดทุกอย่างก่อน ให้น้อมจิตเข้าสู่การกำหนดลมหายใจ นับ 1-2 กลับไปกลับมาพร้อมกับลมหายใจนั้น สักนาทีหนึ่ง แล้วจึงน้อมจิตเข้าไป พิจารณาปัญหานั้นว่า นี่มันคืออะไร ? ทำอย่างไรเราจึงจะไม่เป็นทุกข์ไปกับมัน ? เราควรจะทำอย่างไรจึงจะทำให้เรื่องนี้มันสงบไปได้อย่างถูกต้องที่สุด?

    50. การทำอย่างนี้จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง และท่านจะเกิดความคิดที่เฉียบแหลมในการที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ด้วยสติปัญญาของตัวเอง

    51. หลักสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ จงปล่อยวางอยู่เสมอ จงทำจิตให้ปล่อยวาง อย่าเก็บเอาสิ่งใดมาค้างไว้ในใจด้วยความอยากเป็นอันขาด แล้วปัญหาทุกอย่างก็จะสลายตัวไปในที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์

    52. พอถึงเวลาก็นั่งสมาธิอีก

    53. พอออกจากสมาธิก็ตามดูจิต และทำจิตให้ปล่อยวางเรื่อยไป

    54. จงมองเห็นความไม่เที่ยงของทุกสิ่งอยู่เป็นประจำ

    55. จงยอมรับการเกิดขึ้นของทุกสิ่ง ยอมให้มันเกิดขึ้นได้กับท่าน ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ดีหรือเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และพยายามหาทางทำกับมันให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ไปกับมัน

    56. นี่คือการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ซึ่งท่านทุกคนสามารถที่จะทำได้ไม่ยากนัก

    57. จงคิดเสมอว่า ชีวิตท่านกำลังเดินเข้าไปหาความตาย และความพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจงอย่าประมาท คือ อย่ามัวเมาสนุกสนานอยู่ในโลก โดยไม่มองหาทางหลุดรอดให้กับตัวเอง เพราะความประมาทอย่างนั้น มันจะทำให้ท่านพลาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ซึ่งหมายถึงสติปัญญาความหลุดพ้น

    58. ความหงุดพ้นทางจิต คือ ความที่จิตไม่เป็นทุกข์กลัดกลุ้ม

    59. ธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นนี้ ท่านทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ ถ้าหากท่านฝึกจิตของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกอย่างนี้เรียกกันว่า “การปฏิบัติธรรม” นั่นเอง

    60. ถ้าท่านฝึกจิตให้เป็นสมาธิ และใช้สติตามดูอาการภายในจิตของตัวเอง และทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้เสมอแล้ว ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตของท่านเลย


    61. อย่าเชื่อง่ายจนเกินไปอย่าคิดว่าใครพูดอย่างไร ก็จะเป็นจริงตามนั้น อย่าเชื่ออย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่าต้องปฏิบัติอย่างนี้ๆ จึงจะถูก ธรรมของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง ธรรมะของคนอื่นไม่ถูกต้อง หรือพูดว่า จิตกับใจต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจ ฯลฯ อย่างนี้ก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะนั่นมันเป็นเพียงความคิดเห็น ของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็นมาตรฐานว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้

    62. แต่การฝึกทำจิตให้ปล่อยวาง จนจิตมันว่างได้จริง มันไม่ยึดติดอยู่ในอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละจึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตใจของท่านได้จริง ๆ จากการฝึกปฏิบัติอย่างนั้น

    63. จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหยุดคิดปรุงแต่งแล้วกำลังความมั่นคง และความสงบของจิตก็จะเกิดขึ้น

    64. การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียว ด้วยการนับหรือ กำหนดอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่อย่างต่อเนื่องและเงียบเชียบ เท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นจะถูกต้อง และจะทำให้เกิดปัญญาได้จริง

    65. การฝึกจิตให้สงบ และฝึกคิดให้เกิดความรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง นี้คือการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด

    66. จงเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องของการฝึกจิต ให้สงบและฉลาด ให้รู้จักหยุดคิดปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิตใจปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลาของมัน และจากประสบการณ์ของท่าน

    67. จงทำคิดให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะละลายไป อย่าตระหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้ทานอยู่เสมอ

    68. อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบและฉลาด

    69. มีเวลาเมื่อไหร่ จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอนจิตออกมาพิจารณาสิ่งแวดล้อมทุกอย่างและอย่าถือมั่นมันไว้ในใจ

    70. จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวร หมายความว่า ท่านจะชนะความทุกข์ใจได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีคนมากลั่นแกล้งท่านหรือตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม

    71. จงเชื่อว่า เมื่อท่านทำดีแล้วถูกต้องแล้ว มันก็ดีแล้วและถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยอมรับและสรรเสริญท่านหรือไม่ นั่นไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำดีให้ดีที่สุด และทำให้ทุกสิ่งถูกต้องที่สุด โดยไม่หวังผลตอบแทน เมื่อนั้นท่านก็จะเป็นมนุษย์ผู้มีความประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง
     
  2. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    1. จงประพฤติศีล 5 ให้สมบูรณ์ ด้วยการไม่ฆ่าสัตว์ทุกชนิด, ไม่ขโมยสิ่งของ ๆ ใคร, ไม่ประพฤติผิดในกาม, ไม่โกหกหลอกลวงใคร และไม่ดื่มหรือเสพสิ่งเสพติดมึนเมา

    2. แบ่งเวลาในแต่ละวันให้พอเหมาะพอดีแก่สภาพชีวิตของตัวเอง มีเวลาทำงานเพียงพอ มีเวลาพักผ่อนเพลิดเพลินในครอบครัวตามสมควร สำหรับผู้ที่เป็นฆราวาสและมีเวลาฝึกสมาธิเพื่อทำจิตให้สงบ

    3. ในการฝึกสมาธินั้น ให้นั่งอยู่อย่างสงบสำรวมอย่างเคลื่อนไหวอวัยวะมือเท้า จะนั่งกับพื้น เอาขาทับขาข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ หรือจะนั่งพับเพียบก็ได้ หรือจะนั่งบนเก้าอี้ตามสบายก็ได้ ไม่มีปัญหา

    4. วิธีการฝึกสมาธินั้น ขอให้เข้าใจว่า ท่านจะทำจิตให้สงบ ปราศจากความคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องภายนอก ทุกอย่างชั่วระยะเวลาที่ทำสมาธินั้น ท่านจะไม่ปรารถนาที่ จะพบเห็นรูป สี แสง เสียง สวรรค์นรก หรือเทวดาอินทร์พรหมที่ไหน เพราะสมาธิที่แท้จริงย่อมจะไม่มีสิ่งเหล่านั้นอยู่ในจิตใจ สมาธิที่แท้จะมีแต่จิตที่สะอาดบริสุทธิ์ และสงบเย็นเท่านั้น

    5. พอเริ่มทำสมาธิโดยปกติแล้วให้หลับตาพอสบายสำรวมจิตเข้านับที่ลมหายใจ ทั้งหายใจเข้าและหายใจออกโดยอาจจะนับอย่างนี้ว่า หายใจเข้านับ 1 หายใจออกนับ 2 อย่างนี้เรื่อยไป ทีแรกนับช้า ๆ เพื่อให้สติต่อเนื่องอยู่กับการนับนั้น แต่ต่อไปพอจิตสงบเข้าที่แล้ว มันก็จะหยุดนับของมันเอง

    6. หรือบางทีอาจจะกำหนดพุทโธก็ได้ หายใจเข้ากำหนดว่า พุท หายใจออกกำหนด ว่า โธ อย่างนี้ก็ได้ ไม่ขัดแย้งกันเลย เพราะการนับอย่างนี้มันเป็นเพียงอุบายที่จะทำให้จิตหยุดคิดนึกปรุงแต่งเท่านั้น

    7. แต่ในการฝึกแรก ๆ นั้น ท่านจะยังนับ หรือกำหนดไม่ได้อย่างสม่ำเสมอ หรือ อย่างตลอดรอดฝั่ง เพราะมันมักจะมีความคิดต่าง ๆ แทรกเข้ามาในจิต ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ช่างมัน ให้เข้าใจว่า ฝึกแรก ๆ มันก็เป็นอย่างนี้เอง แต่ให้ท่านตั้งนาฬิกาเอาไว้ตามเวลาที่พอใจว่าจะทำสมาธินานเท่าไร เริ่มแรกอาจจะทำสัก 15 นาที อย่างนี้ก็ได้ และให้เฝ้านับหรือกำหนดอยู่จนครบเวลาที่ตั้งไว้ จิตมันจะมีความคิดมากหรือน้อย ก็ช่างมัน ให้พยายามกำหนดนับตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วจนครบเวลา ไม่นานนัก จิตมันก็จะหยุดคิดและสงบได้เองของมัน

    8. การฝึกสมาธินี้ได้พยายามทำทุกวัน ๆ ละ 2-3 ครั้ง แรก ๆ ให้ทำครั้งละ 15 นาที แล้วจึงค่อยเพิ่มมากขึ้น ๆ จนถึงครั้งละ 1 ชั่วโมง หรือกว่านั้น ตามที่ปรารถนา

    9. ครั้นกำหนดจิตด้วยการนับอย่างนั้นจนมีประสบการณ์พอสมควรแล้ว ท่านก็จะรู้สึกว่า จิตนั้นสะอาด สงบ เย็น ผ่องใส ไม่หงุดหงิด ไม่หลับไหล ไม่วิตกกังวลกับสิ่งใด นั่นแหละคือสัญลักษณ์ที่แสดงว่า สมาธิกำลังเกิดขึ้นในจิต

    10. เมื่อจิตสงบเย็น ไม่หงุดหงิดเช่นนั้นแล้ว อย่าหยุดนิ่งเฉยเสีย ให้ท่านเริ่มน้อมจิตเพื่อจะพิจารณาเรื่องราวต่าง ๆ ต่อไป ถ้ามีปัญหาชีวิต หรือปัญหาใด ๆ ที่กำลังทำให้ท่านเป็นทุกข์กลัดกลุ้มอยู่ ก็จงน้อมจิตเข้าไปคิดนึกพิจารณาปัญหา ด้วยความสุขุมรอบคอบ ด้วยความมีสติ

    11. จงยกเอาปัญหานั้นขึ้นมาพิจารณาว่า ปัญหานี้มันมาจากไหน ? มันเกิดขึ้นเพราะอะไร ? เพราะอะไรท่านจึงหนักใจกับมัน ? ทำอย่างไรที่ท่านจะสามารถแก้ไขมันได้ ? ทำอย่างไรท่านจึงจะเบาใจและไม่เป็นทุกข์กับมัน ?

    12. การพิจารณาอยู่ด้วยจิตอันสงบอย่างนี้ การถามหาเหตุผลกับตัวเองอย่างนี้ จิตของท่านมันจะค่อย ๆ รู้เห็น และเกิดความคิดนึกรู้สึกอันฉลาดขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน จิตจะสามารถเข้าใจต้นสายปลายเหตุของปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง นักปฏิบัติจึงต้องพยายามพิจารณาปัญหาต่าง ๆ อย่างนี้เรื่อยไป หลังจากที่จิตสงบแล้ว

    13. ในกรณีที่ยังไม่มีปัญหาความทุกข์เกิดขึ้น หลังจากที่ทำจิตให้สงบเป็นสมาธิแล้ว จงพยายามคิดหาหัวข้อธรรมะหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งมาพิจารณา เช่น ยกเอาชีวิตของตัวเองมาพิจารณาว่า มันมีความมั่นคง จีรังยั่งยืนอะไรเพียงไหน? ท่านจะได้อะไรจากชีวิตคือร่างกายและจิตใจนี้? ท่านจะอยู่ไปในโลกนี้นานเท่าไร ? เมื่อท่านตอบ ท่านจะได้อะไร ? ให้พยายามถามตัวเองเช่นนี้อยู่เสมอ

    14. หรือท่านอาจจะน้อมจิตไปสำรวจการกระทำของตัวเองเท่าที่ผ่านมา พิจารณาดูว่า ท่านได้ทำประโยชน์อะไรให้แก่ส่วนรวมหรือไม่ ? หรือท่านได้ทำอะไรผิดพลาดไปบ้าง ? และตั้งใจไว้ว่า ต่อไปนี้ท่านจะไม่ทำสิ่งผิด จะไม่พูดสิ่งที่ไม่ดี ที่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนและไม่สบายใจ ท่านจะพูดจะทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกนี้ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อความสะอาดบริสุทธิ์ของชีวิตของท่านเอง

    15. จงเข้าใจว่า เป้าหมายที่ถูกต้องของการฝึกสมาธินั้น คือท่านจะฝึกสมาธิเพื่อให้จิตสงบจากอารมณ์ภายนอกชั่วระยะเวลาหนึ่ง เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว จิตนั้นจะมีกำลัง และมั่นคงสภาวะจิตเช่นนั้นเองมีความพร้อมในการที่จะรู้ จะเข้าใจปัญหาต่าง ๆ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่แวดล้อมตัวท่านอยู่ ได้อย่างถูกต้องตามเป็นจริง

    16. สรุปว่า ท่านจะฝึกสมาธิเพื่อจะเรียกกำลังจิตจากสมาธินั้นไปพัฒนาความคิดนึก หรือความรู้สึกของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งความรู้สึกคิดนึกที่ถูกต้องนั้น แท้จริงแล้วก็คือ “ปัญญา” นั่งเอง

    17. จงจำไว้ว่า ปัญหาอันยิ่งใหญ่ในชีวิตของท่านก็คือความทุกข์ ความกลัดกลุ้มใจ และความทุกข์นั้นก็จะไม่หมดไปได้เพราะการไหว้วอนบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ แต่มันจะหมดไปจากใจของท่านได้ ถ้าท่านมีปัญญารู้เท่าทันตามเป็นจริงในสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์นั้น

    18. ดังนั้น ในการฝึกสมาธิทุกครั้ง ท่านจึงต้องกำหนดจิตใจสงบเสียก่อน จากนั้นจึงเอาจิตที่สงบนั้นมาพิจารณาทบทวนปัญหาที่ทำให้ท่านเป็นทุกข์

    19. ท่านจะต้องรู้ความจริงด้วยว่า ปัญหาหลาย ๆ อย่างท่านไม่สามารถจะแก้ไขมันได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ตามสภาวะแวดล้อมของมัน แต่หน้าที่ของท่านคือท่านจะต้องพยายามหาวิธีทำกับมันให้ดีที่สุด โดยคิดว่าท่านทำได้ดีที่สุดเพียงเท่านี้ ผลจะเกิดขึ้นอย่างไรก็ช่างมัน ปัญหามันจะหมดไปหรือไม่ก็ช่างมัน ท่านทำหน้าที่ของท่านได้ดีที่สุดแล้ว ท่านก็ถูกต้องแล้ว เรื่องจะดีร้ายได้เสียมันก็ไม่ใช่เรื่องของท่าน

    20. ท่านจะต้องเปิดใจให้กว้าง ให้ยอมรับในทุกสิ่งที่เกิดขึ้นว่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตามเหตุปัจจัยของมัน เช่นเรื่องที่ไม่ดีไม่น่าปรารถนา มันก็อาจจะเกิดขึ้นกับท่านได้ตามเหตุปัจจัยของมัน เพราะทุกสิ่งเป็นของไม่เทียงแท้แน่นอนอะไร บางทีมันก็ดี บางทีก็ไม่ดี มันเป็นอยู่อย่างนี้เอง เรื่องไม่ดีที่ไม่น่าปรารถนานั้น แท้จริงแล้วมันเป็นสิ่งที่มีอยู่คู่โลกนี้มานานแล้ว ทุกคนที่เกิดมาในโลกก็ล้วนแต่จะต้องประสบกับมันทั้งนั้น แม้ว่าอาจจะมีลักษณะแตกต่างกับบ้างก็ตาม เรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนานั้น ไม่ใช่เกิดมาจากอำนาจของเทวดาฟ้าดิน ที่ไหนเลยมันเป็นของธรรมดาที่มีอยู่ในโลกอย่างนี้เอง
    21. จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า “อนิจจตา” ซึ่งแปลว่าความไม่เที่ยง สิ่งที่มีเหตุปัจจัย ปรุงแต่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงทั้งนั้น ความเปลี่ยนแปลงจากดีไปเป็นเลว เปลี่ยนจากความสมหวังไปเป็นความผิดหวัง ฯลฯ ก็ล้วนแต่เป็นเพราะความเป็นของไม่เที่ยงของมันนั่นเอง ดังนั้นจงอย่าเป็นทุกข์เศร้าโศกไปกับเรื่องดีร้ายได้เสียที่เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่จงรู้จักมันว่า มันเป็นอย่างนี้เอง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอนเลยสักสิ่งเดียว ถ้าท่านรู้อย่างนี้ด้วยความสงบของสมาธิ จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์เลย

    22. จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า “ทุกขตา” ซึ่งแปลว่า ความเป็นทุกข์ จงจำไว้ว่า ชีวิตของคนเรานั้นล้วนแล้วแต่มีความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ลักษณะของความทุกข์นั้นได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความอาลัยอาวรณ์ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความที่ได้รับสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ความพลัดพรากจากคนรักหรือของรัก และความผิดหวัง เหล่านี้แหละคือความทุกข์ที่คนทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้กำลังประสบอยู่

    23. จงรู้จักธรรมะข้อที่ว่า “อนัตตา” ซึ่งแปลว่าความไม่ใช่ตัวเราหรือของเรา หรือความปราศจากแก่นสารที่ยั่งยืนถาวร ข้อที่ว่า สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตนแก่นสารที่ถาวรนั้น หมายความว่า สิ่งเหล่านั้นมันจะมีอยู่ในโลกนี้เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่ง จะนานหรือไม่นานก็แล้วแต่เหตุการณ์ของมันเท่านั้นเอง มันไม่มีสิ่งใดจะคงอยู่ในโลกนี้ได้ตลอดไป ดังนั้น ตัวตนที่เป็นของยั่งยืนถาวรของมันจึงไม่มีซึ่งสิ่งเหล่านั้น มันหมายรวมทั้งร่างกายและจิตใจของเราทุกคนด้วย

    24. เมื่อทุกสิ่งเป็นของไม่เที่ยง ชวนแต่จะทำให้เราเป็นทุกข์กับมัน และไม่ใช่สิ่งที่เป็นแก่นสารถาวรเช่นนั้นแล้ว เราจะมัวไปหลงใหลอยากได้อยากเป็นอะไรในมันให้มากเรื่องไปโดยเปล่าประโยชน์อีกเล่า ?

    25. ในการฝึกสมาธินั้น ให้แบ่งเวลาออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรก ต้องกำหนดจิตให้สงบ ไม่ต้องคิดเรื่องอะไร ส่วนช่วงที่ 2 จึงอาศัยจิตที่สงบเป็นตัวพิจารณาสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบคอบ

    26. พอครบเวลาที่กำหนดไว้แล้ว เมื่อจะเลิกนั่งสมาธิ ก็ให้ตั้งความรู้สึกไว้ว่า ต่อจากนี้ไปท่านจะมีสติพิจารณาสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพิจารณานั้น ท่านจะพิจารณา ให้เห็นสภาพที่เป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น ซึ่งล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้กฎแห่ง ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่มีแก่นสารถาวรทั้งสิ้น

    27. จงเตือนตัวเองว่า ทุกสิ่งกำลังเปลี่ยนแปลง มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน มันจะเกิดเรื่องดีที่ถูกใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ หรือมันจะเกิดเรื่องไม่ดีและขัดใจเราเมื่อไหร่ก็ได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นมันไม่เที่ยง ดังนั้นเราจึงต้องทำจิตให้พร้อมรับสถานการณ์เหล่านั้นอยู่เสมอ โดยไม่ต้องดีใจหรือเสียใจไปกับเรื่องเหล่านั้น

    28. จงพยายามทำจิตใจให้ปล่อยวางอยู่เสมอ หมายความว่า ท่านจะต้องพยายาม รักษาจิตให้สะอาด อย่าคิดอะไรให้ตัวเองเป็นทุกข์ อย่าอยากได้อยากเป็นอะไรจนเกินพอดี อย่าถือตัว อย่าถือทิฏฐิมานะ รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ จงน้อมจิตให้มองเห็นสภาวะที่สงบ และสะอาดอยู่เสมอ วิธีนี้จะทำให้จิตใจของท่านสงบเย็น ผ่องใส และไม่เดือดร้อนได้เป็นอย่างดีที่สุด

    29. จงตั้งใจไว้ว่า แม้ท่านจะออกมาจากการนั่งสมาธิแล้ว แต่ท่านก็จะรักษาจิตให้สะอาดผ่องใสและไม่ถือมั่น ไม่แบกเอาสิ่งต่าง ๆ มาไว้ในใจให้หนักใจเปล่า ๆ เลย ซึ่งวิธีนี้จะทำให้สมาธิเกิดอยู่ในจิตตลอดเวลา

    30. จะคิดเรื่องอะไรก็จงคิดด้วยปัญญา คิดเพื่อที่จะทำให้เกิดความถูกต้อง คิดเพื่อจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายให้พวกเขาได้รับความสุขสงบในชีวิต คิดเพื่อจะทำหน้าที่ของท่านให้ดีที่สุด คิดจะทำให้ตัวเองและคนอื่นสัตว์อื่นมีความสุขและไม่มีทุกข์อยู่เสมอ

    31. จงจำไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่จะมาทำให้ท่านเป็นทุกข์ได้ นอกจากความคิดผิดของท่านเอง ถ้าท่านคิดผิด ท่านก็จะเป็นทุกข์ ถ้าท่านคิดถูก ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์

    32. จงอย่างเชื่อถือสิ่งงมงายไร้เหตุผล เช่น เมื่อมีความทุกข์ หรือเกิดเรื่องไม่ดีไม่น่าปรารถนาขึ้น ก็ไปบนเจ้าที่เจ้าทาง ไปไหว้จอมปลวก ไหว้ต้นไม้ใหญ่ ฯลฯ ปรารถนาจะให้วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ที่ท่านหลงผิดคิดว่ามีอยู่ในสถานที่เหล่านั้น มาช่วยท่านให้พ้นทุกข์อย่างนี้เป็นต้น นี่คือความงมงาย จงละเลิกมันเสีย เพราะมันจะทำให้ท่านสิ้นเปลืองทรัพย์สินและเวลาโดยไม่ได้รับประโยชน์อะไรเลย พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนให้เชื่อในสิ่งเหล่านั้น

    33. จงรู้ความจริงว่า เรื่องที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจนี้เป็นธรรมชาติธรรมดาที่มีอยู่ในโลกนี้ บางทีท่านก็ได้ตามที่ปรารถนา แต่บางทีก็ไม่ได้ตามที่ปรารถนา มันเป็นของธรรมดาอยู่อย่างนี้เอง อย่าตื่นเต้นดีใจหรือเสียใจไปกับมัน

    34. ตลอดเวลาที่ท่านกำลังทำกิจการงานอะไรอยู่ จงน้อมจิตให้มองเห็นความสงบที่ท่านเคยพบในการฝึกสมาธิ และจงมองเห็นความเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่างภายนอก จงแยกมันให้ออกว่า สิ่งหนึ่งคือจิตอันสงบของท่าน ส่วนอีกสิ่งหนึ่งคือความปรุงแต่งวุ่นวายของโลก สิ่งทั้ง 2 นี้มันแยกกันอยู่โดยธรรมชาติของมัน

    35. ถ้าท่านไม่มองหาความสงบ แต่หันไปอยากได้อยากดีกับสิ่งภายนอก จิตของท่านก็จะสับสนวุ่นวายและเป็นทุกข์ แต่ถ้าท่านมองเห็นความสงบของจิต และควบคุมจิตไม่ให้เกิดความอยากความทะเยอทะยานที่ไม่รู้จักพอขึ้นมาแล้ว จิตของท่านก็จะสงบเย็นอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะยืน เดิน นั่ง หรือนอนอยู่ที่ใดก็ตาม ไม่ว่าท่านจะเป็นคนร่ำรวยหรือยากจนสักเพียงใดก็ตาม แต่จิตของท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ เพราะการฝึกจิตด้วยวิธีการนี้

    36. จงใช้ปัญญาแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งปัญญานั้น หมายถึงความมีสติที่รู้จักประคับประคองจิตให้สะอาดอยู่เสมอ รู้จักทำจิตให้ปล่อยวาง ทำจิตให้โปร่งเบา รู้เท่าทันว่าอะไรถูกอะไรผิด ถ้าผิดท่านจะไม่ทำไม่พูด ถ้าถูกท่านจึงจะทำจะพูด และรู้จักพิจารณาว่าหน้าที่ที่ท่านจะทำกับสิ่งนั้น ๆ คืออะไร แล้วก็ทำหน้าที่นั้นให้ดีที่สุด พยายามแก้ปัญหานั้นให้สงบไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรมและถูกต้องที่สุด โดยไม่เห็นแก่ตัว วิธีนี้จะทำให้ปัญญาของท่านคมชัด และจะไม่มีความทุกข์อยู่ในจิตเลย

    37. ท่านต้องรู้ว่า คนส่วนมากในโลกนี้เขามีกิเลส คือ ความโลภ โกรธและหลง ดังนั้นบางทีเขาก็คิดถูกและทำถูก แต่บางทีก็คิดผิดและทำผิด บางทีก็โง่ บางทีก็ฉลาด เพราะฉะนั้น ท่านจะต้องให้อภัยเขา ค่อย ๆ พูดกับเขา ไม่ด่าว่ารุนแรงกับเขา ท่านจะต้องใช้ปัญญาของท่านเข้าไปสอนเขาไปชักจูงเขาให้เดินในทางที่ถูก นี่คือหน้าที่ของผู้มีปัญญาที่จะเข้าไปเกี่ยวกับคนโง่ที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นจำนวนมากมายมหาศาล ผลที่จะได้รับก็คือ ท่านจะเป็นคนที่มีจิตใจเยือกเย็นและน่าเคารพกราบไหว้ของคนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านจะไม่เป็นทุกข์ร้อนเลย แม้ว่าจะพบเห็นหรือเกี่ยวข้องกับคนมากมายหลายประเภทในโลกนี้อยู่เสมอ

    38. การพิจารณาอย่างต่อเนื่อง แม้ในตอนที่ไม่ได้นั่งสมาธิอยู่อย่างนี้ คือการปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นสูงสุดแล้วก็คือความรู้จักปล่อยวาง ไม่แบกหามภาระใด ๆ มาไว้ในใจจนนอนไม่หลับและเป็นทุกข์นั่นเอง

    39. จงจำไว้ว่า การฝึกสมาธินั้น แท้จริงแล้วท่านทำเพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งปัญญานั้นเองที่จะเป็นตัวทำลายความทุกข์ทางใจให้หมดสิ้นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ไม่ใช่เพียงแค่ การอ้อนวอนอธิฐานเอาอะไร ๆ ตามใจตัวเอง

    40. จงตั้งใจไว้ว่า ถ้าจะรู้สึกเป็นทุกข์หงุดหงิดเมื่อไร ท่านจะสลัดมันทิ้งเมื่อนั้น ท่านจะไม่เอาอารมณ์นั้นมาไว้ในใจ ถ้าท่านสลัดอารมณ์ไม่ดีให้หลุดไปได้เมื่อใด ท่านก็จะรู้แจ้งธรรมะเมื่อนั้น ท่านจะหมดทุกข์เมื่อนั้น ท่านจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิตของท่าน ในนาทีที่ท่านสลัดอารมณ์หงุดหงิดไม่สบายออกไปจากใจได้



    41. ในตอนเจ็บไข้ได้ป่วย จงอย่าคิดอยากจะหายจากโรคนั้น แต่จงคิดว่า ท่านจะรักษาโรคไปตามเรื่องของมัน บางทีก็หาย บางทีก็ไม่หาย อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ท่านไม่เป็นโรคนี้ท่านก็ต้องตายอยู่แล้ว ดังนั้น จึงไม่จำเป็นจะต้องเสียใจหรือหวาดกลัวต่อโรคนั้น

    42. จงตามดูความรู้สึกภายใจจิตอยู่เสมอ ถ้าจะวิตกกังวลให้ตัดทิ้งเลย ถ้าจะหงุดหงิดตัดทิ้งเลย ถ้าจะห่วงอะไรก็ตัดทิ้งไปเลย ถ้าทำอย่างนี้อยู่เสมอ ปัญญาของท่านก็จะสมบูรณ์เต็มเปี่ยมอยู่ในจิต นี่แหละคือทรัพย์อันประเสริฐสุดในชีวิตของท่าน และสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ก็จะสลายตัวไปเองในที่สุด

    43. ปัญหาที่ทำให้ท่านหนักใจเป็นทุกข์ จะไม่เกิดขึ้นไม่จิต ถ้าท่านทำจิตให้สลัดอารมณ์ดีร้ายเหล่านั้น อยู่เช่นนี้เสมอ

    44. สมาธิก็จะมั่นคงต่อเนื่องอยู่ในจิต แม้ท่านจะกำลังเดินเหินไปมาหรือทำการงานทุกอย่างอยู่ ถ้าหากว่าท่านพยายามทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้ สมาธิก็จะมั่นคงยิ่งขึ้น

    45. อย่าคิดจะให้สิ่งต่าง ๆ มันเป็นไปตามใจของท่านหมด แต่จงคิดว่า มันจะเกิดเรื่องดีร้ายอย่างไรก็ให้มันเกิด ท่านจะพยายามหาทางแก้ไขมันไปตามความสามารถแก้ได้ก็เอา แก้ไขได้ก็เอา เรื่องดีก็ทิ้ง เรื่องร้ายก็ทิ้ง สุขก็ทิ้ง ทุกข์ก็ทิ้ง แล้วจิตของท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์เลย

    46. ท่านจะอย่าปล่อยให้ความอยาก ความรักตัวหวงตัว เกิดขึ้นในจิต เพราะธรรมชาติอย่างนั้นมันเป็นสิ่งสกปรกที่จะบั่นทอนจิตของท่านให้ตกต่ำและเป็นทุกข์

    47. พอมีเวลาว่าง จงน้อมจิตเข้าสู่สมาธิอันสะอาดบริสุทธิ์อยู่เสมอ แม้จะทำครั้งละ 5 นาที สมาธิที่ถูกต้องก็จะเกิดขึ้นในจิตได้เช่นเดียวกัน และจะเพิ่มปริมาณความสงบสะอาดของมันขึ้นเรื่อยไป จิตของท่านก็จะมั่นคงแข็งแกร่งยิ่ง ๆ ขึ้นไป

    48. จงอย่าคิดว่า ฉันปฏิบัติไม่ได้ ฉันไม่มีกำลังใจที่จะปฏิบัติควบคุมจิตของตัวเอง อย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะความคิดอย่างนั้นมันเป็นการดูหมิ่นตัวเอง เป็นการตีค่าตัวเองต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลย

    49. เมื่อมีปัญหายุ่งยากเกิดขึ้น จงหยุดคิดทุกอย่างก่อน ให้น้อมจิตเข้าสู่การกำหนดลมหายใจ นับ 1-2 กลับไปกลับมาพร้อมกับลมหายใจนั้น สักนาทีหนึ่ง แล้วจึงน้อมจิตเข้าไป พิจารณาปัญหานั้นว่า นี่มันคืออะไร ? ทำอย่างไรเราจึงจะไม่เป็นทุกข์ไปกับมัน ? เราควรจะทำอย่างไรจึงจะทำให้เรื่องนี้มันสงบไปได้อย่างถูกต้องที่สุด?

    50. การทำอย่างนี้จะทำให้ท่านสามารถเข้าใจสถานการณ์นั้น ๆ ได้อย่างถูกต้อง และท่านจะเกิดความคิดที่เฉียบแหลมในการที่จะแก้ไขปัญหานั้นได้ด้วยสติปัญญาของตัวเอง

    51. หลักสำคัญที่จะลืมไม่ได้ก็คือ จงปล่อยวางอยู่เสมอ จงทำจิตให้ปล่อยวาง อย่าเก็บเอาสิ่งใดมาค้างไว้ในใจด้วยความอยากเป็นอันขาด แล้วปัญหาทุกอย่างก็จะสลายตัวไปในที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์

    52. พอถึงเวลาก็นั่งสมาธิอีก

    53. พอออกจากสมาธิก็ตามดูจิต และทำจิตให้ปล่อยวางเรื่อยไป

    54. จงมองเห็นความไม่เที่ยงของทุกสิ่งอยู่เป็นประจำ

    55. จงยอมรับการเกิดขึ้นของทุกสิ่ง ยอมให้มันเกิดขึ้นได้กับท่าน ไม่ว่ามันจะเป็นเรื่องที่ดีหรือเลวร้ายสักเพียงใดก็ตาม และพยายามหาทางทำกับมันให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ไปกับมัน

    56. นี่คือการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ซึ่งท่านทุกคนสามารถที่จะทำได้ไม่ยากนัก

    57. จงคิดเสมอว่า ชีวิตท่านกำลังเดินเข้าไปหาความตาย และความพลัดพรากจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ เพราะฉะนั้นจงอย่าประมาท คือ อย่ามัวเมาสนุกสนานอยู่ในโลก โดยไม่มองหาทางหลุดรอดให้กับตัวเอง เพราะความประมาทอย่างนั้น มันจะทำให้ท่านพลาดโอกาสที่จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต ซึ่งหมายถึงสติปัญญาความหลุดพ้น

    58. ความหงุดพ้นทางจิต คือ ความที่จิตไม่เป็นทุกข์กลัดกลุ้ม

    59. ธรรมชาติแห่งความหลุดพ้นนี้ ท่านทุกคนสามารถที่จะเข้าถึงได้ ถ้าหากท่านฝึกจิตของท่านให้ถูกต้อง ซึ่งการฝึกอย่างนี้เรียกกันว่า “การปฏิบัติธรรม” นั่นเอง

    60. ถ้าท่านฝึกจิตให้เป็นสมาธิ และใช้สติตามดูอาการภายในจิตของตัวเอง และทำจิตให้ปล่อยวางอยู่อย่างนี้เสมอแล้ว ความทุกข์ก็จะไม่เกิดขึ้นในจิตของท่านเลย


    61. อย่าเชื่อง่ายจนเกินไปอย่าคิดว่าใครพูดอย่างไร ก็จะเป็นจริงตามนั้น อย่าเชื่ออย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีอาจารย์สอนธรรมะว่าต้องปฏิบัติอย่างนี้ๆ จึงจะถูก ธรรมของฉันเท่านั้นที่ถูกต้อง ธรรมะของคนอื่นไม่ถูกต้อง หรือพูดว่า จิตกับใจต่างกัน ใจนั้นอยู่บนจิต ส่วนจิตนั้นซ่อนอยู่ใต้ใจ ฯลฯ อย่างนี้ก็อย่าเพิ่งเชื่อ เพราะนั่นมันเป็นเพียงความคิดเห็น ของเขาแนวหนึ่งเท่านั้น จะเอามาเป็นมาตรฐานว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องสมบูรณ์แล้วไม่ได้

    62. แต่การฝึกทำจิตให้ปล่อยวาง จนจิตมันว่างได้จริง มันไม่ยึดติดอยู่ในอารมณ์ทุกรูปแบบได้จริง นั่นแหละจึงจะเป็นธรรมะที่ถูกต้องแท้จริง เพราะความทุกข์จะหมดไปจากจิตใจของท่านได้จริง ๆ จากการฝึกปฏิบัติอย่างนั้น

    63. จงจำไว้ว่า สมาธินั้น ท่านทำเพื่อให้จิตหยุดคิดปรุงแต่งแล้วกำลังความมั่นคง และความสงบของจิตก็จะเกิดขึ้น

    64. การทำสมาธินั้น เพียงแต่สำรวมจิตเข้าสู่อารมณ์อันเดียว ด้วยการนับหรือ กำหนดอะไรสักอย่างหนึ่งอยู่อย่างต่อเนื่องและเงียบเชียบ เท่านี้ก็ถูกต้องแล้ว สมาธินั้นจะถูกต้อง และจะทำให้เกิดปัญญาได้จริง

    65. การฝึกจิตให้สงบ และฝึกคิดให้เกิดความรู้เท่าทันสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง นี้คือการปฏิบัติธรรม ตามแนวทางของพระพุทธศาสนา เพื่อความหมดทุกข์ในที่สุด

    66. จงเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม เป็นเรื่องของการฝึกจิต ให้สงบและฉลาด ให้รู้จักหยุดคิดปรุงแต่งเป็นบางครั้ง และให้รู้จักทำจิตใจปล่อยวางอยู่ตลอดเวลา ความทุกข์ก็จะสลายไปทีละเล็กละน้อยตามกาลเวลาของมัน และจากประสบการณ์ของท่าน

    67. จงทำคิดให้ปล่อยวางอยู่เสมอ แล้วปัญหายุ่งยากก็จะละลายไป อย่าตระหนี่ อย่าเห็นแก่ได้ อย่าเห็นแก่ตัว และจงให้ทานอยู่เสมอ

    68. อย่าท้อถอยในการฝึกจิตให้สงบและฉลาด

    69. มีเวลาเมื่อไหร่ จงทำจิตให้สงบเมื่อนั้น และเมื่อสงบแล้วก็จงถอนจิตออกมาพิจารณาสิ่งแวดล้อมทุกอย่างและอย่าถือมั่นมันไว้ในใจ

    70. จงยอมให้คนอื่นได้เปรียบท่าน โดยไม่ต้องโต้เถียงกับเขา แล้วท่านจะเป็นผู้ชนะอย่างถาวร หมายความว่า ท่านจะชนะความทุกข์ใจได้อย่างถาวร แม้ว่าจะมีคนมากลั่นแกล้งท่านหรือตั้งตัวเป็นศัตรูกับท่านอยู่เสมอก็ตาม

    71. จงเชื่อว่า เมื่อท่านทำดีแล้วถูกต้องแล้ว มันก็ดีแล้วและถูกต้องแล้ว คนอื่นจะรู้ความจริงหรือไม่ เขาจะยอมรับและสรรเสริญท่านหรือไม่ นั่นไม่ใช่เรื่องของท่าน แต่เรื่องของท่านคือ ท่านต้องทำดีให้ดีที่สุด และทำให้ทุกสิ่งถูกต้องที่สุด โดยไม่หวังผลตอบแทน เมื่อนั้นท่านก็จะเป็นมนุษย์ผู้มีความประเสริฐสุดอยู่ในตัวท่านเอง

    72. จงพยายามเข้าหาครูบาอาจารย์ผู้มีปัญญา ที่จะสอนท่านให้รู้แจ้งธรรมะได้อยู่เสมอ การเข้าใกล้สมณะที่เป็นเช่นนั้น จะช่วยให้ท่านให้สติปัญญาและรู้จักแนวทางในการดำเนินชีวิตของท่านอย่างถูกต้อง

    73. อย่าลืมหลักปฏิบัติที่ว่า หยุดคิดให้จิตสงบแล้วจากนั้นจึงคิดอย่างสงบ เพื่อทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ

    74. อย่าถือมั่นว่า ชีวิตคือร่างกายและจิตใจของท่านเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน ถ้าใครถือเช่นนั้น เขาก็จะเป็นทุกข์เพราะชีวิตที่ไม่เคยแน่นอนของเขา

    75. จงหมั่นเสียสละทรัพย์สินเงินทองให้แก่ผู้อื่นอยู่เสมอ การกระทำอย่างนี้จะช่วยให้จิตของท่านสะอาด และมีความพร้อมที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ในที่สุด

    76. จงเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า ตายแล้วท่านจะไม่ได้อะไรไป ดังนั้น จงฝึกจิตให้ สงบและปล่อยวางอยู่เสมอ อย่าเห็นแก่ตัว อย่าตระหนี่ ฯลฯ แล้วท่านก็จะบรรลุถึงความหลุดพ้นได้ตามที่ปรารถนา

    77. จิตที่สะอาด ปราศจากความอยาก และความถือมั่นในตัวเอง นั่นแหละคือจิตที่หลุดพ้นจากความทุกข์แล้วอย่างสิ้นเชิง จงพยายามฝึกจิตให้เป็นเช่นนั้น

    78. การปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ไม่ใช่เรื่องลึกลับมหัศจรรย์ที่ทำไปเพื่อการติดต่อพบปะกับดวงวิญญาณต่าง ๆ ไม่ใช่อย่างนั้น แต่การปฏิบัติธรรมที่แท้ เป็นเรื่องของการฝึกจิตให้สงบและฉลาด ให้จิตมั่นคงและปล่อยวาง ความทุกข์จะหมดไปด้วยการปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้น

    79. อย่างยึดถือทุกสิ่ง และจงปล่อยวางทุกสิ่ง แล้วความทุกข์กลัดกลุ้มก็จะหมดไปทุกสิ่ง ในขณะที่ท่านจะสามารถทำการงานและแสวงหาอะไร ๆ ที่ถูกต้องได้ทุกสิ่ง

    80. ความทุกข์จะไม่หมดไป เพราะท่านได้อะไร ๆ สมใจอยาก แต่การได้อะไรสมใจอยากนั่นแหละที่จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ในสักวันหนึ่ง คือวันที่สิ่งนั้นมันหายไปจากท่าน



    81. แต่ความทุกข์จะหมดไป เพราะท่านมีจิตที่สงบและฉลาด รู้จักหยุดและปล่อยวาง รู้จักสร้างสรรค์และเสียสละ อย่างนี้เรื่อยไป

    82. ในขณะที่ทำสมาธิ ถ้ามันมีความคิดมากมายประดังเข้ามา ก็จงดูมัน และรอมันสักครู่หนึ่ง ความคิดมากมายนั้นก็จะสลายไป

    83. จงรู้ว่า สมาธินั้น จะต้องมีอยู่เสมอ แม้ท่านจะทำกิจการงานใด ๆ อยู่ก็ตาม

    84. สมาธิเปรียบเสมือนลมหายใจที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านลืมดูมันเท่านั้นเอง ถ้ารู้อย่างนี้ สมาธิก็จะกลายเป็นสิ่งที่ฝึกได้ไม่ยาก

    85. เพียงแต่ท่านสำรวมจิตเข้ามา เลิกสนใจสิ่งภายนอกเสียเท่านั้น สมาธิก็จะปรากฏขึ้นมาในจิตทันที

    86. จงรู้ไว้ว่า สมาธิอย่างเดียวยังไม่สามารถทำให้จิตของท่านหมดทุกข์ได้ แต่สมาธินั้นจะต้องมีปัญญาประกอบด้วย ท่านจึงจะเอาชนะปัญหาทางใจของท่านได้

    87. ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้นคือทางออกไปจากความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวง ทางอื่นหรือลัทธิความเชื่ออย่างอื่น ไม่สามารถจะทำให้ท่านหลุดพ้นออกไปจากความทุกข์ได้

    88. การอ้อนวอนหรือบนบานสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ได้อะไรๆ ตามที่ปรารถนานั้น มันก็ขึ้นอยู่กับกฎแห่งความไม่เที่ยงเหมือนกัน บางทีก็ได้ บางทีก็ไม่ได้ และที่ท่านได้อะไรมา ก็เพราะมันมีเหตุที่จะทำให้ท่านได้สิ่งนั้นอยู่แล้ว มันจึงได้มา ไม่ใช่มันได้มาเพราะสิ่งอื่นมาช่วยให้ท่านได้มา ไม่ใช่อย่างนั้นเลย

    89. อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะได้อะไร ๆ มาตามที่ปรารถนา แต่สิ่งนั้นก็จะไม่อยู่กับท่านอย่างถาวรตลอดไป สักวันหนึ่งมันก็จะสูญเสียไปจากท่านอยู่ดี ดังนั้นผู้มีปัญญาจึงไม่ควรปรารถนา หรืออ้อนวอนเพื่อจะได้จะเป็นอะไรเลย

    90. เพียงแต่ว่า ท่านทำมันให้ดีที่สุด ต้องการจะได้อะไร ก็จงใช้สติคิดดูว่าทำอย่างไรจึงจะได้สิ่งนั้นมาด้วยความบริสุทธิ์และถูกต้อง แล้วก็ทดลองทำไปตามนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยที่จะได้ มันก็จะได้ของมันเอง แต่ถ้าไม่ได้ก็ให้มันแล้วไป อย่าเป็นทุกข์ไปกับมัน

    91. ถ้าทำอย่างนี้ ท่านก็มีสิทธิ์ที่จะได้อะไร ๆ เหมือนเดิม และที่ดีไปกว่านั้นคือ ถึงแม้ท่านจะไม่ได้สิ่งนั้น ๆ ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์ หรือเมื่อได้มาแล้วและมันเกิดสูญเสียไป ท่านก็จะไม่เป็นทุกข์อีกเช่นเดียวกัน ประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อการรู้เท่าทันสิ่งทั่งปวงนั้น มันดีอยู่อย่างนี้ คือมันจะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์ในทุก ๆ กรณี

    92. ดังนั้น จงฝึกจิตให้สงบด้วยสมาธิ เพื่อเรียกปัญญาคือความฉลาดของจิตให้เกิดขึ้นมา เพื่อจะเอาไปใช้แก้ปัญหา ด้วยการทำจิตให้ปล่อยวางอยู่เสมอ และในที่สุดความหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นอย่างถูกต้องได้ไม่ยากนัก

    93. เวลาพบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ มันชวนให้ท่านโกรธ หรือเดือดร้อนใจขึ้นมา จงอย่าเพิ่งพูดอะไรออกไป หรือจงอย่างเพิ่งทำอะไรลงไป แต่จงคิดให้ได้ก่อนว่า นี่คือสิ่งที่คนทุกคนในโลกนี้ไม่ปรารถนาจะพบเห็น แต่ทุกคนก็ต้องพบกับมัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ท่านจะเอาชนะมัน ด้วยการสลัดมันให้หลุดออกไปจากใจก่อน ถ้าท่านสลัดมันออกไปจากใจได้ ท่านก็จะเป็นอิสระและไม่เป็นทุกข์ เมื่อท่านไม่เป็นทุกข์เพราะมัน ก็หมายความว่าท่านชนะมัน

    94. เมื่อคิดได้ดังนั้น จนจิตมองเห็นสภาวะที่ใสสะอาดในตัวมันเองแล้ว จงหวนกลับไปคิดว่า แล้วเราจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ? ไม่กี่นาทีท่านก็จะรู้วิธีที่จะแก้ปัญหานั้นอย่างถูกต้องที่สุดและฉลาดเฉียบแหลมที่สุด โดยที่ท่านจะไม่เป็นทุกข์กับเรื่องนั้นเลย

    95. เวลาที่พบกับความพลัดพรากสูญเสีย ก็จงหยุดจิตไว้อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว และจงยอมรับว่า นี่คือสภาวะธรรมดาที่มีอยู่ในโลก มันเป็นของที่มีอยู่ในโลกนี้มานานแล้ว ท่านจะไปตื่นเต้นเสียอกเสียใจกับมันทำไม ? มันจะเป็นอย่างไรก็ให้มันเป็น ไม่ต้องตื่นเต้น และจงคิดให้ได้ว่า ในที่สุดแล้ว ท่านจะพลัดพรากและสูญเสียแม้กระทั้งชีวิตของท่านเอง วิธีคิดอย่างนี้จะทำให้ท่านไม่เป็นทุกข์เลย

    96. เวลาประสบกับเรื่องที่ไม่ดี จงอย่าคิดว่า ทำไมถึงต้องเป็นเรา ? ทำไมเรื่องอย่างนี้จึงต้องเกิดขึ้นกับเรา ? จงอย่าคิดอย่างนั้นเป็นอันขาด เพราะยิ่งคิดเท่าไหร่ ท่านก็ยิ่งจะเป็นทุกข์เท่านั้น ความคิดอย่างนั้นไม่ใช่วิธีแก้ปัญหา

    97. จงคิดอย่างนี้เสมอว่า ไม่เรื่องดีก็เรื่องเลวเท่านั้นแหละที่จะเกิดขึ้นกับเรา ไม่ต้องตื่นเต้นกับมัน จงยอมรับมัน กล้าเผชิญหน้ากับมัน และทำจิตให้อยู่เหนือมันด้วยการไม่ยึดมั่นในมัน และไม่อยากจะให้มันเป็นตามใจของท่าน แล้วท่านก็จะไม่เป็นทุกข์

    98. จงเฝ้าสังเกตดูความรู้สึกของตัวเองอยู่เสมอ ถ้าจะไม่สบายใจ จงหยุดคิดเรื่องนั้นทันที ถ้าสบายใจอยู่ก็จงเตือนตัวเองว่า อย่าประมาท ระวังสิ่งที่มันจะทำให้เราไม่สบายใจจะเกิดขึ้นกับเรา ให้ท่านพร้อมรับมันอย่างนี้ ด้วยจิตที่เปิดกว้างอยู่เสมอ

    99. จงรู้ความจริงว่า ทั้งความพอใจและความไม่พอใจ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ท่านจะต้องปลดเปลื้องมันออกไปจากใจของท่าน จิตของท่านจึงจะเป็นอิสระเสรีก็ได้ถึงที่สุด

    100. ถ้าจะเกิดความสงสัยอะไรขึ้นสักอย่างหนึ่ง ก็จงตอบตัวเองว่า อย่าเพิ่งสงสัยมันเลย จงทำจิตให้สงบและเพ่งให้เห็นความสะอาดบริสุทธิ์ภายในจิตของตัวเองอย่างชัดเจน และสรุปว่า ไม่มีอะไรที่จะดีไปกว่าการเข้าถึงสภาวะแห่งความสงบและเป็นอิสระเสรี ภายในจิตของท่านได้

    101. ความรู้ชัดในการรักษาจิตให้สงบและสะอาดอยู่เสมอ นี่แหละคือสติปัญญาความรู้แจ้งธรรมตามความเป็นจริง ความทุกข์จะเกิดขึ้นในใจของท่านไม่ได้เลย

    102. เมื่อถึงเวลาพักผ่อน จงเข้าสู่สมาธิตามสมควรแก่เวลาที่จะเอื้ออำนวย กำหนดจิตให้ตั้งมั่นอยู่กับลมหายใจ นับ 1-2 ครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่ต้องสนใจสิ่งอื่น ไม่ต้องปรารถนาจะเห็นหรือจะได้จะเป็นอะไรจากการทำสมาธิ

    103. เมื่อจิตสงบเย็นแล้ว จึงเพ่งพิจารณาชีวิตสิ่งแวดล้อม และปัญหาที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ แล้วสรุปว่า สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นไม่ควรยึดมั่นถือมั่นเลย

    104. จงทำกับปัญหาทุกอย่างให้ดีที่สุด ใช้ปัญญาแก้ไขมัน ไม่ต้องวิตกกังวลกับมัน ถึงเวลาแล้วจงเข้าสู่สมาธิได้เวลาแล้วจงออกมาสู้กับปัญหา อย่างนี้เรื่อยไป

    105. จงปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน แล้วจิตของท่านก็จะบรรลุถึงความสะอาดบริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์สูงสุด ในสักวันหนึ่งซึ่งไม่นานนัก

    ทั้งหมดนี้คือ แนวทางที่ถูกต้องที่สุดในการที่จะเอาชนะความทุกข์ในชีวิตของท่าน ซึ่งแนวทางนี้เรียกว่า “การปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้น” อันเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงพระประสงค์ที่จะให้ทุกคนเข้าถึง เพื่อความหมดทุกข์ทางใจในที่สุด.

    ---------------------------------------------------------------------------------
    -หลวงปู่พุทธะอิสระ-

    วัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ)
     
  3. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    คราย ๆ คะแก่ พี่ต้อย
    โรคคนแก่ มีอาการอย่างไรช่วยบอกทีค่ะ
    ไปอินเดียยังไม่มีนะคะ เลาะๆอยู่แถวๆ โคราช สระบุรี กรุงเทพ เชียงใหม่ ปลายปีจะไปร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ค่ะ
     
  4. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
  5. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    .............................
    โรคนี้ไงคะ
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    (k):cool:ทำใจให้ยอมรับมันเนอะพี่ต้อยเนอะ ได้แค่ไหนเอาแค่นั้น
    ตอนนี้..เกิด แก่ แล้วก็เจ็บ ...ตายเอาไว้ทีหลัง มันหลีกเลี่ยง บังคับไม่ได้น่ะค่ะ.. (k):cool:
     
  7. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    อายุ มันเดินไปหน้าแล้วไม่ถอยหลังค่ะพี่ต้อย
    ขอซื้ออายุใครเขาก็ไม่ขายให้..ก็ได้แต่พยายาม ๆ ทำให้จิตสะอาด ปล่อยวางอย่าง มีสติคิดใคร่ครวญ และมีปัญญาพยายามตั้งต้นคิดในสิ่งที่ถูก คิดพิจารณา แล้วเราก็คงได้มรรค 8 หลุดพ้นตามแนวทางอริยสัจจ์ 4 ที่พระพุทธเจ้าท่านทรงตรัสรู้ไว้นะคะ


    (ป.ล.มีพี่ต้อยอยู่ในใจเสมอ ๆ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มกราคม 2016
  8. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    59 สิ่งดีที่อยากทำในปี 2559
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2017
  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    .....................................
    ขอสู้แค่ตายค่ะ

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    18 ขั้นตอนบรรลุธรรม
    คัดลอกจากหนังสือ"ตามรอยอริยเจ้าเข้านิพพาน"
    โดย พศิน อินทรวงค์

    “พูดเรื่องนิพพานทีไร เราจะเหมือนคนตาบอด
    คลำช้างทุกที!”
    นี่คือข้อเท็จจริงที่อาจจะค้างคาใจใครหลายๆคน ชาวพุทธผู้ศึกษาธรรมแห่งองค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาจมีความรู้สึกคล้ายกันว่า
    เมื่อเราศึกษา
    ทำความเข้าใจในเรื่องนิพพาน เราจะพบว่าเรากลายเป็นคนตาบอดคลำช้างทันที
    เหมือนๆจะรู้ เหมือนๆจะเข้าใจ แต่ความรู้และเข้าใจนั้นช่างคลุมเครือไม่กระจ่างแจ้ง ไม่ว่าเราจะศึกษา เรียนรู้จากแหล่งข้อมูล สืบค้นจากตำราทางพุทธศาสนา แม้ข้อมูลในพระไตรปิฎกจะมีการระบุไว้อย่างชัดเจน
    เกี่ยวกับเรื่องนิพพาน และแม้ว่าพระไตรปิฎกจะถือเป็นคลังข้อมูลทางธรรม
    ที่ประเสริฐที่สุด แต่ในบางครั้งเราก็ต้องยอมรับ
    ความจริงว่า คนส่วนใหญ่ยังต้องการตัวช่วย ในการเชื่อมต่อระหว่างตัวเราและความรู้จากพระไตรปิฎก และสิ่งที่จะเชื่อมโยงตัวเรากับความรู้ในพระไตรปิฎก
    ให้มาบรรจบกันก็คือ มนุษย์สักคนหนึ่ง ที่ได้ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์นั่นเอง

    วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2546
    หลวงตามหาบัวได้แสดงธรรมเทศนาครั้งที่ดีที่สุด
    ครั้งหนึ่งในชีวิตของท่าน เป็นการเทศน์ที่ยากนักจะได้รับฟังจากที่ใด ตลอดการเทศน์ท่านได้รวบรวมกระแสจิต หลับตาดำดิ่งลงสู่ห้วงสมาธิและถ่ายทอดธรรม
    จากใจออกสู่ทางวาจา ภิกษุสงฆ์ชราภาพสังขาร
    เกือบร้อยปี เทศนาธรรมด้วยน้ำเสียงก้องกังวานใส ตลอดระยะเวลา 1ชั่วโมง 20 นาทีโดยที่ไม่มี
    การหยุดดื่มน้ำ ไม่มีการหยุดพักครึ่งใดๆทั้งสิ้น วันนั้นเป็นวันที่คณะสงฆ์สายพระป่ากรรมฐาน
    เดินทางมารวมตัวกันนับหมื่นรูป บางองค์อยู่ต่างจังหวัด บางองค์อยู่ต่างแดน หรือแม้แต่อยู่ในป่าลึกก็ยังออกมาฟังธรรมเทศนา
    ในครั้งนี้ของสุดยอดอรหันต์ จึงถือได้ว่า การร่วมตัวของเหล่าภิกษุในวันนั้น เป็นการรวมตัวกันของเหล่าศิษย์แห่งพระคถาคต ผู้ที่ต้องการบำเพ็ญเพียรเพื่อความหลุดพ้น เป็นการรวมตัวของพระนักปฏิบัติผู้มีนิพพาน
    เป็นธงชัยแทบทั้งสิ้น

    ธรรมะที่สอนกันในวันนั้นจึงเป็นธรรมชั้นสูง เป็นแก่นธรรมแท้ที่ไม่มีการผ่อนปรนใดๆ เนื้อหาสาระจึงเต็มไปด้วยรสธรรมอันเผ็ดร้อน ดุเดือด องอาจแกล้วกล้า ถึงลูกถึงคน ด้วยมิต้องห่วงคำนึงถึงความเป็นโลกียะจอมปลอม หรือเป็นห่วงฆราวาสที่ฟังธรรมเสร็จแล้วต้องหวนกลับไป ดูแลลูกผัว เฝ้าเหย้า เฝ้าเรือนใช้ชีวิตทางโลกธรรม เทศนาในวันนั้นว่าด้วยเรื่อง “การปฏิบัติเพื่อเอามรรคเอาผลสำหรับผู้ไม่ต้องการเกิด” เป็นธรรมะชั้นลึกจากประสบการณ์ตรงที่มีคุณค่า
    ประหนึ่งมหาสมบัติ เพราะทำให้นักเดินทางผู้มีนิพพานเป็นธงชัย ได้รู้ชัดถึงหนทางเดินว่า ถ้าปรารถนานิพพานในชาตินี้ เราต้องปฏิบัติอย่างไร เริ่มตรงไหน จบตรงไหน ต้องทำอะไรก่อนหลัง การเดินทางสู่เส้นทางแห่งพระนิพพาน
    โดยปราศจากคำบอกเล่าของครูบาอาจารย์คงไม่ต่าง
    อะไรกับการคลำหาทางกลับบ้านกลางถ้ำมืด เมื่อท่านได้เขียนแผ่นที่ทิ้งไว้ให้เราแล้ว ก็ถือเป็นโอกาสดีที่เราจะได้สำรวจตรวจสอบกันว่า ในปัจจุบันนี้สองเท้าของเรากำลังเหยียบย่าง
    อยู่ตรงไหนในระหว่างทางกันแน่ กำลังเดินอยู่ในทาง หรือหลงออกนอกเส้นทางไปแล้ว

    โอกาสนี้เอง ผู้เขียนจึงใคร่ขออนุญาตนำบทเทศนา
    ของหลวงตามหาบัวมาถอดความ และจำแนกออกเป็นข้อๆ พร้อมทั้งอนุญาติอธิบายเพิ่มเติมสมทบลงไป เพื่อให้เหล่าโยคาวจรทั้งหลายได้ศึกษา
    หนทางแห่งการดับทุกข์ที่ถูกต้องตรงธรรม และสามารถเข้าใจได้โดยง่ายไปพร้อมๆกันดังนี้

    1. ผู้ปฏิบัติเพื่อมุ่งนิพพานจะต้องถือศีลให้บริสุทธิ์ ข้อนี้สำคัญมาก ต้องจัดการเรื่องนี้ให้ได้ก่อนเรื่องอื่นใด คือใช้ชีวิตอยู่ในกรอบของศีลธรรมความดีงาม อะไรผิดศีลห้ามทำโดยเด็ดขาด

    2. ให้คิดถึงนิพพานทุกขณะ เหมือนนิพพาน
    อยู่ตรงหน้า คือระลึกไว้เสมอว่า เราจะไปนิพพานเท่านั้น จุดเดียวที่เดียว อย่างอื่นไม่เอา ให้พุ่งตรง ตัดตรงไปเลย

    3. ทำสมาธิในชีวิตประจำวันให้ได้
    คือถ้าใครบริกรรมพุทโธ ก็ให้ทำไป
    ใครดูลมหายใจ ก็ให้ดูไป เรื่องนี้เน้นย้ำมากให้คุมกรรมฐานไว้ระหว่างวัน ส่วนจะใช้กรรมฐานชนิดใด ตรงนี้ใช้ได้หมด ขอให้อยู่ในหมวดกรรมฐาน 40 ไม่มีอะไรผิด จุดนี้ให้เน้นไปที่การทำสมถะก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจวิปัสสนาในช่วงแรกๆ ต้องฝึกให้จิตมีความตั้งมั่นก่อน ให้จิตอยู่กับกรรมฐานของตนตลอดเวลาทั้งวัน
    ยกเว้นเวลาที่ต้องทำงานเท่านั้น เน้นว่า นี่คือการปฏิบัติเบื้องต้นไม่ควรทำสุ่มสี่สุ่มห้า
    ไม่ควรทำผิดไปจากนี้

    4. เมื่อทำสมาธิในชีวิตประจำวัน ไปจนจิตเข้าสู่สมาธิได้แล้ว ให้สังเกตดู ช่วงนี้จิตจะปรุงกิเลสน้อยลง เพราะจิตมันอิ่มอารมณ์ มีอารมณ์เป็นหนึ่งมากขึ้น ทำความสงบได้ง่ายขึ้น พูดง่ายๆ ว่าจิตของเราเริ่มมีกำลังเกิดความตั้งมั่นได้ง่าย คือในชีวิตประจำวันก็ทรงอารมณ์อยู่กับกรรมฐานได้ เมื่อทำสมาธิในรูปแบบก็มีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ อย่างนี้ถือว่าเริ่มใช้ได้แล้ว ตรงนี้ ให้เริ่มพัฒนา
    ในขั้นตอนต่อไป อย่าหยุดอยู่แค่การทำสมาธิ

    5. พอจิตสงบ ตั้งมั่นแล้ว คราวนี้ท่านให้เริ่มเดินปัญญาต่อไปเลย เพียงแค่สมาธิอย่างเดียวนั้น จิตจะไม่มีความกว้างขวาง จะต้องเดินปัญญาต่อ จึงจะเกิดความกว้างขวาง นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าแนะนำเอาไว้ ต้องทำตามพระพุทธเจ้าท่านสอน

    6. ให้เริ่มต้นพิจารณาร่างกาย โดยให้แยกเป็นส่วนๆ
    คือ เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ หรือ
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นี่เป็นตำหรับแท้ๆ
    ของพระพุทธเจ้า ให้เอามาดูเป็นส่วนๆ ดูสิ เส้นผมของเราเป็นยังไง สะอาดหรือสกปรก เหมือนกันกับขนสัตว์ชนิดอื่นหรือเปล่า ถ้าไม่อาบน้ำมันจะเป็นอย่างไร
    แล้วไล่พิจารณาเรียงไปเรื่อยๆ
    จนครบทั้ง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กรรมฐาน 5 นี้เป็นพื้นฐานทางเดินทางด้านปัญญา ให้หัดดูไปเรื่อยๆ เห็นชัดบ้างไม่ชัดบ้างก็ให้พิจารณาไป ให้เห็นว่าที่ทำอยู่นี้คือหินลับปัญญา

    7. เมื่อทำจนชำนาญ ต่อไปก็ลองแยก
    ให้เป็นธาตุ 4 คือดิน น้ำ ลม ไฟ
    พิจารณาให้เป็น อนิจจัง(ไม่เที่ยง)
    ทุกข์ขัง (เป็นทุกข์) อนัตตา(ไม่ใช่ตัวตน)
    ทำเช่นนี้ สติปัญญาจะมากขึ้นเป็นลำดับ

    8. เมื่อพิจารณาสักพัก ก็ให้ย้อนกลับมา
    ทำสมาธิ เอาความสงบ เอากำลังของจิตใหม่ ต่อเมื่อจิตอยู่ในความสงบ เริ่มมีกำลังฟื้นตัว ก็กลับมาเดินไปปัญญาอีกครั้ง ให้ทำเช่นนี้สลับไป ห้ามทำอย่างหนึ่งอย่างใดเพียงอย่างเดียว ต้องมีทั้งการทำสมาธิ และเดินปัญญาสลับกันเรื่อยไป

    9. เมื่อถึงจุดหนึ่ง คราวนี้ให้กำหนดเป็นอสุภะ อสุภะก็คือกรรมฐานกองหนึ่ง ที่ทำให้เห็น ธรรมชาติของร่างกายคนเรา มีอยู่10 ระยะคือ ซากศพที่เน่าพองขึ้นอืดซากศพ
    ที่มีสีเขียวคล้ำคละด้วยสีต่างๆ ซากศพที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองไหลเยิ้ม (เน่าเฟะ)
    ซากศพที่ขาดออกเป็น ๒ ท่อน
    ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินแล้ว
    ซากศพที่กระจุยกระจายซากศพที่ถูกฟัน บั่นเป็นท่อนๆ
    ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบอยู่ (จมกองเลือด)
    ซากศพที่มีหนอนคลาคล่ำเต็มไปหมด
    ซากศพที่เหลืออยู่แต่ร่างกระดูก
    หรือเหลือแต่ท่อนกระดูก

    ในการกำหนดอสุภะนี้ ให้กำหนดภาพเหล่านี้
    ขึ้นมาตรงหน้าเลย ทำให้ภาพนิ่งอยู่ตรงหน้าอย่างนั้น หมั่นเอาภาพอสุภะมาตั้งไว้ตรงหน้าเสมอ ตอนนี้ยังไม่ต้องทำอะไร แค่ให้จิตกำหนดภาพเหล่านี้ให้ได้ก็พอ
    แล้วดูไป ดูอย่างเดียว เพ่งไปเลยอย่าให้คลาด เมื่อถึงจุดที่เพียงพอ จิตมันจะรู้ของมันเอง

    10. เมื่อถึงจุดที่เพียงพอแก่ความต้องการของจิต คราวนี้ธรรมชาติจะหมุนไปสู่ความจริง ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเป็นธรรมที่ละเอียดมาก จิตมันจะมีปัญญาในเรื่องกามราคะ ถึงตอนนั้น จิตมันจะสิ้นข้อสงสัยในเรื่องกามราคะไปเลย โดยไม่ต้องมีใครบอก ในขั้นนี้ จะสำเร็จเป็นพระอนาคามีแล้ว

    11. เมื่อทำซ้ำๆ จนบรรลุอนาคามี
    จิตจะไม่กลับมาเกิดอีก
    เพราะกามราคะมันขาดสะบั้นไปสิ้น จิตมันจะหมุนขึ้นสูงอย่างเดียวไม่ลงต่ำ ไปอยู่ชั้นพรหมสุทธาวาส
    เวลานั้นจิตจะรู้ความจริงไปตามลำดับ

    12.ทบทวนและย้ำอีกรอบว่า "เมื่อทำสมาธิ(สมถะ) ให้พักเรื่องปัญญา(วิปัสสนา)
    และเมื่อเดินปัญญา(วิปัสสนา)
    ก็ให้พักเรื่องสมาธิ(สมถะ) ทั้งสองสิ่งนี้จะต้องทำสลับกันไปตลอด

    ห้ามทิ้งอย่างหนึ่งอย่างใด และเมื่อทำสิ่งหนึ่ง ก็ไม่ต้องคิดถึงอีกสิ่ง คือทำความสงบ ก็ทำไป พิจารณาความจริง ก็ทำไป ห้ามนำมาปนกัน ให้ทำสลับไปอย่างนี้เรื่อยๆ ตลอดการปฏิบัติ

    13. เมื่อก้าวถึงภูมิอนาคามีแล้ว จะมีภูมิของอนาคามีที่เข้มขึ้นเรื่อยๆ
    ซึ่งมีความเข้มข้นอยู่ 5 ระดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นขั้นๆ
    พวกที่ก้าวข้ามขั้นไปเลยก็มี แต่ส่วนใหญ่ในช่วงกึ่งพุทธกาลเช่นนี้
    จะหายาก โดยมากแล้วจะไปทีละขั้น เพราะด่านกามราคะมันยากจริงๆ ไม่ใช่ของง่าย

    14. ในขั้นนี้ปัญญาจะเดินอัตโนมัติ
    ตลอดเวลาแล้ว เห็นนิพพานอยู่ตรงหน้า ช่วงนี้ปัญญาจะฆ่ากิเลสตลอดเวลาทุกอิริยาบถ
    ทั้งยืน เดิน นั่ง ฆ่ากิเลสตลอดเวลา
    ยกเว้นเวลานอนหลับ ตอนนั้นไม่มีคำว่า เผลอแล้ว เพราะปัญญาจะเกิดอย่างถี่ยิบ

    15. สติปัญญาเดินมาก ต้องย้อนสู่สมาธิ ห้ามเดินปัญญาแต่อย่างเดียวเด็ดขาด
    ต้องทำสลับกันไปเช่นนี้

    16. ต่อไปจะก้าวเข้าสู่มหาสติปัญญา ถึงตรงนี้จะหมดนิมิตที่เกี่ยวกับจิต เหมือนฟ้าแลบตลอด ไม่ต้องบังคับให้จิตทำงาน กิเลสซ่อนอยู่ตรงไหน ปัญญาจะตามไปฆ่าเชื้อที่นั่น ส่วนใหญ่ถึงตรงนี้ ทุกข์เวทนาจะน้อยมากๆ เหลือเพียงสุขเวทนาเท่านั้น มันจะเห็นสุขเวทนาชัดเจนมาก จุดนี้เองที่มันจะเข้าไปในปราสาทราชวัง ไปเจอนายใหญ่ คืออวิชชา ค้นพบอริยสัจ 4
    มันจะเห็นกษัตริย์แห่งวัฏฏะคือ ตัวอวิชชา ถึงตรงนั้นทุกสรรพสิ่งจะว่างไปหมด ยกเว้นเพียงตัวเองที่ยังไม่ว่าง

    17. เมื่อถึงจิตตะ คืออวิชชา
    พอเปิดอันนี้ออก จิตมันก็จ้าขึ้น
    ตอนนี้ข้างนอกก็สว่าง ภายในก็สว่าง ว่างทั้งหมด
    ตัวเราก็ว่าง เป็นวิมุต คือธรรมชาติที่แท้จริง
    จิตเป็นธรรมธาตุ เป็นภาวะนิพพาน จิตไม่เคยตาย ถึงธรรมชาติแล้ว หายสงสัยล้านเปอร์เซ็นต์

    18. แรกเริ่ม ธาตุขันธ์ เป็นเครื่องมือของกิเลส แต่ปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง ธาตุขันธ์จะเป็นเครื่องมือของธรรมทั้งหมด"

    ธรรมเทศนาของหลวงตามหาบัว ข้างต้นเปรียบได้ดั่งแผนที่เส้นทางปฏิบัติธรรม
    ที่ชัดเจนที่สุด ตั้งแต่เบื้องต้นต้นถึงปลายทาง
    แห่งพระนิพพาน เป็นของขวัญอันล้ำค่าที่ครูบาอาจารย์
    ได้มอบแก่เหล่าศิษย์นักปฏิบัติทั้งหลาย
    ซึ่งเนื้อหาของหนังสือ"ตามรอยอริยเจ้าเข้านิพพาน"

    ในบทถัดๆไปจะขอยึดถือแผนที่ฉบับนี้เป็น โครงสร้างของเนื้อหาทั้งหมด และจะนำแผ่นที่ฉบับนี้ไปขยายความ
    อย่างละเอียดอีกครั้งในบทต่อไป

    นอกจากนี้ตลอดทั้งเล่มจะมีการเพิ่มเติมหลักธรรมคำสอน ของเหล่าอริยสงฆ์ท่านอื่นๆ ลงไปด้วย
    เพื่อความชัดเจนยิ่งขึ้น

    โดยจะอัญเชิญแต่คำสอนของเหล่าครูบาอาจารย์
    ที่ชาวพุทธทั้งหลายยอมรับนับถือว่า ท่านเหล่านี้คือตัวจริงเสียงจริง

    คือผู้บรรลุธรรมกำชัยชนะเหนือกองอาสวะกิเลสทั้งปวง เมื่ออ่านทำความเข้าใจตามไปตลอดทั้งเล่ม
    จะทำให้ผู้ปฏิบัติคลายความสงสัยในเส้นทาง
    แห่งพระนิพพาน

    ทั้งยังจะพบว่า ธรรมะของพระอรหันต์ที่สั่งสอนเรานั้น
    ล้วนเป็นไปในทางเดียวกัน แม้เป็นคำพูดที่ไม่ได้ออกจากปากของคนๆเดียวกัน แม้จะเป็นคำพูดที่ต่างกรรมต่างวาระ
    แม้จะมีกุศโลบายในการปฏิบัติที่ต่างกันไป และแม้ว่าพระอรหันต์จะมีถึง 4 ประเภทคือ สุขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ สัมปัตติภิทาญาณ แต่เนื้อแท้แห่งวิมุตติธรรมนั้นย่อมเหมือนกัน
    ไม่มีผิดเพี้ยนไปจากธรรมแห่งพระตถาคต
    ที่กล่าวไว้เมื่อ 2500 ปีก่อนว่า
    “ธรรมะเป็นอกาลิโก
    ผู้เข้าถึงธรรมย่อมทราบโดยทั่วกัน”
     
  11. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    jaah;aa53;aa21
     
  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    [​IMG]
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • FlowerAteIt.jpg
      FlowerAteIt.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.4 KB
      เปิดดู:
      263
  13. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    อุ๋ย ๆ คุณพี่ กินดอกไม้ของน้องปายแย๊ววววววววว คริ ๆ ๆ
     
  14. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]


    สุข ทุกข์ เป็นสิ่งสมมติ


    ขอบอกเป็นเคล็ดลับในการปฏิบัติว่า
    ต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องสนุกสนาน
    อย่าฝืนทำเป็นอันขาด

    ตั้งแต่อาตมาได้พบกับ
    ตัวรู้สึกตัวทั่วพร้อมมานี้
    จิตใจมีแต่ความสุขสงบ
    มาโดยตลอด
    ไม่รู้จักคำว่าทุกข์ใจเลย

    แต่ความไม่สบายกาย
    เป็นเรื่องธรรมดามาก
    มันก็ทำหน้าที่ของมัน
    คือมันเป็นสังขาร
    มันก็ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลง ทนอยู่ไม่ได้
    และแก่ไปตายไปทุกๆ วัน
    ไม่มีใครหลีกพ้นกฏเกณฑ์นี้ไปได้
    เราก็คอยบำบัดแก้ไขมันไป

    ทุกข์ของรูปแก้ไขไม่ได้
    แค่บำบัดชั่วคราวเท่านั้น
    เพราะรูปมันเป็นของชั่วคราว

    แต่ถ้าความทุกข์ใจเกิดขึ้น
    เราแก้ไขให้หมดสิ้นเชิงได้
    เพราะความทุกข์ มันเป็นของสมมุติ
    ความสุขก็เป็นของสมมุติ
    มันไม่ได้มีอยู่จริง

    ที่จริงแล้วความสุขความทุกข์
    ก็เป็นภาวะอันเดียวกัน
    แต่มันอยู่คนละด้านของความรู้สึกเท่านั้น
    เหมือนเหรียญเดียวกัน แต่อยู่คนละด้าน
    แล้วแต่ว่าด้านไหนมันจะหงาย ขึ้นมาก่อน

    ถ้ารู้สึกทนได้ง่ายเข้มข้นมาก
    ก็เรียกว่าสุข
    ถ้ารู้สึกทนได้ยากเข้มข้นมาก
    ก็เรียกว่า ทุกข์

    พระพุทธยานันทภิกขุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 เมษายน 2016
  15. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    ทุกข์ตัวจริงคือความคิด

    ตัวความคิดนี้แหละ ที่พระพุทธองค์เรียกว่าเป็นตัวสมุทัย เป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ ไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้เกิดทุกข์ นอกจากความคิด ความคิดที่เราหลงคิดนี้มันเป็นตัวสมุทัย ทีนี้ถ้าหากว่า เมื่อความคิดมันเกิดขึ้น ถ้าหากเราเอาสติเข้าไปรู้ทัน มันจะเป็นนิโรธ แต่ถ้าเราเอาสติไปรู้ไม่ทัน เห็นไม่ทัน ในขณะที่มันเกิดขึ้น มันก็จะเป็นทุกข์ คือระหว่าง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มันอยู่ตรงข้ามกัน

    เวลารูปมากระทบตา เกิดความคิด เกิดความรัก เกิดความชัง ถ้ามันเกิดความรักความชัง เห็นว่าสวยไม่สวย แสดงว่า สติของเราสกัดไม่ทัน มันเลยไปถึงสมมติแล้ว ถ้าหากเรามีสติไปสกัดกั้นตอนที่มันถึงสมมติได้ มันก็หยุดอยู่ที่สมมติ

    ในเรื่องการเจริญสตินี่ เคยได้อ่านในวิสุทธิมรรค ตอนที่เรียนประโยค๘ ท่านเปรียบอุปมาอุปมัยไว้ตอนหนึ่งว่า มีภิกษุผู้เจริญสติรูปหนึ่ง ลาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วก็เดินเข้าสู่ป่าเพื่อไปหาที่วิเวก ขณะที่ท่านเดินทางไปนั้น มีสามีภรรยาคู่หนึ่ง สามีจะพาภรรยาไปเยี่ยมบ้านเกิดของภรรยา เกิดทะเลาะกันอยู่กลางทาง ก็แยกทางกันเดิน ผู้หญิงมุ่งหน้าไปสู่บ้าน ผู้ชายเดินกลับ บังเอิญผู้หญิงเดินสวนกับพระ แล้วก็ยิ้มให้พระ เดินผ่านไป พอดีผู้เป็นสามีคิดได้ว่า ภรรยาเข้าไปในดงคนเดียว กลัวจะเกิดอันตรายขึ้น ก็เลยรีบตามมา เห็นพระท่านกำลังเดินทาง ก็เลยถามว่า เห็นผู้หญิงคนหนึ่งเดินผ่านมาทางนี้ไหม พระท่านก็บอกว่า ไม่ทราบว่าเป็นหญิงหรือเป็นชาย เห็นแต่ร่างกระดูกที่เดินผ่านไปทางนี้

    อันนี้ท่านได้เปรียบอุปมาอุปมัยว่า การที่เจริญสติ ตัวสติมันจะรู้เฉพาะเป็นรูป คือไม่ได้เลยไปถึงรูปหญิงรูปชาย หรือได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าเสียง คือไม่รู้ว่าเสียงอะไร เสียงระฆัง เสียงนก เสียงกา ไม่ได้เลยไปถึงโน้น คือให้มันอยู่ตรงที่มันเป็นสัจจะ ให้มันเป็นของจริง จริงๆ มันจะไม่ได้ปรุงแต่งว่าสวย ว่างาม ว่าไพเราะ ว่าดี ถ้าหากมีสวย มีงาม มีไพเราะแล้ว มันก็เกิดมีความรัก ความชังขึ้นมา เกิดความอยากได้ เกิดความอยากมี อะไรต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งกลายเป็นภพเป็นชาติต่อไปได้



    พระพุทธยานันทภิกขุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 เมษายน 2016
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    https://www.youtube.com/watch?v=cOoyr02vFSs

    ฤดูกาลแห่งจิต

    เปรียบเสมือนฝั่งน้ำที่เรานั่งอยู่ อารมณ์ที่ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เปรียบเสมือนกระแสน้ำที่ไหลผ่านหน้าเรา แล้วเรานั่งอยู่บนฝั่ง เห็นลำน้ำที่มันไหลมาตามฤดูกาล ฤดูแล้งน้ำก็แห้งขอดและใส ฤดูฝนมันก็จะขุ่นจะเคี่ยวไหลแรง จิตของเราก็มีฤดูกาลเช่นกัน ฤดูกาลภายนอกมี ๓ ฤดู ฝน หนาว แล้ง ฤดูของจิตก็มี ๓ ฤดู คือพอใจ ไม่พอใจ และเฉยๆ

    ๑. ตัวพอใจเปรียบเสมือนฤดูฝน สดชื่นแจ่มใสสบาย พัฒนามาเป็นสุข สุขเวทนาพัฒนาไปเป็นราคะ พัฒนาไปเป็นกามะ พัฒนาไปเป็นความพอใจทุกชนิด เมื่อเราไปติดสุขเวทนา ก็หมายความว่าเราไปพัฒนาตัวกามะมากขึ้น พัฒนาตัวราคะให้มันแรงขึ้นเรื่อยๆ ทีนี้ความพอใจถูกตอบสนองบ่อยเข้าๆ เราก็ไปติด พอไปติดมันก็ไปพัฒนากามราคะให้มีกำลัง

    ๒. แต่เมื่อใดความพอใจไม่ถูกตอบสนอง มันตีกลับเป็นความไม่พอใจ โทสะเปรียบเสมือนฤดูร้อน เราไม่ชอบ อบอ้าวเหงื่อตก เราอยากจะให้คนนี้พูดกับเราดีๆ แต่เขาพูดไม่ดีกับเรา เราก็ไม่พอใจ พัฒนาจากตัวไม่พอใจ เป็นปฏิฆะ เป็นโทสะ เป็นหงุดหงิด เป็นโมโห เป็นฉุนเฉียว เป็นพยาบาท เป็นโกรธ

    ๓. ความพอใจไม่พอใจไม่มี มันรู้สึกซื่อๆ เฉยๆ เปรียบเสมือนฤดูหนาว ตัวราคะ ตัวกามะ ความรู้สึกที่ไม่แน่ใจ เรียกว่าอทุกขมสุขเวทนา หรือเฉยๆ เป็นความเหงา ความซึม เราจะเห็นชัดมากในยุโรป ทั้งภูเขามันซึมเหมือนป่าช้าไม่มีใครกล้าออกจากบ้าน ต้นไม้ใบไม้หลุดล่วงหมดเลย


    ฤดูกาลในใจผลัดเปลี่ยนไปตามอารมณ์

    ฤดูกาลภายนอกมันเปลี่ยนสามสี่เดือนครั้ง แต่ฤดูกาลภายในมันเปลี่ยนเป็นชั่วโมงเป็นนาที นาทีเมื่อกี้นี้พอใจ พอมานาทีนี้พูดผิดหูหน่อยเดียวไม่พอใจแล้ว เปลี่ยนจากฤดูฝนเป็นฤดูแล้งทันที สักพักทำใจได้เฉยๆ เป็นฤดูหนาว สลับกันอยู่อย่างนี้ แสดงว่าฤดูกาลของจิตมันก็จะเปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจเราตลอดเวลา เราเรียกว่าอารมณ์ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย อารมณ์ซื่อบื้อเฉยๆ ถ้าเราไม่รู้เท่าทันราคะ โทสะ โมหะ หมายความว่าเราหลุดจากฝั่ง เหมือนเราโดดลงไปในน้ำ หน้าแล้งมีน้ำใสก็ลงไปเล่น หน้าฝนเห็นน้ำมาก็ลงไปเล่น หน้าหนาวในยุโรปน้ำในคลองเป็นน้ำแข็งไม่น่าเล่นเลย


    สร้างบ้านให้ใจ ปลอดภัยทุกฤดูกาล

    เรามาพัฒนาที่จะอยู่เหนือทุกฤดูกาล ฤดูหนาวจัดเราก็อยู่ได้ ฤดูร้อนจัดเราก็อยู่ได้ ฤดูฝนก็อยู่ได้สบาย จิตของเรามีราคะ โทสะ โมหะอยู่ แต่เราก็ยังสบายเพราะเรามีบ้าน ฤดูหนาวก็เปิดฮีทเตอร์ ฤดูแล้งก็เปิดแอร์ ฤดูกาลภายในคือการแปรปรวนของอารมณ์ เพราะฉะนั้นเราต้องมีหลักคือสร้างบ้านที่ปลอดภัยขึ้นมาบนฝั่งน้ำนั้น ถ้าไปสร้างบ้านในแพในเรือก็ไม่ปลอดภัย


    คบสติสร้างบ้าน

    เราจะสร้างบ้านของจิตสักหลังจะทำอย่างไร สติเป็นเสมือนช่าง สมาธิเป็นพื้น ปัญญาเป็นหลังคา ศีลเป็นประตูหน้าต่าง บ้านจะหลังใหญ่หรือไม่อยู่ที่ช่างและงบประมาณ งบประมาณคือศรัทธาและความเพียร ดังนั้นในจุดนี้จึงต้องการเน้นให้เห็นชัดว่า เมื่อฤดูกาลของจิต เราเรียกว่าอารมณ์ มันแปรปรวน เราชอบสุขแต่ได้ทุกข์ เราชอบพอใจแต่มันได้ไม่พอใจ มันได้ซื่อบื้อ เฉย ความมึน ความตึง ต่างเป็นโมหะทั้งหมด เราจะอยู่เหนือมันได้อย่างไร เราต้องสร้างบ้านขึ้นมา ฤดูกาลทั้งสามก็จะไม่มีผลต่อเรา


    คบสัญชาตญาณไร้บ้านเรือน

    การจะสร้างบ้านหลังนี้ ต้องมีความรู้สึกตัวที่เป็นธรรมดาธรรมชาติ เป็นความรู้สึกที่ไม่ต้องใช้ความคิด การคำนวณ การคาดคะเน แต่มันเป็นความรู้สึกพื้นฐานที่มีอยู่ขณะนี้เดี๋ยวนี้ ทุกคนสัมผัสได้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่ง ตึง เจ็บปวด สบายไม่สบาย เป็นพื้นฐาน ให้จับความรู้สึกตัวนี้ให้ดี ความรู้สึกชนิดนี้ ถ้าคนไหนเข้าไปอยู่กับมัน โดยความไม่มีสติไม่มีปัญญา เราเรียกว่าสัญชาตญาณ หรือสามัญสำนึก แต่ถ้าเราเข้าไปอยู่ด้วยการเจริญสติ สมาธิ ปัญญา รับรู้ต่อสิ่งนี้ มันก็จะกลายเป็นวิปัสสนาญาณทันที จากสัญชาตญาณกลับข้างเลย หมายความว่าเราเจริญตัวรู้ มันจะเปลี่ยนความรู้สึกซื่อๆ เฉยๆ ให้เป็นวิปัสสนา แต่ถ้าเมื่อไรเรามีความไม่รู้ ความเผลอเกิดขึ้นปั๊บ สัญชาตญาณก็เข้าทำงานแทน ก็จะสลับกันอยู่อย่างนี้



    พระพุทธยานันทภิกขุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 เมษายน 2016
  17. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    จิตได้อารมณ์เหมือนต้นไม้ได้ฝน

    จิตใจของเราในช่วงที่ปฏิบัติได้อารมณ์
    เปรียบเหมือนฝนตก
    ต้นไม้ก็จะดูดซึมธาตุต่างๆ ในดินได้มาก
    จิตใจของเราก็ซึมซับเอาธรรมธาตุต่างๆ
    เข้าไว้ในตัวมัน
    จิตเราก็เติบโต สติเราก็เข้มแข็งขึ้น

    ตัวรูปนามเบื้องต้น
    จะเป็นตัวแยกระหว่าง
    ความคิดกับความรู้สึกตัว
    ออกให้เห็นชัด สัมผัสได้

    ถ้าช่วงไหนที่เรามีความรู้สึกตัวชัดๆ
    มันจะโปร่งเบาสบาย
    ไม่มีความคิดอารมณ์ใดมารบกวน
    ถึงมีบ้างก็สลัดได้ง่ายๆ

    ภาษาว่าแยกรูปแยกนาม
    คือเห็นรูปเป็นรูป
    เห็นนามเป็นนาม
    เมื่อก่อนเราเห็นนามเป็นรูป
    เห็นรูปเป็นนาม
    เห็นความคิดเป็นความรู้สึก
    เห็นความรู้สึกเป็นความคิด

    แต่ถ้าหากมันได้อารมณ์รูปนาม
    เราก็จะเห็นกายคือกาย
    เห็นจิตคือจิตไม่ปนกัน

    จิตได้อารมณ์ ความดีใจ ความเสียใจ มีค่าเท่ากัน
    บางทีกายไม่สบายแต่จิตก็อาจสบายก็ได้
    เมื่อจิตสบาย กายอาจไม่สบายก็ได้
    ใจมันไม่ไปอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
    มันจะอยู่ตรงกลาง
    ไม่ไปเสพความสุขสบาย
    และไม่ปฏิเสธความร้อนเร่า
    เป็นกลางทั้งสองอย่างและรู้ทั้งสองอย่าง

    แต่ถ้าหากว่าจิตใจของเรา
    มันยังไม่ได้เห็นอารมณ์รูปนามชัด
    ถ้าหากอันไหนมันหนัก
    เราก็เข้าไปในทางนั้น
    แล้วจิตของเราก็จะหมดกำลัง
    อ่อนแอ เศร้าหมอง คิดมาก
    มันก็จะเกิดตามมา

    แต่ถ้าได้อารมณ์มันจะเข้มแข็ง
    ความดีใจก็ไม่มีความหมาย
    ความเสียใจก็ไม่มีความหมาย
    มีค่าเท่ากัน
    ถ้าได้อารมณ์มันจะรู้สึกอย่างนั้น
    จิตของเราจะมีความสุขได้ง่าย


    ความสุข ความทุกข์ เป็นเพียงขั้นบันได

    จิตของเราถ้าจะเกิดโลกุตตรปัญญา
    มันจะต้องมีความสุขเสียก่อน
    มีปีติมีปัสสัทธิก่อน
    ตัวปัญญามันถึงจะเกิดขึ้น

    ตัวปัญญาเป็นลักษณะของ
    ความเบาสบายปลอดโปร่ง
    ปัญญาที่เป็นโลกุตตระถึงเกิด

    แต่ปัญญาที่เป็นโลกียะ
    เกิดจากความรู้สึกนึกคิด
    จดจำพินิจพิจารณา
    มันไม่ได้เกิดจากความรู้สึก
    โล่งโปร่งเบาเหมือนโลกุตตรปัญญา

    ก่อนที่จะไปอยู่เหนือสุขได้
    ต้องผ่านสุขเสียก่อน
    เห็นความสุขเป็นเพียงบันไดขั้นหนึ่ง
    ความทุกข์ก็เป็นบันไดขั้นหนึ่ง
    ให้เหยียบขึ้นเหนืออารมณ์

    หมือนกับเราเหยียบบันไดขึ้นไป
    เหนือบันไดก็คือบ้านที่อยู่ของกาย
    เหนือสุขทุกข์ก็คือที่อยู่ของจิต
    เหนืออารมณ์ก็คือเหนือกายเหนือใจ
    ไปอยู่กับความจริงความรู้



    หลวงพ่อมหาดิเรก พุทธยานันโท

    https://www.youtube.com/watch?v=pt57gA1_W7c#t=15

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 เมษายน 2016
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ........................................
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,773
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    ความไม่หวนกลับมาฯ
    [​IMG]
    . .เสียงอ่าน "มหาปรินิพพานสูตร" พระไตรปิฎก ภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    พระสุตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
    ให้เสียงโดย พระกฤช นิมฺมโล

    ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
    พระไตรปิฎก : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2...
    พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน :https://www.youtube.com/watch?v=DlIZRwq1mHA

    ภาพประกอบ : พระพุทธรูปปางมหาปรินิพพาน ในพระวิหารแห่งมหาปรินิพพานสถูป ประเทศอินเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2016
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,907
    ค่าพลัง:
    +16,490
    [​IMG]

    ขอกราบ ๆ ๆ พระรัตนตรัย...
    ขอบพระคุณในความกรุณาของพี่ต้อยมาก ๆ ค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...