พระโพธิสัตว์เป็นพระอริยเจ้าได้ไหม ?

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 18 กรกฎาคม 2013.

  1. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    ===============

    กระผมขอยืนยัน สัญญาเวทยิตนิโรธ เกิดได้กับพระอรหันต์ทุกพระองค์

    ส่วนสัญญานิโรธสมาบัติ เกิดได้เฉพาะพระอนาคามีสมาบัติ8เท่านั้นครับ

    กระผมหมายความว่า สัญญานิโรธสมาบัติ คือ1ในวิธีหรือ1ในความเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ ครับ

    ท่านทั้งหลายจะเข้าใจอย่างไรก็ไม่ทราบแต่กระผมเข้าใจอย่างนี้ครับ เพราะแก่นแท้แห่งความหลุดพ้นจากอาสวะนั่นเองเป็นเครื่องแสดงเหตุและผลให้ปรากฏร่วมกันอย่างนี้จึงเข้าใจอย่างนี้ครับ สาธุ
     
  2. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    อะไรของเองฟ่ะ tjs

    "สัญญานิโรธสมาบัติ" กับ "สัญญาเวทยิตนิโรธ" มีแยกอย่างนี้ด้วยหรือ

    สัญญากับเวทนา คือขันธ์เกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งเป็นจิตสังขาร
    โดยเป็นการสภาพการปรุงแต่งของจิต หรือเรียกอีกนัยหนึ่งซึ่งก็คืออาการของจิต

    ดังนั้น สัญญา+เวทยิตนิโรธ จึงเป็นสภาวะของผู้เข้าไปดับสภาวะของจิตสังขาร คือ สัญญาและเวทนา
    ซึ่งแน่นอนผู้นั้นจะต้องผ่าน เนวสัญญานาสัญญายตะนะฌาน (มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)

    รู้จักไหมเนี่ยะ อะไรคือ วจีสังขาร กายสังขาร จิตสังขาร
    สังขารแต่ละอย่างถูกระงับ ถูกดับ ช่วงไหนของฌานแต่ละขั้น เห็นคุยจังเลยว่าได้ฌานขั้นนั้นฌานขั้นนี้

    แต่กลับมาบัญญัติใหม่ ให้เห็นความเสื่อมทางปริยัติ ปฏิบัติมาอย่างไรเนี่ยะ

    อะไรที่ฝืนจากความจริง ก็วางลงบ้างเถอะ tjs ถึงคุณจะมานอนยัน ใครจะเชื่อ
     
  3. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ไม่ใช่คอยมาจองเพื่อรอการถก

    รู้จักฟัง ให้จบบ้าง คลิปที่นำมาลงในหน้าที่แล้ว

    เรื่อง "ลักษณะจิตเป็นพุทธะ" ลองกดย้อนไปหน้า7 นั่งสมาธิพร้อมเปิดฟังก็ได้
     
  4. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,650
    ค่าพลัง:
    +20,326
    การปฏิบัติ ของผมเห็นว่า สัญญาและเวทนา มีทั้งแบบเกี่ยวเนื่องกันและแบบเป็นอิสระต่อกัน

    ผมแยกให้เห็นชัดๆว่า
    1สัญญาเวทนาวิญญาณ หรือ เวทนาสัญญาวิญญาณ
    2สัญญาวิญญาณ หรือเรียกอีกชื่อว่า สัญญาสังขาระวิญญาณ

    ดังนั้น ท่านเข้าใจหรือเปล่านั้นผมไม่ทราบ แต่ผมเข้าใจและสามารถแยกแยะนามธรรมเหล่านี้ได้และรู้ดีว่า มันปรุงแต่งจิตอย่างไรครับ สาธุ
     
  5. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้

    เท๎วธาวิตักกสูตร สีหนาทวรรค มู.ม.๑๒/๒๓๒/๒๕๒


    ทรงคอยควบคุมวิตก ก่อนตรัสรู้

    ภิกษุ ท. ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่, ได้เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นว่า เราพึงทำวิตกทั้งหลายให้เป็น สองส่วนเถิด. ภิกษุ ท. ! เราได้ทำ กามวิตก พ๎ยาปาทวิตก วิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ ให้เป็นส่วนหนึ่ง, ได้ทำ เนกขัมมวิตก อัพ๎ยาปาทวิตก อวิหิงสาวิตก สามอย่างนี้ให้เป็นอีกส่วนหนึ่งแล้ว.

    ภิกษุ ท. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดแก่เราแล้ว, กามวิตกนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย (คือทั้งตนและผู้อื่น) บ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความ คับแค้น ไม่เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่…. ฯลฯ… อย่างนี้ กามวิตกย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท. ! เราได้ละและ บรรเทากามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

    ภิกษุ ท. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ พ๎ยาปาทวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า พ๎ยาปาทวิตกเกิดแก่เราแล้ว, ก็พ๎ยาปาทวิตก นั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อม เพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่…ฯลฯ…อย่างนี้ พ๎ยาปาทวิตก ย่อมถึงซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท. ! เราได้ละและบรรเทาพ๎ยาปาทวิตก อันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว .

    ภิกษุ ท. ! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น เราก็รู้ชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็วิหิงสาวิตก นั้นย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เบียดเบียนทั้งสองฝ่ายบ้าง, เป็นไปเพื่อความดับแห่งปัญญา เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปพร้อม เพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท. ! เมื่อเราพิจารณาเห็นอยู่….ฯลฯ….อย่างนี้ วิหิงสาวิตกย่อมถึง ซึ่งอันตั้งอยู่ไม่ได้. ภิกษุ ท. ! เราได้ละและบรรเทาวิหิงสาวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้วและบังเกิดแล้ว กระทำให้สิ้นสุดได้แล้ว.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใดๆ มาก จิตย่อมน้อมไป โดยอาการอย่างนั้นๆ : ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงกามวิตกมาก ก็เป็นอันว่า ละเนกขัมมวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งกามวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในกาม. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงพ๎ยาปทวิตกมาก ก็ เป็นอันว่าละอัพ๎ยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งพ๎ยาปาทวิตก, จิตของ เธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการพยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง วิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละอวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งวิหิงสา วิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการทำสัตว์ให้ลำบาก.

    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในคราวฤดูสารท คือเดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน คนเลี้ยงโคต้องเลี้ยงฝูงโคในที่แคบเพราะเต็มไปด้วยข้าวกล้า, เขาต้องตีต้อนหา้ มกัน ฝูงโคจากข้าวกล้านั้นด้วยท่อนไม้ เพราะเขาเห็นโทษคือการถูกประหาร การถูก จับกุม การถูกปรับไหม การติเตียน เพราะมีข้าวกล้านั้นเป็นเหตุ ข้อนี้ฉันใด, ภิกษุ ท. ! ถึงเราก็ฉันนั้น ได้เห็นแล้วซึ่งโทษความเลวทรามเศร้าหมองแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย, เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม ความเป็นฝักฝ่ายของความผ่องแผ้วแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย.

    ภิกษุ ท.! เมื่อเราเป็นผู้ไม่ประมาท มีเพียร มีตนส่งไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตกย่อมเกิดขึ้น… อัพ๎ยาปาทวิตกย่อมเกิดขึ้น…. อวิหิงสาวิตกย่อม เกิดขึ้น. เราย่อมรู้แจ้งชัดว่า อวิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้ว, ก็อวิหิงสาวิตกนั้น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย, แต่เป็นไปพร้อมเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ไม่เป็นฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน. แม้เราจะตรึกตามตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดคืน ก็มองไม่เห็นภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ. แม้เราจะตรึกตาม ตรองตามถึงอวิหิงสาวิตกนั้นตลอดวัน, หรือตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ก็มองไม่เห็นภัย อันจะเกิดขึ้นเพราะอวิหิงสาวิตกนั้นเป็นเหตุ.

    ภิกษุ ท. ! เพราะเราคิดเห็นว่า เมื่อเราตรึกตามตรองตามนานเกินไปนัก กายจะเมื่อยล้า, เมื่อกายเมื่อยล้า จิตก็อ่อนเพลีย, เมื่อจิตอ่อนเพลีย จิตก็ห่างจาก สมาธิ, เราจึงได้ดำรงจิตให้หยุดอยู่ในภายใน กระทำให้มีอารมณ์อันเดียวตั้งมั่นไว้ ด้วยหวังอยู่ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งขึ้นเลย ดังนี้.

    ภิกษุ ท. ! ภิกษุตรึกตามตรองตามถึงอารมณ์ใด ๆ มาก จิตย่อมน้อมไป โดยอาการอย่างนั้น ๆ : ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึงเนกขัมมวิตกมาก ก็เป็นอันว่า ละกามวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากซึ่งเนกขัมมวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไป เพื่อความตรึกในการออกจากกาม. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตาม ถึงอัพ๎ยาปาทวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละพ๎ยาปาทวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอัพ๎ยาปาทวิตก; จิตของเธอนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่พยาบาท. ถ้าภิกษุตรึกตามตรองตามถึง อวิหิงสาวิตกมาก ก็เป็นอันว่าละวิหิงสาวิตกเสีย กระทำแล้วอย่างมากในอวิหิงสาวิตก; จิตของเธอนั้นย่อมน้อมไปเพื่อความตรึกในการไม่ยังสัตว์ให้ลำบาก.

    ภิกษุ ท. ! เปรียบเหมือนในเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อน ข้าวกล้าทั้งหมด เขาขนนำไปในบ้านเสร็จแล้ว คนเลี้ยงโคพึงเลี้ยงโคได้. เมื่อเขาไปพักใต้ร่มไม้ หรือไปกลางทุ่งแจ้งๆ พึงทำแต่ความกำหนดว่า นั่นฝูงโคดังนี้ (ก็พอแล้ว) ฉันใด; ภิกษุ ท. ! ถึงภิกษุก็เพียงแต่ทำความระลึกว่า นั่นธรรมทั้งหลายดังนี้ (ก็พอแล้ว)ฉันนั้นเหมือนกัน.

    ภิกษุ ท. ! ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน สติเราได้ดำรงไว้แล้ว ไม่ฟั่นเฟือน กายสงบระงับไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่นมีอารมณ์อันเดียวแล้ว. ภิกษุ ท. ! เรานั้น เพราะสงัดจาก กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกแล้วแลอยู่. (คำต่อไปนี้เหมือนในตอนที่กล่าวด้วยการตรัสรู้ ข้างหน้า อันว่าด้วยรูปฌานสี่)

    เทวธาวิตักกสูตร ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน เรื่องวิตก - 84000.org
     
  6. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    อนุปุพฺเพน เมธาวี โถกํ โถกํ ขเณ ขเณ
    กมฺมาโร รชตสฺเสว นิทฺธเม มลมตฺตโน.


    ผู้มีปัญญา (ทำกุศลอยู่) คราวละน้อยๆ ทุกๆ ขณะ โดยลำดับ
    พึงกำจัดมลทินของตนได้ เหมือนช่างทองปัดเป่าสนิมทอง ฉะนั้น.


    คาถาธรรมบท
     
  7. patdorn

    patdorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +227
    ุถกกัน คนอ่านได้ประโยชน์มากก อ่านทวนแล้วสาระเข้มข้นมากครับ สาธุ
     
  8. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878

    การดูพระอริยเจ้านั้นดูได้ยาก (หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญโญ)

    การดูพระอริยเจ้านั้น ส่วนมากจะสุ่มเดาตามกิริยาที่แสดงออกมาทางกายและวาจา การดูในลักษณะอย่างนี้ก็ยากที่จะถูกต้องได้ เพราะพระอริยเจ้ากับผู้ยังเป็นปุถุชนมีกิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจาเหมือน ๆ กัน ถึงท่านผู้นั้นจะได้บรรลุธรรมถึงขั้นเป็นพระอรหันต์แล้วก็ตาม จะตัดนิสัยเดิมของท่านเองไม่ได้ นิสัยเป็นมาอย่างไรก็เป็นไปอย่างนั้น เช่น พระสารีบุตรในชาติก่อนมา เคยเป็นลิง นิสัยลิงก็ยังติดตัวมา ฉะนั้น พระสารีบุตรจึงชอบกระโดดโลดเต้นอยู่เป็นนิสัย เห็นกิ่งไม้ใดพอจะกระโดดจับโหนตัวเล่นก็ต้องทำ หรือเห็นน้ำบ่อพอจะกระโดดข้ามได้ก็ต้องกระโดดไปมา จนพระองค์อื่นเห็นก็เกิดความแปลกใจ ทำไมพระสารีบุตรจึงแสดงในกิริยามรรยาทที่ไม่เหมาะสมอย่างนี้ ไม่สมศักดิ์ศรีที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าว่า เป็นพระอรหันตสาวกข้างขวาของพระพุทธเจ้าเลย จึงมีพระองค์อื่นโจษขานกันขึ้น และเล่าเรื่องของพระสารีบุตรถวายแด่พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิสัยเดิมของพระสาวกนั้นละไม่ได้ นิสัยเคยเป็นมาในอดีตมีอย่างไร การแสดงออกมาทางกายและวาจา ก็ชอบแสดงออกมาอย่างนั้น ฉะนั้น จึงได้เปรียบนิสัยของพระอริยเจ้าและปุถุชนไว้ดังนี้

    ๑. น้ำลึกเงาลึก ๒. น้ำลึกเงาตื้น ๓. น้ำตื้นเงาลึก ๔. น้ำตื้นเงาตื้น ทั้ง ๔ ข้อนี้ เป็นวิธีตัดสินได้ยากมาก เพราะไม่มีญาณหยั่งรู้พิเศษเฉพาะตัว นอกจากจะสุ่มเดาไปเท่านั้น

    ข้อ ๑ คำว่า น้ำลึกเงาลึก นั้น หมายความว่า ท่านผู้นั้นมีคุณธรรมอยู่ในใจแล้ว และก็ยังมีนิสัยกิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจามีความสุขุมลุ่มลึก เป็นนิสัยเดิมของท่านเป็นมาอย่างนั้น ถ้าลักษณะอย่างนี้ก็พอจะเดาถูกบ้าง

    ข้อ ๒ คำว่า น้ำลึกเงาตื้น หมายความว่า ท่านผู้นั้นมีคุณธรรมอยู่ภายในใจแล้ว แต่กิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจาไม่มีความสำรวมเลย อยากแสดงตัวอย่างไร อยากพูดอย่างไร ก็เป็นในความไม่สำรวมทั้งสิ้น แต่ก็ไม่ผิดในพระธรรมวินัย ไม่มีอกิริยาภายในใจ แต่เป็นเพียงกิริยาที่แสดงออกมาเท่านั้น ถ้าหากไปพบเห็นผู้ที่ท่านเป็นนิสัยอย่างนี้ ก็จะเดาภายในใจไปเลยว่า ท่านผู้นี้ยังเป็นปุถุชนทันที เพราะมีนิสัยไม่น่าเคารพเชื่อถือได้เลย

    ข้อ ๓ น้ำตื้นเงาลึก หมายความว่า ท่านผู้นั้นยังไม่มีคุณธรรมภายในใจ แต่กิริยามรรยาทการแสดงออกมาทางกายและวาจานั้นมีความสุขุมลุ่มลึกมาก การสำรวมทางกาย การสำรวมทางวาจาน่าเลื่อมใส ใครได้พบเห็นแล้วจะเกิดความเชื่อถือเป็นอย่างมาก เพราะความบกพร่องในความชั่วร้ายในตัวท่านไม่มี ถ้าได้พบเห็นผู้ที่ท่านมีนิสัยอย่างนี้ ก็จะเดาไปว่าเป็นพระอริยเจ้าทันที

    ข้อ ๔ น้ำตื้นเงาตื้น หมายความว่า ท่านผู้นั้นยังไม่มีคุณธรรมภายในใจเลย กิริยามรรยาทการแสดงออกทางกายทางวาจาไม่มีความสำรวมแต่อย่างใด ทำไปพูดไปตามใจชอบ ถ้าหากพบเห็นท่านผู้ใดมีกิริยาการแสดงออกมาอย่างนี้ ก็จะพอเดาถูกอยู่บ้าง

    ถ้าจะดูนิสัยน้ำลึกเงาตื้น หรือดูนิสัยน้ำตื้นเงาลึก คิดว่าท่านจะต้องเดาผิดอย่างแน่นอน ฉะนั้น การสุ่มเดาว่าใครเป็นพระอริยเจ้า และใครเป็นปุถุชนนั้น จึงยากที่จะสุ่มเดาให้ถูกทั้งหมดได้ ถึงพระอริยเจ้าด้วยกันก็ยังไม่รู้กันทั้งหมดได้ เช่น พระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบันก็ยังไม่สามารถดูภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นพระสกิทาคามี พระอริยเจ้าขั้นพระสกิทาคามีก็ไม่สามารถดูภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นพระอนาคามีได้ พระอริยเจ้าขั้นพระอนาคามีก็ไม่สามารถดูภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นพระอรหันต์ได้ แม้พระอรหันต์องค์ที่ท่านไม่มีญาณพิเศษส่วนตัว ก็ไม่สามารถรู้ภูมิธรรมขององค์อื่นได้ แต่เมื่อได้สนทนาธรรมกันแล้ว ท่านจะรู้ทันทีว่า ท่านผู้นั้นมีภูมิธรรมขั้นนั้นขั้นนี้ทันที ในบางกรณีพระอรหันต์ก็ย่อมรู้กันได้ หรือรู้ภูมิธรรมของพระอริยเจ้าขั้นอื่นได้ด้วย นั่นคือ เป็นผู้มีนิสัยเกี่ยวข้องกันมาในอดีต เคยสร้างบารมีร่วมกันมา และเคยร่วมสุขร่วมทุกข์กันมาหลายภพหลายชาติ ถ้าในกรณีอย่างนี้ก็พอรู้กันบ้าง ถึงจะรู้ท่านก็ไม่โฆษณา นอกจากว่าจะพูดเป็นนัย ๆ ให้ลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิดฟังบางโอกาสเท่านั้น เช่นว่า เพชรน้ำหนึ่งอยู่ที่โน้นที่นี้ หรือพูดว่า ท่านองค์นั้นมีสติดีแล้วนะ อย่างนี้เป็นต้น​

    ที่มา www.ok.nation.net
     
  9. เมธาวี1

    เมธาวี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    692
    ค่าพลัง:
    +1,051
    มีแต่คนเก่งๆ:cool:
     
  10. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    พระโสดาบัน ไม่มีวันตกนรกแล้วครับ คุณ tjs

    บุคคลนั้นเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้มีอันไม่ตกไปใน
    อบายภูมิเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง เป็นผู้มีความตรัสรู้เป็นที่ในเบื้องหน้า เพราะ
    สัญโญชน์ ๓ สิ้นไปแล้ว บุคคลอย่างนี้ชื่อว่า โผล่ขึ้นแล้ว เหลียวมองดู


    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka3/v.php?B=36&A=4796&Z=4859
     
  11. nunmk

    nunmk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +108
    คนเราเมื่อมีปัญญาเป็นทิฐฐิ จะเป็นสัมมาทิฐฐิ หรือมิจฉาทิฐฐิ ดูได้จากคำสนทนานั้นๆ อุปทานทั้งหลายเกิดขึ้นก็จากจิตใจตนเองนั้นแหละ มันหลอกให้คิดเป็นได้ว่าตนนั้นสำเร็จขั้นนั้นขั้นนี้ แลัวเฉลยสิ่งที่ตนคิดว่าตนเองรู้ออกมาทางบทสนทนา บัณฑิตทั้งหลายย่อมรู้เองว่าคำสนทนาใครถูกใครคลาดเคลื่อนไปจากพระสัจธรรม สาธุ
     
  12. White Sage

    White Sage เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    282
    ค่าพลัง:
    +1,743
    สาธุค่ะ :)
     
  13. biox

    biox Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +60
    ผมไม่ใช่พุทธภูมิ แต่เป็น สุกขวิปัสสโก ลองเข้ามาอ่านดู เพิ่งเข้าใจว่าชาว พุทธภูมิ เขามีกำลังใจเป็นเลิศที่สุดจริงๆ

    ตัวอย่าง ถ้าเปรียบกับการกินข้าว 1จาน

    พุทธภูมิ - ต้องคัดเลือกสายพันธ์ข้าว ทดลองปลูกข้าว เก็บเกี่ยว ทุกสายพันธุ์ ให้น้ำให้ปุ๋ยทุกวีธี ทดลองสีข้าวทุกวีธี ทดลองหูงข้าวทุกวิธี ทำมันจนโปร่งทุกอย่าง จึงสอนคนได้มาก
    อภิญา6 - เอาตำราที่พุทธภูมิแนะนำให้ มาทำตาม อย่างละเอียดเพื่อให้ได้ข้าวพันธุ์ดีที่สุด ไม่ต้องไปไปทดลองปลูกทุกสายพันธ์แบบพุทธภูมิ
    วิชา3 - หูงข้าวแบบสูตรสามัญ พิ้นฐาน (กินได้เหมือนกัน)
    สุกขวิปัสสโก - บิณฑบาตเอาเหอะ ไม่ต้องทำเองทุกเรื่องหรอก (อิ่มเหมือนกัน)
     
  14. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ปิดมรรค
    ปิดผล
    พุทธภูมิ
    คือไม่ได้อยากเป็นพุทธภูมิหรอกนะ
    แต่มรรค ผล ผมโดนปิดหนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...