หลังจากนั่งสมาธิทำไมนอนไม่หลับเลยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ณตฤณ, 23 มีนาคม 2013.

  1. ณตฤณ

    ณตฤณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +234
    ผมจะนั่งสมาธิประมาณเที่ยงคืนกว่าๆ ช่วงนี้ก็นั่งได้บ่อยขึ้นนานขึ้น พอออกจากสมาธิ แผ่เมตตาทุกอย่างเสร็จแล้ว จะเข้านอน แต่มันไม่ง่วง มันสดชื่น กะปรี้กะเปร่า บางคืนนอนไม่หลับ ในหูมีแต่เสียงระฆังกังวานเบา ไมรู้จะทำอะไรก็ลุกมานั่งสมาธิเป็นรอบที่สอง จะมาหลับได้ช่วงตีสอง มีท่านใดให้คำแนะนำได้บ้างครับ
     
  2. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    นอนรู้ลมหายใจไปจนหลับค่ะ
    ทำทุกคืนจะมีผลมีอานิสงส์มากค่ะ
     
  3. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    เห้ยคุณ คุณก็ได้ยืนเรื่องนี้ไหม คนที่ปฎิบัติ แล้วมาถึงช่วง จิตตื่นตลอด แม้หลับก็ตื่น (กายหลับแต่จิตตื่น) ได้ยินเสียงหมดทุกอย่าง แต่กายหลับ แต่ได้ยิน เพราะจิตตื่น

    http://palungjit.org/threads/ข้อสังเกตุเมื่อทำสมาธิแล้วนอนไม่หลับ.271226/

    อารมณ์ตอนนี้ พอจะสู้กิเลสได้แล้ว

    ผมก็เคยเป็นเหมือนกันช่วงหนึ่ง แล้วผมก็กลับไปชั่วเหมือนเดิม (อยู่กับกิเลสเหมือนเดิม)


    แต่เพิ่งมารู้น่าเสียดาย :(
     
  4. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    เปลี่ยนเป็น นอน สมาธิดูสิครับ รอง พิจารณา ขันธ์ ห้า ใหม่ อย่าไปยึดในความเพลิน อารมณ์ ของ ขันธ์ห้า เข้า วิปัสสนา พิจารณา
    สาธุ
     
  5. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    นอนให้เร็ว แล้วตื่นมาทำสมาธิจะดีกว่ามั้งครับ
     
  6. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    เป็นเรื่องปกติ
    ของคนที่เข้าถึงระดับตั้งแต่ฌาน1ขึ้นไปนะครับ เพราะ 1 ในนิวรณ์คือความง่วงหงาวหาวนอนถูกระงับได้ตามลำดับ จึงไม่รู้สึกง่วง

    ข้อดี
    คือช่วยเสริมความมั่นใจว่าเราก้าวเข้าสู่ความสงบจริง แสดงผลเป็นรูปธรรมทางกายให้เราเห็นและรู้สึกได้จริง เป็นการเสริมกำลังใจไปในตัวว่า ทำอย่างนี้มาถูกทางแล้วเป็นกำลังใจให้นะครับ

    สิ่งที่ต้องพึงระวังคือ
    1. ให้พยายามฝึกการทรงอารมณ์ที่ได้ให้ได้นานๆ แรกๆอาจจะเข้าได้แป๊บเดียว ฝึกบ่อยๆก็จะอยู่ตัวและทรงตัวได้ เพื่อต่อยอดขั้นต่อไป
    2. ให้เข้าออกฌานช้าๆ ไม่ควรออกเร็วๆ เพราะหากยังไม่คล่องแล้วดันออกเร็วๆ แบบนี้จะเกิดอาการซึมทั้งวัน รับรู้สภาวะภายนอกได้ทั้งหมด แต่ไม่จับมาเป็นอารมณ์ อย่างนี้เรียกว่า "ฌานค้าง" ผลเสียคือ จะกลายเป็นบุคลิกแบบคนเซื่องซึม ดูไม่สดชื่น (แต่ข้างในก็ยังสว่างอยู่นะ) แต่ข้อดีย่อยๆคือ
    2.1 ตายในอารมณ์ฌานค้างตอนนั้นไปเกิดเป็นพรหมทันที ได้เปรียบคนอื่นเลย
    2.2 ที่นักภาวนาหลายๆท่านไม่นอนเป็นวันๆหรือเดือนๆก็เป็นแบบนี้แหละครับ ไม่ง่วงนอน นิวรณ์ไม่กวนใจ

    ของผมก็ไม่นอน 2 คืนติดกันเลย อย่าเพิ่งดีใจไปนะครับ เพราะร่างกายไม่ได้พักผ่อนแล้วก็จะโทรม เป็นธรรมชาติที่ร่างกายต้องได้พักผ่อน ไม่พักผ่อนก็รอฟุบได้เลย หากฌานคลายตัว

    เจริญธรรมครับ
     
  7. boybest

    boybest เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2010
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +105
    ท่านเพ่งมากเกินไปปล่อยให้เป็นธรรมชาติใช้สติดูมันเฉยตอนนอนอย่ากำหนดอะไรทั้งสิ้นผ่อนคลายแล้วนอนรู้อย่างเดียว
     
  8. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    เป็นเรื่องธรรมดา เดี๋ยวก็หายไปเอง
    เฝ้าดูเอาไว้ นี่คือความ " ไม่เที่ยง "
    ปฎิบัติไปเรื่อยๆ สิบปี ยี่สิบปี ก็จะรู้สึกว่า
    มันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะยังไงร่างกายก็ต้องพักผ่อน
    เดี๋ยวก็หลับไปเอง อย่างที่ จขกท โพสไว้นั่นแหละ

    สาธุครับ
     
  9. GLiKe

    GLiKe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +137
    ขอแชร์หน่อยครับผม.... อาการ จขกท. นี้คล้ายๆ ผมเลยครับ

    ....**แนะนำ** ต้องระมัดระวังตัวให้มากเคยพักผ่อนเวลาเท่าไรเมื่อถึงเวลานั้นต้องเลิกและพักผ่อน อย่าฝ่าฝืนปฏิบัติเพลิดเพลินเกินไป...//หลวงพ่อฤาษีลิงดำ


    .... ผมฝึกทำสมาธิ กว่าจะนอนอีกที่ก็ ตี 1 ....ก่อนทำสมาธิการเหมือนจะง่วงร่างกายต้องการพัก ....แต่หลังออกจากสมาธิ แล้วทีนี้เวลาจะนอน นอนไม่หลับฉะงั้น...อารมมันค้างตึ่งอยุ่อย่างนั้น...ที่นี้ยาวไปเกือบตี 2...แหน่ะ....ต้องเผื่อเวลาไว้ยังงี้เลยนะ...(เหมือนคุณ ballbeamboy2 คห#3 อันนี้เป็นความรู้ใหม่ผมเลยนะครับ ตอนนั้นผมก็ไม่ทราบเรียกว่าอะไร.. อนุโมทนาบุญด้วยนะครับ)

    .... ผมเข้าใจว่าจิตได้สมาธิสงบ เป็นอาหารแล้ว....ร่างนี้ เราต้องให้โอกาสเขาได้พักผ่อนตามเวลา....ตามหลักโภชนาการ ผมเองพึ่งเริ่มฝึกหัดขอคำแนะนำเช่นกันครับผม...

    ..... ขอให้เจริญในธรรมนะครับ...
    ผมพึงอ่านเจอเมื่อวาน....ขออนุญาติพิมพ์มาแชร์นะครับ


    .........หนังสือ "วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตนเองแบบง่ายๆ" โดย พระธรรมยานเถรี (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) หน้า ๑๗*



    อุปจารสมาธิ​

    อุปจารสมาธิ หมายถึง สมาธิเฉียดฌาน คือใกล้จะถึงปฐมฌานมีกำลังใจเป็นสมาธิสูงกว่าขณิกสมาธิเล็กน้อย ต่ำกว่าปฐมฌานนิดหน่อย เป็นสมาธิที่มีอารมณ์ชุ่มชื่นเอิมอิ่ม ผู้ปฏิบัติพระกรรมฐานถ้าอารมณ์เข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว จะมีความเอิบอิ่มชุ่มชื่นไม่อยากเลิก ท่านที่มีอารมณ์เข้าถึงสมาธิขั้นนี้จึงต้องระมัดระวังตัวให้มากเคยพักผ่อนเวลาเท่าไรเมื่อถึงเวลานั้นต้องเลิกและพักผ่อน ถ้าปล่อยอารมณ์ความชุ่มชื่นที่เกิดแก่จิตไม่คิดจะพักผ่อน ไม่ช้าอาการเพลียจากประสาทร่างกายจะเกิดขึ้นในที่สุด อาจเป็นโรคประสาทได้ ที่ต้องรักษาประสาทก็เพราะ ปล่อยใจให้เพลิดเพลินเกินไปจนไม่ได้พักผ่อน ต้องเชื่อคำเตือนของพระพุทธเจ้า ที่ท่านแนะนำปัญจวัคคีย์ฤาษีทั้ง ๕ มีท่าน

    อัญญาโกนฑัญญะ เป็นประธาน โดยที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า เธอทั้งหลายจะละส่วนสุดสองอย่างคือ

    ๑. ปฏิบัติเครียดเกินไปจนถึงขั้นทรมานตนคือเกิดความลำบาก
    ๒. ความอยากได้เกินไป จิตใจวุ่นวายเพราะความอยากได้จนอารมณ์ไม่สงบ

    ถ้าเธอทั้งหลายติดอยุ่ในส่วนสุดสองอย่างนี้อย่างใดอย่างหนึ่งผลในการปฏิบัติคือมรรคผลจะไม่มีแก่เธอเลย ขอให้ทุกคนตั้งอยู่ใน มัชฌิมาปฏิปทา คืออารมณ์ปานกลาง ได้แก่อารมณ์พอสบาย

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแนะไว้อย่างนี้ก็ยังมีบางท่านฝ่าฝืนปฏิบัติเพลิดเพลินเกินไป ไม่พักผ่อนตามเวลาที่เคยพักผ่อน จึงเกิดอารมณ์ฟุ้งซ่านวุ่นวายจนเป็นโรคประสาท ทำให้พระพุทธศาสนาต้องถูกกล่าวหาว่า การปฏิบัติพระกรรมฐานทำให้คนเป็นบ้า ฉะนั้นขอท่านนักปฏิบัติทุกท่าน จงอย่าฝ่าฝืนคำแนะนำของพระพุทธเจ้าจงรู้จักประมาณเวลาที่เคยพักผ่อน ต้องพักผ่อนให้เพียงพอและปฏิบัติแค่อารมณ์สบาย ถ้าเกินเวลาพักที่เคยพักก็ดี อารมณ์วุ่นวายฟุ้งซ่านคุมไม่อยู่ก็ดี ขอให้พักการปฏิบัติเพียงแค่นั้น พักให้สบาย พอใจผลที่ได้แล้วเพียงนั้น ปล่อยอารมณ์ให้รื่นเริงไปตามปกติ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ตรงนี้เรียกว่าข้ามนิวรณ์ธรรมครับ ทำให้สามารถปฏิบัติได้เต็มที่ หากไม่ชอบก็ผ่อนการปฏิบัติลง เดี๋ยวก็หาย หากเร่งก็จะเป็นอีก
     
  11. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คุณแจ้งมาไม่ละเอียดเท่าที่ควร เช่น ไม่บอกว่า เริ่มนั่งสมาธิตั้งแต่กี่โมง เวลานั่งสมาธิ มี วิตกวิจาร คือ คิด เห็น หรือได้ยินหรือไม่
    แต่ถ้าคุณกล่าวว่า ออกจากสมาธิ เวลาเที่ยงคืน แล้วไม่ง่วง นั่นแสดงว่า เวลาคุณนั่งสมาธิ คุณเกร็งทุกส่วนของร่างกาย โดยที่คุณไม่รู้ตัว จึงทำให้นอนไม่หลับ ข้าพเจ้าจะไม่อธิบายในรายละเอียดนะขอรับ
    แล้วที่ว่า มีเสียงระฆังดังในหู นั่นเป็นอาการ วิตก ถ้าคุณคิดตามเสียงนั้น ก็เรียกว่า วิจาร แสดงว่า คุณไม่ได้นั่งสมาธิ แต่อาจจะนั่งคิดไปเรื่อยเปื่อย เพราะถ้านั่งสมาธิที่ถุกต้อง พอออกจากสมาธิ ก็จะสามารถนอนหลับได้อย่างสบายตามสภาพ แห่งระบบการทำงานตามธรรมชาติของร่างกายขอรับ
     
  12. ณตฤณ

    ณตฤณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +234
    เสียงระฆังหลังนั่งสมาธิผมก็ไม่รู้ว่ามาจากไหน ลองอุดหู มันก็ได้ยินครับ แบบว่าดังจากข้างในหัวนะครับ ตอนนั่งสมาธิมันก็เบาๆสบายๆ ช่วงแรกก็เห็นวงแสงวิ่งไปวิ่งมา แต่พักเดียวก็ว่างและนิ่ง เจอจนไม่ตื่นเต้นและไม่สนใจแล้ว ช่วงนี้เข้าสมาธิง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนนะครับ เลยเปลี่ยนพฤติกรรมมานั่งสมาธิช่วง สามสี่ทุ่ม เที่ยงคืนนิดๆก็หลับลงได้ ก็พยายามพัฒนา เรียนรู้จากในเว็ปพลังจิตนะครับ เวลาเจออะไรในสมาธิ หรือ นั่งแล้วรู้สึกขนลุก ตัวใหญ่ ตัวลอยๆ อื่นๆ พอค้นพบกับตัวเองก็เลย อ๋อ มันเกิดแบบนี้เอง และก็หายไปเอง จนสงบ นิ่งๆ ไม่รู้ว่าพัฒนาไปถึงไหนเหมือนกัน
     
  13. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ลักษณะของเสียงระฆัง เป็นอย่างไรครับ
    ไม่ใช่เสียงความถี่สูงหรือครับ?
     
  14. ณตฤณ

    ณตฤณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +234
    ตอบคุณอินทรบุตรนะครับ เสียงที่ได้ยินหลังจากนั่งสมาธิเสร็จ แล้วจะล้มตัวลงนอน บางทีก็ดังเบาๆ เหมือนระฆัง บางที่ก็ วี๊ดๆแหลมๆ ลองปิดพัดลม ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า แล้วลองอุดหู มันก็ได้ยินเบาจากในหัวนะครับ คลื่นความถี่สูงก็น่าจะใช่นะครับ แต่มันเกิดแทบจะทุกคืนตอนจะนอนหลับ ไปนอนที่ไหนๆผมก็ได้ยินนะครับ เสียงแบบนี้ มากบ้างน้อยบ้างนะครับ
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    เวลาพักให้กายพักครับ ถอนอารมณ์ ...อาการนี้แต่ก่อนผมก็เป็น...

    แต่อาการนี้เป็นข้อบ่งชี้ของบุคคลที่ทรงความเพียรนะ คนที่ไม่เพียรปฏิบัติจะไม่เคยสัมผัสกับอารมณ์แบบนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มีนาคม 2013
  16. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    เสียงนี้เป็นเสียงละเอียด ที่มีอยู่เป็นปกติ แต่ให้สังเกตจังหวะที่เราได้ยินเสียงนี้ จิตเราจะไม่มีนิวรณ์ ไม่มีความคิดรบกวน อยู่ในสภาวะสบายๆ แต่รู้อยู่ ถูกไหมครับ?
     
  17. ณตฤณ

    ณตฤณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +234
    ตอบคุณอินทรบุตรครับ ตอนจะนอนไม่คิดอะไรนอกจาก อยากนอนไวๆนะครับ หัวถึงหมอน เสียงก็มาเป็นปกติแบบเดิม ฟังจนหลับนะครับ แรกๆก็อยากรู้นะครับว่าเสียงไรว่ะ บอกไม่ถูกแบบว่ามีหลายแบบเสียงอะครับ ตอนนี้ก็เฉยๆแล้วครับ แค่รับรู้ว่าอ๋อเสียงมาแบบเดิมๆ
     
  18. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734

    แชร์ประสบการณ์นะครับ

    ตอนนั้นได้ของเล่นใหม่หลังจากฝึกมากว่า 10 ปี เดินออกจากบ้านไปทำงานตอนเช้า จับอารมณ์ตามปกติ แล้วได้ยินเสียงกลอง ฆ้อง ดังโหม่งๆ แน่ใจว่าใช้ใจได้ยิน ไม่ใช่หูนะที่ได้ยิน เป็นอยู่นานพอควร

    บ่อยๆก็รำคาญน่ะสิ ฉันจะภาวนา จับอารมณ์ให้สบายๆหน่อย เสียงมากวน

    เลยมาทบทวนการเข้าออกของอารมณ์ ตอนแรกๆที่ฝึกทรงอารมณ์ แล้วหัดทรงแบบ 4 อิริยาบถเลย กายเคลื่อนไหว อารมณ์ก็ไหวบ้างนิดหน่อย พอให้กระเพื่อมเบาๆ พออารมณ์กระเพื่อม ไม่นิ่ง อารมณ์ก็ลดลงมา ณ จุดจุดหนึ่ง จุดนี้สามารถจับความเป็นทิพย์ได้ทุกอย่าง ทั้งตาทิพย์ หูทิพย์ ได้หมด

    สุดท้าย เลยกำหนดไปดู อ๋อ บางอ้อเลย...

    ตอนเช้า คนใส่บาตรเป็นทานให้สงฆ์ เทวดามาร่วมโมทนาบุญด้วย เขาดีใจ เห็นคนทำบุญ โดยเฉพาะเทวดาที่อยู่ภุมเทวดาและอากาศเทวดาในรัศมี 1 โยชน์ (16 ก.ม.) จากพื้นดิน

    หลังๆก็เล่นโมทนากับคนใสบาตรและเทวดาเหล่านั้นด้วยเลย ได้ 2 เด้ง

    เจริญธรรมครับ
     
  19. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
    บังเอิญแวะ ผ่านมา นะจ๊ะ

    ทำสมาธิ แล้วไม่ง่วง ไม่หิว ไม่กระหาย ไม่อื่นๆ อันเป็นกิเลส นั้น เป็นเรืองปกติ นะจ๊ะ แสดงถึง พลังแห่งสมาธิ

    ในทางวิทยาศาสตร์ ขณะเกิดสมาธิระดับนึง ร่างกายจะ หลั่งโฮโมน บางตัวออกมา เช่น เอนโดฟิน หรือ แม้กระทั่ง อะดรีนาลีน (ยังมีอื่นๆ อีก) ทำให้ ไม่ง่วง รู้สึกสดชื่นอยู่ตลอดเวลาเหมือนตื่นนอนใหม่ๆทำนองนั้น มีพลังเยอะเลย ทำอะไร ก้อไม่เหนื่อย

    (บางคนและบางสภาวะธรรม แห่งจิต ไม่ได้อาศัย ฮอโมนเหล่านี้ จิตก้อ ทรงตัว แบบนั้นได้เช่นกัน นะ) แต่ เราคุยถึงเรืองพื้นๆ กัน ก้อพอ นะ

    ทีนี้ คำถาม คือ ต้องการทำสมาธิแล้ว อยากนอน ให้เป็นปกติรึเปล่า อะ ถ้าใช่ ก้อ ทำสมาธิ ให้จำนวนเวลา น้อยลง หน่อย เช่น สมาธิเพียง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง อันนี้ แล้วแต่คนนะ ต้อง ทดสอบดูกะ ตัวเอง ว่า นานเท่าไหร่ จึงจะเหมาะกับตัวเอง หรือ อาจต้องทำสมาธิให้เช้า ขึ้น หรือ เปลี่ยนเวลา ในการทำสมาธิ
     
  20. Namushakamunibutsu

    Namushakamunibutsu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    1,347
    ค่าพลัง:
    +2,618
    ทำสมาธิตอนห้าทุ่มถึงตีหนึ่งครับ แล้วคุณก็เข้านอน หากไม่หลับ คุณกำหนดจิตไปที่ท้ายทอย หรือในลำคอก็ได้ครับ คุณจะหลับได้อย่างรวดเร็ว สักประมาณตีห้าก็ตื่นได้แล้วครับ ถ้าอิ่มสมาธิ นอนสองถึงสี่ชั่วโมงก็สดชื่นแล้วครับ ถึงไม่นอนได้ก็ควรนอนบ้างนะครับ (ให้กายหยาบมันหลับไป คุณจะถอดกายละเอียดมาทำสมาธิต่อก็ดีนะครับ)
     

แชร์หน้านี้

Loading...