หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. Thana 2

    Thana 2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    653
    ค่าพลัง:
    +2,878
    สวัสดีครับ ทุกท่านผมคงลงชื่อไม่ทันหรอกครับเพราะพึ่งเข้ามาอ่านประวัติหลวงปู่นะครับและขอโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ สาธุ......................ครับ
     
  2. poman

    poman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    12,300
    ค่าพลัง:
    +35,301

    :cool: ไม่มีอะไรบังเอิญหรอกน้องนาย ดีใจด้วยเน้อ ^^
     
  3. ฮารุยากิ

    ฮารุยากิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +1,290
    รอบหน้าเจอกัน งานฉลองเจดีย์ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
     
  4. motana2008

    motana2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    4,929
    ค่าพลัง:
    +10,336
    สาธุครับ :cool: :cool:
     
  5. techapunyo

    techapunyo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    896
    ค่าพลัง:
    +1,730
    ขอบคุณมากครับ
     
  6. ช้างป่า

    ช้างป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    511
    ค่าพลัง:
    +16,480
    ครับผม

    คงเป็นบุญกรรมเป็นตัวหนุนนำไปตามวาสนาที่เคยทำมา
     
  7. poman

    poman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    12,300
    ค่าพลัง:
    +35,301
    จริงๆ Locket ลป. ผมมีแล้วแบบนี้ ใครพอทราบประวัติการสร้างบ้างครับ ^^

    [​IMG]
     
  8. ฮารุยากิ

    ฮารุยากิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +1,290
    ล็อกเก็ตเปล่า มาอุดเทียนชัยหลวงปู่
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1386.jpg
      IMG_1386.jpg
      ขนาดไฟล์:
      126.5 KB
      เปิดดู:
      76
    • IMG_1384.jpg
      IMG_1384.jpg
      ขนาดไฟล์:
      138.9 KB
      เปิดดู:
      76
  9. ฮารุยากิ

    ฮารุยากิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +1,290
    ล็อกเก็ตหลังยันต์แดงไม่เคยเห็นครับ ปกติ ล็อกเก็ตหลวงปู่ศรี สร้างน้อย มวลสาร ที่นำมาบรรจุเป็นเหรียญสลึงบ้าง เป็นพระนาคปรก ส่วนทำเป็นเนื้อผง ปั้มยันต์ แบบนี้ผมไม่เคยเห็นครับ ต้องขออภัยด้วยครับ
     
  10. poman

    poman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    12,300
    ค่าพลัง:
    +35,301
    จำได้ว่าทำบุญกับแม่ชี ที่วัดป่ากุง ตอนไปกราบหลวงปู่ประมาณปี 52-53 นี่ล่ะครับ ^^:cool:
     
  11. dinso

    dinso เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กันยายน 2005
    โพสต์:
    4,863
    ค่าพลัง:
    +9,562
    ยินดีด้วยนะครับ
     
  12. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    ล็อกเก็ตเลี่ยมแบบนี้น่าจะเป็นวัดสาขาออกนะครับ แต่ผมไม่มีข้อมูล
     
  13. ฮารุยากิ

    ฮารุยากิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    761
    ค่าพลัง:
    +1,290
    ท่านที่ใช้ชื่อ ติดต่อด่วน supermart กำหนดภายใน3วัน หากไม่ติดต่อกลับมาถือว่าท่านสละสิทธิ์นะครับ
     
  14. motana2008

    motana2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    4,929
    ค่าพลัง:
    +10,336
    น้อมกราบหลวงปู่ศรี รับวันทำงานกลางอาทิตย์
    ขอบารมีหลวงปู่ปกป้อมคุ้มครองลูกหลาน พี่ไพรัช และศิษย์ทุกท่านให้หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ปลอดภัยจากภัยต่างๆทุกประการครับ ^^
     
  15. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    ประวัติย่อ

    [​IMG]

    พระเทพวิสุทธิมงคล (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
    วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
    “เมื่อมีเหตุ ผลก็ต้องมี เหตุน้อย ผลน้อย






    เหตุพอประมาณ ผลพอประมาณ เหตุมาก ผลมาก เหตุพิเศษ ผลก็พิเศษ
    ชีวิตฆราวาส
    พระเทพวิสุทธิมงคล หรือ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านเกิดในตระกูล “ปักกะสีนัง” เกิดเมื่อ วันศุกร์ที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๐ ตรงกับวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย ณ บ้านขามป้อม ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม เป็นบุตรคนที่ ๖ ของ นายอ่อนสี และ นางทุมจ้อย ปักกะสีนัง มีพี่น้องรวมกัน ๑๑ คน อาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่
    การศึกษา จบมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม ปี พ.ศ. ๒๔๘๐
    อาชีพ รับราชการครู สอบบรรจุครูได้ และเริ่มรับราชการครูในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ จากนั้นได้ลาออกจากการรับราชการครูในปี พ.ศ. ๒๔๘๓ และในปีเดียวกันนั้น ก็ได้สอบบรรจุครูอีกครั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด อยู่รับราชการครูจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๘๘ จึงได้ขอลาออกจากราชการอีกครั้งเพื่อบรรพชาอุปสมบท
    ชีวิตครอบครัว แต่งงานในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ กับนางสาวสอน แสนยะมูล อายุ ๒๒ ปี เป็นบุตรสาวของนายสุธรรมา และนางหล้า แสนยะมูล มีบุตรธิดาสืบสกุล ๔ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๓คน
    คำสั่งของมารดาก่อนตาย หลวงปู่เล่าว่าก่อนที่แม่จะตาย ได้สั่งเสียเป็นเชิงอ้อนวอนรำพึงรำพันว่า “ ศรีเอ้ย!แม่อยากให้ลูกบวชให้ จัก ๑๐มื้อ(วัน) ๑๕ มื้อก็ได้ พอให้แม่ได้เพิ่ง(พึ่ง)บุญเพิ่งคุณ จะได้ไปดี ไปสวรรค์ นำเพิ่น(ผู้อื่น)” เมื่อจบคำสั่งเสียของแม่แล้ว น้ำตาร่วง หัวใจเหมือนจะหลุดหล่นหาย ซึ้งในน้ำใจของท่านที่รักเรายิ่งนัก จึงรับปากแม่ว่าจะบำบวชให้แม่อย่างแน่นอนว่า “ แม่ไม่ต้องเป็นห่วงดอกเด้อ ข้อยสิบวชให้แน่นอน ขอให้แม่เฮ็ด(ทำ) ใจให้ซำบาย(สบาย) ” อีกไม่กี่วันต่อมาแม่ก็สิ้นใจตาย ...
    บรรพชาอุปสมบท
    อุปสมบทที่ “วัดราษฎร์รังสรรค์” บ้านป่ายาง ตำบลขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เวลา ๐๙.๐๐ น. ได้ฉายาว่า “มหาวีโร” แปลความหมายว่า “ผู้มีความหาญกล้ามาก” หรืออีกนัยหนึ่ง “ ผู้สามารถบุกเข้าไปทำลายกิเลสได้ ” โดยมีพระโพธิญาณมุณี (คำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นพระอุปัชฌาย์ , พระครูศิริธรรมธาดา เจ้าคณะอำเภอเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระกรรมวาจาจารย์ , พระครูสมุห์พันธ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ สิริอายุ ๒๙ ปี
    พรรษาที่ ๑ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๘
    จำพรรษาที่ สำนักสงฆ์ป่าพูนไพบูลย์ (ปัจจุบันคือ วัดประชาบำรุง) อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม
    เมื่ออุปสมบทแล้ว ก็เดินทางไปหาท่านพระอาจารย์คูณธมฺมุตฺตโม ซึ่งท่านเป็นลูกศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่ได้ธุดงค์จาริกมาพักอยู่ที่วัดป่าพูนไพบูลย์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตามคำสั่งของท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม เพื่อเผยแพร่หลักธรรมและหลักปฏิบัติของพระคณะกรรมฐาน ได้ปฏิบัติธรรมอยู่จำพรรษาร่วมกับท่านพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม และได้ปฏิบัติตามแนวทางที่ท่านพระอาจารย์คูณอบรมสั่งสอน เอาธุระในพระพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด คือ คันถธุระ การศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ ให้มีความรู้พระธรรมวินัย ดำรงรักษาตำราไว้มิให้เสื่อมสูญวิปัสสนาธุระ ได้แก่การศึกษาอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนา เพื่อรู้แจ้งธรรมและกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ
    ในพรรษาแรกนี้ หลวงปู่ศรีท่านก็สามารถจดจำ พระวินัยบัญญัติและสวดปาฏิโมกข์ได้ เร่งทำความเพียรและภาวนา อดนอนผ่อนอาหาร เวลานั่งสมาธิก็นั่งอยู่ตลอดจนรุ่งเช้า โดยหลวงปู่ท่านใช้อุบายสอนใจตัวเอง เพื่อสู้กับทุกขเวทนาว่า “เรานั่งอยู่ในท้องแม่ แม่อุ้มท้องอยู่เป็นเวลา ๙เดือน ๑๐ เดือนไม่เห็นหนีไปไหนได้ ทำไมจึงอดทนอยู่ได้”ผลสุดท้ายจิตเกิดแสงสว่าง ทุกขเวทนาที่ว่าเผ็ดร้อนได้หายไปหมด ทำให้ท่านเกิดศรัทธาอย่างมาก การบวชที่แต่เดิมคิดว่าจะบวชเพียงชั่วคราวได้หายไปสิ้น
    พอบวชครบพรรษา ด้วยเหตุว่ายังอยู่ใกล้บ้านเกิด ญาติๆมาเยี่ยมเยือนได้ง่าย ถูกรบเร้าให้สึกไปครองชีวิตฆราวาสอยู่บ่อยๆ จึงกราบลาพระอาจารย์คูณ ธมฺมุตฺตโม เที่ยวธุดงค์ผ่านป่าผ่านเขาต่างๆ ไปหาท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตฺยาคโม ศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าแสนสำราญ จังหวัดอุบลราชธานี
    พรรษาที่ ๒ ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙
    จำพรรษาที่ วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
    ท่านพระอาจารย์สิงห์ขนฺตฺยาคโม ท่านเป็นพระที่ปฏิบัติเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก เป็นเสมือนองค์แทนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ข้อกติกาสัมมาปฏิบัติ อันเป็นข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับพระคณะ กรรมฐาน ท่านพระอาจารย์ท่านก็ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง ของพระภิกษุสามเณรผู้มุ่งมาบำเพ็ญในสำนักพระคณะกรรมฐาน คือ
    ต้องเป็นผู้หวังพ้นจากทุกข์จริงๆ และหวังบำเพ็ญกิจในพระพุทธ ศาสนา จึงต้องสละความห่วงอาลัยในชีวิตฆราวาส เหย้าเรือน ตลอดจนสละชีวิตเลือดเนื้อ เพื่อทรมานตนให้พ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร
    ต้องเป็นผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน มีขันติธรรม อดทนต่อ ความทุกข์ความยากความลำบากตรากตรำ ไม่หวั่นต่อเหตุการณ์ต่างๆทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเป็นผู้เห็นแก่พระศาสนาจริงๆ
    ต้องเป็นผู้มีน้ำใจอันซื่อสัตย์ ต่อพระศาสนาและครูบาอาจารย์ตลอดถึงหมู่คณะ อ่อนน้อมถ่อมตน ให้หมู่คณะว่ากล่าวตักเตือนสั่งสอนได้ในธรรมวินัย เมื่อมาอยู่ในหมู่คณะนี้แล้ว จะหลีกหนีไปก็ไม่ลอบลักดักหนี ให้ร่ำลาครูบาอาจารย์ของตนก่อน เมื่อท่านอนุญาตแล้วจึงไป
    ต้องเป็นผู้สนใจใคร่ธรรม ใคร่วินัย แสวงหาวิโมกขธรรม สันติสุขในพระพุทธศาสนา และหวังเชิดชูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป
    ได้อยู่กับท่านพระอาจารย์เพียงสามเดือน เพราะท่านพระอาจารย์กลับไปอยู่วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา ต่อจากนั้นหลวงปู่ศรีท่านเลยไปวิเวกอยู่บ้านค้อหวาง ซึ่งเป็นวัดของท่านเจ้าคุณอุบาลี
    พรรษาที่ ๓ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๐
    จำพรรษาที่ วัดป่านาแกน้อย ตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
    พอรู้จักแนวทางในการประพฤติปฏิบัติกรรมฐานแล้ว องค์หลวงปู่จึงออกวิเวกเข้าป่าเข้าดงข้ามป่าข้ามเขา เพื่อบำเพ็ญกรรมฐานมุ่งหวังทดสอบขันติธรรมไม่เหยียบย่ำอยู่กับที่ ออกปฏิบัติเพียงลำพัง เหมือนพระอริยสาวกทั้งหลายที่พ้นทุกข์ รอนแรมซอกซอนผ่านหมู่บ้านน้อยใหญ่ที่อาศัยอยู่ตามเทือกเขาภูพาน วนเวียนอยู่ในเขตจังหวัดสกลนคร จากนั้นออกเดินทางต่อไปยัง “ถ้ำพระเวส” อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ด้วยเห็นว่า “ถ้าเราจะไปเฝ้ากราบนมัสการและไปประพฤติปฏิบัติกับ ท่านพระอาจารย์มั่น เราต้องทดสอบตัวเราเองก่อนว่าจะได้อะไรหรือไม่ได้อะไร” ไปอยู่ได้เพียงเดือนเศษ เกิดล้มป่วยและอาการก็หนักปางตายด้วยไข้มาเลเรีย เมื่อมันขึ้นแต่ละที ฉันยาอะไรก็ไม่หาย จึงใช้สมาธิรักษาจึงได้ผล ไข้มันสู้สมาธิไม่ได้ แต่มันก็ไม่ถอย สู้กันอยู่กับไข้อย่างนั้นเป็นเวลา ๑ ปี ๑๑ เดือน
    เมื่อฤดูกาลเข้าพรรษาใกล้เข้ามา จึงลงจากถ้ำไปจำพรรษาอยู่ที่ “วัดบ้านนาแกน้อย” อำเภอนาแก จัดหวัดนครพนม โดยมีพระอาจารย์จันทร์(วัดหนองห่าง)เป็นหัวหน้าคณะ จนกระทั่งออกพรรษา จึงได้จาริกไปในเขตจังหวัดต่างๆ เช่น สกลนคร อุดรธานี เพื่อเดินตามรอยทางแห่งธรรมของพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    พรรษาที่ ๔ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๑
    จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าช้า(วัดโนนนิเวศน์) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
    ( สถานที่แห่งนี้ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้มาพักจำพรรษาเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๓-๒๔๘๔ ) เมื่อออกพรรษาแล้วจึงได้ออกเที่ยวธุดงค์ จนปลายปีพุทธศักราช ๒๔๙๑ ก็ได้ธุดงค์มายัง “ผาน้ำย้อย”หลวงปู่ศรี ท่านบอกว่า “ถิ่นนี้เป็นดงเสือ ใต้ถ้ำผาน้ำย้อยมีแต่ขี้เสือเต็มไปหมด บ้านโคกกลางมีเพียง ๑๕-๑๖ หลังคาเรือนไม่มีถนนต้องเดินเท้า ป่าภูเขาอยู่ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดก็มีแค่นี้หละ อยู่ที่อื่นก็ใช้ไม่ได้ ไม่ค่อยมีน้ำ” ที่ผาน้ำย้อยแห่งนี้หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้เกิดมีอุบายธรรมมากมาย
    พรรษาที่ ๕ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒
    จำพรรษาที่ วัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้เล่าประวัติของท่านว่า “เราได้ท่องเที่ยวไปวิเวกตามผา ตามป่า ตามเขาหลายลูกหลายหน่วย คงพอตัวแล้ว” ต้นปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ จึงตัดสินใจเดินทางจากภูเขาเขียว ดงมะอี่ จังหวัดร้อยเอ็ด ไปยังอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เพื่อเข้าไปกราบนมัสการฝากตัวเป็นศิษย์ใต้ร่มธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    เมื่อแรกเข้าไปถึงวัดหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม
    ท่านพระอาจารย์มั่นได้ถามว่า “เคยได้ไปอยู่ตามภูเขา ตามถ้ำ ตามป่าคนเดียวหรือยัง?” กราบเรียนตอบท่านว่า “เคยไปบ้างอยู่ครับ”
    “เคยไปเที่ยวกรรมฐานที่ไหนบ้างหล่ะ”ท่านถาม “เคยไปอยู่ภูนี้บ้างถ้ำนี้บ้าง ก็เคยไปอยู่บ้างแล้วครับ” กราบเรียนตอบท่าน
    “เอ้อ! ก็พอมีสติอยู่บ้างเน๊าะ!” ท่านพระอาจารย์มั่นพูดเสียงเน้นๆ กังวาน นัยน์ตาน่าเกรงขามเป็นที่ยิ่ง
    ส่วนทางเรา(หลวงปู่ศรี)นั้นแอบคิดในใจว่า “นี่ขนาดเราได้ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ อย่างกล้าหาญ นั่งสมาธิภาวนา เดินจงกรมตลอดคืนยันรุ่ง ไปอยู่คนเดียวเสือร้อง เฮ้ยๆ โฮกๆ อยู่ข้างๆ ก็ทำอยู่อย่างนั้นมาแล้ว จนสุดแรงเกิด แทบล้ม แทบตาย” แต่ท่านก็ยังว่า “พอมีสติอยู่บ้างเน๊าะ ถ้าอยู่คนเดียวได้จะต้องเป็นผู้มีสติดีนะ”
    แล้วท่านก็ให้โอวาทซ้ำท้ายว่า “ผู้ที่จะมาศึกษาธรรมกับเรา จะเป็นพระหรือโยมก็ตาม ขอให้เก็บหอกเก็บดาบเอาไว้ที่บ้าน ไม่ต้องนำติดตัวมาด้วย”ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่ศรี จึงตั้งความเพียรให้หนักหน่วงกว่าเดิมเป็นเท่าทวีคูณ และได้ตั้งสัจจะอธิฐานไว้ว่า “จะเร่งความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน”
    วัตรปฏิบัติต่อพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ในปีที่หลวงปู่ศรี มหาวีโรได้ไปอยู่ คือการจับเส้นถวายทุกวัน ตั้งแต่หัวค่ำจนถึงเวลา ๕ ทุ่ม ๖ ทุ่ม หรือตี ๑ ตี ๒ ถ้าท่านไม่บอกเลิกก็ไม่ต้องเลิก อยู่กับหมู่คณะมีหลวงปู่หล้า เขมปตฺโต พระอาจารย์วัน อุตฺตโม ฯ และมีหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน เป็นพระผู้ดูแลหมู่คณะในครั้งนั้น
    พระอาจารย์มั่นท่านให้ไปอยู่คนเดียวที่ “ถ้ำคำไฮ” เร่งความเพียรทั้งกลางวันกลางคืน มีบ้านเพียง ๔ หลังพอได้บิณฑบาต ฉันแล้วล้างบาตรเสร็จแล้วก็เดินจงกรมจนหมดแสงตะวันถึงเลิก เป็นช่วงเดือน ๕ อากาศและแดดจะร้อนมาก กลางคืนก็มานั่งภาวนาทั้งคืนจนถึงเช้า หลวงปู่ศรีท่านเล่าให้ฟังว่า “เราไปอยู่คนเดียว ไปถ้ำคำไฮเดือนหนึ่ง แต่ว่าเป็นไข้นะ ฉันจังหันไม่ได้ ไปบิณฑบาตก็มองไม่เห็นทาง มันวิงเวียน แต่ว่าก็นอนบ้าง เวลานอนมันก็ไม่ยอมนอนนะ นอนอยู่ผู้เดียว นอนกลางวันก็ตาม กลางคืนก็ตาม ผีมันก็เอาหัวแม่มือมาจับหัวแม่ตีนนี่ล่ะ กำแน่นๆแล้วก็กระตุกเลย ต้องบอกผีว่า “เอ้า! ให้นอนสักหน่อยก่อนนะ ให้นอนสักหน่อยก่อน มันกำลังเมื่อย” พอนอนเท่านั้น มันก็มากระตุกอยู่อีกอย่างนั้น หนักเข้าก็ไปเดินจงกรมอีก แต่ไม่กลัวนะ ไม่มีอะไรนะ มีแต่ฟากไม้ไผ่กว้างๆขนาดห้องนี้หละ กลางวันมันก็มาดึง คิดในใจว่า “เอ๋! พวกเจ้าให้ข้าภาวนาดีแท้น้อ”
    เดือน ๕ ท่านพระอาจารย์มั่นก็เริ่มป่วย จนกระทั่งเดือนอ้าย อาการของท่านพระอาจารย์มั่นก็หนักขึ้นเรื่อยๆ และวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. ท่านพระอาจารย์มั่นก็ดับขันธวิบากเข้าสูอนุปาทิเสสนิพพาน ณ วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    พรรษาที่ ๖ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๓
    จำพรรษาที่ วัดป่าหนองผักตบ ตำบลปลาไหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร (ปัจจุบันวัดป่าโนนตูม)
    หลวงปู่ศรีท่านธุดงค์ผ่านจากเทือกเขาภูพาน ออกเที่ยวปลีกวิเวกภาวนาไปทางอำเภอกุดบาก มุ่งหน้าไปทางอำเภอวาริชภูมิ บ้านหนองผักตบ ทราบข่าวว่าสถานที่แห่งนี้มีครูบาอาจารย์ศิษย์สายท่านพระอาจารย์มั่นมาเที่ยวจำพรรษา และผ่านมาพักจำพรรษาอยู่เสมอ จึงเข้าจำพรรษาที่หนองผักตบ มีพระจำพรรษา ๕ รูป ในพรรษานั้นหลวงปู่ศรีท่านป่วยด้วยโรคเหน็บชาอย่างรุนแรง เท้าทั้งสองข้างแทบจะไม่รู้สึกเจ็บปวด ใช้มือหยิกเนื้อขา เนื้อขาก็ไม่รู้สึกอะไรเลย หาหยูกยาอะไรก็ไม่มี หลวงปู่ศรีจึงคิดได้ว่า “เอายาที่ไหนมารักษามันก็คงไม่หาย เอายาที่เราหาอยู่ทุกวัน นั้นก็คือธรรมโอสถ”จากนั้นจึงตั้งสัจจะนั่งสมาธิ จะนั่งสมาธิรักษา จะกี่วัน กี่เดือน กี่ปี ก็ตาม ถ้าโรคไม่หายจะไม่ออกจากสมาธิ ถึงแม้ตายก็ตาม ก็ขอตายในท่านั่งสมาธิ น้ำไม่ดื่ม ข้าวไม่ฉัน ตั้งใจพิจารณาสังขารเพียงอย่างเดียว ทำสมาธิอย่างเดียวเท่านั้น ปฏิบัติแบบสละตายไม่อาลัยชีวิต เวลาผ่านไป ๓ วัน ในคืนที่ ๓ โรคร้ายได้หายขาด จึงได้ออกจากสมาธิ
    พรรษาที่ ๗ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๔
    จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม
    ปลายปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ - ๒๔๙๔ ได้ติดตามหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ธุดงค์ท่องเที่ยวกรรมฐานไปทางบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร และได้จำพรรษาอยู่ ๑ พรรษา ท่านพระอาจารย์มหาบัวเป็นที่พึ่งอันมั่นคงของพระเณร เหมือนอย่างที่ท่านพระอาจารย์มั่น สั่งไว้ก่อนปีที่ท่านจะนิพพานว่า “เมื่อเราตายให้หมู่เพื่อนพึ่งมหาบัว”
    ข้อปฏิบัติที่ท่านถือเคร่งในยุคนั้น คือ ปฏิบัติอย่างหยาบๆ ห้ามนอนก่อน ๔ ทุ่ม ถ้าใครนอนก่อน ๔ ทุ่ม ต้องตื่นขึ้นมาทำความเพียรก่อนตี ๔ ถ้าผิดจากนี้ ได้ตักเตือนถึง ๓ ครั้ง ถ้าทำไม่ได้ท่านพระอาจารย์มหาบัวจะไล่หนีจากวัดทันที ท่านตีและเข่นพระเณรให้พากเพียรเป็นอย่างมาก วันคืนที่ผ่านไปล้วนแต่ประกอบจิตภาวนาในอิริยาบถทั้ง ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน ประกอบความเพียรด้วยสติปัญญาตลอด
    บางปี พระเณรป่วยเป็นไข้มาเลเรียเกือบทั้งวัด คงเหลือแต่ท่านอาจารย์มหาบัวกับพระอีกไม่กี่รูป ท่านอาจารย์มหาบัวก็เป็นผู้ปัดกวาดลานวัดเอง ตักน้ำ ขัดถูศาลาเอง หลวงปู่ศรีท่านอยู่ที่ห้วยทรายก็ป่วยเป็นไข้มาเลเรียอย่างหนัก และแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ถึงกับผมร่วง เป็นเวลา ๒๒ เดือน หลวงปู่ศรีท่านจึงคิดว่า “ทำยังไงถึงจะหายไข้” จึงถามสามเณรว่า “เณรน้อย อะไรหนอ มันผิดไข้มาเลเรีย(เป็นของแสลงกัน)” สามเณรจึงตอบว่า“มะพร้าวครับ” เหมือนดั่งผีหรือเทวดาฟ้าดินกลั่นแกล้ง วันหนึ่งชาวบ้านได้นำมะพร้าวมาถวายพระที่วัด แบ่งกันได้องค์ละ ๒ ลูก หลวงปู่ศรีท่านคิดว่า “วันนี้ละจะได้รู้กัน เราเป็นไข้ป่ามันทรมานมานานวัน ถ้าฉันมะพร้าวแล้วจะผิดสำแดงเราจะฉันเพื่อให้ผิดสำแดง” มะพร้าวทั้ง ๒ ลูกนั้นหลวงปู่ศรีท่านฉันจนหมดเกลี้ยง พอฉันเข้าไปเท่านั้นแหละ ท่านก็หน้ามืดอย่างแรง ตัวสั่นเทิ้ม ชักกระตุกล้มลงทันที สลบไสลไปเป็นเวลา ๓ วันสามคืน หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร (ท่านเป็นหมอยาสมุนไพรเก่า) เห็นอาการหลวงปู่ศรีท่านน่าเป็นห่วง หลวงปู่มหาบุญมีท่านจึงเอาช้อนงัดปากให้อ้าขึ้น แล้วกรอกยาลงไป ไข้มาเลเรียไม่นานก็หายขาดอย่างเหลือเชื่อ
    ต่อจากนั้นหลวงปู่ศรีท่านก็ ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัติธรรมทั้งวันทั้งคืน ท่านได้ตั้งสัจจะไว้ว่า “ถ้านกแซงแซวยังไม่ร้องก็จะไม่ลุกจากอาสนะ และไม่ต้องเปลี่ยนอิริยาบถ ห้ามมิให้เปลี่ยนโดยเด็ดขาด นั่งอยู่ท่าใดก็ให้นั่งท่านั้น” หลวงปู่ศรีท่านปฏิบัติอย่างเข้มงวดอยู่ตลอด ๒๒ คืน คือจากตะวันตกดินจนรุ่งอรุณเป็นวันใหม่ ในด้านอุบายธรรมต่างๆ พระอาจารย์มาหาบัวท่านเป็นผู้แนะนำพร่ำสอน หลังจากออกพรรษา ออกเดินธุดงค์บุกป่าฝ่าดงใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่า“ดงมะอี่” พร้อมพระอีก ๒ - ๓ รูป ผ่านเทือกเขาเตี้ยๆสลับซับซ้อนเป็นเขตแดนรอยต่อ ๓ จังหวัด ระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด หรือที่ปัจจุบันเรียกว่า “เขาผาน้ำย้อย” อยู่เป็นเวลานานพอสมควรจึงแยกทางกัน ส่วนหลวงปู่ได้เดินทางไปกราบคารวะหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ด และได้อุปัฏฐากท่าน
    พรรษาที่ ๘ ปีพุทธศักราช ๒๕๙๕
    จำพรรษาที่ วัดป่าหนองแซง ตำบลหนองบัวบาน อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
    ขณะที่หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ กับหลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้พำนักอยู่ที่วัดป่าศรีไพรวัลย์ จังหวัดร้อยเอ็ดได้ระยะหนึ่ง ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ปรารถนาจะสร้าง วัดกรรมฐาน ที่บ้านหนองแซง จังหวัดอุดรธานี จึงได้มานิมนต์หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ กับหลวงปู่ศรี มหาวีโร เมื่อท่านทั้งสองรับนิมนต์แล้ว จึงพาคณะธุดงค์จาริกจากวัดป่าศรีไพวัลย์ ผ่านดงมูล ผ่านมาทางท่าคันโฑ มุ่งสู่เมืองกุมภวาปี เข้าสู่ตัวจังหวัดอุดรธานี เข้ากราบนมัสการท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ก่อนแล้วจึง เดินทางไปยังป่าบ้านหนองแซง เพื่อจำพรรษาอยู่ที่วัดป่า หนองแซง สมัยนั้นจะเป็นกุฏิเล็กๆห้องเดียว มีพระเณรอยู่ประมาณ ๔-๕ รูป มีหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เป็นหัวหน้า หลวงปู่ศรี มหาวีโร หลวงปู่พุทธา หลวงปู่แสง และสามเณรสมร ที่นี่เองหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณได้กล่าวทำนายไว้ว่า “ท่านศรีหนีจากร้อยเอ็ดบ่ได้ดอก ต้องอยู่ที่ร้อยเอ็ดจนตาย”
    พรรษาที่ ๙ - ๑๑ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๖ - ๒๔๙๘
    จำพรรษาที่วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุงเก่า) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
    ปฐมเหตุแห่งวัดป่ากุง... ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ หลวงปู่ศรีท่านได้เดินธุดงค์ผ่านจังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร ผ่านจังหวัดร้อยเอ็ดไปอำเภอวาปีปทุมซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดมหาสารคาม เจตนาอย่างหนึ่งของหลวงปู่ศรีที่เดินธุดงค์มายังแผ่นดินเกิดก็เพื่อ เยี่ยมเยียนสนทนาธรรมกับพระหลวงพ่ออ่อนศรี กิจฺจญาโณ ซึ่งเป็นบิดา เพื่อสนองคุณบิดาด้วยอรรถและธรรม ณ วัดป่าบ้านขามป้อม หลวงปู่ศรีท่านจึงปักกลดพักอยู่ที่วัดป่าขามป้อม กับพระหลวงพ่ออ่อนศรี กิจฺจญาโณ หลังจากนั้นจึงดำริเดินธุดงค์กลับร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม เพื่อกราบคารวะพระธาตุพนม
    ในขณะที่ท่านเที่ยววิเวกผ่านมาทางบ้านหนองแดง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ปักกลดพักในบริเวณป่า เมื่อชาวบ้านและหมู่บ้านใกล้เคียงทราบข่าว จึงได้นิมนต์หลวงปู่ให้พักที่ป่ากุงร้าง อันเป็นที่วัดร้างเก่าแก่ มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๑๓ หลวงปู่รับนิมนต์และได้อยู่จำพรรษา จึงทำให้ไม่ได้ธุดงค์ต่อตามที่ได้ดำริไว้ พ่อใหญ่ชาลี มงคลสีลา คนบ้านป่ากุง ได้ถวายที่ดินเพิ่มให้แก่วัดจำนวน ๑๐๐ ไร่ จากเดิมมีเนื้อที่เพียง๔-๕ ไร่
    ปลายปี ๒๔๙๘ ท่านได้ออกเที่ยวธุดงค์ไปที่ ภูมะค่า เขารางตะเข้ เขาจอมทอง อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา เมื่อท่านเดินทางไปถึงเขาจอมทอง ชาวบ้านต่างเตือนว่าไม่อยากให้ท่านขึ้นไปอยู่ถ้ำบนเขา เพราะว่ามีพระขึ้นไปตายมาหลายรูปแล้ว ถึงไม่ตายก็ไม่วายเป็นบ้าลงมา หลวงปู่ศรีท่านเล่าว่า ที่เขาจอมทองนี้เคยมีพระอรหันต์มามรณะภาพอยู่ถึง ๔ องค์ สถานที่แห่งนี้ใครได้มาอยู่มาปฏิบัติ ถ้าตั้งใจดีมีโอกาสที่จะเห็นธรรม ในถ้ำนั้นมีเจ้าที่เป็นงูใหญ่ ทุกๆ ๓ ปีงูตัวนี้จะออกจากถ้ำทีหนึ่งเพื่อมาเล่นน้ำ เวลาเล่นน้ำมันจะเอาหางพันต้นไม้แล้วเอาหัวหย่อนลงในน้ำ หลังจากท่านพักอยู่ที่เขาจอมทองเป็นเวลาพอสมควร ท่านจึงเดินธุดงค์กลับวัดป่ากุง
    พรรษาที่ ๑๒ ปีพุทธศักราช ๒๔๙๙
    จำพรรษาที่ วัดป่ามหาวีระอุทการาม(วัดหนองใต้) ตำบลขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
    เมื่อต้องเดินทางไปยังอำเภอวาปีปทุม จัดหวัดมหาสารคาม เพื่อสนองคุณบิดาด้วยอรรถและธรรม ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเดินทางอยู่บ้าง อีกทั้งท่านเองก็ต้องการหลีกจากผู้คนที่ศรัทธา ที่มาจากจังหวัดร้อยเอ็ด ที่นานวันยิ่งเพิ่มมากขึ้นทุกที ไม่เป็นการสะดวกในการปฏิบัติภาวนา ท่านทราบว่าที่บ้านหนองใต้มีป่าพอเป็นที่อาศัยปฏิบัติสมณะธรรม จึงได้ไปยังป่าที่บ้านหนองใต้ อาศัยปฏิบัติสมณะธรรมและได้จำพรรษาอยู่ที่ป่าหนองใต้ ๑ พรรษา คณะศรัทธาและหลวงปู่ได้ตั้งวัดขึ้นครั้งแรกในที่ แห่งนี้ มีเนื้อที่ประมาณ ๑๕ ไร่
    พรรษาที่ ๑๓ - ๑๗ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ - ๒๕๐๔
    จำพรรษาที่ วัดสามัคคีธรรม บ้านขามเฒ่า อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ออกเที่ยวธุดงค์กรรมฐานจากจังหวัดมหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร นครพนม เข้ากราบพระธาตุพนม แล้วออกเที่ยววิเวกผ่านมาพักอยู่ที่บ้านนาโดน กำนันพรหมา รังษี ชาวบ้านขามเฒ่าได้ทราบข่าวของหลวงปู่ศรี มหาวีโร จึงได้รีบมานิมนต์หลวงปู่ศรีมาโปรดชาวบ้านขามเฒ่า พร้อมทั้งกำนันพรหมา รังษี ได้มอบเสนาสนะป่าอยู่ติดกับป่าช้า เนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ ไร่ ซึ่งกำนันพรหมาได้จับจองไว้สร้างเป็นวัด และปวารณาเป็นอุบาสกอุปัฏฐากหลวงปู่ศรี มหาวีโร ตลอดชีวิต แม้ตายสมบัติทั้งหมดก็ยกถวายให้หลวงปู่ศรีทั้งหมด ในที่นี้หลวงปู่ศรีได้สร้างศาลาใหญ่ให้เป็นศาลาปฏิบัติธรรม และบอกชาวบ้านช่วยกันปลูกขยายป่าเพิ่มเติม
    ในฤดูแล้งปี พ.ศ. ๒๕๐๔ จากเสนาสนะป่าช้าบ้านขามเฒ่า จังหวัดนครพนม มายังวัดป่ากุง จังหวัดร้อยเอ็ด มีหลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นหัวหน้า พระอาจารย์อินทร์ พระอาจารย์เสาร์ สามเณรอุดร ประจักโกศรี และผ้าขาวกอง เป็นคณะติดตาม ออกเดินทางมาบ้านคำพอก ผ่านไปทางอำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร เดินผ่านทางบ้านด่านสาวดอย เข้าวัดบ้านน้ำกล่ำธาตุพนม ผ่านไปยังภูเขาหลังภูพาน มาจังหวัดกาฬสินธุ์ ข้ามป่าข้ามเขามาถึงเขื่อนลำปาว เข้าพักบ้านผักกาดหย่า จังหวัดกาฬสินธุ์ จากนั้นก็ไปบ้านนาขาม ดงแม่เผด เข้าเขตอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด ธุดงค์ผ่านบ้านคำผอุง ออกไปอำเภอกมลาไสย มาข้ามแม่น้ำชีที่กมลาไสย ไปเมยวดี แล้วถึงมาวัดป่ากุง
    พรรษาที่ ๑๘ - ๑๙ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ - ๒๕๐๖
    จำพรรษาที่ วัดป่าศรีสมพร(หัวดง) บ้านน้อยหนองเค็ม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
    เมื่อออกพรรษาปี ๒๕๐๖ ที่วัดป่าศรีสมพร(หัวดง)แล้ว หลวงปู่ศรีท่านได้ดำริว่า “เราปรารถนาจะปลีกวิเวกตามสมณวิสัย เพื่อห่างไกลผู้คนและญาติโยม เนื่องจากได้สร้างวัดวาอารามหลายที่หลายแห่ง เป็นภาระหนักอยู่ไม่สร่าง จนกระทั่งจิตเข้าได้บ้างไม่ได้บ้าง เสื่อมถอยลงอย่างเห็นได้ชัด ใจที่เคยมีความสุขอันเลิศเลอ เคยกระหยิ่มยิ้มย่องด้วยธรรมอันเบ่งบานข้างใน มาบัดนี้ได้เกิดความเสื่อมถอย คุณภาพจิตได้รับความทุกข์อยู่เต็มหัวใจเหมือนคนมีสมบัติเป็นร้อยล้านพันล้าน แล้วสมบัตินั้นก็พลันมาฉิบหายมลายไปต่อหน้าต่อตา กลายเป็นยากจกทุคตะเข็ญใจในทันใด บุคคลนั้นจะตั้งตัวรับและยืนหยัดได้อย่างไร ยิ่งธรรมสมบัติคือ สมาธิที่เคยได้ลิ้มรสอันเลิศค่าด้วยแล้ว มาบัดนี้เสื่อมถอยไปต่อหน้าต่อตา เสื่อมเพราะความไม่ถนอมรักษา ตายใจว่านี้เป็นธรรมสมบัติอันจีรังมั่นคง จะสร้างความสุขให้เราได้ตลอดอนันตกาล แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะจิตในขั้นนี้ ยังมิใช่วิมุตติจิต ถึงแม้ว่าจะเร่งปฏิบัติสมาธิภาวนาสักเท่าใดเพื่อให้สมาธิธรรมนั้นกลับคืนมา ก็หาได้อย่างเดิมไม่ จิตเคยคล่องแคล่วปราดเปรียวเหมือนพญาเสือโคร่งตัวฉลาด ที่ล่าเหยื่อคือกิเลสได้ทันท่วงที มาบัดนี้เหมือนแมวเชื่องตัวน้อยๆ” จึงออกเดินธุดงค์ออกจากนครพนมมุ่งหน้าไปยังอำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร พักที่ถ้ำตางด ถ้ำพระ ถ้ำพระเวส เดินทางต่อจากอำเภอนาแก จังหวัดสกลนคร จนถึงวัดป่าหนองแซง หนองวัวซอ อุดรธานี สถานที่อยู่ของหลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ เพื่อให้หลวงปู่บัวท่านแก้จิตเสื่อมให้ หลวงปู่บัวเป็นพระที่หลวงปู่ศรีท่านให้ความเคารพยิ่ง
    หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณท่านให้อุบายธรรมต่างๆ หลวงปู่ศรีท่านจึงนำไปปฏิบัติแบบไม่ไยดีในชีวิต ทุ่มเทกำลังสติปัญญาที่มีทั้งหมด ใช้ความเพียรกล้าที่สุด ตอนท้ายหลวงปู่บัวได้ให้อุบายธรรมแก่หลวงปู่ศรี ให้ท่าน นั่งสมาธิเพียงอย่างเดียว ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสิ่งใด ถ้าจะเดินจงกรม ก็เดินเพื่อพักผ่อนอิริยาบถก็เพียงพอ เมื่อรับฟังโอวาทจากหลวงปู่บัวแล้ว หลวงปู่ศรีท่านจึงตั้งสัจจะว่า “ถ้าจิตยังไม่บรรลุธรรมที่พึงประสงค์จะไม่ยอมลุกไปจากที่ เราจะยอมตายถวายชีวิตด้วยสัจจะบารมี”
    หลวงปู่ศรีท่านปฏิบัติคล้ายที่เคยทำมา แต่หนักหน่วงกว่าเดิม โดยนั่งสมาธิอยู่ ๕ วัน ๖ คืน ครบ ๑๒ ชั่วโมงจึงเปลี่ยนอิริยาบถครั้งหนึ่ง คือขยับยกขาขึ้นแล้วเอาลงเท่านั้น มีกาเล็กๆใส่น้ำเอาไว้จิบพอชุ่มคอ เรื่องกลางวันกลางคืน เรื่องหลับนอนไม่ได้สนใจ อาศัยขันติคือความอดทน นั่งพิจารณาคลี่คลายสังขารส่วนต่างๆ จะตายก็ยอมตาย ไม่เสียดายอาลัยในชีวิตซึ่งเป็นสิ่งสมมุติ ในที่สุดมายุติตรงที่ว่าอวิชชาดับ เกิดญาณหยั่งทราบแน่ชัด จิตหมดการก่อกำเนิดในภพต่างๆอย่างประจักษ์ใจ โลกธาตุหวั่นไหว ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ ต่างอันต่างเป็นอิสระ อินทรีย์ ๕ อายตนะ ๖ ทำงานตามหน้าที่ของตน ไม่กระทบกระเทือนให้เป็นทุกข์เหมือนดังแต่ก่อน ดับทุกข์ที่เผาลนจิตใจมาช้านานโดยประการทั้งปวง เหลือแต่ดวงจิตบริสุทธิ์ล้วนๆ สนามเต้นรำทำเพลงและเวทีของกิเลสไม่มีอีกแล้ว การทะเลาะบาดหมาง ลังเลสงสัย สับสนวุ่นวายในดีและชั่วจบลงแล้ว จิตว่างเปล่าจากกิเลสและการยึดติด เหลือแต่ธรรมธาตุรู้ล้วนๆ เพราะคำว่าทุกข์ ได้พ้นไปจากใจโดยสิ้นเชิง อัศจรรย์พระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงสามารถรู้เห็นได้ก่อน อัศจรรย์พระอริยสาวกผู้สามารถตามเสด็จพระพุทธเจ้าได้ อัศจรรย์ธรรมที่ตนเองรู้เห็นถึงความเป็นอัตตมโนภิกขุ คือ ภิกษุผู้มีใจเป็นของตน ไม่ต้องแสวงหาที่พึ่งอาศัยอะไรอีกต่อไป
    เมื่อหลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้ประพฤติปฏิบัติสำเร็จถึงอุดมธรรมตามความประสงค์ของท่านแล้ว หลวงปู่ศรีท่านก็ได้ออกธุดงค์อีกครั้งพร้อมศิษย์ติดตามอีก ๒ รูป คือพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ และ หลวงพ่อพุทธา มุ่งสู่ภูเก้า-ภูพานคำ ในระหว่างธุดงค์ผ่านบ้านดงบาก หลวงพ่อพุทธา ขอลากลับ หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านจึงไปกับพระติดตามเพียงรูปเดียว คือพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ ผ่านบ้านดงบาก แล้วเดินต่อไปยังบ้านวังมนต์ ตำบลโคกม่วง อำเภอโนนสังข์ จังหวัดหนองบัวลำภู ท่านและศิษย์ได้หยุดพักปฏิบัติที่ถ้ำจันใด และต่อไปยังถ้ำหามต่าง พักอยู่ที่ ภูเก้านี้เป็นเวลา ๒ เดือนกว่า
    ย่างเข้าฤดูฝน ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ได้ลงจากภูเก้า มาอำเภอโนนสังข์ ผ่านอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ใช้เวลา ไม่กี่วันก็ทะลุถึงเทือกเขาภูเวียง เดินต่อไปยังวัดป่าภูเวียง อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เข้ากราบคารวะและพักอยู่กับ ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต ศิษย์รุ่นใหญ่ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์จันทร์ เขมปตฺโต แนะนำว่า “ให้พวกท่านขึ้นไปถ้ำกวาง ถ้ำพระ ซึ่งเป็นสถานที่สงบสงัด สัปปายะ เพราะผมเคยไปอยู่วิเวกภาวนาจำพรรษามาแล้วในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ทุกอย่างดีหมด เสียอย่างเดียวที่ ผี ดุมาก”
    ได้ฟังดังนั้น หลวงปู่ศรีท่านจึงเดินทางต่อไปยัง บ้านโนนสวรรค์ บ้านหินล่อง ขึ้นไปพักถ้ำพระ ถ้ำกวาง เชิงเขาภูเวียง หลวงปู่ศรีได้นำพาสานุศิษย์ปฏิบัติธรรมอยู่ที่แห่งนี้เป็นเวลากว่าแรมเดือน ได้เกิดนิมิตเห็นว่าแม่ยาย (แม่ใหญ่หล้า แสนยะมูล โยมอุปัฏฐากวัดป่ากุง เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ รวมอายุ ๙๒ ปี) ของท่านป่วย ท่านจึงได้ออกเดินทางกลับวัดป่ากุงเมื่อเดินทางกลับมาถึงก็ได้ทราบว่าแม่ยายท่านป่วยหนัก จึงรีบไปเยี่ยมและเทศน์โปรด อีกต่อมาไม่นานนักแม่ยายของท่านก็หายจากอาการป่วยนั้น
    พรรษาที่ ๒๐ - ๔๒ ปีพุทธศักราช ๒๕๐๗ - ๒๕๓๐
    จำพรรษาที่ วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
    นับเป็นเวลาถึง ๘ ปี ที่หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านได้ออกธุดงค์เที่ยววิเวกภาวนาและจำพรรษาในถิ่นอื่น การย้อนกลับมาสู่ถิ่นเดิมของท่าน ช่างเป็นความจริงอย่างกับที่หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ ได้บอกไว้ว่า “ท่านศรี ท่านจะหนีจากเมืองร้อยเอ็ดไปไหนไม่ได้ดอก” ก็เป็นความจริงจนถึงทุกวันนี้เมื่อท่านกลับมาอยู่ได้ไม่นานนัก ทายกทายิกาประชาชนเห็นพ้องต้องกันจะบูรณะปรับปรุงวัดป่ากุงแห่งนี้ ให้เป็นวัดวาอารามสมบูรณ์ถาวรมั่นคงสืบไป จึงได้ดำเนินการขออนุญาตทางราชการจัดตั้งเป็นวัดขึ้น โดยให้ชื่อตามความหมายที่ประชาชนร่วมกันสร้างว่า “วัดประชาคมวนาราม” (ป่ากุง) ในสังกัดคณะธรรมยุตติกนิกาย ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๘ โดยมีหลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นเจ้าอาวาสปกครองและบูรณปฏิสังขรณ์ให้เจริญรุ่งเรือง เขตวัดได้เพิ่มเป็น ๓๓๘ ไร่ ๘๒.๗ ตารางวา (พ.ศ. ๒๕๕๑)
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ ทรัพยากรป่าไม้บนเทือกเขาเขียวกำลังถูกทำลายเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ น.อ.ประสิทธิ์ ทองใบใหญ่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ดในสมัยนั้น จึงได้ไปกราบนิมนต์หลวงปู่ศรี มหาวีโร เพื่อขอให้ท่านพิจารณาตั้งวัดเป็นถาวรขึ้นบริเวณเขาผาน้ำย้อยเพื่อจะได้ใช้สถานที่ปฏิบัติธรรม และอบรมสั่งสอนศีลธรรมให้กับประชาชน เมื่อท่านหลวงปู่ศรี มหาวีโรพิจารณาเหตุผลแล้ว จึงได้จัดตั้งเป็นวัดโดยถาวรใช้ชื่อว่า “วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม(ผาน้ำย้อย)” ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านโคกกลาง ต.โคกสว่าง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด ติดถนนสายหนองพอก-เลิงนกทา เริ่มแรกเนื้อที่ดูแลของวัดมีเนื้อที่ประมาณ ๕๐,๐๐๐ ไร่(ภายหลังเพิ่มเป็น ๑๓๐,๐๐๐ ไร่) และได้บูรณะป่าให้สมบูรณ์ยิ่งๆขึ้น
    เมื่อวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ หลวงปู่ศรี มหาวีโรท่านได้ปรารภกับที่ประชุมคณะศิษยานุศิษย์ว่า “ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จากประเทศศรีลังกาเป็นกรณีพิเศษ และมาพิจารณาเห็นว่าครูบาอาจารย์สายอีสานมีผู้มีความรู้ระดับนักปราชญ์ และปฏิบัติชอบระดับสัมมาปฏิบัติ ได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติและพระศาสนาเป็นจำนวนมาก สมควรสร้างถาวรวัตถุสำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฏฐิธาตุ รูปเหมือนของครูบาอาจารย์เหล่านั้น เพื่อเป็นศูนย์กลางให้แก่ผู้ที่ต้องการมาศึกษา สักการะบูชา และเห็นว่าสมควรสร้างที่วัดผาน้ำย้อย” ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๐ หลวงปู่ศรีท่านได้ประชุมคณะกรรมการก่อสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคล โดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จประญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานฝ่ายบรรพชิต และพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาการผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นประธานกรรมการก่อสร้างเจดีย์
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘
    วันที่ ๑๗ พฤษจิกายน พ.ศ.๒๕๑๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐินต้น ณ.วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ต่อชาวอำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด ยิ่งนัก..ประชาชนต่างปิติยินดี ที่มีโอกาสได้เฝ้ารับเสด็จ..


    พรรษาที่ ๔๓ พุทธศักราช ๒๕๓๑
    จำพรรษาที่ เสนาสนะป่าบนหลังเขาเมืองปุณจะ ประเทศอินโดนีเซีย
    ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ท่านปรารภว่า “อยากจะหาที่เหมาะสมไปพักผ่อน เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยทรมานกายตั้งแต่ออกสงเคราะห์โลก อยากจะชำระธาตุขันธ์ที่หมักหมมด้วยการงานมาหลายปี” ประกอบกับในขณะนั้นมีคณะศิษย์ที่อยู่ในต่างประเทศ นิมนต์ท่านไว้หลายแห่ง คณะศิษย์จึงกราบนิมนต์ท่านไปจำพรรษาที่ไร่ชา เมืองปุณจะ ประเทศอินโดนีเซีย ภายในเนื้อที่ ๑,๐๐๐ ไร่ เจ้าของไร่ชาคือคุณยูริ ยันติ ได้จัดที่พักบนหลังเขา และสร้างกุฏิบนต้นไม้ใหญ่ขนาดหลายคนโอบ อากาศสัปปายะ ป่าอุดมสมบูรณ์ ท่านได้ปฏิบัติสมณธรรมตามสมณวิสัย เดินจงกรม นั่งสมาธิไม่ได้ขาด เมื่อท่านได้ไปเยี่ยมพระเจดีย์บูโรพุทโธศาสนสถาน ที่สร้างด้วยหินขนาดใหญ่ ใช้ระเบิดทำลายก็ ไม่พังไปได้หมด และมีความศักดิ์สิทธิ์มาก หลวงปู่ศรีท่านจึงได้ปรารภว่า “ถ้ามีโอกาสจะสร้างพระเจดีย์ที่ยิ่งใหญ่อย่างนี้บ้าง เพราะเป็นเครื่อง หมายแสดงถึง ความถาวรมั่นคงของพระพุทธศาสนา ใครพังทำลาย ไม่ได้ง่ายๆ สร้างเล็กๆน้อยๆเดี๋ยวคนเขาก็ทำลายได้ง่ายๆ ดูอย่างพระเจดีย์บูโรพุทโธยังคงงามสง่า ประกาศศักดาของความศรัทธา ในพระพุทธ ศาสนาของชาวอินโด เป็นประวัติศาสตร์ของโลก” ออกพรรษาแล้ว ธาตุขันธ์ที่เคยหมักหมมเมื่อยล้ามานานขององค์หลวงปู่ กลับกระปรี้กระเปร่าผ่องใสงดงาม ท่านปรารภว่า “เอาล่ะ สบายแล้วคราวนี้ จะไปไหนก็ไป ” หลังจากนั้นท่านและคณะศิษย์ที่ติดตามจึงเดินทางกลับประเทศไทย
    พรรษาที่ ๔๔ - ๖๑ ปีพุทธศักราช ๒๕๓๒ - ๒๕๕๑
    จำพรรษาที่วัดประชาคมวนาราม(วัดป่ากุง) บ้านศรีสมเด็จ ตำบลศรีสมเด็จ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
    ¨ องค์หลวงปู่ใหญ่หลวงปู่ศรี มหาวีโร ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศ ดังนี้คือ วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๒๘ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ “พระอุดมสังวรวิสุทธิเถระ”วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๕ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ “พระราชสังวรอุดม” วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ “พระเทพวิสุทธิมงคล” นอกจากนี้ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๖ ได้รับ “ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขา พุทธศาสตร์” จากมหามกุฎราชวิทยาลัย โดยสมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร เป็นผู้นำมาประทานมอบให้
    ¨ วันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๔๐ คณะศิษยานุศิษย์ได้เริ่มการก่อสร้างกำแพงหินรอบองค์พระมหาเจดีย์ชัยมงคล ตัวกำแพงมีความสูง ๕ เมตร กว้าง ๔ เมตร สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่อด้วยอิฐหินลูกรังผสมซีเมนต์ ยาว ๓,๕๐๐ เมตร และมอบถวายบูชาคุณองค์หลวงปู่ ในวันที่ ๓พฤษภาคม ๒๕๔๖ ฉลองสิริอายุ ๘๖ ปี เป็นกำแพงแห่งศรัทธาที่ศิษยานุศิษย์มีต่อองค์ท่าน ภายในกำแพงเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม นั่งสมาธิ เดินจงกรม
    เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๔๗ ได้เริ่มดำเนินการการก่อสร้างเจดีย์หิน ณ วัดประชาคมวนาราม(ป่ากุง) ถวายเป็นการบูชาคุณพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่ศรี มหาวีโร จำลองแบบมาจาก เจดีย์บูโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย มีความสูง ๑๙ เมตร กว้างยาว ๔๐ เมตร มีทั้งหมด ๕ ชั้น โดยมีพระอาจารย์ทองอินทร์ กตปุญฺโญ พร้อมด้วยคณะสงฆ์วัดสาขาตลอดจนคณะ ศิษยานุศิษย์ ดำเนินการแล้วเสร็จถวายแด่องค์หลวงปู่ศรี มหาวีโร เนื่องในวาระฉลองอายุ ๙๐ ปี พรรษาที่ ๖๐ วันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙
    บรรณานุกรม
    คณะศิษยานุศิษย์. หนังสือสวดมนต์ ระเบียบและข้อวัตรปฏิบัติ วัดประชาคมวนาราม
    (ป่ากุง) และวัดสาขา. กรุงเทพฯ : นำทองการพิมพ์, ๒๕๕๑.
    ขออนุญาตินำประวัติมาเผยแพร่..กราบขอขมาพ่อแม่ครูบาอาจารย์องค์หลวงปู่ศรี..หากลูกหลานล่วงเกินด้วยกาย วาจา ใจ กราบขอขมาองค์หลวงปู่ศรี ขอท่านได้โปรดอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าด้วย...จากใจจริง หนุ่ม อุดมสมพร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2013
  16. ดินระเบิด

    ดินระเบิด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,087
    ค่าพลัง:
    +8,702
    ยินดีกับผู้ได้รับรางวัล และ อนุโมทนาบุญกับผู้ให้ด้วยครับ
     
  17. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    [​IMG]
    เรื่องเล่าประสบการณ์
    เรื่องการสร้างพระมหาเจดีย์ชัยมงคลที่ผาน้ำย้อย(ปัจจุบันชื่อผาน้ำทิพย์) อ.หนองพอก ก็เช่นกันมีความเข้าใจผิดๆมากมายว่าหลวงปู่ท่านได้รับเงินงบประมาณจากรัฐบ้าง จากในวังบ้าง ซึ่งการก่อสร้างพระมหาเจดีย์และสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายในบริเวณเกิดจากคณะศิษย์โดยเฉพาะท่านหนึ่ง(ขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อในที่นี้เพราะยังไม่ได้แจ้งให้ท่านทราบก่อน)ที่เป็นกำลังหลักในการสร้างพระมหาเจดีย์ (เดิมหลวงปู่ตั้งงบไว้ประมาณ 130 ล้าน แต่คณะศิษญ์ได้กราบหลวงปู่ว่า "ให้พ่อแม่ฯเห็นชอบแบบเรื่องงบประมาณไม่ต้องคำนึงถึง" จากนั้นจึงได้มีการออกแบบใหม่และนำมาให้หลวงปู่พิจารณา(จะทำอะไรต้องนำมาขอให้องค์หลวงปู่ท่านพิจารณาก่อนไม่มีใครกล้าทำอะไรโดยพละการณ์) จนเป็นแบบที่เป็นอยู่ปัจจุบัน งบประมาณเฉพาะเจดีย์ได้ยินจากหลวงปู่ว่าถึง 3,500 ล้านบาท วิหารคต 109 ล้าน กำแพง(คล้ายกำแพงเมืองจีนยาว 3.5 กม.)รอบบริเวณเป็นแรงงานพระเณรและญาติโยม ส่วนพื้นที่ป่ารอบบริเวณได้รับการถวายให้อยู่ในความดูแลของหลวงปู่หลายครั้ง ครั้งแรกประมาณ 30,000 ไร่ จากป่าไม้ และทหารได้ถวายพื้นที่เพิ่มอีกประมาณ 30,000 ไร่ และในปี 2547และ2548 พระบาทสมเด็จพระบรมราชินีนาทเสด็จพร้อมสมเด็จพระบรมโอรสสาธิราช พระองค์เห็นสภาพป่าที่อยู่ในความดูแลขององค์หลวงปู่ ทรงประทับใจยิ่งจึงรับสั่งให้ป่าไม้สำรวจพื้นที่ป่าที่เหลือแล้วทำการถวายให้อยู่ในความดูแลของหลวงปู่อีกประมาณ 70,000 ไร่ รวมพื้นที่ทั้งหมดที่ได้รับการถวายมาทั้งหมด 130,000 ไร่ หลวงปู่ได้ปรารภว่าให้สร้างกำแพงคอนกรีตสูง 4 เมตร แต่ละช่องห่าง 2 เมตร ล้อมรอบป่าทั้งหมดความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 130 กม.(กำลังก่อสร้างอยู่) ใครที่เคยไปพระมหาเจดีย์ชัยมงคล ลองสังเกตุดูนะครับจะเห็นแนวกำแพงโอบรอบแนวป่า รอบในกำแพงจะทำถนนเลียบกำแพง และจะมีสำนักสงฆ์อยู่ตามแนวกำแพงตลอดแนวเพื่อดูแลป่า พระมหาเจดีย์หลวงปู่สร้างขึ้นเพราะเหตุที่ท่านได้รับการถวายพระบรมสารีริกธาตุมาสององค์จากสมเด็จพระสังฆราชจากประเทศศรีลังกา ครั้งที่องค์หลวงปู่เดินทางไปประเทศศรีลังกาและได้เข้าไปสนทนาธรรมกับพระสังฆราช(หลวงปู่เล่าว่าศรีลังกามีสังฆราชถึง 4 องค์ครับ) ด้วยการสนทนาธรรมครั้งนั้นสร้างความประทับใจให้สมเด็จสังราชเป็นอย่างมาก พระองค์จึงถวายพระบรมสารีริกธาตุมาให้ถึง 2 องค์ องค์หนึ่งเป็นข้อพระดัชนี(นิ้วชี้)ข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า อีกองค์หนึ่งเป็นพระทน(ฟันกราม)ของพระพุทธเจ้า ในหนังสือประวัติของหลวงปู่ศรี
    ในหลายๆเหตุการมีพวกที่มาก่อกวนหลวงปู่หรือมาตู่หลวงปู่ว่าเป็นคอมมิวนิสบ้าง ปลุกระดมชาวบ้านมาไล่หลวงปู่บ้าง แอบมาขว้างระเบิดใส่ศาลาบ้าง ระดมคนมาขวางการสร้างกำแพงบ้าง ไม่มีใครจบสวยสักรายเลยครับบางรายแค่ 6 เดือน บางรายก็ 2 ปี ป่วยตายบ้าง เกิดอุบัติเหตุบ้าง ส่วนตัวผมเชื่อเสมอว่าใครทำอะไรไว้ด้วยความไม่สุจจริตต่อองค์หลวงปู่ หรือกระทำการโดยคำนึงถึงแต่ผลประโยชน์ตัวเองสักวันคงจะประจักษ์กับตัวเอง และจะมาสำนึกภายหลังก็คงสายไป....
    เรื่องประเภทที่มาแบบมีเจตนาแฝงเนี่ยหลวงปู่ท่านเคยเล่าให้ฟังว่า มีคนหัวดีทำหนังสือแต่งตั้งตัวเองเป็นกรรมการหาทุนสร้างประมหาเจดีย์ มาให้หลวงปู่ท่านเซ็นต์หนังสือแต่งตั้ง กราบเรียนหลวงปู่ว่าการสร้างเจดีย์ต้องใช้เงินมาก เขารู้จักคนมากโดยเฉพาะในกรุงเทพ พระมหาเจดีย์จะได้สร้างเสร็จเร็วๆ หลวงปู่ยิ้มๆแล้วตอบว่า "มันบ่อยากปานนั่นดอก มันเฮ็ดแล่วยู" หลวงปู่บอกว่าหมอนี่มันหัวดี
    เรื่องที่คนมาก่อกวนทั้งมาตู่หลวงปู่ว่าเป็นคอมมิวนิสบ้าง ปลุกระดมชาวบ้านมาไล่หลวงปู่บ้าง แอบมาขว้างระเบิดใส่ศาลาบ้าง ระดมคนมาขวางการสร้างกำแพง มีคนถามหลวงปู่ศรีว่า
    "จะทำยังไงกับพวกนี้ดี" หลวงปู่ยิ้มแล้วตอบว่า "เฮาบ่ต้องเฮ็ดหยังดอกเทวดาเพิ่นเฮ็ดเอง..."
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • WDSCP_185.jpg
      WDSCP_185.jpg
      ขนาดไฟล์:
      175.3 KB
      เปิดดู:
      439
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2013
  18. ช้างป่า

    ช้างป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    511
    ค่าพลัง:
    +16,480

    เคยอ่านเจอเรื่องนี้มาบ้างเหมือนกันครับ

    ผมก็เคยไปพระมหาเจดีย์ก็หลายรอบอยู่ แต่ผมไม่เห็นกำแพงที่ว่าสักที

    ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหนหรอครับ ?

    ใช่กำแพงเหมือนกำแพงเมืองจีนที่มีทางเดินด้านบนกำแพงหรือเปล่าครับ

    ที่ขนานกับถนนขึ้นไปบนพระมหาเจดีย์
     
  19. อุดมสมพร

    อุดมสมพร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2011
    โพสต์:
    1,658
    ค่าพลัง:
    +6,964
    สวัสดีครับคุณช้างป่า ใช่เลยครับ!กำแพงนี้หากคุณเคยเดินจากลานจอดรถแล้วเข้าประตูใหญ่ กำแพงนี้จะอยู่ทางขวามือแถบที่เป็นหน้าผา โดยกำแพงนี้มี ๒ ชั้น คุณมาสารถขึ้นไปเดินบนกำแพงได้ หากเดินชั้นบนจะเห็นทัศนียภาพที่งดงามมาก มองเห็นทุ่งนาและบ้านโคกกลาง ท่านที่ไปเยี่ยมชมส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าด้านบนกำแพงเดินได้ มักจะเดินตามถนนเพื่อไปชมพระมหาเจดีย์ หากโอกาสหน้าลองเดินเยี่ยมชมบนกำแพงนะครับ
    ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.mundoyo.com/Journal/?j=1071
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • a1.jpg
      a1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      145 KB
      เปิดดู:
      58
    • a2.jpg
      a2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      136.6 KB
      เปิดดู:
      57
    • a3.jpg
      a3.jpg
      ขนาดไฟล์:
      137.1 KB
      เปิดดู:
      59
    • a4.jpg
      a4.jpg
      ขนาดไฟล์:
      106.8 KB
      เปิดดู:
      53
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2013
  20. ช้างป่า

    ช้างป่า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    511
    ค่าพลัง:
    +16,480
    ออ ครับ

    ผมเคยเดินทั้งด้านบน และด้านล่างแล้วครับ

    สวยมากจริงๆครับ เวลามองลงไปด้านล่าง




    ปล.ถ้าจะให้ชมแบบสวยงามจริงๆก็ต้องเดินจากตีนเขา

    แล้วเดินทางป่าเรียบบ้างชันบ้างทะลุไปตรงผาน้ำย้อย

    แล้วค่อยขึ้นบันได ใต่ไปตามกำแพงไปเรื่อยๆจนถึงพระมหาเจดีย์
     

แชร์หน้านี้

Loading...