ลำนำเพลงรักของนักกลอน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ติงติง, 8 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว...
    ประมาณ ๕-๖ ปี...
    ติงในฐานะที่ปรึกษาพุทธบุตรวังน้ำทิพย์ เลิกจากงานแล้ว ก็ขึ้นภูสูง
    เย็นวันนั้นก็ซื้ออาหารขึ้นไปฝากเด็กๆพุทธบุตร และช่างที่ทำงานบนภูสูง
    แทบจะเหมาตลาดอำเภอเลิงนกทา(ตลาดสามแยก)
    เด็กๆและช่างทานอาหารอย่างเอร็ดอร่อยด้วยความหิว
    ติงเห็นอย่างนั้นก็มีความสุขความปิติใจ ทานอะไรไม่ลง
    พระอาจารย์ท่านเดินมาดู เห็นอาหารเหลือจำนวนมาก
    ท่านก็บอกว่าวันนี้จะพาทำยาสูตรหลวงปู่มั่น
    แล้วก็ให้พุทธบุตรไปเอาหม้อใบใหญ่ที่สุดในภูสูงมา
    เอาอาหารที่เหลือ ได้แก่ส้มตำ ลาบหมู ปลาทูทอด ไก่ย่าง ต้มปลา ไส้กรอก แหนม ผักดอง แกงต่างๆ พะโล้ ไก่นึ่ง ของหวาน ผักสดผักนึ่งฯลฯ
    ใส่ในหม้อ สรุปก็คือ อะไรที่เป็นของเหลือไม่ว่าของคาวของหวาน ให้เทรวมลงในหม้อทั้งหมด
    แล้วก็ให้เด็กๆนำไปต้ม
    แล้วก็สั่งให้ไปหายอดสะเดา ข่า ตะไคร้ ใบกะเพราใส่ลงไป
    ช่วงนั้นเป็นหน้าหนาว ภูสูงหรือจะมีข่า
    ติงจำได้ว่าเคยนำหัวข่าไปฝังไว้ที่หลังห้องน้ำข้างโรงครัว
    ตอนนำไปปลูกที่ตรงนั้นยังสะอาดค่ะ
    แต่ภายหลังมีน้ำล้างจาน สารพัดน้ำไหลไปที่นั่น
    พระอาจารย์ก็ให้ไปขุดหา(๕๕๕ ไม่ไปก็ไม่ได้)
    ติงก็ไปขุดกับเด็กๆ
    พบเหง้าข่าดำๆ ดมดูมีกลิ่นเหม็นมาก
    พระอาจารย์บอกให้เอามาล้าง แล้วหั่นไปใส่หม้อต้ม
    ฮิฮิ...ล้างอย่างไร เฉือนทิ้งเท่าไรก็ยังเหม็น
    จะทิ้งก็ไม่ได้ เพราะพระอาจารย์สั่งไว้
    ก็เลยต้องเอาไปใส่หม้อต้มทั้งเหม็นๆนั้น
    เด็กๆก็ต้มตามคำสั่งจากประมาณ ๖ โมงเย็น จน ๖ ทุ่ม
    พระอาจารย์ก็ให้ยกหม้อใบนั้นมา
    เอาถ้วย(ตราไก่) มาเท่าจำนวนคน
    ท่านสั่งให้นับจำนวนคนด้วยค่ะ
    เพราะมีบางคนทำท่าจะหลบ
    ติงยิ่งได้ถ้วยใหญ่ ๕๕๕๕ เพราะมีคำสั่งพิเศษ
    รู้เลยว่า...คำว่ากลืนไม่เข้า คายไม่ออกมันเป็นอย่างไร
    (มีข่าเป็นเหตุผลหนึ่งในนั้นด้วยค่ะ ข่าดำๆเหม็นๆ ที่ขุดจากหลังห้องน้ำ)
    ติงยกชิมแบบกลั้นลมหายใจ(ก่อนชิมถามเด็กๆก่อนแล้วว่ามีรสอย่างไร)
    มีรสเค็ม ขม หวาน ..และบางรสที่บอกไม่ถูก
    มีกลิ่นหอมของใบกะเพราะ กลิ่นปลาทูเค็ม กลิ่นปลาร้า
    และที่สำคัญที่สุด กลิ่นเหม็นของข่าเน่า ๕๕๕๕
    จะเททิ้งก็ไม่กล้า เพราะเป็นความเมตตาของพระอาจารย์
    ต้องทนกล้ำกลืนซดจนเกือบหมด
    เหลือเศษอาหารติดถ้วยเล็กน้อย
    (ใช้ทัพพีตักเอาน้ำแกงโดยไม่ได้กรอง)
    ในหม้อ ยังเห็นเศษกระดูกไก่ และก้างปลาชัดเจน...
    รสนี้ จำได้ไม่ลืมเลือน
    ประสบการณ์นี้คงจำไปจนวันตาย
     
  2. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    <TR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,204); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px"><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" colspan="4">สังคหวัตถุ 4

    </TD></TR><TR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,204); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px"><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width="24"> </TD><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" colspan="4">
    สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่<WBR>ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกั<WBR>นและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

    1. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของ ๆ ตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็<WBR>นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัวเราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่<WBR>สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

    2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่<WBR>อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์<WBR>เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกั<WBR>บการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่<WBR>จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้<WBR>เกิดขึ้น วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิ<WBR>ยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์
    ดังต่อไปนี้



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=318 align=center><TBODY><TR><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" align=center>เว้นจากการพูดเท็จ
    เว้นจากการพูดส่อเสียด
    เว้นจากการพูดคำหยาบ
    เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    3. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์ทุกชนิดหรื<WBR>อการประพฤติในสิ่งที่เป็<WBR>นประโยชน์แก่ผู้อื่น



    4. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้<WBR>นเสมอปลาย คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็<WBR>นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้<WBR>วย
    </TD></TR>

     
  3. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    <TR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,204); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px"><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" colspan="4">พรหมวิหาร 4

    </TD></TR><TR style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,204); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 14px arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(34,34,34); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px"><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif"> </TD><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" colspan="4">ความหมายของพรหมวิหาร 4

    - พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมของพรหมหรือของท่านผู้เป็<WBR>นใหญ่ พรหมวิหารเป็นหลักธรรมสำหรับทุ<WBR>กคน เป็นหลักธรรมประจำใจที่จะช่<WBR>วยให้เราดำรงชีวิตอยู่ได้อย่<WBR>างประเสริฐและบริสุทธิ์ หลักธรรมนี้ได้แก่



    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=301 align=center><TBODY><TR><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width=55>เมตตา</TD><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width=246>ความปรารถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข</TD></TR><TR><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width=55>กรุณา</TD><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width=246>ความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์</TD></TR><TR><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width=55>มุทิตา</TD><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width=246>ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี</TD></TR><TR><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width=55>อุเบกขา</TD><TD style="MARGIN: 0px; FONT-FAMILY: arial, sans-serif" width=246>การรู้จักวางเฉย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คำอธิบายพรหมวิหาร 4

    1. เมตตา : ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์ ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์<WBR>เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
    และความสุขเกิดจากการทำงานที่<WBR>ปราศจากโทษ เป็นต้น

    2. กรุณา : ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิ<WBR>ดความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจ และเกิดขึ้นจากปัจจั<WBR>ยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุ<WBR>กข์มี 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้


    - ทุกข์โดยสภาวะ หรือเกิดจากเปลี่<WBR>ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
    ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่<WBR>เกิดมาในโลกจะต้องประสบกั<WBR>บการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่<WBR>างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์


    - ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ อันเป็นความทุกข์ที่เกิ<WBR>ดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็<WBR>นทุกข์ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รั<WBR>กก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่<WBR>งอันเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์


    3. มุทิตา : ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง การมีความสุขหรือมีความเจริญก้<WBR>าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึ<WBR>งหมายถึง ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุ<WBR>ขความเจริญก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื<WBR>่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้<WBR>วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึ<WBR>งแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน หรือหมึกไปป้ายตามเสื้<WBR>อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้<WBR>นให้สกปรกเลอะเทอะ เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็<WBR>นคนที่มีมุทิตา เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกั<WBR>บผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง


    4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิ<WBR>จารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่<WBR>อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ เมื่อเราเห็นใครได้รั<WBR>บผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่<WBR>ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่<WBR>องที่เกิดขึ้น เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้<WBR>นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้<WBR>องตามทำนองคลองธรรม
    </TD></TR>
     
  4. บุษบรรณ

    บุษบรรณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2010
    โพสต์:
    2,212
    ค่าพลัง:
    +8,603
    ไปปล่อยปลาท่าน้ำที่ข้างบ้าน
    ใจเบิกบานสราญจิตคิดถึงผล
    มนต์พิธีสิบเล่มเป็นบุญดล
    ขอกุศลผลจงเกิดเทิดคุณธรรม
    :boo:fairy3
    เฮ้อกลอนเข้ากันมั้ยเนี่ย อิอิ
     
  5. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    กลอนแห่งทาน บันดาลให้ ใจเปี่ยมสุข
    ปลาหมดทุกข์ มีชีพใหม่ ได้กุศล
    ธรรมทาน ช่วยเติม เสริมมงคล
    จิตหลุดพ้น บ่วงมาร สำราญเทอญ.

    กลอนของคุณบุษบรรณ ไพเราะและมีความหมายดีมากค่ะ:cool:
     
  6. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ขอเวลาคิด  บทกลอน  ตอนนี้หน่อย
            จะรอคอย  ครูติง   นิ่งอยู่หรือ

                 ส่วนร้อยแก้ว  ไม่ถนัดมัน  บาดมือ
                      ร้อยขวดหรือ  มือไม่ว่าง  อยู่   ห่าง  กัน 

                      
    สวัสดีครับ  นักเลงกลอนทุกท่าน
     
  7. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    ส่วนดอกไม้  อ้นนี้   มีชื่อว่า
             ดอกมนทา  ชื่อมา   จากสวรรค์
                 มนทาทิพย์  ดอกนับสิบ   รวมด้วยกัน
                    สีชมพูนั้น  บานหรู   ดู     ชื่น    ตา 
      
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 60 flower.JPG
      60 flower.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.9 MB
      เปิดดู:
      38
  8. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    การนั่งสมาธินั้นเพื่อต้องการให้จิตเราสงบ ง่าย ฯ เพียงสองอย่าง
     เท่านั้นคือ ตามลมหายใจ  กับจับลมหายใจ นอกเหนือจากนั้นอย่าใส่ใจ
     ให้ทำเหมือนว่าแขกมาเยียมบ้านเรา ถ้าเราไม่ต้อนรับ ในไม่ช้าแขกทีมาเยือนก็จะกลับไปเองครับ 
     
     
  9. A-ya

    A-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    685
    ค่าพลัง:
    +2,549
    น้องขอเปลี่ยน รูปแทนตัว เป็นรูปใหม่
    รูปพระพุทธ บัวชมพู สวยสดใส
    เพื่อจักได้ น้อมระลึก ด้วยกายใจ
    พุทธชินราช เหนือเกล้าไว้ ประพฤติดี :cool: (ข้อความไม่คล้องเลย)

     
  10. บัวมรกต

    บัวมรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    812
    ค่าพลัง:
    +1,071
    ขอบพระคุณสำหรับดอกไม้สวยๆค่ะ
    มองด้วยความชื่นชมดอกที่สองเป็นพิเศษ ^^
     
  11. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
       ดอกไม้สี  สี่ชนิด   จิตอธิฐาน
              จะกล่าวขาน ไปให้  สิ่งใดหนา
                    เลือกดอกบัว เปรียบบุตร พุทธสัมมา
                         เลือกมนทา มาจากสวรรค์  อยู่ชั้นบน

         ส่วนที่เลือก  ดอกกุหลาบ   ทราบที่สุด
               มาจากมนุษย์   จุติ   สิท่านจ๋า
                   กลับสร้างบุญ  อีกหนึ่งชาติ   โอกาสมา
                       บุพเพหนา   มาประสพ   ได้   พบ   กัน

                        
                       
                         
          
     
  12. บัวมรกต

    บัวมรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    812
    ค่าพลัง:
    +1,071
    ขอบพระคุณพี่ติงค่ะ คิดถึงเสมอเช่นกันค่ะ (k)
     
  13. บัวมรกต

    บัวมรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    812
    ค่าพลัง:
    +1,071
    ชอบดอกไม้สีม่วงมากค่ะ เพราะชอบสีม่วงสุดๆ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 002_std[1].jpg
      002_std[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      193.8 KB
      เปิดดู:
      54
    • 007_std[1].jpg
      007_std[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      233.6 KB
      เปิดดู:
      32
    • 115_std[1].jpg
      115_std[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.3 KB
      เปิดดู:
      62
    • vio5[1].jpg
      vio5[1].jpg
      ขนาดไฟล์:
      72.8 KB
      เปิดดู:
      34
  14. บุษบรรณ

    บุษบรรณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2010
    โพสต์:
    2,212
    ค่าพลัง:
    +8,603
    อันที่จริงสิ่งที่ชอบตอบคำขาน
    กุหลาบบานนานก็สวยดูเริดหรู
    อีกทั้งกิ่งก้านแข็งแลช่อชู
    แต่กลีบพรูพราวพร่างกลางพื้นดิน
    catt23

    ส่วนบัวสายร้ายนักหักไม่ขาด
    สายใยพาดร้อยรัดตัดถวิล
    เปรียบดังบัวสี่เหล่าเป็นอาจินต์
    แฝงด้วยกลิ่นธรรมะคละบทกลอนcatt18
     
  15. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ร้อยสิ่งใด ร้อยได้ ไม่ข้องขัด
    ไม่ผูกมัด บังคับ จับมือให้
    ทำตามใจ ตนเอง อย่าเกรงใจ
    แต่ร้อยเล่ห์ ขอไกล ไม่ยินดี.

    (ขอโทษนะคะ กลอนพาไปค่ะ ^-^:cool: )
     
  16. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    เพียงกลอนนี้ ที่ว่ามา พาจิตให้
    น้อมรำลึก ถึงใน พระคุณสาม
    พระปัญญา เลื่องลือ ระบือนาม
    กรุณา ทุกเขตคาม ทั้งใกล้ไกล

    บริสุทธิ์ ยิ่งกว่า ใครทั้งหล้า
    ขอบูชา ด้วยจิต อันผ่องใส
    พุทโธ ผู้รู้ ชูเชิดไว้
    เป็นหลักชัย บรมครู สู่แดนธรรม
     
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    อยากฟังกลอนเศร้าๆ ที่แสนจะไพเราะของคุณ SuperSaiya ค่ะ:cool:
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG]

    เป็นปริศนา ให้คิด ดูจิตนี้
    ชื่นชมที่ ดอกไม้ ดอกใดหนอ
    มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์ ที่เฝ้ารอ
    เคยได้ขอ เด็ดดม ชมชื่นใจ
     
  19. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    <TABLE style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT: 12px Tahoma, Verdana, Arial, sans-serif; WHITE-SPACE: normal; ORPHANS: 2; COLOR: rgb(0,0,0); WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center><TBODY><TR><TD style="FONT: 16px/20px Tahoma, Verdana, Arial, sans-serif" class=postbody vAlign=top><HR style="BORDER-BOTTOM: rgb(204,204,204) 0px solid; BORDER-LEFT: rgb(204,204,204) 0px solid; HEIGHT: 0px; BORDER-TOP: rgb(204,204,204) 1px solid; BORDER-RIGHT: rgb(204,204,204) 0px solid">
    มณฑารพ ดอกไม้ทิพย์แห่งสวรรค์

    “มณฑารพ” หรือ “มณฑา” มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Talauma candollei Bl.” อยู่ในวงศ์ Magnoliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับพวกจำปา จำปี และยี่หุบ เป็นไม้พุ่มสูงราว 3-10 เมตร เปลือกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดใหญ่ รูปรี ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา มักเป็นคลื่นหรือเป็นลอน ดอกมีขนาดใหญ่ เป็นดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบ หรือส่วนยอดของลำต้น มีสีเหลืองนวล

    มีกลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน 3 กลีบ กลีบดอก 6 กลีบ เรียงเป็น 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกค่อนข้างหนา แข็ง ดอกมีกลิ่นหอมและส่งกลิ่นไปไกล โดยเฉพาะในตอนเช้าตรู่ จะส่งกลิ่นหอมแรงมาก และออกดอกตลอดปี ส่วนผลรูปรี ออกเป็นกลุ่ม และเนื่องจากมณฑามีดอกสวยและกลิ่นหอมจึงนิยมปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

    ดอกไม้ทิพย์แห่งเมืองสวรรค์ที่ชื่อ “มณฑารพ” หรือ “มณฑา” นั้น ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า

    “ดูกรอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปราย ลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงมาจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังสรีระของตถาคตเพื่อบูชา ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาตถาคต แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ก็เป็นไปในอากาศเพื่อบูชาตถาคต

    ดูกรอานนท์ ตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกาก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชาตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอด เพราะเหตุนั้นแหละอานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ดังนี้ ฯ”


    [​IMG]

    [​IMG]

    ในเวลาที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ทุกหนแห่งในเมืองกุสินาราเต็มไปด้วยดอกมณฑารพ “...สมัยนั้น เมืองกุสินาราเดียรดาษไปด้วยดอกมณฑารพโดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือน บ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ ครั้งนั้นพวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาค ด้วยการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมมาลัยและของหอม ทั้งที่เป็นของทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์...”

    หลังจากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปะเถระซึ่งอยู่ที่เมืองปาวา ได้ทราบข่าวว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับที่เมืองกุสินาราเป็นเวลาหลายวันแล้ว จึงตั้งใจจะไปเฝ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์บริวาร 500 รูป ขณะที่กำลังเดินทางไปเมืองกุสินาราอยู่นั้น ได้หยุดพักหลบแสงแดดอยู่ใต้ร่มไม้ข้างทาง ได้เห็นนักบวชนอกศาสนาคนหนึ่งซึ่งมาจากเมืองกุสินารา ถือ “ดอกมณฑารพ” ที่ผูกติดกับกิ่งไม้ต่างร่ม เดินสวนทางมา

    พระมหากัสสปะซึ่งเวลานั้นยังไม่ทราบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ก็นึกสังหรณ์ใจ เพราะดอกมณฑารพเป็นดอกไม้ทิพย์ที่ไม่มีในโลกมนุษย์ และจะปรากฏเฉพาะตอนที่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นกับพระพุทธเจ้า เช่น ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน วันจาตุรงคสันนิบาต และวันที่ทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นต้น ซึ่งเทพเทวดาจะบันดาลให้ดอกมณฑารพตกลงมาจากเทวโลก พระมหากัสสปะจึงได้สอบถามข่าวคราวของพระพุทธองค์จากนักบวชนอกศาสนาผู้นั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมา 7 วันแล้ว และดอกมณฑารพนี้ก็ได้เก็บมาจากบริเวณที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานนั่นเอง เมื่อได้ยินดังนั้นพระมหากัสสปะจึงรีบเร่งนำพระภิกษุสงฆ์ออกเดินทางไปยังเมืองกุสินารา

    นอกจากนี้ มณฑารพยังเป็นดอกไม้ของนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดีที่มีนามว่า กิริณีเทวี

    [​IMG]

    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    <TABLE style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; FONT-FAMILY: Tahoma, Arial, Helvetica, sans-serif; ORPHANS: 2; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" border=0 cellSpacing=0 width="100%"><TBODY><TR><TD style="FONT-FAMILY: Tahoma, Arial, Helvetica, sans-serif; FONT-SIZE: 14px" vAlign=top>ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกในงานบุญมาฆบูชา

    ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก
    " ร้อยมาลัยข้าวตอก แทนดอกมณฑารพ
    นบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า "
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ประเพณีแห่มาลัยข้าวตอกในงานบุญ มาฆบูชา
    ณ บ้านฟ้าหยาด ต.ฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร

    “งานประเพณีแห่มาลัยข้าวตอก” ที่งดงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ของชุมชนลุ่มน้ำชี แห่งบ้านฟ้าหยาด ต.ฟ้าหยาด อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร ชาวบ้านจะนำข้าวตอกมาร้อยเป็นมาลัยสายยาวแทน “ดอกมณฑารพ” อันเป็นดอกไม้ทิพย์แห่งสรวงสวรรค์ แล้วจัดขบวนแห่ไปถวายเพื่อเป็นพุทธบูชาเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสานที่สืบทอดต่อเนื่องกันมา เฉพาะที่ชุมชนบ้านฟ้าหยาดแห่งนี้ เท่านั้น

    ความเป็นมาของประเพณีแห่มาลัยนี้ มีปรากฏในพระไตรปิฎกส่วนที่ว่าด้วยพระสุตตันตปิฎก บทปรินิพพานสูตร กล่าวคือ ดอกมณฑารพ ซึ่งเป็นดอกไม้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เวลาที่ดอกมณฑารพจะบาน หรือร่วงหล่น ก็ต้องมีเหตุการณ์สำคัญๆเท่านั้น คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จตุรงคสันนิบาต และทรงแสดงพระธัมมจักกัปปวัตนสูตร ดอกมณฑารพจึงได้ร่วงหล่นลงมายังโลกมนุษย์

    ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ที่เมืองกุสินารา ดอกมณฑารพ นี้ก็ได้ร่วงหล่นลงมาทั้งก้านและกิ่ง เปรียบเหมือนความเสียอกเสียใจพิไรรำพันต่อการเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รวมถึงเหล่าพระภิกษุ ผู้ได้ชื่อว่าอรหันตขีนาสพทั้งหลายด้วย หมู่เหล่าข้าราชบริพาร ประชาชนทั้งหลายได้พากันมาถวายสักการะพระบรมศพ อีกทั้งยังได้พากันเก็บนำดอกมณฑารพที่ร่วงหล่นลงมาเพื่อไปสักการบูชา และรำลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อกาลเวลาเปลี่ยนไปดอกมณฑารพ ที่เก็บมาสักการบูชาเริ่มเหี่ยวแห้งและหมดไป

    เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ รวมทั้งเหตุการณ์ในวันสำคัญต่างๆ ชาวพุทธจึงได้พากันนำเอาข้าวตอกมาสักการบูชา เพราะถือว่าข้าวเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเป็นของสูงที่มนุษย์จะขาดไม่ได้ การจัดข้าวตอกดอกไม้ถวายเป็นพุทธบูชามีจุดเริ่มต้นเมื่อไหร่นั้น ยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าแรกๆ จะใส่พานไว้โปรยเวลาพระสงฆ์เทศนา ต่อมาจึงมีการนำมาประดิษฐ์ตกแต่งที่เห็นว่าสวยงาม สืบทอดกันเรื่อยมา จากการตกแต่งมาลัยเพื่อความสวยงามก็พัฒนามาเรื่อยๆจนกลายเป็นการประกวดประชันกัน เมื่อมาลัยร้อยได้สวยงามก็เริ่มมีการแห่แหน ให้เป็นการเป็นงานขึ้นมาด้วย ประกอบพิธีนั้น จนกลายเป็นงานที่ใหญ่ขึ้นมีการฟ้อนรำประกอบขบวน และกลายเป็นประเพณีแห่มาลัยในปัจจุบัน

     

แชร์หน้านี้

Loading...