ลำนำเพลงรักของนักกลอน

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย ติงติง, 8 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    พอนินทานักเรียนแล้วก็ติดลม เหมือนว่าวที่ติดลมบน
    (ใครที่เคยนินทา จะรู้ว่าการนินทานั้นช่างมีอรรถรสยิ่งนัก ๕๕๕)
    อย่ากระนั้นเลย ขอนินทาท่านผู้อำนวยการอีกสักท่านนะคะ
    เมื่อวันพุธ มีการประเมินทบทวนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
    ซึ่งท่านผู้อำนวยการท่านได้ไปเป็นประธาน
    ท่านก็ให้โอวาท และสุดท้ายท่านก็กล่าวว่า เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครูพูดภาษาอังกฤษเก่งๆ
    (นักเรียนจะได้เก่งไปด้วย เพราะ ปี ๒๕๕๘ ไทยเข้าสู่สมาคมอาเซียน)
    ในวันศุกร์ ครูที่เข้าพบผอ.ที่ห้อง ห้ามพูดภาษาไทย ให้พูดเฉพาะภาษาอังกฤษเท่านั้น
    ติงสังเกตดู วันนี้ ท่านผอ.นั่งเหงาทั้งวัน ไม่มีครูคนใดเข้าไปพบท่านเลย:cool:
     
  2. A-ya

    A-ya เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    685
    ค่าพลัง:
    +2,549
    วันนี้คุณครู ติดภารกิจสอนทั้งวัน เลยไม่สะดวกเข้าพบ ผอ คะ dencee
     
  3. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    วิชาหมือน  มีทรัพย์   อ มียู่นับแสน
            จะตกถิ่น  ฐานได  ก็ไม่แคลน
                ถึงคับแค้น  ก็พอยัง  ประทังตน
                    อันความรู้  รู้กระจ่าง   เพียง  อย่าง  เดียว
        แต่ให้เชี่ยว  ชาญเถิด  จะเกิดผล
             อาจจะชัก  เชิดชู  เฟื่องฟูสกล
               ถึงคนจน  พงไพร่    คง  ได้     ดี 

       
     อันธรรมะ  วันนี้   มีมาฝาก 
              อ่านไม่ยาก  ฝากมา  อุทาหรณ์
                   สังสารวัฏ  จัดใว้  ในคำกลอน
                       เมื่อยามนอน  ย้อนคิดมา   ปัญ หา  ธรรม

      
      ภาษาอังกฤษ ฟุดฟิด  อย่าthinkมาก
             talkไม่ยาก ลากsoundไป  แล้วได้ผล
                verb to do verb to เดา เข้าบวกปน
                    ไม่สับสน  ปนอีสาน sweet จับ   ใจ:cool:
                     

      
                 
     
  4. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    อุปนิสัยอินทรีย์    คือ  คุณธรรมประจำจิตใจ สืบเนื่องมาแต่ชาติก่อนฯ
       จึงเป็นนิสัยประจำสันดาน  หรือ  จิตใจ   จึงเรียกว่า  อุปนิสัยอินทรีย์
       ทั้ง ๕    ๑ ศัทธรา  ๒ วิริยะ ๓ สติ ๔ สมาธิ  ๕  ปัญญา
       หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า มีของเก่าซึ่งติดมาจากอดีตชาติ นั่นเอง ครับ
        
     
  5. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
    เมื่อทำความเข้าใจกับ  อุปนิสัยอินทรีย์ แล้ว ก็จะเป็นการง่ายต่อการเลือก ปฏิบัติ
        ธรรม ให้เหมาะสม กับ อินทรีย์ ของเรา
     ผู้ที่มีอินทรีย์ อ่อน ก็ ควรปฏิบัติในพระธรรม
        ขั้น ต้น 
    ผู้ที่มีอินทรีย์ปานกลาง ก็พึงปฏิบัติในพระธรรม ขั้นกลาง ส่วนผู้ที่มีอุปนิสัย
        อินทรีแก่กล้า ก็ ควร ปฏิบัติในพระธรรมขั้นสูงสุด ครับ

    สาระธรรม  วันนี้   มีจะบอก
              คิดให้ออก  บอกไป   ในปัญหา
                  สาระธรรม  คู่กับใจ   ใช้ปัญญา
                       วัฏจักร๓   ว่าใว้   ให้ตรองดู
     
  6. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
      
          ขอแน๊ะนำ Exit ให้ครูติง ครับ

    Goodmorning ผ.อ.  รอ  หน่อย  ค๊ะ
             ครูTingจะ มาคำนับ ลับภาษา
                  Englishนี้ ไม่แข็งแรง แต่มีมา
                      ได้แต่ว่า yes or no ok why


      Good bye  ค๊ะ ผ.อ.  รอไปก่อน
           ถ้าแต่งกลอน ก่อนนอน ยังพอไหว
                 ส่วนEnglish  พึ่งฝึกหัด   ขอผลัดไป
                      ฟุดฟิตโฟFine   ได้คล่อง    ต้อง    ผ.    อ.


    สาระธรรมวันนี้  " Look at the Moon Look at your mind "
     
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    แหะๆ คุณคมสันต์พูดแบบนี้ติงเข้าใจทะลุปรุโปร่งเลยค่ะ:cool:
    อย่างเวลาไปอบรมคุณธรรมที่วัด พระท่านก็จะแบ่งกลุ่มเราออกเป็น ๕ กลุ่ม
    ดังนี้ค่ะ
    ๑. กลุ่มสัทธา(ศรัทธา)
    ๒. กลุ่มวิริยะ
    ๓. กลุ่มสติ
    ๔. กลุ่มสมาธิ
    ๕. กลุ่มปัญญา

    แบบที่ติงว่ามาเข้าใจยากชะมัด ๕๕๕๕
    ขอบพระคุณมากนะคะ

     
  8. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ๕๕๕ มีครูติง ที่สอนแค่ ๕ ชั่วโมง มีเวลาไปแว้บดูท่านผอ.:cool:
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    เรื่องverb to เดานี้ พอได้ค่ะ ๕๕๕๕
    เก่งแบบนี้ คุณคมสันต์น่าจะแต่งกลอนลำ
    ติงจะเป็นหมอลำจำยอมให้ค่ะ:cool:
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ท่านเจ้าคุณ เจ้าคณะภาพ๑๐ (ธ) ท่านเมตตาเล่านิทานเรื่องกะตาหมากโอเค(ตะกร้าหมากO.K.)ได้สนุกสนานมากค่ะ:cool:
     
  11. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    คุณคมสันต์กรุณาด้วยนะคะ ว่าติงควรปฏิบัติธรรมในแนวใด
    เพราะไม่ทราบว่าพอจะมีของเก่ามาบ้างหรือไม่ค่ะ
    เท่าที่ดูตนเอง ไม่กล้าแม้จะบอกว่าเป็นผู้มีอินทรีย์อ่อน
    เพราะว่าคงน้อยกว่านั้น.....
     
  12. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ตะกร้าหมากยายมัน OK.

    เป็นนิทานขำขำของคนอีสานบ้านเฮาค่ะ

    ////// เรื่องมีอยู่ว่า มีคุณยายคนหนึ่งมาจากทางอีสานเข้ามาใน กทม.เพื่อมาหาลูกชาย

    ยาย ////// พอลงจากรถบัสก็เรียกรถตุ๊กๆ แล้วถามว่าไปรามฯเท่าไหร่

    คนขับตุ๊กๆ ///// 60 บาทครับยาย

    ยาย ///// 50 บาทได้ไหมลูกเอ้ย

    คนขับตุ๊กๆ ///// OK. เลยยาย ขึ้นมาเลย

    ยาย ///// ยายถามกลับไปว่า OK. มันแปลว่าอะไรล่ะนาย

    คนขับตุ๊กๆ ///// แปลว่า ....ตกลง..... [​IMG]


    แล้วก็เป็นปกติของรถตุ๊กๆที่ต้องซิ่ง ไม่ว่าจะเลี้ยวขวาหรือซ้ายทำเอาหัวใจยายแทบช็อค

    ข้างหน้าเป็นทางโค้งแล้วเจ้าตุ๊กๆก็เข้าโค้งอย่างเมามันส์ ทันใดนั้นเสียงยายแกตะโกนมาจากข้างหลังว่า

    ยาย ///// ไอ้นาย!!!! ไอ้นาย!!!! ตะกร้าหมากยายมัน OK. [​IMG] [​IMG] [​IMG]



     
  13. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    สังสารวัฏหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่างๆ ด้วยอำนาจของกรรม อำนาจของกิเลส และวิบาก
    เปรียบกับมดที่ไต่วนไปตามขอบของปากแก้วไม่รู้จุดสิ้นสุด
     
  14. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730

    วัฏฏะ ๓ ....กิเลส กรรม วิบาก ค่ะ
     
  15. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730

    ปฏิจจสมุปปบาทหรือเรียกอีกอย่างกนึ่งว่าอิทัปปัจจยตา มี 12 ประการดังที่กล่าวไว้ในวงจรชีวิต ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 พวกเรยกว่า ไตรวัฏ หรือวัฏฏ 3
    วัฏฏะ 3


    วัฏฏะ มี 3 องค์ประกอบ คือ กิเลส กรรม วิบาก
    เมื่อบุคคลทำอะไรลงไป ไม่ว่าทางใด หากทำลงไปด้วยกิเลสที่อยู่ในใจ ก็จะก่อให้เกิดกรรม เมื่อเกิดกรรมก็จะเกิดวิบากกรรมคือผลตามมา วิบากหรือผลอันนี้ก็จะก่อให้เกิดกิเลสขึ้นอีก และกิเลสจะก่อให้เกิดกรรมขึ้นอีก กรรมนี้จะก่อให้เกิดวิบาก หรือผลขึ้นอีก วนเวียนไปอย่างนี้เรื่อยๆ จนกว่าคนจะดับกิเลสหมดสิ้น จึงจะหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
    กิเลสหรือกิเลสวัฏฏ (Defilements) วงจรของกิเลส เป็นตัวสาเหตุผลักดันให้คิดปรุงแต่งการกระทำต่าง ๆ ซึ่งประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน
    กรรมหรือกรรมวัฏฏ์ (Karma or Action) วงจรกรรมเป็นกระบวนการกระทำหรือปรุงแต่งชีวิตให้เป็นไปต่าง ๆ ประกอบด้วยสังขารและกรรมภพ
    วิบากหรือวิปากวัฏฏ์ (Results) วงจรวิบาก คือ สภาพชีวิตที่เป็นผลแห่งการปรุงแต่งของการกระทำและกลับเป็นปัจจัยเสริมสร้างให้เกิดกิเลสต่อไปอีก ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สาฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ซึ่งแสดงออกในรูปปรากฏที่เรียกว่า อุปัตติภพ ชาติ ชรา มรณะ เป็นต้น
    วัฏฏะทั้ง 3 หรือไตรวัฏฏ์นี้ หมุนเวียนต่อเนื่องเป็นปัจจัยอุดหนุนแก่กัน ทำให้วงจรแห่งชีวิตดำเนินไปไม่ขาดสาย


    (ไปอ่านมาค่ะ http://www.br.ac.th/elearning/social/jitraporn/Buddhism M6/Unit5_2_1_3.html)
     
  16. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    วัฏฏะ 3

    วัฏฏะ หรือ ไตรวัฏฏ์ แปลว่า วงวน หรือวงจร หมุนเวียนสืบทอดต่อ ๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิดเป็นวงจรหมุน ไป ได้แก่

    1. กิเลสวัฏฏ์ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง

    2. กรรมวัฏฏ์ ประกอบด้วย สังขาร ภพ คือ การกกระทำที่มีเจตนามี 2 ประเภท คือ อกุศลกรรมหรือกรรมชั่ว และกุศลกรรมหรือกรรมดี กรรมทั้ง 2 ประเภทนี้ สามารถแสดงออกได้ 3 ทาง คือ ทางกาย เรียกว่า กายกรรม ทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม และ ทางใจ เรียกว่า มโนกรรม

    3. วิบากวัฏฏ์ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสอุปยาสคือ ผลของการหรือผลของการกระทำ กระทำอย่างใดไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น นั่นคือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว

    พระธรรม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ม.๓ จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net
     
  17. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ^
    ^
    ^
    ติงไปcoppyมานะคะ ไม่ได้คิดเอง
     
  18. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ติงไปลอกมา อ่านเองก็ดูเหมือนจะเข้าใจยาก เวลาที่คุณคมสันต์อธิบาย ดูเหมือนเป็นคำง่ายๆ ไม่ไกลตัว เข้าใจไม่ยากเลยค่ะ:cool:
     
  19. คมสันต์usa

    คมสันต์usa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1,879
    ค่าพลัง:
    +11,861
          เพระเหตุนี้จึงได้หาเวลามาแต่งกลอนแล้วพร้อมกับสอนธรรม
       หลายท่านในกระทู้กลอนจะได้ยกระดับจิตของตนเองให้สูงขึ้น
       นอกจากนั้นก็ยังได้มีโอกาสแบ่งเบาภาระของครูอาจารย์ เรียกว่า
       เติมเต็มในส่วนที่ขาดหรือว่าเป็นการต่อยอด ครับ และถือว่าเป็นหน้าที่
       ในการเผยแพร่ธรรม ครับ

       นักเลงกลอนและผู้เเวะมาชม  เปรียบเหมือน หนูขุดรูอยู่ ๔ ประเภท ครับ
       ๑  ขุดแต่ไม่อยู่  ๒ อยู่แต่ไม่ขุด  ๓  ไม่ขุดไม่อยู่  ๔  ขุดด้วยอยู่ด้วย

        

       
     
  20. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730

    <TABLE style="WIDOWS: 2; TEXT-TRANSFORM: none; BACKGROUND-COLOR: rgb(255,255,255); TEXT-INDENT: 0px; LETTER-SPACING: normal; BORDER-COLLAPSE: collapse; FONT-FAMILY: 'Times New Roman'; ORPHANS: 2; WORD-SPACING: 0px; -webkit-text-size-adjust: auto; -webkit-text-stroke-width: 0px" border=0 cellSpacing=0 borderColor=#111111 cellPadding=0 width=644><TBODY><TR><TD width=560>
    ๗. มูสิกาสูตร

    ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก


    [๑๐๖] <SUP>*</SUP> [๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ หนูขุดรูแต่ไม่อยู่จำพวก ๑ หนูอยู่แต่ไม่ขุดรูจำพวก ๑ หนูไม่ขุดรูไม่อยู่จำพวก ๑ หนูขุดรูด้วยอยู่ด้วยจำพวก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ จำพวกนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่จำพวก ๑ บุคคลดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรูจำพวก ๑. บุคคลดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่จำพวก ๑ บุคคลดุจหนูขุดรูด้วยอยู่ด้วยจำพวก ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่อย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะไวยากรณ์ คาถา อุทานอิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แลบุคคลเป็นดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรูอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตะ ฯลฯ เวทัลละ แต่เขาทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรูดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.* สูตรนี้ปรากฏว่าขาดหายไป ในอรรถกถาแก้สูตรที่ ๕ (คือเรื่องมะม่วง) แล้วกล่าวว่า สูตรทั้ง ๖ เนื้อความตื้น แล้วก็แก้สูตรที่ ๗ (คือเรื่องหนู) ต่อไป ท่านผู้ชำระพระบาลีฉบับนี้ทำเชิงอรรถบอกไว้ว่า สูตรที่ ๖ นี้ แม้ในพระไตรปิฎกฉบับประเทศอื่น ๆ ก็ปรากฏว่าขาดหายไปเหมือนกัน


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่อย่างไร บุคคล บางคนในโลกนี้ ไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ เขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนูไม่ขุดรูไม่อยู่ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูด้วยอยู่ด้วยอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ทั้งทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-ปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูด้วยอยู่ด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหนูขุดรูด้วยอยู่ด้วย แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก. จบมูสิกาสูตรที่ ๗</PRE></PRE></TD><TD vAlign=top width=100>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></P>
    ด้วยความสงสัย ก็เลยไปหาอ่านค่ะ
    http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=3500212
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...