{{หลวงพ่อคูณ257}}ศึกษาพระสมเด็จ/เบญจภาคีองค์ครู26ขุนแผนพรายกุมาร4ลพ.พรหม68พ่อท่านคลิ้ง105

ในห้อง 'วิธีดูพระเครื่อง-เครื่องรางของขลัง' ตั้งกระทู้โดย Amuletism, 2 มกราคม 2012.

  1. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    thaxx
    ขอบคุณมากครับ คุณ kidpid13
    ที่ช่วยทำให้กระทู้นี้อยู่ในความสนใจ
    เครื่องรางนั้นเป็นของชอบของผมเลย
    แต่ก็ไม่ค่อยจะมีความรู้เท่าไหร่
    ในมือมีเครื่องรางเก่าอยู่แค่สามชิ้นเท่านั้นครับ
     
  2. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    37,990
    ค่าพลัง:
    +146,269
    ตามดูของสวยๆ ด้วยความสนใจครับ
     
  3. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    พญาเต่าเรือน ก็จะเป็นประเภทเครื่องรางครับ สำหรับองค์นี้ช้ำมากแต่ดูง่านครับ
    แนะนำตามสบาย
    <a href="http://img411.imageshack.us/i/poto1888999.jpg/" target="_blank"><img src="http://img411.imageshack.us/img411/4040/poto1888999.jpg" alt="Free Image Hosting at www.ImageShack.us" border="0"/></a>
     
  4. รักษ์สยาม

    รักษ์สยาม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    707
    ค่าพลัง:
    +1,129
    หลวงพ่อรื่น หลังหลวงพ่อทรงรังสี วัดหารเทา
    ข้อมูลผมไม่แน่นชัดครับ ว่าเป็นศิษสายเขาอ้อหรือสายอาจารย์ แต่ที่รู้ๆเหรียญของท่านมีประสบการณ์มาก คนในพื้นที่เก็บหมดครับ:cool::cool::cool:
    ขอบคุณมากครับคุณmagun:cool:
     
  5. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    :z7:z2:z3:z5:z8

    ขอบคุณพี่ๆที่แวะเข้ามาทักทายกันเสมอ
    กระทู้จะมีข้อมูลมากแค่ไหน
    หากไม่ใครเพื่อนๆพี่ๆมาแวะชม
    มันก็คงไม่มีประโยชน์ครับ
     
  6. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    อย่างที่เคยเรียนว่าความรู้เรื่องเครื่องราง
    ผมมีอยู่ไม่มาก จึงไม่อาจแนะนำ
    คงมีเพียงแค่คำขอบคุณครับ
    ที่นำเครื่องรางดีๆมาโพสต์ให้ชมครับ
     
  7. magun

    magun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2011
    โพสต์:
    963
    ค่าพลัง:
    +1,734
    ขอบคุณครับ คุณพี่รักษ์สยาม (smile)
     
  8. kidpid13

    kidpid13 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    315
    ค่าพลัง:
    +266
    ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเครื่องรางเช่นกัน...(จิงๆ เรียกว่าไม่รู้อะไรเลยจะดีกว่าครับ นางกวักนี่ก็ศิลป์คล้าย ๆ หลวงพ่ออิ่มซะมากกว่าพึ่งนึกได้ ...เก็บไว้นานแล้วได้มาจากยายคิดว่าเก่าแน่ แต่ไม่รู้ของที่ใดครับ มีขี้แมงวันด้วยนะฮะ)

    อ่อม...ส่วนตัวรู้สึกว่ากระทู้นี้ มีสเน่ห์ และน่าสนใจอยู่ในตัวเองอยู่แล้วครับ คงเป็นเพราะท่าน Amuletism ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นมา ผมขอเป็นเพียงผู้ชม ที่บังเอิญผ่านเข้ามาแวะชม ... และรู้สึกชอบแนว ๆ นี้ บางทีอาจขอนำเสนอ สิ่งที่หาได้บ้าง สอบถามข้อมูลบ้าง....หวังว่าคงไม่ทำให้รำคาญใจนะครับ...เหะ ๆ

    จิงๆ วันนี้ผมไปเดินตลาดมา พบถูกชะตา ปิ้ง ๆ กันอีกแล้วเลย...จัดมา เดาว่าน่าจะเป็นของหลวงพ่อแฉ่งครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 พฤษภาคม 2012
  9. โอ๋สะพาน

    โอ๋สะพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    2,494
    ค่าพลัง:
    +3,973
    ไม่เป็นไรครับถือเป็นการแลกเปลี่ยนกัน ผมรบกวนแนะนำพระนางพญาของผมเองครับ ตามลิงค์ด้านล่างให้ผมพอเป็นแนวทาง เพราะมีท่านไว้นานแล้วยังไม่ทราบว่าดีหรือไม่เห็นเพียงแต่เนื้อที่ดูดีเท่านั้นครับ ขอความเห็นคุณ อมูเลท ด้วยครับ
    http://palungjit.org/threads/{{ร่วม...68ลพ-เนื่อง77เปิดตำนานเขาอ้อ84.320369/page-81
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤษภาคม 2012
  10. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก

    9. หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก

    การสร้างวัตถุมงคล
         หลวงพ่อหมุน เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพัทลุง ได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2484-2525 วัตถุมงคลจึงมีมากมาย ดังนี้
         9.1 พระลีลาเกราะเพชร เนื้อโลหะผสมเงินยวง
         9.2 พระปิดตาม เนื้อโลหะผสม
         9.3 เหรียญปาฏิหารย์ (เหรียญพระเจ้าห้าองค์ พ.ศ.2513 และ 2525)
         9.4 เหรียญรูปเหมือน เนื้อทองแดง พ.ศ.2516
         9.5 รูปเหมือนลอยองค์ ปั๊มเนื้อทองเหลือง พ.ศ.2516
         9.6 รูปเหมือนลอยองค์ เนื้อว่าน พ.ศ.2516
         9.7 รูปเหมือนนูนองค์ เนื้อว่าน พ.ศ.2516
         9.8 พระประจำวันทั้ง 7 วัน เนื้อว่าน สร้าง พฤศจิกายน 2484
         9.9 พระสังกัจจายน์ เนื้อว่าน พ.ศ.2516
         9.10 พระรูปเหมือนขนาดบูชา เนื้อโลหะ เนื้อปูนผสมว่าน
         9.11 แหวนพิรอด เนื้อโลหะ
         9.12 รูปเสือแกะจากเขี้ยวเสือ
         9.13 ผ้ายันต์ ตะกรุด ลูกอมสวาท
     
  11. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับ:cool:
     
  12. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    วันนี้ไปงานนประกวดพระมา
    คนเยอะมากเห็นว่าขายกล่องได้สามล้านกว่าบาท
    ส่งไปห้าองค์ ไม่ติดรางวัลเลย
    หลวงพ่อคูณนี่มหาศาลเลยครับ
     
  13. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    เกจิสายเขาอ้อที่ยังมีชีวิตอยู่ครับ

    หลวงพ่อคล้อย อโนโม พระเกจิดัง-สายเขาอ้อ

    สำนักเขาอ้อ เมืองพัทลุง มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วในภาคใต้จรดแหลมมลายู ศิษย์ที่สืบทอดสายวิชาพุทธาคมมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

    พระครูพิพิธวรกิจ หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักดีในนาม 'หลวงพ่อคล้อย อโนโม'เจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นพระเกจิรูปหนึ่งที่มีพรรษาสูงในจังหวัดพัทลุง และเป็นศิษย์เขาอ้อสายตรง

    ด้วยท่านเป็นหลานของพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา จ.พัทลุง จึงได้รับการถ่ายทอดสรรพวิชาสายเขาอ้ออย่างลึกซึ้ง

    พระเกจิแห่งลุ่มน้ำปากพนังรูปนี้ สายเขาอ้อ-สายใต้ ได้รับความนิยมเคารพศรัทธาอย่างสูง วิทยาคมเข้มปลุกเสกวัตถุมงคลได้ฉมัง มากไปด้วยประสบการณ์

    อีกทั้งวัตรปฏิบัติในพระธรรมวินัยเคร่งครัด เป็นที่ทราบกันอย่างกว้างขวาง

    ปัจจุบันสิริอายุ 83 ปี พรรษา 61

    อัตโนประวัติมีนามเดิมว่า คล้อย ทองโอ่ ถือกำเนิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 ก.พ.2472 เกิดที่ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายแสง และนางเอียด ทองโอ่

    ชีวิตในวัยเด็กท่านมีความประพฤติเรียบร้อย มีความคิดสร้างสรรค์ เป็นที่รักของครอบครัวและเพื่อนฝูง เมื่ออายุได้ 7 ขวบเข้าเรียนที่โรงเรียนวัดไทรงาม ต.นางตุง อ.ควนขนุน จ.พัทลุง จนจบชั้นประถมปีที่ 4

    ต่อมาท่านได้บรรพชาเมื่อวันที่ 15 ก.ค.2491 ณ วัดดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มี พระครูสิทธยาภิรัต (พระอาจารย์เอียด) เป็นพระอุปัชฌาย์

    ครั้นอายุครบ 21 ปี ได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 1 มี.ค.2493 ณ วัดควนปันตาราม ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง มีพระครูรัตนาภิรัต เป็นพระอุปัชฌาย์, พระมหาเจิม ฐิตเปโม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูกาชาด วัดดอนศาลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อโนโม

    หลังบวชเรียนแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้เป็นนักธรรมชั้นตรี-โท-เอก ตามลำดับ จากสำนักเรียนวัดดอนศาลา เมื่อปี พ.ศ.2497 ต่อมาได้เป็นครูสอนนักธรรมที่สำนักเรียนวัดดอนศาลาและวัดภูเขาทอง

    กระทั่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2501 จวบจนปัจจุบัน

    วัดภูเขาทอง ตั้งอยู่เลขที่ 168 หมู่ที่ 1 บ้านภูเขาทอง ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบเชิงเขาทอง มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 13 ไร่ 1 งาน 40 ตารางวา

    วัดแห่งนี้สร้างเป็นวัดนับตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2473 สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยวัดตั้งอยู่เชิงภูเขาทอง ชาวบ้านจึงนิยมเรียกขานว่า 'วัดเขาทอง'

    ด้วยความที่หลวงพ่อคล้อยเป็นหลานของพระอาจารย์เอียด จึงได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคมสายเขาอ้อของพระครูสังฆวิจารย์ฉัตรทันต์บรรพต (หลวงพ่อทองเฒ่า) ปรมาจารย์สำนักวัดเขาอ้อ และพระอาจารย์ปาน ปาลธัมโม วัดเขาอ้อ

    ลำดับงานปกครอง พ.ศ.2518 ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ พ.ศ.2542 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอควนขนุน

    ลำดับสมณศักดิ์ พ.ศ.2522 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูพิพิธวรกิจ

    พ.ศ.2546 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก ในราชทินนามเดิม

    แม้หลวงพ่อคล้อยจะได้รับการยอมรับยกย่องว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์สายใต้ที่มีวิทยาคมแก่กล้า มีอาวุโสสูงในสายเขาอ้อ ตักศิลาทางไสยเวทของเมืองไทย แต่ด้านการสอนสั่งตามหลักพระพุทธศาสนาก็ไม่ด้อยกว่าใคร

    ด้วยการสั่งสอนให้ทุกคนใช้สติระลึกก่อนกระทำ พูด คิด และมีสติสัมปชัญญะ รู้ตัวขณะทำ พูดและคิด เดินสายกลางและมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย

    ตลอดเวลากว่า 54 ปีที่ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดภูเขาทอง ได้พัฒนาวัดภูเขาทองอย่างต่อเนื่อง ก่อสร้างอาคารเสนาสนะมากมาย อาทิ ศาลาการเปรียญ เมรุ กุฏิ ซุ้มประตูและอุโบสถ ซึ่งสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ปัจจุบันมีสภาพทรุดโทรม หลวงพ่อคล้อยจึงมีดำริให้บูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงาม มั่นคง และแข็งแรง

    ด้านวัตถุมงคล หลวงพ่อคล้อยจัดสร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่นด้วยกัน อาทิ วัตถุมงคลรุ่นล่าสุด คือ รุ่นสัตตมงคล (7 รอบมหามงคล) ผ่านพิธีปลุกเสกสมบูรณ์ พร้อมเปิดให้บูชา กำลังได้รับความนิยมในหมู่ลูกศิษย์ลูกหา

    ในการจัดสร้างวัตถุมงคลทุกครั้งทุกรุ่นหลวงพ่อคล้อยจะได้ลงอักขระยันต์ลงบนชนวนมวลสารหลายอย่าง เช่น 'นะฤาชา' มีพุทธคุณดีทางด้านชื่อเสียงเกียรติยศ 'มหาอุด' มีพุทธคุณแคล้วคลาดปลอดภัย และอีกมากมายหลายอักขระยันต์ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีอานุภาพดีเด่นครบเครื่อง

    ที่ถือได้ว่าเป็นหัวใจของศาสตร์วิชาสายเขาอ้อ คือ การปลุกเสกในน้ำมันมหาว่านอันเข้มขลัง

    หลวงพ่อคล้อยมักได้รับนิมนต์ไปร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลในต่างจังหวัด กรุงเทพฯ และต่างประเทศหลายครั้ง เช่น มาเลเชียและสิงค์โปร์

    ภารกิจของท่านมีมากมายในรอบสัปดาห์รอบเดือน ท่านไม่เคยได้อยู่ประจำจังหวัด ต้องเดินทางไปสถานที่ต่างๆ ตามที่ได้รับนิมนต์ ยกเว้นวันพระท่านจะอยู่ประจำวัดไม่ไปใหน

    ทุกวันนี้หากไม่มีกิจนิมนต์ที่ต้องเดินทางไกล ผู้มีโอกาสไปวัดภูเขาทองจะเห็นภาพของพระเกจิร่างเล็กกวาดใบไม้ลานวัดหน้ากุฏิอยู่เสมอ ท่านบอกว่าอยากให้วัดมีความสะอาด มีความเป็นระเบียบ ใครมาวัดก็จะได้ดูร่มรื่นสบายใจ และถือว่าเป็นการออกกำลังกายไปในตัวด้วย

    ในบั้นปลายชีวิต ท่านมีสุขภาพจิตดีและมีอารมณ์ขัน เวลามีบรรดาญาติโยมมากราบนมัสการท่านก็เมตตาออกรับแขกทุกคน

    มักจะมีเรื่องเก่าๆ แฝงด้วยคติคำสอนเล่าให้ฟังตลอดเวลาที่สนทนา ก่อนญาติโยมจะลากลับ ท่านก็จะเรียกลูกศิษย์ที่คอยดูแลปรนนิบัติให้เข้าไปในกุฏิ เพื่อหยิบเอาวัตถุมงคลของท่านมาแจกให้ทุกครั้งคนละหนึ่งองค์ แล้วก็จะกล่าวกำชับว่า 'รูปของเรา ของแท้ จงเก็บรักษาไว้ให้ดีนะ อย่าให้ใครมาหลอกเอาไปล่ะ'

    พร้อมกับให้พรเพื่อความเป็นสิริมงคล ว่า 'คิดทำการสิ่งใดก็ขอให้สำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ'

    อ้างอิง มงคลข่าวสด
     
  14. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงพ่อหมุน ยสโร วัดเขาแดงตะวันออก

    ประวัติ หลวงพ่อหมุน ยสโร วัดเขาแดงตะวันออก

    "พระครูถาวรชัยคุณ" หรือ "หลวงพ่อหมุน ยสโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาแดงตะวันออก ต.พญาขัน อ.เมือง จ.พัทลุง เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดพัทลุงและภาคใต้

    หลวงพ่อหมุนเป็นพระนักปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีวัตรปฏิบัติน่ายกย่อง และมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับยาสมุนไพรแผนโบราณ เข้มขลังวิทยาคม เป็นที่นับถือเลื่อมใสของชาวเมืองพัทลุงทั่วไป

    อัตโนประวัติหลวงพ่อหมุน มีนามเดิมว่า หมุน วรรณศรี เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2440 ตรงกับวันเสาร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา (ร.ศ.116) ณ บ้านม่วง หมู่ที่ 6 ต.พญาขัน อ.เมือง จ.พัทลุง

    ในช่วงวัยเยาว์ เมื่ออายุ 6 ขวบ โยมบิดามารดาได้นำไปฝากกับวัดเขาแดง มีหลวงพ่อเอียด เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น เพื่อให้ ด.ช.หมุนได้ศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝนการวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความตั้งใจ กระทั่งอายุ 17 ปี ด.ช.หมุนจึงได้บรรพชา เมื่อวันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2457 ณ วัดปรางหมู่ใน อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระครูอินทโมฬี เป็นพระอุปัชฌาย์

    เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามเณรหมุนได้เข้าพิธีอุปสมบท เมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม 2460 ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ณ พัทธสีมา วัดควนกรวด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระอธิการรอด วัดควนกรวด เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ดิษฐ์ หรือพระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ วัดปากสระ ต.ชัยบุรี อ.เมืองพัทลุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า ยสโร

    หลังจากที่อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเขาแดงตะวันออกโดยตลอด ต่อมาในปี พ.ศ.2471 ท่านได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาแดง ในปี 2490

    พ.ศ.2525 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูถาวรชัยคุณ

    หลวงพ่อหมุนมีความรู้ในการฝึกฝนการวิปัสสนากัมมัฏฐาน และมีความสนใจในเรื่องวิทยาคมและไสยเวท โดยได้ไปเรียนวิชากับพระอาจารย์ทองเฒ่า อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ในขณะนั้น

    นอกจากนี้ หลวงพ่อหมุนยังมีความรู้ด้านภาษาบาลี สามารถอ่านหนังสือขอมได้อย่างชำนาญ มีความรู้เกี่ยวกับยาสมุนไพรแผนโบราณ จนเป็นที่เลื่องลือและเป็นที่เคารพนับถือของชาวจังหวัดพัทลุงและภาคใต้ ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาที่ได้สร้างความเจริญให้กับวัดและชุมชนอีกมากมาย ตลอดเวลาในการครองตนหลวงพ่อหมุนยึดหลักเมตตาธรรมส่งผลให้พระภิกษุ-สามเณรในปกครองไม่เคยปฏิบัติออกนอกลู่นอกทาง แต่ละปีจึงมีพระภิกษุ สามเณร มาจำพรรษาศึกษาเล่าเรียนที่วัดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก

    สำหรับหัวข้อธรรมะที่ท่านพร่ำสอนญาติโยมจะมุ่งเน้นให้รักษาศีล 5 อย่าดำรงชีวิตอยู่ด้วยความประมาท และเป็นผู้มีเมตตาธรรมไม่เบียดเบียนสรรพสัตว์ผู้เกิดแก่ เจ็บ ตาย ร่วมโลก หากกล่าวไปแล้วหลวงพ่อหมุนเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองพัทลุง ที่ได้รับการนิมนต์เข้าไปร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในจังหวัดต่างๆ ทั่วภาคใต้ ทั้งพัทลุง สงขลา สตูล ตรัง และปัตตานี โดยได้ร่วมพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลมาตั้งแต่ครั้งสมัยสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา

    สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อหมุนล้วนเป็นที่นิยมแสวงหาของบรรดานักสะสมพระเครื่องและผู้สนใจทั่วไป ซึ่งมีด้วยกันหลากหลายแบบ ทั้งเครื่องรางของขลังและพระเครื่อง เช่น พระลีลากำแพงเขย่ง พระปิดตา พระภควัม พระนางกวัก เหรียญรูปเหมือนใหญ่ เหรียญรูปเหมือนเล็ก พระเหมือนลอยองค์ พระเหมือนเนื้อว่าน พระรูปเหมือนผงสมเด็จ เสื้อยันต์ ตะกรุด ปลอกแขน-เอว ลูกอม เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม วัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ของหลวงพ่อหมุนปัจจุบันนับว่าหาได้ค่อนข้างยากและมีราคาเช่าหาบูชาสูง

    "หลวงพ่อหมุน ยสโร" ได้ละสังขารจากไปอย่างสงบเมื่อวันจันทร์ที่ 10 มกราคม 2526 เวลา 02.00 น. สิริรวมอายุ 86 ปี พรรษา 65 การจากไปของหลวงพ่อหมุนครั้งนี้ได้สร้างความเศร้าสลดมาสู่ญาติโยมที่ศรัทธาเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง

    แม้สังขารหลวงพ่อหมุนจะแตกดับไปนานหลายสิบปี แต่คุณงามความดียังคงปรากฏอยู่ในใจชาวเมืองพัทลุงอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย

    อ้างอิง อิทธิปราฏิหารย์
     
  15. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน


    หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน

    ประวัติหลวงพ่อคง วัดบ้านสวน (พระครูพิพัฒน์สิริธร สิริมโต)

    ประวัติ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จ.พัทลุง:ประวัติหลวงพ่อคง พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ซึ่งเป็นศิษย์สายวัดเขาอ้อ และพระเครื่องที่หลวงพ่อคง ปลุกเสกนั้น แล้วแล้วแต่มีประสบการณ์ทั้งสิ้น  วัดบ้านสวน ตำบลมะกอกเหนือ อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นอีกวัดหนึ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่กับวัดเขาอ้อ



     กล่าวได้ว่า"วัดบ้านสวน"เป็นวัดสาขาหนึ่งของสำนักวัดเขาอ้อ เนื่องเพราะอดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวนต่างล้วนเป็นศิษย์สำนักวัดเขาอ้อทั้งสิ้น

    ความเป็นมาของ"วัดบ้านสวน"กล่าวว่าได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2070 ตรงกับสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่า พระปรมาจารย์ผู้เฒ่าวัดเขาอ้อ พร้อมด้วยพุทธบริษัทเป็นผู้สร้างขึ้น และเจ้าอาวาสรูปแรกก็คงเป็น "ศิษย์" มาจากวัดเขาอ้อ

    ต่อมาเมื่อเสีย กรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 วัดบ้านสวนอาจรกร้างทำให้เอกสารหลักฐานต่างๆ สูญหายไป มาปรากฏแต่ในชั้นหลังภายหลังจากที่พ่อท่านสมภารนอโม ซึ่งได้เดินทางมาศึกษาวิชาในสำนักวัดเขาอ้อ ต่อมาได้ออกเดินธุดงค์ในละแวกบ้านเขาอ้อ ดอนศาลา บ้านสวน และเห็นว่าที่บริเวณบ้านสวนเป็นเนินสูง มีวัดเก่าแก่รกร้าง ควรที่จะบูรณะ จึงได้ปักกลดบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในบริเวณนั้น โดยเมื่อแรกได้สร้างกุฏิ ซึ่งมีปรากฏหลักฐานอยู่บริเวณทางทิศใต้ของวัด ภายหลังได้มีผู้ศรัทธาทำรั้วรอบขอบชิดเป็นขอบเขตของกุฏิไว้เป็นสัดส่วน หากปัจจุบันพระครูขันตยาภรณ์ (พรหม ขนฺติโก) เจ้าอาวาสวัดรูปปัจจุบัน ได้รื้อสร้างเป็นวิหารพ่อท่านสมภารนอโมเป็นที่ถาวรสถานแล้ว

    พ่อท่านสมภารนอโมได้ทำนุบำรุงเสนาสนะและโบราณวัตถุต่างๆ ภายในวัดให้มีสภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะโบสถ์ ทำด้วยไม้กลมแก่นของต้นหาด หลังคามุงจาก มีพระพุทธรูปองค์เล็กเป็นประธานอยู่ในโบสถ์ ต่อมาในสมัยพระฤทธิ์ อิสฺสโร ได้สร้างโบสถ์ใหม่คร่อม และหลังจากนั้นในสมัยพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้รื้อหลังที่คร่อม แล้วสร้างโบสถ์หลังใหม่ขนาดใหญ่ 2 ชั้น

    ในการสร้างอุโบสถใหม่ครั้งนี้ ได้มีการขุดลูกนิมิตเดิมที่ฝังไว้ ได้พบหัวนอโมในหลุมลูกนิมิตด้วย เป็นหัวนอโมสมัยกรุงศรีอยุธยา

    พ่อท่านสมภารนอโม มีสามเณรรูปหนึ่งคอยติดตามรับใช้ ครั้งหนึ่งได้ธุดงค์ไปจำพรรษาโปรดสัตว์ยังภูเขาดิน ปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้ของวัดบ้านสวน ใกล้บริเวณมีคลองอยู่เป็นสถานที่ลงล้างบาตรของพ่อท่านสมภารนอโม สามเณรได้นำบาตรลงล้างในคลองนี้ จึงเรียกติดปากชาวบ้านมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่า "คลองศาลาเณร"

    นอกจากนั้นยังมีเรื่องเล่าว่าพ่อท่านสมภารนอโมได้เดินทางไปร่วมพิธีฉลองพระ บรมธาตุวัดพะโคะ ระหว่างทางท่านได้ปักกลดที่บ้านท่าสำเภาใต้ (อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเขาดิน) มีผู้ศรัทธาหล่อพระพุทธรูปสมภารนอโมขึ้นไว้เป็นที่สักการะสืบมาจนถึง ปัจจุบันนี้

    เป็นที่เล่าลือกันว่า พ่อท่านสมภารนอโมเป็นผู้ที่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เก่งกล้าวิทยาคม สามารถสำแดงปาฏิหาริย์ต่างๆ ได้ แม้ว่าพ่อท่านสมภารนอโมจะมรณภาพไปแล้วก็ยังสำแดงปาฏิหาริย์ให้ได้เห็นกัน ความจริงในการมรณภาพของพ่อท่านสมภารนอโมนั้น ไม่มีใครพบเห็นร่างของท่าน เนื่องเพราะพ่อท่านสมภารนอโมได้หายไปจากวัดอย่างไร้ร่องรอย ชาวบ้านเล่าขานกันว่าท่าน "โละ" กล่าวคือ หายตัวกลายเป็นแสงสว่างพุ่งเป็นทางไปในท้องฟ้า เช่นเดียวกับอัตโนประวัติของหลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ตอนหนึ่งที่หายไปจากวัดพะโคะ

    อิทธิคุณปาฏิหาริย์ของพ่อท่านสมภารนอ โมยังเป็นที่กล่าวขานอยู่ถึงทุกวันนี้ ชาวบ้านสวนและบ้านใกล้เคียง เมื่อได้รับความเดือดร้อนเรื่องใด มักมาบนบานพ่อท่านสมภารนอโมให้ช่วยเหลือ ก็ได้สมหวังตามลำดับ


    หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน


    อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน "ศิษย์" สายสำนักวัดเขาอ้ออีกรูปหนึ่ง คือ พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) นับว่าเป็นที่น่าสนใจยิ่งอีกรูปหนึ่ง โดยหลวงพ่อคง วัดบ้านสวนเป็น "ศิษย์" สืบทอดวิชามาจากพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) วัดดอนศาลา

    ประวัติหลวงพ่อคง วัดบ้านสวน
    พระครูพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน เกิดเมื่อวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ ปีขาล ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2445 ที่บ้านทุ่งสำโรง หมู่ที่ 8 ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นบุตรของนายส่ง มากหนู และนางแย้ม มากหนู มีพี่น้องด้วยกัน 4 คน คือ
    1. นายปลอด มากหนู
    2. นายกล่ำ มากหนู
    3. นายกราย มากหนู
    4. พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต)
    หาก บิดามารดาได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่ครั้ง พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ยังเยาว์วัย จึงได้อยู่ในความอุปการะของนายชู เกิดนุ้ย และนางแก้ว เกิดนุ้ย ผู้เป็นญาติ ซึ่งเมื่อพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) มีอายุพอสมควรแก่การศึกษาเล่าเรียนแล้ว นายชู เกิดนุ้ย ได้นำไปฝากเป็นศิษย์พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) ที่วัดดอนศาลา โดยเมื่อแรกได้ศึกษากับพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) โดยตรง ต่อเมื่อทางวัดดอนศาลาได้จัดตั้งโรงเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงได้ศึกษาร่ำเรียนในโรงเรียนแห่งนั้นจนสำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดเมื่อปี พ.ศ. 2462

    ต่อมาเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดสุนทรวาส ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน มีพระครูกาชาด (แก้ว) วัดพิกุล ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) วัดดอนศาลา เป็นพระศีลาจารย์ บรรพชาแล้วไปจำพรรษาอยู่วัดดอนศาลา แล้ววันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2466 จึงได้บรรพชาเป็นพระภิกษุ ณ วัดดอนศาลา มีพระครูกาชาด (แก้ว) วัดพิกุลทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการหนู วัดเกาะยาง ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน เป็นพระกรรมวาจารย์

    หลวงพ่อคง ได้รับฉายาว่า "สิริมโต"

    หลวงพ่อคง วัดบ้านสวนอยู่จำพรรษาและศึกษาร่ำเรียนที่วัดดอนศาลา แต่ไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดพิกุลทองจนสอบนักธรรมตรีได้ในปีที่บวช หากแต่เพราะสุขภาพไม่เอื้ออำนวยให้ อีกทั้งครูสอนพระปริยัติธรรมสมัยนั้นหายากยิ่ง หลวงพ่อคง จึงเรียนพระปริยัติธรรมแต่เพียงเท่านั้น แต่ก็ได้ศึกษาวิชาไสยเวท ตามตำรับวัดเขาอ้อจากพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) อีกทั้งยังคงขวนขวายในการหาตำรับตำราไสยศาสตร์ของท่านอาจารย์เฒ่าวัดเขาอ้อ มาศึกษาเองเพิ่มเติม จนมีความรู้แตกฉานและทรงวิทยาคุณในวิชาแขนงนี้ จนในชั้นหลังได้เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือจากประชาชนทั่วไปทั้งในจังหวัด พัทลุงเอง หรือจังหวัดใกล้เคียง และเริ่มมีลูกศิษย์ลูกหามากขึ้นเป็นลำดับ ต่างเรียกว่า พระอาจารย์คงบ้าง "พ่อท่านคง"บ้าง แม้ในชั้นหลังจะมีสมณศักดิ์แล้วก็ยังคงเรียกขานเช่นเดิม

    หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน ไม่มีใครเรียกขานในนาม พระครูพิพัฒนสิริธรกันเลย

    กล่าวในหน้าที่การงานและการสร้างสาธารณประโยชน์ของพระครูพิพัฒนสิริธร (คง สิริมโต) นั้น ในปี พ.ศ. 2475 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน ในปี พ.ศ. 2482 พ่อท่านคง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมในพระครูกัลยาณปรากรมนิวิฎฐ์ เจ้าคณะอำเภอควนขนุน ถึงปี พ.ศ. 2487 พ่อท่านคง ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน

    ในปีพ.ศ.2491 หลวงพ่อคง ได้เลื่อนสมณศักดิ์จากพระใบฎีกามาเป็นพระครูชั้นประทวน ที่พระครูคง สิริมโต ปีรุ่งขึ้นพ.ศ.2492 พระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา และเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ มรณภาพลงเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2491 ทางเจ้าคณะอำเภอควนขนุนจึงมอบหมายให้ท่านรักษาการแทนเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลมะกอกเหนือในปีพ.ศ.2493 อีก 3 ปีถัดมา คือ ในปีพ.ศ.2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตตำบลมะกอกเหนือ และยังได้รับมอบหมายจากเจ้าคณะอำเภอควนขนุนให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในพื้นที่ ตำบลใกล้เคียง เช่น ตำบลปันแต เป็นต้น จากบันทึกหลักฐานในการทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ของพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ว่า ได้ทำหน้าที่บรรพชาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2496 และครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2517 ก่อนหน้าที่จะมรณภาพ 5 วัน ได้ทำการอุปสมบทเป็นจำนวนทั้งสิ้น 2,387 รูป ปัจจุบันลัทธิวิหาริกของพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ที่ยังอยู่ในสมณเพศประมาณ 30 รูป ซึ่งได้เจริญก้าวหน้าในหน้าที่สงฆ์ และสมณศักดิ์ก็มาก

    ต่อเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2500 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรที่ "พระครูพิพัฒน์สิริธร"

    ทางด้านการพัฒนาก่อสร้างสาธารณประโยชน์ของ พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) นับตั้งแต่เมื่อชาวบ้านได้เดินทางไปยังวัดดอนศาลา เพื่อขอพระภิกษุไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านสวนที่ว่างลงต่อพระครูสิทธิ ยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) ที่ได้ให้ชาวบ้านเลือกพระภิกษุภายในวัดดอนศาลา ซึ่งขณะนั้นมีหลายรูปด้วยกันที่มีคุณวุฒิ วัยวุฒิ พร้อมจะเป็นเจ้าอาวาสวัดได้ ซึ่งชาวบ้านได้เลือกพระภิกษุคง สิริมโต เนื่องเพราะว่ามีอุปนิสัยใจคอเยือกเย็น มีอัธยาศัยดี มีบุคลิกลักษณะเหมาะสม เป็นผู้เอาการเอางาน สามารถที่จะพัฒนาวัดให้เจริญได้ ประกอบกับพระภิกษุคง สิริมโต เป็นผู้เคร่งครัดในการปฏิบัติพระธรรมวินัย จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านมาก่อน

    เมื่อหลวงพ่อคง มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดบ้านสวนแล้วนั้น นอกเหนือจากการปกครองคณะสงฆ์ของวัด พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ยังได้ร่วมมือร่วมใจกับชาวบ้านบ้านสวนในการพัฒนาวัด และสร้างสาธารณประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนา และชาวบ้านทั้งหลาย

    โดยในปีแรกที่หลวงพ่อคง ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัด ได้จัดให้มีการศึกษาหนังสือไทยแก่เด็กชาวบ้านขึ้นภายในวัด โดยอาศัยศาลาโรงธรรมของวัดเป็นที่ศึกษาแทนโรงเรียน ให้พระสงฆ์ทำหน้าที่เป็นครูสอน การศึกษาได้เจริญเป็นลำดับมาจนภายหลังได้ก่อสร้างเป็นโรงเรียนประชาบาล ชื่อโรงเรียนประชาบาลตำบลมะกอกเหนือ 2 (วัดบ้านสวนคงวิทยาคาร) เปิดสอนในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6

    ในปีพ.ศ.2477 ได้จัดตั้งสำนักเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้น โดยในชั้นแรกพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้ทำหน้าที่สอนเอง ทั้งนี้ด้วยสมัยนั้นหาผู้สอนพระปริยัติธรรมได้ยากมาก ต่อเมื่อได้ครูสอนแล้วหลวงพ่อคงท่านจึงได้หยุดสอนหนังสือ

    ในปีพ.ศ.2479 เมื่อมีพระภิกษุจำพรรษาที่วัดเพิ่มขึ้น ทำให้ไม่มีกุฏิเพียงพอ "หลวงพ่อคง"จึงได้สร้างกุฏิขึ้น 1 หลัง มี 3 ห้อง และในปีพ.ศ.2482 ได้สร้างเพิ่มอีก 1 หลัง ปีพ.ศ.2484 ได้สร้างอาคารเรียนโรงเรียนประชาบาลตำบลมะกอกเหนือ 2 (โรงเรียนวัดบ้านสวนคงวิทยาคาร) ซึ่งในการจัดสร้างครั้งนี้พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้ขออนุญาตทางราชการทำการตัดไม้ในป่ามาเลื่อยเป็นแผ่นกระดานสำหรับทำพื้น และฝา และในปีพ.ศ.2486 ได้จัดหาทุนสร้างโต๊ะ เก้าอี้สำหรับครู 2 ชุด โต๊ะและม้านั่งสำหรับนักเรียน 30 ชุด กระดานดำ 3 แผ่น มอบให้กับทางโรงเรียน

    พ.ศ.2488 ได้สร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นอีกหนึ่งหลัง เป็นกุฏิไม้ใต้ถุนสูง ต่อมาในปีพ.ศ.2490 เมื่อโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรมวัดบ้านสวน มีพระภิกษุสามเณรมาศึกษาเพิ่มเป็นจำนวนมาก อาคารเรียนไม่เพียงพอจึงได้สร้างขึ้น 1 หลัง เป็นอาคาร 2 ชั้น พ.ศ.2492 ได้สร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มอีก 1 หลัง เป็นกุฏิไม้ใต้ถุนสูง

    ในปี พ.ศ. 2493 ได้สร้างบ่อน้ำเพิ่มขึ้น 1 บ่อ จากเดิมที่มีอยู่เพียงบ่อเดียว เพื่อสาธารณ ประโยชน์ทั้งวัดและชาวบ้านได้ใช้ในยามหน้าแล้ง พอปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2494 ได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างถนนเข้าสู่วัด โดยเชื่อมต่อกับถนนใหญ่สายควนขนุน-ปากคลอง โดยได้ทำถนนพร้อมกัน 2 สาย คือ สายทางทิศตะวันออก และสายทางทิศตะวันตกของวัด ระยะทางของถนนที่สร้างยาวสายละ 400 เมตร ถึงปี พ.ศ. 2496 ได้ร่วมกับชาวบ้านตัดถนนขึ้นอีก 2 สาย จากวัดบ้านสวนตัดไปทางทิศใต้ผ่านหมู่บ้านในหมู่ที่ 5 และ 6 ตำบลมะกอกเหนือไปสู่วัดแจ้ง (คอกวัว) ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ส่วนอีกสายหนึ่งตัดไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านหมู่ที่ 6 ตำบลมะกอกเหนือ เข้าหมู่ที่ 3 ตำบลโตนดด้วน

    พ.ศ.2497 ได้สร้างกุฏิขึ้นอีก 1 หลัง เป็นกุฏิ 2 ชั้น แบบครึ่งตึกครึ่งไม้ เพื่อใช้เป็นกุฏิสำหรับเจ้าอาวาสวัด และพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) หลวงพ่อคง วัดบ้านสวนได้พำนักที่กุฏิหลังนี้ตราบจนมรณภาพ ครั้นปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2498 พระพุทธิธรรมธาดา เจ้าคณะอำเภอควนขนุนได้ชักชวนพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร เพื่อฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน เมื่อออกพรรษาแล้วจึงได้เดินทางกลับยังวัดบ้านสวน และได้นำความรู้ด้านวิปัสสนากรรมฐานมาฝึกปฏิบัติให้กับชาวบ้าน หากแต่ต่อมาเมื่อมีภาระทางการบริหารคณะสงฆ์ และการพัฒนาวัดด้านอื่นๆ มากขึ้นจึงได้งดไปโดยปริยาย

    ในปี พ.ศ. 2499 พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้เดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถาน ณ ประเทศอินเดีย ได้เดินทางเป็นคณะพร้อมด้วยพระพุทธิธรรมธาดา เจ้าคณะอำเภอควนขนุน เป็นเวลาเดือนเศษ ตอนขากลับได้นำต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่เกิดสืบเนื่องจากต้นเดิมมาด้วย 2 ต้น ซึ่งได้นำไปปลูกไว้บนไหล่เขาวัดภูเขาทอง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง 1 ต้น ได้ทำพิธีปลูกเมื่อวันที่ 8-10 กรกฎาคม พ.ศ. 2500 ส่วนอีกต้นนั้นได้นำไปปลูกไว้ที่วัดในประเทศมาเลเซีย

    ในปี พ.ศ. 2501 ศิษยานุศิษย์ และประชาชนที่เคารพนับถือได้ร่วมใจกันจัดงานทำบุญและฉลองพัดยศ เพื่อแสดงมุทิตาจิตในการที่พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 แต่งานได้จัดเมื่อวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2501 พร้อมกับทำบุญอายุ ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมกันบริจาคเงินมอบให้กับพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) เพื่อใช้จ่ายในการสาธารณประโยชน์ ซึ่งท่านได้ปรารภจะนำเงินดังกล่าวไปสร้างกุฏิถวายวัดคูหา สวรรค์ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง เพื่อเป็นอนุสรณ์ คณะลูกศิษย์ต่างก็มีความยินดีจึงได้ร่วมสร้างกุฏิขึ้น 1 หลัง ได้ตั้งชื่อว่า "กุฏิพิพัฒน์อนุ สรณ์" ทางวัดคูหาสวรรค์ได้จัดเป็นที่พำนักของเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง

    พ.ศ. 2504 พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้สร้างหอระฆังขึ้น 1 หอ โดยได้รับบริจาคทุนทรัพย์จากนายแพทย์สวัสดิ์ บุณยะกุล และนางกันยา บุณยะกุล ถึงปี พ.ศ. 2505 ก็ได้สร้างถนนอีก 1 สาย จากวัดบ้านสวนไปสู่บ้านไสคำ หมู่ที่ 1 ตำบลโตนดด้วน ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ในปี พ.ศ. 2506 ได้สร้างศาลาการเปรียญขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา ปีเดียวกันนั้นยังได้สร้างอาคารเรียนของโรงเรียนบ้านสวนคงพิทยาคารเพิ่มอีก 1 หลัง ด้วยอาคารเรียนไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน

    ในปี พ.ศ. 2508 ได้จัดสร้างเชิงตะกอนเผาศพพร้อมศาลาสำหรับทำพิธี 1 หลัง ปี พ.ศ. 2512 ได้ดำเนินการสร้างระบบประปาขึ้นใช้ภายในวัด และโรงเรียนบ้านสวนคงพิทยาคาร และสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มอีก 1 หลัง ปีรุ่งขึ้น พ.ศ. 2513 ได้ติดต่อให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดพัทลุง ดำเนินการติดตั้งและเดินสายไฟเข้าวัดบ้านสวน ตลอดจนย่านชุมชนในบริเวณใกล้วัดด้วย

    ในปี พ.ศ.2513 พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) เห็นว่าอุโบสถวัดซึ่งสร้างด้วยไม้ล้วน และสร้างมาเนิ่นนานแล้วได้ชำรุดทรุดโทรมจนยากต่อการบูรณะ จึงคิดที่จะสร้างขึ้นใหม่ และได้ปรึกษากับอาจารย์ชุม ไชยคีรี ศิษย์ฆราวาสของท่าน พร้อมด้วยนายแก้ว พ่วงคง และนายเพ็ง พ่วงคง ช่างก่อสร้างที่มีฝีมือ เพื่อดำเนินการสร้างอุโบสถหลังใหม่ โดยอุโบสถหลังใหม่ที่สร้างขึ้นเป็นอาคาร 2 ชั้น เหตุที่พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) สร้างอุโบสถ 2 ชั้น เพื่อเป็นการประหยัด เนื่องเพราะสร้างเพียงอาคารเดียวหากยังได้ศาลาการเปรียญ 1 หลัง หรือโรงเรียนพระปริยัติธรรม 1 หลัง โดยใช้อาคารชั้นล่างเป็นสถานที่นั่นเอง อุโบสถหลังใหม่ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2513 และประกอบพิธียกช่อฟ้าไปเรียบร้อยเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2515 หากอุโบสถก็ยังคงก่อสร้างไม่แล้วเสร็จเรียบร้อย ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายที่อุโบสถหลังนี้มาเสร็จสิ้นสมบูรณ์ต่อเมื่อพระครู พิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) มรณภาพไปแล้ว โดยได้มรณภาพเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ.2517
    แต่ก่อนที่ท่านจะมรณภาพในปี พ.ศ.2516 พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากทางโรงเรียนได้ขยายชั้นเรียนจากประถมที่ 1-4 ไปจนถึงประถมปีที่ 6 และยังได้สร้างกุฏิเพิ่มอีก 1 หลัง ในปี พ.ศ. 2517 แต่ทั้ง 2 สิ่งที่ท่านดำเนินการล้วนมาเสร็จสิ้นภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว

    มีเรื่องน่าบันทึกก่อนวันมรณภาพของหลวงพ่อคง วัดบ้านสวน หรือ พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) กล่าวคือ ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2517 พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้นำพระภิกษุ สามเณร ศิษย์วัดและญาติโยม ทำการปักรั้วขยายเขตระหว่างวัดกับโรงเรียนบ้านสวนคงพิทยาคารเสียใหม่ โดยขณะปักรั้วเขตกั้นนั้น สายฝนได้โปรยปรายมาไม่ขาดระยะ หากท่านก็ยังคงปักรั้วเขตท่ามกลางสายฝนจนแล้วเสร็จ
    หากระหว่างนั้น ครูประทิน เดชสง ครูโรงเรียนวัดบ้านสวนคงพิทยาคาร ได้ผ่านมาทางวัดพบเห็นเกรงว่าท่านจะเจ็บไข้ไม่สบาย จึงได้กล่าวกับท่านว่า "หลวงพ่อคง ทำงานกลางสายฝนนานๆ อย่างนี้ไม่กลัวเป็นหวัดหรือ เข้าในที่พักเสียดีกว่า" หากพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้ตอบไปว่า "ไม่พรือ ไม่ใช่ตัวคนทำด้วยดินนี่ ที่จะละลายไปกับน้ำได้ เรามาปักเขตรั้วเพื่อแบ่งปันสมบัติให้พวกเธอ เมื่อเราตายแล้วไม่มีใครจะแบ่งปันสมบัติให้พวกเธออีก"

    ครั้นวันรุ่ง วันที่ 21 กันยายน ท่านได้บอกว่า เมื่อคืนท่านเป็นไข้หวัดตลอดคืน วันนี้ก็ยังไม่หาย หากวันนี้ยังมีการประชุมกรรมการวัดในเรื่องงานทำบุญอายุนายเชน คำหนูอินทร์ ครูใหญ่โรงเรียนวัดบ้านสวนคงพิทยาคารซึ่งครบเกษียณอายุราชการ และเรื่องจัดงานรับคณะกฐินที่จะนำมาทอดในวันที่ 5 ตุลาคม ซึ่งประชุมกันในเวลา 13.00-16.00 น. และพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้นั่งเป็นประธานจนประชุมเสร็จทั้งที่ท่านอาพาธอยู่

    วันที่ 22 กันยายน อาการของท่านกำเริบกว่าวันก่อนเล็กน้อย ทว่ายังฉันเช้าและเพลได้ ทั้งยังสนทนากับผู้มาเยี่ยมได้ แต่ตกบ่ายเมื่อลูกศิษย์เห็นว่าอาการอาพาธหาทุเลาลงไม่ จึงได้ตามนายแพทย์ปรากรมมารักษา ได้ถวายยาฉีด และสั่งว่าวันพรุ่งนี้ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้นำท่านไปรักษาที่โรงพยาบาล

    วันที่ 23 กันยายน พระพิณ และนายประเสริฐ ผู้พยาบาลท่านได้ไปตามอาจารย์ชุม ไชยคีรี พร้อมทั้งเล่าอาการป่วยของพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ให้ฟัง เมื่อคืนมีอาการไข้ขึ้นสูง ละมีอาการหอบไอด้วยนอนไม่หลับทั้งคืน อาจารย์ชุมจึงรีบไปดูอาการ พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) บอกว่าท่านเพลียมาก และนอนไม่หลับแล้วก็ไม่พูดอะไรอีก อาจารย์ชุมพร้อมด้วยผู้ดูแลท่าน และญาติโยมที่กำลังเฝ้าดูอาการของท่านในขณะนั้น จึงนำท่านไปรักษาที่โรงพยาบาลพัทลุง เมื่อเวลา 07.00 น.

    กระทั่งเวลา 10.45 น. พระครูพิพัฒน์สิริธร(คง สิริมโต) ก็มรณภาพลงด้วยอาการหัวใจวายอย่างปัจจุบันด้วยอาการสงบ

    กล่าวสำหรับวัตถุมงคลที่พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) ได้สร้างขึ้นมานั้น ในปี พ.ศ. 2483 ได้สร้างพระกลีบบัวเนื้อเงินยวงขึ้นมา โดยก่อนหน้านั้นชาวบ้านได้ขุดพบก้อนเนื้อเงินยวงก้อนใหญ่ จึงได้นำมาถวายพระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) และเห็นว่าเป็นเนื้อเงินยวงศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่มานานจึงได้นำมาหลอมรวมกับ ชนวนศักดิ์สิทธิ์ และตะกรุดของคณาจารย์สายเขาอ้อ เทหล่อพระเครื่องพิมพ์กลีบบัวขึ้นมาจำนวนประมาณ 1,000 องค์

    พุทธลักษณะเป็นพระเครื่องหล่อพิมพ์กลีบบัว

    ด้านหน้า ตรงกลางเป็นรูปองค์พระพุทธปฏิมากรปางสมาธิ ประทับบนอาสนะบัวคว่ำบัวหงาย รอบองค์พระเป็นเส้นรัศมี ขอบข้างยกเป็นเส้นลวด

    ด้านหลัง ตรงกลางเป็นอักขระขอม 3 บรรทัด ล่างสุดเป็นอักษรย่อ "ว.บ.ส." หมายถึง วัดบ้านสวน

    ใน ปี พ.ศ.2511 ขณะนั้นบ้านเมืองกำลังถูกคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต) หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน จึงได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นมาเพื่อนำไปแจกจ่ายแก่บรรดาทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ และประชาชน โดยจัดสร้างพระปิดตานอโมขึ้นมาเป็นพระปิดตารูปทรงกลีบบัว หรือเล็บมือ ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระภควัมบดี ยกพระหัตถ์ขึ้นปิดพระพักตร์ ด้านหลังพื้นเรียบ

    มวลสารที่นำมาสร้างพระเครื่องในครั้งนี้ ประกอบด้วยผงวิเศษ ว่านต่างๆ ดังนี้

    กรุสุพรรณบุรี-ผงพระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง ผงพระขุนแผนไข่ผ่าซีก ผงพระเนื้อชินกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

    กรุสุโขทัย-พระเนื้อชิน พระเนื้อดิน กรุวัดมหาธาตุ พระผงหลวงพ่อโต วัดป่ามะม่วง ผงพระกรุวัดช้างล้อม ผงระกรุวัดป่ากล้วย ผงพระนางพญาเสน่ห์จันทน์ ผงพระกรุวัดพระเชตุพน ฯลฯ


    พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต)




    กรุพิษณุโลก-ผงพระเนื้อดินเผา วัดสะตือ ผงพระเนื้อดินเผา วัดท่ามะปราง ผงพระเนื้อดินเผา วัดจุฬามณี ผงพระกรุวัดชีปะขาว ผงพระอาจารย์แปลก วัดราชบูรณะ ผงพระกรุวัดนางพญา ผงพระกรุวัดอรัญญิก ผงพระพุทธรูปที่ชำรุด วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

    กรุนครศรีธรรมราช-ผงพระคัมภีร์พระไตรปิฎก วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ผงตะไคร่พระเจดีย์ทุกองค์ในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ผงพระหักกรุวัดท่าเรือ ผงอิฐพระเจดีย์วัดท่าเรือ ผงพระเนื้อดินเผากรุวัดนางตรา ผงวัดท้าวโคตร ผงว่าน 108 ของพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช

    กรุเพชรบูรณ์-ผงดินพระหัก เจ้าพ่อหลักเมือง ผงดินพระป่นวัดเสือ ผงดินหักป่นวัดช้างเผือก ผงดินพระหักป่นวัดพระแก้ว ผงดินพระหักป่นวัดมหาธาตุ

    กรุพัทลุง-ผง ดินดิบสมัยศรีวิชัย ถ้ำคูหาสวรรค์ ผงอิทธิเจพระครูสิทธิยาภิรัต (เอียด ปทุมสโร) วัดดอนศาลา ผงพระหักป่นวัดเขาเจียก ผงดินท้องถ้ำเขาไชยสน ผงดินดิบสมัยศรีวิชัยถ้ำอกทะลุ

    กรุลำพูน-ผงพระรอดมหาวัน ผงพระเปิม ผงพระสาม หรือพระตรีกาย

    และยังมีผงพระกรุอื่นๆ อีกจำนวนมาก ตลอดจนว่านหลายชนิด เช่น

    ว่านจำพวกเมตตามหานิยม และมหาลาภ ว่านเสน่ห์จันทน์ขาว ว่านเสน่ห์จันทน์แดง ว่านนางคุ้ม ว่านนางกวัก ว่านเศรษฐี ว่านนางล้อม ว่านโบตั๋น ว่านขอทอง ว่านขอเงิน ว่านขอลาภ ว่านน้ำเต้าทอง ว่านโป๊ยเซียน ฯลฯ

    ว่านจำพวก คงกระพันชาตรี ว่านสามพันตึง ว่านพระยาดาบหัก ว่านหอกหัก ว่านคางคก ว่านมหาเมฆ ว่านมหานิล ว่านไพลดำ ว่านสบู่เลือด ว่านเพชรตาหลีก ว่านมหากาฬ ว่านมหาปราบ ว่านขมิ้นดำ ว่านสากเหล็ก ว่านเขาควาย ว่านพระเจ้าห้าพะองค์ ว่านหนุมาน ว่านประกายเหล็ก ว่านกระชายดำ ว่านกำแพงเพชรเจ็ดชั้น

    ว่านจำพวกกำลังมาก ว่านพญาราชสีห์ ว่านเสือ ว่านม้า ว่านนิลล้อม ว่านพญาช้างสาร ว่านพญาช้างชัก ว่านถอนโมกขศักดิ์

    ว่านจำพวกการสิทธิ์เทวดารักษา ว่านพระจันทร์ ว่านพระอาทิตย์ ว่านพระมเหศวร ว่านพระนารายณ์ ว่านพระนางมาควดี ว่านตาลปัตรฤาษี ว่านแสงไฟ ว่านกายสิทธิ์ ว่านพญานาค ว่านพญาหมอก ว่านไมยราบ ว่านพระฤาษีประสมยา ว่านปู่เจ้าสมิงพราย ว่านปู่เจ้าเขาเขียว

    ว่านที่นำมาเมื่อเวลาไปเอาต้องดูฤกษ์ยาม และต้องทำพิธีบวงสรวงสังเวยก่อน จึงนำมาใช้ได้

    น้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ที่นำมาประสมว่านยา และมวลสาร

    1. น้ำพระพุทธมนต์ในพระราชวังหลวง 170 ปี

    2. น้ำพระพุทธมนต์ทำสังคายนา 25 พุทธศตวรรษ โดยพระเถระทั่วโลก 2,500 รูป ประเทศพม่า

    3. น้ำพระพุทธมนต์ 100 ปี วัดบวรนิเวศวิหาร

    4. น้ำพระพุทธมนต์ 25 พุทธศตวรรษท้องสนามหลวง

    5. น้ำพระพุทธมนต์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่

    6. น้ำพระพุทธมนต์ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    7. น้ำในสระศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ทั่วประเทศ มีสระแก้ว สระคง สระยมนา สระเกตุ สระจันทร์ สระพังเงิน สระพังทอง สระศักดิ์สิทธิ์จังหวัดเพชรบุรี

    8. น้ำมนต์หลวงพ่อเลื่อน วัดสามแก้ว จังหวัดชุมพร พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

    9. น้ำมนต์หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี

    10. น้ำในมหานที 9 สาย

    11. น้ำในแม่น้ำ 108 บาง ทั่วประเทศ

    มวลสารเหล่านี้นำมาบดผสมคลุกเคล้า และกดพิมพ์พระเมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้พระพิมพ์รวมทั้งหมด 100,000 องค์ แล้วได้จัดพิธีพุทธาภิเษก และปลุกเสกโดยพระเกจิอาจารย์สายวัดเขาอ้อ เช่น พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต)หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน หลวงพ่อหมุน วัดเขาแดงตะวันออก พระอาจารย์เล็ก วัดประดู่เรียง พระอาจารย์ปาล วัดเขาอ้อ อาจารย์นำ วัดดอนศาลา พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา พ่อท่านคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน พระไชย วัดบ้านสวน พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พระครูกาชาด วัดอินทราวาส

    นอกจากนั้นยังมีศิษย์ฆราวาสสายวัดเขาอ้อ เช่น อาจารย์ชุม ไชยคีรี นายแจ้ง นายแคล้ว ฯลฯ

    ได้ปลุกเสกไปจนถึงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2511 รวมระยะเวลา 33 วัน

    การสร้างวัตถุมงคล หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน เริ่มสร้างวัตถุมงคล ตั้งแต่ปี พ.ศ.2483-2516
         หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน ถือเป็นศิษย์สายสำนักเขาอ้อ วัตถุมงคลที่สำคัญมีดังนี้
         พระกลีบบัวเนื้อเงินยวง สร้างเมื่อ พ.ศ.2483
         พระปิดตานอโม เนื้อโลหะผสม และ เนื้อผงผสมว่านสบู่เลือด
         พระรูปเหมือนพระอาจารย์ทองเฒ่า เนื้อผงผสมว่านสบู่เลือด
         พระยอดขุนพล เนื้อผงผสมว่าน
         รูปเหมือน 2 หน้า หน้าหนึ่งรูปอาจารย์ทองเฒ่า อีกหน้าหนึ่งรูปหลวงพ่อคง
         พระขุนแผนออกศึก เนื้อผงผสมว่าน
         พระสิวลี เนื้อผงผสมว่าน
         เหรียญหลวงพ่อคง วัดบ้านสวน รุ่นแรก พ.ศ.2516
         ตะกรุด ลูกอม ผ้ายันต์ และอีกมากมาย
    *******************************************
     
  16. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร

    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร หรือ พระครูสิริวัฒนการ วัดดอนศาลา ยอดพระเกจิอาจารย์ เมืองพัทลุง

    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร หรือ พระครูสิริวัฒนการ วัดดอนศาลา
    "พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร" หรือ พระครูสิริวัฒนการ อดีตรองเจ้าอาวาส วัดดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ยอดพระเกจิอาจารย์ ศิษย์เอกพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม พระอาจารย์แห่งสำนักเขาอ้อ

    ประวัติพระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา
    อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า ศรีเงิน ชูศรี เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2472 ที่บ้านไผ่รอบ หมู่ที่ 7 ต.ปันแต อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 5 คน โยมบิดา-มารดา คือ นายสุดและนางเฟื่อง ชูศรี

    ในช่วงวัยเด็ก มารดาของท่านได้เสียชีวิตตั้งแต่ท่านอายุเพียงแค่ 7 ขวบ ภายหลังจบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนวัดดอนศาลา ได้ลาออกมาช่วยบิดาประกอบอาชีพ จนเมื่ออายุ 17 ปี บิดาได้เสียชีวิตไปอีกคน

    กระทั่งเมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ จึงได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดดอนศาลา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2493 โดยมีพระพุทธิธรรมธาดา เจ้าอาวาสวัดสุวรรณวิชัย และรองเจ้าคณะจังหวัดพัทลุง เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูกรุณานุรักษ์ เจ้าคณะอำเภอควนขนุน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูกาชาด (บุญทอง) เจ้าอาวาสวัดดอนศาลา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า อาภาธโร

    พระอาจารย์ศรีเงิน ภายหลังอุปสมบทท่านได้อยู่จำพรรษาอยู่ที่ วัดดอนศาลา พร้อมกับตั้งใจศึกษาด้านพระปริยัติธรรมอย่างมุ่งมั่น สามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรี โท และ นักธรรมชั้นเอก ตามลำดับ

    ด้านศาสนกิจนอกจาก พระอาจารย์ศรีเงิน จะเป็นพระครูสอนนักธรรมแก่พระภิกษุ-สามเณรที่ วัดดอนศาลาแล้ว พระอาจารย์ศรีเงินท่านยังเป็นครูสอนธรรมศึกษาจริยธรรมแก่นักเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ที่ วัดสุวรรณวิชัย อ.ควนขนุน ได้อุปถัมภ์โรงเรียนวัดดอนศาลานำวิทยาด้วย โดยได้จัดหาอุปกรณ์การเรียนการสอนให้กับโรงเรียน สร้างสนามกีฬา สร้างศาลาอเนกประสงค์ และพระอาจารย์ศรีเงินยังเป็นอาจารย์สอนพิเศษ วิชาธรรมศึกษา จริยธรรมศึกษา ให้กับนักเรียนที่เข้าสอบธรรมศึกษาในสนามหลวงทุกปี ตั้งแต่ธรรมศึกษาชั้นตรีถึงชั้นเอก พร้อมทั้งได้ให้ทุนศึกษาแก่นักเรียนที่มีอุปนิสัยดีและตั้งใจเรียนเป็นประจำ

    ด้านวิทยาคม พระอาจารย์ศรีเงินท่านได้ศึกษาร่ำเรียนวิชาสายเขาอ้อกับพระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม อดีตเจ้าอาวาสวัดเขาอ้อ และพระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ นอกจากนี้ ท่านได้ศึกษาความรู้ทางด้านการแพทย์แผนโบราณกับพระครูพิพัฒน์สิริธร หรือ พระอาจารย์คง สิริมโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านสวน และได้ร่ำเรียนวิชากับอาจารย์เปรม นาคสิทธิ์ โดยเฉพาะกับพระอาจารย์ปาล นับได้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาสายตรงจาก พระอาจารย์ปาล ปาลธัมโม มากที่สุดท่านหนึ่ง

    ด้วยระหว่างที่พระอาจารย์ศรีเงินเป็นพระครูสอนพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุและสามเณรที่วัดเขาอ้อ นั้น พระอาจารย์ศรีเงินได้เรียนวิชากับพระอาจารย์ปาลมาโดยตลอด

    เมื่อพระอาจารย์ปาลชราภาพ พระอาจารย์ศรีเงินย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดดอนศาลา ท่านก็ทำหน้าที่ดูแลปรนนิบัติอย่างใกล้ชิดเป็นเวลาหลายปี และเมื่อพระอาจารย์ปาลมรณภาพลง พระอาจารย์ศรีเงินก็เป็นแม่งานใหญ่ในการจัดพิธีศพ

    สำหรับวัตถุมงคลของพระอาจารย์ศรีเงิน ล้วนแต่เป็นที่นิยมของบรรดานักสะสมพระเครื่องและผู้สนใจอย่างแพร่หลายทั้งใน จังหวัดและทั่วประเทศ เนื่องจากมีพุทธคุณสูงทั้งด้านแคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม

    อย่างไรก็ตาม พระอาจารย์ศรีเงิน เคยได้เปิดกรุวัตถุมงคลของท่านส่วนหนึ่ง เมื่อประมาณปี 2536 เพื่อสมนาคุณให้กับผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนสร้างศาลาอเนกประสงค์ (ศาลาสิริวัฒนการ) โรงเรียนวัดดอนศาลา ซึ่งมีหลายรุ่นด้วยกัน เช่น พระสมเด็จเนื้อนวโลหะ ปี 2524 พระกลีบบัวผงว่านยา ปี 2526 พระกริ่งสิริวัฒน์ รุ่นฉลองสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศ ปี 2534 พระผงว่านสิริวัฒน์ พระปิดตาเนื้อชินตะกั่ว พระของขวัญเนื้อผงว่านยาอาจารย์นำ ปี 2513 และตะกรุดต่างๆ แต่ปัจจุบันวัตถุมงคล พระเครื่อง พระอาจารย์ศรีเงินเหล่านี้ล้วนเสาะแสวงหาได้ยากยิ่งนัก

    พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลาได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นสัญญาบัตร ในราชทินนามพระครูสิริวัฒนการ และได้สร้างพระกริ่งสิริวัฒน์ รุ่นฉลองสมณศักดิ์ สัญญาบัตรพัดยศ เมื่อปี 2534

    พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา มรณภาพอย่างสงบ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2543 สิริอายุได้ 72 ปี พรรษา 51

    ตลอดชีวิต พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา อาศัยในร่มเงาพระพุทธศาสนา ประกอบคุณงามความดีด้วยจิตใจที่ผ่องแผ้ว แม้ว่าพระอาจารย์ศรีเงินจะละสังขารลาโลกไปแล้วก็ตาม แต่คุณงามความดีที่ได้ประกอบศาสนกิจมาตลอดชีวิต จะเป็นที่จดจำของชาวพัทลุงอย่างมิลืมเลือน

    อ้างอิง ข่าวสด
     
  17. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ

    พระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ (ดิษฐ์ ติสฺสโร) เป็นพระเกจิด้านไสยศาสตร์รูปหนึ่งของจังหวัดพัทลุง
    เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พศ.๒๔๒๑ ตรงกับวันพฤหัสบดี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู
    <O:pเป็นบุตรนายแก้ว นางนุ้ย หนูแทน เกิดที่บ้านดอนตาสังข์ ต.ปรางหมู่ อ.เมือง พัทลุง
    ชีวิตในปฐมวัยไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก แต่สืบทราบว่าท่านเป็นศิษย์ของอาจารย์รอด
    วัดควนกรวด ซึ่งเป็นวัดใกล้บ้าน และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี
    <O:pที่วัดปรางหมู่ใน มีฉายาว่า ดิสฺสโร มีพระครูอินทโมฬีฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ <O:p</O:p
    ท่านได้จำพรรษาที่วัดควนกรวดประมาณ ๕ พรรษา จนถึงปี พศ.๒๔๔๖ ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปากสระว่างลง <O:p</O:p
    ชาวบ้านได้นิมนต์ท่านมารับตำแหน่งสมภาร และจำพรรษาที่วัดนี้ตลอดมา ปี พศ.๒๔๘๙ <O:p</O:p
    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูเนกขัมมาภิมณฑ์ เจ้าคณะตำบลไชยบุรี อ.เมือง พัทลุง <O:p</O:p
    จนกระทั่งถึงแก่มรณภาพที่วัดปากสระ เมื่อวันที่ ๘ กันยายน พศ. ๒๕๐๗ อายุ ๘๖ ปี พรรษา ๖๖
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อดิษฐ์ เป็นพระที่มีอัธยาศัยดี มีเมตตากรุณา ใจคอเยือกเย็น <O:p</O:p
    ถือสันโดษไม่ชอบการสะสมทรัพย์สินสมบัติใดๆ ชอบการอุปการะผู้อื่นโดยเฉพาะบุคคลยากไร้<O:p</O:p
    ท่านจึงเป็นผู้ที่มีลูกศิษย์มากมาย ทั้งที่ประกอบอาชีพส่วนตัวและเล่าเรียนสำเร็จออกไปรับราชการ<O:p</O:p
    ในหน้าที่การงานสูงจำนวนไม่น้อย ลักษณะพิเศษของท่านคือมีนัยน์ตาคม<O:p</O:p
    บางคนเปรียบว่าตาของท่านเหมือนตางูก็มี หลวงพ่อดิษฐ์ชอบการต่อเรือ <O:p</O:p
    ถือว่าเป็นงานช่างที่ต้องอาศัยความสามารถสูงอย่างหนึ่ง เรือที่ท่านสร้างนั้นมีหลายลำสามารถออกทะเลแรมคืนไปต่างถิ่นได้<O:p</O:p
    ส่วนเสนาสนะสงฆ์ท่านได้สร้างไว้หลายหลัง ที่ปรากฏอยู่ปัจจุบันเช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ<O:p</O:p
    สระน้ำ และสร้างอาคารเรียนโรงเรียนวัดปากสระ ได้ใช้เป็นสถานศึกษาของเยาวชน<O:p</O:p
    สืบมาจากโรงเรียนขนาดเล็กนักเรียนไม่ถึง ๑๐๐ คน เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่<O:p</O:p
    มีนักเรียนประมาณ๔๐๐ กว่าคน งานด้านพัฒนาที่ปรากฏชัดคือ <O:p</O:p
    การชักชวนชาวบ้านตัดตัดถนนจากวัดปากสระเชื่อมกับถนนสายพัทลุง-ควนขนุน <O:p</O:p
    ช่วยให้การสัญจรไปมาสะดวกสบายไม่ต้องเดือดร้อน ช่วยให้การทำมาหากินของชาวบ้านสะดวกเพิ่มขึ้น <O:p</O:p
    สมัยก่อนหมู่บ้านใกล้เคียงวัดปากสระเป็นแหล่งของบุคคลประพฤติมิชอบ มีการลักทรัพย์สิน <O:p</O:p
    วัวควายของชาวบ้านอยู่เป็นประจำ หลวงพ่อดิษฐ์ได้ใช้ความรู้ความสามารถของท่านช่วยขจัดปัดเป่าให้ผ่อนคลายลง <O:p</O:p
    กล่าวกันว่าท่านได้อาศัยวิทยาคมแก้ปัญหาของชาวบ้านสำเร็จลุล่วงมาด้วยดี
    <O:p</O:p
    คาถาอาคมของหลวงพ่อดิษฐ์ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ในวันฉลองอายุของท่านเองในปี พศ. ๒๕๐๖ <O:p</O:p
    เรียกว่า คัมภีร์พระเวทย์ หรือพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ ๑๐๘ พระคาถา มีความตอนหนึ่งท่านเขียนไว้ว่า <O:p</O:p
    ขอท่านจงใช้พระคาถาที่เห็นว่าดี มีประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อการเบียดเบียนตนและผู้อื่น <O:p</O:p
    คนชั่วอยู่กับผีคนดีอยู่กับพระ มีธรรมคุ้มครองและนำคาถาที่ท่านปรารถนาไปใช้ในทางที่จะเกิดผลแก่ตนและผู้อื่น <O:p</O:p
    พระคาถานี้จะได้ผลสมประสงค์และศักดิ์สิทธ์จริง

    <O:p</O:pหลวงพ่อดิษฐ์ ได้สร้างวัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสังกัจจายน์พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก <O:p</O:p
    องค์พิมพ์ใหญ่มีพุทธลักษณะแบบขัดสมาธิเพชร ท้องพลุ้ย ปลายนิ้วชนกัน<O:p></O:p>
    ส่วนพระสังกัจจายน์พิมพ์เล็กมีอักขระที่อกเป็นตัว นะ เส้นนูน หัวกลับ ด้านหลังมีอักขระเป็นตัว <O:p</O:p
    เฑาะว์สมาธิ และนอกจากนั้นยังมีพระปิดตา พิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก,พระกลีบบัวเนื้อโลหะ.แหวนพิรอด,<O:p</O:p
    ลูกอม,ปลอกแขน,ผ้ายันต์และเสื้อยันต์ ฯลฯ วัตถุมงคลของหลวงพ่อดิษฐ์ล้วนแต่เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์<O:p</O:p
    ว่าเป็นยอดทางด้านมหาอุดอยู่ยงคงกระพัน และมีเมตตามหานิยมแก่ผู้เป็นเจ้าของทั้งสิ้น <O:p</O:p
    เคยปรากฏเป็นข่าวทางหน้าหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับความขลังของวัตถุมงคลของท่านหลายครั้ง <O:p</O:p
    และที่สำคัญที่สุดคือวันที่ ๑๐ กันยายน พศ.๒๕๒๐พระภิกษุช่วง เขมธมฺโม <O:p></O:p>
    ผู้เป็นศิษย์ได้นำวัตถุมงคลจำนวนหนึ่งทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช <O:p</O:p
    ในวโรกาสทรงเสด็จพระราชดำเนินยกช่อฟ้าอุโบสถ วัดคูหาสวรรค์ อำเภอเมือง พัทลุง

    หลวงพ่อดิษฐ์ นับได้ว่าท่านเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาจิตใจชาวบ้าน <O:p</O:p
    โดยเฉพาะชุมชนใกล้วัดปากสระ ให้ฝักใฝ่ด้านประพฤติปฏิบัติธรรม และขยายไปในท้องที่หลายตำบล<O:p</O:p
    นับเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข ท่านเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพรหมวิหาร ๔<O:p</O:p
    จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านอย่างแท้จริง ปรากฏหลักฐานพยานคือ รูปปั้นเท่าองค์จริง <O:p
    ประดิษฐานอยู่ในศาลาด้านทิศเหนือพระอุโบสถ ทุกๆวันสำคัญจะมีชาวบ้านมาแก้บนที่รูปปั้นของท่าน <O:p</O:p
    ขอให้พ้นจากความเจ็บไข้ได้ป่วย ขอความปลอดภัยและโชคลาภต่างๆ ปัจจุบันนี้มิใช่มีแต่เพียงเฉพาะในท้องถิ่น<O:p</O:p
    บ้านปากสระเท่านั้น แต่มีชาวบ้านต่างถิ่นที่รู้เรื่องและศรัทธาต่างได้มาเคารพบูชาที่วัดนี้เป็นประจำเช่นกัน<O:p</O:p
    อ้างอิง : จรัส บัวขวัญ<O:p</O:p
     
  18. captainzire

    captainzire เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,551
    ค่าพลัง:
    +2,822
    หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ ตอน 2

    หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
    อ้างอิง ชมรมคนรักษ์พระเครื่องเมืองตรัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      97.4 KB
      เปิดดู:
      365
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74 KB
      เปิดดู:
      406
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.9 KB
      เปิดดู:
      1,169
    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      88.5 KB
      เปิดดู:
      252
    • 05.jpg
      05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.4 KB
      เปิดดู:
      247
  19. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,370
    ขอบคุณมากครับ
    สำหรับความเอื้อเฟื้อที่มีให้เสมอมาครับ
    ข้อมูลอัดแน่นเหมือนเดิม:cool:
     
  20. กำแพงพระ

    กำแพงพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    1,025
    ค่าพลัง:
    +1,966
    หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ

    หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ
    เพิ่มเติมข้อมูลให้ครับ
    ขอบคุณ คุณรพินทร์ เจ้าของข้อมูล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 04.jpg
      04.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.2 KB
      เปิดดู:
      906
    • 05.jpg
      05.jpg
      ขนาดไฟล์:
      96.1 KB
      เปิดดู:
      351
    • 06.jpg
      06.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.1 KB
      เปิดดู:
      196
    • 07.jpg
      07.jpg
      ขนาดไฟล์:
      84.3 KB
      เปิดดู:
      429
    • 08.jpg
      08.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.2 KB
      เปิดดู:
      329
    • 01.jpg
      01.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.5 KB
      เปิดดู:
      1,811
    • 02.jpg
      02.jpg
      ขนาดไฟล์:
      90.5 KB
      เปิดดู:
      250
    • 03.jpg
      03.jpg
      ขนาดไฟล์:
      98.4 KB
      เปิดดู:
      852
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 พฤษภาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...