ประสบการณ์ชีวิตจริง...วิถีแห่งจิต(พุทธะธรรมญาณ สู่ ยุคกระแสแห่งอภิญญาใหญ่)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูมิ, 9 กุมภาพันธ์ 2011.

  1. รักหมดใจ

    รักหมดใจ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +290
    จิตเดิมแท้ล้วนว่างเปล่า แต่ความว่างเปล่ามิใช่แหล่งก่อกำเนิดจิตเดิมแท้

    กรปรการ อาการ รูปแบบคำถามหรือคำตอบอย่างของท่าน ยังงึนงงต่อการประจักต์ต่อจิตเดิมแท้จริง ๆ อยู่ ท่านควรไร้การแนะนำในสิ่งนั้นที่ท่านยังไม่แจ้งตรงอย่างแท้จริง
     
  2. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    (ในวันที่ 4-5 สิงหาคม 2011)
    เมื่อวานวันที่ 4 สิงหาคม 2011 กว่าจะเขียนกระทู้เสร็จก็ประมาณห้าโมงเย็นกว่าแล้ว ตอนแรกกะจะเขียนนิดเดียว แต่เขียนไปเขียนมามันเยอะ อิอิ สิ่งต่างๆ ที่เขียนออกมานั้น มันลื่นไหลออกมาจากความรู้สึกในจิตผมล้วนๆ ผมรู้สึกยังงัยก็เขียนไปแบบนั้น ซึ่งเมื่อวานพอเขียนกระทู้เสร็จผมก็ขึ้นไปดูรูปพระพุทธรูปสีขาวนวลบริสุทธิ์ ที่มุมซ้ายบนสุดของเวปบอร์ดญาณทิพย์อีกครั้ง ตาจ้องมองไปที่องค์พระแล้วก็นึกถามในใจว่า เมื่อไรเราจะเข้าถึงจิตแห่งพุทธะได้หน่า ไม่รู้จะใช้เวลานานเท่าไร คิดเสร็จ ผมก็นึกบอกกับตนเองเหมือนเคยว่า ปล่อยวาง ถึงเวลาวาระนั้นก็รู้เองนั้นเละ นึกเสร็จแล้วก็เลื่อนลงมาดูกระทู้ตนเองว่ามีคนเข้าไปดูเพิ่มขึ้นมากน้อยแค่ ไหน? พอมองเห็นชื่อกระทู้ของเราเองแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าอยากจะเปลี่ยนหัวข้อกระทู้ใหม่ เพราะสิ่งที่เราพูดเล่าเรื่องไปช่วงหลังๆ นี้มันไม่ค่อยเข้ากับชื่อหัวข้อกระทู้เก่าเสียแล้ว ก็เลยเปลี่ยนชื่อใหม่ให้กระชับได้ใจความกับสิ่งที่เราจะสื่อ เมื่อคนอื่นมาเห็นจะรู้และเข้าใจได้เลยทันทีว่าเรากำลังพูดเรื่องอะไร? ก็เลยเปลี่ยนชื่อกระทู้ทั้งของเวปญาณทิพย์และเวปพลังจิต พอเปลี่ยนเสร็จ ก็ไล่อ่านกระทู้ในเวปพลังจิตหมวดวิทยาศาสตร์ ก็ไปเจอกระทู้ชื่อว่า "แนะนำผมทีครับเรื่อง สมาธิ ครับ" ปกติผมจะอ่านกระทู้อย่างเดียวไม่ชอบโพส และยิ่งเรื่องการปฏิบัติด้วยแล้ว ไม่โพสเลย เพราะเรารู้สึกว่าตนเองนั่งสมาธิยังงูๆ ปลาๆ อยู่เลยในช่วงก่อนหน้านี้

    แต่ ณ ตอนนี้เริ่มมีความมั่นใจมากขึ้นเนื่องจากเราเข้าถึงวิธีแห่งจิตในเบื้องต้น แล้ว และรู้สึกว่ากระทู้นี้เราอยากจะโพสชี้แนะตามความรู้สึกของเรา เมื่อเปิดกระทู้เข้าไป ยังไม่ทันได้อ่านข้อความในกระทู้เลย ความรู้สึกแรกของจิตผมมันบอกว่า เจ้าของกระทู้คนนี้ "ขาดศรัทธาหรือศรัทธาไม่มากพอ" จึงทำให้เขามีอารมณ์แห่งสมาธิที่ไม่ต่อเนื่องเท่าที่ควร ผมจึงแนะนำตามความรู้สึกของผมลงไปในกระทู้ ขณะเขียนชี้แนะไปตามความรู้สึกของผมอยู่นั้น ผมก็รู้สึกว่า สิ่งที่เราชี้แนะเขาไปนี้มันเป็นสิ่งที่เรากระทำมาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน นี้ เป็นอานิสงค์ส่งผลทำให้เรามีสมาธิที่นิ่งสงบได้ถึงขนาดนี้ เพราะแรงแห่งศรัทธาจะแฝงมาด้วยความสงบนิ่งแห่งสมาธิของจิต "ยิ่งศรัทธามากยิ่งสงบนิ่งมาก" มันเป็นไปตามธรรมชาติเป็นธรรมดาเป็นสัจธรรม พอเขียนเสร็จจึงรู้สึกได้ว่า สิ่งที่เราเขียนเล่าตามความรู้สึกที่ลื่นไหลไปทั้งหมดในวันที่ 4 สิงหาคม 2011 นี้ ทั้งหมดก็คือ "ความรู้สึกที่เกิดจากจิตแห่งพุทธะ" และที่สุดแห่งธรรม หรือ หัวใจของพุทธะ ก็คือ "จิต" ตัวเดียวกันนี้เอง และผมก็รู้สึกและตลกตัวเองว่า ที่ผมเขียนเล่าไปตั้งมากมายจนเขียนเสร็จแล้ว ตัวผมเองยังไม่รู้เลยว่า ตนเองได้ซึบซาบจิตแห่งพุทธะเข้าไปในจิตตนแล้ว แล้วยังมาถามในใจต่อหน้าพระพุทธรูปสีขาวหน้าเวปอีก พระพุทธองค์จึงมาดลใจให้เราเกิดความรู้สึกอยากจะตอบในกระทู้เรื่องสมาธิ เหมือนท่านมาสะกิดให้เรารู้สึกตัวว่า สิ่งที่เราพูดเล่าไปทั้งหมดนั้น ก็คือ "วิถีแห่งจิต,ที่สุดแห่งธรรมหรือหัวใจแห่งพุทธะ"

    พอตอบกระทู้เรื่องสมาธิเสร็จ ก็ถึงเวลาเลิกงานพอดี ผมจึงรีบปิดคอมเพื่อกลับบ้าน ขณะบันทึกเวลาออกงานที่โต๊ะยาม ผมเห็นท่าทางของยามกลางคืนคนนี้ที่ผมเคยแนะนำเรื่องการเบิกบุญให้กับเขาไป ผมรู้สึกว่าเขามีเรื่องอะไรจะคุยกับผม พอลงเวลาเสร็จ เขาก็พูดเล่าด้วยความตื่นเต้นขึ้นมาทันทีเลยว่า เมื่อคืนหลังจากที่เขานั่งสมาธิเสร็จแล้ว เขาได้กลิ่นหอมคล้ายๆ ดอกไม้แต่เขาไม่รู้ว่ากลิ่นอะไร เขาได้กลิ่นประมาณครึ่งชั่วโมงถึงหายไป เขาก็เล่ารายละเอียดใหญ่เลย ผมก็ตัดบทพูดเขา ก็บอกเพียงว่า "ก็ีดีแล้วนิ ได้กลิ่นหอมดีกว่าได้กลิ่นเหม็น อิิอิ กลิ่นนี้น่าจะมาจากเทพเทวดาที่เขาอยากมาช่วยเหลือคุณในการทำสมาธินะ" ทันใดนั้นจิตหนึ่งผมก็นึกรู้สึกว่า สิ่งนี้คงจะเป็นอานิสงค์จากการที่เขาไปทำบุญเพิ่มขึ้นอย่างที่ยามเขาเล่ามา ที่ผมแนะนำให้เขาไปทำบุญเพิ่มขึ้นจะได้ช่วยในเรื่องสมาธิเราให้ดีขึ้น และส่วนหนึ่งก็เป็นอานิสงค์จากการที่ผมได้นำเรื่องราวที่ผมพูดคุยกับยาม เมื่อครั้งที่แล้วมาเขียนลงในกระทู้ และอุทิศบุญแห่งธรรมทานนี้ซึ่งเป็นบุญใหญ่ให้แก่กายสังขารและสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ของตัวเขาเองด้วย ต่อมาผมก็แนะนำเขาแบบเดียวกันกับที่ผมเขียนตอบในกระทู้เรื่องสมาธิ ซึ่งผมเน้นให้เขาสร้างกุศโลบายอบรมจิตของเขาเอง ให้จิตใต้สำนึกของเขาได้เริ่มก่อเกิดสั่งสมแรงแห่งศรัทธา ซึ่งสิ่งนี้จะตามมาด้วยอารมณ์แห่งสมาธิ และให้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์ ไม่ต้องสนใจเสียงที่คุยกับเราในจิต ที่บอกว่าเราไม่มีอะไรติดตัวมาเลยในชาตินี้ ขอให้เขาอธิษฐานขอเบิกบุญเก่าบ่อยๆ และบอกเขาว่าสิ่งที่มาพูดในจิตเขานั้น เขายังแยกไม่ออกเลยว่า เป็นเทวดาหรือเป็นมาร ฉะนั้น ไม่ต้องสนใจสิ่งที่มาพูดกับจิตเรา เราเพียงทำตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์ เชื่อมั่นในความรู้สึกที่เป็นสัมมาทิฐิในจิตตนเองเท่านั้น อย่าไปหวั่นไหวต่อสิ่งเร้าภายในและภายนอกจิต ที่สำคัญ คุณต้องฝึกฝนจิตให้ปล่อยวางอุเบกขาให้ได้ ฝึกจิตไปสักวันต้องทำได้แน่นอน จงมุ่งมั่น แต่สิ่งแรกต้องอบรมฝึกฝนจิตให้มีแรงศรัทธาที่ดีเสียก่อน โดยใช้กุศโลบายที่ผมแนะนำให้ไปนั้น มันใช้ได้อย่างแน่นอน จำเป็นจะต้องทำให้จิตใฝ่ดีเสียก่อน แล้วทุกอย่างจะตามมาเอง พอจิตใฝ่ดีแล้วจงเชื่อมั่นในความรู้สึกที่ดีนั้นไว้ ไม่ใช่เชื่อตามเพราะว่า สิ่งที่มาพูดในจิตเป็นเทวดา หรือ ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ แต่จงพิจารณาไตร่ตรองโดยจิตที่ใฝ่ดีว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นเป็นจริงตามหลักคำ สอนของพระพุทธองค์หรือไม่ จงอย่ายึดในตัวบุคคล พอพูดเสร็จผมก็บอกเขาให้ไปทำแค่นี้ก่อน ฝึกฝนอบรมจิตก่อนแล้วค่อยมาคุยกันใหม่

    พอกลับมาถึงห้อง ขณะอาบน้ำ จิตผมก็นึกไปในช่วงสองสามวันก่อนที่จิตเดิมแท้ของผมนั้นยังเป็นรูปมายาของผู้ชายชุดขาวอยู่เลย ซึ่งในวันนั้นขณะอาบน้ำ มีภาพมายาภาพหนึ่งเข้ามาในจิตเข้ามาถึงชั้นกายในกายของจิตเดิมแท้ ภาพนั้น ก็คือ "พระพิฆเนศ" ท่านใส่ชุดเครื่องทรงสีขาว(จิตผมรับรู้ได้ว่าภาพมายานี้ถูกส่งมาจากภายนอกกายสังขารนี้ เพราะผมไม่เคยเห็นท่านในลักษณะนี้มาก่อน ปกติจะเห็นท่านที่ศาลพระพิฆเนศห้วยขวาง ท่านเป็นรูปปั้นสักการะสีทองอร่าม ปกติผมจะนึกจิตกราบไหว้ท่านทุกวันอย่างน้อยสองครั้งเช้าเย็น(จันทร์ถึงศุกร์) เพราะเวลาไปทำงานและเลิกงานผมจะต้องนั่งรถเมล์ผ่านศาลแห่งนี้ทุกวัน แต่ภาพมายาของท่านที่ปรากฏในจิตผมนี้เป็นภาพที่จิตผมไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งสีผิวและเครื่องทรงสีขาว ฉะนั้น จิตผมจึงแยกแยะภาพมายาที่เห็นนี้ได้ทันทีเลยว่า ภาพมายาหรือจิตญาณนี้ไม่ใช่สิ่งที่มโนจิตของกายสังขารนี้ปรุงแต่งหรือสร้างขึ้น) พอผมเห็นท่านพระพิฆเนศ ซึ่งขณะนั้นผมกำลังนึกรวมจิตกับชายชุดขาวนี้อยู่ในมุมมองแห่งสมาธิที่เป็นภาพก้มมองลงพื้นสีขาว ทันใดนั้น ผมก็ลงมาจากสมาธิที่ลอยตัวอยู่ และเข้าไปกราบท่านพระพิฆเนศสามครั้งในท่าคุกเข่า กราบเสร็จก็นั่งคุกเข่าพนมมือเช่นนั้น พระพิฆเนศท่านก็ยกมือขาวขึ้นเหมือนท่านจะให้พร ผมก็งงว่าท่านให้พรแล้วผมทำไมไม่ได้ยินเสียงของท่าน ท่านให้พรไม่กี่วินาทีเสร็จ เหมือนผมจะรู้สึกว่าท่านกำลังจะถอยออกไป ผมจึงกราบท่านอีกสามครั้ง และท่านก็ถอยภาพมายานั้นออกไป ภาพท่านก็ค่อยๆ ลางเลือนหายไป หลังจากนั้น ผมก็กลับเข้ามานั่งสมาธิต่อ อืม ผมลืมบอกไปว่า มุมมองของภาพแห่งสมาธิมุมมองที่ 2 นั้นผมรู้แล้วและจับภาพนี้มาพิจารณาตั้งแต่ช่วงเช้าก่อนเล่าเรื่องอีก อานิสงค์ของการจับภาพนี้ ก็คือ ทำให้ผมเข้าถึงวิถีแห่งจิต,ที่สุดแห่งธรรมหรือหัวใจแห่งพุทธะ นั้นก็คือ "ภาพเฉพาะตรงส่วนของใบหน้าของพระพุทธรูปสีขาวนวลบริสุทธิ์" ที่เป็นรูปเดียวกันกับรูปที่อยู่บนหน้าเวปบอร์ดของญาณทิพย์ แต่แปลกตรงที่ภาพหน้าเวปบอร์ดจะออกเบลอๆ หน่อย แต่ภาพในความนึกคิดของจิตกลับชัดเจนมากกว่าภาพในเวปเสียอีก สิ่งนี้คงจะแฝงความหมายที่ว่า การใช้จิตเราพิจารณามองเห็นย่อมชัดเจนและคมชัดกว่าการมองด้วยภายนอกและตาเนื้อ เฉกเช่นเดียวกับ การมองทุกสรรพสิ่งนั้นก็ควรจะมองด้วยจิตหรือใจแล้วจะเห็นความจริงที่เป็นธรรมชาติเป็นธรรมดาเป็นสัจธรรมที่ซ้อนไว้อยู่ภายใน

    พออาบน้ำเสร็จ ก็ดูรายการเป็นต่อจนจบ แล้วก็สวดชินบัญชรก่อนนอนเป็นปกติทุกคืน ขณะพลิกหนังสือสวดมนต์ พอดีเปิดไปเจอหน้าที่เป็นบทสวดมนต์ของหลวงปู่ทวด ซึ่งจะมีรูปท่านเป็นท่านั่งขัดสมาธิแววตาเข็มแข็งมาก มองแววตาท่านแล้วผมรู้สึกว่า ท่านมีความมุ่งมั่นและมีตะบะที่แก่กล้ามาก ทุกคนเคยเปิดพลิกหน้าแล้วก็ไม่รู้สึกอะไร แต่คืนนี้จิตผมรู้สึกสะดุดที่รูปที่่ท่าน พอสวดมนต์เสร็จ เอาแล้ว อิอิ รูปภาพของท่าน ติดเข้าไปซ้อนอยู่ในภาพมายาของจิตพุทธะหรือพระพุทธรูปสีขาว แต่องค์ท่านจะตัวเล็กกว่า และเวลามองภาพทั้งองค์แล้ว จิตพุทธะเหมือนจะรู้และปรับสภาพของภาพมายาของตนเองนั้นให้เป็นภาพลางๆ สีขาวให้พอแค่เห็น เพื่อให้องค์ของหลวงปู่ทวดดูเด่นขึ้นมา จิตผมก็รู้สึกว่า ภาพนี้ น่าจะเป็นภาพต่อไปที่ผมจะพิจารณา และอีกความรู้สึกที่เกิดขึ้นด้วยความสงสัยในจิตว่า ท่านมาทำไม? เหมือนจะมีอีกจิตทำให้เรารู้ว่า ท่านมาเพื่อสอนสมาธิ และิวิชชาอื่นๆ ให้กับเราเพื่อต่อยอดต่อไป คิดเสร็จผมก็ไปปิดไฟนอน

    ตื่นมาเหมือนรู้สึกว่า จิตเรามันปลุกเราเอง ผมก็เลยเปิดมือถือดูว่ากี่โมง? สรุปแปดโมงเช้าแล้ว ! ทำไมมือถือไม่ปลุกวะเี้นี้ยะ ! พอกดไปกดมา มือถือก็ดันดับไปเอง สงสัยมือถือจะมีปัญหาละนี้ ตอนนี้มาทำงานมันก็เปิดๆ ดับๆ บ่อย ทำให้วันนี้ผมรู้เลยว่าคงไม่ได้นั่งสมาธิแน่ๆ เลย คงได้แค่สวดมนต์อย่างเดียว พอล้างหน้าแปรงฟันเสร็จ ก็มาสวดมนต์ต่อ สวดเสร็จแล้วใจอยากจะนั่งสมาธิ ใจคิดว่านั่งสักหน่อยก็ยังดี เพราะเรานั่งทุกเช้าเลย ไม่นั่งเหมือนขาดอะไรไปสักอย่างสรุปว่าก็รีบนั่งเลยเดี๋ยวจะเสียเวลาไปใหญ่ พอหลับตานึกภาพใบหน้าจิตพุทธะเป็นปกติเหมือนทุกอิริยาบท จิตผมก็รับรู้ได้เลยว่า เอ๋ๆๆ เรานั่งหลับตาทำสมาธินี้อารมณ์ของสมาธิก็เหมือนๆ ไม่แตกต่างอะไรกับอิริยาบทอื่นๆ เลยในระหว่างวัน เพราะปกติเราจะนึกภาพนี้เกือบตลอดเวลา 24 ชั่วโมงอยู่แล้ว ไม่ว่าจะกิน เดิน นอนดูทีวี ทำงาน ยืนฉี่ อิอิ อาบน้ำ ในทุกอิริยาบท เพราะจิตมันอยากนึกถึง เนื่องจากนึกภาพมุมมองนี้แล้วจิตจะเป็นสมาธิอย่างประหลาดสงบนิ่ง เวลามารแทรกจะด่าจะแช่งหรือมีอารมณ์ที่ไม่ดี เราก็จะนึกถึงภาพนี้ตลอดแบบอัตโนมัติ เวลาก่อนที่มารหรือสิ่งที่ไม่ดีจะเ้ข้ามาก่อกวนในจิตใจ เหมือนจิตเราจะรู้เท่าทันการมาของพวกมัน และก็นึกภาพนี้มาก่อนเลย จิตก็สงบนิ่งเลย เวลานึกก็ไม่จำเป็นต้องหลับตา ลืมตาก็เห็น แต่ถ้าสถานการณ์รอบๆ ตัวนั้นวุ่นวายมากก็ใช้วิธีการหลับตาก็จะดีกว่า เหมือนจิตสั่งให้หลับตา เพราะล่วงรู้ว่าระดับนี้มันก่อกวนเกินไปอาจมีผลต่อการนึกภาพและส่งผลต่อ สมาธิได้

    ในช่วงบ่ายของวันนี้ ขณะผมเข้าห้องน้ำยืนทำกิจพิเศษอยู่นั้น อิอิ จิตก็นึกภาพเหมือนเคย แต่ครั้งนี้จิตผมไปพิจารณาตรงองค์หลวงปู่ทวด จิตผมมันสัมผัสได้อย่างหนึ่ง คือ "ความผูกพันในอดีต" เหมือนจิตผมจะระลึกรู้ว่า เราเคยเกิดเป็นท่านเมื่อในอดีต และการมาครั้งนี้ของจิตญาณในอดีตของตนเองนั้น มาเพื่อให้เราระลึกรู้ในสิ่งต่างๆ ที่เราเคยปฏิบัติในชาตินั้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อกิจเราในชาตินี้ พอเข้าห้องน้ำเสร็จก็เดินไปกินข้าว ตลอดระยะทางที่เดินทางไปกินข้าวและขณะกินข้าวนั้น จิตผมก็นึกและรู้สึกไปต่างๆ นานาว่า ก่อนหน้านี้เราก็เคยสงสัยว่าเราน่าจะเคยเกิดเป็นใครบ้าง เช่น หลวงปู่ทวด หลวงปู่โต ขงเบ้ง พระนเรศวร รัชกาลที่ 5 เกิดในธิเบต อื่นๆ บ้าง เป็นต้น ซึ่งผมก็ได้แต่สงสัยแต่ไม่แน่ใจ อาจจะเป็นไปได้ที่ผมฟุ้งซ่าน ฮ่าฮ่า ถ้าทุกท่านเกิดในยุคสมัยเวลาที่แตกต่างกันนั้นก็ใช่เลย ซึ่งเป็นที่แน่นอนในความรู้สึกของจิตว่า ผู้ที่บำเพ็ญเพียรหรือบำเพ็ญบารมีและได้รับกิจในการช่วยเหลือมนุษย์โลกนั้น ทุก 100 ปีโดยประมาณหรือเมื่อสิ้นอายุขัยแล้วจะต้องกลับมาจุติเกิดไปเรื่อยๆ จนถึงเมื่อไรนั้นผมไม่รู้ และทุกชาติที่เกิดมามีจุดประสงค์ในกิจเดียวกัน ก็คือ "การส่งเสริมสนับสนุนพระศาสนาให้ยั้งยืนตลอดไป" แต่สิ่งเดียวที่อยู่ในจิตใจผมก็คือ การอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์เท่าที่จะกระทำได้ตามความสามารถ ณ ขณะนั้น และผมรู้สึกได้ว่าตั้งแต่นี้ต่อไป จะเป็นการปฏิบัติอย่างแท้จริง ณาน,ญาณ,อภิญญา และอื่นๆ เพราะการที่ได้มาซึ่งสมาธิขั้นสูงหรือพลังทิพย์พิเศษหรือผลพวงของแถมต่างๆ จากสมาธินั้น จะตามมาด้วยการระลึกรู้เสมอและเป็นอุปสรรคขัดขวางมอมเมาจิตนั้นเอง แต่ผมรู้ว่าพระพุทธองค์ท่านไม่ปรารถนาให้ผมยึดติดและมั่วเมากับฤทธิ์หรือ พลังทิพย์พิเศษต่างๆ ก่อนเวลาอันควร ท่านจึงให้ผมริเริ่มจากจิตที่เป็นพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ละซึ่งกิเลสต่างๆ ในจิตได้ในระดับหนึ่งเสียก่อน ต่อด้วยการรู้จักเข้าใจและเข้าถึงวิถีแห่งจิต,จิตแห่งพุทธะหรือหัวใจแห่ง พุทธะเสียก่อน เข้าถึงสมาธิในเบื้องต้นที่ยังระลึกรู้อะไรมากไม่ได้ เพราะมิฉะนั้นจะเป็นอุปสรรคขัดขวางในการบำเพ็ญเพียรของจิต และส่งผลทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามกิจที่ได้รับมอบหมายมาในชาตินี้ได้ทันท่วงทีและสำเร็จบรรลุผลตามที่ได้รับมอบหมายมา

    วิถีแห่งจิตกับธรรมกาย(กายในกาย) : ลูกแก้วธรรมกาย->หาและพิจารณาจิตเดิมแท้->พิจารณาจิตแห่งพุทธะ(ถึงที่ สุดแห่งธรรม ก็คือ เข้าถึงวิถีแห่งจิต)->พบเจอจิตญาณในอดีต->ระลึกรู้ถึงแนวทางการ ปฏิบัติ(ณาน,ญาณ,อภิญญา,วิชชาอื่นๆ)ในอดีตชาติ เพื่อต่อยอดบำเพ็ญเพียรของจิตในชาติปัจจุบัน จากการพัฒนาสมาธิเบื้องต้นสู่สมาธิขั้นสูง->ช่วยเหลือทุกสรรพสัตว์สรรพ ชีิวิตทุกจิตวิญญาณและมนุษย์ให้หลุดพ้นหรือที่เขาเรียกกันว่า "นิพพาน" ซึ่งถ้าปฏิบัติได้เช่นนี้แล้ว จิตจะสามารถหลุดพ้นหรือนิพพานได้โดยไวในชาติปัจจุบัน วิบากกรรมแม้หนักเพียงใด ก็ไม่สามารถเกาะติดจิตที่หลุดพ้นได้ จิตที่หลุดพ้นจึงไม่ต้่องเสวยวิบากกรรมต่อไป นี้เละ คือ วิถีแห่งจิต,จิตแห่งพุทธะ,หัวใจแห่งพุทธะที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงลงมายังโลกมนุษย์เพื่อตรัสรู้ และเรียบเรียงเป็นหลักธรรมคำสอนให้ได้ปฏิบัติกัน จริงๆ แล้ว สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ทั้งหลายทั้งปวงนั้น มีมานานแล้ว แต่ที่พระพุทธองค์ทรงลงมาเกิดเป็นมนุษย์ก็เพราะนี้คือกุศโลบายอย่างหนึ่ง และท่านมองเห็นอนาคตในเบื้องหน้าแล้วว่า การสอนในคราบของมนุษย์นั้น จะทำให้มนุษย์เชื่อและศรัทธาได้อย่างยาวนานและเป็นผลดีที่สุดกว่าในรูป ลักษณ์อื่นๆ เช่น เทพเทวดาหรือพรหมณ์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในรูปแบบอื่นๆ ท่านจึงสร้างพระศาสนา,พระสงฆ์,สถานปฏิบัีติธรรม(หรือที่มนุษย์เรียกว่า "วัด")ขึ้นมา และทรงทราบด้วยพระญาณบารมีว่า ศาสนาจะเริ่มเสื่อมเมื่อใด และทรงวางแผนล่วงหน้าไว้เรียบร้อยแล้ว จึงโปรดให้เหล่าเทพเทวดาพรหมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงนั้น ได้ลงมาจุติยังโลกมนุษย์ทุกมุมโลก บริเวณที่แห่งใดจะเป็นศูนย์กลางแห่งพระศาสนา ที่แห่งนั้นจะมีเหล่าเทพจุติมามากมาย มาในหลายรูปแบบ ที่เห็นเด่นชัดก็คือ รูปแบบของ "ผู้มีญาณผู้มีพลังทิพย์พิเศษและนักปฏิบัติธรรมมากมายในที่แห่งนั้น" เด็กเกิดใหม่เพียงไม่กี่ขวบสมัยนี้ก็มีญาณขั้นสูงโดยชาติปัจจุบันไม่ได้ผ่าน การฝึกฝนจิตมาแต่อย่างใด เพราะฝึกฝนมาดีแล้วชอบแล้ว และแค่มาต่อยอดสมาธิเพียงเล็กน้อยก็สามารถระลึกรู้การปฏิบัติในอดีตชาติ สำคัญๆ ได้ ทั้งหลายทั้งมวลนี้ล้วน ก็คือ สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงเล็งเห็นทะลุปรุโปร่งแล้วด้วยปัญญาณแห่งปรมัตถ์ สาธุ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 สิงหาคม 2011
  3. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    (ในเช้าวันเสาร์ที่ 6 สิงหาคม 2011)
    หลังจากตื่นนอนตอนเช้าแล้ว ขณะล้างหน้าแปรงฟัน จิตผมก็นึกและครุ่นคิดเกี่ยวกับวิธีที่จะทำอย่างไรจึงจะสามารถเชื่อมต่อไปยังจิตญาณเดิมในอดีต(หลวงปู่ทวด)ได้ หลังจากนั้น ผมก็มานั่งสวดมนต์ ซึ่งวันนี้เป็นวันหยุดผมจะสวดมนต์ประมาณชั่วโมงครึ่งและนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมง แต่วันนี้ชั่วโมงครึ่งผมก็ยังสวดมนต์ไม่เสร็จ เนื่องจากขณะนั่งสวดมนต์นั้นจิตแห่งกายสังขารนี้ก็ได้แต่ครุ่นคิดวิธีที่จะเชื่อมต่อกับจิตญาณเดิมให้ได้ ถึงแม้ว่าตอนแปรงฟันก็บอกกับจิตกายสังขารตนเองแล้วว่าให้ทำจิตใจให้ผ่องใสก่อนการสวดมนต์และนั่งสมาธิ แต่จิตนี้ยังมีกิเลสความอยากรู้อยากเห็นและกิเลสอื่นๆ อยู่ และยังไม่เบาบางบริสุทธิ์พอที่จะเชื่อมต่อกับจิตญาณเดิมได้ ฉะนั้น การสวดมนต์ในเช้าวันนี้จึงยาวนานกว่าทุกๆ วัน เพราะมีสวดบ้างหยุดบ้าง เนื่องจากจิตแห่งพุทธะได้กำลังพูดอบรมจิตแห่งกายสังขารนี้อยู่ในจิตในความนึกคิด จิตพุทธะได้พูดอบรมว่า “จิตแห่งกายสังขารนี้ จิตเจ้ายังเข้าถึงจิตญาณในอดีตไม่ได้ ก็เพราะว่า จิตเจ้ายังมีกิเลสความอยากเกาะกุมในจิตอยู่มาก อยากมีฤทธิ์ อยากมีอภิญญา สิ่งเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคขัดขวางและทำให้จิตขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ การที่จิตเจ้าจะเชื่อมต่อกับจิตญาณในอดีตได้นั้น จิตเจ้าจำเป็นจะต้องบริสุทธิ์เท่าเทียมหรือมากกว่าจิตญาณในอดีต(หลวงปู่ทวด) จิตจึงจะสื่อหรือเชื่อมต่อกันได้ ไม่มีบารมีใดๆ ที่จะช่วยเจ้าได้ ถึงแม้จิตเจ้าจะร้องขออธิษฐานก็ตาม บารมีใดๆ ไม่สามารถจะช่วยเจ้าให้ลดละกิเลสได้อย่างถาวร มีแต่เพียงจิตใจที่มุ่งมั่นของเจ้าเองเท่านั้น ตนจึงเป็นที่พึ่งแห่งตน” ทันใดนั้น ดวงตาคู่นั้นของภาพมายาท่านหลวงปู่ทวดก็เปิดออกแต่ภายในดวงตาทั้งสองนั้นมืดดำ จิตกายสังขารจึงมีความรู้สึกว่าจิตตนเองยังไม่พร้อมที่จะเข้าไปในนั้น ถึงประตูมิติแห่งดวงตาคู่นั้นจะเปิดออกแล้วก็ตาม นี้ก็คืออุบายอย่างหนึ่งของจิตพุทธะที่ทำให้จิตกายสังขารนี้ได้รับรู้และรู้สึกด้วยตนเองถึงกฎแห่งธรรมชาตินี้ และมีทางเดียวที่จะเชื่อมต่อได้ก็คือ “ต้องปล่อยวางกิเลสความอยากและกิเลสอื่นๆ ให้เบาบางลง จนจิตบริสุทธิ์เท่าเทียมหรือมากกว่าจิตญาณในอดีตเท่านั้น” พอสวดมนต์ถึงบทสุดท้ายก็คือ บทพระกัณฑ์ไตรปิฏก(ฉบับเดิม) ขาที่ขัดสมาธิอยู่ก็เริ่มปวดและหนักขึ้น แต่ผม(จิตกายสังขารนี้)อยากจะฝึกขันติบารมี เพราะผมเหมือนได้ตั้งสัจจะปฏิธานว่า ถ้าสวดไม่จบจะไม่เปลี่ยนท่า ซึ่งมันมาเริ่มปวดหลังจากนั่งขัดสมาธิไปแล้วชั่วโมงครึ่ง และผมก็ทนนั่งต่อไปอย่างนั้นอีกจนสวดจบ แต่จิตกายสังขารนี้พยายามปล่อยวางกับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ผมรู้สึกได้ว่า ตอนนี้จิตกับกายสังขารนี้เริ่มจะแยกจากกันแล้ว และจิตกายสังขารนี้ก็นึกย้อนไปในอดีตในพฤติกรรมหลายๆ อย่างของจิต เช่น ผมบอกกับตนเองหรือจิตกายสังขารนี้ทุกเช้าเวลาแปรงฟันว่าให้ปล่อยวางทำจิตให้ผ่องใสก่อนการสวดมนต์และนั่งสมาธิ แป๊ปหนึ่งจิตมันก็เหมือนจะผ่อนคลายไม่คิดเรื่องอื่นจริงๆ ซึ่งปกติผมเองนั้นเป็นคนนิสัยชอบคิดมากคิดเล็กคิดน้อยคิดทั้งเรื่องไร้สาระและมีสาระ จนรู้สึกว่าตนเองเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและไปในทางที่ดีขึ้น และบ่อยครั้งที่ผมมีอารมณ์โกรธ ผมก็ใช้วิธีบอกหรือนึกพูดในใจกับตนเองว่า “ปล่อยวางๆ และให้มันดับไป” ซึ่งวิธีที่ใช้พูดบอกกับตนเองนี้ ก็คือ การฝึกฝนอบรมจิตอย่างหนึ่ง พูดบ่อยๆ ทุกวันสั่งสมเป็นระยะเวลานานพอสมควร จนจิตจดจำบันทึกเป็นพฤติกรรมของจิต หรือทางโลก เรียกว่า “จิตวิทยา” ก็เป็นแบบนี้เอง

    หลังจากสวดมนต์เสร็จ ซึ่งใช้เวลาไปนานมากเกือบสองชั่วโมง ทำให้ผมมีเวลาน้อย จึงนั่งสมาธิต่อแค่ครึ่งชั่วโมง และจากที่ผมนิ่งบ่อยๆ ขณะสวดมนต์นั้น ทำให้ผมรู้สึกอิ่มเหมือนได้นั่งสมาธิจิตสงบนิ่งมาก นั่งเสร็จ ผมก็ออกไปปล่อยปลาตามปกติ และก็ไปไหว้พระพิฆเนศที่ศาลตรงห้วยขวาง ซึ่งเป็นทางผ่าน แต่ความรู้สึกของสัปดาห์นี้กับสัปดาห์ที่แล้วแตกต่างกัน ตรงที่สัปดาห์นี้ขณะผมไหว้ท่านและองค์อื่นๆ นั้น จิตผมรู้สึกอยากถวาย “จิตแห่งพุทธะ” นี้ให้แก่ทุกองค์ นี้คงเป็นสิ่งที่จิตแห่งพุทธะในตัวผมท่านดลใจมาแน่เลย รู้สึกเช่นนั้น ขณะไหว้ผมก็นึกภาพมุมมองของใบหน้าจิตพุทธะหรือพระพุทธรูปองค์สีขาววางถวายไว้ด้านหน้าทุกองค์ และขณะที่ผมไหว้พระศิวะและพระแม่อุมาอยู่นั้น จิตกายสังขารนี้ก็รู้สึกและพูดขึ้นมาในจิตหรือใจว่า “ลูกรู้สึกว่าท่านพระศิวะและพระแม่อุมาเป็นเสมือนบิดาและมารดาแห่งทางธรรมของลูก ท่านทั้งสองก็คือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ดูแลลูกอยู่เบื้องหลังในทุกภพชาติ รวมถึงชาติของหลวงปู่ทวดด้วย และที่ลูกมีวันนี้ได้นั้น ก็เพราะท่านทั้งสองชี้แนะช่วยเหลือมาโดยตลอด และผมรู้สึกอีกว่า ท่านทั้งสองมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์ลึกซึ้งกับพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์มาโดยตลอดอีกด้วย หรือจะพูดได้ว่าเป็นเบื้องหลังแห่งความสำเร็จของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ สิ่งเหล่านี้คือความรู้สึกส่วนตัวของผมเท่านั้น สำหรับผู้ที่ไม่เห็นด้วย โปรดอย่าปรามาส เพราะมันจะเป็นบาปติดตัวท่านโดยไม่ได้ตั้งใจ แต่ถ้าผมเข้าใจหรือรู้สึกผิด ผมขอรับไว้แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งที่พูดมาเหล่านี้ผมไม่มีเจตนาที่เป็นอกุศลใดๆ ทั้งสิ้น หรือส่งเสริมให้เกิดการแตกแยกในพระศาสนา เพราะทุกศาสนานั้นแท้จริงแล้วมีต้นกำเนิดมาจากในที่แห่งเดียวกัน และที่กลายเป็นหลายศาสนาหลายนิกายนั้น ก็เพราะมนุษย์เองที่แบ่งแยกออกมา และกุศโลบายที่เบื้องบนมีต่อมนุษย์ในกาลนี้ก็คือ “ทุกศาสนารวมเป็นหนึ่ง ทุกอย่างกลับสู่ต้นกำเนิดที่แท้จริง” ขณะพูดในใจอยู่ต่อหน้าท่านทั้งสอง ผมก็รู้สึกว่าตื้นตันอยากจะร้องไห้น้ำตาคลอเบ้า และสุดท้าย ผมก็พูดว่า พุทธะจิตนี้ก็เป็นผลสำเร็จอีกอย่างหนึ่งจากการที่ท่านทั้งสองได้ชี้แนะผมมา ผมจึงขอนำพุทธะจิตนี้ถวายแด่บิดาและมารดาแห่งทางธรรมทั้งสองของผมด้วยครับ ขอบคุณสำหรับทุกสิ่งทุกอย่างครับ ซึ่งปกติผมจะนึกจิตกราบไหว้บิดามารดาในทางโลก,บิดามารดาของแผ่นดิน,บิดามารดาในทางธรรมเป็นประจำอยู่แล้ว ผมรู้สึกและเชื่อมั่นว่า ความสำเร็จต่างๆ ที่ได้รับมาในปัจจุบันรวมถึงในอนาคตนั้น ก็มาจากการที่เรากราบไหว้บิดามารดาในทั้งสามสถานะนั้น ถือว่าเป็นอานิสงค์อันยิ่งใหญ่รองจากการกราบไหว้พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์

    ระหว่างที่เดินทางไปปล่อยกบนั้น ณ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินแห่งหนึ่ง ขณะที่ผมกำลังเดินขึ้นบันไดเลื่อนไปในความคิดก็นึกภาพพุทธะจิตไป อยู่ๆ ในภาพนี้ บริเวณหน้าผากของพุทธะจิตนั้นได้มีดวงตาที่สามผลุดขึ้นมากลางหน้าผาก ซึ่งดวงตานี้มีลักษณะคล้ายดวงตาคนเป็นตาเนื้อแต่ผลุดขึ้นมาเป็นแนวดิ่ง ซึ่งจิตกายสังขารนี้เห็นแล้วก็ปฏิเสธทันทีเลยว่า “ไม่เอา ดวงตานี้เป็นตาที่สามที่เป็นโลกียะ เราไม่ต้องการ เราต้องการตาที่สามที่เป็นโลกุตตระที่ไม่มีกิเลส” ผมรู้สึกว่า สิ่งนี้อาจจะเป็นการทดสอบจากพุทธะจิตก็เป็นได้ และหลังจากที่ผมปล่อยกบ ผมก็แผ่เมตตาไปทั่วทั้งสามภพ นรก โลกมนุษย์ และสวรรค์ เป็นปกติ แต่ครั้งนี้ผมก็นำพุทธะจิตที่เพิ่งเข้าถึงนั้น อุทิศแผ่ให้ไปด้วย โดยผมนึกภาพใบหน้าพุทธะิจิตแตกตัวเป็นดวงแก้วใสกลมๆ เล็กๆ มากมายกระจัดกระจายไปทั่วสามภพ ซึ่งภายในดวงแก้วนั้นจะมีใบหน้าพุทธะจิตทุกดวง เพื่อปล่อยกบเสร็จ ผมก็ไปดูหนังต่อ พอดีมีหนังเรื่องใหม่เกี่ยวกับลิง ซึ่งการดูหนังในครั้งนี้ ดูเหมือนว่า พุทธะจิตต้องการให้จิตกายสังขารนี้ได้พักผ่อน พุทธะจิตจึงพูดขึ้นมาในใจว่า “จิตกายสังขารนี้ เจ้าจงผ่อนคลายเสียเถอะ จงอย่านึกภาพและคิดพิจารณาเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น ภาพที่มองเห็นจากตาเนื้อนั้น ก็ขอให้เจ้าจ้องมองเพียงอย่างเดียวเท่านั้น” ซึ่งผมความรู้สึกว่า “มันได้ผล” พอพูดเสร็จจิตกายสังขารนี้ก็ไม่นึกภาพ่และไม่คิดอะไรทั้งสิ้น แต่อาจจะมีบ้างที่จิตกายสังขารนี้เผลอไปคิด เพราะถือว่าอยู่ในช่วงระหว่างการฝึกฝนจิตให้เข็มแข็งและแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งความรู้สึกอีกอย่างก็ปรากฎขึ้น ก็คือ เราสามารถบอกจิตหรือควบคุมจิตได้ในระดับหนึ่งแล้ว ผมไม่ขอใช้คำว่า “สั่งจิตหรือสะกดจิต” นะครับ เพราะว่าการบอกจิตหรือควบคุมจิตนั้น เราใช้เหตุและผลในการบอกจิตกายสังขารนี้ให้ปฏิบัติตาม และจิตนี้เองก็เคยปฏิบัติตามแล้วได้ผลจริงๆ จิตจึงเชื่อฟังด้วยความเคารพนับถือและไม่ต่อต้าน ก็เปรียบเสมือน ครูสอนนักเรียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการสั่งสอนของครูนั้นจะเก่งแค่ไหนที่จะสอนนักเรียนไม่ให้ดื้อไม่ให้ซนและเชื่อฟังด้วยเคารพนับถือ ซึ่งพุทธะจิตนี้ก็ใช้กุศโลบายหรืออุบายที่เป็นกุศลในการสั่งสอนจิตกายสังขารนี้ และช่วงแรกจิตกายสังขารนี้ก็ยังไม่เชื่อฟังหรอก แต่เนื่องด้วยพุทธะจิตนี้ได้ใช้เหตุและผลในการสั่งสอนและให้จิตกายสังขารนี้ได้ลองปฏิบัติดู พอปฏิบัติแล้วได้ผลที่ดี จิตกายสังขารนี้จึงเชื่อฟังในทุกคำพูดของพุทธะจิตที่พูดสื่อออกมาผ่านความรู้สึกของผม ฉะนั้น จงเชื่อมั่นในความรู้สึกที่เป็นสัมมาทิฐิในตนเอง เพราะบางครั้งบางคราอาจจะมีมารแทรกมาได้ ถ้าพุทธะจิตนั้นอยู่ในภาวะอ่อนแอหรือไม่แข็งแกร่งพอ ดังนั้น ผมจึงเน้นว่า “เชื่อในความรู้สึกที่เป็นสัมมาทิฐิเท่านั้น” พุทธะจิตจะแข็งแกร่งได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับแรงแห่งศรัทธาในสิ่งที่ดีงามสิ่งที่เป็นบุญที่เป็นกุศลที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในตัวเรา แรงศรัทธาที่แรงที่สุด ก็คือแรงแห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์”ผมรู้สึกว่า พุทธะจิตนี้กำลังทำหน้าที่ของพี่เลี้ยงที่ดีนั้นเอง

    หลังจากดูหนังเสร็จ ผม(จิตกายสังขารนี้)ดูเหมือนอยากจะเขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นนี้มาเป็นธรรมทานเพิ่มเติม แต่พุทธะจิตบอกในใจว่า “จิตกายสังขารนี้วันนี้เจ้าจงพักผ่อนเสียเถิด เจ้าไม่ได้พักผ่อนเลย มาตั้งแต่เจ้าค้นพบกายในกายแรก(พระพุทธชินราช(สมเด็จปฐม)) เวลาตื่นก็คิดและนึกถึงภาพต่างๆ รวมถึงภาพอันเป็นกุศลด้วย ภาพใดๆ ถึงจะเป็นกุศลแต่ถ้าคิดมากๆ โดยจิตไม่พักผ่อนเลย จิตก็อ่อนแรงไม่มีกำลังไม่ผ่องใสไม่แจ่มใสเท่าที่ควร และจะไม่บังเกิดสติและปัญญาที่ดีหรือดีที่สุด ส่วนเวลาหลับ จิตกายสังขารนี้ก็ฝันตลอดทุกคืน ซึ่งผิดปกติจากเมื่อก่อน ซึ่งจิตไม่ได้พักผ่อนมาประมาณ 7-8 วันแล้ว” สรุปว่าวันนี้ จิตกายสังขารนี้ก็ปล่อยวางให้ว่างในความนึกคิดทั้งขณะตื่นและนอนหลับ แต่พุทธะจิตก็คอยพร่ำบอกอยู่บ่อยครั้งเลยในวันนั้น เพราะจิตกายสังขารนี้ยังมีหลุดเผลอไปนึกคิดบ้าง ตามประสาของจิตที่ยังฝึกฝนมาไม่ดีพอ พอดูหนังเสร็จ ผมก็เดินไปร้านหนังสือเพื่อยืนดูหน้าปกหนังสือธรรมะ พอเดินเข้าไปในร้าน ผมก็เห็นผู้หญิงวัยกลางคนคนหนึ่งที่มีอายุแต่งตัวเหมือนคุณหญิงคุณนายกำลังนั่งสมาธิมือตั้งสมาธินิ้วโป้งชนกันเป็นวงอยู่บนเก้าอี้ตัวเล็กๆ ตัวหนึ่งข้างๆ กระจกด้านแผงหนังสือธรรมะ ผมก็รู้สึกแปลกใจว่า ทำไมมานั่งทำสมาธิที่ร้านหนังสือ ฮ่าฮ่า ร้านก็เล็ก ผมไปยืนดูที่แผงอีกคนก็เต็มทางเดินละ อิอิ ผมรู้สึกว่า เขามารอผมหรือเปล่า? ตอนนั้นดูหนังเสร็จ ผมก็เดินมาร้านหนังสือก็เกือบหนึ่งทุ่มแล้ว แปลว่า เขาน่าจะรอผมมานานพอสมควรแล้วนะ หรือเปล่า? ฮ่าฮ่า ซึ่งตอนนั้น ผมก็นึกภาพพุทธะจิตขึ้นมาในความคิดแว๊ปหนึ่ง เพื่อต้องการให้เขาเห็นในจิตของเขาเช่นกัน พอผมนึกเสร็จ ก็ทำเป็นไม่สนใจดูหน้าปกหนังสือธรรมะไป ผมยืนดูหน้าปกไม่ถึงนาที ก็เดินออกจากร้านไป เพื่อไปซื้อเสื้อยึดต่อที่ชั้นสองของห้าง

    (ในเช้าวันใหม่ที่ 7 สิงหาคม 2011) ขณะแปรงฟันผมก็คิดว่า จิตกายสังขารนี้พักผ่อนเพียงพอหรือยัง? จิตผ่องใสแจ่มใสหรือยัง? เพราะวันนี้ผมมีเวลาที่จะมาเขียนธรรมทานต่อ กับสิ่งที่ผมรู้สึกและพบเจอในจิตธรรมกาย ผมก็คิดต่อไปอีกว่า จะปล่อยวางให้จิตมันว่างไปอีกนานเท่าใด? พุทธะจิตก็ตอบว่า ก็จนกว่ากิเลสความอยากและกิเลสอื่นๆ จะเบาบางบริสุทธิ์พอ พอหยุดคิด ก็แปรงๆ ฟันไป จิตกายสังขารนี้ก็บังเกิดความรู้สึกเกี่ยวกับคำว่า “สุญญตา” ขึ้นมาในจิต และจิตมันก็เริ่มคิดลื่นไหลต่อไปว่า การทำให้จิตได้พักผ่อนหรือผ่อนคลาย ให้จิตอยู่ในภาวะว่างเปล่า ปราศจากความนึกคิดต่างๆ นั้น ทำให้จิตผ่องใสแจ่มใส และเกิดปัญญาที่ดีที่สุดหรือปัญญาแห่งปรมัตถ์ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งผมรู้สึกว่าปัญญาแห่งปรมัตถ์นั้น มีหลายระดับมาก ขึ้นอยู่กับภาวะระดับความบริสุทธิ์ของจิต ยิ่งบริสุทธิ์มากปัญญาแห่งปรมัตถ์ที่เกิดขึ้นก็ยิ่งละเอียดมากแยบยลมากขึ้น เพราะจิตจะมีกิเลสน้อยลงหรือเบาบางลง ซึ่งกิเลสนี้จะเป็นอุปสรรคขัดขวางในการบังเกิดปัญญาของจิตได้ ซึ่งมันมีส่วนสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง และจิตก็คิดไปอีกว่า ภาวะที่จิตว่างเปล่านี้ก็คือ “ภาวะสุญญตา” หรือ “สุญญตาสภาวะจิต” และสุญญตานี้ก็คือที่พักผ่อนของจิต การที่จิตพักผ่อนบ่อยๆ หรือก็คือ เข้าสู่สภาวะสุญญตาบ่อยๆ นั้น จะทำให้จิตมีกิเลสมาปะปนหรือแทรกเข้ามาได้น้อยลง เมื่อกิเลสแทรกได้น้อยลง สิ่งที่เป็นอุปสรรคขัดขวางต่อการบังเกิดปัญญาของจิตนั้นก็ลดน้อยลงเช่นเดียว กัน ดั่งเหตุและผลที่กล่าวไปข้างต้น ฉะนั้น สุญญตานั้นไม่ได้ทำให้จิตเกิดปัญญาโดยตรง แต่มันทำให้กิเลสแทรกจิตได้น้อยลง เพราะอยู่ในภาวะว่างเปล่า พอกิเลสน้อยลงปัญญาก็เกิดมากขึ้นตาม สุญญตาจึงมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับกิเลสและปัญญาของจิต

    พอแปรงฟันเสร็จ ผมก็ไปสวดมนต์และนั่งสมาธิต่อ ก่อนนั่งสมาธิ พุทธะจิตได้บอกในใจว่า “จิตกายสังขารนี้ จงปล่อยวางอย่านึกภาพหรือใช้ความคิดพิจารณาใดๆ ทั้งสิ้น ให้ใช้ความรู้สึกโดยตรงของจิตจดจ่อที่ลมหายใจเข้าออกที่ไร้คำบริกรรมภาวนาเท่านั้น” ซึ่งพอนั่งสมาธิจริงๆ จิตไม่ฟุ้งซ่านเลย สมาธิสงบนิ่งลึกมากกว่าปกติ ทำให้ผมรู้สึกว่าวิธีนี้เละ จะนำเราไปสู่สมาธิขั้นสูงได้ และต่อยอดในวิชชาอื่นๆ ต่อไป ซึ่งวิธีที่พุทธะจิตสอนมานี้ ก็คือ เทคนิควิธีการเข้าถึงสูญญตาสภาวะจิตในเบื้องต้น ซึ่งวิธีนี้ก็เป็นวิธีที่ทุกคนทราบดี แต่ทำไมคนส่วนใหญ่เข้าไม่ถึง ผมรู้สึกว่า ก็เพราะจิตกายสังขารของแต่ละคนยังฝึกฝนอบรมมาไม่ดีพอ จิตมันจึงยังไม่ค่อยจะเชื่อฟังเรา ฟุ้งซ่านบ่อยๆ เวลานั่งสมาธิ ถึงแม้คนที่ฝึกสมาธิมานานก็ยังเป็นอยู่ หรือคนที่นั่งสมาธิได้นิ่งจริงๆ นั้น ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดนั้น ผมว่าพวกเขาเหล่านั้นคงต้องใช้เวลานานมากกว่าจะนั่งนิ่งได้ถึงขนาดนี้ สรุปแล้ว ผมรู้สึกว่ามันอยู่ที่การจัดลำดับวิธีในการฝึกฝนจิตมากกว่า ถ้าเราฉลาดพอ เราก็เรียงลำดับวิธีในการฝึกฝนจิตได้ถูกต้องที่สุด แต่ในความเป็นจริงนั้น จะมีสิ่งใดที่ฉลาดเท่าเทียมหรือมากกว่า “ปัญญาแห่งปรมัตถ์ของพุทธะจิต” นั้น คงยากหรือไม่มี ซึ่งผมจะบอกว่า ในสมัยพุทธกาลนั้น ทำไมพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสรู้ได้อย่างรวดเร็วฉับพลัน ส่วนหนึ่งก็คือ บุญญาธิการที่สั่งสมมามากมายในอดีตชาติอันนี้ผมไม่เถียง แต่อีกส่วนหนึ่งนั้น ย่อมหนีไม่พ้นหรือขาดไม่ได้เลยก็คือ การลำดับของวิธีการฝึกฝนอบรมจิตอย่างถูกต้องไม่หลงทาง ถ้าลำดับวิธีการฝึกฝนที่ไม่ถูกต้องแล้วจะทำให้การฝึกฝนสมาธิของจิตนั้นมีการพัฒนาที่ช้ากว่าที่ควรจะเป็นหรือช้ามากกว่าหรือหลงทาง จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ผมพูดเรื่องธรรมกายมานั้น ผมแถบจะไม่พูดถึงครูบาอาจารย์ที่ผมนับถือท่านเป็นครูลำดับที่ 3 ก็คือหลวงพ่อวัดปากน้ำที่มนุษย์เชื่อกันว่าเป็นผู้ที่คิดค้นวิชาธรรมกายเลย แต่ผมก็ให้เกียริต์ท่าน เพราะถือว่าท่านเป็นผู้เผยแพร่วิชชาธรรมกายนี้ให้ได้รู้จักกันไปทั่ว ตามกิจที่ท่านได้รับมาจากเบื้องบน เพราะว่าจริงๆ แล้ววิชชาธรรมกายนี้เป็นวิชชาที่มีมานานแล้ว เป็นวิชชาที่ใช้ในการเข้าถึงพุทธะจิตได้อย่างรวดเร็วรวมถึงเข้าถึงสมาธิขั้นสูงและวิชชาอื่นๆ ได้อย่างรวดเร็วโดยการต่อยอดจากการปฏิบัติในอดีตชาติสำคัญๆ ได้โดยอาศัยผู้รู้ก็คือ “พุทธะจิต หรือ จิตพุทธะ” นี้เป็นครูพี่เลี้ยงคอยชี้แนะฝึนฝนอบรมเรา เป็นวิชชาของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ แต่จะเป็นวิชชาที่มีมาก่อนพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์หรือไม่นั้นผมไม่รู้

    และเมื่อรู้วิธีในการเข้าถึงสูญญตาสภาวะจิตแล้ว พุทธะจิตนี้ก็บอกในใจอีกว่า ให้จิตกายสังขารนี้ปฏิบัติตามวิธีนี้ในทุกอิริยาบท ทุกครั้งเมื่อจิตว่างจากการนึกคิดจากเรื่องสำคัญๆ ในชีวิตประจำวัน และให้จิตรู้จักคิดพิจารณาว่าเรื่องใดเป็นเรื่องสำคัญมีสาระประโยชน์หรือไม่ และคำนึงถึงภาวะของจิตในขณะนั้นด้วย เพื่อทำให้การปฏิบัตินั้นได้ประโยชน์ไม่มีโทษ ดังคำกล่าวที่ว่า “ปฏิบัติให้ถูกที่ถูกเวลาถูกสถานการณ์และถูกสภาวะจิต” และให้จิตกายสังขารนี้ปฏิบัติบ่อยๆ จนเกิดเป็นความเคยชินแบบอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ เพื่อพัฒนาจิตให้เข้าถึงสมาธิได้ลึกและนานยิ่งขึ้นจนกลายเป็นสมาธิขั้นสูง เพื่อนำมาต่อยอดในวิชชาอื่นๆ ต่อไป...

    “จิตพุทธะ หรือ พุทธะจิต ก็คือ หัวใจแห่งวิชชาธรรมกาย ” พุทธะจิตนี้จึงเปรียบเสมือนผู้รู้หรือครูพี่เลี้ยงที่ึคอยพยายามพร่ำสอนฝึกฝนอบรมจิตแห่งกายสังขารนี้ให้ดีงามอยู่ตลอดเวลา เพื่อการหลุดพ้นหรือนิพพานในที่สุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2011
  4. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> (ในวันที่ 8 สิงหาคม 2011)
    เมื่อวานขณะนั่งทำงานนั้น พุทธะจิตก็คอยพร่ำสอนจิตกายสังขารนี้อยู่บ่อยครั้ง เมื่อจิตกายสังขารนี้มีกิเลสพญามารมาแทรกในจิตทุกครั้ง เมื่อมารแทรกแล้วก็ก่อบาปให้จิตกายสังขารนี้โดยไม่เจตนา แต่บาปทั้งหมดจะเป็นบาปที่เกิดขึ้นทางมโนจิตทั้งนั้น ยากที่จะหลุดเป็นวจีกรรม เพราะจิตฝึกฝนมาดีแล้วในระดับหนึ่ง มโนกรรมที่เกิดขึ้น เช่น การสาปแช่งหรือด่าว่าผู้ที่เรามองเห็นภาพในตาเนื้อหรือผู้ที่เรานึกถึงในมโนจิตในความคิด รวมถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ และพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ และมโนกิเลสต่างๆ เป็นต้น จากการที่พญามารมาแทรกในจิตอยู่บ่อยครั้งนี้ ทำให้จิตกายสังขารนี้จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามคำชี้แนะของพุทธะจิตอย่างเคร่งครัด เพื่อให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสพญามารเหล่านี้ให้จงได้ ซึ่งสิ่งที่พุทธะจิตพร่ำสอนนั้น ก็คือ การให้จิตกายสังขารนี้ได้ใช้ความรู้สึกโดยตรงในการจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้าออกอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ต้องนึกภาพหรือคิดพิจารณาเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งวิธีนี้ผมรู้สึกว่า นี้เละที่เขาเรียกกันว่า “ภาวะสุญญตา” เป็นภาวะที่ไร้ซึ่งกิเลสสอดแทรก เป็นภาวะที่จิตอยู่แล้วสงบนิ่ง และบังเกิดปัญญาที่ละเอียดขึ้น เนื่องจากไม่มีกิเลสมาเป็นเครื่องขัดขวางกระบวนการคิดของปัญญาแห่งจิต ซึ่งการใช้ความรู้สึกจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เราก็ต้องเลือกสิ่งที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลาภายในร่างกายของเรา และสิ่งที่พุทธะจิตเห็นว่าเหมาะสม นั้นก็คือ “ลมหายใจเข้าออก” เพราะสิ่งนี้กายสังขารจะขาดเสียมิได้ นอกจากเมื่อสิ้นอายุขัยแล้วเท่านั้น เมื่อจิตออกจากร่าง ก็ให้จิตจดจ่อกับภาพอื่นๆ ที่เราเคารพศรัทธาแทน ซึ่งนี้ก็เป็นที่มาของกุศโลบายการนึกภาพพระพุทธเจ้าหรือภาวนาพุทโธก่อนตาย ซึ่งจะทำให้จิตว่างจากกิเลสหลังออกจากร่างแล้วจิตจะเบาและล่องลอยไปสู่สวรรค์ชั้นบนได้โดยไม่มีกิเลสคอยถ่วง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับบุญบาปของจิตที่เคยได้สร้างไว้ด้วย ถ้าบุญมากกว่าก็ไปเสวยบุญที่บนสวรรค์ก่อน แต่ถ้าบาปมากกว่าก็ไปชดใช้กรรมในนรกก่อน

    ซึ่งเมื่อจิตกายสังขารนี้ได้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดแล้ว ถึงแม้ว่าในช่วงแรกกิเลสจะแทรกเข้ามาอยู่เลย แต่พอปฏิบัติไปสักพักแล้ว กิเลสก็แทรกน้อยลง แต่เนื่องจากกายสังขารนี้ต้องทำงานไปด้วย จึงทำให้การจดจ่อของจิตในลมหายใจขาดช่วงเป็นระยะๆ ประกอบกับจิตเพิ่งฝึกปฏิบัติ ฉะนั้น จิตจึงยังไม่ชำนาญหรือเคยชิน และมีช่วงหนึ่งในตอนบ่าย ขณะผมนั่งฟังเพลงบทสวด ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร (ธิเบต) อยู่นั้น ผมก็ผลอยหลับไป แต่จิตกายสังขารนี้ก็ยังคงจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจไม่ขาด เพราะพุทธะจิตได้เคยสอนไว้ว่า ให้จดจ่อลมหายใจทั้งยามหลับยามตื่น พอผมผลอยหลับไปสักครู่ ตื่นมาก็ทำงานต่อ ตื่นมาได้สักแป๊ป ผมก็รู้สึกว่า ไม่มีกิเลสหรือคำสาบแช่งด่าว่า สอดแทรกเข้ามาในจิตแล้ว นานๆ จะมาที และพอกิเลสมารจะแทรก จิตกายสังขารนี้เหมือนจะล่วงรู้เท่าทัน จิตจึงจดจ่อในลมหายใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งผมรู้สึกได้ว่า ในช่วงที่ก่อนกิเลสมารจะแทรกเข้ามาแค่เสี้ยววินาทีเดียวนั้น จิตกายสังขารนี้จะเร่งให้กายสังขารหายใจถี่ขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผมรู้สึกว่า จิตกายสังขารนี้มีการพัฒนาจิตให้ละเอียดขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว ขณะที่กายสังขารหลับผลอยไปเมื่อกี้ น่าจะเป็นผลจากเสียงเพลงแห่งมนต์ตราปารมิตาหฤทัยสูตร ซึ่งเป็นเพลงที่ผมฟังประจำทุกวันขณะทำงานไม่เคยเบื่อและจิตใต้สำนึกผมชอบเพลงนี้มากเลย ผมรู้สึกว่า การที่กายสังขารนี้ผลอยหลับไปนั้น ทำให้ประสาทสัมผัสอื่นๆ ในร่างกายของผมหยุดทำงานชั่วคราว เพื่อให้จิตกายสังขารนี้มีสมาธิกับการจดจ่อลมหายใจมากยิ่งขึ้น ส่งผลทำให้เข้าสู่ภาวะสมาธิที่สงบนิ่งและลึกยิ่งขึ้นกว่าเดิมหรือเรียกว่า ภาวะสุญญตาที่ละเอียดลึก

    หลังทำงานเสร็จกลับไปที่ห้อง ขณะดูทีวีอยู่ พุทธะจิตก็พูดสอนจิตกายสังขารนี้อีกว่า ขณะที่จิตกายสังขารนี้จดจ่ออยู่กับลมหายใจ ก็ให้จิตรับภาพเสียงอารมณ์และอื่นๆ หรือใช้ความคิดพิจารณาในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อจิตหรือในสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลเป็นความดีเข้าสู่จิต เนื่องจากโดยธรรมชาติของจิตกายสังขาร เมื่อจิตอยู่ในอิริยาบทต่างๆ เช่น กิน เดิน นอน นั่ง อาบน้ำ ดูทีวี หรือกิจกรรมอื่นๆ อยู่นั้น ก็เป็นไปไม่ได้หรือยากที่จะไม่รับรู้ภาพอารมณ์ความรู้สึกและคิดพิจารณาในสิ่งเหล่านั้น เมื่อกายสังขารได้ัรับรู้สิ่งเหล่านี้ทั้งหลายทั้งมวลเข้ามาสู่จิตแล้ว จิตจะต้องตอบโต้ความรู้สึกนั้นๆ ที่ได้รับเข้ามาเป็นอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่านั้นอย่างเป็นธรรมชาติของจิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันเป็นความเชื่อมโยงทางธรรมชาติระหว่างกายสังขารกับจิตอย่างลึกซึ้ง หรือในคำสอนของพระพุทธองค์ทรงเรียกว่า “เวทนาขันธ์” หรือ “อารมณ์ของจิต” นั้นเอง เมื่อจิตได้เข้าสู่ภาวะสุญญตาที่ละเอียดขึ้น ก็หมายถึง ปัญญาแห่งจิตจะมีช่วงเวลาในการคิดพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ทั้งหลายทั้งมวลได้อย่างละเอียดและลึกขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากภาวะนี้ไม่มีตัวกิเลสมาขัดขวาง และยิ่งจิตอยู่ในสภาวะสุญญตาบ่อยนานและต่อเนื่องนั้น ก็จะเป็นอานิสงค์ส่งผลทำให้ปัญญาแห่งจิตมีช่วงเวลาในการคิดพิจารณาสรรพสิ่งมากยิ่งขึ้น สรุปว่า “ปัญญายิ่งคิดบ่อยๆ เป็นประจำก็จะยิ่งฉลาดหรือคิดได้ละเอียดลึกมากยิ่งขึ้น แต่จะทำให้ปัญญานี้ฉลาดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งหรือข้อมูลที่ปัญญาจะนำมาคิดพิจารณาด้วยว่าเป็นประโยชน์ต่อปัญญาแห่งจิตหรือไม่ เมื่อจิตอ่อนล้าจากการคิดพิจารณามามากๆ นั้น จิตก็จำเป็นจะต้องมีการพักผ่อนเหมือนกับคนเรา และเมื่อจิตใช้พลังไปมากๆ ในการคิดพิจารณา สิ่งที่จะขาดเสียมิได้เลยนั้น ก็คือ “อาหารที่มีคุณภาพของจิต” ที่จะทำให้จิตมีพละกำลังบังเกิดปัญญาที่มีคุณภาพเช่นเดียวกัน” ฉะนั้น สิ่งที่พุทธะจิตปรารถนาที่จะบอกนั้น ก็คือ จิตกายสังขารนี้จะต้องรับเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อจิตและสิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลเป็นความดีงามต่างๆ(อาหารที่มีคุณภาพของจิต) เท่านั้น จิตจึงจะมีการพัฒนาฝึกฝนในด้านปัญญาที่แยบยลลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น หรือในทางธรรม เรียกว่า “ปัญญาแห่งปรมัตถ์ที่ละเอียดลึกยิ่งขึ้น” ซึ่งความละเอียดลึกแยบยลของปัญญาแห่งจิตนั้นเป็นอนันต์ ด้วยหลักของเหตุและผลที่เป็นจริงเป็นธรรมดาเป็นสัจธรรมที่ว่า “ยิ่งคิดยิ่งฉลาด” เพราะไม่มีเหตุผลใดบอกว่า “ยิ่งคิดยิ่งโง่” ซึ่งจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์หรือพระมหาโพธิสัตว์หรือเทพเทวดาทั้งหลายทั้งปวงนั้นก็มีจิตสถิตอยู่ที่สุญญตาสภาวะทั้งนั้น แต่ทำไมทุกๆ พระองค์ก็ทรงยังคงมีจิตที่เป็นมหาบุญกุศลจิตที่เป็นมหาเมตตา นั้นก็เพราะสุญญตาสภาวะจิตของทุกพระองค์ทรงไม่เคยจะห่างจากความดีงามเลย ทุกพระองค์ก็ทรงยังคงมีมหาเมตตาช่วยเหลือมวลมนุษย์โลกสรรพสัตว์สรรพชีวิตทุกจิตทุกวิญญาณให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่หยุดหย่อนและไม่ย่อท้อ

    ฉะนั้น พุทธะจิตจึงบอกให้จิตกายสังขารนี้ ได้ทำการตั้งเงื่อนไขการรับรู้และส่งออกของจิตขณะที่จิตอยู่ในภาวะสุญญตานี้ หมายถึง รับรู้ในสิ่งที่ดีมีประโยชน์เพื่อนำมาเสริมสร้างพละกำลังและฝึกฝนพัฒนาปัญญาแห่งจิตให้ละเอียดลึกแยบยลมากยิ่งขึ้น และไม่รับรู้หรือทางธรรมเรียกว่า “ปล่อยวาง” กับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อจิตหรือกิเลสต่างๆ ไม่ให้สอดแทรกเข้ามาภายในจิตได้ จะปล่อยวางได้มากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับกำลังความสงบนิ่งแห่งสมาธิและความแข็งแกร่งฉลาดแยบยลแห่งปัญญาของจิต ซึ่งความฉลาดของปัญญานี้เองจึงได้สร้่างสมมติที่เป็นภาวะสุญญตานี้ขึ้นมาเพื่อเป็นที่อยู่และเป็นที่พัฒนาฝึกฝนของจิตอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นดังคำกล่าวของพระพุทธองค์ที่ว่า “จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิตหรือใจ” และการที่จิตจะมีการพัฒนาฝึกฝนจนฉลาดแยบยลหรือละเอียดลึกขึ้นได้หรือทางธรรม เรียกว่า “จิตบริสุทธิ์ละเอียดขึ้นได้นั้น” จำเป็นที่จิตจะต้องใส่เงื่อนไขหรือวางระบบลำดับวิธีให้ละเอียดแยบยลขึ้นนั้นเอง ซึ่งสิ่งนี้เละ คือ “หัวใจแห่งสุญญตาสภาวะจิต” ตามความรู้สึกตามการปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงในจิตผมตอนนี้ ถ้าเปรียบเทียบในทางโลกโดยรวมแล้วก็เหมือนกับการตั้ง “Firewar หรือกำแพงกลั่นกรอง” เพื่อกำจัดไวรัสและกรองสิ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์อาจจะเกิดการทำงานที่ผิดพลาดได้(Spyware) ตั้งไว้ให้กับระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งจิตก็เปรียบเสมือนคอมพิวเตอร์ที่คิดคำนวณอย่างเป็นระบบนั้นเอง เมื่อระบบคอมมีการอัฟเดฟเวอร์ชั่นใหม่ๆ เพื่อให้คอมทำงานได้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วขึ้น ก็เปรียบเสมือนกับการพัฒนาฝึกฝนจิตให้มีระบบการคิดพิจารณาที่ละเอียดลึกแยบยลฉลาดมากขึ้นนั้นเอง

    การพัฒนาจิตนั้นไม่มีวันที่จะสิ้นสุดเป็นอนันต์ แม้แต่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์เอง คำว่า “พระพุทธเจ้า” นั้นเป็นตำแหน่งที่แสดงถึงว่า จิตนั้นฝึกฝนอบรมมาละเอียดดีแล้วเหมาะแล้วชอบแล้วมีธรรมอันดีแล้วแจ้งทะลุปรุโปร่งแล้วในสัจธรรมมีบารมีสามสิบทัศครบถ้วนสมบูรณ์แล้วและถึงวาระแล้วที่จะเป็น “พระพุทธเจ้า” แต่ในระดับพระมหาโพธิสัตว์หรือในระดับพระพุทธเจ้านั้น ทุกๆ พระองค์ทรงสามารถรู้สึกและรับรู้ได้ว่า พระมหาโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้าองค์ใดมีจิตละเอียดในระดับใด ทั้งนี้วัดจากการบำเพ็ญบารมีของจิตนั้นเอง

    พอจิตกายสังขารนี้ของผมคิดพิจารณาด้วยตนเองเสร็จสิ้น จากการชี้แนะของพุทธะจิต อีกความรู้สึกหนึ่งที่ปรากฎขึ้นมา ก็คือ ทุกๆ พระองค์ทรงปรารถนาที่จะนำแนวคิดและวิธีการปฏิบัติจริงของวิชชาธรรมกายทั้งหลายทั้งมวลที่ผมได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง มาแบ่งปันเป็นธรรมทานให้กับโลกมนุษย์ทุกคนรวมถึงกองทัพธรรมที่ลงมาจุติในกาลนี้และกาลข้างหน้าต่อไปอีกด้วย ซึ่งกองทัพธรรมของพระพุทธองค์ทุกๆ พระองค์ ทุกคนจะได้เรียนรู้กัน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของแต่ละคนจะดลใจให้ท่านได้นึกถึงลูกแก้วหรือดวงแก้วเองครับ และจะศึกษาวิชชาธรรมกายนี้ได้ด้วยตนเองผ่านคำชี้แนะจากพุทธะจิตผู้ซึ่งเป็นดั่งครูพี่เลี้ยงในกายสังขารตน ซึ่งผมรู้สึกว่า สิ่งนี้เป็นหน้าที่หลักสำคัญที่สุดอีกหน้าที่หนึ่งของผมที่เกิดมาในชาตินี้ ซึ่งผมก็เป็นเพียงแค่บุคคลหนึ่งเท่านั้น ที่จะต้องนำวิชชาธรรมกายนี้มาเผยแพร่ให้รู้จักกันอย่างแพร่หลายในกาลข้างหน้าต่อไป เพื่อรองรับยุคพระศรีอาริยเมตไตรย และในยุคพระศรีอาริย์นี้ประชาชนทุกคนจะเรียนรู้วิชชาธรรมกาย(จิตแห่งพุทธะ-->เข้าถึงสุญญตาสภาวะจิต-->เชื่อมต่อจิตญาณเดิมในอดีต เพื่อต่อยอดวิชชาต่างๆ ที่ใช้ในการบำเพ็ญเพียรบารมีในปัจจุับัน-->หลุดพ้นหรือนิพพานได้เร็ว…..)นี้ ซึ่งเป็นวิชชาเก่าแก่โบราณและเป็นต้นกำเนิดแห่งวิชชาทั้งหลายทั้งปวงอีกวิชชาหนึ่งในอดีตกาล และพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์รวมถึงพระพุทธเจ้าสมณโคดมก็ทรงใช้วิชชานี้เป็นวิชชาพื้นฐานหลักสำคัญในการตรัสรู้ได้อย่างรวดเร็ว ทรงนำสัจธรรมต่างๆ ที่ได้รับรู้มาจากวิชชาธรรมกายนี้เรียบเรียงออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรหรือหลักคำสอนทางธรรมะต่างๆ เพื่อให้มนุษย์โลกได้นำไปศึกษากันโดยทั่วเพื่อทำให้สามารถเข้าถึงธรรมะสัจธรรมธรรมชาติได้โดยง่าย และเนื้อหาใจความสำคัญของทุกหลักคำสอนนั้นที่พระพุทธองค์ทรงเน้น นั้นก็คือ “วิถีแห่งจิต หรือ จิตเป็นใหญ่ จิตเป็นประธาน ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยจิตหรือใจ” และเมื่อเข้าถึงพุทธะจิตซึ่งเป็นหัวใจแห่งวิชชาธรรมกายนี้แล้ว ก็จะสามารถศึกษาวิชชาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่าย และสามารถนำไปต่อยอดวิชชาอื่นๆ หรือไปประยุกต์เป็นวิชชาใหม่ๆ แตกแขนงต่อไปในอนาคตข้างหน้าได้

    วิชชาธรรมกายนี้เป็นวิชชาที่พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ทรงประทานมาให้กับมนุษย์ทุกคนได้ปฏิบัติกัน เมื่อปฏิบัติแล้วเราสามารถพิสูจน์ธรรมะของพระพุทธองค์ได้ด้วยตนเองหรือจิตแห่งกายสังขารของเรา ได้ด้วยจิตแห่งพุทธะซึ่งเป็นผู้รู้และเป็นจิตเดียวกันกับจิตแห่งพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ อย่างคำกล่าวที่ว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้อยู่ที่ไหนไกลเลย แต่ท่านอยู่ภายในจิตใจภายในกายสังขารเรานี้เอง” และผู้ที่จะเห็นพระพุทธองค์ได้นั้น ก็ต้องปฏิบัติเองเห็นเอง พิสูจน์เองเท่านั้นจึงจะเข้าถึงพระพุทธองค์ได้ ธรรมะเป็นเรื่องของศรัทธายินยอมพร้อมใจของผู้ศึกษาและผู้ปฏิบัติ บังคับกันไม่ได้ “ศรัทธาตัวเดียวที่นำเราไปสู่หนทางเดินใหม่ หนทางแห่งความจริง หนทางแห่งธรรมะ หนทางแห่งธรรมชาติ หนทางแห่งสัจธรรม ! แล้วตัวคุณเองละ? มีศรัทธามากพอแล้วหรือยัง?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2011
  5. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    (ในวันที่ 11 สิงหาคม 2011) พุทธะจิตทำให้กายสังขารผลอยหลับไปบ่อยอยู่หลายครั้งขณะนั่งดูเวป ครั้งสุดท้ายหลับไปประมาณ 40 กว่านาที หลังจากล้าสุด พุทธะจิตได้ฝึกฝนอบรมให้จิตกายสังขารนี้ได้ลบสัญญาที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อจิต ที่อยู่ภายในจิตใต้สำนึกของจิตออก และสอนให้จิตกายสังขารนี้ได้รู้จักใช้ปัญญาคิดพิจารณาเองโดยธรรมชาติว่า "สัญญา ใดที่ถูกฝั่งรากลึกอยู่ภายใต้จิตสำนึกและเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อจิต ก็ควรจะลบสัญญานั้นออก กายสังขารก็จะไม่แสดงอาการหรืออารมณ์นั้นออกมา แต่ถ้ากายสังขารนี้แสดงอาการหรืออารมณ์ออกมาเอง ไม่ว่าด้วยปัจจัยใดก็ตาม จิตกายสังขารนี้จงอุเบกขาปล่อยวางและอย่าบันทึกสัญญานี้เข้าไปในจิต เพราะสัญญานี้จะเป็นอุปสรรคขัดขวางสำคัญขณะทรงณานและกระบวนการคิดพิจารณา แห่งปัญญาของจิตที่ปรารถนาจะละซึ่งกิเลสทั้งปวง" ซึ่งทุกครั้งเมื่อผลอยหลับไป พุทธะจิตก็ได้ปิดทวารทั้ง 6 เพื่อให้จิตแห่งกายสังขารนี้ได้เข้าสู่สุญญตาสภาวะจิตได้เต็มที่ โดยไม่ให้รับนิวรณ์เข้ามาทางทวารทั้ง 6 เพื่อมากวนสมาธิของจิตที่ใช้ในการคิดพิจารณาให้เข้าถึงวิถีแห่งณานสมาบัติได้ อย่างรวดเร็วและ่ง่ายยิ่งขึ้น หลังตื่นขึ้นมา จิตกายสังขาร(ผม)รู้สึกได้ว่าสมาธินิ่งขึ้นอย่างอัศจรรย์แบบไม่เคยเป็นมา ก่อน ละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด แต่นานๆๆๆ ทีก็มีกิเลสเข้ามาบ้าง เพราะมันเหมือนของใหม่ จะทรงณานสมาบัติ ได้ตลอด 24 ชั่วโมงแม้กระทั้งขณะหลับได้หรือไม่นั้น? ต้องดูกันต่อไป แต่จิตผมรู้สึกเชื่อมั่นว่าทำได้นะ เพราะผมเชื่อมั่นในจิตผมที่มันมุ่งมั่นไม่ย่อท้อนั้นเอง...

    ก่อนกลับบ้านพุทธะจิตดลใจให้ผมเข้าไปอ่านความหมายและอารมณ์ของณานสมาบัติใน ระดับต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับจิตกายสังขารนี้ที่หน้าเวปพลังจิตเพราะพุทธะจิตรู้ว่าผมไม่ เคยอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการปฏิบัติกรรมฐานเลย เพราะผมเองเชื่อมั่นในความรู้สึกล้วนๆ แต่ลายลักษณ์อักษรที่เป็นความรู้นั้นก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาอยู่ดี ซึ่งหลังจากที่ผมได้อ่านไปแล้ว ทำให้ผมรู้สึกได้ว่า ต่อไปนี้ผมจะต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติให้มากยิ่งขึ้น แต่ที่อ่านนี้ไม่ใช่ว่าจะนำมาปฏิบัติโดยตรง เพราะผมรู้สึกว่า พุทธะ จิตนั้นก็คือตัวแทนแห่งพระพุทธองค์ทุกๆ พระองค์ ท่านจะมีวิธีการสอนที่ชานฉลาดและแยบยลกว่านี้ ก็เพราะท่านจะใช้ปัญญาแห่งปรมัตถ์ที่ละเอียดยิ่งไม่มีประมาณในการสั่งสอน ฝึกฝนอบรมจิตให้ผมและให้ทุกๆ คนด้วยที่เข้าถึง "พุทธะจิตอย่างแท้จริง" ความรู้ที่เป็นลายลักษณ์อักษรเหล่านี้นั้นให้ผมได้อ่านเพื่อนำมาเป็นแนวทาง ความรู้ แล้วนำสิ่งที่ผมได้ปฏิบัติจริงได้พิสูจน์ธรรมะแห่งพระพุทธองค์ทุกๆ พระองค์จริงๆ ผ่านพุทธะจิตนั้นนำมาใช้เพื่อเผยแผ่ให้กับทุกๆ คนอีกที เพื่อการปฏิบัติที่เข้าถึงการหลุดพ้นหรือนิพพานได้อย่างรวดเร็วขึ้นง่ายขึ้น และตรงทาง พุทธะจิตปรารถนาให้จิตกายสังขารนี้ได้อ่านความรู้เหล่านี้เพื่อรับรู้วาระ จิตแห่งตนเองว่าอยู่ในระดับใด ทำให้ผมได้รู้สึกขึ้นมาอีกอย่างว่า "พุทธะจิต" ท่านทำอะไรอัศจรรย์ปาฏิหารย์ได้มากกว่านี้แน่นอนถ้าสิ่งนั้นเป็นกิจหน้าที่ ของท่าน ข้างต้นนี้เป็นแค่การเปิดทางอย่างหนึ่งของพุทธะจิตต่อจิตกายสังขารนี้เท่า นั้น แต่สุดท้ายแล้ว "ตนจะต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน อย่างแน่นอน จิตตนเองฝึกฝนตนเองจึงจะมีการพัฒนาที่ดีขึ้นอย่างถาวร มิใช่ด้วยอำนาจจากภายนอกที่ส่งผลต่อจิตเพียงชั่วครั้งชั่วคราว" อันนี้ผมรู้สึกได้ และท่านก็ทำให้ผมรู้สึกอยู่ตลอดเวลาว่า "เรา ไม่ควรจะโอ้อวดใดๆ เพื่อตนเอง แต่จงโอ้อวดเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ถ้าสิ่งเหล่านั้นเป็นธรรมทานสู่จิตหรือใจแห่งปวงชน...จิตเจ้าจงมุ่งมั่น ปฏิบัติต่อไปอย่าได้ท้อถอย...เหนื่อยก็พักเราเข้าใจ...เพราะหนทางการช่วย เหลือคนนั้นยังอีกยาวไกลนัก ! สิ่งเหล่านี้ก็แค่ทางผ่านของเจ้าเท่านั้น...จงจำไว้ให้ดี..."
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 สิงหาคม 2011
  6. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    อ้างอิง:
    <table border="0" cellpadding="6" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr><td class="alt2" style="border:1px inset"> ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ อริยะบุญ [​IMG]
    วันนี้เป็นวันพระ อีกไม่กี่วัน ตุ้ยจะอายุครบ ๘ ปี( ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ )
    ตามที่ตุ้ยได้ได้ฝึกสมาธิกับคุณพ่อจะครบ ๑ ปีเต็มในอีกไม่กี่วัน และเรื่องราวที่ถ่ายทอดให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกันก็เป็นการเที่ยวซนของตุ้ย ไปวันๆ ด้วยอำนาจจิตจากกสิณสมาธิ ซึ่งตอนนี้กสิณที่เขาได้คือกสิณแสงสว่าง มาวันนี้คุณพ่อหมดไส้หมดพุงที่จะสอนแล้ว จึงเป็นเหตุให้ตุ้ยต้องแสวงหาครู อาจารย์ที่มีความสามารถ ซึ่งวันนี้ตุ้ยจะทำการสืบเสาะค้นหาเองว่าท่านผู้ใดที่เขาจะไปฝากตัวเป็น ศิษย์ได้ และวันนี้คงได้ทราบกันว่าเป็นใคร หากเป็นท่านยังเป็นมนุษย์อยู่ คุณพ่อก็คงต้องพาไปฝากตัวเป็นศิษย์ แต่หากเป็นท่านที่อยู่เหนือภูมิของมนุษย์ ก็จะให้ตุ้ยเข้าไปฝึกด้วยทุกคืนๆละไม่เกิน ๑ ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ซึ่งสิ่งที่จะต้องฝึกคือ กสิณ ให้ครบทั้ง ๑๐ กองครับ


    เป็นกำลังใจให้ตุ้ยด้วยนะครับ
    </td></tr></tbody></table>
    ผมตามอ่านกระทู้ของคุณมาสักพักหนึ่งละ และในวันนี้ผมสะดุดตรงประโยคที่คุณบอกว่า "วันนี้ คุณพ่อหมดไส้หมดพุงที่จะสอนแล้ว จึงเป็นเหตุให้ตุ้ยต้องแสวงหาครู อาจารย์ที่มีความสามารถ ซึ่งวันนี้ตุ้ยจะทำการสืบเสาะค้นหาเองว่าท่านผู้ใดที่เขาจะไปฝากตัวเป็น ศิษย์ได้"

    ซึ่งมันถึงวาระจิตของน้องตุ้ยแล้วครับ ผมจึงขอชี้แนะตามวาระกิจเช่นเดียวกันว่า

    1. อธิษฐานจิตต่อพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ว่า "ด้วย แรงอธิษฐานของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ข้าพเจ้าขอเบิกบุญญาธิการและบุญกุศลเก่าตั้งแต่ต้นจิตต้นชาติต้นกัปป์ต้นกัลล์ทุกอณูวินาทีทุกภพทุกชาติจนถึงปัจจุบันชาติและขอบุญฤทธิ์สิทธิเฉียบขาดของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ จงเป็นอานิสงค์ทำให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพุทธะจิตหรือจิตแห่งพระพุทธองค์ทุกๆ พระองค์ และเข้าถึงสรรพวิชชาต่างๆ ในอดีตชาติโดยเร็ววันด้วยเทอญ สาธุ" อธิษฐานประมาณนี้นะครับ อธิษฐานครั้งเดียวพอครับ แต่ถ้าปฏิบัติต่อไปแล้วติดขัดก็อธิษฐานประมาณนี้อีกที แต่เจาะจงเรื่องที่จะขอไปครับ ขอได้แต่อย่าขาดความเพียรครับ

    2. ด้วยแรงอธิษฐานนี้ เมื่ออธิษฐานเสร็จ นับถอยหลังเป็น นาที,ชั่วโมง เป็นวัน ไม่เกินกว่านี้แน่นอน อย่างช้าสุดไม่เกิน 2-3 วัน แต่อย่างน้องตุ้ยเร็วกว่านี้แน่นอน บุญญาธิการบุญกุศลเก่าของน้อยตุ้ยและของพระพุทธองค์ท่านจะดลใจน้องเค้าให้ เข้าสู่วิถีแห่งจิตด้วยธรรมกายเองครับ เมื่อเข้าถึงพุทธะจิตแล้ว ครูที่สอนน้องเขาก็คือพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์หรือพุทธะจิตครับ ซึ่งจิตแห่งพุทธะนี้เป็นจิตหนึ่งเดียวกับพระพุทธองค์ทุกๆ พระองค์ครับ พุทธะจิตนี้จะเป็นเหมือนพี่เลี้ยงคอยสั่งสอนและฝึกฝนจิตกายสังขารของน้อง ตุ้ย อันดับแรก คือ จะสอนให้ละกิเลสทั้งปวงให้เบาบางลง รวมถึงเวทนาต่างๆ เพื่อทำจิตให้ใสบริสุทธิ์เท่าเทียมหรือมากกว่าจิตญาณเดิมในอดีตชาติชาติที่ น้องตุ้ยเคยปฏิบัิติธรรมได้สูงสุดและเคยได้สรรพวิิชชาต่างๆ และอภิญญาต่างๆ อันสูงสุดมาแล้ว

    เมื่อน้องตุ้ยเข้าถึงภาวะจิตทั้ง 2 อย่างนี้แล้ว คือ

    1. เมื่อจิตบริสุทธิ์เท่าเทียมหรือมากกว่าจิตญาณเดิมในอดีตแล้ว ณ กาลนี้น้องตุ้ยยังเด็กอยู่ ฉะนั้น กิเลสยังเบาบางอยู่ แต่เมื่อเติบใหญ่ กิเลสจะเยอะขึ้นตามสิ่งเร้าต่างๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเขา ฉะนั้น กาลนี้จึงเหมาะควรและง่ายต่อการเข้าถึงจิตอันบริสุทธิ์ที่เท่าเทียมกับจิต ญาณเดิมในอดีต และพุทธะจิตจะคอยขัดเกลาจิตกายสังขารของน้องตุ้ยตลอดเวลาเองครับ

    2. เมื่อทรงณานได้แก่กล้าแล้ว สามารถทรงณานได้เกือบตลอด 24 ชั่วโมงในทุกอิริยาบทติดต่อกันเป็นเวลานานหลายวันหลายเดือนและจิตมันจะทรง ณานได้อย่างอัตโนมัติเป็นธรรมชาติตลอดเวลาเองครับ เพื่อรองรับสภาวะธรรมหรือสรรพวิชชาต่างๆ ที่จะถูกถ่ายทอดหรือก๊อปปี้จากจิตญาณเดิมในอดีตสู่จิตปัจจุบัน แต่การถ่ายทอดจิตสู่จิตนี้ จะค่อยๆ มา แต่ใช้เวลาไม่นานเท่าไร แล้วแต่บุญญาธิการและความเพียรของแต่ละคนครับ คุณประโยชน์ของวิชชาธรรมกายนี้จึงเป็นวิชชาเก่าแก่โบราณของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ที่สำคัญที่ใช้ในการตรัสรู้และใช้ในการถ่ายทอดสรรพวิชชาต่างๆ และสภาวะธรรมต่างๆ ต่อเนื่องกันมาในทุกๆ ชาติ และนำมาต่อยอดการบำเพ็ญเพียรในชาติต่อๆ ไป หรือที่มนุษย์เรียกว่า "การตรัสรู้โดยฉับพลัน"

    ขอให้เจริญในธรรม
    ธรรมภูมิ
    <hr style="color:#FFFFFF; background-color:#FFFFFF" size="1"> Last edited by ธรรมภูมิ; วันนี้ at 07:26 PM.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 สิงหาคม 2011
  7. mummamman

    mummamman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,598
    ค่าพลัง:
    +2,116
    เท่าที่อ่านมามันแบบพูดไม่ถูกแต่รู้
    สึกว่าคุณปรุงแต่งตามจิตและจริตไปตลอด
    มันไม่ใช่สภาวะ สุญญตาสภาวะ
    ยิ่งอ่านยิ่งงง สับสน

    ผมว่าคิดง่ายๆๆแค่ เราไม่ใช่ร่างกายนี้ ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา
    ง่ายกว่าไหมครับ
     
  8. wacaholic

    wacaholic เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2010
    โพสต์:
    502
    ค่าพลัง:
    +214
  9. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    (8 กัีนยายน 2011)
    ตั้งแต่จิตผมเข้าถึงณานสมาบัติปฐมณานหรือณาน 1 แล้วอีกไม่กี่วันก็เกิดอาการมีเสียงจี๊ดที่หูอยู่ตลอดเวลา มันเป็นเสียงเดียวกันกับเสียงที่เกิดขึ้นขณะเราเอานิ้วอุดหูไว้ทั้งสองข้าง เสียงนี้ดังเกือบตลอด 24 ชั่วโมงเลยไม่ว่าจะนั่งสมาธิหรือไม่ เท่าที่สังเกตุดู เวลาจิตมีสมาธิเสียงนี้จะดังขึ้นกว่าปกติ มันเป็นเสียงที่แยกส่วนกันจากเสียงภายนอกที่ได้ยินแต่ไม่รำคาญ รู้สึกเหมือนกับว่า "จิตกำลังนั่งสมาธิอยู่" และผมรู้สึกและเชื่อมั่นอย่างมากว่า มันเป็นเสียงที่เกิดขึ้นจากการที่จิตเป็นณานสมาธิ แต่เป็นณานในระดับไหนนี้ผมก็พอจะรู้สึกได้แต่ก็ยังไม่ 100% จากการไปสอบถามผู้มีญาณบางท่านรวมถึงผู้รู้ในกลุ่มตนเอง บางท่านก็ให้คำตอบที่คลุมเครือ บางท่านก็ให้คำตอบที่ตรงกับความรู้สึกของผม ในใจผมก็รู้อยู่แล้วว่าถ้าได้คำตอบมาแบบใดนั้น สุดท้ายแล้วผมก็เชื่อมั่นในความรู้สึกของตนเองอยู่ดี แล้วผมจะถามไปทำไมเหรอครับ? ก็เพื่อเพิ่มความมั่นใจในตนเอง ผมก็ยังมีความอยากรู้อยากเห็นบ้างพอประมาณนะครับ ถึงแม้ว่า บางครั้งเบื้องบนท่านจะทดสอบว่าผมมีความเชื่อมั่นในความรู้สึกของจิตที่เป็นสัมมาทิฐิของตนเองมากแค่ไหน? มีความมั่นคงหรือหวั่นไหวหรือไม่? ผมตอบเลยว่า มั่นคงแต่บางครั้งบางทีก็ต้องมีหวั่นไหวบ้างแต่แป๊ปเดียวสติกลับมาก็มั่นคงในความรู้สึกเช่นเดิม ผู้มีญาณบางท่านก็บอกว่าอาการนี้ก็เป็นอาการที่ผู้มีญาณทุกคนจะต้องเคยเป็น และผู้มีญาณบางท่านก็ให้คำแนะนำในการปฏิบัติที่ดีมา ซึ่งจะให้พูดจริงๆ แล้ว ผมเองก็ไม่ค่อยรู้เรื่องณานเลย ก็ค้นหาข้อมูลใน Google ในเวปพลังจิต,เวปญาณทิพย์มาอ่านบ้าง แต่สรุปแล้วพอจะรู้ว่าอาการแบบนี้น่าจะเป็นณานระดับใดบ้าง แต่ก็ยังงงๆ และยังทำไม่ถูกเกี่ยวกับการเข้าและออกณาน สรุปก็ไม่ได้ทำ เพราะเข้าออกณานไม่เป็น ฮ่าฮ่า แต่ผมรู้สึกได้อย่างหนึ่งว่า การเข้าและออกณานนั้นมันเป็นเรื่องธรรมชาติของจิต สรุปแล้ว ผมขอปฏิบัติในแนวทางความรู้สึกและความปรารถนาของจิตดีกว่า จิตเพียรปรารถนาที่จะปฏิบัติแบบใดก็แบบนั้น อยู่ที่วาระของจิต และการชี้แนะจากเบื้องบน อย่าดิ้นรนให้จิตต้องขุ่นมัวกับความลังเลสงสัยอีกเลย เมื่อถึงวาระแห่งจิตในแต่ละระดับการปฏิบัติ จิตจะรับรู้ได้เองโดยธรรมชาติว่าควรปฏิบัติเช่นไรต่อไป ก่อนหน้านี้จากการที่อ่านและรับฟังคำชี้แนะมาจากหลายแหล่งแล้ว ทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่า ตนเองจำเป็นจะต้องปฏิบัติตามลำดับแนวทางพื้นฐานของณานสมาบัตินี้อย่างเคร่งครัด(หรือในความเป็นจริงนั้น จิตผมมันได้ปฏิบัติตามแนวทางพื้นฐานของณานสมาบัตินี้แล้วโดยธรรมชาติของจิตแต่ผมไม่รู้ตัวหรือเปล่า? เพราะความรู้สึกผมเหมือนว่า จากณาน 1 กระโดดมาณาน 4 เลย หรือว่า จริงๆ แล้วมันก็ผ่านณาน 2-3 นั้นเละนะ แต่มันผ่านไปอย่างรวดเร็ว อาจเพราะในอดีตชาติเคยปฏิบัติมาดีแล้ว และด้วยความเคยชินของจิต จึงดูเหมือนว่า จากณาน 1 กระโดดมาณาน 4 เลย และก็ยังงงเรื่องอรูปณานอีก จนมาวันนี้เปิดกระทู้เวปพลังจิตดู ผมก็มาพบกับคำตอบในกระทู้นี้ ซึ่งมีข้อความดังข้างล่างนี้ (ทำให้ผมมั่นใจขึ้นมาอีกว่า เราปฏิบัติตามความรู้สึกของจิตที่เป็นสัมมาทิฐิของตนเองนั้นเละถูกต้องที่สุดแล้วตรงทางที่สุดแล้วไม่เดินอ้อมหรือเดินถอยหลังไปนับหนึ่งใหม่ ตามสำนวณอย่างที่เขาพูดกันบ่อยๆ ว่า "มันเป็นปัจจัตตัง" ไปถามผู้รู้หรือผู้มีญาณท่านใดก็ตามไม่สู้ถามความรู้สึกของจิตหรือใจในตนเองได้เลย เพราะคำชี้แนะที่ได้มานั้นอาจไม่ใช่หนทางตรงหรือเหมาะกับจริตเราก็ได้)

    " ย้ำข้อสรุปว่า ในการฝึกเตรียมจิตไว้ต้องใช้สมาบัติ ๘

    แต่ในเวลาทำอภิญญา ก็เข้าฌานเพียงจตุตถฌานเท่านั้น
    ทั้งนี้เพราะว่าเมื่อเข้าสมาธิถึงจตุตถฌานแล้ว จิตซึ่งเคยอบรมมาดีแล้วด้วยสมาบัติ ๘
    พอมีสมาธิถึงระดับจตุตถฌานก็มีความประณีตเป็นพิเศษยิ่งกว่าจิต
    ของผู้ได้ลำพังแต่จตุตถฌานล้วนๆ

    เมื่อตัดเอาตรงนี้ ท่านจึงกล่าวว่า ใช้จตุตถฌานเป็นบาทของอภิญญา
    ตรงกับที่ท่านพูดไว้อีกสำนวนหนึ่งว่า จิตที่พร้อมด้วยองค์ ๘ คือ เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องใส ฯลฯ (โดยการอบรมด้วยสมาธิระดับจตุตถฌาน ถึงขั้นอรูปสมาบัติ) อย่างนี้ เป็นของเหมาะแก่การน้อมเอาไปใช้ จึงเป็นบาท คือเป็นปทัฏฐานแห่งการประจักษ์แจ้งด้วยการรู้จำเพาะ ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมทั้งหลาย (วิสุทธิ.2/203)

    อย่างไรก็ดี มีข้อยกเว้นว่า สำหรับท่านผู้มีบุพโยคะ (คือ มีเพียรที่ทำมาแต่ปางก่อนเป็นพื้นอุปนิสัยหรือเป็นทุนเดิม) แรงกล้าแล้ว เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
    และพระอัครสาวกเป็นต้น ไม่ต้องฝึกฝนครบกระบวนวิธีตามลำดับก็ได้
    และสร้างความชำนาญในจตุตถฌานล้วนๆ ก็เพียงพอที่จะทำอภิญญาให้เกิดได้
    ไม่จำเป็นต้องสร้างความชำนาญในอรูปสมาบัติ (วิสุทธิ.2/201 วิสุทธิ.ฎีกา. 2/254)
    __________________
    ธรรมดาๆ
    แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย มาจากดิน : 20-10-2009 เมื่อ 04:38 PM
    "
    อ้างอิงจากกระทู้เวปพลังจิต : http://palungjit.org/forums/ ... 83.html#post2457068
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กันยายน 2011
  10. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    (วันที่ 25 กันยายน 2011 เวลาประมาณ 2:00 am) เบื้องบนดลใจให้ผมไปเข้าเอ็มในอีเมลธรรมภูมิ ซึ่งเอ็มนี้ผมไม่ค่อยได้เข้าเลยตั้งแต่สมัครมา และพอเข้าไปก็เจอน้องคนหนึ่งที่ตอนช่วงแรกเขายังเปิดสายญาณยังไม่ได้ แต่ตอนนี้เปิดได้แล้ว รับสัมผัสได้มากมาย จนน่าทึ่งครับ แต่ก็มีเรื่องหนึ่งที่เขาเตือนมา เกี่ยวกับ เรื่องการลองของตามกระทู้ต่างๆ ทั้งเวปญาณทิพย์และเวปพลังจิต น้องเขาบอกประมาณว่า พวกพลังดำหรือคุณไสยเหล่านี้จะแฝงอยู่ตามกระทู้บางกระทู้หรือตาม pm บาง pmหรือตามข้อความคอมเม้นท์ต่างๆ ที่ไม่ดีเมื่อเข้าไปอ่านแล้วพลังดำหรือคุณไสยเหล่านี้จะวิ่งเข้าตัว แต่ผมไม่รู้ว่าสำหรับคนธรรมดาจะเป็นไรหรือเปล่านะ แต่ที่แน่ๆ น้องเขาบอกว่า คนที่รับสัมผัสพิเศษได้หรือผู้มีญาณจะรับสิ่งไม่ดีพลังดำหรือคุณไสยเหล่านี้ได้เลยทันที เมื่อโดนแล้วต้องไปนั่งสมาธิให้ครูบาอาจารย์หรือผู้มีญาณท่านอื่นช่วยถอนให้ หรือใช้วิธีอื่นๆ ช่วยในการถอนออก ผมก็แปลกใจว่า อ้าว ถ้าเป็นอย่างนี้ละ ทำไมพี่ไม่เคยโดนพลังดำหรือคุณไสยเลยละ? พอผมถามมาถึงตรงนี้ ผมก็รู้สึกได้ว่า สิ่งที่ป้องกันผมจากสิ่งไม่ดีหรือพลังดำหรือคุณไสยเหล่านี้ ก็เพราะว่าผมรักษาศีล 5 อยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบวชจิตของผมให้เป็นจิตพรหมจรรย์ที่บริสุทธิ์ดุจดั่งแก้วพรหมจรรย์นั้นอย่างที่ผมเคยกล่าวไปแล้วในข้างต้นนั้นเปรียบเสมือนเกราะแก้วคุ้มครองป้องภัยให้ ประกอบกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเบื้องบนที่คุ้มครองผมอยู่นี้เองและท่านก็ชี้แนะแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับผม ผมจึงรอดพ้นจากสิ่งไม่ดีต่างๆ เหล่านี้หรือโดนแต่ไม่เต็มหรือเปล่า? ฮ่าฮ่า เพราะไม่เห็นรู้สึกว่าโดนของเลย ทำให้ผมรู้ว่าด้วยเหตุนี้เอง ท่านจึงดลใจชักจูงให้จิตผมบริสุทธิ์เป็นพรหมจรรย์มาเป็นสิ่งแรกก่อนการปฏิบัติธรรมในลำดับต่อไป และสภาวะที่จิตเป็นพรหมจรรย์นี้สามารถเข้าถึงหลักธรรมการปฏิบัติธรรมได้อย่างรวดเร็วเป็นอัศจรรย์อีกด้วย เพราะเมื่อจิตบริสุทธิ์แล้วก็จะมีกิเลสพญามารที่เป็นตัวขัดขวางการเจริญสติหรือการฝึกฝนของจิตลดน้อยลงไปด้วย และจิตที่บริสุทธิ์ก็เปรียบเสมือนกรรไกรที่คมกริบที่ลับมาดีแล้วเป็นกรรไกรชั้นดีที่สามารถตัดกิเลสหรือเวทนาหรืออื่นๆ ได้อย่างขาดสะบั้น สาธุ !

    ซึ่งน้องเขาตอนนี้เพิ่งเปิดสายญาณยังเหมือนควบคุมพลังพิเศษนี้ยังไม่ค่อยได้ ดูดทั้งพลังขาวและพลังดำมาเข้าตัวเอง น้องเขาบอกว่า น้องเขาเคยเข้าไปอ่านกระทู้บางกระทู้และเคยตั้งกระทู้ขึ้นมาในเวปญาณทิพย์เพื่อเล่าประสบการณ์ชีวิตจริงกับการพบองค์ในของเขา แต่สุดท้ายก็ต้องลบทิ้ง เพราะบางครั้งเมื่อน้องเขาเข้าไปเปิดแต่ยังไม่ทันอ่านเท่านั้น พลังดำวิ่งใส่เลย เมื่อโดนของแล้วทำให้ร่างกายเจ็บป่วยไข้หรือท้องเสียอะไรประมาณนี้นะ ขนาดโทรคุยกันน้องเขาก็สัมผัสพลังของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในตัวผมได้ ดูดพลังผมซะงั้น ฮ่าฮ่า ล้อเล่นนะ เหมือนๆ กับมหาเวทย์ดูดดาวประมาณนั้น อิอิ น้องเขาบอกว่า บางครั้งบางคนก็ส่งกุมารมาดูก่อนว่าผู้โพสนั้นมีบารมีมากเท่าใด แต่มีคราหนึ่ง น้องเขามีเมตตาต่อกุมาร จึงส่งกุมารของคนนั้นไปเกิด คนๆ นั้นโกรธมากจึงส่งของมาเล่นงานน้องเขาใหญ่เลย(มารไม่มีบารมีไม่เกิด อิอิ) ผมฟังไปก็อึ้งๆ ไปบ้าง เพราะสิ่งลี้ลับเหล่านี้มันรู้ได้เฉพาะตนจริงๆ ผมเองก็ไม่เคยได้ยิน อะไรก็ไม่เคยเห็น ได้แต่รู้สึกอย่างเดียว และคงจะมีเรื่องราวลี้ลับแปลกประหลาดอีกเยอะแยะเลยที่ผมยังไม่รู้ เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ปุถุชนธรรมดาทั่วไปที่มีความรู้ที่จำกัด ฉะนั้น ขอเพียงเราเปิดใจที่จะรับฟังและใช้สติปัญญาพิจารณาดู อย่าเพิ่งรีบตัดสินอะไรว่ามีจริงหรือไม่มีจริง? อะไรผิดอะไรถูก? ตามความเชื่อและความรู้ที่มีจำกัดของตนเอง แต่จงเปิดใจให้กว้าง ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมคงว่าน้องเขาบ้าไปแล้ว ฮ่าฮ่า ยังงัย พี่ก็ขออนุญาติน้องเขาตรงนี้เลยละกัน ขอนำวิทยาทานนี้มาให้ผู้ที่ไม่เคยทราบได้ทราบกันนะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2011
  11. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    (26 กันยายน 2011) ประสบการณ์เรื่อง อรูปณานที่ 1 หรือ ณาน 5 หรือ อากาสานัญจายตนะ

    เมื่อวานเวลาประมาณ 19:00 นาฬิกา ก่อนที่ผมจะออกจากที่ทำงาน ผมก็ได้เข้าไปในห้่องเวปบอร์ดของเวปหนึ่ง พอดีเห็นหน้าห้องเขียนบรรยายว่า “ฆราวาสนักปฏิบัติผู้ที่สามารถทรงสมาธิถึงขั้นอรูปฌาน” ซึ่งผมรู้สึกว่าตัวผมเองก็กำลังจะเข้าสู่อรูปณาน เพราะการปฏิบัติสมาธิของผม ผมปฏิบัติไปตามความรู้สึกที่เป็นสัมมาทิฐิของผมมาโดยตลอด ช่วงไหนเวลานั่งสมาธิอยากจะจับภาพพระก็จับ อยากจะบริกรรมก็บริกรรม แต่ช่วงหลังๆ มานี้จิตอยากจะนั่งสมาธิแบบไม่ต้องคิดนึกถึงอะไรเลย คือ จิตอยากจดจ่อกับความว่างเปล่าเพียงเท่านั้น ถึงแม้ขณะจดจ่อนั้นจะมีเสียงจี๊ดๆ ดังก้องอยู่ในหูก็ตาม แต่เราก็ไม่เคยรำคาญเสียงนี้เลย ซึ่งเราได้ยินเสียงจี๊ดนี้เกือบตลอดเวลามาประมาณเกือบสองเดือนละ ช่วงแรกๆ ก็รู้สึกสมาธินิ่งดีไม่ฟุ้งซ่าน แต่ช่วงหลังๆ มานี้เริ่มมีฟุ้งซ่านบ้าง และกิเลสพญามารเข้ามาในจิตเยอะในช่วงนี้ คือ มีจิตที่คิดปรามาสไปทั่ว แม้กระทั่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เราก็ขอขมากรรมและขออโหสิกรรมไป เพราะเมื่อปรามาสไปแล้ว เราก็ทำได้เพียงแค่นี้ แต่จงอย่าหลงกลพญามาร นำเรื่องไม่ดีเหล่านี้ไปคิดจนจิตขุ่นมัวไม่เป็นสมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดขวางการปฏิบัติธรรมของเรา

    เมื่อผมเข้าไปในห้องเวปบอร์ดแล้ว ก็เข้าไปดูกระทู้เรื่องอรูปณาน ผมก็อ่านๆ ไป จนมาสะดุดกับประโยคที่ผู้ปฏิบัติธรรมผู้นั้นได้ตั้งอธิษฐานจิตถามครูบาอาจารย์ของเขา ก็คือ หลวงปู่ฤาษีลิงดำ” และท่านก็ตอบมาในภาวะครึ่งหลับครึ่งตื่นของเขาในตอนหนึ่งว่า “เจ้าก็เข้าสมาธิจนเป็น เอกัคคตา(อารมณ์หนึ่งเดียว) ฌาน ๔ ไปเรื่อย แล้วก็จะถึง ฌานที่ ๕ เอง” ซึ่งเมื่อผมอ่านประโยคนี้จบลง ผมรู้สึกว่าจิตผมมันบังเกิดปัญญาญาณขึ้นมาอย่างฉับพลัน และจิตผมมันก็เริ่มจดจ่อกับความว่างเปล่าขึ้นมาโดยธรรมชาติในทันที ความรู้สึกต่อมาผมก็รู้สึกว่าจิตโล่งๆ พออ่านกระทู้นี้จบ ผมก็ต้องรีบกลับบ้านละ ระหว่างทางกลับบ้าน ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบทใด เดิน,นั่งรถ,กินข้าว,ขึ้นลิฟท์ จนมาถึงห้อง ผมรู้สึกว่าจิตมันจดจ่อกับความว่างเปล่านั้นโดยไม่ลดละเลย และผมก็อยากประคองอารมณ์นั้นไว้ด้วยไม่ว่าอิริยาบทใด แม้กระทั่งตอนดูละครก็ตาม อิอิ พอผมเปิดดูละคร “รอยไหม ช่อง 3” ไปได้ไม่กี่ตอน อารมณ์ของจิตที่จดจ่อกับความว่างเปล่านั้นมันเริ่มจะถอยลงบ้างแล้ว เพราะสมาธิถูกแบ่งไปดูละคร อิอิ ในขณะนั้นผมก็คิดว่า เอ้ๆ นั่งสมาธิดีไหมนะ? แต่ความที่ผมอยากจะดูละครมากกว่า ฮ่าฮ่า จึงบอกตัวเองว่าอะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ตอนนี้เราก็พอจะประคองอารมณ์ที่จดจ่อความว่างเปล่านั้นได้บ้าง ซึ่งตนเองก็รู้สึกตัวว่า ตนเองยังขาดความมุ่งมั่นและความเพียรอยู่ไม่มากก็น้อย อิอิ ต่อมาในขณะที่ดูทีวีอยู่นั้นฝนก็เริ่มตก จนสักแป๊ปหนึ่ง ไฟก็ดับหมด มองเห็นอาพาร์ทเม้นท์ตรงกันข้ามก็ดับเหมือนกัน ผมจึงนอนหงายแล้วคิดว่าจะทำสมาธิแบบนอน แต่อีกใจหนึ่งก็บอกตนเองว่า ลุกขึ้นมานั่งทำสมาธิจะดีกว่าจะมุ่งมั่นและตั้งใจกว่า ผมจึงรีบลุกขึ้นมานั่งขัดสมาธิเพื่อให้จิตจดจ่อกับความว่างเปล่าต่อหน้ารูปภาพพระพุทธชินราช(สมเด็จองค์ปฐม)ในทันที ณ ตอนนี้จิตผมก็เริ่มมุ่งมั่นเพียรในสมาธิขึ้นมาทันที แต่อีกจิตหนึ่งก็คิดว่า เอ้ๆ ถ้าไฟมันมาแล้วเราจะดูละครต่อดีหรือเปล่านะ? พอนั่งไปได้แป๊ปเดียวเอง ไฟฟ้าก็มา ทีวีก็เปิดขึ้นอัตโนมัติ แหม่ๆ เปิดมาตอนช่วงละครเล่นพอดี อิอิ ขณะนั้นผมก็ยังนั่งหลับตาอยู่ ถามตนเองว่าเอางัยดีนิ? ในอารมณ์นั้นมันรู้สึกว่า เราเองเหมือนได้ตั้งสัจจะไว้แล้วว่าจะต้องทำสมาธิให้ได้ ทันใดนั้นผมก็ลืมตาขึ้นมา แล้วคว้ารีโมทขึ้นมาปิดทีวีเลย เสร็จแล้วผมก็นั่งสมาธิต่อ ตอนนี้มีแต่ไฟส่องสว่างเฉพาะตรงรูปภาพพระพุทธชินราชเท่านั้น ซึ่งการนั่งสมาธิจดจ่อกับความว่างเปล่าในครั้งนี้ของผม รู้สึกว่ามันจะนิ่งและลึกพอสมควร นั่งไปได้ประมาณชั่วโมงกว่า ผมก็ต้องออกจากสมาธิเพราะตอนนั้นประมาณห้าทุ่มแล้วยังไม่ได้อาบน้ำเลย ซึ่งผมก็ต้องบอกตนเองว่า นั่งแล้วอย่าให้ทางโลกเสียด้วย ต้องนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอด้วย เพราะว่าขณะอาบน้ำนั้นผมก็ยังประคองอารมณ์สมาธิต่อได้อีก

    ปล. ผมอยากจะบอกว่า ในช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่ผมกำลังเพิ่งเริ่มปฏิบัติอยู่ ภาวะทางธรรมของจิตกายสังขารนี้ก็มีไม่มากเท่าใด หรือจะเรียกว่าบังคับอะไรยังไม่ได้ ฉะนั้น บางครั้งภาวะธรรมมันจะแสดงหรือออกมาเองโดยธรรมชาติของจิต หรืออาจมีเหตุปัจจัยบางสิ่งบางอย่างมากระทบจิตของผมแล้วกระตุ้นภาวะธรรมบางอย่างออกมานั้น ซึ่งมันไม่สามารถบังคับได้ ณ ตอนนี้ ซึ่งตัวผมเองก็ยังรู้สึกว่าตนเองยังอ่อนด้อยในธรรมอยู่มากนัก ตนเองยังอยู่ในช่วงปฏิบัติธรรม ยังเหมือนกับเด็กทารกที่กำลังเดินอยู่บนเส้นทางแห่งธรรมะสายนี้ ฉะนั้น ณ ภาวะปัจจุบัน ผมจึงยังไม่สามารถหรือยังไม่พร้อมหรือยังไม่มั่นคงในธรรมเพียงพอหรือยังไม่ถึงวาระจิตที่จะชี้แนะหรือแสดงธรรมะใดๆ กับผู้ใดได้ ยกเว้น เบื้องบนหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ท่านจะดลใจจัดสรรหรือจัดฉากมาให้ได้พบเจอกันไม่ว่าผ่านสื่อใดๆ ก็ตามตามบุญสัมพันธ์ระหว่างซึ่งกันและกัน เมื่อถึงวาระจิตนั้นจิตมันจะแสดงธรรมออกมาโดยอัตโนมัติเอง ฉะนั้น ขอให้บางท่านที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับธรรมะใดๆ กรุณาโปรดถามผู้ปฏิบัติธรรมหรือผู้มีญาณท่านอื่นดีกว่าครับ ในภาวะธรรมปัจจุบันที่ผมแสดงนั้นจะขอเป็นเพียงแค่การบอกเล่าประสบการณ์ในทางธรรมที่เกิดขึ้นจริงของผมในชีวิตจริงออกมาตามความรู้สึกล้วนๆ ใครผู้ใดจะตำหนิติเตียนผม ผมก็ขอน้อมรับไว้ด้วยใจครับผม และอโหสิกรรมให้กับผู้นั้นมา ณ ที่นี้ด้วยครับ ส่วนเรื่องที่ผมเขียนเล่าไปนั้นจะถูกหรือผิดนั้น ผมไม่แคร์ครับ เพราะผมอยากให้ อยากระบายหรืออยากแบ่งปัน หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อยนะครับ ขอให้ทุกท่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยครับ

    ขอบคุณครับ
    ธรรมภูมิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กันยายน 2011
  12. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    อ้างอิงจากกระทู้เวปญาณทิพย์ : http://www.yantip.com/board/view ... p;page=14#pid444850

    อย่ากล่าวโทษใครแม้ว่าเขาจะเป็นพญามารเป็นคนไม่ดีหรือเป็นคนเลว แต่จงกล่าวคำ "อโหสิกรรม" ให้เขาเถิด และที่เหลือก็ปล่อยวางให้เป็นไปตามกฏแห่งกรรม ไม่ว่าเขาจะเป็นพระหรือมารมาทดสอบเรานั้นไม่สำคัญ ที่สำคัญก็คือ การเฝ้าดูอารมณ์ของจิตหรือใจเราเอง และรักษาอารมณ์ของจิตหรือใจเราไว้ให้มั่นคงให้เป็นปกติสุขหรือเป็นกุศลอยู่ ตลอดเวลา จะรักษาได้อย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของจิตเราเอง ณ ที่นี้ ผมขอแนะนำวิธีการฝึกฝนจิตในแนวทางของผมเพื่อเป็นธรรมทาน(เหมือนวิธีทั่วๆ ไป) นั้นก็คือ วิธีการที่ผมจะพูดเตือนสติและบอกตนเองเบาๆ ทุกครั้งที่ผมคิดอกุศลหรือมีเจตนาคิดไม่ดีต่อสิ่งใดหรือผู้อื่น ซึ่งปกติผมจะพูดประโยคว่า "คิดดี ทำดี พูดดี" (ประโยคพูดนั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามจริตความชอบของแต่ละคนได้ เช่น เมตตา ปล่อยวาง อโหสิกรรม เป็นต้น) เมื่อเราพูดเตือนตนเองอยู่เป็นนิจแล้ว มันก็จะเกิดเป็นสัญญาหรือความทรงจำที่เป็นกุศลฝังเข้าไปในจิตใต้สำนึกของเราเอง

    และเมื่อฝึกฝนจิตหรือปลูกฝังความคิดหรือสัญญาที่ดีที่เป็นกุศลนี้จนชำนาญ แล้ว ต่อไปเมื่อเราเกิดความคิดหรืออารมณ์ที่เป็นอกุศลหรือความคิดที่ไม่ดีหรือ อารมณ์ที่เป็นกิเลสขึ้นแล้ว จิตจะรับรู้ได้ทันที(ขณะอารมณ์เกิดขึ้นแล้ว)หรือล่วงรู้เท่าทัน(ก่อนอารมณ์ จะเกิดขึ้น ซึ่งการฝึกฝนจิตแบบนี้จะนำไปสู่การมีญาณล่วงรู้วาระจิตของตนเองและผู้อื่น) ในความคิดหรืออารมณ์กิเลสเหล่านั้นได้เลยทันทีโดยที่ไม่ต้องพูดวาจาออกมา เตือนสติตนเองเป็นคำพูดเหมือนเช่นเคย ณ เสี้ยววินาทีนั้นจิตจะดึงสัญญาที่เป็นกุศลนั้นขึ้นมาเตือนสติเราทันทีโดย อัตโนมัติเป็นธรรมชาติ เช่น "คิดดี ทำดี พูดดี" , "เมตตา ปล่อยวาง อโหสิกรรม" เป็นต้น นี้เละ คือ วิธีการเจริญสติที่สำคัญอีกวิธีหนึ่งของผม สรุปคือ ใช้วิธีการปลูกฝังสัญญาของจิตที่เป็นกุศลลงไปในจิตใต้สำนึกของเรา และผมเชื่อมั่นว่ามันใช้ได้กับทุกคนอย่างแน่นอน ลองนำไปปฏิบัติกันดูนะครับ

    ปล.
    1. ทาน ศีล ภาวนา อยู่เป็นนิจ จะช่วยส่งเสริมในการฝึกฝนจิตให้ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
    2. การเบิกบุญฤทธิ์หรือบุญกุศลเก่าตั้งแต่ต้นจิตต้นชาติต้นกัปป์ต้นกัลล์จนถึงปัจจุบันชาติบ่อยๆ จะช่วยส่งเสริมในการฝึกฝนจิตให้ก้าวหน้าอย่างเป็นอัศจรรย์ ! ซึ่งเป็นการต่อยอดการบำเพ็ญเพียรในชาติปัจจุบันของเรา และดึงของเก่าเรากลับมาได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

    เจริญสติในธรรม จงมีแด่ทุกท่าน !
    ธรรมภูมิ
     
  13. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    (นิมิตฝันในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2011)
    ผมได้นิมิตฝันว่า ผมได้เข้าไปในสถานที่แห่งหนึ่งลักษณะคล้ายๆ ห้องโถง พอเดินเข้าไปก็เห็นมีคนนั่งกระจัดกระจายอยู่บนพื้นพอสมควร และผมก็เห็นมีผู้หญิงคนหนึ่งเดินเข้ามาหาผม เธอแต่งตัวเหมือนมีเครื่องทรง เธอพาผมเดินเข้าไปหาชายชราผู้หนึ่งที่นอนอยู่ ซึ่งจิต ณ ขณะนั้นผมรู้สึกได้ว่า ผู้หญิงคนนี้ ก็คือ ธิดาหรือลูกสาวของพญานาคราช ส่วนชายชราที่นอนอยู่ก็คือพ่อของเธอหรือพญานาคราช แต่ผมไม่รู้ชื่อท่าน และผมก็ไม่ได้สนใจถามด้วย พอผมเดินถึงที่ที่ท่านพญานาคราชนอนอยู่ ผู้หญิงคนนี้ก็ให้ผมนั่งลงแล้วก็จับมือท่านพญานาคราชไว้ ผมก็เกิดสงสัยในใจว่า “ทำไมต้องจับมือด้วย?” พอจับมือเท่านั้น ผมก็ได้ยินเสียงท่าน เหมือนท่านจะพูดกับผมผ่านทางจิตโดยการสัมผัสหรือเปล่า? อันนี้ไม่แน่ใจ เดาเอา แต่หลังจากตื่นนอนก็คิดทบทวนก็รู้สึกว่า การที่ท่านจับมือผม สาเหตุหลัก น่าจะเป็นว่า ท่านต้องการตรวจเช็คผมหรือเปล่า? แล้วพอท่านตรวจเจอโรคทางกายสังขารบางอย่างของผม ท่านก็พาผมไปหาหมอรักษาคนหนึ่ง แต่ตอนแรกที่ท่านจับมือผม ท่านพูดชื่อเต็มของผมขึ้นมาทันทีเลยว่า “ท่าน............................” พอผมได้ยินชื่อนี้ ผมก็รู้สึกเฉยๆ เพราะความจริงแล้วผมก็รู้สึกมาได้ระยะหนึ่งแล้วว่าผมเป็นใคร แต่ไม่แน่ใจเท่านั้นเอง แต่ ณ ตอนนี้ผมจะชื่ออะไรนั้นหรือจะเป็นใครนั้นมันไม่สำคัญแล้ว เพราะผมไม่ยึดติดให้จิตใจต้องขุ่นมัวอีกแล้ว เพราะตอนนี้ผมเน้นปฏิบัติธรรมและปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธองค์อย่างเดียวเท่านั้น เรื่องอื่นก็พยายามอุเบกขาปล่อยวางไปตามธรรมชาติของจิต

    พอท่านพญานาคราชพูดชื่อผมจบ ภาพนิมิตฝันก็ตัดไปตอนที่ท่านและธิดาของท่านรวมบริวารอีกคนสองคนกำลังเดินทางพาผมไปหาหมอรักษา ขณะเดินทางธิดาของท่านก็เอาก้นมาเบียดๆ ช่วงข้างหน้าผม ตอนแรกผมก็รู้สึกเหมือนกัน แต่แป๊ปหนึ่งผมก็เฉยๆ เนื่องจากจิตฝึกฝนมาดีพอสมควร(หลังตื่นนอน คิดทบทวนก็รู้สึกว่า ท่านใช้ธิดาของท่านมาทดสอบผมเรื่องกามราคะ) พอพวกเราไปเจอหมอรักษาแล้ว พอหมอรักษารู้ว่าผมเป็นใครแล้ว อีกความรู้สึกที่ผมรับรู้ได้จากกระแสจิตของหมอนั้น ก็คือ เหมือนๆ ว่าเขาจะพูดทำนองว่า ผมเป็นถึง........................... แล้วทำไมถึงไปติดโรคแบบนี้มาได้ พอผมได้ยินแค่นี้ผมก็ตื่นทันทีเลย ผมยอมรับว่า พอผมฟังแล้วก็ฉุนๆ หน่อย แต่ผมก็ขันติปล่อยวางไป และอโหสิกรรมให้เขาไปนะ...

    พอมาเข้างานช่วงเช้า ก็เปิดเวปดูตามปกติเพราะงานไม่มี แต่วันนี้เกิดรู้สึกอยากจะดูหนังการ์ตูนพุทธศาสดาขึ้นมา ซึ่งผมก็ Shortcut เก็บไว้เป็นเดือนละ แต่ไม่ได้ดูซะที ซึ่งปกติผมไม่ชอบอ่านหนังสือหรือบทความหรือประวัติอะไรที่มันยาวๆ อยู่แล้ว แต่ชอบดูในรูปแบบหนังวีดีโอหรือภาพมากกว่า ซึ่งวันนี้ผมก็นั่งดูผ่านหน้าเวปตั้งแต่เข้างานมาจนถึงบ่ายๆ ก็ปาไป 4-5 ชั่วโมงยาวมาก ฮ่าฮ่า แต่ขณะดูอยู่นั้น ผมก็มาสะดุดใจอยู่ตอนหนึ่ง ก็คือ ชื่อตอน “มุจลินทร์” ซึ่งคำนี้เป็นคำที่ผมสงสัยมานานแล้วว่ามันแปลว่าอะไร? แต่ก็ไม่เคยไปค้นหาความหมายอะไรเพราะไม่ค่อยสนใจเท่าไร ซึ่งคำๆ นี้เป็นฉายาลงท้ายของ “ท่านเวฬุวัน ว.มุจลินทร์” เมื่อกี้เข้าไปค้นหา ID ของท่าน แต่ท่านก็ได้ลบไอดีนี้ไปเสียแล้วไม่นานมานี้เอง หวังว่าคงไม่เกี่ยวกับที่เราฝันครั้งนี้นะ ฮ่าฮ่า เพราะพอผมดูหนังช่วงตอนนี้แล้ว ผมก็นึกไปถึงเรื่องที่ผมฝันเมื่อเช้านี้ ท่านพญานาคราชที่ผมฝันถึง ท่านอาจจะชื่อ “พญามุจลินทร์นาคราช” ก็เป็นได้ เพราะอะไรมันจะเหมาะเหม็งขนาดนั้น เพึ่งฝันถึงแต่ไม่รู้จักชื่อท่าน แต่เกิดอยากมาดูวีดีโอพุทธศาสดา เหมือนมีอะไรมาดลใจให้มาดู แล้วก็ดันมาเจอชื่อพญานาคราช และก็รู้สึกสะดุดใจกับคำๆ นี้นะ อิอิ ผมว่าท่านเวฬุวันต้องมีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีเชื้อสายนาคราชนี้แน่เลย

    วีดีโอการ์ตูนพุทธศาสดา (ประวัติพระพุทธเจ้าพระสมณโคดม) :

    มุจลินท์

    กระทู้อำลาจากเวปญาณทิพย์ของท่านเวฬุวัน :

    http://www.yantip.com/board/view ... mp;page=1#pid479200

    ธรรมภูมิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤศจิกายน 2011
  14. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    อ้่างอิงจากกระทู้เวปพลังจิต : http://palungjit.org/forums/% ... 31.html#post5437012

    ผมอ่านแล้วรู้สึกสนุกดี เลยเอามาแบ่งปันให้ได้อ่านกันครับ... เรื่องราวคล้ายๆ กับคนที่ผมเคยเจอในงานๆ หนึ่งเลย แต่เขาคนนั้นเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้ายแต่ก็หายแล้วนะด้วยการปฏิบัติธรรม(ณาน สมาธิ) แต่กระทู้ที่อ่านนี้เจ้าของกระทู้เป็นโรค HIV ผมก็หวังว่าเขาจะหายเช่นกัน เพื่อมาบำเพ็ญเพียรบารมีช่วยเหลือมนุษย์ยามโลกวิกฤติเช่นนี้
     
  15. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    อ้างอิงจากกระทู้เวปญาณทิพย์ : http://www.yantip.com/board/viewthread.php?tid=7108&page=3#pid513704

    ณ ขณะปัจจุบันผมก็ปฏิบัติสมาธิยังไม่ไปถึงไหนเลยครับ อิอิ สิ่งที่ผมได้เคยเขียนลงในกระทู้นั้นเละครับ ทุกอย่างเป็นพื้นฐานเป็นกุศโลบายเป็นกำลังแห่งสมาธิ(ทาน ศีล ภาวนา) เป็นวิธีที่เจริญรอยตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกประการ แต่เป็นเพราะมนุษย์เราขาดความเพียรพยายามและขาดสัมมาทิฐิ(ความเห็นที่เป็น ความจริง) จึงทำให้ก้าวหน้าในทางธรรมช้า แม้ผมเองก็เป็นเช่นกัน แต่ผมก็กำลังเพียรพยายามทำจิตของผมให้เป็นสัมมาทิฐิอยู่ และพยายามนำสัญญาที่เป็นกุศลปลูกฝังลงในจิตใต้สำนึกอยู่บ่อยๆ พูดเตือนตนเองอยู่บ่อยๆ จนให้เกิดเป็นความเคยชินเป็นธรรมชาติของจิต ซึ่งประโยคหรือคำพูดที่ผมใช้เตือนตนเองบ่อยๆ นั้น เช่น “อย่า ส่งจิตออกนอก” , “ทุกสรรพสิ่งทุกเรื่องราวเป็นเรื่องธรรมดา(เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเป็นธรรมดา) ทุกข์ก็เป็นเรื่องธรรมดา,สุขก็เป็นเรื่องธรรมดา จงรักษาอารมณ์ของจิตหรือใจให้เป็นปกติสุข ไม่เศร้าหมองวุ่นวายใจ(กิเลส) เพราะจะเป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้จิตมีสติที่แจ่มใส เมื่อจิตไม่แจ่มใสก็ไม่บังเกิดสมาธิและปัญญา ฉันใดก็ฉันนั้น เพราะทุกอย่างมีเหตุปัจจัยมีผลของมันเอง” และเมื่อจิตเรามีความเห็นที่เป็น ความจริงที่ถูกต้องแล้ว นั้นเละคือ “ธรรมะสัจธรรมหรือธรรมชาติ”

    และเมื่อเรารักษาอารมณ์ของจิตให้เป็นปกติให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลาแล้ว กล่าวคือ เตือนจิตตนเองให้คิดดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว ถึงจะมีความคิดชั่วร้ายเข้ามา เมื่อเราคิดผิดหรือปรามาสไปแล้ว เราก็ขอขมากรรมและขออโหสิกรรมโดยนึกทางจิตไป เมื่อขออโหสิกรรมแล้วจงอย่าวุ่นวายใจหรือเศร้าหมองเมื่อคิดไม่ดี เพราะจะทำให้จิตขุ่นมัวไม่เกิดสติแต่ถ้าทำไม่ได้แบบนี้ถือว่าหลงกลกิเลสมาร เข้าให้แล้ว เมื่อจิตคิดดีย่อมส่งผลให้กายวาจาเราที่แสดงออกมาก็จะดีโดยธรรมชาติเอง เพราะหลักใหญ่ใจความของธรรมะหรือสัจธรรมจริงๆ มันก็มีอยู่เท่านี้เอง แต่ขึ้นอยู่ว่าเรามีความเพียรพยายามมากน้อยแค่ไหนที่จะฝึกฝนจิตให้มีการ พัฒนาในระดับที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไปได้ อานิสงค์ที่ผมได้จากการปฏิบัติได้ในระดับหนึ่งจากข้างต้น ก็คือ
    1.จิตหรือใจที่เป็นปกติสุขก็ย่อมปลอดโปร่งโล่งสบายอยู่ตลอดเวลา จะกระทำการใดก็มีสติแม้ยามหลับหรือตื่น และอานิสงค์อีกอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อกายสังขาร ก็คือ สุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ เพราะจิตหรือใจที่เป็นปกติสุขจะคอยปรับสมดุลธาตุต่างๆ ในร่างกายของเราให้เป็นปกติสุขด้วยเช่นกัน
    2.เมื่อมีเรื่องราวหรือความคิดไม่ดีฟุ้งซ่านเข้ามาในจิต จิตผมก็สามารถตัดไม่คิดหรือปล่อยวางเรื่องราวนั้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น กว่าเดิม และถ้าฝึกฝนจิตเช่นนี้บ่อยๆ จะเป็นอานิสงค์ส่งผลให้จิตมีกำลังสามารถตัดกิเลสได้อย่างฉับพลันเสมือน กรรไกร (ถึงแม้ยังไม่สามารถตัดกิเลสได้อย่างถาวรก็ตาม)

    “การรักษาอารมณ์ของจิตให้เป็นปกติให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา เป็นการส่งเสริมการเจริญสติโดยธรรมชาติของมันเอง”

    จงเจริญสติในธรรม !
    ธรรมภูมิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ธันวาคม 2011
  16. ไม่ใช่ใคร

    ไม่ใช่ใคร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    94
    ค่าพลัง:
    +21
    ขอบคุณครับ ไม่ได้อ่านละเอียด แต่อยากทราบอารมณ์ฌาณน่ะครับ หาอ่านยาก
    ผมว่าคุณรู้ลึกซึ้งดี อธิบายเข้าใจง่าย แต่เรื่องอื่นก็ไม่ทราบเหมือนกัน อิอิ
     
  17. LoveViolet

    LoveViolet สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    27
    ค่าพลัง:
    +10
    ได้อรูปแล้วบอกว่าปฏิบัติสมาธิไปไม่ถึงไหน??? ชักจะแปลกๆแล้ว
     
  18. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    2.เมื่อมีเรื่องราวหรือความคิดไม่ดีฟุ้งซ่านเข้ามาในจิต จิตผมก็สามารถตัดไม่คิดหรือปล่อยวางเรื่องราวนั้นได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น กว่าเดิม และถ้าฝึกฝนจิตเช่นนี้บ่อยๆ จะเป็นอานิสงค์ส่งผลให้จิตมีกำลังสามารถตัดกิเลสได้อย่างฉับพลันเสมือน กรรไกร (ถึงแม้ยังไม่สามารถตัดกิเลสได้อย่างถาวรก็ตาม)
    ...............................................................................................


    ก็ยังดีกว่าไม่ได้ฝึกหัดภาวนา ต้องขออนุโมทนาในความพากเพียรพยายามในการอบรมจิตของตน ขึ้นชื่อว่าฌาน หากจิตยังไม่เข้าสู่กระแส...ก็ยังมีเสื่อมได้ !!
    ไม่สำคัญเท่าปัญญาญาณ ได้แล้วมีแต่เจริญขึ้นโดยฝ่ายเดียว.......
     
  19. เกาจิ้ง!03

    เกาจิ้ง!03 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +2
    นมัสการ หลวงพี่สมภาร (พระอาจารย์ เอสครับ)
     
  20. ธรรมภูมิ

    ธรรมภูมิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    159
    ค่าพลัง:
    +142
    เปลือกของสภาวะนิโรธสมาบัติแบบเบาบาง

    <!--[if gte mso 9]><xml> <w:WordDocument> <w:View>Normal</w:View> <w:Zoom>0</w:Zoom> <w:punctuationKerning/> <w:ValidateAgainstSchemas/> <w:SaveIfXMLInvalid>false</w:SaveIfXMLInvalid> <w:IgnoreMixedContent>false</w:IgnoreMixedContent> <w:AlwaysShowPlaceholderText>false</w:AlwaysShowPlaceholderText> <w:Compatibility> <w:BreakWrappedTables/> <w:SnapToGridInCell/> <w:ApplyBreakingRules/> <w:WrapTextWithPunct/> <w:UseAsianBreakRules/> <w:DontGrowAutofit/> <w:UseFELayout/> </w:Compatibility> <w:BrowserLevel>MicrosoftInternetExplorer4</w:BrowserLevel> </w:WordDocument> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 9]><xml> <w:LatentStyles DefLockedState="false" LatentStyleCount="156"> </w:LatentStyles> </xml><![endif]--><!--[if gte mso 10]> <style> /* Style Definitions */ table.MsoNormalTable {mso-style-name:"Table Normal"; mso-tstyle-rowband-size:0; mso-tstyle-colband-size:0; mso-style-noshow:yes; mso-style-parent:""; mso-padding-alt:0cm 5.4pt 0cm 5.4pt; mso-para-margin:0cm; mso-para-margin-bottom:.0001pt; mso-pagination:widow-orphan; font-size:10.0pt; font-family:"Times New Roman"; mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; mso-ansi-language:#0400; mso-fareast-language:#0400; mso-bidi-language:#0400;} </style> <![endif]--> (17 ธันวาคม 2011 , ขณะนั่งสวดมนต์ทำสมาธิในช่วงเวลาประมาณตั้งแต่ตี 1:00-4:00 นาฬิกา)

    ปกติแล้วผมจะสวดมนต์นั่งสมาธิเฉพาะช่วงเช้า เพราะเมื่อก่อนเคยนั่งก่อนนอนแล้วมันง่วง เลยเปลี่ยนมานั่งเฉพาะช่วงเช้า แต่ช่วงหลัง 2-3 สัปดาห์มานี้ผมรู้สึกเกิดอยากนั่งสมาธิขึ้นมาก่อนนอน แต่วันธรรมดานั่งได้แป๊ปเดียวอย่างมากก็ 1 ชั่วโมง เพราะวันรุ่งขึ้นต้องไปทำงาน และอีกอย่างมันดึกมากเลยไม่อยากนั่งนาน แต่คืนวันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม 2011(เข้าวันที่ 17 เสาร์อาทิตย์เป็นวันหยุด) ผมก็สวดชินบัญชร 1 จบและนั่งสมาธิจับอารมณ์หนึ่งเดียว(เอกัคคตารมณ์)เป็นปกติเหมือนเดิม แต่ครั้งนี้กลับนั่งสมาธิได้นานกว่าเดิม และผมรู้สึกอยากจะนั่งไปเรื่อยๆ ไม่รู้ทำไม เพราะปกติแล้วเวลาผมนั่งสมาธิแค่ 1 ชั่วโมงเหมือนสมาธิยังไม่ลุ่มลึกเข้มข้นพอ ฉะนั้น ช่วงหลังๆ จากนั่งสมาธิ 1 ชั่วโมงผมจึงเพิ่มเป็น 2 ชั่วโมง ซึ่งชั่วโมงที่ 2 จิตผมจึงจะรู้สึกโปร่งโล่งเบาสบายขึ้นมาได้ ครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมก็นั่้งไป 2 ชั่วโมงกว่า ซึ่งปกติผมนั่งสมาธิแค่ 2 ชั่วโมงก็ปวดขาแย่แล้ว นั่งต่อไม่ไหวแล้ว จะต้องเปลี่ยนอิริยาบทมาเป็นแบบนั่งสมาธิปล่อยขา แต่ครั้งนี้ผมกลับไม่รู้สึกปวดขาเลย ผมจึงนั่งไปเรื่อยๆ นึกว่ายังไม่ถึง 2 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้สมาธิของผมก็ลุ่มลึกเข้มข้นพอสมควร ต่อจากนั้นผมก็แผ่เมตตาในฌานสมาธิ เนื่องจากผมเคยไปอ่านในกระทู้หนึ่งมีผู้ปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง เขาแนะนำว่า ควรจะแผ่เมตตาขณะอยู่ในฌานสมาธิ(จิตนิ่ง)เพราะบุญจะแรงกว่า ยิ่ิงถ้าจิตบริสุทธิ์และมีสมาธินิ่งลึกมากเท่าใดบุญก็จะแรงมหาศาลมากเท่า นั้น สัปดาห์นี้ผมจึงเปลี่ยนมาเป็นแผ่เมตตาในฌานสมาธิ แต่ผมใช้คำแผ่เมตตาว่า “เมตตาไร้ประมาณ” เพราะผมทดสอบแผ่ในฌานสมาธิแล้วผมรู้สึกว่าคำนี้มีพลังที่แรงมากกว่าคำว่า “เมตตา” เฉยๆ

    พอผมแผ่เมตตาไร้ประมาณอุทิศให้กับทุกจิตทุกวิญญาณใน ทั่วภพสามโลกัณฑ์รวมถึงญาติพี่น้องพ่อแม่ครูบาอาจารย์และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต่างๆ ที่ผมนับถือจนครบแล้ว และก็ไม่ลืมที่จะอุทิศแผ่เมตตาถวายแด่พระนิพพานทั่วธาตุทั่วธรรมและพระ พุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พอแผ่เสร็จ ผมก็รู้สึกอยากจะภาวนาคำว่า “สัญญา เวทยิตนิโรธ” ซึ่งก่อนหน้านี้ผมเคยภาวนาคำนี้มาแล้วในฌานสมาธิ แต่ตอนนั้นภาวนาไม่ถูกประกอบกับจิตปรุงแต่งว่า สภาวะนี้ควรจะเป็นแบบนั้นแบบนี้(ไปอ่านในกระทู้มาว่าสภาวะนิโรธสมาบัติควร เป็นแบบนี้) และณ ตอนนั้นกำลังสมาธิยังไม่ถึงด้วย และอีกอย่างคงยังไม่ถึงวาระจิตด้วยเละ ที่รู้ว่าภาวนาผิด ก็เ้พราะว่ามีวันหนึ่งผมรู้สึกอยากจะคุยกับรุ่นน้องคนนี้ทางเอ็มขึ้นมา เหมือนมีบางสิ่งดลใจผม พอคุยเอ็มไปน้องเขาก็รู้สึกขึ้นมาและทักผมว่า ผมมีภูมิธรรมที่สูงขึ้น น้องเขารู้สึกได้(น่าจะเป็นที่ผมมีความเห็นที่เป็นความจริงที่ละเอียดขึ้น และปฏิบัติจริงได้ ก็คือ การรักษาจิตให้เป็นปกติสุขให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา รวมถึงการเห็นและเข้าใจถึงกฎแห่งธรรมดา) เขาจึงแนะนำให้ผมไปดูคลิปของดร. สนอง ซึ่งผมก็เข้าไปดูใน youtube และมีตอนหนึ่งที่ดร. สนองท่านพูดคำว่า “สัญญาเวทยิตนิโรธ” อ่านว่า “สัน-ยา-เว-ทะ-ยิด-นิ-โรด” ซึ่งเมื่อก่อนผมอ่านผิดมาโดยตลอด อ่านผิดเป็น “สัน-ยา-เวด-ยิด-นิ-โรด” ซึ่งในครั้งนี้ผมรู้สึกอยากภาวนาคำนี้จึงภาวนาได้ถูกต้อง

    พอเริ่มบริกรรมภาวนาในใจว่าสัญญาเวทยิตนิโรธ” ๆๆๆๆๆ พอภาวนาไป 2-3 ครั้ง กายสังขารหรือทั่วร่างกายของผมก็เริ่มซาบซ่านชาเบาขึ้นมาตามลำดับคำภาวนาที่ มากขึ้น จนสุดท้ายความซาบซ่านชาเบานั้นคงที่ไปทั่วร่างกาย ต่อมาหัวใจผมก็เริ่มเต้นแรงๆ ขึ้นมาอย่างฉับพลัน ตุ๊บๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ อย่างกับรัวกลอง เหมือนหัวใจมันจะวิ่งออกมาเต้นข้างนอกซะให้ได้เลย ซึ่งหัวใจมันเต้นรัวแบบนี้หลาย 10 วินาทีเหมือนกัน แต่ผมก็ยังรู้สึกถึงลมหายใจที่เข้าออกอยู่ทุกขณะจิต ทันใดนั้นผมก็พูดขึ้นมาในใจว่า “ถ้าจะตายก็ให้มันตายไปเลยตรงนี้” หัวใจมันก็ยังเต้นรัวๆ อยู่เหมือนเดิม และผมก็นึกในใจว่าจะต้องประคองอารมณ์นี้ให้ได้ ผมจึงหันเปลี่ยนมาพิจารณาธรรมที่ผมพิจารณาอยู่บ่อยๆ ให้ อารมณ์ของจิตหรือใจเป็นปกติไม่ตื่นเต้นไม่งั้นหลุดจากสภาวะนี้แน่นอน โดยพิจารณาในใจ เช่น ทุกอย่างเป็นเรื่องธรรมดา ทุกข์เป็นเรื่องธรรมดา สุขก็เป็นเรื่องธรรมดา ความดีความชั่วก็เป็นเรื่องธรรมดา เราจงรักษาอารมณ์ของจิตหรือใจให้เป็นปกติสุขให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา นิพพานก็เป็นเรื่องธรรมดาเป็นแค่สภาวะหนึ่งเท่านั้น สิ่งสำคัญที่สุดที่ยิ่งกว่า ก็คือ การช่วยเหลือคนหรือผู้อื่น แต่เราจะช่วยเหลือผู้อื่นได้นั้น เราจะต้องหลุดพ้นในระดับหนึ่งเสียก่อน ฉะนั้น สำหรับเราแล้วการช่วยเหลือคนมาเป็นอันดับ 1 ส่วนนิพพานเป็นอันดับ 2 ต่อจากนั้น ผมก็พิจารณาธาตุทั้ง 4 ในกายสังขารตนเองต่อ ว่าส่วนใดคือธาตุดิน,ธาตุน้ำ,ธาตุไฟ,ธาตุลม เช่น หัวใจ ตับ ไต ไส้ หัวสมอง ผิวหนัง ฟันเล็บ ขน สมอง เลือด ลมปราณ ลมหายใจเข้าออก อุณหภูมิ เป็นต้น พิจารณาเท่าที่ตนเองจะนึกขึ้นได้ ณ ขณะนั้น

    ซึ่งขณะที่ผมพิจารณากายสังขารอยู่นั้น หัวใจผมมันก็เริ่มเต้นช้าลงๆๆๆๆๆๆๆ และช้าลงมาก เหมือนหัวใจมันเต้นช้าลงและเบามากกว่าปกติ แต่ผมก็รู้สึกถึงการเต้นของหัวใจได้ แต่อาการซาบซ่านทั่วร่างกายของผม มันก็ยังปรากฎอยู่ ผมจึงหันมาแผ่เมตตาไร้ประมาณแบบเมื่อกี้อีกครั้ง เพราะในสภาวะเช่นนี้น่าจะได้บุญอย่างมหาศาลเลย พอผมแผ่เมตตาไร้ประมาณไปสักพัก อาการซาบซ่านทั่วร่างกายเริ่มค่อยๆ สลายหายไป จนหายไปหมด ทันใดนั้นอาการปวดขาเริ่มปรากฎขึ้นแต่ไม่มาก แล้วผมก็แช่อยู่ในฌานสมาธิอีกสักพักหนึ่งจึงค่อยลุกขึ้นมาดูเวลา ปรากฎว่า ผมนั่งสมาธิไปเกือบ 3 ชั่วโมง ซึ่งขณะนั่งสมาธินั้นผมไม่รู้สึกปวดขาเลย แต่ผมค่อยมารู้สึกได้หลังจากออกนิโรธสมาบัติแล้ว ซึ่งขณะอยู่ในฌานรองลงมา ผมรู้สึกได้ว่าขามันกำลังปวดอยู่แต่จิตมันไม่สนใจมันละเวทนาทางกายสังขารได้ ผมจึงไม่รู้สึกเจ็บปวดใดๆ การเข้าฌานสมาธิในครั้ง นี้ถือว่า เข้าได้นานที่สุดเท่าที่เคยเข้ามา และจิตกับสมองก็รู้สึกโล่งโปร่งเบาสบายมากเลย หลังออกจากฌาน อีกอย่างตั้งแต่นั่งสมาธิมาไม่เคยเกิดอาการทางกายสังขารเลย ครั้งแรกที่เข้าถึงฌานสมาบัติได้ ตนเองอยู่ๆ ก็พูดในใจขึ้นมาขณะอยู่ในสมาธิว่า “ฌานสมาบัติ” เหมือนรู้ล่วงหน้าถึงสภาวะดังกล่าวที่จะเกิดขึ้น แล้วทันใดนั้นจิตกับสมองก็โล่งโปร่งเบาสบายขึ้นมาทันที หลังออกจากสมาธิ จิตกับสมองก็ยังรู้สึกโล่งโปร่งเบาสบายเหมือนเดิมโล่งสบายไปทั้งวันเลยวัน นั้น ผมจึงตั้งข้อสังเกตุพิจารณาว่า การที่ผมเข้านิโรธสมาบัติได้เป็นเวลา 5-10 นาทีในครั้งนี้ น่าจะเป็นสาเหตุจากพุทธจิตหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครูบาอาจารย์ท่านมาสงเคราะห์ ดลใจให้ผมบริกรรมภาวนาคำดังกล่าวได้ถูกต้องและถูกวาระจิต และท่านก็ดลใจให้ผมเข้าฌานสมาธิไปเรื่อยๆ เพื่อสะสมกำลังสมาธิให้มากพอ และกำลัง แห่งสมาธิที่เข้มข้นที่สำคัญที่ท่านดลใจมาก็คือ การดลใจให้ผมแผ่เมตตาไร้ประมาณในฌานสมาธิมาหลายวันหลายคืน ซึ่งทุกอย่างมีเหตุมีปัจจัยเชื่อมโยงกันทั้งสิ้น ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้เกิดเปลือกของสภาวะสัญญาเวทยิตนิโรธแบบเบาบางเกิด ขึ้น ถึงแม้จะเป็นแค่เปลือกหรือประตูทางเข้าของสภาวะนิโรธสมาบัติที่ใช้เวลาแค่ 5-10 นาทีก็ตาม เพื่อให้ผมได้รู้สึกและเข้าใจในสภาวะของนิโรธสมาบัติในเบื้องต้น เพื่อต่อยอดให้เข้าถึงสภาวะนี้อย่างเข้มข้นในวาระจิตต่อไป

    คืนถัดมาผมก็เข้าฌานสมาธิจับอารมณ์หนึ่งเดียว(เอกัค คตารมณ์)ต่อ ซึ่งครั้งนี้แปลกมาก พอจับอารมณ์นี้แป๊ปเดียวจิตก็นิ่งลึกร่างกายก็ซาบซ่านไปทั่ว แต่หัวใจเต้นเป็นปกติ ซึ่งผมไม่เคยเข้าฌานสมาธิได้รวดเร็วเช่นนี้มาก่อนเลย และในคืนนี้ผมก็บอกกับจิตของตนเองว่า ให้นั่งสมาธิแบบปกติไม่ต้องสนใจในเปลือกของสภาวะนิโรธสมาบัติแบบเบาบางที่ เกิดขึ้นเมื่อวาน ถ้ามันจะเข้านิโรธได้อีกก็ปล่อยมันให้เป็นไปตามวิถีแห่งจิต ผมบอกเตือนตนเองอยู่เสมอว่า “อย่ายึดติด” “อย่ามีโมหะหรือความหลง” ซึ่งมันจะเป็นอุปสรรคที่สำคัญที่ขัดขวางมิให้เราได้พบเจอหรือเข้าถึงสภาวะ นั้นได้อีก ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติของจิต ซึ่งในคืนนี้ผมก็สังเกตุเหมือนเดิมว่าขาไม่ปวด แต่จิตผมรู้สึกได้ว่า ขามันปวดอยู่แต่จิตไม่สนใจหรือละเวทนาทางกายสังขารอยู่ พอออกจากฌานสมาธิ จิตจึงรู้สึกปวดขาขึ้นมา และรู้สึกว่านั่งตอนกลางคืนจิตจะมีสมาธิมากกว่ากลางวัน เพราะกลางวันมีเสียงก่อสร้างอาพาร์ทเม้นต์และเสียงรถเสียงอื่นๆ ดังมาตลอดเลย จึงเป็นสิ่งที่ก่อกวนสมาธิของจิตไม่ให้นิ่งสงบอยู่ตลอดเวลา แต่ผมก็จะเพียรพยายามฝึกฝนจิตต่อไปให้ดีขึ้นกว่าเดิม และให้มีกำลังสมาธิที่เข้มข้นกว่าเดิมด้วยเช่นกัน...

    การปฏิบัติธรรมในแนวทางของผมที่ผ่านมา

    เปิดญาณบารมี(ปัญญาญาณของเก่า)โดยไม่รู้ตัว --> กุศโลบายหรือความฉลาดของปัญญาญาณชี้นำผ่านความรู้สึก(ความรู้สึก=ปรมัตถ์) --> รักษาพรหมจรรย์หรือบวชเนกขัมมะในคราบฆราวาส(งดมิให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ปฏิบัติธรรมจะไปได้อย่างรวดเร็วเป็นอัศจรรย์) เป็นกำลังแห่งสมาธิ --> ศีล 5 บริสุทธิ์ เป็นกำลังแห่งสมาธิ --> เพียรให้จิตมีสมาธิในทุกอิริยาบท --> พิจารณาเห็นความเป็นจริงเกิดวิปัสสนาญาณ --> เข้าสู่ธรรมกายหาตัวช่วย(ประตูสู่จิตเดิมแท้หรือพุทธจิต) --> พบเจอพุทธจิตชี้นำกุศโลบาย มั่นคงในความรู้สึกยิ่งขึ้น --> สร้างเหตุปัจจัยเพื่อชี้นำควบคุมและดลใจให้ปฏิบัติตาม ทำให้เกิดผลต่างๆ ในการปฏิบัติธรรม --> พุทธจิตและวิปัสสนาญาณชี้นำเกิดฌานสมาบัติจนครบ 8 --> วิปัสสนา ญาณพิจารณาเห็นความเป็นจริงในระดับที่ละเอียดขึ้น เช่น รักษากายวาจาใจให้เป็นปกติสุขให้เป็นกุศลอยู่ตลอดเวลา,กฎแห่งธรรมดา,เกิด ขึ้นตั้งอยู่และดับไป และอื่นๆ --> วิปัสสนาญาณเห็นความเป็นจริง+พุทธจิตชี้นำให้เกิดฌานที่เข้มข้นเพียงพอ = เกิดสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอย่างเบาบาง เพื่อต่อยอดสู่ระดับเข้มข้นต่อไป --> …… (อนาคต) ……

    เจริญสติในธรรม !
    ธรรมภูมิ

    ----------------------------------------------------

    ข้อมูลเกี่ยวกับ“สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ” ที่ค้นหาได้จาก Google

    “ภิกษุ ท. ! เพราะเหตุนั้นในเรื่องนี้ ถ้าภิกษุปรารถนาว่า “เราก้าวล่วงซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะเสียได้โดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธแล้วแลอยู่เถิด” ดังนี้แล้วไซร้ ; อานาปานสติสมาธินี่แหละ อันภิกษุนั้นพึงทำไว้ในใจให้เป็นอย่างดี.

    (ข้อนี้หมายความว่า มีการทำ เนวสัญญานาสัญญายตนะให้เกิดขึ้นได้อย่างมั่นคงแล้วละความรู้สึกที่เป็นเนว สัญญานาสัญญายตนะนั้นเสีย น้อมจิตไปสู่ความรำงับ ที่ยิ่งไปกว่านั้นอีก คือการดับสัญญาและเวทนาเสีย ด้วยการทำไม่ให้เจตสิกชื่อสัญญาและเจตสิกชื่อเวทนาได้ทำหน้าที่ของตนตาม ปรกติแต่ประการใดเลย. ความรู้สึกที่เป็นสัญญาและเวทนาตามปรกติธรรมดาจึงไม่ปรากฏ เรียกว่าเป็นสัญญาเวทยิตนิโรธ คือความดับไปแห่งสัญญาและเวทนา ตลอดเวลาเหล่านั้น ซึ่งเรียกกันสั้น ๆ ว่า เข้าสู่นิโรธสมาบัติ หรือเรียกสั้นจนถึงกับว่าเข้านิโรธเฉย ๆ. การกระทำอันนี้ตั้งต้นขึ้นด้วยอานาปานสติสมาธิ ดังนั้นจึงกล่าวว่าสำเร็จมาจากอานาปานสติ.)

    ทั้งหมดนี้เป็นการแสดงว่า อานาปานสติภาวนานั้น นอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับปฏิบัติเพื่อทำอาสวะให้สิ้นโดยตรงแล้ว ยังสามารถใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อการปฏิบัติที่ดำเนินไปในฝ่ายจิต หรือฝ่ายสมถะโดยส่วนเดียวจนกระทั่งถึงสัญญาเวทยิตนิโรธได้ด้วยอาการอย่างนี้ และพร้อมกันนั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องกล่าวว่าเป็นไปในทางไหน แต่เป็นประโยชน์ทั่วไป สำหรับการปฏิบัติทุกแนวก็คือ การอยู่ด้วยอานาปานสตินั้นไม่ลำบากกาย และไม่ลำบากตาซึ่งนับว่าเป็นการพักผ่อนอยู่ในตัวเองเป็นอย่างยิ่งอยู่แล้ว นับว่าเป็นอานิสงส์พิเศษส่วนหนึ่งของอานาปานสติ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...