WarRoom - อาสาสมัครเตรียมการเฝ้าระวังประสานงานเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ปี 2013

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 24 เมษายน 2011.

  1. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    [​IMG]
     
  2. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    3เขตอ่วม!หลังเปิดประตูพระยาสุเรนท์เพิ่ม

    17 พฤศจิกายน 2554 เวลา 16:11 น. |เปิดอ่าน 691 | ความคิดเห็น 1
    ประเด็น: วิกฤตน้ำท่วม ,

    "อานนท์"ชี้เปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนท์เพิ่ม1เมตรไม่กระทบนิคมอุตฯบางชันแต่ "มีนบุรี-บางกะปิ-วังทองหลาง" น่าห่วงคาดทำระดับน้ำสูงขึ้น

    [​IMG]

    นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการน้ำในพื้นที่สาธารณภัยร้ายแรง เปิดเผยว่าการเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์เพิ่มขึ้น1เมตร ตามที่ชาวบ้านน ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานีร้องขอ ไม่ช่วยลดระดับน้ำฝั่งปทุมธานี เพราะถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ การเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นน้ำจะไหลไปสู่คลองบางชัน แต่ไม่ส่งผลกระทบถึงนิคมอุตสาหกรรมบางชัน มากเท่ากับเขตบางกะปิ วังทองหลวง และสวนสยาม เขตมีนบุรี กทม.และยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีปริมาณระดับน้ำสูงเท่าใด

    ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 13.00น. หลังชาวบ้านฝั่งลำลูกกาได้เข้ารื้อกระสอบทราย บริเวณคลองหกวาสายล่าง ซ.สายไหม 81 ถ.เฉลิมพงศ์ ใกล้เคียงรพ.สายไหม สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มชาวบ้านฝั่งสายไหม ต่อมามีการเปิดการเจราจา3ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กทม.และตัวแทนชาวบ้าน2ฝ่าย ได้ข้อสรุปตรงกันว่าจะมีทำความตกลงร่วมกันเรื่องความสูงต่ำของเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนท์อีกครั้ง วันที่19 พ.ย.นี้ เวลา 12.00น.และการจ่ายเงินเยียวย่เรื่องค่าชดเชยกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

    ต่อมา เวลา 15.00น. นายสัญญา ชีนิมิตร ผอ.สำนักระบายน้ำ กทม.ได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อเจรจาต่อรองกับชาวบ้านฝั่งปทุมธานีซึ่งต้องการให้เปิดประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้น1เมตร โดยมีสีหน้าเคร่งเครียด มีการพูดคุยกันอยู่นาน กระทั่งตัดสินใจเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม1เมตร ตามที่ชาวบ้านฝั่งลำลูกกาเรียกร้อง ท่ามกลางเสียงคัดค้านชาวบ้านสายไหม โดยชาวบ้านลำลูกกาขู่ว่าหากไม่เปิดจะรื้อกระสอบทรายออกแทน

    ทั้งนี้ การรื้อกระสอบทรายส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่เขตสายไหมเพิ่มขึ้น20-25ซม.และมีกระแสน้ำไหลแรงออกมาตลอดเวลา

    รายงานบริเวณที่มีน้ำท่วมขังในพื้นที่สน.มีนบุรี ที่ถนนสีหบูรานุกิจ มีระดับน้ำท่วมสูง 20 - 30 ซม / ถนนสามวา มีระดับน้ำท่วมสูง 50 ซม / ถนนนิมิตรใหม่ ขาเข้า มีระดับน้ำท่วมสูง 15 ซม / ถนนสุวินทวงศ์ จาก เรือนจำถึงแยกมีนบุรี มีระดับน้ำท่วมสูง 30 - 40 ซม / แยกพานิชยมีนบุรีเข้าถนนหทัยราษฎร์ มีระดับน้ำท่วมสูง 40 - 50 ซม / ถนนเสรีไทย จาก แยกบางชันแยกมีนบุรี มีระดับน้ำท่วมสูง 20 - 30 ซม / ถนนหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์สง่างาม ระดับน้ำท่วมสูง 20 - 30 ซม.
     
  3. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ปลาปิรันญารังควานชายหาดมีชื่อเสียงของบราซิล

    ปลาปิรันญาหลายพันตัว กำลังรังควานนักว่ายน้ำที่ชายหาดที่มีชื่อเสียงของแม่น้ำแห่งหนึ่งทางตะวันตกของบราซิล ล่าสุดมีผู้ถูกปลากินเนื้อชนิดนี้กัดได้รับบาดเจ็บแล้วอย่างน้อย 15 คน เจ้าหน้าที่ในเมืองคาเซเรสในรัฐมาตูโกรสซู กล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่ปลาปิรันญาสร้างปัญหาให้กับหาดดาเวรอนบนแม่น้ำปารากวัย โดยปลาดุร้ายดังกล่าวได้เริ่มเข้ามารังควานในบริเวณนี้เมื่อประมาณ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เตือนประชาชนให้ระมัดระวัง ซึ่งถ้าถูกปิรันญากัดจะต้องรีบขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็วอย่าปล่อยให้เลือดแพร่กระจายในน้ำ นักว่ายน้ำคนหนึ่งบอกว่าถูกกัดที่นิ้วเท้าเมื่อวันอาทิตย์ และต้องรีบขึ้นจากน้ำด้วยเกรงว่าจะถูกฝูงปิรันญาตามกลิ่นเลือดเข้าโจมตี โฆษกของเทศบาลเมืองบอกว่า แม้ทุกคนทราบดีว่ามีปลาปิรันญาอยู่ที่บริเวณนี้และต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่ที่น่าแปลกคือดูเหมือนมีปิรันญาอยู่ในที่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ข่าวมีผู้ถูกปิรันญาโจมตีทำให้มีนักท่องเที่ยวมาเยือนที่หาดแห่งนี้น้อยลงมากเมื่อวันอังคาร ซึ่งโดยปกติจะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากเนื่องจากเป็นวันหยุดประจำชาติของบราซิล ชาวประมงท้องถิ่นกล่าวว่า ทอดแหจับปลาปิรันญาได้เป็นจำนวนมาก แต่ที่น่าตกใจคือปิรันญาได้เข้าโจมตีเหยื่อในบริเวณน้ำตื้นข้างตลิ่งแม่น้ำ .-
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤศจิกายน 2011
  4. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ชลประทานที่ 8 นครราชสีมา พลิกวิกฤติ หลัง อ่างเก็บน้ำ มีน้ำกักเก็บเต็มที่ 100%

    หม่อมหลวงอนุมาศ ทองแถม ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 8 นครราชสีมา กล่าวว่า อ่างเก็บน้ำในพื้นที่ชลประทานที่ 8 นครราชสีมา ทุกอ่างมีน้ำกักเก็บเต็มที่ 100% นับเป็นโอกาสสร้างรายได้ในช่วงแล้งนี้อย่างมาก เพียงแต่ เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนฤดูการปลูกพืชฤดูแล้งให้เร็วขึ้น ให้สอดคล้องกับแผนบริหารจัดการน้ำแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเท่านั้น โดยแผนบริหารจัดการน้ำ แก้ไขปัญหาภัยแล้ง และ น้ำท่วม ทางสำนักงานชลประทานที่ 8 จะดำเนินการพร่องน้ำจาก อ่างเก็บน้ำฯ และเพื่อไม่ให้เสียประโยชน์ และเกษตรกรสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทัน เกษตรกรและชาวนาจึงต้องเร่งรัดการทำนาปรัง หรือ การปลูกพืชฤดูแล้งด้วยการเลื่อนช่วงเวลาการปลูกนาปีเข้ามาก่อนกำหนด ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศ จากบทเรียนพื้นที่เกษตรในความรับผิดชอบของชลประทานฯ ทั้งหมดกว่า 6 แสนไร่ ปีที่ผ่านมาสามารถเก็บเกี่ยวได้เพียง 2 พันไร่เท่านั้น ซึ่งหากปีต่อไปเรายังเพิกเฉยต่อปัญหานี้อีก ก็จะเกิดความสูญเสียโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ฤดูแล้งที่จะถึงในปีนี้ เพื่อไม่ทำให้น้ำที่พร่องและพื้นที่เกษตรกรรมสูญเปล่า เกษตรกรมีน้ำใน ปลูกข้าวและพืชไร่อื่น ๆ จากน้ำในอ่างที่เก็บมากขึ้นกว่าเดิม 30% ได้ประสานกับสำนักงานเกษตรจังหวัดฯ เพื่อประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจแก่เกษตรกร ให้เกษตรกรเข้าใจ เพื่อสร้างวิกฤตเป็นโอกาสในปีนี้
     
  5. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ชาวปทุมฯยื่น3ข้อแลกรื้อคันแนวคลอง6วา

    วันพฤหัสบดี ที่ 17 พฤศจิกายน 2554 เวลา 15:08 น
    เนื้อหาข่าว

    [​IMG]

    ขอให้เป็นฝายน้ำล้น40ซม. จากที่จม 70 ซม. -ให้เปิดประตูน้ำเพิ่ม1 เมตรจาก 70 ซม.-ให้รัฐบาลเข้ามาเยียวยาบ้าง

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 12.30 น. วันนี้ (17 พ.ย.) ชาวบ้านอ. ลำลูกกา จ. ปทุมธานี กว่า 500 คน พากันมารวมตัวที่บริเวณคลองหกวาสายล่าง เขตรอยต่ออ.ลำลูกกา จ. ปทุมธานี กับเขตสายไหมเพื่อขอให้รื้อแนวกระสอบทราย เนื่องจากชาวปทุมธานีต้องทนทุกข์จากปัญหาน้ำท่วมขังราว 70- ซม.-1 เมตร มานานกว่า 2 เดือน ขณะที่ทางกทม. ไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือเยียวยาแต่อย่างใด หากรื้อแนวกระสอบทราบออกจะทำให้ระดับน้ำในจ.ปทุมธานีลดลง ทั้งนี้ทางกทม.ไม่มีเจ้าหน้าที่มาเจรจามีเพียงกำลังทหารที่เข้าเจรจากับชาวบ้านซึ่งพยายามขอคำตอบว่าจะให้ทนทุกข์แบกรับแทนคนกรุงเทพฯ ไปอีกนานเท่าใด เพราะก่อนหน้านี้เคยรับปากว่าจะไม่ให้นานเกิน 2 เดือน สุดท้ายเมื่อไม่ได้คำตอบ ชาวบ้านฝั่งปทุมธานีจึงช่วยกันระดมรื้อแนวกระสอบทรายออกราว 400 เมตร ส่งผลให้น้ำทะลักเข้าท่วมตลาดวงศกร เขตสายไหมราว 5-10 ซม. โดยปริมาณน้ำมีทีท่าว่าจะลุกลามไปโดยรอบ ส่วนชาวบ้านก็พยายามรื้อแนวกระสอบทรายให้มากขึ้น

    ต่อมาเวลา 14.45น. ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้ ว่า ล่าสุดนายจุมพล สำเภาพล และนายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกทม. เดินทางไปเจรจากับชาวบ้านให้หยุดรื้อถอนแนวกระสอบทราย โดยชาวบ้านได้เรียกร้อง 3 ข้อ 1.ให้แนวกระสอบทรายเป็นฝายน้ำล้นเพื่อลดระดับน้ำจาก 70ซม.เหลือ 40 ซม.ตลอดแนวคัน 6 กม. 2. ให้เปิดประตูน้ำจาก 70 ซม.เป็น 1 เมตร และ 3. ให้รัฐบาลเข้ามาเยียวยาฟื้นฟูชาวบ้าน พร้อมจัดส่งสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคมาช่วยเหลือบ้าง ทั้งนี้รองปลัดกทม. รับจะดำเนินการให้ใน ข้อ 2 ทันที ส่วนการให้แนวกระสอบทรายเป็นฝายน้ำล้นขอให้ดำเนินการบางส่วน และเจรจากับรัฐบาลในการเข้าเยียวยา แต่ชาวบ้านต้องการให้ครบทั้ง 3 ข้อ จึงยังพยายามรื้อแนวกระสอบทรายต่อ จนล่าสุดระดับทำให้ถนนเลียบคลอง 6 วาสายล่างจากที่ไม่มีน้ำ ถูกน้ำทะลักท่วมราว 50 ซม. ตลอดแนว รวมทั้งขยายวงกว้างไปในพื้นที่ถนนสุขาภิบาล 5 และใกล้เคียงมากขึ้น นอกเหนือจากช่วงบ่ายที่ทะลักท่วมเฉพาะในตลาดวงศกร.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 พฤศจิกายน 2011
  6. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    นครสวรรค์น้ำลดประชาชนยังเครียดแห่เข้า รพ.


    17 พย. 2554 16:50 น.

    พันเอกธนา สุรารักษ์ ผู้อํานวยการโรงพยาบาลค่ายจิระประประวัติ จังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า หลังน้ำลดประชาชนมีภาวะเครียดสูงกว่าปกติ แต่ละวันจะมีประชาชนเดินทางมาพบแพทย์รักษาอาการเจ็บป่วยต่างๆมากกว่าปกติทางโรงพยาบาลจึงต้องหาวิธีคลายเครียดให้ประชาชน เบื้องต้นได้นำเอาทีวีจอยักษ์มาเปิดให้ประชาชนดูระหว่างรอหมอตรวจ จะเปิดให้ดูรายการตลกเพราะแต่ละวันชาวบ้านดูข่าวน้ำท่วมจนเครียดตาม
    ส่วนพันโทหญิงเสียงพิณ อาภรณ์รัตน์ หัวหน้าแผนกรังสีกรรม ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ บอกว่า หลังน้ำลดคนไข้ส่วนใหญ่จะเจ็บป่วยด้วยโรคเครียด โรคตาแดง ไข้หวัด น้ำกัดเท้า เดินทางมารักษาจำนวนมากกว่าปกติ เพราะที่ผ่านมาชาวบ้านรับผลกระทบโดยตรงจากน้ำท่วมเป็นเวลานาน
     
  7. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    เปิดสภาพ “ฟลัดเวย์” กทม. ตะวันออก ณ 15 พ.ย. 2554

    พบบริเวณ “ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม” ในผังเมืองฉบับปัจจุบัน ถูกกระชับพื้นที่โดยหมู่บ้านจัดสรรกว่า 40 โครงกา

    ดูแผนที่ http://thaipublica.org/infographics/floodway-east-bangkok/
     
  8. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
     สะพานพระราม7-แยกบางพลัด น้ำลดรถวิ่งได้ทั้ง 2 ฝั่ง
      

    17 พย. 2554 17:48 น.

    รายงานที่บริเวณถนนจรัญสนิทวงศ์ จาก สะพานพระราม 7 - แยกบางพลัด - แยกบรมราชชนนี น้ำลดเป็นปกติแล้ว รถสามารถวิ่งได้แล้วทั้ง 2 ฝั่ง, ช่วง แยกบรมราชชนนี - แยกบางขุนนนท์ ยังมีน้ำท่วมสูงช่วงซอยจรัญสนิทวงศ์ 34ถึงคลองบางกอกน้อย รถยังผ่านไม่ได้
     
  9. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ทีมกรุ๊ป เผย 8 เขตรอดแน่ เสนอ 7 โครงการป้องกันน้ำท่วม

    [​IMG]


    นายชวลิต จันทรรัตน์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจที่ปรึกษาในประเทศด้านแหล่งน้ำและพลังงาน และกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัททีม(ทีมกรุ๊ป)  ได้เปิดเผยข้อมูลในงานอภิปราย “ท่านถาม-เราตอบทุกประเด็นเกี่ยวกับน้ำท่วม” ณ หอประชุมพูนศุข พนมยงค์ สถาบันปรีดี พนมยงค์

    [​IMG]

    @ สถานการณ์น้ำปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

    ณ วันนี้เราผ่านจุดสำคัญไปแล้ว และมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากมีการบริหารจัดการน้ำที่ดีและไม่มีการรื้อคันบิ๊กแบ๊ก สถานการณ์ก็จะดีขึ้น และสำหรับการจัดการมวลน้ำทั้งหมด อาจใช้เวลาประมาณ 30 วัน ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติ

    โดยพื้นที่ที่ฟันธงได้ว่า ไม่ท่วมแน่ อาทิ เขต ปทุมวัน ราชเทวี วัฒนา บางซื่อ ดุสิต เอกมัย พระโขนง คลองเตย รวมถึงสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งการที่น้ำจะลดลงช้าหรือเร็วนั้นขึ้นอยู่กับที่ตั้งของบ้าน คือ ถ้าบ้านใครที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือตั้งอยู่ใกล้เครื่องสูบน้ำ ก็จะมีโอกาสแห้งเร็วกว่า

     @ มีพื้นที่ใดบ้างที่ยังเข้าข่ายมีความเสี่ยงอยู่

    พื้นที่ล่าสุดที่ทีมกรุ๊ปได้เตือนไปคือ พื้นที่ในเขต ประเวศบุรีรมย์ เนื่องจากว่ามีความจำเป็นต้องระบายส่วนหนึ่งลงคลองประเวศบุรีรมย์ ส่งผลให้ทางทิศใต้ของคลองประเวศต้องมีการรับน้ำเพิ่มเติมบ้าง และเมื่อ 4 วันที่แล้วทีมกรุ๊ปจึงต้องเตือนภัยคนในเขตประเวศ

    นอกจากนี้ก็ยังมีในเขต อบต.ราชาเทวะ ที่อยู่ในพื้นที่ทางทิศใต้ของคลองประเวศ เนื่องจากน้ำไหลไปทางทิศตะวันตกไม่เพียงพอ จึงทำให้พื้นที่ใต้คลองประเวศลงมาจนถึงถนนบางนา-ตราด เฉพาะในส่วนของถนนศรีนครินทร์ไปจนกระทั่งถึงถนนกิ่งแก้วจะมีปริมาณน้ำที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งปริมาณน้ำจะไม่มากเท่าไหร่ และการท่วมจะไม่ลึกเท่าไหร่ และคงเป็นเวลาไม่นาน โดยในช่วงประมาณกลางเดือนธันวาคมจะสามารถระบายน้ำออกไปได้หมด

    [​IMG]

    @ สถานการณ์การระบายน้ำปัจจุบันเป็นอย่างไร

    น้ำที่อยู่ตอนบนในส่วนตะวันออก ก็ยังอยู่เหนือคลองรังสิต และในส่วนของตะวันออกของพื้นที่บริเวณลำลูกกา ทางด้านหนองจอก และประชิดที่มีนบุรี โดยปริมาณเหล่านี้ส่วนหนึ่งจะมีการระบายออกคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต และคลองด่านลงสู่ทะเล และส่วนหนึ่งก็จะสูบไปทางจังหวัดฉะเชิงเทราส่วนด้านตะวันตกจะได้เปรียบอยู่บ้าง เนื่องจากมีแม่น้ำ 2 สายขนาบ คือแม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งในช่วงวันที่ 18-24 พฤศจิกายนนี้จะเป็นช่วงที่ได้เปรียบ เนื่องจากจะเป็นช่วงที่น้ำลดลงต่ำ ฉะนั้นจะทำการระบายน้ำได้ดี โดยบางส่วนจะระบายไปทางแม่น้ำท่าจีน และอีกส่วนจะไหลลงทางแม่น้ำเจ้าพระยา

    ทั้งนี้ ก็จะส่งผลให้น้ำบริเวณคลองมหาสวัสดิ์คลี่คลายด้วย เนื่องจากเป็นโอกาสให้ทาง กทม. ได้เข้าไปปิดคันคลองของคลองมหาสวัสดิ์ที่รั่วอยู่ โดยตัวคลองที่เสียหายมีทั้งหมด 7 กิโลเมตร ขณะนี้ทำการซ่อมไปแล้ว 5 กิโลเมตร เหลืออีก 2 กิโล เชื่อว่าช่วงวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้  ทาง กทม. จะพยายามอย่างยิ่งที่จะซ่อมและปิดได้ และหาไม่ผิดพลาด จะทำให้น้ำบริเวณถนนพระบรมราชชนนีลดลงและสามารถกลับมาใช้งานได้ ประมาณวันที่ 22-23 พฤศจิกายน และอาจจะคลี่คลายได้เร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากมีชุมชนชาวบ้านแพ้ว ที่มาช่วยในการดันน้ำในถนนพุทธมณฑลสาย 4

    @ สถานการณ์ในต่างจังหวัดเหนือกรุงเทพมหานครเริ่มคลี่คลายบ้างแล้ว?  

    จังหวัดที่อยู่สูงขึ้นไปอย่าง จังหวัดอ่างทอง นั้น น้ำมีการลดลงอย่างตัวเนื่อง โดยจะลดลงวันละ 7-8 เซนติเมตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วพื้นที่ในจังหวัดอ่างทองเป็นพื้นที่สูง ประมาณ 6 เมตร ฉะนั้นการไหลจะทำได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวันที่ 18-24 พฤศจิกายน นี้ จะมีการไหลได้ดีมากยิ่งขึ้น และคิดว่าอ่างทองจะคลี่คลายต่อมาจากสิงห์บุรี

    [​IMG]

    @ สถานการณ์หลังจากนี้จะไม่กลับไปเลวร้ายอีกใช่หรือไม่

    สถานการณ์จะไม่เลวร้ายไปกว่านี้แล้ว เนื่องจากมวลน้ำที่เหลืออยู่ประมาณ 1 หมื่นลูกบาศก์เมตร โดยส่วนหนึ่งจะค้างอยู่ในทุ่ง และอีกส่วนหนึ่งจะไหลลงสู่ทะเลในปริมาณที่เยอะมากในวันที่ 18-24 พฤศจิกายน และหลังจากนั้นอาจจะลงช้าอีก และจะไหลได้เร็วอีกครั้งในวันที่ 2 ธันวาคม เพราะฉะนั้นช่วงเดือนธันวาคมจะเป็นเดือนของการระบายน้ำในทุ่งออกอย่างรวดเร็ว ขอให้สบายใจขึ้นได้

    อย่างไรก็ตาม ยังมีเงื่อนไขบางเงื่อนไข อย่างเช่น แกนกลางกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันเองแนวปลอดภัยจะอยู่ที่คลองบางซื่อ และได้มีการทดสอบแนวปลอดภัยมาแล้วครั้งหนึ่ง ด้วยความช่วยเหลือจากบิ๊กแบ๊กที่จะผันน้ำไปทางคลองหกวาสายล่างได้ถึงร้อยละ 60 และเหลือเข้ามาอีกประมาณร้อยละ 40 ซึ่งในคลองบางซื่อยังรับมือได้ทัน

    ฉะนั้นส่วนนี้ก็ไม่น่าจะมีองค์ประกอบไหนทำให้มีความเสี่ยงไปมากกว่านี้ หรือถ้าผิดพลาด เช่น ตัวบิ๊กแบ๊กอาจจะขาดเองบ้าง ก็จะทำให้จากการคาดการณ์ว่าวันที่ 24 พฤศจิกายน ถนนจะกลับมาใช้ได้ก็คงต้องยืดเวลาไปถึง  1 สัปดาห์  สถานการณ์ในทุกพื้นที่จะดีขึ้น เมื่อไหร่น้ำจะลงอีกครั้งหลังจากวันที่ 2 ธันวาคม ซึ่งเมื่อน้ำลง อ่างทองจะค่อนข้างสบายใจ ในช่วงกลางเดือนธันวาคม และถัดมาก็จะเป็นอยุธยา คาดว่าในช่วงปลายเดือนธันวาคมก็คงหมด รวมทั้งน้ำที่จะเข้ามาในกรุงเทพฯก็จะลงไปแม่น้ำเจ้าพระยาหมดแล้ว

    @ อยากให้พูดถึงสถานการณ์ ‘น้ำ’ ที่เกิดขึ้นในปีนี้

    ในปีนี้ต้องยอมรับว่า อันดับแรก ปริมาณน้ำนั้นมามาก และอันดับที่ 2 ในช่วงสิ้นเดือนกันยายน เพียง 10 วันเจอพายุใหญ่เข้าไป 2 ลูก ทำให้เกิดภาวะน้ำมาก และมากยิ่งขึ้นในเวลาเดียวกัน ทำให้ทุกพื้นที่ชุ่มช่ำไปหมด และเมื่อพายุนาแกลมาอีกลูกหนึ่งก็ทำให้ยิ่งมีน้ำมาก

    โดยปกติแล้วน้ำฝนในบ้านเราจะกลายเป็นน้ำท่าประมาณร้อยละ 30 คือฝนตกลงมาหนึ่งร้อยจะเป็นน้ำท่าไหลบนถนน 30 และส่วนที่เหลืออีก 70 ก็จะระเหยไปบ้างหรือติดอยู่ตามต้นไม้ ชุ่มอยู่ในใบหญ้า ชุ่มอยู่ในดิน ลงไปในน้ำบาดาลอีกก็มี

    แต่ปรากฏว่าเมื่อพายุนาดาลมา ทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นเหนือเขื่อนใต้เขื่อน น้ำมันเต็มไปหมด เมื่อฝนตกลงมาอีกจึงมีปริมาณน้ำที่มาก ฉะนั้น การที่ฝนตกแล้วตกซ้ำนั้นเป็นตัวสำคัญ ทำให้ฝนทั้งหมดกลายเป็นน้ำท่า ทำให้กลายเป็นภาระที่เราต้องระบายลงทะเลสูงมาก

    [​IMG]

    @ ห่วงกันว่า ปีหน้าจะเกิดสภาวะแบบนี้อีก

    เราทราบกันดีว่าสภาพภูมิอากาศมีความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ซึ่งเราพยายามสร้างความสัมพันธ์ว่า เกิดจากสาเหตุเหล่านั้นจริงหรือเปล่า ในเรื่องของภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้น ทำให้ความรุนแรงของภูมิอากาศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งหมายความว่า เมื่อก่อนนั้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงใน 10-15 ปี จะย้อนกลับมา แต่ในช่วงหลังทางอุตุนิยมวิทยาโลกและอุตุนิยมของไทย ก็ได้พยายามที่จะจับพฤติกรรมอากาศ ซึ่งพบว่า กระแสน้ำอุ่นออสเตรเลีย เปรู ไปเกี่ยวพันกับปรากฏการณ์เยลนินโญ่ หรือลานินย่า มีการเปลี่ยนพฤติกรรมได้อย่างรวดเร็ว

    อย่างเช่นว่า โดยปกติแล้วจะมีการตรวจจับพฤติกรรมกันทุก  6 เดือน หลังจากนั้นทางอุตุนิยมวิทยาจะมีการประกาศให้นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปได้ทราบว่าปีนี้จะเป็นปีน้ำน้อยหรือน้ำมาก ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะออกประกาศในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ และอย่างในปีนี้ก็ได้มีการออกประกาศว่า ปีนี้ฝนจะตกมาก น้ำจะมามากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคม

    แต่ปรากฏว่าเมื่อใกล้ถึงเดือนตุลาคม ภาวะกระแสน้ำอุ่นยังมีความแปรปรวนและมีแนวโน้มว่าจะเป็นลานินญ่าต่อไปถึงเดือนธันวาคม ซึ่งนั้นก็เป็นสภาวะที่ค่อนข้างมีความแปรเปลี่ยนสูง

    ถ้าถามว่าปีหน้าจะเกิดภาวะแบบนี้อีกหรือไม่ ก็ต้องมีการติดตามภาวะอากาศไปจนกระทั่งถึงเดือนกุมภาพันธ์ ถ้ามีคำทำนายอากาศออกมาอย่างไร ก็จะเกิดความชัดเจนว่า ปีหน้าจะเป็นปีที่น้ำมากอีกหรือเปล่า

    [​IMG]

    @ โครงการเพื่อบรรเทาอุทกภัย 7 ข้อ จะช่วยระบายน้ำได้มากน้อยแค่ไหน

    โครงการเพื่อบรรเทาอุทกภัย 7 ข้อ เป็นโครงการที่ทางทีมกรุ๊ปได้ทำการศึกษามาตั้งแต่ปี 2546  ซึ่งได้แก่
    1.ขุดลอกคูคลอง ปรับปรุงพนังกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำและสถานีสูบน้ำ
    2.พัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่แก้มลิง
    3.ปรับปรุงคลองบางแก้ว-ลพบุรี
    4.ปรับปรุงคลองระบายน้ำชัยนาท-ป่าสัก ให้เชื่อมกับ Motor Way น้ำ คลองระพีพัฒน์ คลองสิบสาม คลองสิบเจ็ด
    5.ปรับปรุงขยายคลองมะขามเฒ่า อู่ทอง และก่อสร้างคลองเพิ่มเติม
    6.ขุดคัดช่องลัดแม่น้ำท่าจีนและก่อสร้างประตูระบายน้ำควบคุม 4 แห่ง
    7.สร้าง Motor Way น้ำ คู่ขนานกับถนนวงแหวนรอบที่ 3

    ซึ่งหากรวมโครงการทั้ง 7 ประการจะสามารถระบายน้ำที่มากและมาเร็วอย่างปีนี้ได้เพียงพอ ปริมาณเป็นตัวเลขทั้งหมด โดยรวมที่นครสวรรค์ด้วยจะเป็น 4.7 พันล้านลูกบาศก์เมตร โดยงบประมาณอาจจะเป็นหลายแสนล้าน ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเสนอรัฐบาลเป็นชิ้นๆ เช่น เราทำพื้นที่ลุ่มต่ำเสร็จและกรมชลฯ เห็นด้วยก็เสนอไป แต่ว่าอาจติดอยู่ที่การจัดงบประมาณของปีที่แล้วเป็นอย่างไร อย่างของการพัฒนาพื้นที่ลุ่มต่ำก็ยังไม่เข้าในแผน ก็ไม่เป็นไร ก็ไว้ในปีถัดไป

    นอกจากเรื่องของขุดคลองลัดแม่น้ำท่าจีน เนื่องจากการเห็นผลสำเร็จของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตัดคลองบางกระเจ้า ก็เกิดความสนใจ ว่าจะเอาตรงไหนดีที่มีคนน้อย และส่วนที่มะขามเฒ่าอู่ทอง และชัยนาท-ป่าสัก เป็นพื้นที่ที่ยังมีความกังวลเนื่องจากมีพี่น้องประชาชนอาศัยอยู่ในพื้นที่คลองมาเป็นเวลานาน อาจต้องใช้เวลาในการเจรจา

    และสุดท้ายในเรื่องวงแหวนรอบ  3 ซึ่งถึงเวลาแล้วที่เราต้องมีวงแหวนรอบ  3 และถึงเวลาแล้วจริงๆที่ปีนี้เราเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นร่วมกันว่า ทางมอเตอร์เวย์ และทางระบายน้ำต้องไปด้วยกัน

    ความจริงแล้วในปีนี้ควรต้องมีการเริ่มก่อสร้างมอเตอร์เวย์ฝั่งตะวันออกรอบ 3 แล้ว เพราะการจราจรจะเริ่มแน่น และต้องใช้เวลาในการสร้าง  5 ปี และในช่วงปีที่ 3-4 การจราจรจะวุ่นวาย เนื่องจากฝั่งตะวันออกถนนไม่พอใช้ ก็เป็นโอกาสดีที่ ปีนี้น้ำมาพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส  ให้ทุกคนที่จัดการเรื่องงบประมาณได้เห็นว่าถ้าทำ 7 อย่างนี้ ไม่ใช่ทำเสร็จปีหน้าต้องใช้เวลาอีก 7 ปีข้างหน้าถึงจะเสร็จ พวกเราก็คงต้องหันมามองด้านนี้ว่า ถึงเวลาแล้วแม้ว่าทั้งหมดจะกี่แสนล้านนี้ต้องเริ่มทำกันแล้ว

    [​IMG]


    @ โครงการเพื่อบรรเทาอุทกภัยจะเชื่อมต่อจากแนวฟลัดเวย์เดิมหรือไม่

    ฟลัดเวย์อยู่ในแนวนี้อยู่แล้ว

    ฟลัดเวย์ถ้าจะให้เป็นไปตามธรรมชาติจะมีพื้นทีประมาณ 2 กิโลเมตร ลัดเลาะไปตามพื้นที่ลุ่มต่ำต่างๆ จะเป็นแถบกว้างประมาณ 2 กิโลเมตร และบางทีอาจขยายเป็น 4 กิโลเมตร จนกระทั่งถึงทะเล อันนั้นก็เป็นฟลัดเวย์ตามธรรมชาติ

    ส่วนของเราที่ปรับอยู่ตอนนี้คือ เป็นการปรับให้ถนนกับการไหลไปด้วยกัน เนื่องจากกว่าระดับน้ำที่จะทำให้ไหลได้จาก บางปะหัน จ.อยุธยา ไหลลงทะเลได้นั้นมีประมาณ 5 เมตร เพราะฉะนั้นเราต้องทะนุถนอมและหาแนวที่การไหลของน้ำให้เป็นไปได้ด้วยดี จึงอาจต้องทำการเลาะแนวทางที่อาจจะไม่ได้ตรงกับฟลัดเวย์เดิม แต่ทั้งนี้ก็มีความจำเป็นที่ต้องปรับให้มีการไหลแบบพอดี ซึ่งตามแนวฟลัดเวย์สมัยโบราณ บางทีมันมาปุ๊บแล้วก็ยุบลงไป แต่ของเราจะพยายามรักษาการไหลของน้ำให้ไหลลงสู่ทะเลอย่างราบรื่น

    ตอนนี้เนื่องจากเราใช้ที่ดินตามใจตัวเองมามากแล้ว เพราะฉะนั้นวิศวกรรมก็ต้องมองว่า 1.การไหลของน้ำเป็นอย่างไร ซึ่งต้องมีการคำนวณโดยละเอียด 2.ยึดมวลชน ต้องไปเหวี่ยงตรงไหน พยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ไปโดนสนามกอล์ฟบางสนาม โรงงานบางโรงงาน และ 3.ถนนก็ต้องไปได้ด้วย ฉะนั้น ประการเหล่านี้ต้องไปด้วยกัน จึงไม่ใช่แนวเดียวกันกับฟลัดเวย์ในสมัยโบราณ

    @ ขยายความรูปแบบ สร้างมอเตอร์เวย์น้ำ

    การสร้างมอเตอร์เวย์น้ำ มีอยู่หลายวัตถุประสงค์ด้วยกัน เนื่องจากต้องมีการเวนคืนพื้นที่ในวงกว้าง ก็จะมีคนที่คัดค้านเยอะ แต่ภาวะอย่างนี้ เป็นภาวะที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสได้เป็นอย่างดี เพราะว่าทุกคนเห็นแล้วว่าทุกข์ยากแค่ไหน และเห็นว่าการสูญเสียเป็นแสนแสนล้านนั้นมีจริง เพราะฉะนั้นทุกคนมารวมตัวกันดีไหม

    สำหรับมอเตอร์เวย์น้ำนั้น  จะยาว 100 กิโลเมตร ตั้งแต่ บางปะหัน จ.อยุธยา ผ่านอำเภอวังน้อย อำเภอหนองเสือ  เขตธัญบุรี เขตลำลูกกา มาจนถึง เขตหนองจอก เขตบางวัว เขตบางบ่อ และสุดท้ายที่คลองด่าน เพื่อลงสู่ทะเล  เป็นคลองขนาดกว้าง 320 เมตร ลึก 8 เมตร ซึ่งที่ต้องลึก 8 เมตร เพราะจะใช้ในการเดินเรือด้วย

    เราทำการศึกษาเรื่องการทำมอเตอร์เวย์รอบที่ 3 เราเก็บเงินค่าผ่านทางได้ 8.5 พันล้านบาทต่อปี จึงคิดว่า เรือสินค้า เรือขนส่งของเรามีขนาดเท่าไหร่  แล้วจึงต้องขุดลึกไปให้ลึก 8 เมตร หลังจากนั้นทำบานปิดหัวและท้าย เพราะฉะนั้นก็ต้องทำประตูเดินเรือ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งยิ่งค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นก็จะทำให้มูลค่าในการใช้งานสูงขึ้นไปด้วย

    โดยสรุปแล้วต้องศึกษารวมกันทั้ง การไหลของน้ำ การขนส่งทางบกและการขนส่งทางเรือ และการใช้ที่ดินของชาวบ้าน ต้องมีการทำระบบรวมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในระบบของตัวถนนวงแหวนรอบ 3 นั้นทำไปแล้ว แต่ก็ต้องมาปรับให้เข้ากับการไหลของน้ำ และปรับให้เข้ากับระบบที่เราจะใช้กับการเดินเรือ รวมถึงการพัฒนาชุมชนด้วย ว่าบริเวณไหนจะทำเป็นนิคมเกษตร หรือการปลูกป่า เป็นต้น อยากให้ทุกอย่างไปด้วยกัน

    ถ้าจะพูดถึงการลงทุนหลายแสนล้าน คงถึงเวลาแล้วที่เราต้องทุ่มเทอะไรบางอย่างเพื่อให้เห็นผลใน 7 ปีข้างหน้าไปด้วยกัน ซึ่งก่อนหน้านี้ได้นำเสนอรัฐบาลเป็นระยะๆ แต่เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีวิกฤตอะไร ทำให้คิดว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีคลองที่สามารถระบายน้ำได้วันละ 1 พันลูกบาศก์เมตร โดยหวังว่าในระยะนี้ ถ้าจะมีการนำเสนอกันอีกครั้งหนึ่ง ก็คิดว่าทางส่วนราชการและรัฐบาลที่ดูแลในส่วนงบประมาณคงจะได้ดูและเข้าใจ และเห็นกันว่าหลายแสนล้านก็จะคุ้มค่า

    ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูลข่าวสารปฏิรูปประเทศไทย
    สำนักข่าอิสรา เขียนโดย พิชานัน อินโปธา

    Mthai News
    เกาะติดสถานการณ์ ข่าวน้ำท่วม กับเอ็มไทย คลิ๊ก!!
     
  10. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    18/11/2011. 02:07 น.

    หวั่นนิคมบางชันจมใน2วัน วอนอย่าเปิดพระยาสุเรนทร์1ม.

    ส.ก.มีนบุรี วอน ศปภ. เร่งแก้ไขด่วน เหตุสำนักการระบายน้ำเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์ 1 เมตร หลังเจอม็อบไล่บี้ เชื่อหากปล่อยไปแบบนี้ จะทำให้นิคมฯบางชันเข้าสู่วิกฤติ และจมน้ำภายใน 2 วัน


    17/11/2011. 18:39 น.

    กู้ถนนหมายเลข 9 ช้า ทางหลวงโบ้ยตำรวจ เมินไม่อำนวยความสะดวก

    [​IMG]

    ทางหลวงจวกตำรวจบางบัวทอง-บางใหญ่ ไม่ลงพื้นที่ทำกู้ถนนหมายเลข 9 ช้า ขณะที่ถนน 340 แห้งสนิทแล้ว 100% รถเล็กผ่านได้


    17/11/2011. 18:12 น.

    ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมเผยระดับน้ำเจ้าพระยาไม่น่าห่วง

    ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ @BKK_BEST ระบุ "18.00 น. ระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา (ม.รทก.) ที่บางนา +1.06 ม. ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 1.44 ม. ปากคลองตลาด +1.84 ม.ต่ำกว่าแนวคันกั้น 0.96 ม. บางเขนใหม่+2.29 ม. ต่ำกว่าแนวคันกั้นน้ำ 0.71 ม. | ระดับน้ำสูงสุดที่ปากคลองตลาดเมื่อเช้านี้เวลา 11.30 น. 2.14 ม.รทก."


    17/11/2011. 15:55 น.

    กทม.จัดBig Cleaning Day พื้นที่เขตบางพลัด

    กทม.จัดBig Cleaning Day พื้นที่เขตบางพลัด หลังระดับน้ำที่ท่วมขังลดลงอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ระดับ 20 ซม. รถเล็กเริ่มสัญจรได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 พฤศจิกายน 2011
  11. tawansongsaeng

    tawansongsaeng เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +423
    ขอขอบคุณคุณ joyguang1 มาก ที่รายงานสถานการณ์มาอย่างต่อเนื่อง
    ขอปรบมือให้ในความเสียสละรายงานข่าวอย่างทันเหตุการณ์ แทบจะไม่ต้อง
    ดู TV เลย
     
  12. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ขอบคุณค่ะ คุณ Wimut

    ก็อยากจะเพื่อนๆ และช่วยคุณ falkman ด้วยน่ะค่ะ

    อย่างไรก็ตาม จากนี้ไป เราคงต้องอยู่ในความไม่ประมาท

    เหตุการณ์ภัยธรรมชาติอาจจะรุนแรง ขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าจะรุนแรงสูงสุดในช่วงต้นปี 2013

    ขอให้พวกเราอยู่อย่างมีสติ และระมัดระวังด้วยนะค่ะ

    ทำวันนี้ให้ดีที่สุด :cool:
     
  13. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    18/11/2011. 01:23 น.

    ฮือปิดถนนพระราม 2 ร้องขอกระสอบทรายกั้นน้ำ

    ชาวชุมชนเคหะธนบุรี 1 นับร้อยคน รวมตัวปิดถนนพระราม 2 เรียกร้องให้กั้นกระสอบทรายป้องกันน้ำจากคลองลาดลำภูและคลองรางแก้ว ส่งผลให้การจราจรติดขัด ล่าสุดยอมเปิดถนน และจะกลับมาเจรจากันอีกครั้งเวลา 09.00 น. ของวันนี้
     
  14. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    17/11/2011. 21:15 น.

    'สนามบินสุวรรณภูมิ' แจ้งย้ายรถกีดขวางออก ก่อนวันที่20พ.ย.นี้

    [​IMG]

    ทอท.แจ้งผู้ที่เอารถยนต์มาจอดหนีน้ำภายใน "สนามบินสุวรรณภูมิ" ให้เคลื่อนย้ายมาจอด ณ จุดที่จัดเตรียมไว้ตั้งแต่วันนี้ถึง 20 พ.ย.นี้ เพื่อความปลอดภัย และไม่กีดขวางการจราจร
     
  15. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    อึ้ง'ปลาบึกยักษ์' หนัก350กก. เกยริมแม่น้ำปิง

    [​IMG]

    อึ้ง! "ปลาบึกยักษ์" หลงน้ำโขงโผล่เกยตื้นแม่น้ำปิง เมืองกำแพงเพชร 2 ตัวผัวเมียหนักเกือบครึ่งตัน ชาวบ้านพบจับขายได้เงินเกือบ 40,000 บาท ประมงฯเผยคาดไหลมากับน้ำท่วม ขณะที่แม่ค้าที่รับซื้อชำแหละขาย กก.ละ 130 บาท ชาวบ้าน-ร้านอาหารแห่รอซื้อ...

    เมื่อเวลา 1100 น. วันที่ 17 พ.ย. นายมานพ พาติกะบุตร ประมง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร ได้รับแจ้งจากนายชัยพันธ์ ศรีคชไกร ผู้จัดการตลาดศูนย์การจังหวัดกำแพงเพชรว่า คนงานเฝ้าไร่ของตนที่ ม.1 ต.วังยาง อ.เมือง จ.กำแพงเพชร พบปลาบึกยักษ์ 2 ตัว มาเกยตื้นอยู่ที่หาดทรายริมแม่น้ำปิงหน้าที่ดินของตน จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าบนท้ายรถกระบะ มีปลาบึกขนาดใหญ่วางอยู่ 2 ตัว ตัวแรกเป็นเพศผู้วัดขนาดความยาวได้ 286 ซม. รอบลำตัว 160 ซม. น้ำหนัก 180 กิโลกรัม ตัวที่ 2 เป็นเพศเมีย ขนาดความยาว 228 ซม. รอบลำตัว 160 ซม. น้ำหนัก 170 กิโลกรัม รวมน้ำหนัก 2 ตัวหนัก 350 กิโลกรัม

    ทั้งนี้ ประมงอำเภอเมือง กำแพงเพชรยืนยันว่าเป็นปลาบึกแท้ เนื่องจากลักษณะของปลาบึกจะไม่มีฟัน และเกือบจะไม่มีหนวด ตาจะอยู่ต่ำกว่ามุมปากเมื่อมองจากด้านหน้าตรงจะไม่เห็น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้หากินตามพื้นน้ำ อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่างๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัมในระยะเวลา 5 ปี ปกติปลาบึกตัวใหญ่ขนาดนี้ จะมีแต่ในแม่น้ำโขงเท่านั้น ส่วนสาเหตุที่มาเกยตื้นที่หาดทรายแม่น้ำปิง เนื่องจากที่ผ่านมาเกิดน้ำท่วม ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงล้นตลิ่ง อาจทำให้ปลาบึกยักษ์ทั้ง 2 ตัวไหลมากับน้ำ ซึ่งคาดว่ามาจากเขื่อนภูมิพล และเมื่อระดับน้ำในแม่น้ำปิงลดลง ทำให้ปลาบึกซึ่งปกติจะอาศัยอยู่แต่ในน้ำลึกไม่มีทางไปจึงมาเกยตื้นจนถูกจับได้

    [​IMG]

    ด้านนายทอง คนงานชาวพม่าซึ่งเป็นคนพบปลาบึกยักษ์ทั้ง 2 ตัว เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าตนมาดักปลาพบปลายักษ์ทั้ง 2 ตัวเกยตื้นอยู่ ตอนแรกรู้สึกตกใจมากเพราะไม่เคยเห็นปลาตัวใหญ่ขนาดนี้มาก่อน จึงไปเรียกเพื่อนคนงานอีก 6 คนมาช่วยกันจับขึ้นฝั่งซึ่งต้องใช้เวลานานกว่าที่จะลากปลาทั้ง 2 ตัวขึ้นจากน้ำได้เพราะมีน้ำหนักมาก จากนั้นจึงแจ้งให้นายจ้างทราบ ต่อมามีคนมาขอซื้อปลาทั้ง 2 ตัวกิโลกรัมละ 100 บาท ได้เงินมาแบ่งกันทั้งหมดจำนวน 35,000 บาท

    ด้านนางจันทร์ตา ทาริยะวงศ์ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 142 ม.ที่ 11 ต.ท่าขุนราม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร แม่ค้าปลาในตลาดศูนย์การค้าจังหวัดกำแพงเพชร เปิดเผยว่า พอทราบว่ามีปลาบึกยักษ์ถูกจับได้ จึงเดินทางมาดู และได้ตกลงซื้อขายกันในราคากิโลกรัมละ 100 บาท เป็นเงินทั้งสิ้น 35,000 บาท โดยตนจะนำไปชำแหละขายกิโลกรัมละ 130 บาท ซึ่งตั้งแต่ขายปลามาหลายสิบปี ยังไม่เคยปรากฏว่ามีปลาบึกยักษ์ถูกจับได้ในแม่น้ำปิงมาก่อน ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีคนจับได้

    [​IMG]


    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่มีข่าวการพบปลาบึกยักษ์เผยแพร่ออกไป ปรากฏว่ามีร้านอาหารและประชาชนต่างไปรอซื้อเนื้อปลาบึกที่แผงขายปลาในตลาดศูนย์การค้าจังหวัดกำแพงเพชรจำนวนมาก เนื่องจากราคาขายไม่แพง และเป็นครั้งแรกที่จะได้กินปลาบึกที่จับได้ในแม่น้ำปิงกลางเมืองกำแพงเพชร.

     
    ไทยรัฐ

    โดย ทีมข่าวภูมิภาค
    17 พฤศจิกายน 2554, 15:46 น.
     
  16. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    หนุนสร้างเขื่อนยักษ์ในทะเล แก้น้ำท่วม ไม่เห็นด้วยย้ายเมืองหลวง

    [​IMG]



    หากให้กล่าวถึงผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านอุตุนิยมวิทยาของประเทศไทยมากที่สุดคนหนึ่ง เป็นที่ยอมรับในความสามารถว่าหาตัวจับได้ยากยิ่ง ทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า จะต้องมีรายชื่อของบุคคลท่านนี้มาอยู่ในความคิดลำดับต้นๆ ของคนไทยอย่างแน่นอน และนั่นก็คือ "ดร.สมิทธ ธรรมสโรช" ประธานกรรมการมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารทรัพยากรน้ำ กยน. 

    นายสมิทธ ได้กล่าวกับทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า ไม่ได้เป็นห่วงกรณีที่ปริมาณฝนในประเทศไทย จะตกในปริมาณเพิ่มมากขึ้นในปีหน้าและปีต่อๆ ไป ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่เหมือนในตอนนี้ ตามแนวโน้มภาวะโลกร้อนขึ้นสักเท่าไร แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุดในตอนนี้กลับเป็นภาวะน้ำทะเลหนุนสูงขึ้น เพราะน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ละลายตามภาวะโลกร้อน ฉะนั้น ปริมาณน้ำในพื้นที่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร ก็จะสูงตามไปด้วยน้ำ และจะรุกลึกเข้ามาในผืนดิน ทำให้การระบายน้ำตามธรรมชาติก็ยากมากขึ้นไปด้วย 

    ดร.สมิทธ ยอมรับว่า ตอนนี้ประเทศไทยก็กำลังประสบอยู่ แต่ไทยก็ยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เต็มที่ มีแต่การคำนวณปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่เพียงพอ ความจริงแล้วนักวิชาการด้านน้ำจากต่างประเทศ ทั้งเนเธอร์แลนด์ หรือสหรัฐอเมริกา ได้ทำการวิเคราะห์ถึงเรื่องลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เวลามันพัดผ่านอ่าวไทย ทำให้เกิดคลื่นกระทบยังปากแม่น้ำบริเวณอ่าวไทย ทำให้น้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น ส่งผลให้การระบายน้ำตามธรรมชาติของแม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง ท่าจีน และบางปะกง ตามจังหวะน้ำขึ้น น้ำลง ทำได้ยากขึ้น

    ข้อมูลนี้ ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการระบายน้ำของไทย ไม่เคยนำไปใช้เป็นข้อมูลใหม่ เพราะปัจจุบันภูมิอากาศโลกมีการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลก็ไม่เคยหยิบนำไปใช้คำนวณ หากรัฐบาลหรือกรมชลประทานนำไปใช้ร่วมด้วย ก็จะมีความแม่นยำมากขึ้น จะคำนวณน้ำขึ้นน้ำลงจากดวงจันทร์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องทราบข้อมูลผลกระทบกรณีที่มีลมมรสุมพัดผ่านอ่าวไทยไปคำนวณร่วมด้วย ยิ่งปัจจุบันก็ปรากฏชัดว่า มีพายุหรือมรสุมพัดเข้ามาอ่าวไทยถี่มากขึ้น ซึ่งทำให้การระบายน้ำลงทะเลทำได้ยาก และช้ามากกว่าเดิม ซึ่งข้อมูลอย่างนี้เราต้องเอาไปใช้  จึงจะสามารถทราบว่าน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นเท่าใด เพราะนั่นเป็นสิ่งทำให้เกิดปัญหาระบายน้ำลงสู่ทะเลไม่มีประสิทธิภาพ แต่ก็ไม่ทราบว่า เมื่อเสนอข้อมูลนี้ไปแล้ว รัฐบาลจะฟังหรือเปล่า

    ดร.สมิทธ ย้ำว่า ต้องนำไปใช้ด้วย ไม่ใช่ฟังแต่น้ำขึ้นน้ำลงอย่างเดียว ซึ่งมันโบราณแล้ว สมัยใหม่สามารถคำนวณได้มากกว่านั้น อย่างเช่น ลมพัดผ่านอ่าวไทยทำให้เกิดคลื่นเข้าไปปะทะบริเวณปากแม่น้ำอย่างไร ทำให้เกิดเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำลงสู่ทะเลตามธรรมชาติก็ช้าลง อันนี้ต้องเอาข้อมูลไปใช้ อันนี้มันมีผลกระทบจริงๆ อีกอันที่ต้องยอมรับ คือมีคนกล่าวหาว่าผมชอบไปวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล มันไม่ใช่รัฐบาลนี้รัฐบาลเดียว แต่เพราะรัฐบาลก่อนๆ มา การปล่อยน้ำมาเป็นจังหวะๆ มันยังน้อย แต่รัฐบาลนี้ตอนเปลี่ยนรัฐบาลมีการปล่อยน้ำลงมาเยอะพร้อมๆ กัน 3 เขื่อนใหญ่ ทำให้ปริมาณน้ำมันก็มาก ที่ราบลุ่มภาคกลางก็ไม่สามารถรับน้ำได้มากเพียงพอ 

    "แล้วต่อไปยอมรับว่า แนวโน้มปริมาณฝนจะตกมากขึ้น แต่ปี 2553 ความจริงเราเก็บน้ำในเขื่อนปริมาณน้อยไป พอหน้าแล้งก็ไม่มีน้ำใช้ทำการเกษตร หรือปล่อยน้ำไปไล่น้ำทะเลปากอ่าวแม่น้ำเจ้าพระยา คือน้ำในเขื่อน จะต้องเก็บพอดี มากไปก็ไม่ได้ น้อยไปก็ไม่ดี ต้องเก็บไว้พอดีๆ ปลายฤดูฝนเก็บน้ำไว้มากไม่เป็นไร แต่ถ้าเก็บไว้มากตั้งแต่ต้นฤดูฝน พอฝนตกลงมา กลางฤดูจนถึงปลายฤดูเราก็ไม่มีที่เก็บน้ำในเขื่อนแล้ว มันจึงเกิดปัญหา ดังนั้นขั้นตอนการเก็บน้ำที่ผ่านมามันเก็บไม่ถูกจังหวะ ประกอบกับคนที่สั่งเก็บกับสั่งปล่อยคนละงานกัน พอปล่อยมาแล้ว คนที่จะมาระบายก็คนละคนกันอีก ปล่อยน้ำมาแล้ว กทม.ก็ไม่ยอมให้น้ำเข้ามา น้ำเลยไม่รู้จะไปไหน เพราะระบบระบายน้ำ กทม.ดีที่สุดในประเทศ ถ้าปล่อยน้ำมาตั้งแต่ต้นฤดูฝน กทม.ก็สามารถระบายออกได้ไม่มีปัญหา น้ำก็จะไม่ขังอยู่เหนือ กทม.มาก แต่พอปล่อยน้ำออกมาปริมาณมากพร้อมๆ กัน  ก็เลยไม่ยอมเปิดประตูระบายน้ำ เพราะเกรงว่าจะรับไว้ไม่อยู่น้ำจึงท่วมขังมาก" ดร.สมิทธ กล่าว.

    ประธานมูลนิธิเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ยังยืนยันอีกว่า อนาคตปริมาณน้ำทั่วโลกจะมากขึ้น เกิดจากภาวะโลกร้อน เพราะน้ำทะเลจะหนุนสูงขึ้นอย่างแน่นอน ในเวลาประมาณอีกไม่เกิน 10-11 ปี จากนี้ไปถึงแม้ไม่มีฝนตกลงมาแต่น้ำก็จะท่วม อันนี้เราต้องหาทางแก้ไข จะแก้ยังไง แก้ปํญหาเหมือนกับประเทศเนเธอร์แลนด์ สร้างเขื่อนปิดกั้นปากแม่น้ำหรือไม่ หรือจะย้ายเมืองหลวงอย่างที่หลายฝ่ายออกมาพูดกัน ในตอนนี้ก็ต้องเลือกเอา แต่ความเห็นส่วนตัวย้ายเมืองหลวงจากกรุงเทพฯ ไปที่อื่น ถือเป็นเรื่องใหญ่ คนตั้ง 10 ล้านคนจะหาที่อยู่ที่ไหน แล้วหากจะย้ายเมืองหลวงจริง มันไม่ใช่ย้ายแค่ 1-2 ปี แต่ต้องเป็น 10 ปี อย่างพม่าย้ายเมืองหลวงตั้ง 40 ปี ก็ยังย้ายไม่เสร็จ ของไทยพูดได้แต่ทำยาก ทางแก้ต้องสร้างเขื่อนในอ่าวไทย อย่างที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ทำ หรืออย่างนักวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เสนอไว้ ผมก็เห็นด้วยในการสร้างเขื่อนบริเวณอ่าวไทย เพื่อป้องกันน้ำท่วมจากกรณีน้ำทะเลสูงขึ้น ป้องกันน้ำท่วม กทม.ความจริงส่วนตัวศึกษามานานแล้ว เวลาไปบรรยายหนุนให้ประเทศไทยสร้างเขื่อนในอ่าวไทยป้องกันน้ำท่วมทีไรก็ถูกต่อว่าทุกครั้ง

    ดังนั้นส่วนตัวยอมรับว่าเห็นด้วยในการสร้างเขื่อนบริเวณปากแม่น้ำอ่าวไทย เพราะสร้างแล้วในฤดูแล้งตรงนั้นก็เป็นน้ำจืดสามารถเก็บน้ำไว้ใช้งานได้ ส่วนหน้าน้ำก็จะกลายเป็นแก้มลิง มีประตูปิด-เปิด ระบายน้ำออกสู่ทะเล จัดระบบให้ดี

    ส่วนกรณีที่มีหลายคนสงสัยว่า ถ้าสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำบริเวณอ่าวไทย ก็เหมือนเป็นการปิดกั้นน้ำไหลลงสู่ทะเล ซึ่งตอนนี้ก็เห็นอยู่แล้วว่าระบายน้ำออกไม่ทัน แล้วจะไม่แย่หรือ? ดร.สมิทธ ระบุว่า ต้องเข้าใจก่อนว่าไม่ใช่สร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำที่จะไหลลงสู่ทะเล แต่สร้างเขื่อนลงไปในทะเลแล้วให้น้ำจืดในแม่น้ำไหลลงมาให้สุดในพื้นที่ที่เตรียมไว้ก่อน แล้วจึงเปิดประตูระบายน้ำออกสู่ทะเลเวลาน้ำทะเลลง ถ้าน้ำทะเลขึ้นก็ปิด ไม่ให้น้ำทะเลหนุน ซึ่งจะสามารถควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ทะเลได้ด้วยไม่ให้มากเกินไป เพราะอาจทำให้้สัตว์น้ำในทะเลตาย แล้วระบบการระบายน้ำของเราก็จะมีประสิทธิภาพมาก ทั้งนี้ไม่ใช่การสร้างเขื่อนปิดปากแม่น้ำทันทีอย่างที่เข้าใจกัน หากสร้างลักษณะนั้น น้ำในแม่น้ำก็จะเอ่อออกมาท่วมข้างๆ ได้

    ดร.สมิทธ กล่าวยืนยันแนวคิด ต้องสร้างเขื่อนปิดตั้งแต่ บริเวณ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี ไปจนถึงบริเวณ ปากแม่น้ำบางปะกง ใน จ.ฉะเชิงเทรา รวมระยะทางประมาณ 90 กม. จึงจะแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างได้ผล แต่ทั้งหมดต้องเป็นนโยบายระดับชาติเป็นผู้ดำเนินการจึงจะมีโอกาสสำเร็จ ความจริงผู้เชี่ยวชาญจากประเทศเนเธอร์แลนด์ก็ได้เคยมาศึกษาไว้ให้แล้ว ขณะที่ประเทศเวียดนามเพื่อนบ้านเราก็สร้างเขื่อนยาว ถึง 33 กิโลเมตร ป้องกันไม่ให้น้ำเข้าไปท่วมประเทศเสร็จแล้วเช่นกัน และยังส่งรูปมาให้ผมดูด้วย

    ดร.สมิทธ กล่าวอีกว่า "ยืนยันไม่มีหนทางอื่นในการแก้ปัญหาอย่างได้ผลอีกแล้ว หากไม่สร้างเขื่อนก็ต้องย้ายเมืองหลวง ทำอะไรอย่างอื่นไม่ได้แล้ว เพราะต้องยอมรับ กทม. เป็นหนึ่งในเมืองหลวงของโลกที่จะถูกน้ำท่วมในอนาคต หากไม่มีการแก้ไข แต่มันก็ไม่ใช่ไทยประเทศเดียว สิงคโปร์ก็โดน สิงคโปร์กำลังพิจารณาสร้างเขื่อนรอบๆ เกาะป้องกันน้ำท่วม กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย หรือจะเป็นเมืองไซง่อน ประเทศเวียดนาม ก็เช่นกัน ญี่ปุ่นก็คงโดนหลายเกาะ

    หากรัฐบาลตัดสินใจดำเนินการจริงๆ ก็จะสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งที่ท่วมจากน้ำทะเลหนุนสูง หรือจากปริมาณน้ำเหนือในอนาคตได้ รวมทั้งยังได้ผลพลอยได้ คือได้ถนนบนสันเขื่อน 4 เลนขนาดใหญ่ และสูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 7 เมตร ซึ่งสามารถเดินทางจากกรุงเทพลงไปภาคใต้ หรือจากภาคใต้ตรงไปภาคตะวันออกเลยทีเดียว แต่ต้องเข้าใจว่า ไม่เหมือนโครงการถนนในทะเลของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่เคยเสนอจะสร้างจนเป็นที่เกรียวกราวมาแล้ว เพราะนั่นอาจใช้ประโยชน์ได้เพียงด้านเดียวคือเป็นถนน ไม่คุ้มค่า แต่นี่จะใช้เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมด้วย พร้อมกับได้แลนด์บริดจ์น้ำจืดด้านหนึ่ง อีกด้านเป็นน้ำทะเล สามารถเก็บน้ำจืดไว้ใช้ประโยชน์ได้ในยามหน้าแล้ง ส่วนหน้าน้ำก็ใช้เป็นแก้มลิงระบายน้ำลงทะเลได้อย่างมีประสิทธิภาพ"

    "หากดำเนินการได้ตามนี้ เชื่อว่าประเทศไทยจะพ้นจากปัญหาน้ำท่วมขังทั้งจากน้ำทะเลหนุนสูง และปัญหาน้ำเหนือหลากลงมาระบายลงทะเลไม่ทัน ทำให้เกิดปัญหาอุทกภัยใหญ่อย่างที่เป็นอยู่ได้ ทำให้เกิดแนวคิดเสนอให้มีการย้ายเมืองหลวงจาก กทม.ไปอยู่ที่อื่นไม่ว่า จะเป็นที่ จ.เพชรบุรี นครนายก หรือเพชรบูรณ์อาจหมดไป และจะป้องกันน้ำท่วมกทม.เมืองหลวงของประเทศไทยไปในอนาคตอย่างน้อยอีก 30-40 ปี ข้างหน้า เลยทีเดียว แต่คงไม่ใช่ชั่วกัลปาวสานอย่างที่เป็นข่าวกัน ก็อยู่ที่ว่ารัฐบาลชุดนี้และชุดต่อๆ ไป จะกล้าตัดสินใจหรือไม่?" ดร.สมิทธ กล่าว…

    ไทยรัฐ
    โดย ทีมข่าวการเมือง
    18 พฤศจิกายน 2554, 05:45 น.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 พฤศจิกายน 2011
  17. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ภาคเหนือมีหมอกหนา ใต้มีฝนน้อยใน1-2วันนี้

    [​IMG]


    ไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า เหนือมีหมอกหนาบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้มีฝนน้อยในระยะ 1-2 วันนี้ เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง...

    เมื่อวันที่ 18 พ.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานลักษณะอากาศทั่วไปเมื่อเวลา 04:00 น. บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน มีกำลังอ่อนลง แต่ยังคงทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบน มีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยจะมีหมอกหนาบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ขอให้ประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง ในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย

    สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อยในระยะ 1-2 วันนี้

    อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง กำลังเคลื่อนที่ไปทางประเทศจีนตอนใต้ ซึ่งหย่อมความกดอากาศต่ำนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย

    พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06:00 วันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

    ภาคเหนือ อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่
    อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศา อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศา
    สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-12 องศา
    ลมเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศา
    อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศา
    สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-15 องศา
    ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

    ภาคกลาง อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศา
    อุณหภูมิต่ำสุด 21-23 องศา อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศา
    ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

    ภาคตะวันออก มีเมฆบางส่วน และมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
    บริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศา
    ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
    ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
    อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศา
    ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

    ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ร้อยละ 40 ของพื้นที่
    ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
    อุณหภูมิต่ำสุด 22-24 องศา อุณหภูมิสูงสุด 32-33 องศา
    ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
    ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

    กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีเมฆบางส่วน
    อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศา อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศา
    ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

    ไทยรัฐ
     
  18. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    แผ่นดินไหวอ.เมืองจ.แม่ฮ่องสอน3.7ริกเตอร์

    ข่าวสังคม วันพฤหัสบดีที่ 17 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554 23:21 น.


    เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 3.7 ริกเตอร์ ที่ ต. ห้วยผา อ.เมือง จ. แม่ฮ่องสอน เมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา
    เบื้องต้นยังไม่มีรายงานผลกระทบหรือความเสียหายทั้งนี้ยังต้องการรายงานอีกครั้ง

    สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ได้รายงานว่า 17.58 น. ที่ผ่านมา ได้มีเหตุแผ่นดินไหว
    ที่ จ.แม่ฮ่องสอน โดยวัดแรงสั่นสะเทือนได้ 3.7 ริกเตอร์ จุดศูนย์อยู่บริเวณ ต. ห้วยผา อ. เมือง
    โดยละติจูดที่ 19.44 ลองติจูด 98.08 เบื้องต้นยังไม่มีรายงานผลกระทบและความเสียหายจากแผ่นดินไหวครั้งนี้
    แต่ยังต้องรอรายงานอีกครั้งว่า มีประชาชนแจ้ง รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนครั้งนี้หรือไม่อีกครั้ง ซึ่งจุดศูนย์กลางอยู่
    ที่ ต. ห้วยผา นั้นอยู่ติดกับ อ.เมือง ของแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีประชาชนอาศัยอยู่จำนวนมาก

    Link : แผ่นดินไหวอ เมืองจ แม่ฮ่องสอน3 7ริกเตอร์
     
  19. patratyon

    patratyon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    10,434
    ค่าพลัง:
    +6,293
    ตลาดแม่สายคึกคักคนแห่ซื้อเครื่องกันหนาว

    ข่าวสังคม วันศุกร์ที่ 18 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2554 02:48 น.

    [​IMG]


    อากาศที่หนาวเย็นทำให้บรรยากาศการซื้อขายเครื่องนุ่งห่มกันหนาวที่ตลาดชายแดนแม่สาย
    จ.เชียงราย คึกคักมากเป็นพิเศษ


    ประชาชนและนักท่องเที่ยวต่างออกมาหาซื้อเครื่องกันหนาวกันอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผ้าห่มและเสื้อกันหนาว
    ในตลาดดอยเวา และตลาดสายลมจอย เขตอำเภอแม่สาย จ.เชียงราย ซึ่งเป็นตลาดจำหน่ายสินค้านำเข้าจากประเทศจีน
    แหล่งใหญ่ที่สุด มีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าจากต่างพื้นที่ รวมทั้งชาวพม่าในจังหวัดท่าขี้เหล็ก ต่างพากันมาเลือกซื้อ
    เครื่องกันหนาวไปสวมใส่และขายทำกำไร ผู้ค้าเล่าว่าอากาศหนาวมาประมาณ 1 สัปดาห์ ทำให้ยอดขายเครื่องกันหนาว
    ผ้าพันคอ ถุงมือ ถุงเท้า มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว มีรายได้ 20,00-50,000 บาทต่อวัน และจากการตรวจสอ
    บยังพบว่ามีผู้ค้าบางราย ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า
    Link : ตลาดแม่สายคึกคักคนแห่ซื้อเครื่องกันหนาว
     
  20. nattanan39

    nattanan39 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,190
    ค่าพลัง:
    +2,935
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"อานนท์" ชี้เปิดปตร.พระยาสุเรนทร์เพิ่มทำ"บางกะปิ วังทองหลาง มีนบุรี" ท่วมสูงขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD height=40><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>17 พฤศจิกายน 2554 21:29 น.</TD><TD vAlign=center align=left><SCRIPT src="http://platform.twitter.com/widgets.js" type=text/javascript></SCRIPT>


    <SCRIPT src="https://apis.google.com/js/plusone.js" type=text/javascript> {lang: 'th'}</SCRIPT><?XML:NAMESPACE PREFIX = G /><G:pLUSONE size="medium"></G:pLUSONE>
    <TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (แฟ้มภาพ)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>"อานนท์" เผยการเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์เพิ่มขึ้น 1 เมตร ตามที่ชาวบ้านร้องขอ ไม่ได้ช่วยลดระดับน้ำฝั่งปทุมธานี เพราะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ชี้น้ำไหลสู่คลองบางชันจะไม่กระทบนิคมอุตฯบางชันมากเท่ากับ "บางกะปิ วังทองหลาง มีนบุรี" แต่ยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะท่วมสูงขึ้นเท่าใด

    วันนี้ (17 พ.ย.) นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เลขานุการคณะทำงานบริหารจัดการน้ำในพื้นที่สาธารณภัยร้ายแรง เปิดเผยว่าการเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนทร์เพิ่มขึ้น 1 เมตร ตามที่ชาวบ้าน ต.ลาดสวาย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานีร้องขอ ไม่ช่วยลดระดับน้ำฝั่งปทุมธานี เพราะถือเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ การเปิดประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้นน้ำจะไหลไปสู่คลองบางชัน แต่ไม่ส่งผลกระทบถึงนิคมอุตสาหกรรมบางชัน มากเท่ากับเขตบางกะปิ วังทองหลาง และสวนสยาม เขตมีนบุรี และยังไม่สามารถประเมินได้ว่าจะมีปริมาณระดับน้ำสูงเท่าใด

    ก่อนหน้านี้เมื่อเวลา 13.00น. หลังชาวบ้านฝั่งลำลูกกาได้เข้ารื้อกระสอบทราย บริเวณคลองหกวาสายล่าง ซ.สายไหม 81 ถ.เฉลิมพงศ์ ใกล้เคียงรพ.สายไหม สร้างความไม่พอใจให้กับกลุ่มชาวบ้านฝั่งสายไหม ต่อมามีการเปิดการเจราจา3ฝ่าย ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่กทม.และตัวแทนชาวบ้าน2ฝ่าย ได้ข้อสรุปตรงกันว่าจะมีทำความตกลงร่วมกันเรื่องความสูงต่ำของเปิดประตูระบายน้ำพระยาสุเรนท์อีกครั้ง วันที่19 พ.ย.นี้ เวลา 12.00น.และการจ่ายเงินเยียวยาเรื่องค่าชดเชยกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

    ต่อมา เวลา 15.00น. นายสัญญา ชีนิมิตร ผอ.สำนักระบายน้ำ กทม.ได้เดินทางลงพื้นที่เพื่อเจรจาต่อรองกับชาวบ้านฝั่งปทุมธานีซึ่งต้องการให้เปิดประตูระบายน้ำเพิ่มขึ้น1เมตร โดยมีสีหน้าเคร่งเครียด มีการพูดคุยกันอยู่นาน กระทั่งตัดสินใจเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม 1 เมตร ตามที่ชาวบ้านฝั่งลำลูกกาเรียกร้อง ท่ามกลางเสียงคัดค้านชาวบ้านสายไหม โดยชาวบ้านลำลูกกาขู่ว่าหากไม่เปิดจะรื้อกระสอบทรายออกแทน

    ทั้งนี้ การรื้อกระสอบทรายส่งผลให้ระดับน้ำในพื้นที่เขตสายไหมเพิ่มขึ้น20-25 ซม. และมีกระแสน้ำไหลแรงออกมาตลอดเวลา

    ด้านสถานการณ์น้ำท่วมขังในพื้นที่สน.มีนบุรี ยังไม่มีระดับน้ำเพิ่มขึ้น โดยระดับน้ำยังคงทรงตัว ที่ถนนสีหบูรานุกิจมีระดับน้ำท่วมสูง 20 - 30 ซม / ถนนสามวา มีระดับน้ำท่วมสูง 50 ซม / ถนนนิมิตรใหม่ ขาเข้า มีระดับน้ำท่วมสูง 15 ซม / ถนนสุวินทวงศ์ จาก เรือนจำถึงแยกมีนบุรี มีระดับน้ำท่วมสูง 30 - 40 ซม / แยกพานิชยมีนบุรีเข้าถนนหทัยราษฎร์ มีระดับน้ำท่วมสูง 40 - 50 ซม / ถนนเสรีไทย จาก แยกบางชันแยกมีนบุรี มีระดับน้ำท่วมสูง 20 - 30 ซม / ถนนหม่อมเจ้าสุประดิษฐ์สง่างาม ระดับน้ำท่วมสูง 20 - 30 ซม.

    ขณะที่ น.อ.นุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ขณะนี้ศปภ. ยัง คงใช้วิธีการเจรจาอยู่ และวิธีการดังกล่าวก็ยังใช้ได้ผลอยู่

    อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าประชาชนคนไทยจะมีความเข้าอกเข้าใจกัน โดยเฉพาะคนที่ต้องประสบความเดือดร้อนมากกว่า ทำอย่างไรจะบรรเทาทุกข์ให้เขาเดือดร้อนน้อยลง เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากทำร้ายกันเอง และขณะนี้ทุกฝ่ายของศปภ. และกทม.ในแนวคันกั้นน้ำคลองหกวา เป็นหน้าที่ของผู้ว่าฯกทม. ขณะที่ศปภ.ได้สนับสนุนเรื่องของกำลังเจ้าหน้าที่ที่จะเข้าไปร่วมเจรจา รวมถึงการเข้าไปดูปริมาณน้ำเข้ามาในกทม.ในภาพที่ยอมรับได้

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...