หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง จ.ร้อยเอ็ด

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย Specialized, 28 กรกฎาคม 2010.

  1. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๖๐
    หลวงปู่มั่นตามมาจำพรรษาด้วย
    ระหว่างพำนักอยู่ที่ภูผากูด หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลได้ทราบด้วยญาณและรู้ถึงวาระจิตของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์เอกของท่าน ว่ากำลังเดินทางติดตามหาท่านอยู่ และใกล้จะถึงภูผากูดแล้ว
    เมื่อหลวงปู่มั่น เดินทางเข้ามาถึง ก็ได้เห็นหลวงปู่ใหญ่นั่งรอรับอยู่แล้ว หลังจัดวางบริขารเรียบร้อยแล้วก็เข้าไปกราบหลวงปู่ใหญ่ทันที
    ทั้งอาจารย์และศิษย์ได้สนทนาปราศรัย ไต่ถามทุกข์สุขกันและกันสมกับที่ได้จากกันเป็นเวลานานหลายปี แล้วหลวงปู่ใหญ่ก็ให้หลวงปู่มั่นเข้าที่พักที่เตรียมไว้ให้ และบอกให้พักจำพรรษาอยู่ด้วยกัน
    ดังนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงได้พักจำพรรษาอยู่ด้วยกันที่ถ้ำภูผากูด ซึ่งตลอดพรรษา ทั้งสององค์ก็ได้ปรึกษาสนทนาธรรมกันแทบทุกวัน
    ในปีนั้น หลวงปู่มั่น มีอายุพรรษาได้ ๒๖ ท่านได้ปฏิบัติต่อหลวงปู่ใหญ่ เหมือนกับท่านเป็นพระใหม่ คือปฏิบัติตั้งแต่การล้างบาตร ขัดกระโถน ซักจีวร ปูที่นอน ตักน้ำ ถวายน้ำสรง ถูหลังให้ แม้กระทั่งบีบนวด แม้หลวงปู่ใหญ่ ท่านจะห้ามปรามก็ตาม หลวงปู่มั่นท่านก็ยังปฏิบัติต่อครูอาจารย์ของท่านด้วยความอ่อนน้อมทุกประการ
    การที่หลวงปู่มั่น ปฏิบัติต่อครูอาจารย์ของท่าน จึงเป็นแบบอย่างของพ่อแม่ครูอาจารย์สายพระกรรมฐาน ที่แสดงถึงความกตัญญูรู้คุณต่อพระผู้เป็นครูอาจารย์
    ทางฝ่าย หลวงปู่ใหญ่ แม้ท่านจะเป็นอาจารย์ท่านก็ยอมรับฟังข้อแนะนำจากศิษย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ ไม่มีที่ถือตนเองว่าเป็นครูเป็นอาจารย์เลย
    คุณธรรมของบุพพาจารย์ทั้งสององค์นี้นับว่าประเสริฐยิ่ง และถือเป็นแบบอย่างของการปฏิบัติระหว่างครูอาจารย์กับศิษย์ในสายกรรมฐานสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
    <table id="table32" border="0"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> <td colspan="2" align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center">
    ศาลาสมณธรรมมังคลาภูผากูด
    </td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>​
    ๖๑
    เลิกความปรารถนาพระปัจเจกโพธิ
    จากประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านผู้อ่านคงจำได้ว่าในช่วงที่หลวงปู่มั่น บำเพ็ญเพียรอยู่ที่ถ้ำสาริกา จังหวัดนครนายกนั้นหลวงปู่มั่น ได้ทราบด้วยญาณว่าอาจารย์ของท่าน คือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ท่านปรารถนาปัจเจกโพธิ และถ้ายังมีจิตกังวลในการปรารถนาเช่นนั้น การทำความเพียรเพื่อความพ้นทุกข์ก็ไม่สามารถสำเร็จได้ในชาตินี้
    การเดินทางตามหาหลวงปู่ใหญ่ ในครั้งนี้ ก็ด้วยความกตัญญู ที่หลวงปู่มั่นต้องการจะหาโอกาสให้สติอาจารย์ของท่าน ได้ปล่อยวางการปรารถนาปัจเจกโพธิ (ปรารถนาจะเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า) นั้นเสีย ไม่เช่นนั้นจะต้องเวียนว่ายตายเกิดเพื่อสร้างบารมีไปอีกนานแสนนาน
    หลวงปู่มั่น พยายามหาโอกาสที่จะให้สติแก่อาจารย์ของท่านในเรื่องนี้
    อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อได้โอกาสเหมาะ หลวงปู่มั่นได้กราบเรียนหลวงปู่ใหญ่ว่า “ท่านอาจารย์ได้พิจารณาอริยสัจจธรรมหรือไม่?”
    หลวงปู่ใหญ่ ตอบว่า “เราก็พิจารณาเหมือนกัน”
    หลวงปู่มั่น ถาม “แล้วได้ผลเป็นอย่างไรบ้าง?”
    หลวงปู่ใหญ่ ตอบว่า “ได้ผลเหมือนกัน แต่ไม่ชัดเจน”
    หลวงปู่มั่น ถามรุกต่อไปว่า “เพราะเหตุไรบ้างครับ?”
    หลวงปู่ใหญ่ ตอบว่า “เราได้พยายามอยู่ คือพยายามคิดถึงความแก่ความตาย แต่ว่าบางคราวมันก็ไม่แจ่มแจ้ง”
    หลวงปู่มั่น ก็ถามต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านอาจารย์คงมีอะไรเป็นเครื่องห่วงหรือกระมัง?”
    หลวงปู่ใหญ่ ตอบ “เราก็พยายามพิจารณาเหมือนกัน แต่ก็หาสิ่งขัดข้องไม่ได้” แล้วท่านก็พูดต่อไปว่า “ความจริง ความสว่างของดวงจิตนั้นก็เป็นปกติดีอยู่ แม้มันจะดีบ้างไม่ดีบ้างมันก็เรื่องธรรมดาของสมาธิ แต่ว่าเมื่อจิตพิจารณาที่ไร รู้สึกว่ามันไม่ก้าวไป...”
    หลวงปู่มั่น เห็นสบโอกาส จึงกราบเรียนไปว่า “กระผมคิดว่าคงมีอะไรสักอย่างเป็นเครื่องห่วง”
    หลวงปู่ใหญ่ จึงย้อนถามลูกศิษย์กลับไปว่า “แล้วเธอรู้ไหมว่าเรามีอะไรเป็นเครื่องห่วง?”
    หลวงปู่มั่น จึงได้เรียนตอบตามความรู้ที่ท่านได้ทราบเมื่อคราวอยู่ถ้ำสาริกาในทันทีว่า “ท่านอาจารย์ห่วงเรื่องการปรารถนาพระปัจเจกโพธิกระมัง?
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านเห็นด้วย จึงพูดว่า “แน่ทีเดยว ในจิตของเราตั้งอยู่ว่า จะขอให้รู้ธรรมเองโดยมิต้องให้ใครมาแนะหรือบอกให้ และมันก็ตั้งอยู่ในใจของเรามาตลอด”
    หลวงปู่มั่น จึงได้ถวายความเห็นว่า “ขอให้ท่านอาจารย์อย่าเป็นห่วงเลย ขอให้พิจารณาอริยสัจจ์เพื่อความพ้นทุกข์เสียแต่ชาตินี้เถิด เพราะกระผมเองก็ปรารถนาพระโพธิญาณและกระผมก็ได้ละความปรารถนานั้นแล้ว เนื่องด้วยว่าการท่องเที่ยวในสังสารวัฏฏ์นี้มันนานเหลือเกิน”
    การสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์ข้างต้นนี้ได้จากบันทึกของ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ที่ได้รับฟังมาจากหลวงปู่มั่นโดยตรง แล้วหลวงพ่อวิริยังค์ได้เขียนต่อไปว่า
    “ในวันนั้นท่านอาจารย์เสาร์ ต้องประหลาดใจที่ศิษย์ของท่านได้ล่วงรู้ถึงความจริงอันปรากฏอยู่ในใจของท่าน ซึ่งท่านไม่เคยปริปากบอกใครเลย ฉะนั้น จึงทำให้ท่านรู้สึกว่า ท่านอาจารย์มั่นนี้ ต้องมีความดีความจริงชัดเจนในใจอย่างแน่นอน ในวันนั้นก็ได้คุยกันเพียงเท่านี้แล้วก็เลิกกันไป”
    <table id="table29" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระศรีสุพลพุทธวิเวกที่ถ้ำภูผากูด
    พระอาจารย์เสาร์เป็นผู้นำในการสร้าง
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๖๒
    พบวิมุตติสมปรารถนา
    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้
    “อยู่มาวันหนึ่ง ท่านอาจารย์เสาร์ได้ไปนั่งอยู่ที่สงัดเฉพาะองค์เดียว เริ่มด้วยการพิจารณาถึงอริยสัจจ์โดยอุบายอย่างหนึ่งคือ การพิจารณากายจนชัดแจ้งประจักษ์ เกิดนิพพิทาญาณ - ความเบื่อหน่ายขึ้น
    และ ท่านก็เริ่มดำเนินจิต เจริญให้มาก กระทำให้มากจนเป็นญาณ สามารถทวนกระแสมาถึงที่ตั้งของจิตได้ และวันนั้น ท่านก็ตัดเสียซึ่งความสงสัยได้อย่างเด็ดขาด
    ในบันทึกมีต่อไปว่า :-
    “เมื่อได้รับการอธิบายจากท่านอาจารย์มั่น ซ้ำอีกว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ควรจะเจริญให้มาก จนกว่าจะพอแก่ความต้องการ
    เมื่อถึงกาลปวารณาออกพรรษา ท่าน (หลวงปู่ใหญ่) ก็ทราบชัดถึงความเป็นจริงทุกประการ และท่านก็บอกแก่อาจารย์มั่นว่า
    เราได้เลิกการปรารถนาพระปัจเจกโพธิแล้ว และเราก็ได้เห็นธรรมจริงแล้ว
    เมื่อท่านอาจารย์มั่นได้ฟัง ก็ได้พูดให้ความแน่ใจว่าเป็นจริงเช่นนั้นแล้ว ต่างก็อิ่มเอิบในธรรม
    สาธุ ! สาธุ ! สาธุ !
    แม้ในบันทึกไม่ได้เขียนไว้ แต่ผู้เขียนก็เชื่อว่าเหล่าเทพเทวดาต่างก็อนุโมทนาสาธุการอย่างสนั่นหวั่นไหว กระเทือนไปทั้งสามโลกธาตุอย่างแน่นอน
    <table id="table22" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td rowspan="2"> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> <td rowspan="2"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    วัดถ้ำจำปากันตสีลาวาส ภูผากูด อ หนองสูง จ.มุกดาหาร
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๖๓
    บันทึกของท่านหลวงตาฯ
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เขียนถึงการปล่อยวางความปรารถนาพระปัจเจกโพธิของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ในหนังสือประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-
    “ท่าน (หลวงปู่มั่น) เล่าว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ เดิมท่านปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า เวลาออกบำเพ็ญ พอเร่งความเพียรเข้ามากๆ ใจรู้สึกประหวัดๆ ถึงความปรารถนาเดิมเพื่อความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แสดงออกมาเป็นเชิงอาลัยเสียดาย ยังไม่อยากไปนิพพาน
    ท่าน (หลวงปู่เสาร์) เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อความเพียรเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ ท่านเลยอธิษฐานของดจากความปรารถนานั้น และขอประมวลมาเพื่อความรู้แจ้งซึ่งพระนิพพานในชาตินี้ ไม่ขอเกิดมารับความทุกข์ทรมานในภพชาติต่างๆ อีกต่อไป
    พอท่านปล่อยวางความปรารถนาเดิมแล้ว การบำเพ็ญเพียรรู้สึกสะดวกและเห็นผลไปโดยลำดับ ไม่มีอารมณ์เครื่องเกาะเกี่ยวเหมือนแต่ก่อน
    สุดท้ายท่านก็บรรลุถึงแดนแห่งความเกษมดังใจหมาย
    ท่านหลวงตาฯ ได้เขียนต่อไปว่า “...แต่การแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ท่านไม่ค่อยมีความรู้แตกฉานกว้างขวางนัก ทั้งนี้อาจจะเป็นไปตามภูมินิสัยเดิมของท่านที่มุ่งเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตรัสรู้เองชอบ แต่ไม่สนใจสั่งสอนใครก็ได้
    อีกประการหนึ่ง ที่ท่านกลับความปรารถนาได้สำเร็จตามใจนั้นคงอยู่ในขั้นพอแก้ไขได้ ซึ่งยังไม่สมบูรณ์เต็มภูมิแท้
    คำพูดประโยคหลังนี้ ผมก็ไม่เข้าใจหรอกครับ เชิญพิจารณาเองหรือถามผู้รู้ท่านอื่นเอาเถอะครับ
    <table id="table30" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td>
    ข้อความจารึกไว้ข้างผนังถ้ำ
    </td> <td>
    ถ้ำแม่ขาว
    ที่เชื่อกันว่าเป็นที่พำนักของแม่ชีจันทร์
    ผู้เป็นโยมมารดาของหลวงปู่มั่น
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    คุณปู่กำนันมหาปาน แสนสุข
    เคยบวชเป็นสามเณรอยู่กับ
    พระอาจารย์เสาร์ที่ภูผากูด
    </td></tr></tbody></table>​
     
  2. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    [​IMG]
    ๖๔
    หลวงปู่ใหญ่นั่งสมาธิแล้วตัวลอย
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้เล่าถึงปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ตามคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ดังนี้ :-
    ท่าน (หลวงปู่มั่น) เล่าว่า นิสัยของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆ และเยือกเย็นน่าเลื่อมใสมาก
    ที่มีแปลกอยู่บ้าง ก็เวลาท่านเข้าที่นั่งสมาธิ ตัวของท่านชอบลอยขึ้นเสมอ บางครั้งตัวลอยขึ้นไปจนผิดสังเกต เวลาท่านนั่งสมาธิอยู่
    ท่านเองเกิดความแปลกใจในขณะนั้นว่า ตัวเราท่าจะลอยขึ้นจากพื้นแน่ๆ เลยลืมตาขึ้นดูตัวเอง ขณะนั้นจิตท่านถอนออกจากสมาธิพอดี เพราะพะวักพะวงกับเรื่องตัวลอย ท่านเลยตกลงมาก้นกระแทกกับพื้นอย่างแรง ต้องเจ็บเอวอยู่หลายวัน
    ความจริงตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นจริงๆ สูงประมาณ ๑ เมตรขณะที่ท่านลืมตาดูตัวเองนั้น จิตได้ถอนออกจากสมาธิ จึงไม่มีสติพอยับยั้งไว้บ้าง จึงทำให้ท่านตกลงสู่พื้นอย่างแรง เช่นเดียวกับสิ่งต่างๆ ตกลงจากที่สูง
    หลวงปู่ใหญ่ ท่านพยายามหาวิธีใหม่
    ในคราวต่อไป เวลาท่านนั่งสมาธิ พอรู้สึกว่าตัวท่านลอยขึ้นจากพื้นดิน ท่านพยายามทำสติให้อยู่ในองค์ของสมาธิแล้วค่อยๆ ลืมตาขึ้นดูตัวเอง ก็ประจักษ์ว่า ตัวท่านลอยขึ้นจริงๆ !
    แต่... มิได้ตกลงสู่พื้นเหมือนคราวแรก เพราะท่านมิได้ปราศจากสติ และคอยประคองใจให้อยู่ในองค์สมาธิ ด้วยเหตุนี้หลวงปู่ใหญ่ท่านจึงรู้เรื่องของท่านได้ดี และจับหลักได้
    เนื่องจากหลวงปู่ใหญ่ ท่านเป็นคนละเอียดถี่ถ้วนอยู่มาก แม้จะเห็นด้วยตาท่านก็ยังไม่แน่ใจ ก่อนนั่งสมาธิครั้งต่อไป ท่านจึงเอาวัตถุเล็กๆ เบาๆ เช่น กลักไม้ขีดไปเหน็บไว้กับหญ้ามุงหลังคากุฏิ
    แล้วท่านก็เริ่มนั่งสมาธิ พอจิตสงบและรู้ว่าตัวเริ่มลอยขึ้นอีก ท่านพยายามประคองจิตให้มั่นอยู่ในสมาธิ เพื่อตัวจะได้ลอยขึ้นไปจนถึงวัตถุเครื่องหมายที่นำไปเหน็บไว้ แล้วค่อยๆ เอื้อมมือจับเอาวัตถุนั้นด้วยความมีสติ แล้วนำลงมาโดยทางสมาธิภาวนา
    คือ พอหยิบได้วัตถุนั้นแล้ว ก็ค่อยๆ ถอนจิตออกจากสมาธิ เพื่อกายจะได้ค่อยๆ ลงมาจนถึงพื้นอย่างปลอดภัย แต่ไม่ถึงกับให้จิตถอนออกจากสมาธิจริงๆ
    หลวงปู่ใหญ่ ได้ทดลองทำหลายครั้งจนเป็นที่แน่ใจแล้ว ท่านจึงมั่นใจว่าตัวท่านเองลอยขึ้นได้จริงในเวลาเข้าสมาธิ คือ ลอยขึ้นได้ในบางครั้ง มิได้ลอยขึ้นทุกครั้งเสมอไป
    ท่านหลวงตาพระมหาบัวฯ สรุปว่า “นี้เป็นจริตนิสัยแห่งจิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ รู้สึกผิดกับนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นอยู่มากในปฏิปทาทางใจ
    จิตของท่านพระอาจารย์เสาร์ เป็นไปอย่างเรียบๆ สงบเย็นโดยสม่ำเสมอ นับแต่ขั้นเริ่มแรกจนถึงสุดท้ายปลายแดนแห่งปฏิปทาของท่าน ไม่ค่อยล่อแหลมต่ออันตราย และไม่ค่อยมีอุบายต่างๆ และความรู้สึกแปลกๆ เหมือนจิตท่านพระอาจารย์มั่น
    หมายเหตุ ผู้เขียนเคยได้ฟังเรื่องการเหาะของหลวงปู่มั่น ในคราวที่ท่านบำเพ็ญเพียรอยู่ถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
    เรื่องนี้หลวงพ่อเปลี่ยน ปญฺญาปทีโป เป็นผู้เล่าให้ผู้เขียนและอาจารย์ภัทราฟัง ท่านบอกว่าหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เล่าให้ท่านฟัง
    คราวอยู่ถ้ำเชียงดาว หลวงปู่มั่นพักอยู่ที่ถ้ำด้านบน ส่วนถ้ำใหญ่ข้างล่างเป็นที่มารวมฉันภัตตาหารและการอบรมสั่งสอนศิษย์ซึ่งศิษย์แต่ละองค์แยกย้ายกันอยู่คนละที่ห่างๆ กัน
    ปกติลูกศิษย์จะมารวมฉันภัตตาหารทุกๆ เช้า แต่องค์หลวงปู่มั่น ท่านจะลงมารวมฉัน ๔ วันต่อครั้ง ทำให้หลวงปู่ตื้อ สงสัย เช้ามืดจึงได้ไปหมอบแอบดูที่ปากถ้ำ หลวงปู่ตื้อเล่าว่า “เห็นเพิ่นห่มจีวร สะพายบาตร แล้วเหาะข้ามหัวอาตมาไป”หลวงปู่ตื้อ แอบดูอยู่ ๒ - ๓วัน เหตุการณ์ก็เป็นเช่นนั้น และท่านทราบภายหลังว่าหลวงปู่มั่นเพิ่นเข้าฌาณเหาะไปบิณฑบาตโปรดชาวเมือง เชียงใหม่พวกอาตมาก็เลยเลิกเป็นห่วงท่าน
    ”ถ้าท่านผู้อ่านเห็นว่า เหลือเชื่อ...ก็เหลือเชื่อจริงๆ ครับ !
    ๖๕
    บวชชีให้โยมมารดาของหลวงปู่มั่น
    ตามประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต หลังจากที่ท่านบรรลุธรรมขั้น ๓ คือ อนาคามิผล ที่ถ้ำสาริกาแล้ว ท่านได้รับนิมนต์ไปจำพรรษาในกรุงเทพฯ ๑ พรรษา
    ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่มั่น ได้เดินทางกลับจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อตอบแทนผู้มีพระคุณ คือไปให้สติ พระอาจารย์สีทา ชยเสโน พระกรรมวาจารย์ของท่าน ซึ่งพำนักอยู่ที่วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ ทำให้พระอาจารย์ของท่านปฏิบัติธรรมก้าวหน้าไปได้อย่างน่าพอใจ และชื่นชมในความเฉลียวฉลาดและความกตัญญูของศิษย์
    หลังจากนั้น หลวงปู่มั่น ก็เดินทางไปบ้านคำบง บ้านเกิดเพื่อโปรดโยมมารดา ยังความปลื้มปีติให้โยมมารดายิ่งนัก
    หลวงปู่มั่น ได้เล่าเรื่องการเดินธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ทั้งในฝั่งลาว พม่า และตามป่าเขาในประเทศไทย ตลอดจนผลการปฏิบัติภาวนาให้โยมมารดาฟัง รวมทั้งเทศน์โปรดชี้แนะแนวทางปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ยังความปลาบปลื้มและเลื่อมใสศรัทธาแก่โยมมารดายิ่งนัก
    โยมมารดาของท่านเกิดความศรัทธาแรงกล้า จนได้ลาลูกหลานออกบวชชีจนตลอดชีวิต โดยมีหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เป็นผู้บวชให้ แต่ไม่มีหลักฐานชี้ชัดว่าท่านบวชชีที่ไหนกันแน่ บางท่านบอกว่าท่านบวชชีที่บ้านคำบง แล้วติดตามไปบำเพ็ญเพียรอยู่กับหลวงปู่ใหญ่ ที่ถ้ำภูผากูด และบางท่านก็บอกว่าท่านไปบวชชีกับหลวงปู่ใหญ่ที่ถ้ำภูผากูด
    ผู้เขียนขอทิ้งประเด็นเรื่องสถานที่บวชชีของโยมแม่ของหลวงปู่มั่นไว้ แต่ชี้ให้ทราบว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ หลังจากได้ฟังเทศน์จากพระลูกชายคือ หลวงปู่มั่น แล้ว โยมแม่ก็ออกเดินทางติดตามหลวงปู่มั่น ไปพักบำเพ็ญอยู่ที่ถ้ำภูผากูด โดยไปถึงทีหลังพระลูกชาย
    เท่าที่ผู้เขียนได้สืบค้นจากแหล่งต่างๆ พอจะชี้ชัดได้ว่า ก่อนเข้าพรรษาปี พ ศ. ๒๔๕๘ แม่ชีจันทร์ โยมมารดาของหลวงปู่มั่น ได้อุตส่าห์เดินทางออกจากจังหวัดอุบลฯ ด้วยความล้มลุกคลุกคลานไปตามวิบากของคนแก่เฒ่า ติดตาม หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่นพระลูกชาย มาจนถึงถ้ำจำปา บนภูผากูด
    หลวงปู่ใหญ่ ได้กำหนดให้ โยมแม่ชีจันทร์ พักอยู่ที่เงื้อมผาแถบนั้น ซึ่งต่อมาเรียกว่า ถ้ำแม่ขาว เป็นที่ปฏิบัติธรรม
    แม่ชีจันทร์ โยมมารดาของหลวงปู่มั่น ท่านมีจิตใจที่มั่นคงเด็ดขาด แม้จะอยู่ในวัยสังขารร่วงโรยก็ตาม แต่จิตใจของท่านหาได้เสื่อมถอยไปตามสังขารไม่ กลับมีความแจ่มใสเบิกบานเป็นอย่างยิ่ง ถ้าแม้จิตใจไม่แน่วแน่จริง คงไม่สามารถฟันฝ่าอุปสรรค นำพาสังขารของท่านผ่านป่าผ่านดง ที่เต็มไปด้วยสัตว์อันตรายต่างๆ จำพวกช้าง เสือ หมี งู ตะขาบป่า มาได้แน่
    ด้วยจิตใจที่แจ่มใส มั่นคง สงบเยือกเย็นนี้ เป็นผลดีในการภาวนาของแม่ชีจันทร์เป็นอย่างมาก การปฏิบัติของท่านได้ผลเป็นอย่างมาก
    ท่านแม่ชีจันทร์ ได้เร่งความเพียรเป็นยิ่งยวดไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน อยู่ ณ ภูผากูดแห่งนี้ นับว่าเป็นวาสนาของท่านแม่ชีจันทร์ที่มีท่านหลวงปู่ใหญ่ กับ หลวงปู่มั่น จำพรรษาอยู่ที่เดียวกันให้การแนะนำและอุบายธรรมที่สุดวิเศษในพรรษานั้น
    ๖๖
    ถ้ำจำปา ภูผากูดในปัจจุบัน
    ทราบแต่เพียงว่าหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พักจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำภูผากูด อยู่นานถึง ๕ ปี แต่ไม่ทราบว่าเป็นปีใดถึงปีใดเป็นการแน่นอน ที่ระบุชัดคือในพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๕๙ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กับ คุณแม่ชีจันทร์ โยมมารดาของท่านได้มาพักจำพรรษาอยู่ในสถานที่นี้ด้วย
    ปัจจุบัน ถ้ำภูผากูดอยู่ในพื้นที่ตำบลหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนถึงถ้ำภูผากูด ดังนี้
    “ปัจจุบันภูผากูด เป็นภูเขาขนาดกลางลูกหนึ่งในหมู่เทือกเขาแถบนี้ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากในหมู่บ้าน ต.หนองสูง อ.คำชะอี ตั้งอยู่ห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ราว ๕ กม. เท่านั้น โดยแยกเข้าทางบ้านคันแท ต.หนองสูง อ.คำชะอี
    เดินลัดตัดทุ่งนาไปถึงเชิงเขา มีป่าโปร่งเป็นที่พักสงฆ์ มีนามว่าวัดถ้ำจำปากันตสีลาวาส
    มองขึ้นไปตามไหล่เขาจะเห็นจุดที่เป็นเพิงผานี้อยู่สูงขึ้นไปพอประมาณ มีทางวกวนขึ้นไปถึงข้างบน ซึ่งมีลานตรงกลางโล่งๆ เป็นหลืบใต้ชะง่อนเพิงผา ถ่ายเทอากาศได้ดี มีชื่อเรียกว่า ถ้ำจำปา มีศาลาไม้ยกพื้นสูงเพียงเอวสร้างขึ้นใต้เพิงผานี้ชื่อ ศาลาธรรมสภามังคลา
    ห่างออกไปทางขวามือ จะเป็นถ้ำลักษณะเดียวกันแต่เล็กกว่าเรียก ถ้ำแม่ขาว (แม่ขาว คือแม่ชี) ว่ากันว่าเป็นที่พักของแม่ชีจันทร์ ผู้เป็นมารดาของท่านหลวงปู่มั่นนั่นเอง
    ส่วนถัดไปทางซ้ายมือ จะมีพระพุทธรูปใหญ่ปูนปั้นประดิษฐานบนแท่นหินและปูนหันหลังพิงหน้าผา ต่ำลงมาตรงแท่นข้างซ้าย มีรอยพระพุทธบาทจำลองอยู่ด้วย
    เลยไปอีกเป็นเนินขวางทางเดิน ต้องปีนบันได้ขึ้นไปใต้เพิงผาเป็นที่นั่งภาวนาพิจารณาธรรม
    สภาพป่าเป็นป่าโปร่ง ไม่เป็นดงทึบมากนัก มีป่าไผ่ ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้มะค่า อยู่
    อาจารย์พิศิษฐ์ เขียนบรรยายต่อไปว่า
    “ด้วยความรอบรู้ชำนาญชีวิตป่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้หาสถานที่พอเหมาะสม ถ้ำที่พักก็อยู่ไม่สูงจนเกินไป ป่าก็โปร่งดี ไม่ทึบอับชื้น ข้างล่างมีลำธารน้ำไหลผ่าน
    สมัยก่อนนั้น พ่อแม่ครูอาจารย์เล่าว่า แถวนี้เต็มไปด้วยเสือส่งเสียงหยอกล้อกันเพ่นพ่าน ทำให้พระเณรต้องหมั่นเร่งภาวนาจิตอย่างยิ่งยวด ซึ่งสถานที่แห่งนี้เองเป็นที่ที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้เลือกพำนักอยู่ท่ามกลางแมกไม้ สัตว์ป่า อย่างสงบยาวนานร่วม ๕ ปี
    ๖๗
    หลวงปู่มั่นออกธุดงค์ต่อ
    หลังจากที่ท่านแม่ชีจันทร์ โยมมารดาของหลวงปู่มั่น ได้บวชชีและมีที่พักบำเพ็ญเพียรที่ภูผากูด ภายในสำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำให้หลวงปู่มั่นมีความสบายใจหายห่วงโดยมั่นใจว่าโยมแม่ชีของท่านต้องพอใจในสำนักของพระอาจารย์ได้อย่างดีแน่
    พอออกพรรษา ปี พ.ศ. ๒๔๕๙ แล้ว หลวงปู่มั่น พร้อมคณะก็กราบลาหลวงปู่ใหญ่ ออกธุดงค์ไปอบรมเผยแพร่ธรรมปฏิบัติให้แก่ประชาชนตามสถานที่ต่างๆ ต่อไป
    หลวงปู่มั่น และคณะได้ออกธุดงค์ไปเผยแพร่ธรรมะทางจังหวัดอุดรธานี จังหวัดเลย จังหวัดหนองคาย จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๖๔ จึงย้อนกลับมาเยี่ยมแม่ชีมารดา และพระอาจารย์ที่ภูผากูดอีกครั้ง
    พอถึงฤดูเข้าพรรษาหลวงปู่มั่น และคณะได้พักจำพรรษาที่บ้านห้วยทราย ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับภูผากูด นั่นเอง
    ดังนั้น เราจึงมั่นใจได้ว่า ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๕๙ - ๒๔๖๔ หลวงปู่ใหญ่ ท่านพักจำพรรษาอยู่ที่ภูผากูด แห่งนี้ ส่วนระหว่างช่วงออกพรรษาไม่มีการบันทึกว่าท่านออกธุดงค์ไปที่ใดบ้าง นอกจากปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ท่านเดินทางไปนครพนม แล้วออกธุดงค์ไปฝั่งลาวแล้วกลับมาจำพรรษาที่ภูผากูดเหมือนเคย ดังเรื่องราวในตอนต่อไป
    ๖๘
    เยือนนครพนมแล้วธุดงค์ไปฝั่งลาว
    ออกพรรษาปี พ ศ. ๒๔๖๔ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ออกเดินทางไปทางนครพนม ได้แวะเยี่ยมลูกศิษย์ของท่านคือ เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย ที่สำนักวัดศรีเทพประดิษฐาราม บริเวณวัดยังมีสภาพเป็นป่าซึ่งเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา หลวงปู่ใหญ่ ได้พักที่วัดนั้นอยู่ระยะหนึ่ง
    ต่อจากนั้น หลวงปู่ใหญ่ ได้ออกธุดงค์ข้ามแม่น้ำโขงไปยังฝั่งประเทศลาว เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย ได้ติดตามไปด้วย
    คณะของหลวงปู่ใหญ่ ออกธุดงค์ไปทางเมืองท่าแขกซึ่งอยู่ตรงข้ามจังหวัดนครพนม แถบนั้นมีภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน มีเถื่อนถ้ำเงื้อมผาอยู่มากมาย เหมาะที่จะบำเพ็ญเพียรเป็นอย่างยิ่ง
    เมื่อ ๒๐ ปีก่อนนี้ หลวงปู่ใหญ่ ได้เคยพาหลวงปู่มั่นมาธุดงค์ในแถบถิ่นนี้ จนพากันล้มป่วยด้วยได้มาเลเรียจนแทบจะเอาชีวิตไม่รอดมาแล้ว
    มาครั้งนี้ หลวงปู่ใหญ่ ท่านคุ้นและชำนาญภูมิประเทศมากขึ้นจึงไม่ค่อยลำบากลำบนเหมือนกับครั้งแรก เมื่อท่านเดินธุดงค์ผ่านไปถึงหมู่บ้านใด ก็จะชี้แจงแสดงธรรมอบรมให้ชาวบ้านตั้งมั่นอยู่ในศีลห้าและยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอาศัย รวมทั้งสอนให้รู้จักสวดมนต์ รู้จักภาวนา
    การออกธุดงค์ของหลวงปู่ใหญ่ และคณะในครั้งนี้ ไม่มีบันทึกว่าท่านไปนานเท่าใด แต่พอประมาณได้ว่า เมื่อถึงฤดูกาลเข้าพรรษา ท่านกลับมาพักจำพรรษาที่ภูผากูด ซึ่งน่าจะเป็นพรรษาที่ ๕ ที่ท่านพำนักอยู่ ณ สถานที่นั้น
    และในพรรษาเดียวกันนั้น หลวงปู่มั่น ลูกศิษย์ของท่าน ได้พักจำพรรษาที่บ้านห้วยทราย ไม่ห่างไกลจากภูผากูด ไปมาหาสู่กันได้สะดวก
    <table id="table16" border="0" width="122"><tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    ทัศนียภาพแม่น้ำโขงและภูเขาเมืองท่าแขก ประเทศลาว
    </td></tr></tbody></table>
     
  3. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๖๙
    การธุดงค์และจำพรรษาร่วมกับหลวงปู่มั่น
    ท่านหลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ได้พูดถึงความผูกพันระหว่างหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับศิษย์เอกของท่านคือ หลวงปู่มั่นภูริทตฺโต ดังนี้
    “ท่านพระอาจารย์ทั้งสององค์นี้ (หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่มั่นรักและเคารพกันมาก ในระยะต้น ไปที่ไหนท่านชอบไปด้วยกัน อยู่ด้วยกันทั้งในและนอกพรรษา
    พอมาถึงวัยกลางผ่านไป เวลาพักจำพรรษามักแยกกันอยู่ แต่ไม่ห่างไกลกันนัก พอไปมาหาสู่กันได้สะดวก มีน้อยครั้งที่จำพรรษาร่วมกัน ทั้งนี้อาจเกี่ยวกับบรรดาศิษย์ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็มีมากด้วยกัน และต่างก็เพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที ถ้าจำพรรษาร่วมกันจะเป็นความลำบากในการจัดที่พักอาศัย จำต้องแยกกันอยู่เพื่อเบาภาระในการจัดที่พักอาศัยได้บ้าง
    ทั้งสองพระอาจารย์ ขณะที่แยกกันอยู่จำพรรษา หรือนอกพรรษา รู้สึกคิดถึงกันมากและเป็นห่วงกันมาก เวลามีพระที่เป็นลูกศิษย์ของแต่ละฝ่ายมากราบนมัสการ จะมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์เสาร์ หรือมากราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ต่างจะต้องถามถึงความสุขทุกข์ของกันและกันก่อนเรื่องอื่นๆ จากนั้นก็บอกกับพระที่มากราบว่า “คิดถึงท่านพระอาจารย์.. ” และฝากความเคารพคิดถึงไปกับพระลูกศิษย์ที่มากราบเยี่ยมตามสมควรแก่ “อาวุโสภันเต” ทุกๆ ครั้งพระมากราบพระอาจารย์ทั้งสองแต่ละองค์
    ท่านมีความเคารพในคุณธรรมของกันและกันมากไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรืออยู่ไกล เวลาพระอาจารย์ทั้งสอง องค์ใดองค์หนึ่งพูดปรารภถึงกันและกันให้บรรดาลูกศิษย์ฟัง จะมีแต่คำที่เต็มไปด้วยความเคารพและความยกยอสรรเสริญโดยถ่ายเดียว ไม่เคยมีแม้คำเชิงตำหนิแฝงขึ้นมาบ้างเลย
    หลวงปู่มั่น เล่าให้ท่านหลวงตาพระมหาบัว ฟังอีกตอนหนึ่งว่า เวลาท่านออกเที่ยวธุดงค์กรรมฐานทางภาคอิสาน ตามจังหวัดต่างๆ ในระยะต้นวัย ท่านมักจะไปกับหลวงปู่ใหญ่เสาร์เสมอ แม้ความรู้ทางภายในจะมีแตกต่างกันบ้างตามนิสัย แต่ก็ชอบไปด้วยกัน
    ท่านหลวงตาฯ ได้ถ่ายทอดคำบอกเล่าของหลวงปู่มั่นว่า “สำหรับท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ไม่ชอบเทศน์ ไม่ชอบมีความรู้แปลกๆ ต่างๆ กวนใจเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น
    เวลาจำเป็นต้องเทศน์ ท่าน (หลวงปู่ใหญ่เสาร์) ก็เทศน์เพียงประโยคหนึ่งหรือสองเท่านั้น แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปเสีย ประโยคธรรมที่ท่านเทศน์ซึ่งพอจับใจความได้ว่า
    “ให้พากันละบาป และบำเพ็ญบุญ อย่าให้เสียชีวิตลมหายใจไปเปล่าที่ได้มีวาสนามาเกิดเป็นมนุษย์”
    และ
    “เราเกิดเป็นมนุษย์ มีความสูงศักดิ์มาก แต่อย่านำเรื่องของสัตว์มาประพฤติ มนุษย์ของเราจะต่ำลงกว่าสัตว์ และจะเลวกว่าสัตว์อีกมากเวลาตกนรก จะตกหลุมที่ร้อนกว่าสัตว์มากมาย อย่าพากันทำ” แล้วก็ลงธรรมาสน์ไปกุฏิโดยไม่สนใจกับใครต่อไปอีก
    ปกตินิสัยของท่าน (หลวงปู่ใหญ่) เป็นคนไม่ชอบพูด พูดน้อยที่สุด ทั้งวันไม่พูดอะไรกับใครเกิน ๒ - ๓ ประโยค เวลานั่งก็ทนทาน นั่งอยู่ได้เป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมง เดินก็ทำนองเดียวกัน แต่ลักษณะท่าทางของท่านมีความสง่าผ่าเผย น่าเคารพเลื่อมใสมาก มองเห็นท่านแล้วเย็นตาเย็นใจไปหลายวัน ประชาชนและพระเณรเคารพเลื่อมใสท่านมาก ท่านมีลูกศิษย์มากมายเหมือนท่านพระอาจารย์มั่น”
    ๗๐
    หลวงปู่สิงห์ตามมาที่ภูผากูด
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มีบทบาทมากในการเผยแพร่ธรรมะสายวิปัสสนากรรมฐาน และบริหารหมู่สงฆ์แทนหลวงปู่มั่น ในช่วงที่หลวงปู่มั่น ไปพำนักอยู่ทางภาคเหนือ ๑๒ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๘๒
    ระหว่างที่หลวงปู่มั่นเดินทางจากอุบลราชธานี มาตามหาหลวงปู่เสาร์ที่ภูผากูด ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ นั้น หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมก็ได้ออกติดตามหลวงปู่มั่นมาติดๆ แต่พอจวนจะถึงภูผากูด ก็เกิดมีอันล้มเจ็บไข้เสียก่อน จึงได้กลับไปพักรักษาตัวที่เมืองอุบลฯ เมื่อไข้หายดีแล้ว จึงได้ออกติดตามพระอาจารย์ของท่านคือหลวงปู่มั่น มาอีกครั้ง จนมาทันกันที่ภูผากูด และหลังจากนั้นก็ได้ออกปฏิบัติธรรมติดตามหลวงปู่มั่นไปหลายแห่งในภาคอิสาน
    กลุ่มพระกรรมฐานที่ออกปฏิบัติธรรมและเผยแพร่ธรรมในสมัยเริ่มแรกนั้นมี ๓ กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กลุ่มของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กับกลุ่มของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม แต่ละกลุ่มมีพระเณรติดตามเป็นจำนวนมาก
    <table id="table15" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์
    (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)
    </td> <td>
    พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
    (พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี)
    </td> </tr> </tbody></table>​
    เกี่ยวกับการเดินทางของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ในครั้งนั้น ปรากฏในบันทึกของหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ดังนี้
    “เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม กับพระอาจารย์คำ ได้เดินรุกขมูลไปถึงบ้านนาสีดา (บ้านเกิดของหลวงปู่เทสก์).. เรากับบิดาของเราก็ได้ปฏิบัติท่านด้วยความเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างดียิ่ง...”
    ตอนนั้นหลวงปู่เทสก์ ยังเป็นฆราวาสอายุเพียง ๑๔ ปี ท่านบันทึกไว้ว่า “หลวงปู่สิงห์ มีไข้ป่ากำเริบอยู่ตลอดเวลา หลังวันออกพรรษาปีนั้นแล้ว หลวงปู่สิงห์ ได้เดินทางกลับไปจังหวัดอุบลราชธานี โดยที่หลวงปู่เทสก์ ได้ติดตามไปด้วย ต่อมาก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร แล้วอยู่เรียนต่อ จนกระทั่งปี พ ศ ๒๔๖๓ หลวงปู่สิงห์ ก็ออกเที่ยวรุกขมูลกลับมาจังหวัดนครพนม - สกลนคร เพื่อติดตามหลวงปู่มั่น ต่อไป”
    ๗๑
    ธุดงค์มาทางสกลนคร
    ในปี พ ศ. ๒๔๖๕ หลวงปู่ทั้งสององค์ คือ หลวงปู่ใหญ่เสาร์กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมพระเณรกลุ่มใหญ่ ได้ธุดงค์มาพักที่ป่าริมหนองน้ำบาก ใกล้บ้านหนองลาด ต.หนองลาดอ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร
    จากการเสาะหาข้อมูลของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนไว้ว่า “ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ และหลังจากนั้นในพรรษากาลอีก ๒ ปีต่อมา สันนิษฐานว่าท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้พำนักจำพรรษาอยู่ที่นี่ ส่วนท่านหลวงปู่มั่น ได้ไปจำพรรษาที่วัดมหาชัย หนองบัวลำภู อ.หนองบัวลำภู (ปัจจุบันเป็น จ.หนองบัวลำภู) และวัดป่าสารวารีบ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ตามลำดับ”
    ตรงบริเวณที่คณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พักจำพรรษาคือชายป่าริมหนองน้ำบาก ทางตะวันตกท้ายบ้านหนองลาด นั้น ต่อมาได้กลายเป็นวัด เรียกว่า วัดป่าหนองบาก
    ต่อมาภายหลัง เมื่อการศึกษาได้ขยายตัวเข้ามาถึง ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันใช้สถานที่วัดนั้นสร้างเป็นโรงเรียนประชาบาลขึ้น ซึ่งก็คือ โรงเรียนบ้านหนองลาดวิทยาคาร ในปัจจุบัน
    ส่วนวัดป่าหนองบากเดิม ได้ขยับออกไปสร้างใหม่ในป่าทางทิศเหนือ ห่างจากที่เดิมราว ๒ กม. ให้ชื่อว่าวัดป่าราษฎร์สามัคคี มีพระอาจารย์บุญธรรม ปญฺญาสาโร เป็นเจ้าอาวาส ได้พัฒนาขึ้นมาจนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน (ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ มี หลวงปู่ประดิษฐ์ ฐานวโร อายุ ๗๒ ปี เป็นเจ้าอาวาส)
    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่บ้านหนองลาด ในปี พ.ศ. ๒๔๖๕ ตามคำบอกเล่าของ หลวงปู่มั่นภูริทตฺโต ดังนี้ :-
    ท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่น พร้อมด้วยศิษย์ของท่านอาจารย์ทั้ง ๒ รุ่นแรก และผู้เข้ามาฝึกหัดใหม่รวมกันจำนวนมากจำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่า บ้านหนองลาด (ปัจจุบันเป็นโรงเรียนประชาบาล)...นับเป็นเวลา ๗ ปี ที่ท่านอาจารย์มั่นได้เริ่มแนะนำการปฏิบัติธรรมที่ง่ายๆ และได้ผลจริงจังจนถึงปีนี้ และได้มีผู้ที่ได้รับธรรมชั้นสูงจากท่าน จนสามารถสอนธรรมกรรมฐานแทนท่านได้ก็มากองค์
    มาในปีนี้ ท่านอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ใคร่จะได้ปรับปรุงแผนการให้ได้ผลดีขึ้นทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ จึงได้มีการรวมประชุมบรรดาสานุศิษย์ทั้งหลายให้มาจำพรรษา ณ ที่นี้
    แม้ท่านอาจารย์ทั้งสอง จะได้ปรึกษาหารือเกี่ยวกับธรรมปฏิบัติเป็นประจำก็ตาม แต่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้มอบให้ท่านอาจารย์มั่นเป็นผู้วางแผนงาน ตลอดถึงแนะนำธรรมปฏิบัติเพื่อให้พระทุกองค์ได้ยึดเป็นแนวการปฏิบัติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    ทางฝายบรรพชิต (นักบวช) ท่านอาจารย์มั่นได้ยืนยันถึงการที่ได้ปฏิบัติมาและแนะนำมาก่อนแล้วนั้น เป็นทางดำเนินถูกต้องแล้ว ว่าแต่ใครๆ อย่าไปแหวกแนวเข้าก็แล้วกัน เพราะเมื่อดำเนินมาเป็นเวลา ๗ ปีนี้เกิดผลสมความตั้งใจแล้ว คือการปฏิบัติตามอริยสัจจธรรม โดยเฉพาะท่านย้ำถึงการพิจารณากายนี้เป็นหลักประกันที่สำคัญยิ่ง
    ท่านได้ยกตัวอย่างมากมาย นับแต่พระบรมศาสดา และพระสาวกทั้งหลาย ซึ่งผู้ที่จะผ่านเข้าสู่อริยสัจนั้น จะไม่พิจารณากายไม่มีเลย ข้อนี้ท่านยืนยันอย่างแน่วแน่
    การที่ท่านย้ำลงในข้อการพิจารณาโดยอุบายต่างๆ นั้น เพราะกลัวศิษย์จะพากันเข้าใจผิดว่าเป็นการพิจารณาที่ไม่ถูก อาจจะเข้าใจไขว้เขว แล้วจะเป็นการเสียผลเป็นอย่างยิ่ง
    ทั้งท่านอาจารย์มั่น ได้วิตกว่า กลัวผู้ที่ไม่เข้าใจโดยละเอียดถ่องแท้จะพากันเขวหนทาง และพาให้หมู่คณะที่อยู่ในปกครองเขวหนทางตามไปด้วย เพราะท่านได้นิมิตภายในสมาธิของท่าน ณ ค่ำคืนวันหนึ่ง ว่า
    “ขณะนั้นเป็นเวลาเช้า เราได้พบพระภิกษุสามเณรเป็นจำนวนมากเข้าไปบิณฑบาตในละแวกบ้าน ในนิมิตนั้นเป็นที่น่าประหลาดใจ คือพระภิกษุสามเณรที่เดินตามเรามาดีๆ ก็เกิดมีพวกหนึ่งแซงซ้ายบ้าง แซงขวาบ้าง ขึ้นหน้าเราไป บางพวกก็เลยเดินออกไปนอกทางเสีย และก็มีอีกพวกหนึ่งที่เดินตามเราไป”
    การนิมิตเช่นนี้ ท่านได้เล่าให้ศิษย์ในที่นั้นฟัง พร้อมทั้งอธิบายว่า ที่มี พวกภิกษุสามเณรแซงท่านขึ้นไปข้างหน้านั้น คือ บางพวกจะพากันอวดตัวว่าเก่งว่าดี แล้วก็จะละจากข้อปฏิบัติที่เราได้พาดำเนิน ครั้นแล้วก็จะเกิดความเสื่อมเสีย ไม่ได้ผลตามที่ได้เคยได้ผลมาแล้ว ซึ่งเขาเหล่านั้นก็จะมาอ้างว่าเป็นศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น แต่ที่ไหนได้ พากันหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตางๆ ที่เรากำหนดไว้ ที่สุดแม้แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เช่น สีจีวร เป็นต้น การจะปฏิบัติเพื่อการพิจารณากายอันนับเนื่องด้วยอริยสัจธรรม ก็ยิ่งห่างไกล
    จำพวกหนึ่งเดินออกนอกทาง คือจำพวกนี้ เพียงแต่ได้ยินกิตติศัพท์เราแล้ว ก็อ้างว่าเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ ของท่านอาจารย์มั่น บางที่จะยังไม่เคยเห็นหน้าเราด้วยซ้ำ และก็หาได้รู้อุบายแยบคายในการปฏิบัติแต่อย่างใดไม่ หรือพวกที่เคยอยู่กับเรามา แต่เมื่ออยู่กับเราก็เคร่งครัดเพราะกลัว แต่พอออกจากเราไปแล้ว ก็ไม่นำพาในข้อธรรมและการปฏิบัติของเรา เพียงแต่มีชื่อว่าเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ ของท่านอาจารย์มั่น เท่านั้น แต่ไม่มีข้อปฏิบัติอันใดที่จะถือได้ว่าเป็นแนวทาง เป็นตัวอย่าง อันนำมาจากเราเลย
    จำพวกหนึ่งที่เดินตามหลังเราไปนั้น จำพวกนี้เป็นผู้ดำเนินตามคำแนะนำของเรา ทั้งภายนอกและภายใน เป็นผู้ใคร่ต่อธรรม ต้องการพ้นทุกข์ในวัฏสงสาร พยายามศึกษาหาความรู้ทุกๆ ประการที่มีความสนใจ ต่อหน้าหรือลับหลังก็เหมือนกัน รับข้อปฏิบัติแม้เล็กน้อย รักษาไว้ด้วยชีวิตจิตใจ เพราะจำพวกนี้ ได้รับผลแห่งการปฏิบัติมากับเรา แล้วเกิดผลอันละเอียดอ่อนจากข้อวัตรปฏิบัติเหล่านี้ ก็เป็นที่แน่นอนว่าจะแปรผันเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้
    พวกที่ออกนอกลู่นอกทางนั้นคือ เขาเหล่านั้นไม่ได้รับผลอย่างจริงจังจากการปฏิบัติอยู่กับเรา เพราะเหตุที่ไม่ได้ผลจริงนั้นเอง ทำให้เกิดความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ
    แต่พวกที่เดินตามเราย่อมได้รับความเจริญ
    การที่หลวงปู่มั่น ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในอนาคตของศิษย์ของท่านเพื่อเตือนสติให้พระเณรรุ่นหลังให้ระลึกถึงความที่ว่า ธรรมปฏิบัติที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น ได้ลงทุนลงแรงพากเพียรพยายามทำตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จนบังเกิดผลดีมหาศาล จะพึงอยู่ได้นานเพียงใดนั้น ก็แล้วแต่ศิษย์ทั้งหลายจะพากันมีสติปัญญาหรือพากเพียรให้เกิดผลจริงจัง จะรักษาการปฏิบัติเหล่านี้ได้ ถ้าใครจักพึงกล่าวว่าเป็นศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์ของท่านอาจารย์มั่น เขาก็จะได้รักษาไว้ซึ่งข้อวัตรปฏิบัติของอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น ผลที่ได้ก็จะได้สมจริง
    ที่กล่าวนี้เป็นการสอนแนวทางปฏิบัติสำหรับพระเณร
    สำหรับแนวทางปฏิบัติทางด้านฆราวาสนั้น ท่านเน้นหนักเรื่องการเชื่อ เพราะปรากฏว่าพุทธบริษัทบางพวก พากันไปนิยมนับถือในสิ่งที่ผิดเสียมาก เช่น นับถือภูตผีปีศาจ นับถือศาลเจ้า นับถือการเข้าทรง นับถือเทพเจ้าต่างๆ นับถือศาลพระภูมิ นับถือต้นไม้ใหญ่ ถืออารามเก่าแก่ ถือภูเขาเลากา เป็นต้น การนับถือสิ่งเหล่านั้นผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยแท้
    เป็นการนับถือที่งมงาย ผู้ที่เป็นพุทธบริษัทไม่ควรที่จะนับถือสิ่งเหล่านี้ เมื่อถือสิ่งเหล่านี้เข้าก็เท่ากับการอ่อนการศึกษา คือขาดปัญญาในทางพระพุทธศาสนา ทั้งๆ ที่เขาเหล่านั้นได้ปฏิญาณตนว่าได้ถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว กลับมีจิตใจกลับกลอกหลอกลวงตนเอง ไม่นับถือจริง เพราะถ้านับถือจริง ก็ต้องไม่นับถือสิ่งที่งมงายที่พระพุทธองค์ทรงตำหนิแล้ว
    ดังนั้น จึงปรากฏในภายหลังว่า ภิกษุผู้เป็นชั้นหัวหน้า ผู้ที่ได้รับการอบรมจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น แล้ว จะต้องรู้จักวิธีการแก้ไขผู้นับถือผิดเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ หรือสิ่งต่างๆ ดังกล่าว ได้ทุกองค์ ถ้าแก้สิ่งงมงายเหล่านี้ไม่เป็น หรือพลอยนับถือสิ่งผิดๆ ไปกับเขาด้วย ก็รู้ได้ทันทีว่าไม่ใช่ศิษย์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ไม่ใช่ศิษย์หลวงปู่มั่นแน่นอน
    เพราะว่าการแก้เรื่องภูตผีปีศาจเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากการนับถือสิ่งเหล่านี้ฝังอยู่ในสันดานมานานแล้ว และสถานที่อันถือว่เป็นเทวสถานหรือภูตผีอยู่ ชาวบ้านก็ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ นอกจากพากันเซ่นไหว้ กราบไหว้แล้ว ยังพากันหวาดกลัว ไม่กล้าถ่ายถอนหรือกำจัดออกไป
    หลวงปู่มั่น ได้แนะทั้งวิธีการจัดการเกี่ยวกับการถอนสิ่งที่ชาวบ้านถือว่าศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ และวิธีการแนะนำอุบายต่างๆ ให้กับประชาชนเลิกเชื่อในเรื่องงมงายเหล่านั้น
    เมื่อท่านแนะวิธีแล้วท่านจะใช้ให้ศิษย์ไปทดลองปฏิบัติงานจริงดูถึงผลงานที่ท่านเหล่านั้นไปปฏิบัติ
    หลวงปู่มั่น อธิบายว่า อันที่จริงการนับถืองมงายนี้ เกิดจากการไม่เข้าใจถ่องแท้ในพระพุทธศาสนา หรือขาดการศึกษาที่แท้จริงในพระพุทธศาสนานั่นเอง ยิ่งชาวชนบทห่างไกลความเจริญแล้วก็ยิ่งมีแต่ความเชื่อกับสิ่งงมงายเหล่านี้อย่างเป็นล่ำเป็นสัน จึงเป็นสิ่งที่แก้ยากถอนยากทีเดียว
    ไม่ต้องพูดถึงชาวชนบทจะพากันงมงายหรอก แม้แต่ชาวเมืองหลวงอย่างในกรุงเทพฯ ก็ตาม ยังพากันหลงงมงายในสิ่งเหล่านั้นมาก เช่น ศรัทธาเจ้าพ่อนั้น เจ้าพ่อนี้ บางแห่งพากันสร้างเป็นเทวสถาน แล้วพากันกราบไหว้บูชาถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปก็มีมากมาย
    ในเรื่องเหล่านั้นพระเถระบางองค์ถือว่าไม่สำคัญ แต่หลวงปู่เสาร์หลวงปู่มั่น ท่านถือว่าเป็นเรื่องสำคัญลำดับแรกสำหรับผู้นับถือพระพุทธศาสนาเลยทีเดียว เพราะการจะเข้าถึงซึ่งความบริสุทธิ์ ถึงความเป็นพระอริยะในขั้นแรก คือ พระโสดาบัน ก็จะต้องแก้ไขความเชื่อถืองมงายเหล่านี้ในตนเองให้หมดไป ไม่เช่นนั้นจะเข้าไม่ถึงสัจธรรมของพระพุทธเจ้าได้เลย
    <table id="table33" border="0"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center">พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม</td> <td align="center">พระอาจารย์ปิ่น ปญฺญาพโล</td> <td align="center">พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี</td> </tr> </tbody></table>​
    เพราะหลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น ท่านต้องการสอนคนให้พ้นทุกข์จริงๆ สอนคนให้เป็นอริยะกันจริงๆ จึงให้เลิกเชื่อสิ่งงมงายเหล่านี้โดยสิ้นเชิง เดินตามรอยบาทพระบรมศาสดาอย่างแท้จริง ไม่มีสิ่งอื่นมาแอบแฝงแปลกปลอม
    ในปีที่จำพรรษาที่บ้านลาดนี้ หลวงปู่ทั้งสององค์ ได้แนะนำแก่พระภิกษุที่ถือได้ว่าเป็นศิษย์ชั้นหัวหน้าแทบทั้งนั้น จึงปรากฏว่าหลังจากที่หลวงปู่มั่น ได้หลีกจากหมู่คณะ ออกธุดงค์ไปเชียงใหม่ และมอบศิษย์ทั้งหลายให้แก่ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม บรรดาศิษย์เหล่านั้นซึ่งล้วนแต่เป็นศิษย์ชั้นหัวกะทิ จึงเป็นกำลังให้หลวงปู่สิงห์ ในการปราบความเชื่อเรื่องการนับถือภูตผีได้เป็นอย่างดี ประชาชนพากันเลิกถือผี หันมาถือพระไตรสรณาคมน์ มีการไหว้พระสวดมนต์ รักษาศีลเจริญเมตตาภาวนา กันอย่างได้ผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแถบจังหวัดอุบลฯ อุดร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม นครราชสีมา ฯลฯ ตามที่คณาจารย์เหล่านั้น ไปผ่านไปเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ ซึ่งชาวชนบทไม่เคยได้รับทราบคำสอนเช่นนี้มาก่อนเลย
    ๗๒
    จำพรรษาที่บ้านค้อ อ บ้านผือ อุดรธานี
    ในปี พ ศ. ๒๔๖๖ สันนิษฐานว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พักจำพรรษารวมกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่เสนาสนะป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
    จากหนังสือ อัตตโนประวัติพระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสฺรํสี)ได้บันทึกเหตุการณ์ในปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ว่า
    “..ท่านอาจารย์สิงห์ ได้พาพวกเรา (หลวงปู่เทสก์) ออกเดินทางไปนมัสการท่านอาจารย์มั่น ที่บ้านค้อ อ.บ้านผือ ขณะนั้นพระอาจารย์เสาร์ ก็อยู่พร้อม เป็นอันว่าเราได้พบท่านอาจารย์ทั้งสอง และได้กราบนมัสการท่านเป็นครั้งแรกในชีวิต...”
    ขณะนั้นหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี เพิ่งอุปสมบทได้เป็นพรรษาแรก และอยู่จำพรรษาที่วัดสุทัศน์ ในเมืองอุบลฯ แล้วได้ออกธุดงค์ติดตามมากับคณะของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์องค์แรกของท่าน
    ในประวัติของหลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หลังจากท่านเดินธุดงค์ไปทางฝั่งประเทศลาวกับหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม แล้วก็แยกทางกัน โดยหลวงปู่ตื้อธุดงค์เลียบฝั่งขึ้นไปทางเวียงจันทน์แต่ลำพัง ส่วนหลวงปู่แหวน ได้ย้อนกลับข้ามโขงมาฝั่งไทย เพื่อมุ่งแสวงหาหลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่ และทราบว่าท่านพักอยู่ที่ดงมะไฟ บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้เข้าไปกราบถวายตัวเป็นลูกศิษย์ (คนละนิกาย)
    ประโยคแรกที่หลวงปู่มั่นทักถาม คือ “มาจากไหน” เมื่อเรียนท่านว่า “มาจากอุบลฯ ครับ” (หลวงปู่แหวน เป็นชาวจังหวัดเลย แต่ไปบวชเรียนด้านปริยัติที่จังหวัดอุบลฯ)
    หลวงปู่มั่น กล่าวเป็นประโยคที่สอง ซึ่งหมายถึงท่านลงมือให้การสอนทันทีว่า “เออ ! ต่อไปนี้ภาวนา ความรู้ที่เรียนมาให้เอาใส่ตู้ไว้ก่อน”
    คำพูดของพระอาจารย์ใหญ่เพียงสั้นๆ แค่นี้ ช่างมีความหมายต่อหลวงปู่แหวนมากมายเหลือเกิน เพราะเป็นความต้องการของท่านจริงๆ ท่านสุดแสนจะดีใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้ยินคำว่า “ต่อไปนี้ให้ภาวนา” เท่ากับความตั้งใจของท่านได้บรรลุตามความประสงค์โดยไม่ต้องเอ่ยปากขอแต่ประการใด...
    <table id="table13" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    บ้านค้อ อ บ้านผือ จ อุดรธานี
    </td></tr></tbody></table>​
     
  4. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๗๓
    จำพรรษาที่พระบาทบัวบก
    ในปี พ ศ ๒๔๖๗ สันนิษฐานได้ว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และคณะ มาพำนักที่พระบาทบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี แต่ไม่มีการยืนยันว่าท่านจำพรรษาอยู่ที่นั่นหรือไม่ (แน่ใจว่าไม่ได้จำพรรษา ดูตอนต่อไป)
    ในหนังสือ จนฺทสาโรบูชา ประวัติของ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร เขียนโดย คุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต ภายใต้หัวข้อว่า...(พ.ศ. ๒๔๖๗) พบท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านพระอาจารย์มั่น มีข้อความดังนี้ -
    “ท่าน (หลวงปู่หลุย) ได้อยู่กับพระอุปัชฌาย์พอสมควร แล้วก็ได้เดินทางจากจังหวัดเลยกลับไปอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญ (พระกรรมวาจาจารย์ของหลวงปู่หลุย กับ หลวงปู่ขาว ซึ่งทำญัตติกรรมพร้อมกันที่อำเภอหนองวัวซออีก และได้ติดตามท่านพระอาจารย์บุญไปยังวัดพระบาทบัวบก ณ ที่นี้เองที่หลวงปู่ (หลุย) ได้พบกับ ท่านพระอาจารย์เสาร์กนฺตสีโล และได้อยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจาก ท่านพระอาจารย์เสาร์ โดยมีท่านพระอาจารย์บุญ เป็นพระพี่เลี้ยงผู้ชี้แนะในข้อที่ท่านไม่เข้าใจอีกชั้นหนึ่งด้วย”
    <table id="table14" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ในหนังสือเล่มเดียวกัน มีต่อไปว่า “จากนั้นท่านพระอาจารย์บุญก็ได้พาหมู่คณะศิษย์ พร้อมด้วยหลวงปู่ (หลุย) ไปกราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ ที่ท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย (ปัจจุบันท่าบ่อเป็นอำเภอ)
    คณะท่านอาจารย์บุญ ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติจากท่านพระอาจารย์มั่น จนกระทั่งจวนเข้าพรรษาจึงได้พากันกลับมาจำพรรษาที่วัดพระบาทบัวบก
    หมายเหตุ: ท่านพระอาจารย์บุญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร กับ หลวงปู่ขาว อนาลโย คราวญัตติกรรมพร้อมกันเมื่อ ปี พ ศ ๒๔๖๘ โดยหลวงปู่หลุย เป็นนาคขวา หลวงปู่ขาว เป็นนาคซ้าย
    หลวงปู่ เคยทำนายไว้ว่า หลวงปู่บุญ ปญฺญาวุฒฺโฑ จะอายุไม่ยืน เพราะท่านไม่ชอบเดินจงกรม ซึ่งก็เป็นจริง ท่านมรณภาพเมื่ออายุเพียง ๔๔ ปี ทั้งที่ท่านนั่งสมาธิดีมาก และจิตใสมาก
    ๗๔
    วัดพระงาม อ.ท่าบ่อ หนองคาย
    จากการสอบค้นของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ บอกว่าในปีพ ศ. ๒๔๖๗ เป็นพรรษาที่ ๔๔ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมพระเณรลูกศิษย์ที่ติดตาม ได้ธุดงค์ประกาศธรรมเข้าเขตจังหวัดหนองคาย
    ในข้อมูลบอกต่อไปว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้พักจำพรรษาที่วัดราช ใกล้บ้านน้ำโขง อำเภอท่าบ่อ ส่วนหลวงปู่มั่นไปพำนักที่ (ไม่ได้บอกว่าจำพรรษา) เสนาสนะป่าในอำเภอท่าบ่อ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นวัด ชื่อ วัดอรัญญวาสี ขณะเดียวกันพระกรรมฐานกลุ่มของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม กับ หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ยังคงจำพรรษาอยู่ที่เดิม ที่บ้านหนองลาด บ้านปลาโหล อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
    ที่วัดราช อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ที่หลวงปู่ใหญ่ และสานุศิษย์ พักจำพรรษาอยู่นี้ เป็นวัดเก่ามีพระพุทธรูปเก่าสมัยเวียงจันทน์อยู่ซึ่งได้ชำรุดทรุดโทรมมาก
    ในบันทึกได้บอกว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ทั้งสององค์ได้ช่วยกันบูรณะให้สวยงามดังเดิม เมื่อชาวบ้านชาวเมืองได้ไปเห็นเข้า ต่างก็กล่าวชมว่า งามแท้ ภายหลังจึงพากันเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดพระงาม และพระพุทธรูปองค์นี้ก็ได้ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถของวัดมาจนทุกวันนี้
    ข้อเขียนของอาจารย์พิศิษฐ์ มีว่า “ที่ท่าบ่อนี้เป็นสถานที่เหมาะสำหรับบำเพ็ญสมณธรรมยิ่งอีกที่หนึ่งของพระเถระทั้งหลายที่น้อมตัวเข้าเป็นศิษย์สายธารธรรม อาทิเช่น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล พระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน พระอาจารย์กว่า สุมโน ฯลฯ ท่านเหล่านี้มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอยู่ปฏิบัติตามแนวทางสายธรรมที่ได้รับฟังโอวาทมาอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ซึ่งต่างองค์ต่างได้รับผลทางใจเป็นอย่างสูง ตามภูมิจิตภูมิธรรมของแต่ละองค์”
    เมื่อประมวลจากหลักฐานเอกสารจากแหล่งต่างๆ ผู้เขียน (ปฐม นิคมานนท์) เชื่อว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และคณะศิษย์ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดพระงามแห่งนี้นาน ๒ พรรษา คือในปี พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๔๖๘ เป็นพรรษาที่ ๔๔ และ ๔๕ ของท่าน
    ทั้งหมดนี้เขียนตามหลักฐานเอกสาร ตัวผู้เขียนเองยังไม่เคยไปที่วัดพระงาม แห่งนี้
    อนึ่ง ช่วงที่หลวงปู่ใหญ่ พักอยู่ที่วัดพระงามแห่งนี้ได้มีเหตุการณ์สูญเสียครั้งใหม่อีกครั้งหนึ่งของชาวไทยทั้งชาติ คือ การเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ หลังจากครองราชย์ได้เพียง ๑๕ ปี
    ๗๕
    กองทัพธรรม
    พอออกพรรษาที่ ๒ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ธุดงค์ออกจากวัดพระงาม อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย แล้วจาริกขึ้นเหนือตามฝั่งแม่น้ำโขง จนถึงอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ลงมาใต้ไปถึงภูฟ้า ภูหลวง แล้ววกมาทางตะวันออกเข้าเขตจังหวัดอุดรธานี
    ในปี พ ศ. ๒๔๖๙ หลวงปู่ใหญ่ และคณะพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านดงยาง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
    ศิษย์อาวุโสองค์อื่นๆ แยกพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ตามบันทึกของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ มีดังนี้ :-
    “พระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ผู้เป็นน้องร่วมสายโลหิต และพระอาจารย์เทสก์ เทสฺรํสี จำพรรษาที่ป่าบ้านอากาศ ต.อากาศ อ วานรนิวาส (ปัจจุบันเป็น อ.อากาศอำนวย) จ สกลนคร พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินโน จำพรรษาที่บ้านโนนแดง พระอาจารย์อุ่น ธมฺมธโร จำพรรษาที่บ้านข่า ใกล้บ้านสามผง ท่านหลวงปู่มั่น และคณะส่วนหนึ่งได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม ใกล้กับวัดโพธิ์ชัย ตามคำอาราธนานิมนต์ของพระอาจฯย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร”
    ในปี พ ศ ๒๔๖๙ มีเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้กองทัพธรรมสายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความศรัทธาอย่างสูง
    เหตุการณ์ที่ว่านี้เป็นเพราะพระเถระที่ชาวบ้านศรัทธามาก ๓ องค์ได้ขอญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ติดตามปฏิบัติธรรมไปกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้แก่ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร และพระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    พระเถระองค์แรก คือ พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก อายุพรรษา ๑๙ เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแถบลุ่มแม่น้ำสงคราม ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และเป็นครูใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งตำบลสามผง ที่ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย
    พระเถระองค์ที่สอง เป็นสหธรรมิกกับองค์แรก ได้แก่พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร เป็นชาวสกลนคร อายุพรรษา ๑๗ พำนักอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย (คนละแห่งกับพระอาจารย์เกิ่ง) ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
    พระเถระทั้งสององค์ได้ยินกิตติศัพท์ทางธรรมของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ก็มีความสนใจ พอทราบว่าหลวงปู่มั่น มาพักที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร พระอาจารย์เกิ่ง จึงได้ชวนพระอาจารย์สีลา พร้อมพระเณรถูกวัดไปฟังเทศน์และสนทนาไต่ถามปัญหาข้ออรรถธรรมที่สงสัยค้างคาใจต่างๆ พร้อมทั้งสังเกตข้อวัตรของหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในข้ออรรถข้อธรรมและจริยาวัตรของท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส
    พระอาจารย์เกิ่ง ได้นิมนต์หลวงปู่มั่น ให้ไปโปรดญาติโยมและพักจำพรรษาที่บ้านสามผง ถิ่นที่พำนักของท่าน พร้อมทั้งขอถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรมใกล้ชิด จนเกิดผลประจักษ์ทางใจอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสรับรู้มาก่อน
    ในที่สุดพระอาจารย์เกิ่ง ได้ตัดสินใจสละตำแหน่งและลาภยศต่างๆ ทั้งหมด แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต ลูกศิษย์พระเณรก็ขอญัตติตามหมดทั้งวัด รวมทั้งคณะของท่านอาจารย์สีลาก็ขอญัตติตามด้วยในภายหลัง
    จำนวนพระภิกษุสามเณรที่ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตที่บ้านสามผงในครั้งนั้นมีประมาณ ๒๐ รูป รวมทั้งสามเณรสิม วงศ์เข็มมา (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ เชียงดาว จ เชียงใหม่) ที่มาจากวัดศรีรัตนาราม บ้านบัว ต.สว่าง อ พรรณานิคม จ สกลนครด้วย
    พระเถระองค์ที่สาม ที่มาขอญัตติเป็นพระธรรมยุตในช่วงนั้นด้วยได้แก่ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระดังจากบ้านกุดแห่ อ เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ ยโสธร) ชาวบ้านตั้งฉายาท่านว่าอาจารย์ดีผีย่าน เพราะท่านมีอิทธิฤทธิ์เก่งกล้าและคาถาอาคมในการปราบผีและคุณไสย์ต่างๆ
    พระอาจารย์ดี ได้ดั้นด้นบุกป่าดงออกเสาะหาของดีของขลังมาถึงบ้านสามผง ได้รู้กิตติศัพท์เกี่ยวกับหลวงปู่มั่น จึงเข้าไปกราบขอฟังธรรมและปฏิบัติธรรมด้วย จนประจักษ์ผลทางใจอย่างน่าอัศจรรย์ ในที่สุดก็ขอสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ หรือ วัดศรีบุญเรือง ท่าแขก ที่โด่งดังในสมัยนั้น แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตออกติดตามคณะกองทัพธรรม และเป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ท่าน
    ในพรรษานั้นจึงเป็น การประกาศธรรมชนิดพลิกแผ่นดินที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ทำให้ชื่อเสียงของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมทั้งกิตติศัพท์ของกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ลือเลื่องกระเดื่องไกล เป็นที่อัศจรรย์ร่ำลือของผู้คนในแถบนั้น ถึงกับว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ เป็นพระผู้วิเศษที่ทำให้พระดังถึงสามองค์ยินยอมถวายตัวเป็นศิษย์ได้
    ขออนุญาตโยงไปถึงอีกเหตุการณ์หนึ่งซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกันด้วย คือในช่วงไล่เลี่ยกันนั้น ศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่น อีกองค์หนึ่ง คือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์) เพื่อนสหธรรมิกของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้พักจำพรรษาที่บ้านกุดก้อม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ก็เกิดเหตุการณ์พลิกแผ่นดินบ้านม่วงไข่ขึ้นเหมือนกัน
    กล่าวคือ พอออกพรรษา ปรากฏว่าบรรดาพระภิกษุสามเณรวัดม่วงไข่ ทุกรูป นับตั้งแต่เจ้าอาวาสคือ ท่านญาคูดี เป็นต้นมา ได้พากันและละทิ้งวัด ออกจาริกธุดงค์ติดตามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล แล้วไปเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น และได้ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตทั้งหมด
    ในบรรดาพระเณรวัดม่วงไข่ เมื่อครั้งนั้นก็มีพระภิกษุหนุ่มชื่อ ฝั้น อาจาโร (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมภรณ์ อ.พรรณานิคมจ.สกลนคร) รวมอยู่ด้วย
    รวมทั้งมีเณรเล็กๆ ติดตามอุปัฏฐากหลวงปู่ดูลย์ ชื่อ สามเณรอ่อน ซึ่งก็คือ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ. อุดรธานี นั่นเอง
    ๗๖
    ประชุมศิษย์ วางระเบียบการปฏิบัติ
    ในระยะนี้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้ฝึกฝนอบรมลูกศิษย์ลูกหาสายธุดงค์กรรมฐานจำนวนมากมายพอสมควร ที่ติดตามหลวงปู่ใหญ่เอง ติดตามหลวงปู่มั่น และติดตามหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ก็มีกลุ่มละหลายสิบองค์ ที่แยกย้ายกระจัดกระจายไปบำเพ็ญเพียรในที่ต่างๆ ก็มีมาก เกือบทั่วภาคอิสาน กระจายไปทางฝั่งประเทศลาว รวมทั้งอยู่ทางภาคตะวันออก เช่นท่านพ่อลี ธมมธโร และหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ และอยู่ทางภาคกลางก็มี
    หลวงปู่ทั้งสององค์ เห็นว่าควรจะมีการประชุมศิษย์เพื่อกำหนดระเบียบการปฏิบัติต่างๆ ให้เป็นไปในแนวเดียวกัน ดังนั้น พอออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ แล้ว หลวงปู่ทั้งสอง จึงได้เรียกประชุมบรรดาพระอาจารย์ทั้งหลายที่เป็นศิษย์ที่อยู่ทั้งใกล้ทั้งไกล ให้มาประชุมพร้อมกันที่บ้านโนนแดง ในปีนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ มีอายุพรรษา ๔๕ และหลวงปู่มั่น มีอายุพรรษา ๓๕
    <table id="table34" border="0"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก
    </td> <td align="center"> พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร
    </td> <td align="center"> พระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ในการประชุมพระธุดงค์กรรมฐานในครั้งนั้น ได้มีการวางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการออกธุดงค์อยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ และเกี่ยวกับแนวทางการสั่งสอนการปฏิบัติธรรม ปฏิบัติจิต
    ผู้เขียนไม่สามารถหารายละเอียดเกี่ยวกับการประชุมครั้งนั้นได้เช่น ประชุมกันกี่วัน มีพระกรรมฐานมาร่วมประชุมจำนวนเท่าใด ตลอดจนรายละเอียดในเนื้อหาของการประชุม เป็นต้น ก็ขอฝากไว้ให้ได้พิจารณาต่อไป
    หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้เพียงสั้นๆ ว่า
    “หลังจากออกพรรษาแล้วในปีนี้ พระอาจารย์มั่นฯ พระอาจารย์เสาร์ฯ ก็ได้เรียกบรรดาพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์ทุกองค์ให้มาประชุมพร้อมกันที่บ้านโนนแดง
    ในการประชุมครั้งนี้ ท่านได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน
    ๗๗
    เสนาสนะป่านอกเมืองสกลนคร
    เมื่อเสร็จจากการประชุมคณะศิษย์ที่บ้านโนนแดง แล้ว บรรดาพระอาจารย์ที่เป็นศิษย์แต่ละองค์ต่างก็แยกย้ายออกธุดงค์แสวงวิเวกและประกาศธรรมตามที่ต่างๆ ตามอัธยาศัย
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่มั่น และพระเณรกลุ่มใหญ่ได้เดินธุดงค์มุ่งสู่เมืองสกลนคร
    ในเมืองสกลนคร มีโยมสามคนพี่น้องที่เคยได้กราบและเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่ทั้งสององค์ มาก่อน คือ คุณแม่นุ่ม คุณเม่นิล ชุวานนท์ และคุณแม่ลูกอินทน์ วัฒนสุชาติ
    ขณะนั้นมารดาของคุณแม่ทั้งสามได้ถึงแก่กรรม และอยู่ระหว่างจัดงานศพ พอได้ข่าวว่า หลวงปู่ทั้งสอง พร้อมด้วยศิษย์จำนวนมากกำลังมุ่งหน้ามาทางสกลนครจึงได้ไปขอนิมนต์ให้มาพักอยู่ที่เสนาสนะป่าชานเมืองสกลนคร
    หลวงปู่ทั้งสอง พร้อมด้วยคณะศิษย์ ได้รับนิมนต์อยู่ร่วมงานศพ เพื่อปลงธรรมสังเวช และพักปักกลดอยู่ที่เสนาสนะป่าแห่งนั้น เป็นการฉลองศรัทธาของโยมสามพี่น้องและชาวเมืองไทสกล ยังความปลาบปลื้มแก่ชาวเมืองสกลนคร ได้พากันมาศึกษาธรรมปฏิบัติจนบังเกิดผลทางใจ และเป็นนิสสัยปัจจัยสืบต่อกันมาจนปัจจุบัน
    ในระหว่างนั้น พระยาปัจจันตประเทพธานี บิดาของพระพินิจฯ ได้ถึงแก่กรรม เจ้าภาพได้อาราธนาหลวงปู่ทั้งสอง พร้อมด้วยสานุศิษย์ในการบำเพ็ญกุศลให้ผู้ตาย
    ในงานฌาปนกิจศพครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่หลวงปู่อนุโลมให้พระรับนิมนต์ไปฉันภัตตาหารในบ้านเรือน เพราะเมื่อก่อนนี้พระคณะกรรมฐานได้ถือธุดงค์วัตรในข้อนี้อย่างเข้มงวดกวดขันจริงๆ ไม่ยอมอนุญาตให้รับนิมนต์ไปฉันในบ้าน
    ครั้งนี้จึงเป็นการผ่อนอนุโลมเป็นครั้งแรก และยินยอมให้รับนิมนต์เพื่อฉลองศรัทธาญาติโยมได้ตั้งแต่นั้นมา
    หลังจากเสร็จงานฌาปนกิจศพทั้ง ๒ งานนี้แล้ว หลวงปู่มั่น และคณะศิษย์ ได้กราบลาหลวงปู่ใหญ่ ออกเดินทางไปทางนครพนม เพื่อไปรับโยมมารดา คือ แม่ชีจันทร์ ที่ภูผากูด เพื่อกลับไปพำนักที่อุบลราชธานี บ้านเกิดต่อไป
    หลวงปู่ใหญ่ และคณะศิษย์ของท่าน ยังพำนักที่เสนาสนะป่าแห่งนั้น เพื่ออยู่โปรดศรัทธาชาวสกลนครต่ออีกระยะหนึ่ง (ผู้เขียนเข้าใจว่าท่านพักจำพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่นี่)
    เสนาสนะป่าแห่งนี้ ได้กลายเป็นวัดป่าสุทธาวาส สถานที่มรณภาพและถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ในเวลาต่อมา
    ๗๘
    บ้านสามผง ดงพระเนาว์
    ออกจากสกลนคร หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นำคณะศิษย์เดินธุดงค์ขึ้นไปทางบ้านอากาศ (อำเภออากาศอำนวย ในปัจจุบัน) เดินไปตามเส้นทางที่หลวงปู่มั่น เคยไปเมื่อคราวเหตุการณ์ พลิกแผ่นดินบ้านสามผง” แล้วมาพำนักที่เสนาสนะป่าบ้านสามผง หรือ วัดป่าโพธิ์ชัย ของพระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก แล้วพักจำพรรษาเพื่อโปรดญาติโยมอยู่ที่นี่ ๒ ปี คือปี พ.ศ.๒๔๗๐ - ๒๔๗๑
    นับเป็นบุญวาสนาของญาติโยมชาวสามผง และชาวลุ่มน้ำสงคราม อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ที่มีบูรพาจารย์ใหญ่สายกรรมฐานทั้ง ๒ ท่าน มาพักจำพรรษาติดต่อกันถึง ๔ ปี คือหลวงปู่มั่น มาจำพรรษา ๒ ปี แล้วหลวงปู่ใหญ่เสาร์ มาอยู่ต่ออีก ๒ ปี นอกจากญาติโยมจะได้รับการอบรมด้านธรรมปฏิบัติอย่างเต็มที่แล้ว ปรากฏว่ามีลูกศิษย์ในแถบถิ่นนี้ เลื่อมใสศรัทธาพากันออกบวชติดตามหลวงปู่ทั้งสององค์ เป็นจำนวนมาก
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ และคณะตามรอยบาทหลวงปู่เสาร์ ได้ไปติดตามข้อมูลที่ วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง เมื่อปี พ ศ. ๒๕๔๐ พบว่าร่องรอยสิ่งก่อสร้างของหลวงปู่เสาร์ที่คงเหลืออยู่ คือ หอไตรกลางน้ำ ทรงหกเหลี่ยม ที่ชำรุดทรุดโทรมมาก
    พระหลวงตาที่วัดได้เล่าถึงหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ว่า “หลังจากท่านหลวงปู่มั่นกลับไปส่งโยมมารดาที่เมืองอุบลฯ แล้ว ไม่นานนักท่านพระอาจารย์เสาร์ ก็ธุดงค์มาถึง ลักษณะท่าทางท่านองอาจ ร่างสูงใหญ่ ผิวขาว ผมขาวโพลน ผิวหน้าสุกแดงปลั่งดั่งพริก มีพระสงฆ์ทั้งพระเจ้าและบวชใหม่เวียนมากราบคารวะรับฟังโอวาท เมื่อยามเช้าติดตามท่านเป็นแถวออกบิณฑบาต มีพระเณรไม่เคยต่ำกว่า ๒๐-๓o รูป มีแม่ชีตามมาปฏิบัติอยู่ป่านอกเขตหน้าวัดไม่ต่ำกว่า ๑๐ รูป มีแม่ชีสาลิกาอายุราว ๖๐ ปี เป็นผู้นำ
    ส่วนหอไตรกลางน้ำนี้ ผู้สร้างคือ หลวงปู่เกิ่ง อธิมุตฺตโก โดยได้แบบจากหอไตรกลางน้ำที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน... จุดประสงค์เพื่อสร้างเป็นหอสมุดให้ปลอดภัยจากปลวก หนู และแมลง
    ปีที่หลวงปู่ใหญ่ และคณะศิษย์ไปพักจำพรรษาที่วัดป่าโพธิชัย บ้านสามผง ต.สามผง อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม คือ พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๔๗๑ เมื่อท่านอายุ ๖๘ - ๖๙ ปี อายุพรรษา ๔๖ - ๔๗
    <table id="table20" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> <td rowspan="3" align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center">
    วัดโพธิ์ชัย บ้านสามผง อ ศรีสงคราม จ นครพนม
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๗๙
    จากสามผง ลงมานครพนม
    ลุเข้าปี พ ศ. ๒๔๗๒ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลกมีอายุย่างเข้าปีที่ ๗๐ แม้ท่านจะเข้าสู่วัยชราแล้วก็ตาม ท่านก็ยังมีสุขภาพดี แข็งแรงนั่งภาวนาได้นาน เดินจงกรมได้นาน บำเพ็ญภาวนาสม่ำเสมอไม่เคยท้อถอยในการปฏิบัติธรรม และสั่งสอนธรรมแก่มวลศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ด้วยน้ำใจเมตตาเต็มเปี่ยม
    แม้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านพูดน้อย แต่ละวันพูดแค่ ๒ - ๓ ประโยค แต่ท่านสอนโดยการกระทำ สอนโดยองค์ท่านเองลงมือปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง ซึ่งมีน้ำหนักมากกว่าการสอนด้วยคำพูดเสียอีก
    หลังจากพำนักโปรดญาติโยมที่บ้านสามผง ดงพระเนาว์ ได้ ๒ พรรษาแล้ว ท่านก็พาคณะออกธุดงค์ลงใต้ มาตามลำน้ำโขง ผ่านมาทางอำเภอท่าอุเทน ต่อมาถึงตัวจังหวัดนครพนม (เมืองหนองบึก ดินแดนศรีโคตบูรโบราณ)
    หลวงปู่ใหญ่ และคณะติดตาม ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรและอุบาสกอุบาสิกากลุ่มใหญ่พอสมควร (น่าจะ ๒๐ - ๓๐ เป็นอย่างน้อย) เดินทางมาถึงป่าช้าดงโคกกิ่ว อยู่นอกตัวเมืองนครพนม
    ที่บริเวณนี้ยังเป็นดงทึบ เป็นที่เนินสูง มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาแน่นข้างล่างมีไม้พุ่มคลุมดินที่ชาวบ้านเรียกว่า ต้นหมากปังกิ่ว ขึ้นหนาทึบ
    ที่ป่าแห่งนี้ชาวบ้านถือกันว่าเป็น ป่าช้าผีดิบ ใช้เป็นที่ฝังศพนักโทษ และเป็นแดนประหารนักโทษ ร่ำลือว่าผีดุ ชาวบ้านไม่กล้าย่างกรายเข้ามาในป่าบริเวณนี้
    ทั้งหมดนี้ ผมก็ลอกตามหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ จำเป็นต้องลอกตามเพราะผมเองก็เกิดไม่ทันจึงต้องเชื่อท่าน
    หลวงปู่ใหญ่ และคณะพระธุดงค์ได้มาพำนักปักกลดที่บริเวณป่าช้าดงโคกกิ่ว แห่งนี้
    ตามธรรมเนียมการปักกลดของพระธุดงค์ ท่านจะกระจายอยู่ห่างๆ กัน อย่างน้อยก็พอส่งเสียงถึงกันได้ ท่านไม่มาปักกลดอยู่รวมกันเป็นกระจุกหรอก ต่างองค์ต่างเร่งบำเพ็ญเพียรไม่มาจับกลุ่มคุยกันเรื่องผีดุเหมือนพวกเราหรอก (อันนี้ผมว่าเองครับ หรือท่านผู้ใดว่าไม่จริงก็ให้ค้านมา)
    เมื่อชาวนครพนมเห็นพระธุดงค์มาพักปักกลดจำนวนมาก จึงได้พากันออกมาช่วยจัดหาที่พักถวาย โดยจัดสร้างกุฏิเป็นกระต๊อบหลังเล็กๆ ปูพื้นด้วยฟากไม้ไผ่ ฝาขัดแตะ กรุด้วยใบตองตึง ใบพลวง หรือใบชาด หลังคามุงด้วยหญ้าคา ซึ่งวัสดุเหล่านี้หาได้ในป่าบริเวณนั้นพอให้ได้อาศัยพอคุ้มแดดคุ้มฝน จนครบทุกรูป
    อนุโมทนาสาธุครับ !
    ต่อมาก็มีโยมใจบุญ ชื่อ โยมแก้ว (น่าจะเป็นผู้ชาย) เจ้าของสวนที่อยู่ใกล้ๆ กับบริเวณนั้น ได้เกิดศรัทธาเลื่อมใสหลวงปู่ใหญ่จึงได้น้อมถวายที่สวน พร้อมทั้งกระท่อมเฝ้าสวนแก่หลวงปู่ใหญ่ และคณะพระธุดงค์
    หลวงปู่ใหญ่ จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็นสำนักสงฆ์โพนแก้ว เป็นการฉลองศรัทธาของโยมแก้ว และลูกหลานที่เป็นเจ้าของที่ดิน
    ต่อมาภายหลัง สำนักสงฆ์โพนแก้ว ก็ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวัดที่สมบูรณ์ ชื่อ วัดโพนแก้ว ได้รับพระราชทานเขตวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ แล้วก็เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอรัญญิกาวาส มาจนทุกวันนี้
    ไม่ทราบเหมือนกับว่า ทำไมต้องเปลี่ยนชื่อ ? แต่ผมก็รู้สึกศรัทธาและปลื้มปีติกับ ท่านโยมแก้วอย่างสุดจิตสุดใจครับ อนุโมทนาสาธุ !
    หมายเหตุ: เป็นเรื่องของคนชอบสงสัย คือผมสงสัยว่าทำไมหลวงปู่ใหญ่ ไม่ไปพักที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม ของ เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย ลูกศิษย์ของท่าน ?
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ก็สงสัยเหมือนกัน แล้วก็ได้ไปกราบเรียนถาม พระอุดมญาณโมลี (มานิต ถาวโร ปัจจุบันคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ) เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๔๐ สมเด็จฯ องค์นี้ท่านเคยเป็นสามเณรอยู่ที่วัดโพนแก้ว ระหว่างปี ๒๔๗๕ - ๒๔๗๙ ต่อมาได้ไปเข้าโรงเรียนพระปริยัติธรรมที่ วัดศรีเทพประดิษฐาราม
    สมเด็จฯ ท่านให้ความเห็นว่า ช่วงนั้น วัดศรีเทพฯ เป็นสำนักเรียนพระปริยัติ ไม่มีสภาพเป็นป่าที่ห่างไกลชุมชนเหมือนเมื่อก่อน จึงไม่เหมาะกับพระธุดงค์ที่แสวงหาความวิเวก หลวงปู่ใหญ่จึงไม่พาคณะไปพักด้วยเหตุนี้ก็ได้
    ๘๐
    หลวงปู่ใหญ่ถ่ายรูปเป็นครั้งแรก
    การถ่ายรูปในสมัยหลวงปู่ใหญ่นับเป็นโอกาสที่ยากยิ่ง รวมทั้งบุคคลรุ่นปู่ย่าตาทวดของเรายังกลัวการถ่ายรูปด้วย บางท่านก็กลัวว่าจะทำให้อายุสั้นก็มี
    ในประวัติของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จากหนังสือที่ท่านหลวงตาพระมหาบัวฯ เป็นผู้เขียน ก็บอกว่า หลวงปู่มั่นท่านเคยถ่ายรูปเพียง๓ ครั้ง ในชีวิตเท่านั้น ด้วยการอาราธนาอ้อนวอนของบรรดาลูกศิษย์ไม่เช่นนั้นเราคงไม่ได้เห็นรูปร่างหน้าตาท่านว่าเป็นอย่างไร
    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านปลีกออกจากหมู่คณะ ขึ้นไปอยู่ที่เชียงใหม่ติดต่อกันนานถึง ๑๒ ปี ได้มอบภาระให้หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ดูแลปกครองพระเณรสายกรรมฐานแทนท่าน
    ในช่วงนั้น พระคณาจารย์ที่เป็นเสาหลักของพระธุดงค์กรรมฐานที่พาหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมในภาคอิสานก็มีเพียง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์พำนักและสร้างวัดโพนแก้ว ที่จังหวัดนครพนม ส่วนหลวงปู่สิงห์ พาหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมอยู่ที่จังหวัดขอนแก่น มีหลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี รวมอยู่คณะด้วย
    จากอัตตโนประวัติของหลวงปู่เทสก์ ท่านบันทึกไว้ ดังนี้ -
    “...เราเป็นห่วงคิดถึงครูบาอาจารย์ เพราะเราหนีจากอาจารย์มาได้ ๒ ปี จึงได้ลาท่าน (หลวงปู่สิงห์)ไปนครพนม เพื่อเยี่ยมพระอาจารย์เสาร์
    ท่านอาจารย์เสาร์ ตามปกติท่านไม่ค่อยเทศนา ถึงจะเทศน์ก็เป็นธรรมสากัจฉา
    ปีนี้เราไปอยู่ด้วยก็เป็นกำลังของท่านองค์หนึ่ง คือเดิมมีท่านอาจารย์ทุมอยู่แล้ว เราไปอยู่ด้วยอีกรูปหนึ่งจึงเป็นสองรูปด้วยกัน และเราก็ได้ช่วยอบรมญาติโยมอีกแรงหนึ่ง
    <table id="table35" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร
    พระปรมาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ปีนี้เราได้ขออาราธนาให้ท่านถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก ทีแรกท่านก็ไม่อยากถ่าย พอเราอ้อนวอน อ้างถึงเหตุผลความจำเป็นเพื่อให้บรรดาศิษยานุศิษย์และลูกหลานยุคต่อไปได้มีโอกาสกราบไหว้เคารพบูชา ท่านถึงได้ยอม
    นับเป็นประวัติการณ์ เพราะแต่ก่อนมาท่านไม่ถ่ายรูปเลย แต่กระนั้นเรายังเกรงท่านจะเปลี่ยนใจ ต้องรีบให้ข้ามไปตามช่างภาพมาจากฝั่งลาวมาถ่ายให้
    เราดีใจมาก ถ่ายภาพท่านได้แล้วได้แจกท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ และท่านพระครูสีลสัมบัน (ภายหลังได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณพระธรรมสารมุนี)...
    (ผู้เขียนเข้าใจว่า พระครูสีลสัมบันน่าจะหมายถึง เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย เจ้าคณะจังหวัดนครพนม ฝ่ายธรรมยุต สมณศักดิ์ของท่านเป็น พระครูสีลสัมบัน พระธรรมสารมุนีฯ และพระเทพสิทธาจารย์ฯ ตามลำดับ)
    “รูปท่านอาจารย์เสาร์เราจัดถ่ายครั้งนี้ ดูเหมือนจะเป็นรูปของท่านครั้งเดียวที่มีโอกาสถ่ายไว้ได้”
    หลวงปู่เทสก์ ได้พูดถึงการถ่ายรูปของหลวงปู่มั่นด้วยว่า “แม้ท่านอาจารย์มั่นก็เช่นเดียวกัน การถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกเป็นเรื่องที่ท่านปฏิเสธเสมอ อาราธนาอ้อนวอนบ่อยๆ ท่านก็ว่า ซื้อขนมให้หมากินดีกว่า แต่เมื่อเราอ้อนวอนชี้แจงหนักเข้า สุดท้ายท่านก็ใจอ่อน ทำให้เป็นบุญของคนรุ่นหลังๆ ได้มีโอกาสมีรูปของท่านไว้กราบไหว้สักการะ”
     
  5. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๘๑
    ภาวนาที่ถ้ำเสือฝั่งประเทศลาว
    เมื่อออกพรรษาแรกที่พำนักอยู่วัดโพนแก้ว นครพนม หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ข้ามแม่น้ำโขงไปบำเพ็ญเพียรทางฝั่งประเทศลาว ได้มอบหมายให้ พระอาจารย์บุญมา มหายโส (พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ) พระลูกศิษย์ที่ติดตามมาจากบ้านสามผง อยู่เป็นผู้ดูแลสำนักจนกว่าท่านจะข้ามโขงกลับมา
    หลวงปู่ใหญ่ ได้ข้ามไปทางเมืองท่าแขก ไปบำเพ็ญเพียรแถบป่าเขาที่สลับซับซ้อน อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนลาวประมาณ ๒๐ กิโลเมตร
    หลวงปู่ใหญ่มีความคุ้นเคยกับภูมิประเทศแถบนั้นเป็นอย่างดี เคยไปธุดงค์แสวงวิเวกหลายครั้ง
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เขียนถึงการไปฝั่งลาวของหลวงปู่ใหญ่ในครั้งนี้ ดังนี้ : -
    “ออกพรรษาแล้ว ท่านพระอาจารย์เสาร์ให้เที่ยวไปฟากโขงฝั่งโน้น ไปพักอยู่ถ้ำส้มป่อย ซึ่งถ้ำนี้เมื่อท่านออกวิเวกครั้งแรก ท่านได้มาอยู่พร้อมกับท่านอาจารย์มั่น เป็นถ้ำใหญ่มีหลายซอกหลายถ้ำติดกันมีตู้พระไตรปิฎกอยู่ในนั้นด้วย แต่ไม่มีหนังสือ
    เราได้ตามท่านไป แต่ท่านไม่ได้อยู่เลยแล้ว ท่านเข้าไปในถ้ำเสือ ซึ่งเดินไปอีกไกลจึงจะถึง ทางเข้าไปเป็นเขาวงกต มีภูเขาสลับซับซ้อนกันเป็นคู่ๆ
    ถ้ำที่ท่านอยู่มีเสือมาออกลูกทางใต้ถ้ำ เขาจึงเรียกถ้ำเสือ
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ได้เขียนเล่าถึงถ้ำเสือ ดังนี้ : -
    “..ทางบนขึ้นไปสูงราวเส้นหนึ่ง เป็นถ้ำยาวไปทะลุฟากโน้น ชาวบ้านบอกว่าจุดไต้ไปหมด ๕ เล่ม (ถ้าคะเนเวลาก็คงไม่ต่ำกว่า ๕ ชั่วโมง-ผู้เขียน) จึงทะลุออกฟากโน้น
    ท่าน (หลวงปู่ใหญ่) อยู่ปากถ้ำนี้ มีพระเณร ๒-๓ รูปไปด้วย มีตาแก่คนหนึ่งตามไปปฏิบัติท่าน
    ตาแก่คนนี้แกสุมไฟนอนอยู่ปากถ้ำ กลางคืนวันหนึ่งได้ยินเสียงดังฮือๆ แกลุกขึ้นมาก็ไม่เห็นมีอะไร แกสงสัย รุ่งเช้าเดินไปดูที่ตรงได้ยินเสียงนั้น ปรากฏว่าเห็นรอยเสือมายืนอยู่ตรงนั้น เข้าใจว่ามันจะเข้าไปในถ้ำ พอเห็นคนนอนอยู่มันเลยกลับ...
    ครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่า เพราะอากาศหนาวมากจนกระทั่งเสือยังแอบมานั่งผิงไฟด้วย
    หลวงปู่เทสก์ ได้เขียนเล่าถึงถ้ำนั้นต่อไปว่า “ถ้ำนี้ราบเกลี้ยงสองข้างเป็นเหมือนหิ้งตู้รถไฟ มีน้ำน้อยอยู่ข้างใน พระไปตักเอาน้ำที่นั้นมาฉัน ไม่ต้องกรอง สะอาด ไม่มีตัวสัตว์
    <table id="table35" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> หลวงปู่ใหญ่เสาร์
    </td> <td align="center"> หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี</td> </tr> </tbody></table> ​
    พระพาเราไป จุดเทียนไขหมดราวครึ่งเล่ม (หมายถึงช่วงเวลาที่เดินไปยังถ้ำ ต้องใช้เทียนไขจุดส่องทาง เทียนไขไหม้หมดไปครึ่งเล่มก็คงราวๆ ๑๕-๒๐ นาที น่าจะได้-ผู้เขียน) สบายมาก ไม่มีอึดอัดใจห่างไกลจากหมู่บ้านราวหนึ่งกิโลเมตร
    เราอยู่ด้วยท่านสองคืนแล้วเดินทางกลับ
    หลวงปู่เทสก์ได้เล่าถึงถ้ำนั้นในภายหลังว่า “เมื่อสงครามโลกครั้งที่สอง เราได้ข่าวว่าพวกคอมมิวนิสต์ขนครัวไปซุกอยู่ในนั้น อเมริการู้เข้าเอาลูกระเบิดไปทิ้งใส่ถ้ำ ลูกระเบิดถล่มปากถ้ำเป็นเหตุให้พวกคอมมิวนิสต์ตายอยู่ ณ ที่นั้นเป็นอันมาก ไม่มีใครไปรื้อออก น่าสลดสังเวชชีวิตคนเรานี้ หาค่าไม่ได้เสียเลย”
    ในส่วนของหลวงปู่เทสก์เอง ท่านเพิ่งบวชได้ ๗ พรรษา ปีนั้นเป็น พ.ศ. ๒๔๗๒ ท่านบันทึกเหตุการณ์ขององค์ท่านเองว่า “จวนเข้าพรรษา ท่านอาจารย์เสาร์ ได้ให้เราไปจำพรรษาที่บ้านนาทราย พระอาจารย์ภูมีไปจำที่บ้านนาขี้ริ้น เพื่อฉลองศรัทธาญาติโยม..ออกพรรษาแล้วได้ทราบข่าวว่า คณะท่านอาจารย์สิงห์และพระมหาปิ่น กลับจากอุบลฯไปถึงขอนแก่นแล้ว เราจึงได้ไปลาท่านอาจารย์เสาร์ แล้วออกเดินทางไปเพื่อนมัสการท่านทั้งสอง พอดีในปีนั้นทางราชการได้ประกาศไม่ให้ประชาชนนับถือภูตผีปีศาจ ให้พากันปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัย ทางจังหวัดจึงได้ระดมคณะของท่านอาจารย์สิงห์ให้ช่วยปราบผี เมื่อเราไปถึงก็เลยเข้าขบวนกับท่านบ้าง”
    ๘๒
    จำพรรษาที่บ้านม่วงสุม ฝั่งลาว
    ข้อมูลในส่วนนี้ ได้จากการสืบค้นของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติบอกว่า ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ อายุพรรษา ๔๙ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ยังท่องธุดงค์และจำพรรษาอยู่ในฝั่งลาว มีเหตุการณ์โดยสรุป ดังนี้ : -
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ออกจากถ้ำป่าเขาเมืองท่าแขก แขวงคำม่วนแล้วท่านได้เดินธุดงค์ลงไปทางใต้ ไปไหว้พระธาตุเมืองเก่า ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองท่าแขก แล้วธุดงค์ต่อไปยังบ้านม่วงสุมที่อยู่ถัดไป เห็นว่าสถานที่นั้นเป็นที่สัปปายะ มีความสงบเงียบ เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร และอยู่ไม่ห่างไกลจากหมู่บ้านมากนัก พออาศัยโคจรบิณฑบาตได้ ท่านจึงพักจำพรรษาอยู่ที่นี่ตลอดพรรษากาล
    หลังออกพรรษาในปี พ.ศ.๒๔๗๓ แล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็ได้ข้ามโขงกลับมาฝั่งไทย แล้วไปพักที่วัดป่าโพนแก้ว จังหวัดนครพนม ที่ท่านมอบหมายให้พระลูกศิษย์ คือ หลวงปู่บุญมา มหายโส เป็นผู้ดูแลอยู่
    ๘๓
    ตั้งสำนักวัดป่าที่ธาตุพนม
    หลังออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ช่วงที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลพำนักที่วัดป่าโพนแก้ว (วัดอรัญญิกาวาส ในปัจจุบัน) อำเภอเมืองนครพนม วันหนึ่ง ท่านได้ปรารภกับหลวงปู่บุญมา มหายโส ว่า ท่านมีความประสงค์จะตั้งสำนักวัดป่าอีกสองแห่ง คือ ที่อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม กับ ที่จังหวัดสกลนคร เพราะทั้งสองแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานปูชนียสถานที่สำคัญอยู่
    ที่อำเภอธาตุพนม เป็นที่ตั้งของ พระธาตุพนม และที่ตัวเมืองสกลนคร ก็เป็นที่ตั้งของพระธาตุเชิงชุมเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ และเป็นมงคลแก่สถานที่ รวมทั้งเป็นมงคลแก่ผู้กราบไหว้
    นอกจากนี้ ในที่สองแห่งนี้ หลวงปู่ใหญ่เคยไปพักภาวนา และโปรดศรัทธาญาติโยมมาก่อน บรรดาศรัทธาญาติโยมพุทธบริษัทที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาต่อองค์หลวงปู่ใหญ่ และหลวงปู่มั่น มีอยู่จำนวนไม่น้อย เพราะหลวงปู่ทั้งสองได้ปูพื้นไว้อย่างดีมาแล้ว
    ในปลายปี พ ศ ๒๔๗๓ นั้นเอง หลวงปู่ใหญ่จึงออกธุดงค์ไปทางอำเภอธาตุพนม ซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดนครพนมไปทางใต้กว่า ๕๐ กิโลเมตร
    หลังจากพาลูกศิษย์ไปนมัสการพระธาตุพนม แล้ว หลวงปู่ใหญ่ก็พาคณะไปพำนักปักกลดอยู่ที่ป่าดอนอ้อมแก้ว อยู่ทางทิศใต้ขององค์พระธาตุพนม
    บริเวณป่าดอนอ้อมแก้วแห่งนี้ เป็นผืนดินที่มีลักษณะคล้ายเกาะ เพราะมีน้ำล้อมรอบอยู่ ทางตะวันตกมีน้ำจากลำห้วยแคน ไหลผ่านลงลำน้ำก่ำ แล้วลงแม่น้ำโขงอีกทีที่ปากก่ำ ซึ่งอยู่ไม่ไกลบริเวณนั้น
    ประชาชนชาวธาตุพนม ซึ่งเรียกว่าชาวไทพนม นำโดยโยมทองอยู่ และโยมแก้วผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ได้ร่วมแรงร่วมใจพากันช่วยถากถางป่าต้นหนามคอมและกอไผ่หนาม จัดสร้างกุฏิ กระต๊อบ และเสนาสนะที่จำเป็นสำหรับคณะพระธุดงค์ได้พักอาศัย พอกันแดดกันฝนได้ รวมทั้งอุปถัมภ์อุปัฏฐากให้คณะของหลวงปู่ใหญ่ได้พักจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่แห่งนั้น
    เป็นอันว่าในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ หลวงปู่ใหญ่และคณะพักจำพรรษาโปรดญาติโยมอยู่ที่ป่าดอนออมแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นพรรษาที่ ๕๐ ของท่าน
    สำนักป่าดอนอ้อมแก้วแห่งนี้ จึงได้กลายเป็นวัดกรรมฐาน ชื่อว่าวัดป่าอ้อมแก้ว เพื่อเป็นการฉลองศรัทธาและเป็นเกียรติแก่โยมแก้ว เจ้าของที่ ในปลายปี พ ศ. ๒๔๗๓ นั่นเอง
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์จึงเป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ต่อมาภายหลังได้ใช้ชื่อใหม่ว่า วัดเกาะแก้วอัมพวัน มาจนทุกวันนี้
    ๘๔
    ท่านเจ้าเมืองสร้างถนนถวาย
    ในระหว่างที่ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพักจำพรรษาและเริ่มต้นก่อสร้าง วัดป่าอ้อมแก้ว อำเภอธาตุพนมนี้ ได้มีศรัทธาญาติโยมชาวไทพนม มาถวายการอุปัฏฐากและฟังธรรมเป็นประจำ
    แม้ที่ตั้งวัดจะเป็นป่ามีความสงบสงัดเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา แต่ทางเดินเข้าวัดก็เป็นไปด้วยความลำบาก คือ พอข้ามห้วยออกมาทางด้านหน้าวัด ก็ต้องเดินลัดเลาะผ่านป่าและเดินไปตามคันนาของชาวบ้าน
    เวลาถึงฤดูฝน มีน้ำเจิ่งนอง การสัญจรไปมาเต็มไปด้วยความลำบาก ทั้งฝ่ายพระที่ออกไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน และฝ่ายฆราวาสญาติโยมที่จะเดินทางไปทำบุญ ถวายภัตตาหารและฟังธรรม
    ทั้งพระและญาติโยมที่ศรัทธาในทางบุญก็ไม่ได้ย่นย่อท้อใจ ก็คงเหมือนคำพังเพยที่ว่า ทางเตียนเวียนลงนรก ทางรกวกขึ้นสวรรค์ (อันนี้ผู้เขียนว่าเองครับ จำขี้ปากเขามา ท่านผู้อ่านคงเข้าใจความหมายดี)
    เหตุการณ์ที่ทำให้พระเณรลูกศิษย์ และศรัทธาชาวไทพนมได้ประหลาดใจ เหตุการณ์หนึ่ง มีดังนี้ : -
    วันหนึ่ง หลวงปู่ใหญ่ สั่งให้ลูกศิษย์เตรียมสถานที่และจัดน้ำท่าไว้รอรับแขกสำคัญจะมาที่วัด
    ทุกคนต่างงุนงง เพราะไม่มีใครทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า ไม่มีใครกล้าถาม ได้แต่จัดเตรียมการต้อนรับตามคำสั่งของหลวงปู่ใหญ่
    หลังจากการตระเตรียมการต้อนรับเสร็จไม่นาน ปรากฏว่า ท่านพ่อเมือง (นครพนม) และคณะ ได้ด้นดั้นฝ่าหนทางที่วิบากนั้น มาถึงวัดด้วยความทุลักทุเล
    ท่านพ่อเมืองได้พาคณะมานมัสการหลวงปู่ใหญ่ เพราะได้เคยรู้จักและศรัทธาหลวงปู่ใหญ่มาก่อน
    การสนทนาในตอนหนึ่ง ท่านพ่อเมืองได้พูดถึงความลำบากในการเดินทางมาที่วัด หลวงปู่ใหญ่ท่านก็นั่งฟังด้วยความสงบเย็น อันเป็นปกติของท่าน
    พอได้เวลาพอสมควร คณะพ่อเมืองก็ได้กราบอำลา
    หลังจากนั้นไม่กี่วัน ท่านพ่อเมือง ก็สั่งให้ทำการปรับปรุงถนนเข้าไปจนถึงวัด ทำให้การสัญจรไปมาได้รับความสะดวกขึ้น (ปัจจุบันเป็นถนนคอนกรีตตลอดทั้งสาย)
    อาจารย์พิศิษฐ์ ได้บันทึกขมวดท้ายว่า
    “ท่านพระอาจารย์ได้ออกบิณฑบาตโปรดชาวพนมไปอย่างทั่วถึงทุกคุ้มบ้าน เป็นภาพที่ยังติดตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่ไทพนมมาจนบัดนี้ ไทพนมทั้งหลาย ต่างเคารพรักและเลื่อมใสในองค์ท่านมาก โดยเอ่ยขานนามถึงท่านว่า “ญาท่านเสาร์
    อาจารย์พิศิษฐ์ ได้เขียนถึงบรรดาพระคณาจารย์ที่เป็นศิษย์สายกองทัพธรรม ว่า
    “ระยะเวลาช่วงนี้ ลูกศิษย์ของท่านก็แยกย้ายกันพำนักปฏิบัติธรรมอยู่ทั่วไป ทั้งในจังหวัดนครพนม สกลนคร อุบลราชธานี และใกล้เคียง โดยมีข่าวคราวติดต่อกันมิได้ขาด และหาโอกาสผลัดเปลี่ยนกันมาเยี่ยมคารวะองค์ท่านอยู่เสมอ ตามธรรมเนียม ทำให้วัดอ้อมแก้วเป็นที่รู้จักคุ้นเคยของพระเถราจารย์ในรุ่นต่อจากนั้นมาตั้งแต่บัดนั้น”
    ท่านผู้อ่านคงยังจำได้ว่า วัดอ้อมแก้ว คือวัดป่าอ้อมแก้วในสมัยของหลวงปู่ใหญ่ ก็คือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ในปัจจุบันนี้นั่นเอง
    <table id="table36" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td rowspan="2">
    [​IMG]
    </td> <td height="182">
    วัดเกาะแก้วอัมพวัน
    อ ธาตุพนม จ นครพนม
    </td> </tr> <tr> <td valign="bottom"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td rowspan="2"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td> [​IMG]</td> </tr> </tbody></table>​
    ๘๕
    เชื่อมโยงถึงสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส)
    ในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ท่านเขียนพาไปดูเหตุการณ์ที่จังหวัดนครราชสีมา ผมเห็นว่าจะเชื่อมโยงกับเรื่องที่จะเขียนต่อไปได้ดี คือ ความเกี่ยวข้องระหว่าง หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) จึงขออนุญาตพาท่านผู้อ่านติดตามไปนครราชสีมากับผมด้วย
    เป็นเหตุการณ์ที่เริ่มก่อตั้งวัดป่าสาลวัน ก็คือวัดของหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ที่พวกเรารู้จักกันดีนั้นแหละ วัดนี้เคยเป็นศูนย์รวมของครูบาอาจารย์สายกรรมฐานในอดีต
    บันทึกของอาจารย์พิศิษฐ์ มีดังนี้ : -
    “ถึงวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ พระเทพเมธี (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ อ้วน ติสฺโส) เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมาในขณะนั้น ได้มีบัญชาให้พระกัมมัฏฐานในจังหวัดขอนแก่น เดินทางไปรวมกันที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเผยแพร่อบรมเทศนาสั่งสอนประชาชนร่วมกับข้าราชการ
    <table id="table37" border="0" width="282"> <tbody><tr> <td width="100">
    [​IMG]
    </td> <td valign="bottom" width="150">
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    (ติสฺโส อ้วน)
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2"> [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2" align="center"> วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร)</td> </tr> </tbody></table>​
    ขณะนั้น พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ผู้เป็นสัทธิวิหาริก (ลูกศิษย์) ของท่าน กำลังนำพาหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมปฏิบัติอยู่ในละแวกนั้น จึงได้พาหมู่คณะเดินทางไปเมืองโคราช นครราชสีมา ประกอบกับ พลตรีหลวงชาญนิยมเขต ได้มีศรัทธาถวายที่ดินหลังสถานีรถไฟ จำนวนถึง ๘๐ ไร่เศษ ให้สร้างเป็นวัดพระอาจารย์สิงห์จึงได้จัดสร้าง วัดป่าสาลวันขึ้นมา เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางในการอบรมเผยแพร่กัมมัฏฐาน จังหวัดนครราชสีมา”
    ๘๖
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน)
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ท่านครองวัดบรมนิวาส และเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ ท่านปกครองวัดระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๙๙ (ประวัติการสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน น่าสนใจมาก จะได้นำเสนออีกตอนหนึ่งต่อไป)
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี เกิดที่หมู่บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอเมือง บิดาชื่อ เพี้ยเมืองกลาง (เคน) ตำแหน่งกรมการเมืองอุบล มารดาชื่อ บุดสี ท่านเกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๑๐ เวลา ๐๕.๐๐ น. (อายุอ่อนกว่าหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ๘ ปี และแก่กว่าหลวงปู่มั่น ๒๑ ปี)
    ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ อายุ ๑๙ ปี ที่วัดบ้านสว่าง อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี แล้วย้ายไปศึกษาที่วัดศรีอุบลรัตนาราม (เดิมเรียกวัดศรีทอง) ในเมืองอุบลฯ
    อุปสมบทที่วัดศรีอุบลรัตนาราม เมื่อวันที่ ๒๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๐ โดยมีพระเทวธัมมี (ม้าว) เป็นพระอุปัชฌายะ พระโชติปาลเถระ (ทา) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และได้ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) เป็นพระอุทเทสาจารย์
    เมื่ออุปสมบทแล้ว เล่าเรียนอักษรสมัยและพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักวัดศรีอุบลรัตนาราม โดยเล่าเรียนต่อพระอุปัชฌายะบ้าง ต่อพระกรรมวาจาจารย์บ้าง ต่อท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์เมื่อยังเป็นเปรียญบ้าง
    ครั้น พ.ศ. ๒๔๓๓ ย้ายสำนักเข้ามาศึกษาที่กรุงเทพฯ กับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ โดยพักที่วัดพิชัยญาติการาม ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในสำนักเจ้าคุณพระศาสนโศภน (อหิสโก อ่อน) ครั้งยังเป็นพระเมธาธรรมรส
    เวลานั้นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร และขยายสาขาออกไป
    ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ได้รับตำแหน่งครูบาลี ที่วัดเทพศิรินทราวาส จึงได้ย้ายไปอยู่ด้วย และสอบเปรียญได้ในปีพ.ศ. ๒๔๓๙ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ สอบได้เปรียญโท
    ในปี พ ศ. ๒๔๔๐ ท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ได้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี ท่านได้เป็นครูสอนแผนกบาลี โรงเรียนนี้นับเป็นโรงเรียนปริยัติธรรมแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี มีชื่อว่าโรงเรียนอุบลวิชาคม
    ท่านได้เป็นกำลังสำคัญยิ่ง และได้อุปถัมภ์โรงเรียนนี้มาโดยตลอด ทุกวันนี้โรงเรียนนี้ก็ยังอยู่ โดยเป็นโรงเรียนราษฎร์ของวัดสุปัฏนาราม สำหรับเป็นที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร และกุลบุตรกุลธิดาทั่วไป และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า โรงเรียนสมเด็จ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่าน
    โดยที่สมเด็จฯ ท่านเป็นผู้มีความสามารถทั้งในด้านการศึกษาและการปกครอง เมื่อคณะรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จัดสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ขึ้นเป็นอนุสรณ์ในสมัยประชาธิปไตย เมื่อ .ศ. ๒๔๘๓ ครั้นสร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ จึงอาราธนาสมเด็จฯ ท่านมาเป็นเจ้าอาวาส และนับเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด ซึ่งเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกในสมัยประชาธิปไตย
    (การก่อตั้งวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะรวมพระในมหานิกาย และธรรมยุตเข้าด้วยกัน กำหนดระเบียบปฏิบัติด้วยกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จะขอนำเสนอไว้อีกหนึ่งตอนต่างหาก - ปฐม)
    นอกจากสมเด็จฯท่านเป็นนักปกครองที่สามารถ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปแล้ว ท่านก็ยังเป็นนักเทศน์ นักประพันธ์ เจ้าของคติธรรมคำขวัญที่มีข้อเตือนใจที่ลึกซึ้งทั้งทางคดีโลก คดีธรรม
    ทางคดีโลก เช่นคำว่า “ทรัพย์ในดินสินในน้ำ” คดีธรรม เช่นคำว่า “ผู้หามโลกอยู่ระดับต่ำ ผู้หิ้วโลกอยู่ระดับกลาง ผู้วางโลกอยู่ในระดับสูง” เป็นต้น และเป็นผู้เสกประเทศไทยทั้ง ๔ ภาค เป็นถิ่นต่างๆ ดังนี้ เสกภาคกลางเป็นถิ่นจอมไทย ภาคเหนือเป็นถิ่นไทยงาม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นถิ่นไทยดี และเสกภาคใต้เป็นถิ่นไทยอุดม
    ตำแหน่งเจ้าอาวาสมีดังนี้ คือ -
    พ.ศ. ๒๔๔๖ เจ้าอาวาสวัดสุปัฏนาราม อุบลราชธานี
    พ ศ ๒๔๗๐ เจ้าอาวาสวัดสุทธิจินดา นครราชสีมา
    พ.ศ. ๒๔๗๕ เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ
    พ.ศ. ๒๔๘๕ เจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ
    <table id="table38" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    (ติสฺโส อ้วน)

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    สมณศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน ตามลำดับดังนี้. -
    พ.ศ. ๒๔๔๗ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระศาสนดิลก
    พ.ศ. ๒๔๕๔ พระราชาคณะเสมอชั้นราช ที่ พระราชมุนี
    พ.ศ. ๒๔๖๔ พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพเมธี
    พ.ศ. ๒๔๖๘ พระราชาคณะเสมอชั้นธรรม ที่ พระโพธิวงศาจารย์
    พ.ศ. ๒๔๗๒ พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมปาโมกข์
    พ.ศ. ๒๔๗๕ พระราชาคณะชั้นหิรัญบัตร ที่ พระพรหมมุนี เจ้าคณะรองหนกลาง
    พ.ศ. ๒๔๘๒ ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
    ต่อมาเมื่อ พ ศ. ๒๔๘๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นสังฆนายกและนับเป็นสังฆนายกองค์แรกของคณะสงฆ์ไทย ภายหลังท่านย้ายไปประจำที่วัดบรมนิวาส และมรณภาพที่วัดบรมนิวาสนี้เอง เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ เวลา ๑๘.๔๕ นาฬิกา ด้วยอาการอันสงบ สิริอายุได้ ๘๙ ปี พรรษา ๖๙
    ๘๗
    ฝ่ายตรงข้ามที่คอยขัดขวาง
    คำพระท่านว่า มารไม่มี บารมีไม่เกิด
    ไม่ทราบใครเป็นผู้กล่าวคำนี้ แต่ดูเหมือนจะเป็นจริงทุกยุคทุกสมัย แม้แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ยังต้องผจญมาร ปราบมาร เอาชนะมาร รวมทั้งโปรดมาร อยู่ตลอด ตั้งแต่ก่อนตรัสรู้ และการเผยแพร่สัจธรรมภายหลังการตรัสรู้แล้ว
    คงไม่จำเป็นต้องยกเรื่องมารที่พยายามขัดขวาง กลั่นแกล้งพระพุทธองค์มาแสดง ณ ที่นี้ เชื่อว่าท่านผู้อ่านจะต้องนึกออกอย่างแน่นอน
    ในชีวิตนักบวชของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ท่านก็ผจญมาร ผจญอุปสรรคขัดขวางมาตลอดเวลา หาได้ดำเนินไปอย่างราบรื่นโดยตลอดไม่
    มาร หรืออุปสรรคจากภายนอก หรือจากบุคคลอื่นนั้นส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการไม่เห็นด้วย ที่หลวงปู่ทั้งสององค์ทำนอกประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมา เช่น วัดหรือบ้านที่เคยอยู่ เคยหลับนอนสบายๆ ก็ไม่อยู่ กลับไปทรมานตนตามป่าตามเขา ตามโคนต้นไม้ ตามป่าช้า ไปอยู่ตามที่อันตราย แทบเอาชีวิตไม่รอด
    อาหารการฉัน ก็ต้องไปกินแบบอดอยากๆ ไม่มีรสไม่มีชาด เครื่องนุ่งห่มชนิดดีๆ แพงๆ ก็ไม่ใช้ ต้องใช้ผ้าบังสุกุล และจำกัดเพียง ๓ ผืน
    ความสะดวกสบายต่างๆ ท่านก็พยายามปฏิเสธ พยายามจำกัดให้มีน้อยที่สุด เท่าที่จำเป็นจริงๆ
    ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับ หลวงปู่ทั้งสององค์ ย่อมมีเป็นธรรมดา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิบัติของหลวงปู่ ก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ ระหว่างการปฏิบัติที่เข้มงวด ถับการปฏิบัติที่ย่อหย่อนสบายๆ ระหว่างการละการวางการไม่สะสม กับการสะสมทรัพย์สมบัติเยี่ยงฆราวาสเขานิยมกัน เหล่านี้ย่อมก่อให้เกิดการเปรียบเทียบ และก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างแน่นอน
    การปฏิบัติของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีปฏิปักษ์ หรือฝ่ายตรงข้ามคอยขัดขวางอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นพระคนละนิกาย หรือพระเจ้าถิ่น ท่านย่อมไม่พอใจแน่ ที่อยู่ดีๆ ก็มีพระธุดงค์ต่างแดนไปปักกลดสั่งสอนประชาชนตามแนวทางใหม่ ภาษาสมัยใหม่เขาว่าเป็นการแย่งมวลชนกัน
    <table id="table39" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> หลวงปู่สาม อกิญฺจโน
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    อีกกลุ่มที่เป็นปฏิปักษ์ขัดขวาง ถึงกับลอบทำร้าย ต้องการเอาชีวิตกันเลย ก็มีกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ได้แก่ กลุ่มหมอผี นักไสยศาสตร์ หรือกลุ่มที่หากินกับประชาชนด้วยเล่ห์กลต่างๆ
    ถ้าเราศึกษาประวัติชีวิตการปฏิบัติธรรมของครูบาอาจารย์องค์ต่างๆ เราจะพบว่าแต่ละองค์ล้วนแต่ผ่านอุปสรรคเหล่านั้นมาแล้วทั้งสิ้น ชนิดที่เรียกว่า ท่านผ่านความตายมาแล้ว จึงได้ธรรมะมาสอนประชาชน
    ตัวอย่าง หลวงปู่สาม อกิญฺจโน ท่านก็ถูกพระเจ้าถิ่นจ้างพวกนักเลงขี้เมาไปฆ่าท่าน โดยเอาก้อนหินทุ่มใส่ศีรษะท่านในขณะที่ท่านเข้าฌานอยู่ ถึงกับหน้าแตก ฟันหัก ซึ่งมารู้ตัวเมื่อออกจากฌานแล้ว ดังนี้เป็นต้น
    ครูบาอาจารย์ต่างๆ ท่านผ่านพ้นอุปสรรคเหล่านั้น ด้วยความอดทน หนักแน่น ใจเยน ด้วยกำลังสมาธิ และด้วยกระแสเมตตา
     
  6. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๘๘
    การเป็นปฏิปักษ์จากพระผู้ใหญ่
    นอกจากปัญหาและอุปสรรคจากพระเจ้าถิ่นคนละนิกายแล้ว หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ยังพบอุปสรรคสำคัญจากพระในนิกายเดียวกัน และเป็นพระผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในการบริหารคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายด้วย
    พระมหาเถระรูปนั้นท่านเป็นพระผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาอย่างมหาศาล จัดการศึกษาแก่พระและแก่ประชาชนอย่างได้ผลดียิ่ง จัดการปกครองคณะสงฆ์ได้อย่างเรียบร้อยดีงาม ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเต็มบ้านเต็มเมืองทีเดียว
    แต่ในส่วนหนึ่ง ในตอนต้นท่านไม่เห็นด้วยกับการเป็นพระธุดงค์กรรมฐาน ไม่เห็นด้วยกับการศึกษาธรรมด้วยการนั่งสมาธิภาวนา ท่านจึงขัดขวางหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น แทบทุกวิถีทางก็ว่าได้
    ต่อมาภายหลัง ท่านจึงมีความเข้าใจ คลายทิฏฐิลง และเปลี่ยนมาเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์ค้ำจุนพระธุดงค์กรรมฐานอย่างเต็มที่
    ทำให้การศึกษาด้านปริยัติ ได้เจริญควบคู่ไปกับ การปฏิบัติสมาธิภาวนา อย่างจริงจังมาจนทุกวันนี้
    พระมหาเถระที่กล่าวถึงคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) พระบูรพาจารย์องค์สำคัญในสายธรรมยุตนี้เอง
    การนำเสนอเรื่องนี้ หลายฝ่าย หลายท่านไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการติเตียนพระผู้ใหญ่ ดูจะไม่เหมาะสม
    ในส่วนของผมเอง (นายปฐม นิคมานนท์) ได้ใคร่ครวญเรื่องนี้เป็นอย่างดีแล้ว เห็นว่าถ้าไม่มีการเขียนถึง พูดถึง ก็จะทำให้เรื่องราวหรือความจริงบางอย่างที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ในวงศ์พระธรรมยุตและในสายพระป่า ต้องขาดหายลืมเลือนไปอย่างน่าเสียดาย
    แต่ขออนุญาตรับรองตนเองว่า ที่เขียนนี้ ไม่มีความประสงค์จะติเตียนองค์ท่าน แต่เพื่อเป็นอุทาหรณ์สอนใจว่า การเป็นผู้ใหญ่นั้นการกระทำทุกอย่างมีน้ำหนักและมีความสำคัญมาก ถ้าผู้ใหญ่ไม่เห็นด้วยจะเป็นอุปสรรคใหญ่หลวง แต่ถ้าเมื่อไรก็ตาม ผู้ใหญ่ให้ความสนับสนุนแล้ว กิจการนั้นก็สามารถเจริญก้าวหน้าไปด้วยดี
    จะเหมาะสมหรือไม่ ขอให้ท่านผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณก็แล้วกัน นะครับ
    หากเห็นว่าไม่เหมาะสม ด้วยประการใดๆ ก็ตาม ผม (รศ.ดร. ปฐม นิคมานนท์) กราบขอขมาต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ขอขมาต่อทุกท่านที่เกี่ยวข้อง และขออภัยต่อท่านผู้อ่านด้วยครับ
    ๘๙
    ห้ามประชาชนไม่ให้ใส่บาตร
    เรื่องภวทั้งหมดที่นำเสนอนี้ เป็นบันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค (อ้างชื่อหลวงพ่อมาช่วยรับผิดด้วย) แห่งวัดภูเขาแก้ว และเจ้าคณะอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีดังนี้ : -
    “ท่านเจ้าคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ติสฺสมหาเถระ เป็นผู้หนึ่งที่แสดงตนอย่างเปิดเผยเป็นคู่ปฏิปักษ์กับท่านพระอาจารย์เสาร์
    สมเด็จฯ ท่านหาวิธีทุกอย่าง เพื่อกลั่นแกล้งพระอาจารย์เสาร์ในอันที่จะกำจัดพระคณะของท่านพระอาจารย์ให้หมดสิ้นไป
    จนถึงกับทำให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ประกาศต่อประชาชนว่า ญาคูเสาร์ กับ ญาคูมั่น ห้ามไม่ให้ใส่บาตรให้กิน เพราะพวกนั้นคือพวกเทวทัต
    ในบันทึกมีต่อไปว่า :-
    “แต่ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านก็เฉย ไม่เคยโต้ตอบ เพราะท่านรู้ดีว่า การสาดน้ำใส่กันนั้นมันย่อมไม่เป็นผลดีเลย เมื่อต่างฝ่ายต่างไม่ต้องการเปียกปอน
    <table id="table40" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระอาจารย์โชติ อาภัคโค
    วัดภูเขาแก้ว อุบลราชธานี

    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ท่านได้รู้ได้ยิน ท่านก็เพียงแต่ยิ้ม ท่านก็ยังจาริกสมณธรรมเผยแผ่แก่พุทธบริษัทของพระบรมศาสดาไปเรื่อยๆ อย่างไม่สะทกสะท้าน ด้วยพลังจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตากตัญญูอย่างมาก
    เมื่อเจอหนักๆ เข้า ท่านก็พูดเพียงว่า สมเด็จฯ ว่าเราเป็นพวกเทวทัต เฮาบ่ได้เป็น กะบ่เห็นสิเดือดร้อน สมเด็จฯ สั่งคนบ่ให้ใส่บาตรให้เฮากิน แต่กะยังมีคนใส่ให้อยู่ พอได้ฉัน กะบ่เห็นเดือดฮ้อนอีหญัง สมเด็จฯ บ่เหนื่อยว่ากะช่างสมเด็จฯ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ยังพาพระเณรออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ตามปกติ บอกลูกศิษย์ว่า สมเด็จฯ ท่านไม่เหนื่อยก็เป็นเรื่องขององค์ท่าน

    หลวงปู่ใหญ่ยังคงพาคณะศิษย์ปฏิบัติบำเพ็ญภาวนาและปฏิบัติกิจสงฆ์ไปตามปกติ ประชาชนก็ยังใส่บาตรให้ความอุปการะท่านไม่เปลี่ยนแปลง ในที่สุดการสั่งห้ามประชาชนตักบาตรแก่พระป่าสายของหลวงปู่ใหญ่ ก็ไม่บังเกิดผลอะไร
    ๙๐
    ให้ตามรื้อกุฏิที่พัก
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ท่านจะย้ายสถานที่ในการบำเพ็ญเพียรไปเรื่อย
    ในตอนหลังเมื่อการบำเพ็ญทางจิตของท่านมีความแก่กล้ามั่นคง สามารถเป็นที่พึ่งของศิษย์ได้อย่างมั่นใจแล้ว ท่านมักจะพาคณะศิษย์ออกเดินทางรวมกันไปเป็นหมู่คณะ แล้วแยกย้ายกันปักกลดตามป่าช้า ดอนปู่ตา หรือบริเวณป่าที่ไม่ไกลหมู่บ้านนัก เพื่อจะได้อาศัยบิณฑบาตจากชาวบ้าน เพื่อยังชีพอนุเคราะห์พรหมจรรย์ไปวันๆ เท่านั้น ไม่สะสมไว้วันต่อไป
    คือ ฉันภัตตาหารวันละ ๑ มื้อ โดยออกบิณฑบาตมาฉันวันต่อวันเท่านั้น วันไหนบิณฑบาตได้ก็ฉัน บิณฑบาตไม่ได้ก็อด หรือถ้าช่วงที่เร่งภาวนาก็งดออกบิณฑบาต และงดฉัน ดังนี้เป็นต้น
    หลวงปู่ใหญ่ จะไม่พักที่ใดนานๆ บางแห่งก็อยู่คืนเดียว บางแห่งก็สอง-สามวัน หรืออาจอยู่เป็นเดือน หรือจำพรรษาอยู่ตลอดพรรษา
    ตามประวัติช่วงการเผยแพร่ธรรมของท่านหลวงปู่ใหญ่จะไม่เคยพักประจำอยู่ที่ใดที่หนึ่งเกิน ๓ ปีเลย
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ มีว่า
    “...เมื่อท่านพระอาจารย์ปักกลดลงที่ไหน ด้วยความศรัทธาของประชาชน ทำให้สถานที่แห่งนั้นกลายเป็นวัดเป็นสำนักปฏิบัติธรรมไปในที่สุด
    คือ มีสิ่งปลูกสร้างถาวรเกิดขึ้น จากแรงศรัทธาของประชาชนเช่น กุฏิ ศาลา โรงฉัน เป็นต้น ทั้งๆ ที่หลวงปู่ใหญ่ ท่านไม่เคยเอ่ยปากขอ
    สิ่งเหล่านี้คือปฏิปทาอันงดงามของหลวงปู่ใหญ่ ของหลวงปู่มั่น และสืบทอดมาถึงลูกศิษย์พระป่าที่แท้จริงในปัจจุบัน คือ พระท่านจะไม่เอ่ยปากขออะไรจากใครให้เขาเดือดร้อนเป็นอันขาด เว้นแต่ญาติโยมเขาปวารณาหรือบังเกิดศรัทธาเลื่อมใสขึ้นมาเอง

    นั่นคือ การปลูกสร้างวัดวาอารามและเสนาสนะต่างๆ เป็นเรื่องของศรัทธาญาติโยมเขาจะดูแลกัน เป็นไปตามกำลังศรัทธา
    (อย่างที่ หลวงปู่โง่น โสรโย วัดพระพุทธบาทเขารวก อ.บางมูลนาก จ.พิจิตร ท่านเรียกพระบางพวกว่า พระนักรบ คือ ชอบรบกวนแจกซองชาวบ้านตลอดเวลา ราวกับบวชมาเพื่อตั้งหน้าหาเงินทองท่าเดียว-อันนี้หลวงปู่โง่นท่านว่านะครับ ผมก็อยากจะว่า แต่ไม่กล้าครับ กลัวจะตัดหนทางทำมาหากินของท่าน ก็ดูเอาเองก็แล้วกัน ย้ำ ! ผมไม่ได้ว่านะครับ)
    ขออนุญาตย้อนกลับไปพูดถึงปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ว่า ท่านไม่เคยพักประจำอยู่แห่งใดเกิน ๓ ปี แล้วท่านจะเดินทางไปที่แห่งใหม่ ที่ที่เหมาะต่อการบำเพ็ญเพียรของลูกศิษย์ และพอประกาศเผยแพร่ประดิษฐานสัจจธรรมของพระพุทธองค์ได้
    การย้ายสถานที่บ่อยๆ นั้น หลวงปู่ใหญ่ท่านบอกลูกศิษย์ว่า เพื่อผลการภาวนา จะได้ไม่ติดวัตถุ ไม่ติดสถานที่ ไม่ติดญาติโยม และไม่ติดลาภสักการะ
    แม้องค์พระศาสดา พระบรมครู ก็ไม่พำนักอยู่ประจำที่ใดที่หนึ่งเป็นการถาวร
    เหตุการณ์ที่ไม่น่าเชื่อคือ หลังจากที่หลวงปู่ใหญ่และคณะออกเดินทางไปที่ใหม่ “สมเด็จฯ จะสั่งรื้อถอนกุฏิ ศาลา สำนักของท่านทิ้งทันทีอย่างไม่ให้เหลือซาก ให้คนกลั่นแกล้งจนพระอยู่ไม่ได้ เพราะท่านมีอำนาจมากในสมัยนั้น” นี่คือบันทึกของหลวงพ่อโชติ
    ในบันทึกมีต่อไปว่า : -
    “เมื่อสมเด็จฯให้คนรื้อกุฏิวิหาร ก็มีคนไปกราบเรียนนมัสการให้ท่านพระอาจารย์ได้ทราบ แทนที่จะแสดงอาการบึ้งตึง ขึ้งเคียด หรือโกรธเคือง ตรงกันข้าม ท่านกลับหัวเราะเบาๆ อย่างไม่อนาทรร้อนใจ
    ท่านพูดด้วยสีหน้าสงบเย็นเป็นปกติว่า เออ ! สมเด็จฯ ท่านรื้อก็ช่างท่าน ก็ไม่เห็นจะเป็นอะไร ใครทำใครได้ ของเหล่านั้นก็ไม่ใช่ของใคร เมื่อเราตายไปก็เอาอะไรไปด้วยไม่ได้หรอก นอกจากบุญบาปเท่านั้น เพราะนั่นมันเป็นของภายนอก ไม่จีรังยั่งยืน”
    หลวงพ่อโชติ ได้แสดงความคิดเห็นต่อคำพูดและปฏิกิริยาของหลวงปู่ใหญ่ว่า
    “วาจาของท่าน ทั้งปฏิปทา การแสดงออกของท่าน เราทั้งหลายคงจะมองเห็นความเยือกเย็น สุขุมคัมภีร์ภาพ แห่งดวงใจของท่านพระอาจารย์เสาร์ อย่างหาประมาณเปรียบปานมิได้
    ด้วยขันติธรรม ซึ่งนอกจากภายในจิตสันดานของท่านจะไม่ยึดถือเก็บความโกรธเอาไว้แล้ว ยังแสดงออกให้เห็นถึงความเป็นผู้ไม่ติดข้องอยู่ในรูปสมบัติเลย ท่านไม่มีความอาลัยอาวรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น
    จากปัญหาความยุ่งยากที่เกิดจากการไม่เห็นด้วยในการออกธุดงค์ ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งนี้ เพราะสมเด็จฯท่านพยายาม “จัดระเบียบพระ”ให้อยู่เป็นหลักแหล่ง มีสังกัดที่แน่นอนนี้เอง ท่านจึงไม่เห็นด้วยกับ “พระธุดงค์เร่ร่อน”
    <table id="table41" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> ท่านธมฺมธีโร (แสง)
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    บูรพาจารย์บางองค์ท่านหลบหลีกความรำคาญ ข้ามโขงไปอยู่ทางฝั่งลาวก็มี บางองค์ เช่น ท่านธมฺมธีโร (แสง) ท่านก็หนีความรำคาญใจ จากวัดศรีทองเมืองอุบลฯ ไปอยู่หนองบัวลำภู เพราะท่านโดนข้อหาว่าเป็น “ธรรมยุตเถื่อน” จนกระทั่งท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ รับรองว่าท่านธมมธีโรเป็นสายของท่าน และขึ้นต่อวัดศรีทอง
    หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ให้ความเห็นใน วงศ์ธรรมยุตในภาคอิสาน” เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
    “การบริหารคณะสงฆ์ในพุทธศาสนานี้ ถ้ามีแต่ปริยัติอย่างเดียวแล้วก็เป็นเช่นนี้แหละ เพราะปริยัติและปฏิบัติเป็นคู่กันไป ถ้ามีแต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ครบทั้งสองก็จะเสื่อมทรามลงอย่างนี้
    หลวงปู่เทสก์ ได้ให้ความเห็นว่า “ส่วนดีก็มีอยู่บ้าง คือ ถ้าท่านไม่เป็นอย่างนั้น ธรรมยุตไม่ได้เผยแพร่ออกไป”
    จะเห็นว่าการที่หลวงปู่ใหญ่ หลวงปู่มั่น และคณะศิษย์ไม่อยู่ประจำที่ สามารถเผยแพร่คำสอนไปได้กว้างไกล และเกิดวัดกรรมฐานขึ้นมากมาย นับเป็นผลดีอย่างยิ่ง
    ๙๑
    หลวงปู่มั่นก็โดนเล่นงาน
    ทางด้านหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ก็โดนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเล่นงานเหมือนกัน
    ตัวอย่างเช่น เมื่อคราวหลวงปู่มั่น ปลีกออกจากหมู่คณะไปบำเพ็ญเพียรทางเชียงใหม่ เพื่อหวังวิมุตติหลุดพ้นในชาติปัจจุบันให้ได้นั้น ท่านก็ออกแสวงวิเวกไปตามป่าเขาตามลำพังองค์เดียว ยอมสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง และสละตำแหน่งพระอุปัชฌาย์
    โดยอุปนิสัยที่แท้จริง หลวงปู่มั่น ท่านชอบความสงบไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ท่านมักเทศน์บอกลูกศิษย์ลูกหาเสมอว่า “ใจจริงนั้นไม่อยากจะเอาใคร ต้องการอยู่ป่าเขาลำเนาไพรเพียงผู้เดียว แต่ด้วยบารมีที่เคยสร้างร่วมกันไว้ในอดีตชาติ พอตกมาในภพนี้ชาตินี้ จึงต้องมาเป็นครูบาอาจารย์-ลูกศิษย์ลูกหากันอีก”
    ด้วยเหตุนี้กระมัง บรรดาศิษย์ทั้งหลาย เมื่อได้ทราบข่าวว่าหลวงปู่มั่น ปลีกตัวไปบำเพ็ญเพียรอยู่ตามดงตามเขาสูง โปรดพวกชาวเขาชาวบ้านป่าดงอยู่ จึงได้พากันด้นดั้นบุกป่าฝ่าดง เดินทางจากภาคอีสานขึ้นไปตามหาท่านที่ภาคเหนือ แม้จะยากลำบากสักปานใดก็ไม่ย่อท้อ อดทนฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ เพื่อจะได้มีโอกาสรับโอวาทธรรมและการอบรมจากท่าน
    ครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาติดตามเสาะหา หลวงปู่มั่นที่พวกเราทราบกันดีก็มี เช่น หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม, หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ, หลวงปู่ขาว อนาลโย, หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ, หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร และครูบาอาจารย์องค์อื่นอีกมากมาย ที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็มี หลวงปู่เจี้ยะ จุนฺโท, หลวงปู่หนู สุจิตฺโต เป็นต้น
    สมัยนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเดินทางไปตรวจงานการคณะสงฆ์ มณฑลภาคเหนือ และมีโอกาสได้พบกับ หลวงปู่มั่นที่เชียงใหม่
    ด้วยความเป็นคู่ปรับกับพระกรรมฐานมีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงตั้งคำถามในลักษณะตำหนิว่า
    “ญาคูมั่น เธอเที่ยวตามป่าเขาอยู่เพียงลำพังผู้เดียวอย่างนี้เธอได้สหธรรมิก ได้ธรรมวินัย เป็นแนวทางประพฤติปฏิบัติที่ไหน เธอได้รับฟังธรรมจากสหธรรมิกอย่างไร ทำไมเธอจึงได้ปฏิบัติมางมไปอย่างนั้น เธอทำอย่างนั้นจะถูกหรือ”
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถามในเชิงติเตียนหลวงปู่มั่น เช่นนั้น เพื่อจะแสดงให้ผู้ที่อยู่ ณ ที่นั้นเห็นว่าหลวงปู่มั่น เป็นพระเร่ร่อน หลักลอย ไม่มีสังกัด ไม่มีหมู่คณะรับรอง
    ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ในครั้งนั้น ได้ถึงกับมีการตรวจหนังสือสุทธิกันเลยทีเดียว
    ปกติหลวงปู่มั่น ท่านไม่เคยยอมแพ้ใคร และก็ไม่เอาชนะใครเหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาต่างยกย่องว่า ท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ปฏิภาณไหวพริบ ที่เฉียบคมและฉลาดปราดเปรื่องหาผู้เสมอเหมือนได้ยาก
    หลวงปู่มั่น ได้กราบเรียนตอบสมเด็จฯ ไปว่า
    “...สำหรับเรื่องนี้ พระเดชพระคุณท่านไม่ต้องเป็นห่วงกังวล กระผมอยู่ตามป่าตามเขานั้น ได้ฟังธรรมจากเพื่อนสหธรรมิกตลอดเวลา คือมีเพื่อนและฟังธรรมจากธรรมชาติ เลี้ยงนกเสียงกา เสียงจิ้งหรีด จักจั่นเรไร เสียงเสือ เสียงช้าง มันเป็นธรรมชาติไปหมด
    มันทุกข์หรือสุขกระผมก็รู้ เขาคอยตักเตือนกระผมอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ลืมสติว่า เจ้าเป็นใครมาจากไหน อยู่อย่างไร แล้วก็จะไปไหน
    เวลาใบไม้ร่วงหล่นจากขั้ว ทับถมกันไปไม่มีสิ้นสุด ก็เป็นธรรม บางต้นมันก็เขียวทำให้ครึ้ม บางต้นมันก็ตายซากแห้งเหี่ยว เหล่านั้นมันเป็นธรรมเครื่องเตือนสติสัมปชัญญะไปหมด
    ฉะนั้น พระเดชพระคุณท่าน โปรดวางใจได้ ไม่ต้องเป็นห่วงกระผม เพราะได้ฟังธรรมอยู่ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน
    เมื่อได้ฟังคำตอบเช่นนั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็จนด้วยเหตุผล ไม่อาจจะหาคำพูดมาติเตียนหลวงปู่มั่น ต่อไปได้
    อีกเหตุการณ์หนึ่ง ผมไม่แน่ใจว่าเป็นครั้งเดียวกันกับเหตุการณ์ข้างต้นหรือไม่ ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟังว่า หลวงปู่มั่น ได้พาลูกศิษย์ ๗ - ๘ องค์ มาร่วมประชุม โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นประธาน
     
  7. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17

    <table id="table42" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    คณะของหลวงปู่มั่น นั่งสงบเสงี่ยมเรียงตามลำดับอาวุโสพรรษา ดูจีวรขมุกขมัวไม่สดใสเหมือนกับพระที่อยู่ในเมือง
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ เอ่ยปากถามว่า “พวกพระที่จีวรดำๆ อยู่ข้างหลังนั้น มัวแต่อยู่ป่าอยู่ดง ได้พระปาฏิโมกข์กันบ้างหรือเปล่า?”
    หลวงปู่มั่นที่เป็นหัวหน้าคณะกราบทูลว่า “ขอให้พระเดชพระคุณท่านเลือกชี้เอาเถอะครับ จะเอาจากหัวไปท้าย หรือเอาจากท้ายไปหัวก็ได้ครับ ”
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเลือกชี้เอาองค์หนึ่งแบบที่ไม่มั่นใจว่าจะแสดงปาฏิโมกข์ได้ เพราะมัวแต่นั่งหลับตาอยู่ป่าอยู่ดง
    ปรากฏว่าผิดคาด พระป่าที่ถูกชี้ตัวให้แสดงปาฏิโมกข์ท่านว่าได้อย่างคล่องแคล่ว องอาจ แถมอักขรฐานกรณ์ก็ถูกต้องชัดเจนเกินความคาดหมายด้วย
    ทำความประหลาดใจให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ และที่ประชุมสงฆ์อย่าง มาก
    ๙๒
    พาพระมหาเปรียญมาจับผิดหลวงปู่มั่น
    ครูบาอาจารย์เล่าว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังไม่เลิกทิฎฐิที่จะเอาชนะพระกัมมัฎฐานให้ได้
    ในคราวงานผูกพัทธสีมาพระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านไปเป็นประธานในงานนี้ หลวงปู่มั่น ก็ได้รับนิมนต์ไปในงานนี้ด้วย
    พอตกเย็น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ ก็พาพระมหาเปรียญจากกรุงเทพฯ ๒-๓ รูป ไปสนทนาธรรมกับหลวงปู่มั่น ทราบกันดีว่าในครั้งนั้น ต้องการจะให้พระเปรียญที่คงแก่เรียนนั้น ไปไล่ต้อนให้หลวงปู่มั่นจนมุมให้จงได้
    พระมหาเปรียญเหล่านั้นไม่มีใครกราบหลวงปู่มั่นตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกัน คงจะถือว่าพวกท่านเป็นพระของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ หรือถือตัวว่าเป็นพระมหาเปรียญผู้แตกฉานในพระไตรปิฎก ส่วนพระป่าที่เอาแต่นั่งหลับตา ไม่น่าจะรู้ธรรมะได้แตกฉานลึกซึ้งเท่า
    เบื้องแรกมีการสนทนาไต่ถามทุกข์สุข ทำความคุ้นเคยกันพอสมควรแล้ว พระมหากลุ่มนั้นก็ตั้งปัญหาถามหลวงปู่มั่นว่า
    “ในฐานะที่ท่านมีความชำนาญในสมาธิภาวนา จึงอยากจะถามท่านเกี่ยวกับเรื่อง กสิณ ว่าท่านใช้วิธีเพ่งกสิณอย่างไร เช่น การเพ่งดิน น้ำ ลม ไฟ หรือสีเหลือง แดง ขาว พวกนั้นมันเป็นอย่างไร ท่านใช้เพ่งอย่างไร ขอให้อธิบายด้วย?”
    ตั้งคำถามเหมือนกับข้อสอบ พระมหากลุ่มนั้นหวังจะให้หลวงปู่มั่น ท่านตกหลุมพราง จะได้เป็นหลักฐานกล่าวได้ว่าหลวงปู่มั่นและศิษย์ประพฤติปฏิบัติตนออกนอกรีตนอกรอยของพระพุทธศาสนา
    ฝ่ายหลวงปู่มั่น ท่านไม่ต้องรอคิดหาคำตอบ ท่านตอบทันทีว่า :-
    “อ๋อ ! นั่นก็กสิณเหมือนกัน ที่เพ่งภายนอกนั้น แต่มันเป็นกสิณของพวกฤๅษีชีไพร
    ส่วนกสิณของพระพุทธเจ้า ท่านให้เพ่งน้อมเข้ามาในกายตน เช่นเพ่งไฟ ก็ไฟธาตุในตน เพ่งน้ำ ก็น้ำเลือด น้ำดี น้ำหนอง น้ำเสลด เพ่งดิน ก็ดูผม ขน เล็บ ฟัน เพ่งลม ก็ลมหายใจเข้าออก ลมระบายออกทางทวาร ลมวิ่งไปในกระเพาะ ลมตีขึ้นเบื้องสูง ลมตีลงเบื้องต่ำ
    ส่วนการเพ่งสีนั้น ก็เพ่งในร่างกายของเรานี้เอง สีแดงก็เลือด สีเหลืองก็หนอง สีขาวก็กระดูก สีเขียวก็น้ำดี
    เพ่งให้เป็นธาตุปฏิกูล ความเปื่อยเน่า ความเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตนเราเขา
    นี่คือกสิณของพระพุทธเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส สำหรับผู้ไปเพ่งอย่างอื่นที่อยู่นอกตัว ยังเพ่งไม่ถูกแน่...
    เมื่อได้ฟังคำตอบขอหลวงปู่มั่น เช่นนั้นพระมหาเปรียญผู้ถามถึงกับตลึงงัน เพราะไม่คิดว่าจะพลิกผันไปเช่นนี้ แถมยังเป็นสุดยอดของคำถามคำตอบ ซึ่งอ่านในตำราจนจบก็ไม่สามารถหาได้
    ทุกองค์ยอมจำนน ไม่มีใครกล้าถามต่อไปอีก
    ๙๓
    การรู้วาระจิตของคนอื่น
    บรรดาครูบาอาจารย์สายพระกรรมฐานต่างก็ยกย่องเรื่องการรู้วาระจิตของคนอื่นของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ว่าท่านเก่งในเรื่องวิชาปรจิตนี้มาก ใครมีความคิดอย่างไร หลวงปู่มั่น ก็รู้ได้ ถ้าองค์ท่านต้องการจะรู้ ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกล หลักฐานประจักษ์พยานมีอยู่ในประวัติของครูอาจารย์แต่ละองค์ที่เป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น
    ประจักษ์พยานมีว่า แม้ลูกศิษย์ของท่านบางองค์บางรูป รวมทั้งศิษย์ฆราวาส ถ้าคิดไปในทางไม่ดี หลวงปู่มั่นจะทัก จะสอนทันที จนลูกศิษย์ทุกคน เมื่ออยู่กับท่าน จะต้องระมัดระวังความคิดกันเป็นที่สุด ระวังใจไม่ให้คิดไปนอกลู่นอกทาง ไม่เช่นนั้นจะต้องโดนทักโดนสอน ด้วยคำสอนที่แปลกๆ ชนิดคาดไมถึงเสมอ
    ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับฆราวาส เมื่อครั้งที่หลวงปู่มั่นพักอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร ซึ่งวัดแห่งนี้มีโยมย่านุ่ม ชุวานนท์เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญ ในการอุปัฏฐากวัดและพระเณร บรรดาพระเณรต่างก็ให้ความนับถือและเกรงใจโยมย่านุ่มกันทั้งนั้น
    ปัญหาที่ญาติโยมต้องการจะกราบเรียนหลวงปู่มั่น ก็ด้วยที่วัดป่าสุทธาวาส ในระยะเข้าพรรษา จะมีพระภิกษุและสามเณรมากแทบล้นวัด ญาติโยมแทบจะรับภาระเลี้ยงดูไม่ไหว แต่พอออกพรรษาปวารณาแล้ว พระเณรต่างองค์ต่างแยกย้ายกันไปหมด วัดแทบร้างจะหาพระเณรทำบุญด้วยก็แสนยาก
    คณะศรัทธาได้ปรึกษากัน เห็นว่าควรจะนำเรื่องนี้ไปกราบเรียนหลวงปู่มั่น และขอให้ท่านจัดพระเณรอยู่ประจำ หลังออกพรรษาจะได้ไม่มีสภาพเหมือนวัดร้าง
    ปัญหาคือ ใครจะเป็นผู้ไปกราบเรียนท่าน ต่างคนต่างก็กลัว จึงได้ขอร้องแกมบังคับ ให้โยมย่านุ่ม นำเรื่องเข้ากราบเรียนหลวงปู่มั่น ส่วนคนอื่นรอฟังข่าวอยู่ห่างๆ ข้างนอก
    ในวันนั้น หลวงปู่มั่น นั่งอยู่ใต้ร่มไม้เพียงองค์เดียว กำลังเหลาติ้วตาด (ไม้กวาดทางมะพร้าว) อยู่ มองเห็นแต่เพียงด้านหลังของท่าน
    โยมย่านุ่ม รวบรวมความกล้า ค่อยๆ เดินท่องไปด้านหลังท่าน ด้วยอาการแผ่วเบาที่สุด พอได้ระยะห่างพอควรจึงหยุด แล้วนั่งกราบกราบลง ๓ หน
    หลวงปู่มั่น ยังคงนั่งเหลาติ้วตาดอยู่ตามปกติไม่ได้หันมามองเลย โยมย่านุ่ม กราบแล้วนั่งประนมมือนิ่งอยู่ พูดไม่ออก
    <table id="table43" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> นางนิล-นางนุ่ม-นางลูกอินทน์
    มหาอุบาสิกา ๓ พี่น้อง
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    นั่งอยู่อย่างนั้นนานพอสมควร จึงก้มลงกราบ แล้วค่อยคลานออกไปเฉยๆ หมู่คณะก็ต่อว่าต่อขานกันใหญ่ และรบเร้าให้เข้าไปกราบเรียนท่านเป็นครั้งที่สอง
    โยมย่านุ่ม ต้องรวบรวมความกล้าเข้าไปเป็นครั้งที่สอง ก็เหมือนกันกับครั้งแรก อ้าปากพูดไม่ออก คลานกลับออกมาเฉยๆ ฝ่ายหลวงปู่มั่น ก็นั่งเหลาติ้วตาดเฉยอยู่เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    โยมย่านุ่ม ต้องเข้าไปใหม่เป็นครั้งที่สาม ครั้งนี้พอกราบเสร็จ หลวงปู่มั่นก็หันหน้ามา แล้วพูดด้วยเสียงดุว่า
    “ห่วงมันทำไมวัด ขี้ดินขี้ดอน ตายแล้วเอาไปด้วยได้หรือ ก็วัตรของตัวเอง คือวัตรใจ นั้น ทำไมไม่หมั่นกวาดให้มันสะอาดบ้าง ปล่อยให้มันรกรุงรังอยู่อย่างนั้น”
    โยมย่านุ่ม พูดอะไรไม่ออก ยิ่งเพิ่มความกลัวองค์หลวงปู่มากขึ้น แล้วพูดละล่ำละลักว่า “เจ้าข้า ดิฉันก็ว่าอย่างนั้น”
    พูดเสร็จก็ก้มลงกราบ แล้วคลานออกมาเลย เรื่องที่เตรียมไว้ว่าจะกราบเรียนท่านยังไม่ได้พูดแม้แต่คำเดียว
    ตัวอย่างนี้ แสดงถึงปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ สืบทอดไปถึง หลวงปู่มั่น และต่อเนื่องไปถึงหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ศิษย์เอกของหลวงปู่มั่น อีกทอดหนึ่ง
    ที่ยกเรื่องนี้มาพูด แสดงถึงพลังจิตของพระกรรมฐานในเรื่องการรู้ใจคน ดังใจคน และสะกด - ทรมานคน เพื่อการชี้แนะแนวทางที่ถูกที่ควรให้ ซึ่งหลวงปู่สิงห์นำไปใช้ในการ “ทรมาน” ให้สมเด็จฯ ท่านหลายทิฏฐิ เลิกเอาชนะคะคานพระกรรมฐาน เพราะไม่บังเกิดผลดีใดๆ แก่ใครเลย
    ๙๔
    บทบาทของของหลวงปู่สิงห์
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ได้มอบภาระให้หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม เป็นผู้แก้ทิฏฐิของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เพราะท่านเป็นครูเป็นศิษย์กัน
    กล่าวคือ ตอนหลวงปู่สิงห์ ท่านทำญัตติกรรมเป็นพระธรรมยุต ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์
    หลังการญัตติกรรมแล้ว หลวงปู่สิงห์ ก็ได้เป็นศิษย์กรรมฐานออกปฏิบัติบำเพ็ญเพียรติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์และหลวงปู่มั่น
    สำหรับประวัติการเผยแพร่ธรรมของหลวงปู่สิงห์นั้น ท่านทำได้อย่างกว้างขวาง พลังจิตท่านมีอำนาจมาก เวลาท่านเทศน์ ท่านแสดงธรรมไม่ว่าพระเณรหรือฆราวาส จะนิ่งฟังเงียบเหมือนทุกคนโดนสะกดจิต แทบไม่ไหวติงเลยทีเดียว การเผยแพร่ธรรมของท่านจึงได้ผลเป็นอย่างมาก
    <table id="table44" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์
    (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม)
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    กล่าวกันว่า ช่วงที่หลวงปู่มั่น ยังดำรงขันธ์อยู่ กิตติศัพท์ชื่อเสียงของหลวงปู่สิงห์ จะเป็นที่รู้จักมากกว่า กล่าวคือ หลวงปู่สิงห์ ท่านดังมากกว่าครูอาจารย์ของท่านในสมัยนั้น คือ ท่านเก่งทั้งบู๊และบุ๋น ครบเครื่องเลยทีเดียว
    ในประวัติ หลวงปู่สิงห์ ท่านปราบพวกไสยศาสตร์ พวกหมอผีพวกมิจฉาทิฎิ และพวกใช้พลังจิตอิทธิฤทธิ์ ปาฏิหาริย์ มามากต่อมาก
    ภาระในการทรมาน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงเป็นเรื่องของหลวงปู่สิงห์ น่าจะเหมาะสมที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่าท่านเป็นครูกับศิษย์ ดังที่กล่าวแล้ว ประการที่สอง ท่านเป็นคนอุบลฯ บ้านเดียวกัน ใช้ภาษาถิ่นกันได้อย่างสนิทสนม ประการที่สาม หลวงปู่สิงห์ในฐานเป็นศิษย์ เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปกราบเยี่ยมเจ้าประคุณสมเด็จฯ อยู่บ่อยๆ และที่สำคัญ ท่านคุ้นเคยสนิทสนมกัน ชนิดที่ว่าพูดกันได้ตรงๆ อย่างไม่ต้องเกรงใจกัน
    ๙๕
    ทรมานสมเด็จฯ ให้คลายทิฏฐิ
    เมื่อหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้รับมอบภาระในการ “ทรมาน” ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้คลายทิฏฐิ เลิกกลั่นแกล้งขัดขวางพระกรรมฐานเสีย นอกจากจะไม่เป็นประโยชน์ต่อการเผยแพร่พระศาสนาแล้ว ยังเป็นการสร้างบาปกรรมให้เกิดกับองค์ท่านเองอีกด้วย
    หลวงปู่สิงห์ เคยกราบเรียนเรื่องนี้ แต่สมเด็จฯ ท่านไม่ฟัง มิหนำซ้ำ องค์ท่านยังมีบัญชากับพระเณรด้วยว่า “ถ้าเห็นอาจารย์สิงห์มาอย่าให้ใครต้อนรับเด็ดขาด ให้ไล่ตะเพิดเสีย”
    หลวงปู่สิงห์ ทราบคำบัญชานี้ดี แต่พอท่านก้าวเข้าไปในวัดจริงๆ ด้วยพลังจิตอันแรงกล้า ในวันนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ออกต้อนรับหลวงปู่สิงห์ซึ่งเป็นศิษย์ ด้วยตัวท่านเอง ต้อนรับขับสู้เป็นอันดี แล้วยังบริภาษตำหนิพระเณรเป็นการใหญ่ หาว่าไม่ใส่ใจดูแลให้การต้อนรับลูกศิษย์ของท่าน ดูคล้ายกับว่าเจ้าประคุณสมเด็จฯ จะลืมคำบัญชาของท่านสิ้น
    ช่วงที่หลวงปู่สิงห์พักอยู่กับพระอาจารย์ของท่าน วันหนึ่งมีการจัดการประชุมเถรสมาคม (อันนี้ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่าเป็นการประชุมเถรสมาคมจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิง เอาเป็นว่าเป็นการประชุมผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาก็แล้วกัน-ปฐม) วัตถุประสงค์ของการประชุมเป็นการอภิปรายเรื่องหัวใจพระพุทธศาสนา ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯเป็นองค์ประธานการประชุม
    ด้วยความเมตตาต่อศิษย์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ให้หลวงปู่สิงห์ ติดตามท่านไปด้วย โดยท่านพูดว่า “สิงห์ ข้าจะพาเจ้าเข้าไปฟังเขาประชุมกัน เจ้ามันพระป่า มัวแต่หลับหูหลับตาอยู่เฉยๆ เจ้าจะไปรู้อะไรทันเขา ไปเปิดหูเปิดตาดูเขาเสียบ้าง จะได้หายโง่”
    หลวงปู่สิงห์ รู้สึกขอบคุณที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีเมตตาต่อท่าน จึงได้ติดตามเจ้าประคุณสมเด็จฯไปในฐานะศิษย์ใกล้ชิด
    ในที่ประชุมล้วนมีแต่เจ้าฟ้า เจ้าคุณ ข้าราชการผู้ใหญ่ ล้วนแต่ผู้รู้ทางพระพุทธศาสนาทั้งนั้น แทบทั้งวัน ต่างอภิปรายถกเถียงกันอย่างเอาจริงเอาจัง ต่างคนต่างแสดงเหตุผลของตนเอง คล้ายกับการทำสังคายนาเพื่อค้นหาหัวใจของพระพุทธศาสนา แต่ยังไม่สามารถหาข้อสรุป หรือข้อตกลงกันได้ ต่างคนต่างก็ว่าข้อเสนอของตนถูกต้องมีการหยิบยกข้อความในพระไตรปิฎกมาสนับสนุนเหตุผลของตน
    หลวงปู่สิงห์ เป็นคนเดียวในที่ประชุมที่นั่งฟังอย่างนิ่งเงียบตลอดเวลา ในที่สุดท่านได้ยกมือขอโอกาสแสดงความคิดเห็นจากพระเถรานุเถระทั้งหลาย แล้วพูดด้วยน้ำเสียงที่ฉาดฉานว่า
    “..เรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่พระคุณท่านตลอดทั้งผู้มีเกียรติทั้งหลายได้อธิบายมาแล้วนั้น เกล้ากระผมพระอาจารย์สิงห์พระป่า ลูกศิษย์ของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น ขออธิบายกราบเรียนว่า
    เรื่องที่พระคุณท่านทั้งหลายได้อธิบายนั้น กระผมเห็นว่าเป็นเพียงเปลือกและกระพี้เท่านั้น ยังลูบๆ คลำๆ อยู่ เปรียบเสมือนคนตาบอดคลำช้าง ซึ่งก็มีส่วนถูกเหมือนกัน แต่ถูกคนละจุดถูกคนละส่วน ยังไม่อาจบอกได้ว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนาที่แท้จริง
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ถ้าพูดถึงหัวใจจะต้องมีอันเดียว นี่คือจุดสุดยอดของความถูกต้องที่สุด
    หัวใจพระพุทธศาสนานั้น ที่ถูกต้องแท้จริงก็ต้องมีอย่างเดียวเหมือนกัน สิ่งที่ว่านั้นคือ สติ
    คนเราถ้าไม่มีสติจะทำอะไรได้ การที่คนเราจะทำดี จะทำชั่วหรือแม้จะทำให้เบิกบานนั้น จะต้องมีสติกำกับเสียก่อนจึงจะทำได้
    ฉะนั้น เกล้ากระผมจึงเห็นว่า หัวใจของพระพุทธศาสนานั้นคือ สติ นอกจากนั้นไป เป็นเปลือกเป็นกระพี้หมด...
    ต่อจากนั้นหลวงปู่สิงห์ก็ได้อธิบายเพิ่มเติมโดยยกตัวอย่างและอุปมาอุปมัยต่างๆ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นอย่างเด่นชัด
    พระเถระทั้งหลายและสมาชิกในที่ประชุมต่างสงบนิ่งฟังด้วยความสนใจ ชนิดที่ว่าแทบไม่กระพริบตาเลย จะมีก็แต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ผู้เป็นองค์ประธาน ถึงกับหน้าซีดเซียว พูดไม่ออก ท่านบอกตอนหลังว่ารู้สึกอายแทบจะเป็นลม เพราะท่านรู้สึกว่านำศิษย์คนนี้มาเพื่อตบหน้าหมู่คณะในที่ประชุม รวมทั้งตบหน้าท่านด้วย หมู่คณะคงจะต้องเพ่งเล็งมายังท่าน พร้อมกับมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับท่านอย่างแน่นอน
    แต่ในขณะที่หลวงปู่สิงห์ ลุกขึ้นพูดนั้น ไม่มีใครพูดขัดขึ้นเลย ต่างนั่งฟังอย่างสนใจตั้งแต่ท่านเริ่มต้นพูดจนกระทั่งจบลง
    เกี่ยวกับประวัติการแสดงธรรมของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโมตามที่ครูบาอาจารย์เล่าให้ฟัง บอกว่า พระเถระรูปนี้มีพลังจิตสูงมากสามารถใช้พลังจิตสั่งให้คนยืน เดิน นั่งนิ่ง ได้ทั้งนั้น
    คราใดที่ท่านแสดงธรรม แบบจะมีผู้ฟังเป็นร้อย หรือหลายร้อย ขณะที่ท่านแสดงธรรมอยู่นั้น จะไม่มีเสียงแม้ไอหรือจาม หรือนั่งยุกยิกทุกคนจะนั่งนิ่งเงียบกริบตลอดเวลา
    เมื่อการประชุมสัมมนาในวันนั้นยุติลง หลวงปู่สิงห์ ก็กลับวัดกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ แบบศิษย์ที่ดีตามครู พอถึงวัด เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านบริภาษหลวงปู่สิงห์เป็นการใหญ่ ว่า
    “สิงห์ เจ้าทำไมทำขายหน้าข้าฯ อย่างนี้? ข้าฯ ให้เจ้าไปนั่งฟังเขาพูดกันเฉยๆ ไม่ได้ให้เจ้าไปสอนเขา ข้าฯ อายเขามากรู้ไหม?”
    ในวันนั้น ร้อนถึงพระเณรในวัด ต้องวิ่งหาน้ำร้อน หายาลมและพัดวีเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นการใหญ่
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พูดเสียงดังว่า “พวกกรรมฐาน พวกอลัชชี พวกเทวทัต ใครๆ ก็คบไม่ได้”
    เป็นอันว่าวันนั้นหลวงปู่สิงห์ ก็ไม่สามารถโน้มน้าวเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้เลิกจงเกลียดจงชังพระกรรมฐานได้ เป็นแต่ว่าท่านเริ่มมีอะไรมาสะดุดใจให้ครุ่นคิดมากขึ้น ดูท่าทางท่านยังลังเลสับสนอยู่พอสมควร
    ๙๖
    เจ้าประคุณสมเด็จฯ คลายทิฏฐิ
    ต่อมาภายหลังเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ท่านได้มีโอกาสออกตรวจการณ์คณะสงฆ์ตามหัวเมืองมณฑลอิสาน ปรากฏว่าการออกตรวจการณ์ในครั้งนั้น ได้สร้างความประทับใจให้ท่านเป็นอย่างมาก
    สมเด็จฯ ท่านเห็นประจักษ์ด้วยตาท่านเองว่า ทั่วอิสานได้เกิดวัดป่าสังกัดคณะธรรมยุตขึ้นอย่างมากมาย นับจำนวนหลายร้อยวัด ทั้งๆ ที่พระผู้ใหญ่ที่มีตำแหน่งฝ่ายบริหารขยายวัดธรรมยุตได้เพียง ๒ - ๓ วัด และก็อยู่ในเมืองที่เจริญแล้วเป็นส่วนใหญ่ ไม่สามารถขยายออกไปตามอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านรอบนอกได้
    การที่วัดป่าเกิดขึ้นมาอย่างมากมาย ก็เกิดจาก หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และลูกศิษย์พระกรรมฐานพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสององค์
    ยิ่งกว่านั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังพบว่า เมื่อท่านผ่านไปตามหมู่บ้านที่พระกรรมฐานเคยจาริกปฏิบัติธรรม และที่มีวัดป่าเกิดขึ้น ปรากฏว่าประชาชนในหมู่บ้าน มีกิริยามารยาทเรียบร้อย แสดงว่าได้รับการอบรมมาดี รู้จักปฏิบัติต่อพระสงฆ์องค์เจ้า รู้จักการปฏิบัติต้อนรับ รู้ของควร ไม่ควร เข้าใจหลักการพระพุทธศาสนา รู้จักสวดมนต์ไหว้พระ มีการรักษาศีล มีการปฏิบัติสมาธิภาวนา และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนน่าชมเชย
    ต่างกันกับหมู่บ้านที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และลูกศิษย์ลูกหาไม่เคยจาริกผ่านไป
    ความประทับใจในครั้งนั้น ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ถึงกับประกาศในท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ว่า
    “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาต้องให้พระกรรมฐานเป็นแนวหน้า หรือเรียกว่า กองทัพธรรมแนวหน้า”
    นับจากนั้นเป็นต้นมา เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ก็เริ่มมีทัศนคติที่ดีต่อ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น และคณะพระธุดงค์กรรมฐาน
    คำเรียกแต่เดิมว่า “ญาคูเสาร์ ญาคูมั่น” ก็เปลี่ยนไปเป็น“พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น” ส่วนลูกศิษย์พระกรรมฐานที่มีอาวุโส สมเด็จฯ ท่านก็เรียกว่า “อาจารย์สิงห์ ท่านลี (ธมฺมธโร) ท่านกงมา (จิรปุญฺโญ)” เป็นต้น
    เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ มีความรู้สึกที่ดีต่อพระธุดงค์กรรมฐานแล้ว ท่านก็ให้ความสนับสนุนพระกรรมฐานเป็นอย่างดี แม้แต่วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานีที่ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เป็นเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน เจ้าประคุณสมเด็จฯท่านก็บัญชาให้สร้างเพื่อถวายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ด้วยแห่งหนึ่ง
    เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) พระองค์นี้ท่านสร้างความเจริญให้แก่พระพุทธศาสนา ทั้งด้านปริยัติธรรมศึกษา และด้านการปฏิบัติภาวนา จนเกิดมีพระผู้ได้รับการศึกษาสูง และมีพระกรรมฐานที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอย่างมากมาย สืบต่อมาจนปัจจุบัน
    เรื่องนี้ก็จบลงด้วยดี ทุกท่านคงจะโล่งใจกัน ส่วนบาปกรรม (ถ้ามี) ก็ขอให้หลวงพ่อโชติ กับ อาจารย์ปฐม ผู้เขียนรับไปคนละครึ่งก็แล้วกัน
     
  8. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๙๗
    สมเด็จฯ สนใจด้านสมาธิภาวนา
    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโตได้เข้าไปนมัสการเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ที่วัดบรมนิวาส ในกรุงเทพฯ
    สมเด็จฯ ได้ถามหลวงปู่มั่น เกี่ยวกับความขัดข้องในการปฏิบัติจิตภาวนาของท่านว่า “เออ ! นี่อาจารย์ ท่านสิงห์ (ขนฺตยาคโม) ท่านลี (ธมฺมธโร) มาสอนให้ผมภาวนา พุทโธ พุทโธ ให้จิตอยู่ที่พุทโธอารมณ์เดียว ไม่ให้จิตสอดส่ายไปไหน รู้สึกว่ามันยากเหลือเกิน ไม่สามารถทำให้มันหยุดนิ่งได้
    เพราะเราก็เป็นผู้ปกครอง บริหารงานการคณะสงฆ์ทั้งประเทศ ยุ่งแต่กิจการงาน พอนั่งภาวนาพุทโธครั้งใดทีไร ความคิดก็พุ่งไปคิดอยู่แต่ในงานการบริหารคณะสงฆ์ ไม่สามารถทำให้หยุดคิดได้เลย จะทำให้ไม่คิดนี้มันยาก
    ท่านอาจารย์มีวิธีอื่นบ้างไหม ที่จะทำให้จิตเป็นสมาธิภาวนา ?
    หลวงปู่มั่นท่านเป็นผู้รู้จิตอุปนิสัยของคนดีอยู่แล้ว คือ วิชาปรจิตของท่าน เฉียบคมเป็นพิเศษ ท่านจึงกราบนมัสการสมเด็จฯ ว่า
    “การนั่งสมาธิภาวนานั้น ท่านให้คิดได้ แต่ให้มีสติตามรู้ พิจารณาถึงสภาพความเป็นจริง อนิจลักษณะ อยู่ตลอดเวลา”
    ต่อจากนั้นหลวงปู่มั่น ท่านได้ให้คำอธิบายเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องด้านสมาธิภาวนาของเจ้าประคุณสมเด็จฯ จนบังเกิดผลดี
    เป็นอันว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านเคยเป็นปฏิปักษ์กับพระกรรมฐาน มาบัดนี้ท่านกลับมาเป็นมิตรแล้ว ท่านเคยว่า พระกรรมฐานมัวแต่นั่งหลับหูหลับตาเฉยๆ จะมีประโยชน์มีความหมายอะไร เป็นการหลงโง่มัวเมางมงาย ไม่เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาต่อการพัฒนา
    มาบัดนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านหันมานั่งหลับหูหลับตาเสียเอง ที่ท่านเคยส่งให้คนไปทำลายรื้อสำนักกรรมฐานต่างๆ บัดนี้ท่านกลับมาให้การสนับสนุนบำรุงเป็นอย่างดี เช่น การก่อสร้าง วัดภูเขาแก้วถวายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ก็เป็นบัญชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ดังกล่าว มา แล้ว
    ๙๘
    มีบัญชาให้พระป่าแสดงธรรม
    เรื่องนี้เป็นเหตุการณ์เมื่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เข้าสู่วัยชราภาพมากแล้ว ได้ไว้ใจและชื่นชมพระป่า สายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น อย่างมาก
    ผู้เขียนเห็นว่าเป็นอุทาหรณ์ที่ดี จึงขออนุญาตนำมาแทรกไว้ ณ ที่นี้รวม ๒ ตอนต่อกัน
    เรื่องที่ยกมานี้นำมาจากหนังสือ ฐานิยตฺเถรวตฺถุ หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา ดังนี้.:-
    สาเหตุที่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) มีบัญชาให้พระอาจารย์ฝั้นไปจำพรรษาที่วัดบูรพาราม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเพราะในปีนั้น สมเด็จฯ อาพาธหนัก ถึงขนาดฉันอาหารไม่ได้ ต้องถวายอาหารทางเส้นโลหิต
    ท่านจึงเรียกพระเถระฝ่ายกัมมัฏฐานเข้าไปปรึกษาหารือเพื่อหาทางบำบัดโรคในทางธรรมปฏิบัติ
    สมเด็จฯ ได้นิมนต์พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ให้อธิบายธรรมเป็นองค์แรก เมื่อพระอาจารย์สิงห์อธิบายจบลง สมเด็จฯ จึงให้พระอาจารย์ทอง อโสโก เจ้าอาวาสวัดบูรพาฯอธิบายอีก จากนั้นจึงหันมาทางพระอาจารย์ฝั้น ให้อธิบายธรรมให้ฟังอีกเป็นองค์สุดท้าย พระอาจารย์ฝั้นจึงได้อธิบายธรรมถวาย โดยมีอรรถดังนี้ .:-
    “ให้ท่านทำจิตเป็นสมาธิ ยกไวยกรณธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ยกอันนี้ไว้เสียก่อน
    ทำจิตให้เป็นสมาธิ เราต้องตั้งสมาธิให้ได้ ภาวนากำหนดจิตให้เป็นสมาธิ พอตั้งเป็นสมาธิดีแล้ว ให้เป็นหลักเปรียบเหมือนเรานับตั้งร้อยตั้งพัน ก็ต้องตั้งหนึ่งเสียก่อน ถ้าเราไม่ตั้งหนึ่งเสียก่อนก็ไปไม่ได้ ฉันใด จิตของเราจะรู้ได้ก็ตั้งจิตของเราเป็นสมาธิเสียก่อน
    เปรียบเหมือนนัยหนึ่ง คือ เสมือนเราจะปลูกต้นไม้ พอปลูกลงแล้ว ก็มีคนเขาว่าปลูกตรงนั้นมันจะงามดี ก็ถอนไปปลูกตรงนั้น และก็มีคนเขามาบอกอีกว่าตรงโน้นดีกว่า ก็ถอนไปปลูกตรงโน้นอีก ทำอย่างนี้ ผลที่สุดต้นไม้ก็ตายทิ้งเสียเปล่าๆ ไม่ได้อะไรสักอย่าง
    ฉันใด เราทำอะไร จะปลูกอะไร ก็ฝังให้มันแน่น ไม่ต้องถอนไปไหน มันเกิดขึ้นเอง นี่แหละสมาธิ ฉันใดก็ฉันนั้นแหละ
    หรืออีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนเราจะขุดบ่อน้ำ ต้องการน้ำในพื้นดิน เราขุดลงไปแห่งเดียวเท่านั้น พอเราขุดไปได้หน่อยเดียวได้น้ำสัก ๒ - ๓ บาตรแล้ว มีคนเขาบอกว่าที่นั่นมันตื้น เราก็ย้ายไปขุดที่อื่นอีก พอคนอื่นเขาบอกว่าตรงนั้นไม่ดี ตรงนี้ไม่ดี ก็ย้ายไปย้ายมา ผลที่สุดก็ไม่ได้น้ำกิน
    ใครจะว่าก็ช่างเขา ขุดมันแห่งเดียวคงถึงน้ำ ฉันใด เปรียบเสมือนสมาธิของเรา ต้องตั้งไว้แห่งเดียวเท่านั้น
    เมื่อเราตั้งไว้แห่งเดียว ไม่ต้องไปอื่นไกล ไม่ต้องส่งไปข้างหน้าข้างหลัง ไม่ต้องคิดถึงอดีต อนาคต กำหนดจิตให้สงบอันเดียวเท่านั้น
    ขอให้ท่านทำสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบ ให้พิจารณาแยกธาตุแยกขันธ์ และอายตนะ ออกเป็นส่วนๆ ตามความเป็นจริง พิจารณาให้เห็นความเป็นไปของสิ่งเหล่านั้นตามหน้าที่ของมัน
    ให้แยกกายออกจากจิต แยกจิตออกจากกาย ให้ยึดเอาตัวจิตคือผู้รู้ เป็นหลัก พร้อมด้วยสติ
    ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้พิจารณาให้อยู่ในสภาพของมันเองแต่ละอย่าง เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นได้ว่าธาตุทั้ง ๔ ต่างเจ็บไม่เป็น ป่วยไม่เป็น แดดจะออก ฝนจะตก ก็อยู่ในสภาพของมันเอง
    ในตัวคนเราก็ประกอบไปด้วยธาตุทั้ง ๔ นี้รวมกัน การที่มีความเจ็บปวดป่วยไข้อยู่นั้น เนื่องมาจากตัวผู้รู้ คือ จิต เข้าไปยึดถือด้วยอุปาทานว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นของเขาของเรา
    เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งทั้งปวงเหล่านั้นไม่ได้เป็นอะไรเลย ดินก็คงเป็นดิน น้ำก็คงเป็นน้ำ ไม่มีส่วนรู้เห็นในความเจ็บปวดใดๆ ด้วย
    เมื่อทำจิตให้สงบ และพิจารณาเห็นสภาพความเป็นจริงแล้ว จิตย่อมเบื่อหน่ายและจางจากอุปาทาน คือเว้นการยึดถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น
    เมื่อละได้เช่นนี้ ความเจ็บปวดต่างๆ ตลอดจนความตายย่อมไม่มีตัวตน
    เพราะฉะนั้นหากทำจิตให้สงบ เป็นสมาธิแน่วแน่แล้วโรคต่างๆ ก็จะทุเลาหายไปเอง
    เมื่อพระอาจารย์ฝั้น อธิบายธรรมถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์จบลงแล้ว สมเด็จฯ ได้พูดขึ้นว่า “เออ เข้าทีดี” แล้วถาม พระอาจารย์ฝั้นว่า “ในพรรษานี้ฉันจะอยู่ได้รอดตลอดพรรษาหรือไม่?”
    พระอาจารย์ฝั้น ก็เรียนตอบไปว่า “ถ้าพระเดชพระคุณทำจิตให้สงบได้ดังที่อธิบายถวายมาแล้ว ก็รับรองว่าอยู่ได้ตลอดพรรษาแน่นอน ”
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์จึงมีบัญชาให้พระอาจารย์ฝั้นไปจำพรรษาอยู่กับท่านที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อจะได้ศึกษาธรรมให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นดังกล่าวแล้ว โดยพระอาจารย์ฝั้นได้เลือกเอาวัดบูรพาฯ เป็นที่จำพรรษา เพราะวัดนี้อยู่ฝั่งเดียวกันกับวัดสุปัฏน์ฯ ที่สมเด็จฯ พำนักอยู่ การไปมาสะดวกกว่าวัดป่าแสนสำราญ ซึ่งอยู่ทางฝั่งอำเภอวารินชำราบ
    วัดบูรพาฯ ที่ท่านเลือกพัก มีเขตสองตอน ตอนหนึ่งเป็นสำนักเรียนปริยัติธรรม อีกตอนหนึ่งเป็นป่า มีกุฏิหลังเล็กๆ อยู่ ๕-๖ หลัง สำหรับพระเณรอาศัยปฏิบัติธรรมโดยเฉพาะ
    พระอาจารย์ฝั้นได้เลือกเอาด้านที่เป็นป่าเป็นที่พักตลอดพรรษานั้น และได้หมั่นไปอธิบายธรรมปฏิบัติถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ฯ ที่วัดสุปัฏน์ฯ เกือบทุกวัน
    และด้วยอำนาจการปฏิบัติธรรมนั้น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ก็หายวันหายคืน ทั้งอยู่ได้ตลอดพรรษาและล่วงเลยต่อมาอีกหลายปี
    ๙๙
    สมเด็จฯ ชมพระกรรมฐาน
    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) ได้ออกปากยอมรับในความจริง และชมว่า พระกรรมฐานนี้เป็นผู้ปฏิบัตินั้นดีจริง ทั้งยังทำได้ดังพูดจริงๆ อีกด้วย สมควรที่พระมหาเปรียญทั้งหลายจะถือเอาเป็นตัวอย่างปฏิบัติ ต่อไป
    สมเด็จฯ ได้กล่าวต่อหน้าพระอาจารย์ฝั้นด้วยว่า “ฉันเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระบวชเณรมาจนนับไม่ถ้วน แต่ไม่เคยนึกสนใจ ตจปัญจกกัมมัฏฐาน (กรรมฐาน ๕) เหล่านี้เลย เพิ่งจะมารู้ซึ้งในพรรษานี้เอง”
    พูดแล้วท่านก็นับ เกสา โลมา นขา ทนตา ตโจ แล้วถามพระอาจารย์ฝั้นว่า “นี่เป็นธาตุดิน นี่เป็นธาตุน้ำ นี่เป็นธาตุลม นี่เป็นธาตุไฟ ใช่ไหม?”
    <table id="table45" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    พระอาจารย์ฝั้น ก็รับว่าใช่
    จากนั้นสมเด็จฯ ก็ปรารภขึ้นว่า ตัวท่านเองเปรียบเหมือนผู้บวชใหม่ เพิ่งจะมาเรียนรู้ เกสา โลมา ฯลฯ ความรู้ในด้านมหาเปรียญที่เล่าเรียนมามากนั้น ไม่ยังประโยชน์และความหมายต่อชีวิตท่านเลย ยศฐาสมณศักดิ์ ก็แก้ทุกข์ท่านไม่ได้ ช่วยท่านไม่ได้
    พระอาจารย์ฝั้น ให้ธรรมปฏิบัติในพรรษานี้ได้ผลคุ้มค่า ทำให้สมเด็จฯ รู้จักกัมมัฏฐานดีขึ้น

    ในพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๗ นั้น พระอาจารย์ฝั้น เกือบไม่มีเวลาเป็นของตัวท่านเองเลย ทั้งนี้เพราะท่านได้ทำหน้าที่อุปัฏฐากพร้อมกันถึง ๒ อาจารย์ กล่าวคือ นอกจากกลางคืนจะต้องเข้าถวายธรรมแก่สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ที่วัดสุปัฏน์ฯ จากหัวค่ำไปจนถึงเวลาประมาณ ๔ ทุ่ม บางครั้งก็ถึง ๖ ทุ่ม จึงได้กลับวัดบูรพาฯ
    แล้วพอเช้าขึ้น ท่านก็ออกบิณฑบาตไปเรื่อยๆ แล้วข้ามแม่น้ำมูลไปทางฝั่งอำเภอวารินชำราบ ไปฉันเช้าที่วัดป่าแสนสำราญ ฉันเสร็จก็ประกอบยารักษาโรคถวายพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ซึ่งปีนั้นกำลังอาพาธด้วยโรคปอด อยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ
    พระอาจารย์ฝั้น ได้พยายามหาสมุนไพรต่างๆ มาปรุง แล้วกลั่นเป็นยาถวายพระอาจารย์มหาปิ่น หยูกยาที่ทันสมัยก็ไม่มี เพราะขณะนั้นกำลังอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
    ทั้งหมดนี้มีอยู่ในหนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อพุธ ฐานิโย ดังได้เรียนมาแล้ว
    ๑๐๐
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม นับเป็นศิษย์อาวุโส และมีความสำคัญที่สุดในการนำธรรมปฎิบัติของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่นออกเผยแพร่ในวงกว้าง จนได้รับฉายาว่าแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรม
    ในช่วงที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ยังมีชีวิตอยู่ กล่าวกันว่าหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ท่านดังที่สุดในยุค เป็นพระที่เก่งทั้งด้านพลังจิตและเก่งทั้งด้านการสอน ที่ธรรมปฏิบัติสายหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น เผยแพร่ออกไปกว้างไกล และสืบทอดมาจนปัจจุบันนี้ เป็นเพราะผลการเผยแพร่ของหลวงปู่สิงห์ องค์นี้เอง
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หรือ ท่านเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์ เป็นบุตรของ เพียอัครวงศ์ (อ้วน) และ นางหล้า บุญโท เกิดวันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๓๒ ที่บ้านหนองขอน อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี บรรพชาครั้งที่สองที่วัดสุทัศนาราม ในเมืองอุบลฯ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๒ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เป็นพระอุปัชฌาย์
    พ.ศ. ๒๔๕๘ หลวงปู่สิงห์ ได้กราบถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่มั่นครั้งแรก ที่วัดบูรพา ในเมืองอุบลฯ และติดตามออกธุดงค์ไปกับหลวงปู่มั่น เพื่อไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่บ้านหนองสูง คำชะอี
    ใน พ ศ ๒๔๖๑ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ หลวงปู่มั่น พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ และ หลวงปู่สิงห์ ได้จำพรรษาร่วมกันที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
    จากนั้น พ.ศ.๒๔๖๖ หลวงปู่สิงห์ ได้นำ หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล พระน้องชายของท่าน กับ หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี เข้าถวายตัวเป็นศิษย์กับท่านพระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ด้วย
    หลวงปู่สิงห์ จัดเป็นศิษย์ต้น คือศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ จึงได้เรียนรู้ข้อวัตรปฏิบัติ ปฏิปทาครูบาอาจารย์ และได้นำแนวทางการปฏิบัติกรรมฐานของ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่นออกเผยแพร่อย่างกว้างขวางทั่วภาคอิสาน โดยเริ่มต้นที่จังหวัดขอนแก่น ในต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๒ และขยายไปตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
    เนื่องด้วยหลวงปู่สิงห์ ได้รับมอบหมายจากหลวงปู่มั่นให้เป็นผู้นำพระเณรในสายธุดงค์กรรมฐาน ในช่วงที่หลวงปู่มั่นปลีกออกจากหมู่คณะไปอยู่ที่ภาคเหนือเป็นเวลา ๑๒ ปี หลวงปู่สิงห์ จึงเปรียบเสมือนขุนพลเอกของกองทัพธรรมสายพระกรรมฐาน
    ในช่วงท้าย หลวงปู่สิงห์ ไปสร้างวัดป่าสาลวัน ที่จังหวัดนครราชสีมา และพักประจำอยู่ที่วัดแห่งนี้ ท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์
    หลวงปู่สิงห์ มรณภาพเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๔ เมื่ออายุ ๗๓ ปี พรรษา ๕๑
     
  9. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๐๑
    หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล
    หลวงปู่พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระน้องชายแท้ๆ ของหลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม ทั้งสององค์จึงเป็นเสมือนสองแม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพธรรมสายพระกรรมฐาน
    หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้ทำให้วงการสงฆ์สั่นสะเทือนมากเหตุการณ์หนึ่งในสมัยนั้น กล่าวคือท่านเป็นพระมหาเปรียญ ๕ ประโยคจากวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ และความก้าวหน้าทางการศึกษาด้านพระปริยัติ ออกปฏิบัติธรรมกรรมฐานอยู่ป่าเขา ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่ มั่น ก่อให้มีพระเณรออกปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ อีกเป็นจำนวนมาก
    ครั้งแรกหลวงปู่สิงห์ ท่านเป็นครูสอนด้านพระปริยัติธรรม เมื่อได้ฟังธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่มั่นแล้ว จึงได้ตัดสินใจเปลี่ยนแนวการศึกษาด้านปริยัติไปเป็นการปฏิบัติกรรมฐานแทน และได้ติดตามปฏิบัติธรรมไปกับหลวงปู่มั่น
    ต่อมาหลวงปู่สิงห์ ได้นำหลวงปู่พระมหาปิ่น ไปกราบฟังธรรมกับหลวงปู่มั่น เกิดความศรัทธามาก และได้ให้ปฏิญาณว่า จะขอลาไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพฯ สัก ๕-๖ ปี แล้วจึงจะออกมาปฏิบัติธรรมด้วย
    ในปี พ ศ ๒๔๖๖ หลังจากหลวงปู่พระมหาปิ่น สอบได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค จากสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ แล้ว จึงได้กลับมาอุบลฯ บ้านเกิด
    หลวงปู่สิงห์ กับหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระคู่สหธรรมิกได้นำหลวงปู่พระมหาปิ่น พร้อมทั้ง หลวงปู่เทสก์ เทสฺรํสี ไปกราบถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับ หลวงปู่มั่นที่วัดป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ตามที่หลวงปู่พระมหาปิ่นปฏิญาณไว้
    นับแต่นั้นมา หลวงปู่พระมหาปิ่น จึงได้ออกธุดงค์ปฏิบัติพระกรรมฐานตามแนวทางที่ได้รับจาก พระอาจารย์ใหญ่ทั้งสอง ซึ่งเป็นข่าวดังที่ฮือฮามาก ดังกล่าวมาข้างต้น
    หลวงปู่พระมหาปิ่นได้ติดตามพระพี่ชายของท่านคือ หลวงปู่สิงห์ออกธุดงค์ตามป่าเขา บางครั้งก็แสวงหาที่สงัดเพียงลำพัง หากมีข้อสงสัยในธรรมะหรือติดขัดในการปฏิบัติ ท่านก็กลับไปกราบเรียนถามอุบายธรรมนั้นกับครูบาอาจารย์ แล้วก็กลับไปฝึกหัดบำเพ็ญภาวนาต่อ
    เมื่อหลวงปู่พระมหาปิ่น สามารถนำแนวทางของครูบาอาจารย์มาใช้เป็นหลักใจได้แล้ว ก็ได้ติดตามหลวงปู่สิงห์ พร้อมด้วยหมู่คณะออกเผยแพร่ธรรมปฏิบัติ พร้อมกับสร้างเสนาสนะป่าเพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญเพียรด้านวิปัสสนากรรมฐาน
    เมื่อครั้งจัดงานบำเพ็ญกุศลครบรอบ ๘๐ ปี ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์เมื่อปี พ ศ. ๒๔๘๑ หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้ร่วมกับ หลวงปู่สิงห์เรียบเรียงหนังสือที่ระลึก เรื่องกติกาวิธีสัมมาปฏิบัติ ว่าด้วยข้อปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ สำหรับสำนักชีกรรมฐาน ถวายมุทิตาจิตแด่หลวงปู่ใหญ่เสาร์เพื่อพิมพ์แจกในงาน ซึ่งก่อนหน้านี้ หลวงปู่สองพี่น้องนี้ก็ได้ร่วมกันแต่งหนังสือ แบบถึงพระไตรสรณคมน์ โดยถวายหลวงปู่ใหญ่ให้พิจารณาตรวจทานด้วย
    <table id="table46" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล
    และพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
    </td> </tr> </tbody></table>​
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้มรณภาพลงที่วัดอำมาตยาราม นครจำปาศักดิ์ หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่พระมหาปิ่น และคณะศิษย์ ได้เดินทางไปรับศพหลวงปู่ใหญ่ และยังเป็นกำลังสำคัญในการจัดงานถวายเพลิงศพของหลวงปู่ใหญ่ที่วัดบูรพา ในเมืองอุบลฯ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๖
    ในบั้นปลายชีวิต หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้ไปพักประจำที่ วัดป่าศรัทธารวม หัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
    ในปี พ ศ. ๒๔๘๗-๒๔๘๘ หลวงปู่พระมหาปิ่น ได้อาพาธอยู่ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และมรณภาพเมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙
    ๑๐๒
    สร้างวัดพระศรีมหาธาตุ : ความพยายามรวมมหานิกายกับธรรมยุต
    การสร้างวัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน นอกจากเจตนาเพื่อเป็นที่ระลึกแห่งประชาธิปไตยแล้ว รัฐบาลในขณะนั้นยังมีความประสงค์ที่จะรวมพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย กับฝ่ายธรรมยุตให้รวมอยู่ในที่เดียวกันและปฏิบัติภายใต้กฎระเบียบอันเดียวอันด้วย นับเป็นกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจกรณีหนึ่งในการพยายามรวมนิกายนี้
    วัดพระศรีมหาธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ตั้งอยู่ริมถนนพหลโยธิน ตรงมุมอนุสาวรีย์หลักสี่ กิโลเมตรที่ ๑๘ ตำบลอนุสาวรีย์ (เดิมชื่อตำบลกูบแดง) อำเภอบางเขน กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก
    ประวัติการสร้าง เริ่มต้นเมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๘๓ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้เสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีขออนุมัติเงินสร้างวัด เพื่อให้เป็นอนุสรณ์แห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตย และต้องการให้เสร็จทันในงานวันชาติ วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ ศ. ๒๔๘๕
    ด้านสถานที่นั้น เห็นว่า ควรจะสร้างใกล้ๆ กับอนุสาวรีย์หลักสี่ ด้วยเหตุผลที่ว่า ชาติกับศาสนาเป็นของคู่กัน เพราะศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว และกล่อมเกลาอุปนิสัย และน้ำใจประชาชนให้บำเพ็ญตนและปฏิบัติในสิ่งที่ชอบ. ฯลฯ
    อีกประการหนึ่งเห็นว่า ศาสนาเป็นหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย... และ... “การเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ดี งานสร้างชาติซึ่งกระทำภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ดี ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรคและประสบความสำเร็จอย่างดีมาแล้ว ก็ได้อาศัยพุทธานุภาพคุ้มครองป้องกันประเทศชาติราษฎร และอำนวยความสถาพรสำเร็จประโยชน์อย่างดีที่สุดที่จะเป็นได้”
    คณะรัฐมนตรีเห็นว่า “สมควรที่จะสร้างวัดขึ้นสักวัดหนึ่ง เพื่อให้เป็นที่เชิดชูพระบวรพุทธศาสนาคู่กันไปกับเกียรติศักดิ์ของประเทศชาติ คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้วลงมติเห็นชอบด้วยเป็นเอกฉันท์ให้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งในที่ใกล้อนุสาวรีย์หลักสี่ และให้ชื่อว่าวัดประชาธิปไตย”
    ประกอบกับขณะนั้นรัฐบาลได้ส่งทูตพิเศษโดยมีพลเรือตรี ถวัลย์ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นหัวหน้าคณะ ไปเจริญสันถวไมตรีกับประเทศต่างๆ ในจักรภพอังกฤษภาคเอเซีย
    “รัฐบาลอินเดีย...เห็นว่าประชาชนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีอยู่ในนานาประเทศเป็นอันมาก แต่ประเทศเอกราชที่ยกย่องพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาทางราชการ และพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขของประเทศเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภกก็มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น
    จึงได้มอบพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดค้นพบ ณ มหาสถูปธรรมราชิกะ และเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พร้อมทั้งกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ และดินจากสังเวชนียสถาน ให้ตามความประสงค์
    รัฐบาลได้อัญเชิญ พระบรมสารีริกธาตุ ต้นพระศรีมหาโพธิ ๕ ต้น พร้อมดินจากสังเวชนียสถาน มาประดิษฐานที่วัดที่สร้างใหม่นี้ แล้วตกลงตั้งชื่อวัดตามศุภนิมิตนี้ว่า “วัดพระศรีมหาธาตุ”
    <table id="table47" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระศรีมหาโพธิ์ วัดพระศรีมหาธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    สำหรับกิ่งพระศรีมหาโพธิ์ ได้ปลูกไว้ที่เกาะกลมที่สุดของคูทั้ง ๒ ข้าง ทางทิศตะวันออก เกาะละต้น รวม ๒ ต้น ที่เหลือ ๓ ต้น อัญเชิญไปปลูกที่ วัดพระธาตุพนม จ.นครพนม วัดพระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่ และ วัดพระมหาธาตุ นครศรีธรรมราช
    ผู้อำนวยการก่อสร้างวัดได้แก่ พลเอก จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ กับ หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรในสมัยนั้น
    รัฐบาลเห็นว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การสร้างวัดนี้ “จึงควรยกให้เป็นงานของชาติ” จึงเปิดให้ประชาชนทั่วประเทศได้ร่วมบริจาค (ซึ่งไม่ทราบว่าได้รับยอดบริจาคจำนวนเท่าใด)
    ที่น่าสนใจมาก คือประมาณการก่อสร้าง เป็นค่าที่ดินซื้อเพิ่มเติม ๕๐ ไร่ ค่าถมที่ และสิ่งก่อสร้าง มี เจดีย์ใหญ่ โบสถ์ วิหาร ที่เก็บอัฐิ ศาลาการเปรียญ หอระฆัง หอไตร กุฏิเจ้าอาวาส กุฏิสงฆ์ ๒๔ หลัง โรงครัว ที่เก็บศพและอยู่กรรม ฌาปนสถาน ฯลฯ
    ท่านเดาออกไหมครับ ประมาณการค่าใช้จ่ายเท่าไร?
    บอกให้เลยก็ได้ ตั้ง ๓๗๕,๐๐๐ บาท
    ค่าใช้จ่ายหลักๆ มี ค่าที่ดินไร่ละ ๔๐๐ บาท ๕๐ ไร่ รวมเป็น ๒๐,๐๐๐ บาท, ค่าสร้างเจดีย์ใหญ่ ๔๐,๐๐๐ บาท, ค่าสร้างโบสถ์ และวิหาร หลังละ ๔๐,๐๐๐ บาท, กำแพงรอบวัด ๒๔,๐๐๐ บาท, กุฏิสงฆ์ ๒๔ หลัง หลังละ ๑,๐๐๐ บาท ถามว่า ถ้าเป็นสมัยนี้จะเป็นเงินเท่าไร
    <table id="table49" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> พระมหาเจดีย์ วัดพระศรีมหาธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    พูดถึงพระมหาเจดีย์ สูง ๓๘ เมตร มีนามว่า พระเจดีย์ศรีมหาธาตุ สร้างเป็น ๒ ชั้น ชั้นนอกเป็นองค์เจดีย์ใหญ่ ชั้นในเป็นองค์เจดีย์เล็กอยู่ตรงกลาง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ เข้าไปกราบไหว้ได้ มีอะไรบ้างผมไม่บอก ขอให้หาโอกาสไปกราบเอง (ผมเองก็ไม่เคยเข้าไปกราบ กว่าหนังสือเล่มนี้จะพิมพ์เสร็จผมต้องไปกราบมาเรียบร้อยแล้ว สัญญาครับ)
    วัดพระศรีมหาธาตุ ได้กระทำพิธีเปิด เพื่อเป็นเสนาสนะแห่งพระภิกษุสงฆ์ เป็นรัฐพิธี เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นประธาน
    เวลา ๙.๐๐ น. เชิญพระพุทธสิหิงค์ จากพระที่นั่งพุทไธยสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ไปประดิษฐานเป็นพระประธาน ณ พระอุโบสถ
    เวลา ๑๔.๐๐ น. แห่พระภิกษุสงฆ์ ๒๔ รูป จากวัดบรมนิวาส ไปอยู่วัดพระศรีมหาธาตุ
    ประเด็นที่ผมสนใจ ดังกราบเรียนแต่ต้น คือ รัฐบาลต้องการรวมพระฝ่ายมหานิกาย กับฝ่ายธรรมยุตให้อยู่ด้วยกัน อยู่ภายใต้ระเบียบปฏิบัติอันเดียวกัน คือ ตื่นนอนตี ๓ สวดมนต์ทำวัตรเช้า - ภาวนา, ออกบิณฑบาตมาฉันด้วยปลีน่องของตน, ฉันมื้อเดียว, ฉันในบาตร, ไม่จับเงิน, หนักในทางสมาธิภาวนา เดินจงกรม, ไม่ต้อนรับแขกที่กุฏิ, ไม่เก็บอาหารไว้ที่กุฏิ ฯลฯ
    ได้มอบหมายให้แต่ละนิกายคัดเลือกพระมาอยู่ที่วัดนี้ โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เป็นเจ้าอาวาส
    พระสงฆ์ที่ได้รับคัดเลือก และจัดขบวนแห่มาอยู่ที่วัดนี้ เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๕ มี ๒๔ รูป ดังนี้
    ๑. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดบรมนิวาส
    ๒. พระญาณดิลก วัดสุทธจินดา นครราชสีมา
    ๓. พระมหาเขียน ๙ ประโยค วัดบวรนิเวศวิหาร
    ๔ พระมหาสนั่น ๘ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๕ พระมหาผุย ๘ ประโยค วัดปทุมวนาราม
    ๖ พระมหาเอี่ยม ๗ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๗. พระมหาสาย ๗ ประโยค วัดบวรมงคล
    ๘. พระมหาเขียน ๗ ประโยค วัดสระเกศ
    ๙. พระมหาโกศล ๖ ประโยค วัดมหรรณพาราม
    ๑๐. พระมหาเส็ง ๖ ประโยค วัดสัมพันธวงศ์
    ๑๒. พระมหาสำรอง ๕ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๑๒. พระมหาปรีชา ๕ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๑๓. พระมหาบุญมา ๕ ประโยค วัดจักรวรรติราชาวาส
    ๑๔. พระมหาแสวง ๕ ประโยค วัดทองนพคุณ
    ๑๕. พระมหาละห้อย ๕ ประโยค วัดประยุรวงศาวาส
    ๑๖. พระมหาสมพร ๕ ประโยค วัดอนงคาราม
    ๑๗. พระมหาพร ๕ ประโยค วัดพระเชตุพน
    ๑๘. พระมหาจิตร ๕ ประโยค วัดมหาธาตุ
    ๑๙. พระมหาคม ๕ ประโยค วัดเบญจมบพิตร
    ๒๐. พระมหาเอี่ยม ๔ ประโยค วัดราชบูรณะ
    ๒๑. พระมหาทัสนัย ๔ ประโยค วัดสามพระยา
    ๒๒. พระมหาจันดี ๓ ประโยค วัดสุทัศน์เทพวราราม
    ๒๓. พระมหาสมบูรณ์ ๓ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ๒๔. พระมหาแสวง ๓ ประโยค วัดบรมนิวาส
    ผลการที่พระสงฆ์ ๒ นิกายมาอยู่ด้วยกัน ปรากฏว่า พอสิ้นพรรษาแรก พระฝายมหานิกายยังเหลือแค่ ๒ รูป และก่อนเข้าพรรษาที่สอง พระฝ่ายมหานิกายไม่มีเหลืออยู่เลย
    ด้วยเหตุนี้ วัดพระศรีมหาธาตุ จึงกลายเป็นวัดธรรมยุตมาจนทุกวันนี้ .
    ผู้เขียนเคยถามครูบาอาจารย์ว่า ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น? ได้คำตอบว่า “เพิ่นจะอยู่ได้อย่างไร ข้าวก็กินมื้อเดียว เงินทองที่ผ่านมืออย่างคล่อง ก็จับต้องไม่ได้ เคยมีสีกาไปนั่งอยู่ถึงกุฏิ ก็ทำไม่ได้ ตื่นตี ๓ ก็ไม่เคย สมาธิไม่เคยนั่ง เดินจงกรมก็ไม่เคย แล้วเพิ่งจะทนได้จังได๋ เพิ่นเป็นมหา เอาแต่เรียนหนังสือ ไม่เคยนำมาปฏิบัติจักเทื่อ..”
    ความจริงแล้ว เรื่องต่างนิกายไม่น่าจะสำคัญมาก ถ้าปฏิบัติอยู่ในธรรมวินัยเดียวกัน ดังพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ในหนังสือพุทธศาสนวงศ์ ที่ว่า
    “การที่พระภิกษุสงฆ์แยกออกเป็นนิกายต่างๆ ไม่ใช่เป็นการแปลกมีในทุกๆ ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา และการที่แยกกันออกไปนี้ อาจกล่าวตามประวัติศาสตร์ว่าต้องมีเป็นธรรมดา ถึงพยายามรวมให้เป็นหนึ่งเท่าไรก็ไม่สำเร็จ อาจสำเร็จได้ชั่วคราว แต่ต่อมาไม่นานก็กลับแยกกันออกไปอีก ในศาสนาอื่นๆ ก็มีแยกเป็นลัทธินิกายต่างๆ เหมือนกัน
    การอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา มิใช่อยู่ที่การพยายามเพื่อรวมนิกายสงฆ์ แต่อยู่ที่การพยายามให้พระสงฆ์ทุกนิกายตั้งอยู่ในพระธรรมวินัย ส่วนการรวมกันนั้น เมื่อดีเสมอกัน หรือเสื่อมเสมอกัน ก็รวมกันเข้าได้เอง
    สาธุ !
    ขอพูดถึงหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น ท่านมีลูกศิษย์ทั้งสองนิกาย โดยเฉพาะหลวงปู่ใหญ่ ท่านบอกให้ลูกศิษย์ทั้งสองนิกายพักจำพรรษาด้วยกัน ลงอุโบสถด้วยกัน จนกระทั่งทางฝ่ายปกครองมีคำสั่งไม่ให้ทำสังฆกรรมรวมกัน ท่านจึงบอกศิษย์ว่า “เมื่อผู้ใหญ่เขาไม่ให้ทำสังฆกรรมรวมกัน ต่างคนก็ต่างแยกกันทำซะ ไม่มีปัญหาอะไรดอก ”
    <table id="table48" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    ภาพถ่ายทางอากาศ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร
    ประมาณ พ.ศ ๒๕๐๐
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๐๓
    เรื่องของธรรมะจัดสรร
    การที่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ท่านไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติธุดงค์กรรมฐาน และหาทางขัดขวางต่างๆ นานา ในตอนแรก ทำให้พระกรรมฐานหลายองค์พยายามหนีออกไปอยู่ไกลๆ ส่วนหนึ่งก็หนีความรำคาญ เช่น ท่านธมฺมธีโร (แสง) หนีจากอุบลฯ ไปอยู่หนองบัวลำภู ได้สร้างวัดหลายแห่ง และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย
    บูรพาจารย์สายกรรมฐานหลายท่าน ข้ามไปบำเพ็ญภาวนาและเผยแพร่ธรรมทางฝั่งลาว เกิดวัดกรรมฐานขึ้นหลายแห่ง
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ก็ไปเผยแพร่ธรรมอยู่ทางภาคอีสานตอนบน แถบจังหวัดอุดรธานี นครพนม สกลนคร หนองคาย รวมไปถึงจังหวัดเลย เกิดวัดกรรมฐานหลายร้อยแห่ง
    หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาโค และศิษย์ ก็เป็นคณะใหญ่ ออกเผยแพร่ธรรมแถบจังหวัดขอนแก่น แล้วมาพำนักประจำที่จังหวัดนครราชสีมา
    ถ้าจะมองในแง่การเผยแพร่กรรมฐานของบูรพาจารย์พระกรรมฐานในยุคแรก ต้องเจอกับอุปสรรค หรือมารผจญอย่างหนักหนาสากรรจ์ อุปสรรคใหญ่มาจาก ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มพ่อมดหมอผี พวกไสยศาสตร์ต่างๆ กลุ่มที่สอง การขัดขวางจากพระสงฆ์เจ้าถิ่นที่อยู่เดิม ในกลุ่มนี้ยังเป็นอุปสรรคสำคัญ และยังเข้มข้นมาจนทุกวันนี้ และกลุ่มที่สาม จากพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตด้วยกันเอง ตัวอย่างจากเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นต้น
    ในทางธรรมะ การเอาชนะอุปสรรคถือเป็นการสร้างบารมีดังคำพังเพยที่ว่า “มารไม่มี บารมีไม่เกิด” พระพุทธองค์ยังต้องผจญมารและเอาชนะนักบวชกลุ่มต่างๆ ด้วย ขันติธรรม เมตตาธรรม และปัญญาธรรม พระองค์ท่านไม่เคยผูกพยาบาทกับศัตรูเลย
    ถ้ามองในแง่ของ การบริหารจัดการ ตามแนวความคิดปัจจุบันต้องบอกว่า เปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส หรือมองในสายตาธรรมะต้องบอกว่า ธรรมะจัดสรร
    กล่าวคือ การที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต และคณะศิษย์ ได้ออกจากจังหวัดอุบลฯ ไปเผยแพร่ธรรมในจังหวัดต่างๆ รวมทั้งในประเทศลาวนั้น ผลดีที่ตามมา ทำให้ประชาชนเข้าใจและศรัทธาในคณะธรรมยุต ศรัทธาในสายพระป่า ก่อให้เกิดวัดป่าหรือวัดกรรมฐานขึ้นมากมาย
    ต่อมา หลวงปู่มั่น ได้ปลีกจากหมู่คณะไปบำเพ็ญธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ๑๒ ปี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๑ - ๒๔๘๒ ก่อให้เกิดวัดป่าหรือวัดกรรมฐานอีกมากมาย ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดสันติธรรม อำเภอเมือง วัดป่าดาราภิรมย์ วัดห้วยน้ำริน อำเภอแม่ริม วัดป่าอาจารย์ตื้อ วัดอรัญญวิเวก อำเภอแม่แตง วัดเจติยบรรพต วัดดอยแม่ปั๋ง วัดป่าอาจารย์มั่น (ภูริทตฺโต) อำเภอพร้าว วัดโรงธรรมสามัคคี อำเภอสันกำแพง วัดถ้ำผาปล่อง วัดถ้ำปากเปียง อำเภอเชียงดาว วัดถ้ำผาผึ้ง อำเภอฝาง เป็นต้น
    นอกจากวัดป่าสังกัดสายธรรมยุตแล้ว ยังมีวัดป่าหรือวัดกรรมฐานสังกัดสายมหานิกายอีกมากมาย ที่ถือเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่นเช่น สายวัดหนองป่าพง ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท สายวัดทุ่งสามัคคีธรรม อ สามชุก จ.สุพรรณบุรี ของหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก พระอาจารย์ของหลวงพ่อสนอง กตปุญฺโญ วัดสังฆทาน นนทบุรี หลวงพ่อสำรวม สิริภทฺโท วัดไกลกังวล เขาสารพัดดีศรีเจริญธรรม อ.หันคา จ.ชัยนาท ทางภาคตะวันออก ก็มีหลวงปู่ใช่ สุชีโว วัดเขาฉลาก บางพระ อ.ศรีราชา ชลบุรี หลวงพ่อณรงค์ มหาวโร วัดบ้านเพ (รำไพพรรณีวัน) บ้านเพ ระยองเป็นต้น
    หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ผู้บันทึกเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้ให้ความเห็นเรื่องนี้ว่า
    “สำหรับเรื่องนี้ เป็นอุทาหรณ์สอนใจเป็นอย่างดีว่า ความจริงย่อมเป็นความจริงวันยังค่ำ ธรรมชาติทองคำนั้นแม้จะเอาไปซุกซ่อนไว้ในโคลนตม มันก็ยังเป็นทองคำอยู่ดี ไม่เปลี่ยนแปลง ในธรรมชาติความเป็นจริงก็เหมือนกัน แม้บางครั้งจะมีเมฆหมอกแห่งความชั่วร้ายเข้ามาบดบังอยู่บ้าง แต่คราใด ขันติธรรม เราถึงพร้อม ใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ อดทน รอเวลาให้เมฆหมอกเหล่านั้นเคลื่อนตัวออกไปอย่างไม่วู่วามรีบด่วนตัดสินใจไปก่อนวันสมหวังจะมาถึง ผลที่เกิดขึ้นในที่สุด ก็คือความแจ่มจำรัสของท้องนภากาศแห่งตะวันอันเจิดจ้า เพราะธรรมย่อมชนะอธรรม ธรรมแท้ย่อมเป็นของจริง ที่ทนต่อการพิสูจน์ เยี่ยงพระบูรพาจารย์ของเรา ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ ผู้ได้ยอมทนเพื่อพระศาสนา และเพื่อความวิมุตติหลุดพ้น อย่างแท้จริง”
     
  10. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ภาค ๕ : เตรียมกลับอุบลบ้านเกิด
    ๑๐๔
    ไปวัดอรัญญิกาวาส นครพนม
    ขออนุญาตกลับมาต่อเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ช่วงที่ออกเผยแพร่ธรรมทางภาคอีสานตอนบนกันต่อนะครับ
    บันทึกของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค มีดังนี้.:-
    “ปี พ ศ ๒๔๗๗ ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้เดินทางจากสกลนครมาที่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนมอีกครั้งหนึ่ง เพื่อฉลองศาลาโรงธรรม ที่พระอาจารย์บุญมา (มหายโส) กราบนิมนต์
    ลูกศิษย์จำนวนมากมารวมกัน และท่านพระอาจารย์ (เสาร์) ปรารภที่จะกลับจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอน แต่ได้ปรึกษากันว่าทางอุบลฯ จะยินดีให้การสนับสนุนหรือไม่
    ท่าน (หลวงปู่ใหญ่ฯ) ได้ให้ทำหนังสือถึงเจ้าคณะจังหวัดอุบลฯ และในเวลาต่อมาได้รับตอบจากท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) วัดศรีทอง เจ้าคุณพระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุปัฏนาราม ว่ามีความยินดีสนับสนุนต่อไป
    จากข้อความข้างต้น หมายความว่า เมฆหมอกทางจังหวัดอุบลฯ คืออุปสรรคขัดขวางการเผยแพร่ธรรมของพระธุดงค์กรรมฐานจากพระผู้ใหญ่ฝ่ายบริหารกิจการคณะสงฆ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว หลวงปู่ใหญ่จึงมีความประสงค์จะกลับบ้านเกิดเมืองนอน เพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายที่นั่น
    จากหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ บันทึกเหตุการณ์ในช่วงเดียวกันว่า
    ในปีพรรษานั้นไม่มีหลักฐานใดบ่งบอกว่าท่านพระอาจารย์ใหญ่ “ญาท่านเสาร์” ได้อยู่พักจำพรรษา ณ ที่ใด แต่ช่วงหลังจากออกพรรษาแล้ว ท่านคงจะไป-มา อยู่ระหว่าง ธาตุพนม-สกลนคร-นครพนม เพราะวัดป่าสุทธาวาสทางสกลนครนั้น มีหลักฐานว่า ได้สร้างกุฏิพระแล้วตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๓-๒๔๗๕ (มีป้ายติดไว้ที่กุฏิ พ.ศ. ๒๔๗๕) โดยกุฏิชั่วคราวที่ปลูกสร้างในปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้นมีลักษณะ “กว้าง ๒.๕ - ๓ เมตร ใต้ถุนสูง ๑ เมตร มีชานด้านหน้า และพื้นปูด้วยไม้ยาง หลังคามุงด้วยจาก ฝากั้นด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ ค่าก่อสร้างจำไม่แน่ชัด แต่เข้าใจว่าประมาณหลังละ ๒๕ บาท กุฏิที่กล่าวนั้นคงได้ใช้ชั่วคราวจริงๆ คือเพียง ๕-๖ ปี ก็หมดอายุ”
    ข้อความข้างต้นที่อยู่ในเครื่องหมายคำพูด “__” คัดจาก หนังสือเรื่อง “ตอนหนึ่งจากความทรงจำเรื่องวัดสุทธาวาส สกลนคร” ของท่านศาสตราจารย์ นายแพทย์ฝน แสงสิงแก้ว ที่เขียนในหนังสือสุทธาวาสที่ระลึกในงานทอดกฐินวัดป่าสุทธาวาส วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๕
    ที่บอกว่าคัดจาก หนังสือของนายแพทย์ฝนนั้น อาจารย์พิศิษฐ์ท่านเป็นคนคัดมา ส่วนผม (นายปฐม นิคมานนท์) ก็ถือเอาสะดวกเข้าว่า คือ-คือ ! ลอกมาอีกต่อหนึ่งครับ !
    ๑๐๕
    ใต้ต้นกะบก-ดงบาก มาเป็นวัดป่าสุทธาวาส
    ปี พ.ศ.๒๔๗๘-๒๔๗๙ เป็นพรรษาที่ ๕๔-๕๕ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล พักจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร พอถึงช่วงออกพรรษาท่านก็ออกเผยแพร่ธรรมไปตามที่ต่างๆ ไม่ได้อยู่ประจำที่ดังที่ทราบกันดีแล้ว
    ในตอนนี้ผมขอพูดถึงการตั้งวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนครพอให้เป็นที่เข้าใจสำหรับท่านที่ยังไม่เคยทราบ ส่วนท่านที่ทราบแล้วก็ถือว่าเป็นการทบทวนเรื่องเก่าก็แล้วกัน
    สถานที่ตั้งวัดป่าสุทธาวาส ในปัจจุบัน แต่เดิมเป็นป่าอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของตัวเมืองสกลนคร ชาวบ้านเรียกว่า “ดงบาก” ซึ่งก็คือป่าดงไม้กระบากนั่นเอง มีสภาพเป็นป่าทึบเป็นแนวกว้าง พื้นที่เป็นดินทราย อยู่บนสันดอนแหลมมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นหนาทึบปกคลุมทั่วบริเวณ เป็นที่สงบ ร่มรื่นตลอดทั้งวัน
    แต่เดิมมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ชุกชุม ค่ำเย็นลงระงมไปด้วยเสียงจักจั่นเรไร และเสียงนกกลางคืน เป็นสถานที่วิเวกเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการบำเพ็ญภาวนาของพระธุดงค์ ที่สำคัญก็อยู่ไม่ห่างไกลจากชุมชนมากนัก พอออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ได้โดยไม่ลำบาก
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เลือกเป็นที่พักบำเพ็ญเพียรในช่วงที่มาเผยแพร่ธรรมะให้กับชาวสกลนคร
    ตามปรารภของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านมีความประสงค์จะสร้างวัดใกล้กับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ๒ แห่ง มีที่พระธาตุพนม แห่งหนึ่ง คือวัดอ้อมแก้ว หรือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน ในปัจจุบัน ดังที่นำเสนอแล้ว และวัดที่ ๒ ที่สกลนครซึ่งมีพระธาตุเชิงชุม เป็นพุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ได้แก่วัดป่าสุทธาวาส นี้เอง
    ที่ผมใช้คำว่าเป็น พุทธสถานศักดิ์สิทธิ์ เพราะสร้างขึ้นเพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนาจริงๆ ไม่มีอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือลัทธิอื่นมาเจือปน องค์พระธาตุก็เป็นความเชื่อแบบพุทธล้วนๆ เรียกว่า พุทธบริสุทธิ์ก็ได้ เป็นศิลปแบบล้านช้าง ซึ่งสืบทอดมาจากฝั่งลาว สายเดียวกันกับ ศิลปล้านนา ของชาวเหนือ เรียกว่าเป็นศิลปแบบพุทธแท้เลยทีเดียว มาระยะหลังๆ ในปัจจุบันเริ่มมีอิทธิพลจากศาสนาและลัทธิต่างๆ เข้ามาแทรก เช่น มีเทวรูป พระอินทร์ พระพรหม พระอิศวร หรือเจ้าแม่กวนอิม เทพเจ้าลัทธิต่างๆ มาปน ทำให้ความบริสุทธิ์ด้านศิลปชาวพุทธแท้ๆ ต้องแปรเปลี่ยนไป (อันนี้ผมว่าเองนะครับ ถ้ามีผิดพลาดก็กราบท่านผู้รู้ช่วยชี้แนะด้วย-ปฐม)
    ขอพาท่านกลับมาที่ ป่าดงบาก กันต่อนะครับ
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ท่านธุดงค์มาปักกลดใต้ต้นกะบกใหญ่
    กะบกใหญ่ ต้นนั้นหักโค่นไปแล้ว หลวงปู่ใหญ่ ได้ปรารภว่า “บริเวณป่าแห่งนี้มีทั้งที่เป็นสิริมงคลหลายอย่าง น่าจะได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น เพื่อพระธุดงค์ที่ปลีกวิเวกจะได้มาพักพิง และชาวบ้านก็จะได้มาทำบุญปฏิบัติธรรมรักษาศีลภาวนา”
    <table id="table50" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พิพิธภัณฑ์บริขารท่านพระอาจารย์มั่น
    วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร
    </td> </tr> </tbody></table>​
    จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ที่ดงบากแห่งนี้ ต่อมาก็ได้สร้างเป็นสำนักสงฆ์ และพัฒนามาเป็นวัดป่าสุทธาวาส ซึ่งเป็นสถานที่ที่ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต มาละขันธ์มรณภาพ ณ วัดแห่งนี้เอง นับเป็นสถานที่มงคลสำหรับชาวพุทธเป็นอย่างยิ่ง
    สภาพป่าในปัจจุบันหายไปหมดแล้ว กลายเป็นบ้านเรือนขึ้นอยู่ล้อมรอบวัด ด้านหน้าวัดก็เป็นทางหลวงหมายเลข ๒๑๓ สกลนครกาฬสินธุ์ และมีศูนย์ราชการย้ายออกมาตั้งอยู่คนละฝั่งถนนกับที่ตั้งวัด แต่ภายในวัดก็ยังสงบร่มรื่นอยู่เช่นเคย
    หมายเหตุ : ไม้กะบก กับ กะบาก เป็นคนละต้นกัน ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เรียกว่า กระบก กับ กระบาก มีคำอธิบาย ดังนี้
    กระบก - ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ ผลเท่ามะกอกหรือมะปรางขนาดเขื่อง เมล็ดแข็ง เนื้อในขาว มีรสมัน กินได้ ตระบก มะมื่น หรือ มะลื่น ก็เรียก
    กระบาก -ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ มีหลายชนิด ขึ้นในป่าดิบทั่วไป ลำต้นตรงสูงได้ถึง ๓๐-๔๐ เมตร เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนักโดยมากใช้เป็นไม้แบบหล่อคอนกรีต
    เมื่อมีโอกาสไปดูไม้จริง อันไหน กระบก อันไหน กระบาก ท่านต้องสืบค้นเอาเอง
    ๑๐๕
    บันทึกการสร้างวัดป่าสุทธาวาส
    ขอโอกาสท่านผู้อ่าน เขียนถึงกำเนิดหรือการสร้างวัดป่าสุทธาวาส ในสมัยเริ่มแรก ซึ่งมีอยู่ ๓ บันทึก คือ
    ๑. กำเนิดวัดป่าสุทธาวาส ในความทรงจำของข้าพเจ้า โดย นายวิศิษฐ์ วัฒนสุชาติ สามีของคุณลูกอินทน์ น้องสาวคนเล็ก ๓ พี่น้อง ผู้นำในการสร้างวัด บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗
    ๒. สารคดีวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร โดย พระทองคำ จารุวณฺโณ บันทึกไว้เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗ ในการอุปสมบทครั้งที่ ๒
    ๓ ข้อคิดเกี่ยวกับประวัติและสารคดีวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร โดย นายแพทย์เจริญ วัฒนสุชาติ
    ผมขอโอกาสคัดลอกบางตอนของบันทึกทั้ง ๓ ฉบับ มานำเสนอด้วยกัน ดังนี้
    หลวงตาทองคำ เริ่มต้นบันทึกว่า “วัดป่าสุทธาวาส เป็นวัดที่ ๓ พี่น้องหญิง คือ นางนุ่ม นางนิล ชุวานนท์ และนางลูกอินทน์ วัฒนสุชาติ สร้างถวายพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น โดยเฉพาะ”
    นายวิศิษฏ์ วัฒนสุชาติ ได้บันทึกเหตุการณ์ในปี พ.ศ.๒๔๗๒ ปีแรกที่หลวงปู่ใหญ่มาพักว่า “...ในระยะนี้ได้มีพระธุดงค์มาจากถิ่นต่างๆ มาปักกลดพักเพื่อปฏิบัติธรรมทางวิปัสสนากรรมฐานในบริเวณดงบาก ซึ่งเป็นป่าไม้ทึบใกล้สนามบิน และอยู่ชานเมืองสกลนครด้านทิศใต้ ห่างจากตัวเมืองประมาณ ๒ กิโลเมตร ประชาชนจังหวัดสกลนครได้ออกไปทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา และฝึกสมาธิตามศรัทธา พระธุดงค์เหล่านั้น ส่วนมากมาพักปฏิบัติธรรมอยู่ชั่วคราว แล้วท่านก็จาริกไปอยู่ที่อื่นต่อไป..”
    บันทึกของนายวิศิษฏ์ พูดถึงการเริ่มต้นก่อตั้งเป็นวัดว่า “ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๔๗๓ ท่านอาจารย์หล้า มีลูกศิษย์ตามมาด้วย ๓ - ๔ องค์ มาปักกลดพักอยู่บริเวณป่าแห่งนี้ (อยู่ตรงกลางที่สร้างวัดป่าสุทธาวาส)
    พี่นุ่ม พี่นิล และลูกอินทน์ ภรรยาของข้าพเจ้า ซึ่งมีความเคารพและเลื่อมใสในข้อวัตรปฏิบัติ ของอาจารย์พระกรรมฐานที่เคยผ่านมาเป็นทุนอยู่แล้ว จึงได้ชักชวนผู้ใกล้ชิด ซึ่งมีข้าพเจ้าคนหนึ่ง และว่าจ้างคนงานไปช่วยถากถางปาในบริเวณนี้ให้กว้างขวางออกไป แล้วตัดไม้ในบริเวณนั้นเท่าที่จำเป็น เพื่อสร้างเป็นกุฏิเตี้ยๆ พอพักได้องค์เดียว
    มุงหลังคาด้วยหญ้าคาและฟางเท่าที่หาได้ สร้างได้ ๔-๕ หลัง และได้สร้างศาลาเตี้ยๆ ยกพื้นสูงประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้าง ๔ เมตร ยาว ๘ เมตร ปูพื้นด้วยไม้กลมเลี่ยนลำ มุงหลังคาด้วยหญ้าคาขึ้น ๑ หลัง เพื่อเป็นที่ฉันจังหัน และแสดงธรรมให้แก่ชาวบ้านที่สนใจฟัง และหัดนั่งสมาธิภาวนา ตามแต่โอกาสจะอำนวยให้
    ในช่วงนี้ ชาวบ้านกกสัมโรง (กกสำโรง ในภาษากลาง) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของสนามบิน มีลุงหมื่นราษฎร์ ลุงตัน เป็นหัวหน้า ได้ชักชวนชาวบ้านมาช่วยกันถากถางให้บริเวณนี้กว้างออกไปอีก จนเป็นสำนักสงฆ์ขึ้นมา จึงได้อาราธนานิมนต์ท่านอาจารย์ (หล้า) และคณะ พักปฏิบัติธรรมและจำพรรษาอยู่ ณ สำนักสงฆ์แห่งนี้
    เนื่องจากบริเวณป่าแห่งนี้มีเนื้อที่ประมาณ ๓๐ ไร่ ท่านขุนอุพัทธ์ระบิล เป็นผู้ขออนุญาตจับจองไว้ พี่นุ่ม จึงได้ติดต่อกับท่านขุนอุพัทธ์ระบิลเพื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์
    ท่านขุนอุพัทธ์ระบิลมอบให้ด้วยความยินดี ที่ดินแปลงนี้ตั้งอยู่บนเนินสูงเป็นดินปนทราย เวลาหน้าฝนน้ำไม่ขัง มีป่าไม้ปกคลุมหนาแน่น
    ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นต้นมา สำนักสงฆ์แห่งนี้ขยายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นตามลำดับ มีต้นไม้ใหญ่ๆ ขึ้นปกคลุม ร่มรื่นดี พี่นุ่ม พี่นิล และคณะผู้มีศรัทธาทั้งหลาย เห็นว่ากุฏิชั่วคราวชำรุดทรุดโทรมลง จึงได้ชักชวนกันสร้างกุฏิที่ดีกว่าเดิมขึ้นใหม่ มีขนาด ๓.๐๐๒.๕๐ เมตร ใต้ถุนสูงประมาณ.๑.๕๐ เมตร ทำด้วยเสาไม้แก่น พื้นไม้ยาง ฝาไม้ไผ่ขัดแตะ มุงหลังคาด้วยหญ้าคา มีผู้รับสร้างให้ในราคาหลังละ ๒๕ บาท
    กุฏินี้เมื่อสร้างแล้วคงมีความมั่นคงอยู่ได้ประมาณ ๕-๖ ปี ได้มีข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อสร้างกุฏิดังกล่าวนี้คนละหลัง รวมแล้วได้หลายหลัง พอเพียงกับพระที่ท่านมาพำนักอาศัย ทำให้ท่านได้รับความสะดวกดียิ่งขึ้น
    ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๘๐ ได้มีการสร้างกุฏิถาวรขึ้นมา และสร้างศาลาโรงธรรมขึ้น ๑ หลัง ขนาด ๒o ๑๐ เมตร ยกพื้นสูง๑ เมตร มุงหลังคาด้วยกระเบื้องไม้ มีพระสงฆ์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานจำพรรษาและพักอาศัยติดต่อกันตลอดมา
    ในระหว่างปี ๒๔๘๑-๒๔๘๒ ทางวัดได้ดำเนินการขออนุญาตตั้งวัดเพื่อให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยตั้งชื่อว่า วัดสุทธาวาส และท่านขุนอุพัทธ์ระบิล ทำหนังสือยกกรรมสิทธิ์ที่ดินให้เป็นที่สร้างวัด ซึ่งได้รับอนุญาตจากทางการ ตามใบอนุญาต เลขที่ ๑๓๑ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๘๒ สมัยท่านพระครูวิมลสกลเขต เจ้าอาวาสวัดพระธาตุเชิงชุม เป็นเจ้าคณะแขวง และท่านขุนศรีประทุมวงศ์ เป็นนายอำเภอเมืองสกลนคร
    วัดสุทธาวาส จึงเป็นวัดธรรมยุตที่ถูกต้องแต่บัดนั้นเป็นต้นมา มีอาจารย์ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์และ ท่านอาจารย์มั่น ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาพักจำพรรษา และอยู่ประจำติดต่อกันมาจนปัจจุบัน
    นายวิศิษฏ์ เจ้าของบันทึก แสดงความรู้สึกในตอนท้ายว่า “ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจที่ได้มีโอกาสใช้กำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิดและกำลังทรัพย์ เท่าที่หามาได้ด้วยตนเอง ผนึกกำลังกับชาวบ้านและมีบทบาทในการสร้างวัดสุทธาวาส เริ่มตั้งแต่การถากถางป่า จนกลายเป็นสำนักสงฆ์และวัดที่สมบูรณ์แบบ ถูกต้องตามกฎหมาย”
    สาธุ ! สาธุ ! สาธุ !
    บันทึกอีก ๒ ฉบับ ก็มีเนื้อหาเช่นเดียวกัน ต่างกันในรายละเอียดบ้าง เพราะบันทึกหลังจากเหตุการณ์ผ่านมานานแล้ว ก็คงไม่ต้องยกมากล่าวอีกนะครับ
    สำหรับเจ้าสำนัก หรือเจ้าอาวาสวัดสุทธาวาส มีตามลำดับ ดังนี้
    (ถือตามบันทึกของ นายวิศิษฏ์ วัฒนสุชาติ)
    ๑. ท่านอาจารย์หล้า
    ๒. ท่านอาจารย์โชติ
    ๓. หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    ๔. หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ
    ๕. พระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสฺโส)
    ๖. ท่านอาจารย์มหาไพบูลย์ (ท่านเจ้าคุณราชคุณาภรณ์ ต่อมาเป็นเจ้าคณะจังหวัดฝ่ายธรรมยุต และเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโพนเมือง)
    ๗. ท่านอาจารย์มหาทองสุก สุจิตฺโต (พระครูอุดมธรรมคุณ) ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๕๐๘
    ๘. ท่านอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร (พระญาณสิทธาจารย์) ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๐๙
    ๙ ท่านอาจารย์วัน อุตฺตโต ปี พ.ศ. ๒๕๐๙
    ๑๐. ท่านอาจารย์แว่น ธนปาโล พ.ศ. ๒๕๑๐ - ๒๕๒๓
    ๑๑. ท่านพระครูวินัยธร ประมูล รวิวํโส (พระวิบูลธรรมภาณ) เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสกลนคร ฝ่ายธรรมยุต ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๓-๒๕๓๗
    ๑๒.หลวงปู่คำดี ปญฺโญภาโส พ.ศ. ๒๕๓๗-ปัจจุบัน ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส และเจ้าคณะจังหวัดสกลนครฝ่ายธรรมยุต
     
  11. Natthakorn

    Natthakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,003
    ค่าพลัง:
    +7,078


    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทาบุญกับเจ้าภาพทุกท่านที่ทำแจกฟรี ถวายบูชาแด่หลวงปู่
     
  12. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17

    <table id="table51" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    โบสถ์วัดป่าสุทธาวาส ณ สถานที่ถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๔๙๓ ซึ่งต่อมามีการสร้างพระอุโบสถขึ้น
    </td> </tr> </tbody></table>​
    (หลวงปู่คำดี เป็นพระกรรมฐานที่เมตตามาพักที่บ้านผู้เขียนเป็นองค์แรก หลังจากนั้นก็มีหลวงปู่หลวงพ่อองค์อื่นๆ เมตตามาพักโปรดญาติโยมที่บ้านอยู่เรื่อยๆ จนที่บ้าน คือ บ้านนิคมานนท์กลายเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมกลายๆ -ปฐม)
    วัดป่าสุทธาวาส ปัจจุบันมีสิ่งสักการบูชาที่สำคัญคือ โบสถ์ที่สร้างตามสนองความคิดของหลวงปู่มั่น จัดสร้างบนเมรุที่เผาศพของท่าน มีพิพิธภัณฑ์อัฐบริขารหลวงปู่มั่น และเจดีย์ของหลวงปู่หลุย จนฺทสาโร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานร่างต้นแบบด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง
    นับเป็นสถานที่มงคลเป็นอย่างยิ่ง ใครยังไม่เคยไป ควรหาโอกาสไปให้ได้ เพราะเป็นแดนบุญที่บริสุทธิ์จริงๆ
    ๑๐๖
    หลวงปู่บัวพา ศิษย์อุปัฏฐากรุ่นสุดท้าย
    เหตุการณ์นี้เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๗๘ พรรษาที่ ๕๔ ในปีนี้ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กลับมาพำนักที่ป่าดงบาก หรือ วัดป่าสุทธาวาส เมืองสกลนคร อีกครั้งหนึ่ง
    ศิษย์อุปัฏฐากของหลวงปู่ใหญ่ ในขณะนั้น คือ พระภิกษุอุย จากบ้านหนองดินดำ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร มีเหตุให้ต้องกราบลาไปเยี่ยมบ้าน เพื่อดูแลรักษามารดาที่กำลังป่วย ซึ่งโยมมารดาของท่านได้ถึงแก่กรรม ก่อนที่ท่านจะออกเดินทางไปเพียงวันเดียว
    ขณะเดียวกันนั้น ท่านพระอาจารย์กอง วัดประชานิยม บ้านโพนทัน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ.ยโสธร) ซึ่งเป็นศิษย์ของ ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน วัดป่าสุนทราราม บ้านกุดแห่ อ เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันขึ้นกับ จ ยโสธร) ได้นำศิษย์ที่เพิ่งบวชได้ ๒ พรรษา คือ พระอาจารย์บัวพา ปญญาภาโส วัดป่าพระสถิตย์ อ.ศรีเชียงใหม่ จ หนองคาย ไปถวายตัวเป็นศิษย์อุปัฏฐากทำหน้าที่แทนพระอาจารย์อุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    <table id="table52" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
    </td> </tr> </tbody></table>​
    จากหนังสือ ประวัติพระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส กล่าวถึงเรื่องราวในตอนนี้ว่า “พอออกพรรษาแล้ว มีเพื่อนชวนไปปฏิบัติกรรมฐานที่วัดป่าบ้านโพนทัน พระที่ไปด้วยกันได้ขอทำทัฬหีกรรม ญัตติเป็นธรรมยุตหมด ยังเหลือแต่พระภิกษุบัวพา ที่ยังไม่พร้อมที่จะญัตติเป็นพระธรรมยุต เนื่องจากยังไม่ได้บอกพระอุปัชฌาย์
    ในปีนั้น ท่านได้ปฏิบัติกรรมฐานอยู่วัดป่าบ้านโพนทัน กับ ท่านพระอาจารย์กอง ฝึกหัดนั่งสมาธิ เดินจงกรม บำเพ็ญเพียรในอิริยาบถต่างๆ รู้สึกว่าจิตใจสงบร่มเย็นขึ้นโดยลำดับ ตั้งแต่นั้นต่อมาท่านก็เลยเลิกเรียนปริยัติ มุ่งหน้าแต่ด้านปฏิบัติกรรมฐานเพียงอย่างเดียว
    ด้วยเหตุที่มีจิตใจมุ่งมั่นในการปฏิบัติกรรมฐาน พระภิกษุบัวพาจึงออกเดินทางไปวัดสีฐาน อ.มหาชนะชัย (จ.ยโสธร) เพื่อฝึกอบรมกรรมฐานให้ได้ผล และแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความชำนาญในการสอนกรรมฐาน
    ในช่วงนั้น ชื่อเสียงและปฏิปทาของพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลและหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต กำลังเลื่องลือและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป
    พระภิกษุบัวพา ก็อยากพบเห็น เพื่อจะได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์จึงได้ชักชวนเพื่อนสหธรรมิก เดินทางไปยังจังหวัดสกลนคร
    การเดินทางในสมัยนั้นลำบากมาก เพราะไม่มีถนน ไม่มีรถยนต์ ต้องเดินทางด้วยเท้าไปตามทางเกวียน ผ่านป่าดงดิบหนาทึบ ข้ามภูเขาหลายลูก คณะของพระภิกษุบัวพา จึงออกเดินทางจากอำเภอมหาชนะชัย ไปจังหวัดสกลนคร
    ในขณะเดียวกันก็มีคณะพระภิกษุสามเณรจะเดินทางไปอำเภอบัวขาว จังหวัดกาฬสินธุ์ และจะต่อไปยังสกลนคร พระภิกษุบัวพา จึงขอร่วมเดินทางไปด้วย
    เมื่อไปถึงสกลนครแล้ว ก็ได้เข้าไปกราบนมัสการ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ที่ วัดป่าสุทธาวาส ขอฝากตัวเป็นสานุศิษย์ของท่าน
    เมื่อฝึกปฏิบัติกรรมฐานไปได้ระยะหนึ่ง จิตใจของท่านรู้สึกสงบเยือกเย็นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ท่านจึงตกลงใจว่า สมควรที่จะขอทำทัฬหีกรรม เป็นพระธรรมยุตได้แล้ว
    ดังนั้น พระอาจารย์เสาร์ จึงสั่งการให้จัดเตรียมบริขารใหม่ เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ท่านจึงให้พระภิกษุ ๒ รูป นำคณะของพระภิกษุบัวพา เดินทางไปขอทำทัฬหีกรรมที่จังหวัดนครพนม
    พิธีการญัตติเป็นพระธรรมยุตครั้งนี้ มีขึ้นเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๔๗๘ ณ พัทธสีมา วัดศรีเทพประดิษฐารามโดยมีพระครูสารภาณมุนี (เจ้าคุณปู่จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาพรหมา โชติโก (พระราชสุทธาจารย์) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    ต่อจากนั้นพระภิกษุบัวพา และคณะ จึงได้เดินทางกลับไปยังสกลนคร อยู่ปฏิบัติกรรมฐานกับพระอาจารย์เสาร์เรื่อยมา
    หลวงปู่บัวพาได้ติดตามอุปัฏฐาก หลวงปู่ใหญ่ เรื่อยมาจนถึงกาลสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ จึงถือได้ว่า หลวงปู่บัวพา เป็นศิษย์อุปัฏฐากรุ่นสุดท้าย ตามชื่อหัวเรื่องที่ตั้งไว้ข้างต้น
    ๑๐๘
    ประวัติหลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส
    หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส เกิดเมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ ณ บ้านบึงแก อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร เป็นบุตรของนายหยาด และนางทองสา แสงสี
    พ.ศ. ๒๔๗๕ อุปสมบทครั้งแรกที่วัดกุดกุง อำเภอคำเขื่อนแก้วจังหวัดยโสธร โดยพระอาจารย์ม่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้พระอาจารย์กอง วัดป่าโพนทัน เป็นพระอาจารย์สอนกรรมฐานองค์แรก
    ด้วยหลวงปู่บัวพา มีจิตใจใฝ่ในการปฏิบัติกรรมฐาน เมื่อทราบข่าวท่านหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มาพักอยู่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร จึงน้อมจิตอธิษฐานถึงหลวงปู่เสาร์ว่า “ขอได้พบ และเป็นศิษย์ติดตามปฏิบัติอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์เสาร์ด้วยเถิด”
    หลวงปู่บัวพา ได้เดินทางไปวัดป่าสุทธาวาส เพื่อมอบกายถวายชีวิตเป็นศิษย์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ซึ่งท่านได้เมตตารับเป็นศิษย์ในสำนักซึ่งขณะนั้นหลวงปู่บัวพา ยังเป็นพระมหานิกายอยู่
    หลวงปู่ใหญ่ ได้ฝึกหัดหลวงปู่บัวพาปฏิบัติตัวให้ถูกต้องก่อนที่จะญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ที่วัดศรีเทพประดิษฐาราม จังหวัดนครพนม โดยมี พระครูสารภาณมุนี (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระมหาพรหมา โชติโก เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    อุปสมบทเป็นพระธรรมยุตแล้ว หลวงปู่บัวพาก็กลับมาจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส ซึ่งครูบาอาจารย์ พระเณร ประชุมกันเพื่อจัดเวรอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์ โดยพระทุกองค์ในวัดจะได้รับเวรปรนนิบัติรับใช้ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสมอกันทุกองค์ จัดเวรกันวันละ ๓ องค์ คือ พระสองกับเณรหนึ่งองค์
    ส่วนหลวงปู่บัวพานั้น ตั้งใจจะอุปัฏฐากถวายหลวงปู่ใหญ่ตลอดไป จึงเข้าทำการอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่ทุกวัน แม้วันที่ไม่ใช่เวรท่านก็ตาม ก็มาช่วยหมู่เพื่อนอยู่ทุกวัน จนหลวงปู่ใหญ่ จำหน้าท่านได้เป็นอย่างดี
    วันหนึ่ง หลวงปู่ใหญ่ ได้ถามหลวงปู่บัวพาว่า “เจ้าชื่อหยัง อยู่บ้านได๋ เมืองได๋?”
    หลวงปู่บัวพา ได้กราบเรียนหลวงปู่ใหญ่ ให้ทราบความเป็นมาของท่านด้วยความเคารพ แล้วหลวงปู่ใหญ่ก็พูดว่า “เฮามันคนเมืองอุบลฯ ทางเดียวกันน้อ”
    หลังออกพรรษาในปีนั้น หลวงปู่ใหญ่ได้ปรารภกับลูกศิษย์ลูกหาว่า “โยมทางเมืองอุบลฯ มานิมนต์ให้เขาไปโปรดญาติโยมทางบ้านเก่าบ้าง หากจะไปกันหมดวัดก็คงไม่งาม คงจะต้องแบ่งกันไป เขาจะว่าพระกรรมฐานเราได้ พระกรรมฐานตอนอยู่ก็แย่งกันอยู่ เมื่อตอนไปก็แย่งกันไป มันบ่อดีเด้อ”
    ต่อมาหลวงปู่ใหญ่ได้นัดประชุมเรื่องจะเดินทางไปเมืองอุบลฯ ก่อนเลิกประชุม หลวงปู่ใหญ่ ได้คัดเลือกพระเณรที่จะติดตามท่านไปเมืองอุบลฯ
    หลวงปู่บัวพาเป็นพระบวชใหม่พรรษาแรก นั่งอยู่ท้ายสุด ได้อธิษฐานในใจว่า “นับถูกเราไหม? นับถูกเราไหมหนอ? ขอให้เราได้ติดตามไปกับท่านพระอาจารย์เสาร์ด้วยเถิด”
    หลวงปู่บัวพา นั่งแบบใจหายใจคว่ำ จนหลวงปู่ใหญ่นับมาถึงองค์สุดท้าย ชี้มือมาทางท่านแล้วพูดว่า
    “เจ้าผู้หนึ่งไปนำข้อย เรามันคนทางเดียวกัน บัดถ้าเจ็บป่วยไขได้เบิ่งกัน”
    หลวงปู่บัวพา บอกว่าท่านดีใจจนน้ำตาไหล หมู่คณะที่มาประชุมหันมามองหลวงปู่บัวพาเป็นตาเดียว ที่เห็นหลวงปู่ใหญ่เรียกชื่อท่านเป็นองค์สุดท้าย
    การที่หลวงปู่ใหญ่ เลือกหลวงปู่บัวพา และพูดว่า “ถ้าป่วยไข้จะได้ดูแลกัน” เหมือนท่านจะทราบเหตุการณ์ล่วงหน้า เพราะต่อมาภายหลังเวลาหลวงปู่ใหญ่อาพาธ หลวงปู่บัวพาจะอุปัฏฐากดูแลท่านไปตลอดจนท่านถึงมรณภาพ
    ก่อนที่หลวงปู่ใหญ่ จะเดินทางจากวัดป่าสุทธาวาส ไปเมืองอุบลราชธานีนั้น คิดได้แวะพักที่วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม และไปนมัสการพระธาตุพนมต่อ ซึ่งขณะนั้นพระอุปัฏฐากซึ่งเป็นชาวขอนแก่น ได้กราบลาไปดูแลโยมมารดาที่กำลังป่วย ดังนั้นหลวงปู่บัวพาจึงรับหน้าที่เป็นพระอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
    หลวงปู่บัวพาได้ติดตามรับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่ใหญ่ไม่ว่าจะธุดงค์ไปสถานที่ใด ทั้งในเมืองอุบลฯ วัดบูรพา วัดป่าบ้านข่าโคม วัดภูเขาแก้ว วัดดอนธาตุ หรือแม้แต่ธุดงค์ออกไปประเทศลาว หลี่ผี ปากเซ และนครจำปาศักดิ์ รวมทั้งครั้งสุดท้ายที่วัดอำมาตยาราม ที่หลวงปู่ใหญ่มรณภาพลงในวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๔
    หลวงปู่บัวพา เป็นศิษย์ที่อุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่ใหญ่ด้วยความเคารพยิ่ง โดยท่านตื่นแต่ตี ๓ ทำวัตรเช้า-สวดมนต์ เสร็จก็มาที่กุฏิหลวงปู่ใหญ่ เตรียมน้ำร้อน ไม้สีฟัน น้ำล้างหน้า ผ้าเช็ดตัว ถวาย ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ จะเดินจงกรมจนถึงสว่าง
    ระหว่างนั้นหลวงปู่บัวพา จะเทกระโถนปัสสาวะของหลวงปู่ใหญ่ แล้วกลับลงมาที่ศาลา ปัดกวาดเช็ดถู เตรียมบริขารบิณฑบาต ทั้งของหลวงปู่ใหญ่ และของท่านเอง แล้วตามหลวงปู่ใหญ่ไปบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็จัดเตรียมถวายอาหารที่รับประเคนมาถวายหลวงปู่ใหญ่
    ช่วงเย็นท่านจะมาสรงน้ำหลวงปู่ใหญ่ แล้วก็ลงทำวัตร-สวดมนต์เย็น แล้วจึงมาถวายการบีบนวด ซึ่งหลวงปู่ใหญ่ ให้การอบรมสั่งสอนและให้อธิบายธรรมไปในตัว
    หลวงปู่บัวพา ได้เล่าถึงแนวทางปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่ ดังนี้. -
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ถือตามแบบเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านเคร่งครัดมาก ลูกศิษย์ทุกคนต้องถือเคร่งกับการปฏิบัติภาวนาแต่หัวค่ำยันรุ่ง การประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญภาวนา พูดคุยกันไม่ได้ เวลาปฏิบัติต้องเอาจริง เมื่อถือธุดงค์กรรมฐานอย่างเคร่งครัดแล้ว พอตี ๓ ตื่นนอนทันที ก่อน ๔ ทุ่มต้องเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ศึกษาข้อวินัยกับท่านพระอาจารย์เสาร์ และท่านไม่นิยมให้คลุกคลีกับหมู่คณะ การหลับนอนให้เคร่งครัด หัดจนคล่องตัว ถ้าใครฝึกได้ ท่านก็จะแนะนำการสอนต่อไป”
    หลวงปู่ใหญ่ ไม่ค่อยจะพูดอะไรมาก อธิบายธรรมนี้ก็เหมือนกัน ถามก็ตอบ ถ้าไม่ถามก็นั่งเฉยกันทั้งวัน หลวงปู่บัวพา จึงไม่ค่อยเทศน์ ไม่ค่อยพูดตามหลวงปู่ใหญ่ไปด้วย หลวงปู่บัวพาจึงเป็นพระที่พูดน้อย สันโดษ มักน้อย ไม่ติดในลาภยศ ท่านถือแบบอย่างของหลวงปู่ใหญ่เป็นแนวทางการดำเนินตลอดมา
    หลังจากหลวงปู่ใหญ่มรณภาพแล้ว อัฐบริขารของท่านได้แจกจ่ายลูกศิษย์หมู่คณะองค์อื่นๆ หลวงปู่บัวพาไม่รับอะไรเลย ท่านให้เหตุผลว่า “เฮาได้ตัวท่านพระอาจารย์เสาร์แล้ว เฮาพอใจแล้ว” ท่านพอใจที่ได้อยู่อุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่ และท่านก็ได้ดำเนินตามแนวทางปฏิปทาของหลวงปู่มาโดยตลอด
    <table id="table53" align="right" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ เสร็จจากงานถวายเพลิงศพหลวงปู่ใหญ่แล้ว หลวงปู่บัวพา กลับมาจำพรรษาที่วัดดอนธาตุ ๑ พรรษา แล้วกลับไปโปรดโยมมารดาที่บ้านเกิด จากนั้นได้ธุดงค์ไป วัดป่าบ้านหนองผือ และอยู่ศึกษาธรรมกับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต อีก ๑ พรรษาจึงธุดงค์ต่อไปอีกหลายจังหวัด
    จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๘๙-๒๔๙๐ ท่านจึงได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดร้างแห่งหนึ่ง ในอำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดป่าพระสถิตย์
    วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ หลวงปู่บัวพา ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นตรี ที่พระครูปัญญาวิสุทธิ
    หลวงปู่บัวพา พำนักอยู่ที่ วัดป่าพระสถิตย์ จนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มรณภาพลง สิริรวมอายุได้ ๘๑ ปี ๑๑ เดือน ๑๑ วันพรรษา ๖๑
    ๑๐๙
    บันทึกจากหนังสือหลวงปู่หลุย
    เรื่องราวต่อไปนี้ปรากฏในหนังสือ จนฺทสาโรบูชา ประพันธ์โดยคุณหญิงสุรีพันธุ์ มณีวัต มีดังนี้ : -
    “...ครั้งแรก ท่าน (หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร) คิดจะเดินทางกลับไปทางจังหวัดบ้านเกิด (จังหวัดเลย) เพราะมีนิมิตถึงโยมมารดาและตัวท่านก็ธุดงค์จากบ้านเกิดมาช้านาน
    อย่างไรก็ดี พอดีได้ทราบว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโลอยู่ที่วัดป่าสุทธาวาส ท่านจึงรีบไปกราบด้วยความเคารพ ทั้งนี้เพื่อจะรายงานเรื่องการที่ท่านสั่งให้ไปอยู่ ถ้ำโพนงาม แต่เมื่อปีก่อนโน้นให้ทราบด้วย
    การได้มาอยู่ปรนนิบัติรับใช้ครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่อีกวาระหนึ่ง ทำให้ท่านคิดว่าเป็นโอกาสอันประเสริฐ เหมือนจู่ๆ ได้เห็นแก้ววิเศษลอยมาใกล้ตัว จะไม่เชิญแก้วดวงวิเศษไว้บูชาหรือ จะปล่อยให้ลอยผ่านพ้นไปได้อย่างไร.. โอกาสเช่นนี้มีไม่ได้ง่ายๆ สำหรับการกลับไปเยี่ยมบ้านนั้นน่าจะรอต่อไปได้ บ้านโยมมารดาก็คงอยู่ ณ ที่เก่า ไม่ได้ถอนเสาเรือนหายไปไหน อีกทั้งเราได้แผ่เมตตาให้มารดา ทำร่มมุ้งกลดแจกจ่ายพระเณร แม่ชี อุทิศกุศลให้มารดาตลอดเวลาอยู่แล้ว
    ปี ๒๔๗๙ท่านจึงได้อธิษฐานพรรษาอยู่ด้วยท่านพระอาจารย์เสาร์ ณ วัดสุทธาวาส เนื่องจากท่านไม่มีนิสัยชอบเทศนาอบรมเอง หลวงปู่หลุยจึงรับหน้าที่เป็นผู้คอยดูแลอบรมพระเณรที่มาอยู่กับท่านพระอาจารย์เสาร์ ให้อยู่ในธรรมวินัยและอาจาริยวัตร ข้อปฏิบัติอันดีงาม
    อาจาริยวัตรที่ท่านฝึกปรือมาแต่สมัยอยู่กับท่านพระอาจารย์บุญ (พระอาจารย์บุญ ปญฺญาวุฒฺโฑ พระกรรมวาจาจารย์ของ หลวงปู่หลุยกับหลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งบวชพร้อมกันเป็นคู่นาคซ้าย-ขวา) ปฏิบัติรับใช้อาจารย์องค์แรกของท่านมาด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเป็นเวลา ๖ - ๗ ปี
    มาครั้งนี้ท่านก็ใช้อย่างเต็มที่ แม้ท่านจะมีพรรษากว่าสิบแล้ว แต่ท่านก็คงนอบน้อมถ่อมองค์ให้พระเณรรุ่นหลังได้เห็นเป็นตัวอย่างให้ตระหนักในวัตรเหล่านั้น
    - ต้องฉันทีหลังอาจารย์ ฉันให้เสร็จก่อนอาจารย์
    - นอนหลังอาจารย์ และ ตื่นก่อนอาจารย์ เป็นอาทิ
    การอุปัฏฐากพิเศษที่พระเณรพยายามปฏิบัติเป็นกิจวัตร แต่ทำไม่ค่อยคล่องก็คือ การกดเอ็นท้องให้ท่านในเวลานวดเส้นตอนกลางคืน ท่านเป็นคนรูปร่างใหญ่ หนังท้องค่อนข้างหนาด้วยท่านมีอายุมากแล้ว อีกประการหนึ่ง ท่านก็เคยชินต่อการนวดแรงๆ มาแล้ว การกดเอ็นท้องของท่านจึงต้องใช้และกำลังแข็งแกร่งมากเป็นพิเศษ
    พระเณรผู้ปฏิบัติไม่ค่อยมีกำลังนิ้วมือแข็งแรงพอ จึงมาปรารภกัน หลวงปู่ (หลุย) ได้เข้าไปขออนุญาตนวดเอ็นท่าน และสุดท้ายก็ได้อุบายมาสอนกัน คือ ให้พยายามกำหนดภาวนาไปด้วย เมื่อจิตเป็นสมาธิกำลังมือก็จะหนักหน่วง แข็งแรง ..ใจสู่ใจ ผู้รับนวดก็จะสบายกาย ผู้นวดก็จะไม่เปลืองแรง...ดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย
    หลวงปู่ (หลุย) บันทึกเรื่องเกี่ยวกับพระอาจารย์เสาร์ให้หลายแห่ง หลายวาระ คงจะเป็นความประทับใจของท่านอย่างมาก ที่เคยเดินธุดงค์และจำพรรษากับพระอาจารย์เสาร์...
    ผมคัดลอกข้อเขียนของคุณหญิงฯ มาอย่างยืดยาวเต็มที่ ท่านคงไม่ว่าอะไรนะครับ ถ้าเป็นประเทศฝรั่งแล้วละก็เกิดเรื่องแน่ คือคัดลอกได้ครั้งละไม่เกิน ๘ บรรทัด ไม่เช่นนั้นจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
    อันนี้ครูอาจารย์ท่านสอนตอนเรียนอยู่ต่างประเทศ (ขอคุยสักหน่อย) แต่ไม่ทราบว่ากฎเกณฑ์ในตอนนี้จะเปลี่ยนไปแล้วหรือยังก็ไม่ทราบ เพราะหยุดงานวิชาการอย่างสนิทมาเป็น “ลุงคนขับรถให้วัดหลายปีแล้ว
    ๑๑๐
    ข้อมูลจากปากคำ หลวงปู่กิ
    <table id="table54" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์กิ ธมฺมุตฺตโม
    </td> </tr> </tbody></table>​
    เรื่องราวของหลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ที่มาเกี่ยวข้องเป็นศิษย์ติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล นั้นมีในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ดังต่อไปนี้
    “ลุ พ.ศ. ๒๔๗๘ พระอาจารย์เสาร์ พำนักที่ วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร ชวนท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล (ศิษย์ทางสายมหานิกาย ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง จำพรรษาที่วัดธาตุศรีคูณ อ.นาแก จ.นครพนม
    ขณะนั้นประจวบกับเป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุหนุ่มใจเด็ดองค์หนึ่งมีนามว่า พระกิ ธมฺมุตฺตโม มาจากบ้านหนองผำ นครจำปาศักดิ์ แขวงจำปาศักดิ์ แดนดินถิ่นประเทศไทยในครั้งกระโน้น
    เมื่อแรกเข้ามาเมืองอุบลราชธานีก็ได้ติดตามพระอาจารย์บุญมาก ฐิติปุญฺโญ ซึ่งท่านได้นำศิษย์ ๑๐ กว่ารูป ออกเดินทางธุดงค์จากอุบลฯ เพื่อเข้ากราบคารวะพระอาจารย์เสาร์
    ระหว่างทางที่ติดตามมาจนถึงอำเภอนาแก ได้พบกับท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กอปรกับย่างเข้าเดือน ๘ หน้าพรรษากาลพอดี จึงได้อยู่พักจำพรรษาที่วัดธาตุศรีคูณกับท่านพระอาจารย์ทองรัตน์
    พอออกพรรษาแล้ว ได้ร่วมเดินทางออกติดตามไปกราบนมัสการพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าอรัญญิกาวาส จ. นครพนม ซึ่งในครั้งนั้นพระอาจารย์เสาร์ เดินทางจากวัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร มาเป็นประธานในการฉลองศาลาการเปรียญของวัดป่าอรัญญิกาวาส
    ช่วงนั้นเป็นหน้าหนาว ขึ้นปี พ.ศ. ๒๔๗๙
    อาจารย์พิศิษฐ์ พูดถึงหลวงปู่กิ ว่า “พระกิ ที่เป็นพระหนุ่มองค์นี้ ท่านก็คือ หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม แห่งวัดป่าสนามชัย บ้านสนามชัย อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ทรงศีล สมาธิ พรหมจรรยา มีความทรงจำเป็นเลิศ รอบรู้เชี่ยวชาญเรื่องภูมิประเทศทั้งภูเขาและเถื่อนถ้ำในแดนลาว และแถบชายแดนภาคอิสาน”
    อาจารย์พิศิษฐ์ ได้บันทึกเรื่องราวจากความทรงจำของหลวงปู่กิต่อไปว่า : -
    “ท่านหลวงปู่กิได้เล่าเรื่องราวแต่หนหลังจากความทรงจำอันแม่นยำว่า...
    ครั้งแรก ท่านจะไปกราบคารวะท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าสุทธาวาส พอดีทราบข่าวว่า องค์พระอาจารย์เสาร์มารับถวาย ศาลาหอแจก ที่วัดโพนแก้ว จึงติดตามไป
    ปีนั้นหมอกลงหนาทึบแผ่ปกคลุมทั่วเมืองนครพนม อากาศหนาวเหน็บแทรกซอนผิวหนัง แผ่ซ่านความเย็นเฉียบเข้าไปทั่วทุกอณูขุมขนแห่งกายคตานี้
    ยิ่งตอนเช้าเดินเหยียบน้ำค้าง อันเย็นยะเยือกบนยอดหญ้า ฝ่าสายหมอก ลัดทุ่งไปบิณฑบาต ยิ่งหนาวเหน็บจนเท้าเป็นตะคริว ต้องอาศัยขออังฝ่าเท้าด้วยกองไฟจากชาวบ้านที่สุมฟืนผิงไฟไล่ความหนาวอยู่หน้าบ้าน จนพอค่อยยังชั่วจึงออกเดินบิณฑบาตต่อไปได้
    กล่าวถึงศาลาการเปรียญหลังนี้ เป็นศาลาไม้พื้นฝากระดาน หลังคามุงแฝก ที่ชาวบ้านรวบรวมปัจจัยไปซื้อเรือนไม้เก่ามาปลูกสร้างศาลาเป็นที่พำนักฉันภัตตาหาร และประกอบศาสนกิจ เมื่อแล้วเสร็จ จึงพร้อมใจกันถวายเป็นสมบัติของสงฆ์ โดยมีท่านพระอาจารย์เสาร์เป็นประมุขประธานสงฆ์
    ในคราวนั้นมีลูกศิษย์จำนวนมากมาชุมนุมรวมกัน โดยท่านเจ้าคุณปู่พระเทพสิทธาจารย์ (จันทร์ เขมิโย) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสารภาณมุนีพนมเขต สุทธิศักดิ์พิเศษคณาภิบาลสังฆวราหะ ในรัชกาลที่ ๘ วัดศรีเทพประดิษฐาราม เจ้าคณะจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นลูกศิษย์รุ่นเก่าครั้งพระอาจารย์เสาร์ เปิดศักราชการธุดงค์บุกเบิกมาถึงนครพนมครั้งแรก ได้รับนิมนต์แสดงธรรม
    ท่านเจ้าคุณปู่ฯ ได้แสดงพระธรรมเทศนาด้วยกัณฑ์เทศน์ที่ว่า...
    โจรโต ปิติ ตสฺวา - บุญโจรนำไปด้วยได้ยาก
    ท่านอาจารย์พิศิษฐ์ ได้ขมวดลงท้ายว่า “นี่คือบันทึกจากปากคำของท่านหลวงปู่กิ ที่จดจำเหตุการณ์เมื่อ ๖๐ ปีก่อนโน้นได้ แม้แต่รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ก็ไม่ลืมเลือนเลย นับว่าเป็นบุญของเราที่ได้รับรู้เรื่องราวในอดีตกาลก่อน เพราะหลังจากนั้นไม่นาน องค์ท่านก็มาด่วนละสังขารไปโดยไม่มีใครคาดคิดมาก่อนเลย”
    ครับ ! ผมก็คัดลอกมาอย่างสบายๆ ไม่ต้องไปเสาะหาข้อมูลด้วยตนเอง เขียนหนังสือแบบผมก็สบายอย่างนี้แหละ !
    หมายเหตุ : หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม วัดป่าสนามชัย อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลฯ เกิด พ.ศ. ๒๔๘๕ มรณภาพ พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่ออายุ ๘๔ ปี อายุพรรษา ๖๖ ท่านถูกอัธยาศัยกับ หลวงปู่เพ็ง พุทฺธมฺโม ของผมเป็นอย่างดี อายุคราวเดียวกัน รูปร่าง ผิวพรรณ การพูดจาคล้ายกันมาก
    ผมพาคณะไปทอดผ้าป่า ๒ ครั้ง ก่อนท่านมรณภาพ ๒-๓ ปี ก่อนหน้านั้นมีเรื่องเศร้าและตื่นเต้นคือลูกศิษย์ของท่านไปก่อเรื่องขึ้น แล้วมาหลบซ่อนตัวที่กุฏิของท่านแล้วถูกตามมายิงตายต่อหน้าท่าน
    หลวงปู่กิเป็นพยานคนเดียวที่อยู่ในเหตุการณ์ เขาจึงยิงหลวงปู่ด้วยกระสุนหลายนัด เพื่อหวังปิดปาก กระสุนนัดที่หนึ่งเข้าที่หัวไหล่ แล้ววิ่งไปตุงอยู่ใต้ผิวหนัง นัดที่สอง ถูกตรงหัวใจ วิ่งไปตุงอยู่ใต้ผิวหนัง ทั้งสองนัดเข้าไปไม่ถึงเนื้อ นัดที่สามผมจำไม่ได้ หมอเพียงผ่าตัดแค่ผิวหนังเพื่อเอากระสุนออกเท่านั้น
    ถามหลวงปู่ว่ามีอะไรดี ท่านว่า ท่านก็มีพุทโธอยู่อย่างเดียวเท่านั้น
    เหตุการณ์ครั้งนั้น ลูกศิษย์ได้ทำเหรียญรุ่นที่ ๑ ให้หลวงปู่แผ่พลังจิต แล้วแจกในงานทำบุญฉลองอายุของท่าน พวกเราคณะผ้าป่าได้รับกันทุกคน แล้วท่านยังเมตตามองให้ผมอีก ประมาณ ๑๐๐ เหรียญ รุ่นที่ ๒ ในปีต่อมา ผมก็ได้รับประมาณ ๑๐๐ เหรียญอีก ได้แจกจ่ายไปหมดแล้ว
    ท่านที่เคยร่วมทำบุญกับผม ถ้าสนใจลองไปค้นดู จำได้ว่าเคยมอบให้ท่านไปคู่กับเหรียญ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค วัดภูเขาแก้ว อ พิบูลมังสาหาร เป็นเหรียญศักดิ์สิทธิ์ที่มีเรื่องราวปาฏิหาริย์ทั้งคู่
    ปฐมนิคมานนท์
    ๑๒ ก ค. ๔๖
     
  13. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    [​IMG]
    ๑๑๑
    มอบหมายวัดให้ลูกศิษย์
    ท่านผู้อ่านคงยังพอจำได้ว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ได้เคยไปพำนักที่จังหวัดนครพนม และสร้างวัดโพนแก้ว ขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น วัดอรัญญิกาวาส มาจนปัจจุบัน
    หลวงปู่ใหญ่ ได้มอบหมายให้พระลูกศิษย์คือ หลวงปู่บุญมา มหายโส หรือ พระครูไพโรจน์ปัญญาคุณ เป็นผู้ดูแลปกครองวัด ในระหว่างที่หลวงปู่ใหญ่ไม่อยู่
    และมาในขณะนี้ ปี พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙ หลวงปู่ใหญ่ ได้มาเป็นประธานรับถวาย ศาลาหอแจก หรือ ศาลาการเปรียญ จึงได้กลับมาพำนักที่วัดโพนแก้ว นี้อีกครั้งหนึ่ง
    อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้เขียนถึงเหตุการณ์ต่อไปดังนี้ : -
    วันหนึ่ง ประมาณ ๔ ทุ่ม ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้เรียกท่านพระอาจารย์บุญมา มหายโส ไปพบท่านที่กุฏิ แล้วพูดว่า
    “เราได้ปฏิบัติพระศาสนา เที่ยวอบรมสั่งสอนภิกษุสามเณรประชาชนทั้งหลาย ให้รู้แจ้งเห็นจริงในศีลธรรมมาด้วยความยากลำบากแสนเข็ญ ก็สู้อดทนมา
    บางบ้านเขาเอาปืนไล่ยิง บ้างบ้านเขาว่าเป็นอีแร้งหม่น (หม่น = สีปนดำ, สีเทา) มันเป็นเสียอย่างนี้ ก็สู้ทนมาจึงถึงบัดนี้
    ขอให้ท่านพิจารณาดูเอา ให้รู้แจ้งเห็นจริงในธรรมของพระบรมศาสดาจารย์ แล้วใช้วิริยะความเพียร ปฏิบัติอย่าท้อถอย อย่าได้ละทิ้งวัดนี้ไป เทอญ
    หลวงปู่ใหญ่ ได้มอบภาระการเป็นเจ้าวัดอย่างเต็มที่ให้แก่หลวงปู่บุญมา มหายโส ตั้งแต่บัดนั้น
    <table id="table56" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก
    </td> <td>
    พระอาจารย์บุญมา มหายโส
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์ทอง อโสโก
    </td> <td>
    พระอาจารย์บัวพา ปญฺญาภาโส
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๑๒
    ปรารภกลับจังหวัดอุบล
    บัดนี้หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล อายุ ๗๗ ปี ท่านเข้าสู่วัยชรามากแล้ว และก็จากอุบลฯ บ้านเกิดเมืองนอนมานานปี การขัดขวางแนวทางพระธุดงค์กรรมฐานจากพระผู้ใหญ่ผู้มีอำนาจบริหารการคณะสงฆ์ก็คลี่คลายไปแล้ว เป็นเวลาสมควรที่ท่านจะกลับไปพำนักเพื่อใช้ชีวิตบั้นปลายที่จังหวัดอุบลได้แล้ว
    หลังจากงานฉลอง ศาลาหอแจก วัดโพนแก้ว จังหวัดนครพนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่ใหญ่ได้ปรารภถึงการกลับจังหวัดอุบลฯ ท่ามกลางบรรดาศิษย์ที่มาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก
    บรรดาศิษย์อาวุโส เช่น พระเทพสิทธาจารย์, พระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน, พระอาจารย์กว่า สุมโน, พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล, พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปญฺโญ, พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี (ครูบาอาจารย์มักเรียกว่า อาจารย์บุญมี สูงเนิน เพราะท่านเป็นชาวอำเภอสูงเนิน นครราชสีมา ขณะนั้นเพิ่งกลับจากไปธุดงค์ประเทศพม่า) เป็นต้น
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ปรารภที่จะกลับไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่จังหวัดอุบลฯ แล้ว คณะศิษย์ก็เห็นชอบด้วย และควรจะได้สอบถามไปทางจังหวัดอุบลฯ ก่อนว่า คณะสงฆ์ที่นั่นยังยินดีให้การต้อนรับสนับสนุนการกลับบ้านเกิดของท่านหรือไม่
    ทางคณะศิษย์ได้ทำหนังสือไปปรึกษาหารือกับเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาก็ได้รับคำตอบจากท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) วัดศรีทอง และ ท่านเจ้าคุณ พระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุปัฏนาราม ว่าต่างมีความยินดี ขอนิมนต์หลวงปู่ใหญ่ กลับจังหวัดอุบลฯ พร้อมที่จะให้การต้อนรับสนับสนุนอย่างเต็มที่
    เมื่อทราบคำตอบจากจังหวัดอุบลฯ อย่างชัดเจนแล้ว หลวงปู่ใหญ่จึงได้นัดแนะให้คณะศิษย์ไปประชุมร่วมกันวางแผนการกลับ และร่วมทำบุญวันมาฆบูชาที่อำเภอธาตุพนม ที่ วัดอ้อมแก้ว หรือ วัดเกาะแก้วอัมพวัน ที่ท่านได้มาสร้างและเคยมาพำนักอยู่เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๓
    ดังนั้น เมื่อใกล้ถึงวันมาฆบูชา วันเพ็ญเดือนสามในปีนั้น คือปี พ ศ. ๒๔๗๙ คณะศิษย์ทั้งหลาย ทั้งใกล้ ทั้งไกล ที่ทราบข่าวการนัดหมาย ต่างก็ทยอยกันเดินทางมาพร้อมกันที่วัดอ้อมแก้ว อำเภอธาตุพนม กันอย่างไม่ขาดสาย
    หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม เล่าไว้ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ว่า...หลังจากท่านได้กราบคารวะหลวงปู่ใหญ่ ที่วัดอรัญญิกาวาสแล้ว ก็ได้แยกย้ายกันเดินทางมาอำเภอธาตุพนม พร้อมกับคณะท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล
    หลวงปู่กิ รับสะพายบาตรของท่านพระอาจารย์ทองรัตน์ด้วยจนบ่าท่านเป็นแผล พากันเดินธุดงค์ล่องใต้มาเรื่อย ผ่านบ้านหนองจันทร์ ท่าค้อ ชะโงม บ้านกลาง นาถ่อน ดอนนางหงส์ แสนพัน หลักศิลา พระกลาง จนถึงธาตุพนม เห็นมีพระสงฆ์สามเณร มาร่วมชุมนุมกันมากมายหลายร้อย ทำให้บริเวณวัดอ้อมแก้วแคบลงไปถนัดใจ
    การประชุมศิษย์ในวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ในครั้งนั้น ถือเป็นภารกิจครั้งสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ ที่จังหวัดนครพนม เพราะหลังจากนั้นท่านก็ไม่ได้กลับมาที่นครพนมอีกเลย
    ในปีนั้นหลวงปู่ใหญ่ อายุล่วงเข้า ๗๗ ปี อายุพรรษา ๕๗ มีความชราภาพมากแล้ว เวลาเดินต้องใช้ไม้เท้าพยุงกาย แต่ท่านก็ยังเดินเหินได้คล่องแคล่วสำหรับผู้สูงอายุในวัยนั้น
    หลวงปู่ใหญ่ได้ให้โอวาทแก่บรรดาศิษย์ ถือเป็นโอวาทครั้งสุดท้ายแก่ศิษย์ที่มีภารกิจไม่สามารถติดตามท่านไปยังเมืองอุบลได้
    ต่อจากนั้น บรรดาศิษย์ต่างก็แยกย้ายกันไปบำเพ็ญเพียรหรือปฏิบัติสมณกิจของแต่ละองค์ ตามแบบครรลองของพระบูรพาจารย์เจ้าต่อไป
    การประชุมศิษย์ในครั้งนั้น ถือเป็นการชุมนุมพระธุดงค์กรรมฐานครั้งใหญ่ที่สุดของจังหวัดนครพนมในยุคสมัยนั้น
    <table id="table55" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล
    </td> <td>
    พระอาจารย์กินนรี จนฺทิโย
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td>
    พระครูญาณโศภิต
    (พระอาจารย์มี ญาณมุนี)
    </td> <td>
    พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปญฺโญ
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๑๓
    มอบภาระและจัดขบวนทัพ
    คณะศิษย์ที่จะเดินทางติดตามหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโลไปพำนักที่จังหวัดอุบลราชธานี ในครั้งนั้นมีไม่น้อยกว่า ๗๐-๘๐ รูป จัดเป็นคณะพระธุดงค์คณะใหญ่ ถ้าไม่มีการจัดการที่ดีย่อมทำความแตกตื่นโกลาหลให้แก่ประชาชนตามเส้นทางที่ผ่านไปไม่น้อยทีเดียว
    แต่คณะของท่านไปอย่างแนบเนียน และได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
    ถ้าพูดแบบวิชาการสมัยใหม่ต้องบอกว่า ท่านมีวิธีบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม ซึ่งผมจะกล่าวอีกครั้งในหัวข้อต่อไป
    หลวงปู่ใหญ่ได้จัดแบ่งคณะศิษย์ที่จะติดตามออกเป็นหลายกลุ่มหรือหลายคณะ ศิษย์ที่มีอาวุโสรับเป็นหัวหน้าแต่ละคณะ พร้อมทั้งกำหนดหมู่บ้านต่างๆ ที่แต่ละคณะจะไปพำนักเพื่อโปรดญาติโยมชาวเมืองอุบลฯ เช่น -
    - ให้ พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล ไปตั้งวัดจำพรรษาอยู่ที่บ้านชีทวน
    - พระอาจารย์บุญมาก ฐิติปญฺโญ ไปอยู่บ้านท่าศาลา
    - ให้พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่บ้านสวนงัว เพราะเคยอยู่มาก่อน
    - พระอาจารย์ดี ฉนฺโนให้ไปอยู่บ้านกุดแห่ เพราะเป็นบ้านเกิด
    สำหรับองค์หลวงปู่ใหญ่ เองนั้นท่านจะไปโปรดญาติโยมชาวบ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน ซึ่งบ้านข่าโคมนี้ อยู่ไม่ไกลจากบ้านชีทวนที่มอบหมายให้พระอาจารย์ทองรัตน์ ศิษย์ฝ่ายมหานิกายไปอยู่ บ้านสองแห่งนี้มีลำน้ำเซบายขวางกั้น อยู่ห่างกันราว ๘ กิโลเมตรเท่านั้น
    <table id="table57" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์ทอง อโสโก
    </td> <td>
    พระอาจารย์ดี ฉนฺโน
    </td> </tr> <tr> <td>
    [​IMG]
    </td> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td>
    พระอาจารย์กงแก้ว ขนฺติโก
    </td> <td>
    พระครูพิศาลสังฆกิจ
    (พระอาจารย์โทน กนฺตสีโล)
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๑๔
    เรื่องของพระธรรมยุตและมหานิกาย
    หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านเห็นว่าเรื่องของนิกายไม่ใช่เรื่องสำคัญ ท่านให้ความสำคัญที่การปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นเรื่องสำคัญมากกว่า และเป็นเรื่องที่พระภิกษุจะต้องถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด อย่างไม่มีข้อยกเว้นหรือข้ออ้างใดๆ ทั้งสิ้น
    หลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ ท่านเน้นเรื่อง ศีล สมาธิ ปัญญา แยกออกจากกันไม่ได้ เป็นเอกภาพของมรรค
    ในเรื่องศีลของสงฆ์ ท่านถือพระวินัย จากสิกขาบท ๒๒๗ ข้อในพระปาฏิโมกข์เป็นหลักใหญ่ ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ ไม่ให้ด่างพร้อย ไม่ล่วงละเมิด เพราะจะนำพาพระไปสู่ความบริสุทธิ์ สร้างความสามัคคีในหมู่สงฆ์ และถ้าศีลบริสุทธิ์แล้ว ในการภาวนาจิตก็รวมลงเร็ว
    นอกเหนือจากสิกขาบท ๒๒๗ ข้อในพระปาฏิโมกข์แล้ว หลวงปู่ใหญ่ทั้งสอง ก็ยังเน้นข้อวัตรปฏิบัติทั้งหลายที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติ ซึ่งมี ๓ หมวดเรียกว่า ศีลอภิสมาจาร มีทั้งข้อห้ามและข้อทรงอนุญาต เป็นบทกำกับวิถีดำเนินของพระสงฆ์ ตั้งแต่เรื่องการรักษาความสะอาดของร่างกาย การแสดงความเคารพคารวะต่อกัน การรักษา การบริโภคใช้สอยปัจจัยและเครื่องบริขาร เรียกว่า ข้อวัตร ๑๔ หรือกิจวัตร ๑๔ ของสงฆ์ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ หมวด คือ
    - วิธีวัตร ว่าด้วยแบบอย่างต่างๆ ที่สมณะควรประพฤติ
    - จริยาวัตรว่าด้วยมารยาทที่สมณะควรประพฤติ
    - กิจวัตร ว่าด้วยกิจที่สมณะควรกระทำ
    นี่ผมว่าตามตำราหรอกนะ อาจผิดบ้างถูกบ้างก็ต้องกราบขออภัย ส่วนรายละเอียดผมไม่กล้าอธิบาย เพราะเคยบวชพระแค่ ๓ เดือนตอนเป็นหนุ่มหล่อเท่านั้น
    อีกเรื่องที่ หลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ ท่านเน้นมากและส่งเสริมให้พระได้อธิษฐานปฏิบัติตามความเหมาะสม คือ ธุดงค์วัตร ๑๓ แม้ไม่บังคับให้พระถือปฏิบัติ แต่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้เพื่อให้พระใช้เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อยและสันโดษ
    ธุดงค์วัตร ๑๓ ดูจะเป็นเรื่องที่ขาดความสนใจในวงพุทธบริษัทเสมอมา ไม่ค่อยเห็นมีผู้ฟื้นฟูขึ้นมาปฏิบัติให้จริงจัง การที่ธุดงค์วัตรปรากฏเด่นชัดในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน ก็เพราะ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น เป็นผู้พาดำเนินอย่างจริงจัง หลวงปู่ทั้งสององค์ ถือปฏิบัติทั้ง ๑๓ ข้อ ตามโอกาสอันควร
    ธุดงค์วัตร ๗ ข้อ ที่หลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดเป็นประจำ และเป็นแบบอย่างของพระสายปฏิบัติในปัจจุบันได้แก่ ถือผ้าห่มบังสุกุลจีวร เที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นประจำ ถือฉันในบาตร ถือฉันหนเดียว รับเฉพาะอาหารที่ได้มาในบาตร ไม่รับอาหารที่ตามส่งภายหลัง ถือการอยู่เสนาสนะป่า และถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร
    แม้ธุดงค์วัตร จะไม่ใช่วินัยที่บังคับให้พระต้องปฏิบัติ แต่การปฏิบัติธุดงค์ไม่ว่าข้อใด ย่อมเป็นความสง่างามของพระ ทั้งเป็นผู้เลี้ยงง่าย อยู่ง่าย เบากายเบาใจ ไม่พะรุงพะรังทั้งทางอารมณ์และเครื่องเป็นอยู่ต่างๆ เป็นอุบายการขจัดกิเลสตัณหาได้อย่างดี
    ที่ผมเขียนมายืดยาวนี้เพื่อชี้ให้เห็นว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ท่านเน้นให้พระภิกษุปฏิบัติตามพระธรรมวินัย และข้อวัตรต่างๆ ที่เป็นพุทธบัญญัติ ซึ่งไม่ใช่เรื่องของธรรมยุต หรือมหานิกาย แต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตนของพระแต่ละรูปแต่ละองค์ ว่าจะถือเคร่งครัด และปฏิบัติจริงจังเพียงใดต่างหาก
    แต่ที่พระธรรมยุต กับ มหานิกาย ไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน เช่นการลงพระอุโบสถ นั้น เป็นข้อห้ามของพระสงฆ์ที่เรียกว่า นานาสังวาสซึ่งผมก็ไม่ค่อยรู้รายละเอียดเหมือนกัน
    จะเห็นว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีทั้งที่สังกัดฝายธรรมยุต และสังกัดฝ่ายมหานิกาย ที่สังกัดฝ่ายมหานิกายรุ่นบูรพาจารย์ยุคต้นได้แก่ พระอาจารย์สุวรรณ สุจิณฺโณ วัดอรัญญวาสี อ ท่าบ่อ หนองคาย, พระอาจารย์ทองรัตน์ กนฺตสีโล วัดป่าบ้านคุ้ม จ.อุบลฯ, พระอาจารย์บุญมี ญาณมุนี วัดป่าสูงเนิน จ.นครราชสีมา, หลวงปู่ชา สุภทโท วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี และที่อยู่ในภาคเหนือก็เช่น หลวงปู่คำปัน สุภทฺโท วัดสันโป่ง อ.แม่ริม จ เชียงใหม่, หลวงปู่คำแสน คุณาลงฺกาโร วัดดอนมูล อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เป็นต้น
     
  14. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๑๙
    วีรกรรมหลวงปู่ทองรัตน์
    ผมขออนุญาตท่านผู้อ่านเขียนถึง หลวงปู่ทองรัตน์ กนฺตสีโลสัก ๒ ตอนยาวๆ แทรกไว้ตรงนี้ เพราะโอกาสจะไปเขียนถึงท่านโดยตรงมันยาวเหลือเกิน ทนอ่านเอาหน่อยนะครับ
    หลวงปู่ทองรัตน์ เป็นศิษย์ฝ่ายมหานิกายของ หลวงปู่ใหญ่ทั้งสองท่านเป็น “พระบู๊” ที่ครบเครื่อง ไม่แพ้ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม เล่มที่ผมเคยเขียนผ่านมาแล้ว
    หลวงปู่ทองรัตน์ เป็นอาจารย์ของ หลวงปู่กินรี จนฺทิโย ซึ่งเป็นอาจารย์ของ หลวงปู่ชา สุภทฺโท เจ้าสำนักวัดหนองป่าพง และวัดป่านานาชาติ อีกต่อหนึ่ง
    ท่านผู้อ่านคงทราบดีแล้วว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีทั้งฝ่ายธรรมยุติ และฝ่ายมหานิกาย ศิษย์ท่านใดที่ต้องการคงอยู่ในฝ่ายมหานิทายท่านก็ไม่ว่า ส่วนศิษย์ที่ต้องการญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุตินั้น ท่านจะพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป
    หลวงปู่มั่นท่านให้เหตุผลกับศิษย์ที่ท่านไม่อนุญาตให้ญัตติใหม่ว่า “ถ้าพากันมาญัตติเป็นพระธรรมยุตหมดเสียแล้ว ฝ่ายมหานิกายจะมีใครแนะนำการปฏิบัติ มรรคผลไม่ได้ขึ้นอยู่กับนิกายหรอก แต่มรรคผลขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามวินัยที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั่งสอนไว้แล้ว ละในสิ่งที่ควรละ เว้นในสิ่งที่ควรเว้น เจริญในสิ่งที่ควรเจริญ นั่นแหละทางดำเนินสู่มรรคผลนิพพาน...”
    ผมขออนุญาตหยิบยกบางเรื่องที่เป็นวีรกรรมของหลวงปู่ทองรัตน์มาเสนอพอเป็นตัวอย่าง ดังนี้
    กรณีแรก เมื่อหลวงปู่ทองรัตน์ ได้ฝึกอบรมธรรมเชิงปฏิบัติอยู่กับหลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ จนเป็นที่มั่นใจแล้ว หลวงปู่มั่น ได้ทดสอบพลังจิตของลูกศิษย์ โดยให้ลูกศิษย์แต่ละองค์แยกไปจำพรรษายังที่ต่างๆ กัน สำหรับหลวงปู่ทองรัตน์นั้นท่านบอกให้ไปจำพรรษาที่ ถ้ำบังบด ถ้าไม่ครบ ๓ พรรษาไม่ต้องลง ที่ถ้ำนี้หลวงปู่มั่นเคยไปภาวนามาแล้ว เหมาะกับพระเณรที่มีภูมิจิตภูมิธรรมที่แข็งกล้าแล้วจึงจะไปอยู่ได้ เคยมีพระธุดงค์ไปมรณภาพหลายรูปแล้ว ถ้าไม่เก่งจริงคงกลับออกมายาก หลวงปู่มั่น ได้แนะนำอย่างนั้น
    เมื่อหลวงปู่ทองรัตน์ รับคำพระอาจารย์แล้ว ก็ได้ไปภาวนาที่ถ้ำนั้นเพียงรูปเดียวจนตลอด ๓ พรรษา
    ท่านเล่าว่า ในคืน ๑๕ ค่ำ เดือนสิบ พรรษาแรกที่ไปอยู่ หลังจากเดินจงกรมตอนหัวค่ำแล้ว ได้เปลี่ยนมานั่งสมาธิ ท่านได้ยินเสียงกึกก้อง ราวกับฟ้าจะทลาย ภูเขาทั้งลูกถูกเขย่าให้สั่นสะเทือน ท่านแยกไม่ออกว่าเสียงอะไร ท่านเล่าว่า ท่านกลัวจนไม่รู้ว่ากลัวอะไร ขนและผมลุกชูชันแทบจะหลุดออกจากหัว เหงื่อออกท่วมตัว จะวิ่งหนีก็ไม่รู้ว่าจะหนีไปไหน
    เมื่อความกลัวถึงขีดสุด ก็ได้มีเสียงกระซิบที่หูท่านว่า “ในสากลพิภพนี้ สรรพสัตว์ตลอดทั้งเทพ พรหม ยม ยักษ์ ทั้งหลายทั้งปวง ล้วนเคารพและยำเกรงต่อพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น เราเป็นลูกศิษย์พระตถาคตจะไปกลัวอะไร
    เมื่อได้ยินอย่างนั้นสติเริ่มกลับคืนมา ความกลัวค่อยหายไป แล้วเกิดความอาจหาญขึ้นมาแทน จากนั้นท่านไม่เคยรู้สึกกลัวอะไรเลย ท่านเล่าเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า “อาการหายกลัวครั้งนี้มีอานุภาพมากกว่าครั้งที่ผ่านมาหลายร้อยพันเท่า เดินจงกรม นั่งสมาธิ มีแต่ความเยือกเย็นสบาย ข้าวปลาอาหารไม่หิว เป็นอยู่ ๗ วัน ๗ คืน นอนก็ไม่นอน”...ฯลฯ
    เมื่ออยู่ครบ ๓ พรรษา จึงได้ลงมากราบหลวงปู่มั่น แล้วเล่าเรื่องต่างๆ ถวาย หลวงปู่มั่น ออกปากว่า “ทองรัตน์ เดี๋ยวนี้ จิตของท่านเท่ากับจิตของผมแล้ว ต่อไปนี้ท่านจะเทศน์จะสอนคนอื่นก็จงสอนเถิด”
    หลวงปู่ทองรัตน์ มีความคุ้นเคยกับ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม มากเพราะเป็นศิษย์อุปัชฌาย์เดียวกัน ท่านจึงพูดสัพยอกกันแรงๆ ท่านเคยบอกศิษย์ว่า “ญาท่านตื้อนี่ ต่อไปจะเป็นผู้มีชื่อเสียงหลาย องค์หนึ่ง” และก็เป็นจริงตามนั้น
    หลวงปู่อวน ปคุโณ เล่าว่า ช้างยังกลัวหลวงปู่ทองรัตน์ ครั้งหนึ่งท่านธุดงค์ไปทางฝั่งลาว ไปพักปักกลดที่ป่าช้าดอนเจ้าปู่ บ้านนาขาม ช่วงนั้นมีนายฮ้อยควานช้าง นำช้าง ๑๖ เชือก เดินทางมาจากเขตคำม่วน เพื่อนำไปขายทางเวียงจันทน์
    เมื่อนำช้างมาถึงป่าช้าดอนเจ้าปู่ ช้างทั้งหมดไม่ยอมเดินทางต่อจะบังคับอย่างไรก็ไม่ได้ผล แม้จะถูกตีอย่างไรก็ได้แต่เอางวงกอดต้นไม้ไว้แน่น ไม่ยอมไป
    พวกนายฮ้อยช้าง ต้องไปหาพ่อเฒ่าจ้ำ หมอผีรักษาป่าช้าให้มาช่วยแต่งขัน ดอกไม้ธูปเทียน เพื่อขอขมาเจ้าปู่ ก็ไม่ได้ผล ทำวิธีอื่นๆ หลายวิธีก็ไม่สำเร็จ จนในที่สุดก็ไปขอให้ หลวงปู่ทองรัตน์ ช่วย.(มีรายละเอียดการสนทนาเยอะ).. ในที่สุดหลวงปู่ทองรัตน์ บอกว่า “มันแค่หิวหญ้าเท่านั้นแหละ กลับไปเถอะไม่มีปัญหาอะไรแล้ว”
    เมื่อพวกนายฮ้อยช้าง กลับไปดูก็เห็นช้างกำลังกินใบไผ่และเชื่อฟังควาญแต่โดยดี จึงเชื่อว่าเป็นด้วยอำนาจจิตของท่าน
    หลวงปู่ทองรัตน์ ได้เล่าประสบการณ์การภาวนาที่ภูเขาลูกหนึ่งว่า ขณะที่เดินจงกรมอยู่ ได้มีใบไผ่ร่วงลงมาตรงทางเดินมากมาย แล้วเกิดเป็นลมหมุน อากาศกลายเป็นน้ำ ใบไผ่กลายเป็นปลาหลดมากมายแหวกว่ายอยู่ นิมิตเช่นนี้เกิดอยู่นาน
    หลวงปู่จึงตะโกนคนเดียวว่า “ใบไผ่ผีบ้า หน้าหมา โคตรพ่อโคตรแม่มึง มึงตั๋ว (หลอก) กู ใบไผ่กะเป็นใบไผ่ อากาศกะเป็นอากาศ มึงอย่ามาตั๋วกู สิ่งได๋เกิด สิ่งนั้นกะดับ” ท่านพูดซ้ำๆ ว่า “สิ่งใดเกิด สิ่งนั้นก็ดับๆ ๆ ” ปรากฏว่านิมิตนั้นค่อยหายไป ใบไผ่ก็เป็นใบไผ่ อากาศก็เป็นอากาศตามปกติ
    หลวงปู่มั่น ให้ความเชื่อถือหลวงปู่ทองรัตน์มาก ถึงกับให้ท่านเป็นผู้คอยตรวจตราพระเณรที่ออกนอกลู่นอกทางจากพระธรรมวินัย พระเณรบางพวกจึงไม่ชอบท่าน ไม่กล้าเผชิญหน้าท่าน
    มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลวงปู่มั่นปรารภกับหลวงปู่ทองรัตน์ว่า “ทองรัตน์เดี๋ยวนี้พระเณรเราไม่เหมือนเก่าแล้วนะ เครื่องใช้ไม้สอย สบู่ อะไรต่ออะไรมันหอมเกินวิสัยสมณะที่จะใช้ ไม่รู้จะแก้อย่างไร!”
    อยู่มาวันหนึ่ง มีกลุ่มพระภิกษุ ๒-๓ รูป เดินผ่านท่าน กลิ่นสบู่หอมจนเตะจมูกเหมือนกับหลวงปู่พูดจริงๆ หลวงปู่ทองรัตน์ จึงตะโกนเสียงดังว่า “โอ้ย ! หอมผู้บ่าวโว้ยๆ ๆ ” (หอมพวกหนุ่มๆ โว้ย) ทำให้พระกลุ่มนั้นรีบหลบไม่กล้าสู้หน้าท่าน
    หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม เล่าว่า หลวงปู่ทองรัตน์ได้จำพรรษาอยู่กับหลวงปู่ใหญ่เสาร์ พระเณรต่างทำความเพียรอย่างหนัก วันหนึ่งมีพระรูปหนึ่งเอะอะโวยวายด้วยความดีใจ คิดว่าท่านเองเหาะได้ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ พูดบอกว่า “เอาแหม้ (เอาซิ) ทองรัตน์ เอาแหม้” หลวงปู่ทองรัตน์ เดินตรงไปยังพระองค์นั้น อัดกำปั้นใส่กกหูเต็มแรง พระองค์นั้นถึงกับล้มไปกองที่พื้น รู้สึกค่อยส่างได้สติกลับคืนมา
    หลวงพ่ออวน ปคุโณ เล่าว่า นอกจากหลวงปู่ทองรัตน์ จะได้รับมอบหมายหน้าที่ ให้ควบคุมดูแลพระเณรที่ปฏิบัติร่วมกันในสำนักหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น แล้ว ท่านยังเป็นผู้เตือนสติพระเณรผู้กำลังพลั้งเผลอต่อพระธรรมวินัย ซึ่งผลตามมาจะเป็นความเศร้าหมองของพระเณรเอง
    มีบ่อยครั้งที่พระเณรที่เข้าศึกษาปฏิบัติธรรมกับ พ่อแม่ครูอาจารย์ทั้งสอง ด้วยประสงค์ได้รับรสพระธรรม จากหลวงปู่ใหญ่ทั้งสององค์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ แต่บางครั้ง องค์หลวงปู่ ก็ทรมานพระเณรเหล่านั้น โดยไม่อบรม ไม่เทศน์ จนพระเณรเหล่านั้นทนไม่ไหวจึงไปกราบเรียนหลวงปู่ทองรัตน์
    หลวงปู่ทองรัตน์ ถามพระเณรเหล่านั้นว่า “อยากฟังอีหลีบ้อ?” (อยากฟังจริงๆ หรือ) พระเณรเหล่านั้นบอกว่า “พวกขะน้อยมาปฏิบัติกับพ่อแม่ครูอาจารย์ตั้งดน (นาน) บ่เห็นครูอาจารย์เพิ่นสอนอีหยัง จนขะน้อยสิใจออกหนีเมื่อแหล่วไล้ขะน้อย (คิดจะเปลี่ยนใจจะลากลับแล้ว)”
    หลวงปู่ทองรัตน์ รับปากพระเณรเหล่านั้นว่า “บ่ยากตั๋ว เดี๋ยวเมื่อแลงกะได้ฟังเทศน์เพิ่น” (ไม่ยากหรอก เดี๋ยวตอนเย็นก็ได้ฟังท่านเทศน์)
    พอถึงเวลาออกบิณฑบาตเช้าวันนั้น มีโยมเอาแตงกวาใส่บาตร หลวงปู่ทองรัตน์ เดินตามหลังหลวงปู่มั่น พอได้จังหวะ ท่านก็ล้วงแตงกวาขึ้นมาเคี้ยวกิน เมื่อหลวงปู่มั่น หันมาดู ท่านก็ปิดปากทำไม่รู้ไม่ชี้ หลวงปู่มั่น หันกลับมาดู ท่านก็ปิดปากเฉยอีก
    พอตกเย็นก็ได้เรื่อง คือหลวงปู่มั่นได้เทศน์ให้พระเณรฟังสมปรารถนา
    มีอีกคราวหนึ่ง พระเณรคนละกลุ่มอยากฟังเทศน์หลวงปู่มั่นเช่นเดียวกัน หลวงปู่ทองรัตน์ รับปากว่าจะช่วย กลางวันวันนั้น ท่านไปต่อยมวยชกลม อยู่ใต้ถุนกุฏิหลวงปู่มั่น ทำเสียงฟุดฟัดๆ อยู่จนกระทั่งแน่ใจว่าหลวงปู่มั่นท่านเห็นและได้ยินแล้ว
    ตกเย็นวันนั้น ได้ผลตามคาดหมาย หลวงปู่มั่นท่านเทศน์ให้พระเณรฟังอย่างเต็มอิ่ม ทำให้พระเณรยกย่องหลวงปู่ทองรัตน์ว่า มีความกล้าหาญเป็นเลิศ เพราะไม่มีพระเณรองค์ไหนกล้าทำเช่นนั้น ยิ่งทำกับพ่อแม่ครูอาจารย์ อย่างหลวงปู่มั่นแล้วยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย
    เล่ากันว่า ควายป่าก็ยังขยาด คือมีครั้งหนึ่งหลวงปู่ทองรัตน์ ได้ออกธุดงค์ไปกับท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และหลวงปู่มั่นโอกาสเช่นนี้หายากมาก
    ระหว่างทางจากตัวเมืองไปบ้านสามผง ต้องผ่านป่าทึบและเดินผ่านโป่งที่สัตว์ป่าลงมากินดินโป่งตอนบ่ายแก่ๆ ปรากฏว่ามีควายป่าตัวเขื่องยืนจังก้า ขวางทางด้วยท่าทางไม่เป็นมิตร ไวอย่างไม่มีใครคาดถึง หลวงปู่ทองรัตน์วิ่งรี่เข้าหา แล้วยกเท้าถีบสีข้างควายตัวนั้นเต็มแรงดังตึ้บ ควายตั้งตัวไม่ทัน วิ่งหนีไป ตัวอื่นๆ ก็วิ่งหนีตามไปด้วย
    เรื่องนี้หลวงปู่กิ ธมฺมุตฺตโม เล่าให้พระครูกมลภาวนากร (หลวงพ่อสีทน กมโล เจ้าอาวาสวัดภูหล่น) ฟัง แล้วท่านพระครูฯ เป็นผู้ถ่ายทอดต่อ ว่า : -
    หลวงปู่ทองรัตน์ ได้ออกธุดงค์ไปกับหลวงปู่มั่น ระหว่างทางต้องปีนเขา พระเณรขออาสาสะพายบาตรให้ แต่หลวงปู่มั่นบอกว่าจะสะพายเอง หลวงปู่มั่น เดินออกหน้า พระเณรต่างไต่เขาตามหลังท่านเว้นระยะพอสมควร
    เดินไปได้ครึ่งทาง เกิดอุบัติเหตุ บาตรหลวงปู่มั่นหลุดจากบ่าแล้วตกรูดลงมาตามเขา ผ่านพระเณรที่ตามหลังมา ทุกองค์ต่างยืนดูเพราะไม่รู้จะทำอย่างไร ใช้มือจับก็ไม่ทัน จะใช้เท้าก็เป็นการไม่เคารพครูอาจารย์ ทุกองค์ยืนงงกันหมด
    บาตรตกมาใกล้หลวงปู่ทองรัตน์ ท่านใช้เท้าเหยียบสายบาตรไว้ได้ทัน
    จากเหตุการณ์นั้น หลวงปู่มั่น พูดว่า “เออ ! บ่มีผู้ได๋สิคิดซอยครูบาอาจารย์ดอก ทองรัตน์” (ไม่มีใครคิดช่วยอาจารย์หรอก ทองรัตน์)
    หลวงปู่ทองรัตน์ในวัยหนุ่มท่านมีนิสัยไปทางนักเลง ชอบดื่มเหล้าเกเรเกกมะเหรกพอสมควร แต่ท่านก็มีความรับผิดชอบสูง ถ้าดูนิสัยท่านเปรียบได้กับม้าพยศ เมื่อได้รับการฝึกฝนแล้วกลับกลายเป็นม้าศึกหรือม้าอาชาไนยที่วิเศษยิ่ง (อันนี้ผมพูดเอง)
    เรื่องราวของท่านมีมากมาย ล้วนแต่มีสาระและน่าสนใจ ถ้าดูบุคลิกภายนอกแล้วท่านเป็นพระที่ไม่ค่อยสงบเสงี่ยมเท่าไรนัก แต่เรื่องพระธรรมวินัยท่านเคร่งครัดและละเอียดเป็นอย่างยิ่ง
    (จะขอเสนออีกตอน เป็นเรื่องราวสมัยที่ท่านไปอยู่บ้านชีทวนตามบัญชาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะครับ)
     
  15. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๒๐
    หลวงปู่ทองรัตน์ทีบ้านชีทวน
    ท่านผู้อ่านคงจำได้ ก่อนที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ จะเดินทางออกจากนครพนม เพื่อกลับจังหวัดอุบลฯ ภูมิลำเนาของท่าน ท่านได้มอบหมายภาระให้ลูกศิษย์อาวุโสแต่ละองค์ หลวงปู่ใหญ่เองท่านจะไปอยู่ที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน
    สำหรับหลวงปู่ทองรัตน์นั้น หลวงปู่ใหญ่ให้ไปอยู่บ้านชีทวน คำพูดของหลวงปู่ใหญ่แปลเป็นภาษากลางว่า “ท่านทองรัตน์ เมื่อไปถึง (อุบลฯ) ให้ไปจำพรรษาอยู่บ้านชีทวน ที่นั่นผมเคยไปอยู่ เป็นที่สำคัญคนที่มีความฉลาดมีมาก คนดีก็มีเยอะ คนขี้ฮ้าย (เกเร) ก็มีมาก ให้คนอื่นไปอยู่ไม่ได้...เมื่อไปถึงให้ไปรวมกันในตัวเมืองอุบลฯ ก่อน”
    เมื่อแบ่งงานกันแล้ว ศิษย์แต่ละหมู่ก็แยกย้ายกันเดินทางไป เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ไปถึงบ้านข่าโคม (พ ศ.๒๔๘๐) ได้มีญาติโยมจากบ้านชีทวนมากราบนมัสการ พร้อมกับพยายามนิมนต์ให้หลวงปู่ใหญ่ ไปจำพรรษาที่บ้านชีทวน แต่หลวงปู่ใหญ่บอกว่า ท่านไปไม่ได้เพราะรับนิมนต์ชาวบ้านข่าโคมไว้แล้ว
    ญาติโยมจากบ้านชีทวนพยายามอ้อนวอนให้หลวงปู่ใหญ่จัดพระองค์ไหนไปอยู่ก็ได้ เพราะพวกเขาศรัทธาพระสายกรรมฐานที่เคยไปสอนชาวบ้านเอาไว้แล้ว
    หลวงปู่ใหญ่บอกว่า “ถ้าจะเอาพระไปเดี๋ยวนี้ยังไม่ได้ เพราะพระยังไม่มา”
    ชาวบ้านเห็นว่าพระเณรที่บ้านข่าโคมมีตั้งเยอะ อีกแค่ ๓ วันก็จะเข้าพรรษาแล้ว จึงขอกับท่านว่า “หลวงปู่ขะน้อย พระอยู่ในวัด คือจั่งมีหลายองค์อยู่ แบ่งให้ไปก่อนบ่ได้บ่อ ขะน้อย”
    หลวงปู่ใหญ่ บอกว่า “บ้านชีทวนเป็นบ้านเจ้าคัมภีร์ใหญ่ตั๋ว ถ้าให้พระมะเขมะขาไปสิมีเรื่องกัน ถ้าสาก่อนจั๊กสองมื่อ (รอก่อนสักสองวัน) เพิ่นจั่งสิมาฮอด (พระท่านจึงจะมาถึง)”
    ในช่วงนั้นไม่ทราบว่า หลวงปู่ทองรัตน์ อยู่ที่ไหน แต่เมื่อหลวงปู่ใหญ่ ว่าอย่างนั้นชาวบ้านก็ดีใจ และกราบอำลาไปจัดแจงกุฏิ และทำความสะอาดวัด รอพระที่จะมาอยู่จำพรรษาให้
    เมื่อครบ ๒ วัน ญาติโยมบ้านชีทวนก็มาทวงพระตามที่หลวงปู่ใหญ่บอกไว้ หลวงปู่ชี้ไปที่หลวงปู่ทองรัตน์ ซึ่งนั่งคู่กับหลวงปู่กิว่า “นั่นเด พระที่เพิ่นจะไปอยู่กับพวกหมู่เจ้า”
    หลวงปู่ใหญ่ จึงบอกให้ หลวงปู่ทองรัตน์ กับพระอีก ๓ องค์ ไปอยู่บ้านชีทวนพร้อมกับชาวบ้านที่มารับ และบอกให้หลวงปู่กิ กับพระอาจารย์กอน และพระอาจารย์บัญชี ไปอยู่บ้านโพนงาม ต.หนองบ่อ อ.เมือง จ.อุบลฯ
    ทางด้านหลวงปู่ทองรัตน์ ท่านต้องเจอปัญหาที่บ้านชีทวนอย่างสาหัสสากรรจ์ที่สุด อย่างที่หลวงปู่ใหญ่บอกไว้ไม่ผิด ซึ่งชาวบ้านพูดภายหลังว่า “ปัญหาแต่ละอย่าง ถ้าไม่ใช่ครูบาจารย์ทองรัตน์ คงจะอยู่ไม่ได้ เพราะมันหนักมากในการแก้ทิฏฐิคน”
    ปัญหาอันดับแรกที่หลวงปู่ทองรัตน์ ไปถึงบ้านชีทวน พบว่าชาวบ้านแบ่งแยกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายแรกเป็นฝ่ายต่อต้านอย่างรุนแรง เป็นฝ่ายของอดีตพระมหา และผู้เคยบวชเรียนมีความรู้สูง ซึ่งมีความเห็นว่า “เป็นพระเป็นเจ้าไปอยู่ป่า นั่งหลับหูหลับตาสิเห็นหยัง แม้แต่คนตาดีๆ มืนตาเบิ่งมันยั๋งบ่เห็น (แม้คนตาดีๆ ลืมตาดู มันยังไม่เห็น)”
    อีกฝ่ายเป็นฝ่ายศรัทธาพระป่า พูดถึงฝ่ายแรกว่า “ซ่างเขาคนเขาเว่าเขาบ่เห็นนำเฮา” (ช่างเขา พวกเขาพูดอย่างนั้นเพราะเขาไม่เห็นด้วยกับเรา)
    หลวงปู่ทองรัตน์ใช้สรรพนามแทนตัวท่านว่า ลูก พูดกับญาติโยมว่า พ่อ แม่ ทุกคน ท่านบอกว่า “ที่ใช้คำพูดอย่างนั้น ต้องการหัดให้ลูกเขารู้จักพูดกับพ่อแม่ด้วยคำพูดที่สุภาพ” เพราะเห็นว่าเด็กใช้คำว่า “อี” นำ เมื่อพูดกับผู้ใหญ่ เช่น อีพ่อ อีแม่ เรียกพี่ผู้ชายกว่า บักนั่น บักนี่ เรียกพี่สาวก็ว่า อีนั่น อีนี่ ฟังดูแล้วไม่น่ารัก
    หลวงปู่ทองรัตน์มีเรื่องกับกลุ่มผู้หญิงที่มาตักน้ำในบ่อของวัด โดยท่านจัดหาถังน้ำส่วนกลางไว้ให้ แต่ชาวบ้านไม่ยอมใช้ จะใช้ครุ (ถังน้ำสานด้วยไม้ไผ่ แล้วใช้ชันทาไม่ให้น้ำรั่วซึม) ของตนเอง เมื่อหลวงปู่เห็นก็บอกว่า “แม่เอ๊ย อย่าเอาครุลงตักน้ำในส่าง (บ่อ) เด้อ ให้เอาครุที่ลูกหาให้ นั้นตัก”
    พวกโยมกลุ่มที่ต่อต้านก็พูดโจมตีต่อๆ กันว่า หลวงปู่ทองรัตน์หวงน้ำบ่อ พระที่เคยมาอยู่ก่อนไม่เห็นใครเป็นอย่างนั้น ซึ่งท่านก็ให้คำอธิบายว่า.เมื่อพวกแม่เอาครุ (ที่มี) คาวปูคาวปลามาตักน้ำในบ่อ เมื่อพระเจ้าพระสงฆ์ไปตักน้ำมากินมาฉัน เพิ่นก็เป็นอาบัติตั๋วพ่อ แม่
    คือพวกชาวบ้านชอบเอาครุใส่ปูใส่ปลา แล้วเอามาใช้ตักน้ำบ่อกลิ่นคาวก็ติดอยู่ในน้ำ เมื่อพระตักน้ำมาฉันก็ทำให้พระอาบัติ ชาวบ้านก็เข้าใจ เรื่องนี้ก็จบไป

    ก่อนมาบ้านชีทวน หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ได้กำชับว่าบ้านชีทวนนี้เป็นบ้านที่มีการศึกษามาก เป็นมหาก็เยอะ เรื่องที่จะไปพูดเฉยๆ ไม่มีอุบาย จึงยากที่คนเหล่านั้นจะเชื่อ เคยส่งพระไปอยู่แล้ว ต้องหันหลังกลับอย่างไม่เป็นท่า เพราะถูกลองภูมิ แม้แต่องค์หลวงปู่ใหญ่ก็เคยถูกลองดีมาแล้ว ถ้าบ่แม่นท่านทองรัตน์ บ่มีไผสิเอาอยู่
    หลวงปู่ทองรัตน์ ยังไปกราบหลวงปู่ใหญ่ และขอรับอุบายจากท่านอยู่บ่อยๆ
    ในระหว่างพรรษา หลวงปู่ใหญ่ ให้พระลูกศิษย์ทั้งมหานิกายและธรรมยุต ที่ไปจำพรรษาในที่ต่างๆ ในละแวกนั้นมารวมลงอุโบสถด้วยกันที่ วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม ที่หลวงปู่ใหญ่พำนักอยู่
    ต่อมาพระผู้ใหญ่ทางเมืองหลวงทราบเรื่องนี้ จึงได้แจ้งมายังหลวงปู่ใหญ่เสาร์ ห้ามไม่ให้พระทั้งสองนิกายลงอุโบสถทำสังฆกรรมรวมกัน ท่านจึงบอกว่า “ถ้าทางการเขาให้รวมกัน ก็ให้ลูกศิษย์แต่ละวัดทำอุโบสถกันเอง เมื่อมีงานจึงมาร่วมปรึกษาประชุมกัน”
    หลวงปู่ทองรัตน์พยายามสอนให้ชาวบ้านรู้จัก เสียสละทาน รู้จักใส่บาตรกัน ซึ่งชาวบ้านกลุ่มต่อต้านก็หาว่าท่านเป็นพระขี้ขอ
    เช่น บ้านที่เคยใส่บาตร แต่คิดว่าพระยังไม่มา หรือมองไม่เห็น ท่านก็จะยืนรอจนกว่าโยมจะเห็นแล้วลงมาใส่บาตร แล้วจึงไปบ้านอื่นต่อ
    เมื่อฝนตก ท่านก็บอกชาวบ้านว่า “แม่บ่ต้องลงมาหรอก มันเปียก ลูกสิไปรับเอง” คนที่ไม่ชอบก็รังเกียจท่าน หาว่าท่านเป็นพระขี้ประจบ
    ถ้าบ้านไหนไม่เคยใส่บาตร ท่านก็พูดขอตรงๆ จนเจ้าของบ้านนำอาหารมาใส่บาตรให้ พอกลับจึงวัดท่านก็คัดแยกอาหารนั้นออก ไม่นำมาฉัน เพราะเป็นอาหารไม่บริสุทธิ์ ได้มาจากการเอ่ยปากขอ พระฉันแล้วต้องอาบัติ
    ท่านต้องไปขออาหารบ้านนั้นทุกวัน จนกระทั่งเจ้าของบ้านมาใส่บาตรเอง ท่านจึงเลิกพูดขอ
    บางครั้งเห็นกล้วยสุกคาต้น ท่านก็พูดกับโยมว่า “แม่ กล้วยมันสุกคาเครือ บ่อยากได้บุญบ้อ คั่นอยากได้กะเอามาใส่บาตรตี้” แล้วท่านก็ยืนรอจนกว่าโยมจะไปตัดกล้วยเครือนั้นมาใส่บาตร เมื่อถึงวัดแล้วท่านก็ไม่ฉันกล้วยนั้น
    เมื่อเป็นอย่างนี้ ชาวบ้านกลุ่มต่อต้านก็แปลเจตนาของท่านว่าเป็นพระขี้ขอ ทำตัวไม่เหมาะสม แต่ท่านก็ไม่สนใจกับเสียงโจมตีนั้น
    วันหนึ่งมีโยมบ้านหนึ่ง เอาไม้ค้อนสำหรับตอกสิ่วใส่บาตรให้ท่าน พอกลับจึงวัดท่านก็บอกพระเณรว่า
    “โยมเขาคือสิคิดว่า ทางวัดป่าบ่มีค้อนตอกสิ่ว เขาเลยใส่บาตรให้”
    วันต่อมา เจ้าของบ้านที่ตักบาตรด้วยค้อน ก็นำอาหารห่อใบตองห่อใหญ่ใส่ลงในบาตร พอถึงวัด หลวงปู่คัดแยกอาหารดิบ อาหารไม่บริสุทธิ์ อาหารที่ไม่ควรฉันออกไป แล้วค่อยๆ หยิบห่อใบตองห่อใหญ่ขึ้นมาค่อยๆ แกะ เพราะไม่รู้ว่าข้างในเป็นน้ำหรือเนื้อ
    อย่างที่ไม่คาดคิด กลายเป็นกบตัวใหญ่ กระโดดแผล็วออกมา ท่านรีบตะครุบจับไว้ได้ แล้วก็พูดกับกบว่า [FONT=Cordia New]“โอ ! ถ้าเขาไม่เอาเจ้ามาใส่บาตรให้พ่อ เจ้าก็ต้องไปลงหม้อต้มเขาแล้วหนอ” แล้วท่านก็ให้เณรนำไปปล่อย[/FONT]
    [FONT=Cordia New]สาธุ ! กบรอดตายก็เพราะบาตรพระแท้ๆ [/FONT]
    [FONT=Cordia New] วันต่อมาท่านก็ออกไปบิณฑบาตตามปกติ โยมคนเดิมคงจะแอบขำในใจ แต่ท่านก็ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น วันนี้เขามีกระดาษจดหมายใส่ลงในบาตร[/FONT]
    [FONT=Cordia New] พอกลับจึงวัดก็รู้ว่าเป็นจดหมายโจมตีท่าน ท่านก็ห่มจีวรเรียบร้อยพาดสังฆาฏิ ยื่นจดหมายให้เณรอ่าน บอกว่า [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“เอ้า ลูกอ่าน อมฤตธรรมแน่ นี่เทวดาเขาใส่บาตรมา หาฟังยากตั๋ว”[/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New] เณรก็อ่านจดหมายต่อหน้าพระเณรที่นั่น หลวงปู่ท่านนั่งประนมมือตั้งใจฟังอย่างสำรวม ใจความในจดหมายว่า[/FONT]
    [FONT=Cordia New]“พระผีบ้า เป็นพระเป็นเจ้าไม่สำรวม ไม่มีศีล ไม่มีวินัย ประจบสอพลอ ขอของจากชาวบ้าน พระแบบนี้ถึงจะเหาะเหินเดินอากาศได้ ก็ไม่นับถือว่าเป็นพระ ให้ออกจากวัดไป ถ้าไม่ไปจะเอาลูกตะกั่วมาฝาก”[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]พอเณรอ่านจดหมายจบ ท่านก็จบมือขึ้น เปล่งวาจาว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“สาธุ ! “ จนพระเณรทั้งวัดได้ยินทั่วถึง แล้วท่านก็พูดว่า “เอ้า เก็บได้ ไว้ที่แท่นบูชาเด้อ โลกธรรมแปดมันนี่เอง แต่ก่อนได้ยินแต่ชื่อว่า มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ มีสรรเสริญ-มีนินทา มีสุข-มีทุกข์ โอ้ย ! ของดีตั๋วนี้สาธุ ! พ่อได้ฟังแล้ว แก่นธรรมเพิ่งมามื่อนี่ (วันนี้) เอง เก็บไว้ เก็บไว้”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลวงปู่ทองรัตน์ ออกไปบิณฑบาตตามปกติไม่แสดงอาการโกรธเคืองหรือไม่พอใจใดๆ ทั้งสิ้น[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]๒[/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New]-๓ วันต่อจากนั้น ครอบครัวของโยมคนนั้นเกิดวุ่นวาย ผัวเมียตบตีกัน ฝ่ายผัวมีอาการคลุ้มคลั่งหวาดระแวงกลัวจะมีคนตามฆ่า ต้องไปหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า ญาติพี่น้องต้องนำตัวมากราบขอขมาท่าน ท่านก็บอกว่าท่านไม่ได้โกรธเคืองและทำอะไรเขา การเป็นไปทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกระทำของตนเองทั้งนั้น[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]สุดท้ายหลวงปู่ทองรัตน์ ก็เทศน์ให้ฟังถึงโทษและกรรมของการใส่ร้ายคนอื่น แล้วบอกให้ญาตินำกลับไปบ้าน โยมคนนั้นก็กลับมีอาการปกติ[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]ต่อมาภายหลังได้สำนึกผิด ได้เข้าไปกราบขอขมาโทษ และไปอยู่เฝ้าอุปัฏฐากหลวงปู่ทองรัตน์ทุกวัน แม้ต่อมาหลังจากหลวงปู่ใหญ่เสาร์มรณภาพแล้ว ท่านย้ายไปตั้งวัดป่าบ้านคุ้ม โยมคนนี้ก็ยังตามไปอุปัฏฐากรับใช้ หลวงปู่เรียกโยมคนนี้ว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“หมาแก้ว” แต่คนทั่วไปเรียก“อาจารย์มหาแก้ว” เพราะเคยบวชเรียนเป็นเปรียญ ๔-๕ ประโยค[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New] เรื่องการกลั่นแกล้งโจมตีลองดีจากชาวบ้านมีมากมาย ผมนำมาเล่าเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้านชีทวนเคยถามท่านว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“ท่านถูกแกล้งถูกโจมตีทุกวัน ท่านไม่โกรธไม่แค้นเขาบ้างหรือ ถ้าเป็นคนอื่นเขาคงจะหนีไปนานแล้ว”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT] [B] หลวงปู่ทองรัตน์ ได้ตอบว่า “ถ้าไทบ้านชีทวนบ่ไห่นำสิบ่หนี”หมายความว่า ถ้าชาวบ้านชีทวนไม่ร้องไห้คิดถึงแล้ว ท่านจะไม่หนีไปไหน ซึ่งก็เป็นความจริงเช่นนั้นในตอนท้าย[/B]

    [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New] พูดถึงฝ่ายชาวบ้านที่กลั่นแกล้งโจมตีท่าน ต่างประสบเหตุการณ์ที่ไม่ดีกันแทบทุกบ้าน ทุกคน ต่างพากันสำนึกและกลับมากราบขอขมาท่าน กลายมาเป็นฝ่ายสนับสนุนท่านเป็นอย่างดี[/FONT]
    [FONT=Cordia New] ผมขอกล่าวถึงการต่อต้านจากทางฝ่ายสงฆ์บ้าง ซึ่งก็ไม่เบาไปกว่าฝ่ายชาวบ้านเลย ทั้งกล่าวโจมตีและยุยงชาวบ้านให้เกลียดชังท่านต่างๆ นานา[/FONT]
    [FONT=Cordia New] ทางฝ่ายพระได้ส่งพระมหารูปหนึ่งชื่อ [B][COLOR=navy]อาจารย์สี[/COLOR][/B] ได้ชื่อว่าเป็นพระที่เคร่งวินัย และรู้เรื่องวินัยดีมาก ยอมตัวมาอยู่เพื่อจับผิดท่านนานถึง ๓ ปี แต่หาข้อผิดของหลวงปู่ทองรัตน์ไม่ได้ แม้แต่อาบัติเล็กน้อยก็ไม่พบ[/FONT]
    [FONT=Cordia New] วันหนึ่งหลวงปู่เห็นพระมหารูปนั้นนั่งอยู่ใกล้ พอจะมองเห็นรางปัสสาวะได้ชัด หลวงปู่ทองรัตน์จึงไปนั่งปัสสาวะที่รางนั้น แล้วบ้วนน้ำลายลงในราง[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]ทางพระมหาลุกขึ้นมาต่อว่าทันที [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“ไหนท่านว่าเคร่งวินัย ทำไมถึงบ้วนน้ำลายลงรางปัสสาวะ ไม่รู้หรือว่ามันผิดวินัย?”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลวงปู่ทองรัตน์ ตอบกลับไปว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“ผมสงสารท่านที่มาคอยจับผิดผมตั้ง ๓ ปี ถ้าท่านว่าผมผิด แล้วท่านซ่อนอะไรไว้ให้อาสนะที่นั่งของท่าน ท่านไม่รู้หรือว่าศัสตรานั้นมันคู่ควรกับสมณะหรือเปล่า?”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]ท่านมหาถึงกับหน้าถอดสี คิดไม่ถึงว่าหลวงปู่ทองรัตน์รู้ได้อย่างไรว่าตัวท่านซ่อนมีดไว้ใต้อาสนะ[/FONT]
    [FONT=Cordia New]โบราณว่า ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ต้องเอาด้วยกล ปรากฏว่ามีการร้องเรียนกล่าวโทษหลวงปู่ทองรัตน์ไปถึงพระผู้ใหญ่ฝ่ายปกครอง ว่าท่านทำตัวไม่เหมาะสม ประจบเอาใจและชอบขอของจากชาวบ้าน[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New] ทางสงฆ์ได้ส่งคณะกรรมการจากในเมืองมาสอบสวน พระเถระฝ่ายปกครองถามข้อกล่าวหาแต่ละข้อว่า ที่เขากล่าวหานั้นมัน [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“ถูกไหม” หลวงปู่ทองรัตน์ ประนมมือแล้วตอบว่า “โดย ขะน้อย” คือตอบว่า “ขอรับกระผม” ทุกข้อกล่าวหา[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]พระเถระถามว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“เมื่อเป็นอย่างนี้ จะมีข้อแก้ตัวอย่างไร ท่านทองรัตน์?”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลวงปู่ทองรัตน์ กราบเรียนว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“ภิกขุ คือใคร ถ้าแปลออกมาก็คือผู้ขอไม่ใช่หรือ ที่ขอก็เพราะไม่มี ถึงขอ ถ้าไม่ขอก็หาอยู่กินเอง เขาก็เรียกคฤหัสถ์ญาติโยม เท่านั้นแหละ ถ้าว่าการกระทำของกระผมผิด จะฆ่าจะแกงกระผมก็ยอม”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลวงปู่ทองรัตน์ ได้อธิบายถึงเหตุผลและอุบายให้ฟังจนพระเถระเหล่านั้นพอใจ ไม่สามารถเอาผิดกับท่านได้[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลังจากหลวงปู่ทองรัตน์ เป็นที่เคารพรักของชาวบ้านชีทวนแล้ว ชาวบ้านหลายคนแสดงความจำนงถวายที่ดินและพร้อมใจกันสร้างวัดถวายท่าน แต่ท่านไม่อยากให้สร้างวัดให้ท่านอีก ท่านพูดว่า [/FONT] [/FONT] [FONT=Tahoma] [FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]“ไม่ต้องสร้างวัดหรอกพ่อ นาของลูกมีแล้ว นาแปลงนี้ยังไงล่ะ !” พร้อมกับชี้ไปที่บาตรของท่าน ซึ่งตลอดชีวิตการเป็นพระของท่าน ท่านมีบาตรใบนี้ใบเดียวเท่านั้น[/FONT][/FONT][/FONT]
    [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
     
  16. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]หลวงปู่ทองรัตน์ ท่านเป็นพระที่เทศน์เก่ง สอนเก่ง หลังจากท่านเป็นที่รู้กันดีแล้ว ที่วัดพระธาตุสวนตาลได้นิมนต์ท่านไปเทศน์ ๒ ธรรมาสน์ คู่กับ เจ้าคณะอำเภอเขื่องใน มีประชาชนศรัทธาไปฟังจำนวนมากหยอดเงินถวายกัณฑ์เทศน์คนละ ๑ สตางค์บ้าง ๕ สตางค์บ้าง ได้รวมกันแล้วเป็นเงินร่วม ๒,๐๐๐ บาท ได้แบ่งเป็น ๒ ส่วน ท่านเจ้าคณะฯ รับส่วนถวายของท่านไปทั้งหมด ในขณะที่หลวงปู่ทองรัตน์ถวายคืนแก่วัดพระธาตุสวนตาลทั้งหมดเหมือนกัน[/FONT]
    [FONT=Cordia New] เงินกัณฑ์เทศน์ครั้งนั้นถือว่าสูงมากเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่เงินเดือนครูประชาบาลแค่ ๘บาท และข้าวสารเหนียวชั้นหนึ่ง ๑๐๐ ก.ก. กระสอบละ ๙ บาท เท่านั้น[/FONT]
    [FONT=Cordia New]หลวงปู่ทองรัตน์ เข้มงวดกวดขันในการสอนพระเณรมาก อาบัติเล็กน้อยท่านก็ไม่ละเว้น ตัวอย่างการสอนพระเณร มีดังนี้ : -[/FONT]
    [FONT=Cordia New]“พระพุทธเจ้า ท่านทำทางเดินไว้ให้เราเดินแล้ว พระอริยเจ้าพระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านก็เดินตามทางที่พระพุทธองค์ทำไว้ แนะนำไว้แล้วทุกพระองค์ ถ้าเราได้ศึกษา ได้ปฏิบัติตาม เราก็จะพบทางเดินไปมรรค ผล นิพพานได้เหมือนพระอรหันต์ ๘๐ องค์นั้นเหมือนกัน เว้นแต่ผู้ประมาท ผู้ขี้เกียจ ผู้ไม่มีความเพียร ผู้หลงเดินตามกิเลส ก็จะไม่มีทางพ้นจากทุกข์ ไม่พ้นจากวัฏสงสาร เกิด ตาย ทุกข์โศก โรคภัยอยู่อย่างนี้นับภพนับชาติไม่ถ้วน [/FONT]
    [FONT=Cordia New]ใครมาบวชปฏิบัติในสำนักนี้ ให้มีความพากเพียรนั่งสมาธิเดินจงกรม อย่าให้น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง วันหนึ่งกับคืนหนึ่งให้กิเลสเอาไป๒๑ ชั่วโมง[/FONT]
    [FONT=Cordia New]ถ้าทำความเพียร ทำจิตให้สงบจากกิเลสได้ไม่ถึง ๓ ชั่วโมงต่อวันเป็นอย่างน้อย ออกพรรษาให้สึกออกไปช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัว ดีกว่ามาบวชไม่มีความเพียร ทำความเพียรน้อยกว่า ๓ ชั่วโมง เอาชนะกิเลสไม่ได้หรอก[/FONT]
    [/FONT][FONT=Tahoma] [FONT=Cordia New]มรรคผลนิพพานโน่น อยู่ฟากตายโน้น ต้องกินน้อย นอนน้อย ขยันมาก อดทนมาก ไม่กลัวลำบาก ไม่กลัวกิเลส เอาชนะกิเลสให้ได้จึงจะเห็นมรรคผลนิพพาน...ฯลฯ[/FONT][/FONT][FONT=Tahoma][FONT=Tahoma][FONT=Cordia New]”[/FONT][/FONT][/FONT]
    [FONT=Tahoma][FONT=Tahoma] [/FONT] [/FONT] [/FONT] [/FONT] [/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT][/FONT]
    <table id="table1" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุ หลวงปู่ทองรัตน์
    ที่วัดป่าบ้านคุ้ม อ วารินชำราบ
    จ อุบลราชธานี
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ตัวอย่างการเทศน์สอนชาวบ้าน เช่น : “...ก่อนนอน ไหว้พระสวดมนต์ แล้วสมาทานศีลห้าด้วยตัวเอง สำรวจศีลห้า ข้อใดไม่บกพร่องแล้วดีใจ ปลื้มใจ ปีติยินดี
    บริกรรม พุทโธ เม นาโถ ธัมโม เม นาโถ สังโฆ เม นาโถ นอนด้วยความมีสติ หายใจเข้าภาวนาว่า พุท หายใจออกภาวนาว่า โธให้หลับไปด้วยอารมณ์ พุทโธ ฝันก็ฝันดี มีนิมิตก็มีนิมิตดี ตายไปก็ตายดี ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์แน่ ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์อีก เกิดใหม่ก็จะดีกว่าเก่า...
    หลวงปู่ทองรัตน์ รักและเคารพหลวงปู่ใหญ่เสาร์มาก หลวงปู่ใหญ่สั่งว่าอยู่วัดป่าบ้านชีทวนอย่าไปไหน ท่านก็ไม่เคยออกจากวัดไปไหนเลย นอกจากไปกราบเยี่ยมหลวงปู่ใหญ่ ที่ท่านไม่ยอมไปไหนท่านบอกว่า “หลวงปู่ สั่งให้อยู่วัด ถ้าเกิดท่านมาเยี่ยมแล้วเราไม่อยู่เดี๋ยวจะไม่ดี”
    เมื่อคราวหลวงปู่ใหญ่เสาร์ เดินทางไปนครจำปาศักดิ์ ท่านก็ได้ติดตามไปด้วย หลวงปู่ใหญ่ได้มรณภาพที่นั่น หลวงปู่ทองรัตน์อยู่ประจำที่บ้านชีทวน ๖ ปี สอนชาวบ้านจนได้ผลแล้ว ท่านจึงย้ายไปสร้างวัดใหม่ที่วัดป่าบ้านคุ้ม แล้วท่านก็มรณภาพที่นั่น
    (ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวที่ย่อที่สุด ท่านที่ต้องการอ่านในรายละเอียดติดต่อขอหนังสือจากวัดหนองป่าพงได้ ชื่อหนังสือ “มณีรัตน์ อัญมณีแห่งไพรสณฑ์”)
    ๑๒๑
    การเคลื่อนทัพพระกรรมฐานสู่อุบลฯ
    ผมเคยเกริ่นไว้แล้วในหัวข้อเรื่อง “มอบภาระและการจัดขบวนทัพ” ว่า ในการเคลื่อนย้ายคณะพระกรรมฐานสู่จังหวัดอุบลฯนั้น ถ้าพูดตามภาษาวิชาการสมัยใหม่ ต้องบอกว่า หลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่นท่านมีวิธีบริหารจัดการที่ยอดเยี่ยมจริงๆ
    ขอย้อนกล่าวถึงกรณีของ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อครั้งที่ท่านพาสานุศิษย์ที่เป็นพระเณรราว ๗๐-๘๐ องค์ เดินทางจากคำชะอี ไปส่งโยมมารดาที่อุบลราชธานี แล้วปลีกตัวจากหมู่คณะไปบำเพ็ญเพียรที่เชียงใหม่เมื่อปลายปี พ ศ ๒๔๗๐ นั้น
    หลวงปู่มั่นได้แบ่งศิษย์เอกเป็นคณะย่อยๆ คณะ ๕-๖ องค์ องค์อาวุโสเป็นหัวหน้าคณะ แล้วแยกย้ายทยอยกันไปเพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักแก่ชาวบ้านในการต้อนรับเลี้ยงดูพระ
    องค์หลวงปู่มั่นเอง ออกกรุยทางเป็นคณะแรก แวะพักปักกลดอบรมสั่งสอนชาวบ้านตามรายทางเป็นระยะๆ พอคณะแรกย้ายไป คณะใหม่ก็มาพักแทนที่ อบรมประชาชนอย่างต่อเนื่องกัน ทำเช่นนี้ต่อกันไปเรื่อยๆ และที่พักปักกลดนั้นก็กลายเป็นสำนักสงฆ์ กลายเป็นวัดป่า หรือวัดกรรมฐานขึ้นอีกมากมาย
    วิธีการเช่นนี้ จะไม่เรียกว่าวิธีบริหารจัดการที่วิเศษยอดเยี่ยมหรือ? ชาวบ้านก็ไม่เดือดร้อน การบำเพ็ญภาวนาของพระเองก็ได้ผลดีการอบรมสั่งสอนชาวบ้านก็ได้ผลดี และเกิดเป็นวัดกรรมฐานขึ้นอีกมากมายสืบต่อกันมาจนทุกวันนี้
    การเคลื่อนย้ายทัพพระกรรมฐานของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ในครั้งนี้ ก็ทำเช่นเดียวกันกับหลวงปู่มั่น กล่าวคือ กองทัพพระกรรมฐาน เคลื่อนขบวนทัพออกจากธาตุพนมมุ่งหน้าลงใต้ จุดหมายปลายทางอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี ถิ่นของนักปราชญ์
    ขบวนทัพพระกรรมฐาน แยกย้ายทยอยกันไปเป็นคณะย่อยๆ ด้วยเกรงว่า จะเป็นการลำบากแก่ชาวบ้านตามรายทาง ในการจัดหาภัตตาหารบิณฑบาต ทั้งยังได้เผยแพร่สั่งสอนอบรมธรรมให้แก่ชาวบ้านในเส้นทางอย่างต่อเนื่อง เพราะเมื่อคณะแรกผ่านไปแล้ว คณะต่อๆ มาก็ติดตามมาให้การสอนเพิ่มเติมซ้ำอีก ชาวบ้านได้มีโอกาสรับฟังธรรมจากครูบาอาจารย์หลายๆ ท่านอย่างต่อเนื่อง สำนักวัดป่าที่เกิดใหม่ก็มีครูบาอาจารย์สายกรรมฐานมาโปรดมาเยี่ยมเยียนอย่างต่อเนื่องด้วยเป็นผลดีทั้งแก่พระและแก่โยม และเกิดวัดกรรมฐานขึ้นอีกมากมาย
    <table id="table9" border="0" width="306"> <tbody><tr> <td align="center" width="226"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" width="226"> วัดพระงามศรีมงคล อ ท่าบ่อ จ หนองคาย </td> <td align="center"> พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร</td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๒๒
    หลวงปู่ใหญ่เดินทางโดยรถยนต์
    ในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ที่ทัพพระกรรมฐานเคลื่อนย้ายสู่จังหวัดอุบลราชธานีนั้น หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มีอายุ ๗๗ ปี ท่านต้องใช้ไม้เท้าพยุงกายเวลาเดิน
    การเดินทางไกลด้วยเท้าจากนครพนม ถึงอุบลฯ ต้องผ่านป่าเขาเป็นระยะทางร่วม ๓๐๐ กิโลเมตร ย่อมเป็นการลำบากสำหรับหลวงปู่ใหญ่อย่างแน่นอนในวัยสังขารขนาดนั้น คณะศิษย์เป็นห่วงจึงขอให้ท่านเดินทางโดยรถยนต์ ในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติบันทึกไว้ดังนี้ : -
    “คณะท่านพระอาจารย์เสาร์ เดินทางโดยรถยนต์โดยสารที่ศรัทธาญาติโยมได้จัดถวายค่ารถโดยสารให้.
    การเดินทางออกจากธาตุพนมต้องไปลงแพข้ามลำน้ำก่ำ ที่บ้านต้อง (สมัยนั้นยังไม่มีสะพานข้าม) ถนนหนทางก็ขรุขระเต็มไปด้วยหลุมบ่อในหน้าฝน พอถึงหน้าแล้ง เช่นที่ท่านพระอาจารย์เสาร์เดินทางไปนี้ ก็คละคลุ้งตลบอบอวลไปด้วยฝุ่นแดงของลูกรัง และควันดำ เสียงดังจากท่อไอเสียรถ
    กว่าจะถึงเมืองอุบลฯ ก็ต้องหยุดพักค้างคืนที่อำนาจเจริญเสียก่อน ๑ คืน จึงได้ถึงที่หมาย พอก้าวลงจากรถ ก็ต้องพากันสลัดฝุ่นเป็นการใหญ่ เพราะฝุ่นที่เกาะติดตามร่างกายนี้ทำให้ทุกคนกลายร่างเป็นผีแดงไปหมด.
    เมื่อถึงจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว คณะของหลวงปู่ใหญ่ไปพักที่สวนข้างทุ่งนาบ้านท่าวารี พักรอคณะลูกศิษย์ที่ทยอยตามมาอยู่หลายเดือน เมื่อได้เวลาพอสมควรแล้ว ก็ให้แต่ละคณะแยกย้ายกันออกไปปฏิบัติธรรม และเผยแพร่ธรรม ตามที่ได้มอบหมายตั้งแต่ครั้งก่อนออกเดินทางจากนครพนม
    <table id="table10" border="0" width="187"> <tbody><tr> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center"> ลำเซบาย ที่ไหลผ่าน บ้านข่าโคมมายังบ้านท่าวารี</td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๒๓
    จุดพักครั้งแรกที่บ้านท่าวารี
    ที่บ้านท่าวารี จุดพักครั้งแรกของคณะของหลวงปู่ใหญ่นั้น เมื่อมาถึง ท่านพาคณะปักกลดบำเพ็ญภาวนาอยู่ชายทุ่ง แล้วมีคณะญาติโยมได้ช่วยกันทำที่พักชั่วคราวถวาย
    มีผู้เลื่อมใสศรัทธามาสมาทานศีล เป็นอุบาสกอุบาสิกาปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่เป็นจำนวนร่วมร้อยคน
    พอได้เวลาทำวัตรสวดมนต์ องค์หลวงปู่ใหญ่จะเคาะไม้ให้สัญญาณมารวมกัน กลางคืนท่านจะจัดให้มีการอบรมธรรม และพานั่งสมาธิภาวนาจนดึกดื่น บางคืนปฏิบัติภาวนาจนตลอดคืนก็มี
    ถึงตอนเช้าหลวงปู่ใหญ่ ก็พาพระเณรออกรับบิณฑบาตโปรดญาติโยมตามปกติ และปฏิบัติกิจของสงฆ์เหมือนที่เคยทำเป็นประจำ
    หลวงปู่ใหญ่พักอยู่ที่บ้านท่าวารี อยู่หลายเดือน ต่อมาท่านได้รับนิมนต์ให้ไปพักจำพรรษาที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน ตามความประสงค์ตั้งแต่ก่อนออกเดินทางจากนครพนม
    ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ได้กล่าวถึงสถานที่ในจังหวัดอุบลราชธานี ที่หลวงปู่ใหญ่ได้ไปพำนัก ในช่วงปัจฉิมวัย ระหว่าง พ.ศ.๒๔๗๙ - ๒๔๘๔ ดังนี้ -
    ๑ บ้านสวนวัง อำเภอม่วงสามสิบ
    . บ้านข่าโคม อำเภอเมืองอุบลราชธานี
    . วัดบูรพา ในตัวเมืองอุบลราชธานี
    ๔ บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน
    ๕ บ้านกุดปากหวาย อำเภอวารินชำราบ
    ๖. บ้านโพธิ์ตาก อำเภอวารินชำราบ
    ๗. บ้านท่าฆ้องเหล็ก อำเภอวารินชำราบ
    ๘. วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร
    ๙. วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร เป็นสถานที่สุดท้ายของท่าน
    <table id="table11" border="0" width="306"> <tbody><tr> <td align="center" width="226"> [​IMG]</td> <td align="center"> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" width="226"> กุฏิ หรือ สีมาน้ำ</td> <td align="center"> สิมน้ำวัดหนองอ้อ</td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๒๔
    วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม
    ในปี พ ศ. ๒๔๗๙ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล มาพักจำพรรษาที่บ้านข่าโคม บ้านเกิดของท่าน ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี
    สำหรับเหตุการณ์ที่บ้านข่าโคมนั้น อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติได้คัดลอกมาจากหนังสือ ชีวประวัติพระครูวิเวกพุทธกิจ กันตสีโลเถร (พระอาจารย์เสาร์) เรียบเรียง โดย คุณวาสนา ไชยเดช
    ผม นายปฐม นิคมานนท์ ขอสารภาพว่าไม่เคยเห็นหนังสือเล่มดังกล่าว จึงขออนุญาตคัดลอกมาเสนอด้วยความง่ายดาย (หรือจะว่ามักง่ายก็ตามใจ) ดังนี้ -
    “เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๙ ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้เดินทางกลับมาบ้านข่าโคม
    ในการเดินทางกลับมาบ้านเกิดในครั้งนั้นได้เกิดแผ่นดินไหวสั่นสะเทือนถึง ๒๐ วินาที สิ่งนั้นแสดงให้เห็นถึงอภินิหารแห่งธรรมของท่าน
    มีผู้ติดตามในการกลับมาของท่านในครั้งนั้น คือเจ้าจอมมารดาทับทิม และข้าหลวงชั้นผู้ใหญ่นับสิบๆ คน
    โดยคณะเจ้าจอมมารดาทับทิมได้เดินทางจากกกรุงเทพฯ พร้อมเครื่องไทยทานมากมายเป็นประวัติการณ์ ซึ่งในสมัยนั้นการเดินทางเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องใช้ช้าง ม้า เป็นพาหนะในการเดินทาง
    ข้าพเจ้า...(ไม่ทราบว่าหมายถึงคุณวาสนา หรือ อ.พิศิษฐ์ เพราะเขียนไว้ในวงเล็บ)...เข้าใจว่าน่าจะเดินทางจากกรุงเทพฯ ถึงอุบลฯ โดยทางรถไฟ เมื่อมาถึงปลายทางที่อำเภอวารินชำราบแล้วจึงได้ใช้เรือกลไฟของ นายวิชิต - คุณนายตุ่น โกศัลวิตร คหบดีชาวเมืองอุบลฯ จากหาดสวนยา ริมฝั่งน้ำมูล บรรทุกผู้คนและสัมภาระต่างๆ เดินทางทวนแม่น้ำมูล ขึ้นไปตามลำน้ำเซบาย มาขึ้นบกที่ท่ากกโดน หรือ โฮงเฮือน (ท่าน้ำนี้ทำเป็นโรงสำหรับเก็บเรือพาย เรือแข่ง)
    ชาวบ้านได้ใช้เกวียนเป็นพาหนะสำหรับขนย้ายสัมภาระต่างๆ เข้ามายังหมู่บ้านข่าโคม อีกทอดหนึ่ง
    ท่านผู้อ่านคงนึกภาพออกว่า กองการบุญของคณะผู้แสวงบุณย์ในยุคนั้นจะทุลักทุเล ไกลาหล และยิ่งใหญ่สักเพียงใดกันนะครับ
    “ต่อมา ท่านเจ้าจอมมารดาทับทิม พระสรราชภักดี คุณนายอั๋น คุณนายชม พร้อมข้าหลวงชั้นผู้ใหญ่ และชาวบ้าน ได้ร่วมกันจัดสร้างกุฏิที่พักสงฆ์ที่ป่าดอนหอธรรม หรือป่าหนองอ้อ ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า วัดป่าหนองอ้อ ให้ไว้เป็นสำนักสงฆ์ฝ่ายธรรมยุต”
    ตอนท้ายของบันทึก มีต่อไปว่า : -
    “ในปี พ ศ. ๒๔๘๐ ท่านได้เริ่มสร้างอุโบสถในน้ำ (สิมน้ำ) ก่อสร้างโดยช่างคนพื้นบ้าน
    ในขณะนั้น วัดป่าหนองอ้อ มีภิกษุสามเณรจำพรรษาอยู่ถึง ๑๕๐ รูป แม่ชีประมาณ ๖๐ ท่าน
    ในครั้งกระโน้น หมู่บ้านข่าโคม มีความสงบสุขและเจริญรุ่งเรืองด้วยร่มเงาของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก เพราะมีทั้งวัดป่าและวัดบ้าน
    บันทึกก็จบลงตรงนี้ ต้องขอขอบคุณทั้งคุณวาสนา และอาจารย์พิศิษฐ์ที่ทำให้พวกเราได้มีเรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่ให้ได้ศึกษากัน
    อ้อ ! ก็ยังจบตอนนี้ไม่ได้ ผมไปเจอข้อมูลใหม่จากหนังสือ “พระปรมาจารย์สายพระกัมมัฏฐาน ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร” มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ดังนี้. -
    “ณ หนองอ้อแห่งนี้เอง พระอาจารย์บัวพา เล่าให้ฟังว่า วันหนึ่งนั่งเข้ารับใช้ท่านพระอาจารย์เสาร์อยู่ เห็นท่านหัวเราะหึๆ ขึ้นพระอาจารย์บัวพาจึงกราบเรียนถามท่านว่า “ขอโอกาสครูบาจารย์ มีอีหญังนอ ขะน่อย ท่านจึงได้หัวเราะ?”
    ท่านพระอาจารย์เสาร์จึงเล่าให้ฟังว่า “หนองนี้แหละในชีวิตของข้อยเคยทำบาปใหญ่ครั้งหนึ่ง สมัยข้อยเป็นหนุ่ม ฝนตกหนักปลามันขึ้นจากหนองนี้มีแต่ตัวใหญ่ๆ ใครเขาไม่กล้ามาเอา เขากลัวเพราะผีมันดุ ตาปู่มันร้าย ใครมาทำอะไรในเขตของเขาเป็นอันไม่ได้ คนเขาถึงกลัว
    ข้อยกับพ่อเป็นคนไม่กลัว ได้พร้าอีโต้คนละดวง ข้องคนละใบ ฝนตกตอนกลางคืนมา สองคนกับพ่อ ข้อยก็ฟัน พ่อก็ฟัน ฟันเอาฟันเอาจนเต็มข้องไผข้องมัน
    พระอาจารย์บัวพา เลยกราบเรียนท่านว่า “ทอนี่ (เท่านี้) หรือครูบาอาจารย์ บาปใหญ่ที่สุดของชีวิต คนอื่นเขาทำจนนับไม่ถ้วนและไม่รู้ว่าเขาได้ทำบาปอะไรไว้บ้าง แล้วเขาพวกนั้นจะเป็นบาปขนาดไหน !”
    และมีต่อไปอีกว่า : -
    “หลังจากที่ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร มาพักที่บ้านข่าโคมได้ระยะหนึ่งแล้ว ท่านได้เดินทางไปกรุงเทพฯ เพื่อไปเยี่ยมท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม สหธรรมิกกับท่านพระอาจารย์เสาร์ ซึ่งจากกันเป็นเวลาหลายสิบปี หลังจากที่ท่านออกธุดงค์และเผยแพร่ธรรมทั่วภาคอิสานแล้ว
    พร้อมกันนี้ท่านนำสามเณรพุธ ไปฝากเรียนหนังสือกับท่านเจ้าคุณฯ ที่วัดปทุมวนารามด้วย ซึ่งขณะนั้นองค์ท่านพระอาจารย์เสาร์ชราภาพมากแล้ว ต้องถือไม้เท้าไปด้วย
    เมื่อท่านพระอาจารย์เสาร์เข้ากรุงเทพฯ เจ้าจอมมารดาทับทิมกำลังไม่สบายอยู่ ได้ให้คนมานิมนต์ท่านเข้าไปในวัง เพื่อเทศน์โปรดเพราะทราบกิตติศัพท์ของท่านพระอาจารย์เสาร์จากสามเณร (บุญ) นาคที่เป็นลูกศิษย์ท่านรูปหนึ่ง ซึ่งเจ้าจอมฯ อุปถัมภ์ในการบวชพระ และเจ้าจอมฯ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคม เรื่อยมา และมีผู้มีศรัทธาติดตามมาด้วย เช่น คุณนายหวัด คุณนายชม คุณนายพริ้ง เป็นต้น
    เมื่อออกพรรษาปีนั้น วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๔๘๐ ได้มีผ้าป่าชาววังจัดมาทอดถวายพระป่าเป็นครั้งแรก มีเจ้าจอมมารดาทับทิม นำคณะมาทอดถวายผ้าป่า ๗๐ กอง มีพระนาค พระมหาสมบูรณ์ร่วมขบวนมาด้วย
    พระคณะศิษย์ของท่านพระอาจารย์เสาร์ที่ได้ติดตามไปเพื่อศึกษาฟังธรรมท่านพระอาจารย์ แยกย้ายกันไปอยู่จำพรรษาในบริเวณใกล้ๆ แถวนั้น เมื่อออกพรรษาแล้ว ต่างองค์ต่างมารวมกันที่วัดหนองอ้อ บ้านข่าโคม อยู่กับท่านพระอาจารย์เสาร์ เพื่อเตรียมตัวรับผ้าป่าทางวัง
    พระเณรปักกลดอยู่ตามร่มไม้ในป่าหนองปู่ตาหนองอ้อเต็มไปหมด ดูแล้วเป็นบรรยากาศที่หาดูได้ยากจริงๆ คณะเจ้าจอมมารดาทับทิม ได้มาเห็นบรรยากาศที่พระเณรปักกลดพักอยู่ริมน้ำ ซึ่งเป็นภาพที่ไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นมาก่อน จนพากันน้ำตาร่วงน้ำตาไหล เพราะบรรยากาศที่เห็นนั้นเป็นภาพที่ประทับใจของคนชาวกรุงมากทีเดียว
    ญาติโยมชาววังจึงขอนิมนต์ให้ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์แสดงธรรมให้ฟัง เมื่อท่านขึ้นไปนั่งบนธรรมาสน์ พระภิกษุสามเณรและญาติโยมต่างก็ตั้งอยู่ในความสงบคอยสดับรับฟังธรรม
    ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ เริ่มแสดงธรรม ท่านตั้งนะโม ๓ จบเสร็จแล้วท่านก็ว่า “ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เอวังมีด้วยประการฉะนี้” จบแล้วท่านก็ลงจากธรรมาสน์
    ท่านเป็นผู้มีนิสัยพูดน้อยและเยือกเย็น เจ้าจอมมารดาทับทิมได้อุปถัมภ์ในการอุปสมบทสามเณรเพ็ง คำพิพากในครั้งนั้น และมีศรัทธาสร้างสิมน้ำที่วัดป่าบ้านหนองอ้อ ถวายแด่ท่านพระอาจารย์เสาร์ด้วย
     
  17. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๒๕
    สามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน
    <table id="table12" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    สามเณรบุนนาค เที่ยวกรรมฐาน
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    โดยส่วนตัว ผมรู้สึกตื่นเต้นและยินดียิ่งเมื่ออ่านและเขียนมาถึงตอนนี้ เพราะมีเรื่องเชื่อมโยงระหว่างสามเณรบุญนาค กับหลวงปู่ใหญ่ของเรา
    ท่านผู้อ่านคงจำได้นะครับว่า ในหนังสือที่ระลึก หลวงปู่เพ็ง พุทธธมโม นั้นผมได้เขียนถึง สามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน หรือพระภิกษุบุญนาค โฆโส มาบ้างเล็กน้อย
    ผมตั้งเป้าหมายไว้ในใจว่า จะต้องหาเวลาค้นคว้าเรื่องของพระอาจารย์นาค องค์นี้มาเขียนให้ได้ เพราะท่านเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานองค์แรก และพาหลวงปู่เพ็งออกท่องธุดงค์ครั้งแรก และหลวงปู่เพ็ง ก็ได้รับการถ่ายทอดครั้งบุคลิกและวิชาธรรมมาไม่น้อย
    (หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโม ท่านมาโปรดที่บ้านผมเป็นประจำ ท่านมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ อายุ ๘๘ ปี ขณะนี้พวกเรากำลังสร้างมณฑปพิพิธภัณฑ์ของท่านอยู่ รวมทั้งดำเนินการก่อตั้งวัดที่ท่านเริ่มต้น๒ แห่งให้เสร็จสมบูรณ์ คือ วัดป่าสามัคคีธรรม อ.เมืองร้อยเอ็ด และวัดป่าสิริปุณโณ อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์หลวงปู่บัว สิริปุณฺโณ บิดาของหลวงปู่เพ็ง)
    ต้องกราบขออภัยครับ ที่พาท่านออกนอกเรื่อง
    เรื่องสามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน ในหนังสือของอาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ (อีกแล้ว - และจะมีต่อๆ ไปอีกเยอะ) เขียนไว้ดังนี้ : -
    “ในสมัยก่อนเมื่อ ๓๐-๔๐ ปีที่แล้วนั้นได้มีหนังสือบันทึกเรื่องราวในแวดวงพระกรรมฐาน จากประสบการณ์ในชีวิตจริงของสามเณรองค์หนึ่ง ที่เที่ยวธุดงค์เดี่ยวดั้นด้นไปโดยลำพัง ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ สารพัดอย่างที่น่าทึ่งและน่าสนใจ เป็นวิถีชีวิตจริงด้านหนึ่งของนักปฏิบัติธรรม ที่ต้องแน่วแน่ มีสัจจะ มีความเพียร และความทรหดอดทนต่อสู้กับกิเลสทั้งมวลอย่างน่ายกย่องสรรเสริญยิ่ง ควรที่จะได้ศึกษาไว้เป็นแบบอย่างในทางปฏิบัติสืบไป”
    อ่านข้อความข้างต้นแล้วน่าติดตามเรื่องของสามเณรบุญนาคใช่ไหมครับ ? ในข้อเขียนมีต่อไป ดังนี้ : -
    “สามเณรองค์นั้นมีตัวตนจริงๆ ชื่อ บุญนาค แต่มีน้อยคนที่จะทราบว่าสามเณรบุญนาคนี้ เป็นลูกศิษย์สายพระอาจารย์เสาร์ - หลวงปู่มั่น
    ท่านมีชื่อว่า นาค นามสกุล กองปราบ เกิดที่บ้านด่าน ต.หนองสิม อ.บุ่ง จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบันบ้านด่าน อยู่ในเขต ต สามแยก อ เลิกนกทา จ.ยโสธร)
    บิดาชื่อว่า นายเนตรวงศ์ กองปราบ มารดาชื่อ นางทอง กองปราบ มีพี่น้องรวมกันทั้งหมด ๘ คน เป็นหญิง ๕ คน ชาย ๓ คน ท่านเป็นคนสุดท้อง เกิดเมื่อปีจอ พ.ศ. ๒๔๕๓ พี่ชายถัดจากท่านก็ได้ออกบวชเป็นพระภิกษุเช่นกัน และมีชื่อคล้องจองกันคือ ชื่อว่า ครุฑ
    ท่านมีอุปนิสัยใฝ่ในทางเป็นนักบวชตั้งแต่เยาว์วัย จึงได้ออกบวชตอนอายุได้ ๙ ขวบ
    เมื่ออายุย่างเข้า ๑๕ ปี ท่านได้จากบ้านออกเดินธุดงค์ไปทั่วทั้งสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงโดยลำพังองค์เดียว เป็นผู้เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว ตั้งมั่นอยู่ในธุดงควัตร จนผ่านพ้นภยันตรายนานัปการมาได้ ดังปรากฏรายละเอียดอยู่ในหนังสือ สามเณรบุญนาคเที่ยวกรรมฐาน
    ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น เป็นสามเณรนักเทศน์ฝีปากเอก อยู่จนอายุล่วงเข้า ๒๒ ปี จึงเลยไปกรุงเทพฯ และได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อเดือน ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่วัดบรมนิวาส โดยมี เจ้าจอมมารดาทับทิม ซึ่งพำนักที่วังกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช โยมอุปัฏฐากเป็นเจ้าภาพบวชให้ท่านโดยได้รับฉายาสามว่า โฆโส...
    ผมขอคัดมาให้อ่านเพื่อเรียกน้ำย่อยเพียงแค่นี้ก่อน รออ่านเรื่องสมบูรณ์จากหนังสือของผม (ซึ่งไม่รู้ว่าอีกกี่ปีจะได้ทำ ดูลมหายใจรอไปเรื่อยๆ ครับ)
    <table id="table57" align="right" border="0"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td align="center"> เจ้าจอมมารดาทับทิม
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    พระอาจารย์นาค โฆโส กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดและมากราบหลวงปู่ใหญ่ในปี พ ศ ๒๔๗๙ พร้อมทั้งพาคณะของเจ้าจอมมารดาทับทิมมาทอดผ้าป่า และถวายเครื่องไทยทาน ครั้งยิ่งใหญ่เป็นประวัติการของเมืองอุบลฯ เมื่อครั้งนั้นด้วย
    น่าเสียดายอย่างยิ่ง ท่านพระอาจารย์นาค ท่านมรณภาพเมื่ออายุเพียง ๔๑ ปี เท่านั้นเอง
    อย่าลืมรออ่านหนังสือของผมให้ได้นะครับ !
    ยังจบตอนนี้ไม่ลงครับ
    เหตุที่เจ้าจอมมารดาทับทิมจะมีศรัทธาเลื่อมใสและได้รู้จักกับหลวงปู่ใหญ่ของเรา ก็สืบเนื่องมาจาก...ในเช้าวันหนึ่ง ที่กรุงเทพเมืองสวรรค์ มีสามเณรบุคลิกดีที่เพิ่งเดินทางไปจากอุบลฯ (พูดง่ายๆ ว่าเณรบ้านนอกเข้ากรุง) เดินบิณฑบาตเลยเข้าไปในเขตพระราชฐานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงถูกกักตัวไว้สอบสวนตามธรรมเนียม
    สามเณรองค์นั้นไม่แสดงอาการหวาดกลัวต่อโทษทัณฑ์อันใดนั่งสมาธิรอการสอบสวนด้วยอาการสงบเย็น
    ความทราบถึงเจ้าจอมมารดาทับทิมเจ้าของพระตำหนัก สอบถามได้ความว่า ชื่อ สามเณรบุญนาค เป็นลูกศิษย์ของ ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ พระอาจารย์มหาปิ่นปญฺญาพโล ซึ่งมีพระอาจารย์ใหญ่ชื่อ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อยู่เมืองอุบลฯ สุดชายแดนไกลโน้น ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงได้รับเป็นเจ้าภาพทำพิธีอุปสมบทให้เป็นพระภิกษุต่อไป พร้อมเป็นโยมอุปัฏฐากมาตั้งแต่บัดนั้น
    เจ้าจอมมารดาทับทิม ได้พาคณะมาทอดผ้าป่าถวายไทยทานกับองค์หลวงปู่ใหญ่ ใน พ.ศ. ๒๔๗๙ ดังได้กล่าวแล้ว และในช่วงออกพรรษาก็ยังได้มอบให้บุตรชายนำคณะมาทอดกฐิน พร้อมทั้งกองบวชอีกกองหนึ่ง ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีฉลู ร.ศ. ๑๕๖ วันสุดท้ายของกฐินกาล ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ ศ. ๒๔๘๐
    งานบุญงานกุศลยิ่งใหญ่ขนาดนั้น ไม่ทราบว่าลูกหลานชาวอุบลรุ่นหลังจะทราบเรื่องนี้กันหรือเปล่าหนอ !
    ๑๒๖
    เรื่องเล่าจากหลานของหลวงปู่ใหญ่
    ในคราวที่จัดทอดกฐินที่วัดป่าหนองอ้อในปี พ ศ ๔๔๘๐ ดังเสนอในตอนที่ผ่านมานั้นได้จัดพิธีบวชพระด้วย ผู้ที่บวชคือ สามเณรบุญเพ็ง คำพิพาก หลานของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล
    พิธีอุปสมบทจัดขึ้น ณ สีมาน้ำ (โบสถ์กลางน้ำ) วัดป่าหนองอ้อ มีท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) วัดศรีทอง เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านเจ้าคุณพระศรีธรรมวงศาจารย์ วัดสุปัฏนาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระที่บวชได้รับสมณฉายาว่า นารโท ก็คือ พระภิกษุบุญเพ็ง นารโท ได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่ใหญ่หลายปี
    เมื่ออาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ กำลังเสาะหาข้อมูลเพื่อเขียนประวัติหลวงปู่ใหญ่ได้รับความเมตตาชี้แนะจากหลวงพ่อพุธ ฐานิโยให้ไปสอบถามที่หลานของหลวงปู่ใหญ่ท่านนี้ เพราะรู้เรื่องราวของหลวงปู่ใหญ่ในช่วง ๕ พรรษาสุดท้ายดี
    อาจารย์พิศิษฐ์ไปเสาะหาข้อมูลที่บ้านข่าโคม เมื่อปี พ ศ ๒๕๔๐ พบว่าหลานของหลวงปู่ใหญ่ ได้สึกออกมาครองเพศฆราวาสแล้ว ชื่อ คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก อายุ ๘๑ ปี (เกิด พ.ศ. ๒๔๖๐) ยังมีสุขภาพดี สายตาดี ความทรงจำแม่นยำ มีชีวิตอยู่อย่างสงบสุข เรียบง่าย สมถะรักษาศีล ทำนุบำรุงวัดวาศาสนา เป็นร่มโพธิ์ชัยของภรรยาและลูกหลาน
    ผมก็ขอหยิบยกข้อมูลจากปากคำของ คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก ที่นำเสนอในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ดังต่อไปนี้. -
    เกี่ยวกับปฏิปทาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ คุณตาเล่าว่า
    “องค์ท่านมีน้ำใจดั่งมหานที แผ่บารมีกว้างไพศาล พระเณรอีกทั้งพ่อขาว แม่ขาว ต่างหลั่งไหลไปรวมกันปฏิบัติธรรมกับท่านเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า ๒๐๐ รูป จนบางครั้งก็เกินกำลังที่ชาวบ้านข่าโคมจะรับไหวในเรื่องภัตตาหาร ทำให้ขาดแคลนไปบ้าง
    บางวันองค์ท่านได้ขอบิณฑบาตภัตตาหารคำสุดท้ายของพระแต่ละรูปไปแบ่งปันให้แม่ชีและศิษย์วัด
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เคยเป็นเณรอุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่ เคยกล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า “ตอนนั้นยังเป็นเณรอยู่ เห็นพระเณรมากมายมีเป็นร้อย เวลาไปบิณฑบาตอยู่แถวหลังได้ข้าวก้อนเท่ากำปั้นเท่านั้น”
    <table id="table13" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    พระอาจารย์นาค โฆโส
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    ไหนๆ ก็ยกเรื่องหลวงพ่อพุธขึ้นมาแล้ว ผมก็ขอยกคำบอกเล่าของหลวงพ่อเรื่องหนึ่ง มาเป็นอุทาหรณ์ในตอนนี้เสียเลย หลวงพ่อเล่าว่า -
    “สมัยที่หลวงพ่อเป็นเณรน้อยอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี วันหนึ่งเพิ่งฉันอาหารเสร็จกำลังจะไปล้างบาตร เหลือบไปเห็นหมาขี้เรื้อนหิวโซเดินโซซัดโซเซใกล้จะหมดแรงเต็มที เกิดความสงสารจับใจ มองดูข้างในก้นบาตรก็ฉันเกลี้ยง เพราะครูบาอาจารย์สอนไว้ว่าเป็นธรรมเนียมพระธุดงค์จะฉันให้หมดบาตรเสมอ ไม่ให้กินทิ้งกินขว้าง
    มองหาอาหารรอบทิศก็ไม่มีอะไรพอประทังความหิวของหมาน้อยได้ เจ้าหมาที่น่าสงสารก็ใกล้จะหมดแรง
    เมื่อหมดหนทางก็นึกได้ อาหารเพิ่งฉันใหม่ๆ พอจะเรียกคืนมาให้เจ้าหมาน้อยได้ จึงเอามือล้วงคอให้อาเจียนออกมา
    หมาตัวนั้นคลานมาฟุบตรงเศษอาหารจากลำคอของเราพอดี มันได้กินอาหารนั้นจนมีกำลังขึ้น เราก็เรียกอาหารใหม่ออกมาจนหมดท้อง จนอาหารเก่าเริ่มระบายออกมาด้วย พอเห็นสุนัขมีแรงก็หยุด
    เจ้าหมาตัวนั้นได้แรงขนาดวิ่งเหยาะๆ ตามเราได้
    นี่เป็นเหตุการณ์สมัยที่หลวงพ่อพุธเป็นเณรของหลวงปู่ใหญ่ สมัยที่อดอยาก แล้วหลวงพ่อ ได้เล่าต่อไปว่า : -
    “จากนั้นมา ลาภสักการะในเรื่องอาหารการกินที่มีมากเสียจนเขาบังคับให้กิน บางรายทำอาหารประณีตมาถวาย เห็นเราไม่แตะต้องเลยก็กลับไปนอนร้องไห้ เขามาเล่าให้หลวงพ่อฟังเอง หลวงพ่อจึงต้องพยายามฉันให้เขาทุกครั้ง เพื่อรักษาน้ำใจ”
    ๑๒๗
    วิธีเรียกฝนของหลวงปู่ใหญ่
    จากคำบอกเล่าของ คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก หลานชายของหลวงปู่ใหญ่ ได้เล่าถึงความอัศจรรย์ในองค์หลวงปู่ใหญ่ในการเรียกฝนเพื่อบำบัดความแห้งแล้งช่วยชาวบ้าน ว่า
    ในปีนั้น ที่บ้านข่าโคมเกิดฝนแล้ง พื้นดินท้องนาแห้งผาก ชาวบ้านพากันมากราบเรียนเพื่อขอฝนกับองค์หลวงปู่ใหญ่
    ด้วยความเมตตาที่ท่านมีต่อชาวบ้าน เพราะเป็นญาติพี่น้องลูกหลานของท่านทั้งนั้น ท่านรับฟังคำขอจากชาวบ้านด้วยความสงบเย็นเป็นปกติ แล้วบอกให้นัดชาวบ้านมาทำพิธีรวมกันที่วัดป่าหนองอ้อในบ่ายวันเดียวกันนั้น
    ทางวัดไม่ได้มีการตระเตรียมพิธีกรรมอันใดให้ยุ่งยากเลย ทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ พอชาวบ้านมาพร้อมกันในตอนบ่ายตามที่นัดไว้ หลวงปู่ใหญ่ก็เป็นองค์ประธาน ให้ชาวบ้านกราบพระ รับศีล แล้วพระสงฆ์ก็เจริญพระพุทธมนต์ เหมือนในงานมงคลทั่วไป
    เหตุอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น กล่าวคือ ใช้เวลาไม่นานนักฝนได้เทลงมาห่าใหญ่ในท่ามกลางพิธีนั้น จนทุกคนเปียกชุ่มโชก ทั้งๆ ที่ก่อนเริ่มพิธีมีแต่แสงแดดแผดจ้า บนท้องฟ้าไม่แสดงเค้าว่าจะมีฝนตกเลย
    อาจารย์พิศิษฐ์ สรุปว่า นั่นแหละคือบุญญาภินิหารของพระบูรพาจารย์เจ้า
    หมายเหตุ เรื่องขอฝนนี้ ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรง อยากขอนำมาเล่าแทรก ๒ ครั้ง (หากไม่สมควรต้องขออภัยด้วย)
    ครั้งแรก ผู้เขียนติดตาม หลวงปู่เพ็ง พุทฺธธมฺโมไปพักที่ฟาร์มแห่งหนึ่งในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ราว พ ศ ๒๕๓๓ ช่วงนั้นแล้งจัด เจ้าของฟาร์มบ่นเรื่องฝนไม่ตกให้หลวงปู่ฟัง ท่านพูดว่า “เดี๋ยวตก บ่นานดอก”
    เช้ามืด หลวงปู่พาพวกเราสวดมนต์ทำวัตรเช้า พอถึงบทสุดท้าย ปัตติทานคาถา เป็นบทแผ่เมตตา หลวงปู่พูดว่า “บทนี้ให้ตั้งใจสวด ฝนมันจึงสิตก”
    แล้วท่านก็นำแผ่เมตตาไปว่า “ยา เทวะตา สันติ วิหาระวาสินี, ถูเป ฆะเร โพธิฆะเร ตะหิง ตะหิง... ฯลฯ” สวดไปจนจบแล้วนั่งสมาธิ
    หลังหลวงปู่ฉันเสร็จ พวกเราเตรียมตัวกลับ พอรถพร้อมจะออก ฝนตกลงมาอย่างหนัก ต้องขับรถฝ่าสายฝนกลับออกมา เพื่อเดินทางต่อไปเชียงใหม่
    หลวงปู่บอกว่า ตอนท่านไปอยู่ที่วัดเทิงเสาหิน อ เทิง จ เชียงราย ใหม่ๆ ก็เกิดภาวะฝนแล้งท่านก็สวดมนต์แผ่เมตตาบทนี้แหละ คราวนั้นตก ๓ วัน ๓ คืน
    ผมนำบท ปัตติทานะคาถา มาพิจารณา ค้นดูคำแปล พบประโยคท้ายๆ ๓ ประโยคว่าดังนี้
    สัมมา ธารัง ปะเวจฉันโต, กาเล เทโว ปะวัสสะตุ ขอฝนทั้งหลายจงหลั่งลงตกต้องตามฤดูกาล
    วุฒฑิง ภาวายะ สัตตานัง ขอฝนจงนำความสำเร็จมาสู่พื้นปฐพี
    สะมิทธัง เนตุ เมทะนิง เพื่อความเจริญแก่สัตว์ทั้งหลาย
    ครั้งที่สอง คณะพวกเราจากสำนักพุทธธรรมปฏิบัติ นำโดย อาจารย์เบญจางค์ โกศิน ได้อาราธนานิมนต์ หลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก วัดทุ่งสามัคคีธรรม อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี ไปพักผ่อนสุขภาพที่ วังแก้ว เป็นรีสอร์ทริมทะเล อยู่ที่จังหวัดระยอง
    ช่วงนั้นฝนแล้งจัด ต้นไม้เที่ยวเฉา ทราบว่าเจ้าของสถานที่เขารักและห่วงต้นไม้มาก ดูเขากังวลใจกลัวต้นไม่ตาย
    ตอนบ่ายหลัง ๔ โมงเย็น พวกเราประคองหลวงพ่อไปเดินที่ชายหาด ให้ท่านเหยียบสัมผัสน้ำทะเล ได้เวลาพอสมควร ก่อนกลับ หลวงพ่อยืนนิ่งสักอึดใจหนึ่ง แล้วพูดยิ้ม ๆ พอได้ยินว่า อาโปกสิณัง, อาโป กสิณัง แล้วท่านให้พากลับที่พัก พอหลวงพ่อลงนั่งเรียบร้อย ฝนตกลงมาอย่างหนักร่วมชั่วโมงจึงหยุด !
     
  18. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๒๘
    การสอนศิษย์ที่สติไม่สมประกอบ
    เรื่องนี้ก็เล่าโดย คุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก เช่นเดียวกัน เรื่องมีอยู่ว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่คนหนึ่งอยู่ที่วัดป่าหนองอ้อ แกชื่อ เถนดี เพราะเคยบวชพระมาก่อน แต่เป็นคนสติไม่สมประกอบ
    ในตอนสายวันหนึ่ง เถนดี แกไปได้กบมาจากไหนก็ไม่ทราบ แกเอาไปต้มเตรียมทำอาหารถวายพระ ก็คงเป็นเจตนาดีของแกที่ต้องการอุปัฏฐากเลี้ยงดูพระ บังเอิญ หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส พระอุปัฏฐากของหลวงปู่ใหญ่ เดินมาเห็น ได้สอบถาม แต่เถนดีไม่ตอบ กลับหลีกหนีเดินขึ้นกุฏิไปอย่างมีพิรุธ
    หลวงปู่ใหญ่ทราบเรื่องนี้ท่านก็ไม่ได้ว่าอะไร พอถึงตอนเย็นท่านก็เรียกเถนดีมาหา ท่านอบรมไม่ให้ทำปาณาติบาต อย่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แม้จะเป็นสัตว์เล็กสัตว์น้อยเพียงไรก็ตาม เขาก็มีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตเขาก็มีความรู้สึกเจ็บปวดทรมานเหมือนกัน
    สอนแล้ว ท่านก็ใช้ให้เถนดีไปหยิบไม้ค้อนสำหรับตีระฆังที่อยู่ใกล้ๆ มา แล้วบอกว่า : -
    “ลองเคาะหัวตัวเองดูซิ เจ็บไหม?..เจ็บหรือ... เออ ! นี่แหละอย่าทำต่อไปอีกนะ”
    หลวงปู่ใหญ่ สอนเถนดีเพียงเท่านั้น แล้วท่านไม่ได้พูดถึงอีกเลย
    ๑๒๙
    จำพรรษาที่วัดบูรพาราม
    ในบันทึกของ หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เขียนไว้ดังนี้. -
    “ท่านพระอาจารย์เสาร์ ได้มาพำนักที่บ้านข่าโคม ที่ข้างหนองอ้อ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน มีญาติโยมทำที่พักอาศัยจำพรรษา เป็นวัดภายหลัง
    ชาววังหลวงได้จัดกฐินมาทอดถวาย ให้ทุนสร้างสิมน้ำขึ้นที่หนองอ้อ และทอดผ้าป่าเป็นประจำ
    ท่านให้ พระอาจารย์บุญมี สูงเนิน จำพรรษาอยู่ด้วย ให้พระอาจารย์ทองรัตน์ไปจำพรรษาที่บ้านชีทวน เพื่อปราบพวกมิจฉาทิฏฐิ
    ท่านพระอาจารย์เสาร์ จำพรรษาที่บ้านข่าโคม เป็นเวลา ๓ ปีแล้วมาจำพรรษาที่วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ
    เมื่อหลวงปู่ใหญ่ เข้ามาพำนักในตัวเมืองอุบลฯ แล้วได้ “ตั้งศูนย์กรรมฐาน” ขึ้นที่วัดบูรพาราม ถึงวันเพ็ญเดือน ๓ พระสงฆ์สามเณรลูกศิษย์ลูกหาทุกหนทุกแห่ง พร้อมทั้งพระอาจารย์มั่น มารวมกันที่วัดบูรพาราม เป็นประจำมิได้ขาด เพื่อรับฟังโอวาทข้อปฏิบัติปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง ให้การปฏิบัติเป็นแนวเดียวกัน เป็นกองทัพธรรมที่สมบูรณ์ นำสัจจธรรมของพระพุทธศาสนาออกเผยแผ่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
    (การประชุมทุกวันเพ็ญเดือน ๓) ถือเป็นกา๗ระชุมสันนิบาตของคณะกรรมการก็ว่าได้ เป็นการแสดงความเคารพนับถือ กตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณอีกทางหนึ่งด้วย”
    แล้วหลวงพ่อโชติ ลงท้ายการบันทึกในตอนนี้ว่า “วัดคณะธรรมยุตได้เกิดขึ้นอีกมากมาย”
    <table id="table56" border="0" width="458"> <tbody><tr> <td width="226">
    [​IMG]
    </td> <td width="222">
    คุณธิดาวรรณ คุณพิศิษฐ์ ไสยสมบัติ
    (คนที่ผมลอกหนังสือเขามานี้แหละ)
    ตาม...หลานพระอาจารย์เสาร์
    ที่บ้านคุ้มวัดแสงเกษม
    อ เดชุอดม จ อุบลราชธานี
    พบคุณยายสีฟอง คำพิพาก
    </td> </tr> <tr> <td width="226">
    [​IMG]
    </td> <td width="222">
    ต้องตามไปที่นา ออกจากเมืองเดช ไปทางน้ำยืนราว ๑๐ กม. ห่างไกลผู้คน
    </td> </tr> <tr> <td width="226">
    [​IMG]
    </td> <td width="222">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td colspan="2">
    พบแล้วคุณตาบุญเพ็ง คำพิพาก หลานชายแท้ๆ ของพระอาจารย์เสาร์ ผู้อยู่ในเหตุการณ์จนวินาทีสุดท้าย ที่พระอาจารย์เสาร์ละสังขาร
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๓๐
    สามเณรพุธ วัดบูรพาราม
    <table id="table54" align="left" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    พระราชสังวรญาณ
    (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
    </td> </tr> </tbody></table>​
    วัดบูรพาราม สมัยที่หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และศิษย์มาพำนักอยู่นั้น มีสภาพเป็นวัดที่เงียบสงัดอยู่ท้ายเมืองอุบล
    สามเณรพุธ อินทหา ได้พำนักอยู่ที่วัดบูรพาราม มาก่อนแล้วเมื่อหลวงปู่ใหญ่ เข้ามาพำนักประจำ สามเณรจึงมีโอกาสอุปัฏฐากรับใช้ใกล้ชิด และรับฟังธรรมโอวาทเป็นประจำ รวมทั้งเคยติดตามท่านไปอยู่ที่บ้านข่าโคมด้วย
    สามเณรน้อยในครั้งนั้นก็คือ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หรือ พระราชสังวรญาณ วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา มรณภาพเมื่อ ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒
    หลวงพ่อพุธ เคยเล่าถึง หลวงปู่ใหญ่ ว่า
    ก็ได้พบท่านเวลาท่านมาพักวัดบูรพาฯ ก็ได้ปรนนิบัติท่าน ไม่ได้ติดสอยห้อยตาม
    ผู้ติดสอยห้อยตามที่ยังมีชีวิตอยู่จนกระทั่งพระอาจารย์ท่านสิ้นนี่ยังเหลืออยู่หลวงปู่บัวพา (หลวงปู่บัวพา ปญฺญาภาโส มรณภาพเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕) องค์เดียว จากกันไป ๓๐ ปี พอพบท่านก็วิ่งมากอดท่านว่า โอ้ย! บักห่า ! กูนึกว่ามึงตายไปแล้ว ที่อยู่ใกล้ชิดครูบาอาจารย์เสาร์นี่ มีแต่เฮาสองคนเด๊เหลืออยู่ !
    หลวงพ่อเล่าต่อไปว่า “งานที่ทำถวายท่านก็อุปัฏฐาก นวดเฟ้น ซักสบง จีวร แล้วก็ปัดกวาดที่นอน เทกระโถน อะไรทำนองนี้
    เวลาแขกมาหาท่าน ก็คอยดูแลรับแขก
    พระอาจารย์เสาร์นี่ เพียงแต่เวลาท่านไปมาพักนี่ เราก็ได้อุปัฎฐากท่านเท่านั้นเอง แต่ก็ครูบาอาจารย์ในสายนี้เขาถือว่า ใครที่เป็นหัวหน้าใหญ่ เขาถือว่าเป็นลูกศิษย์องค์นั้นแหละ รองๆ ลงมาอาจารย์เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ใหญ่ เราก็มาเป็นลูกศิษย์ของอาจารย์รองลงมา แต่ศูนย์รวมจิตใจมันอยู่ที่อาจารย์ใหญ่
    หลวงพ่อพุธ เล่าว่าสมัยนั้นเขาดูถูกพระป่ามาก ท่านเล่าดังนี้ : -
    “หลวงพ่ออดที่จะนึกถึงสมัยที่เป็นสามเณรเดินตามหลังครูบาอาจารย์ไม่ได้ ใส่ผ้าจีวรสีดำๆ เดินผ่านหน้าชาวบ้าน หรือพระสงฆ์ทั่วๆ ไปนี้ เขาจะถุยน้ำลายขากใส่
    บางทีถ้ามีแม่ชีเดินตามหลังไปด้วย เราจะได้ยินเสียงตะโกนมาเข้าหู “ญาคู เอ้ย! พาลูกพาเมียไปสร้างบ้านสร้างเมืองที่ไหนหนอ” เขาว่าอย่างนี้
    มาบัดนี้ สิ่งที่เขาเกลียดมากที่สุดถึงกับถุยน้ำลาย เขามาแย่งเอาของเราไปห่มหมด ทำไม เพราะว่าสีผ้าชนิดนี้ลูกศิษย์สายอาจารย์เสาร์อาจารย์มั่น เคยนุ่งห่มมาแล้ว
    พอลูกศิษย์สายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น มีชื่อเสียงโด่งดังมีคนนิยมชมชอบ ผ้าจีวรสีดำก็เลยเป็นสินค้าที่สนใจของคนทั่วๆ ไป
    บางทีพอมีใครถามเป็นลูกศิษย์สายไหน?... สายพระอาจารย์มั่น...เดี๋ยวนี้มีแต่ลูกศิษย์อาจารย์มั่นเต็มบ้านเต็มเมือง
    เมื่อลองมาพิจารณากันดูแล้ว ขอพูดสรุปๆ ลงไปสั้นๆ ว่า ถ้าใครตั้งใจปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์จริงๆ อย่าไปสนใจกับใครทั้งนั้น หลักฐานและเหตุผลต่างๆ เราได้ข้อมูลมาจากครูบาอาจารย์ของเราแล้ว
    เมื่อก่อนนี้ครูบาอาจารย์ของเรานี้ ไปที่ไหนๆ มีแต่เขาว่า พวกนี้นะใจแคบเห็นแก่ตัว ตัดช่องน้อยเอาแต่ตัวรอดคนเดียว
    เอ้า ! ในขณะที่ใครยังมองไม่เห็นคุณค่า ท่านก็ต้องเก็บสมบัติท่านเอาไว้ ทีนี้พอเกิดมีคนสนใจ ท่านก็เอาออกมาจ่าย พอจ่ายออกมาแล้วมันก็ได้ผล ทำให้มีคนปฏิบัติธรรมกว้างขวางออกไป
    ๑๓๑
    สอนทำอะไรให้เป็นเวลา
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พูดถึงการสอนธรรมของหลวงปู่ใหญ่เริ่มจากการทำอะไรให้เป็นเวลาเสียก่อน ดังนี้ -
    ท่านอาจารย์หลวงปู่เสาร์ นี้ ท่านเป็นสาวกแบบชนิดที่ว่าเป็นพระประเสริฐ ท่านสอนธรรมะนี้ท่านไม่พูดมาก ท่านชี้บอกว่าให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ แต่การปฏิบัติของท่านนี้ท่านเอาการปฏิบัติแทนการสอนด้วยปาก
    ผู้ที่ไปอยู่ในสำนักท่าน ก่อนอื่นท่านจะสอนให้ทำวัตรนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ นี้ข้อแรกต้องทำให้ได้ก่อน
    บางทีก็ลองเรียนถามท่าน หลวงปู่ทำไมสอนอย่างนี้? การนอนเป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ฉันเป็นเวลา อาบน้ำเข้าห้องน้ำเป็นเวลา มันเป็นอุบายสร้างพลังจิต แล้วทำให้เรามีความจริงใจ
    ทีนี้นักปฏิบัติทั้งหลายไม่ได้ทำอย่างนี้ แม้แต่นักสะกดจิตเขาก็ยังยึดหลักอันนี้
    มันมีอยู่คำหนึ่งที่หลวงพ่อไม่เคยลืม หลักปฏิบัติที่เวลาไปปฏิบัติท่าน ท่านจะพูดขึ้นมาลอยๆ ว่า “เวลานี้จิตข้าไม่สงบ มันมีแต่ความคิด”
    ก็ถามว่า “จิตมันฟุ้งซ่านหรือไง อาจารย์?”
    “ถ้าให้มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า”
    กว่าจะเข้าใจความหมายของท่านก็ใช้เวลาหลายปี ท่านหมายความว่า เวลาปฏิบัติ ถ้าจิตมันหยุดนิ่งก็ปล่อยให้มันหยุดนิ่งไปอย่าไปรบกวนมันถ้าเวลามันจะคิดก็ให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้งเป็นตัวตี
    เป็นไงครับ งงไหมครับ !
    ๑๓๒
    พุทโธแปลว่าจังได๋
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย กล่าวถึงการสอนของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ต่อไปดังนี้ -สมัยที่หลวงพ่อเป็นเณรอยู่ใกล้ๆ ท่าน ถ้าวันไหนเราคิดว่าจะเดินจงกรมแข่งกับท่านอาจารย์ใหญ่ วันนั้นท่านจะเดินจงกรมไม่หยุด จนกว่าเราหยุดนั่นแหละท่านจึงจะหยุด ท่านจะไม่ยอมให้เราชนะท่าน เวลาท่านสอน สอนสมาธิ ถ้ามีใครถามว่า
    “อยากปฏิบัติสมาธิเร็ว จังได๋ญาท่าน?”
    พุทโธ ซิ”
    “ภาวนา พุทโธ แล้วมันจะได้อีหญังขึ้นมา?”
    “อย่าถาม”
    พุทโธ แปลว่า จังได๋?”
    “ถามไปหาสิแตกอีหญัง ยั้งว่าให้ภาวนา พุทโธ ข้าเจ้าให้พูดแค่นี่” แล้วก็ไม่มีคำอธิบาย
    ถ้าหากว่าใครเชื่อตามคำแนะนำของท่าน ไปตั้งใจภาวนา พุทโธ จริงๆ ไม่เฉพาะแต่เวลาเราจะมานั่งอย่างเดียว ยืน เดิน นั่ง นอนรับประทาน ดื่ม ทำ ใจนึก พุทโธ ไว้ให้ตลอดเวลา ไม่ต้องเลือกเวลาว่าเวลานี้เราจะภาวนา พุทโธ เวลานี้เราจะไม่ภาวนา พุทโธ ท่านสอนให้ภาวนาทุกลมหายใจ
    มีคนถามว่า “ภาวนาในห้องน้ำได้ไหม บาปไหม?
    บางคนก็จะไปข้องใจว่า ภาวนา พุทโธ ในห้องน้ำห้องส้วมมันจะไม่บาปหรือ?
    ไม่บาป ธรรมะเป็นอกาลิโก ไม่เลือกกาลเลือกเวลา พระองค์สอนไว้แล้ว ถ้ายิ่งเข้าในห้องน้ำห้องส้วมนะ ยิ่งภาวนาดี เพราะมันมีสิ่งประกอบ สิ่งที่จะทำให้เรามองเห็นสิ่งปฏิกูล น่าเกลียด โสโครก มันก็แสดงออกมาให้เราเห็น แล้วเราภาวนา พุทโธ พุทโธ แปลว่า รู้ รู้ในสิ่งที่เราทำอะไรอยู่ในขณะนั้นถ้าหากว่าท่านผู้ใดเชื่อในคำแนะนำของหลวงปู่ท่าน ไปภาวนาพุทโธอย่างเอาจริงเอาจัง ส่วนใหญ่จะไม่เกิน ๗ วัน บางคนเพียงครั้งเดียวจิตสงบ สว่าง รู้ ตื่น เบิกบานขึ้นมา
    ทีนี้เมื่อภาวนาจิตเป็นสมาธิ เวลามาถามท่าน ภาวนาพุทโธแล้วจิตของฉันนี่ตอนแรกๆ มันมีอาการเคลิ้มเหมือนกับจะง่วงนอน ทีนี้มันสะลึมสะลือ เหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น พอเผลอๆ จิตมันวูบลงไปสว่างตูมขึ้นมาเหมือนกับมันมองเห็นทั่วหมดในห้อง จนตกใจว่าแสงอะไรมันมาสว่างไสว
    พอตกใจแล้วสมาธิถอน ลืมตาแล้วความมืดมันก็มาแทนที่ อันนี้เป็นจุดสำคัญ คือถ้าจิตของเราได้สัมผัสกับสิ่งแปลกใหม่ มันจะเกิดความตื่นตกใจ หรือเกิดเอะใจขึ้นมา แต่ถ้าหากว่าเราไม่เกิดการตื่นใจหรือเกิดตกใจ เกิดเอะใจ จิตของเราสามารถมีสติประคับประคองรู้อยู่โดยธรรมชาติ จิตมันก็สงบนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน มีปีติมีความสุข
     
  19. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๓๓
    แนะการภาวนาและนิมิต
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พูดถึงการสอน การชี้แนะของ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ในเรื่องของการทำสมาธิภาวนา และเรื่องนิมิต ดังนี้ : -
    “เมื่อหลวงพ่อไปเล่าเรื่องภาวนาให้ท่านฟัง ถ้าสิ่งใดที่มันถูกต้องท่านบอกว่า เร่งเข้าๆ ๆ แล้วจะไม่อธิบาย
    แต่ถ้าหากมันไม่ถูกต้อง เช่น อย่างใครทำสมาธิภาวนาแล้ว มันคล้ายๆ กับว่า พอจิตสว่างรู้เห็นนิมิตขึ้นมาแล้ว ก็น้อมเอานิมิตเข้ามา พอนิมิตเข้ามาถึงตัวถึงใจแล้ว มันรู้สึกว่าอึดอัดใจเหมือนหัวใจถูกบีบ แล้วสมาธิที่สว่างก็มืดไปเลย
    อันนี้ท่านบอกว่า อย่าทำอย่างนั้นมันไม่ถูกต้อง
    หลวงพ่อพุธ ได้อธิบายการภาวนาจากหลวงปู่ใหญ่ ว่า “เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมา ถ้าหากว่าไปเล่าให้อาจารย์องค์ใดฟัง ถ้าท่านแนะนำว่าให้น้อมให้เอานิมิตนั้นเข้ามาหาตัว อันนี้เป็นการสอนผิด
    แต่ถ้าว่าท่านผู้ใดพอบอกไปว่า ภาวนาเห็นนิมิต ท่านแนะนำให้กำหนดรู้จิตเฉยอยู่ คล้ายๆ กับว่าไม่สนใจกับนิมิตนั้น แล้วนิมิตนั้นจะแสดงปฏิกิริยาเปลี่ยนแปลงไปในแง่ต่างๆ
    เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะดี มีสมาธิมั่นคง เราจะอาศัยความเปลี่ยนแปลงของมโนภาพอันเป็นของนิมิตนั้น เป็นเครื่องเตือนใจให้เรารู้ว่าทุกอย่างมันไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา
    นิมิตที่เปลี่ยนแปลงเป็นปฏิภาคนิมิต
    ถ้าหากว่านิมิตที่ปรากฏแล้ว มันหยุดนิ่ง ไม่ไหวติง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ บางทีสมาธิของเรามันแน่วแน่ ความทรงจำมันฝังลึกลงไปในส่วนลึกของจิตไปถึงจิตใต้สำนึก
    เมื่อออกจากที่นั่งสมาธิแล้ว เราไม่ได้นึกถึง เหมือนกับคล้ายๆ มองเห็นนิมิตนั้นอยู่ นึกถึงมันก็เห็น ไม่นึกถึงมันก็เห็น มันติดตาติดใจอยู่อย่างนั้น อันนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต
    ว่ากันง่ายๆ ถ้าจิตของเรามองเพ่งอยู่ที่ภาพนิ่งเป็นอุคคหนิมิต ถ้าจิตเพ่งรู้ความเปลี่ยนแปลงของนิมิตนั้นเป็นปฏิภาคนิมิต
    อุคคหนิมิต เป็นสมาธิขั้นสมถกรรมฐาน แต่ปฏิภาคนิมิตนั้นเป็นสมาธิขั้นวิปัสสนา เพราะจิตกำหนดรู้ความเปลี่ยนแปลง
    อันนี้ถ้าหากใครภาวนาได้นิมิตอย่างนี้ ไปเล่าให้ท่านอาจารย์เสาร์ฟัง ท่านจะบอกว่า เอ้อ! ดีแล้ว เร่งเข้าๆ ๆ
    แต่ถ้าใครไปบอกว่า ในเมื่อเห็นนิมิตแล้ว ผมหรือดิฉันน้อมเข้ามาในจิตในใจ แต่ทำไมเมื่อนิมิตเข้ามาถึงจิตถึงใจแล้ว จิตที่สว่างไสวปลอดโปร่ง รู้ ตื่น เบิกบาน มันมืดมิดลงไป แล้วเหมือนกับหัวใจถูกบีบ หลังจากนั้นจิตของเราไม่เป็นตัวของตัว คล้ายๆ กับว่าอำนาจสิ่งที่เข้ามานั้นมันครอบไปหมด
    ถ้าไปเล่าให้ฟังอย่างนี้ ท่านจะบอกว่าทำอย่างนั้นมันไม่ถูกต้อง เมื่อเห็นนิมิตแล้ว ให้กำหนดรู้เฉยๆ อย่าน้อมเข้ามา ถ้าน้อมเข้ามาแล้ว นิมิตเข้ามาในตัว มันจะกลายเป็นการทรงวิญญาณ
    อันนี้เป็นเคล็ดลับในการปฏิบัติ เพราะฉะนั้น ถ้าผู้ใดมาแนะนำเราว่า ทำสมาธิแล้วให้น้อมจิตไปรับเอาอำนาจเบื้องบน หรือเห็นนิมิตแล้วให้น้อมเข้ามาในตัว อันนี้อย่าไปเอา มันไม่ถูกต้อง
    ในสายหลวงปู่เสาร์นี่ ท่านสอนให้ภาวนาพุทโธ
    <table id="table16" border="0" width="122"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td>
    หลวงตาพระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    แสดงพระธรรมเทศนา
    ในวันเปิดพระเจดีย์หลวงปู่เสาร์ ณ วัดดอนธาตุ
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๓๔
    ทำไมจึงสอนภาวนาพุทโธ
    คำบอกเล่าจาก หลวงพ่อพุธ ฐานิโย มีต่อไปดังนี้ : -
    “หลวงพ่อ ก็เลยเคยแอบถามท่านว่า ทำไมจึงต้องภาวนาพุทโธ?
    ท่านก็อธิบายให้ฟังว่า ที่ให้ภาวนาพุทโธนั้น เพราะ พุทโธ เป็นกิริยาของใจ
    ถ้าเราเขียนเป็นตัวหนังสือเราจะเขียน พ พาน สระ อุ ท-ทหารสะกด สระ โอ ตัว ธ-ธง อันนี้เป็นเพียงแต่คำพูด เป็นชื่อของคุณธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตภาวนา พุทโธ แล้ว มันสงบวูบลงไป นิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน พอหลังจากนั้น คำว่าพุทโธมันก็หายไป
    แล้วทำไมมันจึงหายไป เพราะจิตมันถึงพุทโธแล้ว จิตกลายเป็นจิตพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะเกิดขึ้นในจิตของท่านผู้ภาวนา
    พอหลังจากนั้นจิตของเราจะหยุดนึกคำว่าพุทโธ แล้วก็ไปนิ่งรู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว กายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ ยังแถมมีปีติ มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก อันนี้มันเป็นพุทธะ พุทโธ โดยธรรมชาติเกิดขึ้นที่จิตแล้ว
    พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิต มันใกล้กับความจริง
    แล้วทำไมเราจึงมาพร่ำบ่น พุทโธๆ ๆ ในขณะที่จิตเราไม่เป็นเช่นนั้น ?
    ที่เราต้องมาบ่นว่า พุทโธ นั้นก็เพราะว่า เราต้องการจะพบพุทโธ ในขณะที่พุทโธยังไม่เกิดขึ้นกับจิตนี้ เราก็ต้องท่อง พุทโธๆ ๆ ๆ เหมือนกับว่าเราต้องการจะพบเพื่อนคนใดคนหนึ่ง เมื่อเรามองไม่เห็นเขา หรือเขายังไม่มาหาเรา เราก็เรียกชื่อเขา ทีนี้ในเมื่อเขามาพบเราแล้ว เราได้พูดจาสนทนากันแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องไปเรียกชื่อเขาอีก ถ้าขืนเรียกซ้ำๆ เขาจะหาว่าเราร่ำไร ประเดี๋ยวเขาด่าเอา
    ทีนี้ในทำนองเดียวกัน ในเมื่อเรียก พุทโธๆ ๆ เข้ามาในจิตของเรา เมื่อจิตของเราได้เกิดเป็นพุทโธเอง คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาก จิตของเราก็หยุดเรียกเอง
    ทีนี้พอเรามีความรู้สึกอันหนึ่งแทรกขึ้นมา เอ้า ! ควรจะนึกพุทโธอีก พอเรานึกขึ้นมาอย่างนี้ สมาธิของเราจะถอนทันที แล้วกิริยาที่จิตมันรู้ ตื่น เบิกบาน จะหายไป เพราะสมาธิถอน
    ทีนี้ตามแนวทางของครูบาอาจารย์ที่ท่านแนะนำพร่ำสอน ท่านจึงให้คำแนะนำว่า เมื่อเราภาวนาพุทโธไป จิตสงบวูบลงนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านก็ให้ประคองจิตให้อยู่ในสภาพปกติอย่างนั้น
    ถ้าเราสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป จิตของเราจะค่อยสงบ ละเอียดๆ ๆ ลงไป ในช่วงเหตุการณ์ต่างๆ มันจะเกิดขึ้น ถ้าจิตส่งกระแสออกนอก เกิดมโนภาพ ถ้าวิ่งเข้ามาข้างในจะเห็นอวัยวะภายในร่างกายทั่วหมด ตับ ไต ไส้ พุง เห็นหมด
    แล้วมักจะรู้สึกว่ากายของเรานี่เหมือนกับแก้วโปร่ง ดวงจิตที่สงบ สว่างเหมือนกับดวงไฟที่เราจุดไว้ในครอบแก้ว สามารถเปล่งรัศมีออกมารอบๆ จนกว่าจิตจะสงบละเอียดลงไป จนกระทั่งว่ากายหายไป แล้วจึงจะเหลือแต่จิตสว่างไสวอยู่ดวงเดียว ร่างกายตัวตนหายหมด
    ถ้าหากจิตดวงนี้มีสมรรถภาพดีพอ จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรได้ จิตจะย้อนกายลงมาเบื้องล่าง เห็นร่างกายตัวเองนอนตายเหยียดยาวอยู่ขึ้นอืดเน่าเปื่อยผุพัง สลายตัวไป..
    ๑๓๕
    หลักปฏิบัติที่ครูอาจารย์พาดำเนิน
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโยพูดถึงหลักปฏิบัติที่ครูอาจารย์สายกรรมฐานพาดำเนินสืบต่อกันมา ดังนี้
    “พระบูรพาจารย์ของเรา เราถือว่าพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล เป็นพระอาจารย์องค์แรก และเป็นผู้นำหมู่คณะลูกศิษย์ลูกหาออกเดินธุดงคกรรมฐาน ชอบพักพิงอยู่ตามป่าตามที่วิเวก อาศัยอยู่ตามถ้ำบ้างตามโคนไม้บ้าง
    และท่านอาจารย์มั่น ก็เป็นอีกท่านหนึ่งซึ่งเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์เสาร์
    หลวงพ่อสิงห์ ขนฺตยาคโม ก็เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์และท่านอาจารย์มั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระอาจารสิงห์ เปรียบเสมือนหนึ่งว่าเป็นเสนาธิการใหญ่ของกองทัพธรรม ได้นำหมู่คณะออกเดินธุดงค์ไปตามราวป่าตามเขา อยู่อัพโภกาส อยู่ตามโคนต้นไม้ อาศัยตามถ้ำพักพิงอาศัยอยู่ในราวป่าห่างจากหมู่บ้านประมาณ ๕๐๐ เมตร
    การธุดงค์ของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ จะไม่นิยมที่จะไปปักกลดอยู่ตามละแวกบ้าน ตามสนามหญ้า หรือตามบริเวณโรงเรียน หรือใกล้ๆ กับถนนหนทางในที่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมชนท่านจะออกแสวงหาวิเวกในราวป่าห่างไกลกันจริงๆ
    บางทีไปอยู่ในป่าเขาที่ไกล ตื่นเช้าเดินจากที่พักลงมาสู่หมู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อบิณฑบาตเสร็จแล้วกลับไปที่พักเป็นเวลา ๑๑.๐๐ น.หรือ ๕ โมงก็มี
    อันนี้ก็คือหลักการปฏิบัติของพระธุดงคกรรมฐานในสายพระอาจารย์มั่น พระอาจารย์เสาร์ ซึ่งบางทีอาจผิดแผกจากพระธุดงค์ในสมัยปัจจุบัน ซึ่งไปปักกลดอยู่ตามสนามหญ้า หรือตามสถานีรถไฟ ตามบริเวณโรงเรียนหรือศาลเจ้าต่างๆ
    พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น พระอาจารย์สิงห์ ไม่นิยมทำเช่นนั้น ไปธุดงค์ก็ต้องไปป่ากันจริงๆ ที่ใดซึ่งมีอันตรายท่านก็ยิ่งไป เพื่อเป็นการทดสอบความสามารถของตัวเอง และเป็นการฝึกฝนลูกศิษย์ลูกหาให้มีความกล้าหาญ เผชิญต่อภัยของชีวิต ตะล่อมจิตให้ยึดมั่นในคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน่วแน่
    เมื่อไปในสถานที่ที่คิดว่ามีอันตราย ไปอยู่ในที่ห่างไกลพี่น้องเพื่อนฝูงสหธรรมิกก็ไปอยู่บริเวณที่ห่างๆ กัน ในเมื่อจิตใจเกิดความหวาดกลัวภัยขึ้นมา จิตใจก็วิ่งเข้าสู่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ยึดเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะอย่างเหนียวแน่น เพราะในขณะนั้นไม่มีใครอีกแล้วที่จะเป็นเพื่อนตาย
    ดังนั้นท่านจึงมีอุบายให้ไปฝึกฝนอบรมตัวเอง ฝึกฝนอบรมบรรดาลูกศิษย์ลูกหา ผู้ติดตาม ในสถานที่วิเวกห่างไกล เต็มไปด้วยภัยอันตราย เพื่อให้ลูกศิษย์ลูกหามีความกล้าหาญชาญชัย ในการที่จะเสียสละเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพื่อบูชาพระรัตน์ตรัยอย่างแท้จริง
    การฝึกฝนอบรมหรือการอบรมสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ดังกล่าวนั้น ท่านยึดหลักที่จะพึงให้ลูกศิษย์ปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวันดังนี้
    ท่านจะสอนให้พวกเราประกอบความเพียรดังกล่าว ตั้งแต่หัวค่ำ จนกระทั่งเวลา ๔ ทุ่ม พอถึง ๔ ทุ่มแล้วก็จำวัดพักผ่อนตามอัธยาศัย
    พอถึงตี ๓ ท่านก็เตือนให้ลุกขึ้นมาบำเพ็ญเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา หรือทำวัตรสวดมนต์ ก็ตามแต่ที่จะถนัด
    แต่หลักที่ท่านยึดเป็นหลักที่แน่นอนที่สุดก็คือว่า ในเบื้องต้นท่านจะสอนให้ลูกศิษย์หัดนอน ๔ ทุ่ม ตื่นตี ๓ ในขณะที่ยังไม่ได้นอนหรือตื่นขึ้นมาแล้วก็ทำกิจวัตร มีการสวดมนต์ไหว้พระ เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ท่านก็จะสอนให้ทำอย่างนี้
    อันนี้เป็นหลักสำคัญที่ท่านจะรีบเร่งอบรมสั่งสอนและฝึกลูกศิษย์ให้ทำให้ได้ ถ้าหากยังทำไม่ได้ ท่านก็ยังไม่อบรมสั่งสอนธรรมะส่วนละเอียดขึ้นไป
    เพราะอันนี้เป็นการฝึกหัดดัดนิสัยให้มีระเบียบ นอนก็มีระเบียบ ตื่นก็มีระเบียบ การฉันก็ต้องมีระเบียบ คือฉันหนเดียวเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร บิณฑบาตฉันเป็นวัตร
    อันนี้เป็นข้อวัตรที่ท่านถือเคร่งนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อฉันในบาตร ฉันหนเดียว อันนี้ท่านยึดเป็นหัวใจหลักของการปฏิบัติกรรมฐานเลยทีเดียว
    ๑๓๖
    หลักสมถวิปัสสนาของหลวงปู่ใหญ่
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พูดถึงหลักการสอนด้านสมถะ และวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ดังนี้. -
    “หลักการสอน ท่านก็สอนในหลักของสมถวิปัสสนาดังที่เราเคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้วนั้น แต่ท่านจะเน้นหนักในการสอนให้เจริญพุทธคุณเป็นส่วนใหญ่ เมื่อเจริญพุทธคุณจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญแล้วก็สอนให้พิจารณา กายคตาสติ
    เมื่อสอนให้พิจารณากายคตาสติ พิจารณาอสุภกรรมฐานจนคล่องตัว จนชำนิชำนาญแล้ว ก็สอนให้พิจารณาธาตุกรรมฐาน ให้พิจารณากาย แยกออกเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ แล้วก็พยายามพิจารณาว่าในร่างกายของเรานี้ไม่มีอะไร มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ประชุมกันอยู่เท่านั้น หาสัตว์บุคคลตัวตนเราเขาไม่มี
    ในเมื่อฝึกฝนอบรมให้พิจารณาจนคล่องตัว จิตก็จะมองเห็นทั้งที่ไม่มีตัวตน คือเห็นว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน เป็นอนัตตาทั้งสิ้น
    (ถ้า) จะว่ามีตัวมีตน เมื่อแยกออกไปแล้วมันก็มีแต่ธาตุ ๔ ดินน้ำ ลม ไฟ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่มี แต่อาศัยความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีปฏิสนธิจิต ปฏิสนธิวิญญาณ มายึดครองอยู่ในร่างกายนี้ เราจึงสมมติบัญญัติว่าสัตว์ บุคคล ตัวตนเรา เขา
    อันนี้เป็นแนวการสอนของพระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่นและพระอาจารย์สิงห์
    การพิจารณาเพียงแค่ว่า พิจารณากายคตาสติก็ดี พิจารณาธาตุกรรมฐานก็ดี ตามหลักวิชาการท่านว่า เป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานแต่ท่านก็ย้ำให้พิจารณาอยู่ในกายคตาสติกรรมฐาน กับ ธาตุกรรมฐานนี้เป็นสวนใหญ่
    ที่ท่านย้ำๆ ให้พิจารณาอย่างนั้น ก็เพราะว่าทำให้ภูมิจิตภูมิใจของนักปฏิบัติก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้เร็ว โดยเพราะอย่างยิ่งการพิจารณากายคตาสติ แยกผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูกเป็นต้น แยกเป็นส่วนๆ เราจะมองเห็นว่าในกายของเรานี้ก็ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน มันมีแต่เพียงผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เท่านั้น
    ถ้าว่ากายนี้เป็นตัวเป็นตน ทำไมจึงจะเรียกว่า ผม ทำไมจึงจะเรียกว่าขน ทำไมจึงจะเรียกว่า เล็บ ว่าฟัน ว่าเนื้อ ว่าเอ็น ว่ากระดูก ในเมื่อแยกออกไปเรียกอย่างนั้นแล้ว มันก็ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนเรา เขา
    นอกจากนั้นก็จะมองเห็นอสุภกรรมฐาน เห็นว่าร่างกายนี้เต็มไปด้วยของปฏิกูลน่าเกลียด โสโครก น่าเบื่อหน่าย ไม่น่ายึดถือมั่นว่าเป็นอัตตาตัวตน แล้วพิจารณาบ่อยๆ พิจารณาเนืองๆ จนกระทั่งจิตเกิดความสงบ สงบแล้วจิตจะปฏิวัติตัวไปสู่การพิจารณาโดยอัตโนมัติ
    ผู้ภาวนาก็เริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงในความเป็นจริงของร่างกายนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพิจารณาธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ พิจารณากายแยกออกเป็นส่วนๆ ส่วนนี้เป็นดิน ส่วนนี้เป็นน้ำ ส่วนนี้เป็นลม ส่วนนี้เป็นไฟ เราก็จะมองเห็นว่าร่างกายนี้สักแต่ว่าเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่มี ก็ทำให้จิตของเรามองเห็นอนัตตาได้เร็วขึ้น
    เพราะฉะนั้น การเจริญกายคตาสติก็ดี การเจริญธาตุกรรมฐานก็ดี จึงเป็นแนวทางให้จิตดำเนินก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้
    และอีกอันหนึ่ง อานาปานสติ ท่านก็ยึดเป็นหลักสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรรมฐานอานาปานสติ - การกำหนดพิจารณา กำหนดลมหายใจ นั้น จะไปแทรกอยู่ทุกกรรมฐาน จะบริกรรมภาวนาก็ดี จะพิจารณาก็ดี ในเมื่อจิตสงบลงไป ปล่อยวางอารมณ์ที่พิจารณาแล้ว ส่วนใหญ่จิตจะไปรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก
    ในเมื่อจิตตามรู้ลมหายใจเข้าออก กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เป็นปกติ จิตเอาลมหายใจเป็นสิ่งรู้ สติเอาลมหายใจเป็นสิ่งระลึก ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามปกติของร่างกาย เมื่อสติไปจับที่ลมหายใจลมหายใจก็เป็นฐานที่ตั้งของสติ
    ลมหายใจเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องด้วยกาย สติไปกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าออก จดจ่ออยู่ที่ตรงนั้น วิตกถึงลมหายใจ มีสติรู้พร้อมอยู่ในขณะนั้น จิตก็มีวิตกวิจารอยู่กับลมหายใจ
    เมื่อจิตสงบลงไป ลมหายใจก็ค่อยๆ ละเอียดๆ ลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งในที่สุดลมหายใจก็หายขาดไป เมื่อลมหายใจหายขาดไปจากความรู้สึก ร่างกายที่ปรากฏว่ามีอยู่ก็พลอยหายไปด้วย
    ในเมื่อเป็นเช่นนั้น ถ้าหากว่าลมหายใจยังไม่หายขาดไป กายก็ยังปรากฏอยู่ เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปข้างใน จิตจะไปสงบนิ่งอยู่ในท่ามกลางของกาย แล้วก็แผ่รัศมีออกมารู้ทั่วกาย จิตสามารถที่จะมองเห็นอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายได้หมดทั้งตัว
    เพราะลมย่อมวิ่งเข้าไปที่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ลมวิ่งไปถึงไหนจิตก็รู้ไปถึงนั่น ตั้งแต่หัวจรดเท้า ตั้งแต่เท้าจรดหัว ตั้งแต่แขนซ้ายแขนขวา ขาขวา ขาซ้าย
    เมื่อจิตตามลมหายใจเข้าไปแล้ว จิตจะรู้ทั่วกายหมด ในขณะใดกายยังปรากฏอยู่ สงบนิ่ง รู้สว่างอยู่ในกาย วิตก วิจาร คือจิตรู้อยู่ภายในกาย สติก็รู้พร้อมอยู่ในกาย
    ในอันดับนั้น ปีติและความสุขย่อมบังเกิดขึ้น เมื่อปีติและความสุขบังเกิดขึ้น จิตก็เป็นหนึ่ง นิวรณ์ ๕ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจทุกกุจจะ วิจิกิจฉา ก็หายไป จิตกลายเป็นสมถะ มีพลังพอที่จะปราบนิวรณ์ ๕ ให้สงบระงับไป
    ผู้ภาวนาก็จะมองเห็นผลประโยชน์ในการเจริญสมถกรรมฐาน
     
  20. jammam

    jammam สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +17
    ๑๓๗
    หลวงปู่ใหญ่ฉันเห็ดเบื่อ
    <table id="table57" align="left" border="0"> <tbody><tr> <td> [​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="left">
    พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร
    </td> </tr> </tbody></table> ​
    เรื่องนี้เป็นปฏิปทาที่แปลก หรือที่สมัยใหม่เขาพูดว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัว หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นผู้เล่าให้ฟัง ดังนี้ : -
    “หลวงปู่เสาร์ นี่ เห็ดมันขึ้นตามวัด บอกเณรไปเก็บ เณรก็เก็บเห็ดอันนี้ไปหมกไฟให้กิน เณรก็ไปเก็บได้ประมาณเต็มชามก๋วยเตี๋ยวหนึ่ง เอามาห่อหมก (หมายถึงใช้ใบตองห่อ แล้วนำไปหมกไฟให้สุก) เสร็จแล้วก็ไปถวายหลวงปู่ หลวงปู่ก็ฉันจนหมด
    ทีนี้ไอ้เราพวกเณรที่ทำห่อหมก เณร ๕-๖ องค์ ตักแจกกันคนละช้อนๆ ๆ ฉันอาหารยังไม่ทันอิ่มเลย สลบเหมือดทั้ง ๖ องค์
    ทีนี้ อุ๊ย ! เณรเป็นอะไรๆ ถามมันดูซิว่ามันเป็นอะไร เณรก็กินเห็ดเบื่อ (คือเห็ดเมา เห็ดมีพิษ)
    รู้ว่าเห็ดเบื่อทำไมถึงกินล่ะ?
    ท่านอาจารย์พากิน
    ข้าไม่ได้กินเห็ดเบื่อ ถ้าข้ากินเห็ดเบื่อข้าก็เมาตายสิ
    หลวงปู่เสาร์ฉันเป็นชามนั่งยิ้มเลย แต่เณรฉันคนละช้อน ฉันข้าวยังไม่อิ่ม สลบเหมือดไปเลย อันนี้จิตของเรานี่มันปรุงแต่ง จะให้มันแพ้หรือมันชนะก็ทำได้
    อีกเรื่องหนึ่ง หลวงพ่อโชติ อาภคฺโค เล่าให้ผู้เขียนฟังเมื่อคราวไปร่วมงานฉลองเจดีย์หลวงปู่ใหญ่เสาร์ ที่วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี ซึ่งเป็นวัดสุดท้ายที่หลวงปู่ใหญ่พำนักอยู่
    หลวงพ่อโชติ บอกว่า หลวงปู่ใหญ่ ท่านชอบฉันเห็ด ตรงหน้ากุฏิของท่านเป็นทางเดินจงกรม และที่ขอบทางเดินจะมีเห็ดขึ้นทุกวัน ไม่ว่าฤดูไหนก็ตาม จำนวนไม่มาก พอเก็บถวายให้ท่านฉันองค์เดียวได้
    ทุกวัน แม่ชีจะเก็บเห็ดนั้นไปทำถวายท่าน
    ทุกคนในวัดรู้เรื่องนี้ดี เรียกกันว่า เห็ดเทวดาถวาย
    แต่หลวงปู่ใหญ่ ไม่เคยปริปากพูดถึงเรื่องนี้เลย
    ๑๓๘
    ทิพยจักษุ - กายมีตาทิพย์
    ในเรื่องนี้ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นผู้เล่า ดังนี้: -
    “มีผู้บอกว่า เคยได้ฟังมาว่า หลวงปู่ฝั้น ดูหมอเก่ง (หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมภรณ์ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นลูกศิษย์หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กับหลวงปู่มั่น อีกต่อหนึ่ง)
    หลวงพ่อ แก้ว่า ไม่มีน้า ไม่เคยหรอก
    เหมือนๆ กับมีพระองค์หนึ่งว่า หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่นไปตัดเหล็กไหลที่ถ้ำสระบัว ภูเขาควาย (ฝั่งประเทศลาว) มันไม่ตรงกับความจริงเลยแม้แต่นิดหนึ่ง
    พระองค์นั้นชื่อพระอาจารย์จันทร์ เดี๋ยวนี้ก็ยังมีชีวิตอยู่ เขาบอกว่าตั้งแต่เขาเป็นเณรโน่น
    ทีนี้ เหล็กไหล มันเป็นทรัพย์ในดินสินในน้ำ ท่านผู้เคร่งต่อพระธรรมวินัยท่านจะไปทำได้อย่างไร?
    ขนาดหลวงพ่อเอาสีผึ้งใส่ในย่ามนี่ ท่านยังว่าเอาๆ ยังงงยังกะไก่ตาแตกเลย..โอ๊ย ! หลวงปู่นี่มาค้นดูย่ามเราตั้งแต่เมื่อไร?
    ตลับสีผึ้งนี่โยมเขาทำให้ตั้งแต่เป็นเณรอยู่บ้านนอก เขาบอกว่าอันนี้จะไปเรียนหนังสือ มันเรียนหนังสือดี ก็เลยเอามา...
    หลวงปู่เสาร์ดุ จะมาภาวนาเอามรรคผลนิพพาน ยังเอาตลับสีผึ้งใส่ย่ามมาด้วย มันจะไปได้อย่างไร...
    ว้า ! หลวงปู่นี่มาค้นย่ามเราตั้งแต่เมื่อไร พอตื่นเช้ามาก็เอามัดติดก้อนอิฐ ปาลงแม่น้ำมูลเลย
    ไม่มีหรอก กรรมฐานนี่ เครื่องรางของขลัง รูป เหรียญ หมู่นี้ไม่มี
    ๑๓๙
    หลักคำสอนหลวงปู่ใหญ่อีกครั้ง
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย พูดถึงคำสอนการภาวนาของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล อีกครั้งหนึ่ง หนังสือ ฐานิยตฺเถรวตฺถุ ในหัวข้อ ศิษย์องค์สุดท้ายของหลวงปู่เสาร์
    ในตอนนั้น หลวงพ่อพุธ ดำรงสมณศักดิ์ที่ พระชินวงศาจารย์ ชาวบ้านเรียก เจ้าคุณชินฯ วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
    “อย่างครูบาอาจารย์ของเราที่ท่านมาแสดงธรรมให้ฟัง เช่นหลวงปู่สิม หลวงปู่แว่น หรือ ท่านอาจารย์เหรียญ ท่านอาจารย์บัวพา เคยผ่านสำนักของครูบาอาจารย์มั่น อาจารย์เสาร์ มาแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกศิษย์ต้นของท่านอาจารย์เสาร์ที่ยังเหลือค้างอยู่เวลานี้ ก็คือท่านอาจารย์บัวพาเพียงองค์เดียว นอกนั้นสึกหาลาเพศ ล้มหายตายจากไป ถ้าจะนับอีก องค์ที่ ๒ ก็คือเจ้าคุณชินวงศาจารย์
    ท่านอาจารย์บัวพา ก็ไม่ค่อยเทศน์ไม่ค่อยพูด เพราะติดนิสัยท่านอาจารย์เสาร์ แต่ที่แหวกแนวก็คือ เจ้าคุณชินวงศาจารย์ (พุธ ฐานิโย) ซึ่งเป็นศิษย์คนสุดท้ายของท่านอาจารย์เสาร์ (หลวงพ่อพูดถึงท่านเอง)
    อันนี้เป็นปฏิปทาย่อๆ ของครูบาอาจารย์ ที่นำมาเล่าเพื่อจะเป็นประโยชน์แก่สหธรรมิก
    ทีนี้ หลักบริกรรมภาวนาพุทโธ เมื่อบริกรรมภาวนาพุทโธทำจิตให้เป็นสมาธิคล่องตัวจนชำนิชำนาญพอสมควรแล้ว เพื่อจะให้จิตมีสติปัญญาก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา
    อันดับที่ ๒ ท่านให้พิจารณา กายคตาสติ ให้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ให้มองเห็นเป็นสิ่งปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก
    การพิจารณากายคตาสติ ท่านถือสติเป็น ๒ อย่าง อย่างหนึ่งพิจารณาไปโดยอนุโลมปฏิโลม ไปตามลำดับ จนครบอาการ ๓๒
    และอีกอย่างหนึ่ง ท่านให้พิจารณาเพียงอย่างเดียว คือ ให้กำหนดจดจ้องมองดูที่บริเวณหน้าอก แล้วกำหนดจิตลอกหนังลอกเนื้อออก มองให้มันถึงกระดูก พิจารณากลับไปกลับมาอยู่อย่างนั้น จนจิตเชื่อมั่นว่ามีกระดูกอยู่ตรงนี้
    ในอันดับต่อไป ท่านก็ให้บริกรรมภาวนา อัฐิๆ ๆ แล้วก็จ้องความรู้สึกของจิตลงไปบริเวณหน้าอก พยายามทำบ่อยๆ ทำเนืองๆ ทำให้มากๆ
    ในที่สุดเมื่อจิตสงบลงไปแล้ว จะได้นิมิตมองเห็นโครงกระดูกบริเวณหน้าอกหรือโดยทั่วตัว ในเมื่อเห็นโครงกระดูกขึ้นมาแล้ว ก็เพ่งจ้องมองดูที่โครงกระดูก จนกระทั่งโครงกระดูกมันแหลกละเอียดสลายตัวไปหรือได้อสุภกรรมฐาน
    ในเมื่อพิจารณาอสุภกรรมฐาน รู้จริงเห็นจริงเป็นอุบายระงับราคะความกำหนัดยินดี ไม่ให้เกิดขึ้นกลุ้มรุมจิตใจ เพื่อจะได้มีโอกาสบำเพ็ญเพียรภาวนาในขั้นต่อไป
    เสร็จแล้วพระอาจารย์เสาร์ ท่านสอนให้พิจารณาร่างกาย ให้มองเห็นด้วยความเป็นธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ คือ แยกออกไปว่าร่างกายนี้มีแต่ดิน แต่น้ำ แต่ลม แต่ไฟ ในเมื่อแยกออกไปแล้วก็ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา พิจารณาให้มองเห็นเป็นนิมิตว่า ร่างกายนี้มีแต่ดิน น้ำ ลม ไฟกันแท้จริง จนกระทั่งจิตยอมรับว่าสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา ในดิน น้ำลม ไฟ ไม่มีความเป็นคนเป็นสัตว์ เพราะอาศัยดิน น้ำ ลม ไฟ ยังคุมกันอยู่ มีปฏิสนธิวิญญาณมายึดครองโดยความเป็นเจ้าของ เพราะอาศัยกิเลสตัณหา อุปาทาน กรรม จึงทำให้เราเกิดยึดมั่นถือมั่นว่า อัตตาตัวตนยึดว่าของเรา ของเขา ร่างกายของเรา ของเขา
    ในเมื่อเห็นว่าร่างกายเป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ หาสัตว์บุคคล ตัวตน เรา เขา ไม่มี ในเมื่อเป็นเช่นนั้นจิตของผู้ภาวนาก็ได้ อนัตตานุปัสสนาญาณ เห็นว่าร่างกายเป็นอนัตตาหมดทั้งสิ้น ภูมิจิตภูมิใจ ก็ก้าวขึ้นสู่ภูมิธรรมเองโดยอัตโนมัติ
    อันนี้เป็นปฏิปทาของท่านอาจารย์เสาร์ และท่านอาจารย์มั่นที่เคยได้ยินได้ฟังมาเพียงเล็กๆ น้อยๆ นำมาเล่าเพื่ออาจจะเกิดประโยชน์แก่วงการนักปฏิบัติบ้าง
    ๑๔๐
    ตอบปัญหาธรรมพระเจ้าอยู่หัว
    เหตุการณ์นี้เกิดประมาณปี พ ศ. ๒๕๒๕ หลวงพ่อพุธ ฐานิโยไปเข้าเฝ้าถวายธรรมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชวังไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    หลวงพ่อ เล่าว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านทรงเป็นบุคคลที่ช่างคิด เป็นนักวิชาการ เพราะพระองค์ทรงใช้พระทัยคิดอย่างไม่หยุดยั้ง การคิดด้วยการตั้งใจนี่มันก็เป็นเรื่องของสมาธิ ถึงแม้จะทรงรับสั่งถามด้วยโลกก็ตาม แต่ก็มีคุณธรรมแฝงอยู่ทุกประการ...”
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงถามปัญหาธรรมต่อหลวงพ่อว่า “ขอท่านได้อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมดังที่ท่านอาจารย์เสาร์สอนมา”
    หลวงพ่อ ถวายคำตอบว่า “โดยหลักการที่ท่านอาจารย์เสาร์ได้อบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหามานั้น ยึดหลักการบริกรรมภาวนาพุทโธและอานาปานสติ เป็นหลักปฏิบัติ
    การบริกรรมภาวนา ให้จิตอยู่ ณ จุดเดียว คือ พุทโธ ซึ่งพุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิต เมื่อจิตมาจดจ้องอยู่ที่คำว่า พุทโธ ให้พิจารณาองค์ฌาน ๕
    การนึกถึงพุทโธ เรียกว่า วิตก จิตอยู่กับพุทโธไม่พรากจากไป เรียกว่า วิจาร หลังจากนี้ ปีติ และความสุข ก็เกิดขึ้น
    เมื่อปีติ และความสุขเกิดขึ้นแล้ว จิตของผู้ภาวนาย่อมดำเนินไปสู่ความสงบ เข้าไปสู่ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ
    ลักษณะที่จิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิ ภาวะจิตเป็นพาวะสงบนิ่ง สว่างไม่มีกิริยาอาการแสดงความรู้ ในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในสมถะ
    ถ้าจะเรียกจิตก็เรียกว่า อัปปนาจิต
    ถ้าจะเรียกโดยสมาธิก็เรียกว่า อัปปนาสมาธิ
    ถ้าจะเรียกโดยฌานก็เรียกว่า อัปปนาฌาน
    บางท่านนำไปเทียบกับ ฌานขั้นที่ ๔
    จิตในขั้นนี้เรียกว่า จิตอยู่ในอัปปนาจิต อัปปนาสมาธิ อัปปนาฌาน จิตย่อมไม่มีความรู้อะไรเกิดขึ้น นอกจากมีสภาวะรู้อยู่อย่างเดียวเท่านั้น
    เมื่อนักปฏิบัติผู้ที่ยังไม่ได้ระดับจิต เมื่อจิตติดอยู่ในความสงบนิ่งเช่นนี้ จิตย่อมไม่ก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาได้
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านอาจารย์เสาร์ ผู้เป็นอาจารย์สอนกรรมฐานในสายนี้ จึงได้เดินอุบายสอนให้ลูกศิษย์พิจารณา กายคตาสติ เรียกว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยพิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น โดยน้อมนึกไปในลักษณะความเป็นของปฏิกูลน่าเกลียด เป็นของโสโครก จนกระทั่งจิตมีความสงบลง รู้ยิ่งเห็นจริงตามที่ได้พิจารณา
    เมื่อผู้ปฏิบัติได้พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เห็นสิ่งปฏิกูล ในที่สุดได้เห็นจริงในสิ่งนั้นว่าเป็นของปฏิกูล โดยปราศจากเจตนาสัญญาแล้ว ก็เกิดนิมิตเห็นสิ่งเหล่านั้นว่าเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครกจริงๆ โดยปราศจากสัญญาเจตนาใดๆ ทั้งสิ้น จึงได้ชื่อว่า เป็นผู้พิจารณาเห็น อสุภกรรมฐาน
    เมื่อผู้ปฏิบัติพิจารณาอสุภกรรมฐานจนชำนิชำนาญจนรู้ยิ่งเห็นจริงในอสุภกรรมฐานนั้นแล้ว ในขั้นต่อไปท่านอาจารย์เสาร์ ได้แนะนำให้พิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นธาตุ ๔ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ จนกระทั่งเห็นเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ
    เมื่อจิตรู้ว่าเป็นแต่เพียงสักแต่ว่าธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ จิตก็จะเกิดความรู้ขึ้นมาว่า ตามที่พูดกันว่า สัตว์ ตัวตน บุคคล เรา เขา ไม่มีมีแต่ความประชุมพร้อมของธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น
    เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตก็ย่อมเกิดความคิดขึ้นมาได้ว่า ในตัวของเรานี้ไม่มีอะไร เป็นอนัตตาทั้งสิ้น มีแต่ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่านั้น
    ถ้าหากภูมิจิตของผู้ปฏิบัติจะมองเห็นแต่เพียงกายทั้งหมดนี้ เป็นแค่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ รู้แต่เพียงว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ และภูมิจิตของท่านอยู่แค่นั้น ก็มีความรู้เพียงแค่ขั้นสมถกรรมฐาน
    และในขณะเดียวกันนั้น ถ้าภูมิจิตของผู้ปฏิบัติ ปฏิวัติความรู้ไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง -ไม่เที่ยง ทุกขัง - เป็นทุกข์ อนัตตา -ไม่ใช่ตัวตน ที่ แท้จริง
    ถ้าหากมี อนิจจสัญญา – ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่เที่ยง ทุกขสัญญา -ความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นทุกข์ อนัตตสัญญา -ความสำคัญมั่นหมายว่าไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง ภูมิจิตของผู้ปฏิบัตินั้นก็ก้าวเข้าสู่ภูมิแห่งวิปัสสนา
    เมื่อผู้ปฏิบัติมาฝึกฝนอบรมจิตของตนเองให้มีความรู้ด้วยอุบายต่างๆ และมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะของอสุภกรรมฐานโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง จนมีความรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะที่ว่า กายเรานี้เป็นแต่เพียงธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีความเห็นว่า ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็เป็นแต่เพียงธาตุ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ บุคคล เรา เขา ด้วยอุบายดังกล่าวแล้ว ผู้ปฏิบัติยึดหลักอันนั้น ภาวนาบ่อยๆ กระทำให้มากๆ พิจารณาให้มากๆ พิจารณาย้อนกลับไปกลับมา จิตจะค่อยๆ ก้าวเข้าสูภูมิรู้ภูมิธรรม เป็นลำดับๆ ไป
    หลักการปฏิบัติของท่านอาจารย์เสาร์ ก็มีดังนี้
    <table id="table58" border="0" width="250"> <tbody><tr> <td>
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td>
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙
    เมื่อครั้งทรงผนวช ทรงมีพระฉายานามว่า “ภูมิพโล”
    </td> </tr> </tbody></table>​
    ๑๔๑
    สถานที่พำนักในจังหวัดอุบลราชธานี
    ในหนังสือของ อาจารย์พิศิษฐ์ ไสยสมบัติ ได้บันทึกสถานที่พำนักของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ในเขตจังหวัดอุบลราชธานีตามคำบอกเล่าของหลวงพ่อโชติ อาภคฺโค ดังต่อไปนี้ : -
    “พระอาจารย์เสาร์ จำพรรษาที่บ้านข่าโคม เป็นเวลา ๓ ปี จึงย้ายมาบ้านปากกุดหวาย บ้านท่าฆ้องเหล็ก แล้วมาจำพรรษาที่วัดบูรพาราม เมืองอุบลฯ ตั้งเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมกรรมฐานขึ้นที่นี่ ถึงวันเพ็ญเดือน ๓ จะมีพระสงฆ์สามเณรศิษยานุศิษย์ทั่วทุกสารทิศมารวมชุมนุมกันที่วัดบูรพารามเป็นประจำมิได้ขาด เพื่อรับฟังโอวาทข้อปฏิบัติ ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องให้การปฏิบัติเป็นแนวเดียวกันเป็นกองทัพธรรมที่สมบูรณ์ นำสัจธรรมของพระพุทธองค์ออกเผยแพร่ให้กว้างไกลไพศาลยิ่งขึ้น ถือเป็นการประชุมสันนิบาตของคณะกองทัพธรรมพระกรรมฐานก็ว่าได้ เป็นการแสดงความเคารพนบน้อมกตัญญูกตเวทิตาต่อครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณอีกทางหนึ่งด้วย ช่วงเวลานั้นวัดในคณะธรรมยุตได้เกิดขึ้นอีกมากมาย”
    “จากบ้านข่าโคม ในปี พ.ศ. ๒๔๘๑ พระอาจารย์เสาร์ได้รับนิมนต์มาพำนักที่งานักสงฆ์บ้านกุดหวาย ของญาติโยมพุทธบริษัทที่เป็นลูกศิษย์ผู้เลื่อมใสในองค์ท่าน ได้นิมนต์ให้พระอาจารย์ใหญ่มาโปรดพวกตนบ้าง
    ทำเลที่พักแห่งนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งขวาแม่น้ำมูลเยื้องไปฝั่งน้ำตรงข้ามเป็นบ้านคูเดื่อ ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนที่มีชื่อเสียงของชาวเมืองอุบลราชธานี ที่มาพักผ่อนเล่นน้ำ ทานอาหาร ในยามหน้าแล้ง ชื่อว่าหาดคูเดื่อ เป็นโค้งน้ำมูลที่ไหลโค้งงอดั่งตะขอ ก่อให้เกิดทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ก่อนที่จะไหลไปสู่ตัวเมืองอุบลฯ
    บริเวณที่พำนักของพระอาจารย์เสาร์ ปัจจุบันเป็นวัดป่าพูนสิน (สาขาของวัดหนองป่าพง) บ้านปากกุดหวาย ต.หนองกินเพล อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี”
    “จากบ้านป่ากุดหวาย เดินไปไม่ไกลนักก็ถึงบ้านโพธิ์มูล พระอาจารย์เสาร์ได้พาคณะมาพำนักที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล บริเวณนี้เป็นชายป่าริมน้ำ มีหนองน้ำที่มีน้ำใสสะอาดอยู่ติดกัน มีป่าไม้ปกคลุมร่มรื่นอยู่ด้านหลังวัดบ้านโพธิ์มูลปัจจุบันนี้
    คุณตาประสงค์ สุกวัฒน์ อายุ ๘๔ ปี บ้านท่าฆ้องเหล็ก เล่าให้ฟังว่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ รับนิมนต์มาโปรดชาวบ้านปากกุดหวายและพำนักให้เป็นศิริมงคลสนองศรัทธาญาติโยมชาวโรงสีไฟบ้านปากกุดหวาย แต่เนื่องจากที่นั่นมีเสียงดังรบกวนจากขบวนรถไฟที่เข้าไปบรรทุกข้าว ท่านจึงได้ย้ายไปที่สัปปายะบ้านโพธิ์มูล และบ้านท่าฆ้องเหล็ก เป็นลำดับต่อมา
    ที่นี่คือ วัดป่าเรไรยกาวาส บ้านท่าฆ้องเหล็ก ต.คำน้ำแซบ อ.วารินชำราบ
    คุณตาประสงค์ เล่าว่า ที่นี่มีต้นกระท้อน ต้นมะพร้าวน้ำหอม ที่สมัยก่อนหน้านี้ยังไม่มีปลูกกัน พึ่งมีมาพร้อมกับตอนที่กฐินจากในวัง ของเจ้าจอมมารดาทับทิม ยกขบวนมาทอดถวายท่านพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดป่าหนองอ้อ บ้านข่าโคมนั่นเอง จึงได้นำพันธุ์ไม้แปลกใหม่มาถวายท่านพระอาจารย์เสาได้ให้นำมาปลูกไว้ที่วัดนี้ด้วย
    มีเหตุการณ์ที่น่าสลดใจในปีนั้น คือ เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก เพราะการแพทย์และหยูกยาที่จะบำบัดรักษาในสมัยนั้นยังอัตคัดขาดแคลนอยู่เป็นอันมาก
    การระบาดของโรคร้ายครั้งนั้น ไม่มีเว้นแม้สมณชีพราหมณ์ ต่างถูกโรคร้ายคุกคาม เป็นเหตุให้แม่ชีที่เป็นลูกศิษย์ในคณะติดตามพระอาจารย์ต้องจบชีวิตลงที่นี่ถึง ๖ รูป... ไม่เพียงแต่แม่ชี ๖ รูป เท่านั้นยังมีพระภิกษุอีก ๒ รูป และสามเณรอีก ๑ รูป รวมทั้งหมด ๙ รูป ได้เสียชีวิตเพราะโรคห่าระบาดครั้งใหญ่ ในครั้งนั้นด้วย
    เมื่อออกจากวัดป่าเรไรยกาวาส บ้านท่าฆ้องเหล็ก ต.คำน้ำแซบ อ วารินชำราบ แล้ว คณะของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล ก็เดินธุดงค์ไปทาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดเดียวกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...