เพื่อการกุศล :::(เปิดจอง)ล็อกเกตพระแก้วมรกต"ภูริทัตตเถรานุสรณ์-สมเด็จองค์ปฐมอมฤตศุภมงคลญาณสังวร":::

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย dekdelta2, 13 พฤศจิกายน 2009.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]

    บรรดามวลสาร และเกศา ก่อนนำมาผสมสร้างพระของหลวงปู่ครูบาคำ วัดศรีดอนตัน

    จะเห็นได้ว่ามากมายทีเดียว ล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ได้อานิสงส์ไปด้วย
    ขออนุโมทนาบุญกับท่าน เจ้าของผู้รวบรวมผงด้วยนะครับ
     
  2. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]

    พระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ กล่าวกับคณะผู้จัดสร้างต่อหน้าศพหลวงปู่หลอดว่า "ผงทั้งหมดที่เราอาราธนามาด้วยตนเอง หามาด้วยตนเองทั้งหมด สะหรี๋พันต้น ผงเกศาครูบาศรีวิชัย(ช้อนชาเดียวมีเป็นเกศาครูบาเจ้าเป็นสิบเส้น) ผงครูบาวงส์ ผงอาจารย์ต่างๆก็ดี ที่เราได้รำเรียนมาก็ดี ขอมอบให้แก่เธอซึ่งเป็นศิษย์ของเรา" 1 ถุงใหญ่ครับ
     
  3. จารุธัมโม

    จารุธัมโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2010
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +262
    รบกวนคุณ dekdelta 2 นำรูปหลวงปู่ลือ วัดคำหยาด ตอนอธิษฐานจิตปลุกเสก ล็อกเก็ต มาให้ดูหน่อยครับผม ตามที่ผมเคยขอไว้ เพื่อเป็นบุญตา และ เพื่อเป็นศิริมงคลครับผม ขอบคุณครับ
     
  4. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948

    ไมได้ถ่ายรูปท่านครับ ไม่ได้ขออนุญาตท่าน เพราะตอนนั้นท่านไม่ได้พาดสังฆาฎิ ครูบาอาจารย์ท่านเคยสั่งสอนมาว่าเช่นนี้ เวลาผมถ่ายรูปบางองค์ผมจะไม่ถ่ายเลย หรือจะถ่ายไม่เกิน 1 รูปนะครับ เพราะไม่ได้นำครูบาอาจารย์มาขายกิน สำหรับหลวงปู่ลือ น่าจะนำไปให้ท่านเสกอีก เป็นการส่งท้าย ตอนไปขออธิษฐานจิตจากหลวงปู่สม ถ้าตอนนั้นถ้าท่านครองชุดเต็ม จะขออนุญาตถ่ายรูปครับ
     
  5. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 10 ปรมาจารย์ใหญ่แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง

    [​IMG]

    หลวงปู่ยิ้ม จนฺทโชติ วัดหนองบัว (วัดอุปลาราม) ต.หนองบัว อ.เมือง จ.กาญจนบุรี จากการบันทึกของพระโสภณสมาจารย์ (เหรียญ สุวรรณโชติ) ซึ่งเป็นศิษย์ก้นกุฏิ และเป็นสมภารรูปต่อจากหลวงปู่ยิ้ม ได้ความว่า

    หลวงปู่ยิ้ม ท่านเป็นชาววังด้ง จ.กาญจนบุรี เกิดปีมะโรง เดือนห้า วันอังคาร พ.ศ. 2387 เป็นบุตร นายยิ่ง นางเปี่ยม บิดามารดาประกอบอาชีพค้าไม้ไผ่ล่องไปขายที่ปากอ่าวแม่กลอง จนเป็นที่รู้จักของชาวแม่กลองเป็นอย่างดี

    ครั้นได้อายุครบบวช ได้อุปสมบทที่วัดทุ่งสมอ อ.พนมทวน พระอาจารย์กลีบ วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง วัดเหนือ และพระอาจารย์อินทร์ วัดทุ่งสมอ เป็นพระคู่สวด ได้รับฉายาว่า "จนฺทโชติ"

    เมื่อบวชแล้วท่านได้เรียนหนังสือขอม บาลี มงคลทีปนี มูลกัจจายน์ พระเจ้า 10 ชาติ สูตรสนธิ จนชำนาญ อีกทั้งยังสามารถท่องปาฏิโมกข์ได้ตั้งแต่พรรษาที่ 2 ด้วยตัวท่านชอบเกี่ยวกับวิชาความรู้และวิทยาคมจึงได้รับคำแนะนำจากอาจารย์แดงพระคู่สวดว่า ที่จังหวัดสมุทรสงคราม มีพระเกจิอาจารย์เก่งๆ อยู่หลายรูป ท่านได้เดินทางไปหาอาจารย์รูปแรกคือ หลวงพ่อพระปลัดทิม วัดบางลี่น้อย อ.อัมพวา ท่านเป็นอุปัชฌาย์เก่าแก่ของวัดบางช้าง เรียนทางทำน้ำมนต์โภคทรัพย์ อยู่ปากอ่าวแม่กลองได้เรียนวิชาทำธงกันอสุนีบาต (สายฟ้า) และพายุคลื่นลม วิชาหลายลงอักขระทำรูปวงกลม เวลาไปทะเลแล้วขาดน้ำจืดให้เอาหวายโยนลงไปในทะเลแล้วตักน้ำในวงหวายน้ำจะจืดทันที ลูกอมหมากทุยก็เป็นที่เลื่องลือ เพราะท่านได้สำเร็จจินดามนต์ เรียกปลาเรียกเนื้อได้

    อีกรูปคือ หลวงพ่อกลัด วัดบางพรม เรียนทางมหาอุตม์ ผ้าเช็ดหน้าทางมหานิยม เชือกคาดเอว เครื่องรางรูปกระดูกงูกันเขี้ยวงา ทางคงกระพันชาตรี หลวงพ่อกลัดรูปนี้สามารถย่นระยะทางได้ และรูปสุดท้ายคือ หลวงพ่อแจ้งวัดประดู่อัมพวา ได้เรียนทางแพทย์แผนโบราณ มีดหมอ ทางมหาประสานเชือกคาดชื่อตะขาบไฟ หรือ ไส้หนุมาน

    "หลวงปู่ยิ้ม" เป็นพระที่ชอบทางรุกขมูลธุดงควัตรออกพรรษา แล้วท่านมักจะเข้าป่าลึกเพื่อหาที่สงบทำสมาธิท่านรู้ภาษาสัตว์ทุกชนิด ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของท่านโด่งดังไปทั่วเจ้านายและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ อาทิ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งโปรดทางวิชาไสยศาสตร์ ได้ไปหาท่านถึง 2 ครั้ง เลื่อมใสและนับถือท่านเป็นอาจารย์ ขอเรียนวิชาจากท่านได้มีดหมอจากท่าน 1 เล่ม ไว้ประจำพระองค์ มีดหมอมีสรรพคุณปราบภูตผีปีศาจ และปราบคนที่อยู่ยงคงกระพัน ถ้าได้ถูกคมมีดของท่านแล้วต้องเป็นอันได้เลือด ไม่ว่าคนนั้นจะเก่งเพียงไร ก็ไม่สามารถคุ้มครองได้

    เสด็จในกรมฯ ทรงโปรดเป็นอันมาก ทั้งๆ ที่ว่าท่านเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท มาแล้ว ก็ยังเกรงวิชาของหลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านเคยธุดงค์มาจำวัดกับหลวงปู่ยิ้ม ที่วัดหนองบัว และได้แลกเปลี่ยนวิชากัน

    หลวงปู่ยิ้มท่านเป็นพระสมถะไม่หลงวิชาอาคม จำนวนศิษย์ของท่านเท่าที่ปรากฏ คือ

    1. พระโสภณสมจารย์ (เหรียญ) วัดอุปลาราม (วัดหนองบัว)

    2. พระเทพมงคลรังษี (ดี) วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ)

    3. พรกาญจนวัตรวิบูลย์ (ล่อน) วัดลาดหญ้า

    4. พระโสภณสมณกิจ (หัง) วัดเหนือ

    5. พระครูวัตตสารโสภณ (ดอกไม้) วัดดอนเจดีย์

    6. พระราชมงคลวุฒาจารย์ (ใจ) วัดเสด็จ

    7. พระอธิการ (แช่ม) วัดจุฬามณีอัมพวา)

    8. พระครูสกลวิสุทธิ (เหมือน รัตนสุวรรณ)

    วัตถุมงคลของท่านตลอดจนเครื่องรางของขลังต่างเป็นที่ต้องการของบรรดาลูกศิษย์ อาทิ พระปิดตา พิมพ์ใหญ่ (อ่าวจุฬา) พิมพ์สังกัจจายน์ใหญ่ พิมพ์สังกัจจายน์เล็ก, พิมพ์แข้งซ้อนใหญ่, พิมพ์แข้งซ้อน, พิมพ์เข่าบ่วง, พิมพ์เข่าบ่วงใหญ่, พิมพ์ขัดเพชร เป็นต้น
    รูปแหวนพิรอดของท่านสังเกตุจะมีหัวยอด และรักแดงครับ
    [​IMG]
    ในบรรดาแหวนพิรอดจากหลายๆสำนัก แหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้ม นับเป็นหนึ่งในแหวนพิรอดยอดนิยมที่จัดอยู่ในอันดับต้นๆเช่นกัน เคยได้กล่าวไว้แล้วว่า เครื่องรางไม่มีรูปแบบที่ตายตัว แต่จะต้องมีเอกลักษณ์ที่สังเกตได้ ดังนั้นการที่จะได้ข้อยุติในเครื่องรางแต่ละชิ้น แต่ละสำนัก ล้วนแต่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ที่มีอยู่ เคยต้องเห็นหรือสัมผัสมามาก บางครั้งจำเป็นต้องถาม เพราะความรู้ต่างๆที่ถ่ายทอดกันมาจากรุ่นต่อรุ่น อาจขาดตอนหายไปบ้าง
    แหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้มถักจากผ้ายันต์ โดยการนำผ้ายันต์มาม้วนเป็นเส้นแล้วจุ่มหรือทาด้วยน้ำข้าว เพื่อให้ผ้ายันต์ที่ม้วนตัวเป็นเส้นอยู่ไม่ฟูขึ้นมา ทำให้แน่นขึ้นสะดวกในการถัก ก่อนถักจะมีการนำด้ายสายสินญ์มามัดทับผ้ายันต์ไว้ให้สวยงาม จึงเริ่มลงมือถักเป็นแหวนพิรอดขึ้นมา เสร็จแล้วนำไปลงรักน้ำเกลี้ยงอีกครั้ง เพื่อให้แหวนพิรอดมีความแข็งแรงขึ้น และเป็นการรักษาผิวของด้ายสายสินญ์และผ้ายันต์ไว้
    การพิจารณาแหวนพิรอดหลวงปู่ยิ้ม โดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นลักษณะการถัก สีสันของแหวน ตลอดจนรักน้ำเกลี้ยง จะแตกต่างไปจากแหวนของสำนักอื่นมาก โดยเฉพาะสีสันของแหวนจะออกไปทางน้ำตาลอมแดงเสียมากกว่าจะเป็นดำ ลักษณะของรักน้ำเกลี้ยงจะซึมเป็นเนื้อเดียวกันกับตัวแหวน ตามซอกอาจมีขุยให้สังเกตได้
    เชือกคาด หรือไส้หนุมาณ
    [​IMG]
    [​IMG]
    ท่านได้สร้างวัตถุมงคล ทั้งพระเครื่องและเครื่องราง ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับความนิยมจากผู้ที่เลื่อมใส วัตถุมงคลเหล่านี้ได้กระจัดกระจายอยู่กับบุคคลต่างๆ ทั้งในท้องที่และต่างถิ่น จนอาจเป็นการยากที่จะรวบรวมได้ทั้งหมด พูดถึงพระเครื่องของหลวงปู่ยิ้มที่โด่งดังมากๆเห็นจะได้แก่พระปิดตาเนื้อผงที่ทุกคนคงรู้จักกันดี และยังมีพระปิดตาที่ทำด้วยเนื้อตะกั่วอีก ส่วนเครื่องรางก็มี เสือแกะจากไม้รัก ลูกอม ตะกรุด ผ้ายันต์ และแหวนพิรอด

    หลวงปู่ยิ้มมรณภาพ เมื่ออายุ 66 ปี เมื่อพ.ศ.2453
     
  6. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    หลวงปู่ยิ้มวัดหนองบัว ท่านเริ่มสร้างปี พ.ศ 2439ส่วนผสมผงของท่านจะใช้ของธรรมชาติเป็นส่วนมาก มีพญากาฝากที่เป็นสิริมงคล108คดไม้มลคล108ไม้มงคลที่ตายพราย108ต้นว่านมงคล108ชนิด เกสร108ชนิด ไม้ไผ่ตัน คดข้าวสารดำ ข้าวสารหิน สมุดใบข่อย สมุดใบลานเก่าๆที่ขาดไม่ได้ใช้ผงธูปไหว้พระ ข้าวสุกก้นบาตรพระพุทธนำมาตากแห้ง ลูกมะพร้าวที่มีตาเดียวหรือกะลาตาเดียวเป็นมหาเสนห์ ลูกมะพร้าวที่ไม่มีตาหรือกะลาไม่มีตาเป็นมหาอุตม์ คดมะพร้าว กิ่งโพธิ์นิพพานคือกิ่งโพธิ์ที่หักลงมาเองทางทิศตะวันออก ไม้ไก่กุก คือเวลาที่ไก่เพศผู้เรียกหาไก่เพศเมียร้องกุกกุกไก่เพศเมียวิ่งมาให้ผสมพันธ์ด้วยกันนำไม้ที่ไก้เพศผู้จิกหรือคุ้ยเขี่ยอยู่ในบริเวณนั้นบดเป็นผง ปูนากระตุกเดือน5นำขุยปากรู กบจำศีลเดือน5ตาคารูกบนั้นมาเผาไฟป่นเป็นผง เขี้ยวงูจงอางตัวที่ฟักไข่จนตัวตายคาไข่ที่ฟัก ไม้คานคุก ๆม้คานประตูคุก ตัวชินณรงค์ที่สร้ารังอยู่ตามชายป่าลักษณะคล้ายจอมปลวกแต่จะต้องอยู่กลางแจ้งเท่านั้น ถ้าอยู่ตามโพรงไม้ใช้ไม่ได้และต้องให้ดวงอาทิตย์ส่องให้ตั้งจรงกับปากรูพอดีนำรังของตัวชินณรงค์นั้นมาทำเป็นผงไม้คานแม่หม้ายคือไม้คานที่ใช้หาบของขาย สากกะเบือแม่หม้ายที่มีสามีแล้วสามีตาย เป็นอาธรรพ์แก้คุณไสยต่างๆ ไม้คานและสากกะเบือของผู้หญิงที่ไม่มีสามีจนแก่เฒ่าตายต้องตายวันเสาร์ เผาวันอังคาร เขาควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตาย เขี้ยวเสือโปร่งเป็นมหาอำนาจเขี้ยวหมูตันเป็นคงกะพันมหาอุตม์ คดสมองวัวจะเป็นก้อนหินที่อยู่ในสมองวัวมีอนุภาพทางตบะเดชะ ผู้เจตนาร้ายไม่กล้าขยับปากด่าว่าให้ร้ายป้องกันเขี้ยวงาอยู่ยงคงกะพัน คดขนุนเป็นหินที่เกิดในพืชถือว่าเป็นของที่ศักดิ์สิทธิ์ขึ้นเองตามธรรมชาติ คดขนุนเกิดจากลูกขนุนที่มีลูกขึ้นอยู่ใต้ดินเมื่อผ่าดูจะพบคดขนุนอยู่สองถึงสามลูกชื่อกันว่าคดขนุนต้นนั้นมีเทพยดาอาศัยอยู่ มีอนุภาพค้ำชูดวงชะตา เมตตามหานิยม มหาอุตม์ งาช้างดำ (งาที่กลายเป็นหิน)มีอนุภาพครอบจักรวาล งากำจัด งากำจาย งาช้างน้ำ เขากวางคุดมีอนุภาพทางด้านแคล้วคลาด พณางูปากเป็ดลือเลื่องอนุภาพทางบันดาล โชคลาภ ตะไคร้โบสถ์ ตะไคร้เสมา108เสมา ตะไคร์เจดีย์ใหญ่108เจดีย์ กระเบื้องหลังคาโบสถ์ที่เลิกใช้แล้ว108โบสถ์ โบสถ์ดินศักดิ์สิทธิ์ตามที่ต่างๆดินจากสังเวชนียสถานทั้ง4ที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปบมเทศนาและปรินิพาน ท่านได้มาตอนที่ไปธุดงค์ที่อินเดีย แร่ธาตุต่างๆที่เป็นธาตุกายสิทธิ์มีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองตามธรรมชาติ อาทิเช่น เพชรหน้าทั่ง ดินสากกายายัก เหล็กสังฆวนร เหล็กน้ำพี้ รังเหล็กไหล ข้าวตอกพระร่วง แร่ธาตุต่างๆที่108สัตว์ที่มีรูปร่างแปลกๆซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติ เช่น จิ้งจกสองหาง จิ้งจกห้าหาง นำมาเผงไฟแล้วบดเป้นผง อัญมณี12สีมีความหมายเท่ากับ12ราศี ตะไคร้หลักเมืองทุกเมืองในสมัยนั้นน้ำฝนเดือนห้าตกรดหลังคาโบสถ์108โบสถ์ น้ำฝนกลางหาวคือน้ำฝนเดือนห้าที่ตกลงมากลางแจ้ง โดยนำดอ่งมารองน้ำฝนบริเวณกลางแจ้ง นำน้ำนั้นมาผสมตอนทำพระหลวงปู่ยิ้มท่านได้ลบผงพุทธคุร ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงตรีนิสิงเหและผงมหาราชท่านยังได้ผงมาจากหลวงปู่กลิ่นซึ่งท่านได้มาจากวัดระหังเป็นจำนวน1กะลามาผสมด้วย และได้พระผงเก่าที่แตกหักจากกรุต่างๆซึ่งหลวงปู่เนียน วัดน้อย จังหวัดสพรรรบุรี เป็นผู้เอามาให้ ที่จำได้มีผงสุพรรณ พระขุนแผน พระกรุวัดถ้ำเสือและพระผงหักอีกหลายกรุมาบดเป็นผงหลวงปู่ยิ้มท่านจึงให้ตะกั่วพระท่ากระดานหักและตะกั่วนมประมาณ100กิโลกรัมกลับไป หลวงปู่อยู่ซึ่งเป็นศิษย์เอกหลวงปู่จีน วัดท่าลาดภายหลังหลวงปู่จีนมรณภาพจึงได้มาศึกษาวิชากับหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว และอยู่ประจำวัดจนหลวงปู่ยิ้มมรณภาพ หลวงปุ่อยู่ท่านเป็นกำลังสำคัญในการทำพระผง หลวงปู่ยิ้มกับหลวงปู่อยู่เคยออกธุดงค์ด้วยกันผ่านประเทศพม่าธุดงค์ไปจนถึงประเทศอินเดียท่านได้ไปมนัสการต้นศรีมหาโพธิ์และท่านยังเก็บใบโพธิ์และดินบริเวณนั้นมาในสมัยนั้นยังเอามาง่าย หลวงปู่ยิ้มกับหลวงปู่อยู่ท่านยังได้ไปเรียนวิชาทำผงพุทธคุณอึดใต้บานพระบัวเข็มกับพระมอญที่เมืองมัณฑะเลหลวงปู่ยิ้มจึงได้ผงพุทธคุณนี้มาผสมในผงพระด้วย หลวงปู่ยิ้มได้รวบรวมผงสร้างพระปิดตามหาลาภถึง3ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ2439-พ.ศ2441
    หลวงปู่ยิ้มได้ปรารภกับหลวงปู่อยู่ ก๋งพ๋ง ปู่ชื่นและท่านหมื่นปรารภบุญไมยพ่อบ้านเหลี่ยม บุญน้อยในสมัยนั้น หลวงปู่ยิ้มได้ปรารภว่าได้รวบรวมของทำผงจนครบหมดแล้วขาดสิ่งเดียวถ้าไม่ได้สิ่งนี้ก็ทำพระปิดตามหาลาภไม่ได้เพราะยังไม่ครบสูตรถ้าจะทำมันพระสุดยอยของพระปิดตาหลวงปู่ยิ้มพูดว่าถ้ามีบุฯวาสนาคงสร้างพระปิดตาจนร่วงปีพ.ศ.2442เดือนมกราคมมีผึ้งหลวงใหญ่มาทำรังที่เกศพระประทานในโบสถ์วัดหนิงบัวทำรังไปจนถึงตาพระพุทธเป็นผึ้งหลวง หลวงปู่ยิ้มท่านดีใขมากพอขึ้นเดือนเมษายนวันที่1พ.ศ.2442หลวงปู่ท่านได้ ทำพิธีขอรังผึ้งตรงที่รังผึ้งใหญ่ที่ทำรังปิดตาอยู่ ท่านขูดรังผึ้งตรงที่ปิดตาจนเกลี้ยงพอถึงวันที่13เมษา2442หลวงปู่ยิ้มท่านได้ทำพิธีผสมของศักดิ์สิทธิ์ต่างๆที่ท่านได้รวบรวมเอาไว้ หลวงปู่ยิ้มได้ปลุกเสกจนถึงพ.ศ.2445ท่านได้นำออกมาแจกเป็นทานให้กับศิษย์และผุ้ที่มาทำบุญ หลวงปู่ยิ้มได้มอบพระปิดตาให้กับหลวงปู่ใจ วัดเสด็จไปแจกจำหน่ายเพื่อนำรายได้มาบำรุงวัดที่จะต้องบูรณะลูกศิษย์รูปไหนที่มาขอพระปิดตาไปแจกท่านก็มอบให้ วันที่หลวงพ่อคง วัดบางกระพร้อม จังหวัดสมุทรสงคราม เคยได้รับพระปิดตามหาลาภไปแจกวันที่ได้รับการแต่งตั้งเป็น พระอุปัชณาย์ ในสายลุมแม่น้ำแม่กลองจะมีพระปิดตามหาลาภของหลวงปู่ยิ้มมากพอสมควรทุกวันนี้พระปิดตาหลวงปู่ยิ้มหายากมาก
    ขอโทษนะทุกวันนี้เซียนพระดูของปลอมเป็นของจริงดูของจริงเป็นของปลอม
    นอกจากพระปิดตาแล้วหลวงปู่ท่านยังสร้างเครื่องรางของขลังอีกมากมาย อาทิเช่น เบี้ยแก้ มีดหมอ ตะกรุด หวายคาดเอว แหวนพิรอด และที่มีคนนิยมกันมากลูกอมทองหลวงปู่ยิ้ม ซึ่งเป็นที่เลื่องลือมาก ท่านพระยาประสิทธิ์สงคราม(นุช มหานีรานนท์) เจ้าเมืองกาญจนบุรีในสมัยนั้น ถ้าลงมาราชการที่กรุงเทพมหานครครั้งใด ทางกรุงเทพ จะต้องถามว่าท่านเจ้าคุณมีตะกรุดลูกอม วัดหนองบัวมาฝากบ้างหรือเปล่า จึงถือว่าเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ทางกรุงเทพ นับถือหลวงปู่ยิ้มจริงๆ
    จบประวัตการสร้างพระปิดตามหาลาภ หลวงปู่ยิ้มหรือเฒ่ายิ้มหรือองผง วัดหนองบัว
    บทความนี้ได้รวบจาก คุณก๋งพ๋ง บัวขม
    [​IMG]
    พระคาถาทำสงคราม เสกข้าวกิน อารธนาพระขึ้นคอ

    นะโมตัสสะภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธสสะ

    ท่องสามจบแล้วท่องคาถาต่อไปนี้

    พุทธังอารธนานัง ธัมมังอารธนานัง สังฆังอารธนานัง

    พุทธังประสิทธิเม ธัมมังประสิทธิเม สังฆังประสิทธิเม

    พุทธังมหาอำนาจ ธัมมังมหาอำนาจ สังฆังมหาอำนาจ

    พุทธังเมตตา ธัมมังเมตตา สังฆังเมตตา

    พุทธังแคล้วคลาด ธัมมังแคล้วคลาด สังฆังแคล้วคลาด

    พุทธังกัน ธัมมังป้อง สังฆังล้อม

    พุทธังกำแพงแก้ว ธัมมังกำแพงทอง สังฆังกำแพงเหล็ก

    บังตัวข้าพเจ้า ปิดทวารบานประตู นะมัดอัดอุด

    อุดอัดปัดปิด อุดทังอัดโท อุดนะโมพุทธายะ

    นะมะพะทะ จะภะกะสะ นะจังงังอะคัตชะติ

    นะอย่านะ อย่าทำนะ พระระหัง

    จะพุทโธนะโกหะกะ สิริติเตจิเจรุนิ พุทธะสังมิอิกะวิติ

    นะชาลีติ อิสวาสุ อะสังวิสุโลปุสะพุภะ นะมะอะอุอุด
     
  7. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ล็อกเกตพระแก้วมรกตอุดผงผสมของ
    ผงอิทธิเจหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว และผงอิทธิเจอุปัชฌาย์เฒ่ากลิ่น วัดหนองบัว อาจารย์ของหลวงปู่ยิ้ม หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก ฯลฯ ในผงของหลวงปู่ยิ้มเองท่านก็ได้ผงมาจาก หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงพ่อเนียม วัดน้อย สหธรรมิกของท่าน มาท่านละ 1 กะลา

    เคยนำไปตรวจสอบพุทธคุณ โดยไม่บอกว่าเป็นผงอะไร ปรากฎว่า คนจับถามว่านี่ผงของใคร ยังมีผู้ทำได้แบบนี้อีกหรือนี่ เมตตาแรงจริงๆ ผงแรงครูเลย

    จนต้องขอเลยครับ เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่เกียรติคุณหลวงปู่และอนุโมทนากับท่านที่มอบมวลสารมาให้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1302.jpg
      IMG_1302.jpg
      ขนาดไฟล์:
      99.5 KB
      เปิดดู:
      367
  8. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ผงผมไม่รู้จะบอกยังไง หลวงปู่เกลี้ยงยังอุทานต่อหน้าญาติโยม ถามเราว่า ผง(รวมที่ใช้อุดหลังล็อกเกต)นี้เอามาจากวัดไหน เขาทำมาดี ดีจริงๆ เรื่องนี้มีสมาชิกในเว็บของเราได้ยินกัน 2-3 คน เดี๋ยวค่อยเล่าตอนของหลวงปู่เกลี้ยงแล้วกัน
     
  9. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    อัพเดทล่าสุด 18/10/2553

    ล็อกเกตพระแก้วมรกต ผ่านการพุทธาภิเษกแล้วดังนี้
    พิธีพุทธาภิเษก-เทวาภิเษก-มังคลาภิเษก
    1. พิธีพุทธาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอินทาราม วันที่ 15 พ.ย. 2552
    2. พิธีพุทธาภิเษก พญาวานร วัดบางพลีน้อย วันที่ 29 พ.ย. 2552
    3. พิธีพุทธาภิเษกวัดบางแคน้อย จ.สมุทรสงคราม วันที่ 6 ธ.ค. 2552
    4. พิธีพุทธาภิเษก วัดบวรสถานมงคล(อดีตวัดพระแก้ววังหน้า) วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    5. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ทำบุญครบรอบมรณภาพหลวงปู่หลุย จันทสาโร วันที่ 19 ธ.ค. 2552
    6. พิธีมหาพุทธาเษก "โครงการสร้างพระในใจ เทิดไท้องค์ราชันย์" วัดโฆสมังคลาราม จ.นครพนม วันที่ 26-28 ธ.ค. 2552
    7. พิธีสวดสักขีและเจริญพระพุทธมนต์จากพระสุปฏิปันโนสายวัดป่ากรรมฐาน 92 รูป วัดธรรมมงคล วันที่ 10 มกราคม 2553 (ด้วยความกรุณาอย่างหาที่สุดไม่ได้ของท่านพระอาจารย์ไม อินทสิริ ถือนำเข้าพิธี)
    8. พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลจัดสร้างโดยโรงพยาบาลภูมิพล ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553
    9. พิธีสมโภชน์และพุทธาภิเษกหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ณ วัดแคราชานุวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2553
    10. พิธีพุทธาภิเษก ที่วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ในวิหารโยงสายสิญจน์จากหน้าพระสิกขี(แม่พระรอด) วันที่ 26 มีนาคม 2553
    11. พิธีพุทธาภิเษกล็อกเกตพระแก้วมรกตภูริทัตตเถรานุสรณ์ วัดป่าสันติสามัคคีธรรม จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 4 เมษายน 2553
    12. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ในงานประจำปีของชมรมรักษ์พระธาตุแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ วันที่ 15 พฤษภาคม 2553

    พิธีปลุกเสก/อธิษฐานจิตเดี่ยว
    เรียงตามวาระดังนี้
    1. หลวงพ่อยวง วัดหน้าต่างใน
    2. หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก
    3. หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว(3 วาระ)
    4. หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน
    5. หลวงปู่เก๋ วัดปากน้ำ
    6. หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม
    7. หลวงปู่คำบ่อ วัดใหม่บ้านตาล(2 วาระ)
    8. พระราชวรคุณ(สมศักดิ์) วัดบูรพาราม
    9. หลวงปู่แปลง วัดป่าอุดมสมพร
    10. หลวงปู่เณรคำ(พระวิรพล) ขันติโก
    11. หลวงปู่สุมโน วัดถ้ำสองตา(2 วาระ)
    12. หลวงปู่เนย สมจิตโต วัดโนนแสนคำ
    13. หลวงปู่ผ่าน ปัญญาทีโป
    14. พระอาจารย์เจริญ วัดโนนสว่าง
    15. ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน(2 วาระ)
    16. ครูบาจันทร์แก้ว คันธสีโล วัดศรีสว่าง (2 วาระ)
    17. ครูบาสาย วัดร้องขุด
    18. หลวงปู่ดี วัดเทพากร(2 วาระ)
    19. หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ สุสานทุ่งมน
    20. พ่อท่านหวาน วัดสะบ้าย้อย
    21. พระอาจารยไพบูลย์ สุมังคโร วัดอนาลโย
    22. หลวงปู่บุญมา วัดป่าสีห์พนม (4 วาระ)
    23. พระอาจารย์คูณ สุเมโธ วัดป่าภูทอง(5 วาระ)
    24. หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางจาก
    25. หลวงปู่โปร่ง วัดตำหนักเหนือ
    26. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต
    27. หลวงพ่ออ้อน วัดบางตะไนย์
    28. หลวงพ่อสินธุ์ วัดสะพานสูง
    29. หลวงตาวาสน์ วัดสะพานสูง
    30. หลวงปู่อุดม ญาณรโต วัดป่าสถิตธรรมวนาราม
    31. หลวงพ่อพระมหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ
    32. พระอาจารย์ประกอบบุญ วัดมหาวัน
    33. หลวงปู่นาม วัดน้อยชมภู่(2 วาระ)
    34. หลวงปู่น่วม วัดโพธิ์ศรีเจริญ
    35. หลวงพ่อมนตรี วัดป่าวิสุทธิธรรม จังหวัดตราด
    36. หลวงปู่เกลี้ยง วัดเนินสุทธาวาส(2 วาระ)
    37. หลวงตาแตงอ่อน วัดป่าโชคไพศาล(2 วาระ)
    38. หลวงปู่วิไล วัดถ้ำพญาช้างเผือก(4 วาระ)
    39. พระอาจารย์สมหมาย วัดสันติกมลาวาส
    40. หลวงปู่สรวง วัดศรีฐานใน
    41. พระอาจารย์ทองพูล สิริกาโม วัดภูกระแต
    42. หลวงปู่สำลี วัดถ้ำคูหาวารี(2 วาระ)
    43.พระอาจารย์อุทัย วัดถ้ำภูวัว
    44. หลวงพ่อปริ่ง วัดโพธิ์คอย
    45. พระอาจารย์ประสิทธิ์ วัดโฆสมังคลาราม
    46. ครูบาตั๋น ปัญโญ ที่พักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น จังหวัดเชียงใหม่
    47. ครูบาอินถา วัดอินทราพิบูลย์
    48. ครูบาบุญมา วัดศิริชัยนิมิตร
    49. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน
    50. ครูบาสิงห์แก้ว วัดปางกอง
    51. ครูบากฤษดา วัดสันพระเจ้าแดง
    52. หลวงปู่บุญมา ข้างวิหารพระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก
    53. พระอุดมญาณโมลี(จันทร์ศรี) วัดโพธิสมภรณ์
    54. พระอาจารย์สมบูรณ์ วัดป่าสมบูรณ์ธรรม
    55. หลวงปู่อ่ำ ธุดงคสถานสันติวรญาณ เพชรบูรณ์
    56. พระอาจารย์ไม อินทสิริ วัดหนองช้างคาว(2 วาระ)
    57. หลวงพ่อวิโรจน์ สำนักสงฆ์ดอยปุย
    58. หลวงปู่ประสาร สุมโน วัดป่าหนองไคร้
    59. หลวงปู่ลี ถาวโร วัดป่าหนองทับเรือ(3 วาระ)
    60. พระเทพเจติยาจารย์(วิริยังค์) วัดธรรมมงคล
    61. หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต
    62. หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดศาลาปูนวรวิหาร
    63. หลวงพ่อเอียด วัดไผ่ล้อม (ปลุกเสกขณะเกิดสุริยุปราคาเมื่อวันที่ 15 มกราคม)
    64. หลวงพ่อวงศ์ สุภาจาโร วัดคำพระองค์ หนองคาย
    65. หลวงปู่ทองอินทร์ วัดกลางคลองสี่
    66. หลวงปู่บุญ โสณโภ วัดทุ่งเหียง ชลบุรี
    67. พระครูวิจิตรธรรมารัตน์ วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี
    68. หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จังหวัดสิงห์บุรี
    69. หลวงพ่อฉาบ วัดศรีสาคร
    70. หลวงพ่อเอิบ วัดซุ้มกระต่าย (หนองหม้อแกง) จ.ชัยนาท
    71. หลวงพ่อพร้า วัดโคกดอกไม้
    72. หลวงพ่อแป๋ว วัดดาวเรือง
    73. หลวงปู่บุญหนา ธัมมทินโน วัดป่าโสตถิผล
    74. พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน จังหวัดนครศรีธรรมราช
    75. หลวงพ่อจำลอง วัดเจดีย์แดง
    76. พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จังหวัดปัตตานี
    77. หลวงปู่เยี่ยม(ศรีโรจน์) วัดประดู่ทรงธรรม<!-- google_ad_section_end --> จ.อยุธยา
    78. ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง ลำพูน
    79. ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย ลำพูน
    80. ครูบาอุ่น วัดโรงวัว เชียงใหม่
    81. ครูบาบุญทา วัดเจดีย์สามยอด จ.ลำพูน
    82. ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก จ.ลำพูน
    83. หลวงพ่อผาด วัดบ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
    84. หลวงพ่อพูลทรัพย์ วัดอ่างศิลา ชลบุรี
    85. หลวงปู่ใสย วัดเขาถ้ำตำบล ลพบุรี
    86. พระอาจารย์เจริญ วัดถ้ำปากเปียง เชียงใหม่
    87. พระอาจารย์อุทัย วัดภูย่าอู่ อุดรธานี
    88. หลวงพ่อบุญลือ วัดคำหยาด จ. อ่างทอง
    89. หลวงปู่ผาด วัดไร่้ จ.อ่างทอง
    90. หลวงพ่อเสียน วัดมะนาวหวาน จ.อ่างทอง
    91. หลวงปู่เปรี่ยม วัดบ้านคลองทรายเหนือ จ.สระแก้ว
    92. หลวงพ่อเณร วัดทุ่งเศรษฐี
    93. หลวงปู่ครูบาสิงห์โต วัดดอยแก้ว
    94. ครูบาเลิศ วัดทุ่งม่านใต้ ลำปาง
    95. ครูบาบุญมา วัดบ้านสา ลำปาง
    96. หลวงปู่ภัททันตะอาสภะมหาเถระอัครบัณฑิต วัดท่ามะโอ
    97. พระอาจารย์พรสิทธิ์ วัดสว่างอารมณ์
     
  10. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 11 สมเด็จรัศมีกรุคลองขอม

    [​IMG]

    ภาพประกอบ

    พระผงกรุคลองขอมที่ชำรุดที่บดผสมเป็นผงอุดหลังล็อกเกต
    เคยนำไปให้หลวงพ่อสายพระป่าองค์หนึ่งพิจารณาท่านว่า องค์เสกมีหน้ายาวๆ มีพลังด้านอยู่ยงคงกระพัน ขั้นดี

    [​IMG]
    วัดคลองขอม หมู่ 3 คลองขอม เขตสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อราวปีพุทธศักราช 2460 เจ้าอาวาสวัดคลองขอมในขณะนั้น คือหลวงพ่ออุ่ม ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งของหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
    เกี่ยวกับการสร้างพระ
    หลวงพ่ออุ่มมักไปมาหาสู่กับหลวงปู่ศุขเป็นประจำ หลวงปู่ศุข ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็มักได้รับนิมนต์ให้ไปปลุกเสกพระที่วัดต่างๆ เช่นวัดอนงคาราม ในกรณีนี้ก็เช่นกัน หลวงปู่ศุข ท่านก็ได้มาช่วยสร้างพระเพื่อหาทุนสร้างพระอุโบสถที่วัดคลองขอมแห่งนี้
    ส่วนหนึ่งของประวัติบรรยายถึงการปลุกเสกพระไว้ว่า ขณะที่นำเอาตำราใบลานเก่าที่ชำรุดมาเผา หลวงปู่ศุข และหลวงพ่ออุ่ม ก็ได้เดินจงกรมทำสมาธิไปรอบๆกองไฟด้วย เชื่อกันว่าผงใบลานนี้ให้ผลทางคงกระพันชาตรี
    เมื่อสร้างเสร็จ หลวงพ่ออุ่มและหลวงปู่ศุขได้ร่วมกันปลุกเสกเป็นเวลา 1 ไตรมาส (ก่อนเข้าพิธีใหญ่)*
    [​IMG]

    พิธีพุทธาภิเศกพระที่บรรจุในกรุคลองขอม จากที่ลองสอบถามประวัติจากชาวสามชุก เขาบอกว่า การปลุกเสกพระกรุคลองขอม ปีพ.ศ.2460 ในสมัยหลวงพ่ออุ่มเป็นเจ้าอาวาสนั้น เป็นการปลุกเสกหมู่ครั้งใหญ่ โดยมีหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า เป็นประธานในพิธี นอกจากนี้ยังมีพระเกจิอาจารย์จากเขตสุพรรณบุรี ชัยนาทและจากที่อื่นๆที่เก่งๆอีกหลายท่าน มาร่วมปลุกเสก แต่ที่รู้จักกันดีได้แก่ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว, หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา แม้กระทั่งหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโค ก็มาร่วมพิธีนี้ด้วย ฟังแล้วขนลุกเลยครับ..

    หลังจากนั้นก็แจกแก่บรรดาผู้มาร่วมการกุศล กล่าวกันว่า เมื่อโบสถ์สร้างเสร็จ พระผงยังคงเหลืออยู่จำนวนมาก ส่วนเนื้อทองเหลืองเหลือน้อย หลวงพ่ออุ่ม ได้บรรจุพระเข้าในเจดีย์ที่สร้างขึ้นหน้าโบสถ์ และใต้ฐานชุกชีพระประธานในโบสถ์ พร้อมกับบันทึกเหล็กจารในแผ่นเงิน ระบุความเป็นมาของพระชุดนี้บรรจุเข้าไปในพระเจดีย์ด้วย และที่เจดีย์นั้นได้มีการเขียนป้ายปิดไว้ว่าเป็นกรุพระของหลวงปู่ศุขอย่างชัดเจน


    แบบพิมพ์ของพระในกรุวัดคลองขอม สุพรรณบุรีนี้มีหลายแบบด้วยกัน

    1. เหรียญหล่อ เนื้อโลหะผสม แก่ทองเหลือง เป็นสมเด็จสี่เหลี่ยมทรงครุฑ มีหลายพิมพ์ เนื้อโลหะนี้รู้จักกันในวงกว้าง เพราะส่วนหนึ่งหลวงปู่ศุขท่านนำติดตัวไปแจกที่ชัยนาทด้วย

    2. พระเนื้อผงใบลาน เนื้อแห้งสนิท สีออกเทาดำ ทำเป็นพิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ ขนาดเท่าพระหลวงปู่ศุขทั่วๆไป หรือเท่ากับพระคะแนนของวัดต่างๆ พุทธลักษณะจะผอมเห็นองค์เป็นลายเส้น พระเศียรเป็นรูปข้าวหลามตัด หูเป็นแบบบายศรี มีเส้นรัศมีเล็กๆโดยรอบ ครอบด้วยซุ้มระฆัง และประทับบนฐาน 3 ชั้น มีด้วยกันหลายบล็อค เพราะสร้างพิมพ์นี้เป็นพิมพ์หลัก ที่เป็นพระปิดตาเนื้อดำลงรักทับ มีน้อยมาก

    3. พระเนื้อผงขาว มีหลายพิมพ์ด้วยกัน ได้แก่
    - พิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ มีหลายบล็อค
    - พิมพ์สมเด็จรัศมีแขนกลม (องค์พระต้อกว่า เศียรกลม และเส้นสายใหญ่ วงแขนเป็นรูปวงกลม)
    - พิมพ์ปิดตา มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก
    - พิมพ์พิเศษ หรือพิมพ์พระประธาน มีขนาดใหญ่เท่ากับสมเด็จพิมพ์ใหญ่ และที่ขนาดใหญ่มากเกือบคืบก็มีแต่พบน้อย มีด้วยกัน 3-4 พิมพ์ เนื้อหาเหมือนกับพระพิมพ์เนื้อขาวปกติทุกประการ บางองค์ปิดทองด้วย หาคนรู้จักได้น้อย ปัจจุบันหาชมยากมาก

    4. พระเนื้อผงสีชมพู เป็นเนื้อที่ผสมว่านสบู่เลือด ซึ่งมีสีแดง ว่านนี้มีผลทางอยู่ยงคงกระพัน เมื่อผสมกับผงพระพุทธคุณแล้วทำให้มีสีขาวเจือชมพู ที่พบทำเป็นพิมพ์สมเด็จรัศมีแขนสอบ ลักษณะเหมือนๆกันแต่ก็มีหลายบล็อค พิมพ์แขนกลมมีเป็นส่วนน้อยมาก

    การแตกกรุ
    ในคราวที่แตกกรุมาใหม่ๆ เมื่อประมาณปี 2520 ว่ากันว่ามีจำนวนมากมาย เซียนส่วนกลางได้เหมามาเป็นจำนวนมากเป็นค่อนกรุเลยทีเดียว แล้วนำมาเก็บเงียบไว้นาน จนประมาณสิบก่อนได้ลงในหนังสือมหาโพธิ์เป็นเจ้าแรก ให้ลูกค้าตัดบัตรไปแลกซื้อ และต่อมาก็มีข่าวว่ามีหนังสือเล่มอื่นทำด้วยเหมือนกัน
    เกี่ยวกับการแตกกรุ ได้ฟังจากเซียนผู้ใหญ่ที่ได้พระมาตั้งแต่ครั้งแตกกรุใหม่ๆเป็นจำนวนมาก
    ท่านว่ากรุที่อยู่ใต้พระประธานอุโบสถวัดคลองขอมแตกออกมาเนื่องจากหลังคารั่ว น้ำฝนได้ตกลงมาที่องค์พระเป็นเวลานาน ทำให้ฐานด้านหนึ่งขององค์พระผุและหักล้มลงพิงกำแพง ชาวบ้านต้องช่วยกันยกไว้วางข้างๆตำแหน่งเดิม
    จึงได้พบกรุที่บรรจุพระพิมพ์เป็นหลุมขนาดใหญ่ สภาพกรุมีสองชั้น พระที่อยู่ชั้นบนผิวพรรณสะอาด ชั้นล่างมีน้ำฝนไหลซึมผ่าน ขังแล้วแห้งไปๆ เมื่อได้นำพระขึ้นมา ปรากฎมีทั้งดินทรายจับเป็นจำนวนมาก ทางวัดได้นำมากองเรียงๆไว้เป็นก้อนใหญ่บ้าง เล็กบ้าง พระมีดินจับอยู่เต็ม และติดกันเป็นก้อน พอจะนับแยกองค์ ก็ต้องเอาน้ำหยอดแล้วเอาอะไรค่อยๆเซาะพระออกจากกันทีละน้อยๆ ซึ่งพวกพระกรุที่เก็บในชั้นล่างนี้จะเป็นพระที่หย่อนงาม
    อีกจุดหนึ่งคือกรุพระที่อยู่ภายในเจดีย์ ซึ่งได้ถูกคนร้ายแอบเจาะจนชำรุด ทางวัดจึงได้ปรึกษาคณะกรรมการทำการเปิดกรุ พบพระเครื่องเหล่านี้บรรจุอยู่มากมาย ประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง(กรุงเทพ สุพรรณและชัยนาท)ต่างก็พามาเช่าหากันหมดเกลี้ยงไปอย่างรวดเร็ว
    ฟังเรื่องเล่าแล้วก็อยากจะเห็นบรรยากาศการพบพระจริงๆมั่งเลยครับ..
    ปัจจุบันของแท้สวยแบบกริบๆ ออกจะหาชมยากแล้ว ตามตลาดที่ไปเดินดูด้วยตัวเอง โดยมากจะมีแต่สภาพหย่อนงามหรือแค่พอใช้ แต่ว่าพระราคาเบาๆอย่านึกว่าไม่มีทำเทียมนะครับ ผมเคยเห็นมาแล้ว (ที่พบเป็นสีดำ) แบบหนึ่งจะมีสีเข้มดำปี๋เนื้อสดใหม่ อีกแบบจะเป็นเนื้อสีน้ำตาลมีคราบดินจับ แต่ไม่มีจุดดำในเนื้อ และพิมพ์ผิดไม่ถูกต้อง (ให้สังเกตว่าทุกพิมพ์หูจะเป็นบายศรี >0<) เนื้อพระของแท้ สีดำจะออกเทาเข้ม และต้องแห้งเหมือนผงธูป มีจุดสีดำในเนื้อ เนื้อสีขาวจะต้องมีการหดตัวโค้งงอ มีรอยเหนอะจากการกดพิมพ์ บางองค์จะมีคราบน้ำมันตั้งอิ้ว สำคัญเนื้อต้องมีความแห้งเก่า คราบที่อยู่บนพระจะเป็นดินเหนียว(เลอะทีหลัง)หรือทรายคราบปลวกดินทราย อิฐแดง ก็แล้วแต่ที่บรรจุพระ
    สำหรับตอนนี้พระจำนวนมากๆยังจำพรรษาอยู่ในกรุในรังใหญ่เจ้าละมากๆ ทำให้ไม่เป็นที่แพร่หลายหรือรู้จักเท่าที่ควร ที่มีออกมาให้เห็นโดยมากเป็นของเก็บเก่าของชาวบ้าน แต่พระเนื้อผงมีจำนวนค่อนข้างมาก ราคาจึงยังไม่สูง อย่างไรถ้าคิดจะเก็บก็ควรเก็บช่วงนี้ละครับ พระชุดนี้แม้แต่ต่างชาติที่นับถือหลวงปู่ศุข อย่างชาวสิงค์โปร์ มาเมืองไทยทีก็จะกว้านซื้อไปทีนึงเยอะๆเหมือนกัน และถ้าพูดถึงในระดับวงการ ก็มีงานประกวดกันมานานแล้วนะครับ

    ค่านิยมปัจจุบันยังไม่สูงนักเมื่อเทียบกับคุณค่า แต่เชื่อว่าเมื่อผู้คนได้ทราบข้อมูลว่าหลวงปู่ศุขท่านได้ปลุกเศกไว้และเป็นพระเก่ามีเกือบร้อยปี (เพราะเนื้อพระท่านเก่าจริงๆครับ ไม่เชื่อลองหาองค์แท้ๆมาเทียบกันกับพระผงรุ่นใหม่อย่างพระวัดประสาทปี 06 จะพบว่าพระกรุคลองขอมนั้นมีความแห้งกว่ากันอย่างมาก) ถ้าได้ลองศึกษาดูจะพบความกระจ่างเมื่อนั้น และเมื่อมีผู้ที่รู้จริงสนใจสะสมกัน อีกหน่อยคนก็คงจะต้องหันมาเล่นมานิยมเก็บพระกรุนี้กันอย่างแน่นอนครับ


    [​IMG]
     
  11. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 12 ครูบาสิงห์แก้ว วัดปางกอง

    [​IMG]

    ประสบการณ์สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โด่งดังครับ

    ขออนุญาตมาเล่าต่อนะครับ หลวงปู่ท่านอายุประมาณ 98 ปี เป็นศิษย์ของหลวงปู่หล้า ตาทิพย์ ท่านออกเหรียญรุ่นแรกปี 2547 ลักษณะเด่นคือ มีวัวแดงครับ เป็นด้านค้าขาย ผมรู้จักหลวงปู่ครั้งแรกจากคุณจิตร สันกำแพง ผู้ร่วมสร้างพระกริ่งหลวงปู่รุ่นแรก ให้หนังสือเมืองพระ หน้าปกเป็นเหรียญท่านมาเล่มนึง ผมเลยถามทางว่าอยากเอาพระไปให้หลวงปู่เสก เพราะอ่านประสบการณ์เรื่องกับระเบิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้วสนใจ คุณจิตรบอกว่าให้ขับรถเลยบ่อน้ำพุร้อนไปเรื่อยๆ แหมคำว่าไปเรื่อยๆก็ไม่บอก เพราะไกลเอาการ น่าจะห่างจากเมืองเกิน 60 กิโล แถมทางยังขึ้นเขาเสียอีก ถ้าไม่มุมานะนี่มาไม่ได้จริงๆ
    มาถึงก็ขอหลวงปู่มนต์ให้ และขอท่านเมตตาเขียนแผ่นยันต์ครับ การปลุกเสกหลวงปู่ท่านใช้คาถา ควบคู่กับการอธิษฐานจิต แล้วก็ว่าพระนี้ดีแล้ว ขากลับเห็นป้ายวัดสันพระเจ้าแดง เลยแวะไปหาครูบากฤษดาซะหน่อย เพราะได้ยินกิตติศัพท์ท่านมานานแล้ว องค์นี้ใช้ได้ เพราะตอนปลุกเสกท่านหยิบถุงนึงออก ถุงนั้นเป็นผงอังคาร อัฐิ เกศาครูบาอาจารย์ล้วนๆ อาจจะว่าของมงคลเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องปลุกเสกแล้ว หลายคนอาจว่าถุงนั้นมองเห็นหรือเปล่า ถุงนั้นเป็นถุงขาวทึบโอกาสเห็นยากครับ แล้วครูบาท่านก็หลับตาเสกด้วย สมคำร่ำรือที่พี่ๆหลายคนในเว็บนับถือท่านจริงๆ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 ตุลาคม 2010
  12. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 13 ผงหัวเชื้อของวัดซับลำใย

    อาจารย์ตั้ว (พระสมุห์ภาสน์ มงฺคลสงฺโฆ) วัดซับลำไยสามัคคีธรรม ต.ซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี

    พระอาจารย์เกษมสุข วัดประดู่...เห็น อ.ตั้ว ครั้งแรกๆ ไม่ศรัทธาแม้แต่นิด จนวันหนึ่งได้รับนิมนต์ไปงานหล่อพระด้วยกัน เพียงไม่กี่นาทีที่เจ้าภาพนิมนต์พระในงานช่วยกันสงบจิตแผ่เมตตา อ.เกษมสุข ต้องเปิดตามาดูว่า ใครยกเอาตู้ "แอร์ (conditioner)" มาตั้งข้างๆ เย็นจนขนลุก...ก
    พระนั่งในเต็นท์โล่งๆ กลางวันแดดเปรี้ยงอย่างนั้น จะมีตู้แอร์ที่ไหน มองแล้วมองอีก ความเย็นนั้น ออกมาจากร่างของพระภิกษุ ที่สวมจีวรเก่ามากๆ นั่งอยู่ข้างกันนี่เอง อ.เกษมสุข โทรเรียกรายการพุทธประทีป ไปถ่ายทำเทปโทรทัศน์ที่วัดซับลำไยทันที

    อ.ตั้ว ท่านว่ากว่าจะทำจิตได้อย่างนั้นตั้งหลายปี นอกจากเมตตา เรื่องเหนียวท่านก็ดีไม่น้อย เคยถูกยิงด้วยลูกซองกลางหลังและตามด้วยขวานจามที่ไหล่ จะเอาให้ถึงตาย แต่ทั้งมีดทั้งปืน เกิดการทื่อ เจาะเนื้อหนังไม่เข้า เป็นรอยแผลจางๆ จวบจนท่านมรณภาพ
    ท่านเรียนวิชาจากหลวงพ่อกวย และหลวงพ่อสมภพ พุทธอุทยานธรรมโกศล ปทุมธานี เป็นหลัก ทั้งได้ตำราสมุดข่อยเล่มใหญ่ของหลวงพ่อกวยมารักษาไว้ ลายมือจารขอมท่านสวยมาก ไม่ใช่ยกยอ แต่ท่านหาคู่เปรียบได้ยาก สวยจริง ไม่ใช่ลิเก ผมพบท่านเดียวคือ อ.ทูล วัดบางพูดนอก ที่งามเทียมกัน แทบแยกลายมือไม่ออก คงเพราะท่านทั้งสองเป็นศิษย์ครูเดียวกัน
    ความรู้เรื่องอักขระเลขยันต์ เพียงเอ่ยชื่อยันต์ เอ่ยนามหลวงพ่อเจ้าของยันต์
    อ.ตั้ว ก็สามารถ บอกว่าหลวงพ่อท่านนั้นเรียนมาจากใคร บอกวิธีลงและคาถาที่ลงอันเป็นเคล็ดที่คนหวงวิชา ฟังแล้วสะดุ้งได้อยู่หลายครา ทึกทักเอาว่า อ.ตั้วรู้มาจากผม ใครไปบอกให้ฟังแน่ๆ โถ มีคนรู้คนเดียวในประเทศฤาไฉน แต่ผ่านไปเป็นสิบปี ยิ่งพิสูจน์ให้ผมแน่ใจว่าท่านไม่มั่วแต่ "รู้" จริงๆ ยิ่งเรื่องราวเกี่ยวกับเกจิยุคใกล้ปี 2500 ถ้าเขียนลงหนังสือจะสนุกขนาดไหนกันหนอ

    ตั้งแต่อาจารย์มรณภาพ วัดเงียบไปมาก จึงขอเชิญพี่น้องศิษย์หลวงพ่อกวย หลวงพ่อสมภพ ร่วมสนับสนุนการพัฒนาวัดซับลำไย ด้วยครับ
    ตอนนี้พระครูปลัดอาคม อาภากโร จากวัดราหุล สิงห์บุรี สหธรรมิกของอาจารย์ตั้ว รับช่วงพัฒนาวัดต่อ
    วัดยังต้องถมที่ดินอีกมากเพื่อป้องกันน้ำท่วม ชาวบ้านอยากได้เมรุเผาศพ พระครูปลัด ท่านก็รับสร้างให้ ทำให้ในเร็วๆนี้ต้องก่อสร้าง ศาลาเอนกประสงค์ แทนศาลาหลังเก่าไปด้วย เพราะไม่พอจัดงานพิธี นั่งได้ไม่กี่สิบคน ในอนาคตต้องถมที่สร้างโบสถ์ซึ่ง อ.ตั้ว วางศิลาฤกษ์ไว้แล้ว
    ผมไปพบท่านนึกว่าคนงานก่อสร้าง สวมเสื้อแขนยาว โพกผ้า สวมรองเท้าบู้ต ขุดดินอยู่หลังวัด สังเกตใกล้ขึ้นหน่อยจึงเห็นว่าเป็นสีจีวรทั้งหมด นุ่งสบง ไม่ใช่กางเกง รีบยกมือไหว้แทบไม่ทัน มีสักกี่แห่งครับที่เจ้าอาวาสลุยงานขนาดนี้

    ที่วัดยังมีวัตถุมงคล ตั้งแต่ปี 2520 กว่าๆ ตกค้างอยู่พอสมควร ส่วนใหญ่เป็นเนื้อผง ซึ่งมวลสารดีมาก อ.ตั้ว ตระเวนไปทั่วประเทศเพื่อขอมวลสาร จากเชียงราย ถึงปัตตานี หลวงพ่อที่มีวิชา แทบไม่มีองค์ไหนที่ อ.ตั้ว ไม่รู้จัก และไม่เข้าหา และใช้พระสมเด็จบางขุนพรหมจากกรุวัดใหม่อมตรสที่ชำรุดในกรุ หนึ่งพานใหญ่ ซึ่งพระพานนี้มีคนขอยืมถ่ายรูปไปอ้างเป็นมวลสารในพระของตนอยู่หลายวัด ผงเก่าหลวงพ่อกวย จำนวนมาก ผงวิเศษ 5 ประการของหลวงพ่อสมภพ ผสมกับมวลสารที่ไม่ได้บันทึกรวมแล้วนับพันรายการ 300 กว่าเกจิ ผมเองเก็บผงของวัดนี้ไว้เป็นของสำคัญที่ใช้ผสมทำพระอยู่เสมอ
    ทั้งพิมพ์แหวกม่าน ปรกโพธิ์ผสมเกศาครูบาอาจารย์ พิมพ์สังกัจจายน์ หนุมานผงลอยองค์กดด้วยมือ พระที่วัดตำผงเอง กดพิมพ์เอง ตะกรุดทุกดอกก็ทำในวัด ตอนที่ผมบวชก็ได้ช่วยทำพระและตระกรุด ทั้งอยู่เป็นพยานในพิธีพุทธาภิเษก ซึ่งหลวงปู่หมุน หลวงปู่ทิม หลวงพ่อเพี้ยน หลวงพ่อจอย หลวงพ่อผล ฯลฯ มาร่วมพิธี จัดพิธีไม่เคยทำเล็ก อย่างน้อยต้องปรกสี่ทิศ พระที่ตกค้างนี้ผ่านพิธีมาหลายครั้ง จนกระทั่ง อ.ตั้ว มรณภาพ ไปนับจำนวนเทียนชัยที่วัดดูก็ได้ รวมแล้วผู้เสกหลายสิบรูปครับ บางท่านเช่นหลวงปู่ทิม และหลวงปู่หมุน เสกหลายครั้ง
    เหรียญหลวงพ่อกวยกำลังทำน้ำมนต์ก็สวยโดนใจดีเหลือเกิน

    ยืมบทความของคุณพล เว็บศิษย์หลวงพ่อมุ่ยครับ

    หลังจากที่อาจารย์ตั๊วมรณภาพ มีแต่คนอยากได้ผงนี้ที่มีเป็นไหครับ ผมได้จากศิษย์ใกล้ชิดที่ไปร่วมสร้างวัดซัลลำไยมาเล็กน้อย เลยนำมาผสมสร้างพระรุ่นนี้ด้วย

    ผงนี้หลวงปู่หมุน หลวงปู่ละมัย เสกหลายครั้ง แค่นี้ก็สุดยอดแล้วครับ
    ผมเคยอธิษฐานอยากได้ผงนี้ จนแทบจะตัดใจนำลูกอมเทพรำลึกมาบด(ห่วงที่ราคา) จนในที่สุดเบื้องบนก็เมตตาให้จนได้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 14 หลวงปู่เทพโลกอุดร วัดป่าสักภักดีภูริทัต

    พระรุ่นนี้สร้างขึ้นเพื่อหาทุนก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ของวัดป่าสักภักดีภูริ เปิดให้จองปลายปี 2542 และพระเสร็จประมาณต้นปี 2543
    ปู่โทน หลำแพร

    ศิษย์ฆราวาสสายหลวงปู่โลกอุดรเป็นประธานฝ่ายฆราวาส (ปู่โทนเป็นคนนิมนต์หลวงปู่สี ฉันทสิริจากสุรินทร์มาอยู่ที่วัดเขาถ้ำ หลวงปู่หมุนเองก็เป็นศิษย์หลวงปู่สี)

    คุณภักดีภูริซึ่งเป็นลูกศิษย์หลวงปู่หมุนเป็นผู้ดำเนินการ

    สำหรับพระที่จัดสร้างขึ้นขนาดแขวนคอจะมี 2 พิมพ์เท่านั้นคือพิมพ์นั่งตอไม้ จำนวนสร้าง
    1,970 องค์ และพิมพ์ยืนสมาธิ 1,920 องค์
    (จริงๆแล้วมีพิมพ์ปิดตาวังหน้าอีก 108 องค์)
    มวลสารหลักของพระรุ่นนี้จะประกอบด้วยเหล็กน้ำพี้ แร่โครตเหล็กไหล ว่าน 108 ชนิด กาฝากมะยมและดินจากสังเวชนียสถาน
    พิธีกรรมนั้นอัศจรรย์มากครับ แต่จำพอได้ว่าหลวงปู่โลกอุดรท่านแสดงปาฏิหาริย์ร่วมในพิธีนั้นด้วย(มีอาจารย์นิรนามคนหนึ่งมาในพิธีโดยบังเอิญ ไม่สวมเสื้อ ผมยุ่งเหยิงขึ้นมาในปะรำพิธี กล่าวโองการตั้งธาตุ ถ่ายรูปไม่ติด )และพระที่มาทำพิธีก็ยอมรับว่าท่านมาจริง
    พระที่ร่วมพิธีเป็นพระอริยสงฆ์ 27 รูป แยกเป็น
    1. พระอริยะในสายวิปัสสนากรรมฐาน 9 องค์ได้แก่

    - หลวงปู่ศรี มหาวีโร
    - หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ
    - หลวงปู่บุญมี โชติปาโร
    - หลวงปู่กิ ธัมมุตโน
    - หลวงปู่หลวง กตปุญโญ
    - หลวงปู่โส กัสสโป
    - หลวงปู่จันทา ภาวโร
    - หลวงปู่จาม มหาปุญโญ
    - หลวงปู่ทุย ฉัทกาโม

    2. พระอริยเหนือโลกผู้ทรงอภิญญา
    - หลวงปู่สรวง กระท่อมกลางนา ศรีสะเกษ
    - หลวงปู่ครูบาเที่ยงธรรม
    - หลวงปู่พรหมา เขมจาโร
    - หลวงปู่หมุน
    - หลวงตาเณรคำ
    - หลวงปู่ทองทิพย์ รัตนโครต
    - หลวงปู่คำพันธ์ โฆษะปัญโญ
    - หลวงปู่เรือง อาภัสโร
    - หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง
    - หลวงปู่อ่อน วัดเนินมะเกลือ

    3. พระอริยะสายหลวงปู่ใหญ่และหลวงปู่สำเร็จลุน
    - หลวงปู่กอง จันทวังโส
    - หลวงปู่ลมัย ฐิตมโน
    - หลวงปู่อิง วัดโคกทม
    - หลวงปู่สวน ฉันทโร(ญาท่านสวน)
    - หลวงปู่จันหอม สุภัทโธ วัดบุ่งขี้เหล็ก
    - หลวงปู่เคน จารณธัมโม
    - หลวงปู่ขาว พุทธรักขิตโต
    -พระอาจารย์เกียน ฑีฆายกุโก
    - พระอาจารย์บุญชวน ธรรมโฆษะโก วัดป่าวังทิพย์

    และได้ทำพิธีอารธนาบารมีหลวงปู่ใหญ่ (พระมหากัสสปเถรเจ้า) หลวงปู่คำคะนึง จุลมณีและ อารธนาขอบารมีหลวงปู่เทพโลกอุดรแผ่พลังบารมีลงในวัตถุมงคลที่จัดสร้างนี้ด้วย

    ตัวหนังสือสีดำ คือ พระเถระที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก
    ตัวหนังสือสีน้ำเงิน คือพระรูปนั้นๆ ไม่ได้อธิษฐานจิตเลย(หลวงปู่กิมรณภาพก่อน)
    ตัวหนังสือสีแดง คือ พระเถระที่ไม่ได้มางานพุทธาภิเษก แต่คุณภักดีภูริได้นำไปเสกเดี่ยวให้ครบสมความตั้งใจ ทั้งก่อนและหลังพิธี

    นอกจากนี้ ยังมีพระเถระอื่นที่ไม่ได้มีรายชื่อในพิธีที่ได้อธิษฐานจิตเดี่ยวก่อนเข้าพุทธาภิเษกดังนี้

    1. ครูบาชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม
    2. ครูบาอินตา วัดห้วยไซ
    3. พระอาจารย์เปลี่ยน วัดป่าอรัญญวิเวก


    เฉพาะหลวงปู่ครูบาอิน และครูบาชัยวงศ์ คุณภักดีภูริเล่าความประทับใจว่า พระแค่บาตรเดียว ท่านเมตตาอธิษฐานให้ถึงครึ่งชั่วโมง
    .................................................

    นับเป็นอีกรุ่นที่มีการพุทธาภิเษกถูกต้องตามธรรมเนียมโบราณ หลวงปู่ขาว วัดป่านาคูน เป็นผู้ชี้แนะการจัดวางตามหลักธาตุในพิธี

    พิธีศักดิ์สิทธิ์ขนาดที่ว่า หลวงปู่หมุนสั่งให้เก็บของในพิธี รวมทั้งสายสิญจน์ไปจนหมดสิ้น
    ค่อนข้างน่าเก็บนะครับ ผมว่าพิธีรวยทันใจ กับเสาร์ห้าวัดป่าหนองหล่มได้สบายๆ

    ข้อมูลจาก หนังสือโลกทิพย์+ การสัมภาษณ์คุณภักดีภูริด้วยตนเองครับ


    ที่กล่าวถึงพระชุดนี้เพราะผมบังเอิญทำตกครับ เลยอัญเชิญท่านมาเป็นมวลสาร ดังรูป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC00118.JPG
      DSC00118.JPG
      ขนาดไฟล์:
      30.3 KB
      เปิดดู:
      314
  14. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 15 เทพเจ้าแห่งลุ่มแม่น้ำสี่แคว

    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width="14%"><TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top width="86%">อัตตะประวัติแห่งหลวงพ่อเดิม
    ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (พุทฺธสโร)
    วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์


    ต้นตระกูลของหลวงพ่อ ต้นตระกูลของหลวงพ่อเป็นชาวนา อยู่ในหมู่บ้านหนองโพ ต้นรากเดิม
    โยมบิดาของท่านได้ถือกำเนิดที่บ้านเนินมะกอก (อยู่เลยหมู่บ้านหนองโพ
    ไปประมาณสองสถานี) ต่อมาได้แต่งงานอยู่กินกับโยมมารดาของหลวงพ่อ
    เดิมซึ่งเป็นชาวบ้านหนองโพและย้ายมาประกอบการอาชีพอยู่ที่บ้านโพ
    โยมบิดาของท่าน ชื่อ เนียม ส่วนโยมมารดาชื่อ ภู่ ในระยะที่โยมบิดามารดา
    ของท่านประกอบอาชีพอยู่นั้นตรงกับสมัยหลวงตาชมเป็นเจ้าอาวาสวัด
    หนองโพ นามสกุลของหลวงพ่อคือ ภู่มณี
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=3 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width="99%">
    หลวงพ่อเดิมถือกำเนิด
    ในปี พ.ศ. ๒๔๐๓ วันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๒ ตรงกับวันที่๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๐๓ ฟ้าก็ได้ส่งให้หลวงพ่อมาจุติในโลกมนุษย์เพื่อยังความร่มเย็นเป็นสุขให้แก่พุทธศาสนิกชนคู่วัดหนองโพ และจังหวัดนครสวรรค์ เมื่อท่านถือกำเนิดมาเป็นลูกผู้ชายของตระกูล ย่อมเป็นที่ยินดีปรีดาของโยมบิดามารดา เป็นที่ยิ่ง จึงขนานนามท่านว่า "เดิม"
    สำหรับนามของท่านนี้มีนัยสันนิษฐานได้สองทางซึ่งจะยกมากล่าวได้คือ
    ก. ประการแรก ด้วยท่านเป็นบุตรชายคนหัวปีของโยมบิดามารดา สมใจที่ตั้งไว้จึงมีจิตนิยมยกย่องว่า เป็นประเดิม แต่ครั้นจะตั้งชื่อว่า "ประเดิม" ก็จะยาวไป จึงตั้งเสียว่า "เดิม" ซึ่งชาวบ้านเชื่อประการนี้มากที่สุด
    ข. ประการที่สอง มีเรื่องเล่ากันว่าท่านเคยเกิดมาแล้วครั้งหนึ่ง เป็นบุตรชายของโยมมารดาบิดาท่าน แต่หากเสียชีวิตเสียแต่เมื่อยังเด็ก โยมมารดาบิดาเสียใจมาก ก่อนจะนำไปฝังได้นำเอามีดมากรีดที่ฝ่าเท้า ไว้เป็นตำหนิเพื่อว่าถ้ากลับมาเกิดอีกจะได้จำได้ ซึ่งเมื่อเกิดมาก็มีรอยอย่างนี้จริงๆ สำหรับประการหลังนี้ ขัดข้อเท็จจริง เพราะบิดามารดานั้นรักบุตรและธิดามากแม้เมื่อมีชีวิตอยู่และตายแล้ว ดังนั้นการจะเอามีดคมๆ มากรีดมาเฉือนเท้าของลูกนั้นเป็นไปได้ยาก และคำเล่าลืออันนี้คงจะเป็นเพราะรอยเท้าของหลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ก็เป็นได้ เลยกลายเป็นเรื่องเล่าให้เขวไปอีกด้านหนึ่งก็อาจเป็นได้
    พี่น้องร่วมท้องของหลวงพ่อ หลวงพ่อมีพี่น้องร่วมท้องดังลำดับได้คือ
    ๑. นางทองคำ คงหาญ
    ๒. นางพู ทองหนุน
    ๓. นายดวน ภู่มณี
    ๔. นางพันธ์ จันทร์เจริญ
    ๕. นางเปรื่อง หมื่นนราเดชจั่น
    ชีวิตเมื่อเยาว์วัยของหลวงพ่อ
    เนื่องจากหลวงพ่อเดิมเกิดในตระกูลชาวนาน เมื่อเยาวัยท่านก็ได้รับการนำเข้าไปหาพระหาวัด โดยการศึกษาของชาวนาหนองโพในตอนนั้นมีศูนย์กลางคือวัดหนองโพ เมื่อพ่อแม่ต้องการให้ลูกของตัวมีความรู้ก็นำดอกไม้ธูปเทียนเข้าไปถวายเจ้าอาวาส น้อมถวายบุตรแห่งตนเข้าเรียนในสำนักโดยกล่าวคำปวารณาว่า "ขอฝากลูกของกระผม หรือดิฉัน ไว้ในปกครองดูแล จะดุด่าว่าตี สั่งสอนอย่างไร ก็แล้วแต่ขรัวเจ้าจะเห็นสมควร" ระยะที่จะนำบุตรมาฝากวัดก็อยู่ในฤดูแล้ง คือระหว่าง เดือน ๙ เดือน ๑๐ และเดือน ๑๑ เพราะว่าระยะนั้นว่างจากงานไร่นา เด็กจะได้ไม่เอาเวลาว่างไปเที่ยวเกะกะเกเรเข้าพวกพ้อง
    การศึกษาในสมัยนั้นจากบันทึกกล่าวไว้ว่า กระดานชะนวนหายาก พ่อแม่จึงหาไม้กระดานใสให้เรียบแล้วทำกรอบให้ถือถนัดมือ ลมไฟให้ดำ และเอาเขม่าดินหม้อทาให้ดำ และใช้ดินสอพองอย่างชนิดผสมคล้ายๆชอล์คในปัจจุบันเขียนลงไป เมื่อเวลาพระให้เขียนแล้วอ่าน เมื่อเขียนเต็มแล้วก็เอาน้ำลายลบเวลาลบถ้าสีดำที่ทาไว้ลอก ก็ต้องหาดินหม้อผสมกันแล้วทาทับตากให้แห้งจึงนำเอามาเขียนต่อ การเรียนเขียนอ่านมักจะทำเวลากลางวันเป็นส่วนใหญ่ โดยมีพระบ้าง ฆราวาสบ้าง ช่วยกันสอนให้เขียนอ่าน
    ตกเย็นถึงกลางคืนหลังจากกลับบ้านไปกินข้าวกินปลาแล้ว พระทำวัตรเย็นเสร็จก็พากันมาวัดต่อการเรียนกับพระที่วัด สิ่งที่สอนกลางคืนก็คือ การสวดมนต์บทต่างๆ อันเป็นพระพุทธมนต์ เช่น พระอิติปิโสถวายพรพระ และพระคาถาต่างๆ วิธีการเรียนก็คือเข้าไปหาพระตามกุฎิแล้วขอเรียน โดยท่านจะสอนให้วันละท่อนสองท่อนแล้วแต่สติปัญญาของเด็กแต่ละคน ใครหน่วนก้านดีก็ต่อมากหน่อย ใครท่าทางปัญญาทึบก็สอนน้อยหน่อย ท่องต่อหน้าท่านแล้วก็กลับบ้าน วันรุ่งขึ้นก็มาใหม่เมื่อได้เวลาก็มาหาท่านแล้วท่องตอนที่สอนให้ไปท่องให้คล่องไม่ผิดอักขระวิธีแล้ว ก็ต่อท่อนต่อไปให้ ถ้าท่องไม่ได้ก็ต้องท่องให้ได้ หรือไม่ก็ต้องกินไม้เรียวแทน เรียกว่าใครไม่เอาใจใส่ก็มีแนวโน้มไม้เรียวไปอวดพ่อแม่แน่ แต่สิ่งที่ดีก็คือจะได้รับการอบรมจากพระให้มีจิตใจสะอาด ไม่ข่มเหงใคร ให้รู้จักศีล รู้จักธรรม บางครั้งท่านก็เล่านิทานธรรมะให้ฟัง เช่น เรื่องในนิทานชาดกต่างๆ สนุกสนาน จนลืมนอนก็มี
    การสอนนั้นบางองค์ก็ใจดี เด็กๆ ชอบเรียน บางองค์ก็ดุเพราะวิชาอาคมแข็งเรียกว่าร้อนวิชาเด็กก็มักจะกลัว แต่พ่อแม่ชอบว่าพระดุดี กำหราบจอมแก่นแทนพ่อแม่ได้ และมักจะสอนดี มีคนมาฝากลูกหลานเข้าเรียนกันมากจนรับไม่ไหว
    การสอนหนังสือไทยสอนจนอ่านออกเขียนได้ตามความจำเป็นในการดำรงชีวิต จึงให้หัดหนังสือขอม(หนังสือใหญ่) คือหัดเขียน หัดอ่านหนังสือขอม อันเป็นภาษาที่จารึกพระเวทย์วิทยาดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ ท่องสูตร สนธิ การเรียกนาม เรียกสูตร มูลกัจจาย์เป็นช่วงๆ ไป พอถึงหน้าทำนาทำไร่ คือ เดือน ๖ เป็นต้นไป ก็เรียกลูกกลับจากวัด มาช่วยงานในไร่ในนา เพราะลูกชายเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทำงานตั้งแต่ตัวเล็กๆ เพราะพ่อแม่ก็ต้องทำมาหากินควบไปด้วย เรียกว่าช่วยกันทำช่วยกันกิน
    เป็นอยู่อย่างนี้ทำให้การศึกษาไม่ติดต่อเหมือนปัจจุบันนี้ เรียนบ้างหยุดบ้าง พอจะเรียนได้ก็ลืมเสียกลับมาเรียนใหม่ก็ต้องเริ่มใหม่เรียกว่ายากลำบากเหลือเกินในการหาความรู้ บางคนเรียนมาถึงอายุ ๑๕-๑๖ ปี พ่อแม่ก็ให้บวชเณรเป็นระยะเพื่อเรียนวิชา ที่บวชแล้วเรียนเรื่อยไปถึงบวชพระก็ม
    เมื่อได้บวชเป็นพระในวัดก็แบ่งออกเป็นสองแผนก คือ พระองค์ไหนบวชใหม่แล้วมีปัญญาดีชอบทางอักษรศาสตร์ ก็จะเล่าเรียนบาลี การแปรพระธรรมบท และอักขระเลขยันต์ คาถาอาคม ตลอดจนการปลุกเสก วิปัสสนากรรมฐาน พระเวทย์วิทยามนต์ การแพทย์แผนโบราณ เรียกว่าเรียนเพื่อเป็นพระอาจารย์เขา มีทั้งลบผง เสกผง และอุปเทห์ต่างๆ ตามคำภีร์โบราณ ซึ่งการเรียนอย่างนี้ส่งผลให้เกิดพระอาจารย์เจ้าที่มีอาคมขลังมามากต่อมาแล้ว ประเภทนี้โดยมากบวชแล้วไม่ยอมสึกตลอดชีวิต
    อีกแผนกหนึ่งบวชแล้วปัญญาไม่ดี หรือไม่ประสงค์จะเรียนทางวิชาอักษรศาสตร์ ก็เรียนทางการช่างต่างๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ช่างปั้น การช่างฝีมือสารพัด เรียกว่าเมื่อครบพรรษาแล้วสึกออกมาก็มีความรู้ติดตัวออกมาประกอบอาชีพได้สารพัด ประเภทหลังนี้มักจะบวชชั่วคราวเพียงพรรษาเดียว หรือสองพรรษา แล้วก็สึกไปทำมาหากิน
    ตามที่กล่าวมาแล้วนั้น คือ การให้ศึกษาของวัดหนองโพต่อบุตรหลานของบ้างหนองโพ แต่หลวงพ่อเดิมมิได้ไปศึกษาดังเช่นเขาอื่น เพราะเป็นบุตรคนหัวปีของพ่อแม่ จึงไม่ค่อยจะได้เข้าวัดเรียนหนังสืออาจจะเรียนบ้าง แต่เนื่องจากความลำบากในการเรียนที่กล่าวมาแล้ว หลวงพ่อเลยไม่ยอมเข้าเรียนก็เป็นได้
    ชีวิตในวัยรุ่นของหลวงพ่อเดิม
    เมื่อกล่าวถึงชีวิตในเยาวัยของหลวงพ่อแล้ว ก็จะขอว่าถึงชีวิตในวัยรุ่นของหลวงพ่อ ดังปรากฏในบันทึกว่า
    ก. ชอบเลี้ยงสัตว์ เมื่อท่านอยู่ในวัยรุ่นท่านชำนาญในเรื่องนกเขามาก เรียกว่าดูลักษณะและฟังเสียงได้คล่อง เข้าใจว่าเรียนมาจากนายพรานดักนกในหมู่บ้าน ท่านชอบดักนก และต่อนกเขามาก มีนกต่อเสียงดีหลายตัว ทำการต่อนกเขามาเลี้ยง มีบางครั้งท่านเห็นใครมีนกดีก็เอาของไปแลกกับเขา ถ้าชอบใจแล้วเป็นไม่บ่น รักสัตว์ทุกชนิดมาแต่รุ่นหนุ่ม จึงติดมาถึงเมื่อบวชแล้วก็รักสัตว์และเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งานก่ไปแลกนกเขา เรื่องรักสัตว์นี้ มีเรื่องเล่าอยู่ว่าครั้งหนึ่งโยมบิดาได้ซื้อตุ้มหูระย้าให้ข้างหนึ่งให้ใส่หู ท่านได้นำตุ้มหูไปแลกนกเขา ความรู้ไปถึงหูโยมบิดามารดา จึงถูกว่ากล่าวเอาบ้าง ท่านก็ลงทุนไปเหลาเพลาเกวียนขายเพื่อรวบรวมเงินมาคืนให้โยมบิดามารดาจบครบ ไม่ยอมเสียนกเขา
    ข. ลักษณะพิเศษประจำตัว (ผ้าขาวม้าโพกศรีษะ) ปกติหลวงพ่อเดิมเมื่อรุ่นหนุ่มจะไปไหน มักจะเอาผ้าขาวม้าโพกศรีษะอยู่เสมอ เรื่องนี้เล่าว่า โบราณเขาว่า คนผมหยิก หน้ากร้อ คอสั้น ฟันขาว มักจะไม่มีใครคบ แต่หลวงพ่อเองแม้จะมีผมบนศรีษะหยิก แต่ท่านกลับมีผิวขาว สูงโปร่ง หน้ายาว ศรีษะนูนอันผิดกับตำรา แต่เมื่อท่านมีผมหยิกท่านจึงเอาผ้าโพกเสียเพื่อไม่ให้ถูกล้อเลียน อาจจะเป็นปมด้อยของท่านท่านอาจจะคิดไปว่าคนคงจะไม่ชอบจึงตัดปัญหาเสียด้วยการปิดบังศรีษะ)
    ค. ไม่มีนิสัยติดโลกีย์ ในวัยหนุ่มสาวนั้นหนุ่มสาวในหมู่บ้านหนองโพมักจะไปร่วมงานต่างๆ เช่น ช่วยบ้านสาวปั่นด้าย ทอผ้า ช่วยทำนา ช่วยทำงานรอบกองไฟในเวลากลางคืน หมายตาสาวๆ ไว้เพื่อเป็นคู่หมั้นคู่หมายต่อๆ ไป เรียกว่า มีโอกาสก็เกี้ยวพาราศีกันตามทำนอง อยู่ในศีลธรรมอันดี ซึ่งสมัยโบราณเขารักษาประเพณีอันดีงามไว้ ผิดกับสมัยนี้มาก แต่ในจำนวนนั้นไม่มีหลวงพ่อเดิมอยู่ด้วย เพราะท่านไม่ชอบ คืออาจะเป็นกุศลประจำตัวของท่านที่จะได้บวชเรียนทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนา เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้วท่านอาจจะไม่ได้เป็นหลวงพ่อเดิมให้เราได้พึ่งบารมีก็ได้ ในระหว่างที่หนุ่มสาวเขานั่งคุยกัน ช่วยกันทำงานนั้น หลวงพ่อจะทำบ้างก็คือ มักจะแอบเข้าไปใกล้ๆ แล้วเอาก้อนดินบ้าง คันยิงกระสุนบ้าง หรือท่อนไม้บ้าง มาปาใส่กองไฟ เพื่อให้เขาตกใจเอะอะกันพอเขาวุ่นวายท่านก็ชอบใจแอบไปหัวเราะคนเดียวใครๆ เขาก็รู้ว่าเป็นฝีมือท่านเขาก็ให้อภัย เพราะรู้ว่าท่านชอบสนุกและไม่มีเจตนาจะทำให้ใครแตกกับใครหรือหันมารักท่าน
    ง. ไม่เคยศึกษามาก่อนเลยในวัยรุ่น เป็นการแน่นอนว่าเมื่อท่านยังอยู่ในวัยรุ่นนั้น ท่านมิได้เล่าเรียนมาก่อนเลย แต่หากเรียนทีหลังทั้งนั้น(เมื่อบวชแล้ว) ท่านศึกษาเอาจากประสพการณ์ทั้งทางด้านช่างด้านการเลี้ยงสัตว์ ด้านการทำของต่างๆที่จำเป็น เรียกว่าแม้จะไม่เรียนหนังสือแต่ก็หาประสพการณ์เอาไว้หลายด้าน
    สรุปแล้วหลวงพ่อเดิมท่านออกจะแปลกกว่าคนอื่น ในรุ่นเดียวกันคือไม่ติดในกิเลสความรักของหนุ่มสาว ในวัยอันสมควร ไม่ยินดียินร้าย จึงเป็นสาเหตุให้ท่านบวชได้นานจนตลอดชีวิต โดยมิได้เคยมีความรักหรือรู้จักความรักมาก่อนเลยในชีวิต เรียกว่าบริสุทธิ์ผุดผ่องมาก่อนจะเข้าอุปสมบท มีบุญเก่ามาเกื้อหนุนให้ท่านได้ดำเนินตามรอยพระพุทธบาทจวบจนสิ้นอายุขัยของท่าน
    สู่ความเป็นพระพุทธบุตร
    เมื่อท่านอายุครบบวชแล้ว โยมบิดามารดาได้สอบถามความสมัครใจของท่านในการจะอุปสมบทท่านไม่ขัดข้อง โยมบิดามารดาจึงจัดเตรียมอัฐบริขารการอุปสมบท นำไปอุปสมบทหลวงพ่อเข้าเป็นพระภิกษุในพระบวรพุทธศาสนา
    ท่านได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดเขาแก้ว อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เมื่อวันอาทิตย์ แรม ๑๓ ค่ำ เดื อน ๑๑ ปีมะโรง โทศก ตรงกับวันที่ ๓๑ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ โดยมี

    ๑. หลวงพ่อแก้ว วัดอินทราราม (วัดใน) เป็นอุปัชฌาย์
    ๒. หลวงพ่อเงิน(พระครูพยุหานุศาสก์)วัดพระปรางค์เหลือง ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอยุพหะคีรี (ครูสวด)
    ๓. หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี (คู่สวด) ได้รับฉายาทางพระพุทธศาสนาก็คือ "พุทธสโร"
    เมื่อุปสมบทแล้วได้เดินทางกลับมาจำพรรษาอยู่ ณ วัดหนองโพ เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามทางที่พระนวกะ จะพึ่งได้รับ
    ความยิ่งยงแห่งพระอุปัชฌาย์และคู่สวดของทาง
    ๑. หลวงพ่อแก้ว วัดอินทราราม (วัดใน) เป็นพระเถระที่มีความคงขลังเป็นที่เคารพนับถือ ของชาวจังหวัดนครสวรรค์ เชี่ยวชาญพระเวทย์วิทยาการ การวิปัสสนากรรมฐาน อิทธิปฏิหารย์มากมาย หลวงพ่อเดิมไปศึกษากับทางหลายอย่าง (โดยเฉพาะ นะ ปัดตลอด)
    ๒. หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง เป็นเจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรี เป็นผู้มีความยิ่งยงในพุทธาคมเป็นอันมากเป็นลูกศิษย์องค์หนึ่งของหลวงพ่อเฒ่า ( รอด) วัดหนองโพ เชี่ยวชาญทางด้านอาคม ทางวิปัสสนา มีวิชาที่ยอดเยี่ยมเป็นเอกคือ น้ำมนต์จินดามณีสารพัดนึก ใครได้รดน้ำมนต์จากท่านแล้วจะมีโชคชัย เคราะห์ร้ายหายดี ปราถนาทุกประการได้ดั้งประสงค์ เมื่อคราวล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ เสด็จประภาสหัวเมืองเหนือ ได้แวะที่วัดพระปรางค์เหลือง และโปรดให้รดน้ำมนต์ถวาย ดังมีพระราชหัตถ์จดหมายเหตุประภาสต้น เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๔๙
    ๓. หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เป็นพระเถระที่เป็นอมตะ อาคมขลัง วาจาสิทธิ์ เป็นที่ยำเกรงดีทางวิปัสสนา และน้ำมนต์ ตลอดจนมหาอุตม์ ไม่เคยออกของมงคลเป็นรูปท่านนอกจากพระเครื่องบ้างเป็นครั้ง ว่ากันว่าเมื่อท่านมรณะภาพไปแล้ว รูปหล่อก็ถ่ายรูปไม่ติด และมีการแห่รูปของท่านไปดูงิ้วในงานประจำปีนครสวรรค์เป็นประจำ มีเกร็ดว่า ทางกรรมการวัดทำเหรียญของท่านไปให้หลวงพ่อเดิมปลุกเศกเพื่อให้เกิดความขลัง เอาใส่ห่อผ้าขาววางไว้บนพานนำไปถวายท่านหลวงพ่อเดิมรับมาแล้วไม่ได้แก้ห่อออกยกขึ้นเหนือศรีษะของท่าน แล้วส่งคืนกำชับว่า " ของดีแล้วไม่ต้องปลุกเสก ดีอยู่ที่ตัว" ทั้งที่กรรมการวัดก็ได้บอกท่านเลยว่าเป็นของหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล กรรมการวัดไม่เชื่อเอากลับไปลองยิงปรากฏว่าปืนด้านหมด
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>รูปหล่อหลวงพ่อเดิม พิมพ์คอตึง </TD></TR></TBODY></TABLE>การศึกษาหาความรู้ของหลวงพ่อเดิม
    ดังได้กล่าวไว้แต่ต้นไว้แล้วว่าตั้งแต่วัยเด็กมาจนกระทั่งรุ่นหนุ่ม หลวงพ่อมิเคยได้รับการศึกษาเป็นชิ้นเป็นอันมาก่อนจนกระทั่งได้บวชเรียน และนำมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองโพ ท่านจึงมาเรียนเป็นล่ำเป็นสัน ท่าในมีความมานะพยายามเล่าเรียนศึกษาดังได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า
    ๑. เล่าเรียนคัมภีร์พระธรรมวินัย และท่องคัมภีร์พระธรรมวินัย ๑๐ ผูก อันเป็นหลักสำคัญของพระนวกะ ในสมัยนั้นจะต้องเรียน เป็นรากฐานการศึกษาต่อไปในการเป็นนักเทศนา แตกฉานในภาษาบาลีอันเป็นแกนไปสู่การกระทำวิปัสสนากรรมฐานต่อไป ท่านเล่าเรียนวิชาการนี้กับหลวงตาชม เจ้าอาวาสวัดหนองโพ ซึ่งเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อเฒ่ารอด หลวงตาชมชื่นชอบความมานะพยายามของหลวงพ่อเดิมมาก ได้ทุ่มเทพลังการอบรมวิชาความรู้ที่มีอยู่ให้หลวงพ่อเดิม อย่างหมดไส้หมดพุง และยังแนะนำสถานศึกษาที่จะเพิ่มเติมให้อีกด้วย รวมเวลาเรียน ๗ พรรษา นับแต่บวชพรรษาแรก
    ๒. เล่าเรียนพระปริยัติธรรม และคาถาอาคมเบื้องต้น นอกจากจะศึกษากับหลวงตาชมแล้วหลวงพ่อยังได้ไปมอบตัวเป็นศิษย์ของอาจารย์พันธ์ ชูพันธ์ ซึ่งเป็นฆราวาส เป็นลูกศิษย์สายตรงของหลวงพ่อเฒ่าดังกล่าวแล้วเบื้องต้นอาจารย์พันธ์ เชี่ยวชาญมากทางปริยัติในสมัยนั้นในละแวกใกล้เคียง หาตัวจับยาก เมื่อหลวงพ่อได้รับการศึกษาจากอาจารย์พันธ์(ฆราวาส) เป็นบันไดก้าวแรก และก็ทำให้หลวงพ่อเดิมแตกฉานยิ่งขึ้นแต่เป็นที่น่าเสียด้ายว่า เมื่อหลวงพ่อเดิมได้เล่าเรียนได้ไม่นานนัก อาจารย์พันธ์ก็ถึงแก่กรรมหลวงพ่อจึงคงเล่าเรียนกับหลวงตาชม จนในที่สุดก็ได้รับการแนะนำให้ไปเรียนกับ
    ๓. หลวงพ่อมี วัดบ้านบน ต.ม่วงหัก อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ท่านได้เล่าเรียนต่อทางพระปริยัติต่อกับหลวงพ่อมี ได้รับการถ่ายทอดจนก้าวหน้าแตกฉานออกไปอีกจนสิ้น ความรู้ของหลวงพ่อมีท่านก็ไม่ละความพยายาม ได้เสาะแสวงหาสำนักเรียนต่อ หลังจากเรียนกับอาจารย์มี ๒ พรรษา ได้ย้ายต่อไป
    ๔. อาจารย์แย้ม (ฆราวาส) วัดสระทะเล ได้เข้าเรียนพระปริยัติขั้นสูงต่อไปกับอาจารย์แย้ม (ฆราวาส) ซึ่งหลวงพ่อได้ตั้งอกตั้งใจเรียนจนเข้าใจแจ่มแจ้ง สามารถแปลเข้าสอบเปรียญในสนามหลวงได้ทีเดียว แต่ท่านกลับหลีกเลี่ยงการแปลธรรมในสนามหลวง ท่านได้เรียนเพื่อศึกษาหาความรู้เท่านั้นมิได้หวังเปรียญ หรือเป็นมหาแต่อย่างใด เมื่อเรียนพระปริยัติได้สมบูรณ์แล้ว ท่านรับการแนะนำให้ไปเรียนการเทศนา เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ท่านได้เรียนมาให้ญาติโยมสาธุชน พ่อแม่ พี่ป้า น้าอา ได้สดับท่านได้ไปศึกษาวิชาการเป็นนักเทศน์กับ
    ๕. พระอาจารย์นุ่ม วัดเขาทอง เมื่อได้รับมอบตัวเป็นศิษย์ของพระอาจารย์นุ่ม วัดเขาทองแล้วก็ได้รับการสั่งสอนถึงการเทศน์ การอ่านใบลานเทศน์และทำนองเทศน์อันเป็นอักขระภาษาบาลี เป็นหลักสำคัญเนื่องจากท่านมีรากฐานความมั่นคงอยู่แล้วทำให้ง่ายแก่การเรียน ท่านเล่าเรียนอย่างเอาใจใส่จนหมดความรู้ของหลวงพ่อนุ่ม ท่านจึงเดินทางกลับสู่วัดหนองโพตามเดิม
    ๖. หลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล เมื่อหลวงพ่อเรียนปริยัติแล้ว ได้ไปศึกษาหาความรู้ทางวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล อันเป็นพระคู่สวดของท่าน ได้รับการถ่ายทอดวิชาการทางวิปัสสนาคาถาอาคม การปลุกเสกเครื่องรางของขลัง ตามที่หลวงพ่อเทศ ถนัดทุกประการ จะเรียนอะไรบ้างนั้น หลวงพ่อมีได้บอกไว้ละเอียด คงรู้แต่เพียงว่าท่านเรียนกับหลวงพ่อเทศ วัดสระทะเล
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>สิงห์งาแกะ หลวงพ่อเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE>๗. หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลือง ทางวิปัสสนากรรมฐานและการเจริญกษิน และที่แน่นอนคือ " วิชาน้ำมนต์จินดามณีสารพันนึก" เพราะน้ำมนต์ของหลวงพ่อเดิมต่อมาก็คล้ายกับหลวงพ่อเงินวัดพระปรางค์เหลือง
    ๘. หลวงพ่อวัดเขาห่อ อ.ชนแดน บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ไม่ทราบชื่อหลวงพ่อแน่นอนแต่ท่านได้ศึกษาวิชาด้วย วิชาใดไม่ปรากฏ เพียงแต่ท่านพูดถึงอยู่เสมอ
    ๙. หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว ได้ยินมาจากบางที่ว่าท่านไปเรียนวิชามีดหมอกับหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว เพราะต่อมาท่านชำนาญในเรื่องมีดหมอและมีชื่อเสียงมาก พอท่านเรียนสำเร็จหลวงพ่อขำก็มรณะภาพขาดทายาทสืบต่อไประยะหนึ่ง ต่อมาหลวงพ่อกัน วัดเขาแก้วจึงตามมาเรียนกับหลวงพ่อเดิม และกลับไปทำมีดหมอที่วัดเขาแก้ว
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top bgColor=#000000>[​IMG]</TD><TD vAlign=top bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>มีดหมอหลวงพ่อเดิม </TD></TR></TBODY></TABLE>การเรียนวิชาของหลวงพ่อนับแต่ปริยัติ คาถาอาคม วิปัสสนา และการทำของขลัง สรุปรวมแล้วกินเวลาถึง ๑๒ ปี นับแต่บวชมาทำให้ท่านมีความรู้มากมาย เป็นที่เคารพรักของชาวหนองโพทุกคน ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่มักจะคิดกันว่า หลวงพ่อเฒ่ารอด กับชาติมาเกิดเพื่อดูแลวัดของท่าน

    ปฏิปทา วัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเดิม
    เมื่อได้กล่าวถึงการเล่าเรียนของท่านแล้ว จะได้กล่าวถึงองค์ท่านต่อไปอีก เพื่อท่านผู้อ่านจะได้เห็นภาพพจน์ของหลวงพ่อได้ถนัด
    หลวงพ่อเดิม ท่านเป็นพระที่รูปร่างสูงใหญ่ผิวค่อนข้างขาว ศรีษะของท่านยาวและเป็นสง่าไม่ว่าท่านจะนั่ง ยืน เดิน ดูแล้วน่าเลื่อมใส่ เจรจาพาทีมีแต่คำหวานหู ไม่แช่งด่าใคร เมตตา ปราณี แววตาของท่านฉายแววสันติ และเปี่ยมด้วยความกรุณา ต่อสัตว์ผู้ยากทุกตัวตน ลักษณะพิเศษของท่านคือ นั่งยืดตัว ลำตัวตรง ไม่ค้อมเอียงไปด้านใด หรือหลังค่อม ยิ้มแย้มแจ่มใส่เป็นนิจไม่เคยเห็นท่านหน้าบึ้งเลยแม้ว่าจะมีอารมณ์โกรธ ขอให้ดูภาพถ่ายของท่านประกอบ ต่อไปจะว่าถึงรายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่านต่อไป
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ก. มานะ อดทน พากเพียรเรื่องนี้จะเห็นได้จากการเล่าเรียนของท่านในพรรษาต้นๆ ท่านผู้อ่านได้อ่านเรื่องราวมาแล้ว ว่าหลวงพ่อเดิมไม่เคยเล่าเรียนมาก่อน ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ พึ่งจะเริ่มเรียนเอาเมื่อบวช คนที่ไม่มีรากฐานมาก่อนเลยตั้งแต่เด็ก แม้แต่เณรก็มิได้บวชเพื่อเล่าเรียนเสียก่อน ท่านจึงใช้ความวิริยะ อุตสาหะ พากเพียรมาก เมื่อเรียนพระคำภีร์กับหลวงตาชมและเรียนพระปริยัติกับอาจารย์พันธ์ (ฆราวาส) ท่านหมั่นท่องจำตามคำสอนของพระอาจารย์ หนักเอาเบาสู่ ไม่ให้เป็นที่อิดหนาละอาใจต่อผู้สั่งสอน สอนอะไรก็จดจำเอาไว้ คิดไปค้นไป ไม่เข้าใจถาม ถามแล้วก็ไม่ถามอีกพยายามจดจำ ซึ่งท่านเคยพูดให้ลูกหลานของท่านฟังว่า " ท่านมีนิสัยทำอะไรแล้วต้องทำให้สำเร็จ ไม่สำเร็จเป็นไม่ละ คิดอะไรไม่ได้ก็ต้องคิดไปจนคิดได้ เห็นอะไรไม่ได้เรื่องไม่ได้ความก็คิดค้นดัดแปลงแก้ไขไปจนกระทั่งสำเร็จเป็นรูปเป็นร่าง" ซึ่งความอดทนของหลวงพ่อทำให้หลวงพ่อได้รับความรู้ความชำนาญจากอาจารย์ผู้สอน ซึ่งถ้าท่านไม่ความอดทนแล้ว ท่านคงจะเลิกเรียนกลางคันเป็นแน่ หลักฐานพิสูจน์ความมานะพยายามของท่านคือ ระยะเวลา ๗ ปี แห่งความพากเพียรเรียนหนังสือของท่านแล้ว
    ข. เป็นพระธรรมกถึกเอก เมื่อท่านได้เล่าเรียนมา ๗ พรรษาแล้วชำนาญในพระธรรมวินัย จึงเริ่มเป็นนักเทศน์ ทั้งเทศน์เดี่ยวและปุจฉาวิสัชนา ฝีปากของท่านในการเทศน์ว่ากันว่าเป็นเยี่ยม ไปเทศน์ที่ใดญาติโยมมาฟังกันแน่น ทั้งเข้าใจง่ายทั้งสนุกไม่ชวนเบื่อ เนื่องจากหลวงพ่อมีพระอาจารย์ดี ไม่ว่าจะเป็นเทศน์มหาชาติ เทศน์ชาดก หรืออะไรก็ตาม ท่านได้รับนิมนต์ไม่ว่างเว้น พอกลับมาถึงวัดเจ้าภาพก็มาคอยอยู่แล้ว ถวายของเพื่อให้รับนิมนต์ เรียกว่าไม่ได้อยู่ติดวัด ใครๆ ก็อยากฟังหลวงพ่อเทศน์ หาพระธรรมกถึกมาเทียบหลวงพ่อยากในสมัยนั้น ท่านเทศนาสั่งสอนเขามากเข้าๆ ในที่สุดบารมีเก่าของท่านก็ส่งตามมาส่งเสริม
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>ปิดตาทวารทั้งเก้า หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ</TD></TR></TBODY></TABLE>ค. เทศน์สั่งสอนเขา สอนตัวเราบ้าง วันหนึ่งจะเป็นด้วยกุศลของท่านที่จะส่งให้ท่านเป็นพระอาจารย์ที่เป็นที่เคารพบูชา ของคนทั้งประเทศก็เป็นได้ บุญเก่าของท่านตามมา ท่านได้หยุดรับนิมนต์เทศน์เสียเฉยๆ ทำให้ญาติโยมที่มานิมนต์ท่านผิดหวัง แต่ท่านก็ได้จัดพระที่วัดหนองโพไปเทศน์แทนท่านทุกคราวไป เมื่อท่านเลิกเทศน์แล้ว มีลูกศิษย์ลูกหามาถามท่านว่าทำไมไม่เทศน์เหมือนเก่าเล่าขอรับ ท่านตอบเป็นปริศนาว่า "สอนคนอื่นให้เขาทำดีมามากมแล้ว ต้องหันมาสอนตัวเองเสียบ้าง" หลังจากนั้นท่านจึงได้เดินทางรอนแรมไปศึกษาวิชากับพระอาจารย์ที่เคยอุปสทบทท่าน เช่น หลวงพ่อเงิน วัดพระปรางค์เหลืองหลวงพ่อแก้ว วัดอินทราราม เป็นต้น ทางวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อสอนตัวเอง คือทำให้ท่านมีความลุ่มลึกในพระธรรมวินัย และญาณอันแก่กล้าตามแนวทางที่พระเถราจารย์เจ้าแต่โบราณาได้ใช้ให้เป็นประโยชน์สืบต่อมา เพราะถ้าท่านเป็นนักเทศน์อยู่แล้ว เราท่านอาจจะไม่ได้รู้จักหลวงพ่อเดิมเหมือนที่เราได้รู้จักท่านอยู่เดี่ยวนี้ก็เป็นได้
    ง. สันโดษ ไม่ลุ่มหลงในลาภยศ สรรเสริญ เมื่อท่านได้เป็นเจ้าอาวาสนั้นท่านก็เป็นไปตามธรรมดา ไม่มุ่งหวังในยศศักดิ์ ครองจีวรเก่าคร่ำคร่า ไม่ชอบครองจีวรใหม่ จะครองต่อเมื่อมีญาติโยมมาถวายเพื่อให้ญาติโยมเหล่านั้นได้ชื่นใจในกุศลที่ตั้งใจถวาย พอลับหลังแล้วท่านก็ถอดเก็บเอาไว้ เมื่อมีพระในวัดหรือวัดอื่นที่ขาดแคลนท่านก็ให้ต่อไป จีวรของท่านบางครั้งถึงกับประชุนก็มี ลาภสักการะของถวาย ของทานต่างๆ ที่เขาถวายมา ท่านก็ไม่แยแส ใครมาขอก็ให้ไป ของนั้นจะมีค่ามากหรือน้อยไม่สำคัญ ใครขอเป็นให้ อาทิ นาฬิกา ตะเกียงลาน ปั้นน้ำชา กระโถน ถ้วยชามลายครามของกินของใช้ต่างๆ หมอนปัก หมองอิง มาถึงวัดใครมาขอก็ให้ แต่มีกฏว่าขอแล้วต้องเอาไปเลย เพราะถ้าทิ้งไว้กับท่านแล้วมีคนมาขอต่อท่านก็ให้ไป เมื่อมีเจ้าของที่ขอท่านแล้วกลับมา ของท่านก็บอกว่าให้คนอื่นไปแล้วก็นึกว่าจะไม่เอา เมื่อท่านแจกไม่มีใครจะทัดท่านเพราะเกรงใจ
    จากคำบอกเล่าของท่านพระครูนิพันธ์ธรรมคุต เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันกรุณาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า ตอนนั้นหลวงพ่อเดิมท่านแจกของเขาไปจนเกือบจะหมดอยู่แล้ว ท่านจึงได้ขอเอาไว้บ้างไม่ใช้เพื่อท่านเอง แต่เพื่อจะเหลือของไว้เป็นอนุสรณ์ของหลวงพ่อบ้าง เป็นตู้ไม้สักแกลายแบบเก่าหนึ่งตู้ภายในบรรจุของที่มีผู้ถวายเขียนไว้ที่ตู้ว่า ต้นทานของท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ อยู่ที่กุฏิของท่านเดี๋ยวนี้ ถ้าท่านไม่ขอคงจะไม่มีอะไรเหลือแล้ว
    อีกอย่างหนึ่งที่ท่านพระครูนิพันธ์ธรรมคุต ได้เล่าให้ผู้เขียนฟังเพิ่มเติมก็มี ว่ามีคุณหลวงทางกรุงเทพ ถวายโต๊ะหมู่ไม้ชิงชันประดับมุกไฟอย่างดีหนึ่งชุด พร้อมนาฬิกาปารีสประดับมุกเหมือนกัน หลวงพ่อรับถวายไว้ยังไม่มีใครมาขอ วันหนึ่งท่านพระครูจึงคลานเข้าไปกราบหลวงพ่อแล้วเอ่ยปากว่า "หลวงพ่อขอรับ ผมขอโต๊ะหมู่และนาฬิกาเป็นสมบัติของวัดหนองโพ" หลวงพ่อเดิมท่านถอยหายใจมีสีหน้าแช่มชื่นกล่าวตอบ "อ้ายพ่อคุณเอ๋ย อยากให้ขอมานานแล้ว" ถ้าช้าไปวัดอื่นที่เขายากจนมาขอก่อนก็จะให้เขาไปของที่กล่าวมานี้ปัจจุบันไปดูได้ที่วัดหนองโพ ให้เห็นเท็จและจริง
    แม้แต่เงินทองที่เขามาถวายท่านหรือมาเช่าวัตถุมงคลท่านก็ไม่ใส่ใจ ท่านมีหน้าที่อย่างเดียว คือแจกและปลุกเสก เงินทองที่เขาถวายก็เอาใส่ตู้ไว้ ท่านไม่หยิบไม่ต้อง ไม่เกี่ยว กรรมการวัดจัดการเอาเองท่านพระครูเจ้าอาวาสกล่าวว่า วันหนึ่งๆ มีรายได้เข้าในตู้ประมาณไม่ต่ำกว่าหมื่นกว่าบาททุกวัน เมื่อท่านจะต้องการเงินไปช่วยเหลือวัดอื่นๆ สร้างถาวรวัตถุท่านจะขอจากกรรมการวัดไปมอบให้วัดนั้นๆ หรือไม่ท่านก็ไปเป็นประธานแล้วทำวัตถุมงคลออกเช่าจำหน่ายจ่ายแจก ที่วัดนั้นๆ เอาเงินมาสร้างถาวรวัตถุต่างๆ นายธนิต อยู่โพธิ์ กล่าวไว้อย่างเหมาะสมที่สุดว่า "เงินทองกระทบเพียงแต่นัยน์ตาของหลวงพ่อเท่านั้นมิได้กระเทือนเข้าไปถึงข้างใน (จิตวางเฉยไม่ยินดี)"
    จ. ยศศักดิ์ไม่ยินดีเรื่องนี้หลวงพ่อมีความสมถะแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว เมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ยังคงเหมือนก่อนที่เคยเป็นมา แม้แต่เมื่อทางราชการได้เห็นคุณงามความดีของท่าน ได้ช่วยกิจการพระพุทธศาสนา มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ท่านมีสมณศักดิ์เป็นที่ "พระครูนิวาสธรรมขันธ์" เจ้าอาวาสวัดหนองโพและ เจ้าคณะอำเภอหยุหคีรี แทนที่พระครูพยุหานุศาสก์(สิทธิ์) ซึ่งมรณภาพลง ท่านก็วางเฉย ลูกศิษย์ลูกหาต้องเป็นธุระไปรับพัดยศ และแห่แหนไปให้ท่านถึงวัด ซึ่งท่านก็วางเฉยไม่ยินดียินร้าย เมื่อได้มาก็เอาไว้เป็นที่ชื่มชมของบรรดาศิษย์ทั้งหลาย ส่วนหลวงพ่อคงยินดีแต่จะให้เรียกท่านว่า "ท่านอธิการเดิม" "หลวงพ่อเดิม" หรืออย่างมากที่สุดก็แค่ พระครูเดิม เท่านั้น ท่านถือว่าสมณศักดิ์เป็นของทางโลกกีดขวางทางสงบ "พระครูนิวาสธรรมขันธ์" นั้นคือพัดยศ แต่ท่านก็คือหลวงพ่อเดิม แม้แต่ในเหรียญรุ่นแรกที่ท่านอนุญาตให้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ก็ระบุเพียง "หลวงพ่อพระครูเดิม วัดหนองโพ" ดังนั้นพวกเราทุกคนจึงรู้จักท่านในนามของ "หลวงพ่อเดิม" มากกว่ายศของท่าน คือท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์
    จ. มีความเป็นอยู่เรียบง่ายไม่ชอบความสบาย จำเดิมแต่ท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองโพต่อจากหลวงตาชม ท่านไม่ชอบอยู่กุฏิ ท่านชอบอยู่ที่ศาลาเล็กของท่านโปร่งทั้งสี่ด้านมีเพียงเสื่อลำแพนกั้นกันลมกันฝนเท่านั้น สมบัติมีค่าของท่านไม่มี เพราะมีแจกให้เขาหมด มีคนศรัทธาปลูกกุฏิให้ท่านก็ไม่อยู่ท่านบ่ายเบี่ยง เมื่อสร้างศาลาการเปรียญก็มาอยูศาลาการเปรียญ ในที่สุดท่านก็กลับไปศาลาเล็กของท่านอีกไม่อยู่กุฏิ จนในที่สุดพรรษาหลังๆ ที่ท่านชราภาพมากแล้ว ลูกศิษย์ขอร้องงรบเร้าท่านจึงใจอ่อน ด้วยลูกศิษย์ใช้วิธีขออนุญาติรื้อศาลาเล็กของท่านไปเป็นศาลาข้างเมรุเผาศพเสีย เพื่อให้ประโยชน์แก่บรรดาญาติผู้ตายในการทำฌาปนกิจ แล้วช่วยกันนิมนต์ท่านไปอยู่กุฏิที่ปลูกให้จนมรณะภาพ อันที่จริงท่านบอกว่าท่านไม่ค่อยได้อยู่วัดเพราะต้องไปช่วยเขาก่อสร้างมากกว่า และอีกประการหนึ่งท่านพอใจในความเป็นอยู่ง่ายๆ ดังพุทธพจน์ที่ว่า "บุตรตถาคถต้องเป็นคนเลี้ยงง่าย"
    ช. พุทโธวาทเตือนตนจนชั่วชีวิต เรื่องนี้ยืนยันได้หลายคนที่ได้มีโอกาสใกล้ชิดปรนนิบัติหลวงพ่อเดิม จะเห็นว่าตอนเช้าเวลาประมาณตีสี่ตีห้า อันเป็นเวลาสงบงัดเงียบ ท่านจะตื่นขึ้นมาทำวิปัสสนา และก่อนนั้นท่านจะอ่านหนังสือใบลานสั้นๆ อยู่เล่มหนึ่ง ที่ว่าเป็นเล่มนั้นมิใช้เล่มหนังสือปัจจุบัน แต่หากว่าเป็นการเอาใบลานมาตัดแล้วจารย์อักษรลงไป ท่านอ่านอยู่อย่างนั้นตั้งแต่หนุ่มๆ จนกระทั่งถึงพรรษาสุดท้าย นายธนิต อยู่โพธิ์ ได้สอบถามจากคนรุ่นก่อนตัวเขาเอง หลังจากที่ได้ไปเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อนอนอยู่ปลายเท้าหลวงพ่อ และตื่นมาเห็นหลวงพ่ออ่านหนังสือใบลานสั้นๆ อยู่ก็ได้ความตรงกันว่า ไม่ว่าหลวงพ่อจะอยู่วัดหรือเข้าป่าไปตัดไม้ ไปธุดงค์ หรือไปกิจนิมนต์ที่ใดก็ตาม ท่านจะติดหนังสือนี้ไปตลอดเวลาคู่ชีวิตท่าน แต่ไม่มีใครกล้าขอท่านดูเพราะเกรงใจ จนกระทั่งหลวงพ่อมรณภาพแล้วรดน้ำศพของท่าน นายธนิต อยู่โพธิ์ได้ขึ้นไปค้นดู พบหนังสือนี้เข้าจึงนำมาเปิดดูโดยขอขมาลาโทษดวงวิญญาณของท่าน จึงได้ความจริงว่าหนังสือที่หลวงพ่ออ่านทุกเมื่อเชื่อวัน จนตลอดชีวิตนั้นคือ คัมภีร์ปริศนาธรรมสำนวนเก่าทั้งปุจฉาและวิสัชนาเกี่ยวกับคำสอนอันลุ่มลึกขององค์พระชินสีห์มีอยู่ ๖๒ ลาน (จารย์ลงในใบลานสั้น ๖๒ ใบ) คือ มูลกันมัฏฐานและวัปัสนา อีกคัมภีร์หนึ่งคือพะรอธิธรรมภายใน มีอยู่ ๑๖ ลาน จึงแจ่มแจ้งว่าหลวงพ่อท่านสอนตัวท่านเองด้วยพุทโธวาท จนตลอดชีวิตสมดังที่ท่านกล่าวกับศิษย์ก่อนจะเลิกเป็นพระธรรมกถึกเอกว่า "สอนคนอื่นมากมาย ต้องสอนตัวเองเสียทีหนึ่ง และมิใช่ว่าสอนเพียงวันสองวันแต่หากตลอดชีวิตของท่านเลยทีเดียว"
    เมื่อสรุปความจากปฏิปทาของหลวงพ่อเดิมที่กล่าวมาทำให้เห็นว่า หลวงพ่อเป็นผู้มีความเพียรเป็นเลิศ บำเพ็ญเพียรจนหน่ายกิเลศ ไม่ติดในลาภสักการะ โลกธรรมแปด เป็นผู้สำรวมระวังในศีลาจารวัตรจนตลอดชีวิต เป็นผู้บำเพ็ญประโยชน์โดยแท้จริง เป็นผู้ให้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ไม่เป็นผู้ที่ชอบรับ ถึงรับมาให้ต่อเขาไปหมด เงินทองท่านไม่ยินดี ลาภยศสรรเสริญไม่อยู่ติด ความเป็นอยู่เรียบง่าย เมตตาเพื่อนมนุษย์ผู้ตกยาก จึงทำให้พระกิตติคุณของท่านขจรขจายมาถึงปัจจุบันนี้
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>เหรียญรูปเสมา รุ่นแรก</TD></TR></TBODY></TABLE>หลวงพ่อรับสมณศักดิ์
    เนื่องจากคุณงามความดีของหลวงพ่อเดิมเป็นที่เลื่องลือมาก ทางการจึงกราบบังคมทูลขอพระราชทานสมณศักดิ์เป็นที่ "พระครูนิวาสธรรมขันธ์" เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ เนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการนี้ท่านมิได้ไปรับพัดยศเอง คงให้ลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถือ เช่นนายอำเภอ และกรรมการวัดไปรับมา เมื่อมาถึงสถานีรถไฟมีการแห่แหนสัญญาบัตรพัดยศ ด้วยขบวนช้างม้า ตลอดจนพ่อค้าประชาชน และลูกศิษย์ลูกหาที่พากันชื่นชมยิรดี หลวงพ่อท่านรับพัดเก็บไว้ในที่อันสมควรแล้ว จึงให้ศิษย์ทั้งหลายรดน้ำท่านเป็นการแสดงมุทิตาจิต และแจกของที่ระลึกให้ทั่วกัน และย้ำให้ลูกศิษบ์ลูกหาทราบทั่วกันว่า ท่านยินดีที่ได้มาแสดงมุทิตาจิตกัน แต่สำหรับท่านแล้วคือ พระครูเดิม หรือหลวงพ่อเดิม หรือหลวงปู่เดิม ของลูกศิษย์เหมือนเดิมที่เคยมา พระครูนิวาสธรรมขันธ์ นั้นคือ สัญญาบัตรพัดยศเท่านั้น และหลวงพ่อเองก็ดำเนินชีวิตตามธรรมดาของท่านไป โดยมิได้ใยดีในลาภยศแต่ประการใด
    ต่อมาท่านพระครูพยุหานุศาสก์ (สิทธิ์) เจ้าคณะอำเภอพยุหะคีรีมรณภาพลง ตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอว่างลง ทางการได้ประชุมเจ้าคณะสงฆ์ประจำจังหวัดเพื่อเสาะหาพระครูสัญญาบัตรที่เหมาะสมเข้าดำรงตำแหน่งแทน มติของที่ประชุมเป็นเอกฉันท์ให้ ท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ เจ้าอาวาสวัดหนองโพผู้เชี่ยวชาญในพระเวทย์และมีพระกิตติคุณเป็นที่เลื่อมใส ของบรรดาผู้คนทั้งในและนอกจังหวัดเป็นเจ้าคณะอำเภอพยุหคีรีต่อไป เมื่อท่านดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอแล้วก็ได้สร้างความเจริญเป็นเอนกประการ
    ท่านได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอมาไม่นานนัก พระอุปัชฌาย์ในเขตพยุหะคีรีไม่เพียงพอกับจำนวนกุลบุตรที่จะอุปสมบท และหลวงพ่อเดิมมีอายุพรรษาและความเคารพนับถืออย่างกว้างขวาง ทำให้ทางคณะสงฆ์มอบตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ให้กับหลวงพ่อ เพื่อทำการอุปสมบทกุลบุตร นับแต่ท่านได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านก็ได้รับนิมนต์ไปนั่งอุปัชฌาย์ไม่เว้นว่าง ทำให้หลวงพ่อเหน็ดเหนื่อยเป็นอันมาก และให้การอุปสมบทตั้งแต่พ่อมาจนถึงลูกก็มี ด้วยท่านอายุพรรษากาลมาก มาได้รับการยกเป็นกิติศักดิ์เมื่อมีอายุได้ ๙๐ ปี เพราะท่านชราภาพ
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>ปิดตาหลวงพ่อเดิม 2หน้า เนื้อโลหะผสม</TD></TR></TBODY></TABLE>ล่วงรู้วาระสุดท้าย
    ทุกคนก็พยายามประคับประคองหลวงพ่อเพื่อให้หลวงพ่ออยู่เป็นมิ่งขวัญให้นานที่สุดถึง ๑๐๐ ปีได้ยิ่งดีใหญ่ แต่หลวงพ่อก็ยังแข็งแรงดีไม่มีวี่แววจะเจ็บป่วยแต่อย่างใด ทุกคนก็ไม่มีใครคาดคิดว่าหลวงพ่อจะจากไปในเวลาอันใกล้นี้
    ต้นปี พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อมีอายุได้ ๙๒ ปี พอดี วันหนึ่งหลวงพ่อได้เรียกกรรมการวัดตลอดจนถึงญาติโยมที่ใกล้ชิด ของท่านมาประชุมพร้อมกัน เมื่อทุกคนมาพร้อมหน้ากันแล้วหลวงพ่อได้กล่าวขึ้นในที่ประชุมปรารภถึงมรณสัญญาณท่าน ซึ่งทำให้ทุกคนตะลึง แต่ก็ไม่มีใครเชื่อว่าหลวงพ่อจะมรณภาพเร็วถึงปานฉะนี้ หลวงพ่อมีคำขอร้องต่อผู้ที่มาร่วมประชุมว่า
    ๑. ขอมอบภารกิจในการบริหารกิจการของวัดหนองโพ ตามที่หลวงพ่อได้กระทำมา (เป็นการปลงบริขาร) ให้กับหลวงพ่อ (ต่อมาได้เป็นท่านพระครูนิพันธ์ธรรมคุต) เจ้าอาวาสวัดหนองโพในปัจจุบัน ให้ดูแลรักษาแทนทานให้มีความเจริญรุ่งเรืองต่อไป ขอให้ชาวบ้านช่วยกันอุปถัมย์หลวงพ่อน้อยช่วยกิจการวัดตามเคยที่ช่วยท่านมา เพื่อให้เกิดความประสานสามัคคีระหว่างวัดและชาวบ้าน
    ๒. หลวงพ่อจะมรณภาพในไม่ช้านี้แล้ว อย่าเสียใจในมรณะกรรมของท่าน เพราะเป็นกฎแห่งกรรม ขอให้ช่วยกันต่อโลงศพให้หลวงพ่อเพื่อจะได้ไม่เป็นธุระรบกวน หรือยุ่งยากจัดหาเมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว คนข้างหลังจะได้ไม่เดือดร้อน เพราะการเตรียมล่วงหน้าเป็นการไม่ประมาทในการทั้งปวง ดังพระดำรัสแห่งพระบรมศาสดา
    ๓. ให้ช่วยกันสร้างเมรุเพื่อพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อ ตามกำลังศรัทธาของญาติโยม เวลาท่านมรณภาพแล้วจะได้สะดวก ไม่ต้องมาทำทีหลังให้เป็นการเร่งรีบและเหน็ดเหนื่อย โดยใช้เหตุสำหรับข้อสามนี้กรรมการวัดคิดว่า หลวงพ่อคงจะไม่มรณภาพในเวลาอันใกล้ จึงมิได้สั่งจัดทำเสียพร้อมกับโลงศพ จนหลวงพ่อแสดงอาการว่าจะมรณภาพแน่แล้วจึงสิ่งทำเมรุนั้นจึงเสร็จ หลังจากหลวงพ่อมรณภาพไปแล้ว
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>เหรียญรุ่นนิยม 2482(เนื้อเงินแจกกรรมการ) </TD></TR></TBODY></TABLE>มรณสัญญาณมาถึงหลวงพ่อ
    จากเดือนมกราคมเรื่อยมาจนถึงเดือนเมษายน งานสงกรานต์สรงน้ำหลวงพ่อผ่านไปแล้ว หลวงพ่อก็ยังแข็งแรง และยังคงไปเป็นประธานสร้างพระอุโบสถวัดอินทรารามดังกล่าวแล้ว ท่านเคยพูดแย้มๆ ว่างานนี้จะเป็นงานสุดท้ายในชีวิตของหลวงพ่อ เพื่อสนองคุณพระอุปัชฌาย์ ล่วงมาถึงวันที่ ๑๕ พฤษภาคม ๒๔๙๔ ตรงกับวันอังคาร ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ หลวงพ่อกลับมาจากการเป็นประธานในการก่อสร้างพระอุโบสถวัดอินทรารามถึงวัดหนองโพ ท่านก็มีอาการโรคลมปัจจุบันเข้าแทรกทำให้หลวงพ่อถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อลุกไปไหนมาไหนไม่ได้ และมีอาการโรคชราเข้าแทรกด้วย ลูกศิษย์ลูกหาญาติโยมได้จัดหาหมอทั้งแผนโบราณมารักษาอาการของท่าน ผู้คนอื่นทราบข่าวหลวงพ่อเดิมอาพาธหนักก็พากันมาเยี่ยมท่านมีอาการทรงกับทรุดอยู่ตลอดเวลาไม่ดีขึ้น จนกระทั่ง
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>รูปหล่อปั๊ม หลวงพ่อเดิม</TD></TR></TBODY></TABLE>หลวงพ่อเดิมมรณภาพ
    ถึงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ตรงกับวันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖๖ อาการของหลวงพ่อทรุดหนักลงตั้งแต่ตอนเช้า ญาติโยมเข้าพยาบาลอยู่ใกล้ชิด มีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นคือ วันนั้นช้างของหลวงพ่อที่ทำงานอยู่ในป่าได้ดิ้นรนไม่ยอมทำงาน ทั้งๆ ที่ควาญช้างก็บังคับอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้มัยทำงาน แต่มันกลับหันหลังมุ่งหน้าเดินจะมาวัดหนองโพ ควาญช้างซึ่งทราบอาการของหลวงพ่อดีก็ปรึกษากันแล้วเลิกงาน ช้างก็พากันเดินดุ่มมาวัดหนองโพอย่างรีบร้อน มาถึงวัดก็ตอนที่หลวงพ่ออาพาธหนักหมดทางเยียวยารักษาแล้ว มันหงอยเหงาอย่างเห็นได้ชัดไม่ยอมกินหญ้ากินอะไรทั้งนั้น คงวงเวียนอยู่ใกล้ๆ กับกุฏิที่หลวงพ่อนอนป่วยอยู่ไม่ได้ส่งเสียงร้องให้ได้ยินถึงหลวงพ่อ เหมือนมันจะรู้วาระมรณะภาพของหลวงพ่อว่า หลวงพ่อชุบเลี้ยงมันมาดุจบิดานั้นกำลังจะจากมันไปแล้ว อย่างไม่มีวันกลับมาอีกในเวลาอันใกล้นี้
    อภินิหารครั้งสุดท้ายของหลวงพ่อ
    ในวันนั้นหลวงพ่อมีอาการเพียบหนัก แต่สติของหลวงพ่อยังดีอยู่ คงหลับตานอนอยู่กับที่พร้อมกับเจริญภาวนาเป็นลำดับ สลับกับการลืมตาถามเวลาว่าเวลาเท่าใดแล้วเป็นระยะๆ ไป ไม่แสดงอาการกระสับกระสายให้เห็นเลย คงมีความอดทนอย่างเยียมยอดสมกับเป็นนักปฏิบัติธรรมอย่างเยี่ยม เป็นเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. หลวงพ่อลืมตาแล้วถามเวลาเป็นครั้งสุดท้าย คราวนี้หลวงพ่อถามว่าน้ำในสระทั้งสองลูกมีระดับเป็นอย่างไร พอกินกันไหม เพราะหลวงพ่อไม่ได้ออกไปตรวจตรา จึงเป็นห่วง ด้วยน้ำในสระนั้นคือเส้นโลหิตใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านหนองโพด้วยเป็นที่ดอนกันดารน้ำ หลวงพ่อพยายามขยายสระให้กว้างขึ้นเป็นลำดับเพื่อเก็บกักน้ำ ผู้ดูแลท่านจึงตอบว่าแห้งขอดลงไปแล้วเพราะฝนไม่ตกมาเป็นระยะนานแล้งมาก ถ้าฝนไม่ตกลงมาในวันสองวันนี้น่ากลัวจะอดน้ำกันแน่นอน เมื่อหลวงพ่อได้ยินดังนั้นก็ไม่กล่าวว่าอะไร สองมือของท่านประคองขึ้นไว้บนหน้าอกของท่าน นัยน์ตาของท่านหลับสนิทมองเห็นทรวงอกของท่านสะท้อนขึ้นลงแผ่วๆ ในลักษณะการเข้าสมาธิเป็นลำดับ ทันใดนั้นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิดก็เกิดขึ้นเป็นที่เล่าสืบกันมาถึงทุกวันนี้
    กล่าวคือฟ้าที่สว่างไม่มีเค้าแห่งเมฆฝนเลยแม้แต่น้อย กลับมืดครึ้มลงเป็นลำดับด้วยเมฆฝนที่ตั้งเค้า พร้อมกับสายลมกระโชกแรงขึ้น และฝนก็พร่างพรมลงจากฟากฟ้าดุจเทพมนต์ ตกหนักมากตกอย่างไม่ลืมหูลืมตา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้นไม่มีใครคิดเหนือความคาดหมายว่าฟ้าที่สว่างๆ ไม่มีวี่แววฝนนั้นจะมีเมฆฝนและฝนตกลงมาก่อนเลย ฝนตกลงมาจนกระทั่งน้ำไหลลงไปในสระได้ครึ่งสระทั้งสองลูกเป็นระยะเวลาประมาณ ๓๐ นาที ฝนจึงเริ่มขาดเม็ดลง พร้อมกันนั้นลมหายใจของหลวงพ่อก็ขาดหายไปพร้อมกับสายฝนเป็นอัศจรรย์ อันเป็นสิ่งที่แสดงว่าหลวงพ่อได้บันดาลให้ฝนตกลงมาเพื่อต่อชีวิตชาวหนองโพไม่ให้อดน้ำ โดยอาศัยบารมีศีลอันบริสุทธิ์ของท่าน และอำนาจฌาณสมาบัติอันสูงส่งของหลวงพ่อเป็นอภินิหารครั้งสุดท้าย ที่หลวงพ่อแสดงให้เห็นประจักษ์ชัดถึงบารมีของท่าน ด้วยเมตตาบารมีที่ท่านมีต่อสัตว์ผู้ยากคือชาวหนองโพที่จะอดน้ำกันเดือดร้อน นี่แหละเมตตาธรรมของท่านแม้ชีวิตท่านจวนจะดับสูญแล้วยังอุตส่าห์เป็นห่วงเป็นใยในผู้ที่อาศัยบารมีท่าน ร่มโพธิ์ใหญ่ในวัดหนองโพล้มลงแล้ว ร่มโพธิ์ที่เคยให้ร่มเงากับศานุศิษย์ได้ถูกพายุแห่งการเวลาพัดกระโชกจนถึงการล่มสลาย เป็นที่น่าเสียดาย
    เมื่อผู้ใกล้ชิดจับชีพจรดูจนแน่ใจว่าหลวงพ่อมรณภาพจึงแจ้งข่าว กับผู้อยู่ข้างนอกและต่อกันออกไปจนถึงในหมู่บ้าน วงปี่พาทย์ประจำวัดประโคมขึ้นพร้อมกัน กลองเภรีประจำวัดลั่นตูมขึ้นรัวกระหน่ำ ช้างของหลวงพ่อส่งเสียงร้องกันลั่น ราวแผ่นดินจะถล่นทะลาย น้ำตาไหลพรากทุกตัว ต่างเดินมาเอางวงจับหน้ากุฏิของหลวงพ่อเหนี่ยวไว้ร้องระรัวอาลัย ในมรณะกรรมของหลวงพ่อที่เคยดูแลมันมาแต่น้อยคุ้มใหญ่
    ขณะนั้นชาวบ้านกำลังง่วงอยู่กับงานในหมู่บ้าน และละแวกใกล้เคียง จู่ๆ ก็ได้ยินเสียงกลองเภรีดังรัวขึ้น และมีเสียงบอกกันต่อๆไปว่า หลวงพ่อมรณภาพไปแล้ว เท่านั้นเองทุกคนทิ้งงานทุกอย่าง เหมือนนัดกันไว้พากันรีบมาที่วัดหนองโพ เพื่อแสดงความไว้อาลัยในการมรณภาพของหลวงพ่อ ที่เป็นหญิงก็ร้องไห้โฮอย่างไม่อายใคร ที่เป็นชายใจแข็งก็ได้แต่ตาแดงๆ แต่ในส่วนลึกของหัวใจอาลัยหลวงพ่อยิ่งนัก ทางคณะกรรมการได้จัดศพหลวงพ่อไว้ในกุฏิเพื่อจะจัดพิธีอาบน้ำศพขึ้นในวันรุ่นขึ้น ชาวบ้านก็ได้แต่เข้าไปกราบศพของหลวงพ่อ
    คณะกรรมการได้จัดกุฏิของหลวงพ่อได้จัดกุฏิของหลวงพ่อให้เข้ารูป พร้อมทั้งค้นดูของหลวงพ่อมีอะไรเป็นของมีค่า ที่จะเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของวัดต่อไป จากการค้นตรวจสอบทั่วทุกตารางนิ้ว ไม่ปรากฏว่ามีของมีค่าหรือเงินทองอยู่แม้แต่สลึก ในย่ามของหลวงพ่อก็ไม่มี มีอยู่สิ่งเดียวที่นายธนิต อยู่โพธิ์ กล่าวว่ามีค่าที่สุดของหลวงพ่อก็คือคัมภีร์ใบลานเก่าๆ เล่มเล็กๆ ที่หลวงพ่อใช้อ่านสอนตัวเองอยู่จนตลอดชีวิต จากการนี้เองทำให้ทุกคนประจักษ์ความจริงว่า หลวงพ่อเป็นพระแท้ เป็นพระที่เป็นผู้ให้ไม่สะสม ไม่ติดในลาภสักการะและโลกธรรมแปด เป็นพระพุทธบุตรที่ซื่อตรงต่อคำสั่งสอนแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดา และดำเนินตามทางมรรคผลนิพพาน ที่องค์พระบรมครูวางไว้ทุกประการ
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>เหรียญปั๊มหลวงพ่อเดิม รุ่นปักกลด </TD></TR></TBODY></TABLE>จีวรไม่พอครองศพหลวงพ่อ
    วันรุ่งขึ้นคณะกรรมการได้จัดพิธีอาบน้ำศพหลวงพ่อขึ้น เมื่อเริ่มพิธีผู้คนหลั่งใหลมาจากทั่วสารทิศ มีทั้งผู้แทนจังหวัดนครสวรรค์ นายเกษม บุญศรี ตลอดพ่อค้า คหบดีชาวกรุงเทพฯ และชาวบ้านใกล้เคียง เมื่อรดน้ำศพแล้วต่างพากันแย่งชิงฉีกจีวรที่ครองศพหลวงพ่ออยู่ คณะกรรมการสุดจะโต้แย้งเพราะผู้คนมากมายก็ได้แต่ขอเวลาเปลี่ยนจีวรหลวงพ่อใหม่ กี่ชุดๆ ก็ไม่พอเพราะคนรุมฉีกทิ้งกันเพื่อเอาไปเป็นที่ระลึก จนในที่สุดเห็นว่าจีวรจะไม่พอครององค์หลวงพ่อจึงได้ประกาศห้ามฉีก จึงสามารถรักษาจีวรให้ครองติดศพหลวงพ่อได้ แสดงให้เห็นถึงความศรัทธาที่ประชาชนมีต่อหลวงพ่อแม้ยามที่มรณภาพไปแล้ว
    น้ำอาบศพเป็นน้ำมนต์ศักดิ์สิทธิ์
    ในตอนรดน้ำศพหลวงพ่อเดิมนั้น พวกหนุ่มๆ และคนแก่ ที่นับถือองค์หลวงพ่อได้พากันไปอยู่ใต้ถุนศาลาอาบน้ำศพหลวงพ่อ พร้อมทั้งเอาขัน เอาแก้ว หรือบางคนก็แหงนหน้ารองน้ำอาบศพหลวงพ่อ ต่างน้ำมนต์กลืนกินเข้าไปอย่างไม่รังเกียจด้วยศรัทธาสูงสุด ข้างบนก็ฉีกทิ้งจีวรหลวงพ่อให้ชุลมุน ข้างล่างก็รองน้ำศพให้วุ่นหมด ลานวัดคนเดินกันเกลื่อนแทบจะหลีกกันไม่พ้น เหมือนหลวงพ่อจะแสดงปาฏิหารย์คนที่กินน้ำอาบศพหลวงพ่อกลุ่มหนึ่ง เมื่อเดินออกมานอกวัด ก็เจอกับอริอีกกลุ่มหนึ่งพอดี ได้เข้าตะลุมบอนกันเป็นพักใหญ่ กลุ่มที่กินน้ำอาบศพหลวงพ่อไม่เป็นอะไรเลยเป็นแต่หัวร้างข้างโน บวม ปูด ส่วนอริหัวร้างข้างแตกกันเป็นระนาว พอข่าวแพร่ คนก็ไปกินน้ำอาบศพหลวงพ่อกันอีก ท่านผู้อ่านก็ลองวาดภาพดูก็แล้วกันครับว่าเป็นอย่างไร นี่แหละครับบารมีหลวงพ่อ
    ต้องมีเวรยามรักษาศพหลวงพ่อ
    หลังจากรดน้ำศพก็ได้มีการตั้งศพหลวงพ่อสวดพระอภิธรรม มีเจ้าภาพจองกันยาวยืดจนครบร้อยวันในวันที่ ๑๐ กันยายน ๒๔๙๔ และได้เก็บศพของหลวงพ่อไว้เพื่อรอพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในตอนนี้ได้มีผู้ศรัทธาในหลวงพ่อต้องการได้อัฐิของหลวงพ่อเดิม ได้พยายามลอบเข้าไปเพื่อจะดึงอัฐิของหลวงพ่อก่อนที่ยังมิได้พระราชทานเพลิง ด้วยความเลื่อมใสถือเป็นเครื่องรางของขลัง กรรมการวัดรู้เข้าก็ต้องจัดเวรยามดูแล เพราะไม่เช่นนั้นกว่าจะพระราชทานเพลิงศพแล้วสรีระของหลวงพ่อคงไม่เหลืออยู่แน่ เป็นที่น่าเศร้าสลดใจของผู้ที่จะได้รู้ข่าวจึงได้ป้องกันไว้ก่อนจะสายไป ครั้นจะห้ามเสียเลยก็จะเป็นการทำลายน้ำใจผู้ศรัทธาจึงหาทางอื่นที่นุ่มนวลคือเฝ้าระวังกันเอา
    อัฐเถ้าอังคารคนแย่งกันทั้งยังร้อนระอุ
    ในวันพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อ มีมหรสพทุกชนิด ที่ลูกศิษย์ลูกหาพากันมาแสดง เพื่อเป็นการไว้อาลัยหลวงพ่อเป็นครั้งสุดท้าย เมื่อไฟพระราชทานมาถึงแล้ว ประธานในพิธีได้จุดไฟพระราชทานต่อจากนั้น ก็เป็นขบวนของชาวบ้านร้านตลาด ตั้งแต่บ่ายยันค่ำคนไม่ลดน้อยลงไปเลย ใส่ไฟแล้วก็ไม่ไปไหนคงซุ่มอยู่แถวนั้น เมื่อไฟพระราชทานได้เผาสรีระของหลวงพ่อมอดไหม้ไปแล้วท่ามกลางฝนที่โปรยปรายลงมา เป็นละอองเบาๆก่อความเย็นให้แก่ผู้คนที่เบียดเสียดเยียดยัดกัน กรรมการวัดได้ขึ้นเก็บอัฐิและเถ้าอังคารส่วนหนึ่ง เพื่อนำไปบรรจุในเจดีย์เพื่อเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านหนองโพ และผู้ได้มาเยี่ยมเยือนในภายหลัง เมื่อคณะกรรมการเก็บอัฐิแล้ว ไฟยังไม่ทันจะหายร้อน บรรดาชาวบ้านและผู้เคารพนับถือ ต่างก็เฮละโลกันขึ้นไปบนเมรุเบียดเสียดเยียดยัดกัน เหยียบกัน ล้มคว่ำคะมำหงาย เพื่อแย่งชิงอัฐิของหลวงพ่อเดิม เพื่อนำไปสักการะบูชา ที่แข็งแรงไปถึงก่อนก็ได้อัฐิไป ที่มาทีหลังหรือเข้าไม่ถึงก็ได้เถ้าอังคาร ตามแต่จะเก็บได้ หลังจากคลื่นฝูงชนซาลงไปแล้วปรากฏว่าไม่มีอัฐิ หรือเถ้าอังคารของหลวงพ่อติดเมรุอยู่เลยแม้แต่น้อย เป็นที่น่าอัศจรรย์ว่าทั้งๆ ที่ไฟบนเมรุยังร้อนอยู่ แต่คนที่แย่งชิงกันนั้น ไม่มีใครมือพองเพราะความร้อนของเมรุแม้แต่น้อยเลย
    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#000000>[​IMG]</TD></TR><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>ผ้ารอยเท้าเหยียบ หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ</TD></TR></TBODY></TABLE>สรุปความท้ายประวัติ
    สิ้นไปแล้วดวงประทีปแห่งหนองโพ หลวงพ่อผู้ทรงความเมตตากรุณา หลวงพ่อผู้เป็นผู้ให้แต่อย่างเดียว ถึงแม้จะรับบ้างแต่ก็ให้ไปจนหมดสิ้น หลวงพ่อผู้ช่วยทุกข์ของสัตว์ผู้ยากที่บากหน้ามาหา หลวงพ่อที่ถือเอาพระพุทธพจน์เป็นหลักประจำจนตลอดชีวิต หลวงพ่อผู้มีเวทย์มนต์อันเรืองรองด้วยพระพุทธคุณหลวงพ่อ ผู้สรรสร้างความเจริญทั้งในพระพุทธศาสนาและแก่ชาวบ้าน หลวงพ่อผู้ถือคติทำดีกว่าพูด และผลงานคือข้อพิสูจน์คุณงามความดีของท่าน สิ่งที่ยังคงเหลือเตือนใจคนรุ่นหลังให้ระลึกถึงท่านคือ คุณงามความดีคำสั่งสอน รูปหล่อครั้งเมื่อมีชีวิตอยู่ ตลอดจนวัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกแจกให้กับศิษยานุศิษย์ที่คุ้มครองป้องกันชีวิตพวกเขาเหล่านั้นมาจนทุกวันนี้ ดังจะได้พูดถึงในภาควัตถุมงคลตอนต่อไปจากนี้ เพื่อท่านผู้อ่านทั้งหลายที่สนใจจะได้เสาะหาและเก็บไว้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงท่าน และป้องกันชีวิตของท่านจากเหล่าอันธพาลมิจฉาชีพ ตลอดจนอริราชศัตรูที่รุกรานอยู่รอบบ้านเมืองของเราในปัจจุบัน


    <TABLE class=a4 cellSpacing=0 cellPadding=2 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD width="100%">[​IMG] หลวงพ่อชาตะ เมื่อวันพุธ แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๓ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๒๒
    ตรงกับวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๐๓

    หลวงพ่อมรณภาพเมื่อวันอังคาร แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับ
    วันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ เวลา ๑๗.๔๕ น. สิริรวมอายุ
    ได้ ๙๒ ปี พรรษาที่ ๗๐

    </TD></TR><TR><TD align=middle width="100%">รูปถ่ายหลวงพ่อเดิม หลังแววนกยูง พิมพ์สี่สี ขนาดใหญ่ สำหรับบูชา สร้างประมาณปี 2492</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    คาถาท่านพระครูนิวาสธรรมขันธ์ (พุทฺธสโร)

    [​IMG]
     
  15. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    <IMG onclick="if(this.width>=700) window.open('http://www.tbshoponline.com/img/11.jpg');" src="http://www.tbshoponline.com/img/11.jpg" onload="if(this.width>'700')this.width='700';if(this.height>'700')this.height='700';" border=0>

    <IMG onclick="if(this.width>=700) window.open('http://www.tbshoponline.com/img/16.jpg');" src="http://www.tbshoponline.com/img/16.jpg" onload="if(this.width>'700')this.width='700';if(this.height>'700')this.height='700';" border=0>
    เกศาธาตุ หลวงพ่อเดิม
    <IMG onclick="if(this.width>=700) window.open('http://www.tbshoponline.com/img/13.jpg');" src="http://www.tbshoponline.com/img/13.jpg" width=700 onload="if(this.width>'700')this.width='700';if(this.height>'700')this.height='700';" border=0>

    วันนี้ผมนำเรื่องราวของท่านมากล่าวถึง เพราะเรื่องเกี่ยวกับผงของท่านที่ใช้ผสมล็อกเกตรุ่นนี้แหละครับ เริ่มเดิมทีผมอยากได้ผงของท่านมาก จนโทรหาเจ้าอาวาสวัดหนองโพองค์ปัจจุบัน ท่านก็ว่าท่านเพิ่งมาครองวัดได้สองสามปี ผงและเกศาของหลวงปู่ถูกเก็บอยู่ที่ลูกหลานของท่านแถวๆวัด ท่านว่าถ้าอยากได้คงต้องมาเอาเองที่บ้านหนองโพนี้เอง
    ซึ่งผมไม่มีเวลาไป แต่ด้วยความบังเอิญที่ไปพบกับช่างที่สร้างมีดหมอหลวงพ่อน้อย วัดหนองโพ เมื่อหลายสิบปีก่อนที่หลวงพ่อน้อยสร้างและได้มอบผงปถมังและครั่งเสกหลวงพ่อเดิมมาบรรจุที่ด้ามมีด ผงเหลือบางส่วน ช่างมีดได้ขอหลวงพ่อน้อยมาเก็บไว้ ถึงบัดนี้มวลสารชุดนี้กลับมาใช้ประโยชน์ในงานบุญอีกครั้ง เพื่อผสมล็อกเกตชุดนี้ครับ ​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01711.JPG
      DSC01711.JPG
      ขนาดไฟล์:
      249.8 KB
      เปิดดู:
      369
  16. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]
     
  17. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    ตอนที่ 16 ปราณอันแก่กล้าของหลวงปู่หมุน ฐิตสีโล

    [​IMG]

    " หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล "
    อมตะเถระ 5 แผ่นดิน อายุ 108 ปี แห่งวัดบ้านจาน

    หลวงปู่หมุน ฐิตสีโส เกิดในสกุล“ ศรีสงคราม”หรือ “ แก้วปักปิ่น” ถือกำเนิดเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือน 5 ปีชวด พ.ศ. 2437 ณ บ้านจาน อ.กันทรารมย์ อ.ศรีสะเกษ บิดา ชื่อ "ดี "มารดาชื่อ " อั๊ว " มีอาชีพทำไร่ทำนา เป็นเด็กยากจน แต่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ต่อมาบิดามารดาเห็นแววทางด้านพระพุทธศาสนา จึงให้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปี และนำไปฝากกับพระอาจารย์สีดาเจ้าอาวาสวัดบ้านจาน ซึ่งเป็นพระที่เชี่ยวชาญด้านกรรมฐานและมีวิชาอาคมที่เก่งมาก ในปี 2460 ขณะอายุได้ 23 ปีได้เข้าอุปสมบทโดยมีหลวงพ่อสีดา เป็นพระอุปัชฌาชย์รับฉายาว่า
    " ฐิตสีโล " แปลว่า " ผู้มีศีลตั้งมั่น "จากนั้นได้ศึกษาวิชาความรู้จากครูบาอาจารย์ต่าง ๆ ในแถบนั้นเป็นเวลา 4 ปี ก่อนออกแสวงหาครูบาอาจารย์อื่นๆ เพื่อศึกษาคันธธุระและวิปัสสนาธุระในชั้นที่สูงๆ ขึ้นไป
    ปี พ.ศ.2464 หลวงปู่หมุน เริ่มออกศึกษาแสวงหาประสบการณ์โดยได้ร่ำเรียนทั้งเวทย์วิทยา และสมถกรรมฐานจากครูบาอาจารย์หลายสำนัก การเดินทางในสมัยนั้นเป็นที่ลำบากยากเย็น ต้องเดินเท้าเปล่าผจญภัยจากผีป่า หรือสัตว์ร้ายนานัปการ แต่หลวงปู่มิได้ย่อท้อ ได้เดินทางไปศึกษาวิชาอาคมที่ สำนักตักศิลาแห่งบ้านจิกใหญ่ อ.พิบูลมังสาหาร จังหวัด อุบลราชธานี กระทั่งศึกษาคัมภีร์มหาพุทธาคม อันเป็นแม่บทของคัมภีร์ปถมัง คัมภีร์อิทธิเจ คัมภีร์มหาราช คัมภีร์ตรีนิสิงเห ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งอำนาจจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำราพิชัยสงคราม เช่น คัมภีร์นิติประกาศิต คัมภีร์ธนูรเวทว่าด้วยการแต่งเครื่องครอบมนตร์ในสงคราม เป็นต้น
    ในช่วงปี 2475-2482 เมื่อหลวงปู่สำเร็จการศึกษาวิชาการต่าง ๆ ก็เก็บบริขารออกธุดงค์ป่าผ่านถิ่นทุรกันดารในชนบทโดยเท้าเปล่ามายังกรุงเทพ ฯ เข้าพักที่ วัดเทพธิดาราม เพื่อเล่าเรียน จนสอบได้เปรียญ 5 รวมทั้งยังร่ำเรียนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร ในช่วงหนึ่งหลวงปู่ได้มาพำนักที่วัดสุทัศน์ฯและได้ศึกษาวิชาบางอย่างกับสมเด็จพระสังฆราช(แพ)รวมทั้งยังได้มาพำนักที่วัดอรุณราชวรารามเพื่อศึกษาวิชากับพระพิมลธรรม(นาค)วัดอรุณราชวราราม นอกจากนี้หลวงปู่ได้เป็นครูสอนวิชาคัมภีร์มูลกัจจายน์สูตร (ภาษาบาลีล้วน) อยู่หลายปี
    จากนั้นก็เก็บบริขารเดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์ทองดี ที่มาจากอ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ธุดงค์ ไปทางภาคเหนือเข้าเขตพม่าเป็นเวลา 1 ปี จากนั้นก็เดินเท้าเปล่าลงภาคใต้ไปพำนักกับพระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ เพื่อปฎิบัติกรรมฐานและแลกเปลี่ยนวิชาอาถรรพณ์เวทมนต์กับพระอาจารย์ทิมอยู่ประมาณปีกว่า ๆ ก่อนธุดงค์เข้าเขตประเทศมาเลเซีย ต่อจากนั้นก็ได้เรียนวิชาจากพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช โดยได้ของที่ระลึกจากพ่อท่านคล้ายคือ ชานหมากเม็ดใหญ่เป็นที่ระลึก จากนั้นก็เดินธุดงค์เรื่อยมาจนกลับสู่เขตอีสานอีกครั้งและได้พบกับหลวงปู่สี ฉันทสิริ ในป่าแถบ จังหวัดหนองคาย และได้วิชาลบผงสีจากหลวงปู่สี ซึ่งได้รับสืบทอดมาจากสมเด็จพุฒาจารย์โต วัดระฆังโฆษิตาราม
    ช่วงที่ท่านธุดงค์แถบอุบลราชธานีได้พบกับหลวงปู่มั่น และขอเรียนข้อวัตรปฏิบัติในพระกรรมฐาน แต่ไม่ได้ร่วมคณะธุดงค์ เพราะท่านอยู่นิกายมหายาน หลวงปู่เคยเล่าประวัติในช่วงธุดงค์ให้กับพระภิกษุที่เป็นหลานของท่านว่า เคยได้เป็นศิษย์หลวงปู่มั่นอยู่พักหนึ่ง ในช่วงที่หลวงปู่ต้องการเจริญสมณธรรม เป็นธรรมอันล้ำลึกยากยิ่งที่ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงจะล่วงรู้ถึงอารมณ์ของวิปัสสนานี้ได้ หลวงปู่หมุนได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็แสวงหาความวิเวก เพื่อประพฤติปฏิบัติต่อไป จนกระทั่งหลวงปู่แตกฉาน เชี่ยวชาญ ครั้งนั้นหลวงปู่หมุนได้ศึกษาธรรมจนที่สหธรรมมิกที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น รู้จักสนิทสนมกับหลวงปู่ทุกองค์ เช่น หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เป็นต้น
    ในตอนที่หลวงปู่หมุน ไปกราบนมัสการ หลวงปู่มั่น ท่ามกลางศิษย์สายกองทัพธรรม ในขณะสนทนาธรรมหลวงปู่มั่นได้ปรารถกับหลวงปู่หมุนว่า " ท่านหมุน ท่านเก่งพอตัวอยู่แล้ว หากไม่เจอกันหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับปริยัติปฏิบัติ และปฎิเสธตามหลักพระไตรสิกขา ให้สอบถามท่านแหวนได้ เพราะเขาเก่งมาก" หลวงปู่มั่นได้มอบของที่ระลึกให้หลวงปู่หมุน 2 อย่าง คือ แผ่นจารอักขระใบลาน ม้วนเป็นลูกอมกลม ๆ เขียนเป็นภาษาขอมว่า เย ธมมา เหตุปภวา ฯลฯ เป็นต้น และธนบัตรรัชกาลที่ 8 พร้อมลายเซ็นหลวงปู่มั่น ภายหลังหลวงปู่ได้มอบให้โยมแม่ท่านไป จากนั้นก็ธุดงค์ต่อไป ท่านยังได้ร่ำเรียนวิชาจาก พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาลวัน หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ต่อมาไม่นานก็ได้ร่ำเรียนวิชามีดหมอมหาปราบจากหลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว และหลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์หลวง ซึ่งวิชานี้หลวงพ่อเดิม พุทธสโร วัดหนองโพ จ.นครสวรรค์ก็เรียนจากหลวงพ่อขำและหลวงพ่อเงิน เช่นกัน นอกจากนี้ในช่วงที่หลวงปู่ธุดงค์มาสู่ภาคตะวันออกแถบจันทบุรี ท่านได้พำนักอยู่กับ หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง กระทั่งหลวงพ่อสอนไว้ใจให้วิชาอาคมและครอบครูให้กับหลวงปู่
    หลวงปู่หมุนนับเป็นหนึ่งในทายาทผู้สืบสายเวทวิทยาพุทธาคมในสายสมเด็จลุนแห่งนครจำปาศักดิ์ราชอาณาจักรลาวที่ยังดำรงขันธ์อยู่ในปัจจุบัน โดยสมเด็จลุนเป็นที่เลื่องลือในคุณธรรมและอภิญญาอภินิหารอาทิ สามารถเดินบนน้ำได้ ย่นระยะทางได้ แปลงร่างได้ เดินทะลุภูเขาได้กล่าวกันว่าภิกษุสงฆ์ยุคก่อนโน้นต่างดั้นด้นสืบเสาะหาสมเด็จลุน เพื่อฝากตัวเป็นศิษย์ศึกษามหาวิทยาคม ตลอดจนวิปัสสนากรรมฐาน หลวงปู่หมุนเองก็ดั้นด้นธุดงค์ผ่านอุบลราชธานีเข้าประเทศลาวเพื่อสืบเสาะสมเด็จลุนอยู่หลายปี แต่ไม่พบ
    ต่อมาธุดงค์ไปประเทศลาวอีกหลายครั้ง จนกระทั่งมาพบกับฆราวาสชื่ออาจารย์ฉันท์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของสมเด็จลุน ที่จังหวัดนครพนม โดยเรียนวิชาจากอาจารย์ฉันท์จนหมดภูมิแล้ว อาจารย์ท่านจึงได้คำแนะนำฝากตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ดำเหลนของสมเด็จลุนปรมาจารย์ใหญ่ที่สืบสายเวทย์วิทยาคมพุทธาคมในสายสมเด็จลุน
    ในการฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงปู่ดำนั้น มีกฎเกณฑ์รายละเอียดมากทั้งยังต้องทดสอบภูมิปัญญา และอำนาจของกระแสจิตที่ต้องเข้มแข็งพอที่จะเรียนวิชาของท่านได้ ในรุ่นที่หลวงปู่ฝากตัวเป็นศิษย์นั้นมีมากกว่า 50 รูป แต่หลวงปู่ดำท่านทดสอบวิชา แล้วคัดออกจนเหลือแค่ 3 รูป มีหลวงปู่หมุน หลวงพ่อสงฆ์ (วัดม่วง ลพบุรี) และอีกรูปหลวงปู่ลืมชื่อไปแล้ว
    สำหรับพิธีครองครูของหลวงปู่ดำนั้นมีของยกครูที่หลวงปู่จำได้อย่างแม่นยำคือ 1.ผ้าไตรจีวร
    2.บาตร 3.ทองคำหนัก 10 บาท (สำหรับทองคำ จะคืนให้เมื่อเรียนจบ) และมีข้อห้ามประการสำคัญอีกคือ ห้ามสึกตลอดชีวิต ถ้าสึกไปชีวิตก็จะหาไม่
    ในการครอบวิชานี้ถือว่าเป็นสุดยอดเคล็ดวิชาวิทยาคม ในสายของสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ซึ่งกว่าจะเรียนจบต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะบำเพ็ญเพียรอย่างมาก ได้จำวัดพักผ่อนวันละ 4 ชั่วโมงเท่านั้น อาหารต้องฉันมื้อเดียว และขั้นตอนสุดท้ายที่จะสำเร็จวิชานี้จะมีการทดสอบอย่างพิสดาร
    อย่างไรก็ตาม เป็นที่เชื่อกันว่าหลวงปู่หมุนท่านสำเร็จวิชาสำเร็จธาตุ 4 มาจากสายสมเด็จลุน ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าวิชาสายนี้ลึกลับเกินปุถุชนคนธรรมดาจะเรียนได้สำเร็จ ผู้ที่จะเข้าถึงได้ต้องเป็นผู้ที่มีบารมีมาแล้วนับชาติไม่ถ้วน เพราะการควบคุมธาตุ 4 ได้นั้นผู้ที่จะสามารถทำการนี้ได้ต้องสำเร็จจตุตฌานเป็นบาทฐานในการทำ และยังต้องมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของกสิณจตุธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ดิน น้ำ ลม และไฟอีกด้วย หลังจากนั้น หลวงปู่ก็กลับมาจำพรรษา ที่วัดบ้านจาน จนได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และพระอุปัชฌาย์ รับสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน ที่" พระครูหมุน ฐิตสีโล" หลวงปู่ได้ปฎิบัติศาสนกิจตามที่ได้รับมอบหมายเป็นเวลาถึง 20 ปี จึงลาออกจากทุกตำแหน่ง ต้องการใช้ชีวิตที่เหลือบำเพ็ญสมณธรรมปฏิบัติพระวิปัสสนาธุระ อย่างเดียว
    ประมาณปี 2487 ในช่วงที่หลวงปู่อายุ 50 ปี ท่านเก็บบริวารออกธุดงค์บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าดงดิบ โดยลำพังแต่ผู้เดียว และในช่วงนี้เองที่หลวงปู่ได้พบกับอาจารย์จ่อยและอาจารย์ขวัญ วัดป่าหนองหล่ม ในระหว่างที่หลวงปู่ธุดงค์โดยบังเอิญ อาจารย์ทั้ง 2 จึงได้นิมนต์หลวงปู่โปรดญาติโยมที่วัดป่าหนองหล่มหลังจากที่หลวงปู่หมุนเดินธุดงค์แสวงหาธรรม อยู่หลายสิบปี ประมาณปี 2520 ท่านจึงกลับมายังวัดบ้านจาน ซึ่งวัดบ้านจานในยามนั้น มีอายุกว่า 200 ปี อยู่ในสภาพทรุดโทรม ท่านจึงได้พัฒนาวัด สร้างอุโบสถขึ้นมา ด้วยหยาดเหงื่อและแรงจิต ทำให้อุโบสถเสร็จสมบูรณ์ในเวลาอันสั้น
    นอกจากนี้ท่านยังได้ช่วยเหลือ ลูกศิษย์และสหธรรมิก อีกหลายวัดเช่น วัดป่าหนองหล่ม, วัดโนนผึ้ง ,วัดซับลำใย, และคณะศิษย์วัดสุทัศน์ฯ ในการสร้างถาวรวัตถุของวัด จนเป็นที่มาของ วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมในหลายรุ่นต่อมา ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเมื่อวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังแทบทุกรุ่นที่ท่านจัดสร้างขึ้น จึงเป็นที่นิยมในหมู่ศิษยานุศิษย์ ด้วยเชื่อในพลังแห่งบุญฤทธิ์จิตตานุภาพของท่าน จนกระทั่งเมื่อเวลา 07.30 น. วันที่ 11 มี.ค.2546 หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล พระอมตะเถระ 5 แผ่นดิน แห่งวัดบ้านจาน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ มรณภาพลงอย่างสงบบนกุฎิ สิริอายุ 109 ปี พรรษา 86
    สรุปพระบูรพาจารย์ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้และพระกัมมัฏฐาน พอสรุปได้จากที่หลวงปู่เล่า คือ สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ฯ,พระพิมลธรรม(นาค) วัดอรุณฯ ,หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั้ง, หลวงพ่อขำ วัดเขาแก้ว ,หลวงพ่อเงิน วัดมะปรางค์เหลือง , หลวงพ่อสอน วัดเสิงสาง ,หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ,พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต , หลวงปู่สี ฉันทสิริ, พระอาจารย์สิงห์ วัดป่าสาละวัน และ หลวงปู่ดำ ทายาทสายสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ รวมทั้งอาจารย์ลึกลับที่พบในป่าอีกหลายท่าน ส่วนสหธรรมมิก มีศิษย์สายพระอาจารย์มั่น, หลวงพ่อทิม วัดช้างให้ ,หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค และอาจารย์ที่เก่งๆ อีกมาก

    พระมหาปิ่น ปุณณสิริ อายุ 87 ปี เจ้าอาวาสวัดบ้านจานและมีศักดิ์เป็นหลานหลวงปู่หมุน กล่าวถึงเหตุการณ์วันที่หลวงปู่มรณะว่า " ช่วงนั้นอาตมาไม่อยู่วัด เพราะไปร่วมงานทำบุญบ้านของโยมท่านหนึ่งแถวละแวกวัด โดยหลวงปู่หมุนอยู่ตามลำพังกับนายอำนวย เขียวอ่อน ซึ่งมีศักดิ์เป็นเหลนของหลวงปู่ ท่านฉันโอวัลตินเสร็จ อยู่ดี ๆ ท่านก็เงียบไป ก่อนหน้า จะมรณภาพ ก็ไม่มีลางบอกเหตุอะไร เพียงแต่ช่วงเช้าหลวงปู่บอกกับอาตมาอยู่บ่อยครั้งว่า อยากไปหนองคายเพื่อกราบครูบาอาจารย์ และจะไปปากเซ จ.อุบลราชธานีและเลยไปวัดเวนไซซึ่งเป็นวัดของหลวงปู่สมเด็จลุนแห่งนครจำปาศักดิ์ โดยจะกลับมาให้ทันวันงานในพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์วันที่ 12-13-14 เมษายน 2546 ซึ่งจะจัดให้มีพิธีหล่อพระประธาน และรูปเหมือนท่านในพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์ ซึ่งงานนี้จะจัดให้พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล อมตะเถระอายุยืนหมุนโชค อาตมาก็นึกว่า ท่านพูดธรรมดา ไม่ได้คิดอะไรมาก เพราะก่อนหน้านี้หลวงปู่ท่านได้พูดตลอดเวลาว่า ครูบาอาจารย์ท่านชวนไปนิพพานตั้งหลายครั้งแล้ว ท่านบอกว่า รอก่อนรอโปรดญาติโยมก่อน
    สำหรับศพหลวงปู่หมุนนั้นจะตั้งทำพิธีที่วัดบ้านจาน โดยจะให้ศิษยานุศิษย์และญาติโยมที่เคารพศรัทธาสรงน้ำศพในวันที่ 12 มี.ค. 2546 เวลา 13.30 น.ที่วัดบ้านจาน โดยจะจัดพิธีสวดพระอภิธรรมศพเรื่อยไปจนกระทั่งถึงวันงานเฉลิมฉลองสมโภชน์เจดีย์ โดยศพจะนำบรรจุไว้ในโลงแก้วที่คณะลูกศิษย์จัดสร้างถวายให้ในราคา 2 แสนบาท และนำขึ้นประดิษฐานไว้ในมหาเจดีย์ฐิตสีโล ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์จากทั่วสารทิศได้ร่วมกันก่อสร้างไว้ให้ท่าน ซึ่งมหาเจดีย์นี้ตั้งอยู่ในวัด โดยรูปทรงมหาเจดีย์จะคล้าย ๆ กับพระธาตุพนมทางภาคอีสาน ผสมผสานกับรูปแบบเจดีย์ทรงล้านนาทางภาคเหนือ ซึ่งสร้างโดยใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้เงินก่อสร้างมหาเจดีย์หลังนี้ 2 ล้านบาทเศษ โดยท่านได้เคยปรารภกับลูกศิษย์อยู่เสมอว่า ให้นำร่างท่านบรรจุโลงแก้วและนำขึ้นประดิษฐานไว้ในเจดีย์หลังนี้ เพราะท่านย้ำอยู่เสมอว่าห้ามเผาสรีระของท่าน เพื่อจะให้ลูกศิษย์ได้กราบบูชาเพื่อความเป็นสิริมงคล เพราะท่านเป็นพระผู้มีวิชาอาคมขลัง และเป็นที่เคารพสักการะของผู้คนทั่วสารทิศ และเป็นพระเถระผู้มักน้อย สันโดษ และที่สำคัญเป็นผู้ทรงศีลบริสุทธิ์จริงๆ

    [​IMG]
    ด้านนายจักรกฤษณ์ คลังศัตรา ลูกศิษย์ใกล้ชิด กล่าวว่า หลวงปู่หมุนเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของภาคอีสานรูปหนึ่ง วัตถุมงคลของท่านนักสะสมต่างนิยมเล่นหา เพราะมีพุทธคุณทางด้านเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดเป็นเยี่ยม ท่านเป็นพระที่มีอายุมากแล้ว แต่ที่ผ่านมาไม่มีลางบอกเหตุว่าจะด่วนมรณภาพ หากมองดูภายนอกท่านยังมีสุขภาพแข็งแรง เป็นพระที่มากด้วยเมตตาบารมี แม้แต่หลวงปู่หงษ์ เกจิอาจารย์ดังแห่งสุสานทุ่งมน อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ยังเคยให้หลวงปู่หมุนลงกระหม่อมให้ และเวลามีญาติโยมถามถึงหลวงปู่หมุน หลวงปู่หงษ์จะยกมือท่วมศีรษะและบอกกับลูกศิษย์ของท่านว่า หลวงปู่หมุนเป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์มาก

    [​IMG]
     
  18. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    [​IMG]
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>

    <CENTER></CENTER>
    หลวงปู่หงษ์ วัดเพชรบุรี จ.สุรินทร์ ยอดเกจิยุคปัจจุบันผู้อัญเชิญญาณเทพได้ทั้งปวงให้ความเคารพนับถือหลวงปู่ หมุนเป็นอย่างมากทั้งให้หลวงปู่หมุนครอบครูให้กราบหลวงปู่หมุนด้วยความ ศรัทธาแล้วยังกล่าวอีกว่าปู่หมุนสำเร็จแล้วทุกอย่างประหารกิเลสได้ทั้งปวงพอ พูดจบก็ยกมือเหนือหัว
    ด้วยความเคารพอย่างสูง แล้วยังมีเหตุการณ์ที่ศิษย์หลวงปู่อั้นวัดโรงโค สุดยอดเกจิแห่งลุ่มน้ำสะแกกรัง นำวัตถุมงคลหลวงปู่หมุนมาให้หลวงปู่อั้นจารเมื่อหลวงปู่อั้นจับวัตถุมงคล
    ที่นำมาให้จารแล้วถึงกับยกมือไหว้บอกว่าผู้ปลุกเสกวัตถุมงคลนี้เป็นพระ อรหันต์มีพลังอณูละเอียดมากไม่สามารถปลุกเสกทับได้เพราะพลังอณูที่ละเอียด มากนี้จะหาใครเล่าที่สามารถปลุกเสกได้อย่างนี้ไม่มีอีกเเล้วพร้อมกับถามลูก ศิษย์พระทีปลุกเสกรูปนี้ชื่อว่าอะไรพอลูกศิษย์บอกไปว่าหลวงปู่หมุนหลวงปู่ อั้นถึงกับยกมือขึ้นเหนือหัวด้วยความเคารพ "

    "หลวงปู่หมุนเป็นยอดอมตะเถระที่สะสมสรรพวิชาทั่วทุกแห่งหนด้วยการธุดงหาความ วิเวกและหาครูบาอาจารย์ที่มีวิชาแก่กล้าสั่งสมประสบการณ์ไปเรื่อยๆมีสหธรรม มิตรหลายรูปที่เป็นเกจิดังยกตัวอย่างเช่นหลวงปู่ทิม วัดช้างไห้ เกจิที่สามารถเชิญญาณหลวงปู่ทวดมาร่วมสร้างวัตถุมงคล
    จนเป็นที่กล่าวขานจนถึงทุกวันนี้เล่นหากันองค์ละหลายๆแสนหลวงปู่หมุนได้แลก เปลี่ยนวิชากับหลวงปู่ทิมเป็นเวลานานหลายเดือนก่อนที่หลวงปู่หมุนจะธุดงต่อ ไปยังมาเลเซีย เพื่อไปหาหลวงพ่อครนวัดบางแซะต่อ หลวงปู่หมุนธุดงไปทั่วทุกแห่งหนได้ไปเรียนวิชาสายสมเด็จลุนที่นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาวพระผู้ซึ่งสร้างปฏิหารมากมายจนเป็นที่กล่าวขานกันจวบทุกวันนี้สม เด็จลุนองค์นี้สามารถล่วงรู้อนาคตทุกอย่างได้ เดินบนน้ำได้เหาะเหินเดินอากาศได้และสามารถทำอีกหลายสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถ ทำได้วิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอภิบายได้เลยหลวงปู่หมุนได้เรียนวิชาต่างๆของ สมเด็จลุนผ่านทางหลานชายแท้ของสมเด็จลุนจนหมดไส้หมดพุงกันเลยทีเดียว
    เกจิอาจารย์ยุคนี้ให้การยกย่องหลวงปู่หมุนว่าเป็นหนึ่งไม่เป็น2รองใครในแผ่น ดิน หลวงปู่สวนวัดนาอุดม ผู้สร้างกริ่งสายรกอันโด่งดังเหมือนพลุแตกในตอนนี้ ยังให้ความเคารพแก่หลวงปู่หมุนเป็นอันมากถือเป็นรุ่นพี่ที่เรียนวิชาสายสม เด็จลุนมาด้วยกัน หลวงปู่คำบุ วัดกุดชมภูก็ให้ความเคารพเช่นเดียวกันหลวงปู่คำบุกล่าวไว้ว่าหลวงปู่หมุน เป็นพระที่เก่งมากมีบารมีมากจะไปหาใครเทียบเท่าเห็นจะไม่มี
    หลวงปู่เกลี้ยงวัดโนนแกดอายุ101ปีพระผู้ที่มีบารมีสูงสามารถเชิญญาณเทพได้ ยังกล่าวยกย่องหลวงปู่หมุนเป็นอย่างมากว่าท่านเก่งมากและมากด้วบารมีปลุกเสก วัตถุมงคลโดยการสร้างธาตุหนุนธาตุได้สร้างวัตถุชนิดไหนก็ทำให้เป็นของวิเศษ ได้ทุกอย่าง มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงปู่หมุนพร้อมหลวงปู่ละมัยรับกิจนิมนต์มาแถวสาย2ให้กับ ลูกศิษย์คนหนึ่งในงานเจอหลวงปู่กาหลงเขี้ยวแก้ว หลวงปู่ละมัยกับหลวงปู่หมุนทักหลวงปู่กาหลงว่าไม่เจอกันนานเลยนะเสือเหลือง แล้วศิษย์เลยถามหลวงปู่หมุนว่าทำไมกล่าวอย่างนั้นกับหวงปู่กาหลงล่ะครับท่าน หลวงปู่หมุนบอกว่าผิวหนังหลวงปู่กาหลงสีออกเหลืองจึงเรียกหลวงปู่กาหลงอย่าง นี้และหลวงปู่กาหลงยังให้ความเคารพหลวงปู่หมุนมากเช่นกันหลวงปู่กาหลงกล่าว ว่าเคยเจอกันตอนธุดงในป่าแถบภาคอีสานได้แลกเปลี่ยนวิชามาแล้วบอกว่าหลวงปู่ หมุนองค์นี้แหละเก่งมาก และยังมีอีกหลายท่านมากที่เคารพหลวงปู่หมุน...."
     
  19. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    วันนี้ได้เขียนเรื่องราวของหลวงปู่หมุน เพราะเกี่ยวกับมวลสารที่ผสมพระของท่านหลายอย่างทั้ง

    1. ผงตะไบชนวนพระเนื้อโลหะ ที่สร้างวัดป่าหนองหล่ม
    2. ผงหัวเชื้อที่สร้างพระผงดวงเศรษฐี ที่หลวงปู่ชักยันต์เอง
    3. พระผงดวงเศรษฐีแตกหัก
    4. พระแก้วมรกตวัดป่าหนองหล่มแตกหัก
    5. เกศาหลวงปู่หมุน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC01692.JPG
      DSC01692.JPG
      ขนาดไฟล์:
      940.4 KB
      เปิดดู:
      392
    • DSC01693.JPG
      DSC01693.JPG
      ขนาดไฟล์:
      620.2 KB
      เปิดดู:
      251
    • DSC01729.JPG
      DSC01729.JPG
      ขนาดไฟล์:
      165.7 KB
      เปิดดู:
      199
  20. dekdelta2

    dekdelta2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    5,702
    ค่าพลัง:
    +6,948
    วันนี้พอแค่นี้ก่อนครับ ยังมีเรื่องอีกเป็นร้อยเรื่องที่จะเล่าจนกว่าพระจะเสร็จครับ
    มวลสารเหล่านี้ เหมาะสมหรือยังกับพระที่ท่านจะนำมาติดตัวครับ ต้องเป็นหัวเชื้อเท่านั้น
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...