โดนขังวิญญาณ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ainteerati, 14 สิงหาคม 2010.

  1. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    แหะ..แหะ..ไม่สามารถ ยังหาไม่เจอ เค้าเลยไปชวนคนอื่นผูกต่อ แต่ครอบครัวเราก็แผ่เมตตาให้ตลอด ถ้าไม่ผิดพลาด เขาไปอยู่ชั้นจาตุมแล้วค่ะ
     
  2. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    แปลกจริงๆ ทำไมถึงขอให้หาอะไร ให้แปลกๆนะ นี่ถ้าหาไม่เจอ แล้วจะทำยังไงละคะนี่ ....ว่าแต่ว่า คุณคะรุทา หาเจอแล้วเหรอคะ ...

    ศิลามณี กำลังนึกภาพ และ คิดตาม ว่าผ้าที่ผูกคอนั้น หลังจากที่เขาตายไปแล้ว คงไม่มีใครเก็บให้หรอก อาจจะมีใครเอาไปทิ้ง หรือเผาไฟไปแล้วก็ได้ จะไปหาได้จากไหน ..คุณคะรุทา คงลำบากน่าดูเลยนะคะ ..
     
  3. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    มิน่าละ คุณคะรุทา ถึงไม่ยอมไปงานศพ ครั้งแรกๆที่อ่าน ศิลามณียังไม่ใคร่เข้าใจ แต่ตอนนี้เข้าใจแล้วคะ
     
  4. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    ชื่อ คะรุทา แปลว่าอะไรคะ มีความหมายอะไรพิเศษ หรือเปล่า ของ ศิลามณี ชอบก้อนหินก็เลยตั้งว่าศิลามณี
     
  5. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    คะรุทา มาจากคะรุฑา พญาครุฑค่ะ
    ผ้าหายังไม่เจอเพราะคิดว่ามีบางคนแอบเอาไปเก็บเพื่อผูก บางอย่างจึงทำให้เขาไม่สงบค่ะ แต่เขาเคยพยายามจะบอกว่าผ้าอยู่ที่ใครแต่บอกไม่ได้สักทีค่ะ
     
  6. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    แอบเอาไปเก็บ..เพื่อผูก ....เป็นทางไสยศาสตรย์อย่างนั้นใช่ไหมคะ ..ศิลามณี กำลังนึกถึงตอนที่ไปหา พ่อแม่ครูบาอาจารย์ เวลาที่มีคนมาให้ท่านรักษา มีอยู่รายหนึ่ง อาการเขาเหมือนโดนผี กระทำให้เจ็บป่วย ...

    พอพ่อแม่ครูอาจารย์ ท่านมารักษา.. ท่านก็ถามผีตัวนั้นว่าใครส่งมา.. .. ผีเขาก็บอกไม่ได้ แถมร้องไห้แงๆ ร้อง เหมือนจะเป็นจะตาย แถมเอามือ2ข้างปิดปาก ส่ายหัวดิกๆ เป็นอาการเหมือนบอกไม่ได้ บอกไม่ได้ อย่ามาถาม .. ดูแล้วน่าสงสารจริงๆ ... คะ

    ทีหลังพ่อแม่ครูอาจารย์ ท่านก็เลยไม่ถาม และ ก็บอกให้ญาติของคนเจ็บทำบุญไปให้ ก่อนที่ผีจะไป ท่านให้ผีนอนฟัง เสียงสวดมนต์ธรรมจักรด้วย โดยจะมีครูบาอาจรย์ ที่ท่านใส่ชุดขาว นั่งล้อมเป็นวงกลมใหญ่ๆ สวดธรรมจักร ..ศิลามณี ก็ไปช่วยนั่งสวดด้วย คิกๆ สวดไม่ใคร่ค่อยหรอก กร่อมแก่มๆ ไป พอสวดจบ คนนั้นก็ค่อยสบายตัวขึ้นนะคะ
     
  7. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    คงใช่มั้งค่ะ น่าสงสารจริงๆเลย คะรุทาก็สวดบทธรรมจักทุกวันค่ะ เนี่ยคือเหตุผลที่คะรุทาไม่ชอบไปงานศพ รพ.ก็เหมือนกันค่ะ กลับมาถึงบ้านเนี่ยะภาพหน้าคนมาเป็นแถบๆแบบแผ่นฟิล์มหนังเลยค่ะชัดเจนทุกคน หลอนๆๆ ตอนนี้กำลังแก้ที่ตัวเองอยู่ว่าพวกเขาน่าสงสาร เขาคงมาขอความช่วยเหลือ แต่ก็ยังหลอนๆๆๆ อยู่ค่ะ
     
  8. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196

    แบบนี้เขาเรียกว่าผีโดนลงอาคมชื่อ "กุญแจปาก" เมื่อเจอผีที่มีอาการ
    ดังนี้ให้เราทำการสะเดาะกุญแจปากก่อน โดยเสกน้ำให้กิน โดยมากผีที่มี
    การสะกดกุญแจปากมาส่วนมากจะเป็นพวกปอบ ใช้มาแฝงร่างให้กลับ
    คืนหาผัวหาเมียนั่นล่ะ ผีจำพวกนี้จะปล่อยมาโดยมีจุดประสงค์ ไม่ปล่อย
    มาพร่ำเพรื่อ

    อย่าโดน"ผีหลอก" ให้สงสารเพราะตอนมันทำเขามันหัวเราะได้ใจ ตอนโดน
    เราจับทำมาร้องห่มร้องให้ ถ้าผีที่ดีต้องไม่ทำชั่วแม้โดนอาคมบังคับ เพราะถ้า
    ไม่ยอมซะอย่างแล้วถูกบังคับ ท่านทั้งหลายมาช่วยตลอด นอกจากผีเห็นดีเห็น
    งามตามเขาไปแล้วมาร้องภายหลัง ท่านทั้งหลายก็จะส่ายหน้าบอก
    "กรรมของมัน"

    คนเราเหมือนกัน ไม่ทำชั่วแม้ความจำเป็นบังคับ ยอมตายดีกว่าทำผิด นี่เรียกคน
     
  9. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    [​IMG]



    [​IMG]




    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • .2.jpeg
      .2.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      10.2 KB
      เปิดดู:
      817
    • 01.jpeg
      01.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      6.1 KB
      เปิดดู:
      798
    • 44K100.jpg
      44K100.jpg
      ขนาดไฟล์:
      185.4 KB
      เปิดดู:
      937
    • khom2.png
      khom2.png
      ขนาดไฟล์:
      24.3 KB
      เปิดดู:
      1,744
    • Taitham-subconsonants.gif
      Taitham-subconsonants.gif
      ขนาดไฟล์:
      19.2 KB
      เปิดดู:
      1,049
  10. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    ขอบคุณคะ คุณจิ-โป ศิลามณี เพิ่งทราบจาก คุณจิ-โป ว่าผี.....ก็มีมารยากับเขาด้วย....คราวก่อนๆ อ่านในกระทู้นี้แหละคะ หน้าไหน ศิลามณี จำไม่ได้แล้วคะ...

    เห็นคุณจิ-โป เล่าเรื่องแผ่บุญกุศล... ศิลามณี ขออนุญาต... เรียนถามนะคะ บุญกุศลของเรานี่ ยิ่งแผ่ออกไป ยิ่งเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือ เปล่าคะ .. หรือว่า ยิ่งแผ่ ยิ่งหมดไว ... ถ้าเป็นอย่างนั้น... ศิลามณี จะได้ไม่แผ่บุญให้ใคร....
    พร่ำเพรื่อ จะงกเก็บไว้คนเดียว :p


     
  11. ศิลามณี

    ศิลามณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    1,008
    ค่าพลัง:
    +1,321
    อักษรอะไรนะคะ....เหมือนสมัยพ่อขุนรามคำแหง
     
  12. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    <table width="98%"><tbody><tr><td><table width="98%"><tbody><tr><td>อักษรขอม ที่ใช้จารในใบลานที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยมีอยู่ 2 แบบ คือ

    • อักษรขอมบรรจง ส่วนมากใช้จารพระธรรมคำสอนต่างๆ
    • อักษรขอมหวัดบันทึก เพื่อความรวดเร็วเรียกกันว่า อักษรเกษียณ
    </td> </tr> <tr> <td> ลักษณะ อักษรขอมที่นิยมจารลงในใบลานมีอยู่ 3 ลักษณะ 3 ส่วน คือ ตัวอักษรหนามเตย และเชิงอักษรขอมทุกตัว จะมีเครื่องหมายเขียนหยักไว้ข้างบนที่เรียกว่า หนามเตย
    หนามเตย โดยปกติแล้วจะเขียนติดกับสระ ยกเว้นตัวที่เขียนประสมกับสระอา อิ อี ส่วนเชิงอักษรนั้นเป็นเครื่องหมายแทนตัวอักษรที่เป็นตัวตาม ตัวสะกดจะเขียนไว้ข้างบนเชิงที่เป็นตามนั้นจะเขียนไว้ข้างล่างถ้าเป็นการ เขียนเป็นภาษาบาลี แต่ถ้าเป็นการเขียนเป็นภาษาไทยเชิงอาจเป็นตัวสะกด ซึ่งจะแนะนำวิธีการเขียนอักษรขอมต่อไป
    </td> </tr> <tr> <td> อักษรขอมมี 41 ตัว แบ่งเป็น สระ 8 ตัว พยัญชนะ 33 ตัว

    1. สระ มีการเขียน 2 แบบ คือ สระจมและสระลอย
      • สระลอย คือ สระที่ไม่ได้ประสมกับพยัญชนะ ใช้เขียนขึ้นต้นคำที่มีสระนำหน้า สระลอยมีรูปดังนี้
    [​IMG]

      • สระจม คือ สระที่ใช้ประสมกับพยัญชนะ มีลักษระดังนี้
    [​IMG]

    1. พยัญชนะที่เขียนเป็นภาษาบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็น 5 วรรค วรรคละ 5 ตัว เป็นเศษวรรคอีก 8 ตัว ดังนี้
    <table width="550" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> ​
    </td> </tr> <tr> <td> ตั้งแต่ โบราณมา การเรียนอักษรโบราณอีสาน ไม่ว่าจะเป็นอักษรขอม อักษรธรรม บทปัญญาบารมี เป็นบทใช้สอนฝึกหัดอ่านเขียน และถือว่าถ้าใครสามารถอ่านเขียนปัญญาบารมีได้แล้วถือว่ามีความรู้เรื่อง อักษรโบราณแล้ว ครูผู้สอนจะให้หาประสบการณ์ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองต่อไป






    http://www.isangate.com/word/khom.html</td> </tr> </tbody></table> [​IMG] </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    </td> </tr> </tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 กันยายน 2010
  13. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196

    กุศล(ความคิดดีในทางบวก) ยิ่งแผ่ออกไปยิ่งได้มาเพิ่มมากกว่าเดิม
    บุญ แผ่ออกไปไม่มีคนรับก็กลับมาหาเรา แผ่ออกไปมีคนรับแล้วก็หมดได้ถ้า
    เขาคนที่เราแผ่ให้อธิฐานใว้ว่าขอ แต่ถ้าอธิฐานใว้ว่าอนุโมทนาขอมีส่วนร่วม
    ในบุญนั้น บุญที่เราให้ก็ไม่หมดไม่สิ้น

    ส่วนสิ่งสำคัญที่เอาใว้ช่วยคนก็ดี เอาใว้บำเพ็ญฌาณก็ดี ฝึกสมาธิก็ดี
    ท่านเรียกว่า บารมี อันนี้หมดแน่ๆ ยิ่งให้ยิ่งหมด หมดแล้วเราต้องหาใหม่
    อาจจะถามว่าแล้ว บารมีต่างจากบุญกุศลอย่างไร ท่านว่า มันต่อมาจากนั้น
    คือเมื่อเราทำบุญแล้ว ใจเรามีกุศลส่งผลให้เราอิ่มไปด้วยแรงบุญ นี่เรียกบารมี
    ใจที่อิ่มอยุ่อย่างนั้น เอามาเป็นบาทฐานแห่งสมาธิแรกคือปิติ แล้วจะสุข แล้ว
    ก็ว่าต่อไปด้วยองค์สมาธิ นี่ถ้าไม่มีบารมี หรือทำบุญตามประเพณีโดยใจเรา
    ไม่เป็นกุศล เราก็ไม่อิ่มด้วยบารมี ก็จะทำบุญเหมือนไม่ได้บุญ

    ทีนี้ให้เราสังเกตุดู เช่นผมเองช่วยคนที่ไม่สมควรช่วย พอท่านทั้งหลายมา
    ตำหนิ ยกตัวอย่างกรรมมาให้ดู ตอบคำถามเขาไม่ได้เช่นเขาถามว่าเจ้าตัวเขา
    รู้ใหมว่าทำกรรมแบบนี้ใว้ แล้วต้องชดใช้หนี้ ก็ตอบไม่ได้ เจ้าตัวคนที่เราช่วย
    ดันสร้างกรรมต่อไปอีก ใจที่อิ่มในบุญที่ช่วยเขาก็ถดถอย นี่เรียกบารมี
    ผมหดหายไป เกิดความพร่องในส่วนบารมีโดยที่เรารู้สึกได้เลย ทำให้ความ
    สามารถเข้าสมาธิก็ยากขึ้นเพราะปิติไม่พอ ครั้นจะกระโดดไปตรงนั้นเลยก็ไปได้
    แต่จะอยู่ในฌาณได้ไม่นาน ไม่เหมือนไปตามขั้นตอนที่จะอยู่นานแค่ไหนก็ได้

    อีกกรณีหนึ่ง เราช่วยคนที่สมควรช่วย ท่านทั้งหลายก็สรรเสิร เจ้ากรรมทั้ง
    หลายมายกตัวอย่างกรรมไม่ดีให้ดูก็มีข้อกล่าวตอบได้กระจ่างว่า คนที่เราช่วย
    สำนึกแล้ว กรรมนี้ๆเขารู้แล้ว เขากำลังหาทางบรรเทาเช่นนี้ๆ แม้ตัวเขาเอง
    จะทำไม่ได้ดีพอ ลูกหลานเขาก็รับรู้แล้วว่าเขามีกรรมเช่นนี้ๆ ลูกหลานเขารับ
    ปากแล้วว่าจะช่วยบรรเทากรรมโดยวิธีนี้ๆ คือเรามีข้อต่างๆใว้ตอบคำถามเขา
    อีกมากมาย กำลังใจเราก็ไม่หดหาย ยังอิ่มที่ได้ช่วยเขาอยู่ นี่เรียกบารมีเราไม่
    หมดไปในการช่วยคน ในการแผ่ออก

    ตัวอย่างชัดเจนของบารมีที่ผมว่ามันจำเป็นต่อสมาธิคือ คำว่าบารมีนั้นมัน
    เป็นผลดีมาจากบุญและกุศล เช่นเมื่อเราอยู่กลางป่า ท้องเราหิว เราจะคิดไป
    เก็บผลใม้มากิน หาเห็ดหาหน่อใม้มากิน นี่เรียกบารมี บารมีส่งผลในทางดี
    ให้เราคิดดี เมื่อเรานั่งสมาธิ บารมีก็ส่งผลในทางดีเช่นกัน

    ส่วนทางตรงกันข้าม บางคนเมื่ออยู่ในป่า ท้องหิว ก็คิดหาอาหารโดยการฆ่า
    เห็นนกยิงนก เห็นปลาตกปลา เห็นเนื้อก็ฆ่าเนื้อ นี่เรียก อาสวะ ตรงข้าม
    กับบารมีครับ คนเช่นนี้มานั่งสมาธิ อาสวะนั้นก็จะก่อเกิดเป็นนิวรณ์นั่นเอง

    ท่านว่าคนฉลาดในการทำบุญเป็นเทวดาได้แน่นอน ก็อาศัยจำแนกชัดเจน
    ในอารมณ์เหล่านี้ครับ ทีนี้เราลองสังเกตุดูว่าเรามีอารมณ์บุญ กุศล บารมี ครบ
    ใหม
     
  14. ainteerati

    ainteerati เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,233
    ค่าพลัง:
    +2,275
    อักขรวิธีของอักษรธรรมอีสาน
    อักษรวิธีหรือการผสมอักษรธรรมอีสาน แตกต่างจากอักษรวิธีของอักษรไทยโดยสิ้นเชิง กล่าวคือ อักษรไทยกำหนดให้วางพยัญชนะไว้บนบรรทัดเดียวกันหมด ทั้งพยัญชนะต้น พยัญชนะตัวสะกดและตัวควบกล้ำ ส่วนสระวางไว้รอบพยัญชนะต้น หรือวางไว้บน ล่าง หน้า หลังพยัญชนะได้
    ส่วนอักขรวิธีของอักษรธรรมอีสานมีระเบียบวิธีที่แตกต่างออกไป แต่คล้ายคลึงกับอักษรวิธีของอักษรขอม โดยวางพยัญชนะต้นซึ่งใช้พยัญชนะตัวเต้มไว้บนบรรทัด ส่วนพยัญชนะซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลีซึ่งใช้รูปของพยัญชนะตัวเต็มบ้าง ตัวเฟื้องบ้างนั้นอาจวางไว้บนล่าง ข้างหน้า ข้างหลัง และหลังพยัญชนะได้
    พยัญชนะของอักษรธรรมอีสาน
    พยัญชนะของอักษรธรรมอีสานแบ่งได้เป็น 2 พวกใหญ่ คือ

    1. พยัญชนะตัวเต็ม คือ รูปของพยัญชนะที่เขียนเต็มรูปตามรูปแบบของอักษรธรรมอีสานซึ่งมี 38 รูป ใช้เขียนบนบรรทัด ทำหน้าที่เป็นพยัญชนะต้น หรือบางตัวอาจทำหน้าที่เป็นตัวสะกดหรือตัวควบกล้ำได้ และในบางกรณีมีบางตัวใช้เขียนใต้บรรทัดซ้อนใต้พยัญชนะโดยทำหน้าที่เป็นตัว สะกด ตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตาม ในหลักสังโยคของภาษาบาลี
    2. ตัวเฟื้อง บางครั้งเรียกว่า ตัวห้อย หรือ ตีน ซึ่งเหมือนกับเชิงในพยัญชนะขอม โดยนิยมเขียนใต้บรรทัด (ยกเว้นตัวเฟื้องของพยัญชนะ และแบบหนึ่งของ เฟื้อง) ตัวเฟื้องที่พบในอักษรธรรมอีสานมีทั้งหมด 19 ตัว ซึ่งตัวเฟื้องเหล่านี้มีหน้าที่เป็นพยัญชนะตัวต้นไม่ได้ จะใช้เขียนในกรณีที่พยัญชนะเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด หรือตัวควบกล้ำ หรือตัวสะกดตัวตามในหลักสังโยคของภาษาบาลี
    ลักษณะของตัวอักษรธรรมดังภาพด้านล่างนี้ เป็นฟอนต์ที่อาจารย์สานิตย์ โภคาพันธ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ได้ออกแบบสร้างขึ้น มี 2 แบบสำหรับการพิมพ์บนโปรแกรมจัดเอกสารทั่วไป (word) เรียกชื่อฟอนต์ว่า UbWManut และอักษรสำหรับโปรแกรมกราฟิก (PhotoShop) เรียก UbPManut ชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์มนัส สุขสาย ปราชญ์ท้องถิ่นอุบลฯ ผู้มีความสามารถด้านการอ่านและจารตัวอักษรธรรม อัษรไทยน้อย และเขียนเรื่องราวของตัวอักษรโบราณอีสานเผยแพร่
    <table width="575" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> <tr> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>


    Dhamma Alphabet : IsanGate ประตูสู่อีสานบ้านเฮา
     
  15. จิ-โป

    จิ-โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,006
    ค่าพลัง:
    +2,196
    เอาพระลงมาปัดฝุ่น แมลงอะไรไม่รุ้ไปทำรังดินใต้ฐานท่าน ตอนนี้มันเป็นตัวไปแล้ว
    เลยถึงเวลาลงมาปัดออก
    เป็นพระที่เอาออกมาจากในถ้ำแถวๆเต่างอยครับ ในถ้ำมีพระเยอะมาก มากมายมหาศาล
    เป็นเมืองที่เขาสร้างพระใว้ ข้างในพระมีอะไรนั่งดูเอาครับ
    ถ้านี้ปากถ้ำเปิดเองปิดเอง ทุกๆขึ้น 3 ค่ำเดือน 3 คือมันเปิดวันเดียว นอกนั้นหินเลื่อนมา
    ปิดกั้นใว้เหลือแค่ฝ่ามือ แต่เปิดออกก็แค่คืบกว่าๆเปิดไม่มากแค่พอเบี่ยงตัวลอดเข้าได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2010
  16. angeltk229

    angeltk229 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,584
    ค่าพลัง:
    +6,912
    น่าจะเป็นรังหมาล่านะคะ
    หมาล่าเป็นแมลงชนิดนึงชอบทำรังไว้ตามที่ต่างๆ ชอบจับหนอนมาซ่อนไว้ในรัง
    [​IMG]


    หน้าตามันเป็นแบบนี้
     
  17. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876


    อ่าน: 1435
    ความเห็น: 1
    [​IMG]
    ความหมายของบุญกริยาวัตถุ 10 ประการ <SUP></SUP>


    การทำความดี คือ การทำบุญการชำระจิตใจให้สะอาด ผ่องใส สดชื่น เบิกบาน
    <DD>
    บุญกริยาวัตถุ 10
    คำว่า "บุญ" ปัจจุบันเรามักใช้ควบคู่กับคำว่าทาน เช่น ทำบุญทำทาน คำว่าทำบุญ ในที่นี้คนทั่วไปมักหมายถึง การทำทานนั้นเอง คือ การให้สิ่งของแก่ผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ด้วยความเต็มใจ
    </DD><DD>
    </DD><DD>
    แต่คำว่าบุญในทางพระพุทธศาสนามีความหมายมากกว่าการให้ "บุญ" หมายถึง ความดี ฉะนั้นการทำความดีก็คือการทำบุญการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ก็เป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง ในทางพระพุทธศาสนาการทำบุญนั้นสามารถทำได้ 10 ทาง เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ได้แก่
    1.ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
    2.สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
    3.ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
    4.อปวายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่ คือ ไม่ทำตัวเป็นคนพาล การทำตัวหยิ่งยโส แต่เป็นคนสุภาพอ่อนโยน
    5.เวยยาวัจวมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจกรรมที่ชอบ เช่น รับใช้บิดา มารดา ผู้มีพระคุณ ครูอาจารย์รวมตลอดถึงคนที่เราไม่รู้จักแต่ต้องการความช่วยเหลือจากเราในบางโอกาส โดยที่กิจการต่างๆที่เราช่วยนี้ด้วยชอบด้วยกฎหมาย ชอบด้วยประเพณี และชอบด้วยธรรม
    6.ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ เฉลี่ยส่วนความดีให้กับผู้อื่น
    7.ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ ยินดีในความดีของผู้อื่น
    8.ธัมมัสสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม คือ รับฟังความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพื่อชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ และตั้งอยู่ในความเห็นที่ดีงาม
    9.ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม คือ การถ่ายทอดความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
    10.ทิฏฐุชุกัมม์ บุญสำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ตรง คือ การใช้ปัญญาไตร่ตรองอยู่เสมอว่าอะไรผิด อะไรถูก


    • [SIZE=+0]ทานมัย การให้ทานมีวัตถุประสงค์ เพื่อขจัดความตระหนี่ ความโลภในจิตใจมนุษย์ และการให้ทานยังมีจุดประสงค์อย่างอื่น ได้แก่ เพื่อบุชาคุณ เพื่อการสงเคราะห์ เพื่ออนุเคราะห์ เพื่อทำคุณ
    • การทำทานมี4ประเภทคือ 1) อามิสทาน ได้แก่ การให้วัตถุสิ่งของต่างๆ 2) วิทยาทาน ได้แก่การให้ความรู้ทางโลกแก่บุคคลอื่น 3) ธรรมทาน ได้แก่ การให้ความรู้ทางธรรม 4)อภัยทาน ได้แก่ การให้อภัยซึ่งกันและกัน การให้ทานที่กล่าวมานั้น " การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทั้งปวง (ธม.มทานํ สพ.พทานํ ชินาติ) " ทั้งนี้เนื่องจากการให้ทานอย่างอื่นมีประโยชน์เฉพาะหน้า หรือในชาตินี้เท่านั้น แต่ธรรมทานมีประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาติหน้า สำหรับการทำบุญตักบาตรนั้น จะต้องมีองค์คุณ 3ประการ จะทำให้บุญมาก คือ
      1) วัตถุบริสุทธิ์
      2) เจตนาบริสุทธิ์ (ก่อนให้ทานมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เต็มใจขณะให้ทาน ให้ด้วยจิตใจเบิกบาน หลังให้มีจิตใจแช่มชื่น ไม่นึกเสียดาย)
      3)บุคลบริสุทธิ์(ปฎิคาหก คือ ผู้รับทานเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีความสงบระงับ มีกายวาจาเรียบร้อย ตั้งใจประพฤติธรรม)
    • สีลมัย หลังจากพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว พระองค์ทรงพิจารณาสัตว์โลกว่า ทำไมจึงมีวิบากกรรรมต่างๆกันทำไม จึงไปเกิดเป็นสัตว์นรก เปรต อสูรกาย หรือดิรัจฉาน และทำไมจึงเกิดเป็นมนุษย์ และมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนพิการ บางคนสติปัญญาดี บางคนทรัพย์น้อย บางคนสร้างฐานะไม่ได้สักที เป็นต้น เหตุที่มนุษย์เป็นคนสมบูรณ์ คือ ศีล5 พระองค์ทรงบัญญัติศีล5 เพื่อให้มนุษย์รักษาและถือเป็นหลักปฏิบัติ เป็นการป้องกันตนเองไม่ให้ตกไปในทางที่ชั่ว เช่น อบายภูมิ เป็นต้น
      ....... การรักษาศีลเป็นการขจัดกิเลสขั้นละเอียดกว่าการให้ทาน คือ ขจัดความโลภ โกรธ หลง ให้เบาบางจากจิตใจ ทำให้มนุษย์มีความสุขกายสุขใจมากขึ้น
    • ภาวนามัย การเจริญภาวนา หมายถึง การฝึกอบรมจิตให้เจริญขึ้น ซึ่งมีอยู่2วิธีคือ
      1) สมถภาวนา คือ การฝึกจิตเพื่อมุ่งความสงบของจิต การฝึกจิตให้มีสงบอารมณ์เดียวดิ่งแน่วแน่ มีความตั้งมั่น(หรือที่เรียกว่าสมาธิ) ซึ่งมี40 วิธี(กรรมฐาน40) จะใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับจริตของแต่ละบุคคล แต่วิธีที่นิยมกันคือ การเจริญภาวนาปานสติ
      2) วิปัสนาภาวนา คือ การฝึกจิตที่สงบแล้วให้พิจารณาด้วยปัญญารู้เป็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ตามธรรมชาติของสิ่งนี้

    </DD>[/SIZE]
     
  18. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการแบ่งส่วนแห่งความดีให้แก่ผู้อื่น

    . . . . . การทำบุญแล้ว แบ่งส่วนแห่งการทำความดีนั้นให้แก่ผู้อื่น ให้ผู้อื่นได้มีส่วนแห่งบุญนั้นด้วย ชื่อว่า "ปัตติทาน" การแบ่งส่วนบุญนั้น ทำได้หลายประการ เช่น

    - แบ่งส่วนบุญนั้นให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่

    - อุทิศส่วนบุญนั้น ให้แก่ผู้ที่ล่วงลัไปแล้ว

    - อุทิศส่วนบุญนั้น ให้แก่เทวดา ชื่อว่า "เทวตาพลี"

    การแบ่งส่วนบุญ ให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่

    . . . . . นายอันนภาระ เป็นคนขนหญ้าของสุมนเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี ได้ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พระนามว่า อุปริฏฐะ ตั้งความปรารถนาว่า ด้วยอานิสงส์ ของทานนี้ ขอความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มีแก่เรา คำว่า "ไม่มี" ขออย่าได้มีในภพน้อยภพใหญ่ ที่บังเกิด พระปัจเจกพุทธเจ้า กระทำ อนุโมทนาว่า "ขอความปรารถนาของท่านจงสำเร็จเถิด"

    . . . . . เทวดาที่สิงอยู่ในฉัตรของบ้าน สุมนเศรษฐี กล่าวว่า "น่าชื่นใจจริง ทานของท่านอันนภาระตั้งไว้ดีแล้วในพระปัจเจกพุทธเจ้า" ได้ให้สาธุการ ๓ ครั้ง สุมนเศรษฐี ได้ยินดังนั้น จึงถามเทวดา ว่า "เราถวายทานมาเป็นเวลานานเท่านี้ เหตุไรท่านยังมิเคยให้สาธุการแก่เราเลย" เทวดาตอบ ว่า "เพราะความเลื่อมใสในบิณฑบาต ที่อันนภาระถวายแล้ว"

    . . . . . สุมนเศรษฐี เมื่อรู้เหตุนั้น จึงขอซื้อบุญนั้นกับอันนภาระ ด้วยทรัพย์ถึงพันกหาปนะ อันนภาระไม่ยอมขาย แต่ได้แบ่งบุญนั้นให้สุมนเศรษฐี อนุโมทนาด้วยศรัทธา เพราะฟังอุปมาของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นว่า "ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง หรือทัพพีหนึ่งก็ตาม เมื่อบุคคลนั้น แบ่งส่วนในทานของตนให้แก่ ผู้อื่น ให้แก่คนมากเท่าใด บุญนั้นย่อมเจริญ เหมือนเมื่อแบ่งบุญนี้ให้เศรษฐีก็เท่ากับว่าเพิ่มบุญ เป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นของท่าน อีกส่วนหนึ่งเป็นของเศรษฐี เปรียบเหมือน ประทีปที่จุดไว้ในเรือนหลังเดียว เมื่อมีผู้นำประทีปอื่นมาขอต่อไฟ อีกร้อยดวง พันดวงก็ตาม ประทีปดวงแรก ในเรือนนั้นก็ยังมีแสงสว่างอยู่ และประทีปอีกร้อยดวง พันดวง ที่ต่อออกไปก็ยิ่งเพิ่มแสงสว่างให้สว่างอีกเป็นทวีคูณ ดุจบุญที่แม้แบ่งใครๆ แล้ว บุญนั้น ก็ยังมีอยู่มิได้หมดสิ้นไป ฉะนั้น" (ขุททกนิการ คาถาธรรมบท ภิกขุวรรค เรื่องสุมนสามเณร)

    การอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

    . . . . . ในอังคุตตรนิกาย ทสกนิกาต ชาณุสโสณีสูตร ข้อ ๑๖๖ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบ ข้อสงสัย ของชาณุสโสณี พราหมณ์ ว่า ในบรรดา สัตว์ ทั้งหลาย มีสัตวนรก สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เทวดา และเปรตทั้งหลาย มีเปรตจำพวกเดียวที่ได้รับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้ เพราะวิสัยของเปรต ย่อมยังชีพอยู่ด้วยทานที่หมู่ญาติ หรือหมู่มิตรสหายให้ไปจากมนุษย์โลกนี้เท่านั้น
    ส่วนสัตว์เหล่าอื่นที่ไม่ได้รับเพราะเหตุว่า

    . . . . "สัตว์นรก" มีกรรมเป็นอาหาร มีกรรมเป็นเป็นผู้หล่อเลี้ยงอุปถัมภ์ ให้สัตว์นรกนั้นๆ มีชีวิตอยู่

    . . . . "สัตว์เดรัจฉาน" มีชีวิตอยู่ด้วย ข้าว น้ำ หญ้า และเนื้อสัตว์ เป็นต้น

    . . . . "มนุษย์" มีชีวิตอยู่ด้วยอาหารมี ข้าวสุก และขนม เป็นต้น

    . . . . "เทวดา" มีอาหารทิพย์ มิได้บริโภคอาหารเช่นเดียวกับมนุษย์

    . . . . ส่วน "เปรต" นั้น ไม่มีการทำไร่ ไถนา ไม่มีการเลี้ยงโค ไม่มีการค้าขาย เปรต มีชีวิตอยู่ด้วยการให้ของผู้อื่นแต่อย่างเดียว เพราะฉะนั้น เปรตจึงอยู่ในฐานะที่จะรับส่วนบุญที่มีผู้อุทิศไปให้

    เหมือน พระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญที่ได้ถวายทานแล้ว ให้แก่เปรตผู้เป็นญาติสายโลหิต ทั้งหลาย ที่รอคอย มาเป็นเวลานาน ดังในขุททกนิกายขุททกปาฐะ ติโรกุฑฑสูตร อรรถกถา กล่าวว่า

    - ในขณะที่พระเจ้าพิมพิสาร ถวายข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกิน แล้วทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ทันใดนั้น ข้าวยาคู ของเคี้ยว ของกินอันเป็นทิพย์ ก็บังเกิดแก่เปรตเหล่านั้น ให้อิ่มหนำ สำราญ มีอินทรีย์อิ่มเอิบ

    - ในขณะที่พระราชานั้น ถวายผ้า และเสนาสนะเป็นต้น แล้วทรงอุทิศว่า ขอทานนี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ทันใดนั้นเอง ผ้าทิพย์ ยานทิพย์ ปราสาททิพย์ เครื่องปูลาด และที่นอน อันเป็นทิพย์ บังเกิดขึ้นแล้ว แก่เปรตเหล่านั้น ได้สวมใส่ใช้สอย

    - ในขณะที่พระราชา หลั่งน้ำทักษิโณทก (กรวดน้ำ) ทรงอุทิศว่า ขอทานเหล่านี้จงถึงแก่พวกญาติทั้งหลาย ขอญาติทั้งหลายจงมีความสุข ทันใดนั้นเอง สระโบกขรณีดาษด้วยปทุม ก็บังเกิดแก่พวกเปรตเหล่านั้น ให้ได้อาบ ดื่มกิน ระงับความกระหายกระวนกระวายได้แล้ว มีผิวพรรณดุจทอง

    การอุทิศส่วนบุญให้แก่เทวดา เรียกว่า เทวตาพลี

    . . . . . ในปรมัตถทีปนี อรรถกถา ปาฏลิคามิยสูตร แสดงไว้ว่า บุคคลเมื่อถวายปัจจัย ๔ แก่สงฆ์แล้ว พึงอุทิศส่วนบุญนั้นให้แก่เทวดาด้วย เพราะว่าคนที่อุทิศส่วนบุญให้แก่เทวดาแล้ว เทวดาย่อมคุ้มครองรักษาผู้นั้น เพราะเทวดาพากันคิดว่า คนเหล่านี้แม้จะมิได้เป็นญาติกับเราก็ยังให้ส่วนบุญแก่เราได้ ฉะนั้น เราควรอนุเคราะห์พวกเขาตามสมควร

    . . . . อนึ่งพึงเข้าใจว่า เทวดา เมื่อท่านทราบแล้ว ท่านอนุโมทนากุศลนั้นด้วย ท่านก็เพียงแต่เกิดกุศลจิตพลอยยินดีด้วยเท่านั้น ท่านมิได้รับผลของทาน ที่มีผู้อุทิศไปโดยตรง เหมือนอย่างเปรตที่ได้รับ


    (เอกสารแจก : วัดมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช)
    ที่มา
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6637<!-- google_ad_section_end -->
     
  19. คะรุทา

    คะรุทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,243
    ค่าพลัง:
    +3,477
    ทักทายค่ะ

    คุณจิ-โป วันนี้มีข่าวดีนี๊ดๆๆๆเดียว แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี...เย้...เราจะได้วางความทุกข์ในใจซะที
     
  20. to2504

    to2504 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กันยายน 2007
    โพสต์:
    1,449
    ค่าพลัง:
    +1,230
    พระองค์นี้ใช่ที่ไม้กลายเป็นหินหรือเปล่าคะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...