อย่างนี้เรียกว่าสมาธิได้หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Supamonta, 9 เมษายน 2009.

  1. Supamonta

    Supamonta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +120
    อย่างนี้เรียกว่าสมาธิได้หรือไม่

    ปกติดิฉันปฎิบัติธรรม คือสวดมนต์ นั่งสมาธิอยู่แล้ว แต่จะนั่งไม่ค่อยได้นานเท่าไหร่ แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ดิฉันทำแล้ว จิตดิฉันนิ่งมาก ไม่ได้คิดอะไร คือเวลานั่งทำบายศรี ใจจดจ่ออยู่กับมือและการพับใบตอง สงบนิ่งอยู่ได้นานหลายชั่วโมง เลยทีเดียว อย่างนี้จะเรียกได้ว่าใจมีสมาธิ หรือเปล่า
    และเวลาดิฉันสังเกตุ ครูบารอาจารย์ ทางสายศิลปะ วาดภาพ ลงสีจริงวาดลายเส้น สีทอง วาดภาพองค์เทพ ได้สวยงามมากๆ โดยไม่ต้องมีแบบล่างภาพ
    บรรจงวาดแต่ละเส้นลงไป วิจิตรงดงามและมั่นคงมาก รู้สึกทึ่งมากๆ
    ดิฉันคิดว่า ท่านต้องมีสมาธิมากๆ มือท่านถึงได้นิ่งมากๆ

    ท่านคิดว่างานศิลปะต่างๆ มีประโยชน์ต่อจิตวิญาณหรือไม่ค่ะ
     
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คำถามดีมากครับ

    ตอบว่า เรียกว่า สมาธิ อันเป็นสมาธิที่เหมาะสมต่อการทำงาน เป็นสมาธิที่เฉียดๆ หรือ ปานกลาง
    ทีนี้ ก็มาสังเกตดูว่า ลองไปจี้เขาหน่อยสิ เช่นไปตำหนิว่า งานที่เขากำลังทำไม่ได้เรื่อง
    แล้วดูว่า ใจเขากระเพื่อมไหม พวกช่างศิลป์บางคนอารมณ์อ่อนไหวมาก นั่นเพราะจิตใจลึกๆ มันก็ยังไม่ได้กำจัดนิวรณ์ออกไป

    แต่ทีนี้ สมาธิ ที่ฝึกในทางศาสนาพุทธนี้ ไม่ใช่แต่จะทำการงานได้ดี แต่จะทำให้จิตใจ ไม่ค่อยหวั่นไหว ไม่กระเพื่อม นั่นแหละจึงบอกว่า นิวรณ์ก็ไม่ค่อยก่อตัว เช่นบางคน อารมณ์ดี ใครมาด่า ก็รู้สึกไม่ชอบบ้าง แต่ก็ระงับได้ไว มีกำลังจิตกำลังใจต่อต้าน ภัยทางจิตที่จะเข้ามา

    จึงจำเป็นจะต้องฝึก สมาธิ ให้ดี ให้ตรง
     
  3. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    เป็นสมาธิอย่างหนึ่งค่ะ สมาธิหลายคนมีวิธีทำไม่เหมือนกัน อย่างดิฉันจะมีสมาธิกับการอ่านหนังสือมาก จิตจะนิ่งค่ะ ส่วนพวกศิลปะ ก็จะสมาธิอีกแบบหนึ่งและจะผสมไปด้วยอารมณ์ศีล และมโนภาพพวกนี้จะคิดเยอะ ชอบจินตนาการไปเรื่อย และสามารถถ่ายทอดความคิดของคนเองให้คนอื่นได้เห็นเป็นนามรูป และมีอีกพวกหนึ่งนะ คือวรรณกรรมจะถ่ายทอด
    จิตนาการของตนเองผ่านงานเขียน
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ทำการงานก็คือสมาธิในการทำการงานหละครับ.....ไม่มีสมาธิ....งานไม่ดีหลอกครับ....ไม่ก็พัง......สมาธิมีหลายระดับ.....
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ยากนะครับ ที่จะไปพิจารณา การถ่ายทอดอารมณ์ออกมาเป็นงานศิลปได้อย่าง
    วิจิตร แล้วจะชี้ว่า นั่นคือ สัมมาสมาธิ หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ นั้น มีสมาธิ แน่นอน
    แล้วก็มีมากจนสามารถใช้จิตวิญญาณอันเป็นธาตุรู้เข้าไปรู้ในความละเอียดของ
    รูปนาม

    ตัวตัดสินนั้นก็อยู่ตรง รูปนาม ที่เข้าไปรู้นั้น เป็นแบบไหนกันแน่ อย่างสีแดงที่สื่อ
    ถึงความรัก ความเสียสละ ราคะ ตัณหา เวลาที่ถ่ายทอดสีแดงลงไปบนผืนผ้าใบ
    นั้น ปลายพูกันนั้นสลัดปลายลงไปด้วย อารมณ์บัญญัติ(ตามทฤษฏีสีที่เรียนมา) หรือ
    ว่าออกมาจากสิ่งที่จิตระลึกได้กันแน่ ถ้าออกมาจากอารมณ์บัญญัติที่เป็นทฤษฏีสี
    แบบนี้ฟันธงว่าไม่ใช่สัมมาสมาธิ แต่ถ้าสลัดลงไปด้วยการเห็นสีวัตถุธาตุเป็นรูป และ
    เห็นนามที่ผูกพันกันกับน้ำหนักความเข้มของสี หนักเบา อ่อนแก่ ล้วนมีผลต่อนาม
    ที่สื่อฝุ้งอยู่ในใจ แบบนี้ก็เฉียดๆเข้ามา ขึ้นอยู่กับว่า มีช่องว่างในการเห็น รูป กับ นาม
    หรือไม่ ถ้ามันแนบกันก็ถือว่า ไม่มีสัมมาสมาธิ แต่ถ้ามันไม่แนบกัน คือมีขณะจิตหนึ่ง
    เห็นถึงรูปธาตุ แล้วก็มีช่องว่างมาขั้น แล้วค่อยเห็นส่วนนามความหมายอารมณ์บัญญัติ
    มาแทรก หรือเห็นนามอารมณ์บัญญัติแล้วก็มีช่องว่างมาขั้นก่อนจะไปเห็นรูปธาตุ แบบนี้
    มีสิทธิ

    * * * *

    คราวนี้มาดู การทำบายศรี บายศรีนั้นคือ ใบตอง หากคุณมองเห็นว่ามันคือใบตอง
    ที่เอามาจีบพับ แล้วร้อยไปเรื่อยๆ แบบนี้ถือว่าเป็น สมาธิธรรมดา แต่ว่าขณะที่ร้อยไป
    นั้นมีบางขณะจิตเห็นว่า ใบตองคือธาตุแข็งอะไรบางอย่าง มีความอ่อนไหวในตัว เวลา
    หยิบจับกวัดแกว่งมีลมพยับเย็นๆร้อนๆโดนผิว แบบนี้คือเริ่มเห็นธาตุ แต่ต้องเป็นการ
    เห็นแบบไม่จงใจนะครับ เห็นแบบรู้สึกเข้าไปถึงองค์ประกอบของมัน ถ้าหากเป็นการ
    เห็นแบบจงใจอันนั้นเราจะถือว่าใช้คิด แต่ถ้าเราเห็นแบบไม่ได้จงใจ แต่จิตมันระลึกรู้
    ขึ้นมาเองแบบนี้คือเห็นรูปธาตุ เห็นเป็นขณะๆไป สั้นๆ ไม่ได้เห็นนาน หรือยาว เพราะ
    เราเป็นปุถุชน เห็นแป็ปๆ ก็กลับมาเห็นว่ามันคือใบตอง นามเข้ามาแทรกทีหลัง แบบนี้
    จะใกล้เคียง

    หากให้ดี จะให้เป็นสัมมาสมาธิขึ้นมา หากว่าเคยเห็นรูปธาตุในสิ่งของที่หยิบจับแกว่ง
    ไกวร้อยรวบ ให้น้อมกลับมาดูกายตน มือตนสลับไปพลางๆ โดยไม่ต้องดึงเข้ามาแรง
    นะครับ ค่อยนมสิการน้อมจิตให้ย้อนกลับเข้ามาดูตน เสร็จแล้วจิตมันจะมาเห็นร่าง
    กายของตนนี้แหละเป็นธาตุ หรือเป็นรูปอะไรบางอย่าง แบบนี้เข้าเค้าและ แต่ยังใช้ไม่
    ได้เพราะยังต้องส่งออกไปที่ใบตองก่อนแล้วค่อยดึงเข้ามา มันจึงอาจจะเห็นไม่จริง แต่
    เห็นแบบลักลั่นเอาเนื่องจากมันยังไม่ลืมสิ่งที่เห็น

    ให้ดี จะต้องนั่งพับไป ร้อยไป แล้วทำใจเหมือนเราลอยอยู่ห่างมองย้อนมาดูร่างตน
    ที่กำลังนั่งร้อย นั่งพับ ให้เห็นเป็นรูปอริยาบทนั่ง รูปอริยาบทพับ รูปอริยาบทแก้ทุกข์
    รูปนั่งยุกยิ๊ก แบบนี้จะใช้ได้หากเห็นด้วยการระลึกรู้ได้เอง โดยไม่จงใจ แรกๆนั้นจะต้อง
    อาศัยการจงใจคิดไปก่อน แต่อย่าจงใจมาก โดย เราก็นั่งพับๆไป นานๆทีก็ทำเป็นระลึก
    ย้อนดูรูปนั่ง รูปมือกำลังจับพับ ทำเนืองๆ เรียกว่า อบรมจิตให้คุ้นเคยกับการเห็น

    ที่นี้หากจิตมันระลึกได้ในขณะที่คุณทำท่าซ้ำๆ แล้วมันเหมือนออกไปรู้แล้วดูย้อนเขา
    มาเอง โดยจิตเขาทำเอง ขณะที่เห็นนั้นจะรู้สึกทันทีว่า เราไม่ได้นั่งอยู่ แต่เป็นก้อน
    ธาตุบางอย่างทรงตัวอยู่ แบบนี้คือ เกิดสัมมาสติ จิตระลึกรู้รูปนามได้

    เมื่อเห็นแบบนี้ก็อย่าตกใจ ที่เหมือนว่า ตัวเราหายไป อย่ากลัว หากกลัวให้รู้ว่าเราเกิด
    ความคิดวิตกกลัวไปเอง หากระงับความกลัวไม่ได้ก็ให้ดูอารมณ์กลัวเป็นรูปนามอีก
    ชนิดไปเลย ทำการระลึกเห็นเหมือนกับการฝึกย้อนดูกาย การดูกลัวจะเรียกว่าเรามาดูจิต
    ซึ่งก็จะคล้ายๆกัน พอจิตมันจดจำรูปอาการกลัวได้ มันก็ระลึกได้ เมื่อนั้นความกัลวก็เป็น
    อะไรที่ถูกดู ไม่ต่างจากการเห็นกายที่นั่ง ก็ดูอย่างนี้ไปเนืองๆก่อน

    จนลักษณะของการเกิด สติ แบบนี้มันตั้งมั่น หยุดอยู่ที่รู้ ดูอยู่ แต่ไม่จมลงมาในกาย
    จมลงไปในกลัว เกิดความตั้งมั่นในการรู้รูปนาม ตรงนี้แหละครับเรียก สัมมาสมาธิ
     
  6. บุคคลไปทั่ว

    บุคคลไปทั่ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2009
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +106
    มีฉันทะในการทำงาน จิตย่อมเพลิดเพลินไม่เบื่อหน่าย สมาธิย่อมรวมตัวง่าย ความสุขเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสมาธิ แต่ถ้าเป็นตอนคู้บัลลังก์ถ้าจิตเพ่งเล็งไปที่ผลที่จะเกิดจากสมาธิ( อยาก ) โดนนิวรณ์รุมแน่นอน

    งานศิลปะในส่วนตัวผมว่ามีประโยชน์ต่อจิตวิญญาณ เพราะงานศิลปะ มันมีความละเอียดอ่อน ต้องมีความอดทน ใจถ้าไม่รักในงานนั้นจริงทำไม่ได้หรือถ้าทำได้ก็ไม่ดี ในสมัยพุทธกาลพระอรหันต์ที่มีเคยมีอาชีพเป็นช่างปั้นหม้อก็มีอยู่มากมาย

    "นุ่มนวลควรแก่ง่าน" เกษมในธรรมครับ..
     
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    ปกติดิฉันปฎิบัติธรรม คือสวดมนต์ นั่งสมาธิอยู่แล้ว แต่จะนั่งไม่ค่อยได้นานเท่าไหร่...การนั่งได้นานๆ ก็ไม่ได้ชี้ชัดว่า ได้สมาธิเสมอไปนะ


    แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ดิฉันทำแล้ว จิตดิฉันนิ่งมาก ไม่ได้คิดอะไร คือเวลานั่งทำบายศรี ใจจดจ่ออยู่กับมือและการพับใบตอง สงบนิ่งอยู่ได้นานหลายชั่วโมง เลยทีเดียว อย่างนี้จะเรียกได้ว่าใจมีสมาธิ หรือเปล่า.... เรียกว่า ใจมีสมาธิเหมือนกันครับ
    มีใจจดจ่ด แต่ ยังไม่เข้าถึง สมาธิที่เหมาะแก่การงาน สมาธิที่เหมาะแก่การงาน คือ การทำให้ใจสงบนิ่ง จนถึงสภาวะความตั้งมั่นของจิต ถึง ความเป็น หนึ่งของจิต คือ เอกัคคตา ก็คือเข้าถึง ฌาน 4 เมื่อเข้าถึงฌาน 4 ได้ แล้วพักอยู่ เมื่อถอยสมาธิออกมา จิตก็จะพร้อมกับการงาน เรียกได้ว่า โล่งโปร่ง สะบาย สมาธิที่เหมาะแก่การงานนี้ เป็นฐานของอภิญญาทั้งปวง และยังเป็นกำลังของ สัมมาสติ ได้ดีเยี่ยม...อันนี้ในแง่มุมของสมถะ


    แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งที่ดิฉันทำแล้ว จิตดิฉันนิ่งมาก ไม่ได้คิดอะไร คือเวลานั่งทำบายศรี ใจจดจ่ออยู่กับมือและการพับใบตอง สงบนิ่งอยู่ได้นานหลายชั่วโมง เลยทีเดียว อย่างนี้จะเรียกได้ว่าใจมีสมาธิ หรือเปล่า.... เรียกว่าได้ใจมีสมาธิเหมือนกันครับ ในแง่มุมนี้ หาก น้อมเข้ามาคอยสังเกตุดู เวลาเรานั่งทำบายศรี ก็ฝึกสังเกตุ กายจากนิ้ว ที่ขยับไปขยับมา ซึ่งมันเคลื่อนไหว ตลอด ฝึกสังเกตุ ตามรู้ แค่รู้ แต่อย่าเพ่งคอยรู้ เวลาที่นิ้วมือ ขยับ หยิบจับ ฉวย สิ่งของไปเนืองๆด้วย ก็จะเป็นการฝึก สติไปในตัว อาศัยแบบนี้ฝึกบ่อยๆ ก็จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการ การฝึกวิปัสนาได้เช่นกันครับ เพราะ สมาธิเพียงเท่านี้หาก น้อม มาดู ลงไปที่กาย เราด้วย ย่อมเป็นประโยชน์เพิ่มขึ้นครับ ..... อันนี้ในแง่มุมของ วิปัสนา



    และเวลาดิฉันสังเกตุ ครูบารอาจารย์ ทางสายศิลปะ วาดภาพ ลงสีจริงวาดลายเส้น สีทอง วาดภาพองค์เทพ ได้สวยงามมากๆ โดยไม่ต้องมีแบบล่างภาพ
    บรรจงวาดแต่ละเส้นลงไป วิจิตรงดงามและมั่นคงมาก รู้สึกทึ่งมากๆ
    ดิฉันคิดว่า ท่านต้องมีสมาธิมากๆ มือท่านถึงได้นิ่งมากๆ
    ..... ตรงนี้ คำว่าสมาธิมากหากหมายถึงความตั้งใจ ก็ถูกต้องแล้วครับ
    แต่สมาธิมากหากพูดถึงพลังของจิตจะเป็นอีกอย่าง
    หากสมาธิมากหมายถึงการที่ว่าต้องจดจ่อในสิ่งนั้นนานๆ ก็ไม่เสมอไป


    ท่านคิดว่างานศิลปะต่างๆ มีประโยชน์ต่อจิตวิญาณหรือไม่ค่ะ
    .....งานศิลปะต่างๆย่อมมีประโยชน์ต่อจิต วิญญาณ ได้หลายอย่าง

    อย่างงาน จิตกรรม(วาดเขียน) ก็สื่อ ถึง อารมณ์(เวทนา) หากน้อม มาดูระลึกตามรู้ อารมณ์ที่เกิดขึ้น ก็สามารถยกภูมิวิปัสนาได้เช่นกัน

    งาน ปติมากรรม(งานปั้น) หากคนปั้น น้อม มาระลึกดู ตามรู้กาย และอารมณ์ ไปด้วย ก็สามารถยกภูมิวิปัสนาได้เช่นกัน

    งาน สถาปัตยกรรม ก็สามารถสัมผัสถึง วิทยาศาตร์และศิลปะ รวมกันด้วยลงตัว ศาสตร์และศิลป์คู่กัน เป็น งานที่ให้ความสัมผัสถึง รูปและนาม ได้อย่างดี หากน้อมลงตามรู้ ตามสังเกตุก็จะยกภูมิวิปัสนาได้เช่นกันครับ
     
  8. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    เดี๋ยวนี้ เขาตีความคำว่า"สมาธิ" กันอย่างงัยบ้างนะ น่าคิดจริง ๆ
     
  9. nuttadet

    nuttadet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    1,892
    ค่าพลัง:
    +6,454
    เวลาจิตเราจดจ่อกับอะไรนานๆ ก็ทำให้เราเข้าสมาธิได้โดยไม่รู้ตัวเหมือนกัน

    เช่นเดียวกับการทำสมาธิ แล้วจิตเราจดจ่อกับลมหายใจ ก็ทำให้เข้าสมาธิได้เช่นเดียวกัน
     
  10. nanakorn

    nanakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    1,075
    ค่าพลัง:
    +155
    แบบสมถะสมาธิใช่ไหม คุณ nutadet ช่วยอธิบายละเอียดอีกนิดนึงค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...