มีพระอรหันต์ องค์ใดบ้าง ที่บรรลุโดยไม่มีสมถะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิษณุ12, 17 ธันวาคม 2008.

  1. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676
    ลึกลับ..จริงหนอ..
    คนเรามันมีอะไรซักอย่าง ในกายในจิต..

    ปลุกกระแสธรรมครับ (^^)

    อนุโมทนาด้วยครับ
     
  2. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ลึกลับ ลึกลับ ลึกลับ..... ดูลึกลับนี่ล่ะ
     
  3. ผมยังเลวอยู่มาก

    ผมยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +539
    เวลาเขาจะใช้มโนมยิทธิ เขาต้องเข้าฌานสี่ ก่อน จากนั้นลดกำลังฌานออกมาอยู่ที่ อุปจารสมาธิ แล้วอธิษฐานว่าขอกายในกายจงบังเกิดซ้อนขึ้นมาอีกกายหนึ่ง(กายทิพย์) จากนั้นเลื่อนกำลังไป ฌานสี่ อีกครั้ง แล้วลดมาที่อุปจารสมาธิอีกครั้งหนึ่ง ทำซ้ำเหมือนเดิมเพื่อความคล่องตัว จากนั้นเราจะเห็นกายในกายหรือกายทิพย์บังเกิดขึ้นซ้อนกันอยู่ในกายเนื้อ จากน้นกำหนดจิตเคลื่อนออกไปพุ่งไปตามต้องการ
    ถ้าทำจนชำนาญแล้วจะกหนดรู้ได้เลยว่าขณะนี้จิตออกทางไหนทางศรีษะหรือทางไหน หรือจะออกมาดูกายเนื้อที่นั่งอยู่ก็ได้ เวลาจะออกเนี่ยมันจะรู้ทุกช็อตเลยคับ เพราะมันไปด้วยกำลังของฌานสมาบัติ แล้ว ก็มีวิปัสนาญาณคุม ฯลฯ
    อีกอย่างความยากมันจะยากตรงเข้าฌานออกฌานประการที่หนึ่ง ประการที่สอง มันยากตรงที่องใช้อารมณ์ตัดสินใจว่า ร่างกายเป็นของสกปรกมีขี้เยี่ยว ตับไตใส้พุง ร่างกายเป็นรังของโรคภัยทั้งมวล เป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ ถ้าเราไม่เกิดอีกเราก็ไม่ต้องมีร่างกายเราไม่ต้องกายร่างกายนี้อีกต่อไปถ้าจะตายก็ขอให้ตาย ตายเมื่อไรขอไปพระนิพพาน อารมณ์มันต้องเด็ดขาดจิงคับว่าเราเบื่อในร่างกาย ต้องไม่กลัวตาย

    ขอเล่าย่อๆไว้เพียงเท่านี้คับ
    โมทนาคับ

    หลวงปู่สอนว่า "เวลาเรียนกับข้าเอ็งต้องเรียนอย่างคนโง่"
    ส่วนผมตอนนี้โง่มากคงต้องเรียนอีกเยอะคับ เหอๆๆ
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    แล้วกรณี เราเข้าฌานสี่แล้ว อธิฐาน เดินลุกออกมาเฉยๆล่ะ แบบนี้เรียกแบบมโมมยิทธิไหมครับ หรือเรียกอีกอย่างครับ..
     
  5. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ผู้ที่จะเข้าถึงธรรมตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป จะภาวนาโดยใช้อะไรก็ได้ที่เนื่องด้วยกาย และใจ
    ด้วยจิตที่เป็นกลาง เห็นไตรลักษณ์ จนจิตเรียนรู้แจ่มแจ้งในไตรลักษณ์เมื่อไรก็พ้นทุกข์เมื่อนั้น
    เป็นลำดับๆของความหลุดพ้นไปเรื่อย

    กรรมฐานบางอย่างเป็นเรื่องของใจล้วนๆ
    กรรมฐานบางอย่างเป็นเรื่องของกาย และใจ
    ส่วนกรรมฐานที่เจริญแต่กายอย่างเดียว ไม่เห็นใจเป็นไตรลักษณ์ พ้นทุกข์ไมได้ เพราะกิเลสอยู่ทื่ใจ
    ส่วนกรรมฐานที่ไม่เนื่องด้วยกาย ใจ พ้นทุกข์ไมได้จริง เพราะไม่ได้เรียนรู้ความจริงในกาย ใจ


    ส่วนผู้ที่ได้เห็นธรรม ย่อมประกอบทั้งปัญญาวิมุตติ และเจโตวิมุตติ ทั้งคู่
    แต่กำลังความรู้กว้างขว้างในปัญญา และความเข้มข้นสมาธิย่อมแตกต่างกัน
    ตามแต่ที่ได้สั่งสมบำเพ็ญมา ถึงอย่างไรท่านเหล่านั้นสามารถละกิเลส
    ถึงความบริสุทธ์ได้เหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2008
  6. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ลักษณะที่ผมทำรู้สึกจะเป็นการประคองการดูนะครับ รู้สึกว่าจะเบาขึ้นกว่าเมื่อก่อนครับ

    ช่วงที่ทำก็เผลอไปเพ่งบ้าง แล้วรู้สึกตัวขึ้นว่าเผลอไปเพ่ง(บ้างครั้งรู้สึกเอง บางครั้งมีอาการฟ้องมา)
    พอเผลอลอยไปเองบ้าง แล้วรู้สึกตัวขึ้นว่าเผลอลอยไปบ้าง
    อันนี้ถือว่าทำถูกใช่ไหมครับ คือ ไม่ได้กดไว้ หรือยึดไว้ ว่าจะรู้ต่อเนื่องไม่เผลอ
    ตอนเผลอเองแล้วรู้สึกเอง ช่วงที่รู้สึกขึ้นเองมันเบาดีครับ แปลกดีครับ ผิดกับที่ทำลิบลับเลย

    ผมลองทำดูแล้ว ถ้าผมทำแบบดูไปเลย จะกลายเป็นฟุ้งเสียส่วนใหญ่
    เลยใช้ ดูลมหายใจเข้า ออก ต่อเนื่องก่อน เพื่อให้มีอาการสงบขึ้นมาเล็กน้อย
    แล้วก็ปล่อยให้อารมณ์ไหลไปตามปกติ แล้วประคองการดูไป เผลอหรือไม่เผลอ รู้สึกขึ้นมาเอง
    ลักษณะนั้นจะเกิดขึ้นเองกำหนดไม่ได้ พอทำไปสักพักก็จะเริ่มขึ้นสมาธิไปพร้อมกับการดูอารมณ์ไปเรื่อยๆ จะ
    ใสขึ้นเรื่อยๆ ไม่ขุ่นเหมือนดูตอนที่ยังฟุ้ง
    อาการต่างๆของสมาธิก็เกิดขึ้น การเพลอ การยึดอารมณ์ไว้ แล้วรู้สึกขึ้นเอง ก็จะมีอยู่ในนั้น ทำได้
    แค่ประคองและรู้อย่างเดียว(ขาดๆหายๆตามที่รู้ได้)
    ยังทำได้ประมาณนี้ครับ ส่วนตอนแรกๆที่ทำทำแบบกดไว้แบบจะดูอารมณ์ที่ไหลไปต่อเนื่องโดยไม่เพลอ รู้สึกจะเกร็งๆ ส่วนตอนฟลุครู้สึกเกาะเกี่ยวได้เป็นสายดีกว่าเหมือนมีสติดีกว่าและไม่ได้กดไว้
    ที่ทำแบบกดไว้ก็ทำให้ล้าและเหนื่อยไปนะครับ(การเผลอ แล้วรู้สึกเอง คือสัญญาณที่ดีของคนเริ่มฝึกใช่ไหมครับ บังคับให้เกิดไม่ได้) ถ้า
    ทำถูกน่าจะได้สมาธิดีๆในตัว ดูเหมือนปฏิบัติง่ายแต่ลึกลับมากเลยครับ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    โอ้ แจ่มเลยครับ แบบนั้นแหละครับ

    จะเห็นว่าของคุณจะเห็นทางด้าน เผลอแล้วรู้ ดีกว่า เพ่งแล้วรู้
    พวกเผลอแล้วรู้ก็คือ ทำการเห็นนำหน้าสมถะ ส่วนเพ่งแล้วรู้คือพวกทำสมถะจมแล้ว
    กว่าจออกมารู้ ส่วนใหญ่ไม่ตื่น ไม่ออกมา จะจมในสมถะ ไม่ออกมาวิปัสนนา เพราะ
    เข้าใจว่านิมิตในสมถะคือวิปัสสนา ทำให้เจริญปัญญาผิดทาง ของคุณเดินทางเจริญ
    ปัญญาถูกทางแล้ว โดยการถูกทางนั้นอยู่ตรงที่เห็น สติ มันเกิดเอง ไม่ใช่ไปกำหนดให้
    เกิด น้อยคนครับที่จะเห็นตรงนี้ เชื่อในตรงนี้ ละความสงสัยในการเจริญมรรคด้วยวิธีนี้

    หลวงพ่อฤาษีฯ ท่านก็เน้นตรงเรื่องตามรู้ในทุกๆสิ่งที่เกิดนะครับ ท่านจะเน้นที่ อุปสมานุส
    สติกรรมฐาน นั่นเอง แต่ว่าลูกศิษย์ชั้นหลังไม่รู้ ไม่เข้าใจ ทำการเห็นผิดไปจากคำครู
    ไปเน้นการสร้างแล้วจมดู แทนที่จะยกขึ้นเห็นว่ามันสร้างนิมิตเมืองแล้วตามดู เลย
    คลาดธรรมไป ถ้ายกนิมิตที่เกิดแล้วทำจิตตามดู เห็นว่านั้นคือสังขารธรรม เห็นเนืองๆ
    ตามรู้เนืองๆ(อนุสติกรรมฐาน) สัญญาขันธ์ที่เกิดก่อนสมมติบัญญัติเกิดจะแจ้งขึ้นมา
    ตรงนั้นแหละครับนิพพานแท้ๆ ที่เกิดขึ้นโดยการตามเห็นนิมิตนิพพาน หลวงพ่อสด
    วัดปากน้ำก็สอนการตามรู้ตามดูเหมือนกัน ใช้คำว่าหยุดของหยุด แต่ลูกศิษย์เอาไป
    ทำเป็นหยุดยิ่งเห็น คือ จมไปในรูปขันธ์ แทนการยกขึ้นดู รุ่นหลังสอนผิดไปพอๆกัน

    การเห็นเรื่องกายเป็นของน่าเกลียด จนจิตอยากออก นี่ก็อุบายสอนให้ตามรู้ตามดู
    วิภวตัณหา แต่แทนที่จะดู วิภวตัณหา(เกลียดกาย) จนออกไปได้(ภวตัณหา) กลับไม่
    ยกตรงนี้ดูอีก ก็ละตัณหาไม่ได้ กลายเป็นสอนให้เอาตัณหามาเป็นเรา มาเที่ยวไป
    ก็คลาดอุบายธรรมดีๆอีก น่าเสียดาย ซึ่งพวกเขาจะเห็นยางเหนียวตรงนี้ได้เร็ว
    และแน่นกว่าเรา แต่ไม่ยอมดู ไปเผลอคิดว่า ออกไปนะดีแล้ว ไม่กลับมานะคือใช่
    ทั้งๆที่มันเป็นอุบายในการให้เห็นเรื่อง ภพ ชาติ วิภวตัณหา และ ภวตัณหา คำว่า
    (ภว ก็มาจาก ภพ นั่นแหละ)

    กลับมาเรื่องของคุณเดินทาง

    คุณจะเห็นว่า ทันทีที่ สติเกิดเอง มันจะมีสัมมาสมาธิตามมาด้วย ตรงนี้จะเข้ากับคำว่า
    เมื่อ สัมมาสติเกิด ก็จะเป็นเหตุใกล้ให้เกิดสัมมาสมาธิ (คำว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
    ตรงนี้ใช้โดยอนุโลม เพื่อกาลอนาคต ยังไม่ถือว่ามีจริง จะมีจริงๆก็ต่อเมื่อเป็นอริยะ
    บุคคลชั้นหนึ่งชั้นใดแล้ว ) แต่สัมมาปัญญายังไม่เกิดนะครับ คุณเดินทางลองสังเกตุ
    ว่า จะมีการช่วยคิด จิตมันสอน จิตมันพูดขึ้นมา ถ้ายังมีตรงนี้ยังไม่พอดี แต่ก็ถือว่า
    แจ่ม สัญญาขันธ์ที่ดีจะไม่ให้สมมติบัญญัติออกมา สัญญาขันธ์ที่ยังให้สมมติบัญญัติ
    ออกมา(พูด กระซิบ บริกรรม แม้กระทั่ง..กำหนด-หนอ) ยังใช้ไม่ได้ สัญญาขันธ์ที่เอื้อ
    ต่อการเห็นสังขารธรรม นั้นจะเงียบๆ นิ่งเป็นใบ้(ของจริง) เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มเผลอแล้ว
    ไปรู้อะไรไหวๆ ส่ายๆ เหมือนคลื่น เหมือนพยับแดด ตรงนั้นเริ่มเข้าวิปัสสนาญาณได้ดี
    ขึ้นแล้ว ตรงนี้ก็จะเหมือนที่พระเจ้าอยู่หัวท่านตรัสถามภิกษุ แต่ไม่มีพระองค์ไหนตอบ
    ได้ว่าท่านเห็นอะไรนอกจากหลวงพ่อพุทธฐานิโย ซึ่งทูลตอบไปว่า นั่นคือการรู้ที่เยี่ยม
    ยอด เป็นสุดยอดของการรู้ การเห็นนิมิตคือเรื่องจืดๆ ไม่น่าตื่นเต้นเท่า

    จิตที่มี สติ ที่เกิดเองนั้นจะเรียกว่ามี สภาวะมหากุศลจิต สภาวะที่เป็นมหากุศลจิตก็
    เป็นเรื่องของสภาวะที่เอาไว้เจริญ มหากุศลจิตที่ยิ่งๆขึ้นไป สมาธิเจตสิกที่เกิดจึงมี
    รสชาติต่างไปจาก สมาธิแบบชาวบ้าน(มีนิมิต เห็นภพ เห็นความว่าง เห็นไฟ ดิน น้ำ
    ลม ถอดกายทิพย์)ที่แม้แต่ชาวป่านุ่งใบไม้เขาก็ทำได้ พวกมีจริตยังนิยมของป่าของ
    ชาวบ้านก็จะอ้างว่าฉันต้องทำได้เสมอชาวบ้านชาวป่าก่อนถึงจะยอมเชื่อ ก็ว่ากันไป....

    * * * *

    บรรยายเยอะหน่อย เพื่อส่งลูก

    * * * *

    รู้ไปแบบนั้นแหละครับ แรกๆจะเห็นกิเลส ความคิด โมหะมันลากเราไปได้อยู่ มัน
    มีวิบากแสดงด้วย หากเราไปดึงกลับก็เท่ากับทำกรรมซ้อน ก็จะแน่นหน้าอกพอให้
    รับรู้ว่า นั้นไปสร้างภพของนักปฏิบัติเข้าแล้ว เป็นเรื่องไม่ถูก แต่ทำอะไรไม่ได้ ให้
    ดูไปแบบนั้น จิตมันยังรักตัวจิตเป็นตัวตนมันก็ทำ พอดูไปเรื่อยๆ เห็นบ่อยๆ ก็จะ
    เป็นกลาง มันไหลไปแต่ไม่ได้ย้อมติดผู้รู้ ผู้ดู ซึ่งตรงนี้จะไปเห็นได้ก็ต่อเมื่อจิต
    เขาเห็นไตรลักษณ์ในทุกๆการปรุงแต่ง(ทั้งสมถะ กิเลส นิวรณ์ หรือแม่แต่เรื่องกลางๆ)
    ตรงนั้นจะพออนุโลมเรียกว่า สัมมาปัญญา หากเห็นได้ จิตมันจะคลายการยึดถือที
    ละน้อย ทีละน้อย ทีละน้อย ทีละน้อย ทีละน้อย ทีละน้อย .. หลายทีหน่อยกว่ามัน
    จะตัดสินนะครับ ก็จะเข้าสู่สภาวะ อาโลโกอุปาทิ มีแสงสว่างเกิดขึ้น มีมัคคสมังคี

    แต่จุดมีแสงสว่างเกิดขึ้นนั้น ต้องสังเกตหน่อย บางครั้งเราเผลอดูลูกเดียว จนจิต
    เขาอ่อนกำลัง เราไม่ได้ทำสมถะไว้เพราะ จิตมันเมามันส์ฉันทะในการดู จิตมัน
    จะหลบเข้าไปทำฌาณเอง หากตอนนั้นจิตคุณมีสุขอยู่ ก็เข้าฌาณ4 อัตโนมัติ แต่
    เข้าไปแว็บเดียว แล้วก็ออกมา ตรงนี้ก็อย่าพึ่งเห็นว่า บรรลุ ( ถ้าจิตมีปิติอยู่ ก็เป็น
    ฌาณ3 หากอยู่ที่ วิตก วิจาร ก็เป็นฌาณ2 หรือ 1 แล้วแต่จิตมันจะทำ และมีปัจจัย
    ให้เกิดในขณะนั้น)

    ไปเรื่อยๆครับ แสดงมากเดี๋ยวยาว ธรรมที่ยาวๆ นี้ก็เพื่อบันเทิงธรรมนะครับ อ่าน
    เล่นๆ เพลินๆ ถ้างง ก็ให้รู้ว่างง

    ธรรมะที่เกิดขึ้นกับตัวคุณมีประโยชน์กว่าการอ่านทำความเข้าใจ

    อนุโมทนาในผลการปฏิบัติที่เจริญได้อย่างรวดเร็วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2008
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อนุโมธนานะครับ...ถูกทางแล้วครับ ทำไปเรื่อยๆอบรมให้มาก ทำบ่อยๆเนื่องๆอย่าทิ้ง เดี๋ยวจะไปเร็วขึ้นครับ ....แนะนำให้ทำสมถะบ้างแค่พอจิตสะบายนะครับ เช่นว่า สวดมนต์ไหว้พระก้เป็นการทำสมถะ จิตจะได้มีกำลัง เวลาเจอกำลังกิเลสที่มากขึ้น คือเวลาเห็นจิตจริงๆ ไม่ได้เห็นนิสัยของจิต มันมีกำลังแรงครับ เดี๋ยวจะสู้ไม่ไหว ก้ต้องอาศัยสมถะนี่ล่ะมาเป็นกำลังของสติ......
     
  9. คน 1 กำลังดูอยู่

    คน 1 กำลังดูอยู่ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2008
    โพสต์:
    57
    ค่าพลัง:
    +1

    สมถะหรือสมาธิ จำเป็นต้องใช้ แม้นจะไม่เคยผ่านฌานมาก่อน ก็ต้องอาศัยในขณะแห่งมรรค ที่เรียกว่าพระอรหันต์แบบสุขวิปัสสโก

    รวมพระอรหันต์ 6 ประเภท ดังนี้
    1. พระสุขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิระดับฌานต่อเมื่อถึงขณะแห่งมรรค
    2. พระปัญญาวิมุต ผู้ได้ฌานสี่อย่างน้อยขั้นหนึ่ง ก่อนเจริญวิปัสสนาให้บรรลุอรหัตตผล
    3. พระอุภโตภาควิมุต ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยขั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้โลกียวิชชา โลกียอภิญญา
    4. พระเตวิชชะ เป็นอรหันต์ผู้ได้วิชชาสาม
    5. พระฉฬภิญญะ เป็นอรหันต์ผู้ได้อภิญญาหก
    6. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ เป็นผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4



    ลักษณะของพระอรหันต์
    จากวิกิพีเดีย
    http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B9%8C


    แบ่งตามวิธีการในการพัฒนาตน
    พระอรหันต์ ๒ คือ
    1. พระวิปัสสนยานิก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน แล้วได้ฌานในภายหลัง
    2. พระสมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นญาณ ผู้เจริญสมถะกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนาต่อ
    [แก้] แบ่งตามคุณวิเศษ

    พระอรหันต์ ๔ คือ
    1. พระสุกขวิปัสสก (ไม่มีญาณวิเศษใดๆ นอกจากรู้การทำอาสวะให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) อย่างเดียว) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว
    2. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ คือ รู้ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย(จุตูปปาตญาณ) รู้ทำอาสวะให้สิ้น(อาสวักขยญาณ)) อานิสงค์จากการที่ปฏิบัติวิปัสสนา และถือธุดงควัตร
    3. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ คือ แสดงฤทธิ์ได้(อิทธิวิธี) หูทิพย์(ทิพยโสต) ตาทิพย์(ทิพฺพจักขุ) ทายใจผู้อื่นได้(เจโตปริยญาณ) ระลึกชาติได้(บุพเพนิวาสานุสสติญาณ) และญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป(อาสวักขยะญาณ)) อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนาและเจริญสมาธิจนได้ฌานสมาปัตติ
    4. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔)คือแตกฉานในความรู้อันยิ่ง ๔ ประการ ได้แก่ อัตถปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในอรรถ ธัมมะปฏิสัมภิทาความแตกฉานในธรรม นิรุตติปฏิสัมภิทาความแตกฉานในภาษา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ความแตกฉานในปฏิภาณไหวพริบ อานิสงค์จากการปฏิบัติวิปัสสนา และเล่าเรียน ตรึกตรอง ทรงจำและแสดง ซึ่งพระธรรมวินัยที่พระศาสดาทรงตรัสสอน(ไตรปิฎก)ซึ่งการเล่าเรียนธรรมอานิสงค์ได้ธรรมปฏิสัมภิทา รู้จริงในเหตุของสรรพสิ่งในธรรมชาติ การตรึกตรองธรรม อานิสงค์ได้อัตถปฏิสัมภิทารู้จริงในผลลัพที่ลึกซึ้ง การท่องทรงจำธรรม อานิสงค์ได้นิรุตติปฏิสัมภิทา รู้จริงในภาษาต่างๆในโลก การเทศนาแสดงธรรม อานิสงค์ได้ปฏิภาณปฏิสัมภิทา รู้จริงในการแก้ไขปัญหาเข้าใจในนิสัยสันดานของสัตว์โลก
    [แก้] แบ่งตามคุณสมบัติเฉพาะตน

    พระอรหันต์ ๕ คือ
    1. พระปัญญาวิมุต
    2. พระอุภโตภาควิมุต
    3. พระเตวิชชะ
    4. พระฉฬภิญญะ
    5. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2008
  10. ผมยังเลวอยู่มาก

    ผมยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +539
    ฌาน4 มันเป็น เอตัคตารม คับ ไม่สามารถอธิษฐานได้
    เวลาเขาอธิษฐานกัน เขาอธิษฐานลดกำลังมาที่อุปจารสมาธิ เพียงแต่เข้าฌานสูงๆเพื่อให้สมาธิเข้มแข็ง
    ปล. เวลาคนที่ทรงอภิญญาเขาอธิษฐานฤทธิ์เขาก็อธิษฐานที่อุปจารสมาธิเหมือนกัน

    เรื่อง ฌาน สมาบัติ พระพุทธเจ้าจัดเป็นอจินไตยคับ ถ้าไม่ได้ไม่รู้หรอกคับ ถ้าได้แล้วเดี๋ยวก็รู้วิธีใช้เอง ถ้าไม่ได้ก็สงสัยอย่างงี้เรื่อยไปแหละคับ เหมือนกินอาหารที่อร่อยๆอ่ะคับ มันบอกไม่ถูกว่าอร่อยแค่ไหน จนกว่าคุณจะได้กินเองแหละคับคุณถึงจะรู้

    โมทนา
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ถามหน่อยครับ..เวลาออกแบบมโนมยิทธินี่ไปพบพระพุทธเจ้าใช่ไหมครับ แล้วเห็นเหมือนลืมตาเห็นชัดเหมือนดูทีวีหรือเปล่าครับ...เล่าเป็นความรู้ได้ป่าวครับ
     
  12. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    โมทนาด้วยครับ เป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้ว เก่งกว่าผมอีกมาได้ขนาดนี้ในตอนแรก แรกๆมันจะเห็นความแตกต่างชัดแบบน้องน่ะครับ ทำไปเรื่อยๆจิตมันจะค่อยๆเข้าสู่ความเป็นกลางมากขึ้น มันจะไม่เห็นหวือหวามากขนาดนี้

    หลักของการเจริญสติคือ รู้กาย ใจ ลงในปัจจุบันเช่นร่างกายขยับแล้วเรารู้ก็ใช้ได้ หรือจิตใจเผลอไปทำอะไรแล้วรู้ก็ใช้ได้ อย่าไปดักรู้ ไปจ้องจิต จำไว้ให้แม่นๆว่า "ตามรู้" ไม่ใช่ดักรู้ จ้องรู้ รุ้แล้วไมได้ทำอะไรต่อด้วย แต่ถ้ารู้แล้วจิตไปทำอะไรต่อก็เป็นเรื่องของจิต เราก็แค่รู้ทันว่ามันไปทำอะไร รู้ได้เท่าที่รู้

    ในระหว่างวัน ในเวลาทำงานหรือเรียนหนังสือ เราก็สามารถภาวนาได้ โดยการมืศีล ๕ อย่าทำผิดศีล ๕ เพราะศึล ๕ เป็นคุณธรรมขั้นต่ำของมนุษย์ ไม่มีศีลภาวนาไม่ขึ้นหรอก แล้วพอเรามีศีลตั้งใจรักษา ในระหว่างวันใจเผลอไปคิดเรื่องราวอะไรต่างๆนาๆ ก็ค่อยตามรู้เอา ส่วนเวลาที่ต้องคิดในเรื่องเรียน เรื่องงาน ก็ให้คิดในเรื่องเรียนหรืองานนั้นให้เสร็จ แค่นี้เราก็ได้ชื่อว่าหัดให้การภาวนาหลอมรวมเป็นหนึ่งกับเราตั้งแต่ตื่นถึงนอน พอกลับบ้าน สวดมนต์ ไหว้พระ ทำสมาธิ ก็ทำไปเพื่อให้จิตใจมีเรี่ยวแรง

    ส่วน cd หลวงพ่อปราโมทย์แนะนำให้ฟังทุกวันนะครับ สักวันละไฟล์ก็ยังดี อยากฟังหรือไม่อยากฟัง ก็ฟังสักวันละไฟล์ ให้เป็นเครื่องมือในการช่วยฝีกให้เราเห็นสภาวะ
     
  13. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ขอบคุณมากครับ
    คงต้องปฏิบัติต่อไปครับ คู่กันและถือศีลให้ดีขึ้นด้วยครับบวกกับการฟังด้วยครับเพราะกำลังหนุนยังไม่ค่อยมีนะครับ ความคิดก็ผุดขึ้นมาบ่อยๆในตอนทำ
    การประคองดูที่ผมทำรู้สึกยังจูนหาความพอดีไม่ค่อยได้ด้วยครับ คงค่อยๆพยายามต่อไปครับ
    ถ้าคนที่ปฏิบัติสมถะเก่งๆ มาปฏิบัติ คงจะไปไวน่าดูครับ พอเข้าใจการดู การปฏิบัติคงรุดหน้าเร็วแน่เลยครับ

    จะปีใหม่แล้ว อนุโมทนาทุกๆท่านครับ
    ฝากกลอนให้ทุกๆท่านครับ :)

    [​IMG]
     
  14. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ไม่ต้องไปหาจุดที่พอดีน่ะ ถ้ามันจะพอดีเมื่อไร มันก็พอดีของมันเอง ถ้ามัวแต่จะไปหาจุดที่พอดี จะฟุ้งซ่าน

    อะไรเกิดขึ้นก็ให้รุ้ เพ่งก็ให้รู้ เผลอก็ให้รู้

    ไม่รู้ก็ไม่เป็นไร รู้ได้เท่าที่รู้ เพราะถ้าอยากรู้มากกว่าที่เรารู้ได้ ก็เป็นความอยาก


    มีคำถามเรื่องเจริญสติ แนะนำให้ไปตั้งคำถามที่เวบบอร์ด wimutti.net ครับ
    เจ้าหน้าที่เก่งๆเยอะครับ

    คนที่เดินสมถะส่วนใหญ่มาก่อน เท่าที่ผมเจอเป็นร้อยๆคน มักทำสมถะแล้วติดสมถะ ครูบาอาจารย์อาจจะเก่ง แต่เราคนเรียน เราไปติดสมถะยังไม่ได้แก่นจากสมถะที่เรียนก็มีเยอะไปติดเพ่ง นิ่งๆ สงบๆ จมๆ แช่ๆ หรือทำแล้วมีอาการแน่นๆ อัดอัด เครียด นี่เยอะจริงๆ ตรงนี้เป็นสิ่งที่บอกว่าให้เรารุ้ว่าสมถะที่ทำ ไม่ใช่ของดี

    ถ้าทำสมถะเป็น จิตจะตั้งมั่นในการเป็นผู้รู้ ผู้ดู ( ไม่ได้ไปทำอะไรอย่างอื่นนอกจากรู้ การดู การสังเกตุ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2008
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646

    ข้อความข้างบนนี่น่าสนใจนะครับผมว่าน่าจะนำมาเป็นบทจบของทุกท่านที่ตอบกระทู้นี้ได้...........จากที่อ่านมาทั้งหมดแล้วทำให้ผมได้เข้าใจนะครับว่าความยุ่งนั้นเป็นอย่างไร....มีอยู่ครั้งหนึ่งตอนผมไปปฏิบัติแบบมหาสตินะครับคือง่ายๆก็ ยุบหนอ พองหนอ นั่นหละ พระวิปัสนาจารย์ที่ค่อนข้างจะรู้จริงนั้น(สังเกตจากการเทศ และการที่ท่านเคยฝึกอบรมมาเนื่องจากส่วนใหญ่จบ ป.โทสาขาวิปัสนาภาวนา)ท่านบอกว่าครูบาอาจารย์ทั้งหลายดีหมด ส่วนใหญ่ท่านปีนขึ้นเขาถึงยอดเขาแล้วจับมือกันแล้ว แต่ลูกศิษย์นี่สิยังอยู่ตีนเขาบ้าง ระหว่างเขาบ้าง ท่านเที่ยบการปฏิบัตินั้นก็เหมือนเราเดินขึ้นเขาซึ่งมีหลายๆทางแต่จุดจบคือที่เดียวกันคือยอดเขา บ้างท่านก็บอกว่าทางของฉันใกล้ทางของเธอไกล หรือทางของเธอผิดทางของฉันถูก แล้วก็หาคำจำกัดความต่างๆนานาเพื่อบอกว่าฉันถูกเธอผิด เป็นต้น ท่านเน้นย้ำอย่าแบ่งคำว่าสมถะกับวิปัสสนาเพราะแบ่งเมื่อไรยุ่งเมื่อนั้นและก็ไม่มีวันจบ...เนื่องจากว่ายังไม่ถึง ท่านบอกว่าคนเราจะจบความสงสัยต่างๆได้ก็ต่อเมื่อถึงมรรคญาณ เป็นต้น หน้าที่ของเราคือการปฏิบัติ ธรรมเป็นปัจจัตตัง คือ รู้ได้เห็นได้เฉพาะตน ....ส่วนเรื่องสมถะกับวิปัสสนานั้นถามว่ารู้ไว้ก็ดีไม่รู้เลยก็น่าจะดี ผมเคยอ่านเจอพระสูตรหลายพระสูตรจะยกตัวอย่าง

    [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์

    จาก พุทธธรรม หน้า 331

    "....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?

    พระอานนท์ตอบ ว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2008
  16. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    สำหรับผม กำลังดันให้คุณ เดินทาง มาถึงจุดนี้ครับ

    ทำเรื่อยๆ ทำเนืองๆ ไม่เพียร ไม่พัก แต่ไม่หยุดขยันระลึกรู้

    จาก พุทธธรรม หน้า 331

    "....เมื่อผู้เป็นวิปัสสนายานิกเจริญวิปัสสนาต่อๆไป สมาธิก็พลอยได้รับการฝึกอบรมไปด้วย ถึงตอนนี้อาจเจริญวิปัสสนาด้วยอุปจารสมาธิ(สมาธิจวนจะแน่วแน่ หรือ สมาธิจวนจะถึงฌาน)ก็ได้ จนในที่สุดเมื่อถึงขณะที่บรรลุมรรคผล สมาธินั้นก็จะแน่วแน่สนิทเป็นอัปปานาสมาธิ อย่างน้อยถึงระดับปฐมฌาน(ฌานที่1 หรือ รูปฌานที่1) เป็นอันสอดคล้องกับหลักที่แสดงไว้แล้วว่า ผู้บรรลุอริยภูมิ จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาครบทั้งสองทั่วกันทุกบุคคล...."
     
  17. ผมยังเลวอยู่มาก

    ผมยังเลวอยู่มาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +539
    ถ้าออกไปแบบที่กล่าวมาจะเห็นเหมือนตอนเที่ยงวัน ส่วนจะพบพระพุทธเจ้าหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่า กำลังของเราเป็นโลกุตร หรือ โลกียะ ถ้าโลกุตระ หมายถึงเป็นมโนมยิทธิของพระอริยเจ้าย่อมเห็นพระพุทธเจ้าได้เป็นปกติ แต่ถ้าเป็นกำลังของโลกียะ ต้องใช้ดูอารมณ์วิปัสนาญาณ ว่าถึงโคตรภูญาณหรือป่าว ถ้าถึงก็มีสิทธิได้พบ

    ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน ที่ เขาเห็นพระพุทธเจ้ากันเพราะพระพุทธเจ้าท่านสงเคราะห์ให้เห็นเป็นพุทธนิมิต

    ที่เหลืออยากรู้ว่าเป็นอย่างไรต้องทำเองคับ ถ้าไม่ทำก็จะมีคำถามอยู่อย่างนี้ละคับ หรือไม่ก็ศึกาตำราไปก่อนก็ได้ หรือถ้าไม่ชอบเลย ก็ปฎิบัติแบบอื่นไปก้ได้ ขออย่างเดียวจะวิธีไหนก็ขอให้มันได้ทำได้ปฎิบัติแล้วกันคับ
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอบคุณครับ...
     
  19. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
     
  20. เดินทาง

    เดินทาง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +38
    ขอบคุณมากครับ
    ส่วนผมทำต่อไปเรื่อยๆครับ เป้าหมายที่ตั้งไว้คือสิ่งเดียวกันครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...