ผงรุ่นแรกลป.เย็นลพ.สอน วัดศาลเจ้าพระผงหลวงปู่บุญวัดบ้านนาระยอง พระปิดตาลป.เจียง เนินหย่องระยอง.

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Jumbo A, 17 สิงหาคม 2022.

  1. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1710266435386.jpg FB_IMG_1710266440400.jpg FB_IMG_1710266443588.jpg FB_IMG_1710266447088.jpg FB_IMG_1710266450693.jpg FB_IMG_1710266457716.jpg FB_IMG_1710266460437.jpg FB_IMG_1710266464187.jpg
    1380005-1d56b-jpg.jpg
    ผงพุทธคุณมหาราช ผสมดอกตะไคร้ ผงตะไบพระกริ่งนวหรคุณ อ.ไสว และเส้นเกศาหลวงพ่อเลียบ )วัดเลา

    1380005-3020b-1-jpg.jpg

    พระทิพย์อำนาจ วัดเลา ธนบุรี หลวงพ่อไสว สุมโน พิธีใหญ่ มวลสารดี ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240313_004132.jpg IMG_20240313_004106.jpg
     
  2. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    หลวงพ่ออ่อน สมาจาโร.jpg
    วงการสงฆ์เศร้า สูญเสียพระเกจินักพัฒนาชื่อดังแห่ง จ.อ่างทอง หลวงพ่ออ่อน วัดเขียน ถูกมะเร็งตับคร่าชีวิต หลังเข้ารับการรักษาตัวจากเหตุอาพาธด้วยโรคไส้เลื่อน ที่โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญเมื่อประมาณ 2 เดือนก่อน เบื้องต้นศิษยานุศิษย์ขอตั้งศพบำเพ็ญกุศล 100 วัน
    เกจิดังในวงการคณะสงฆ์ไทยล่วงลับไปอีกรูป เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 พฤษภาคม "คม ชัด ลึก" รับแจ้งว่า พระครูวินัยธร (อ่อน สมาจาโร) หรือ หลวงพ่ออ่อน อายุ 85 ปี พรรษา 59 เจ้าอาวาสวัดเขียน ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคมะเร็งตับ จึงเดินทางไปตรวจสอบ พบว่าที่ศาลาการเปรียญบรรดาประชาชนและศิษยานุศิษย์จำนวนมากกำลังเตรียมพิธีสรงน้ำศพ
    นายสมบูรณ์ ศรีแก้ว อายุ 55 ปี อยู่บ้านเลขที่ 38/1 หมู่ 8 ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง ไวยาวัจกรของวัด กล่าวว่า หลวงพ่ออ่อนอาพาธด้วยโรคไส้เลื่อน เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลวิเศษชัยชาญเมื่อประมาณ 2 เดือน ที่ผ่านมา ต่อมาคณะแพทย์ได้ทำการตรวจเช็คและพบว่าหลวงพ่อมีอาการหัวใจโตและเป็นมะเร็งที่ตับ จนกระทั่งเวลา 14.45 น. วันที่ 12 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา หลวงพ่อได้สวดภาวนาและมรณภาพอย่างสงบ สร้างความเศร้าโศกแก่บรรดาลูกศิษย์อย่างมาก เบื้องต้นทางวัดจะทำตั้งศพบำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 100 วัน จากนั้นจึงจะมีการประชุมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
    ด้านพระมหาปัญยงค์ พระเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง เผยว่า หลวงพ่ออ่อนเป็นพระที่สมถะอย่างยิ่ง มีศีลาจาวัตรดีมาก ไม่บกพร่องเสื่อมเสีย คณะสงฆ์ให้การยอมรับและยกย่อง จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมายหลายระดับ เป็นนักพัฒนาสร้างเสนาสนะภายในวัด จากเดิมที่เป็นวัดร้างสมัยกรุงศรีอยุธยา ให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง โดยเฉพาะการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถ
    อายุกว่า 400 ปี ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความงดงามแห่งหนึ่งในประเทศ และวัดนี้พระเจ้าแผ่นดิน พระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินมาประกอบพระราชกรณียกิจหลายครั้ง ส่วนวัตถุมงคลที่โด่งดังมีเหรียญรูปเหมือน พระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น โดยเฉพาะแหวนทองเหลืองรูปงู และผ้ายันต์ที่แจกทหารไปรบที่ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นที่โด่งดังและหายากมาก ชีวประวัติของหลวงพ่ออ่อน เป็นชาวม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง โยมบิดาชื่อเล็ก โยมมารดาชื่อจันทร์ เอี่ยมฉลวย จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดยางมณี พออายุ 20 ปี อุปสมบทที่วัดน้อย อ.วิเศษชัยชาญ เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2489 จากนั้นเห็นว่าวัดเขียนซึ่งเป็นวัดเก่าแก่อยู่ในสภาพปรักหักพัง จึงตัดสินใจมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเขียน เพื่อบูรณะซ่อมแซมให้ดีขึ้น ระหว่างที่อยู่ที่วัดเขียนหลวงพ่ออ่อนได้พัฒนาสร้างศาลาการเปรียญ บูรณะอุโบสถ ปรับปรุงซ่อมแซมวัดด้วยตัวท่านเองมาตลอด ล่าสุด ก่อนที่จะมรณภาพก็สร้างเหรียญหยดน้ำ และเหรียญเสมา ซึ่งเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้ายที่ท่านปลุกเสกด้วยตัวเอง
    ฮือฮาละสังขาร ’วันวิสาขบูชา’ เก็บศพ 100 วัน

    “หลวงพ่ออ่อน” เกจิอาจารย์ดังเมืองอ่างทองมรณภาพไปอย่างสงบท่ามกลางความโศกเศร้าของศิษยานุศิษย์ เผยล้มป่วยด้วยโรคหัวใจโต และมะเร็งตับ สุดอัศจรรย์เวลา 14.45 น.วันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา พระนักพัฒนาได้สวดภาวนาก่อนจะละสังขาร ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาพอดี ส่วนวัตถุมงคลที่โด่งดังเป็นเหรียญรูปเหมือนพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น โดยเฉพาะแหวนทองเหลืองรูปงู-ผ้ายันต์ที่แจกทหารไปรบเวียดนาม ปัจจุบันหายากมาก

    เกจิอาจารย์ดังมรณภาพ ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 13 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรับแจ้งว่า พระครูวินัยธรอ่อน สมาจาโร หรือหลวงพ่ออ่อน อายุ 85 ปี เจ้าอาวาสวัดเขียน ต.ศาลเจ้าโรงทอง อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง มรณภาพ อย่างสงบด้วยโรคมะเร็งตับ หลังรับแจ้งรีบไปตรวจสอบพบว่า ที่ศาลาการเปรียญวัดดังกล่าวมีบรรดาประชาชนและศิษยานุศิษย์จำนวนมาก กำลังจัดแจงเตรียมพิธีสรงน้ำศพ ที่จะมีขึ้นในช่วงเย็นวันนี้ โดยนายสมบูรณ์ ศรีแก้ว อายุ 55 ปี ไวยาวัจกรวัด เปิดเผยว่า หลวงพ่ออ่อนอาพาธด้วยโรคไส้เลื่อนเข้ารักษาตัวที่ รพ.วิเศษชัยชาญเมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ต่อมาคณะแพทย์ได้ทำการตรวจเช็กพบว่า หลวงพ่อมีอาการหัวใจโต และเป็นมะเร็งที่ตับ กระทั่งเมื่อเวลา 14.45 น. ของวันที่ 12 พ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันวิสาขบูชา หลวงพ่อได้สวดภาวนาและมรณภาพอย่างสงบ สร้างความเศร้าโศกในการสูญเสียพระเกจินักพัฒนาแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้จะมีการทำบุญ 100 วัน ก่อนประชุมหารือว่า จะดำเนินการอย่างไรต่อ

    ด้าน พระมหาปัญยงค์ เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดอ่างทอง กล่าวว่า หลวงพ่ออ่อนเป็นพระที่มีความสมถะอย่างยิ่ง มีศีลวัตดีมากไม่บกพร่องเสื่อมเสีย คณะสงฆ์ให้การยอมรับและยกย่อง จึงมีลูกศิษย์ลูกหามากมายในหลายระดับ ได้พัฒนาสร้างเสนาสนะภายในวัดจากเดิมที่เป็นวัดร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง โดยเฉพาะการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถอายุกว่า 400 ปี ที่ได้รับการยกย่องว่ามีความงดงามแห่งหนึ่งในประเทศ สำหรับวัตถุมงคลที่โด่งดังเป็นเหรียญรูปเหมือนพระพิมพ์สมเด็จ 7 ชั้น โดยเฉพาะแหวนทองเหลืองรูปงูและผ้ายันต์ที่แจกทหารที่ไปรบเวียดนามปัจจุบันหายากมาก เป็นที่น่าอัศจรรย์อย่างยิ่งที่หลวงพ่อมรณภาพในวันวิสาขบูชาพอดี

    สำหรับอัตชีวประวัติ หลวงพ่ออ่อน เป็นชาวม่วงเตี้ย อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง บิดาชื่อเล็ก มารดาชื่อจันทร์ เอี่ยมฉลวย จบชั้นประถม 4 โรงเรียนวัดยางมณี กระทั่งอายุ 20 ปี ได้อุปสมบทที่วัดน้อย อ.วิเศษชัยชาญ ต่อมาวันที่ 17 เม.ย. 2489 หลวงพ่อเห็นว่าวัดเขียนซึ่งอยู่ในสภาพปรักหักพัง จึงตัดสินใจมาจำพรรษาอยู่เพื่อบูรณะซ่อมแซมให้ดีขึ้น ซึ่งระหว่างที่อยู่ที่วัดเขียนนั้นหลวงพ่ออ่อนได้พัฒนาสร้างศาลาการเปรียญ บูรณะอุโบสถ ปรับปรุงซ่อมแซมวัดด้วยตัวท่านเองมาตลอด ล่าสุดก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ก็ได้สร้างเหรียญหยดน้ำและเหรียญเสมาซึ่งเป็นวัตถุมงคลรุ่นสุดท้ายที่หลวงพ่ออ่อนปลุกเสกด้วยตัวเอง

    วัดเขียนสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย อายุ 400 กว่าปีมาแล้ว จุดเด่นคือพระอุโบสถภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า เเละภาพป่าหิมพานต์ โดยด้านบนพระอุโบสถ เป็นภาพเทพชุมนุม ส่วนด้านหลังจะมีพระประธานเขียนรูปดอกไม้ จึงได้นามว่าวัดเขียน
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระสมเด็จและพระผงรูปเหมือนหลวงปู่อ่อนวัดเขียนผสมเกศา ส่องดูจะเห็นในองค์พระ
    ให้บูชา 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240313_011548.jpg IMG_20240313_011621.jpg IMG_20240313_011458.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มีนาคม 2024
  3. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1710272186459.jpg

    สมเด็จยอดเพชร วัดห้วยทรายใต้ อำเภอ
    ชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ปี ๒๕๓๔
    พระสมเด็จยอดเพชร เป็นชุดพระเนื้อผง และสมเด็จครั่ง เริ่มดำเนินการ ในปี 2531 แล้วเสร็จในปี 2534โดยมีเจตนาการสร้างเพื่อหาทุนทรัพย์ สร้างกูฏิและสร้างโบสถ์ วัดห้วยทรายใต้ อ.ชะอำจ.เพชรบุรีได้มอบหมายให้ พระอาจารย์ไพโรจน์ ในสมัยที่ท่านยังจำพรรษาที่วัดห้วยทรายใต้เป็นผู้ดูแลดำเนินการจัดสร้างโดยพระชุดนี้ได้ร่วมปลุกเสกรุ่นเดียวกับสมเด็จร่มเย็น ซึ่งเป็นพระสมเด็จปรกโพธิ์รุ่นแรกของหลวงพ่อห่วย วัดห้วยทรายใต้
    รายละเอียดการสร้างพระชุดนี้ประกอบด้วย
    1.) พระสมเด็จเนื้อสีขาว มีส่วนผสมผง
    พุทธคุณ ผงอิทธิเจ จำนวนการสร้างไม่ทราบแน่นอน
    2.) พระสมเด็จเนื้อสีอมชมพู มีส่วนผสมของดินขุย ปูศรีอรุณ (นำมาจากดินซึ่งปูนาได้ คุ้ยดินขึ้นมากองที่ปากรู ทางทิศตะวันออก มีสีออกแดง )
    3.) พระสมเด็จ เนื้อสีคล้ำ มีส่วนผสมผงใบ
    ลาน และคัมภีร์ จำนวนการสร้าง ไม่ทราบ
    แน่ชัด
    4.) พระสมเด็จเนื้อครัง นำครังเก่าจากหลวงพ่อทองศุข ครั่งหลวงพ่อยิด มาด้วยจำนวนการสร้าง 3000 องค์
    รายละเอียดการเข้าพิธีปลุกเสกของพระชุดนี้
    1.) นำไปปลุกเสกที่วัดท่าซุง โดยหลวงพ่อ
    ฤาษีลิงดำได้เมตตาอธิษฐานจิต
    2.) นำไปเข้าพิธีปลุกเสกที่วัดพระแก้ว ในพิธีเดียวกับปลุกเสกวัตถุมงคลของสมเด็จย่าโดยผู้ไปร่วมในพิธียืนยันว่าพระชุดนี้ได้นำเข้าปลุกเสกในอุโบสถ
    เนื่องจากศิษย์หลวงพ่อแผ่วผู้ดูแลในพิธีเป็นผู้อนุญาตให้ ส่วนพระชุดอื่นนำไว้ด้านนอกปลุกเสกโดยใช้ สายสิณญจน์โยง
    3.) นำไปเข้าพิธีปลุกเสกที่ วัดพนัญเชิง
    อยุธยา
    4) นำเข้าปลุกเสกในพิธีใหญ่ที่วัดห้วยทรายใต้ วางศิลาฤกษ์อุโบสถ มีพระเกจิอาจารย์
    ร่วมปลุกเสก 199 รูป
    5) หลังปี 2534ก็ยั้งได้นำเข้าไปปลุกเสกในพิธีต่างๆ ตามวาระโอกาสที่เหมาะสม
    พระชุดนี้ได้ร่วมปลุกเสกรุ่นเดียวกับสมเด็จร่มเย็นพิธีใหญ่ พระเกจิเถราจารย์ร่วมปลุกเสก 108
    รูปทำพิธีพุทธาภิเษก อาทิ
    1.) หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ
    2.) หลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ
    3. หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก
    4.) หลวงพ่อดี วัดพระรูป
    5.) หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน
    6.) หลวงปู่นิล วัดครบุรี
    7.) หลวงพ่อเยิ้ม วัดใหม่บางจาก
    8. หลวงพ่อแผ่ว วัดโตนดหลวง
    9.) หลวงพ่อเกด วัดเกาะหลัก
    10.) หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ
    11.) หลวงพ่อ ลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า
    12.) หลวงพ่อเสน่ห์ วัดสว่างอารมย์
    13.) หลวงพ่อวรพรต เจ้าคณะอำเภอแวงน้อย
    14.) หลวงพ่อพิมพา วัดหนองตางู
    15) หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว
    16.) หลวงพ่อนิ่ม วัดเขาน้อยปราณบุรี
    17.) หลวงพ่อกลั่น วัดเขาอ้อ
    18.) หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
    19.) หลวงพ่อพาน วัดโป้งกระสัง
    20. หลวงพ่อท้าว คีรีวงศ
    21) หลวงพ่อประจักษ์ วัดชัยสามหมอ
    22.) พระครูสมุทรพัฒโสภณ วัดคันลัด
    23.) พระราชสุรรณมนี วัดมหาธาตุวรวิหาร
    24.) หลวงพ่อช่อ (ฤาษีลิงขาว) วัดฤกษ์บุญมี
    25.) หลวงปู้ทิม วัดพระขาว
    26.) หลวงพ่อเชิญ วัดโคกทอง
    27.) หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย
    28. หลวงพ่อจันทร์ดี วัดศรีสะอาด
    29.) หลวงพ่อแนบ วัดเขาหน่อ
    30. หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย
    31.) หลวงพ่อสวัสดิ์ วัดหุบมะกล่ำ
    32.) พระราชญาณรังสี วัดป่าชัยรังสี เป็นต้น
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จยอดเพชรองค์นี้นำมาแจกในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถพระชนม์มาอายุครบ ๕ รอบ ๒๕๓๕ อุปสมบทหมู่วัดโตนดหลวง พิธีดีมวลสารดี

    ให้บูชา
    300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240313_030141.jpg IMG_20240313_030159.jpg IMG_20240313_025723.jpg
     
  4. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1710277162458.jpg
    หลวงพ่อเล่าให้ฟัง (ตอนที่ 8…ปฏิปทาการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อทองหล่อ)
    .....ก่อนอื่นต้องขออนุญาตแจ้งให้ศิษยานุศิษย์ทุกท่านทราบว่า ที่ผมเขียนเรื่องหลวงพ่อให้ทราบนั้น ไม่ใช่เพราะได้รับอภิสิทธิ์ใด ๆ แต่เป็นเพราะผมช่างจดช่างจำชอบบันทึกจึงนำเรื่องราวที่ตนเองรู้มาถ่ายทอดเป็นตัวหนังสือให้กับสมาชิกรุ่นหลัง ๆ ที่ไม่รู้เรื่องราวได้รับทราบ ตามที่เคยเล่าให้ฟังว่าหลวงพ่อฯ เป็นพระแบบฉบับโบราณพูดเสียงดังฟังชัด จะว่ากล่าวต่อหน้าหากใครทำไม่ถูกต้อง จึงทำให้คนใกล้ชิดหรือคนที่เข้ามาหาท่านใหม่ ๆ ต่างกลัวเกรงและมองว่าท่านเป็นพระที่ดุ แต่ความจริงแล้ว ท่านเป็นพระที่มีเมตตามาก การใช้จ่ายแต่ละอย่างท่านจะประหยัดสุด ๆ คนใกล้ชิดจะรู้เกียรติศัพท์ท่านดี ด้วยความที่คนมองว่าท่านเป็นพระดุจึงไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าใกล้ท่าน ทำให้ประวัติและประสบการณ์ของท่านไม่ได้ถูกบันทึกหรือถ่ายทอดออกมา จนกระทั่งผมได้เข้ามารู้จักท่านจึงเริ่มต้นค่อย ๆ บันทึกเรื่องราวของท่านและเขียนเผยแพร่ให้ผู้คนทั่วไปรับทราบ
    ....เรื่องราวของหลวงพ่อฯ นั้น ท่านจะไม่ยอมบอกอะไรง่าย ๆ กับผู้ใดโดยเฉพาะคนที่ท่านไม่รู้จักมาก่อน ตัวผมเองตอนใหม่ ๆ นั้นเมื่อถามประวัติของท่าน ก็จะโดนท่านดุโดนท่านว่าอยู่บ่อย ๆ ว่า “จะรู้ไปทำไม เรื่องของคุณรู้ดีหรือยังถึงจะมารู้เรื่องของคนอื่น” แต่เพราะความหน้าหนาประจวบกับชอบตื้อชอบซักชอบถามและชอบนั่งหัวเราะตอนหลวงพ่อดุ สุดท้ายท่านคงเอื้อมระอาในพฤติกรรมที่ไม่สู้จะดีนักของผมจึงยอมบอกเรื่องราวมาทีละเล็กละน้อย ทำให้มีข้อมูลมาบรรยายเป็นตัวอักษรให้ทุกท่านรับทราบ
    .....เดิมทีหลวงพ่อฯ ไม่นิยมสร้างวัตถุมงคล แม้ว่าจะมีใครมาขอให้ทำโดยเฉพาะเซียนพระหรือนายทุนต่าง ๆ ก็ตาม ท่านบอกว่า “ฉันไม่อยากดัง ถ้าฉันอยากดังฉันทำไปนานแล้วไม่รอให้พวกคุณมาถามฉันหรอก” และก็ไล่กลับไปทุกราย ในยุคต้น ๆ ท่านจะมอบของที่ระลึกให้กับคนที่มาขอวัตถุมงคลเพียงชานหมากเท่านั้น ส่วนตะกรุดจะแจกหลังออกพรรษา ในยุคแรก ๆ จะมีคนนำแผ่นทองแดง, ทองเหลืองมาให้ท่านทำและปลุกเสก ท่านจะทำระหว่างช่วงเข้าพรรษา หลังออกพรรษาจะมีคนมารอคอยขอตะกรุดจากท่านมากมาย โดยเฉพาะคนที่ทำอาชีพขับเรือพ่วงที่จอดรอหน้าวัดโปรดสัตว์จะมารอคอยกันเต็มไปหมด เล่าลือกันว่าตะกรุดของหลวงพ่อทองหล่อศักดิ์สิทธิ์มาก ยุคแรกท่านจะลงยันต์และพระคาถาเหมือนตะกรุดคู่ชีวิตสอบถามได้ความว่ายันต์จะเป็นตารางสี่เหลี่ยม ในกุฏิของหลวงพ่อฯ จะมีเหล็กจารหลายอันเยอะแยะมากมาย เพราะได้มาจากพระอาจารย์ที่มีอายุมากบางองค์ และบางท่านก็เลิกไม่ทำตะกรุดเครื่องรางของขลังก็นำมาถวายท่าน ด้วยที่หลวงพ่อเป็นคนที่มือหนักดังนั้นการจารตะกรุดของท่านจึงลึกและมีตะกรุดหลายดอกที่ผู้คนได้ไปไว้บูชาจะมีการรานและระเบิดออกมา ครั้งหนึ่งท่านนำเหล็กจารมาเขียนยันต์นะลงบนหน้าผากของผู้เขียนพร้อมบริกรรมพระคาถา ท่านบอกว่าเขียนเบา ๆ แต่ผู้เขียนรู้สึกเจ็บก็รับรู้ได้ว่าท่านมือหนักจริง
    .....ยุคหลังตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 เป็นต้นมา หลวงพ่อจะแจกชานหมากพร้อมตะกรุดดอกเล็ก ที่เรียกกันว่า “ตะกรุดนะแก้วมณี” ซึ่งจารโดยหลวงพี่กำเนิดแล้วนำมาให้หลวงพ่อปลุกเสกกำกับพระคาถาอีกที ก่อนจะมอบให้ผู้ใดหลวงพ่อก็จะท่องพระคาถากำกับก่อนส่งมอบให้อีกครั้ง ตะกรุดนะแก้วมณียุคแรกสุดทำจากแผ่นเงินแท้ ในตะกรุดจะจารด้วยพระคาถา “นะ มะ อะ อุ” เป็นพระคาถาของพระอาจารย์ยุคโบราณที่สอนไว้ว่า “อธิษฐานได้สุดแล้วแต่ปรารถนา” เป็นพระคาถาเดียวกับหลวงพ่อแก้ว วัดสามเรือน ที่ท่านจะลงวัตถุมงคลเครื่องรางของขลังเป็นประจำ หลวงพี่กำเนิดเมตตาเล่าให้ฟังว่า “ตอนฉันมาจำวัดโปรดสัตว์ใหม่ ๆ เห็นแผ่นทองแดง, ทองเหลือง เต็มกุฏิหลวงพ่อ สอบถามท่านได้ความว่ามีคนนำมาให้ท่านทำตะกรุด แต่ท่านไม่ว่างเพราะมีกิจนิมนต์มากมายจึงวางรวมเอาไว้ ฉันเห็นจึงขออนุญาตหลวงพ่อนำมาจารตะกรุด แรก ๆ ฉันมีแรงทำ ฉันก็จารตะกรุดทั้งวันทั้งคืนแล้วนำไปให้หลวงพ่อปลุกเสก แต่ก็หมดไม่เหลือนะ”
    .....วิชาการทำตะกรุด สอบถามจากหลวงพ่อทองหล่อ บอกว่าท่านเรียนวิชามาจากหลวงปู่บุญ วัดช่างทอง และหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ (หลวงปู่บุญอายุมากกว่าหลวงพ่อทองหล่อ 43 ปี , ส่วนหลวงพ่อนอ อายุมากกว่าหลวงพ่อทองหล่อ 27 ปี) พระอาจารย์ทั้ง 2 ท่านเป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทสรรพวิชาให้กับหลวงพ่อทองหล่อ เคยสอบถามจากหลวงพ่อทองหล่อว่า “เรียนเขียนยันต์ครั้งแรกกับใคร” ท่านตอบว่าหลวงปู่เขียว วัดท้ายน้ำ ซึ่งตอนหลังมาจำพรรษาช่วงบั้นปลายชีวิตตามคำนิมนต์ของหลวงพ่อฟักที่กุฏิริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในพื้นที่ของวัดโปรดสัตว์ ยันต์ตัวแรกที่หลวงพ่อเรียน คือ ยันต์พุทธซ้อน ซึ่งเป็นยันต์ของพระอาจารย์โบราณกาลใช้ลงเครื่องรางของขลังกันมากมาก อาทิเช่น หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี เป็นต้น การมอบชายหมากและตะกรุดของหลวงพ่อทองหล่อจะเป็นการมอบ ให้ไปแบบฟรี ๆ ไม่มีเจตนาจะได้เงินจากญาติโยมแต่อย่างไร
    .....เหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ.2517 ในโอกาสฉลองสมณศักดิ์ที่ “พระครูบรรหารนวกิจ” ตอนนั้นท่านมีอายุ 55 ปี ซึ่งท่านบอกว่าลูกศิษย์ลูกหาเป็นคนทำเรื่องให้ ท่านไม่ได้ไปวิ่งเต้นอะไร (ถ้ามีเวลาและโอกาสจะเขียนเรื่องเหรียญรุ่นแรกให้อ่านอย่างละเอียด) หลังจากนั้นท่านก็อนุญาตให้สร้างประปรายแค่ครั้งหรือสองครั้ง แต่ละครั้งจะมีจำนวนการสร้างไม่มากนัก ล่วงมาอีกเกือบ 30 ปีลูกศิษย์ลูกหาข้อร้องและขออนุญาตท่านสร้างวัตถุมงคลเพื่อหาปัจจัยมาบูรณะเสนาสนะที่ทรุดโทรดเป็นอย่างมาก ท่านอนุญาตให้สร้างแต่บอกกับหลวงพี่กำเนิดว่าต้องมีราคาไม่แพง เพราะท่านเกรงใจญาติโยม ที่สำคัญไม่อยากให้ญาติโยมมองท่านว่าทำของออกมาขายเป็นพุทธพาณิชย์ ต่อมาจึงมีการสร้างวัตถุมงคลเป็นเหรียญรูปไข่ , แหวน, กำไลข้อมูล, เลสข้อมือ และอีกหลาย ๆ รุ่น และจะไม่ผ่านศูนย์จองใด ๆ ตามเจตนารมณ์ของหลวงพ่อฯ วัตถุมงคลที่หลวงพ่อฯ อนุญาตให้จัดสร้าง จะให้บูชา ณ โปรดสัตว์เท่านั้น แต่ละครั้งมีจำนวนไม่มากทำให้ศิษยานุศิษย์ที่มีจำนวนมากกว่าวัตถุมงคลไปเช่าหามาบูชาเพราะศรัทธาในปฏิปทาของท่าน ทำให้วัตถุมงคลต่าง ๆ หมดลงในระยะเวลาไม่นานนัก คราวหนึ่งหลวงพ่อฯ ได้ยินว่ามีคนมาเช่าวัตถุมงคลเป็นกำไลเงิน และเลสข้อมือนำมาปล่อยให้เช่าอีกทอดหนึ่งในราคา 2 เท่า ท่านได้ยินท่านก็ดุทันทีแถมหันไปดุลูกศิษย์ใกล้ชิดที่เป็นผู้รับผิดชอบจัดสร้าง ตอนนั้นท่านก็ไม่รู้ว่าเลสข้อมือเนื้อเงินหนัก 3 บาทออกจากวัดไปประมาณพันกว่าบาท หลวงพ่อฯ พูดว่า “ทำไมมันแพงอย่างนี้ ฉันบอกแล้วไม่ใช่เหรอว่าไม่ให้มีราคาแพง เกรงใจญาติโยมเขา เดี๋ยวเขามองว่าฉันทำของออกมาขาย ตอนหลังอย่าทำนะฉันไม่ชอบ” พอท่านพูดเสร็จลูกศิษย์ใกล้ชิดก็หนีกระเจิดกระเจิงไปคนละทิศคนละทางเพราะกลัวท่านจะว่ากล่าวอีก
    …..ที่เล่ามาข้างต้น คือ ปฏิปทาการสร้างวัตถุมงคลของพระเดชพระคุณหลวงพ่อทองหล่อ จะปรากฏเห็นได้ว่าท่านบวชมานานร่วม 80 ปี ท่านเป็นพระไม่สะสมเงินทองหรือทรัพย์สินใด ๆ ไม่มีรถประจำตัว ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้นท่านเป็นพระอุปัชฌาย์มีแต่คนต้องการให้บวชลูกหลาน ที่วัดไม่มีแม้กระทั้งรถของวัด เพราะท่านไม่ให้ซื้อท่านบอกว่า "เงินทองญาติโยมถวายมาให้บำรุงพระพุทธศาสนาไม่ใช่ให้มาซื้อรถเพื่อความสบายของฉัน" เงินทองทุกบาททุกสตางค์ที่ได้มาจากญาติโยมท่านนำเข้าบัญชีวัดโปรดสัตว์ ครั้งที่หลวงพ่อฯ ยังแข็งแรงอยู่หากจำเป็นต้องไปกิจนิมนต์ไกล ๆ ท่านต้องจ้างรถไปเอง แม้ยามป่วยไข้ก็ว่าจ้างรถไปส่งเป็นครั้งคราว นี่แหละปฏิปทาของพระสงฆ์ที่ชื่อ หลวงพ่อทองหล่อ วัดโปรดสัตว์

    .....หลวงพ่อเล่าให้ฟัง (ตอนที่ 8…ปฏิปทาการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อทองหล่อ)...

    ....ขอความสุข ความรุ่งเรือง และความเจริญในธรรมจงมีแก่ศิษยานุศิษย์ของหลวงปุ่ฯ ทุกท่านครับ…..
    เรียบเรียงโดย : นายวีระศักดิ์ ขวัญมงคลพงศ์
    หลวงพ่อทองหล่อ วัดโปรดสัตว์ อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา พระเกจิ 5 แผ่นดิน
    หลวงพ่อทองหล่อท่านเกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2462 ที่หมู่บ้านข้างวัดโปรดสัตว์ อ.บางปะอิน ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นามเดิมของท่านชื่อ ทองหล่อ โกมารทัต เกิดในครอบครัวอาชีพเกษตรกรรม ในวัยหนุ่มประกอบอาชีพทำนาและเล่นดนตรีไทย (ระนาดเอก) จนอายุได้ 20 ปี จึงไดรับการบรรพชาโดยมี หลวงพ่อฟัก วัดทำเลไทย เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้จำพรรษาที่วัดโปรดสัตว์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงพ่อทองหล่อเป็นผู้ที่มีความจำเป็นเลิศ สามารถท่องจำบทสวดมนต์ต่างๆได้หมดภายในระยะเวลาที่รวดเร็ว สามารถท่องบทสวดปาฏิโมกข์ได้ภายในระยะเวลาเพียง 2 เดือน หลวงพ่อทองหล่อได้รับการถ่ายทอดวิชาพุทธาคมจากอาจารย์หลายท่าน เช่น หลวงพ่อฟัก วัดทำเลไทย หลวงปู่บุญ วัดช่างทอง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก และหลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
    หลวงพ่อทองหล่อ ได้มรณภาพ วันที่ 18พฤศจิกายน พ.ศ.2560 สิริอายุ 98 ปี
    ศิษย์ขอน้อมกราบพระอุปัชฌาย์ทองหล่อด้วยความเคารพ
    หลวงพ่อทองหล่อ อภินันโท (พระครูบรรหารนวกิจ) ชื่อ-นามสกุลเดิม “ทองหล่อ โกมารทัต” เกิด ณ ที่หมู่ 3 ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2461 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ท่านเกิดในครอบครัวกสิกรรม ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก บิดาชื่อ “นายเติม โกมารทัต” มารดาชื่อ “นางยิ้ม โกมารทัต” เกิดในวงศ์สกุล “โกมารทัต” ซึ่งเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากในหลวงรัชกาลที่ 6 มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดาเดียวกัน รวมทั้งหมด 5 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้:
    1.หลวงพ่อทองหล่อ อภินันโท (ทองหล่อ โกมารทัต)
    2.นางล่ำ โกมารทัต (เสียชีวิตแล้ว)
    3.นายเลิศ โกมารทัต (เสียชีวิตเพราะโดนงูเห่ากัดตั้งแต่ยังรุ่น ๆ)
    4.นางเต็ม ผลเกิด (โกมารทัต)
    5.นายต่วน โกมารทัต
    .....หลวงพ่อทองหล่อ เข้าอุปสมบท เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ.2482 เวลา 8.00 น. ณ วัดโปรดสัตว์ ตำบลขนอนหลวง อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยมีหลวงพ่อฟัก วัดทำเลไท เป็นพระอุปัชฌาย์ , หลวงพ่อถม วัดชีปะขาว เป็นพระกรรมวาจาจารย์, หลวงพ่อบุญลือ วัดทำเลไท เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา “อภินันโท” แปลว่า ผู้มีความเพลิดเพลินอย่างยิ่ง ภายหลังจากการอุปสมบทได้เล่าเรียนกับพระเกจิอาจารย์ที่ทรงคุณวิชาและมีชื่อเสียงหลายท่าน อาทิเช่น หลวงปู่เขียว วัดท้ายน้ำ (บั้นปลายชีวิตมาจำพรรษาที่วัดโปรดสัตว์), หลวงพ่อฟัก วัดทำเลไทย, หลวงปู่บุญ วัดช่างทอง, หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ เป็นต้น
    …..หลังจากที่หลวงพ่อทองหล่อ ได้อุปสมบทก็ตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนพระวินัยเป็นอย่างมาก จนสามารถเจริญพระพุทธมนต์ 7 ตำนาน, 12 ตำนาน และพระปาฏิโมกข์ได้ในระหว่างพรรษาแรก หลวงพ่อทองหล่อมีความตั้งใจในการใฝ่ศึกษาทางธรรมตามที่ครูบาอาจารย์ของท่านได้แนะนำ กล่าวได้ว่าเป็นพระภิกษุที่ว่านอนสอนง่ายและเชื่อฟังคำสั่งสอนครูอุปัชฌาย์เป็นอย่างดี
    การศึกษาอบรม
    พ.ศ.2482 สอบได้นักธรรมตรี
    พ.ศ.2483 สอบได้นักธรรมโท
    พ.ศ.2485 สอบได้นักธรรมเอก
    …..หลวงพ่อทองหล่อได้ปฏิบัติศาสนกิจเป็นที่ไว้วางใจของหลวงพ่อฟัก และเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการพัฒนาวัดโปรดสัตว์ให้เจริญรุดหน้ากว่าที่เป็นมาทำให้เป็นที่ยอมรับนับถือแก่พระภิกษูด้วยกันและญาติโยมในหมู่บ้านใกล้เคียงวัดโปรดสัตว์และวัดทำเลไท ต่อมาได้รับมอบหมายจากหลวงพ่อฟักให้ปฏิบัติศาสนกิจแทนท่านอยู่เนือง ๆ
    หน้าที่ความรับผิดชอบ
    9 มกราคม พ.ศ.2489 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดโปรดสัตว์ (หลังจากที่ได้อุปสมบทมาประมาณ 7 ปี)
    20 มิถุนายน พ.ศ.2501 ได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระปลัด” ในฐานานุกรมของพระภัทรมุขมุนี
    5 ธันวาคม พ.ศ.2516 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ “พระครูบรรหารนวกิจ”
    1 พฤศจิกายน พ.ศ.2519 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลขนอนหลวง
    31 มกราคม พ.ศ.2520 ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์
    5 มกราคม พ.ศ.2530 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท
    27 มิถุนายน พ.ศ.2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสกิตติมศักดิ์ หลังจากได้ขอลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสด้วยชราภาพ และมีโรคประจำตัวไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เต็มที่
    .....หลวงพ่อทองหล่อ ปฏิบัติศาสนกิจมายาวนาน ทำหน้าที่ปกครองพระสงฆ์ในความรับผิดชอบ รักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด ทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2556 รวมระยะเวลานานถึง 36 ปี ได้ทำหน้าที่บรรพชาและอุปสมบทให้บุตรหลานพุทธศาสนิกชนและญาติโยมในพื้นที่อำเภอบางปะอินมากมายหลายคน ตลอดชีวิตของหลวงพ่อทองหล่อ ได้ถือพระวินัยอย่างเคร่งครัด และดูแลกวดขันพระภิกษุสงฆ์ที่อยู่ในการปกครองอย่างเข้มงวด รวมทั้งทำคุณประโยชน์ให้กับคนในพื้นที่และพระพุทธศาสนามาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้มีศิษยานุศิษย์และผู้เคารพศรัทธาเลื่อมใสนับถืออย่างมากมายทั้งที่เป็นพระภิกษุสงฆ์และคฤหัสถ์ ทั้งในพื้นที่เขตอำเภอบางปะอินและนอกพื้นที่
    .....หลวงพ่อทองหล่อ เริ่มอาพาธด้วยโรคปอดติดเชื้อขณะนั้นอายุได้ 93 ปี ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2554 ซึ่งเป็นปีเกิดอุทกภัยเป็นวงกว้างทั่วประเทศ และเริ่มอาพาธหนักด้วยโรคชราโดยพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลพีรเวช จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ.2560 เป็นต้นมา และได้มรณภาพละสังขารด้วยอาการสงบ เมื่อวันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2560 ตรงกับวันพระแรม 15 ค่ำ เดือน 12 เวลา 7.55 น. สิริอายุ 99 ปี 5 เดือน 26 วัน รวม 79 พรรษา ยังความเศร้าอาลัยต่อศิษยานุศิษย์และญาติโยมผู้ศรัทธาในปฏิปทาของท่านเป็นอย่างมาก ขอบุญกุศลที่หลวงพ่อทองหล่อได้ปฏิบัติบำเพ็ญเพียรมาจงเป็นกุศลกรรมให้หลวงพ่อไปสถิตย์อยู่ ณ ทิพยวิมาน บำเพ็ญบารมีเพื่อสู่แดนพระนิพพานต่อไปด้วยเทอญ.....
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จหลวงพ่อทองหล่อวัดโปรดสัตว์อยุธยาให้บูชา
    200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240313_040835.jpg IMG_20240313_040857.jpg IMG_20240313_040801.jpg
     
  5. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    mcontent_image4122551134929-jpg.jpg
    พระครูสิริบุญาเขต (หลวงพ่อมี จิตฺตธโม) วัดม่วงคัน ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง
    พระเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์อยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุด และเมตตามหานิยม บริสุทธิ์ผ่อง
    แผ้วทั้งทางโลกและทางธรรม ถือมรรคน้อยสันโดด ไม่ยึดติดในโลก โกรธหลง มีญาณสมบัติแก่กล้า พูดน้อยใจดี มีศีลบริสุทธิ์
    ปฏิปทาน่าเลื่อมใส เป็นพระสุปฏิปันโนที่กราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ
    เป็นศิษย์สืบทอดไสยเวทย์สายหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จากหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งหลวงพ่อซวง พระอาจารย์ของหลวงพ่อมีองค์นี้เป็นพระเกจิอาจารย์มีชื่อเสียงมากที่สุดองค์หนึ่งของเมืองไทย ท่านมีสมาธิจิตและบุญญาบารมีสูงแก่กล้า วัตถุมงคลของท่านทุกอย่างศักดิ์สิทธิ์แน่นอนตอนละสังขารได้อธิษฐานร่างเป็นหินและ
    เผาไม่ไหม้ หลวงพ่อมีได้ศึกษาวิชาและปฏิบัติดูและรับใช้หลวงพ่อซวงจนถึงวันที่ท่านละสังขาร
    และเป็นศิษย์สืบทอดวิชาจากหลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง ศึกษาวิชาหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค จากหลวงพ่อเต๊ะ วัดม่วงคัน ด้วยความเชี่ยวชาญแตกฉานขมังเวทย์ในพุทธาคม ทำให้วัตถุมงคลทุกรุ่นของหลวงพ่อมีประสบการณ์ชัดเจน พิสูจน์กันมาแล้วมากมาย
    ประวัติ
    นามเดิม นายบุญมี ขอผึ้ง ถือกำเนิด ณ บ้านม่วงคัน ต.รำมะสัก อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง เมื่อวันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2470 เป็นบุตรคนโตในจำนวนทั้งหมด 6 คนคือ 1. หลวงพ่อมี 2. นายเพี้ยน 3.นางบาง 4. นางเชิด 5. นายช่วย 6. นายชอบ ของโยมพ่อชั้น และโยมแม่เจียก
    เรียนจบการศึกษา ป.4 ที่โรงเรียนม่วงคัน หลังจากนั้นได้มาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพในด้านเกษตรกรรมทำนา
    อุปสมบท เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ณ พัทธสีมาวัดม่วงคัน วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยมี หลวงพ่อนุ่ม ธมฺมกาโม วัดนางใน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ทรง วัดศาลาดิน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ หลวงพ่อชม ธมฺมธีโร วัดนางใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “จิตฺตทโม”
    ครั้นอุปสมบทแล้ว ได้จำพรรษาอยู่วัดนางใน 4 พรรษา จำพรรษาอยู่วัดชีปะขาว อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี อยู่กับหลวงพ่อซวง 2 พรรษา แล้วก็มาจำพรรษาอยู่วัดม่วงคัน ได้เดินทางไปมาหาสู่วัดนางใน และวัดชีปะขาวอยู่เสมอมา
    การศึกษาพุ ทธาคม ไสยเวท มนต์คาถา เริ่มจากการเดินทางไปจำพรรษาอยู่วัดนางใน อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง ได้อยู่ใกล้ชิดปรนนิบัติรับใช้หลวงพ่อนุ่ม
    หลวง พ่อนุ่มเป็นพระอาจารย์ที่เชี่ยวชาญในวิชาไสยศาสตร์เวทมนต์คาถามาก ท่านเป็นศิษย์สืบทอดพุทธาคมจากหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ จ.นครสวรรค์ และสืบทอดวิชาไสยเวทจากหลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา จ.สุพรรณบุรี และสืบทอดวิชาสายหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จากหลวงพ่อเข็ม วัดข่อย อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง พระอาจารย์ที่หลวงพ่อนุ่มเล่าเรียนมา แต่ละองค์ล้วนวัตถุมงคลมีค่านิยมหลักหมื่นต้นๆ ถึงหลักแสน สำหรับวัตถุมงคลของหลวงพ่อนุ่มเหรียญรุ่น 1 เล่นหากันราคาหลายหมื่น เบี้ยแก้เล่นหาราคาสูง และหายากทั้งเหรียญและเบี้ยแก้มีประสบการณ์มาก
    หลวงพ่อนุ่มวัดนางในพระอาจารย์ของหลวงพ่อมี วัดม่วงคันองค์นี้ มีไสยเวท มนต์คาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ขึ้นชื่อได้แก่พระคาถาทำผงเรียกว่า “มนต์พระสังข์” ซึ่งเป็นสุดยอดเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ สิริมงคล โชคลาภ ใช้เรียกทรัพย์ เงินทองไหลมาเทมา เป็นที่ขึ้นชื่อและมีประสบการณ์ทันตาเห็น
    แม้ในครั้งยุคที่หลวงพ่อนุ่ม เวลาวัดมีงานปีและงานบุญ ท่านจะใช้แป้งเสกผงไปโรยบริเวณรอบวัด ตกกลางคืนผู้คนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศจนเบียดเสียดต้องดันกันเข้าบริเวณวัด ทุกครั้งไป เป็นที่ขึ้นชื่อว่าในอำเภอวิเศษไชยชาญไม่มีวัดไหนมีผู้คนมางานมากเท่าวัดนางใน
    หลวงพ่อมีได้ขอศึกษาเรียนวิชาไสยเวทจากหลวงพ่อนุ่มจนจบสิ้น ในลำดับแรกท่านได้สอนวิชาทำสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ถ่ายทอดวิชาจุพลังคุณ พระคาถาผงมนต์ พระสังข์ ทำเบี้ยแก้ มหาอุด คงกระพันชาตรี เมตตาค้าขาย ทำน้ำมนต์แก้คุณไสย ขับภูตผี ทำตะกรุด ทำผงปถมังอิทธิเจ ตรีนิสิงเห และผงมหาราช หน้าพระลักษณ์

    เมื่อ ศึกษาจบสิ้นแล้ว ได้ลาพระอุปัชฌาย์ออกธุดงค์มุ่งสู่อำเภอพุทธบาทผ่านจังหวัดเพชรบูรณ์ ขอนแก่น สกลนคร พระธาตุพนม จ.นครพนม สู่ประเทศลาว แล้วกลับมาทางนครราชสีมา เขาปักธงชัย จ.นครนายก ต่อไปวัดยางมณี อ.วิเศษไชยชาญ เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ขอเรียนวิชาสะกดสัตว์ร้ายจากท่านพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อชวน) ท่านเชี่ยวชาญเรื่องวิชาป้องกันสัตว์ร้าย วิชาทำข้อกำไลแขน เชือกผูกเอว ผูกแขนป้องกันสัตว์ร้ายได้สารพัด
    เมื่อได้เรียนวิชา แล้วก็ลาหลวงพ่อชวน จากวัดยางมณีไปกราบนมัสการหลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว 2 พรรษา ได้ขอศึกษาไสยเวทพุทธาคมจากหลวงพ่อซวง หลวงพ่อซวงได้ถ่ายทอดให้จนหมดสิ้น
    ประสบการณ์มาก หลวงพ่อนุ่มวัดนางในพระอาจารย์ของหลวงพ่อมี วัดม่วงคันองค์นี้มีไสยเวทย์มนต์คาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ขึ้นชื่อได้แก่พระคาถาทำผงเรียกว่า "มนต์พระสงข์" ซึ่งเป็นสุดยอดเมตตามหานิยม มหาเสน่ห์ สิริมงคล โชคลาภ ใช้เรียกทรัพย์ เงินทองไหลมาเทมา เป็นที่ขึ้นชื่อและมีประสบการณ์ทันตาเห็น แม้ในครั้งยุคที่หลวงพ่อนุ่ม เวลาวัดมีงานปีและงานบุญ ท่านจะใช้แป้งเสกผงไปโรยบริเวณรอบวัด ตกกลางคืนผู้คนหลั่งไหลมาจากทุกสารทิศ จนเบียดเสียดต้องดันกันเข้าบริเวณวัด ทุกครั้งไป เป็นที่ขึ้นชื่อว่าในอำเภอวิเศษไชยชาญไม่มีวัดไหนมีผู้คนมางานมากเท่าวัดนาง ใน หลวงพ่อมีได้ขอศึกษาเรียนวิชาไสยเวทย์จากหลวงพ่อนุ่มจนจบสิ้น
    ประสบการณ์ เหรียญเสมารุ่น1 มีประสบการณ์ปืนยิงไม่ออก ได้เกิดเหตุยิงกันในวันงานยกช่อฟ้าอุโบสถ วัดม่วงคัน มีวัยรุ่นไล่ยิงกันมาอีกฝ่ายวิ่งหนี อีกฝ่ายถือปืนวิ่งตาม คนวิ่งหนีเข้าไปในร้านค้าป้าหวุย เป็นร้านค้าอยู่หน้าวัดม่วงคัน หนีออกทางประตูหลังร้าน ในขณะเดียวกัน ลูกชายป้าหวุยเจ้าของร้านไม่รู้เรื่องได้เดินสวนออกมา วัยรุ่นที่ถือปืนตามมา คิดว่าเป็นพวกออกมาจะต่อสู้จึงได้ยิงด้วยปืน .38 ทันทีหลายครั้ง แต่กระสุนด้านยิงไม่ออก ลูกป้าหวุยโดนยิงแต่กระสุนไม่ออกได้แขวนเหรียญเสมารุ่น1 หลวงพ่อมีอยู่ในคอเหรียญเดียว ชื่อนายจิมมี่ แสงอำนาจเจริญ เป็นบุตรชายของป้าหวุย แสงอำนาจเจริญ เรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างงานผู้คน
    มากมายรู้กันทั้งตำบล และมีประสบการณ์อีกหลายครั้ง
    ครั้งที่ 2 เกิดเรื่องยิงไม่ออกอีก เกิดในคืนวันงานผูกพัทธสีมาผังลูกนิมิต วัดม่วงคันในปีพ.ศ.2541 ตำรวจนอกเรื่องแบบ อดีตเป็นตำรวจอยู่ประจำสน.รำมะสักได้ย้ายไปอยู่สน.อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ได้มาเที่ยวงานวัด มากินอาหาร ดื่มสุราที่ร้านเบียร์สดหน้าวัดจนเมามาย ได้พบเห็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.รำมะสักที่คุ้นเคยรู้จักกัน อยู่ในชุดเครื่องแบบรักษาการอยู่ได้โซเซเข้าไปชักชวนมาร่วมดื่มสุราด้วย ตำรวจในชุดรักการอยู่บอกปฏิเสธว่า "มึงไม่รู้เรื่องหรือ กูกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่" เท่านั้นแหละ ตำรวจนอกเครื่องแบบที่เมาสุราไม่พอใจ กระโดดเข้าชกต่อย เกิดการต่อสู้กัน ตำรวจนอกเครื่องแบบได้ชักปืนออกมาแล้วยิง แต่กระสุนด้านยิงไม่ออก เหตุเกิดขึ้นในงานใกล้ปากประตูเข้าวัด มีผู้คนรู้เห็นมากมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ถูกยิงไม่ออก มีเหรียญเสมารุ่น1 หลวงพ่อมี ห้อยคออยู่เหรียญเดียว
    และอีกประสบหนึ่งมีชาวบ้านห้อยแขวนเหรียญเสมา รุ่น1 นี้อยุ่ในคอเหรียญเดียว ถูกรถชนกระเด็นไปหลายวา ไม่ได้รับบาดเจ็บหรือแม้นเลือดออกแม้แต่หยดเดียว รอดชีวิตมาได้อย่างปฏิหารย์ เหรียญเสมารุ่น1 นี้ ออกแจกให้ชาวบ้านและศิษย์จำนวน 5,000 เหรียญออกในปีพ.ศ.2514 เป็นเนื้อทองแดง เนื้อเดียว ได้ปลุกเสกอธิฐานจิตโดยหลวงพ่อมี องค์เดียว
    https://palungjit.org/threads/ประสบการณ์และอภินิหาร-หลวงพ่อมี-จิตฺตธโม-วัดม่วงคัน-จ-อ่างทอง.245239/
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จฝังตะกรุดสามกษัตริย์หลวงพ่อบุญมีพระสมเด็จไตรมาสปี๔๕ วัดม่วงคันให้บูชาคู่กัน 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    img_20240311_143523-jpg.jpg img_20240311_143543-jpg.jpg

    IMG_20240313_113033.jpg IMG_20240313_113104.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2024
  6. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    วัดดาวดึงษาราม เป็นวัดที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามตำนานว่า เจ้าจอมแว่น พระสนมเอกในรัชกาลที่ ๑ สร้างขึ้นทำด้วยเสาไม้แก่น พระอุโบสถก่ออิฐสูงพ้นพื้นดินประมาณ ๒ ศอก มีไม้แก่นเป็นเสาประกอบหลังคาหลังคามุงกระเบื้อง ฝาผนังเป็นไม้สัก มีบานประตูหน้าต่าง และได้นิมนต์พระอธิการอิน ผู้เชี่ยวชาญ ทางวิปัสสนาธุระมาเป็นครองวัด ชาวบ้านจึงเรียกว่า “วัดขรัวอิน” ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ข้าราชการฝ่ายในขื่ออิน ซึ่งเป็นญาติของเจ้าจอมแว่นได้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ ได้รื้อกุฏิก่อเป็นตึก ใช้ไม้แก่นเป็นเสาประธาน หลังคามุงกระเบื้อง ฝาไม้ไผ่ขัดแตะถือปูน มีประตูหน้าต่าง รื้อฝาฝนังและเครื่องหลังคาพระอุโบสถที่เป็นไม้ออก ก่อฝาฝนังอิฐและมุงกระเบื้องหลังคาใหม่ มีช่อฟ้าใบระกา เป็นพระอุโบสถขนาดเล็ก เหตุด้วยผู้ครองวัดและผู้ปฏิสังขรณ์วัดมีนามเดียวกันว่า “อิน” พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงพระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดดาวดึงษาสวรรค์”อันหมายถึง สวรรค์ชั้นดาวดึงษ์ที่พระอินทร์สถิต ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยามหาเทพ (ทองปาน) ซึ่งเป็นตระกูลปาณิกบุตร ได้บูรณปฏิสังขรณ์รื้อกุฏิเก่าทั้งหมด สร้างกุฏิหมู่หนึ่งเป็นตึก ๔ หลัง กุฏิไม้อีก ๓ หลัง พร้อมทั้งสร้างหอสวดมนต์ หอฉันเป็นกัปปิยกุฏิอีก ๑ หลัง นอกจากนั้นได้ซ่อมแซมและก่อสร้างสิ่งอื่น ๆ ที่สำคัญอีก คือ รื้อพระอุโบสถเดิม สร้างพระอุโบสถใหม่ ก่ออิฐถือปูน พื้นปูด้วยหินอ่อน ผนังภายในพระอุโบสถถือปูนและเขียนภาพจิตรกรรม หลังคาทำเป็นมุขลด ๒ ชั้น มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจก สร้างพระประธานปางสมาธิ มีสาวก ๒ องค์อยู่เบื้องหน้าทั้งด้านซ้ายและด้านขวา กำแพงแก้วทำเป็น ๒ ชั้น กำแพงแก้วชั้นในเชื่อมระหว่างซุ้มเสมา กำแพงแก้วชั้นนอกมีเจดีย์บนมุมกำแพง และมีซุ้มประตู ๔ ด้าน สร้างเป็นศาลาจตุรมุข หลังคามุงกระเบื้องสี หน้าพระอุโบสถสร้างศาลาดินทำเป็นศาลาการเปรียญ ๑ หลัง สร้างศาลารายด้านเหนือและด้านใต้ด้านละ ๑ หลัง เก๋งเล็ก ๆ อีก ๔ หลัง และสร้างกำแพงล้อมศาลา มีซุ้มประตูเข้าออก ๔ ด้าน ขุดคลองระหว่างพระอุโบสถกับกุฏิ ปากคลองอยู่ด้าสนตะวันออกเฉียงใต้จดแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านตะวันตกเฉียงเหนือจดคลองบางยี่ขัน ขุดสระ ๒ สระ และทำสะพานถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ๑ สะพาน จากนั้นได้น้อมเกล้าฯถวายเป็นพระอารามหลวง และได้รับพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดดาวดึงษาราม” จนปัจจุบัน

    เหรียญพระพุทธกวัก วัดดาวดึงส์ พิธีใหญ่ ปลุกเสกในพิธีเสาร์ 5 ปี 2516 เกจิร่วมปลุกเสกมากมาย อาทิหลวงปู่โต๊ะ หลวงปู่ธูป และยังปลุกเสกรอบโลกอีก 25 ประเทศ โดยทั้งชุดมี 4 เหรียญ คือ

    -เหรียญพระอรหันต์ 9 ทิศ
    -เหรียญพระครูโสภณธรรมาจารย์
    -เหรียญพระครูโว (อดีตเจ้าอาวาสวัดดาวดึงฯ)
    -เหรียญพุทธกวัก
    get_auc3_img (9).jpeg
    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพระพุทธกวักปลุกเสก เสาร์ ๕ ปี๒๕๑๖ กะไหล่ทอง สวยเดิมๆ พิธีดี ลป.โต๊ะเสกแน่นอน
    ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)

    IMG_20240313_115037.jpg IMG_20240313_115108.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2024
  7. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1710308912414.jpg
    ช่วงชีวิตในวัยเยาว์ของท่าน ดำเนินไปเฉกเช่นวิถีชาวบ้านในต่างจังหวัดทั่วไป หลังจากจบ ป.๔ บิดาท่านได้ถึงแก่กรรม ท่านก็ต้องออกมาทำงานช่วยครอบครัว เพื่อเลี้ยงแม่และน้องๆ ซึ่งท่านก็สู้อดทน รับจ้างทำงานทุกอย่าง จนกระทั่งอายุได้ ๒๐ ปี จึงบรรพชาอุปสมบท ตามประเพณีนิยม ณ.วัดนางโอ ปัจจุบัน คือวัดบุพนิมิตร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๒ ณ.พัทธสีมา วัดนางโอ โดยมี พระครูมนูญสมณการวัดพลานุภาพเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการแดง ธมฺมโชโต วัดนาประดู่ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทอง จนฺทโชโต วัดภมรคติวันเป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระอธิการดำ ติสสโร เจ้าอาวาสวัดนางโอ ในขณะนั้น เป็นประธานสงฆ์ พระสงฆ์หัตถบาส เป็นพระอาจารย์ ที่ประสิทธิ์ ประศาสน์ วิชาความรู้ และ พระเวทย์ต่างๆ ให้พ่อท่านเขียวมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆาราวาส เมื่ออุปสมบทครองผ้าเหลือง
    พ่อท่านเขียว ได้จำพรรษาอยู่วัดนางโอ โดยท่าน ได้ใช้เวลาที่ว่างจากกิจของสงฆ์เล่าเรียนการสวดมนต์ในบทสำคัญต่างๆ รวมถึงการสวดภาณยักษ์ในแบบฉบับของภาคใต้ ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยได้พบกันมากๆเหมือนก่อนแล้วกระทั่งพรรษา ๒ ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดสุนทรบัญชาราม อ.รามัญ จ.ยะลา
    พรรษาที่ ๓ พ่อท่านเขียว ได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดนางโออีกครั้ง ได้ศึกษาวิชาอาคมต่างๆ กับ “ตาเลี่ยม” ฆาราวาสที่เชี่ยวชาญ ด้านวิปัสสนา อีกทั้งสรรพวิชาจากผู้เรืองพระเวทย์วิทยาคมในเขตนั้นอีกจำนวนนับไม่ถ้วนซึ่ง ในทางธรรม ท่านปฏิบัติเคร่งครัด ศึกษาด้านปริยัติธรรมบาลีไวยากรณ์และนักธรรม รวมถึงการสวดมนต์ สาธยายธรรม ด้วยเหตุนี้เอง พ่อท่านเขียวท่านจึงสามารถ สวดปาฏิ-โมกข์ได้ตั้งแต่ในพรรษาที่ 5 พ่อท่านเขียว สอบได้นักธรรมโทและต่อมา ท่านได้รับตำแหน่ง รักษาการเจ้าอาวาส วัดนางโอ
    จนกระทั่งได้เป็นเจ้าอาวาสในลำดับต่อมา ในระหว่างนี้ท่านเองเป็นสหธรรมมิกกับ “พระอาจารย์ทิม วัดช้างไห้” ด้วยความสนิทสนม ชอบพออัธยาศัยไปมาหาสู่กันเสมอ ระยะทางระหว่างวัดทั้ง ๒ ไม่ไกล กันโดยร่วมสังฆกรรม สนทนาธรรม ร่วมพิธีกรรมต่างๆกันเสมอ โดยเฉพาะเมื่อคราวที่ท่านอาจารย์ทิม วัดช้างไห้ สร้างหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี ๒๔๙๗ เพื่อแจกแก่ผู้ที่ร่วมสร้างพระอุโบสถ วัดช้างไห้นั้นพ่อท่านเขียว เป็นผู้หนึ่งที่คลุกเนื้อผสมว่าน และ ร่วมอยู่ในพิธีกรรมเจริญพุทธมนต์ ในระหว่างที่ท่าน-อาจารย์ทิม อัญเชิญดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ทวด เพื่อปลุกเสกพระเครื่องเนื้อว่านในคราวปี ๒๔๙๗ และร่วมพิธีกรรมปลุกเสกอีกหลายวาระ
    เมื่ออาจารย์ทิมท่านมรณภาพแล้ว ยังมีพิธี กรรมที่สำคัญอีก ๑ วาระ คือปลุกเสกหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี ๒๕๒๔ ปัจจุบันเป็นที่เสาะหากันมากเพราะมีประสบการณ์คุ้มภยันตราย แคล้วคลาดปลอดภัยแก่ผู้ที่นับถือนอกจากนี้ ยังได้รับนิมนต์ไปปลุกเสกวัตถุมงคลต่างๆ ในหลายพิธีตลอดมาทั้งไกลและใกล้จนถึงปัจจุบัน นับว่าพ่อท่านเขียวเป็นพระเกจิสำคัญถือเป็นเพชรอีกรูปหนึ่ง แห่งเมืองใต้ เลยทีเดียวส่วนหลักฐานสำคัญ อีกรูปที่รับรองพ่อท่านเขียว ว่าปลุกเสกหลวงปู่ทวดเดี่ยวเพียงลำพังรูปเดียวได้ดีคือท่านอาจารย์นอง วัดทรายขาว ท่านกล่าวไว้กับศิษย์ใกล้ชิดที่ร่วมรับรู้หลายท่าน ถือเป็นหลักฐานรับรองที่สำคัญ อีกประการหนึ่ง
    ในราวปี ๒๕๐๐ พ่อท่านเขียวได้ตรวจสอบธรณีสงฆ์รอบวัดนางโอ พบการรุกล้ำที่วัดของชาวบ้านละแวกวัด ทำให้ชาวบ้านเหล่านั้นไม่พอใจกระทบกระทั่งกันหลายวาระ ในที่สุดพ่อท่านเขียวจึงตัดสิน ใจออกจากวัดไปจำพรรษาที่วัดภมรคติวัน และที่วัดนี้ก็มีปัญหาเดียวกันกับวัดนางโอ ท่านจึงย้ายวัดไปจำพรรษาที่วัดนาประดู่อีกครั้ง และใน ระหว่างนี้ท่านอาจารย์ธีร์เจ้าอาวาสวัดห้วยเงาะในเวลานั้น จึงได้มานิมนต์ท่านไปอยู่ด้วยกันเสียที่วัดห้วยเงาะเนื่องด้วย พรรษาท่านมากจะได้ดูแลไม่ต้องพบกับภาระเหนื่อยหนักอีก พ่อท่านเขียวท่านเป็น พระสงฆ์ที่มัธยัสถ์อดออมและรักสันโดษ ท่านชอบการอ่านหมั่นศึกษาหาความรู้ในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านกฏหมายบ้านเมือง การเกษตรกรรม โหราศาสตร์ สมุนไพร-กลางบ้าน รวมถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ ในอันที่จะนำไปสงเคราะห์ผู้อื่นได้
    พ่อท่านมีเมตตาสูงกับเหล่าศิษย์ และผู้ที่ไปขอให้ท่านเสกเป่าบรรเทาทุกข์ แก้ไขสิ่งที่ขัดข้องในชีวิต ท่านเมตตาเสมอเหมือนกันหมด ไม่ว่ายากดีมีจนมาจากไหนไม่ว่าจะไกลหรือใกล้ โดยไม่แบ่ง-แยกไม่เคยเรียกร้องสิ่งใด และท่านไม่จับ หรือรับเงินที่มาถวายเลย พ่อท่านไม่เคยสนใจลาภสักการะ ต่างๆ ใครไปให้ท่านช่วย พอจะลากลับหากถวายเงินท่าน พ่อท่านจะนิ่งเฉย และถามกลับว่า “เอามาให้เราทำไร ท่านเป็นพระไม่ต้องใช้ หากจะทำบุญก็นำไปใส่ตู้บริจาคภายในวัดตรงไหนก็ได้” นี่คือสิ่งที่หลายท่านได้พบและหากได้รับวัตถุมงคล จากมือพ่อท่าน คือการแจกทั้งสิ้นไม่มีการเช่าหาแต่อย่างใดๆ นั่นคือสิ่งที่ทุกท่านได้รับเหมือนๆ กันเมื่อได้ไปกราบนมัสการท่านถึงวัด


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    หลวงปู่ทวด พ่อท่านเขียววีดห้วยเงาะปลุกเสก ให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240313_114912.jpg IMG_20240313_115000.jpg IMG_20240313_114843.jpg
     
  8. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,983
    ค่าพลัง:
    +6,890
    แจ้งข้อความใน pm ครับ
     
  9. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1110495-4d20b.jpeg
    เหรียญรูปพระกริ่งสมเด็จ หลังพระปรางค์ พิมพ์เล็ก วัดอรุณราชวราราม ฝั่งธนบุรี กรุงเทพฯ ปี 2508 เนื้ออัลปาก้า พิธีใหญ่ ณ วัดอรุณราชวรมหาวิหาร ปลุกเสกโดย พระอาจารย์ที่นั่งปลุกเสกดังสมัยนั้น อาทิ เช่น
    1. พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน
    2. หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม
    3. หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    4. หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน
    5. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
    6. หลวงปู่นาค วัดระฆัง
    7. หลวงปู่เทียน วัดโบสถ์
    8. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา
    9. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    10. หลวงพ่อเต๋ คงทอง

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญรูปพระกริ่งสมเด็จวัดอรุณ ๒๕๐๘
    ให้บูชา
    400 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240314_155736.jpg IMG_20240314_155701.jpg
     
  10. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    พระสมเด็จพระปฐม วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม ที่ระลึกงานนมัสการพระปฐมเจดีย์ ปี 2513 หาไม่ยากพระรุ่นนี้สร้างจากผงพุทธคุณ และผงวิเศษต่างๆ มากมาย น่าหาเก็บไว้บูชา ราคาไม่แพง เป็นพระเก่า ที่น่าเก็บมากๆ เกจิอาจารย์สายนครปฐม ร่วมกันปลุกเสกมากมาย สภาพสวยสมบูรณ์
    พระสมเด็จพระปฐม (ผสมเนื้อแก่นจันทร์) มวลสารดี น่าหาเก็บไว้บูชา ออก ปี 2513 ผสมแผ่นทองคำเปลวที่ปิดรอบพระร่วงโรจนฤทธิ์ ปลุกเสกฯ พิธีใหญ่ เกจิสายนครปฐม ร่วมปลุกเสกฯ มากมาย พร้อมกล่องเดิม เนื้อผงสุดเยี่ยมยอดในพระพุทธคุณ ของดีชาวนครปฐม
    พระสมเด็จพระปฐม วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม เป็นพระที่สร้างพร้อมกับสมเด็จพิมพ์อื่นๆ เมื่อปี พ.ศ. 2513 ซึ่งมีพิธีปลุกเสกถึง 2 ครั้ง ครั้งแรก.....ปลุกเสกที่ วัดสามง่าม โดยหลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
    ครั้งที่ 2.....ปลุกเสกที่ วัดพระปฐมเจดีย์ มีพระคณาจารย์ดังๆ ในยุคนั้นร่วมปลุกเสกมากมาย โดยเฉพาะพระเกจิสายนครปฐม อาทิ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม/หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว ฯลฯ พระสร้างด้วยมวลสารต่างๆ (ผสมเนื้อแก่นจันทร์) สภาพสวยสมบูรณ์
    วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาแต่โบร่ำโบราณ ชาวบ้านมักเรียกขานกันว่า "วัดใหญ่" ไม่ว่าใครที่เดินทางไป จ.นครปฐม หรือเดินทางผ่าน มักจะต้องแวะเวียนไปวัดพระปฐมเจดีย์เพื่อกราบนมัสการขอพรองค์พระปฐมเจดีย์ นอกจากนี้ ยังสามารถซื้อหาของฝากและของที่ระลึกกลับบ้านกันได้อีกด้วย
    พระสมเด็จพระปฐม วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม ที่ระลึกงานนมัสการพระปฐมเจดีย์ ปี 2513 สร้างในปี พ.ศ 2513 แน่นอนวัดพระปฐมเจดีย์เป็นวัดหลวง การพุทธภิเษกต้องจัดแบบยิ่งใหญ่ ซึ่งครูบาอาจารย์ทั้งที่นครปฐมล้วนแต่ระดับแนวหน้าของประเทศไทย เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนฯ, และ หลวงพ่อเต๋ วัดคงทอง แค่ 2 รูปก็ถือว่าเป็นสุดยอดพิธีแล้ว พระสภาพสวยเดิมมากๆ พุทธคุณแนะนำของดี เข้มขลังพิธีดี เนื้อผงเก่า ของดีราคาเบาของวัดพระปฐมเจดีย์

    get_auc3_img (10).jpeg 1310356-4989c (1).jpg
    ขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20240314_162503.jpg IMG_20240314_162623.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2024
  11. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,983
    ค่าพลัง:
    +6,890
    -ขอจองครับ
     
  12. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1710411832574.jpg
    ประวัติและปฏิปทา
    หลวงปู่ธูป เขมสิริ
    วัดแคนางเลิ้ง
    เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
    พระราชธรรมวิจารณ์ (หลวงปู่ธูป เขมสิริ) วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ
    พระราชธรรมวิจารณ์ (หลวงปู่ธูป เขมสิริ) วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ
    พระราชธรรมวิจารณ์ (หลวงปู่ธูป เขมสิริ) วัดแคนางเลิ้ง พระเกจิผู้มีวิทยาคมเข้มขลัง ชื่อเสียงโด่งดังในยุคหลังปี ๒๕๐๐ กรุงเทพฯ
    ๏ ชาติภูมิ
    พระราชธรรมวิจารณ์ (หลวงปู่ธูป เขมสิริ) วัดแคนางเลิ้ง เกิดเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๔๑ ที่ตำบลบางหลวงเอียง อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ “เดช” และมารดาชื่อ “ผ่อง” ท่านกำพร้าบิดามารดาตอนอายุได้เพียงขวบเศษต่อมาท่านจึงได้มาอยู่กับญาติผู้ใหญ่ที่ กรุงเทพฯ คือเจ้าพระยาราชศุภมิตรและท่านผู้หญิงแปลก ระหว่างนี้ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่ กรุงเทพฯ และได้ศึกษาหนังสือขอม บาลีต่างๆ ที่วัดใกล้บ้านของท่าน
    ๏ อุปสมบท
    ครั้นถึงปี พ.ศ.๒๔๖๓ ท่านจึงได้อุปสมบทที่ วัดสุนทรธรรมทาน (วัดแคนางเลิ้ง) โดยมี ท่านเจ้าคุณธรรมวโรดม (จ่าย) สายเจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (หว่าง) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูพุทธบาล (เนตร) เจ้าอาวาสวัดสุนทรธรรมทาน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “เขมสิริ”
    เมื่ออุปสมบทแล้วท่านก็ได้ศึกษาพระธรรม และวิปัสสนากรรมฐาน กับพระครูพุทธบาล ต่อมาท่านก็ได้เดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านเดิม ท่านก็จำพรรษาอยู่ วัดบางนมโค จึงได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและพุทธาคมกับ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลังจากที่ท่านได้เดินทางกลับมาที่ กรุงเทพฯ แล้ว ท่านก็ยังได้ไปเยี่ยมเยียนและศึกษากับหลวงพ่อปานอยู่เสมอต่อมาท่านก็ได้สนิทสนมกับ หลวงพ่อขันธ์ วัดนกกระจาบ จึงได้มีโอกาสได้เรียนวิชาเชือกคาดเอวกับหลวงพ่อขันธ์อีกด้วย หลวงปู่ธูป นอกจากท่านจะได้เรียนกับหลวงพ่อปานและหลวงพ่อขันธ์แล้ว ท่านยังได้เดินทางไปเรียนกับ หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง ที่นครปฐมอีก หลวงพ่อแช่มและหลวงปู่ธูปได้เดินทางไปมาหาสู่กันอยู่ตลอด ต่อมาท่านก็ได้รู้จักกับหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม ในคราวที่เดินทางไปที่วัดตาก้องนี้เอง และได้แลกเปลี่ยนวิชากัน
    หลวงปู่ธูป ท่านเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำกิจการใด ท่านก็ทำโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย นำพระภิกษุสามเณรให้ช่วยกันทำกิจกรรมของวัดให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ท่านจึงเป็นกำลังสำคัญของพระครูพุทธบาล ในการช่วยปฏิสังขรณ์พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองจนได้รับตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส
    ในปี พ.ศ.๒๔๗๑ ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสุนทรธรรมทาน หลังจากท่านเป็นเจ้าอาวาส ท่านก็ได้พัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองดังที่เห็นมาจนทุกวันนี้
    ในปีพ.ศ.๒๔๗๗ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระครูสัญญาบัตรที่พระครูสุนทรธรรมวิจารณ์
    ในปี พ.ศ.๒๔๙๕ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระสุนทรธรรมวิจารณ์
    ในปี พ.ศ.๒๕๐๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณ ศักดิ์เป็นที่ พระราชธรรมวิจารณ์หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง เป็นพระที่มีชื่อเสียงโด่งดังรูปหนึ่งในยุคหลังปี พ.ศ.๒๕๐๐ ของกรุงเทพฯ มักได้รับนิมนต์เข้าร่วมปลุกเสกพิธีสำคัญๆ ร่วมกับพระเกจิรุ่นราวคราวเดียวกันเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี เป็นต้น
    หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง ท่านเป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ จ.อยุธยาฯ เพราะหลวงปู่ธูป พื้นเพเดิมเป็นชาวอำเภอบางบาล จังหวัดอยุธยา เมื่อหลวงปู่ธูป บวชเป็นพระที่วัดแคนางเลิ้ง ต่อมาไม่นาน ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดแคนางเลิ้ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๗๐
    ในสมัยช่วงสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงปู่ธูป ได้สร้างวัตถุมงคลที่เป็นเครื่องรางเพื่อให้ลูกศิษย์ไว้ป้องกันตัว คือ เชือกคาดเอว สร้างตามตำรับ หลวงพ่อขัน วัดนกกระจาบ มีเรื่องบอกต่อๆกันมาว่าเชือกคาดเอวของท่านที่ผ่านการปลุกเสกจนใช้การได้ต้องไม่ไหม้ไฟเมื่อโยนเข้ากองไฟ เชือกคาดเอวของหลวงปู่ธูป มีอภินิหารประจักษ์แก่ผู้บูชามากโดยเฉพาะด้านคงกระพัน แคล้วคลาด ทำให้หลวงปู่ธูป เริ่มมีชื่อเสียงมากตั้งแต่ครั้งนั้น มีลูกศิษย์นับถือท่านมาก แม้แต่พระเอกยอดนิยมในอดีต เช่น มิตร ชัยบัญชา นอกจากนี้ หลวงปู่ธูป ยังได้รับนิมนต์ไปปลุกเสกพระพิธีสำคัญบ่อยๆในสมัยมีชีวิต เช่น พิธีวัดประสาท ปี พ.ศ.๒๕๐๖ พิธี ๒๕ ศตวรรษ เป็นต้น
    หลวงปู่ธูป-วัดแคนางเลิ้ง-2.jpg
    หลวงปู่ธูป มีความสนิทสนมกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม มีการไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ โดยเฉพาะพระเครื่องที่สร้างขึ้นของวัดแคนางเลิ้งหลายๆ รุ่น เมื่อมีการจัดพุทธาภิเษกขึ้นที่วัด ต้องมีชื่อของหลวงปู่โต๊ะ อยู่ในรายชื่อเสมอ หลวงปู่ธูป สร้างพระเครื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๘๐ กว่าๆ มีหลายประเภท เช่น พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ เหรียญ พระเนื้อผงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น พระเนื้อผงของหลวงปู่ธูป โดยมากมักจะยันต์ใบพัด อยู่ด้านหลัง เนื้อหาของพระผงจะแก่น้ำมัน ถ้าเป็นพระผงของหลวงปู่ธูป พุทธคุณจะโดดเด่นด้านเมตตา ค้าขาย แคล้วคลาด เป็นที่โจทย์ขานกันมานักต่อนัก
    ๏ มรณภาพ
    พระราชธรรมวิจารณ์ (หลวงปู่ธูป เขมสิริ) วัดแคนางเลิ้ง เป็นที่รักเคารพของชาวบ้านละแวกนั้น อีกทั้งลูกศิษย์ลูกหาอีกมากมาย จนเมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๓ ท่านจึงได้มรณภาพอย่างสงบ สิริอายุได้ ๙๒ ปี พรรษาที่ ๗๐

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญกะไหล่ทองปี 2531 หลวงปู่ธูปวัดแคนางเลิ้งให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ องค์จริงสวยเดิม กะไหล่ทอง

    IMG_20240314_162429.jpg IMG_20240314_162340.jpg
     
  13. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    ชุด ๒ องค์ ลป.แหวน
    พิธีปลุกเสกในวาระแรก ปี 2516
    -วัตถุมงคลชุดนี้มี พระพุทธรูปบูชาจำลอง ขนาด 5 นิ้ว 9 นิ้ว รวมพระเครื่องของหลวงปู่แหวน สุจินโณ ซึ่งได้อนุญาตให้ทางวัดเกาะจัดสร้างหลายชนิด เมื่อปีพ.ศ.2516
    -ปลุกเสกครั้งที่ 1 ในวันมาฆะบูชา 7 กุมภาพันธ์ ปี 2516
    -ปลุกเสกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 7 หลวงปู่อายุครบ 7 รอบ 16 มกราคม ปี 2517
    พิธีมหาพุทธาภิเษกวาระที่ 2 หมายกำหนดการ ไว้ 3 วัน
    -ประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธปฏิมาปรานประจำพระอุโบสถสร้างใหม่ ของวัดสัมพันธวงศ์, พระพุทธรูปบูชาจำลองหน้าตัก 5 นิ้ว 9 นิ้ว และพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเกศพระพุทธปฏิมาประธาน โดยกราบทูลอาราธนา เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเสด็จเป็นประธานประกอบพิธี กับได้ทูลเชิญพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล เป็นประธานอำนวยการจัดงาน และทูลเชิญ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ องค์อุปถัมภ์ของวัด เป็นประธานที่ปรึกษา
    ณ พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) กรุงเทพมหานครวันที่ 29 30 31 ธันวาคม พ.ศ. 2517
    กำหนดมหาพุทธาภิเษกเฉพาะวันที่ 30 ธ.ค. 2517
    -มีพิธีในวันจันทร์ที่ 30 ธ.ค. 2517 สมเด็จพระสังฆราช ทรงประกอบ พิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก เวลา 20.36 นาฬิกา มีพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ จากภาคอีสาน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ รวม 60 รูป มานั่งปรกบริกรรมภาวนาปลุกเสกตลอดคืน มีดังนี้
    1.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี (ชรามาก จะแผ่พลังเมตตาจิตมาในวันพิธี)
    2.หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (ชรามาก จะแผ่นพลังเมตตาจิตมาให้ในวันพิธี)
    3.พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโต วัดสิริสาลวัน อุดรธานี
    4.พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ วัดนิโครธาราม อุดรธานี
    5.พระอาจารย์บุญ ชินวโส วัดศรีสว่างแดนดิน สกลนคร
    6.พระอาจารย์จันทร์ เขมปปตโต วัดจันทาราม หนองคาย
    7.พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร
    8.พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ วัดภูทอก หนองคาย
    9.พระอาจารย์ลี ฐิตธมโม วัดศรีชมพู สกลนคร
    10.พระอาจารย์แว่น ธนปาโล วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
    11.พระอาจารย์อุ่น กลยาณธมโม วัดป่าบ้านโคก สกลนคร
    12.พระอาจารย์สุภาพ ธมมปญโญ วัดทุ่งสว่าง สกลนคร
    13.พระอาจารย์คล้าย ทานรโต วัดสุจินต์ประชาราม สกลนคร
    14.พระอาจารย์เตรียม ธมมธโร วัดสามัคคีธรรม สกลนคร
    15.พระอาจารย์เคน เขมาสโย วัดป่าบ้านหนองหว้า สกลนคร
    16.พระอาจารย์บุญมี ฐิตปุญโญ วัดประชานิยม สกลนคร
    17.พระอาจารย์ประสาร ปญญาพโล วัดคามวาสี สกลนคร
    18.พระอาจารย์บัว วัดป่าบ้านเสาเส้า อุดรธานี
    19.พระอาจารย์ปั่น ญาณวโร วัดพุฒาราม สกลนคร
    20.พระอาจารย์สมัย ทีฆายุโก วัดโนนแสงทอง สกลนคร
    21.พระอาจารย์เกิ่ง วิทิโต วัดสามัคคีบำเพ็ญผล สกลนคร
    22.พระสังวรวิมลเถร (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    23.พระวิบูลเมธาจารย์ (หลวงพ่อเก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
    24.พระครูสุตาธิการี (หลวงพ่อทองอยู่) วัดหนองพะอง สมุทรสาคร
    25.พระครูวิจารณ์สมถกิจ (จรัญ เขมจารี) วัดประชารังสรรค์ ศรีสะเกษ
    26.พระครูพิเนตสมณกิจ วัดประชารังสฤษฎ์ ศรีสะเกษ
    27.พระครูพิพิธพัชรศาสน์ (หลวงพ่อจ้วน) วัดเขาลูกช้าง เพชรบุรี
    28.พระครูพิทักษ์วิหารกิจ (หลวงพ่อสา) วัดราชนัดดา กรุงเทพฯ
    29.พระครูญาณจักษ์(ปรมาจารย์ผ่อง จินดา) วัดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ
    30.พระศีลขันธโสภณ (หลวงพ่อสนิท) วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    31.พระโพธิสังวรเถร (หลวงพ่อฑูรย์) วัดโพธินิมิต กรุงเทพฯ
    32.พระอุดมสารโสภณ (ผาสุก) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ
    33.พระญาณโพธิ (หลวงพ่อเข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพฯ
    34.พระครูวรพรตศีลขันธ์ (หลวงพ่อแฟ้ม) วัดอรัญญิกาวาส ชลบุรี
    35.พระสิรินันทมุนี (สนั่น) วัดพิตรพิมุข กรุงเทพฯ
    36.หลวงปู่ฟัก วัดวังไทรติ่ง ประจวบคีรีขันธ์
    37.พระครูประจักษ์ตันตยาคม (เฉลา) วัดคีรีภาวนาราม ระยอง
    38.พระอาจารย์พวง สุวีโร วัดป่าบ้านปูลู อุดรธานี
    39.พระอาจารย์แปลง สุนทโร วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร
    40.พระอาจารย์ศรีนวล สิริปญโญ วัดศรีไตรรัตนนิมิต อุดรธานี
    41.พระอาจารย์บุญมี วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
    42.พระอาจารย์หนู สุจิตโต วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
    43.พระครูสังฆรักษ์ (หลวงพ่อหิน) วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ
    44.พระปัญญาพิศาลเถร (สงวน) วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
    45.พระธรรมภาณโศภน (สวัสดิ์) วัดปลดสัตว์ อ่างทอง
    46.พระพ่อสาม อภิญจโน วัดไตรวิเวการาม สุรินทร์
    47.พระพ่อศรี มหาวีโร วัดประชาคมวนาราม ร้อยเอ็ด
    48.พระสุทธิสารโสภณ(โสภณ) วัดศรีโพนแท่น เลย
    49.พระอาจารย์เปลี่ยน วัดบ้านปง เชียงใหม่
    50.พระชินวงศาจารย์(พุธ) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
    51.หลวงพ่อบุญ วัดบ้านนา ระยอง
    52.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหน้า ระยอง
    53.พระครูวิจิตรธรรมภาณี(สิงห์) วัดหนองบัว อุบลฯ
    54.พระอาจารย์เมือง พลวฑฺโฒ วัดป่ามัชฌิมวาส กาฬสินธุ์
    ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ
    พระผงรูปเหมือนกลีบบัวลป.แหวนปี๒๕๑๖ และ เหรียญ เหรียญหลวงปู่แหวน สุจินโณ หลังพระธาตุดอยสุเทพ รุ่นพิทักษ์ประชา เนื้อทองแดง ปี๒๕๒๑

    ให้บูชา 250 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ(ปิดรายการ)
    IMG_20240315_005905.jpg IMG_20240315_005834.jpg IMG_20240315_005708.jpg IMG_20240315_005748.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มีนาคม 2024
  14. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1710441456629.jpg Luang-Por-Guay-002.jpg
    พระสังกัจจายน์ ผงน้ำมัน วัดพระพุทธบาท สระบุรี ปี ๒๕๒๐ หลวงพ่อกวย, หลวงปู่โต๊ะรวมปลุกเสก
    พระธรรมรัตนากร (หลวงพ่อใหญ่) เจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาท เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี ในขณะนั้น ได้เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการจัดสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์หนึ่งเพื่อแจกแก่ผู้ที่เข้ามาแสดงมุทิตาจิตและประชาชนที่มานมัสการรอยพระพุทธบาท ในราคาองค์ละสิบบาท(ยุคนั้น) .. พระรุ่นนี้มีอยู่หลายพิมพ์ด้วยกัน เมื่อทำการกดพิมพ์พระเป็นจำนวนพอแก่ความต้องการแล้วได้จัดพิธีพุทธาภิเศกที่ศาลาหอเย็นใกล้รอยพระพุทธบาท ในปีพ.ศ.๒๕๒๐ .. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ (วาสนมหาเถร) พระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร กทม. ทรงเป็นองค์ประธาน .. พิธีใหญ่มาก พระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมในพิธีเท่าที่ทราบ อาทิ .. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี .. หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม .. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู .. หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง .. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง .. หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ .. พระราชอุทัยกวี (หลวงพ่อพุธ) เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี .. หลวงปู่นาค วัดหนองโปร่ง .. หลวงพ่อสุวรรณ วัดเขาบ่มกล้วย และคณาจารย์ดังๆในยุคสมัยนั้นอีกหลายท่านร่วมปลุกเสก
    .. พระชุด "วัดพระพุทธบาท" ที่จัดสร้างขึ้นในช่วงก่อนปีพ.ศ.๒๕๒๕ ส่วนใหญ่จะได้รับการปลุกเสกจากบรรดาเกจิอาจารย์ดังที่เข้มขลังและเชี่ยวชาญทางไสยเวทย์วิทยาคมอันเก่งกล้าในสมัยนั้นกันอย่างคับคั่งหลายสิบรูป เนื่องจากในงานประจำปีแต่ละปีจะมีประชาชนใกล้ไกลต่างเดินทางไปนมัสการ "รอยพระพุทธบาท" กันอย่างเนืองแน่น(คล้ายกับงานภูเขาทอง ที่กรุงเทพฯ หรือ งานนมัสการองค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม) ซึ่งวัตถุมงคลของวัดจะมีการแจกจ่ายและเปิดให้เช่าบูชาเพื่อทำบุญนำเงินเข้าวัดในช่วงนี้

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    ให้บูชา 500 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240315_012044.jpg IMG_20240315_012129.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 มีนาคม 2024
  15. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    dm-jpg-jpg.jpg
    หลวงปู่ชอบ วัดเขารังเสือ เป็นพระสุปฏิปัณโณในแผ่นดินรัชกาลที่๙ ของในหลวงพระภูมิพล ท่านเป็นพระสหายธรรมรุ่นพี่ที่สนิทใกล้ชิดกับองค์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชเจ้าในรัชกาลปัจจุบัน หลวงปู่ชอบ วัดเขารังเสือ หลวงปู่เป็นพระธุดงค์ตลอดในระยะเวลา33ปี มาสิ้นสุดการธุดงค์ที่เขารังเสือ ท่านเป็นพระลูกศิษย์ที่ไม่เผยชื่อของหลวงปู่


    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลรูปภาพที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญจับหัวเสือหลวงปู่ชอบวัดเขารังเสือให้บูชา 200 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับพ

    img_20231120_125534-jpg-jpg.jpg img_20231120_125510-jpg-jpg.jpg

    พระผงรูปเหมือนหลวงปู่ชอบวัดเขารังเสือให้บูชา 220 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    img_20240309_223545-jpg.jpg img_20240309_223607-jpg.jpg

    พระผงรูปเหมือน ที่ระลึกผูกพัทธสีมา ปี๒๕๓๕ ให้บูชาคู่กัน๒องค์ 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    img_20240315_015552-jpg.jpg img_20240315_015621-jpg.jpg
     
  16. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1710443494843.jpg
    หลวงปู่กลั่น คุณวโร แห่งวัดใหม่อินทราวาส อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง แรกเริ่มเดิมที ท่านเป็นชาวโพธิ์พระยา จ.สุพรรณบุรี สมัยยังเป็นฆราวาส ก็มีชีวิตเหมือนลูกผู้ชายไทยในอดีต คือ.เสือเก่า ท่านมีความสนิทสนม กันมากกับ อดีตเสือใหญ่แห่งเมืองสุพรรณฯ(เสือฝ้าย เพ็ชนะ)
    ท่านขลังมาตั้งแต่ก่อนบวชเสียอีก เพราะยามว่างท่านก็ไปรับจ้างลงใบลานในวัด และ เล่าเรียนวิชาจากพระอาจารย์(ลป.อ่อน อุตโม วัดชีสุขเกษม เป็นพระอาจารย์ที่ถ่ายทอดวิชาหลักๆของท่านเป็นส่วนใหญ่-ต้นตำหรับพระยันต์ที่ท่านใช้เป็นตัวหลักคือ."น.ทอทรหด") และ ลป.คำ วัดหน่อพุทธางกูล(อยู่ตรงกันข้าม) ท่านแสวงหาวิชา-พระอาจารย์ผู้ทรงคุณมากมายหลายท่าน ไม่ว่าจะเป็น ลพ.อี๋(ไปเอา"กันหะ เนหะ"), ลพ.ภักต์ วักโบสถ์, ลพ.ภู วัดดอนรัก(เอาการสร้างตะกรุด), ลพ.คำ โพธิ์ปล้ำ, พ่อท่านคล้าย สวนขัน(เอา ฤ ฤามา-ฦ ฦาไป ใช้เวลา.6 เดือนกว่าจะได้.ใช้เวลาเรียนมาที่สุดในเท่าที่เรียนมาทุกๆ พระอาจารย์ฯ) และ ฆราวาส(อิสลาม) จ.ปัตตานี(เอาวิชาดูตูดจาน"เปิด3โลก") ส่วนที่ว่า ท่านเป็นลูกศิษย์ ลพ.ดิ่ง วัดบางวัวนั้นไม่จริง ท่านไม่เคยไปเรียนกับ ลพ.ดิ่ง บางวัวเลย วิชา.ลิง(หนุมาน) และปลักขิก ท่านเรียนมาจาก ลป.อ่อน อุตโม ทั้งสิ้น เพราะ ลป.อ่อน อุตโม ท่านสร้างปลัดขิก และ ลิงไม้แกะ ด้วย ส่วนพระยันต์(สัพวิชาต่างๆ) ลป.กลั่น คุณวโรท่านนำมาใส่เสริมลงไปในวัตถุมงคลท่าน(เปรียบเสมือนยาหม้อใหญ่) วัตถุมงคลของท่านที่ทุกท่านรู้จักเสียส่วนใหญ่ ก็คือ.ปลัดขิก แต่จริงๆท่านสร้างไว้มากมาย ล้วนแล้วแต่มากประสบการณ์มากมาย วัตถุมงคลท่านๆท่านเสกเอง องค์เดียว ไม่นิมนต์ท่านใดมาร่วมเสก
    ท่านเคยบอกว่า(สมัยสร้างพระประธานในโบสถ์"หลวงพ่อในโบสถ์"พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์")ว่า.
    (ลูกศิษย์): ลป.ครับ จะนิมนต์พระอาจารย์รูปใดบ้าง มาฉลองโบสถหลังใหม่และพระประธาน
    (ลป.กลั่น คุณวโร): จะเชิญท่านมาทำไม เราก็สร้างเอง-เสกเองได้ ดั่งที่ที่โบราณท่านว่าไว้.ชาติเสือ ไม่ขอเนื้อใครกิน
    วัตถุมงคลของท่านก่อนที่จะให้ใครไป ท่านจะต้องมั่นใจดีแล้วจึงให้ไป ท่านว่า.มันจะเป็นบาป-เป็นกรรม แต่ท่านก็ไม่เคยบอกกล่าวใครนะว่า.ของท่านดีอย่างไร-กันอะไร ท่านก็แค่กล่าวว่า.ของดี-ของมงคล จะเอาไว้ที่บ้านก็ดี เป็นมงคลบ้าน ไว้ที่ตัวก็ดี เป็นมงคลตัว ใครจะมาบอกว่า.พอเอาของท่านไปๆพบเจออะไรบ้างท่านก็เฉย กล่าวแต่ว่า.ก็ดี เป็นของมงคล แล้วก็ยิ้ม /
    ที่มาจากคุณโอ่ง สงขลา (ลูกศิษย์จ.สงขลาที่เคารพลป.กลั่น คุณวโร อย่างที่สุด)

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    รูปหล่อหลวงพ่อกลั่นวัดอินทราวาสรุ่นพิเศษ ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240315_021034.jpg IMG_20240315_021058.jpg IMG_20240315_021000.jpg
     
  17. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    วันนี้จัดส่ง
    1710492388785.jpg

    ขอบคุณครับ
     
  18. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    FB_IMG_1710499576494.jpg
    ๏ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช ๚๛
    พระเถราจารย์เมืองพระนครศรีอยุธยา
    ประวัติชาติกำเนิด หลวงพ่อเทียม
    ๏ อ่านจบแล้ว #ร่วมกันแชร์เผยแผ่กิตติคุณเป็นสังฆบูชา
    พระวิสุทธาจารเถร นามเดิมว่า เทียม นามสกุล หาเรือนศรี เกิดเมื่อวันเสาร์
    ขึ้น 3 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2447 ในรัชกาลที่ 5 ณ ตำบล บ้านป้อม หมู่ที่
    7 อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บิดาชื่อ นายสุ่น มารดาชื่อ นางเลียบ
    ประกอบอาชีพเป็นชาวนา
    ศึกษาเบื้องต้น
    เมื่ออายุประมาณ 10 ปี บิดามารดาได้นำท่านมาฝากไว้ ณ วัดกษัตราธิราช
    เรียนหนังสือ ก ข กับพระภิกษุมอน ผู้เป็นน้าชาย เมื่อพระภิกษุมอน ลาสิกขา ท่านก็คงอยู่
    เรียนหนังสือต่อไป โดยเป็นศิษย์ของ อาจารย์ปิ่น ให้ช่วยสอนหนังสือให้ ในขณะเดียวกันก็ได้ ศึกษาความรู้ทางด้านวิชาช่างเขียน ช่างแกะสลักไปด้วย จากนั้นก็เป็นศิษย์ของอาจารย์จันทร์ เรียนภาษาขอมจนถึงอายุ 15-16 ปี จึงได้ออกจากวัด เพื่อช่วยทางครอบครัว ซึ่งประกอบอาชีพทำนา
    ผู้ใฝ่ในการศึกษา
    ขณะที่ช่วยบิดา มารดา ประกอบอาชีพ ได้เริ่มเรียนวิชาไสยศาสตร์แบบ ลบผง
    ลงยันต์กับอาจารย์ทรัพย์ ผู้เป็นลุงและนายสุ่นผู้เป็นบิดา พร้อมกับเรียนวิชาธาตุกสิณ กับนายเงิน ผู้เป็นอา เมื่อเรียนธาตุกสิณเป็นแนวทางแล้ว ได้เรียนวิชาการแขนงอื่นๆ อีกหลายสาขาเช่น การประดับตกแต่ง เรียนช่างก่อสร้าง ช่างปูน ช่างไม้ วิชากระบี่กระบอง และกลองแขกคู่ เป่าปี่ชวา เมื่อเรียนสำเร็จแล้วได้ออกไปแสดงตามสถานที่ต่างๆ เช่น ในงานสำคัญต่างๆในจังหวัด เช่น งานพระราชทานผ้าพระกฐิน ณ วัดสุวรรณดาราราม วัดเสนาสนาราม วัดศาลาปูน วัดตูม ฯลฯ และได้เรียนวิชากระบี่กระบองเพิ่มเติม จากนายเขียว บ้านห่อหมก อำเภอบางไทร
    ในระยะเวลาที่ว่างงานก็ได้ใช้วิชาที่เล่าเรียนมา นำไปประกอบอาชีพเช่น รับจ้างเป็นช่างงานไม้
    พอว่างจากงานไม้ก็ฝึกหัดแกะสลักหนังใหญ่ เมื่อหัดแกะได้ตามสมควรก็เริ่มออกแสดงเป็นครั้งคราว
    อุปสมบท
    ต่อมาเมื่ออายุ 20 ปี ท่านได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดกษัตราธิราช
    เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด ตรงกับวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2467 โ ดยมี พระครูวินยานุวัติคุณ
    (มาก อินทโชติ) เจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชเป็นพระอุปัชฌายะ พระสมุห์หล่ำ วัดกษัตราธิราช
    เป้นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทองดี วัดพระงาม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีฉายาว่า สิริปัญโญ
    เมื่ออุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระปริยัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดเสนาสนาราม 2 พรรษา
    และได้ศึกษากรรมฐานกับหลวงพ่อสี วัดสนามชัย และ อาจารย์จาบ วัดโบสถ์ อำเภอมหาราช ศึกษากับอาจารย์เหม็ง วัดประดู่ทรงธรรม ครั้นพรรษาที่ 3 ไปศึกษา วิปัสสนากรรมฐาน กับหลวงพ่อม่วง วัดโบสถ์ แล้วกลับมาอยู่ ณ วัดประดู่ทรงธรรม อีกครั้ง เพื่อศึกษาวิชา สมถะฝ่ายกสิณ 10 อนุสสติ 10 ยุคล 6 จงกรม พร้อมด้วนเริ่มเรียนวิทยาคมต่างๆ เช่น เป่า พ่น ปลุกเศก ลงเลขยันต์ ตามตำหรับวัดประดู่ทรงธรรม
    จนถึงพรรษาที่ 9 จึงกลับมาอยู่ วัดกษัตราธิราช เนื่องจากพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก อินทโชติ)
    ซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ ของท่าน ได้อาพาธหนัก จึงได้มารับใช้สนองพระคุณของพระอุปัชฌาย์
    การกลับมาครั้งนี้ของท่าน ท่านได้นำตำราพิชัยสงคราม กับตำรามหาระงับพิสดาร รวมถึง
    ตำราเลขยันต์อื่นๆติดตัวมาด้วย จนกระทั่งจากพระครูวินยานุวัติคุณ มรณภาพ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.
    2477 หลังจากจัดการศพของท่านจากพระครูวินยานุวัติคุณ เสร็จแล้วจึงเดินทางไปศึกษากรรมฐาน ณ วัดวรนาถบรรพต (วัดเขากบ) จ.นครสวรรค์ เมื่อศึกษาสำเร็จได้ตามที่ท่านตั้งใจแล้ว
    ท่านจึงเดินทางกลับมายังวัดกษัตราธิราช ตามเดิม ท่านเป็นลูกศิษย์ ของก๋งจาบ ฆราวาสจอมขมังเวทย์ยุคเก่าสายวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งก๋งจาบท่านนี้ยังเป็นครูบาอาจารย ์ของหลวงปู่เทียม วัดกษัตราฯ หลวงพ่อแทน และหลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง พระเกจิอาจารย์ทั้ง สาม รูปนี้ มักได้รับนิมนต์ เชิญให้ไปร่วมพิธีมหาพุทธาภิเศก อธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคลอยู่เป็นประจำ โดยหลวงพ่อแทน หลวงปู่เทียม และหลวงพ่อกี๋ คือ สามพระเกจิอาจารย์ สายวัดประดู่ทรงธรรม ผู้จาร แผ่นชนวนยันต์ หลอมไม่ละลายในเบ้าหลอม ชนวนยันต์ ในพิธี วัดประสาทฯ เมื่อปี 2506 เป็นที่ฮือฮา และ โด่งดังมาก ในสมัยนั้น นั่น แสดงถึง ความเข้ม ขลัง มหายันต์ อันศักดิ์สิทธิ์ และ ความเข้ม ขลัง แห่ง พลังจิต ของพระเกจิอาจารย์ทั้ง สาม รูปนี้ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม ชัยนาท ท่าน ยัง ให้ความเคารพนับถือ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช
    รับตำแหน่งเจ้าอาวาส
    หลังจากที่ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างลง โดย พระมหาสิน นันโท ลาสิกขาบท เมื่อวันที่ 30
    มิถุนายน พ.ส. 2483 พระครูไพจิตรวิหารการ (บัว สีลโสภโน) จากวัดประดู่ทรงธรรม
    ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าวาสสืบต่อ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 จนถึง พ.ศ. 2596 พระครูไพจิตรวิหารการ
    ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาส ทางคณะสงฆ์จึงเห็นสมควร แต่งตั้งให้ หลวงพ่อเทียม
    ซึ่งในคณะนั้นท่านดำรงสมณศักดิ์ พระใบฎีกา รักษาการแทน จนกระทั่งได้รับแต่งตั้ง
    เป็นเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช ในปี พ.ศ.2496
    สมณศักดิ์และตำแหน่งหน้าที่
    พ.ศ. 2474 เป็นพระใบฎีกา ฐานานุกรมของพระครูวินยานุวัติคุณ (มาก)
    ในตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ บางบาล
    พ.ศ. 2496 เป็นเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราช
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2508 เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพิพิธวิหารการ
    เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นตรี
    วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2509 เป็นเจ้าคณะตำบลภูเขาทอง
    วันที่ 29 มกราคม พ.ศ.2512 เป็นพระอุปัชฌายะ
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เป็นพระครูสัญญาบัตร เจ้าคณะตำบลชั้นโท
    วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2517 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2522 ได้รับ พระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ
    ที่พระวิสุทธาจารเถร ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    อุปนิสัยของหลวงพ่อ
    ท่านเป็นพระเถระที่ฝักใฝ่อยู่ในวิปัสสนาธุระ และมั่นคงอยู่ในเพศพรหมจรรย์
    ตลอดชีวิตสมณะท่าน ท่านตั้งอยู่ในพรหมวิหาธรรม ให้ความคุ้นเคย เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ
    บุคคลทุกชั้นวรรณะ มิได้แสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นเหตุให้อาคันตุกะได้รับความหนักใจ
    เพราะความที่ท่านเปี่ยมไป ด้วยความเมตตากรุณา นั้นเอง ท่านจึงต้องใช้สังขารอย่าลำบากตรากตรำ
    เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้แก่บุคคล ผู้หันหน้ามาพึ่ง โดยท่านมิได้คำนึงถึงความเหน็ดเหนื่อย
    ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน ไม่มีเวลา ส่วนตัว กิจธุระนอกวัดก็มากขึ้นเป็นลำดับ
    เมื่อกลับมาถึงวัดก็ควรได้รับการพักผ่อน พอถึงกุฏิ ก็ต้องมีบุคคลมารอพบหมายจะให้ท่านช่วยแก้ปัญหาทุกข์ร้อน อยู่เป็นประจำ ด้วยความเมตตา และกรุณาของท่านนี้เอง จึงมีผู้ศรัทธาเลื่อมใสในท่านเป็นจำนวนมาก ท่านบำเพ็ญตน อยู่อย่างนี้ตลอดมา เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ความอบอุ่น ร่มเย็นแก่ชาวบ้านและชาววัดตลอดมา ไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกล
    เมื่อมาถึงหลวงพ่อแล้วย่อมได้รับ ความอนุเคราะห์ โดยทั่งหน้ากัน เป็นที่ซาบซึ้งใจยิ่งนัก
    พระนักพัฒนา
    นอกจากจะมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุข ให้กับบุคคลทุกชั้นวรรณะแล้ว ท่านต้อง
    รับภาระอันหนักยิ่ง กล่าวคือ การบูรณะปฏิสังขรณ์ปูชนียวัตถ ุและถาวรวัตถุภายในวัด ควบคู่กันไป ปรากฏว่า
    ท่านเอาใจใส่งานก่อสร้างมากถึงกับ ลงมือ ทำด้วยตนเอง จนกระทั่ง ทำด้วยตนเองไม่ได้
    ท่านจะคอยควบคุมดูแลสั่งการ เพื่อให้งานนั้นๆ เป็นไปด้วย ความเรียบร้อย และได้ผลดี
    ด้วยความที่ท่านต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ต่องานก่อสร้างนี้เอง จึงเป็นเหตุให้ ท่านเกิดอาพาธ
    เป็นโรคอัมพาตขึ้นเมื่อประมาณกลางปี พ.ศ.2517 จนท่านไม่สามารถจะ ไปไหนต่อไหนได้เหมือนแต่ก่อน แต่หลวงพ่อ
    ท่านห่วงงานยิ่งกว่าสุขภาพ และสังขาร ตนเสียอีก ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า เมื่อท่านป่วยเป็นอัมพาตเดินไม่ได้
    หลวงพ่อท่าน ก็นั่งรถเข็น ให้พระภิกษ ุหรือสามเณรช่วยเข็นให้ท่านนั่งในตอนเช้า และตอนเย็น เพื่อตรวจตรา
    ดูความเรียบร้อยภายใน วัดเป็นพระจำวัน โดยมิได้ย่อท้อสามารถควบคุม และตรวจตรา งานก่อสร้างได้จนงานนั้นๆ
    สำเร็จเรียบร้อยหลายอย่าง ดังปรากฏแก่สายตาของพวกเรา ทั้งหลายขณะนี้แล้ว
    วัตถุมงคล
    เหรียญรุ่นแรก พ.ศ.2506
    รูปหล่อโบราณ เนื้อทอง ผสมชนวนยันต์ รุ่นแรก 2508 จำนวน 1000 องค์ ใต้ฐานหลวงพ่อเทียม ได้จาร ชื่อท่าน คำว่า “เทียม” สร้างถวายโดยพระสมุห์ อำพล วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ซึ่งพระสมุห์ อำพล ท่านได้เคารพนับถือหลวงพ่อเทียม มาก ในบุญญาอภินิหาร ที่ แผ่นยันต์ของหลวงพ่อเทียม ไม่หลอมละลาย ในพิธีที่ วัดประสาท ปี 2506 เหรียญสิทธิมหาโชค
    ตะกรุด มหาระงับ ตะกรุด 4 มหาอำนาจ ตะกรุด รัตนมาลา 9 ดอก และวัตถุมงคล ต่างๆ อีกมากมาย หลายอย่าง
    ทูลเกล้าฯ ถวายตะกรุด
    ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราช กุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ
    วัดศีลขันธาราม ตำบลอ่างแก้ว อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ.2517
    ท่านจึงมอบให้พระสำรวย ฐิตปุญโญ รองเจ้าอาวาส วัดกษัตราธิราช
    นำรูปจำลองของท่านพร้อมด้วยตะกรุดมหาระงับแบบพิสดาร ลงตามตำรับเดิมของ วัดประดู่ทรงธรรม
    เป็นโลหะตะกั่วถักด้วยด้าย และลงรักปิดทอง เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ยาม 12 นิ้ว
    ขึ้นทูลเกล้าถวายแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีหนังสือทูลเกล้าฯ ถวายด้วยตนเองไม่ได้
    เนื่องจากอาพาธด้วยโรคอัมพาต ดังกล่าวแล้ว จากนั้นไม่นาน ทางวัด กษัตราธิราชก็ได้รับแจ้งจาก
    ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
    ทรงทราบว่าเจ้าอาวาสวัดกษัตราธิราชอาพาธ มีพระราชประสงค์ จะนิมนต์ท่านเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร ดังนั้นท่านจึง ได้เดินทางเข้าไปรับการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
    โดยเป็นคนไข้ ในพระบรมราชานุเคราะห์ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เป็นเวลา 1เดือนพอดี
    อาการดีขึ้นโดยลำดับ คณะแพทย์จึงอนุญาตให้กลับมาพักผ่อน ที่วัดตามอัธยาศัย ในการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ
    พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเมตตาต่อท่านครั้งนี้นับว่า เป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นหาที่สุดมิได้

    เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2544 จึง จัดให้มีการพระราชทานเพลิงศพ พระวิสุทธาจารเถร

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญกฐินพระราชทานหลวงพ่อเทียมให้บูชาเหรียญละ 120 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับมีทั้งหมด เหรียญครับ

    เหรียญที่๑

    IMG_20240315_173437.jpg IMG_20240315_173505.jpg

    เหรียญที่ ๒

    IMG_20240315_173542.jpg IMG_20240315_173607.jpg

    เหรียญที่ ๓
    (ปิดรายการ)

    IMG_20240315_175415.jpg IMG_20240315_175436.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 มีนาคม 2024
  19. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    Scan2.jpg
    ประวัติ หลวงพ่อหมื่นอุดม ชาติการุณย์ (โดยย่อ)
    พระครูสิริปุญญาทร (หลวงพ่อหมื่นอุดม ชาติการุณย์ เกิดวันอังคารที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ ปีฉลู ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ ได้รับพระราชทานชื่อและนามสกุลจากสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าว่า เด็กชายหมื่นอุดม ชาติการุณย์ บิดา มารดา เป็นชาวอยุธยาโดยกำเนิด ท่านเรียนวิชาต่อเรือจากวิทยาลัยการต่อเรือ พระนครศรีอยุธยา ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ อายุ ๑๗ ปี
    บวชเป็นสามเณร ณ วัดตูม ศึกษาวิชาต่อจนจบเทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ ๖ และศึกษาวิชาการต่าง ๆ ทางธรรมะมาโดยตลอด โดยได้ศึกษาเพิ่มเติมด้านปฏิบัติธรรมจากสำนักหลวงพ่อโอภาสี บางมด อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทางด้านวิทยาคม จากครูอาจารย์หลายสำนัก เพราะนิสัยรัก
    เมื่ออายุครบ ๒๐ ปีในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระครูสิริปุญญาทร (หลวงปู่ถนอม) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า จรณธมฺโม จากนั้นเป็นต้นมาท่านได้ศึกษาปฏิบัติธรรมธุดงค์กรรมฐานโดยตรง
    ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ณ พระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ เป็น พระครูสิริปุญญาทร (ผช.จอล.ชั้นโท)
    ได้รับพระบัญชา แต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงจากสมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (พระอริยวงศาคตญารวาสนมหาเถระ) เมื่ออายุ ๔๕ ปี พรรษาที่ ๒๔ จนถึงปัจจุบันนี้ อายุ ๖๘ ปี พรรษา ๔๗ เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ ๙ ของวัดตูม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    หลวงพ่อละสังขารไปโดยอาการสงบ ณ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ สิริอายุได้ ๖๘ ปี ๔๗ พรรษา
    ที่มา : www.dhamma5minutes.com

    อาลัย หลวงพ่อหมื่นอุดม


    (พระครูสิริปุญญาธร)



    ในชีวิตของผู้เขียนแม้จะมีหลวงปู่-หลวงพ่อที่เคารพนับถือเป็นครูบาอาจารย์อยู่หลายรูป แต่ที่กล้ากล่าวว่าท่านเป็น ครู...เป็นคุรุ อย่างเต็มปากเต็มคำ เพราะท่านให้ความเมตตาอบรมสั่งสอน คอยชี้แนะแนวทางทั้งหลายทั้งปวงให้ มีอยู่ไม่กี่รูป หนึ่งในจำนวนไม่กี่รูปนั้นมีหลวงพ่อหมื่นอุดม ชาติการุณย์ หรือพระครูสิริปุญญาธร เจ้าอาวาสวัดตูม จังหวัดอยุธยา ซึ่งวันนี้หลวงพ่อได้ทิ้งร่างวางขันธ์ ลาจากโลกนี้ไปแล้ว เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม (2549) ที่ผ่านมา

    แม้จะเรียนรู้ว่า ชาติ...ชรา มรณะ เป็นเรื่องธรรมดาของโลก มิหนำซ้ำเชื่อว่า ด้วยภูมิธรรมที่หลวงพ่อได้บวชเรียนมาตั้งแต่เป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นพระภิกษุ...ครองเพศนักบวช เป็นพระกรรมฐานปฏิบัติธรรมมาอย่างเคร่งครัดตลอดอายุขัย ย่อมนำพาดวงวิญญาณของหลวงพ่อสู่ความสุขสงบศานติอย่างแน่นอน กระนั้นด้วยความอาลัยรัก ผมไปกราบลาหลวงพ่อเป็นครั้งสุดท้าย กราบลงบนเท้าที่เย็นชืดของร่างที่ไร้วิญญาณที่ท่านได้เมตตาทิ้งธรรมะสอนลูกศิษย์เป็นครั้งสุดท้ายว่า...

    ‘มรณะ ธัมโมมหิ อนัตติโต...’ คนเรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้!’

    น้ำตาของผู้เขียนยังรายรินลงจนได้


    ผู้เขียนได้กราบหลวงพ่อหมื่นอุดม ครั้งแรกประมาณปี 2531 เพราะการนำพาของทมยันตี เพราะชอบในปฏิปทาอันอ่อนน้อม จริยวัตรอันงดงามของท่าน จึงปวารณาตัวเป็นลูกศิษย์มาตั้งแต่คราวนั้น หลายคราที่สงสัยในเรื่องการปฏิบัติก็แวะเวียนสอบถาม ได้คำตอบคลายสงสัยทุกครั้ง มิหนำซ้ำบางเวลาเพียงพบหน้ากราบลง หลวงพ่อสามารถตอบคำถามที่ค้างคาในใจโดยที่เรายังไม่ทันเอ่ยคำด้วยซ้ำ

    นี่คือสิ่งที่ ‘เรา’ คือ ภูเตศวรกับทมยันตี ประจักษ์ชัดในอำนาจจิตของหลวงพ่อ

    เพราะความที่ท่านเป็นนักปฏิบัติสมาธิ ทำให้คนที่มาเยือนวัดตูม น้อยคนจะได้พบท่าน ด้วยเวลาส่วนใหญ่ทั้งกลางวันกลางคืนประตูกุฏิของหลวงพ่อจะปิดด้วยผู้เป็นเจ้าของคร่ำเคร่งอยู่กับงานชำระสะสางกิเลส บางคราแม้แต่เราแวะไปกราบนมัสการ ลูกศิษย์ในวัดแอบกระซิบเบา ๆ

    “ท่านไม่ออกมาฉันอาหารเจ็ดวันแล้ว”

    มาถึงไม่มีโอกาสพบ เราก็ได้แต่กราบพระประธานในศาลา คือหลวงพ่อทองสุข สัมฤทธิ์ ที่เป็นพระเก่าแก่ทรงเครื่องสมัยอยุธยาแล้วก็กลับ หากบางครั้งที่มีความจำเป็นมาก ๆ ก่อนเดินทางไปวัดตูม เราจะจุดธูปบอกกล่าวหลวงพ่อหมื่นฯ ขออนุญาตท่าน และถ้าทำอย่างนี้พอถึงวัดกราบพระประธานเสร็จ ประตูกุฏิของท่านจะเปิดกว้างออกพร้อมรอยยิ้มเมตตาของหลวงพ่อจะปรากฏขึ้นทุกครา

    กิตติคุณของหลวงพ่อหมื่นอุดม ที่เราสองคนรู้ชัดแจ้งมานานก็คือ ท่านเป็นพระภิกษุที่มีวาจาศักดิ์สิทธิ์ ลองเมื่อไหร่ที่หลวงพ่อหลับตาลงแค่อึดใจแล้วลืมตาขึ้นเอ่ยคำให้พรหรือทำนายอะไร ผลจะออกมาดังคำพูดของท่านทุกประการ

    แม้แต่ผู้เขียนก็ประสบพบเห็นมาด้วยตนเองแล้ว!


    กับอีกคุณวิเศษของหลวงพ่อคือ ‘น้ำมนต์ดอกบัว’ ของท่าน ที่ลูกศิษย์ลูกหาล้วนทราบ ใครตกเคราะห์พบวิบากกรรมหนักหนาถ้าได้รดน้ำมนต์ของหลวงพ่อวัดตูม เคราะห์กรรมจะบรรเทาเบาบางอย่างรวดเร็ว เรื่องนี้แม้แต่อาจารย์สะอาด แตงหอม แห่งวัดบางรัก พระเถราจารย์อีกรูปของอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ยังเอ่ยคำยกย่อง

    “...น้ำมนต์ของหลวงพ่อหมื่นอุดมขลังนัก!”

    เมื่อครั้งที่เราสองคนเตรียมจัดพิธีสังเวยบูรพกษัตริยาธิราช ณ ลานพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่จังหวัดสุโขทัย หลวงพ่อได้ทำนายล่วงหน้า ‘งานนี้จะมีผู้คอยขัดขวาง’ และก็จริงอย่างที่ท่านกล่าว กว่าทุกอย่างจะจบสิ้นลงได้ เราสองคนแทบเอาตัวไม่รอด หากไม่ได้บารมีของหลวงพ่อที่อุตส่าห์เดินทางมาร่วมพิธีด้วยความเมตตาลูกศิษย์ เชื่อว่างานนี้คงล่มอย่างไม่เป็นท่า


    เป็นชาวพุทธ...ควรเดินทางไปนมัสการสังเวชนียสถานที่อินเดียสักครั้ง” คือคำปรารภของหลวงพ่อกับผู้เขียนและทมยันตี “อยากให้โยมพี่กับแม้วไปจริง ๆ”

    เพราะคำกล่าวของหลวงพ่อ...เพราะเมตตาของท่านที่มีต่อลูกศิษย์ทั้งสอง...ในปี 2539 เราสองคนจึงติดสอยห้อยตามท่านไปอินเดียเป็นครั้งแรก...และพบกับความปีติแห่งจิตใจ ‘ใต้ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์’ อย่างไม่เคยมีมาก่อนในชีวิต ยิ่งกว่านั้นคือ ความสิ้นสงสัยว่าพระพุทธเจ้าของเรานั้นมีจริงหรือไม่?

    นั่นคือเหตุผล...ว่าทำไมเราจึงย้อนกลับไปเยือนอินเดีย แดนดินถิ่นพุทธภูมิ อีกหลายครั้งหลายครา อีกทั้งอาราธนานิมนต์ครูบาอาจารย์ไปนมัสการสังเวชนียสถานอย่างไม่รู้เบื่อหน่าย...

    นี่คือ ‘คุณ’ ของครูบาอาจารย์ ที่แนะนำสั่งสอนศิษย์ คำแนะนำของครูบาอาจารย์จะนำพาเราไปสู่สิ่งที่ดีงาม สู่สิ่งที่ให้ประโยชน์กับจิตวิญญาณตนเสมอ


    วันนี้หลวงพ่อหมื่นอุดม ชาติการุณย์ ได้จากโลกนี้ไปอย่างสงบ วันนี้ศพของหลวงพ่อยังตั้งอยู่ที่วัดตูม จังหวัดอยุธยา หลังสวดอภิธรรมครบเจ็ดวัน จะเก็บสังขารของท่านเอาไว้ร้อยวัน ให้ลูกศิษย์ลูกหาที่อยู่ไกล...รู้ข่าวช้า ได้แวะเวียนมากราบนมัสการ จากนั้นจึงจัดพิธีประชุมเพลิง

    เมื่อวันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะของคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ เป็นเจ้าภาพสวดอภิธรรม เพราะงานนี้ผู้เขียนแว่ว ๆ เข้าหูว่า หลังเผาศพหลวงพ่อแล้ว ส่วนหนึ่งของอังคารธาตุ ลูกศิษย์ใกล้ชิดจะนำไปลอยที่แม่น้ำคงคาที่อินเดีย เพราะเห็นว่าหลวงพ่อท่านชอบเดินทางไปอินเดียมาก เท่าที่รู้ ในชีวิตของท่านนั้นได้ไปนมัสการสังเวชนียสถานแล้วถึง 18 ครั้ง

    และครั้งที่ 19 นี้ คงเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งครั้งนี้บางส่วนของสรีระอันเป็นเถ้าถ่านของหลวงพ่อจะอยู่ที่แดนดินถิ่นพุทธภูมิตลอดไป

    จากปี 2531 เป็นต้นมา ภูเตศวรได้กราบหลวงพ่อหลายครา ท่านอบรมสั่งสอนมาโดยตลอด หลายประโยคยังแนบแน่นในความทรงจำ หลายอย่างคือคำเตือนใจ...

    หน้าที่ของชาวพุทธที่ต้องธำรงรักษาบวรพุทธศาสนา รักษาใจให้มีศานติสุข รู้เท่าทันกิเลสมารด้วยสัมมาสติและสัมมาสมาธิ

    และที่ประทับใจสุด ๆ ก็ในช่วงเวลาเกิดความเบื่อหน่ายอย่างรุนแรง ท่านได้อบรมด้วยคำเทศนาเหมือนมีดผ่าเข้ากลางใจ...

    “การบวชเป็นรูปแบบนะแม้ว...ถ้าคนเรารู้ตัวตนของตน รู้หน้าที่ที่ควรทำ นั่นคือความประเสริฐ เป็นพระไม่ได้อยู่ที่เครื่องนุ่งห่ม จะนุ่งขาวนุ่งดำถ้าใจเป็นพระ คนคนนั้นก็เป็นพระ การเป็นนักบวชเป็นมุนีอยู่ที่ใจมากกว่าอยู่ที่เครื่องแบบ”

    วันนี้หลวงพ่อหมื่นอุดม ชาติการุณย์ ละสังขารแล้วด้วยวัย 67 ปี ก่อนวันคล้ายวันเกิดในวันที่ 27 กรกฎาคม เพียง 3 วัน ท่ามกลางความอาลัยรักของลูกศิษย์ลูกหามากมาย แม้หลวงพ่อจะจากลาไปตามกฎแห่งไตรลักษณ์ หากผลงานความดีที่มีต่อวงการพระศาสนา ยังจะดำรงอยู่อีกนานแสนนาน โดยเฉพาะคำสั่งสอนของหลวงพ่อจะอยู่ในใจลูกศิษย์ทุกคนตลอดกาล

    “จงรักษา กาย วาจา และใจให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ!” คือคำกล่าวของหลวงพ่อ...

    “ถ้ากายวาจาใจบริสุทธิ์ จะนุ่งห่มด้วยผ้าสีอะไรก็เป็นพระแล้ว!”

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    เหรียญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อหมื่นอุดมวัดตูม ให้บูชา 150 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ
    IMG_20240315_180522.jpg IMG_20240315_180544.jpg
     
  20. Jumbo A

    Jumbo A เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    12,783
    ค่าพลัง:
    +21,343
    1710502755820.jpg
    หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม องค์นี้ แม้แต่พระอภิญญาอย่าง หลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง ยังยกย่องและยอมรับว่าหลวงพ่อจวนท่านนี้เก่งจริงๆๆพลังจิตกล้าแกร่งเหลือเกิน

    หลวงพ่อจวน เป็นพระองค์หนึ่ง ที่หลวงพ่อฤาษีฯ ให้ลูกศิษย์ไปกราบ และทำบุญด้วย เนื่องจากหลวงพ่อ ไปเจอหลวงพ่อจวนที่พระจุฬามณี โดยหลวงพ่อจวนไปทั้งกายเนื้อ

    มีอยู่เที่ยวหนึ่งหลวงพ่อท่านบอกว่า " เฮ้ย ! พวกแกลองสืบดูซิ มีหลวงตาองค์หนึ่งขาว ๆ ท้วม ๆ ล่ะนะ ชื่อ จวน อยู่สิงห์บุรี ลองดูสิว่ามีพระชื่อนี้อยู่สิงห์บุรีวัดไหน ช่วยบอกให้ด้วยหาไม่ยากหรอก ท่านดังด้วย หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม"

    ถาม : หลวงพ่อหาทำไมครับ

    ท่านบอกว่า : "วันก่อนขึ้นไปพระจุฬามณีเห็นหลวงตาจวนเดินตุ๊บ ๆ ตั๊บ ๆ อยู่ เขาเก่งว่ะ เขาไปทั้งตัวเลย ไม่ได้ใช้มโนมยิทธิถอดจิตไปนะนั่น เล่นไปทั้งตัวเลยล่ะ"

    ถาม : ยังอยู่ไหมครับ ?

    ตอบ : เรียบร้อยไปแล้ว ถ้าอยู่ไม่กล้าเล่ากลัวท่านเหยียบเอา (หัวเราะ) วัดหนองสุ่ม ขาว ๆ ยิ้มทั้งวันน่ะ น่ารักมาก....

    "สมัยที่หลวงพ่อจวนยังอยู่ จะไม่ให้ทำหนังสือวัตถุมงคล ท่านบอกว่า ของ ๆ ฉันถ้าจะดังเดี๋ยวดังเอง"
    หลวงพ่อจวนได้ละสังขารอย่างสงบ เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สิริอายุได้ ๗๙ ปี พรรษา ๕๕


    หมายเหตุ: "พระจุฬามณี"
    หมายถึง เจดีย์พระจุฬามณี"บนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีปราสาทเนรมิต กับมี พระเจดีย์จุฬามณี อันเป็นที่ประดิษฐานพระเมาลีของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งเสด็จออกมหาภิเนกษกรมณ์ และเมื่อพระพุทธองค์นิพพานแล้วก็ได้เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วองค์ขวาด้วย


    พระครูสุจิตตานุรักษ์
    (หลวงพ่อจวน สุจิตโต)
    วัดหนองสุ่ม ต.ห้วยชัน
    อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
    ประวัติ หลวงพ่อจวน ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๔๕๘ ตรงกับปีเถาะ
    วันศุกร์ ที่ต.ห้วยชัน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี ด้วยฐานะที่ยากจน และพ่อแม่ถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์วัย ท่านจึงอยู่ในความอุปการะของพี่สาว และมีโอกาสได้เรียนหนังสือจบเพียงแค่ชั้นประถมศึกษา
    ในปี ๒๔๗๓ ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนองสุ่ม แต่อยู่ได้ได้เพียง ๓ ปี
    ก็ลาสิกขา เพื่อไปช่วยครอบครัวพี่สาวประกอบอาชีพกสิกรรม

    พออายุได้ ๒๒ ปี ท่านอุปสมบทเป็น
    พระภิกษุ ณ วัดประศุก ต.ประศุก อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี
    โดยมีพระสมุห์จรัส เจ้าอาวาสวัดประศุก เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองสุ่ม ๑ พรรษา แล้วย้ายไป
    อยู่ที่วัดโพธิ์ลังกา ต.ท่างาม อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม
    จนสามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอก
    พ.ศ.๒๔๘๒ ได้ลาสิกขาประมาณ
    ๕ เดือน เพื่อช่วยงานพี่สาว
    ที่อุปการะเลี้ยงดู
    หลังจากนั้นท่านได้อุปสมบท
    ใหม่อีกครั้ง เมื่อปี ๒๔๘๓
    ขณะอายุได้ ๒๖ ปี
    ณ วัดประศุก เช่นเดิม
    โดยมีพระครูพิศิษฐ์ศีลคุณ
    เจ้าอาวาสวัดประศุก เป็นพระอุปัชฌาย์
    #ได้รับฉายาว่า “สุจิตโต” หมายถึงว่า
    “ผู้มีจิตใจที่ดีงาม”
    ท่านได้จำพรรษาอยู่วัดหนองสุ่ม
    ตลอดมา
    หลวงพ่อจวน ท่านได้เริ่มมุ่งศึกษา
    ทางด้านไสยเวท โดยไปฝากตัวเป็น
    ศิษย์ของพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชา
    ในยุคนั้น ได้แก่
    1.หลวงพ่อแป้น วัดบ้านไร่
    (วัดโฆสิทธาธรรม) อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี, 2.หลวงพ่อปั้น วัดค้างคาว
    อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท,
    3.หลวงพ่อกอง จ.สุโขทัย
    และอาจารย์ที่เป็นฆราวาส
    4.หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์
    อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี
    และอีกหลายท่าน จนมีความรู้ความเชี่ยวชาญ จึงเริ่มสร้างวัตถุมงคลขึ้น
    เพื่อให้ลูกศิษย์และผู้ที่เคารพ
    ศรัทธานำไปสักการบูชา
    หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
    ท่านเป็นผู้ที่ทรงวิทยาคุณ
    ทางด้านไสยเวท มีศีลาจาวัตร
    และวัตรปฏิบัติแบบสมถะ รักสันโดษ
    มีพลังจิตที่สูงส่ง และแก่กล้า
    เปี่ยมด้วยเมตตาธรรม ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือชาวบ้าน
    ที่มีความทุกข์มาหาท่าน
    ด้วยความเสมอภาค จนบังเกิดศรัทธาจากทั่วทุกสารทิศ เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านทั้งใกล้และไกล
    จนเป็นที่เลื่องลืออย่างกว้างขวาง
    วัตถุมงคลที่จัดสร้างมีหลายประเภท ตั้งแต่ปี ๒๕๐๐ - ๒๕๓๖ มีทั้งรูปถ่าย ตะกรุด ผ้ายันต์ ล็อกเกต พระพิมพ์สมเด็จ พระกริ่ง รูปหล่อ และเหรียญ
    มีทั้งหมดหลายรุ่น ที่ได้รับความนิยม
    ในวงการพระเครื่อง
    มีกิตติคุณเลื่องลือว่าเข้มขลังยิ่งนัก
    มีพุทธคุณโดดเด่นทางมหาอุด
    คงกระพันชาตรี และแคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆ
    และยังแฝงทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขายเจริญรุ่งเรือง อีกด้วย
    #หลวงพ่อจวน ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ชั้นสูงสุดเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ที่ “พระครูสุจิตตานุรักษ์”
    และได้รับการแต่งตั้งเป็น
    รองเจ้าคณะอำเภออินทร์บุรี
    เมื่อปี ๒๕๒๗
    ท่านได้มรณภาพอย่างสงบ
    เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๖ สิริอายุรวม ๗๙ ปี พรรษา ๓๕
    **ขอบคุณข้อมูล
    https://www.komchadluek.net/amulet/164221

    ขอขอบคุณท่านเจ้าของบทความข้อมูลที่มาอย่างสูงครับ

    พระสมเด็จหลวงพ่อจวนออกวัดวังสาครและเหรียญหลวงพ่อจวนวัดหนองสุ่มปี 2522 ออกวัดท่าเตียน ให้บูชาคู่กัน 2 องค์ 300 บาทค่าจัดส่งด่วน 30 บาทครับ

    IMG_20240315_182641.jpg IMG_20240315_182721.jpg IMG_20240315_182538.jpg IMG_20240315_182601.jpg
     

แชร์หน้านี้

Loading...