**ร้านศิวิไลพระเครื่อง** วัตถุมงคล เครื่องรางของขลัง เกจิคณาจารย์ภาคเหนือ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ศิวิไล, 25 พฤษภาคม 2013.

  1. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10256

    พระสังกัจจาย ครูบาจันต๊ะ วัดหนองช้างคืน ลำพูน สร้างปี 2537เนื้อเหลืองหลังตราปั๊มจารเดิมๆ


    พระ อธิการจันต๊ะ อนาวิโล ( ครูบาจันต๊ะ )เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 28ก.พ.2468 ที่ตำบลหนองช้างคืน อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อเยาว์วัยได้มาเป็นลูกศิษย์วัดหนองช้างคืนเพื่อศึกษาเล่าเรียนจากครูบา อาจารย์หลายท่าน เมื่อมีอายุได้ 12ปีได้บรรพชา จนเมื่อท่านอายุได้ 20 ปีท่านก็ได้อุปสมบท เมื่อวันที่ 5มิ.ย.2487 ท่านได้เล่าเรียนธรรมจนสอบธรรมสนามหลวงแผนกธรรม ชั้นโท พ.ศ. 2494 หลังจากนั้นท่านได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองช้างคืนเมื่อ พ.ศ.2520 ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่เจ้าอาวาสและได้พัฒนาวัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น เป็นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ บูรณะอุโบสถ ท่านมีความเมตตาธรรมสูง มีความสามารถพิเศษในด้านการเทศน์ธรรมมหาชาติ กัณฑ์มัทรี และได้รับการยกย่องเป็นอย่างสูงว่าเป็นเกจิอาจารย์ในด้านเครื่องลางของขลัง วัตถุมงคล คาถาอาคมและยันต์ต่างๆเป็นต้น จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป จนท่านมรณะภาพเมื่อวันพฤหัสบดีที่26 ก.ค.2544 รวมสิริอายุได้ 76 ปี พรรษา56 เมื่อท่านมรณะภาพ ได้เกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น เมื่อฝูงผึ้งได้เข้ามาทำรังในโลงของท่านรังใหญ่ด้วยกัน ต่อเมื่อจะทำการพิธีพระประชุมเพลิง ฝูงผึ้งเหล่านั้นกลับได้ออกไปเองโดยไม่ มีใครไปทำลายแต่อย่างใด

    ในปี 2537 และปี 2542 ท่านได้สร้างพระเครื่องครั้งใหญ่ขึ้นโดยเป็นเนื้อผงพุทธคุณ ได้แก่ พิมพ์ขุนแผน ขุนช้าง สังขจาย ล.ป.ทวด กลีบบัว และปิดตา วัตถุมงคลรุ่นนี้ต่อมาภายหลังได้รับความนิยมของในพื้นที่มาก โดยมีความโดดเด่นในเรื่องเมตตามหานิยม ค้าขาย โชคลาภ และแคล้วคลาดปลอดภัย โดยเฉพาะขุนแผนและขุนช้างนั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในเรื่องเมตตาและ มหาเสน่ห์โชคลาภ

    โดยเฉพาะขุนแผนและขุนช้างนั้นได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในเรื่องเมตตาและ มหาเสน่ห์โชคลาภ

    สุดยอดแห่งเมตตามหานิยม หลังตราปั้ม รอยจารชัดเจน



    พระสังกัจจายเนื้อเดียวและพิธีเดียวกับกับขุนแผนรุ่นแรก พุทธคุณเท่ากัน น่าเก็บสะสมและน่าใช้มากๆครับ

    ราคา 7500 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    Clip_39.jpg Clip_40.jpg Clip_41.jpg Clip_42.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  2. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10257

    เหรียญรุ่นแรกครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย เนื้อทองแดง บล็อก 2 ตา นิยมห่วงเชื่อม

    ยันต์ด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ที่ครูบาชุ่มท่านผูกเป็นพระยันต์ขึ้นมาเอง โดยอาศัยการนำบทพุทธมนต์ที่ศึกษามาจากธรรมมูลกัจจาย(ในสมัยก่อน ครูบาชุ่มท่านเป็นผู้คงแก่เรียนศึกษาตำราทุกอย่าง และเป็นผู้แตกฉานเรื่องคัมภีย์มูลกัจจาย อย่างเออุท่านหนึ่งเลยทีเดียว)มาตีเป็นตารางยันต์ตามหลักแม่ธาตุหัวใจยันต์ ตรงใจกลางยันต์ถอดมาได้เป็นยันต์ หัวใจพระพุทธคุณ บางตำราท่านกล่าวว่าเป็นยันต์ สิริแปดเหลี่ยม ( หรือ สิริทั้ง 8) เน้น ทางชุ่มเย็นเป็นสุขด้วยสิริทั้ง8ประการ ล้อมด้วยพระคาถา หัวใจขึด (อุบาทว์ หรือความเชื่อที่เป็นข้อห้ามของชาวล้านนา) คาถาธรรมโลกะวุฒธิ ซึ่งเป็นต้นบทคาถาที่ใช้สวดการเทศนา คาถา หัวใจธรรมเกี่ยวกับการเกิดดับแห่งสรรพสิ่ง และคาถา หัวใจก่าสะท้อน(ท่านเพิ่งนำมาลงในยันต์ด้านหลังเหรียญนี้ครั้งแรก) ถัดขึ้นไป เขียนยันต์ที่ล้านนาที่ชื่อว่า ก๋ะ ย๊ะ ว๊ะ( ยักษ์3ตัว) ใช้สำหรับกันผี ผีกลัว ถัดไปเป็นคาถา มะ อะ อุ (หัวใจพระรัตนไตร ) ส่วนในยันต์รูปน้ำเต้านั้น ครูบาชุ่มท่านน่าจะคิดเป็นรูปแห่งพระอรหันต์ทั้งแปดทิศ ไว้บูชาสำหรับกันภัย และเพื่อคุณวิเศษต่างของพระอรหันต์เหล่านั้นที่พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงยกย่องว่า เป็น เอตทัคคะในด้านต่างๆเช่น 1.พระอัญญาโกณฑัญญะ ประจำทิศ ตะวันออก เป็นเอตทัคคะในด้าน รัตตัญญู เป็นพระสงฆ์องค์แรกแห่งพระพุทธศาสนา เด่นทางด้านเมตตามหานิยมมีความสำเร็จก่อนผู้ใด 2.พระมหากัสสปะ ประจำทิศ ตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเอตทัคคะในด้าน ถือธุดงค์วัตรเป็นเอก เด่นทางด้านคุ้มภัย 3.พระสารีบุตร ประจำทิศ ใต้ เป็นอัครสาวกด้านขวาแห่งพระพุทธเจ้า เอตทัคคะเป็นผู้เลิศทางปัญญา เด่นทางด้านมีสติปัญญาแก้ปัญญา 4.พระอุบาลี ประจำทิศ ตะวันตกเฉียงใต้ เอตทัคคะด้านพระวินัยเป็นเลิศ เด่นทางด้านมีสิ่งมงคลในชีวิตป็นเลิศ 5.พระอานนท์ ประจำทิศ ตะวันตก เป็นพระอุปัฎฐากของพระสัมามสัมพุทธเจ้าและเป็นพระที่พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านทรงยกย่องให้เป็นเอตทัคคะ5ประการด้วยกันคือ 1.มีสติรอบคอบ 2.มีความทรงจำแม่น 3.มีความเพียรดี 4.ผู้เป็นพหูสูตร 5.เป็นยอดพระภิกษุผู้อุปัฎฐากพระพุทธเจ้า 6.พระควัมบดี (พระมหากัจจายนะ)หรือพระสิวลีเถระ ประจำทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเอตทัคคะด้านการมีลาภสักการะเป็นเลิศ 7.พระโมคคัลลานะ ประจำทิศ เหนือ พระอัครสาวกด้านซ้ายแห่งพระพุทธเจ้าเป็นเอตทัคคะเรื่องการมีฤทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์มาก เด่นเรื่องคุ้มภัย มีตบะเดชะ 8.พระราหุล ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบุตรแห่งองค์พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธะเจ้า เป็นเอตทัคคะ เรื่องการใฝ่รู้และการศึกษา เด่นทางด้านเจริญรุ่งเรือง นั่นคือเรื่องของพระอรหันต์ที่เป็นเลิศด้านต่างๆ ที่โบราณคณาจารย์ท่านกำหนดไว้ในเรื่องทิศทั้ง8มาแต่อดีตกาล ในส่วนยันต์ของครูบาชุ่มนั้นท่านจะไม่บอกอักษรใดที่แสดงชื่อของพระอรหันต์ทั้ง8 แต่จะใช้ลักษณะรูปยันต์น้ำเต้า(เหมือนพระนั่งทั้ง8ทิศ) ล้อมรอบด้วยตารางยันต์ที่กล่าวไว้ข้างต้น เพราะรูปลักษณะแห่งยันต์ของครูบาชุ่มนี้เป็นเอกลักษณ์ของครูบาชุ่มเอง โดยตรง แม้แต่ตัวโค๊ตรูปวงกลมที่ตอกนั้นยังเป็นอักษรย่อของยันต์กันขึด คือ ว๊ะ ม๊ะ ต๊ะ (คาถาเต็มคือ ว๊ะ ม๊ะต๊ะ ก๊ะม๊ะย๊ะ) รวมไปถึงพระเนื้อผงรุ่นแรกครูบาชุ่มที่เขียนเป็นตัวล้านนาที่อ่านว่า “วิวะ อะวะสุสัตตะ วิวะสวาหะ” ไม่ใช่คาถาบูชาครูบาชุ่มอย่างที่หนังสือต่างๆพิมพ์กัน นี่คือหัวใจคาถากันภัยนะครับ ชื่อว่า คาถาพระโพธิสัตว์พาแม่ข้ามฝั่ง ส่วนในด้านพุทธคุณโดยรวมแห่งเหรียญรุ่นแรกครูบาชุ่มนั้น มีครบทุกกระบวนความ ทั้งเรื่องมหาอุตย์ คงกระพัน เมตตา มหานิยมโชคลาภ กันภัย กันผี ก่าสะท้อน ชีวิตเจริญรุ่งเรือง ร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขายคล่องกันขึด แก้อุบาทว์แคล้วคลาดปลอดภัย เป็นที่รักของมนุษย์และเทวดาและก็ด้วยบารมีแห่งพระรัตนะไตร ครูบาศรีวิชัยตลอดจนครูบาอาจารย์ของครูบาชุ่มทุกองค์และบารมีของครูบาชุ่ม รวมถึงการปลุกเสกแห่งพระอริยะเจ้าที่ได้ชื่อว่าเป็นดั่งมือขวาของครูบาเจ้าศรีวิชัย ประเด็นเรื่องพุทธคณของเหรียญนี้ยังมีหลายท่านเข้าใจว่าเหรียญรุ่นแรกของครูบาชุ่ม เป็นมหาอุตย์ คงกระพันอย่างเดียว ด้วยในยุคสมัยนั้นยังมีเรื่องต่อสู้ เข้ารบสงคราม โจรผู้ร้ายยังชุกชุมอยู่ คนที่เล่ากันส่วนมากจะต้องแคล้วคลาดปลอดภัยเป็นหลักเกิดเป็นความเชื่อที่ว่า เหรียญของครูชุ่มเด่นเรื่อง มหาอุตย์ คงกระพันแคล้วคลาด เมื่อคราวที่ครูบาชุ่มท่านสร้างตะกรุดหนังฯ ท่านได้ลงพระคาถาต่างๆไว้ ซึ่งรวมทั้งก๋าสะท้อนด้วย ต่อมาท่านได้ผูกพระยันต์ขึ้นเองดังที่ลงไว้หลังเหรียญรุ่นแรก ซึ่งมีคุณทางสะท้อนสิ่งไม่ดีด้วย
    ครูบาชุ่ม วัดวังมุย พระอริยสงฆ์ศิษย์สายครูบาศรีวิชัย
    พระสุฏิปันโนที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำเคารพนับถือในตัวท่านมาก
    เจ้าของตำรา ตะกรุดหนังพอกครั่งแห่งล้าน วัตถุมงคลท่านมีประสบการณ์ทุกรุ่นจนเป็นพระยอดนิยมของเมืองเหนือ

    ราคา 4700 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900



    Clip_46.jpg Clip_47.jpg Clip_48.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  3. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10258

    เหรียญหลวงปู่โตะ วัดพระธาตุสบฝาง ปี 22 ผิวสวยเดิมๆ

    หลวงปู่โต๊ะท่านเคยมาจำพรรษาที่วัดนี้และมีเจตนาจะช่วยในการบูรณะพระธาตุสบฝาง ซึ่งเก่าแก่ ทรุดโทรม ท่านมีดำริจะจัดสร้างเหรียญให้เพื่อออกบูชาแก่ประชาชนไว้ใช้ เพื่อนำปัจจัยมาสมทบทุน จึงได้มีการจัดสร้าง และพุทธาภิเษกเหรียญนี้ขึ้นเมื่อปี 2522 ที่พิเศษกว่านั้นยังได้นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกถึง 3 วาระ คือครั้งที่ 2 ที่วัดต้นหนุน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ , ครั้งที่ 3 ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งทั้ง 3 ครั้ง หลวงปู่เป็นประธานครับ เหรียญนี้จึงดีแน่ครับ เหรียญนี้ ด้านหน้าเป็นรูปหลวงปู่ ซึ่งแกะออกมาได้เหมือนมากด้านหลังรูปพระธาตุสบฝาง
    เหรียญดีที่หลวงปู่โต๊ะเสกไว้ให้คนเหนือได้ใช้ของดีน่าบูชามากๆครับ

    ราคา 1999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    Clip_19.jpg Clip_21.jpg Clip_22.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  4. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341

    รายการที่ 10259

    สมเด็จ108ปีวัดระฆัง เนื้อตะกั่วถ้ำชา ตอกโค้ต สวยกล่องเดิมๆ


    ประวัติการจัดสร้าง สมเด็จ 108 ปี
    พระสมเด็จวัดระฆัง เนื้อตะกั่วถ้ำชา รุ่น 108 ปี สร้างจากเนื้อตะกั่วถ้ำชาเก่าของหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และแผ่นตะกั่วจารอักขระพระยันต์ต่างๆ พร้อมชนวนมงคลตามสูตรการสร้างพระสมเด็จชินบัญชร องค์นี้เป็นแบบพิมพ์ตอกโค๊ตเต็มฟอร์มตามทำเนียบพระสมเด็จวัดระฆังทุกอย่าง และถือเป็นประวัติศาสตร์การสร้างพระสมเด็จเนื้อตะกั่วถ้ำชา พิมพ์ใหญ่ ย้อนยุคสมเด็จโต สมัยแรกๆ ของวัดระฆังทีเดียว

    ประวัติการจัดสร้างรุ่นอนุสรณ์ 108 ปี
    การดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นอนุสรณ์ 108 ปี กระทำเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีใหญ่เช่นเดียวกับรุ่นอนุสรณ์ 100 ปีทุกอย่าง ทั้งการสร้างและสูตรกรรมวิธีจัดสร้างอย่างปราณีต องค์พระดูสวยงามรูปทรงอ่อนช้อย จึงทำให้มีค่านิยมที่สูงขึ้นในปัจจุบัน

    พิธีมหาพุทธาภิเษกใหญ่จัดในพระอุโบสถวัดระฆังโฆสิตาราม โดยนิมนต์พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นจากทั่วประเทศมานั่งปรกปลุกเสก เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2523 ซึ่งตรงกับวันละสังขารของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตฯ ได้แก่
    1. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
    2. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    3. หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจนบุรี
    4. หลวงพ่อบี๋ วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี
    5. หลวงพ่อเปรื่อง วัดหิรัญญาราม พิจิตร
    6. หลวงพ่อลมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี
    7. หลวงพ่อบุญส่ง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
    8. หลวงพ่อเล็ก วัดลาดหอย สุพรรณบุรี
    9. หลวงพ่อดี วัดพระรูป สุพรรณบุรี
    10. หลวงพ่อวงศ์ วัดสามกอ อยุธยา
    11. หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัสน์เทพวราราม
    12. หลวงพ่อวีระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
    13. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    14. หลวงพ่อทอง วัดจักรวรรดิ์ (วัดสามปลื้ม) กรุงเทพฯ
    15. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    16. หลวงพ่อช้วน วัดหนัง กรุงเทพฯ
    17. หลวงพ่อคอน วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ
    18. หลวงพ่อสำราญ วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
    19. หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
    20. หลวงพ่อเฟื่อง วัดเจ้ามูล กรุงเทพฯ
    21. หลวงพ่อเจียม วัดโสธรวราราม ฉะเชิงเทรา
    22. หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหน้า กาญจนบุรี
    23. หลวงพ่อคำปัน วัดหม้อคำตวง เชียงใหม่
    24. หลวงปู่สิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    25. หลวงพ่อเส็ง วัดบางนาใน ปทุมธานี
    26. หลวงพ่อกุล วัดอมรินทราราม (บางว้า) กรุงเทพฯ
    27. หลวงพ่อวิเชียร วัดเครือวัลย์ ชลบุรี
    28. หลวงพ่อพุธ วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา
    29. หลวงพ่อจำปา วัดอินทราวาส กรุงเทพฯ
    30. หลวงพ่อผูก วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    31. หลวงพ่อลำเจียก วัดศาลาตึก นครปฐม
    32. หลวงพ่อไห วัดบางทะลุ เพชรบุรี
    33. หลวงพ่อทวี วัดโคกหม้อ พิจิตร
    34. หลวงพ่อเชื้อ วัดบางคลานใต้ พิจิตร
    35. หลวงปู่ง่วน วัดพระบาทเขารวก พิจิตร
    36. หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ นครปฐม
    37. หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติ พระนครศรีอยุธยา
    38. หลวงพ่อเกษม (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม
    39. หลวงพ่อบุญเลิศ วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ) กรุงเทพฯ
    40. หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร กรุงเทพฯ
    41. หลวงพ่อมุด วัดบางสุทธาราม กรุงเทพฯ
    42. หลวงพ่อบุญเรือน วัดบางสุทธาราม กรุงเทพฯ
    42. หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
    43. หลวงพ่อเฮง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ
    44. หลวงพ่อผ่อง (จินดา) วัดจักรวรรดิ์ กรุงเทพฯ
    45. หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    46. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม
    47. หลวงพ่อเฉลียว วัดอรุณฯ กรุงเทพฯ
    48. หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง สมุทรสาคร
    49. หลวงพ่อสิริ วัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ
    50. หลวงพ่อสงัด วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ
    51. หลวงพ่อยะ วัดท่าข้าม นครปฐม
    52. หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย นนทบุรี
    53. หลวงพ่อเส็ง วัดป่ามะไฟ ปราจีนบุรี
    54. หลวงพ่อณรงค์ชัย วัดป่าทรงคุณ ปราจีนบุรี
    55. หลวงพ่อเก๋ วัดแม่น้ำ สมุทธสงคราม
    56. หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี
    57. หลวงพ่ออวยพร วัดดอนยายหอม นครปฐม
    58. หลวงพ่อสมบุญ วัดทุ่งเหียง ชลบุรี
    59.หลวงพ่อเฮียง วัดหนองชัน ชลบุรี
    60. หลวงพ่อศิริ วัดตาล นนทบุรี
    61. หลวงพ่อประสบ วัดเขาตะเครา เพชรบุรี
    62. หลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ ชลบุรี
    63.หลวงพ่อทองหล่อ วัดคันลัด สมุทธปราการ
    64. หลวงพ่อประเดิม วัดเพลิงวิปัสสนา กรุงเทพฯ
    พระสมเด็จ เนื้อตะกั่วถ้ำชา หลังลายผ้า และโค๊ตระฆัง จัดสร้างเป็นท่ีระลึก ๑๐๘ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. พ.ศ.2523 หายาก สร้างพร้อมพระสมเด็จเนื้อผง สมเด็จวัดระฆัง รุ่น 108 ปี เป็น เนื้อตะกั่วถ้ำชา ของหลวงปู่โต๊ะวัดประดู่ฉิมพลี มีเกจิอาจารย์ในยุคนั้นปลุกเสก จำนวน 108 รูปองค์ นี้สภาพสวยมาก



    บูชาแล้วครับ
    Clip_12.jpg Clip_13.jpg Clip_16.jpg Clip_18.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  5. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10260

    เหรียญรุ่นแรกครูบาอ่อน รตฺนวัณโณ ( พระครูสันติธรรมาภิรม ) วัดสันต้นหวีด ต.แม่ปืม อ.เมือง จ.พะเยา เนื้อฝาบาตร บล็อกวงเดือนนิยม



    เหรียญรุ่นแรกของท่านจัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 เหรียญหายากมากประสพการณ์ เหรียญอนาคตไกลอีกรุ่นของพระเครื่องเมืองพะเยา

    ราคา 1550 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    Clip_25.jpg Clip_26.jpg Clip_27.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  6. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10261

    เหรียญรุ่นแรก ครูบาออ ปัณฑิต๊ะ สำนักสงฆ์วัดพระธาตุดอยจอมแวะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เนื้อทองแดง หมายเลข 1284 สวยเดิมๆ


    หลวงปู่ครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ ปัจจุบันอายุได้ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๕๖ เจ้าอาวาสพระธาตุดอยจอมแวะ
    ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร เดือนสิบสองไทย(ธันวาคม) พ.ศ. ๒๔๖๓ ปีวอก ที่ บ้านน้ำหน่อ ต.ปางซาง จ.ลายข่า ประเทศพม่า(ไทยใหญ่) บิดาเป็นกำนัน ท่านชื่อ จั่นตา มารดาชื่อ นาง เห็ง แปร มี พี่น้องร่วมกันทั้งหมด ๑๐ คน ครูบาออเป็นคนที่ ๙ ของครอบครัว ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ปัจจุบัน ได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ท่านคนเดียว ท่านมีหลาน ๆ ลูกพี่ลูกน้องอยู่ในหมู่บ้าน เมืองนะ หลายคน ที่พอจะคอยดูแล ในช่วงที่ท่านเป็นเด็ก เด็กชายออ นั้นได้เริ่มบรรพชาสามเณร ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ จนถึงอายุ ๑๕ ปี พอดีในช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ลาสิกขาไปรับใช้ชาติเป็นทหารร่วมรบกับกองกำลังทหารไทยใหญ่ หลังปลดจากทหารแล้วได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้งได้ ๕๖พรรษาท่านเป็นพระเกจิสายเดียวกับครูบาเป็งยา มหานยกะวัดเปียงหลวง อ.เวียงแหง ปัจจุบัน เป็นพระเกจิ ที่พลโทเจ้ายอดศึกและทหารไทยใหญ่และแม้แต่คนไทยทีอยู่ในแถบนั้นให้ความ ศรัทธานับถืออย่างมาก โดยกองทัพไทยใหญ่ไม่เคยพ่ายแพ้ต่อทหารพม่าเลย ทั้งที่กองกำลังทหารมีจำนวนน้อยกว่า ท่านชอบใช้ชีวิตที่สมถะสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เรียบง่าย เรื่องอาหาร เมื่อมีก็ ฉันท์ ไม่มีก็ไม่ฉันท์ ที่ไหนเป็นวัดร้าง ไม่มีพระสงฆ์อยู่อาศัย ท่านก็จะไปพำนักอยู่ปฏิบัติธรรม เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป ท่านเป็นพระสงฆ์ที่คอยโปรดญาติโยมชาวบ้านทุกคน ที่เข้ามานมัสการท่านอยู่ตลอด

    นักบุญแห่งขุนเขา ด้วยอภิญญา ทำให้วัตถุมงคลของท่าน ลือลั่นไปทั่วทั้งแผ่นดินเอเชียอาคเนย์ เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์อย่างมากมาย เหรียญรุ่นแรกนี้ ครูบาออ ปัณฑิต๊ะ ได้อธิษฐานจิตเสกเดี่ยว ณ พระธาตุดอยจอมแวะ เมื่อวันศุกร์ 25 พฤศจิกายน 2554 (วันขึ้นปีใหม่ไทยใหญ่) ปลุกเสกวาระที่ 2 ในพิธีมังคลาภิเษก พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มลฑลสถูปฯ เมืองงาย ในวันเดียวกัน

    สุดยอกเหรียญประสบการณ์

    ## ประสบการณ์ด้านวัตถุมงคล รุ่นแรก ของครูบาออ ##
    - เมื่อตอนที่หลวงปู่ไม่สบายเข้าโรงพยาบาลนั้น พยาบาลได้จะทำการฉีดยาให้หลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่นอนหลับอยู่ และขณะพยาบาลจะฉีดยาให้หลวงปู่ขณะนอนหลับ ปรากฏว่าเข็มแทงไม่เข้า จนหักไปหลายรอบ จนสร้างความตะลึงให้กับทั้งหมอและพยาบาล จนต้องมีการกราบขอขมาและอนุญาตหลวงปู่ เข็มจึงแทงเข้าได้ และหลังจากนั้นทั้งหมอทั้งพยาบาลต่างก็ขึ้นไปฝากตัวเป็นศิษย์ และบูชาเหรียญรุ่นแรกของครูบาออกันทุกคน
    - มีวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งได้ห้อยบูชาวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงปู่ ถูกคู่อริจ่อยิง และปืนก็ยิงออก แต่กระสุนปืนไม่ระคายผิวแม่แต่นิดเดียว มีแต่รอยช้ำนิดหน่อยเท่านั้น
    - ตชด.ชุดปราบปรามยาเสพติดบริเวณชายแดนไทย-พม่า ถูกขบวนการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนล้อมยิง ซึ่งกระสุนปืนของกลุ่มผู้ค้ายาไม่ลั่นแม้แต่นัดเดียว จนทำให้กลุ่มค้ายาต้องหนีไป หลักจากสอบถาม ตชด.ที่ถูกล้อมยิง ทราบมาว่า ตชด.แถบนั้นต่างก็ได้แขวนบูชาหลวงปู่ครูบาออ ทั้งรุ่นแรกและรุ่นอื่นๆนั่นเอง
    -เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 เวลาประมาณ 12.20 น. คณะศรัทธาศิษยานุศิษย์ นำโดย คุณสุทิน แซ่ล่าย บ้านบุญนาค อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้มากราบนมัสการ-ร่วมทำบุญ กับหลวงปู่ครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ วัดดอยธาตุเมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ หลังจากทำบุญเสร็จแล้วได้ออกจากวัด โดยขับรถนิสสัน นาวาร่า สีทอง เลขทะเบียน กค 1768 พะเยา ออกจากสำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะโดยมีผู้โดยสารทั้งหมด 6 คน ได้เกิดประสบอุบัติเหตุขณะลงจากดอย รถได้เสียหลักพุ่งชนโขดหิน เพราะคนขับไม่ชำนาญทาง จนทำให้รถพลิกคว่ำหลายตลบ แต่ปรากฏว่า ทั้ง 6 คนได้รับบาดเจ็บเพียงแค่รอยขีดข่วนเล็กน้อย - ซึ่งรอดตายราวปาฏิหาริย์ ทุกคนต่างเชื่อว่าเป็นเพราะบารมี หลวงปู่ครูบาออ ปัณฑิต๊ะ ที่ทำให้ทุกคนปลอดภัย และทุกคนต่างมีเฉพาะวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาออที่พกติดตัวไว้ ทั้งเหรียญรุ่นแรก และ ตะกรุดโทนหนึ่งไตรมาส เรื่องนี้ได้รับแจ้งความจาก คุณสุทิน แซ่ล่าย ถึงอุบัติเหตุครั้งนี้ โดยรับแจ้งจากสถานีตำรวจภูธร ต.นาหวาย อ.เชียงดาว ร้อยเวรผู้รับแจ้งความคือ พันตำรวจโทไชยา คนชอบ และ ดาบตำรวจสุวรรณ เอ้ยวัน เจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนำหลักฐานการแจ้งความไปกระกอบในการขอประกันภัยรถยนต์ต่อไป

    เนื้อทองแดง 0284 สวยเดิมๆครับ

    ราคา 1799 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    Clip_30.jpg Clip_31.jpg


    Clip_69.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  7. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10262

    เหรียญรุ่นแรก ครูบาออ ปัณฑิต๊ะ สำนักสงฆ์วัดพระธาตุดอยจอมแวะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ เนื้อฝาบาตรหมายเลข 047 สวยเดิมๆ

    หลวงปู่ครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ ปัจจุบันอายุได้ ๙๑ ปี พรรษาที่ ๕๖ เจ้าอาวาสพระธาตุดอยจอมแวะ
    ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ท่านเกิดเมื่อวันอังคาร เดือนสิบสองไทย(ธันวาคม) พ.ศ. ๒๔๖๓ ปีวอก ที่ บ้านน้ำหน่อ ต.ปางซาง จ.ลายข่า ประเทศพม่า(ไทยใหญ่) บิดาเป็นกำนัน ท่านชื่อ จั่นตา มารดาชื่อ นาง เห็ง แปร มี พี่น้องร่วมกันทั้งหมด ๑๐ คน ครูบาออเป็นคนที่ ๙ ของครอบครัว ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด ปัจจุบัน ได้เสียชีวิตไปหมดแล้ว คงเหลือแต่ท่านคนเดียว ท่านมีหลาน ๆ ลูกพี่ลูกน้องอยู่ในหมู่บ้าน เมืองนะ หลายคน ที่พอจะคอยดูแล ในช่วงที่ท่านเป็นเด็ก เด็กชายออ นั้นได้เริ่มบรรพชาสามเณร ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ จนถึงอายุ ๑๕ ปี พอดีในช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้ลาสิกขาไปรับใช้ชาติเป็นทหารร่วมรบกับกองกำลังทหารไทยใหญ่ หลังปลดจากทหารแล้วได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้งได้ ๕๖พรรษาท่านเป็นพระเกจิสายเดียวกับครูบาเป็งยา มหานยกะวัดเปียงหลวง อ.เวียงแหง ปัจจุบัน เป็นพระเกจิ ที่พลโทเจ้ายอดศึกและทหารไทยใหญ่และแม้แต่คนไทยทีอยู่ในแถบนั้นให้ความ ศรัทธานับถืออย่างมาก โดยกองทัพไทยใหญ่ไม่เคยพ่ายแพ้ต่อทหารพม่าเลย ทั้งที่กองกำลังทหารมีจำนวนน้อยกว่า ท่านชอบใช้ชีวิตที่สมถะสันโดษ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เรียบง่าย เรื่องอาหาร เมื่อมีก็ ฉันท์ ไม่มีก็ไม่ฉันท์ ที่ไหนเป็นวัดร้าง ไม่มีพระสงฆ์อยู่อาศัย ท่านก็จะไปพำนักอยู่ปฏิบัติธรรม เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาต่อไป ท่านเป็นพระสงฆ์ที่คอยโปรดญาติโยมชาวบ้านทุกคน ที่เข้ามานมัสการท่านอยู่ตลอด


    นักบุญแห่งขุนเขา ด้วยอภิญญา ทำให้วัตถุมงคลของท่าน ลือลั่นไปทั่วทั้งแผ่นดินเอเชียอาคเนย์ เป็นเหรียญที่มีประสบการณ์อย่างมากมาย เหรียญรุ่นแรกนี้ ครูบาออ ปัณฑิต๊ะ ได้อธิษฐานจิตเสกเดี่ยว ณ พระธาตุดอยจอมแวะ เมื่อวันศุกร์ 25 พฤศจิกายน 2554 (วันขึ้นปีใหม่ไทยใหญ่) ปลุกเสกวาระที่ 2 ในพิธีมังคลาภิเษก พระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มลฑลสถูปฯ เมืองงาย ในวันเดียวกัน

    สุดยอกเหรียญประสบการณ์

    ## ประสบการณ์ด้านวัตถุมงคล รุ่นแรก ของครูบาออ ##
    - เมื่อตอนที่หลวงปู่ไม่สบายเข้าโรงพยาบาลนั้น พยาบาลได้จะทำการฉีดยาให้หลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่นอนหลับอยู่ และขณะพยาบาลจะฉีดยาให้หลวงปู่ขณะนอนหลับ ปรากฏว่าเข็มแทงไม่เข้า จนหักไปหลายรอบ จนสร้างความตะลึงให้กับทั้งหมอและพยาบาล จนต้องมีการกราบขอขมาและอนุญาตหลวงปู่ เข็มจึงแทงเข้าได้ และหลังจากนั้นทั้งหมอทั้งพยาบาลต่างก็ขึ้นไปฝากตัวเป็นศิษย์ และบูชาเหรียญรุ่นแรกของครูบาออกันทุกคน
    - มีวัยรุ่นคนหนึ่งซึ่งได้ห้อยบูชาวัตถุมงคลรุ่นแรกของหลวงปู่ ถูกคู่อริจ่อยิง และปืนก็ยิงออก แต่กระสุนปืนไม่ระคายผิวแม่แต่นิดเดียว มีแต่รอยช้ำนิดหน่อยเท่านั้น
    - ตชด.ชุดปราบปรามยาเสพติดบริเวณชายแดนไทย-พม่า ถูกขบวนการค้ายาเสพติดตามแนวชายแดนล้อมยิง ซึ่งกระสุนปืนของกลุ่มผู้ค้ายาไม่ลั่นแม้แต่นัดเดียว จนทำให้กลุ่มค้ายาต้องหนีไป หลักจากสอบถาม ตชด.ที่ถูกล้อมยิง ทราบมาว่า ตชด.แถบนั้นต่างก็ได้แขวนบูชาหลวงปู่ครูบาออ ทั้งรุ่นแรกและรุ่นอื่นๆนั่นเอง
    -เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2556 เวลาประมาณ 12.20 น. คณะศรัทธาศิษยานุศิษย์ นำโดย คุณสุทิน แซ่ล่าย บ้านบุญนาค อ.เชียงคำ จ.พะเยา ได้มากราบนมัสการ-ร่วมทำบุญ กับหลวงปู่ครูบาออ ปณฺฑิต๊ะ วัดดอยธาตุเมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ หลังจากทำบุญเสร็จแล้วได้ออกจากวัด โดยขับรถนิสสัน นาวาร่า สีทอง เลขทะเบียน กค 1768 พะเยา ออกจากสำนักสงฆ์พระธาตุดอยจอมแวะโดยมีผู้โดยสารทั้งหมด 6 คน ได้เกิดประสบอุบัติเหตุขณะลงจากดอย รถได้เสียหลักพุ่งชนโขดหิน เพราะคนขับไม่ชำนาญทาง จนทำให้รถพลิกคว่ำหลายตลบ แต่ปรากฏว่า ทั้ง 6 คนได้รับบาดเจ็บเพียงแค่รอยขีดข่วนเล็กน้อย - ซึ่งรอดตายราวปาฏิหาริย์ ทุกคนต่างเชื่อว่าเป็นเพราะบารมี หลวงปู่ครูบาออ ปัณฑิต๊ะ ที่ทำให้ทุกคนปลอดภัย และทุกคนต่างมีเฉพาะวัตถุมงคลของหลวงปู่ครูบาออที่พกติดตัวไว้ ทั้งเหรียญรุ่นแรก และ ตะกรุดโทนหนึ่งไตรมาส เรื่องนี้ได้รับแจ้งความจาก คุณสุทิน แซ่ล่าย ถึงอุบัติเหตุครั้งนี้ โดยรับแจ้งจากสถานีตำรวจภูธร ต.นาหวาย อ.เชียงดาว ร้อยเวรผู้รับแจ้งความคือ พันตำรวจโทไชยา คนชอบ และ ดาบตำรวจสุวรรณ เอ้ยวัน เจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เพื่อนำหลักฐานการแจ้งความไปกระกอบในการขอประกันภัยรถยนต์ต่อไป
    เนื้อฝาบาตร 047สวยเดิมๆครับ

    ราคา 1799 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    คุณ j999จองเเล้วครับ

    Clip_32.jpg Clip_33.jpg Clip_69.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  8. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10262

    ล็อกเก็ตฉากทองรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน หลังอุด ตะกรุด ชนวน ผง เกศา หมายเลข 39 สวยเดิมๆ

    พระอรันต์ นักปฎิบัติ ได้รับการยกย่องจาก ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาบุญปั๋น วัดร้องคุ้ม พระธรรมังคลาจารย์ (ทอง สิริมังคโล) ว่าเป็นพระผู้ปฎิบัติดี
    หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ แห่งสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่มีอายุกาลพรรษามากที่สุด อันดับต้นๆ ของภาคเหนือ ปัจจุบันชื่อเสียงของท่านนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักของคนหมู่มาก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ วัตถุมงคลที่ได้ผ่านการอธิฐานจิตจากหลวงปู่นั้น ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ประจักรในหลายๆด้าน ทั้งเมตตา ปกป้องคุ้มครอง และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปราถนาในหลายๆด้าน ท่านได้รับการยกย่องในเรื่องปฏิบัติภาวนา สมถะ และมีศีลธรรม กัมมัฏฐาน เป็นที่เด่นชัด ในเรื่องของความเป็นพระดีพระแท้ เคร่งครัดปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างท่องแท้ ได้รับการยกย่องจากพระคณาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือ หลายต่อหลายท่านคร่าวๆ เช่น หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง( พระที่ได้รับการยกย่องจากพระเกจิอาจารย์มากมายในความเก่งกล้าในเรื่องวิชาคาถาอาคม ถึงขนาดที่หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม สั่งให้ลูกศิษย์มาขอเรียนต่อวิชากับครูบาอิน ) หากหลวงปู่ครูบาอินไม่อยู่แล้วฮื้อไปหาครูบาตั๋นวัดดอยเน่อ , หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ( พระอรหันต์ต๋นเมตตาแห่งวัดร้องขุ้ม เจ้าตำหรับเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง ) , หลวงปู่บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง ( พระกัมมัฏฐานศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ) ทั้ง ๓ รูป ได้บอกกล่าวกับศิษย์เอาไว้ ปัจจุบันท่านทั้ง 3 ได้ละสังขารไปแล้ว อัฐิธาตุของพระคณาจารย์ทุกท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุทุกรูป และ ยังมีสหายธรรมอีกหลายรูปเช่น หลวงปู่ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ( ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่าเฮานิอยู่อย่างตุ๊ตั๋นบะได้เน่อ ) , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน . หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง , พระครูขันตยภรณ์ สุสานไตรลักษ์ และ พระคณาจารย์อีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ้ยนาม ทุกรูปล้วนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย หลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเป็นพระ ที่มีจริยาวัตรอันงดงาม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล ในธรรม ปฏิบัติตนตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคร่งครัด ท่านเป็นพระมหาเถระที่อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่ยึดติด ไม่ฝักใฝ่ ในตำแหน่ง หรือยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น คงมุ่งเน้นแต่แนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น วัตรปฏิบัติของท่านเน้น ปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ถือภาวนาพุธโธเป็นหลัก หลีกเร้นความวุ่นวาย จะเห็นได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง วัดต้นสังกัดของท่าน ทั้งๆที่ท่าน มีความอาวุโส และความพร้อมในทุกด้าน แต่แล้วท่านกลับเลือกที่จะย้ายขึ้นมาอยู่ที่ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นแทน ถ้าจะเปรียบเทียบความสะดวกสบาย ของสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ในสมัยก่อนนั้นย่อมสู้ที่วัดศรีแดนเมืองไม่ได้แน่นอน จุดประสงค์ในการเผยแพร่เถระประวัติในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบูชาคุณ หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ พระมหาเถระที่มีอายุกาลพรรษาสูงที่สุดในดินแดนล้านนาในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเผยแพร่บารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ไม่ให้หายสาบสูญ และให้คงอยู่บนดินแดนล้านนาสืบไป
    สวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้

    ราคา 2999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    Clip_49.jpg Clip_50.jpg Clip_51.jpg Clip_73.jpg Clip_74.jpg Clip_75.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  9. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10263

    เหรียญรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน เนื้อฝาบาตร สวสยเดิมๆ

    พระอรันต์ นักปฎิบัติ ได้รับการยกย่องจาก ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาบุญปั๋น วัดร้องคุ้ม พระธรรมังคลาจารย์ (ทอง สิริมังคโล) ว่าเป็นพระผู้ปฎิบัติดี
    หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ แห่งสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่มีอายุกาลพรรษามากที่สุด อันดับต้นๆ ของภาคเหนือ ปัจจุบันชื่อเสียงของท่านนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักของคนหมู่มาก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ วัตถุมงคลที่ได้ผ่านการอธิฐานจิตจากหลวงปู่นั้น ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ประจักรในหลายๆด้าน ทั้งเมตตา ปกป้องคุ้มครอง และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปราถนาในหลายๆด้าน ท่านได้รับการยกย่องในเรื่องปฏิบัติภาวนา สมถะ และมีศีลธรรม กัมมัฏฐาน เป็นที่เด่นชัด ในเรื่องของความเป็นพระดีพระแท้ เคร่งครัดปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างท่องแท้ ได้รับการยกย่องจากพระคณาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือ หลายต่อหลายท่านคร่าวๆ เช่น หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง( พระที่ได้รับการยกย่องจากพระเกจิอาจารย์มากมายในความเก่งกล้าในเรื่องวิชาคาถาอาคม ถึงขนาดที่หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม สั่งให้ลูกศิษย์มาขอเรียนต่อวิชากับครูบาอิน ) หากหลวงปู่ครูบาอินไม่อยู่แล้วฮื้อไปหาครูบาตั๋นวัดดอยเน่อ , หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ( พระอรหันต์ต๋นเมตตาแห่งวัดร้องขุ้ม เจ้าตำหรับเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง ) , หลวงปู่บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง ( พระกัมมัฏฐานศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ) ทั้ง ๓ รูป ได้บอกกล่าวกับศิษย์เอาไว้ ปัจจุบันท่านทั้ง 3 ได้ละสังขารไปแล้ว อัฐิธาตุของพระคณาจารย์ทุกท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุทุกรูป และ ยังมีสหายธรรมอีกหลายรูปเช่น หลวงปู่ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ( ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่าเฮานิอยู่อย่างตุ๊ตั๋นบะได้เน่อ ) , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน . หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง , พระครูขันตยภรณ์ สุสานไตรลักษ์ และ พระคณาจารย์อีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ้ยนาม ทุกรูปล้วนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย หลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเป็นพระ ที่มีจริยาวัตรอันงดงาม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล ในธรรม ปฏิบัติตนตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคร่งครัด ท่านเป็นพระมหาเถระที่อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่ยึดติด ไม่ฝักใฝ่ ในตำแหน่ง หรือยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น คงมุ่งเน้นแต่แนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น วัตรปฏิบัติของท่านเน้น ปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ถือภาวนาพุธโธเป็นหลัก หลีกเร้นความวุ่นวาย จะเห็นได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง วัดต้นสังกัดของท่าน ทั้งๆที่ท่าน มีความอาวุโส และความพร้อมในทุกด้าน แต่แล้วท่านกลับเลือกที่จะย้ายขึ้นมาอยู่ที่ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นแทน ถ้าจะเปรียบเทียบความสะดวกสบาย ของสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ในสมัยก่อนนั้นย่อมสู้ที่วัดศรีแดนเมืองไม่ได้แน่นอน จุดประสงค์ในการเผยแพร่เถระประวัติในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบูชาคุณ หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ พระมหาเถระที่มีอายุกาลพรรษาสูงที่สุดในดินแดนล้านนาในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเผยแพร่บารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ไม่ให้หายสาบสูญ และให้คงอยู่บนดินแดนล้านนาสืบไป
    สวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้

    ราคา 999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900


    Clip_52.jpg Clip_53.jpg Clip_73.jpg Clip_74.jpg Clip_75.jpg

    เถระประวัติ
    หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ มีนามเดิมว่า ตั๋น นามสกุล คำมูล โยมบิดาชื่อ พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น คำมูล โยมมารดาชื่อ แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๗ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๗๖ ปี ขาล (เสือ) ไทภาษาว่าปี กัดเป้า ณ.หมู่บ้านแสนคำ หมูที่ ๑๐ ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอสันป่าตอง ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่วาง ) จังหวัดชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำนวน ๖ คน
    ๑. แม่อุ้ยมูล คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๒. แม่อุ้ยมา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๓. พ่ออุ้ยคำ คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๔. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ( เจ้าของเถระประวัติ )
    ๕. พ่ออุ้ยทา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ๖. พ่ออุ้ยทอง คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
    ปัจจุบันบรรดาพี่น้องทั้งหมดของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วทุกท่าน
    ฝากตัวเป็นเด็กวัด
    พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเป็นคนขยัน หมั่นแพ่วถาง ครอบครัวของท่านจึงมีที่ดินที่นาทำกินเป็นจำนวนมาก และถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย เป็นอันดับ หนึ่งของ ตำบลทุ่งปี๊ ท่านมีอาชีพเกษตรกรรม ดำเนินชีวิตด้วยการทำไร่ ทำนา เลี้ยงบุตร ธิดาตามประสาชาวบ้านทั่วไป เมื่อครั้งยังเยาว์วัยนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ใช้ชีวิตเหมือน เด็กชาวบ้านทั่วไป ช่วยบิดาทำไร่ ทำนา พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น โยมบิดา ท่านชอบทำบุญเข้าวัด ทุกคราวที่ไปวัดท่านก็จะพา เด็กชาย ตั๋น คำมูล ติดตามไปด้วยทำให้ เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีจิตใจฝักใฝ่ในทางบุญ บวกกับ บุญวาสนาที่ได้เคยสั่งสมมาแต่เมื่อชาติที่แล้วทำให้ สนใจศึกษาหลักธรรม คำสอน เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงขอลาบิดา มารดา เข้ามาฝากตัว เป็นศิษย์วัดที่ วัดมะกับตองหลวง สมัยนั้น ท่านครูบาปัญญา เป็นเจ้าอาวาส วัดมะกับตองหลวง เด็กชาย ตั๋น คำมูลก็ได้คอยศึกษาเล่าเรียน ปัดกวาดเช็ดถู มิได้ขาด เมื่อ เป็นศิษย์ วัดมะกับตองหลวงได้ ประมาณปีเศษ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ไปเที่ยวเล่นที่วัดศรีแดนเมือง เพื่อนเด็กวัดรุ่นเดียวกัน ก็เลยชักชวนเด็กชายตั๋น คำมูลมาเป็นศิษย์วัด ที่วัดศรีแดนเมือง ตำบล ยางคราม อำเภอ จอมทอง ( ปัจจุบันอยู่ อำเภอดอยหล่อ ) จังหวัดเชียงใหม่ สมัยนั้น พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นเจ้าอาวาส เด็กชาย ตั๋น คำมูล ก็ลาเจ้าอาวาสวัดมะกับตองหลวงมา อยู่ที่วัดศรีแดนเมือง ตอนนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล อายุได้ ๑๓ ปี ฝากตัวเป็นศิษย์วัด กับพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ท่านพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ได้อบรมสั่งสอน เด็กวัดทั้งหลายให้มีระเบียบวินัย เด็กชาย ตั๋น คำมูล คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยความอ่อนน้อมเชื่อฟัง จึงเป็นที่รักของ พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ประกอบกับอุปนิสัยของ เด็กชายตั๋น คำมูล นั้นมีความอดทน อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เผื่อแผ่แก่เพื่อนฝูงเด็กวัดด้วยกัน และ ชอบหาความสงบ อยู่ลำพังเพียงผู้เดียว เป็นเด็กที่ซื่อตรงต่อหน้าที่ และ ก็ยังได้เรียนอักขระพื้นเมืองไทยล้านนาไปด้วย แต่ก็เรียนไปด้วยความยากลำบากยิ่งเพราะ ความจำไม่ค่อยดี ก็เลยเป็นที่ล้อเรียนของเพื่อนเด็กวัดด้วยกัน แต่เด็ก ชายตั๋น คำมูล ก็มีจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น อาศัยจิตตั้งมั่นนี้ ในการจดจำร่ำเรียน และยังติดตามพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ไปจาริกธุดงค์ เหนือจดใต้ ไปบูรณะวิหาร และก่อสร้างมณฑปยังวัดจอมแจ้ง อำเภอ แม่วาง ( สมัยนั้นยังไม่เป็นวัด )ร่วมกับครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ( ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ อาจาร์สอนกัมมัฏฐานหลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเดินธุดงค์มาจาก บ้านป่าเหียง กองงาม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นพระกัมมัฏฐานสายป่าซางล้านนาขนานแท้ ยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิไชยนักบุญแห่งล้านนา พระคณาจารย์ที่ถือปฎิบัติสายนี้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมีดังนี้ ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง , ครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า , หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นต้น ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ –๒๔๘๔ ท่านเป็นพระที่เคร่งในศีลในธรรมเน้นปฏิบัติ ทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน อย่างเด็ดเดี่ยว ) เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติรับใช้ท่านพระ คุณเจ้าทั้งสอง มิได้ขาด และ ยังคอยศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมอยู่ตลอด เวลา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้เห็นความขยันหมั่นเพียรความ อดทน มีมานะ ของ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ประกอบกับท่านก็ยังไม่มี ศิษย์คอย อุปัฏฐากรับใช้ ท่านจึงได้ขอเอาเด็กชาย ตั๋น คำมูล ที่ติดตามอุปัฏฐากมากับ พระอธิการสุพันธ์( จันทร์ ) สุวันโณ ให้อยู่กับท่านเสียที่ วัดจอมแจ้ง บ้านนาทราย อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงได้มาเป็นศิษย์คอยดูแลอุปัฏฐาก ถวายตัวรับใช้ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
    บรรพชาเป็นสามเณร
    พอล่วงมาถึงเวลาอันควรแล้วที่เด็กชาย ตั๋น คำมูล ควรแก่การบรรพชาบวชเป็นสามเณร พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ท่านก็ได้เดินทางไปหาท่าน ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ที่วัดจอมแจ้ง ( อำเภอแม่วาง) เพื่อเอาความนี้ไปปรึกษากับ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พระคุณเจ้าทั้งสองเมื่อปรึกษากันก็ได้เห็นว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้รับการศึกษาอักขระวิธี ท่องจำบท สวดมนต์ทำวัตร ท่องบทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน และบทสวดมนต์ ตำนานมงคลสูตร มหาสมัยสูตร สามารถอ่านเขียนอักขระล้านนา และภาษาไทยได้ จึงได้ปรึกษากันว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีภูมิความรู้พอที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ ในขณะนั้นเด็กชาย ตั๋นมีอายุได้ ๑๕ ปี การบวชสมัยนั้น ก็ทำกันง่ายๆ คือการบวชห่อหมาก ห่อพลูเท่านั้น มีภิกษุ ๕ รูปโดยมี พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวัน เสาร์ ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๑.๑๕ น. ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๙๑ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณร ตั๋น คำมูล ได้ศึกษาเล่าเรียนภูมิธรรมความรู้ทาง พระพุทธศาสนาวิปัสสนา กัมมัฏฐาน และ อักษรไทยล้านนา ที่สำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ( ปัจจุบันนี้เป็นสำนักสงฆ์ป่าน้ำฮู หมู่ที่ ๒ บ้านหนองเย็น ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ) ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านเป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ และ มีพระภิกษุอีก ๔ รูป ประกอบด้วย ๑. ท่านครูบาบุญตัน สุวัณโณ ( เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง)๒. ตุ๊ลุงอ้าย วัดโทกหัวหมา เขตจอมทอง ๓. ตุ๊ลุงมา เมืองฝาง ๔. พระปัญญาโม่ง วัดจอมแจ้ง สามเณรอีก ๔ รูป ๑. สามเณรตั๋น คำมูล ( ครูบาตั๋น ปัญโญ ) แม่อาวหน้อย ๒. สามเณรคำ จันทร์แดง ( พระครูขันตยาภรณ์ ) วัดดอยแก้วหนองเย็น ๓. สามเณรคำไฮ ลูกลุงเหมา บ้านปง ๔. สามเณรขาว ( น้อยขาวบ้านต้อ ) ลูกลุงมาเปี้ย ฆราวาสมี ๕ คน ๑. พ่อแก้ว จันทร์แดง ๒. พ่อน้อยกันทะ พรหมแสน ๓. พ่อลุงเหมาบ้านปง ๔. พ่อแก่แก้ว บ้านปงสนุก ๕. พ่อลุงมาเปี้ย เจ้าหน้าที่โรงครัว ได้ศึกษาพระ กัมมัฏฐาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นเวลา ๓ พรรษา และร่วมจาริกธุดงค์แสวงบุญไปในเขตแดนต่างๆ กับท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ ท่านได้เห็นว่า สามเณรตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติตัวตามพระธรรมคำสอน ฝึกวิปัสสนาธรรม กัมมัฏฐาน ทั้ง สมถะ มีศีลหมดใส จึงสมควรแก่เวลาที่สามเณรตั๋น คำมูล จะออกจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วย น้อยพรหมมินทร์ บ้านหนองบอน น้อยกันทะ พรหมเสน บ้านหนองเย็น และ พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ วัดศรีแดนเมือง ได้นำพระภิกษุสามเณร จำนวน ๒๓ รูป รวมถึง สามเณรตั๋น คำมูล ร่วมเดินจาริกธุดงค์ ลัดเลาะป่าเขา ดอยสูง มีสัตว์น้อยใหญ่ แรด กวาง ฟาน กระทิง และช้าง เดินเลาะเข้าไปในป่า เพื่อไปศึกษาคัดลอก พระธรรมคัมภีร์ ครั้งนั้นเมื่อต้อง พักแรมกลางป่า สามเณรตั๋น คำมูล และ สามเณรอีกรูปได้นำ ถ้วย ชาม บาตร และช้อน ที่ฉันเสร็จไปล้าง และด้วยความที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามเณรตั๋นและ สามเณรอีกรูป ก็ได้นำช้อน เอามาลอยเป็นเรือเล่น พอครูบาเจ้า บุญเป็ง อภิวงศ์เห็นเข้าท่านก็ได้บอกให้สามเณรทั้งสองว่า ไม่ควรเล่น มันไม่ดี มันจะเกิดอาเภท สามเณรทั้งสอง ก็หยุดเล่น พอตอนพลบค่ำก็เป็นจริง ดั่งคำที่ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้กล่าว ตกดึกก็ได้ยินเสียงคำรามของเสือ ดังใกล้เข้ามาที่พักเรื่อย ๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้ให้สามเณรทุกรูปมาสวด บทสวดกะระณียะเมตตะสุตตัง ( บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ) พอสวดได้สักพักเสียงคำราม ของเสือก็เริ่มไกลออกไป จนไม่ได้ยิน แต่ไม่มีใครกล้าออกมา พอรุ่งเช้าก็ออกมาดู เห็นรอยเท้าเสือรอบๆบริเวณที่พักเต็มไปหมด หลังจากนั้นทั้งคณะก็เดินทางลัดเลาะ ป่าเขามาถึงวัดแม่อวม พระบาทเมืองกาง ล่องมาถึงวัดพระธาตุศรีจอมทอง เพื่อกราบนมัสการพระธาตุศรีจอม ทอง เมื่อกราบนมัสการเสร็จ แล้วจึงเดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูจนเวลาล่วงมาได้ ๑ พรรษา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วยพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ สามเณรตั๋น คำมูล พ่อหนาน ปัญญา ( เมื่อก่อนท่านเป็นพระภิกษุ ) ศิษย์วัดอีกหนึ่งคน ท่านเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ร่วมจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ เดินขึ้นเหนือ ผ่านเมืองเชียงใหม่ ค่ำที่ไหนก็นอนพักที่นั้น เดินทางผ่านแม่ริม แม่แตง แม่สา ป่ากล้วย แม่นะ ป่าบง แม่ก๊ะ เชียงดาว เดินผ่านดอยห้วยหนอง พักรอนแรมไปตามเทือกเขา ลำห้วย ลุถึงถ้ำตับเตา ก็ได้พักให้หายปวดเหมื่อย เมื่อหายปวดเหมื่อยแล้ว ก็เดินทางต่อผ่าน แม่ออน บ้านห้วยห้อม วัดแม่สุญหลวง วัดแม่แหลง กราบนมัสการครูบาเต๋จา แล้วธุดงค์ต่อไปบ้านอ่าย บ้านคาย บ้านแพะ บ้านสันป่าเหียง และเลยไปจนถึงพระธาตุสบฝาง ครูบาเจ้าวัดแม่แหลงท่านมีความศรัทธา จึง ได้ขอกราบอาราธนานิมนต์ให้ คณะครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ให้พำนักจำพรรษาพร้อมจัดหา คนคอยอุปัฏฐากรับใช้ ระหว่างที่พำนักอยู่ท่านได้ปฏิบัติธรรม และ อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และคณะอยู่ปฏิบัติธรรมที่ วัดแม่แหลงได้ประมาณเดือนเศษ พ่อแสนตาและศรัทธาญาติโยมบ้านท่าตอนได้มาฟังพระธรรมคำสอน ของท่านก็เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาจึงขอกราบอาราธนานิมนต์ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมกับคณะอยู่จำพรรษาอยู่บนดอยบ้านท่าตอน พร้อมด้วยคณะวัดแม่แหลงก็อยู่ร่วมจำพรรษาด้วย ระหว่างจำพรรษา สามเณรตั๋น คำมูล ก็ได้หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่มิได้ขาด พอเวลาล่วงมาถึงออกพรรษาแล้ว ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็เห็นว่าถึงเวลาอันควรแล้ว จึงขอลาศรัทธาญาติโยมชาวบ้านท่าตอน พาคณะเดินทางจาริกธุดงค์ต่อไปโดยอาศัยแพ ขึ้นเหนือจากท่าตอน พอค่ำที่ไหนก็นอนที่นั้นบางครั้งยังอาศัยหลับนอน บนแพ ที่ลอยยู่กลางแม่น้ำกก ล่องแพมาได้ ๒ วันก็มาถึงจังหวัดเชียงราย ขึ้นท่าน้ำเดินทางต่อ โดยทั้งคณะได้อาศัยรถยนต์ ไปอำเภอเชียงแสน
    ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้พาสามเณรและศิษย์ ไปกราบคาราวะ พระสถูปเจ้าองค์คำ และเลยต่อไปบ้าน แม่คาว วัดกอกอก บ้านสัน วัดแม่คำ ไปจนถึงบ้านป่ากว๋าว และ ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระบรมธาตุดอยตุง เดือนยี่ แรม ๑ ค่ำ คณะครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ เดินทางโดยอาศัยรถยนต์ เพื่อไปกราบนมัสการพระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยง เมืองพะเยา นอนพักที่นั้นหนึ่งคืน พอตอนเช้าจึงออกเดินทางต่อไป อำเภองาว จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน แล้วจึงได้ขึ้นรถไฟเดินทางผ่าน เมืองลำปาง ลำพูน กราบนมัสการพระธาตุหริภุญชัย แล้วเดินทางผ่านสารภี มาถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วยคณะ ก็เดินทางไปยัง วัดพระสิงห์วรวิหาร ซึ่งในขณะนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านเป็นประธาน( นั่งหนัก ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรวิหาร เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รู้ว่า ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมคณะเดินทางมายังวัดพระสิงห์วรวิหาร ครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้ให้ศิษย์วัดกราบอาราธนานิมนต์ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ให้พำนักอยู่ที่วัดพระสิงห์วรวิหาร ๑ คืน พอรุ่งเช้าครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านก็ได้นิมนต์ใส่บาตร ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ แล้ว พระคุณเจ้าทั้งสองพร้อมคณะ ก็ร่วมฉันเช้าเมื่อฉันเสร็จ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมทั้งคณะก็ได้ขอกราบลาครูบาเจ้าศรีวิชัย เดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูตามเดิม จากนั้นมา สามเณรตั๋น คำมูล อยู่อุปัฏฐากรับใช้ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ มาเป็นเวลา ๔ พรรษา ยังมีจิตใจเที่ยงมั่นในพระธรรมคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครองอยู่ในผ้าเหลือง อยู่ตลอด เวลา มีศีลหมดใส จนอายุครบอุปสมบท
    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
    เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณรตั๋น คำมูล ก็ได้มีจิตใจประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศึกษาค้นคว้าท่องบ่นจำพระวินัย ประพฤติเสขิยาวัตร จริยวัตร ความเป็นสามเณรเป็นอันดีงาม และเป็นที่รักใคร่ จนกระทั่งเจริญอายุครบ ๒๐ ปี ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ หลวงพ่ออ้ายอินทนนท์ ก็ได้จัดงานอุปสมบท ให้เมื่อวันที่ ๘ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พัทธสีมา วัดศรีแดนเมือง ได้รับฉายาว่า “ ปัญญาภิกขุ ” ( แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็น “ ปัญโญภิกขุ ” เนื่องจากสมัยก่อนท่านมักจะโดนล้อว่า ฉายาปัญญาภิกขุนั้น ไม่เหมาะกับท่าน เพราะท่านเป็นคนที่ ความจำไม่ค่อยดี ท่านเลยเปลี่ยนจาก ปัญญา มาเป็น ปัญโญ ) มีพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ( เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ) เป็นพระอุปัชฌา พระอุ้ย คัมภีโร ( วัดมะกับตองหลวง ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมา โพธิโก ( วัดศรีแดนเมือง ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชเป็น พระ ภิกษุขึ้นอยู่กับวัดศรีแดนเมือง หลังจากนั้นก็ได้คอยติดตามอุปัฏฐากรับใช้ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ไปเข้าปริวาสกรรมตามที่ต่างๆ และยังออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่ห้วยลึก ๑ พรรษา ห้วยน้ำขาว ๑ พรรษา ดงป่าเฝ่า ๑ พรรษา น้ำออกรู ๒ พรรษา และเนื่องจากปีนั้นได้เกิดไฟป่าเผาไหม้ มายังบนดอย ทางทิศตะวันตก ของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ประกอบกับมีลมแรงกระหน่ำ ได้พัดเอาลูกไฟก้อนมหึมานั้นลงมาใส่กุฏิของ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ทำให้กุฏิของท่านนั้นไฟไหม้วอด ไปทั้งหลัง ข้าวของในกุฏิ มีมากมายหลายชนิด มีทั้ง พระพุทธรูป และ ของใช้ต่างๆ ถูกไฟเผาไหม้ วอดวาย เสียหายทั้งหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย หลังจากนั้นท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้มุ่งหน้าออกเดินธุดงค์ไปยังวัดจอมแจ้ง และท่านได้อยู่จำพรรษาที่นั้น ๑ พรรษา โดยมี พระตั๋น ปัญโญ คอยอุปัฏฐากรับใช้เรื่อยมา หลังจากนั้น ไม่นาน ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ไ ด้เกิดอาพาส ท่านก็เลยออกธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าโป่ง ๑๗๓ หมู่ ๓ ตำบล บ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และ หลังจากท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าโป่ง ได้ไม่นาน ก็ได้มรณะภาพลง และเป็นที่น่าเศร้าใจยิ่งนักแก่บรรดาลูกศิษย์และญาติโยมทั้งหลาย สุดท้ายจึงได้ตามกันไปจัดงานพิธีฌาปนกิจ ถวายเพลิงท่านครูบาเสียตามประเพณี ณ สุสานแห่งนั้น ปัจจุบันนี้อัฐิของ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ได้บรรจุอยู่ที่ วัดดอยหยุด หมู่ ๒ ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ( สมัยก่อนดอยหยุด เป็นสำนักปฏิบัติธรรมอยู่ในเขตของวัดท่าโป่ง แต่ปัจจุบันนี้มีการแบ่ง แยกเขตจากเดิม สถานปฏิบัติธรรมดอยหยุด อยู่ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง โดยได้แยกออกมาเป็นเขตของอำเภอแม่วางในปัจจุบัน ) ส่วนสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ก็เลยไม่มีใครเป็นตัวตั้งตัวตีสืบทอดอยู่ต่อไป ภายหลังจากการจัดงานฌาปนกิจให้แก่ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ เรียบร้อยแล้ว พระตั๋น ปัญโญ จึงได้กลับมาจำพรรษา ยังวัดศรีแดนเมืองตามเดิม อันเป็นวัดประจำภูมิลำเนาของ ท่านตลอดมา และ ศรัทธาญาติโยม ก็ได้สร้างกุฏิไม้ถวายท่าน ท่านก็ได้อยู่จำพรรษา ที่ วัดศรีแดนเมืองตลอดมา ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่รักสงบ ท่านก็ไปปฏิบัติธรรมบนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นบ้าง ( สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น หรือที่ชาวบ้านท้องที่เรียกว่า วัดดอยปู่ต้นสมัยก่อน มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ท่าน ชื่อว่าครูบาวงศ์ ได้เดินธุดงค์มาจากทางเชียงใหม่ และได้มาพักปฏิบัติธรรมอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และ ท่านก็ได้มามรณะภาพลงที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น แห่งนี้ แสดงว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยมีพระสงฆ์อยู่ปฏิบัติธรรมมาก่อน เป็นระยะเวลาร่วม ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว ) หลังจากนั้นท่านพระอธิการสุพันธ์ ( จันทร์ ) สุวันโณ ท่านก็ได้ขึ้นมาบูรณะวิหาร สร้างศาลาปฏิบัติธรรม และ อยู่ปฏิบัติธรรม ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น เป็นครั้งเป็นคราว ส่วนพระตั๋น ปัณโญ อยู่จำพรรษาที่วัดศรีแดนเมือง ได้ไม่นาน ก็ได้ย้ายขึ้น มาอยู่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ศรัทธาญาติโยมก็ได้ช่วยกัน ลื้อกุฏิหลังเก่าของท่านที่วัดศรีแดนเมืองขึ้นมา สร้างถวายให้ท่านที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และมีสามเณรขึ้น มาอยู่กับท่านด้วยในครั้งนั้น และเมื่อสามเณรได้ลาสิกขาบทออกไป ศรัทธาญาติโยมได้เห็นว่าท่านไม่มีคนคอยอุปัฏฐากรับใช้ ศรัทธาญาติโยมจึงได้มานิมนต์ท่านให้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีแดนเมืองตามเดิม และเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ว่างลง ด้วยบุคลิกของท่านเป็นผู้ที่สมถะ ไม่ฝักใฝ่ ในลาภยศ หรือ ตำแหน่งใดๆ ท่านมีจิตแน่วแน่ไปในทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพียงอย่างเดียว ท่านจึงได้ย้ายขึ้นมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอีกครั้ง โดยไม่ยอมรับตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ในปีพ.ศ. ๒๕๑๐ และศรัทธาก็ได้ทำการลื้อกุฏิไม้หลังเดิม ขึ้นมาสร้างบนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอีกครั้ง และท่านก็ได้ทำการบูรณะวิหารหลังเดิม ในปีพ.ศ. ๒๕๒๑ เมื่อเวลาผ่านไปกุฏิไม้หลังเก่า เริ่มมีสภาพชำรุด ทรุดโทรม จึงมีศรัทธาญาติโยมนำโดย คุณ เจนจิตร ดาวเจริญ และ คณะรับเป็นเจ้าภาพจัดสร้างกุฏิหลังใหม่ให้ท่าน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ และ ในปีที่ พ.ศ. ๒๕๔๗ หลวงปู่ครูบาตั๋น กับ ศรัทธาญาติโยม ก็ได้ทำการลื้อศาลาการเปรียญ และสร้างขึ้นมาใหม่ในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อเอาไว้ใช้ปฏิบัติศาสนากิจ บำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม และจัดงานต่างๆใน วันสำคัญ ตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปี หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ท่านได้อยู่จำพรรษา และ ปฏิบัติธรรม อยู่บนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และ คอยอบรมสั่งสอนศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญกับท่าน ตลอดมาจวบจนทุกวันนี้
    วัตรปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู
    เวลา ๐๔.๐๐ น. ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ จะตีระฆังเงี่ยง ตุ๊ลุงตัน สุวัณโณ จะตีกรก ( ตีเกราะ ) ตุ๊ลุงมา ตุ๊ลุงอ้ายและลุงมาเปี้ย ก็ตีเกราะเหมือนกัน สำหรับสามเณรน้อยทั้ง ๔ รูป ก็ตีเกราะด้วยเช่นกัน แล้วจึงออกไปชำระร่างกายตนเอง ที่ตีเกราะกันนั้นเพื่อที่จะให้บุคคลในที่นั้นๆ ตื่นขึ้น เฉพาะที่พักของเณรก็มีเกราะอยู่ใบหนึ่งสำหรับตีกัน แต่พวกเณรมี ๔ รูป ต้องเปลี่ยนกันตีเกราะคนละวันเวียนกันไป ทำกันอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษา เสร็จแล้วทั้งพระและ เณร ก็พากันไปสวดมนต์ที่กุฏิของ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์พร้อมกัน สวดมนต์เสร็จแล้ว ต้องลงไปนั่งที่โคนต้นไม้คนละต้น เพื่ออธิฐานรุกขมูลลิกังคะธุดงค์ หากเป็นวันพระวันศีล ท่านครูบาจะให้ขึ้นทำวัตรเอกา ( ฉันมื้อเดียว ) เพิ่มเติม และ วัตรเนสัชชิกังคะ ให้ถืออิริยาบถ ๓ มี นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น วันนั้น ห้ามนอนไปจนกว่าจะถึง ๒๔.๐๐ น. จาก นั้นจึงนอนได้ แต่ละวันนั้นเมื่อตื่นมาแล้ว ก็ต้องปฏิบัติกิจประจำวัน ตอนเช้าหลังออกจากรุกขมูล ก็ให้ไปช่วยทำอาหารซึ่งมีลุงมาเปี้ยเป็นหัวหน้า เสร็จแล้วเตรียมใส่บาตร แล้วจึงฉันภัตตาหารได้ การฉันก็ฉันแบบเอกา คือฉันหนเดียวทั้งพระทั้งเณร ฉันเสร็จแล้วสวดบท ทายะ-กานัง อนุโมทามิ ฯ จากนั้นก็พักผ่อนตามอัธยาศัยได้ บางวันมีมะพร้าวอ่อน กล้วยสุก และผลไม้ อื่นๆ ที่โยมนำมาถวาย ท่านครูบาจะให้ปลงวัตรเอกาแล้วมาฉันได้อีก ข้อนี้ไม่บังคับ หรือ หากวันใด มีการขุดดิน ขนดิน ตัดฟืน ปลูกผัก หรือมีงานหนักๆ ท่านครูบาจะให้ปลงเอกาด้วย ตอนเย็นประมาณบ่าย ๓ โมง จะพากันไปหาผักต่างๆ จากลำห้วยหรือในป่ามาไว้ทำอาหารพรุ่งนี้เช้า เวลา ๑๗.๓๐ น. สรงน้ำเสร็จแล้วไปนั่งโคนต้นไม้เจริญกัมมัฏฐานภาวนา เวลา ๑๙.๐๐ น. ท่านครูบาจะตีระฆังเงี่ยงและเกราะจากนั้นก็จะไปรวมกันสวดมนต์ที่ กุฏิของท่านครูบา เสร็จแล้วท่านครูบาก็จะ ให้โอวาทแล้วก็เลิก เวลา ๒๑.๐๐ น. ไปไหว้พระที่กุฏิของท่านครูบาพร้อมกัน แล้วกลับไปพักผ่อนหลับนอน วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ นี่เป็นระเบียบข้อวัตรปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูใน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  10. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10264

    เหรียญรุ่นแรกครูบาดวงดีวัดท่าจำปี บล็อกจ จุดนิยม ปี 2507 สวยเดิมๆ

    หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท หรือ ท่านเจ้าคุณพระมงคลวิสุต ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์พระเถระชื่อนามมงคล ผู้มีอายุพรรษาสูงอีกองค์ของประเทศไทยที่ลือชาลือลั่น ท่านเป็นพระที่มีจิตเย็นที่สุดในเชียงใหม่ ชาวล้านนาในอดีตต่างเลื่อมใสศรัทธาต่อท่านเป็นที่สุด ท่านเป็นพระอริยสงฆ์ที่มีอายุพรรษามากที่สุด ถึงพร้อมด้วยจิตที่วิสุทธิเป็นจิตธรรมธาตุแห่งพระอริยะอรหันต์ครเกิดเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2449 อุปสมบทเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2466 มรณภาพ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สิริรวมอายุ 104 ปี พรรษา 83 ศิษย์สายครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยมื่อครั้งเยาว์วัยได้ติดตามบิดามารดาไปทำบุญกับครูบาศรีวิชัย ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย ครูบาศริวิชัยมีเมตตาบอกให้พ่อแม่พาเข้าบวช จึงได้พาไปฝากเป็นศิษย์วัดอยู่กับครูบาโปธิมา เจ้าอาวาสวัดท่าจำปี เคยปรนนิบัติ และรับการอบรมสั่งสอนจากครูบาศริวิชัย ขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร และวัดสวนดอก ในเมืองเชียงใหม่ เจริญรอยตามครูบาศรีวิชัยด้วยการสร้างวัดวาอารามหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างวิหารวัดท่าจำปี และดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และเจ้าคณะตำบลทุ่งสะโตก สมณศักดิ์ที่ได้รับ พ.ศ. 2518 เป็นพระครูชั้นประทวน พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ราชทินนามที่พระครูสุภัทรสีลคุณ พ.ศ. 2540 ได้เลื่อนเป็นชั้นเอกราชทินนามเดิม และ พ.ศ. 2550 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่พระมงคลวิสุต
    ท่านเป็นผู้สำเร็จวิชาการสร้างกุมารทอง ซึ่งเป็นต้นแบบกุมารทองล้านนา ไทย
    เหรียญยอดนิยมของท่านหลวงปู่ครูบาดวงดี ครับ
    สวยแบบนี้หายากมากๆครับ

    ราคา 9999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    Clip_77.jpg Clip_78.jpg Clip_76.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  11. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10265

    ล็อกเก็ตจัมโบ้ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูลรุ่นแรก ตะกรุด เงิน นาค ทองคำ หมายเลข 96 องค์นี้ติดเส้นเกศาเยอะมากครับ

    ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่
    ผู้สืบทอดปฎิปทาบูรพาจารย์ ครูบาน้อย เตชปญโญ วัดศรีดอนมูล เป็นทายาทพุทธาคมของ ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล, ครูบาพรหมจักรสังวร วัดพระพุทธบาทตากผ้า, ครูบางวงศ์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม, ครูบาคำปัน วัดหม้อคำตวง และครูบาหล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึง ได้ยึดแนวปฏิบัติธรรมตามแบบฉบับของบูรพาจารย์โดยเฉพาะมีความศรัทธาที่จะเจริญรอยตามครูบาศรีวิชัย พระอริยสงฆ์แห่งล้านนาไทย
    ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล บำเพ็ญบารมีเข้านิโรธกรรมทุกปี โดยปลีกวิเวกปฏิบัติธรรม ไม่ฉันอาหาร ไม่จำวัด เป็นเวลา ๙ วัน ๙ คืน ตั้งแต่วันที่ ๑๑-๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๓ ทั้งนี้ครูบาน้อย ท่านได้เข้านิโรธกรรม เป็นปีที่ ๗ เมื่อออกจากนิโรธกรรมแล้ว บรรดาพุทธศาสนิกชนจะร่วมทำบุญตักบาตรถวายทานถือว่าเป็นสิริมงคลอันยิ่งใหญ่ มีอานิสงส์ประดุจได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าในครั้งพุทธกาล ย่อมดลบันดาลให้เกิดบุญกุศลมหาศาลถึงพร้อมด้วยมนุษยสมบัติ สวรรค์สมบัติและนิพพานสมบัติ
    สวยเดิมๆครับ

    ราคา 2999 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

    คุณ j999จองแล้วครับ

    Clip_46.jpg Clip_47.jpg Clip_48.jpg

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  12. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10266

    พระผงสมเด็จวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ ปี 2516พิมพ์มารวิชัย


    พระสวยๆแบบนี้หายากคับ จัดสร้างพร้อมกับพระผงรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย หลังสิงห์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวัดพระสิงห์ โดยเข้าพิธีพุทธาภิเษก พร้อมกับพิธีพระสมเด็จ 100 ปี วัดระฆัง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2515 ที่วัดระฆังโฆสิตาราม และนำกลับมาทำพิธีพุทธาภิเษก ในวันที่ 12 เมษายน 2516 ณ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่ โดยมีสุดยอดพระเกจิอาจารย์ในยุคนั้น เป็นพระดี ปีลึก พิธีใหญ่ ที่ควรค่าแกการบูชา ดั่งคำท่านว่าห้อยบูชาสมเด็จวัดพระสิงห์ปี 2516 เหมือนได้ห้อยสมเด็จ 100 ปี วัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งราคาไปไกลมากแล้ว ใช้สมเด็จรุ่นนี้แทนได้อย่างสบายใจครับ


    ปิดรายการนี้ครับ

    Clip_67.jpg Clip_68.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กรกฎาคม 2022
  13. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10267

    เหรียญ ชัยยะมังคะลัง ( ชัยมงคล ) หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง เนื้อผิวไฟเดิมๆ


    สร้างเมื่อปี 2537

    พระคาถาด้านหลัง ซึ่งเขียนเป็นภาษาล้านนา อ่านว่า... เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหนตุเต ชยมังคลัง... ซึ่งตัดตอนมาจากพระคาถาพระเจ้าชนะมาร... และยันต์พระเจ้าห้าพระองค์

    เหรียญปรัสบการ์ยอดนิยมของหลวงปู่ครูบาอิน อีกรุ่น น่าบูชามาก

    ราคา599 บาท สนใจสอบถามได้ครับ ครับ 0861936900

    Clip_54.jpg Clip_55.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  14. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10268
    เหรียญครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง หลังสิงห์ เนื้อฝาบาตร สวยๆ


    เหรียญดีที่น่าสะสมอีกรุ่นหนึ่ง เหรียญรุ่น ๑๙ “รุ่น หลังสิงห์ (เปิดกิ่ง อ.ดอยหล่อ)” พ.ศ. ๒๕๓๙ พิเศษมีเกศาจีวรครับ หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง กิ่งอำเภอดอยหล่อ แยกตัวออกจากเขตการปกครองของอำเภอจอมทอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ปีเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ในช่วงแรก หน่วยราชการจึงได้ใช้อาคารศูนย์สภาตำบลดอยหล่อ บริเวณสถานีอนามัยดอยหล่อเป็นที่ว่าการกิ่งอำเภอดอยหล่อชั่วคราว ระหว่างที่ก่อสร้างที่ทำการอำเภอดอยหล่อ ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๙ ได้ย้ายไปอยู่ที่อาคารที่ว่าการอำเภอดอยหล่อในปัจจุบัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในวาระเปิดที่ว่าการกิ่งอำเภอดอยหล่อ และเพื่อจัดหาทุนในการทำพิธีเปิดที่ว่าการกิ่งอำเภอดอยหล่อ ซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องใช้อำนวยความสะดวก แก่ประชาชนผู้มาติดต่อราชการ และก่อสร้างสิ่งสาธารณะประโยชน์ บริเวณศูนย์ราชการกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ท่านนายอำเภอบูรพา มหาบุญญานนท์ (ครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้ากิ่งอำเภอดอยหล่อ) พร้อมทั้งข้าราชการในสังกัด จึงได้กราบขออนุญาตหลวงปู่ครูบาอิน จัดสร้างเหรียญที่ระลึกเปิดที่ว่าการอำเภอ (สร้างพร้อมรูปหล่อลอยองค์) จัดพิธีพุทธาภิเษกในอุโบสถวัดฟ้าหลั่ง ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๓๙ เวลา ๑๙.๑๙ น. ท่านวีรชัย แนวบุญเนียม ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในพิธี หลวงปู่ครูบาอิน อินฺโท เป็นประธานจุดเทียนชัย พระคณะจารย์ล้านนา ๔ รูป ปลุกเสกสี่ทิศ (หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี) แล้วได้มอบให้ทางอำเภอเป็นผู้ดำเนินการแจกและเปิดให้บูชาทั้งหมด จำนวนการสร้าง: เนื้อทองคำ ๑๙ เหรียญ, เนื้อเงิน ๑๐๙ เหรียญ, เนื้อทองจังโก๋ ๗,๙๙๙ เหรียญ ลักษณะเหรียญ: เป็นเหรียญรูปไข่ ไม่มีห่วง ด้านหน้า แกะเป็นรูปหลวงปู่ครูบาอิน ครึ่งองค์ ด้านบน เขียนยันต์ประจำองค์ของครูบาอิน อ่านได้ว่า “อะกะจะยัททะปะทัสสะ” ด้านล่าง มีข้อความ “ครูบาอิน” ด้านซ้ายมือ มีข้อความว่า “พระครูวรวุฒิคุณ” ด้านขวามือมีข้อความว่า “วัดฟ้าหลั่ง” ด้านหลัง เป็นรูปสิงห์ตามสัญลักษณ์ของกระทรวงมหาดไทย ด้านบนมีข้อความว่า “ที่ระลึกเปิดที่ว่าการกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่” ด้านล่างมีปีสร้าง “๒๕๓๙” หมายเหตุ: เหรียญรุ่นนี้สร้างพร้อมรูปหล่อลอยองค์ฐานอุดเทียนชัยและเกศา เนื้อเงิน ๓๙๙ องค์, เนื้อนวะโลหะ ๗๙๙ องค์ และเนื้อทองแดงรมดำ ๗๙๙ องค์
    สวยเดิมน่าใช้มากครับ


    ราคา599 บาท สนใจสอบถามได้ครับ ครับ 0861936900

    Clip_56.jpg Clip_57.jpg Clip_79.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  15. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,971
    ค่าพลัง:
    +5,386
    ขอจองครับ
     
  16. j999

    j999 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    4,971
    ค่าพลัง:
    +5,386
    ขอจองครับ
     
  17. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รับทราบการจองครับ ขอบพระคุณครับพี่
     
  18. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10269

    ตะกรุดพญายันต์ดาบสรีกัญชัยครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ตอกโค๊ตเม็ดงา พร้อมบัตรรับรองจากสมาคม

    สมญานามอาวุธพระโพธิสัตว์ ตะกรุดยันต์ดาบสรรากัญชัย พญายันต์แห่งล้านนา ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง จ.ลำพูน
    เรื่องราวความเป็นมาของ "ยันต์ดาบสหลีกัญชัย" จากบันทึกของ "คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก" ในหนังสือ "อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว)" ยันต์ดาบสหลีกัญชัย ที่หลวงปู่ครูบาขันแก้ว ได้ใช้ลงเป็นตะกรุดนั้น มีความเป็นมาดังนี้...
    ในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย(ครูบาศีลธรรม) ได้ไปเข้านิโรธสมาบัติที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งอยู่ที่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ครูบาศรีวิชัยไปได้ตำรามาจากถ้ำเทวดา ซึ่งเป็นถ้ำเล็กๆ อยู่ภายในถ้ำเชียงดาวเป็นสูตรยันต์ที่ใช้ลง "มีดพระขรรค์ไชยศรีของพ่อขุนผาเมืองและลงดาบสหลีกัญชัย" ครูบาศรีวิชัยมิได้ "ตัวพระขรรค์ไชยศรีหรือดาบสหลีกัญชัย" มาแต่ได้ตำรายันต์ที่ใช้ลงดาบหรือพระขรรค์มา และก็ได้เกิดร่ำลือกันว่าท่านไปได้ดาบวิเศษสหลีกัญชัยมา ซึ่งเป็นของวิเศษคู่บ้านคู่เมืองและไม่ได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามราชประเพณี จึงเป็นอีกข้อหาหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยถูกอธิกรณ์ฟ้องจากคณะสงฆ์ของจังหวัดลำพูน
    ต่อมา.., ท่านได้ให้ตำรายันต์นี้ไว้กับ "หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย" โดยที่ครูบาศรีวิชัยและครูบาชุ่มก็มิได้สร้างทั้งตะกรุดและดาบสหลีกัญชัยไว้ เหตุที่ยันต์ดาบสหลีกัญชัยมาตกอยู่ที่ภาคเหนือ ก็เพราะพ่อขุนผาเมืองได้มอบตำราและพระเวทย์ที่ใช้กับพระขรรค์ไชยศรีให้ไว้กับพ่อขุนเม็งราย ซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน จึงได้ตกมาอยู่ที่เมืองเหนือ จนถึงสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เดินธุดงค์ไปที่ถ้ำเชียงดาว ซึ่งใครเป็นผู้นำมาเก็บซ่อนก็ไม่อาจจะรู้ได้ และในภายหลังครูบาศรีวิชัย จึงได้มอบยันต์ที่ใช้ลงดาบสหลีกัญชัยและพระเวทย์ที่ใช้กำกับดาบสหลีกัญชัยไว้กับหลวงปู่ครูบาชุ่มวัดวังมุยและหลวงปู่ครูบาชุ่มก็ได้มอบ "ตำรายันต์ลงดาบสหลีกัญชัย , พระเวทย์ที่เสกดาบ , ตำราทำตะกรุดลูกหนังควายเผือกตายในท้องแม่ และตำราลงยันต์นากคอคำ ๓ ชุด" ให้กับหลวงปู่ขันแก้วสหายรับไว้ โดยบอกว่า... ""เป็นหน้าที่ของเปิ้น(ของหลวงปู่ขันแก้ว) ที่จะต้องทำตะกรุดและดาบสหลีกัญชัยและมีดพระขรรค์สหลีกัญชัย"" ในระยะปีแรก หลวงปู่ขันแก้วจะลงเฉพาะในแผ่นตะกรุดเท่านั้น
    ส่วนมีดดาบและพระขรรค์ ท่านได้ทำในภายหลังประมาณปี พ.ศ.๒๕๒๓ ในวันเสาร์ ๕ ที่ ๒ เมษายน ๒๕๒๖ หลวงปู่ครูบาขันแก้วได้กล่าวถึงยันต์ดาบสหรีกัญชัยไว้ว่า... ""ยันต์ดาบสหลีกัญชัยนี้เป็นพญายันต์"" และห้ามนำไปใช้ในทางที่ผิด หรือนำไปยัดใส่ไว้ในตะกรุดอื่นๆ (คือมีผู้จะเอาไปใส่ไว้ในตะกรุดลูกหนังควายเผือก) ""ยันต์ดาบสหลีกัญชัย"" มีอำนาจให้คนเกรงกลัว เกรงขาม มีทั้งความคงกระพัน แคล้วคลาด กันพวกข่าม คุณไสยต่างๆ มีอยู่กับตัวหรือเก็บไว้ในบ้านเรือนก็เป็นสิริมงคลด้วย พุทธคุณแห่งยันต์ดาบสรีกัญชัยด้ามแก้ว นี้เป็นของสูงค่าประมาณมิได้ ท่านว่าถ้าลงไว้ที่ดาบหรือพระขรรค์จักเป็นตัวแทนแห่ง ""อาวุธของพระพุทธเจ้า"" จะเข้ารบสงครามใดก็จะชนะไม่ว่าผู้นั้นจะมีคาถาอาคมที่หนังเหนียวสักเพียงใด ก็ง่ายเหมือนฟันหยวกกล้วยอ่อน ผู้ที่มีอำนาจจิตที่สูง(กับคาถาบางบท) สามารถทำการประหารศัตรูที่อยู่ห่างไกลสักเพียงใดก็ตาม ก็ตายได้ในพริบตา ประหนึ่งเหมือนอยู่ตรงหน้า และผู้ใดได้ครอบครองพระยันต์หรือตะกรุดลูกนี้และทำการบูชาด้วยความเคารพนอบน้อมขึ้นชื่อว่าเป็นผู้บุญหนักศักดิ์ใหญ่ ผู้ที่บูชาพระยันต์ดาบสรีกัญชัยนี้ทุกวันแล้วไซร้จักทำให้ครอบครัวเป็นสุข ภูตผีใดไม่กล้ากล้ำกลาย เดินทางไปไหนผู้คนเคารพยำเกรง คนที่คิดร้ายแก่เราจักแพ้ภัยตนเอง เป็นสง่าราศีแก่คนทั้งหลาย เป็นที่รักและเคารพทั้งมนุษย์และเทวดา ทำการใดๆ จะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ป้องกันคุณไสย คุณผี คุณคนทั้ง 1000 ภาษา อยู่ที่ใดจักจำเริญที่นั่น ที่ใดตกต้องอาถรรพ์ก็ให้ทำน้ำพระพุทธมนต์รดที่นั้น อาถรรพ์ต่างๆ ก็มลายหายสิ้นไป...
    "" ยันต์ดาบสหลีกัญชัยด้ามแก้วนี้พุทธคุณเป็นประจักมีมานานสืบทอดมาแต่โบราณอานุภาพมากใช้ได้ 1000 ช่องสุดแล้วแต่จะอธิษฐานใช้ ""
    : ขอบคุณเครดิตข้อมูล : "ยันต์ดาบสหรีกัญชัย" จากบันทึกของ "คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก" ในหนังสือ "อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระครูอุดมขันติธรรม(ครูบาขันแก้ว)" ร้านพี่กาน อักษรธรรม ณ ที่นี้ด้วยครับ

    ราคา 55000 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900


    Clip_47.jpg ตะกรุดยันต์ดาบสะหลีกัญไชย ครูบาขันแก้ว 2 a.jpg Clip_48.jpg ตะกรุดยันต์ดาบสะหลีกัญไชย ครูบาขันแก้ว 2 c.jpg ตะกรุดยันต์ดาบสะหลีกัญไชย ครูบาขันแก้ว 2 b.jpg ตะกรุดยันต์ดาบสะหลีกัญไชย ครูบาขันแก้ว 2 g.jpg ตะกรุดยันต์ดาบสะหลีกัญไชย ครูบาขันแก้ว 2 f.jpg ตะกรุดยันต์ดาบสะหลีกัญไชย ครูบาขันแก้ว 2 e.jpg ตะกรุดยันต์ดาบสะหลีกัญไชย ครูบาขันแก้ว 2 d.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  19. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10270

    พระสังกัจจายณ์มหาโชคลาภ ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ เนื้อโลหะผสม อุดแผ่นยันต์ขนาด5นิ้ว

    พระมงคลวิสุต หลวงปู่ครูบาดวงดี สุภทฺโท วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่ครูบาดวงดี พระผู้มีอายุ และพรรษามากที่สุดในเมืองล้านนา หลวงปู่เป็นที่นับถือจากสาธุชนทั่วทั้งประเทศ ท่านบวชเป็นสามเณรอยู่กับครูบาเจ้าศรีวิไชย ตั้งแต่อายุ 13 ปี จนถึงครูบาเจ้าฯ มรณภาพ หลวงปู่ได้ สร้างอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิธาติของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยทั้งที่วัดสวนดอกและวัดหมื่นสาร ปัจจุบันหลวงปู่ครูบาดวงดีมรณภาพแล้ว อายุ 104ปี (มรณภาพแล้วเมื่อ ๖ ก.พ. ๒๕๕๓)
    ครูบาเจ้าดวงดี พระครูสุภัทรสีลคุณ ฉายาสุภัทโท อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าจำปี อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ท่านเป็นลูกศิษย์รุ่นสุดท้าย ที่รับใช้ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิไชย
    ครูบาดวงดี พระเกจิอาคมขลัง ศิษย์เอกครูบาศรีวิชัยรูปสุดท้าย วัดท่าจำปี จ.เชียงใหม่ รุ่นสุดท้าย ท้ายสุด เป็นที่รักใคร่ และ ศรัทธา ของชาวเชียงใหม่ ใครได้ไปพบปะ พูดคุยด้วยแล้ว ต้องยอมรับว่า หลวงปู่มนุษย์สัมพันธ์เยี่ยม และคนที่มีวัตถุมงคลของหลวงปู่ติดตัว แล้ว อธิษฐาน ดี ดี มักจะดวงดีเสมอ บูชาเป็นเคล็ด ทำอะไร จะได้คล่อง ไม่ติดขัด
    ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่ พระเถระลูกศิษย์ครูบาศรีวิชัย และครูบาขาวปี เป็นพระที่มีอายุยืนยาวถึง 104ปี มรณภาพเมื่อต้นปี 2553 สำหรับพระเครื่องของท่านมีประสบการณ์กล่าวขานกันมาก เรื่องโชคลาภ เมตตา ชื่อของหลวงปู่เป็นมงคล จึงทำให้มีผู้นิยมนำพระของท่านบูชา จัดสร้างพร้อมกับกุมารทอง นางกวัก สุดยอดชุดเมตตามหานิยม
    พระสังกัจจายน์เป็นสาวกที่มีความสง่าแทบจะเสมอองค์พระพุทธเจ้า ท่านเลยเกรงจะไม่เหมาะ เลยอธิฐานให้อ้วนลงพุงอย่างที่เห็น นอกจากนั้นท่านยังเป็นพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้า กล่าวชมในเรื่องต่างๆ อีกมากมาย คนจึงนิยมสร้างรูปท่านบูชา ซึ่งมีสร้างมาตั้งแต่โบราณ เชื่อว่าจะทำให้เจริญรุ่งเรือง โชคดีเหมือนชื่อของหลวงปู่
    พระสังกัจจายน์ วัตถุมงคล พลังศักดิ์สิทธิ์ พุทธคุณมหาอำนาจ แคล้วคลาดปลอดภัย สภาพสวยมาก หายากสุดๆ ใครปรารถนาโชคลาภและเงินทองจะไม่มีผิดหวัง เดิมๆ สร้างไม่มาก พุทธคุณด้านโภคทรัพย์
    พระสังกัจจายน์เป็นพระที่บูชาแล้ว 1 เหมือนได้ 3 เพราะเด่นพุทธคุณ 3 อย่างด้วยกัน คือ เมตตามหานิยม โชคลาภสักการะ สุขภาพโรคภัยไม่เบียดเบียน เพราะพระสังกัจจายน์ หรือพระมหากัจจายนะเจ้า
    พุทธคุณโดดเด่นทางโชคลาภ ค้าขาย เมตตา น่าบูชามากๆพระสังกัจจายน์องค์นี้ สวยงามมาก น่าบูชามากครับ

    ราคา 3850 บาท สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900


    Clip_46.jpg Clip_47.jpg Clip_48.jpg Clip_79.jpg Clip_76.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 มิถุนายน 2022
  20. ศิวิไล

    ศิวิไล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    16,172
    ค่าพลัง:
    +1,341
    รายการที่ 10271

    พระรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัยรุ่นอัฐิหลังย่น เนื้อดำ ก้นอุด หลังจาร

    หรือที่เรียกกันทั่วๆ ไปว่า พระครูบาหลังย่น เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาผสมเถ้าอัฐิครูบาเจ้าฯ อัฐิ ในที่นี้น่าจะหมายถึงขี้เถ้ามากกว่าส่วนที่เป็นกระดูก คนล้านนาเรียกว่า เถ้าเฝ่าหรือดินเฝ่า เถ้าเฝ่าหรืออัฐิที่ใช้เป็นมวลสารสร้างพระเครื่องรุ่นนี้ได้จากบริเวณที่ตั้งเมรุชั่วคราวในงานพระราชทานเพลิงศพครูบาเจ้าศรีวิชัยนักบุญแห่งล้านนา ณ วัดจามเทวี ลำพูน เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ ผสมกับเศษพระสกุลลำพูนป่นและมวลสารอื่นๆ
    องค์นี้เนื้อดำ ก้นอุดเทียนชัยเเส้น เกศา หลังจาร เป็นภาษาล้านนาว่าเกศาครูบาศรีวิชัย สวยคมชัด หายากมากๆ

    บูชาแล้วครับ

    เปิดดูไฟล์ 5963606 เปิดดูไฟล์ 5963607 เปิดดูไฟล์ 5963608
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2022

แชร์หน้านี้

Loading...