*เครื่องรางของขลัง/วัตถุมงคล...รายการละ 100 บ./พร้อมส่ง บูชา 3 รายการ แถม 1 รายการ...

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย Pitiphat, 4 มิถุนายน 2018.

  1. VARIT_VP

    VARIT_VP สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2019
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +1
    จองรายการ1026 คับ
     
  2. shaj

    shaj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    7,898
    ค่าพลัง:
    +6,817
    ขอจองครับ
     
  3. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ...ขอบคุณครับ
     
  4. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ...ขอบคุณครับ
     
  5. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1027 พระผงหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม หลังยันต์ ขนาด 2.5*4 ซม.
    ***พุทธคุณครบเครื่องเรื่อง แคล้วคลาด คงกระพัน เมตตามหานิยม โชคลาภ
    ***ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า
    “ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจารที่ควรกล่าวให้ปรากฏ คือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)”

    ***ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู) เจ้าอาวาสวัดอินทร์จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา

    IMG_20181120_223204.jpg
    IMG_20181120_223154.jpg
     
  6. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1028 ปู่ยี่กอฮงเนื้อผง รุ่นแรก จัดสร้างโดย ครูบาดวงจันทร์ ขนฺติธโร (พระครูขันติคุณาธาร) เจ้าคณะตำบลสะเมิงใต้เขต 2 และเจ้าอาวาสวัดแม่สาบเหนือ ต. สะเมิงใต้ อ. สะเมิง จ.เชียงใหม่
    ***ประวัติครูบาดวงจันทร์ เดิมชื่อดวงจันทร์ อะมูล เกิดวันที่ 20 สิงหาคม 2494 อุปสมบทวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2515 ที่วัดทุ่งล้อม ต.สะเมิงเหนือ อ.สะเมิง จ. เชียงใหม่ ในปีพ.ศ. 2520 เป็นเจ้าอาวาสวัดแม่สาบเหนือ ในปีพ.ศ. 2522 เป็นเจ้าคณะตำบลสะเมิงใต้ เขต 2 จนถึงปัจจุบัน
    ยี่กอฮง เป็นเจ้าสัวชาวจีนแต้จิ้ว เป็นผู้นำชุมชนชาวจีนในสมัยรัชกาลที่ 6 นามของท่านคือ พระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮง) ท่านเป็นต้นของนามสกุล เตชะวณิช เกิดปลายสมัยรัชกาลที่ 3 เดิมชื่อ ตี๋ย้ง แช่แต้ บิดาอพยพเข้ามาหากินทางภาค เหนือของไทยเริ่มทำงานเป็นเสมียนโรงบ่อนเบี้ยของ พระยาภักดีภัทรากร(เหล่ากี้ปิง) และเป็นนายอากรบ่อนเบี้ยเองในเวลาต่อมา เป็นเจ้าของโรงหวยได้ตั้งร้านส่งสินค้าออกและนำสินค้าเข้า ทำโรงสี และทำหนังสือพิมพ์ก่อตั้ง มูลนิธิ ป่อเต็กตึ้ง ในปีพ.ศ. 2445พร้อม คณะอีก 12 ท่านเพื่อจัดการงานศพให้กับชาวจีนอพยพที่ไร้ญาติ ได้ส่งเงินกลับไปสร้างศาลเจ้า และ บ้านพัก ให้มารดาที่เมืองจีน ส่วนเมืองไทยท่านยังชอบแจกทานและบริจาคเงินช่วยเหลือการกุศลอยู่บ่อยๆถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2479 ขณะอายุได้ 84 ปี ศพของท่านได้นำกลับไปฝังที่สุสานใน ประเทศจีนปัจจุบันมีศาลของท่านอยู่ บนดาดฟ้าของ สถานีตำรวจพลับพลาชัย และ ในบริเวณ ศาลไต้ฮงกง (พลับพลาชัย) จะมีหิ้งบูชาตั้งรูปของท่านพร้อมกับป้ายชื่อ ผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิป้อเต็กตึ้ง อีก 12 ท่าน

    IMG_20181120_223244.jpg
    IMG_20181120_223236.jpg IMG_20181120_223405.jpg
     
  7. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    ปิดครับ
     
  8. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1029 พระฤาษี ภรตมุนี นวะโลหะ วัดป่าธรรมโสภณ จ.ลพบุรี ปี54 พระมหาสุรศักดิ์ ลพ.ชำนาญ ลพ.พูน เศก ด้านหลังตอกโค๊ต
    เหรียญพระภรตมุนี วัดป่าธรรมโสภณ จ.ลพบุรี ปี ๒๕๕๔ เนื้อนวโลหะ

    บรมฤๅษี ร่วมบุญสร้างพระภรตมุนี มหาฤๅษีผู้ประทานศิลปะวิทยา
    จัดสร้างโดย วัดป่าธรรมโสภณ จ.ลพบุรี และสถาบันพยากรณ์ศาสตร์

    เนื้อทองคำ ๙ องค์
    เนื้อเงินรมดำ ๕๙ องค์
    เนื้อนวโลหะ (แก่ทองคำ) ๒๐๐ องค์
    เนื้อนวโลหะ ๙,๙๙๙ องค์

    พระภรตมุนี มหาฤๅษี ผู้มีฤทธิ์ดุจองค์มหาเทพพระศิวะ เจ้าแห่งดนตรีและศิลปะ
    ประทานฤทธิ์ เดช อำนาจ บารมี ปัญญา โดยเฉพาะเด็กดื้อ เด็กที่อยู่ในวัยเรียน
    หรือเด็กขี้โรค ควรบูชา

    การจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ มีความเข้มขลังครบองค์ ๓ คือเจตนาดี มวลสารดี และพิธีดี
    ด้านมวลสารนั้นได้มีการนำเอาชนวนของพระกริ่งรุ่นดังๆ ในระยะเวลา ๑๐ ปีที่ผ่านมา
    เป็นมวลสารรวมไปถึงชนวนนวโลหะเต็มสูตร ที่ได้รับจากพระเดชพระคุณ เจ้าคุณธงชัย
    วัดไตรมิตร พร้อมแผ่นยันต์มากมาย และเมื่อได้มวลสารครบแล้วยังได้นำเอามวลสาร
    ดังกล่าวไปปลุกเสก ณ วัดโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา, วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย
    วัดพระมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช และวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก
    และปิดท้ายด้วยการปลุกเสกในพิธีครอบครูฤาษี ครอบเศียรพ่อแก่ ซึ่งเป็นพิธีสำคัญ
    เพื่อขออนุญาตด้วยแรงครูประสิทธิ์ก่อนนำไปปั๊มเป็นเหรียญ

    เมื่อได้เหรียญครบถ้วนแล้วก็เข้าสู่ขั้นตอนการปลุกเสกโดยเหรียญพระภรตมุนี รุ่นนี้
    ได้เข้าพิธีปลุกเสกเป็นปฐมเมื่อวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ อันเป็นการส่งท้ายปีเก่า
    ต้อนรับปีใหม่ที่วัดบัวขวัญ จังหวัดนนทบุรี โดยพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง จากนั้นนำเข้าพิธี
    ที่วัดพระธาตุหริภุญชัย และที่วัดศาลาลอย จังหวัดนครราชสีมา จึงครบถ้วนสมบูรณ์

    ในพิธีเจริญมหาพุทธมนต์นพเคราะห์และพิธีพุทธาเทวามังคลาภิเษก
    มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิตเป็นจำนวนมาก โดยมี

    ๑. พระธรรมรัตนดิลก (หลวงพ่อเชิด) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพ
    ๒. พระราชนันทมุนี (หลวงพ่อสำรวย) วัดละหาร จ.นนทบุรี
    ๓. พระราชปัญญาโสภณ (หลวงพ่อเพชร) วัดสระเกศ กรุงเทพ
    ๔. พระครูสุวรรณสีลาธิคุณ (หลวงพ่อพูน) วัดบ้านแพน จ.อยุธยา
    ๕. พระครูพิศาลจริยารม (มหาสุรศักดิ์) วัดประดู่ จ.สมุทรสงคราม
    ๖. พระครูปทุมวรกิจ (หลวงพ่อชำนาญ) วัดบางกุฎีทอง จ.ปทุมธานี
    ๗. พระครูวิมลจันโทภาส (หลวงพ่ออ่าง) วัดใหญ่สว่างอารมณ์ จ.นนทุบรี

    ดังนั้นใครนับถือครู นับถือปู่ฤาษี ต้องมีติดตัวเพื่อให้แรงครูคอยพยุงหนุนนำ

    คุณNantana ปิดครับ
    IMG_20180409_214246.jpg
    IMG_20180409_214235.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2020
  9. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1030 พระพิฆเนศ เนื้อไม้แกะลงรักเก่า ไม่ทราบที่
    คติการนับถือพระพิฆเนศว์น่าจะเข้ามาถึงประเทศไทยตั้งแต่
    พุทธศตวรรษที่ 10 โดยเข้ามาทางภาคใต้ก่อน แต่เทวาลัยของพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในเมืองไทยปรากฏที่ แหล่งโบราณคดีเขาคา จ.นครศรีธรรมราช มีอายุในพุทธศตวรรษที่ 12 เทวรูปพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดก็พบทางภาคใต้ของไทย และกำหนดอายุได้ในช่วงเวลานั้น เชื่อว่าบรรพชนในภาคใต้ของเราในยุคดังกล่าว คงจะนับถึอพระพิฆเนศตามแบบอินเดีย คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค

    เทวรูปพระพิฆเนศ เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเมื่อถึงสมัยที่เมืองไทยเรา ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากขอม เทวรูปเหล่านี้พบในปราสาทหินหลายแห่ง ทั้งที่เป็นเทวรูปลอยองค์สำหรับบูชาภายในปราสาท และอยู่บนทับหลังหรือหน้าบันในลักษณะภาพแกะสลักนูนสูง คติการนับถือพระพิฆเนศในเมืองไทยเราช่วงนี้ น่าจะเป็นแบบเขมร คือ เป็นเทพองค์สำคัญในไศวะนิกาย คือจะต้องมีประจำในเทวสถานของลัทธินี้ รวมทั้งการบูชาในฐานะเทพแห่งอุปสรรค และเทพแห่งการประพันธ์ด้วย เพราะเท่าที่พบเทวลักษณะก็เป็นแบบเขมร คือประทับนั่งชันพระชานุข้างหนึ่งแบบมหาราชลีลาสนะ หรือประทับนั่งขัดสมาธิราบ ถ้าประทับยืนก็ประทับยืนตรงๆ ไม่ใช่ยืนเอียงพระโสณีหรือตริภังค์แบบอินเดีย

    อย่างไรก็ตาม เทวรูปเหล่านี้ล้วนแต่สร้างอย่างงดงามมาก และอาจจะมีทั้งที่สร้างด้วยหินและสำริด หรือแม้แต่ทองคำ แต่ที่ตกทอดมาถึงยุคของเราส่วนมากมีแต่เป็นหินเท่านั้น ในจำนวนนี้องค์ที่เด่น ๆ ได้แก่พระคเณศทรงเครื่องจาก ปราสาทหินเมืองต่ำ จ.บุรีรัมย์ ส่วนพระพิฆเนศจากปราสาทที่งามที่สุด อย่างเช่นปราสาทหินพนมรุ้งนั้น ปัจจุบันเราได้พบแต่ที่เป็นขนาดเล็ก

    เทวลักษณะที่ประทับยืนตรงของพระพิฆเณศแบบขอม ได้ต่อเนื่องมาถึงพระพิฆเนศแบบเชียงแสนและสุโขทัยด้วย ปัจจุบันเรามีตัวอย่างของเทวรูปพระพิฆเนศแบบเชียงแสน ที่ทำอย่างงดงามหลายองค์ แต่ที่งามกว่าคือแบบสุโขทัย ซึ่งเท่าที่รู้จักกันเป็นสมบัติของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และมีการถ่ายแบบทำเป็นเทวรูปสำหรับบูชาทั่วไปเมื่อ พ.ศ. 269 ซึ่งปัจจุบันก็หาดูยากแล้ว

    ในสมัยสุโขทัย การนับถือพระพิฆเนศก็คงเป็นไปตามแบบทีได้อิทธิพลจากขอม แต่ก็น่าจะเสื่อมคลายลงมาก เพราะได้มีการให้ความสำคัญต่อศาสนาพุทธยิ่งกว่าศาสนาฮินดูที่นับถือกันมาแต่เดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท ที่ศาสนาพุทธเฟื่องฟูมาก

    ล่วงถึง สมัยกรุงศรีอยุธยา ศาสนาฮินดูได้กลับมามีความสำคัญในราชสำนักอีกครั้ง มีหลักฐานว่าได้มีการหล่อพระพิฆเนศ และ พระเทวกรรม คือพระพิฆเนศในฐานะที่เป็นครูช้างขึ้นมาหลายองค์ แต่หลักฐานที่ตกมาถึงเรามีแต่เทวรูปสำริดขนาดเล็กเพียงไม่กี่องค์ และเทวรูปสำริดขนาดใหญ่ที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า รวมทั้งเทวรูปศิลาที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระราชวังจันทร์เกษม เป็นต้น พระพิฆเนศได้กลับมามีบทบาทสำคัญในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาก็เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยการคชกรรมนี่เอง และก็ยังคงมีความสำคัญตามคติที่ได้รับจากขอม คือเป็นเทพผู้ขจัดอุปสรรค เป็นเทพที่จะต้องบูชาก่อนอื่นในพิธีกรรมสำคัญ และเป็นเทพแห่งการประพันธ์คัมภีร์ต่าง ๆ

    ส่วนคติที่นับถือพระพิฆเนศวรเป็น เทพแห่งศิลปวิทยา อันเป็นการแทนที่คติเดิมของพระสรัสวดีที่มีมาแต่อินเดียนี้ ยังไม่ปรากฏว่ามีในเมืองไทย จนกระทั่งผ่านพ้นสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เพราะใน 4 รัชกาลแรกภาพเขียนพระพิฆเนศในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม และ วัดบวรสถานสุทธาวาส หรือแม้แต่ภาพแกะสลักบนประตูไม้ที่ วัดเพลงวิปัสสนา บางกอกน้อย ยังเป็นเรื่องจากนารายณ์สิบปางอยู่ ภาพเหล่านี้คงมีที่มาจากตัวอย่างพระเทวรูปในตำราภาพเทวรูปและเทวดานพเคราะห์ ซึ่งเป็นแบบอย่างภาพลายเส้นรูปเทพเจ้าแทบทุกพระองค์ สำหรับช่างเขียนใช้เป็นต้นแบบ ตำราภาพดังกล่าวสร้างในรัชกาลที่ 3-4 และคงมีมาแล้วตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

    ที่เป็นหลักฐานทางเอกสาร โดยเฉพาะในพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ยังเป็นคติเก่าที่มีอยู่ในเรื่อนารายณ์สิบปางเช่นกัน และองค์สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงนั้น โดยส่วนพระองค์ก็ดูจะทรงนับถือพระพิฆเนศอยู่ไม่น้อย เพราะเมื่อเสด็จประพาสชวาก็ทรงนำพระพิฆเนศขนาดใหญ่ของที่นั่นมาด้วย (ปัจจุบันยังจัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร)

    นอกจากนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงมีพระราชประวัติที่เกี่ยวข้องกับพระพิฆเณศวรอีก คือเมื่อครั้งยังทรงกรม ก็ได้พระนามกรมครั้งแรกเป็น กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และยังได้รับพระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศ มาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย แต่พระองค์ท่านก็มิได้ทรงนับถือพระพิฆเนศในด้านศิลปวิทยาแต่อย่างใด เพราในรัชกาลของพระองค์นั้น ยังมีพระสรัสวดีเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาอยู่ ตามที่นับถือกันมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยานั่นเอง

    จึงต้องนับว่า การนับถือพระพิฆเนศเป็นเทพแห่งศิลปวิทยา เป็นการริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างแท้จริง เนื่องจากพระองค์ท่านโปรดการประพันธ์กวีนิพนธ์ และศิลปศาสตร์ จึงทรงยกย่องพระพิฆเนศเป็นพิเศษ โดยทรงนำคุณสมบัติที่เป็นของพระสุรัสวดีมาแต่เดิมมารวมเข้าเป็นของพระพิฆเนศด้วย พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเทวาลัยพระพิฆเนศสำหรับกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม และทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพิฆเนศไว้สำหรับการนาฏศิลป์โดยเฉพาะ เมื่อทรงตั้งวรรณคดีสโมสร ก็พระราชทานเทวรูปพระพิฆเนศเป็นตราประจำสถาบันนั้น เมื่อกรมศิลปากรเกิดขึ้นและรับตราดังกล่าวมาเป็นตราประจำกรมต่อมา พระพิฆเนศจึงกลายมาเป็นเทพแห่งศิลปวิทยาของไทยเราโดยสมบูรณ์

    พุทธคุณเด่นในด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปลอดภัยพุทธคุณจึงแรงมากๆๆๆ และมีประสบการณ์สูงมาก จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่อยากให้ตำแหน่งหน้าที่การงานเจริญเติบโตก้าวหน้า หรือ ผู้ที่มีใจใฝ่ทางด้านการเสี่ยงโชคลาภทุกชนิด ควรมีไว้บูชาพกพาติดตัวไว้เป็นอย่างเนืองนิจ ทั้งผู้ที่นิยม และศรัทธา รวมไปถึงผู้นำ นักการปกครอง ผู้บังคับบัญชา หรือ นักบริหารทุกระดับชั้น ข้าราชการทุกตำแหน่ง ทุกประเภทไม่ว่าชั้นผู้ใหญ่ ชั้นผู้น้อย นายทหารทุกเหล่าทัพ (โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติภารกิจอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) ตำรวจ ครูบาอาจารย์ นักพูด นักขาย (ที่ต้องหายอดลูกค้า) นักเจรจา ดารา นักร้อง นักแสดง ผู้ที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นทุกประเภท นักกีฬาทุกประเภท นักทำมาหากินทุกประเภท มนุษย์เงินเดือน ผู้ที่ต้องแข่งขันกับผู้อื่น ไม่ว่าทั้งโดยตรง หรือโดยอ้อม พ่อค้า แม่ค้า ประชาชนทั่วไป ก็ไม่ควรพลาดเช่นกัน ควรมีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง
    คุณpisut168 ปิดครับ
    IMG_20180408_211315.jpg
    IMG_20180408_211305.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 สิงหาคม 2019
  10. seaown

    seaown เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +984
    ได้รับวัตถุมงคลพร้อมสิ่งมงคลที่มอบเพิ่มมาให้เรียบร้อยครับ ขอบคุณมากครับและขอชมความเพียรและอุตสาหะในการแพ็คครับผม
     
  11. pisut168

    pisut168 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มกราคม 2009
    โพสต์:
    915
    ค่าพลัง:
    +1,961
    จองครับ
     
  12. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รับทราบการจองครับ...ขอบคุณครับ
     
  13. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    ขอบคุณครับ
     
  14. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1031 พระขุนแผนทรงพลเล็ก ยุทธหัตถี 414 วัดบ้านกร่าง
    พระขุนแผนทรงพลเล็ก ยุทธหัตถี 414 มีมวลสารมหามงคล หลายชนิด อาทิ ดินมหามงคล จากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สระแก้ว สระคา สระยมนา สระเกษ แผ่นทองคำเปลว จากองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ ทองคำเปลวจากองค์เจ้าพ่อหลักเมือง ชิ้นส่วนพระขุนแผนกรุวัดบ้านกร่าง ชิ้นส่วนพระกรุถ้ำเสือ มวลสารพระหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดันฯลฯ พิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันทึ่ 26 พฤศจิกายา 2548 ณ มลฑล พิธี อนุสรณ์ดอนเจดีย์ โดยมีพระธรรมหาวีรานุวุตรวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร เจ้าคณะจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นประธานจุดเทียนชัย พร้อมพระเกจิคณาจารย์ดัง แห่งยุคหลายรูปนั่งปรกอธิฐานจิต อาทิหลวงปู่ทิมวัดพระขาว หลวงพ่อพูล วัดบ้านแผน หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว หลวงปู่เจือวัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อสาคร วัดหนองกลับ หลวงพ่อฟู วัดบางสมัคร ฯลฯ พุทธคุณ ครอบจักรวาล ทั้งเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย และคงกระพันมหาอุต

    IMG_20180821_214216.jpg
    IMG_20180821_214202.jpg supananpilomtim.jpg
     
  15. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1032 สมเด็จพญาไก่แก้ว (เนื้อว่าน 108) พระอาจารย์มนัส วัดทุ่งจันดำ จ.จันทบุรี
    สมเด็จพญาไก่แก้ว" พุทธคุณชนะศัตรูและค้าขาย
    พระสมเด็จพระโพธิสัตว์ นั้น ญาติโยมที่เลื่อมใสบูชา นำติดตัวจะค้าขายดีมีโชคลาภ และแคล้วคลาดจากอันตรายและป้องกันโรคภัยที่เกิดกับสัตว์เลี้ยง กล่าวคือ มีญาติโยมที่เขาสมิง จ.ตราด นำบูชาไว้ที่บ้าน ไก่ชนของเขาไม่มีตายเลย แต่ของผู้อื่นที่ใกล้กันตายเกือบหมดด้วยไข้หวัดนก และนอกจากนี้โยมอีกหลาย ๆ คนที่อาราธนาพระสมเด็จฯ ติดตัว ค้าขายดีมีกำไรทุกวัน
    เหตุที่หลวงพ่อสร้างสมเด็จพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีนั้น
    เนื่องมาจาก ทางวัดยังขาดปัจจัยที่จะก่อสร้างต่อเติม ท่านไม่รู้จะทำอย่างไรดีที่จะได้ปัจจัยมาทำการก่อสร้าง ท่านเขียนเล่าว่า

    "ในคืนวันหนึ่งอาตมาภาพได้เข้าสมาธิพอจิตสงบเหมือนมีคนมาบอกว่า ให้สร้างพระขึ้น ลักษณะเหมือนของหลวงปู่ปาน แต่ให้เอาตอนพระพุทธเจ้าสร้างบารมี แต่ไม่ทราบว่า เป็นเสียงของใคร แต่อาตมาภาพ คิดว่าเป็นเสียงเทพยดาลงมาบอก อาตมาภาพลองตรึกตรองดูการจะมีบารมีต้องมาจากการสร้างสมกำลัง มีศีล ทาน ภาวนา สัจจบารมี ความเพียรจึงจะสำเร็จประโยชน์ได้ คนเราทุกคนเมื่อเกิดมาแล้วจะมีความสุขทางกาย และ จิตใจด้วยกำลังทรัพย์สินเงินทอง จะต้องสร้างสมกิจการงานต่าง ๆ ให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินเงินทอง จะต้องมีสัจจะและความเพียร และใช้ปัญญาไตร่ตรองในกิจกรรมนั้น ๆ จึงจะเกิดมีทรัพย์และมีคนเคารพนับถือที่เขาเรียกกันว่า " คนมีบารมี " จึงจะทำธุรกิจการงานต่าง ๆ ให้สำเร็จประโยชน์ได้ อาตมาภาพจึงค้นคว้าพุทธจริยาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตอนเป็นพระโพธิสัตว์ในชาติต่าง ๆ เพื่อเป็นนุตสติให้ท่านผู้อ่านได้นึกถึงพระพุทธเจ้าบำเพ็ญบารมี ว่า พระองค์ท่านมีความทุกข์ยากลำบากกาย แต่ใจของพระท่านเป็นสุข จึงขอให้ท่านผู้อ่าน จงปฏิบัติตามปฏิปทาของพระพุทธองค์ตอนเป็นพระโพธิสัตว์ เราก็จะมีความอดทนต่อสู้ในธุรกิจการงาน และการสร้างความดีเพื่อประโยชน์ของตนและสังคม
    ฉะนั้น อาตมาภาพจึงหยิบยกเอาพระชาติต่าง ๆ ที่เหมาะสมของพระพุทธองค์มาสร้างเป็นพระสมเด็จพระโพธิสัตว์
    ให้ญาติโยมนำไปบูชาและติดตัว จะได้ช่วยหนุนเสริมสร้างบารมีให้เกิดเร็วยิ่งขึ้น"

    IMG_20180816_220107.jpg
    IMG_20180816_220056.jpg IMG_20180816_220044.jpg
     
  16. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1033 พระนางพญา ไม่ทราบที่
    IMG_25620825_112214.JPG
    IMG_25620825_112151.JPG IMG_25620825_112125.JPG
     
  17. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1034 พระสมเด็จ หลวงปู่แว่น ธนปาโล ( พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ )
    วัดถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง
    ๏ หลวงปู่แว่น พระผู้มีกาย วาจา ใจบริสุทธิ์

    หลวงปู่แว่น ธนปาโล แห่งวัดถ้ำพระสบาย ตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง เป็นพระวิปัสนาจารย์ ที่เป็นที่เคารพนับถือของผู้ปฏิบัติธรรมในปัจจุบัน

    ท่านเป็นเป็นศิษย์อาวุโสองค์หนึ่งของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

    ผู้เขียน (อ.ปฐม นิคมานนท์) ได้มีโอกาสไปกราบหลวงปู่แว่นหลายครั้ง ทั้งที่ กทม. และที่วัดถ้ำพระสบาย แทบทุกครั้งท่านจะทักผู้เขียนเสมอว่า “เมื่อไรจะบวช”

    ใจจริงผู้เขียนก็ปรารถนาที่จะบวช และมอบกายถวายชีวิตเพื่อตามรอยองค์พระศาสดา แต่ก็ยังหาโอกาสนั้นไม่ได้ เพราะหลงโลกมาเป็นเวลานาน การจะถอดจะถอนจากโลกที่เราสร้างไม่ใช่ทำได้ง่าย จึงกราบเรียนหลวงปู่ไปว่า “ผมอยากจะบวช แต่ยังมีเมียมีลูกจะต้องดูแล”

    หลวงปู่ตอบว่า “เอาเมียมาบวชด้วย”

    ผมก็ตอบว่า “ทำไม่ได้ครับ ลูกยังเรียนหนังสืออยู่”

    หลวงปู่ก็รุกว่า “เอาลูกมาบวชเณรด้วยก็ได้”

    ผู้เขียนก็จนแต้ม ได้แต่หัวเราะแก้เก้อไป

    ผู้เขียนถูกรุกด้วยคำถามข้างต้นอยู่เสมอ ซึ่งแสดงว่าในน้ำจิตน้ำใจของหลวงปู่ ท่านมีศรัทธายิ่งต่อการบวชเป็นพระภิกษุ ท่านปฏิบัติตามพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ระมัดระวังทุกอิริยาบถ ผู้มีโอกาสได้กราบไหว้และใกล้ชิดหลวงปู่ ย่อมรู้ว่าท่านเป็นพระดีองค์หนึ่งในปัจจุบัน

    พระดีจะมีพลังดึงดูดให้ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าหา เข้าใกล้ ด้วยความซาบซึ้งใจ กราบแล้วก็ยังไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอ

    คุณดำรงค์ ภู่ระย้า นักเขียนธรรมแห่งนิตยสารโลกทิพย์ได้เขียนถึงหลวงปู่แว่นว่า “หลายครั้งแล้วที่ผู้เขียนเดินทางไปกราบพระดีที่ควรกราบไหว้แห่งจังหวัด ลำปาง เมื่อไปพบท่านเป็นครั้งแรก แม้ท่านจะเป็นพระที่พูดน้อย ชนิดที่ถามคำแล้วก็ตอบคำ แต่ทว่าในส่วนลึกของจิตใจนั้นเกิดความศรัทธาในปฏิปทาของท่านเป็นอย่างมาก

    ตลอดเวลาในการนั่งสนทนากับท่าน ท่านจะนั่งตัวตรงนิ่งด้วยอาการสำรวม อย่างหาที่ติไม่ได้เลย ไม่ว่าญาติโยมนั้นจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม กิริยาจะสำรวมอย่างนี้ตลอด”

    อีกตอนหนึ่งผู้เขียนคนเดียวกัน ก็สรุปถึงคุณลักษณะของหลวงปู่แว่น โดยรวมว่า

    “…จึงจะเห็นได้ว่า ท่านพระอาจารย์แว่น ธนปาโล มีกายบริสุทธิ์ วาจาบริสุทธิ์ ใจบริสุทธิ์อย่างแท้จริง”

    ท่านเป็นพระอริยะเจ้าที่มีกาย วาจา ใจ บริสุทธิ์ องค์หนึ่งในยุคปัจจุบัน ในยุคที่พระดีค่อนข้างที่จะหายากอย่างยิ่ง

    หลวงปู่แว่น ใช้ชีวิตเป็นพระภิกษุยาวนานต่อเนื่องกันถึง ๖๘ ปี ท่านผ่านการธุดงค์มาอย่างโชกโชน และน่าจะยึดถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติอย่างไม่น่าเคลือบแคลงสงสัยใดๆ เลย

    ท่านเป็นพระที่เรากราบไหว้ได้ด้วยความสนิทใจ ไม่สงสัยเคลือบแคลงใดๆ ทั้งสิ้น

    ๏ โอวาทธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น

    ต่อจากนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นจึงเทศน์เชิงเปรียบเทียบให้หลวงปู่แว่นฟังว่า

    “มีชายคนหนึ่งชำนาญในการตกเบ็ด เอากบน้อยไปเกี่ยวเบ็ดเป็นเหยื่อตกปลา เมื่อหย่อนเบ็ดลงในน้ำ กบก็ตีน้ำอยู่ไปมา ปลาเห็นเข้าก็ฮุบกบเป็นอาหาร ยังคงเหลือหนังกบติดอยู่กับเบ็ด ชายคนนั้นจึงนำเอาสิ่งที่พบเห็นไปเป็นอุบายเจริญภาวนา จนเห็นร่างกายตนชัดเจน”

    ท่านพระอาจารย์มั่นย้ำต่อไปว่า “การดูตัวเองจนเห็นชัด ดีกว่าไปพิจารณาคนอื่น เห็นคนอื่นมีแต่น่าตำหนิทั้งหมด สู้ดูตัวเองไมได้เน๊าะ”

    พอท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์เสร็จ ท่านก็ลุกขึ้นเดินลงจากกุฏิไปท่าน้ำเพื่อลงเรือข้ามฟาก หลวงปู่เดินตามไปพร้อมกับกำหนดดูอิริยาบถท่านพระอาจารย์มั่นไปด้วย และคิดในใจว่า “ท่านพระอาจารย์มั่นช่างมีจิตใจที่มั่นคงสมชื่อจริงๆ” เมื่อไปถึงท่าน้ำ ท่านพูดว่า “ท่านลงเรือลำนี้ ผมจะลงลำนั้น” คือชี้ให้ลงเรือคนละลำกัน หลวงปู่ยืนนิ่งอยู่เพราะตั้งใจจะขอลงเรือลำเดียวกันกับท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งท่านได้พูดย้ำคำพูดเดิมอีกถึง ๒ ครั้ง หลวงปู่จึงลงเรือคนละลำกับท่านพระอาจารย์มั่น พระเณรที่ติดตามมาต่างก็ลงเรือจนเต็มทั้งสองลำแล้วข้ามฝั่งไป

    จากอุบายธรรมที่ท่านพระอาจารย์มั่นเทศน์สอนหลวงปู่นั้น แสดงว่าท่านกำหนดรู้ถึงการปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่เมื่อครั้งอยู่ที่จังหวัด ปราจีนบุรี (คือหลวงปู่ได้พิจารณาซากศพก่อนเผา เกิดนิมิตศพโยมเป็นร่างกายของหลวงปู่ขึ้นมาแทน จนปรากฏเห็นไตรลักษณ์ชัดเจน ซึ่งท่านพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก จนรู้สึกถึงความจริงในอัตภาพร่างกายคนเราได้) หลวงปู่จึงได้นำไปเป็นอุบายในการกำหนดพิจารณาธาตุขันธ์ร่างกายเป็นอารมณ์ ตามจริตของหลวงปู่เอง

    การนำอุบายจากท่านพระอาจารย์มั่นไปกำหนดการภาวนา นับว่าเป็นประโยชน์มหาศาลแก่หลวงปู่ โดยถือเป็นทางดำเนินที่เข้ามรรคผลได้อย่างดียิ่ง การปฏิบัติภาวนาของหลวงปู่ในระยะต่อมาได้รุดหน้าอย่างรวดเร็ว กำลังสติ กำลังปัญญา มีความแจ่มใสมากขึ้นโดยลำดับ จนสามารถเอาตัวรอดได้ สมความตั้งใจของท่านที่มุ่งปฏิบัติชอบตามครูบาอาจารย์ เจริญรอยตามเยี่ยงพระอริยสาวกทั้งหลาย

    ในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ มีหลายสิ่งที่หลวงปู่รู้สึกประทับใจในวิธีการของท่านพระอาจารย์มั่น และนำมาเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังบ่อยๆ มีอยู่คืนหนึ่ง พวกชาวบ้านได้พากันหามเสื่อไปจนถึงกุฏิที่ท่านพระอาจารย์มั่นพักอยู่ ท่านพระอาจารย์มั่นถามว่า “จะเอาไปทำอะไร” ชาวบ้านตอบว่า จะเอาไปปูนั่งเพื่อฝึกหัดร้องสรภัญญะ เพื่อจะไปร้องแข่งในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นได้เรียกประชุมสงฆ์ เมื่อคณะสงฆ์มาพร้อมจึงพูดขึ้นว่า “สรภัญญะนี้ ท่านพระอาจารย์ใหญ่เสาร์ท่านไม่ได้สอน ผมก็ไม่ได้สอน ใครเป็นผู้สอนหือ ?”

    ความจริงท่านพระอาจารย์มั่นท่านก็รู้ว่าใครเป็นคนสอน แต่ท่านไม่ออกชื่อ ทั้งๆ ที่ผู้สอนก็นั่งอยู่ใกล้ๆ (คงจะหมายถึงหลวงปู่แว่นเองก็ได้ เพราะท่านเคยเป็นครูสอนสรภัญญะในพรรษาที่ ๖ เมื่อครั้งไปพำนักจำพรรษาที่อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา) ตั้งแต่คืนนั้น ไม่มีใครกล้าฝึกร้องสรภัญญะอีกเลย แต่เอาเวลาส่วนใหญ่ไปปฏิบัติสมาธิภาวนา ต่างคนต่างปฏิบัติ ดูจิตดูใจของตนเอง

    เกี่ยวกับข้อปฏิบัติของท่านพระอาจารย์มั่นอีกเรื่องหนึ่ง ในงานศพท่านพระอาจารย์เสาร์ คือเขานิมนต์ท่านพระอาจารย์มั่นไปชักบังสุกุลศพท่านพระอาจารย์เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่นเดินไปที่ศพท่านพระอาจารย์เสาร์ กราบลง แล้วเดินกลับ ไม่ยอมชักบังสุกุล

    เมื่อออกพรรษาที่ ๑๓ แล้ว หลวงปู่ออกเดินทางจากวัดโนนนิเวศน์ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ธุดงค์ไปยังจังหวัดสกลนครบ้านเกิด แล้วเข้ากราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น พอท่านเห็นก็ถามขึ้นว่า “ท่านแว่น ท่านภาวนาอย่างไร” หลวงปู่กราบนมัสการว่า “กระผมพิจารณาดูกาย จนกระทั่งจิตพลิกเห็นความสว่างไสวแล้วเข้าสู่ตัวรู้นั้น”

    ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้อธิบายอีกครั้งว่า “การที่ท่านแว่นพิจารณากายจนจิตพลิกไปสู่ความรู้ แล้วก็เข้าไปอยู่ในความรู้นั้น จะเป็นการทำให้ท่านติดอยู่ในความสุขอยู่อย่างนั้น ครั้นออกจากความรู้เข้ามาในกาย มันก็ทุกข์ๆ สุขๆ อยู่อย่างนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด” หลวงปู่กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์มั่นว่า “หลวงปู่ ทำอย่างไรจึงได้คุณงามความดี” ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า “แต่ก่อนผมก็ยังเดือดร้อนอยู่ ภาวนาปักจิตลงในกายทั้งวันทั้งคืนไม่ถอน มันจึงระเบิดออกให้เห็น ตั้งแต่นั้นความรู้เกิดขึ้นไม่รู้จักหมด”

    หลังจากได้รับอุบายธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นในครั้งนั้นแล้ว หลวงปู่รู้สึกอิ่มเอิบในความเมตตาจากท่านพระอาจารย์มั่นเป็นอย่างมาก มีกำลังใจในการค้นหาสัจธรรมด้วยใจเด็ดเดี่ยวยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปรารถนาที่จะอยู่ใกล้ชิดเพื่อรับการฝึกอบรมจากท่านพระ อาจารย์มั่นให้มากขึ้น จึงกราบเรียนท่านพระอาจารย์มั่นว่า “กระผมจะขอนิสัย” (หมายความว่า ขออยู่รับใช้ใกล้ชิดเพื่อให้ครูบาอาจารย์ช่วยแนะนำอบรมบ่มนิสัยให้)

    ท่านพระอาจารย์มั่นตอบว่า “ท่านแว่นพรรษา ๑๓ ก็พ้นนิสัยแล้ว”

    หลวงปูจึงกราบเรียนถวาย “พรรษาตามพระวินัยผมก็รู้จัก แต่ผมไม่ต้องการ ผมต้องการนิสัยของท่านพระอาจารย์มั่นที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ไม่ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่ในโลกนี้อีก”

    ท่านพระอาจารย์มั่นจึงให้นิสัย แล้วหลวงปู่ก็เร่งความเพียรมากขึ้น เมื่อมีสิ่งใดติดขัด ก็เข้าเรียนถามท่านพระอาจารย์ใหญ่มั่นเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องข้อนั้นๆ การปฏิบัติบังเกิดผลดี จิตปลอดโปร่ง มีกำลังสมาธิเพิ่มขึ้น ล่วงมาจนใกล้จะเข้าพรรษา หลวงปู่จึงกราบลาท่านพระอาจารย์มั่น เดินทางไปจำพรรษาที่อำเภอพรรณานิคม

    ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๒ หลวงปู่ได้รับข่าวการมรณภาพของท่านพระอาจารย์มั่น หลวงปู่คิดจะเดินทางไปเคารพศพของท่านพระอาจารย์มั่นที่จังหวัดสกลนคร บังเอิญหลวงปู่สิมได้แวะมาเยี่ยมหลวงปู่ในช่วงนั้น ได้กล่าวทัดทานไว้ โดยให้ข้อคิดว่า “ท่านพระอาจารย์มั่นของเรา ท่านมิได้ปรารถนาให้เดินทางไปเคารพศพท่าน แต่ท่านพระอาจารย์มั่นประสงค์ให้ลูกศิษย์ลูกหาตั้งหน้าตั้งตาประพฤติปฏิบัติ รักษาจิตใจให้มั่นคง” หลวงปู่แว่นจึงไม่ได้เดินทางไปยังวัดป่าสุทธาวาส แต่มุ่งมั่นในการปฏิบัติภาวนาเพื่อค้นหาสัจธรรมให้ยิ่งยวดขึ้นไป ตามแนวทางที่ได้รับการอบรมธรรมมาจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ

    ๏ ตัวตนไม่ใช่ของเรา

    สมัยหลวงปู่เข้าสู่วัยรุ่น ท่านเคยล้อเลียนให้โยมมารดาตกอกตกใจเหมือนกัน หลวงปู่เล่าว่า วันหนึ่งโยมมารดากลับจากไปฟังเทศน์กรรมฐานจากวัด ก็เอาคำพระมาสอนลูกว่า “ตัวตนไม่ใช่ของตน” หลวงปู่กำลังถือมีดโต้อยู่พอดี นึกสนุกคว้ามีดโต้จะฟันลงที่โยมมารดา เพื่อจะลองคำพูดที่ว่า “ตัวตนไม่ใช่ของเรา”

    โยมมารดาตกใจนึกว่าจะฟันจริงๆ ร้องลั่นว่า “อย่า มึงอย่ามาฟันกู”

    ทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้น ต่างหัวเราะขบขันกันที่เห็นหลวงปู่ล้อโยมมารดาคราวนั้น

    หลวงปู่ได้พูดถึงเรื่องนี้ภายหลังว่า “พอมาบวชแล้วถึงได้รู้จักคำสอนในตัวเรา กว่าจะอ่านจิตใจออก” พร้อมทั้งลากเสียงสูงตามเอกลักษณ์ของหลวงปู่ว่า “พุทโธ้ ! มันไม่ใช่ของง่ายเลย”

    หมายความว่าการที่จะเข้าใจในเรื่องตัวเรา-ของเรา ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

    ๏ ผู้เป็นสหชาติกับหลวงปู่สิม พุทธาจาโร

    ในหนังสือที่ระลึกสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เสด็จผูกพัทธสีมาวัดถ้ำพระสบาย เมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้บันทึกในเชิงเปรียบเทียบไว้ว่า “ในครั้งพุทธกาล พระอานนท์เป็นพุทธอนุชา ผู้เป็นสหชาติเกื้อกูลพระพุทธองค์ ในกึ่งพุทธกาลนี้ พุทธสาวกผู้สัมมาปฏิบัติเช่นหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ก็มีหลวงปู่แว่น ธนปาโล ผู้มีศักดิ์เป็นน้องชายคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน”

    หลวงปู่สิม เป็นพระวิปัสนาจารย์ ที่เป็นที่เคารพรักและศรัทธาของเหล่าพุทธศาสนิกชนผู้ปฏิบัติธรรม แห่งวัดถ้ำผาปล่อง ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ท่านได้มรณภาพลงเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี ๙ เดือน ๑๙ วัน อายุพรรษา ๖๓ พรรษา

    หลวงปู่สิมกับหลวงปู่แว่น เป็นญาติใกล้ชิดกันในตระกูล โยมบิดาของหลวงปู่สิม เป็นพี่ชายแท้ๆ ของโยมมารดาของหลวงปู่แว่น จึงถือว่าหลวงปู่สิมเป็นญาติผู้พี่ และหลวงปู่แว่นเป็นญาติผู้น้อง ที่สำคัญก็คือท่านทั้งสองมีอายุไล่เลี่ยกัน สนิทสนมกันตั้งแต่เด็ก และอุปถัมภ์ช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาโดยตลอด

    หลวงปู่แว่นเล่าให้ฟังว่า สมัยยังหนุ่ม หลวงปู่ทั้งสองมักเที่ยวในหมู่บ้านต่างๆ ด้วยกันตามประสาคนหนุ่ม ก่อนบวช หลวงปู่สิมนั้นเป็นหมอลำ ส่วนหลวงปู่แว่นนั้นเป็นหมอแคนคู่กันไป ความสนิทสนมของหลวงปู่ทั้งสอง จึงมีความลึกซึ้งแนบแน่นเป็นอย่างมาก หลวงปู่สิมบวชเป็นพระก่อน และเมื่อสมัยหลวงปู่แว่นจะออกบวช หลวงปู่สิมได้ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูล และก็ได้เกื้อกูลกันมาต่อเนื่อง ในระหว่างครองเพศบรรพชิตจนปัจฉิมวัย

    นอกจากนี้แล้ว ทั้งสององค์ยังมีญาติผู้หลานที่เป็นพระอริยเจ้าชื่อดังแห่งเมืองลำปาง อีกองค์หนึ่งคือ หลวงปู่หลวง กตปุญโญ แห่งวัดป่าสำราญนิวาส ตำบลศาลา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง นี้คือความใกล้ชิดของหลวงปู่ทั้ง ๓ องค์
    ข้อมูลอ้างอิงจาก : dhammajak.net

    ปิดครับ
    IMG_25620825_112055.JPG
    IMG_25620825_112033.JPG 767-1552.jpg
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ-หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม-หลวงปู่แว่น ธนปาโล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2019
  18. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1035 พระเจ้าสัว ๑ ศตวรรษ เสาร์ ๕ รุ่นมหามงคลทอง เนื้อผงแป้งเสก
    ในโอกาสที่พระเดชพระคุณหลวงปู่บุดดา ถาวโร มีอายุครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๓๖ ท่านได้อนุญาตให้คณะกรรมการและศิษยานุศิษย์จัดสร้างวัตถุมงคลฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปีขึ้นชุดหนึ่ง และวัตถุมงคลบางอย่างได้หมดไปอย่างรวดเร็ว

    และเนื่องในโอกาสพิเศษคือ วันเสาร์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖ ตรงกับวันเสาร์ ๕ พระเดชพระคุณหลวงปู่บุดดา ถาวโร ได้อนุญาตให้จัดพิธีมหาพุทธาภิเษกขึ้นอย่างยิ่งใหญ่มโหฬาร ณ วัดกลางชูศรีเจริญสุข ต.พักทัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของวงการพระเครื่องเมืองไทย เพราะว่าตั้งแต่สมัยโบราณเป็นต้นมา พระคณาจารย์ที่เชี่ยวชาญทางไสยเวทย์และคาถาอาคมต่างๆ มักจะทำพิธีปลุกเสกวัตถุมงคลในวันที่มีความสำคัญๆ อย่างเช่น วันเสาร์ ๕ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ หลวงปู่บุดดาจึงได้จัดสร้างและปลุกเสกในวันเสาร์ ๕ ตามอย่างบูรพาจารย์เพื่อความเข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ของวัตถุมงคล

    "พระเจ้าสัว ๑ ศตวรรษ เสาร์ ๕ รุ่นมหามงคลทอง เนื้อผงแป้งเสก" หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาศหลวงปู่มีอายุ 100 ปี จัดสร้างและพิธีพุทธาภิเษกในวันเสาร์ ๕ ตรงกับวันเสาร์ ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓๖

    พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเศก.-

    -หลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข จ.สิงห์บุรี

    -หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี

    -หลวงพ่อสาลี่ วัดสละบาป จ.สิงห์บุรี

    -พระครูวิชิตวุฒิคุณ วัดโพธิ์เก้าต้น จ.สิงห์บุรี

    -หลวงพ่อเปลี่ยน วัดตะโกราม จ.สิงห์บุรี

    -หลวงพ่อุตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี

    -หลวงพ่อลำใย วัดทุ่งลาดหญ้า จ.กาญจนบุรี

    -หลวงพ่อเบี่ยง วัดทุ่งสมอ จ.กาญจนบุรี

    -หลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี

    -หลวงพ่อฟัก วัดเขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี

    -หลวงพ่อเทพ วัดเทพนิมิตร จ.ลพบุรี

    -หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา

    -หลวงพ่อวิชัย วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย

    -พระราชสุพรรณาภรณ์ วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี

    -พระสิรินันทเมธี วัดดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี

    -พระครูวิจารศุภกิจ วัดวังทองวราราม จ.พิษณุโลก

    -พระครูศิริโสภณ วัดศรีโสภณ จ.พิษณุโลก

    -หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ จ.นครปฐม

    -หลวงปู่โง่น วัดพระพุทธบาทเขารวก จ.พิจิตร

    -หลวงพ่อบุญมา วัดผาเกิ้ง จ.ชัยภูมิ

    -หลวงพ่อครูบาชัยวงศา วัดพระบาทห้วยต้ม จ.ลำพูน

    นอกจากนี้ยังมีพระคณาจารย์อีกหลายรูปที่ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเศกวัตถุมงคล รุ่นเสาร์ 5 มหามงคลทอง ของพระเดชพระคุณหลวงปู่บุดดา วัดกลางชูศรีเจริญสุข นับเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์

    ปิดครับ
    IMG_25620825_112320.JPG
    IMG_25620825_112302.JPG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 สิงหาคม 2019
  19. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    รายการที่1036 ตะกรุดลูกปืน 9 mm มีจารขนาด 3 ซม. แคล้วคลาดจากคมกระสุน เลี่ยมเก่าไม่ทราบที่
    ในการสร้างเครื่องราง “ตะกรุด” สมัยปัจจุบันนั้น นับได้ว่ามีการนำวัสดุต่างๆมาทำเป็นตะกรุด ทำให้มีตะกรุดหลากหลายรูปแบบ ตามที่ผู้ศรัทธาปรารถนาบูชา เพราะไม่ได้จำกัดแค่เพียงแต่ว่า ตะกรุดจะต้องสร้างมาจากแผ่นโลหะเงิน ทอง หรือไม้มงคลต่างๆ แล้วจารอักขระเลขยันต์ ทำการบริกรรมปลุกเสกเหมือนเช่นสมัยก่อนเท่านั้น

    หากแต่ยังมีการนำเอาวัสดุทางธรรมชาติ หรือโลหะอื่นๆโดยถือคติความเชื่อมาเป็นต้นเหตุในการสร้างตะกรุดให้มีอานุภาพทางด้านต่างๆ เช่น “ตะกรุดลูกปืน” ที่มีการนำเอาปลอกลูกปืน มาสร้างเป็นตะกรุด โดยถือคติที่ว่า “แม่ (ปืน) ไม่ฆ่าลูก (ปืน)” เปรียบได้กับ ผู้เป็นแม่ที่ไม่อาจจะฆ่าหรือทำร้ายลูกได้ จึงทำให้ผู้ประทุษร้าย โดยใช้อาวุธปืนหวังทำร้ายผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ที่มีตะกรุดลูกปืนไว้บูชา จะ “ยิงไม่ออก” … จึงเป็นที่มาของอานุภาพด้านมหาอุตม์ อำนาจด้านแคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพัน

    โดยตะกรุดลูกปืนนี้ เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ต้องทำงานเสี่ยงอันตราย เช่น ทหาร ตำรวจ หรือผู้ที่กลัวภัยอันตรายจากอริศัตรู หรือ คนที่จำเป็นต้องเดินทางไกลบ่อยๆ ก็มักจะแสวงหาตะกรุดที่มีอานุภาพด้านแคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์มาไว้ติดตัว

    ตะกรุดลูกปืนที่โด่งดังมากและเป็นที่แสวงหาของสานุศิษย์ เช่น ตะกรุดลูกปืน หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว ปัตตานี กล่าวกันว่าท่านได้สร้างเอาไว้หลายขนาดด้วยกัน ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ , ตะกรุดลูกปืน หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง จ.เพชรบุรี เป็นต้น หรือจะเป็นตะกรุดลูกปืนของพระเกจิอาจารย์ในยุคปัจจุบันที่นิยมกันมาก ได้แก่ ตะกรุดลูกปืน โดยพระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม จ. ปทุมธานี ที่ว่ากันว่ามีประสบการณ์มานักต่อนัก เกี่ยวกับด้านแคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ ทำให้มีผู้บูชาเป็นจำนวนมาก

    สำหรับตะกรุดลูกปืนโดยทั่วไปนั้น มักจะมีอานุภาพไปในด้านเดียวกันในทุกพระเกจิอาจารย์ที่ปลุกเสก คือ แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ โดยเฉพาะหากใครที่พกติดตัวไว้แล้วจะทำให้แคล้วคลาดจากกระสุนปืน เรียกได้ว่า “ยิงไม่ออก” นั่นเอง
    IMG_25620827_213846.JPG
    IMG_25620827_213914.JPG IMG_25620827_213820.JPG IMG_25620827_213948.JPG
     
  20. Pitiphat

    Pitiphat 51 สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    5,412
    ค่าพลัง:
    +88
    ปิดครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...