สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐ ปี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 13 มีนาคม 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    รับทราบครับ แจ้งชื่อที่อยู่ใน PMนะครับ
     
  2. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099

    ผมก็นึกอยู่ในใจว่า จะสามารถบรรจุพระธาตุ ได้ 38 องค์มั้งครับ

    ก่อนเที่ยงผมขึ้นไปรับปัจจัย อีก 500.- บาท จากพี่ท่านหนึ่ง

    ก็แสดงว่าตอนนี้สามารถถวายพระธาตุ ฯ แด่พระเจดีย์ต่างๆ 9 แห่ง

    ได้ 39 องค์ และยังมีพี่ที่ร่วมบุญอีก 1 ท่าน ที่ประสงค์



    และเมื่อเช้าผมก็ขอขอบคุณท่านพี่ที่มารับสิ่งที่เป็นมงคล เพราะ

    หลังจากนี้งานผมจะมา เกรงว่าจักไม่สามารถนำส่งได้

    และไม่อยากส่งไปรษณีย์ และจะได้นำไปให้บุคคลต่างๆ นำไปติดตัว เพื่อความสุขใจ

    และขอขอบคุณที่ได้มอบ พระรอด และพระร่วงเปิดโลก

    ผมคงนำกล่องอย่างดี มาใส่ท่านครับ เพราะเมื่อเครียด

    คงนำมาท่านมาชมให้หายเครียดครับ


    ขอขอบคุณครับ
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอบคุณคุณเพชรมากครับ
    โมทนาสาธุครับ
    #16461
     
  4. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    บ่ายวันนี้ผมได้จัดส่ง EMS ไปให้เพื่อน ๔ ท่าน ด้วยกัน คาดว่าน่าถึงวันพรุ่งนี้กันครับ
    ๑) คุณพุทธันดร เลขที่EMS EG 1536 8740 8 TH
    ๒) คุณSpecialized เลขที่EMS EG 0148 9548 5 TH
    ๓) คุณaries2947 เลขที่EMS 0148 9549 9 TH
    ๔) คุณhongsanart เลขที่EMS 0148 9550 8 TH ผมจัดส่งไปแล้ว จึงมานึกขึ้นมาได้ว่า คุณหนุ่มให้ช่วยจัดส่งเบี้ยแก้ ๒ ตัว ดังนั้นรายการเบี้ยแก้ไม่ได้บรรจุเข้าไปด้วยนะครับ ขออภัยด้วยครับ
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ hongsanart [​IMG]
    คุณเพชรคะ ขอทราบเหตุผลที่เลือกบรรจุพระธาตุที่หอพระแก้ว 3 องค์ ซึ่งมากกว่าพระเจดีย์อื่นๆ ตอนแรกที่ตั้งใจจะทำบุญเพิ่มนั้น ได้ตั้งใจว่าจะขอบรรจุที่หอพระแก้ว แต่ก็เปลี่ยนใจให้คุณเพชรเลือกให้และคุณเพชรก็เลือกให้สมความตั้งใจ โมทนาสาธุค่ะ

    โอนเงินให้แล้วนะคะ เมื่อเวลา 8.41 น.จำนวนเงิน 5,000.00 บาท

    โมทนาสาธุกับทุกๆท่านค่ะ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมคิดแล้วว่าพี่อ้อยต้องถามผมอย่างแน่นอน และคิดว่า เดาใจ(ดักจิต) ไว้ที่แห่งนี้ทีเดียว ๓ องค์ เพราะเหตุใดใช่ไม๊ครับ

    เฉลยนะครับ ผม"แว๊บ"ขึ้นมาว่า ณ สถานที่นี้มีความเกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาก เพราะพระองค์ท่านอัญเชิญพระทันตธาตุจากลังกา และทางวัดป่าดาราภิรมย์ก็ได้รับพระทันตธาตุนี้ในที่สุด พระองค์ท่านมีความเกี่ยวเนื่องกับ"หงสาวดี" อีกทั้งพระพี่นางของพระองค์ท่านก็เป็นพระชายาของพระเจ้าบุเรงนอง คำว่า"หงสาวดี"กับ"hongsanart" จึงมีความเหมือนกันในมุมๆหนึ่งในความรู้สึกของผม ผมจึงตัดสินใจบรรจุไว้ที่หอพระแก้วถึง ๓ องค์ให้น้ำหนักตรงนี้เทียบเท่ากับพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง และพระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย อีกประการหนึ่งผมมีความตั้งใจจะมอบวัตถุมงคลชิ้นหนึ่งให้พี่อ้อยไว้เป็นที่ระลึกมากกว่า ๑ ชิ้น ตามจำนวนพระเจดีย์ที่ครบทั้ง ๙ องค์ แต่เมื่อนำมากางสรุปตัวเลขกัน โดย lock ๒ เจดีย์หลักไว้เท่านั้น แล้วไปขยับที่พระเจดีย์อื่นๆอีก ๗ แห่ง ผลคือไม่ลงตัว จึงสรุปว่าน่าจะบรรจุที่หอพระแก้วทั้ง ๓ องค์ครับ...จะใช่วาระหรือเปล่าครับพี่อ้อย...อาการนี้ผมเรียกว่า แว๊บ....
    <!-- / message --><!-- sig -->ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ hongsanart [​IMG]
    เรื่องชื่อนี้มีคนพูดถึงหลายคน ตอนที่ไปเที่ยวพม่าก็มีคนถามเรื่องชื่อเหมือนกัน
    แว๊บ....ของคุณเพชรยังตรงใจอีก 2 แห่งค่ะ นอกเหนือจากหอพระแก้วแล้วยังมี พระธาตุเจดีย์ไตรภูมิและพระบรมธาตุรัชมังคลาจารย์ฯ ชอบชื่อไตรภูมิมาก เมื่อ 5 ปีที่แล้วได้พบท่านอาจารย์แม่ชีณัฐทิพย์เป็นครั้งแรก หลังจากนั้นไม่กี่วัน ท่านก็ให้หนังสือ ไตรภูมิพระร่วง มาอ่าน ท่านบอกว่า เอาไปอ่านซะ แล้วจะทราบเองว่าทำไมถึงให้อ่านหนังสือเล่มนี้ โดยส่วนตัวแล้วเป็นคนที่ชอบอ่านประวัติศาสตร์ ชอบดูโบราณวัตถุ ชอบพระเครื่อง ที่ไม่ใช่ของทางภาตใต้ ทั้งๆที่เป็นคนใต้ ไม่ชอบทะเล แต่ชอบภูเขา แม่น้ำ แต่ก็อยู่ที่ภาคใต้มา 50 กว่าปีแล้ว ไม่ได้ขวนขวายหาสิ่งที่ชอบ แต่ได้มีโอกาสร่วมบุญกับคุณหนุ่ม คุณเพชร เลยทำให้ได้พบเห็นสิ่งที่มีคุณค่าหลายๆอย่าง ทั้งที่เป็นวัตถุและข้อมูลต่างๆ ซึ่งถ้าหากไปหาจากท้องตลาดก็จะไม่ได้ของที่มีคุณค่าทางใจเช่นนี้

    โมทนาสาธุค่ะ
    พระที่จะมอบให้ในการบรรจุพระธาตุโมคคัลลานะ เป็นพระที่หากันไม่ได้ง่ายๆครับ อีกทั้งเห็นจะมีสื่อที่ทราบได้ว่าเราได้เคยร่วมบุญบรรจุพระธาตุกันมาก่อน คอยรับนะครับ ๑ องค์

    วันนี้ผมได้มอบพระมหาธาตุเจดีย์ ๑๒ ราศี บารมี ๓๐ ทัศน์ให้พี่อ้อย ๑ องค์เพื่อเป็นที่ระลึกของการบรรจุพระธาตุโมคคัลลานะยังพระเจดีย์ทั้ง ๙ แห่ง รายละเอียดการจัดสร้างจะนำมาให้ทราบกันคืนนี้ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010207.JPG
      P1010207.JPG
      ขนาดไฟล์:
      217.7 KB
      เปิดดู:
      34
    • P1010208.JPG
      P1010208.JPG
      ขนาดไฟล์:
      249.6 KB
      เปิดดู:
      41
    • P1010214.JPG
      P1010214.JPG
      ขนาดไฟล์:
      218 KB
      เปิดดู:
      54
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    สำหรับน้อง chaipat พี่มอบพระมหาธาตุเจดีย์ ๑๒ ราศี บารมี ๓๐ ทัศให้ ๓ องค์นะครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010207.JPG
      P1010207.JPG
      ขนาดไฟล์:
      217.7 KB
      เปิดดู:
      28
    • P1010208.JPG
      P1010208.JPG
      ขนาดไฟล์:
      249.6 KB
      เปิดดู:
      30
    • P1010214.JPG
      P1010214.JPG
      ขนาดไฟล์:
      218 KB
      เปิดดู:
      31
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2008
  7. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ ๑๒ ราศีนี้เป็นอีกหนึ่งวัตถุมงคลที่มีคุณค่า และคุณภาพอย่างยิ่ง เนื้อทองจังโก นี้เป็นเนื้อทองชนวน ทองจังโกบุพระธาตุลำปางหลวง ทองจังโกบุพระธาตุหริภุญชัย ทองจังโกบุพระธาตุดอยสุเทพ ทองจังโกบุพระธาตุศรีจอมทอง ชิ้นส่วนพระมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา และมวลสารอื่นๆอีกมากมาย เอาไว้คืนนี้จะบอกเล่าให้ฟังโดยละเอียดครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2008
  8. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    สาธุครับ

    สำหรับตนขอเก็บ 1 องค์ก็พอครับ

    ผมได้แจกอีกแล้วครับ ผมมีความสุขมากที่ได้มอบให้สิ่งที่ผมได้รับมาอย่างดี

    และผมก็ตั้งใจให้ท่านที่ร่วมมาด้วยกันด้วยครับ เพราะไม่มีท่านๆ

    ผมก็ไม่ได้ทำมาถึงขนาดนี้ครับ

    สาธุครับ
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    คราวนี้ก็แบ่งสรรดีๆนะครับว่าจะมอบให้ท่านผู้ใดในคณะ chaipat

    พระยันต์ด้านหลัง คือพระยันต์บารมี ๓๐ ทัศน์ ของหลวงปู่ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน หลวงปู่ท่านจะนิยมสวดพระคาถาบทนี้ก่อนลงมือทำงานชิ้นใด งานเล็กงานใหญ่ อุปสรรคมากน้อย ทุกงานก็สามารถสำเร็จได้ด้วยดี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010208.JPG
      P1010208.JPG
      ขนาดไฟล์:
      249.6 KB
      เปิดดู:
      35
  10. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,353
    อ้าว อ่านเพลินๆจบซะแล้ว เอิ้กๆ ผมตามอ่านตั้งแต่หน้าแรกจบแล้วยอมรับว่าได้รับความรู้ใหม่ๆมาก พร้อมเรื่องที่พระต่างๆที่เป็นพระสกุลลำพูนแต่เซียนพระเรียกชื่ออีกแบบต่างกับความเป็นจริงก็พึ่งจะรู้เองครับ ยังไงก็จะรออ่านต่อนะครับ โมทนาสาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2008
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขยันอ่านจริงๆครับ เขียนไม่ทันอ่านเลยครับ ...(||)
     
  12. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มีหลายสิ่งหลายอย่างหากนำแนวความคิดการสร้างบ้านแปงเมืองของหริภุญไชยมาวิเคราะห์ทั้งทางโลก และทางธรรม จะพบประเด็นหลายอย่าง เราอาจจะไม่ได้มองที่พระเครื่องอย่างเดียว ลำพังพระเครื่องคือเศษเสี้ยวของจิตวิญญาณแห่งหริภุญไชยเท่านั้น การเลือกผู้คนจากละโว้มาอย่างละ ๕๐๐ คน นี่ก็เท่ากับต้องคัดคนดีมีฝีมือ มีความรู้ ความสามารถ แต่ละฝ่ายก็ชำนาญงานด้านนั้นๆ รับผิดชอบทำงานนั้นจนบรรลุ ทั้งฝ่ายวางแผน และฝ่ายปฏิบัติ กลคิดการสร้างเมืองก็ไม่ใช่ธรรมดา เสียดายที่ผมไม่อาจ copy หนังสือมาตรงๆได้ เพราะคำว่า ลิขสิทธิ์ ซึ่งเราต้องเคารพ และหากสนใจจริงๆ ต้องใฝ่หาความรู้ หนังสือตำรับตำราก็ไม่ได้หาง่ายๆ ที่มีอยู่ก็ต้องนำมาขบคิดวิเคราะห์เทียบกันหลายแหล่งว่า ตรงกันไม๊ เพราะประวัติศาสตร์ร่วมๆ ๑,๐๐๐ กว่าปี เช่นพระรอด พระคง พระจามเทวีทรงบัลลังก์(พระเลี่ยง) พิมพ์ใดสร้างก่อนหลัง พอเอ่ยถึงพระรอด ก็ให้คุณค่ากับพระรอดมหาวันก่อน ก็เลยอดได้พระรอดดีๆของวัดอื่นที่มีความโบราณ และอิทธิคุณไม่แพ้กัน ที่สำคัญราคาถูกกว่ามาก จุดที่สังเกตคือวัดสี่มุมเมือง นั้นมีความสำคัญอย่างไร? ทำไมพระรอดไปอยู่ที่วัดมหาวันที่เดียวหรือ? ผมว่ามันตลกนะ! ขอให้มองให้ออกว่า สมัยหริภุญไชยนั้นเป็นอาณาจักรๆหนึ่ง วัดที่สร้างตามทิศสร้างเอาไว้ทำไม? ที่เป็นอำเภอๆในปัจจุบัน เรามาแบ่งกันทีหลัง ผมไม่อยากจะบอกเลยว่า ทุกวัดมีการสร้างพระรอดกันทั้งนั้นแหละ พระรอดสร้างเพื่อคุ้มกันเมืองให้รอดจากข้าศึก แล้วจะสร้างไว้เพื่อป้องกันเมืองด้านเดียวหรือ...เวลาคุณสร้างบ้าน คุณมีรั้วบ้านด้านเดียวหรือ? พระคงสร้างเพื่อให้เกิดความมั่นคงถาวรตลอดไปของอาณาจักร สถานที่นั้นต้องมความสำคัญถึงสร้างพระรอดให้รอดพ้นจากข้าศึก และมีดีที่จะต้องสร้างพระรอด เพราะในเมืองทั้งของ ทั้งคนมีค่าทั้งนั้น เหล่านี้คือตัวจักรที่สร้างความมั่งคั่ง และเมื่อขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ก็ได้สร้างพระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์(พระเลี่ยง)ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ และสร้างคล้ายหัวลูกศรเพื่อให้ความทุกคนรู้ถึงภารกิจ หรือเป้าหมาย ซึ่งตรงนี้หนังสือหลายเล่มก็ลอกต่อๆกันมาไม่ได้บอกเช่นนั้น เมื่อวานนี้ไปงานสัปดาห์หนังสือ ผมเห็นหนังสือของคุณตรียัมปวายที่เขียนขึ้นแล้ว เจ้าของร้านก็นำมาถ่าย copy ขายกันเล่มละ ๖๕๐ บาท ในนั้นกล่าวว่าไม่ใช่รูปพระพุทธเจ้า แต่ท่านก็ไม่บอกว่าเป็นอะไร จนเมื่อพบหลักศิลาจารึก ถึงได้ทราบหลังจากคุณตรียัมปวายเสียชีวิตแล้ว ด้วยข้อมูลที่ศึกษาไปเรื่อยๆเราจะสามารถคัดหนังสือได้ว่า เล่มไหนสมควรซื้อ หรือไม่ควรซื้อ เทียบคุณภาพ คุณค่า กับราคา ...ผมคงไม่จ่ายเงินซื้อหนังสือที่ไม่ทำให้ผมมีความรู้ที่มากขึ้น และคุณก็คงเป็นเช่นเดียวกับผม...
     
  13. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,353
    ถูกของพี่เพชร บางทีอยากจะไปหาซื้อหนังสือพวกนี้อ่านเองแต่ก็กลัว ว่าข้อมูลจะแปลกๆ เพราะเคยศึกษาพระสมเด็จวัดระฆังมาช่วงหนึ่ง คิดดูครับว่าซื้อหนังสือมา ประมาณ 5 - 6 เล่มเกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังแต่ละเล่มก็บอกว่านี่ข้อมูลจริงเชื่อไหมครับว่า ข้อมูลไม่เหมือนกันสักเล่ม..

    เลยหนักใจครับ รออ่านเอาตามเวปดีกว่า หุหุ
     
  14. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เรื่องราวของพระคงดำที่ผู้คนใฝ่ฝันค้นหากันที่วัดพระคงฤาษี พระคงดำอันเป็นพระหาได้ยากยิ่งของเมืองหริภุญไชย พระคงดำไม่ใช่เกิดจากความบังเอิญที่เกิดขึ้นในเตาเผาโดยที่พระถูกเผาจนสุกที่สุดมีความแข็งแกร่งที่สุด ถ้าเผาต่ออีกพระจะสลายตัวไม่เกาะกัน แต่พระคงดำเป็นพระที่ผสมผงใบลานและ ว่านลงไปด้วยอย่างจงใจโดยมุ่งหวังกฤตยาคมทางด้านคงกระพันชาตรี คนรุ่นปู่รุ่นทวดท่านรู้มาตั้งนมนานแล้ว ในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ พระองค์ท่านได้พระราชทานธงไชยเฉลิมพลโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต)ไปปราบฮ่อ พระองค์ท่านได้ทรงบรรจุสิ่งของมงคลไว้ ๓ ประการ หนึ่งในสามนั้นคือได้อัญเชิญพระคงดำประดิษฐานบนยอดธงไชยเฉลิมพล

    ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องของธงไชย(ชัย)เฉลิมพล http://www.rtaf.mi.th/news/a04/jan_25/jan_25.htm

    "ธงชัยเฉลิมพล" เป็นธงประจำหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ธงชัยเฉลิมพล ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ที่ทหารทุกคน จะต้องเคารพสักการะและพิทักษ์รักษาไว้ด้วยชีวิต การปฏิบัติ ที่เกี่ยวข้องกับธงชัยเฉลิมพล ทุกขั้นตอน ต้องเป็นไปตาม พิธีการระเบียบ แบบแผนที่วางไว้อย่างเข้มงวดกวดขัน และโอกาสที่จะเชิญออกประจำ จะต้องเป็นพิธีการ ที่มีความสำคัญ เกี่ยวกับเกียรติยศ และเชิดหน้าชูตาเท่านั้น เช่น พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตน และไปราชการสงคราม เป็นต้น ธงชัยเฉลิมพล เริ่มมีในกองทัพบก แต่เดิมจำแนกได้ เป็นสองชนิด ชนิดแรก คือธงชัยเฉลิมพล ประจำกองทัพ อันได้แก่ ธงจุฑาธุซธิปไตย และธงมหาไพชยนต์ธวัช และ ธงชัยเฉลิมพล ชนิดที่สอง คือ ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร
    [​IMG]
    ธงจุฑาธุซธิปไตย
    ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทัพ สมัยรัชกาลที่ 5

    ธงชัยจุฑาธุซธิปไตย นับเป็นธงชัยเฉลิมพลประจำกองทัพ ธงแรกของไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้สร้างขึ้นพระราชทาน แก่กองทัพไทย เมื่อพุทธศักราช 2418 เพื่อแทนพระองค์ ไปในกองทัพที่ยกไปปราบ พวกฮ่อที่เข้ามาก่อการจลาจล ในแคว้นหัวพันทั้งห้าทั้งหก และสิบสองปันนา

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2008
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การจัดสร้างเหรียญพระมหาธาตุเจดีย์ ๑๒ ราศีเป็นการจัดสร้างตามตำรามหาเจดีย์บูชาของนพบุรีศรีนครพิงค์..

    ด้านหน้า ได้เรียงลำดับพนะมหาธาตุเจดีย์ประจำราศีเกิดทั้ง ๑๒ ราศี มีมิติที่ลึกตื้นลดหลั่นกันลงไปได้สัดส่วนถึง ๙ มิติด้วยกัน

    มิติที่ ๑ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร(พระแก้วมรกต) จ.กรุงเทพมหานคร เป็นพระพระพุทธปฏิมากรทรงเครื่องฤดูร้อนแบบอย่างพระบรมจักรพรรดิ์ตราธิราช เป็นองค์แทนสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่ทรงเป็นพระธรรมราชาประดิษฐานอยู่ในท่ามกลาง และเบื้องหน้าสุด

    มิติที่ ๒ พระมหาธาตุเจ้าดอยตุง จ.เชียงราย(ปีกุน) ประดิษฐานเคียงคู่พระแก้วมรกต ทั้ง ๒ ข้างซ้ายขวา

    มิติที่ ๓ พระมหาเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า (ปีมะเมีย) อัญเชิญมาเป็นพระมหาธาตุเจ้าองค์ประธาน เนื่องด้วยเป็นพระมหาธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาสถูปทั้งปวง นับย้อนไปถึงสมัยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากุกกุสันโธ องค์ปฐมแห่งมหาภัทรกัปนี้

    มิติที่ ๔ พระธาตุดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่(ปีมะแม) และพระธาตุหริภุญไชย(ชัย) จ.ลำพูน (ปีระกา) สองพระธาตุเจดีย์สำคัญ และเก่าแก่ที่สุดแห่งแผ่นดินนพบุรีนครพิงค์ และนครหริภุญไชยอันยิ่งใหญ่และเกรียงไกร

    มิติที่ ๕ พระธาตุช่อแฮ จ.แพร่(ปีขาล) แห่งแดนล้านนาตะวันออก และพระธาตุพนม จ.นครพนม (ปีวอก) อันลือชื่อแห่งอีสาน

    มิติที่ ๖ พระมหาธาตุเจดีย์พุทธคยา ดินแดนพุทธภูมิชมพูทวีป ประเทศอินเดีย (ปีมะเส็ง) และพระธาตุลำปางหลวง จ.ลำปาง (ปีฉลู) ที่งดงาม

    มิติที่ ๗ พระธาตุแช่แห้ง จ.น่าน (ปีเถาะ) และพระธาตุเจ้าจอมทอง จ.เชียงใหม่ (ปีชวด)

    มิติที่ ๘ พระเกษธาตุเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (ปีจอ) และพระธาตุเจดีย์วัดสิงห์ จ.เชียงใหม่ (ปีมะโรง)

    มิติที่ ๙ ท้องฟ้าอันไร้เขตแดนจำกัด(ไม่มีกรอบของเหรียญ) จารึกอักขระล้านนาว่า "นะโมพุทธายะ" ทั้งโดย"อนุโลม" และ"ปฏิโลม"


    ด้านหลัง พระยันต์บารมี ๓๐ ทัศ (ปาระมี ๓๐ ตั๊ด) ของหลวงปู่ครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน "ตนบุญ"แห่งล้านนา หลวงปู่ท่านจะนิยมสวดพระคาถาบทนี้เป็นประจำก่อนจะลงมือทำงานชิ้นใด งานเล็กงานใหญ่ อุปสรรคมากน้อย ทุกงานก็สามารถสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี


    คำไหว้บารมี 30 ทัศ

    พระพุทธเจ้า ประกอบด้วยพระมหากรุณา ยังบารมีทั้งหลายให้เต็ม เพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ ทั้งหลาย

    คำอธิบายบารมี 30 อยู่ด้านล่างบทสวด



    <HR>คำไหว้บารมี 30 ทัศ(แบบครูบาศรีวิชัย)

    ทานะ ปาระมี สัมปันโน , ทานะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    สีละ ปาระมี สัมปันโน , สีละ อุปะปารมี สัมปันโน , สีละ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    เนกขัมมะ ปาระมี สัมปันโน , เนกขัมมะ อุปะปารมี สัมปันโน , เนกขัมมะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ปัญญา ปาระมี สัมปันโน , ปัญญา อุปะปารมี สัมปันโน , ปัญญา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    วิริยะ ปาระมี สัมปันโน , วิริยะ อุปะปารมี สัมปันโน , วิริยะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ขันตี ปาระมี สัมปันโน , ขันตี อุปะปารมี สัมปันโน , ขันตี ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    สัจจะ ปาระมี สัมปันโน , สัจจะ อุปะปารมี สัมปันโน , สัจจะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    อะธิฏฐานะ ปาระมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ อุปะปารมี สัมปันโน , อะธิฏฐานะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    เมตตา ปาระมี สัมปันโน , เมตตา อุปะปารมี สัมปันโน , เมตตา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    อุเปกขา ปาระมี สัมปันโน , อุเปกขา อุปะปารมี สัมปันโน , อุเปกขา ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    ทะสะ ปาระมี สัมปันโน , ทะสะ อุปะปารมี สัมปันโน , ทะสะ ปะระมัตถะปารมี สัมปันโน

    เมตตา ไมตรี กะรุณา มุทิตา อุเปกขา ปาระมีสัมปันโน , อิติปิ โส ภะคะวา

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ นะมามิหัง




    <HR>อธิบาย บารมี 30 ทัศ
    การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาตินั้นๆ บารมีที่บำเพ็ญนั้นคือ ทานบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี รวมเรียกว่าบารมี ๓๐ (๓ x ๑๐) โดยแบ่งเป็นบารมีชั้นธรรมดา ๑๐ (บารมี) บารมี ชั้นกลาง ๑๐ (อุปบารมี) และ บารมีชั้นสูง ๑๐ (ปรมัตถบารมี) รวมเป็นบารมี ๓๐ ประการ

    ในอรรถกถาจริยาปิฎกพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ ได้จัดชาดกเรื่องต่างๆ ลงในบารมีทั้ง ๓๐ ประการ มีนัยโดยสังเขปที่น่าศึกษา ดังนี้

    ๑. ทานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ยทานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีวิราช (๒๗/๔๙๙) ทรงบำเพ็ญทานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร (๒๘/๕๔๗) และทรงบำเพ็ญทานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกระต่ายป่าสสบัณฑิต (๒๗/๓๑๖)

    ๒. ศีลบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญศีลบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาช้างฉัตทันต์เลี้ยงมารดา (๒๗/๗๒) ทรงบำเพ็ญศีลอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญานาคภูริทัต (๒๘/๕๔๓)

    ๓. เนกขัมมบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอโยฆรราชกุมาร (๒๗/๕๑๐) ทรงบำเพ็ญเนกขัมมอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นหัตถิปาลกุมาร (๒๗/๕๐๙) และทรงบำเพ็ญเนกขัมมปรมัตถบารมี ในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม (๒๗/๕๒๗)

    ๔. ปัญญาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญปัญญาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสัมภวกุมาร (๒๗/๕๑๕) ทรงบำเพ็ญปัญญาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นอำมาตย์วิธุรบัญฑิต (๒๘/๕๔๖) และทรงบำเพ็ญปัญญาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นเสนกบัณฑิต (๒๗/๔๐๒)

    ๕. วิริยบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญวิริยบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากปิ (๒๗/๕๑๖) ทรงบำเพ็ญวิริยอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าสีลวมหาราช (๒๗/๕๑) และทรงบำเพ็ญวิริยปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระมหาชนก (๒๘/๕๓๙)

    ๖. ขันติบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญขันติบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นจูฬธัมมปาลราชกุมาร (๒๗/๓๕๘) ทรงบำเพ็ญขันติอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นธัมมิกเทพบุตร (๒๗/๔๕๗) และทรงบำเพ็ญขันติปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นขันติวาทีดาบส (๒๗/๓๑๓)

    ๗. สัจจบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญสัจจบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นวัฏฏกะ (ลูกนกคุ่ม (๒๗/๓๕) ทรงบำเพ็ญสัจจอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญาปลาช่อน (๒๗/๗๕) และทรงบำเพ็ญสัจจปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้ามหาสุตโสม (๒๘/๕๓๗)

    ๘. อธิษฐานบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญากุกกุระ (๒๗/๒๒) ทรงบำเพ็ญอธิษฐานอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นมาตังคบัณฑิต (๒๗/๔๙๗) และทรงบำเพ็ญอธิษฐานปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเตมิยราชกุมาร (๒๘/๕๓๘)

    ๙. เมตตาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญเมตตาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นสุวรรณสามดาบส (๒๘/๕๔๐) ทรงบำเพ็ญเมตตาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัณหาทีปายนดาบส (๒๗/๔๔๔) และทรงบำเพ็ญเมตตาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าเอกราช

    ๑๐. อุเบกขาบารมี พระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นกัจฉปบัณฑิต (๒๗/๒๗๓) ทรงบำเพ็ญอุเบกขาอุปบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นพญามหิส (๒๗/๒๗๘) และทรงบำเพ็ญอุเบกขาปรมัตถบารมีในขณะที่เสวยพระชาติเป็นโลมหังสบัณฑิต (๒๗/๙๔)

    หมายเหตุ เลขหน้าเป็นลำดับเล่มพระไตรปิฎก เลขหลังเป็นลำดับชาดก เช่น (๒๗/๒๗๓) หมายถึง พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ ชาดกเรื่องที่ ๒๗๓)

    * การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในชาติหนึ่ง ๆ มิใช่ว่าจะทรงบำเพ็ญบารมีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทรงบำเพ็ญทานบารมี หรือทรงบำเพ็ญศีลบารมีอย่างเดียวเท่านั้น แต่ในชาติเดียวกันนั้น ได้บำเพ็ญบารมีหลายอย่างควบคู่กันไป แต่อาจเด่นเพียงบารมีเดียว ที่เหลือนอกนั้นเป็นบารมีระดับรอง ๆ ลงไป เช่น ในชาติที่เป็นพระเวสสันดรทรงบำเพ็ญบารมีครบทั้ง ๑๐ บารมี

    จำนวนการจัดสร้าง ๕๙๙ เหรียญ

    ช่วงบ่ายมาต่อกันที่มวลสารทั้งหมดที่ใช้ในการจัดสร้าง ติดงานแล้วครับ..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010207.JPG
      P1010207.JPG
      ขนาดไฟล์:
      217.7 KB
      เปิดดู:
      85
    • P1010208.JPG
      P1010208.JPG
      ขนาดไฟล์:
      249.6 KB
      เปิดดู:
      110
    • P1010214.JPG
      P1010214.JPG
      ขนาดไฟล์:
      218 KB
      เปิดดู:
      82
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 เมษายน 2008
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    เป็นความบังเอิญอีกแล้วที่ไม่ได้ตั้งใจจะนำเหรียญนี้มามอบให้ในช่วงนี้เลย เพราะเคยตั้งใจไว้ว่าจะมอบให้เมื่อได้ร่วมบุญพระธาตุเจดีย์โครงการหนึ่งโครงการใดในอนาคตเท่านั้น แต่ผลคือ เหรียญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับนครหริภุญไชยค่อนข้างมาก เนื่องด้วยองค์พระมหาธาตุเจดีย์หริภุญไชย และพระแม่จามเทวีนั่นเอง

    มูลเหตุการมอบที่ ๒ ผมคิดว่าเป็นบารมีของหลวงปู่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งตลอดอายุการบำเพ็ญบารมีของพระคุณเจ้านั้น ได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเอาไว้มากมาย โดยเฉพาะการก่อสร้างพระธาตุเจดีย์ วิหารทาน ธรรมทานฯลฯ การมอบให้นี้ก็คงสืบเนื่องจากผลบุญจากความตั้งใจที่จะบรรจุพระธาตุโมคคัลลานะให้ครบทั้ง ๙ แห่งนี้เอง ถือเป็นการบำเพ็ญบารมีร่วมกับหลวงปู่ครูบาเจ้าศรีวิชัยไปอีกทัศนะหนึ่ง...

    <TABLE><TBODY><TR><TD bgColor=#ffff00>ประวัตินักบุญแห่งล้านนา พระอริยสงฆ์ พระครูบาศรีวิชัย

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#ffecdd><TABLE width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปโดยเฉพาะในเขตล้านนาว่าเป็น "ตนบุญ" หรือ "นักบุญ" อันมีความหมายเชิงยกย่องว่าเป็นนักบวชที่มีคุณสมบัติพิเศษ อาจพบว่ามีการเรียกอีกว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาศรีวิชัย ครูบาศีลธรรม หรือ ทุเจ้าสิริ (อ่าน"ตุ๊เจ้าสิลิ") แต่พบว่าท่านมักเรียกตนเองเป็น พระชัยยาภิกขุ หรือ พระศรีวิชัยชนะภิกขุ เดิมชื่อเฟือนหรืออินท์เฟือนบ้างก็ว่าอ้ายฟ้าร้อง เนื่องจากในขณะที่ท่านถือกำเนิดนั้นปรากฏฝนฟ้าคะนองอย่างหนัก ส่วนอินท์เฟือนนั้น หมายถึง การเกิดกัมปนาทหวั่นไหวถึงสวรรค์หรือเมืองของพระอินทร์ ท่านเกิดในปีขาล เดือน ๙ เหนือ(เดือน ๗ของภาคกลาง) ขึ้น ๑๑ ค่ำ จ.ศ.๑๒๔๐ เวลาพลบค่ำ ตรงกับวันอังคารที่ ๑๑ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๑ ที่หมู่บ้านชื่อ "บ้านปาง" ตำบลแม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ท่านเป็นบุตรของนายควาย นางอุสา มีพี่น้องทั้งหมด ๕ คน มีชื่อตามลำดับ คือ ๑. นายไหว ๒. นางอวน ๓. นายอินท์เฟือน(ครูบาศรีวิชัย) ๔. นางแว่น ๕. นายทา
    ทั้งนี้นายควายบิดาของท่านได้ติดตามผู้เป็นตาคือ หมื่นปราบ (ผาบ) ซึ่งมีอาชีพเป็นหมอคล้องช้างของเจ้าหลวงดาราดิเรกฤทธิ์ไพโรจน์(เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ ช่วง พ.ศ.๒๔๑๔-๒๔๓๑)ไปตั้งครอบครัวบุกเบิกที่ทำกินอยู่ที่บ้านปาง บ้านเดิมของนายควายอยู่ที่บ้านสันป่ายางหลวง ทางด้านเหนือของตัวเมืองลำพูน
    ในสมัยที่ครูบาศรีวิชัยหรือนายอินท์เฟือนยังเป็นเด็กอยู่นั้น หมู่บ้านดังกล่าวยังกันดารมากมีชน กลุ่มน้อยอาศัยอยู่มากโดยเฉพาะชาว ปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) ในช่วงนั้นบ้านปางยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน จนกระทั่งเมื่อนายอินท์เฟือนมีอายุได้ ๑๗ ปีได้มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ครูบาขัติยะ (ชาวบ้านเรียกว่า ครูบาแฅ่งแฅะ เพราะท่านเดินขากะเผลก) เดินธุดงค์จากบ้านป่าซางผ่านมาถึงหมู่บ้านนั้น ชาวบ้านจึงนิมนต์ท่านให้อยู่ประจำที่บ้านปาง แล้วชาวบ้านก็ช่วยกันสร้างกุฏิชั่วคราวให้ท่านจำพรรษา ในช่วงนั้น เด็กชายอินท์เฟือนได้ฝากตัวเป็นศิษย์ และเมื่ออายุได้ ๑๘ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ อารามแห่งนี้โดยมีครูบาขัติยะเป็นพระอุปัชฌาย์ ๓ ปีต่อมา (พ.ศ. ๒๔๔๒) เมื่อสามเณรอินท์เฟือนมีอายุย่างเข้า ๒๑ ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทในอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อำเภอบ้านโฮ่งจังหวัดลำพูน โดยมีครูบาสมณะวัดบ้านโฮ่งหลวงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับนามฉายาในการอุปสมบทว่า สิริวิชโยภิกฺขุ มีนามบัญญัติว่า พระศรีวิชัย ซึ่งบางครั้งก็พบว่าเขียนเป็น สรีวิไชย สีวิไช หรือ สรีวิชัย
    เมื่ออุปสมบทแล้ว สิริวิชโยภิกขุก็กลับมาจำพรรษาที่อารามบ้านปางอีก ๑ พรรษา จากนั้นได้ไปศึกษากัมมัฏฐานและวิชาอาคมกับครูบาอุปละ วัดดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ต่อมาได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของครูบาวัดดอยคำอีกด้วย และอีกท่านหนึ่งที่ถือว่าเป็นครูของครูบาศรีวิชัยคือครูบาสมณะ วัดบ้านโฮ่งหลวงซึ่งเป็นพระอุปฌาย์ของท่าน
    ครูบาศรีวิชัยรับการศึกษาจากครูบาอุปละวัดดอยแตเป็นเวลา ๑ พรรษาก็กลับมาอยู่ที่อารามบ้านปางจนถึง พ.ศ. ๒๔๔๔ (อายุได้ ๒๔ ปี พรรษาที่ ๔) ครูบาขัติยะได้จาริกออกจากบ้านปางไป(บางท่านว่ามรณภาพ) ครูบาศรีวิชัยจึงรักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าอาวาส และเมื่อครบพรรษาที่ ๕ ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านปาง จากนั้นก็ได้ย้ายวัดไปยังสถานที่ที่เห็นว่าเหมาะสม คือบริเวณเนินเขาซึ่งเป็นที่ตั้งวัดบ้านปางในปัจจุบัน เพราะเป็นที่วิเวกและสามารถปฏิบัติธรรมได้เป็นอย่างดีโดยได้ให้ชื่อวัดใหม่แห่งนี้ว่า วัดจอมสรีทรายมูลบุญเรือง แต่ชาวบ้านทั่วไปยังนิยมเรียกว่า วัดบ้านปาง ตามชื่อของหมู่บ้าน
    ครูบาศรีวิชัยเป็นผู้มีศีลาจารวัตรที่งดงามและเคร่งครัด โดยที่ท่านงดการเสพ หมาก เมี่ยง บุหรี่ โดยสิ้นเชิง ท่านงดฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่เมื่ออายุได้ ๒๖ ปี และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ซึ่งมักเป็นผักต้มใส่เกลือกับพริกไทเล็กน้อย บางทีก็ไม่ฉันข้าวทั้ง ๕ เดือน คงฉันเฉพาะลูกไม้หัวมันเท่านั้น นอกจากนี้ท่านยังงดฉันผักตามวันทั้ง ๗ คือ วันอาทิตย์ ไม่ฉันฟักแฟง, วันจันทร์ ไม่ฉันแตงโมและแตงกวา, วันอังคาร ไม่ฉันมะเขือ, วันพุธ ไม่ฉันใบแมงลัก, วันพฤหัสบดี ไม่ฉันกล้วย, วันศุกร์ ไม่ฉันเทา (อ่าน"เตา"-สาหร่ายน้ำจืดคล้ายเส้นผมสีเขียวชนิดหนึ่ง), วันเสาร์ ไม่ฉันบอน นอกจากนี้ผักที่ท่านจะไม่ฉันเลยคือ ผักบุ้ง ผักปลอด ผักเปลว ผักหมากขี้กา ผักจิก และผักเฮือด-ผักฮี้(ใบไม้เลียบอ่อน) โดยท่านให้เหตุผลว่า ถ้าพระภิกษุสามเณรรูปใดงดได้ การบำเพ็ญกัมมัฏฐานจะเจริญก้าวหน้า ผิวพรรณจะเปล่งปลั่ง ธาตุทั้ง ๔ จะเป็นปกติ ถ้าชาวบ้านงดเว้นแล้วจะทำให้การถือคาถาอาคมดีนัก
    ครูบาศรีวิชัยมีความปรารถนาที่จะบรรลุธรรมะอันสูงสุดดังปรากฏจากคำอธิษฐานบารมีที่ท่านอธิษฐานไว้ว่า "...ตั้งปรารถนาขอหื้อได้ถึงธรรมะ ยึดเหนี่ยวเอาพระนิพพานสิ่งเดียว..." และมักจะปรากฏความปรารถนาดังกล่าวในตอนท้ายชองคัมภีร์ใบลานที่ท่านสร้างไว้ทุกเรื่อง อีกประการหนึ่งที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักและอยู่ในความทรงจำของชาวล้านนา คือการที่ท่านเป็นผู้นำในการสร้างทางขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพโดยพลังศรัทธาประชาชนเป็นจำนวนมาก ทั้งกำลังกายและกำลังทรัพย์ ซึ่งใช้เวลาสร้างเพียง ๕ เดือนเศษ โดยไม่ใช้งบประมาณของรัฐ แต่เรื่องที่ทำให้ครูบาศรีวิชัยเป็นที่รู้จักกันใน ระยะแรกนั้นเกิดเนื่องจากการที่ท่านต้องอธิกรณ์ ซึ่งระเบียบการปกครองสงฆ์ตามจารีตเดิมของล้านนานั้นให้ความสำคัญแก่ระบบหมวดอุโบสถ หรือ ระบบหัวหมวดวัด มากกว่า และการปกครองก็เป็นไปในระบบพระอุปัชฌาย์อาจารย์กับศิษย์ ซึ่งพระอุปัชฌาย์รูปหนึ่งจะมีวัดขึ้นอยู่ในการดูแลจำนวนหนึ่งเรียกว่าเจ้าหมวดอุโบสถ โดยคัดเลือกจากพระที่มีผู้เคารพนับถือและได้รับการยกย่องว่าเป็น ครูบา ซึ่งหมายถึงพระภิกษุที่ได้รับความยกย่องอย่างสูง ดังนั้นครูบาศรีวิชัยซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้นจึงอยู่ในตำแหน่งหัวหมวดพระอุปัชฌาย์ โดยฐานะเช่นนี้ ครูบาศรีวิชัยจึงมีสิทธิ์ตามจารีตท้องถิ่นที่จะบวชกุลบุตรได้ ทำให้ครูบาศรีวิชัยจึงมีลูกศิษย์จำนวนมาก และลูกศิษย์เหล่านี้ก็ได้เป็นฐานกำลังที่สำคัญของครูบาศรีวิชัยในการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแนวร่วมในการต่อต้านอำนาจจากกรุงเทพฯ เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งขึ้นในเวลาต่อมา
    ส่วนสงฆ์ในล้านนาเองก็มีแนวปฏิบัติที่หลากหลาย เนื่องจากมีการจำแนกพระสงฆ์ตามจารีตท้องถิ่นออกเป็นถึง ๑๘ นิกาย และในแต่ละนิกายนี้ก็น่าจะหมายถึงกลุ่มพระที่เป็นสายพระอุปัชฌาย์สืบต่อกันมาในแต่ละท้องที่ซึ่งมีอำนาจปกครองในสายของตน โดยผ่านความคิดระบบครูกับศิษย์ และนอกจากนี้นิกายต่าง ๆ นั้นยังเกี่ยวข้องกับชื่อของเชื้อชาติอีกด้วย เช่น นิกายเชียงใหม่ นิกายขึน (เผ่าไทขึน/เขิน) นิกายยอง (จากเมืองยอง) เป็นต้น สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นยึดถือปฏิบัติในแนวของนิกายเชียงใหม่ผสมกับนิกายยองซึ่งมีแนวปฏิบัติบางอย่างต่างจากนิกายอื่น ๆ มีธรรมเนียมที่ยึดถือคือ การนุ่งห่มที่เรียกว่า กุมผ้าแบบรัดอก สวมหมวก แขวนลูกประคำ ถือไม้เท้าและพัด ซึ่งยึดธรรมเนียมมาจากวัดดอยแตโดยอ้างว่า สืบวิธีการนี้มาจากลังกา การที่ครูบาศรีวิชัยถือว่าท่านมีสิทธิ์ที่จะบวชกุลบุตรได้ตามจารีตการถือปฏิบัติมาแต่เดิมนั้น ทำให้ขัดกับพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑(พ.ศ.๒๔๔๖) เพราะในพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า "พระอุปัชฌาย์ที่จะบวชกุลบุตรได้ ต้องได้รับการแต่งตั้งตามระเบียบการปกครองของสงฆ์จากส่วนกลางเท่านั้น" โดยถือเป็นหน้าที่ของเจ้าคณะแขวงนั้น ๆ เป็นผู้คัดเลือกผู้ที่ควรจะเป็นอุปัชฌาย์ได้ และเมื่อคัดเลือกได้แล้วจึงจะนำชื่อเสนอเจ้าคณะผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯเพื่อดำเนินการแต่งตั้งต่อไป การจัดระเบียบการปกครองใหม่ของกรุงเทพฯนี้ถือเป็นวิธีการสลายจารีตเดิมของสงฆ์ในล้านนาอย่างได้ผล องค์กรสงฆ์ล้านนาก็เริ่มสลายตัวลงที่ละน้อยเพราะอย่างน้อยความขัดแย้งต่าง ๆ ก็เกิดขึ้นระหว่างสงฆ์ในล้านนาด้วยกันเอง ดังกรณี ความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับพระครูมหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เป็นต้น
    การต้องอธิกรณ์ระยะแรกของครูบาศรีวิชัยนั้นเกิดขึ้นเพราะครูบาศรีวิชัยถือธรรมเนียมปฏิบัติตามจารีตเดิมของล้านนา ส่วนเจ้าคณะแขวงลี้ซึ่งใช้ระเบียบวิธีปฏิบัติของกรุงเทพฯ ซึ่งเห็นว่าครูบาศรีวิชัยทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าคณะแขวงลี้ จึงถือว่าเป็นความผิด เพราะตั้งตนเป็นพระอุปัชฌาย์เองและเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ครูบามหารัตนากรเจ้าคณะแขวงลี้กับหนานบุญเติง นายอำเภอลี้ได้เรียกครูบาศรีวิชัยไปสอบสวนเกี่ยวกับปัญหาที่ครูบาศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชกุลบุตรโดยมิได้รับแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติ การจับกุมครูบาศรีวิชัยสามารถแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ๓ ช่วงเนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกือบ ๓๐ ปีและแต่ละช่วงจะมีรายละเอียดของสภาพสังคมที่แตกต่างกัน
    อธิกรณ์ระยะแรก (ช่วง พ.ศ.๒๔๕๑ - ๒๔๕๓)
    การต้องอธิกรณ์ช่วงแรกของครูบาศรีวิชัยเป็นผลมาจากการเริ่มทดลองใช้กฎหมายของคณะสงฆ์ฉบับแรก (พ.ศ.๒๔๔๖) และเป็นการเริ่มให้อำนาจกับสงฆ์สายกลุ่มผู้ปกครองในช่วงพ.ศ.๒๔๕๓ นั้น บทบาทของครูบาศรีวิชัยในหมู่ชาวบ้านและชาวเขามีลักษณะโดดเด่นเกินกว่าตำแหน่งสงฆ์ผู้ปกครอง ดังจะเห็นว่าชาวบ้านมักนำเอาบุตรหลานมาฝากฝังให้ครูบาศรีวิชัยบวชเณรและอุปสมบท เมื่อความทราบถึงเจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้ ทางการก็เห็นว่าครูบาศรีวิชัยล่วงเกินอำนาจของตน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอได้พาตำรวจควบคุมครูบาศรีวิชัยไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ได้ ๔ คืน จากนั้นก็ส่งครูบาศรีวิชัยไปให้พระครูบ้านยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูนเพื่อรับการไต่สวน ซี่งผลก็ไม่ปรากฏครูบาศรีวิชัยมีความผิด หลังจากถูกไต่สวนครั้งแรกไม่นานนัก ครูบาศรีวิชัยก็ถูกเรียกตัวสอบอีกครั้งโดยพระครู มหาอินทร์ เจ้าคณะแขวงลี้ เนื่องจากมีหมายเรียกให้ครูบาศรีวิชัยนำลูกวัดไปประชุมเพื่อรับทราบระเบียบกฎหมายใหม่จากนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงลี้ แต่ครูบาศรีวิชัยไม่ได้ไปตามหมายเรียกนั้น ซึ่งส่งผลทำให้เจ้าอธิการหัววัดที่อยู่ในหมวดอุโบสถของครูบาศรีวิชัยไม่ไปประชุมเช่นกัน เพราะเห็นว่าเจ้าหัวหมวดไม่ไปประชุม ลูกวัดก็ไม่ควรไป พระครูเจ้าคณะแขวงลี้จึงสั่งให้นายสิบตำรวจเมืองลำพูนไปควบคุมครูบาศรีวิชัยส่งให้พระครูญาณมงคลเจ้าคณะจังหวัดลำพูนจัดการไต่สวน ครั้งนั้น ครูบา ศรีวิชัยถูกควบคุมตัวอยู่ที่วัดชัยเมืองลำพูนถึง ๒๓ วัน จึงได้รับการปล่อยตัว
    ส่วนครั้งที่๓ ใน พ.ศ.เดียวกันนี้ พระครูเจ้าคณะแขวงลี้ได้สั่งให้ครูบาศรีวิชัยนำเอาลูกวัดเจ้าอธิการหัววัดตำบลบ้านปาง ซึ่งอยู่ในหมวดอุโบสถไปประชุมที่วัดเจ้าคณะแขวงตามพระราชบัญญัติที่จะเพิ่มขึ้น ปรากฏว่าครูบาศรีวิชัยมิได้เข้าประชุมอีก มีผลให้บรรดาหัววัดไม่ไปประชุมเช่นกัน เจ้าคณะแขวงและนายอำเภอลี้จึงมีหนังสือฟ้องถึงพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัยเมืองลำพูนนานถึงหนึ่งปี พระครูญาณมงคลจึงได้เรียกประชุมพระครูผู้ใหญ่ในจังหวัดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งในที่สุดที่ประชุมก็ได้ตัดสินให้ครูบาศรีวิชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหมวดวัด หรือหมวดอุโบสถและมิให้เป็นพระอุปัชฌาย์อีกต่อไป พร้อมทั้งถูกควบคุมตัวต่อไปอีกหนึ่งปี
    อธิกรณ์ระยะที่สอง (พ.ศ. ๒๔๕๔ - ๒๔๖๔)
    อธิกรณ์พระศรีวิชัยครั้งที่สองนี้มีความเข้มข้นและรุนแรงขึ้นเนื่องจากเป็นผลมาจากการต้องอธิกรณ์ครั้งแรกถึง ๓ ครั้ง แต่การต้องอธิกรณ์กลับเป็นการเพิ่มความเลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อครูบาศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น เสียงที่เล่าลือเกี่ยวกับครูบาสรีวิชัยจึงขยายออกไป นับตั้งแต่เป็นผู้วิเศษเดินตากฝนไม่เปียกและได้รับดาบสรีกัญไชย(พระขรรค์ชัยศรี)จากพระอินทร์ ความนับถือเลื่อมใสศรัทธาใน ตัวครูบาศรีวิชัยยิ่งแพร่ขยายออกไปอย่างไม่หยุดยั้ง คำเล่าลือดังกล่าวเมื่อทราบถึงเจ้าคณะแขวงลี้และนายอำเภอแขวงลี้ ทั้งสองจึงได้เข้าแจ้งต่อพระครูญาณมงคล เจ้าคณะจังหวัดลำพูน โดยกล่าวหาว่า "ครูบาศรีวิชัยเกลี้ยกล่อมส้องสุมคนคฤหัสถ์นักบวชเป็นก๊กเป็นเหล่า และใช้ผีและเวทมนต์" พระครูญาณมงคลจึงออกหนังสือลงวันที่ ๑๒มกราคม ๒๔๖๒ สั่งครูบาศรีวิชัยให้ออกไปพ้นเขตจังหวัดลำพูน ภายใน ๑๕ วัน พร้อมทั้งมีหนังสือห้ามพระในจังหวัดลำพูนรับครูบาศรีวิชัยไว้ในวัด เมื่อครูบาศรีวิชัยโต้แย้งและทางการไม่สามารถเอาผิดครูบาศรีวิชัยได้ ความดังกล่าวก็เลิกราไประยะหนึ่ง แต่ต่อมา ก็มีหนังสือของเจ้าจักรคำขจรศักดิ์เจ้าผู้ครองเมืองนครลำพูน เรียกครูบาศรีวิชัยพร้อมกับลูกวัดเข้าเมืองลำพูน ครั้งนั้นพวกลูกศิษย์ได้จัดขบวนแห่ครูบาศรีวิชัยเข้าสู่เมืองอย่างใหญ่โต การณ์ดังกล่าวคงจะทำให้ทางคณะสงฆ์ผู้ปกครองลำพูนตกใจอยู่มิใช่น้อย ดังจะพบว่าเมื่อครูบาศรีวิชัยพักอยู่ที่วัดมหาวันได้คืนหนึ่ง อุปราชเทศามณฑลพายัพจึงได้สั่งย้ายครูบาศรีวิชัยขึ้นไปยังเชียงใหม่ โดยให้พักกับพระครูเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ที่วัดเชตวัน เสร็จแล้วจึงมอบตัวให้พระครูสุคันธศีล รองเจ้าคณะเมืองเชียงใหม่ ที่วัดป่ากล้วย (ศรีดอนไชย)
    ในระหว่างที่ครูบาศรีวิชัยถูกควบคุมอยู่ที่วัดป่ากล้วย ก็ได้มีพ่อค้าใหญ่เข้ามารับเป็นผู้อุปฐากครูบาศรีวิชัยคือหลวงอนุสารสุนทร (ซุ่นฮี้ ชัวย่งเส็ง)และพญาคำ แห่งบ้านประตูท่าแพ ตลอดจนผู้คนทั้งในเชียงใหม่และใกล้เคียงต่างก็เดินทางมานมัสการครูบาศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก ทางฝ่ายผู้ดูแลต่างเกรงว่าเรื่องจะลุกลามไปกันใหญ่เนื่องจากแรงศรัทธาของชาวเมืองเหล่านี้ เจ้าคณะเมืองเชียงใหม่และเจ้าคณะมณฑลพายัพจึงส่งครูบาศรีวิชัยไปรับการไต่สวนพิจารณาที่กรุงเทพฯ ซึ่งผลการพิจารณาไม่พบว่าครูบาศรีวิชัยมีความผิด และให้ครูบาศรีวิชัยเลือกเป็นเจ้าอาวาสหรืออาศัยอยู่ในวัดอื่นก็ได้ เมื่อครูบาศรีวิชัยกลับจากกรุงเทพฯแล้ว ชนทุกกลุ่มของล้านนาก็ได้เพิ่มความเคารพยกย่องในตัวครูบา ดังจะเห็นได้จากความสนับสนุนในการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่าง ๆ ทั่วไปในล้านนาซึ่งต้องใช้ทั้งเงินและแรงงานอย่างมหาศาล
    อธิกรณ์ระยะที่สาม (ช่วง พ.ศ. ๒๔๗๘ - ๒๔๗๙)
    การต้องอธิกรณ์ช่วงที่สามของครูบาศรีวิชัยเกิดขึ้นในช่วงที่ได้มีการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอย สุเทพเพราะขณะก่อสร้างทางอยู่นั้นเอง ปรากฏว่ามีพระสงฆ์ในจังหวัดเชียงใหม่รวม ๑๐ แขวง ๕๐ วัด ขอลาออกจากการปกครองคณะสงฆ์ไปขึ้นอยู่ในปกครองของครูบาศรีวิชัยแทน เมื่อเห็นการที่วัดขอแยกตัวไปขึ้นกับครูบาศรีวิชัยเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นนั้น ทางคณะสงฆ์จึงสั่งให้กลุ่มพระสงฆ์ในวัดที่ขอแยกตัวออกดังกล่าวเข้ามอบตัวและพระสงฆ์ที่ครูบาศรีวิชัยเคยบวชให้ก็ถูกสั่งให้สึก อธิกรณ์ครั้งที่ ๓ นี้ได้ดำเนินมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๙ ครูบาศรีวิชัยได้ให้คำรับรองต่อคณะสงฆ์ว่าจะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ทุกประการ ท่านจึงได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๙ รวมเวลาที่ต้องสอบสวนและอบรมอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรเป็นเวลาถึง ๖ เดือน ๑๗ วัน
    กรณีความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับคณะสงฆ์ฝ่ายปกครองได้ดำเนินมาเป็นระยะเวลาเกือบ ๓๐ ปี นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๑ เป็นต้นมา ตราบกระทั่งวาระสุดท้ายในชีวิตของครูบาศรีวิชัย แต่ในช่วงเวลานั้น ครูบาศรีวิชัยก็ยังคงดำเนินการช่วยเหลือประชาชน เป็นที่พึ่งทางใจและดำเนินการบูรณะ ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนสาธารณะประโยชน์ตามคำอาราธนาอยู่เรื่อยมา
    การปฏิสังขรณ์วัดและปูชนียวัตถุทางพุทธศาสนากับการสร้างสิ่งสาธารณประโยชน์
    ครูบาศรีวิชัยได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือปฏิบัติเคร่งมาตั้งแต่เป็นสามเณร ดังเห็นว่าท่านเป็นผู้ที่มักน้อย ถือสันโดษ และเว้นอาหารที่มีเนื้อสัตว์เจือปน ตลอดจนงดกระทั่งหมาก เมี่ยง และบุหรี่ ทำให้คนทั่วไปเห็นว่าครูบาเป็นผู้บริสุทธิ์ที่มีลักษณะเป็น"ตนบุญ" คนทั้งปวงต่างก็ประสงค์จะทำบุญกับครูบาเพราะเชื่อว่าการถวายทานกับภิกษุผู้บริสุทธิ์เช่นนั้นจะทำให้ผู้ถวายทานได้รับอานิสงส์มาก เงินที่ประชาชนนำมาทำบุญก็นำไปใช้ในการก่อสร้างสาธารณประโยชน์และบูรณะศาสนสถานและศาสนวัตถุ งานก่อสร้างดังกล่าวเริ่มขึ้นเมื่อปี ฉลู พ.ศ.๒๔๔๒ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ ครูบาได้แจ้งข่าวสารไปยังศรัทธาทั้งหลายรวมทั้งชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ว่าจะวัดบ้านปางขึ้นใหม่ ซึ่งก็สร้างเสร็จภายในเวลาไม่นานนัก ให้ชื่อวัดใหม่นั้นว่า "วัดศรีดอยไชยทรายมูล" ซึ่งคนทั่วไปนิยมเรียกว่า "วัดบ้านปาง"
    ขั้นตอนปฏิบัติในการไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดมีว่า เมื่อครูบาได้รับนิมนต์ให้ไปบูรณะปฏิสังขรณ์วัดใดแล้ว ทางวัดเจ้าภาพก็จะสร้างที่พักของครูบากับศิษย์และปลูกปะรำสำหรับเป็นที่พักของผู้ที่มาทำบุญกับครูบา คืนแรกที่ครูบาไปถึงก็จะอธิษฐานจิตดูว่าการก่อสร้างครั้งนั้นจะสำเร็จหรือไม่ ซึ่งมีน้อยครั้งที่จะไม่สำเร็จเช่นการสร้างสะพานศรีวิชัยซึ่งเชื่อมระหว่าง อำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมือง ลำพูน จากนั้นครูบาก็จะ "นั่งหนัก" คือเป็นประธานอยู่ประจำในงานนั้น คอยให้พรแก่ศรัทธาที่มาทำบุญโดยไม่สนใจเรื่องเงิน แต่มีคณะกรรมการช่วยกันรวบรวมเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ครูบาไป "นั่งหนัก" ที่ไหน ประชาชนจะหลั่งไหลกันไปทำบุญที่นั่นถึงวันละ ๒๐๐-๓๐๐ ราย คับคั่งจนที่นั้นกลายเป็นตลาดเป็นชุมชนขึ้น เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วก็จะมีงาน "พอยหลวง-ปอยหลวง" คืองานฉลอง บางแห่งมีงานฉลองถึงสิบห้าวัน และในช่วงเวลาดังกล่าวก็มักจะมีคนมาทำบุญกับครูบามากกว่าปกติ เมื่อเสร็จงาน"พอยหลวง-ปอยหลวง" ในที่หนึ่งแล้ว ครูบาและศิษย์ก็จะย้ายไปก่อสร้างที่อื่นตามที่มีผู้มานิมนต์ไว้ โดยที่ท่านจะไม่นำทรัพย์สินอื่นใดจากแหล่งก่อนไปด้วยเลย ช่วงที่ครูบาศรีวิชัยต้องอธิกรณ์ครั้งที่สองและถูกควบคุมไว้ที่วัดศรีดอนชัย เชียงใหม่ เป็นเวลา ๓ เดือนกับ ๘ วันนั้น ผู้คนหลั่งไหลไปทำบุญกับครูบาไม่ต่ำกว่าวันละ ๒๐๐ ราย เมื่อครูบาได้ผ่านการพิจารณาอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯ ซึ่งใช้เวลาอีก ๒ เดือนกับ ๔ วันแล้วครูบาก็เดินทางกลับลำพูนเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๓ หลังจากนั้นผู้คนก็มีความศรัทธาในตัวครูบามากขึ้น ครูบาศรีวิชัยเริ่มต้นการบูรณะวัดขณะที่ท่านอายุ ๔๒ ปี โดยเริ่มจากการบูรณะพระเจดีย์บ่อนไก้แจ้ จังหวัดลำปาง ถัดจากนั้นได้บูรณะเจดีย์และวิหารวัดพระธาตุหริภุญชัย ต่อมาได้ไปบูรณะเจดีย์ดอยเกิ้ง ในเขตอำเภอฮอด เชียงใหม่ จากนั้นไปบูรณะวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา กล่าวกันมาว่าในวันที่ท่านถึงพะเยานั้น มีประชาชนนำเงินมาบริจาคร่วมทำบุญใส่ปีบได้ถึง ๒ ปีบ หลังจากนั้นมาบูรณะวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ เป็นอาทิ รวมแล้วพบว่างานบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามของครูบาศรีวิชัยมีประมาณ ๒๐๐ แห่ง
    ในขณะที่ครูบาศรีวิชัยกำลังบูรณะวัดสวนดอกเชียงใหม่ใน พ.ศ.๒๔๗๕ อยู่นั้น หลวงศรีประกาศได้หารือกับครูบาศรีวิชัยว่าอยากจะนำไฟฟ้าขึ้นไปใช้บนดอยสุเทพ แต่ครูบาศรีวิชัยว่าหากทำถนนขึ้นไปจะง่ายกว่าและจะได้ไฟฟ้าในภายหลัง ทั้งนี้ทางการเคยคำนวณไว้ในช่วง พ.ศ.๒๔๖๐ ว่าหากสร้างทางขึ้นดอยสุเทพนั้นจะต้องใช้งบประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท แต่ครูบาศรีวิชัยได้เริ่มสร้างทางเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๗๗ และเปิดให้รถยนต์แล่นได้ในวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๔๘๘ โดยไม่ต้องใช้งบประมาณเลย ครั้นเสร็จงานสร้างถนนแล้ว ครูบาศรีวิชัยก็ถูกนำตัวไปสอบอธิกรณ์ที่กรุงเทพฯอีกเป็นครั้งที่สอง และงานชิ้นสุดท้ายของท่านที่ไม่เสร็จในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็คือสะพานศรีวิชัยอนุสรณ์ ทอดข้ามน้ำแม่ปิงเชื่อมอำเภอหางดง เชียงใหม่ กับอำเภอเมืองจังหวัดลำพูน
    ในการก่อสร้างต่าง ๆ นับแต่ พ.ศ.๒๔๖๓ ถึง ๒๔๗๑ มีผู้ได้บริจาคเงินทำบุญกับท่าน ประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ รูปี คิดเป็นเงินไม่น้อยกว่าสามหมื่นห้าพันบาท รวมค่าก่อสร้างชั่วชีวิตของท่านประมาณสองล้านบาท นอกจากนั้นท่านยังได้สร้างคัมภีร์ต่าง ๆ อีกไม่น้อยกว่า ๓๐๐๐ ผูก คิดค่าจารเป็นเงิน ๔,๓๒๑ รูปี(รูปีละ ๘๐ สตางค์) ทั้งนี้ แม้ครูบาศรีวิชัยจะมีงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่และมากมาย แต่บิดามารดาคือนายควายและนางอุสาก็ยังคงอยู่ในกระท่อมอย่างเดิมสืบมาตราบจนสิ้นอายุ
    ครูบาศรีวิชัยซึ่งเป็นคนร่างเล็กผอมบางผิวขาว ไม่ใช่คนแข็งแรง แม้ท่านจะไม่ต้องทำงานประเภทใช้แรงงาน แต่การที่ต้องนั่งคอยต้อนรับและให้พรแก่ผู้มาทำบุญกับท่านนั้น ท่านจะต้อง"นั่งหนัก"อยู่ตลอดทั้งวัน ด้วยเหตุนี้ท่านจึงอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวารซึ่งสะสมมาแต่ครั้งการตระเวนก่อสร้างบูรณะวัดในเขตล้านนา และการอาพาธได้กำเริบขณะที่สร้างสะพานข้ามแม่น้ำปิง ครูบาศรีวิชัยถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๑ ที่วัดบ้านปาง ขณะมีอายุได้ ๖๐ ปี ๙ เดือน ๑๑ วัน และตั้งศพไว้ที่วัดบ้านปางเป็นเวลา ๑ ปี บางท่านก็ว่า ๓ ปี จากนั้นได้เคลื่อนศพมาตั้งไว้ที่วัดจามเทวี ลำพูน จนถึงวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้รับพระราชทานเพลิงศพ เมื่องานพระราชทานเพลิงศพเสร็จสิ้นจึงได้มีการแบ่งอัฐิของท่านไปบรรจุไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น ที่วัดจามเทวีจังหวัดลำพูน วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา วัดพระธาตุช่อแฮ จังหวัดแพร่ และที่วัดบ้านปาง จังหวัดลำพูนอันเป็นวัดดั้งเดิมของท่าน เป็นต้น
    วัตถุมงคลของครูบาเจ้าศรีวิชัย
    ในยุคที่ครูบาศรีวิชัยยังไม่ถึงแก่มรณภาพนั้น ผู้ที่ทำบุญกับครูบาศรีวิชัยจะได้รับความอิ่มใจที่ได้ทำบุญกับท่านเท่านั้น ส่วนการสร้างวัตถุมงคลนั้น ระยะแรก พวกลูกศิษย์ที่นับถือครูบาศรีวิชัยได้จัดทำพระเครื่องคล้ายพระรอดหรือพระคงของลำพูน โดยเมื่อครูบาปลงผมในวันโกน ก็จะเก็บเอาเส้นผมนั้นมาผสมกับมุกมีส่วนผสมกับน้ำรักกดลงในแบบพิมพ์ดินเผาแล้วแจกกันไปโดยไม่ต้องเช่าในระหว่างศิษย์ กล่าวกันว่าเพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ซึ่งก็ลือกันว่ามีอิทธิฤทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์
    ส่วนเหรียญโลหะรูปครูบาศรีวิชัยนั้น พระครูวิมลญาณประยุต (สุดใจ วิกสิตฺโต) ชาวจังหวัดอ่างทองได้ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดลำพูนสร้างขึ้นให้เช่าเพื่อนำเงินมาช่วยในการปลงศพครูบาศรีวิชัย โดยให้เช่าในราคาเหรียญละ ๕ สตางค์ ทั้งนี้ สิงฆะ วรรณสัย ยืนยันจากประสบการณ์ที่ท่านรู้จักครูบาดีและได้คลุกคลีกับเรื่องพระเครื่องมาตั้งแต่ครูบายังไม่มรณภาพนั้นระบุว่าไม่มีเหรียญรุ่นดอยสุเทพ ไม่มีเหรียญที่ครูบาศรีวิชัยสร้าง หรือวัตถุมงคลอื่นใดที่ครูบาจะสร้างขึ้น นอกจากการให้พรและความอิ่มใจในการทำบุญกับท่านเท่านั้น แต่ในระยะหลังก็พบว่ามีการสร้างวัตถุมงคลของครูบาอยู่เป็นจำนวนมาก ในรูปแบบต่างๆ โดยผู้ที่ครอบครองวัตถุมงคลเหล่านั้นมีความศรัทธาในความดีของ "ตนบุญ"เป็นสำคัญ
    (เรียบเรียงจากงานของ วิลักษณ์ ศรีป่าซาง, ประวัติครูบาศรีวิชัยร่วมกับหลวงศรีประกาศ ตอนสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ ของ ส.สุภาภา ๑๐ พค.๒๕๑๘, สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ของสิงฆะ วรรณสัย ศูนย์หนังสือเชียงใหม่ พฤศจิกายน ๒๕๒๒, และ ตำนานครูบาศรีวิชัยแบบพิศดารและตำนานวัดสวน-ดอก สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒๕๓๗)

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD bgColor=#ffcc66>ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา งามล่ำค่านครพิงค์

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    http://www.oceansmile.com/N/Chianmai/Chiangmai2.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2008
  18. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    วันศุกร์ผมจะฝากแฟน

    ไปโอนในรอบที่ 4 อีก 800.- บาท บุญร่วมสร้างพระบุษบก ฯ

    รวมยอดโอน 22,800.- บาท

    เฉพาะพระบุษบก ฯ 19,800.- บาท

    สาธุครับ
     
  19. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    คุณเพชรคะ
    ได้รับพระแล้วนะคะบรรจุได้เนี๊ยบจริงๆ
    ไม่มีบุบสลายเลย สาธุนะคะ
     
  20. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099

    ผมว่าจะโอนแล้วครับ มีท่านแจ้งมาทำเพิ่ม อีก 2,000.- บาท

    รอก่อนนะครับ รวมเป็น 2,800.- บาทครับ

    สาธุครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...