สร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะรับมอบพระกรุลำพูนอายุ๕๐๐-๗๐๐ ปี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย :::เพชร:::, 13 มีนาคม 2008.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    บทบาทขององค์พระฤาษีในสมัยหริภุญไชยนั้น เป็นทั้งที่ปรึกษาด้านทางทหาร และที่ปรึกษาด้านพุทธศาสนา เรียกว่า"ทั้งบู๊ และบุ๋น" นั่นเอง เมืองหริภุญไชยปกครองด้วยกษัตริย์ที่เป็นสตรี จึงมีผู้หมายปองทั้งเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปทั้งข้าวปลาอาหาร และทรัพย์สินเงินทอง ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม การสามารถครอบครองเมืองหริภุญไชยได้ จึงเท่ากับเป็นการครอบครองกษัตริย์สตรีผู้เลอโฉมไปด้วย พระฤาษีได้คิดโดยถี่ถ้วนแล้ว จึงต้องช่วยเหลือทุกวิถีทาง..

    ส่วนเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของพระฤาษีทั้งห้า มีปรากฎในพงศาวดารหริภุญไชย วัดสี่มุมเมือง เป็นวัดที่พระนางจามเทวีโปรดให้สร้างขึ้นประจำทิศทั้งสี่ของนครหริภุญไชย เพื่อเป็นพุทธปราการปกป้องคุ้มครองพระนครดังนี้

    วัดพระคงฤาษี หรืออาพัทธาราม ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือ เป็นวัดโบราณมาแต่เดิม บริเวณวัดกว้างขวางมาก ต่อมาถูกลุกล้ำจากชาวบ้าน ทำให้บริเวณวัดเล็กลง เป็นวัดที่มีชื่อเสียงจากพระพิมพ์ที่เรียกว่า "พระคง"

    บริเวณวัดพระคง มีเจดีย์ที่มีลักษณะแปลกออกไปจากเจดีย์องค์อื่น ๆ ในเมืองลำพูน เชื่อว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับวัดนี้ ต่อมาได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ในหลายยุคหลายสมัย แต่ยังคงรูปแบบเดิมไว้ คือ มีลักษณะเป็นเจดีย์เหลี่ยม มีซุ้มคูหาสี่ด้าน ประดิษฐานรูปฤาษีสี่ตน คือ ด้านเหนือ สุเทวฤาษี ด้านใต้ สุกกทันตฤาษี ด้านทิศตะวันออก สุพรหมฤาษี ด้านทิศตะวันตก สุมณนารกฤาษี ต่อมาได้มีการซ่อมแซมและดัดแปลงพระเจดีย์ขึ้นใหม่ ในสมัยเจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าหลวงลำพูนองค์ที่แปด ได้ให้ช่างพอกหุ้มฤาษีทั้งสี่ แล้วแปลงให้เป็นพระพุทธรูป

    ในสมัยเจ้าหลวงอินทยงยศเกิดอัคคีภัยในเมืองลำพูนครั้งใหญ่ จนคุ้มหลวงที่อยู่ตรงศาลากลางจังหวัดในปัจจุบันถูกไฟไหม้หมด ชาวเมืองต่างโจษขานกันว่า เหตุที่ไฟไหม้ครั้งนี้เกิดจาก การที่เจ้าหลวงองค์ที่แปดได้พอกฤาษีทั้งสี่ตนดังกล่าว
    ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ได้เกิดอสุนีบาตต้องเจดีย์วัดพระคงฤาษี พระพุทธรูปปูนปั้นที่พอกเค้าแกนเดิมของรูปฤาษีทั้งสี่ได้แตกออก เห็นรูปฤาษีที่เป็นโครงศิลาแลงปรากฏออกมา จึงให้มีการดัดแปลงเจดีย์วัดพระคงเสียใหม่ โดยตัดมุมเจดีย์ทั้งสี่ด้าน แล้วประดิษฐานรูปฤาษีสี่ตนไว้ประจำด้านละตน และปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปที่แตกชำรุดไว้เช่นเดิม

    วัดต้นก๊อ ตั้งอยู่ติดกับวัดต้นแก้ว ที่บ้านเวียงยองตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ฯ ปัจจุบันเป็นวัดร้างไม่ปรากฏประวัติ โบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงเจดีย์ที่อยู่ในบริเวณวัดต้นแก้ว

    ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของเจดีย์ เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ส่วนฐานล่างสุดเป็นฐานเขียงสี่เหลี่ยมจตุรัสซ้อมกันสามชั้น รองรับชั้นฐานสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อเก็จ ส่วนกลางประกอบด้วยชุดบัวถลาแปดเหลี่ยม รองรับองค์ระฆัง ซึ่งเป็นลักษณะที่นิยมมากตั้งแต่ประมาณครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ ๒๑ ส่วนบนเป็นบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสอง ส่วนยอดทำเป็นปล้องไฉน เจดีย์ต้นก๊อ ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๘

    วัดดอนแก้ว หรือวัดอรัญญิกรัมมการาม เป็นวัดสำคัญและเก่าแก่มาก ตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียงยอง อำเภอเมือง ฯ ในสมัยพระนางจามเทวีถือว่าเป็นวัดในเมือง ภายหลังสายน้ำปิง และแม่กางได้เปลี่ยนทางเดินโดยพระยามังราย จึงทำให้วัดนี้อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่น้ำกวง ปัจจุบันวัดดอนแก้วเป็นวัดร้าง มีการขุดพบซากโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิที่ชำรุด ซึ่งได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้สมบูรณ์ แล้วนำมาประดิษฐานไว้บนฐานเจดีย์ ในวัดพระธาตุหริภุญไชยทั้งสามองค์ พระพุทธรูปหินทรายดังกล่าวเป็นพระพุทธรูปศิลปะทวาราวดี มีลักษณะพุทธศิลป์แบบคุปตะ ซึ่งเป็นต้นเค้าของพระเครื่อง หรือพระพิมพ์ขนาดเล็ก คือ พระคง พระบาง พระเปิม นอกจากพระพุทธรูป และพระพิมพ์ต่าง ๆ ที่ขุดค้นพบในบิรเวณวัดแห่งนี้แล้ว ยังพบศิลาจารึกต่าง ๆ อีกมาก
    ในอดีตวัดดอนแก้วได้รับการเอาใจใส่จากกษัตริย์ในราชวงศ์จามเทวีวงศ์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระเจ้าสรรพสิทธิ์ธรรมิกราช ได้ทรงผนวช และบำเพ็ญที่วัดนี้พร้อมกับพระโอรสสององค์ ดังมีเรื่องราวที่ปรากฎในศิลาจารึกที่ขุดพบ

    วัดประตูลี้ หรือวัดมหารัตนาราม ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศใต้ เป็นวัดที่มีพระพิมพ์ขนาดเล็ก และขนาดใหญ่มากมาย เช่น พระเหลี้ยมหลวง พระเหลี้ยมหม้อ พระเหลี้ยมเล็กพิมพ์นิยม พระลือหน้ามงคล พระบางจิ๋ว พระสามท่ากาน พระสามแบบซุ้มกระรอกกระแต พระสิบแปด พระสิบสอง พระหูยาน นอกจากนี้ยังพบพระพิฆเนศซึ่งทำด้วยหินทรายแกะสลักขนาดใหญ่

    เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๙ ได้พบโถโบราณเนื้อดินเผา มีรูปลักษณะคล้ายตะเกียงโบราณแบบโรมัน มีฐานเป็นชั้น ๆ ตรงกลางปอง มีคอยาวเรียวขึ้นไปถึงบริเวณปาก ภายในโถบรรจุพระเหลี้ยมหลวงประมาณ ๓๐๐ องค์ เป็นพระพิมพ์ดินเผาเนื้อค่อนข้างหยาบ

    วัดมหาวัน หรือวัดมหาวนาราม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมือง เป็นวัดสี่มุมเมืองที่มีสถาพสมบูรณ์ที่สุด โบราณวัตถุที่มีอยู่คู่กับวัดมาตั้งแต่เดิมคือ พระพุทธสักขีปฏิสากร หรือพระหินศิลาดำ หรือที่เรียกกันในนามว่า พระรอดหลวง หรือแม่พระรอด ปัจจุบันประดิษฐานนอยู่บนแท่นแก้วหน้าองค์พระประธาน ในวิหารหลวงที่สร้างขึ้งใหม่
    พระหินศิลาคำนี้ พระนางจามเทวีได้อัญเชิญมาจากกรุงละโว้ กับพระพุทธรูปสำคัญอีกองค์คือ พระเจ้าละโว้ และพระแก้วขาว (พระเสตังคมณี) เมื่อครั้งเสด็จมาครองเมืองหริภุญไชย

    กษัตริย์ที่ได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดมหาวันคือ พญาสรรพสิทธิ์ ได้สร้างวัดมหาวันกับเจดีย์ และให้สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่งคือ พระประธานของวัดมหาวัน มีพุทธลักษณะที่งดงาม

    วัดมหาวัน มีพระรอดซึ่งเป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผาที่มีชื่อเสียงไปทั่วประเทศ และยังมีการขุดพบพระพิมพ์ชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูป พระบูชาสมัยโบราณต่าง ๆ อีกมาก

    http://www.amulet2u.com/board/q_view.php?c_id=3&q_id=1927&PHPSESSID=8c66862fad6fae79a

    ขอให้จดจำตำแหน่งแห่งที่ของวัดสี่มุมเมืองนี้ให้ได้เพราะนั่นคือตำแหน่งจุดบนพระรอดนั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010490.jpg
      P1010490.jpg
      ขนาดไฟล์:
      232.9 KB
      เปิดดู:
      84
    • P1010491.jpg
      P1010491.jpg
      ขนาดไฟล์:
      231.1 KB
      เปิดดู:
      65
  2. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ๓ พวง มะลิล้วน ๖๐ บาท ของผบ.ทบ.ซื้อไว้แล้ว ๓ พวง
     
  3. manote

    manote เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2006
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +5,995
    สวัสดีครับพี่เพชร เมื่อวานว่าจะเข้ามาโพสแจ้งโอนเงินแต่ไม่มีเวลาเลยจริงๆ พอมาตอนเช้าไปถึงที่ทำงาน พบกล่องพัสดุ ดูชื่อแล้ว ทราบว่าเป็นพี่เพชรส่งมาให้ ดีใจมากๆครับ นี่ขนาดยังไม่ได้โอนเงินแต่พี่เพชร กรุณาและเชื่อใจทุกคนจริงๆครับ สาธุ พระธาตุงามมากๆครับ และได้รับ VCD แล้วแต่ยังไม่ได้ลองเปิด คงได้เปิดคืนนี้หลังลงเวบบ์แล้วเสร็จ ยังไงขอแจ้งนะครับว่าโอนเงินให้พี่เพชรแล้วเมื่อวานนี้ประมาณเวลา 14.00 น. จำนวน 1000 บาท ครับ และได้รับพระธาตุเป็นที่เรียบร้อยขอโมทนาด้วยครับ

    พระที่นำมาลงสวยๆทั้งนั้น และมีผู้ครอบครองเป็นเจ้าของตามที่พี่เพชรแจ้งตอนต้นกระทู้แล้วเกือบทุกองค์ "ของๆใครก็ย่อมต้องรอเจ้าของเขาครับ"

    โมทนากับทุกท่านที่ร่วมบุญด้วยนะครับ สาธุ
     
  4. ชวภณ

    ชวภณ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +10
    ขอบคุณครับคุณเพชร ที่ให้ความรู้เพิ่มเติม จากที่เคยรู้สึกไม่ค่อยสนใจเพราะเป็นของโบราณ หายาก ข้อมูลก็ไม่สันทัด ตอนนี้ชักเริ่มสนใจมากขึ้นแล้วครับ
     
  5. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ manote [​IMG]
    สวัสดีครับพี่เพชร เมื่อวานว่าจะเข้ามาโพสแจ้งโอนเงินแต่ไม่มีเวลาเลยจริงๆ พอมาตอนเช้าไปถึงที่ทำงาน พบกล่องพัสดุ ดูชื่อแล้ว ทราบว่าเป็นพี่เพชรส่งมาให้ ดีใจมากๆครับ นี่ขนาดยังไม่ได้โอนเงินแต่พี่เพชร กรุณาและเชื่อใจทุกคนจริงๆครับ สาธุ พระธาตุงามมากๆครับ และได้รับ VCD แล้วแต่ยังไม่ได้ลองเปิด คงได้เปิดคืนนี้หลังลงเวบบ์แล้วเสร็จ ยังไงขอแจ้งนะครับว่าโอนเงินให้พี่เพชรแล้วเมื่อวานนี้ประมาณเวลา 14.00 น. จำนวน 1000 บาท ครับ และได้รับพระธาตุเป็นที่เรียบร้อยขอโมทนาด้วยครับ

    พระที่นำมาลงสวยๆทั้งนั้น และมีผู้ครอบครองเป็นเจ้าของตามที่พี่เพชรแจ้งตอนต้นกระทู้แล้วเกือบทุกองค์ "ของๆใครก็ย่อมต้องรอเจ้าของเขาครับ"

    โมทนากับทุกท่านที่ร่วมบุญด้วยนะครับ สาธุ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมเชื่อว่า งานบุญแบบนี้ไม่มีผู้ใดจะคิดทำไปในทางที่เป็นอกุศล และเพื่อนผู้ติดตามมาจนถึงขณะนี้ก็น่าจะมีความเกี่ยวเนื่องกันมานานแล้วมาเพื่อร่วมกันสร้าง ร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา จะไปสร้างกรรมเพิ่มทำไมกัน และอย่างสุดท้ายก็ล้วนแล้วแต่เคยพบปะกันมาก่อนครับ...

    ส่วนพระธาตุโมคคัลลานะ หากว่ากันถึงองค์ธาตุนี้ ก็เป็นสัณฐานที่มีขนาดใหญ่พิเศษกว่าแบบทั่วไป และโทนสี หากว่าถึงกระแสพลังงาน ก็นับว่าถึงที่สุด คืนสู่ความว่าง..และเป็นอนัตตาในที่สุด คล้ายไม่มี.. แต่มี.. ตรงนี้หากผู้มีฌานชั้นที่สูงกว่าจะพบกระแส หากต่ำกว่าก็จะไม่พบ คล้ายอรหันต์เห็นจิตโสดาบัน แต่โสดาบันไม่เห็นจิตอรหันต์ฉันใดฉันนั้น

    การที่ผมเลือกผมพระธาตุโมคคัลลานะให้ในขณะนี้อันเนื่องจากงานบุญสร้างบุษบกเพื่อประดิษฐานองค์พระโมคคัลลานะอันเป็นกิจที่เกี่ยวเนื่องกับองค์ท่านโดยตรงจึงสมควรแก่วาระ จะว่าไปแล้ว หากนำ jigsaw มาต่อเป็นภาพที่สมบูรณ์นั้น
    ๑) ผมได้พบองค์พระโมคคัลลานะที่เหลือเพียงครึ่งองค์ที่วัดแห่งหนึ่งในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๔๙

    ๒) หลังจากปวารณาตัวเพื่อขอบูรณะองค์ท่านก็ได้ติดตามสอบถามทางกรมศิลปากร และหลวงพี่ที่ดูแลองค์พระ แวะเวียนไปร่วมสิบๆเที่ยว

    ๓) จากนั้นอีกราว ๑ ปีจึงได้รับพระธาตุโมคคัลลานะในวันจักรี(๖ เมษายน ๒๕๕๐)ก่อนวันพิธีพุทธาภิเษกเสาร์ ๕ วันเสาร์ที่ ๗ เม.ย. ๒๕๕๐ เพียง ๑ วันเท่านั้น ราวกับว่า งานนี้ท่านได้กำหนดไว้แล้ว ยังไงยังงั้น

    ๔) นับเวลาจนเกิดงานบุญสร้างบุษบกนี้ก็ร่วม ๒ ปี จึงได้วาระการดำเนินการจัดสร้างบุษบกโดยมีผู้มอบพระกรุลำพูนนี้ให้เพื่อร่วมบุญสร้างวัดอาราม พระเจดีย์ที่ชำรุด และยังผลเกี่ยวเนื่องมายังการสร้างบุษบกนี้ ราวกับว่าองค์ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชยพระแม่จามเทวี พระฤาษี โหราจารย์ราชบัณฑิต คหบดี ฯลฯ ผู้มีส่วนในการจัดสร้างเมืองหริภุญไชยเรื่อยมาอนุญาตให้มอบให้กับผู้ที่มีความเกี่ยวเนื่องกันมา จนมาถึงการสร้างพระโมคคัลลานะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ในรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จนมาถึงการเสียกรุงศรอยุธยาในครั้งที่ ๒ ปีพ.ศ. ๒๓๑๐ ที่พระโมคคัลลานะองค์นี้ได้ถูกพม่าเผาทำลายลง จากการประมาณการของทางเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร และหลวงพี่ที่ดูแลองค์พระประมาณการอายุการจัดสร้างไว้ที่ ๕๐๐ ปี

    ครั้งหนึ่งผมได้เคยมอบพระธาตุสิวลีอรหันต์เถระเจ้า สัณฐานเมล็ดพุทราจากถ้ำแห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรีไปเมื่อราวเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว(๒๕๕๐) จนถึงก่อนวันเข้าพรรษาปีเดียวกันนั้น เพื่อมุ่งหมายในเรื่องของลาภผล ความคล่องตัวในทางโลก ถือเป็นที่สุดแห่งลาภผล และการดำเนินชีวิตทางโลกที่ยังต้องการความคล่องตัวของการทำมาหากินทางโลกอยู่ และได้ถวายพระธาตุสิวลีอรหันต์เถระเจ้า สัณฐานประกายเพชรไว้ในบวรพระพุทธศาสนาหลายแห่ง จนมาบัดนี้..

    ผมคิดว่า ลาภผลใดๆทางโลกนี้ หาความปลอดภัยไม่ได้ทั้งต่อชีวิต และทรัพย์สิน จึงเป็นวาระของการมอบพระธาตุโมคคัลลานะพระอัครสาวกเบื้องซ้ายที่เป็นเอกะทัคคะด้านฤทธิ์ และโมกขธรรมที่มุ่งความศรัทธามากกว่าปัญญาเมื่อได้เข้าใจในหลักธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้แล้ว ผมจึงหวังในเรื่องของความแคล้วคลาดจากเรื่องภัยร้ายแรงทางโลกที่กำลังคืบคลานเข้ามาถึงโดยที่เรายังมองไม่เห็นว่าคืออะไร หรือเห็นด้วยจิตแล้ว แต่ก็ยังไม่ทราบว่าจะจัดการอย่างไรดี ขณะเดียวกันก็ยังผลความคืบหน้าด้านการเจริญพระกรรมฐานให้เกิดความว่าง เป็นอนัตตาในที่สุด เพียงเท่านั้นที่ผมตั้งใจไว้...

    สุดท้ายคือเรื่องของ CD+DVD นั้น เป็นความคิดที่มาทีหลังสุด และกว่าจะได้กรรมฐานกองที่เกี่ยวเนื่องกับพระโมคคัลลานะเพื่อให้สอดคล้องกับงานบุญสร้างบุษบกนี้ คล้ายดั่งมีธาตุของพระท่านแล้ว ก็ควรได้รับหลักธรรมที่ท่านได้บรรลุอรหัตผลนี้ด้วย จึงเป็นความกรุณาของพี่ปรีชา พึ่งแสงอย่างมากที่เสียสละเวลาอันมีค่า นึกทบทวนหัวข้อธรรมที่องค์หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านเคยเทศน์อบรมสั่งสอนหลายสิบปีว่า อยู่ในกรรมฐานกองไหนบ้าง จึงเป็นความเมตตาที่ท่านได้ให้ไว้กับผมจริงๆ จึงขอกราบขอบพระคุณพี่ปรีชา พึ่งแสงไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

    นี่คือเรื่องราวฉบับเต็มที่ตั้งใจเรียบเรียงให้ได้ทราบที่มาของการเกิดโครงการสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะอายุ ๕๐๐ ปีนี้ขึ้น ซึ่งประกอบกันจนรูปเป็นร่างที่ใกล้จะสมบูรณ์ เหลือเพียงสาธุชนผู้ศรัทธาที่จะมาร่วมสร้างบุญบุษบกกัน ถวายพระธาตุโมคคัลลานะบรรจุยังพระธาตุเจดีย์ทั้ง ๙ แห่งนี้กัน ร่วมบุญธรรมทานนี้กัน ร่วมถวายบุญกุศลแด่องค์ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญไชย(ในสมัยโบราณ การรบราฆ่าฟันเพื่อปกป้องดินแดน เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะทำนุบำรุงบ้านเมือง ส่งเสริมพระพุทธศาสนาก็ตาม แต่กรรมจากการปาณาติบาตอริราชศัตรูเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินที่อยู่อาศัยก็ยังคงมีอยู่)บูรพกษัตราธิราชทุกๆองค์ แม่ทัพ นายกอง ไพร่พล ผู้คนทั้งหลายที่ปกป้องผืนแผ่นดิน จนถึงการเสียกรุงศรีอยุธยาทั้ง ๒ ครั้ง ประกอบกับโครงการมอบพระกรุลำพูนนี้แก่ผู้ร่วมบุญสร้างบุษบกประดิษฐานพระโมคคัลลานะซึ่งมีอายุในช่วงอยุธยาตอนต้น ก็มีความเกี่ยวเนื่องกัน รวมทั้งอานิสงค์การถวายอานิสงค์การไถ่ชีวิตโค-กระบือนี้ จึงได้ตัดสินใจนำพระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์ พิมพ์ฐานบัวเหลี่ยม มาให้บูชาเพื่อน้อมถวายอานิสงค์การไถ่ชีวิตโค-กระบือนี้แด่ดวงพระวิญญาณพระแม่จามเทวี บูรพกษัตราธิราชทุกๆพระองค์ จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อันมีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลอันพึงมีพึงได้นี้แด่เทพเทวาที่ได้รับการมอบหมายให้ปกปักรักษาพระกรุลำพูนองค์พระแม่จามเทวีทรงบัลลังก์ พิมพ์ฐานเหลี่ยมทั้ง ๒ องค์นี้(คุณdragonlord และคุณหมอ Sumanas) ขอได้โปรดโมทนาส่วนกุศลนี้ด้วยเทอญ....
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆทุกสิ่ง เกิดจากความรักในสิ่งนั้นก่อน เป็นเรื่องของ"ความรู้สึก"มาก่อน ไม่ใช่เรื่องของ"เหตุผล"นำหน้า จากนั้นค่อยๆสืบค้นที่มาของเรื่องนั้นทั้งจากตำรับตำราต่างๆ จากแหล่งข้อมูลอื่น ทั้งที่ได้มาด้วยความตั้งใจหา และความบังเอิญต่างๆ ผมเชื่อในเรื่องของการส่ง"ความคิด"(ขอใช้คำนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจในขั้นพื้นฐาน)ออกไป สิ่งที่เป็น"หัวใจ" หรือ"รากฐานความคิด"นั้นคล้ายมีจิตวิญญาณส่งคลื่นความคิดนั้นกลับมา คล้ายเรากำลังหาเขา(กำลังจะเข้าใจเขา) และเขาก็กำลังหาเรา(กำลังหาคนมาเข้าใจ) เมื่อ ๒ สิ่งมาพบกัน จึงเป็นเรื่องราวของประสบการณ์แปลกๆ ที่อธิบายยากครับ จากนั้นความรู้ต่างๆเริ่มก่อตัว นั่นเป็นสัญญาณของการเริ่ม"มีเชื้อ"(เป็นคำที่มักใช้กันในหมู่ศิษย์ของท่านอาจารย์ปู่ประถม อาจสาคร)การได้รับสิ่งของต่างๆ คำสอนต่างๆ จะมาในจังหวะพอเหมาะพอเจาะ รวมทั้งการเชื่อมโยงกับสื่อต่างๆที่เรามองไม่เห็น แต่สัมผัสได้ คล้ายพลังงานความร้อน เรามองไม่เห็น แต่ทุกท่านสัมผัสได้ว่าร้อน บางสิ่งบางอย่างก็เปิดเผยไปไม่ได้ การเปิดเผยจึงเปิดเผยได้ระดับหนึ่งเท่านั้น จากนั้น..เมื่อเกิดศรัทธาขึ้นบ้างแล้ว ไปปฏิบัติการค้นหาด้วยตนเอง จึงจะพบประสบการณ์นั้นเอง และจะเห็นเป็นเรื่องธรรมดาไป นานเข้าเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้อง และกระทบความรู้ความเข้าใจของคนทั่วไปมากๆ ก็ไม่อยากบอกออกไป เพราะไม่เกิดประโยชน์นั่นเอง มีแต่เรื่องการถกเถียง การวิวาทะ การปรามาส จึง ห ยุ ด ที่ ตั ว เ ร า ดี ที่ สุ ด...
     
  7. Pukky_Ka

    Pukky_Ka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +241
    เรียนคุณเพชร

    ขอเล่านิดนึงค่ะ คือ ช่วงก่อนหน้านี้ ดิฉันจะเข้าเวปนี้บ่อยมาก โดยเฉพาะห้องพระเครื่อง มาพักหลังดิฉันก็ไม่ค่อยได้เข้าเท่าไหร่ เพราะรบกวนสมาธิตัวเองในการทำงาน พอสมควร และไม่สามารถอ่านอะไรหน้าคอมพิวเตอร์ได้นานๆ จะปวดหัวมากค่ะ

    มาช่วงนี้ดิฉันก็เริ่มเข้ามาบ้าง และรู้สึกนึกถึงคุณเพชรยังไงก็บอกไม่ถูก คืออยากดูว่าคุณเพชรจะมีอะไรดีๆ มาแบ่งปันเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ อีกมั๊ย (คือดิฉันได้มีโอกาสร่วมบุญสร้างองค์ปฐม บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ) พอวันนี้ได้เข้ามาปั๊บ เห็นชื่อกระทู้ และชื่อเจ้าของกระทู้ ก็ต้องรีบเข้ามาดูเลยค่ะ เพราะว่าดิฉันอยากได้พระธาตุขององค์โมคัลานะมาบูชาได้ระยะนึงแล้วค่ะ

    ตื้นตันจริงๆ กราบขอบพระคุณ คุณเพชรนะคะ
     
  8. Pukky_Ka

    Pukky_Ka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +241
    ขอรับ CD & VCD ค่ะ
     
  9. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE class=tborder id=post1072806 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">[​IMG] วันนี้, 03:04 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #641 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>Pukky_Ka<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1072806", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: วันนี้ 03:54 PM
    วันที่สมัคร: Aug 2007
    ข้อความ: 22 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 0 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 247 ครั้ง ใน 27 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1072806 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- message -->ขอรับ CD & VCD ค่ะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอบคุณคุณ Pukky_ka และขอโมทนาบุญอีกครั้งครับ หลังจากงานสร้างสมเด็จองค์ปฐมเนื้อเรซิ่นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุสัณฐานที่พระพุทธกัสสปอธิษฐานจิตไว้นั้น ก็เป็นงานบุญสร้างบุษบกนี้ครับ ซึ่งเพิ่งเริ่มกันมาได้ในช่วงเวลา ๒ อาทิตย์เศษๆนี้เอง การพบกันในลักษณะนี้ก็เป็นสิ่งที่อธิบายยากครับ นอกจากคำว่า"วาสนา" คลื่นความคิดที่ส่งออกไป กับอีกคลื่นความคิดหนึ่งที่ส่งออกมา ดังเช่นที่ได้อธิบายไว้ในความเห็นข้างต้น อาจจะรู้สึกเป็นเรื่องแปลก แต่จริง...

    ไม่อยากอธิบายกันมากกว่านี้ ถือว่ามีวาระร่วมกันครับ..

    สำหรับ CD+DVD นั้น จะจัดส่งไปให้พร้อมกับพระธาตุโมคคัลลานะในวันพรุ่งนี้ครับ
     
  10. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    <TABLE cellPadding=2 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR><TR><TD>
    </TD></TR></TBODY></TABLE> เมืองลำพูนเคยมี "กำแพงโบราณ"

    นครหริภุญชัยถูกสร้างโดยพระฤาษีวาสุเทพ ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 โดยแรกเริ่มนั้นบริเวณดินแดนลุ่มแม่น้ำปิงนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชนพื้นเมือง ต่อมาเมื่ออาณาจักรทวารวดีซึ่งมีเมืองละโว้ลพบุรีเป็นศูนย์กลางได้แผ่อาณาจักรขยายมาถึงดินแดนลุ่มแม่น้ำปิง พระฤาษีสร้างเมืองซึ่งมีรูปลักษณะคล้ายไข่ไก่ หรือ รูปเปลือกหอยสังข์ วางอยู่บนฝั่งน้ำซึ่งมีเพียงด้านเดียวทางทิศตะวันออก คือ แม่น้ำกวง

    เมื่อพระฤาษีวาสุเทพได้สร้างเมืองเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญพระนางจามเทวี ราชธิดาพระเจ้ากรุงละโว้มาครองเมืองหริภุญชัย ในราวปีพุทธศักราช 1310 - 1311 เป็นปฐมกษัตริย์ในราชวงศ์ "จามเทวี"

    กำแพงและคูเมืองหริภุญชัย จึงนับได้ว่าถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยพระนางจามเทวี โดยพระฤาษีวาสุเทพขุดเอาดินมาทำอิฐเพื่อสร้างกำแพงเมืองและขุดดินทำเป็นคูน้ำล้อมโดยรอบเมือง นอกจากนั้นในตำนานเรื่องเล่ายังกล่าวว่าพระดาบสเอาไม้เท้าขีดแผ่นดินโดยรอบวงไปตามสันฐานของเกล็ดหอย วงขอบปากหอยนั้นก็บังเกิดเป็นคูและปราการนครขึ้นตามขีดของไม้เท้าพระฤาษีที่ขีดดินพูนขึ้นเอง

    ตามตำนานเมืองเหนือในวันมหาสงกรานต์มี "วันพญาวัน" เป็นวันดีที่สุดในรอบปี การเสกมนต์คาถาทำพิธีกรรมทางศาสนาหรือสร้างบ้านแปงเมืองนั้น เอาฤกษ์ในวันนี้เป็นมงคลในการลงฤกษ์ประตูมหาวันเป็นประตูแรกที่พระฤาษีสร้าง และตรงข้ามวัดมหาวันซึ่งเป็นวัดที่มีพระรอดพระคู่บ้านคู่เมืองหริภุญชัยและประตูมหาวันนี่เองที่เป็นตำนานเล่าขานสืบกันมา ว่าประตูนี้ ปืนแก๊ปสมัยก่อนยิงไม่ออกที่ประตูมหาวันนี้มามากต่อมากแล้ว พระคงฤาษีฝังอาคมและเป๊ก หรือของวิเศษไว้จึงสามารถสยบภัยพิบัติอันตรายทั้งปวงได้ เมื่อไปวัดมหาวันเพื่อไปกราบพระรอด โปรดสังเกตประตูมหาวันอยู่ตรงกับวิหารวัดมหาวันพอดี
    <TABLE cellPadding=2 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    เมื่อสร้างประตูมหาวันเสร็จก็เวียนทักษิณา (เวียนขวา) สร้างประตูช้างสี แต่เดิมหมายถึงประตูช้างผู้ก่ำงาเขียว ซึ่งเป็นช้างคู่บารมีของเจ้าแม่จามเทวี ควรเรียกประตูช้างศิริ (ภาษาบาลี) ประตูช้างศรี (ภาษาไทย) ศรีหรือศิริ หมายความว่า ช้างดี ช้างงาม หรือ ประตูช้างดี ประตูช้างสีนี้มีพระคงเป็นสัญลักษณ์หมายถึงความอยู่ยงคงกระพัน

    ประตูท่านาง เป็นประตูท่าน้ำที่เจ้าแม่จามเทวีใช้เสด็จลงเรือ นอกจากนี้ยังเป็นประตูการค้าขาย ต่อมาเมื่อบ้านเมืองเจริญคนนอกพื้นที่เข้ามาค้าขายกับเมืองหริภุญชัย ก็รู้จักท่าน้ำแห่งนี้ ในสมัยก่อนคนจีนรู้จักเมืองหริภุญชัยและท่านางนี้เป็นอย่างดี บ้านช่างฆ้องแต่เดิมมีพ่อค้าที่เป็นคนจีนมากมาย ตระกูลใหญ่ ๆ ในเชียงใหม่ ลำพูน บรรพบุรุษก็เกิดที่บ้านช่างฆ้องนี้ ประตูท่านางเป็นแหล่งการค้าที่สำคัญของภาคพื้นที่อย่างแท้จริง จึงได้ชื่อว่า "ท่านางจามเทวี"

    ประตูท่าขาม แต่เดิมชื่อประตูท่าข้าม คนใช้สัญจรข้ามแม่น้ำกวงระหว่างฝั่งตะวันออกและตะวันตก ผ่านสะพานซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภุญชัย เจ้าแม่จามเทวีเคยใช้ประตูนี้ข้ามแม่น้ำกวงไปกราบไหว้พระที่วัดศรีโพธาราม หรือ วัดอรัญญิกราม หรือ วัดดอนแก้ว (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนบ้านเวียงยองไปแล้ว) เมื่อครั้งที่เจ้าแม่จามเทวีเดินทางไปเมืองเขลางค์ก็ผ่านประตูท่าข้ามนี้ พระพุทธรูปประจำประตูท่าข้ามนี้อยู่ที่วัดศรีโพธาราม คือพระเลี่ยมวัดศรีโพธาราม และวัดพระยืนซึ่งเป็นทองคำทั้งองค์ ปัจจุบันถูกบรรจุในพระเจดีย์วัดพระยืน เนื่องจากนครหริภุญชัยเมื่อสิ้นพระนางจามเทวีแล้ว ก็เกิดศึกสงครามหลายครั้ง

    ประตูลี้ คำว่า "ลี้" ภาษาล้านนาเรียกว่า หลบหลีก หรือ หนีไป ประตูลี้เข้าใจว่าคงเป็นประตูที่ใช้ในการหนีข้าศึก ซึ่งเป็นเรื่องแปลกประหลาดในครั้งโบราณ ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า ถ้าหากเอามะนาวโยนลงไปที่หนองน้ำวัดพระยืนมะนาวจะโผล่มาที่หนองน้ำพระอุโบสถวัดพระธาตุหริภุญชัย ทะลุผ่านบ่อน้ำช้างมูบในวัดพระธาตุหริภุญชัยนั้นแล้ว ทะลุออกไปถึงปากบ่อง อำเภอป่าซาง อาจเป็นไปได้ว่าบริเวณประตูลี้คงมีทางลับหนีออกจากนครหริภุญชัยทางน้ำได้ วัดและพระพุทธรูปประจำประตูนี้คือ วัดประตูลี้หรือสังฆาราม หรือ มหาสัตตารามและพระลือมงคล
    <TABLE cellPadding=2 align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ในอดีตแนวกำแพงโบราณเมืองลำพูน มีความยาวล้อมรอบเขตตัวเมือง ซึ่งจากภาพถ่ายโบราณของเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ เมื่อครั้งที่ได้เสด็จขึ้นมาตรวจราชการมณฑลพิษณุโลกและมณฑลพายัพ ราวปี พ.ศ.2459 - 2466 จะเห็นได้ว่ากำแพงเมืองลำพูนยังมีสภาพที่สมบูรณ์ กระทั่งช่วงระหว่างปี พ.ศ.2482 - 2492 เทศบาลเมืองลำพูน ขณะนั้นมีการรื้อทำลายกำแพงโบราณเมืองลำพูน ถึง 3 ครั้ง โดยครั้งแรกมีการรื้อกำแพงเมืองลำพูนในปี พ.ศ.2482 เพื่อเชื่อมถนนให้ได้สะดวก จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ บริเวณประตูช้างสี รื้อออกข้างละ 6 เมตร นอกจากนั้นยังรื้อแนวกำแพงบริเวณข้างหนองดอก ออก 20 เมตร รวมทั้งรื้อแนวกำแพงด้านวัดธงสัจจะออกอีก 20 เมตรและประตูท่านางออก 10 เมตร

    การรื้อกำแพงโบราณเมืองลำพูน ครั้งที่ 2 มีขึ้น ในปี พ.ศ.2486 มีการขออนุญาติรื้อกำแพงเมืองและถมคูเมืองบางตอน รวม 7 แห่ง ได้แก่ กำแพงด้านตะวันตกตรงแนวตรอกวัดช้างสี กำแพงด้านตะวันตกตรงแนวตรอกวัดศรีบุญเรือง กำแพงด้านตะวันตกตรงแนวถนนราชวงศ์ กำแพงด้านตะวันตกตรงแนวถนนแว่นคำ กำแพงด้านตะวันออกตรงแนวถนนอัฐถารส กำแพงด้านตะวันออกตรงแนวถนนชัยมงคล และกำแพงด้านใต้ตรงแนวตรอกถนนวังขวา โดยกรมศิลปากรอนุญาตให้รื้อได้ไม่เกิน 20 เมตร และครั้งสุดท้ายมีการรื้อกำแพงโบราณเมืองลำพูนในปี พ.ศ.2492 ทางเทศบาลเมืองลำพูน ขณะนั้นได้ทำหนังสือไปยังกรมศิลปากรลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2491 ว่าเทศบาลเมืองลำพูนขออนุญาตรื้อกำแพงรอบเมืองทั้งหมด คือทิศเหนือตั้งแต่มุมเมืองทางตะวันตกถึงประตูท่านาง มีความยาวประมาณ 200 เมตรโดยให้เหตุผลว่ากำแพงเมืองนี้ไม่มีความสำคัญอันควรจะถือเป็นโบราณวัตถุเท่าใดนัก ประกอบกับชำรุดทรุดโทรมและหักพังไปเป็นส่วนมาก

    ซึ่งจากเอกสารรายงานของกรมศิลปากรที่นำมากล่าวอ้างนั้น ทำให้ทราบว่า ในอดีตเมื่อราว 60 กว่าปีก่อน เมืองลำพูนมีแนวกำแพงเมืองโบราณที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ที่สุด น่าเสียดายที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารบ้านเมืองสมัยนั้นแคบยิ่งนัก ที่ได้รื้อทำลายแนวกำแพงเมืองอันเป็นมรดกที่ล้ำค่าสูญสลายไปอย่างมิอาจเรียกคืน ไม่เช่นนั้นแล้วกำแพงเมืองลำพูนของเราก็อาจเป็นแนวกำแพงเมืองโบราณที่สมบูรณ์กว่าเมืองเชียงใหม่เสียด้วยซ้ำ

    ปัจจุบันแนวคูเมืองและกำแพงเมืองที่เห็นและเป็นอยู่ได้รับการปรับปรุงจากเทศบาลเมืองลำพูนในการเสริมแต่งคูเมืองให้เข้ากับยุคสมัย ด้วยการถมตลิ่งให้แคบกว่าเดิม จนมีนักวิชาการท้องถิ่นหลายท่านออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงการก่อสร้างของโครงการดังกล่าว นอกจากนั้นการสร้างคูเมืองลำพูนในสมัยปัจจุบันยังเป็นการทำลายโบราณสถานสำคัญและบิดเบือนประวัติศาสตร์ของเมืองลำพูน

    เอกสารประกอบ
    รายงานการรื้อกำแพงเมืองลำพูน กรมศิลปากร,2482 - 2492
    กำธร ธิฉลาด ประวัติศาสตร์เมืองลำพูน
    ภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

    จักรพงษ์ คำบุญเรือง
    jakpong@chiangmainews.co.th.
    21/1/50

    [​IMG] [ Update วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2550 time 22:18:37 ]​
     
  11. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    http://www.matichon.co.th <TABLE width="96%"><TBODY><TR><TD width=5></TD><TD vAlign=top><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    ข้างหลังภาพปั้นดินเผา
    1,400 ปี
    "นครหริภุญไชย"


    โดย พิมผกา ต้นแก้ว
    ฉบับวันที่ 18/12/46

    [​IMG]
    ลำพูน หรือ "นครหริภุญไชย" ในอดีต เป็นเมืองเก่าแก่อีกแห่งของล้านนา ซึ่งประวัติศาสตร์ความเป็นมาบอกเล่าว่าเจริญรุ่งเรือง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ประเพณีวัฒนธรรม จนเป็นต้นแบบของเมืองต่างๆ ในปัจจุบัน
    ข้อเท็จจริงประวัติศาสตร์ของลำพูนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจากหนังสือ หรือตำนานเล่าขานจากรุ่นสู่รุ่น การสืบค้นข้อมูลเพื่ออ้างอิงประวัติศาสตร์จึงมีโอกาสบิดเบือนไปค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงเกิดแนวคิดรวบรวมแนวความเห็นของกลุ่มบุคคลเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลำพูนเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
    และเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้จากหลักฐานที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
    เรื่องราวนับจากอดีตถูกค้นคว้าและบันทึกไว้บนกำแพงหลังอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี จำนวน 8 ช่อง ซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่นายประภัสร์ ภู่เจริญ นายกเทศมนตรีเมืองลำพูน ร่วมมือกับผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทางประวัติศาสตร์หลายคน ศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมจากหนังสือ ตำรา ตำนาน เป็นเวลานานถึง 2 ปี เพื่อนำมาเผยแพร่ในลักษณะงานปั้นภาพดินเผาให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้
    โดยเฉพาะลูกหลานชาวลำพูน จะได้ทราบถึงความเป็นมาของบ้านเมือง ซึ่งผู้ที่ได้ลงมือถ่ายทอดปลุกปั้นก้อนดินให้กลายมาเป็นตำนานประวัติศาสตร์ที่ควรศึกษาเรียนรู้นี้คือ นายสุทธิพงษ์ ใหม่วัน สำหรับผู้ที่วาดภาพและบอกเล่าเรื่องราวจากตัวหนังสือ สื่อออกมาเป็นภาพปั้นให้ทุกคนเกิดความเข้าใจนั้น คืออาจารย์อุทิศ อะติมานะ อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    อนุสาวรีย์พระนางจามเทวีประดิษฐานอยู่ที่บริเวณตลาดสดหนองดอก นับเป็นสิ่งปลูกสร้างสิ่งหนึ่งที่ชาวลำพูนได้สร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ และยึดเหนี่ยวทางจิตใจ รวมทั้งเพื่อระลึกถึงพระปฐมกษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้มีความเจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน บริเวณพื้นที่ตั้งอนุสาวรีย์พระนางจามเทวี เดิมเป็นเกาะกลาง และมีคูเมืองรอบเกาะ และยังเป็นที่ตั้งของคุ้มเจ้าหลวงจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครลำพูนคนสุดท้าย มีลักษณะเป็นเรือนไม้ทรงไทยสองชั้น ภูมิทัศน์โดยรอบมีต้นมะพร้าวจำนวนมากนับไม่ถ้วน
    ในปี พ.ศ. 2502 เทศบาลเมืองลำพูน ได้ซื้อที่บริเวณดังกล่าว จำนวน 16 ไร่ ถมและสร้างเป็นตลาดสดหนองดอก และใช้พื้นที่บางส่วนในงานประเพณีที่สำคัญของจังหวัด ในอดีตอนุสาวรีย์พระนางจามเทวีประดิษฐานอยู่ในบริเวณศาลากลางจังหวัด ต่อมาในสมัยของนาย จริญญา พึ่งแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน ในขณะนั้น ได้มีการอัญเชิญรูปปั้นของพระนาง มาประดิษฐานที่บริเวณลานอนุสาวรีย์พระนางจามเทวีในปัจจุบัน เพื่อให้ประชาชนทั่วไปที่ผ่านไปมาและแวะเยี่ยมเยือนลำพูน ได้กราบไหว้ สักการะ
    สำหรับเรื่องราวของประวัติศาสตร์นครหริภุญไชย มีทั้งหมด 8 ภาพ เริ่มตั้งแต่ภาพที่ 1 เป็นปฐมกาลก่อนกำเนิดอาณาจักรหริภุญไชย โดยได้นำเรื่องราวของการขุดค้นทางโบราณคดีที่บ้านวังไฮ ตำบลเวียงยอง จำนวน 2 ครั้ง ในปี 2530 และ 2539-2541 โดยได้มีการขุดค้นพบโครงกระดูก และสิ่งของเครื่องใช้ ภาชนะดินเผามากมาย นอกจากนี้ยังได้บอกเล่าถึงเรื่องราวการสร้างบ้านเมืองโดยวาสุเพทฤาษี ก่อนที่จะอัญเชิญพระนางจามเทวีมาครองนครหริภุญชัย ในช่วงหลังพุทธกาลผ่านมาพันปีเศษ โดยได้อ้างอิงจากหนังสือตำนานมูลศาสนา
    ภาพที่ 2 บอกเล่าถึงเรื่องราวสมัยพระนางจามเทวีเสด็จครองเมือง เป็นเรื่องราวต่อจากที่สามฤาษี ช่วยกันสร้างเมืองหริภุญไชยแล้ว และได้ทูลเชิญพระนางจามเทวี พระราชธิดา กษัตริย์เมืองละโว้มาครองเมือง
    ซึ่งเรื่องราวในภาพนี้ได้แสดงถึงภาพขบวนประชาชนที่ร่วมขบวนเสด็จ ซึ่งประกอบด้วยชนกลุ่มต่างๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งพระนางได้ประกาศเผยแพร่พระพุทธศาสนาตลอดเส้นทาง เป็นเวลานานถึง 7 เดือน จนกระทั่งเสด็จถึงเมืองหริภุญไชย
    หลังจากนั้นไม่นานพระนางได้ประสูติกุมารฝาแฝด 2 พระองค์ พระนามว่า มหันตยศกุมาร และอนันตยศกุมาร ซึ่งหลังจากพระนางปกครองเมืองมาได้ 18 ปี จึงได้สละราชสมบัติให้เจ้ามหันตยศ ส่วนพระนางทรงบำเพ็ญพระราชกุศลด้านศาสนกิจ สร้างวัดสี่มุมเมืองด้วยราชทรัพย์ส่วนพระองค์
    ประกอบด้วยวัดอรัญญิการาม ด้านทิศตะวันออก ปัจจุบันคือวัดดอนแก้ว วัดพระคงฤาษี หรือวัดอาพัทธาราม ด้านทิศเหนือ วัดมหาวัน หรือวัดลังการามและมหาวนาราม อยู่ด้านทิศตะวันตก และวัดมหาสถาราม หรือมหาลัดดาราม ปัจจุบันคือวัดประตูลี้ อยู่ทางทิศใต้ เมื่อเมืองหริภุญไชยมีความเจริญจึงได้ขยายอำนาจออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สร้างเมืองเขลางค์นคร หรือลำปางในปัจจุบัน และได้ให้เจ้าอนันตยศ โอรสคนเล็กครองเมือง ซึ่งพระนางได้เสด็จมาประทับที่เมืองเขลางค์เป็นระยะเวลา 6 ปี เมื่อทรงพระประชวรจึงได้เสด็จกลับหริภุญไชย และเสด็จสวรรคตเมื่อพระชนมายุ 92 พรรษา
    ภาพที่ 3 เป็นเรื่องราวในสมัยพญาอาทิตยราช กับการกำเนิดของพระธาตุหริภุญไชย ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 17 พญาอาทิตยราช ได้เป็นกษัตริย์แห่งนครหริภุญไชย มีการขุดพบพระธาตุเป็นครั้งแรก โดยพญากาเผือกผู้รักษาสถานที่บริเวณนั้นได้บอกว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ได้เคยเสด็จมานั่งเสวยหมากสมอในที่นี้ และได้มอบพระเกศาเส้นหนึ่งให้กับชมพูนาคราช โดยได้บรรจุในกระบอกไม้รวก แล้วใส่ในโกศแก้ว แล้วเอาลงประดิษฐานไว้ในถ้ำภายใต้ที่ประทับนั่งเสวยหมากสมอ
    เมื่อพญาอาทิตยราชทรงทราบ จึงให้ปรับพื้นที่ แผ้วถางให้ราบเรียบพร้อมกันนั้นได้กระทำพิธี ขุดเอาพระธาตุขึ้นมาจากพื้นดิน โดยจัดให้มีพิธีสมโภช หาช่างทองมาทำโกศทองคำสูง 3 ศอก หนัก 3,000 กำ ประดับด้วยรัตนะทั้ง 7 ประการ ครอบโกศพระธาตุไว้
    ภาพที่ 4 พญาสรรพสิทธิ์ กับความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ซึ่งพญาสรรพสิทธิ์ เป็นพระมหากษัตริยาธิราช แห่งเมืองหริภุญไชยที่ทรงครองราชย์ในพุทธศตวรรษที่ 17 เป็นแบบอย่างในการออกผนวชขณะทรงบัลลังก์พระองค์แรก เมื่อพระชนมายุ 26 พรรษา พร้อมทั้งทรงบูรณะเจดีย์กู่กุด ที่พระราชโอรสของพระนางจามเทวีทรงสร้างไว้ถวายแด่พระนางอีกด้วย นอกจากนี้ยังทรงบูรณะพระธาตุเจ้าหริภุญไชย ทรงเชิญชวนประชาชนสร้างโกศทองคำลูกหนึ่งสูง 4 ศอก ครอบโกศที่พระยาอาทิตยราชทรงสร้างไว้ และทรงสร้างปราสาทสูง 24 ศอก ครอบมณฑปองค์เดิมอีกด้วย
    ซึ่งในยุคของพญาสรรพสิทธิ์ พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก มีการค้นพบศิลาจารึกอักษรมอญโบราณ รวมทั้งพระพุทธรูป พระพิมพ์ดินเผาศิลปะหริภุญชัยอีกเป็นจำนวนมาก
    ภาพที่ 5 พญามังรายตีเมืองหริภุญไชย ซึ่งพญามังรายเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นโยนก หลังจากสร้างเมืองเชียงราย ได้ยึดครองเมืองเชียงแสน สร้างเมืองฝาง ในปี พ.ศ.1816 และทำสัญญาพันธไมตรีกับพญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และพ่อขุนรามคำแหงแห่งเมืองสุโขทัย เนื่องจากหวั่นเกรงอำนาจของกุบไลข่าน ที่แผ่อิทธิพลลงมาจรดดินแดนสิบสองปันนา เพื่อป้องกันการรุกราน จึงได้ย้ายเมืองมาทางใต้ และยึดแคว้นหริภุญไชย ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญมาช้านาน มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ หลังจากนั้นแคว้นหริภุญไชย ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโยนกและเชียงใหม่ล้านนา สิ่งสำคัญที่เหลือจากการยึดครองแคว้นก็คือพระธาตุเจ้าหริภุญไชย ซึ่งพญามังรายและเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ดูแลทะนุบำรุง อุปถัมภ์เป็นอย่างดี
    ภาพที่ 6 หริภุญไชยในฐานะส่วนหนึ่งของเมืองเชียงใหม่และล้านนาประเทศ ในปี พ.ศ.2101 เชียงใหม่ถูกพม่าโดยพระเจ้าบุเรงนองยึดครอง ชาวเมืองหริภุญไชย ได้ถูกกวาดต้อนไปอยู่เชียงใหม่และพม่า และได้ต่อสู้กันมาโดยตลอด จนกระทั่งปี พ.ศ.2309 ถูกกดขี่ข่มเหงจากพม่าอย่างหนัก จึงได้หนีเข้าไปอยู่ในป่า เมืองลำพูน จึงกลายเป็นเมืองร้าง พระธาตุหริภุญไชยที่หุ้มด้วยทองคำสูง1,178,506 บาทเฟื้อง ก็ถูกพม่าเผาละลายเอาทองคำไปด้วย
    กระทั่งปี พ.ศ.2312 ประชาชนชาวล้านนาเริ่มไม่พอใจการปกครองแบบขูดรีดของพม่า จึงเกิดความขัดแย้งแต่ไม่สามารถต่อสู้ได้ จึงตัดสินใจเข้าสวามิภักดิ์ต่อสยามโดยมีพญากาวิละและพญาจ่าบ้านเป็นผู้นำได้ร่วมกับกองทัพธนบุรี ขับไล่พม่าออกจากล้านนาได้สำเร็จ
    ภาพที่ 7 หริภุญไชยลำพูนในยุคเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม พญาจ่าบ้านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ ส่วนพญากาวิละได้เป็นเจ้าเมืองลำปาง ซึ่งก็ปกครองตนเองในฐานะเมืองประเทศราชของราชอาณาจักรสยาม แต่พม่าก็ยังไม่หมดอำนาจได้ต่อสู้คุกคามเชียงใหม่อยู่ตลอด ซึ่งพญาจ่าบ้านไม่สามารถต่อสู้กับพม่าได้ จึงชักชวนชาวเมืองไปอยู่กับเจ้าเจ็ดตนที่เมืองลำปางและทิ้งเชียงใหม่เป็นเมืองร้าง พญากาวิละได้รวบรวมไพล่พล เป็นเวลา 14 ปี และขับไล่พม่าได้ ซึ่งในยุคนี้นักประวัติศาสตร์ได้ขนานนามว่า "ยุคเก็บผักใส่ส้า เก็บข้าใส่เมือง" ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้มีการเซ็นสัญญาบาวริงกับอังกฤษและมีสิทธิเข้าสัมปทานทำไม้ในล้านนาได้ เพียงแค่ขออนุญาตต่อเจ้าผู้ครองนครโดยตรง ซึ่งมีผลประโยชน์มหาศาล
    ทำให้รัฐบาลกลางต้องทำสนธิสัญญากัน 2 ครั้ง โดยเนื้อหาสำคัญคือการลดอำนาจของเจ้าผู้ครองนคร ไม่ให้มีบทบาทด้านสัมปทานป่าไม้ พร้อมส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเข้ามาดูแล
    ในปี พ.ศ.2439 เป็นยุคของการปฏิรูปการปกครอง มีการรวบอำนาจให้อยู่ที่ส่วนกลาง และลดบทบาทเจ้าเมืองฝ่ายเหนือให้น้อยลง พร้อมจัดหน่วยการปกครองเป็นมณฑล โดยส่งข้าราชการจากส่วนกลางเข้ามาปกครอง ซึ่งในปี พ.ศ.2431 เจ้าดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ 7 ถึงแก่พิราลัย จึงเกิดการแย่งชิงอำนาจของทายาท ดังนั้น ทางส่วนกลางจึงฉวยโอกาสเข้ามาจัดระเบียบการปกครองลำพูนใหม่
    ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดได้สืบสานต่อมาเป็นเรื่องราวภาพที่ 8 ลำพูนยุคผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยาม อยู่ภายใต้การปกครองของข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑลภาคพายัพ และเมื่อเห็นว่าลำพูนสามารถควบคุมได้ จึงได้ปฏิรูปการปกครอง เป็นแบบเทศาภิบาล
    ข้าหลวงประจำนครลำพูนคนแรกคือ พญาประสาสน์วิริยะกิจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองนี้ได้เกิดปัญหาขึ้นมากมายโดยเฉพาะในกรณีของครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ที่ถูกระบบการปกครองสมัยใหม่เข้ามาควบคุมดูแล จนถูกกล่าวหาในหลายคดี
    ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ได้มีการตัดรถไฟผ่านมาถึงลำพูน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2464 ดูเหมือนว่าการเดินทางคมนาคมจากลำพูนสู่กรุงเทพฯจะไปมาสะดวกและง่ายขึ้น แต่ก็มีการลักลอบขนไม้สักไปยังกรุงเทพฯ ทำให้แม่น้ำทาและแม่น้ำลี้ ได้รับผลกระทบอย่างมาก เนื่องจากป่าต้นน้ำถูกทำลาย
    จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง และในปี พ.ศ.2475 รัฐบาลได้ยกเลิกการปกครองระบอบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนฐานะเมืองเป็นจังหวัดโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่แต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทยมาปกครอง แทนข้าหลวง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดคนแรกของลำพูนคือ พระสำเริง นฤประกา
    ถึงแม้ว่าลำพูนจะเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน แต่ทว่าสิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง ก็คือวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ประเพณีวัฒนธรรมอันงดงามสถาบันพุทธศาสนาที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในชุมชน สถาบันครอบครัวที่แข็งแกร่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้คงอยู่ไว้มาอย่างต่อเนื่องและยาวนานจนถึงทุกวันนี้
    เรื่องราวอันเป็นประวัติศาสตร์ที่มีมายาวนานกว่า 1,400 ปีนี้ ลูกหลานชาวลำพูนควรจะได้ศึกษาและจดจำไว้ เพื่อบอกกล่าวต่ออนุชนคนรุ่นหลังต่อไป

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ผมมาเสริมให้เป็นความรู้เพิ่มนิดครับ พญา สรรพสิทธิ์ หรือพระยา สรรพสิทธิ์ นั้นตรงตามข้อมูลที่คุณเพชรนำมาลงครับ ท่านสร้างพระรอด จำนวนมากฝังอยู่บนผิวดิน(1.5-2.5เมตร)เหนือกว่าพระรอดของที่พระนางจามเทวี ฝังไว้(ลึก3.5-5เมตร) ลักษณะของพระพิมพ์จะมีความงดงามน้อยกว่าในยุคแรกมากครับ(สร้างหลังจากยุคแรก 500-600ปีแต่อายุปัจจุบันประมาณ 800-900ปี) ฝังในบริเวณคูน้ำข้างกำแพงของวัดมหาวันครับ(^)
     
  13. bht

    bht เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    533
    ค่าพลัง:
    +1,655
    เมื่อวันที่ 29 มีค.2551 ได้โอนเงินร่วมทำบุญ จำนวน 600 บาท
    เงินจำนวน 500 บาทร่วมทำบุญ สร้างบุษบก ๕๐๐ บาท
    ส่วนอีก100 บาท ขอร่วมอื่นตามที่พี่เพชรเห็นควรครับ(ค่าส่ง หรือซีดี ดีวีดีก็ได้)
     
  14. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    ทิ้งระยะสักนิดไม่มีใครตกหลุม...ก็ต่อเลยครับ ต่อมาก็น่าจะเป็นยุคสุดท้ายของการสร้างพระพิมพ์ของอาณาจักรหริภุญไชย ที่รุ่งเรืองมานานกว่า800-900ปีครับ พระพิมพ์เหล่านี้จะจัดทำเป็นพิธีใหญ่มีทั้งพระมหากษัตริย์ ชาวเมืองและชาวบ้านทั่วไปมาร่วมกัน รวบรวมมวลสารทั่วทั้งอาณาจักรแม้กระทั่งดินและน้ำพิเศษจากเมืองทางใต้(ปัจจุบันคือบริเวณ จ.นครศรีธรรมราช) จัดทำพิมพ์หุ่นดินก่อนทำแม่พิมพ์ รวมไปถึงการกดพิมพ์จำนวนมากกว่า..........องค์ ให้พระฤาษีท่านปลุกเสก(โดยบางตำนานท่านว่าพระฤาษีซึ่งสำเร็จวิชาทางกษิณไฟ ได้จ้อง พระพิมพ์ดังกล่าวในระหว่างปลุกเสก จนเนื้อแห้งแกร่ง) แล้วนำลงบรรจุตามเขตที่เป็นขอบอาณาบริเวณของอาณาจักร ในทางหนึ่งเพื่อเจริญสืบพระพุทธศาสนา แต่ในอีกทางเพื่อเป็นการเสริมความรุ่งเรืองมั่นคงของอาณาจักรครับ พระพิมพ์เหล่านี้จะได้รับอิทธิพลมาจากพระพิมพ์ในยุคแรก เกือบทั้งหมดโดยอายุการจัดสร้างน่าจะอยู่ในช่วง 600ปี+-ครับ
     
  15. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ไม่ใช่ไม่มีคนตกหลุมเพียงแต่รู้สึกว่า หลุมยังตื้นไปนิด ต้องขุดให้ลึกกว่านี้อีกหน่อยครับ...
     
  16. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระคงใหญ่..เทียบกับองค์ขนาดบูชาโดยนำติดตัว ส่วน องค์ซ้ายขวานั้น เป็นขนาดบูชาที่หิ้ง สมัยก่อน บรรจุตามกำแพงเมือง

    จะขอนำประวัติการสร้างพระคงลงให้ได้อ่านกันคืนนี้ครับ จากข้อมูลที่คุณ thanyaka กรุณาส่งมาให้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010186.jpg
      P1010186.jpg
      ขนาดไฟล์:
      392.2 KB
      เปิดดู:
      72
    • P1010187.jpg
      P1010187.jpg
      ขนาดไฟล์:
      376.5 KB
      เปิดดู:
      73
  17. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    พระรอดเป็นพระที่สวยงามมาก สร้างเป็นองค์ขนาดใหญ่ ยิ่งเห็นในรายละเอียดที่พระพิมพ์ใหญ่ เล็ก มองไม่เห็นกัน ทั้ง ๕ องค์นี้ เป็นขนาดบูชาบนหิ้งพระ สมัยก่อนสร้าง และฝังไว้ตามกำแพงเมือง..
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010189.jpg
      P1010189.jpg
      ขนาดไฟล์:
      305.4 KB
      เปิดดู:
      58
    • P1010190.jpg
      P1010190.jpg
      ขนาดไฟล์:
      316.3 KB
      เปิดดู:
      66
    • P1010191.jpg
      P1010191.jpg
      ขนาดไฟล์:
      337.9 KB
      เปิดดู:
      93
    • P1010192.jpg
      P1010192.jpg
      ขนาดไฟล์:
      293.5 KB
      เปิดดู:
      71
    • P1010193.jpg
      P1010193.jpg
      ขนาดไฟล์:
      302.2 KB
      เปิดดู:
      70
    • P1010194.jpg
      P1010194.jpg
      ขนาดไฟล์:
      306.7 KB
      เปิดดู:
      81
    • P1010195.jpg
      P1010195.jpg
      ขนาดไฟล์:
      336 KB
      เปิดดู:
      99
    • P1010196.jpg
      P1010196.jpg
      ขนาดไฟล์:
      346.2 KB
      เปิดดู:
      74
    • P1010198.jpg
      P1010198.jpg
      ขนาดไฟล์:
      171.8 KB
      เปิดดู:
      57
    • P1010199.jpg
      P1010199.jpg
      ขนาดไฟล์:
      341.6 KB
      เปิดดู:
      64
    • P1010200.jpg
      P1010200.jpg
      ขนาดไฟล์:
      299.8 KB
      เปิดดู:
      49
    • P1010201.jpg
      P1010201.jpg
      ขนาดไฟล์:
      415.2 KB
      เปิดดู:
      68
    • P1010202.jpg
      P1010202.jpg
      ขนาดไฟล์:
      431.2 KB
      เปิดดู:
      57
    • P1010203.jpg
      P1010203.jpg
      ขนาดไฟล์:
      429.6 KB
      เปิดดู:
      95
    • P1010204.jpg
      P1010204.jpg
      ขนาดไฟล์:
      376.4 KB
      เปิดดู:
      66
    • P1010205.jpg
      P1010205.jpg
      ขนาดไฟล์:
      448.5 KB
      เปิดดู:
      72
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มีนาคม 2008
  18. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    การสร้างพระคง

    หลังเสร็จศึกขุนหลวงมิลังก๊ะ ปีพ.ศ. ๑๒๑๖ ด้วยดำริของพระคุณเจ้าได้เห็นว่าเมืองหริภุญไชยรอดพ้นจากภยันตรายเพราะพระรอด จึงคิดจะทำให้บ้านเมืองมั่นคงสืบไป ได้ปรึกษากับพระสหาย ครูบาอาจารย์ มีพระแม่จามเทวีเป็นองค์ประธาน

    ดินที่ใช้ในการจัดสร้างนั้นเกิดจากนิมิตของพระแม่จามเทวีที่ได้นิมิตในคืนที่หลังจากอธิษฐานจิตบอกกล่าวพระแม่ธรณี และเทพเทวาทั้งหลายขอดินที่เหมาะแก่การสร้างพระที่ทำให้บ้านเมืองมีความมั่นคงสืบไป ในนิมิตความฝันได้มีเทวดามาพบ และบอกให้ไปนำดินที่ดอยโหยด มาสร้างพระ ดินนี้เป็นดินที่เต่าเผือกคู่หนึ่งได้ดำน้ำลงไปในท้องน้ำที่ลึกมาก และช่วยกันคาบขึ้นมากองสร้างที่อยู่อาศัย เสร็จแล้ว ก็ดำน้ำช่วยคาบมากองไว้ใกล้รังที่อยู่อาศัยอีกกองหนึ่ง ให้นำกองดินข้างรังที่อยู่อาศัยนี้ไปสร้างพระ เมื่อตื่นจากบรรทม จึงได้พิจารณาความฝันตามนิมิต และปรึกษากับพระโหราจารย์ พร้อมกันไปทอดพระเนตรยังที่ดอยโหยดนั้นก็พบรังที่อยู่อาศัย และดินกองข้างรังที่อยู่อาศัยของเต่าเผือกคู่นั้นตามที่นิมิตฝันทุกประการ จึงได้นิมนต์พระสงฆ์ สวดชัยมงคลคาถา ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่กองดินนั้น พระแม่จามเทวีได้วางดอกไม้ธูปเทียนยังกองดินนั้น และบอกกล่าวขอดินต่อเต่าเผือกคู่นั้น และพระแม่ธรณีเทพเทวาที่รักษา ให้เสนาอำมาตย์ช่วยกันขุด และแบกหามขนดินกลับมายังตำหนัก พร้อมกับทรงชุบเลี้ยงเต่าเผือกคู่นั้น

    ดินที่นำมาเกลี่ยตากให้แห้ง แล้วบดทับให้เป็นผงละเอียด จากนั้นผสมว่านศักดิ์สิทธิ์ บริกรรมพระคาถาไปด้วยจนว่านกับดินเข้ากันสนิท หมักในหม้อ ๑ เดือน จึงนำมากดพิมพ์พระ

    พิธีกดพิมพ์พระคง ได้จัดปะรำพิธีขึ้นภายในตำหนักพระแม่จามเทวี ก่อนเริ่มการกดพิมพ์พระคง พระสงฆ์ได้สวดมนต์ ปะพรมน้ำพระพุทธมนต์ทั่วบริเวณพิธี ช่วยกันกดพิมพ์พระทั้งคฤหัสถ์ คนบ้าน บรรพชิต แต่เฉพาะคฤหัสถ์ต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์จึงจะเข้าร่วมในพิธีกดพิมพ์พระได้ ห้ามใช้วาจาที่ไม่เป็นมงคล และห้ามถ่มน้ำลายในบริเวณพิธี จัดสร้างเพียง ๑๐,๘๐๐ องค์

    เมื่อกดพิมพ์พระเสร็จแล้ว ต้องทำการเผา พระคุณเจ้าได้กำหนดฤกษ์ยาม และสถานที่คือทิศเหนือบริเวณวัดพระคงฤาษีนั่นเอง ก่อเป็นเตาอบจัดวางพระคงลงในเตาอบ จัดอาสนะสงฆ์โดยรอบสี่ทิศพร้อมทั้งราชวัตรฉัตรธง ครั้นได้ฤกษ์ยามมงคลที่ได้กำหนด พระคุณเจ้าทำพิธีขอขมาลาโทษต่อพระแม่ธรณี จากนั้นนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นนั่งบนอาสนะ และเจริญพระพุทธมนต์ พร้อมทั้งจุดไฟในเตาเผา พระสงฆ์สลับหมุนเวียนเปลี่ยนกันขึ้นไปเป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน ก็หยุดปล่อยให้คลายความร้อนพอจับต้องได้ นำพระคงออกจากเตาเผา ปะพรมด้วยน้ำสุคนธรส จนหอมฟุ้งไปทั้งบริเวณ จากนั้นนำพระคงทั้งหมดไปที่ตำหนักพระแม่จามเทวี รอทำพิธีอบอธิษฐานต่อไป

    ระหว่างที่รอการอบอธิษฐานโดยนำเก็บยังที่เก็บรักษานั้น พระฤาษีทั้งหลายจะใช้อำนาจฌานบารมีปกป้องไม่ให้สิ่งอาถรรพ์เข้ามาแอบแฝงยังองค์พระ พระฤาษีสุเทวะผู้ชำนาญเตโชกสิณ(กสิณไฟ) จะเพ่งแผ่เตโชกสิณเข้าสู่องค์พระ จนเห็นเป็นรัศมีรุ่งโรจน์แผ่คลุมทั้งหมดที่วางรวมกองกัน

    พิธีอบอธิษฐานนี้ ทำให้สิ่งที่ถูกอบมีกลิ่นหอมเปรียบได้กับกิตติศัพท์ กิตติคุณ ที่หอมฟุ้งกระจายไปทั่วทิศ การอบนั้นจัดในเมืองหริภุญไชยทางด้านทิศตะวันออก ตรงบริเวณด้านเหนือวัดธงสัจจะ ใช้ไม้มะค่าในการอบนาน ๕ วัน พระคุณเจ้าให้ชื่อว่า "พระคง" ส่วนหนึ่งบรรจุไว้ที่วัดพระคงฤาษี ที่เหลือแจกจ่ายแก่คนทั่วไป และผู้ประสงค์จะมีไว้สักการะบูชา

    อิทธคุณแห่งพระคง เพื่อความมั่นคงแห่งเมืองหริภุญไชย การผ่านเตโชกสิณนี้ให้อิทธิคุณด้านการรักษา คุ้มกัน จากการศึกษาในตำรา พบว่า โรคภัยไข้เจ็บสามารถจะหายขาดได้หากใช้เตโชกสิณกำกับในตำแหน่งของโรคภัยนั้น ดังนั้นพระคงนอกจากจะมีอิทธิคุณด้านความมั่นคง การปกป้อง แล้วยังหวังผลในด้านการคุ้มกันรักษาอีกด้วย..

    สรุปจากการเรียบเรียงของคุณประสิทธิ์ เพ็ชรรักษ์ ซึ่งเรียบเรียงจากนิมิตของคุณไพศาล แสงไชย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010186.jpg
      P1010186.jpg
      ขนาดไฟล์:
      392.2 KB
      เปิดดู:
      84
    • P1010187.jpg
      P1010187.jpg
      ขนาดไฟล์:
      376.5 KB
      เปิดดู:
      76
  19. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,155
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,353
    ขอโมทนาทั้งหมดทั้งมวล เนื้อหาต้องยอมรับว่าสุดยอดจริงๆ เหมาะแก่การค้นคว้าประวัติศาสตร์มากเลยครับ ผมจะตามอ่านตั้งแต่หน้าแรกเลยครับ -/\-
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ขอโมทนาบุญสร้างบุษบกร่วมกันด้วยครับ

    คุณกุ้งมังกอน ได้โทรศัพท์แจ้งขอร่วมบุญสร้างบุษบกจำนวน ๑,๐๐๐ บาท บรรจุพระธาตุโมคคัลลานะยังพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ๑ องค์ และพระมหาเจดีย์ศรีเวียงชัย ๑ องค์
     

แชร์หน้านี้

Loading...